csr ชุมชนของเรา 2

32

Upload: montimedia-kame

Post on 07-Mar-2016

225 views

Category:

Documents


6 download

DESCRIPTION

CSR ชุมชนของเรา 2

TRANSCRIPT

Page 1: CSR ชุมชนของเรา 2
Page 2: CSR ชุมชนของเรา 2

สารบัญ

เรื่องจากปก 1

ตามรอยพ่อ 4

รอบรั้วไทยออยล์ 6

ปลอดภัยใกล้ตัว 9

เคล็ดลับสุขภาพ 10

ก้าวทันโลก 11

จิตอาสา 12

กระบอกเสียงชุมชน 18

ลับสมองลองเล่นเกม 19

พี่เก่าเล่าเรื่อง 20

ปราชญ์ชุมชน 22

ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อม 24

ของดีบ้านเรา 26

เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้าน 28

จุลสารชุมชนของเรา เจ้าของ : บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จัดทำโดย : แผนกกิจการเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร สำนกังานกรงุเทพฯ : เลขที ่555/1 ศนูยเ์อนเนอรย์ีค่อมเพลก็ซ ์อาคารเอ ชัน้ 11 ถนนวภิาวดรีงัสติ แขวงจตจุกัร เขตจตจุกัร กรงุเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2299-0000, 0-2617-8300 โทรสาร 0-2299-0024 โรงกลั่น : เลขที่ 42/1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ 0-3840-8500, 0-3835-9000 โทรสาร 0-3835-1554, 0-3835-1444 แผนกบริหารงานชุมชน 08-1835-2524, 08-9092-5089

สวัสดีค่ะ เพื่อนบ้านไทยออยล์ทุกท่าน

เวลาผา่นไปเรว็นะคะ ไมท่นัไร กา้วเขา้สูค่รึง่หลงัของปกีนัแลว้ แตก่ารเปลีย่นจากฤดรูอ้น

เข้าสู่ฤดูฝน คงช่วยทำให้จิตใจของคนเราเย็นลงและคลายความเครียดลงได้บ้าง

ช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบในบ้านเมืองที่ผ่านมา ชาวชุมชนไทยออยล์และพนักงาน

เครือไทยออยล์ ได้ร่วมแสดงความห่วงใยด้วยการมอบอาหารและเครื่องดื่มให้แก่บรรดาทหาร

ที่มาดูแลความเรียบร้อยในพื้นที ่ น่าปลื้มใจนะคะ น้ำใจแบบไทยเรานี่ล่ะค่ะที่ช่วยให้ทุก

วกิฤตการณผ์า่นพน้ไปด้วยดีมาโดยตลอด หวังว่าบ้านเมืองของเราจะกลับมามีรอยยิ้มดังเดิม

ในเร็ววันนะคะ

จุลสาร ชุมชนของเรา ฉบับนี้พบกับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของศูนย์สุขภาพและ

การเรยีนรูเ้ครอืไทยออยลเ์พือ่ชมุชน และในวนัพธุที ่4 สงิหาคมนี ้ ขอเรยีนเชญิชาวชมุชนทกุทา่น

ร่วมงานพิธีเปิดศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน เตรียมพบกับกิจกรรม

มากมายที่รับรองว่าทุกท่านจะได้ทั้งสาระและความบันเทิงอย่างจุใจเลยล่ะค่ะ

ปัจจุบันนี้ี นอกจากการเปิดให้บริการด้านทันตกรรมแก่เด็กนักเรียนแล้ว บริเวณลาน

ด้านหน้าศูนย์สุขภาพฯ ยังมีกิจกรรมออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก สถานีออกกำลังกาย

และเครื่องเลน่ของเดก็เลก็ จงึอยากเชญิทกุครอบครวัมารว่มสรา้งสขุภาพทีด่ใีหก้บัตนเองและ

คนทีค่ณุรกัดว้ยการออกกำลงักายกนัเถอะคะ่ อยา่ลมืนะคะ “สขุภาพดไีมม่ขีาย อยากไดต้อ้ง

สรา้งเอง”

พบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ

บรรณาธิการ

Page 3: CSR ชุมชนของเรา 2

เรื่องจากปก โดย กองบรรณาธิการ

นับตั้งแต่วันแรกของการเป็นสมาชิกใหม่ในพื้นที่แถบตะวันออกณ ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อ 49ปีที่แล้ว สำนึกแห่งการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินยังคงเข้มข้นอยู่ในสายเลือดของคนไทยออยล์เสมอมาไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปนานเพียงใดเรามุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันด้วยคุณภาพมาตรฐานสูงสุด พร้อมเติบโตควบคู่ไปกับความรับผิดชอบที่มีต่อชุมชนรอบข้าง

“ศนูยส์ขุภาพและการเรยีนรูเ้ครอืไทยออยล ์

เพื่อชุมชน” คือ อีกหนึ่งผลผลิตทางความคิดที่

เกิดขึ้นจากการสั่งสมบทเรียนและประสบการณ์

ในการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนรอบโรงกลั่น

การช่วยกันคิด ช่วยกันพัฒนา เพื่อให้ชุมชน

เข้มแข็งนั้น เป็นรากฐานสำคัญในการสร้าง

“ความรู้” และ “ความคิด” ต้นทุนสำคัญที่

ทำให้ชุมชนสร้าง “ภูมิคุ้มกันชีวิต” ได้ด้วยตัว

เองอย่างแท้จริง

สุขภาพชุมชน...ความดีที่ร่วมกันทำได้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การดูแล

สุขภาพของชุมชนรอบโรงกลั่นเป็นความใส่ใจ

ทีเ่ครอืไทยออยลม์ุง่มัน่อยา่งตอ่เนือ่ง โดยรว่มมอื

กบัเทศบาลตำบลแหลมฉบงั โรงพยาบาลอา่วอดุม

และคณะกรรมการชุมชน จัดกิจกรรมรณรงค์

ออกหน่วยบริการด้านสาธารณสุขและงาน

ทันตกรรมเคลื่อนที่ เพื่อให้บริการแก่ชาวบ้าน

ในชุมชนเป็นประจำ เพราะตระหนักดีว่า

สุขภาพที่ดี คือ ทรัพย์ที่มีค่า เป็นต้นทุนที่

สำคัญในการดำเนินชีวิต จึงให้ความสำคัญกับ

แนวคิดการปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนเริ่มต้น

ดูแลรักษาสุขภาพในเชิงป้องกันมากกว่าที่จะรอ

ให้เกิดอาการก่อน แล้วจึงค่อยตามรักษา ซึ่ง

เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ

จากประสบการณ์ ในการให้บริการ

ด้านสุขภาพในรูปแบบของการออกหน่วย

สาธารณสุขเคลื่อนที่ พบว่ามีชุมชนสนใจเข้ารับ

บริการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะงานด้าน

ทันตกรรม ทำให้ชาวบ้านต้องเข้าคิวรอต่อเนื่อง

ซึ่ ง บ า งส่ วนอาจ เข้ า ไม่ ถึ ง ก า ร ให้ บ ริ ก า ร

เนื่องจากข้อจำกัดด้านวันและเวลา

“ศูนย์ สุ ขภาพและการ เรี ยนรู้ เ ครื อ

ไทยออยล์ เพื่อชุมชน” จึงได้ถือกำเนิดขึ้น

ในรูปแบบของโครงการความร่วมมือระหว่าง

ชุมชนรอบพื้นที่โรงกลั่นน้ำมัน โรงพยาบาล

อ่าวอุดม และเครือไทยออยล์ ซึ่งมุ่งมั่นตั้งใจ

พัฒนาชุมชนถิ่นอาศัยให้เกิดความเข้มแข็ง

ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เป็นศูนย์กลางการ

ให้บริการด้านสุขภาพแก่ชุมชน เน้นงานด้าน

ผนึกกำลัง ผสานพลังเครือข่ายเชิงรุก สู่ “ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน”

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 �

Page 4: CSR ชุมชนของเรา 2

ทันตกรรม และการดูแลสุขภาพเชิงรุก และพร้อมทำหน้าที่ศูนย์กลางการเรียนรู้ของ

ชุมชน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยพลังของคนในชุมชนเอง

สุขภาพดี...เริ่มต้นที่ฟ.ฟัน “ฟัน” คือ ด่านแรกของการดูแลสุขภาพ หากสุขภาพในช่องปากดี ปราศจาก

ฟันผุ โรคเหงือก หรือโรคทางช่องปากใด ๆ แล้ว สุขภาพร่างกายย่อมจะแข็งแรงดีตาม

ไปด้วย ส่งผลถึงสุขภาพทางจิตใจอีกเช่นกัน

ขอ้มลูจากการออกหนว่ยแพทยเ์คลือ่นที ่ประมาณการไดว้า่ คนไทย 9 ใน 10 คน

มีปัญหาเรื่องฟันและช่องปาก อาจเป็นเพราะขาดการดูแลที่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็ก

ศูนย์สุขภาพฯ จึงให้ความสำคัญกับงานด้านทันตกรรม โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายในวัย

เดก็นกัเรยีน ซึง่ควรไดร้บัการตรวจและตดิตามสขุภาพชอ่งปากอยา่งตอ่เนือ่ง รวมถงึไดร้บั

เวชศาสตร์ชุมชน...มุ่งค้นหาข้อมูลเพื่อส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก “ขอ้มลูสขุภาพในพืน้ทีช่มุชน” คอื หวัใจสำคญัของการวางแผนงานการใหบ้รกิารดา้นสขุภาพเชงิรกุ

เมื่อทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่งานด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ออกเยี่ยมเยียนและลงสำรวจข้อมูลของคนใน

ชุมชน ทั้งส่วนที่เป็นการเฝ้าระวังและติดตามดูแลผู้ป่วยภายหลังการรักษา คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และ

หลังคลอด กลุ่มเป้าหมายในวัยผู้สูงอายุ เด็ก หรือคนทำงาน ตลอดจนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ทำให้

สามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้วางแผนการรักษาให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและความต้องการ และยังช่วย

ให้ทีมงานสามารถคิดรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อรณรงค์ให้เกิดการรับรู้ข้อมูลและเปลี่ยนแปลง

ทัศนคติ จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

ผลจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ยังช่วยให้รู้ว่าผู้ป่วยรายใดจำเป็นต้องได้รับการรักษาและติดตามภาวะอาการจากโรคเรื้อรัง

เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด ฯลฯ ซึ่งจำเป็นต้องนัดหมายเพื่อให้แพทย์ได้ตรวจติดตามอาการอย่าง

ใกล้ชิด ผู้ป่วยกลุ่มที่แพทย์ได้นัดหมายไว้สามารถเดินทางมารับบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ และพบแพทย์ได้โดยตรงที่

ศูนย์สุขภาพฯ ซึ่งแต่เดิมอาจต้องเดินทางไปถึงโรงพยาบาลอ่าวอุดม

การทำงานด้วยพื้นฐานของ “ข้อมูล” ที่ได้จากการสำรวจอย่างละเอียดในภาคสนาม และที่บันทึกได้จาก

ทะเบยีนประวตักิารรกัษาของผูใ้ชบ้รกิารในศนูยส์ขุภาพฯ ทัง้งานบรกิารรกัษาตามนดัหมายแพทย ์ และงานดา้นทนัตกรรม

จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่มีผลต่อการจัดทำยุทธศาสตร์การให้บริการที่ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพได้ตรงตามความต้องการ

และเกิดประสิทธิภาพในการส่งเสริมงานด้านสาธารณสุขชุมชนได้อย่างยั่งยืน

การปลูกฝังทัศนคติ และฝึกทักษะที่ดีในการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ตลอดจนมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพของฟัน เพื่อป้องกันและ

บรรเทาปัญหาในช่องปากที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยผนึกกำลังวางแผนยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกับโรงพยาบาลอ่าวอุดม จัดส่งทันตแพทย์และทันตภิบาล

มืออาชีพพร้อมให้บริการตรวจรักษาฟันขั้นพื้นฐาน เริ่มตั้งแต่ตรวจสุขภาพภายในช่องปาก อุด ถอน ขูดหินปูน เคลือบฟลูออไรด์ ส่วนเด็กนักเรียนคนใด

ที่จำเป็นต้องได้รับการบริการด้านทันตกรรมที่เฉพาะเจาะจงลงไป เช่น ผ่าฟันคุด จะได้รับการส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอ่าวอุดม

S

FOREST

B

S

FOREST

B

S

FOREST

B

เรื่องจากปก

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553�

Page 5: CSR ชุมชนของเรา 2

การศึกษาเรียนรู้ชุมชน...อีกหนึ่งต้นทางของการรู้จักตัวตน ภารกิจอีกด้านหนึ่งของ “ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อ

ชุมชน” นอกเหนือจากการให้บริการทางด้านการแพทย์ และการส่งเสริมงานด้าน

สขุภาพ ในลกัษณะของศนูยส์ขุภาพปฐมภมูแิลว้ ยังมุ่งเน้นงานด้านการศึกษาเรียนรู้

ชุมชน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการค้นหาคุณค่าและความหมายของการเรียนรู้

จากสิ่งรอบตัว โดยย้อนเวลากลับไปศึกษาวิถีแห่งรากเหง้าในอดีต เพื่อนำความรู้ที่

เกิดจากการสั่งสมภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมาใช้เป็นต้นทุนในการทำความรู้จัก

ถิ่นฐาน อันจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและความรักษ์ในถิ่นฐานของตน

ปัจจุบันชุมชนในพื้นที่แถบตะวันออกเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงและกำลังพัฒนา

ไปสู่ความเป็นชุมชนเมือง ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวทางด้าน

เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ส่งผลให้รากฐานความเป็นมาของท้องถิ่น รวมถึง

วัฒนธรรม ประเพณี และการละเล่นประจำถิ่นบางอย่าง เช่น มวยตับจาก ถูก

กลนืหายไปตามกาลเวลาและยคุสมยั เดก็และเยาวชนรุน่ใหมจ่งึมโีอกาสนอ้ยลง

ในการมองเห็นและสัมผัสวิถีความเจริญทางวัฒนธรรมในอดีต

ในอีกมุมหนึ่งของศูนย์สุขภาพฯ แห่งนี้ ยังเปิดพื้นที่เพื่อการค้นคว้าแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออินเทอร์เน็ต ให้คนในชุมชน

สนใจเรียนรู้ต่อยอดด้วยตนเอง ผลแห่งการศึกษารากฐานของชุมชนนี้ ย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการและการออกแบบสร้างสรรค์

กจิกรรมและความเคลือ่นไหวตา่ง ๆ ภายในศนูยส์ขุภาพฯ เพือ่ใหศ้นูยแ์หง่นีม้ชีวีติ พรอ้มทีจ่ะนำ “ขอ้มลู” และ “ความรู”้ ทีไ่ด ้มาขยายผลอยา่งตอ่เนือ่ง

ร่วมคิดร่วมทำเพื่อชุมชนน่าอยู่ โครงการความรว่มมอืเพือ่บรหิารงาน “ศนูยส์ขุภาพและการเรยีนรูเ้ครอืไทยออยลเ์พือ่ชมุชน” สามารถเดนิหนา้ตามภารกจิงานไดอ้ยา่งเปน็รปูธรรม

เนื่องมาจากพลังความร่วมมือของโรงพยาบาลอ่าวอุดม ซึ่งมีองค์ความรู้ด้านการรักษาโรค การทำงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน ความพร้อม

จากทีมแพทย์และบุคลากรด้านสาธารณสุข เหนือสิ่งอื่นใด พลังใจที่เกินร้อยของคนทำงานที่ต้องการเห็นคนในชุมชนมีสุขภาพดีกันถ้วนหน้า

ส่วนทาง 7 ชุมชนรอบพื้นที่โรงกลั่นน้ำมัน สามารถเริ่มต้นสานพลังความร่วมมือ โดยผ่านแกนนำหรือคณะกรรมการชุมชน ซึ่งเป็นต้นทุน

บุคลากรในพื้นที่ มีศักยภาพในการทำหน้าที่ประสานและหนุนเสริมให้คนในชุมชนได้มีโอกาสพบบุคลากรทางการแพทย์ หรือใช้บริการจากศูนย์

สุขภาพฯ อย่างทั่วถึง พร้อมทั้งยังทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครแกนนำส่งเสริมสุขภาพประจำชุมชนได้อีกด้วย

ทางด้านเครือไทยออยล์ องค์กรที่อาศัยและเติบโตขึ้นมาในฐานะสมาชิกหนึ่งของชุมชน ยิ่งต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดินด้วยการคืนสิ่งที่ดี ๆ

กลับคืนสู่สังคม สะท้อนได้ชัดเจนจากการให้ความสำคัญกับงานชุมชนรอบพื้นที่โรงกลั่น ซึ่งเน้นย้ำการสร้างพลังจากการทำงานร่วมกันกับชุมชน โดย

ยึดหลัก “เราคิด ร่วมกัน เราทำ ร่วมกัน” ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 5 ร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข ร่วมรับผล ร่วมปรับปรุงและพัฒนา ด้วย

ความเชื่อมั่นว่ากระบวนการทำงานดังกล่าวนี้ เป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และปรับแต่งแนวคิด ทัศนคติ รวมถึงเข้าใจวิถีของการพัฒนาบน

ความเกื้อกูลที่ทุกฝ่ายสามารถช่วยกันสร้างได้

“ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน” จึงเริ่มต้นขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยปัจจัยหนุนเสริมจากแต่ละองค์กร ทั้งในด้านกำลังคน

ความรู้ พื้นที่ และงบประมาณ ซึ่งในท้ายที่สุด ดอกผลของพลังความร่วมมือจากแต่ละภาคีก็ย่อมเกิดแก่คนในชุมชนนั่นเอง

ศูนย์สุขภาพฯ จึงได้กำหนดแนวทางการศึกษาค้นคว้ารากฐานที่มาของชุมชนไว้

ในเบื้องต้น คือ “การศึกษาชุมชนในมิติทางสังคมวิทยา” และ “การศึกษาชุมชนในมิติ

ทางธรรมชาติวิทยา” โดยผสานความร่วมมือกับครูอาจารย์จากโรงเรียนในพื้นที่ชุมชน

แกนนำ ผูเ้ฒา่ผูแ้กแ่ละนกัปราชญท์อ้งถิน่ องคก์รอสิระในชมุชน นกัวจิยัอสิระ ตลอดจน

กำลังสำคัญอย่างเยาวชน เพื่อร่วมกันค้นหาและเก็บบันทึกเรื่องราวอันทรงคุณค่าแห่ง

วิถีชุมชนท้องถิ่น ซึ่งศูนย์สุขภาพฯ พร้อมทำหน้าที่เปิดเวทีกลางให้แต่ละชุมชนได้นำ

ผลงานการค้นคว้ามาจัดแสดงหรือบอกเล่าให้เพื่อนพี่น้องต่างชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกัน

S

FOREST

B

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 �

เรื่องจากปก

Page 6: CSR ชุมชนของเรา 2

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553�

เส้นทางส่งเสริมสุขภาพ จากน้ำพระราชหฤทัย ตามรอยพ่อ

โดย ลูกคนเล็ก

ภายหลงัจากทีพ่ระบาทสมเดจ็พระเจา้อยูห่วัฯ ไดเ้สดจ็พระราชดำเนนิกลบั

จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2494 พระองค์ทรงเริ่มต้นพระราช

กรณียกิจเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมทุกข์สุขของราษฎรในชนบททั่วทุก

ภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง เพื่อทอดพระเนตรสภาพความเป็นอยู่และปัญหาความ

เดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ยากจน ห่างไกล และทุรกันดาร

พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหาข้อมูลที่แท้จริงจากผู้ที่อยู่ในพื้นที่

ทรงสงัเกตการณ ์ และสำรวจสภาพทางภมูศิาสตรไ์ปพรอ้ม ๆ กนั เพือ่นำขอ้มลูเหลา่นัน้ไปใชใ้น

การวางแผนการพัฒนาที่สอดคล้องกับต้นทุนของพื้นที่และชุมชน ช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาได ้

ตรงจดุ โดยทรงมีพระราชปณิธานมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน เน้นปัญหา

พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่ นั่นคือ ต้องมีอาหารการกินที่มีคุณภาพ มีเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย

ที่ถูกต้องตามสุขอนามัย และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รวมถึงการให้การศึกษาและการเสริมสร้าง

คุณธรรมและจริยธรรมให้แก่ประชาชนด้วย

ในช่วงเวลานั้น ประชาชนในท้องถิ่นที่ห่างไกลยังได้รับบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขไม่ทั่วถึง ส่งผลให้ประชาชนที่ยากจนอยู่แล้ว กลับยิ่ง

เผชิญทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บ ส่งผลให้ทำมาหากินลำบากยากเข็ญมากขึ้น แต่ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ทรงพระกรุณา

พระราชทานโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุขมากมายหลายโครงการ ดังเช่น

“...เมื่อมีสุขภาพสมบูรณ์ดีพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ย่อมมีกำลังทำประโยชน์สร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที่...” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ 22ตุลาคม2522 สะท้อนได้ชัดเจนว่าพระองค์ทรงให้ความสำคัญกับสุขภาพอนามัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อเรามีสุขภาพที่ดีร่างกายแข็งแรง จิตใจแจ่มใส เราก็สามารถคิดและลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ เกิดประโยชน์ต่อตัวเองและผู้อื่นได้อย่างเต็มที่

พ.ศ. 2472 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงก่อตั้งสมาคมปราบ

วัณโรคแห่งกรุงสยามขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณารับสมาคมฯ ไว้ในพระบรม

ราชูปถัมภ์ และทรงอุปถัมภ์บำรุงอย่างต่อเนื่อง เช่น ทรงนำยารักษาวัณโรคขนานใหม่จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์

มาพระราชทานแก่กระทรวงสาธารณสุข และทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ เพื่อก่อสร้างอาคารมหิดลวงศานุสรณ์

ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นสถานที่ผลิตวัคซีน บี.ซี.จี ป้องกันโรค

พ.ศ. 2495 ทรงพระกรุณาจัดตั้ง “ทุนโปลิโอสงเคราะห์” โดยพระราชทานทุนแรกเริ่ม เพื่อก่อสร้างตึก

วชิราลงกรณธาราบำบัด ซึ่งใช้น้ำบำบัดรักษาผู้ป่วยและพิการจากโรคโปลิโอ และจัดซื้ออุปกรณ์ เช่น ปอดเหล็ก

เป็นเครื่องมือช่วยหายใจ และเวชภัณฑ์อื่น ๆ และทรงพระราชทานพระราชทรัพย์อีกส่วนหนึ่งแก่ โรงพยาบาล

ศิริราช เพื่อก่อตั้งสถานบำบัดโรคโปลิโอด้วย

พ.ศ. 2498 ทรงพระกรุณาให้สภากาชาดไทยดำเนินการให้บริการรักษาพยาบาลทางน้ำ โดย

พระราชทานเรือเวชพาหน์ ซึ่งเป็นเรือยนต์ขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ด้านการแพทย์เพื่อใช้ออกตรวจรักษาโรค

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก

Page 7: CSR ชุมชนของเรา 2

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 �

พ.ศ. 2501 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงสาธารณสุขก่อตั้ง “สถาบันราชประชาสมาสัย”

เพื่อดำเนินการโครงการปราบปรามและควบคุมโรคเรื้อน โดยพระราชทานพระราชทรัพย์สมทบกับเงิน

รายได้จากการฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ เพื่อก่อสร้างอาคาร 4 หลัง ในบริเวณสถานพยาบาล

พระประแดง เป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในการบำบัดรักษาโรคเรื้อน

พ.ศ. 2505 ทรงพระกรุณาจัดตั้ง “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์”

และโปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อ.ส. เผยแพร่ข่าวและเชิญชวนให้พี่น้องชาวไทยร่วมบริจาคทรัพย์

และสิ่งของช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นที่

จังหวัดทางภาคใต้ของไทย

พ.ศ. 2508 ทรงพระกรณุาโปรดเกลา้ฯ ใหแ้พทยห์ลวง

และหน่วยแพทย์พระราชทาน ติดตามขบวนเสด็จไปในชนบท

เพื่อออกตรวจรักษาราษฎรเจ็บป่วยซึ่งมารอรับเสด็จ เมื่อทรง

แปรพระราชฐานไปประทับแรมในภาคต่าง ๆ เพื่อเยี่ยมราษฎร

และยังทรงพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่ผู้เจ็บป่วย

ที่ต้องรับการรักษาต่อเนื่องในโรงพยาบาลด้วย

พ.ศ. 2512 ทรงพระราชทาน “หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่” โดยมีทันตแพทย์อาสา

ตามเสด็จในการแปรพระราชฐานไปประทับแรมเพื่อเยี่ยมราษฎร ออกตรวจรักษาโรคฟันแก่ราษฎร

ในท้องถิ่นทุรกันดาร

พ.ศ. 2524 ทรงพระราชทานแนวคิดโครงการหมอหมู่บ้าน โดยคัดเลือกคนหนุ่มสาว

ในหมู่บ้านมาฝึกอบรมให้มีความรู้ สามารถให้ยาและรักษาพยาบาลเบื้องต้นเมื่อคนในหมู่บ้าน

เจ็บป่วยและติดต่อส่งตัวผู้ป่วยไปรักษา ณ โรงพยาบาลเมื่อจำเป็น รวมทั้งให้ความรู้ด้านบำรุง

รักษาสุขภาพอนามัยแก่คนในหมู่บ้าน เริ่มเป็นแห่งแรกที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อมาขยายโครงการ

ออกไปสู่หมู่บ้านที่มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหรือโครงการศิลปาชีพ

พ.ศ. 2535 ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์จำนวนหนึ่ง เพื่อบริหารงานคลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา ให้บริการตรวจรักษาโรคแก่ประชาชนโดย

ไม่มุ่งผลกำไร โดยมีแพทย์ผู้ชำนาญจากโรงพยาบาลต่าง ๆ หมุนเวียนมาปฏิบัติงาน ต่อมาปี พ.ศ. 2543 กระทรวงการคลังได้สนองพระราชดำริจัดให้

คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนานี้เป็นโรงพยาบาลของทางราชการ

พ.ศ. 2539 ทรงมีพระราชดำริในการรักษาและขจัดปัญหาโรคคอพอก หรือสติปัญญาต่ำ ซึ่งเกิดจากการขาดสารไอโอดีน จึงทรง

พระราชทานเกลือเสริมไอโอดีนแก่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนทั่วประเทศ และในปีเดียวกัน ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์จัดสร้าง

โรงงานทำแขนขาเทียมและฝึกอาชีพขึ้นที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า เพื่อบำบัดรักษาดูแลทหารทุพพลภาพที่สูญเสียอวัยวะบางส่วน จากการรบใน

สมรภูมิเวียดนามและในประเทศ นอกจากนี้ ยังทรงพระราชทานเลี้ยงและพระราชทานของขวัญอย่างสม่ำเสมอ

เส้นทางส่งเสริมสุขภาพดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงมีต่อประชาชนของ

พระองค์ โดยเฉพาะผู้ที่ยากจนและอยู่ในถิ่นชนบทห่างไกล เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ซึ่งนั่นคือหัวใจสำคัญ

ของการพัฒนาประเทศที่แท้จริง จึงนับเป็นความโชคดีที่สุดของคนไทยทั้งชาติที่ได้เกิดและอาศัยบนผืนแผ่นดินไทยที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่

ซึ่งหัวใจมีแต่คำว่า “ประชาชน” แหล่งข้อมูล: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ www.identity.opm.go.th www.raorakprajaoyuhua.com พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี โครงการสารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน เล่ม 12

Page 8: CSR ชุมชนของเรา 2

เครือไทยออยล์ออกหน่วยสร้างเสริมสุขภาวะเคลื่อนที ่ เครือไทยออยล์ร่วมกับโรงพยาบาลอ่าวอุดมและเทศบาลตำบลแหลมฉบัง โดยความร่วมมือของคณะกรรมการชุมชน ออกหน่วย สรา้งเสรมิสขุภาวะเคลือ่นที ่ ณ ชมุชนบา้นทุง่ และชมุชนตลาดอา่วอดุม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม และวันที่ 3 มิถุนายนตามลำดับ ในงานนอกจากจะมีการตรวจสุขภาพ การให้บริการด้าน ทันตกรรม นิทรรศการให้ความรู้เพื่อการดูแลสุขภาพอย่าง ถูกวิธีแล้ว ชาวชุมชนยังได้รับความสนุกสนานจากความบันเทิงหลากหลาย อาทิ การแสดงของเยาวชนและพี่น้องชุมชนบนเวที การสาธิตการดับเพลิงจากถังก๊าซหุงต้ม การแสดงดนตรี โดยมีชาวบ้านให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสองชุมชนกว่า 1,100 คน

ร่วมพัฒนาวัดมโนรมและวัดใหม่เนินพะยอม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม 2553 กองทัพเรือ โดยหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรกัษาฝัง่ เครอืไทยออยลแ์ละ TCP เทศบาลแหลมฉบงั ชมุชนบา้นทุง่ ชมุชนบา้นอา่วอดุมกวา่ 200 คน ไดร้ว่มกนัพฒันาวดัมโนรมและวดัใหมเ่นนิพะยอม ศูนย์รวมจิตใจคนในชุมชน ด้วยการทำความสะอาดในบริเวณวัด อุโบสถ และ

ศาลาการเปรียญ เพื่อรองรับศาสนพิธีวันวิสาขบูชาซึ่งมีขึ้นปลายเดือนพฤษภาคม

ชาวบ้านนำอาหารและเครื่องดื่มมาดูแลทหาร ชาวบ้านในชุมชนสร้างความมีส่วนร่วมกับเครือไทยออยล์ ด้วยการนำอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนวัตถุมงคลมามอบให้กองกำลังทหารจากหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ และหน่วยอื่น ๆ ที่ได้เข้ามาประจำการเพื่อดูแลความเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยตามจุดต่าง ๆ ในช่วงสถานการณ์ความไม่สงบในบ้านเมือง เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553�

รอบรั้วไทยออยล์โดย หน่วยกลั่นข่าว

Page 9: CSR ชุมชนของเรา 2

ศูนย์สุขภาพฯร่วมกับโรงพยาบาลอ่าวอุดมจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพฟันให้กับนักเรียน ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน เปิดให้บริการด้านทันตกรรมแก่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในเขตตำบลทุ่งสุขลา ทุกวันพุธ วันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เริ่มให้บริการ ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน ที่ผ่านมา

เสวนาประสาชุมชน เครือไทยออยล์และ TCP ร่วมกับประธานชุมชนบ้านอ่าวอุดม, ตลาดอ่าวอุดม, เขาน้ำซับ, ชากยายจีน, มโนรม, บ้านทุ่ง, บ้านแหลมฉบังและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสวัสดิการฯ เทศบาลแหลมฉบัง ร่วมสรุปเหตุการณ์เรื่องสถานการณ์ความไม่สงบและกองกำลังทหารที่เข้ามาประจำการตามจุดต่าง ๆ เพื่อเก็บเป็น บทเรียนในการปกป้องพื้นที่แหลมฉบัง รวมทั้งการเตรียมการไปทัศนศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน

สัมมนาเครือข่ายชุมชนณจังหวัดสุพรรณบุร ี เมื่อวันที่ 12-13 มิถุนายนที่ผ่านมา เครือไทยออยล์และ TCP ไดจ้ดักจิกรรมนำผูแ้ทนชมุชนรอบโรงกลัน่ 140 คน ไปศกึษา ดูงานด้านประวัติศาสตร์และการจัดกิจกรรมชุมชน ณ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยได้เยี่ยมชมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรักษาและพัฒนาตลาด 100 ปีที่อำเภอสามชุก ซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบของการเชื่อมโยงวิถีชุมชน วิถีไทย และวิถีโลกเข้าด้วยกันอย่างเปน็รปูธรรม นอกจากนัน้ ชาวชมุชนยงัไดร้ว่มจติศรทัธา ทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดสับปะรสเทศ ต.วังยาง อ.ศรปีระจนัต ์จ.สพุรรณบรุ ี อกีดว้ย กิจกรรมในครั้งนี้ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายชุมชน เครือไทยออยล์และ TCP ได้เป็นอย่างดี

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 �

Page 10: CSR ชุมชนของเรา 2

นายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า กรมทางหลวง จ.ชลบุรี

ได้ดำเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3 สายตลาดหนองมน-อำเภอบางละมุง ตอน 2

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางให้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยได้ว่าจ้าง

ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางแสนมหานคร ดำเนินการก่อสร้าง โดยจะทำการตอกเสาเข็มต้นที่

7 และ 8 ซึ่งอยู่บริเวณใกล้จุดตัดสี่แยกอ่าวอุดม และต้องใช้พื้นที่ในการก่อสร้างฐานราก

ขนาด 8 x 10 เมตร จึงมีความจำเป็นต้องปิดสี่แยกอ่าวอุดมบริเวณ กม.ที่ 124 เป็นการ

ชั่วคราวประมาณ 6 เดือน โดยเริ่มปิดตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และประชาชนทั่วไป โดยผู้ใช้ทางหลวงดังกล่าว สามารถกลับรถได้ที่จุดกลับรถตามที่

กำหนด ซึ่งในระหว่างดำเนินการก่อสร้างอาจทำให้การจราจรไม่สะดวกแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนและประชาชนทั่วไป โปรดใช้ความระมัดระวังในการใช้

เส้นทางเพิ่มขึ้นด้วย

นายวีระกล่าวว่า ผู้ใช้เส้นทางดังกล่าวและประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานบำรุง

ทางชลบุรีที่ 2 โทร. 0-3838-5778-80 สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง 0-2354-6530 หรือสายด่วนกรมทางหลวง 1586 ทุกวัน ในเวลา

ราชการ หรือตำรวจทางหลวง 1193 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลการบริหาร

สู่ความเป็นเลิศ ประจำปี 2552 ตอกย้ำภาพลักษณ์ความเป็นองค์กร

ชั้นนำของไทย ที่มีระบบการบริหารจัดการองค์กรอย่างบูรณาการ

ด้วยคุณภาพระดับมาตรฐานโลก และนับเป็นอีกหนึ่งรางวัลแห่งความ

ภาคภูมิใจ ที่ยืนยันในวิถีปฏิบัติที่ไทยออยล์ดูแลชุมชน สังคม และ

สิ่งแวดล้อมอย่างดีมาตลอดการดำเนินงานกว่า 49 ปี

หนึง่ในคา่นยิมหรอืวฒันธรรมองคก์รทีพ่นกังานทกุคนตระหนกัดี

และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งต่อชุมชนรอบโรงกลั่น ซึ่งเปรียบเสมือนคนในครอบครัวที่มี

ความรักและความเอื้ออาทรต่อกัน

กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อรับผิดชอบต่อสังคมของเครือ

ไทยออยล์ทุกด้าน ล้วนคำนึงถึงผลประโยชน์ของคนในชุมชนและ

สังคมเป็นสำคัญ อาทิ การเลือกใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสุดที่เป็นมิตรต่อ

สิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมหรือกระทบน้อยที่สุด กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานในระดับสากล มีความ

ปลอดภยั รกัษาสิง่แวดลอ้ม และบรหิารจดัการทรพัยากรอยา่งคุม้คา่ การเพิม่พืน้ทีส่เีขยีวในโรงกลั่น รวมทั้งการ

สนับสนุนโครงการทางด้านการศึกษา สืบสานศาสนา อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น ตลอดจนการ

สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ชุมชน โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อให้ทุกโครงการมีประสิทธิภาพสูงสุด

และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง

ผู้บริหารและพนักงานเครือไทยออยล์ทุกคน มีความมุ่งมั่นและพร้อมให้ความมั่นใจว่าจะพัฒนาการ

บริหารจัดการองค์กรตามแนวทางของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาธุรกิจ

เติบโตควบคู่ไปกับชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสืบไป

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 13 พฤษภาคม 2553

ไทยออยล์รับรางวัลTQC

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553�

กรมทางหลวงแจ้งปิดถนนช่วงแยกอ่าวอุดมบางช่วงเพื่อก่อสร้างทางตลาดหนองมน-บางละมุง

Page 11: CSR ชุมชนของเรา 2

ÁÍ¡.

ÁÍ¡.

1.5 àÁµÃ

หัวปรับความดัน (Regulator)ลดความดันได 2 ขั้นตอน สามารถปดตัวเองไดโดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดผิดปกติ

เชื่อมดวยเครื่องมืออัตโนมัติไมมีการรั่วซึม

มีตัวหนังสือระบุบริษัทผูเปนเจาของและน้ำหนักชัดเจน

ผนังถังหนามากกวา 2.2 มม. ทำจากเหล็กกลาเนื้อดี ตามมาตรฐาน

ของ สมอ. ทนแรงดันไดมากกวา 480 ปอนด/ตร.นิ้ว

มีตรารองรับคุณภาพถังจากสำนักงานมาตรฐาน

ผลิตภัณฑอุตสาหกรรม (มอก.)

มีซีลผนึกวาลวหัวถัง

ผิวนอกพนสารสังกะสีกันสนิม

กาซหุงตมในถังจะอยูในสภาพของเหลวประมาณรอยละ 65

ของปริมาตรถัง

ปลอดภัยใกล้ตัวโดย เซฟตี้แมน

1. เลือกใช้ก๊าซหุงต้มที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

• สังเกตเครื่องหมายสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

รับรองคุณภาพ และระบุบริษัทผู้เป็นเจ้าของ

• โครงสร้างถังเชื่อมด้วยเครื่องมืออัตโนมัติ ไม่มีการรั่วซึม ถังก๊าซควรอยู่

สภาพสมบูรณ์ ไม่บุบ ไม่บวม หรือเป็นสนิม

• หัวปรับความดัน (Regulator) ลดความดันได้ 2 ขั้นตอน สามารถปิด

ตัวเองได้โดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดความผิดปกติ

• มีซีลผนึกวาล์วหัวถัง และบอกน้ำหนักอย่างชัดเจน

2. ใช้สายยางและเหล็กรัดที่มีคุณภาพ

• สายยาง ต้องเป็นสายที่ผลิตได้มาตรฐานเหมาะสมกับสภาพของก๊าซ

ไม่หักงอง่าย ความยาวของสายยางประมาณ 1 เมตร ถึง 1.50 เมตร

• เหล็กรัดควรเป็นชนิดที่ไม่เป็นสนิมง่าย

3. การตั้งถังและเตาก๊าซ

• ถังก๊าซและเตาก๊าซจะต้องตั้งในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี พื้นที่รองรับถัง

ก๊าซจะต้องแข็งแรงเพียงพอ และพื้นต้องราบเสมอกัน ห้ามวางถังเอียง

หรือวางนอน

• จะต้องไม่ตั้งถังก๊าซในห้องใต้ดิน หรือบนพื้นที่ต่ำกว่าระดับพื้นอาคาร

หรือระดับพื้นดิน

• ถังก๊าซควรจะให้ห่างจากเตาก๊าซประมาณ 1 เมตร ถึง 1.50 เมตร

• อย่าตั้งถังก๊าซไว้ใกล้ประตูทางเดินเข้าออกจนเกินไป เพราะถังก๊าซจะถูก

ชนล้ม หรือผู้ชนอาจได้รับบาดเจ็บ

กว่าจะมาเป็นกับข้าวแสนอร่อย ทั้งนึ่ง ทอดผัด ต้ม ที่วางอยู่บนโต๊ะอาหาร“กา๊ซหงุตม้”คอืผูช้ว่ยคนสำคญัของคณุแมบ่า้นสมยัใหม่เพราะใชง้านง่าย สะดวกสบาย แต่...หลายคนอาจกังวลใจกับการใช้ก๊าซหุงต้มอยู่บ้างเนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่สามารถติดไฟได้อย่างรวดเร็ว หากใช้อย่างไม่ระมดัระวงัพลัง้เพลอหรอืใชผ้ดิวธิีอาจเกดิปญัหากา๊ซหงุตม้รัว่ไหลกลายเปน็ชนวนเหตขุองสถานการณ์ไมค่าดคดิได้ “ปลอดภยัใกลต้วั”ฉบบันี้ เซฟตีแ้มนขออาสาเปิดประเด็นชวนคุณแม่บ้านหันมาใส่ใจวิธีใช้ก๊าซหุงต้มอย่างปลอดภัยดงันีค้รบั

ประเด็นควรรู้...ห่างไกลจากภัย

ÁÍ¡.

ÁÍ¡.

1.5 àÁµÃ

หัวปรับความดัน (Regulator)ลดความดันได 2 ขั้นตอน สามารถปดตัวเองไดโดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดผิดปกติ

เชื่อมดวยเครื่องมืออัตโนมัติไมมีการรั่วซึม

มีตัวหนังสือระบุบริษัทผูเปนเจาของและน้ำหนักชัดเจน

ผนังถังหนามากกวา 2.2 มม. ทำจากเหล็กกลาเนื้อดี ตามมาตรฐาน

ของ สมอ. ทนแรงดันไดมากกวา 480 ปอนด/ตร.นิ้ว

มีตรารองรับคุณภาพถังจากสำนักงานมาตรฐาน

ผลิตภัณฑอุตสาหกรรม (มอก.)

มีซีลผนึกวาลวหัวถัง

ผิวนอกพนสารสังกะสีกันสนิม

กาซหุงตมในถังจะอยูในสภาพของเหลวประมาณรอยละ 65

ของปริมาตรถัง

“ก๊าซหุงต้ม”

4. หลังจากเลิกใช้ก๊าซทุกครั้ง

• ควรปิดวาล์วที่หัวถังก๊าซก่อน แล้วจึงปิดวาล์วที่หัวเตา เพื่อไม่ให้มีก๊าซ

ตกค้างอยู่ในท่อต่อ ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายได้

• หมัน่ทำความสะอาดหวัเตากา๊ซเสมอ เพือ่ปอ้งกนัการอดุตนัของรทูีห่วัเตา

5. หมั่นตรวจรอยรั่วของก๊าซ

• ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ใช้น้ำสบู่ลูบตามจุดต่าง ๆ หากมีฟองสบู่ผุดขึ้นมา

แสดงว่าก๊าซรั่ว ให้ปิดวาล์วบนหัวถังก๊าซและติดต่อช่างเพื่อแก้ไขทันที

6. หากสงสัยว่าเกิดก๊าซรั่ว สังเกตจากการได้กลิ่นก๊าซ

• ห้ามจุดไม้ขีดไฟ สูบบุหรี่ เปิดสวิตช์ไฟ หรือทำให้เกิดประกายไฟใน

บริเวณนั้นอย่างเด็ดขาด

• ปิดวาล์วที่หัวเตาและวาล์วที่หัวถังก๊าซ

• ตรวจสอบรอยรั่วในจุดต่าง ๆ หากไม่สามารถแก้ไขได้ ให้นำถังก๊าซออก

มาที่โล่งแจ้งข้างนอก

• เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายไอก๊าซให้กระจายออกข้างนอก ใช้พัด

ไม้กวาด หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ พัดจนหมดกลิ่นก๊าซ หากบริเวณไอ

ก๊าซรั่วมีท่อระบายน้ำ ให้เปิดฝาท่อระบายน้ำไล่ไอก๊าซออกด้วย

• หากเกิดไฟลุกไหม้ ให้ใช้เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งฉีดดับ หรือน้ำ

ฉีดถังตลอดเวลาจนกว่าก๊าซจะถูกเผาไหม้หมด

• หากเตาก๊าซดับขณะใช้อยู่และได้กลิ่นก๊าซ ห้ามจุดเตาใหม่ทันที ให้รีบ

ปิดวาล์วที่หัวถังและปิดสวิตช์ที่เตา เพื่อระบายอากาศให้กลิ่นก๊าซหมด

ก่อน จึงค่อยจุดเตาใหม่

7. ข้อปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน • กรณีที่ก๊าซหุงต้มเหลวกระเด็นหรือกระฉอกเข้าตา จะต้องรีบล้างตาด้วย

น้ำสะอาดหลาย ๆ ครัง้อยา่งฉบัพลนั และใหด้งึหนงัตาลา่งและหนงัตาบน

อยูเ่สมอ ห้ามใช้น้ำร้อนล้างตาเป็นอันขาด แล้วรีบส่งผู้ป่วยไปยังสถาน

พยาบาลทันที

• กรณีหายใจเอาก๊าซหุงต้มเข้าไปในปริมาณที่สูง จะต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

ไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าหากผู้ป่วยนั้นหยุดหายใจ จะต้องช่วย

ผายปอดหรือใช้เครื่องช่วยหายใจ แล้วจึงให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนและห่มผ้า

ให้ร่างกายอบอุ่น แล้วส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลโดยเร็ว

ก่อนจากกัน เซฟตี้แมน ขอฝากให้คุณแม่บ้านหมั่นสำรวจพฤติกรรมการใช ้

กา๊ซหงุตม้ของตนเองเป็นประจำ รวมทั้งคอยตรวจสอบดูแลผู้ช่วยคู่ครัวอย่างถัง

ก๊าซและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อกันไว้ดีกว่าแก้ครับ

แหล่งข้อมูล : เอกสารสาระน่ารู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงาน ; สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ www.eppo.go.th ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 �

Page 12: CSR ชุมชนของเรา 2

• การบ้วนปาก หลายคนเลือกใช้วิธีนี้ เพราะสะดวกและง่ายที่สุด เพียงแค่อมน้ำไว้ในกระพุ้งแก้มพอเหมาะ ไม่เต็มปากจนล้น เขย่า ๆ ช่องปากเบา ๆ เหงือกและฟันก็จะขยับไปมา จากนั้นบ้วนน้ำออกเศษอาหารก็หลุดมาตามน้ำ วิธีที่จะบ้วนปากให้ได้ผลดี สามารถทำได้โดยการดันกระพุ้งแก้มให้น้ำเคลื่อนไปด้านซ้ายและขวา หน้าและหลังบ้วนปากเช่นนี้ซ้ำ 2-3 ครั้ง จะรู้สึกว่าช่องปากสะอาดขึ้นมาก

• การเคี้ยวหมากฝรั่ง สมาคมทันตแพทย์ชั้นนำในยุโรปออกโรงมาบอกว่า การเคี้ยวหมากฝรั่งที่ปราศจากน้ำตาลและมีส่วนผสมของสารไซลิทอล หลังอาหารมื้อหลักและมื้อว่างครั้งละ 1-2 เม็ด โดยเคีย้วนานอยา่งนอ้ย 3 นาทขีึน้ไปเปน็ประจำ ชว่ยลดการเกดิฟนัผไุด ้แถมยงัชว่ยลดกรดในชอ่งปาก ลดอาการเสียดท้อง และลดกรดไหลย้อนกลับได ้ ความเหนียวของหมากฝรั่งยังช่วยดึงเศษอาหารที่ติดอยู่ตามรอ่งฟนัออกมาดว้ย แตถ่า้เคีย้วอยา่งรนุแรง แทนทีจ่ะชว่ยลดความเครยีด อาจเสีย่งตอ่ขากรรไกรลา่งเคลด็ขดัยอก ทำใหป้วดคอปวดหวัตามมาได ้สดุทา้ยหากเคีย้วแลว้ทิง้ไมเ่ปน็ที ่อาจหมดราศกีนัทเีดยีว

หลากวิธีดูแล ช่องปากและฟัน

เคยสังเกตไหม หลังกินอาหารเสร็จ แต่ละคนมีวิธีจัดการกับสวนเกษตรในช่องปากอย่างไรคำตอบมีทั้ง บ้วนปาก เคี้ยวหมากฝรั่ง บ้างก็ใช้สายตามองหากระปุกที่มีไม้ก้านเล็ก ๆเรียงรายอยู่ในนั้นแทนคำตอบ บ้างก็ปลีกตัวเข้าห้องน้ำ เร่งมือแปรงฟันจนน้ำยาแตกฟองขณะที่บางคนออกอาการเขินกับการแปรงฟันในห้องน้ำสาธารณะ แต่ก็เลือกหยิบตลับที่บรรจุวัสดุสีขาวคล้ายเส้นด้ายดึงออกมาได้ความยาวตามต้องการพันไปมารอบ ๆ ปลายนิ้ว แล้วก็สอดเข้าไประหว่างซอกฟัน ยืนถูไปถูมาอยู่หน้ากระจก เหล่านี้ล้วนเป็นทางออกหลากวิธีในการสร้างความสบายให้ฟันและช่องปากแตกต่างกันไป แต่รู้ ไหม...วิธี ไหนดีต่อเหงือกและฟันของเรา “เคล็ดลับสุขภาพ” ฉบับนี้ ไม่อยากเห็นภาพ “เหงือกจ๋าฟันลาก่อน” ก่อนวัยอันควรจึงนำข้อมูลดีๆมาฝากกัน

• การใช้ไม้จิ้มฟัน หลายคนนิยมใช้ไม้จิ้มฟันเพื่อเขี่ยเศษอาหารชิ้นโต ๆ ที่ติดตามซอกฟัน โดยเสียบและดันไม้จิ้มฟันให้ผ่านซอกเหงือก บางคนออกแรงดันจนเบียดยอดเหงือกเข้าไปลึก ซึ่งนั่นเป็นวิธีทำร้ายเหงือก ทำให้ยอดเหงือกที่เคย แหลม ๆ ปิดซอกฟันร่นตัวลงมา เกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟัน เศษอาหารก็ติดได้ง่ายขึ้น ทางที่ดีควรใช้ไม้จิ้มฟันให้ถูกต้องคือ ใช้เขี่ยเศษอาหารมากกว่าการจิ้มเข้าไปในร่องฟัน และไม่ควรทิ่มจากด้านหน้าฟันทะลุไปถึงหลังฟัน เพื่อช่วยถนอม ยอดเหงือกที่ปิดระหว่างฟันได้ทางหนึ่ง อย่างไรก็ดี ไม้จิ้มฟันไม่สามารถทำความสะอาดคราบอาหารหรือคราบพลัค (Plaque) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคฟันผุและเหงือกอักเสบได้

• การแปรงฟัน แผ่นคราบจุลินทรีย์ที่เกาะฟันเกิดขึ้นได้หลังรับประทานอาหาร ถ้าปล่อยให้มีปริมาณมากและสะสมตามหลุมร่องฟันหนาขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ในปากเต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้เกิดโรคฟันผุและเหงือกอักเสบ จำเป็นต้องกำจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์ออกจากผิวฟันให้หมด วิธีที่เราคุ้นเคย คือ การแปรงฟัน ซึ่งจะมีประสิทธิภาพดี เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการแปรงฟัน ระยะเวลาในการแปรงฟัน คุณภาพแปรงสีฟัน และยาสีฟันที่ใช้ การแปรงฟันหลัง รับประทานอาหารจึงเป็นสิ่งที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำ หรืออย่างน้อยควรแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง คือ ก่อนนอน เพื่อขจัดเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ที่สะสมมาทั้งวัน และในตอนเช้าหลังตื่นนอน

• การใช้ไหมขัดฟัน การทำความสะอาดซอกฟันหรือด้านข้างของฟันสามารถใช้ไหมขัดฟัน (Dental Floss) ซึ่งมีลักษณะคล้ายเส้นด้าย แต่แบนและยืดหยุ่นกว่า โดยทำได้ง่าย ๆ คือ สอดหรือกดไหมขัดฟันผ่านลงไปในซอกฟัน แล้วดึงโอบไหมขัดฟันให้ถูผิวฟัน ไหมขัดฟันจะลงไปใต้เหงือกได้ ถูตั้งแต่ใต้เหงือกขึ้นมาเรื่อย ๆ เหมือนใช้ผ้าเช็ดตัวถูหลัง แล้วกลับข้างให้ไหมโอบฟันอีกซี่ แล้วจึงดึงออก ไหมขัดฟันสามารถทำความสะอาดผิวฟันได้ทั้งส่วนที่อยู่เหนือเหงือกและใต้เหงือก และยังสามารถสอดแทรกผ่านเข้าไปในซอกระหว่างฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารได้ ไม่เป็นอันตรายต่อเหงือก อาจมีข้อจำกัดตรงที่ต้องฝึกฝนการใช้ และต้องใช้เวลาอยู่บ้างในการทำความสะอาดฟันให้ครบทุกซี่

อย่างไรก็ดี การป้องกันไม่ให้เกิดโรคฟันผุนั้น เจ้าของเหงือกและฟันต้องรู้จักดูแลอย่างสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ แปรงฟันอย่างถูกวิธี และควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันและช่องปากอย่างน้อยทุก 6

เดือน ง่าย ๆ แค่นี้รับรองว่า ฟันชุดที่สามไม่ถามหาก่อนวัยอันควรอย่างแน่นอน

พลาสติก

2.8 ตัน 1.4 ตัน

21.7 ตัน77 ตัน

370 ตัน

มินิโม 200,000 เคร�่อง ชวยลดการปลอย CO2

เทียบเทากับการปลูกตนไม 26,000 ตนตอป

ปร�มาณทรัพยากรที่ประหยัดไดจากการผล�ต มินิโม 200,000 เคร�่อง

เหล็ก

อลูมิเนียม

ทองแดง

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553�0

เคล็ดลับสุขภาพโดย ปักเป้า

Page 13: CSR ชุมชนของเรา 2

ก้าวทันโลกโดย เมรี

‘มนิโิม’ มอเตอรข์นาดเลก็ทีส่ดุในโลก ผลงานการประดษิฐข์องบรษิทั มติซบูชิอิเิลคทรคิ

คือหนึ่งในความพยายามที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศของโลก

“มินิโม” คือมอเตอร์ที่ใช้หมุนใบพัดของพัดลมระบายอากาศ ที่เรามักจะไม่ได้นึกถึงเรื่องของ

การประหยัดพลังงานมากนัก

ปกติมอเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงประสิทธิภาพก็อาจจะลดลงด้วย แต่ “มินิโม” พัดลมจิ๋วที่

มีประสิทธิภาพเกินตัวสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอกเพียง 43

ข้อมูลจาก http://global.mitsubishielectric.com

• ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คือ ฉลากที่บอกระดับการใช้ไฟฟ้าและข้อมูลเบื้องต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อได้อย่างเหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ฉลากมีระดับความประหยัดตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 โดยเบอร์ 5 หมายถึง ประหยัดไฟมากที่สุด และฉลากของจริงต้องมีตราสัญลักษณ์กระทรวงพลังงานเป็นลายน้ำอยู่ด้านหลังด้วย • สำหรับเจ้าของ ผู้ประกอบการ ร้านค้า หรือประชาชนทั่วไปที่ไม่มีรายได้เงินเดือนประจำ สามารถรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีจากการเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ที่กำหนดไว้ 19 อุปกรณ์ เพิ่มเติมอีก 25% จากปกติที่นำมาหักลดหย่อนได้ 100% รวมเป็น 125% ของคา่ใชจ้า่ยทีซ่ือ้อปุกรณน์ัน้ โดยแนบใบกำกบัภาษทีีร่ะบ ุรายชือ่ ยีห่อ้ รุน่ วสัด ุอปุกรณ ์ที ่พพ. ใหก้ารรบัรอง พรอ้มระบ ุรายชือ่ ยีห่อ้ รุน่ ทีข่อรบัลขิสทิธิ ์ ยื่นเอกสารพร้อมแบบ ภ.ง.ด. ต่อสรรพากรได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมนี้

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน โทร. 0-2223-0021-9, 0-2222-4102-9, 0-2223-2593-5, http://www.dede.go.th

Tips ประหยัด เบอร ์ 5

พลาสติก

2.8 ตัน 1.4 ตัน

21.7 ตัน77 ตัน

370 ตัน

มินิโม 200,000 เคร�่อง ชวยลดการปลอย CO2

เทียบเทากับการปลูกตนไม 26,000 ตนตอป

ปร�มาณทรัพยากรที่ประหยัดไดจากการผล�ต มินิโม 200,000 เคร�่อง

เหล็ก

อลูมิเนียม

ทองแดง

พลาสติก

2.8 ตัน 1.4 ตัน

21.7 ตัน77 ตัน

370 ตัน

มินิโม 200,000 เคร�่อง ชวยลดการปลอย CO2

เทียบเทากับการปลูกตนไม 26,000 ตนตอป

ปร�มาณทรัพยากรที่ประหยัดไดจากการผล�ต มินิโม 200,000 เคร�่อง

เหล็ก

อลูมิเนียม

ทองแดง

มิลลิเมตร ทำให้ “มินิโม” กลายเป็นมอเตอร์ที่เล็กที่สุดในโลกในบรรดามอเตอร์ประเภทเดียวกัน และถึงแม้จะเปรียบเทียบกับมอเตอร์ทั่วไปที่คล้ายคลึง

กัน “มินิโม” ก็ยังคงมีขนาดเล็กกว่าถึง 68% และน้ำหนักเบากว่า 73% พัดลมระบายอากาศที่ติดตั้ง “มินิโม” จะสามารถประหยัดพลังงานได้ประมาณ

22% และยังทำให้อากาศไหลเวียนได้มากขึ้นถึง 25%

สำหรบัมอเตอรท์ัว่ไปทีม่เีสน้ผา่นศนูยก์ลาง 67.5 มลิลเิมตร ขนาดของมนัจะ

บงัชอ่งระบายลม เพราะตอ้งใชพ้ืน้ทีถ่งึ 56% เมือ่ตดิตัง้เขา้กบัใบพดั เปรยีบเทยีบกบั

“มนิโิม” แลว้จะใชพ้ืน้ทีเ่พยีง 28% เทา่นัน้ “มนิโิม” ยงัชว่ยลดแรงตา้นอากาศ ซึง่

ทำใหล้ดการใชพ้ลงังานลงไดเ้ปน็อยา่งมากอกีดว้ย

ประมาณการไวว้า่ในกระบวนการผลติ “มนิโิม” ประมาณ 200,000 เครือ่ง จะ

ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได ้370 ตัน/ป ี หรือเท่ากับปลูกต้นไม ้

26,000 ต้น และยังช่วยประหยัดทรัพยากร โดยลดการใช้พลาสติกได ้77 ตัน

อลมูเินยีม 21.7 ตนั เหลก็ 2.8 ตนั และทองแดง 1.4 ตนั

ปัจจุบันชั้นบรรยากาศของโลกมีปริมาณก๊าซบางชนิดมากเกินสมดุลของธรรมชาติ อันเป็นผลมาจากฝีมือมนุษย์ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน เป็นต้น ก๊าซเหล่านี้มีคุณสมบัติดูดกลืนรังสีอินฟราเรด แล้วคายความร้อนออกมาสะสมบริเวณพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศ เราเรียกก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะแบบนี้ว่า “ก๊าซเรือนกระจก”ซึ่งเป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดภาวะโลกร้อน แม้ว่าจะมีการรณรงค์เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันอย่างกว้างขวางแต่อัตราการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกก็ยังมีมากขึ้นโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่ ง เป็นก๊ าซที่ ทำ ให้ เกิดพลังงานความร้อนสะสมในบรรยากาศของโลกมากที่ สุดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนใหญ่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม การตัดไม้ทำลายป่า และการเผาไหม้เชื้อเพลิง

Approx.68% lessvolume

Approx.73% lessvolume

45 มม.

45 มม.

60 มม.

62 มม.

Conventional Motor minimo

67.5mm 48mm

The motor narrowsthe air path, thusreducing airflow.

Approx. 1.6times moreairflow

The motor allowsmore airflow forbetter ventilationand saves energy.

Including the motor flange

Fan blade

Motor

100100 62 45

Freed-up spacein the air path

เปรียบเทียบขนาด “มินิโม” กับมอเตอร์อื่น ๆ

มอเตอร์ เล็กที่สุด ในโลก มินิโม

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 ��

Page 14: CSR ชุมชนของเรา 2

ภารกิจสำคัญของการเดินทางในครั้งนี้ คือ งานติดตั้งเตานึ่งเมี่ยงประสิทธิภาพสูงให้กับชุมชนหมู่บ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และงานทำบุญทอดผ้าป่าร่วมสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชน ณ วัดจำปาทอง ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยทั้งสองกิจกรรมต่างพัฒนาและดำเนินการภายใต้กลไกพลังงานสีเขียว ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเครือไทยออยล์และมูลนิธิพลังงาน เพื่อสิ่งแวดล้อม (มพส.) ที่มุ่งสนับสนุนและส่งเสริมให้ภาคสังคมใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจน นำพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชนส์งูสดุแกช่มุชนในทอ้งถิน่หา่งไกลตามแนวทาง การช่วยเหลือสังคมอย่างยั่งยืน

กลิ่นมิตรภาพและความสุข จาก ‘เตานึ่งเมี่ยง’ การเดินทางร่วมกันของพนักงานจิตอาสาเครือไทยออยล์กว่า 30 ชีวิต ที่ตั้งใจไปร่วมพัฒนาชุมชนในพื้นที่ห่างไกล หากแต่ความหมายที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น คือ ความรู้ ความสัมพันธ์และความสุขใจ ระหว่าง ‘ผู้ให้’ และ ‘ผู้รับ’ ที่เกิดขึ้นและยังคงอยู่

ทำความรู้จัก‘ใบเมี่ยง’เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน กิจกรรมแรกเริ่มด้วยการบรรยายสรุปโครงการ เตานึ่งเมี่ยงประหยัดพลังงาน โดยเจ้าหน้าที่ มพส. และอธิบายขั้นตอนการทำเตาโดยตัวแทนชาวบ้าน เมื่อจบภาคทฤษฎี เข้าสู่ภาคปฏิบัติ พนักงานจิตอาสาทุกคนได้รับมอบหมายให้ช่วยกันเก็บใบเมี่ยงหรือใบชาคนละ 1 กำมือ โดยมีพ่อหลวงหรือผู้ใหญ่บ้านมนัส คำสิงห์ ให้คำแนะนำถึงวิธีการใช้ เล็บเทียม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการเก็บใบเมี่ยง ทำจากแผ่นสังกะสีขนาดครึ่งข้อนิ้ว แล้วม้วนขดเป็นปลอกสำหรับสวมใส่ที่ข้อนิ้วชี้ เพื่อไว้รับกิ่งยอดอ่อน แก้ปัญหาการปวดระบมของปลายนิ้วระหว่างเก็บเกี่ยว ใบเมี่ยงที่ดีสำหรับใช้นึ่งจะต้องมีอายุพอเหมาะ ใบไม่อ่อนหรือ แก่จนเกินไป การเก็บใบเมี่ยงสามารถทำได้ตั้งแต่เดือนเมษายน-ธันวาคมของทุกปี โดยจะเก็บปีละ 4 ครั้ง ในเดือนเมษายน มิถุนายน สิงหาคม และพฤศจิกายน ส่วนฤดูกาลที่ไม่ได้ทำเมี่ยง ชาวบ้านก็จะออกไปหาฟืนมาเก็บ ไว้ใช้ รวมถึงทำอาชีพเสริมอื่น ๆ เช่น เย็บหมอนใบชา ทอผ้า ปลูกกาแฟ เป็นต้น

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553��

จิตอาสาโดย กระปุก

Page 15: CSR ชุมชนของเรา 2

เมื่อทุกคนได้เรียนรู้และทำความรู้จักกับต้นเมี่ยงเป็นอย่างดี จนได้ใบชามาคนละ 1 กำมือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาแบ่งกลุ่มไปตามบ้าน 3 หลัง เพื่อเตรียมหลุมและก่อฐานเตาให้กับเจ้าของบ้าน ซึ่งเปิดประตูยิ้มรอคณะไทยออยล์มาช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพเตาด้วยความยินดีและเต็มใจ

ใช้หัวใจPOSITIVEติดปีกความฝันของชุมชนก่อ-ฉาบ-เทจนเป็นเตานึ่งเมี่ยงประสิทธิภาพสูง หลังจากพักผ่อนเอาแรงกันมาทั้งคืน และอิ่มท้องกับข้าวต้มเครื่องร้อน ๆ ของเช้าวันใหม่บนชานบ้านที่ล้อมรอบไปด้วยแมกไม้ ขุนเขา สงบเงียบท่ามกลางเสียงหรีดหริ่งเรไร กิจกรรมวันนี้จึงได้เริ่มเปิดฉากอีกครั้ง โดยคุณสุรงค์ บูลกุล ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารเครือไทยออยล์ ได้ฝากข้อคิดดี ๆ ให้กับกลุ่มพนักงานจิตอาสาไว้ด้วย “ทัง้ 2 กจิกรรมทีเ่ราเดนิทางมารว่มกนัทำในครัง้นี ้ ถอืเปน็โครงการทีม่ปีระโยชน ์ และยงัแสดงใหเ้หน็วา่ ถา้เรามจีติอาสา ไม่ใช่ว่าจะต้องใช้เงินในการทำงาน CSR เสมอไป เพียงแค่ทุกคนร่วมกัน...และการทำดีแบบนี้เรียกได้ว่าเป็น ‘Instant บุญ’ คือ เห็นผลทันที ไม่ต้องรอ เพราะประโยชน์เกิดขึ้นกับชุมชนทันที...โครงการเตานึ่งเมี่ยงฯ ไม่ใช่โครงการที่ให้แต่วัตถุ แต่ให้ความรู้กับชุมชนในเรื่องของการประหยัดพลังงานและรักษาป่าไม้ให้คงอยู่อีกด้วย”

ปฏิบัติการปรับปรุงประสิทธิภาพเตาในวันแรกอบอวลไปด้วยความสนุกสนาน ไม่เพียงแค่สนุกทำ หากแต่ทุกคนยังชวนกันสนุกคิด เพื่อให้ได้ฐานเตานึ่งเมี่ยงที่สวยงามและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น จนเมื่ออาทิตย์เริ่มคล้อยต่ำ เตรียมจะลาลับขอบฟ้า จึงได้ลาเจ้าของบ้านพร้อมกับคำมั่นสัญญาว่าจะกลับมาทำต่อให้เสร็จในเช้าวันรุ่งขึ้น โดยมีโฮมสเตย์ของชาวบ้าน ซึ่งเป็นบ้านไม้แบบ 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ มุงด้วยหลังคาสังกะสี จำนวน 5 หลัง และเต๊นท์อีก 3-4 หลัง เป็นที่พักแรมตลอด 2 คืน

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 ��

Page 16: CSR ชุมชนของเรา 2

นาฬิกาบอกเวลาใกล้ 10 โมง ได้เวลาสานต่องานติดตั้งเตานึ่งเมี่ยงอีกครั้ง พนักงานชายรวมตัวกันตามกลุ่มที่แบ่งไว้เมื่อวาน และแยกย้ายไปยังบ้าน 3 หลังเช่นเดิม ซึ่งตามขั้นตอนการติดตั้ง หลังจากการเตรียมหลุมดิน ก่ออิฐฐานล่างและก่ออิฐด้านข้างแล้ว วันนี้จึงเป็นเวลาของการติดตั้งหม้อต้มไอน้ำ ประกอบปล่องควัน และเทคอนกรีตด้านบน

17.30 น. ถึงเวลานัดรวมพลที่หน้าเสาธงของโรงเรียน คุณสุรงค์ ได้มอบอุปกรณ์กีฬาและการเรียนรู้ให้กับโรงเรียนบ้านป่าเหมี้ยง จากนั้นพนักงาน เจ้าหน้าที่ มพส. ชาวบ้านและเยาวชนบ้านป่าเหมี้ยง ได้รับประทานอาหารเย็นร่วมกันในบรรยากาศแบบเป็นกันเอง และปิดท้ายด้วยการแสดงของพนักงานร่วมกับเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าเหมี้ยง ภายใต้แนวคิดร่วมรักษ์พลังงาน พิทักษ์โลกสวย และละครแนวคอมมาดี้ของมูลนิธิสื่อชาวบ้าน (กลุ่มมะขามป้อม) ซึ่งมาเติมสีสัน ความสนุกให้คนดูได้หัวเราะแก้เครียด ก่อนอำลาจากกันด้วยความประทับใจ

ทุกคนแสดงให้เห็นถึงพลังความร่วมมือทำงานเป็นทีมได้อย่างมืออาชีพ จากหนึ่งคนก่อ หนึ่งคนผสม หนึ่งคนเท หนึ่งคนฉาบ หนึ่งคนคุม หนึ่งคนวางแผน สู่การรวมความคิด เพื่อสร้างสรรค์และต่อยอดงานออกแบบก่อสร้างที่มีความสวยงามและเหมาะสมกับพื้นที่การใช้งาน โดยยังคงรักษาประสิทธิภาพการทำงานของเตาได้อย่างดีเลิศ

ส่วนพนักงานหญิงอยู่ที่โรงเรียนทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียน ด้วยการสอนทำหุ่นนิ้วมือ คุณครูถึงกับเอ่ยปากชมว่าเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิด จินตนาการ และฝึกสมาธิให้กับเด็กได้ดีมากทีเดียว

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553��

Page 17: CSR ชุมชนของเรา 2

“เรากลั่นน้ำมันมานานเกือบครึ่งศตวรรษ วันนี้เรามาร่วมกลั่นความรู้ ความสามารถ เพื่อประโยชน์และความสุขของสังคมด้วยกัน”

สุรงค์บูลกุลประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือไทยออยล์

จากจิตอาสาสู่จิตศรัทธาพัฒนาพลังงานสีขาวรักษาโลกสีเขียว วันสุดท้ายของการเดินทาง ชาวเราตื่นก่อนอรุณรุ่ง เพราะกำหนดการของวันนี้ คือ งานทำบุญทอดผ้าป่าสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนที่วัดจำปาทอง จังหวัดพะเยา ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการเดินทางจากหมู่บ้านป่าเหมี้ยงไปถึงปลายทาง

การออกเดินทางและการร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมในครั้งนี้ ทำให้รู้ว่า “POSITIVE” มิใช่สิ่งที่ถูกขีดเขียนหรือตีพิมพ์ในสื่อต่าง ๆ เพื่อบอกว่านี่คือ ค่านิยมของพนักงานเครือไทยออยล์เท่านั้น หากแต่ “POSITIVE” ได้เข้าไป นัง่ในใจและอยูใ่นจติวญิญาณของพนกังานจติอาสาทกุคนซึง่ไดช้ว่ยขบัเคลือ่นคำมั่นสัญญาที่ เรามีต่อสังคมที่ว่ า “Engineering Clean Energy,Sustaining Green World” ให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมผ่านกิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคมในวันนี้และก้าวต่อ ๆ ไป

เมือ่คณะพรอ้มกนัทีว่ดั กไ็ดเ้วลาทีต่อ้งรว่มมอืรว่มใจ กันอีกครั้ง ในการนำปัจจัยหรือเงินทำบุญของพนักงาน และบริษัทเครือไทยออยล์เสียบใส่ไม้เพื่อปักตกแต่งต้นผ้าป่าให้สวยงาม ได้เวลาอันเหมาะสม คุณสุรงค์ ในฐานะประธานได้จุดธูปเทียน จากนั้นทุกคนก็ร่วมกันกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล และกล่าวถวายผ้าป่าจีวรและสังฆทานวัตถุ เมื่อพระสงฆ์รับสาธุ ประธานและตัวแทนพนักงานก็ร่วมกันประเคนผ้าไตร หลอดประหยัดไฟ พร้อมปัจจัยจำนวน 535,080 บาท และเป็นอันเสร็จพิธีเมื่อพระคุณเจ้าให้ธรรมเทศนา โดยเงินทำบุญในครั้งนี้ จะนำไปใช้ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนซึ่งตั้งอยู่

ภายในวดัจำปาทอง กำลงัการผลติตดิตัง้ 5 กโิลวตัต ์ จดัตัง้กองทนุบำรงุรกัษาโรงไฟฟา้ ตลอดจน บูรณะเรือนพักปฏิบัติธรรม ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ ทุกคนยังได้ร่วมกันทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ด้วยการปลูกตน้ไมเ้สรมิภมูทิศัน ์และปรบัเปลีย่นหลอดประหยดัไฟตามอาคารตา่ง ๆ ภายในบรเิวณวดัอกีดว้ย

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 ��

Page 18: CSR ชุมชนของเรา 2

ปุจฉา : กราบเรียนพระอาจารย์ธวัชชัย วันนี้ี่พนักงานเครือ

ไทยออยล ์ได้มาร่วมทอดผ้าป่าไฟฟ้า ซึ่งเข้าใจว่าวัดจำปาทองแห่ง

นี้เป็นวัดแรกของประเทศไทย และวัดแรกของโลกที่มีโรงไฟฟ้า

ขนาดเล็กอยู่ในพื้นที่ อยากทราบความเป็นมาว่าพระอาจารย์มาอยู่

ตั้งแต่เมื่อไรและวัดนี้มีความเป็นมาอย่างไร

วิสัชนา : เดิมทีวัดแห่งนี้เป็นวัดร้างโบราณ ขุดพบซากวัตถุ

โบราณ เจดีย์ วิหาร ซากพระพุทธรูปหินทราย พระอาจารย์มาอยู่

เมื่อปี 2539 บริเวณนี้ยังเป็นป่ารกชัฏ มีพระธุดงค์เข้ามาทำกุฏิหลัง

เล็ก ๆ เป็นกระท่อม ทำด้วยหญ้าคา ไม้ไผ่ เดิมทีเราอยู่แบบ

ธรรมชาติ ไฟฟ้าไม่มี ใช้เทียนไขหรือตะเกียงใส่น้ำมันก๊าด พออยู่

มาก็มีศรัทธาญาติโยมเข้ามา ได้รับการส่งเสริม มีการพัฒนา

ก่อสร้างกุฏิพระเพิ่มเติม ที่สวดมนต์ภาวนา ศาลาปฏิบัติธรรม แต่

วา่กย็งัไมม่ไีฟฟา้ ทางวดัพยายามอนรุกัษป์า่ไว ้ทีน่ีม่นีำ้ตกจำปาทอง

ไหลผ่านหน้าวัด มีลำห้วยไหลผ่านหลังวัด ทางวัดก็ต่อน้ำจาก

ลำห้วยที่เกิดจากบนภูเขามาใช้ซึ่งเป็นน้ำที่สะอาด เราก็อยู่อย่างนี้

มาหลายปี เราพยายามรักษาต้นน้ำลำธาร อีกทั้งป่าไม้ โยมจะเห็น

ป่าไม้ทึบและต้นไม้ใหญ่ซึ่งหาดูไม่ได้แล้ว เป็นต้นน้ำลำธารของ

จังหวัดพะเยา ลำห้วยน้ำตกจำปาทองจะไหลลงสู่กว๊านพะเยา

ส่วนอีกฟากของภูเขาไหลลงสู่น้ำตกวังแก้วซึ่งเป็นต้นน้ำวัง เรา

รักษาอย่างนี้เรื่อยมา

เรามีปัญหาคือว่าเมื่อญาติโยมมากขึ้น พลังไฟฟ้าไม่พอ เราก็

ต้องใช้เครื่องปั่นไฟบ้างกับโซล่าเซลล์ แต่ก็อย่างที่โยมเห็น เดี๋ยว

ดับ เดี๋ยวมา แล้วช่วงไหนที่ฝนตกเยอะ ๆ โซล่าเซลล์ก็ไม่ทำงาน

มันก็เป็นอย่างนั้น จนกระทั่งบริษัท ไทยออยล์ มูลนิธิพลังงานเพื่อ

สิ่งแวดล้อม และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ได้มาเห็นสถานที่นี้แล้วก็คิดว่าอยากจะช่วยเหลือให้วัดมีพลังงานที่

นำมาใช้ เพื่อความสะดวกในการเจริญสมณะธรรม เพื่อพัฒนาวัด

แต่ต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ด้วย ก็เห็นพ้องต้องกันว่า ถ้าเป็นไป

ได้เราเอาพลังงานที่เกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ ซึ่งเรามีทุนทรัพย์

อยู่แล้วก็คือลำน้ำตก

เมื่อสำรวจกันปรากฏว่าปริมาณน้ำเหลือน้อย เมื่อก่อนน้ำมี

มาก แต่ปัจจุบันป่าถูกทำลายเยอะ และภาวะโลกร้อนเกิดขึ้น

ทำให้น้ำในลำห้วยลดลงเยอะ แต่วิศวกรมาดูแล้วบอกว่าเพียงพอ

ต่อการทำพลังงานได้ ก็เลยเกิดโครงการนี้ขึ้นมา เชื่อว่าคงเป็นวัด

แรกที่มีพลังงานอย่างนี้ในตัววัด วัดอื่นอาจจะอยู่บนภูเขาก็จริง แต่

ถ้าไม่มีลำห้วยที่ไหลลงมาอย่างนี้ ไม่มีน้ำตก ก็ทำไม่ได้ วัดของเรา

โชคดีที่มีลำห้วยอยู่สูงขึ้นไปก็ต่อน้ำมาใช้ และมีน้ำตกไหลผ่านที่

พอจะทำให้เกิดพลังงานได้ ซึ่งโครงการนี้เรียกว่าประหยัดด้วย

เพราะว่าการไฟฟ้าฯ เข้ามาวัดระยะจากหมู่บ้านที่จะต่อไฟเข้ามา

จะใช้งบประมาณ กม. ละ 1 ล้านบาท เข้ามา 4.5 กม. ก็ 4 ล้าน

กว่าบาท ทางวัดไม่มีปัจจัยส่วนนี้ แต่สำหรับไฟฟ้าพลังน้ำแบบนี้

ได้ทั้งพลังงาน สิ่งแวดล้อม และได้ประหยัดทุนทรัพย์ไปเยอะเลย

แต่ว่าประโยชน์เท่ากัน

พระอาจารย์คิดว่า โครงการนี้เป็นประโยชน์มาก ที่ควรจะนำ

ไปเป็นต้นแบบ ตัวอย่างสำหรับที่อื่นที่มีศักยภาพหรือมีภูมิประเทศ

ที่พอจะทำอย่างนี้ได้ ก็จะทำให้โลกเราลดภาวะความร้อนลงไป

ทำให้สิ่งแวดล้อมกับธรรมชาติและมนุษย์อยู่ด้วยกัน เกื้อกูลกันได้

อาศัยซึ่งกันและกัน

ปุจฉา : ถ้ามองภาพว่าการทำผ้าป่าไฟฟ้า เป็นแนวความคิด

ใหม่ พระอาจารย์คิดว่าแนวคิดนี้ควรจะส่งเสริมอย่างไร และการ

ทำบุญด้วยไฟฟ้าจะมีคุณประโยชน์อย่างไรให้กับพุทธศาสนา

ครั้งแรกในประเทศ กับการทอดผ้าป่า โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

บทสนทนาระหว่าง พระครูสุทธิญาณโสภณ (อาจารย์ธวัชชัย) เจ้าอาวาสวัดจำปาทอง และคุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือไทยออยล์ ในโอกาสที่พนักงานเครือไทยออยล์ได้ร่วมจิตศรัทธาจัดทอดผ้าป่าสามัคคีร่วมสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ณ วัดจำปาทอง ต.บ้านต๊ำ อ.เมือง จ.พะเยา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม 2553

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553��

Page 19: CSR ชุมชนของเรา 2

วิสัชนา : การทำบุญด้วยปัจจัยที่จะส่งเสริมพระพุทธศาสนามี

หลายอย่าง ที่สำคัญคือต้องดูว่าสถานที่นั้น ขาดแคลนอะไร

เหมือนวัดขาดแคลนสิ่งนี้ เราให้สิ่งนี้ ก็ถูกตามที่วัดต้องการ มันก็

มีอานิสงส์มาก การที่เราให้พลังงานไฟฟ้า ไฟฟ้าเป็นสัญลักษณ์

ของความรุ่งเรือง ความสว่าง ปัญญา เราถวายไฟฟ้า อานิสงส์

ของเราคือ ทำให้เราเกดิปญัญาทีย่ิง่ใหญข่ึน้มา เกดิแสงสวา่ง ความ

รุง่เรอืงแกช่วีติ พระอาจารยว์า่ตรงนีเ้ปน็สิง่ทีส่ำคญัมาก เปน็หนา้ที่

ของเราชาวพุทธ ถ้าเราส่งเสริมถูกจุด ถูกต้องตามศรัทธาของเรา

หรือความต้องการของพระท่าน มันก็ทำให้ลงตัวพอดี สำหรับที่

วัดนี้ มีโยมมาปฏิบัติธรรม ทำให้เราต้องใช้ไฟ เรื่องไฟไม่พอคือ

ปัญหาของวัด การที่พวกเรามาถวายอย่างนี้ก็เรียกว่าถูกจุด ถ้า

เป็นคนป่วยก็ว่าหมอให้ยาถูกต้อง มีอานิสงส์มาก

ปุจฉา : ทำอย่างไรให้คนกับศาสนาและพลังงานอยู่ด้วยกัน

อย่างสันติ กลมกลืน เมื่อมีไฟฟ้าซึ่งจะทำให้เรามีไฟอย่างยั่งยืน

แล้ว พระอาจารย์จะมีแนวปฏิบัติอย่างไรที่จะรักษาป่าต้นน้ำ ทำ

อย่างไรให้คนไม่บุกรุกครับ

วิสัชนา : อันนี้พระอาจารย์ตระหนักมาก อย่างที่เล่าว่าเดิมที

เมื่อ 13 ปีก่อน ที่ตั้งแต่ท้ายหมู่บ้านขึ้นมาเป็นป่าทั้งหมด 13 ปี

ผ่านไป ป่าโดนทำลายหมด ตั้งแต่มีโครงการต่าง ๆ ขึ้นมาหรือว่า

คนมาปลกูสวนยาง พระอาจารยเ์ลยคยุกบัปา่ไม ้ ขอพืน้ทีจ่ากปา่ไม้

พื้นที่ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกบุกรุก ป่าไม้อนุญาตให้ 684 ไร่ ซึ่งเป็นป่าที่

ถูกบุกรุกไปบางส่วนแล้ว ส่วนไหนที่ถูกบุกรุก เราก็ปลูกป่าเข้าไป

ทดแทน พระอาจารยม์โีครงการปลกูปา่ ร่วมกับป่าไม้ รักษาป่าอยู่

ตอนนี้ คือเรารักษามาตลอด อยู่กับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด

แรก ๆ บางคนไม่เข้าใจ เขามองว่าพระอาจารย์จะเข้ามาทำลาย

สิ่งแวดล้อม มีบางส่วนต่อต้าน พระอาจารย์ก็ต่อสู้มาสาหัส

พอสมควร กว่าจะผ่านมาอยู่ในจุดนี้ได้ เดี๋ยวนี้ทุกคนเข้าใจ

แม้กระทั่งป่าไม้ก็เข้าใจ เขาให้ป่าสำหรับช่วยดูแล ซึ่งพระอาจารย์

ได้ไปสร้างวัดข้างล่าง ชื่อวัดดอยหลวง ดูแลป่ารอบบริเวณทั้งหมด

และปลูกป่าเสริมเข้าไป คิดว่าถ้ายังมีกำลังเรี่ยวแรงพอที่จะทำได้

เราก็จะอนุรักษ์ไว้อย่างนี้และปลูกป่า เพิ่มเติมเรื่อยไป อย่างน้อย

ที่สุด ให้ตรงนี้เป็นที่ชุ่มเย็นอยู่ตลอด เป็นต้นน้ำลำธารของคน

พะเยาตลอดไปและยั่งยืน

ปุจฉา : สุดท้ายพระอาจารย์อยากจะฝากอะไรให้พวกเราชาว

ไทยออยล์และประชาชน ว่าจะทำอย่างไรให้เราอยู่ร่วมกันอย่าง

เป็นสุข มีพลังงานหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง และวัดที่มีหน้าที่เสริม

สร้างพระพุทธศาสนาแล้ว ยังมีหน้าที่อีกหน้าที่หนึ่งคืออนุรักษ์

สิ่งแวดล้อม พระอาจารย์จะฝากอะไรไว้กับพวกเราไหม

วิสัชนา : ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณบริษัท ไทยออยล์ ที่เป็น

บริษัทฯ ที่ทำเกี่ยวกับพลังงาน แต่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมด้วย

และยังมองไปถึงอนาคตว่ามนุษย์เราหากกิน หากใช้พลังงานอย่าง

ฟุ่มเฟือย โดยที่เราไม่คิดว่าอีก 50 ปี หรือ 100 ปีข้างหน้าจะเป็น

อย่างไร รุ่นลูก รุ่นหลานของเราจะไม่มีพลังงานใช้ ซึ่งการที่เราหัน

มาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเข้ามาสนับสนุนอย่างนี้ ต้องถือว่าเป็น

บริษัทฯ ที่มีทัศนะกว้าง เป็นบริษัทฯ ที่เข้ามาพัฒนาและอนุรักษ์

สิ่งแวดล้อม เป็นการตอบแทนสังคม ตอบแทนโลก ทรัพยากร

ต่าง ๆ ที่เรานำมาใช้ โดยวิถีทางที่เราจะให้ได้

พระอาจารย์อยากจะฝากถึงประชาชนทุก ๆ คน ที่อยู่ร่วม

กันว่า เดี๋ยวนี้เราต้องตระหนักอย่างแท้จริงว่า ภาวะโลกร้อนมัน

เกิดขึ้นจริง ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกรวดเร็วขึ้นมาก ทุกสิ่ง

ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าภัยธรรมชาติต่าง ๆ ก็รุนแรงขึ้น ก็เป็น

เพราะฝีมือมนุษย์เราที่ใช้ธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองและฟุ่มเฟือย

ถ้าเราหันมาตระหนักช่วยกันอนุรักษ์ตรงนี้ โลกจะอยู่อย่างยั่งยืน

ทำให้ลูกหลานเราภายหน้าจะมีทรัพยากรใช้อย่างยั่งยืน

อยากให้คนไทยทุกคนตระหนักในเรื่องนี้ หันหน้าเข้ามาช่วย

กัน ตอนนี้เราจะใช้ทรัพยากรโดยเห็นแก่ตัวไม่ได้แล้ว โลกข้างหน้า

ยังต้องเปลี่ยนแปลงไปอีกมากมาย และจะเป็นผลกระทบต่อพวก

เราเอง สุดท้ายคนที่เกิดมาภายหลัง รุ่นลูกหลานเราจะไม่มีที่อยู่

อาศัย และถ้าโลกเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งมันแตกสลายได้ มันก็

ทำให้มนุษย์เราสูญพันธุ์ได้เหมือนกัน

ผมในนามของเครือไทยออยล์ ขอขอบคุณพระอาจารย์ที่

ให้การสนับสนุนโครงการที่ดีเช่นนี้ และก็หวังว่าจะได้ช่วยเผยแพร่

แนวความคิดของพระอาจารย์ ให้ประชาชนได้ทราบว่าโครงการ

เล็ก ๆ แบบนี้ เป็นโครงการที่เราทุกคนสามารถช่วยกันทำให้โลก

ยั่งยืน ทำให้ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ได้

กราบนมัสการ ก็หวังว่าผ้าป่าที่เรามีจิตอนุโมทนาในครั้งนี้

จะช่วยพระอาจารย์ในการบูรณะสิ่งแวดล้อม บูรณะวัด บูรณะ

ชุมชนให้มีความเข้มแข็งต่อไป..ขอบพระคุณครับ

เจริญพร...โยม

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 ��

Page 20: CSR ชุมชนของเรา 2

ตอนที่ไปดูงานที่สุพรรณบุรีนั้น ผมเห็นความกลมเกลียวของชุมชนละแวกโรงกลั่นทั้ง7ชุมชนกับเครือไทยออยล์และTCPดูแล้วก็สนุกเพราะสามารถผสานผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันได้ อย่างงานฉลององค์ผ้าป่าตอนกลางคืน เจ้าหน้าที่ของเครือไทยออยล์และTCPออกมาชว่ยกนัเลน่ลำตดัตดิ ๆ ขดั ๆบา้ง แต่ก็ดูแล้วจริงใจดีก่อนออกเดินทางจากแหลมฉบังเรารวมตัวกันที่ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ทำให้ผมรู้สึกว่าที่ศูนย์สุขภาพฯแห่งนี้เป็นศูนย์กลางแห่งการรวมตัวเพื่อทำความดีของพวกเรา

อาจารย์เสถียร เอกจรัสภิวัฒน์ ประธานชุมชนตลาดอ่าวอุดม

ผมเห็นจุดเริ่มต้นของศูนย์สุขภาพฯ ตั้งแต่เป็นที่ว่างแล้วก็มีการ

ปรับแต่งพื้นที่ เริ่มตีผังตอกเสาเข็ม มีกิจกรรมก่อสร้างจนเป็นรูปร่าง

อาคาร จากนั้นก็ขนดินส่วนเกินออก ทำลานแอโรบิก ปลูกต้นไม้

สุดท้ายพร้อมกับการตกแต่งภายในก็คือการติดตั้งเครื่องเล่นเด็ก เครื่อง

ออกกำลังกายกลางแจ้งของผู้ใหญ่ สรรพสิ่งเริ่มจากไม่มีไปสู่มี เริ่มจาก

เล็กไปสู่ใหญ่ เริ่มจากความไม่เป็นระเบียบไปสู่ความโอ่โถง เมื่อมีการ

จัดการที่ดี

ชุมชนตลาดอ่าวอุดมของเราก็เช่นกัน สมัยเมื่อสี่สิบปีที่แล้วมี

ความเจริญไม่มาก ครัวเรือนยังมีน้อย แต่เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงของ

พื้นที่ เกิดการก่อสร้างเครือไทยออยล์ ก็เริ่มมีบ้านเรือนหนาแน่นขึ้น

ชุมชนรวมตัวช่วยเหลือกันและกันในท้องถิ่นตามบริบทของแต่ละยุค

สมัย อย่างเช่นสมัยก่อนมีกำนัน มีผู้ใหญ่บ้าน แต่เมื่อต่อมาพื้นที่แถบนี้

กลายเป็นเขตของเทศบาลตำบลแหลมฉบัง ชุมชนตลาดอ่าวอุดมเกิด

ขึ้นแบบค่อย ๆ เรียนรู้แล้วพัฒนาไปจากเล็กไปสู่ใหญ่ จากอ่อนไปสู่

แข็งเช่นกัน โดยเฉพาะหากมองให้ลึกไปในชุมชนของเราแล้วจะเกิด

ภาพชุมชนที่มีหลากหลายลักษณะ กล่าวคือ ในชุมชนมีโรงงาน

อุตสาหกรรมที่สำคัญอย่างเช่น เครือไทยออยล์ โรงงานไทยโตไก

คาร์บอน ฯลฯ ในขณะเดียวกันบริเวณตลาดเป็นแหล่งพาณิชยกรรมมี

ร้านค้าหลากหลายประเภท มีตลาดสด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่พัก

อาศัยมีบ้านเรือนหนาแน่น มีอพาร์ทเมนท์จำนวนมากรองรับผู้ที่เข้ามา

ทำงานในพื้นที่ ตลอดจนนิสิตในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต

ศรีราชา นอกจากนี้ ในส่วนการกระจายตัวของประชากรในเขตพื้นที่

ยังแบ่งออกได้หลายโซน ได้แก่ โซนศาลเจ้าแม่เซียะบ้อเนี้ย ศาลเจ้าพ่อ

โกมินทร์ เขาพุ และเขาหิน แต่นับว่าเป็นเรื่องดีที่แม้จะมีความหลาก

หลายทางลักษณะการดำรงอยู่แต่ก็สามารถกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว

ภายในชุมชน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความกลมกลืนท่ามกลางความเป็นอยู่ที่หลาก

หลายนั้น ผมมองว่าเกิดจากความมีน้ำใจให้กันและกันในทุกภาคส่วน

การพัฒนาพื้นที่อย่างถูกทิศทางของเทศบาลฯ จะเห็นได้ว่าการทำงาน

ของคณะกรรมการชุมชนได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากเทศบาลฯ

และพี่น้องในชุมชน นอกจากนี ้ ในคณะกรรมการชุมชน มีผู้แทน

จากประชาชนในโซนต่าง ๆ ครบครัน คณะกรรมการชุมชนจึงสามารถ

รับฟังความคิดเห็นได้จากพี่น้องในชุมชนทุกหมู่เหล่า การมีเครือไทยออ

ยล์และ TCP อยู่ในพื้นที่เป็นเรื่องดีอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเป็นบริษัท

อุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานและอยู่ยั่งยืนควบคู่กับชุมชนมาก่อนแหล่ง

อุตสาหกรรมอื่น ทางเครือฯ ให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมกับ

ชุมชนเป็นอย่างดี ที่สำคัญคือทำให้เกิดกระบวนการทำงานด้วยกันแบบ

มีส่วนร่วม สามารถที่จะแลกเปลี่ยนความเห็นและเอื้ออาทรกันและกัน

ในฐานะของสมาชิกสังคมเดียวกัน ทำให้ระหว่างชุมชนกับโรงงานไม่มี

ความแปลกแยกใด ๆ

ในมมุมองของผม ศนูยส์ขุภาพและการเรยีนรูเ้ครอืไทยออยลเ์พือ่

ชุมชนเป็นรูปธรรมหนึ่งที่แสดงให้เห็นน้ำใสใจจริงของเครือไทยออยล์

ในการเป็นผู้ให้ คือให้ทั้งการดูแลสุขภาพนักเรียน ให้การเอาใจใส่ เห็น

ความสำคัญของชุมชน ทุกชุมชนสามารถเข้ามาใช้ศูนย์สุขภาพฯ เป็น

แหล่งประกอบการค้นคว้า สร้างความรู้หรือค้นหาอดีตจากการพูดคุย

ฉันมิตร ช่วยกันคนละนิดเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาชุมชนที่มีอยู่ ผมยินดีที่

ศูนย์สุขภาพฯ อยู่ในเขตชุมชนตลาดอ่าวอุดม จึงขอเป็นกระบอกเสียง

เชิญชวนพี่น้องทุกชุมชนเข้ามาร่วมใช้ศูนย์สุขภาพฯ ให้เป็นประโยชน์ทัง้

ดา้นการเปน็แหลง่เรยีนรู ้ การเตน้แอโรบกิเพือ่สขุภาพ การออกกำลงักาย

และการประกอบกิจกรรมวิถีพุทธ ณ หอพระที่อยู่บริเวณศูนย์สุขภาพฯ

เชน่กนั อยา่ลมื “มาชว่ยกนัใชศ้นูยส์ขุภาพและการเรยีนรูเ้ครอืไทยออยล ์

เพื่อชุมชน เพื่อทำให้ศูนย์ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางแห่งการรวมตัวเพื่อการ

ทำความดีของพวกเรา”

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553��

กระบอกเสียงชุมชนโดย กองบรรณาธิการ

Page 21: CSR ชุมชนของเรา 2

สมุนไพรอะไรเอ่ย ขิง ข่า ตะไคร้ กะเพรา โหระพา พริกไทย และสมุนไพรไทยใกล้ตัวอีกมากมาย ลองมาดูกันว่า เรา

รู้จักสรรพคุณของสมุนไพรไทยกันดีแค่ไหน

ป้ ช

ก เ ม

ค ท

ไร

ว้

ะ ะม

ร้

ลั

ห็

ชุมชนของเรา เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2553 ��

ถ่ายเอกสารและส่งคำตอบชิงรางวัลได้ที่ แผนกกิจกรรมเพื่อสังคมและแบรนด์องค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานกรุงเทพฯ เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ชื่อ................................................... นามสกุล................................................................................. ที่อยู่.............................................................................................. ................................................................................................................................................................................................................................................................

ลับสมองลองเล่นเกมโดย กองบรรณาธิการ

เฉลยเกมฉบับที่แล้ว

ขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะมูลฝอย อันตราย

แนวนอน 1. ช่วยลดเสมหะ ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ 2. แก้ไอ ขับเสมหะ 3. วิตามินเอสูง ช่วยยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง 4. ช่วยขับปัสสาวะอย่างอ่อน 5. ลดความดันโลหิต ลดระดับไขมัน แนวตั้ง 1. มแีคลเซยีมสงูมาก ชว่ยเสรมิสรา้งกระดกู และฟันให้แข็งแรง 2. แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ 3. สมานผิว ช่วยลบรอยเหี่ยวย่น 4. บำรุงกำลัง บำรุงตับ แก้ช้ำใน 5. บำรุงน้ำนม

สำหรับผู้ตอบถูก รอรับของรางวัลที่ทางบริษัทฯ จะจัดส่งให้ตามที่อยู่ที่แจ้งมาค่ะ

Page 22: CSR ชุมชนของเรา 2

“ชุมชนของเรา” ฉบับนี้ ชวนกันออกเดินทางไปเรียนรู้ความหมายจากประสบการณช์วีติการทำงาน เมือ่ครัง้วนัวานของพี่ ๆจากชมรมศษิยเ์กา่ไทยออยล์ซึง่ยงัคงคณุคา่เหนอืกาลเวลา ไมว่า่จะผา่นไปนานเพยีงใดบทบนัทกึจากความทรงจำ ที่พี่ ๆ ได้ถ่ายทอดฝากไว้ ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปรับใช้ในชีวิตการทำงานและการอยูร่ว่มกนัในสงัคมอกีทัง้ชว่ยสรา้งแรงบนัดาลใจใหช้าวไทยออยลร์ุน่นอ้งๆไดอ้ยา่งมเิสือ่มคลาย

ความเดิมต่อเนื่องจากฉบับที่แล้ว เมือ่พนกังานไทยออยลร์ุน่บกุเบกิราว 130 กวา่คน

เข้าคอร์สฝึกอบรมชนิดที่ เรียกว่าเข้มข้นกัน

ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จากครูวิทยากร

ผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินานกว่า

6 เดือนเต็ม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2507 พนักงาน

รุ่นบุกเบิกชุดแรก เรียกขานกันในชื่อรหัสว่า

รุ่น TORC1 (ย่อมาจาก Thai Oil Refinery

Company) ทยอยเดินทางมุ่งหน้าสู่สนาม

ปฏิบัติการจริง นั่นคือ บริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทย

(ชือ่ในขณะนัน้) ซึง่ตัง้อยู ่ณ แดนดนิถิน่ตะวนัออก

ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ถัดจากนั้น

อีก 3 เดือน พนักงานรุ่นบุกเบิกชุดที่สองก็

เดินทางตามมาสมทบ เพื่อทำงานร่วมกันใน

การตระเตรียมความพร้อมสำหรับการเดิน

เครื่องโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งต่อมาได้เปิดตัวอย่าง

เป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมปีเดียวกัน

นั้นเอง

อีก 4 ปีต่อมาคือในปี พ.ศ. 2511

บริษัทฯ ได้เปิดรับสมัครพนักงานไทยออยล์

รุ่นที่ 2 หรือที่รู้จักกันในชื่อรุ่น TORC2 เพื่อเสริม

กำลังบุคลากร ทั้งในสายงานช่างและวิศวกร

คุณภาพ เพื่อพัฒนามาตรฐานโรงกลั่นและสร้าง

ความพร้อมในการปฏิบัติการตามภารกิจที่ได้

กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง

การทำงานในพืน้ทีโ่รงกลัน่ฯ ซึง่เตม็ไปดว้ย

เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่

พนักงานทุกคนต้องใส่ใจและยึดมั่นต่อระเบียบ

วนิยัในการปฏบิตังิานอยา่งเครง่ครดั แตล่ะขัน้ตอน

ของกระบวนการผลิตอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล

อยา่งเขม้งวดของซปุเปอรไ์วเซอรห์รอืหวัหนา้งาน

ซึ่งในช่วงแรกส่วนใหญ่เป็นฝรั่งต่างชาติที่มีความ

เชีย่วชาญดา้นการกลัน่นำ้มนั จงึนบัเปน็โอกาสดี

ทีค่นทำงานสามารถเกบ็เกีย่วความรู ้ และเพิม่พนู

ทักษะความชำนาญตามมาตรฐานสากลได้อย่าง

ตอ่เนือ่ง เกดิการแลกเปลีย่นและสง่ตอ่ความรูใ้น

งานระหว่างกัน ต่อมาก็เริ่มมีหัวหน้างานที่เป็น

คนไทยเติบโตเพิ่มมากขึ้น

พี ่ ๆ จากชมรมศษิยเ์กา่ทีม่ปีระสบการณ์

ร่วมในช่วงเวลาของการบุกเบิก พร้อมใจกัน

เล่าต่อชวนให้เห็นภาพว่า ในช่วงนั้นทุกคนต้อง

ทำงานอย่างหนักหน่วงตามหน้าที่ ต้องช่วยกัน

คนละไม้คนละมือ ทั้งล้างทำความสะอาดท่อ

ไล่ท่อ หรือแม้แต่กวาด หรือล้างพื้นบริเวณรอบ

โรงกลั่น รวมทั้งยังต้องจัดเตรียมกำลังผลัด

เปลี่ยนหมุนเวียนกันทำงานด้วยรูปแบบการ

เข้าเวรเป็นกะ แต่ละกะจะมีผู้จัดการประจำกะ

คอยดูแลอยู่ด้วย

จากประสบการณ์การทำงานที่ไทยออยล์

ทำใหไ้ดเ้รยีนรูว้า่ วชิาชพีเฉพาะดา้นอตุสาหกรรม

การผลิตและการกลั่นน้ำมันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้อง

ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นโยบายของ

บริษัทฯ จึงเปิดโอกาสให้พนักงานได้รับการ

ฝึกฝนอบรมในวิชาความรู้และทักษะที่จำเป็น

ต่อการทำงาน โดยสลบัหมนุเวยีนกนัเดนิทางไป

ศึกษาดงูานทัง้ในประเทศและตา่งประเทศ รวมทัง้

มีการให้ทุนเพื่อศึกษาต่ออีกด้วย พนักงานของ

ไทยออยล์ทุกคนจึงได้รับการพัฒนาและเพิ่มเติม

ความรู ้ ฝึกฝนทักษะและความชำนาญอยู ่

ตลอดเวลา เสมือนหนึ่ งองค์กรแห่งนี้ เป็น

“มหาวิทยาลัย” สำหรับทุกคน

พนักงานไทยออยล์ทุกคนรู้ดีว่า ความ

ปลอดภยั คอื หวัใจสงูสดุของการทำงาน ทกุคน

หัวใจที่เป็นหนึ่งเดียวกัน คือ

บันไดขั้นแรกสู่ฝันอันยิ่งใหญ่

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553�0

พี่เก่าเล่าเรื่อง (ตอนที่ 2)โดย กระวานไพร

Page 23: CSR ชุมชนของเรา 2

จึงต้องทำงานแต่ละขั้นตอนด้วยความรอบคอบ

และระมัดระวังอย่างเข้มงวด เน้นคุณภาพการ

ทำงานตามมาตรฐานสากล แต่ช่วยกันดูแลกัน

และกันเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน เพื่อให้

องค์กรที่เป็นทั้ง “บ้าน” และ “มหาวิทยาลัย

ชีวิต” ของทุกคน เป็นสถานที่ที่น่าอยู่ อบอุ่น

และปลอดภัย

ในชว่งแรก ๆ ของการทำงานทีโ่รงกลัน่

พนักงานไทยออยล์รุ่นบุกเบิกจำเป็นต้องหา

บ้านเช่าอยู่กันเองก่อน หลายคนจึงเลือกบ้าน

เชา่ทีร่าคาไมแ่พงในละแวกใกลเ้คยีง และชวนกนั

อยู่รวมกัน หลังหนึ่งสักประมาณ 4-5 คน

หารค่าเช่าบ้านกันเอง ต่อมาหลังจากที่พื้นที่ตั้ง

โรงกลั่นน้ำมันส่วนที่ 2 หรือ TORC2 สร้างเสร็จ

เรียบร้อย บริษัทฯ ก็เริ่มทยอยสร้างหมู่บ้าน

ที่เป็นสัดเป็นส่วนให้เป็นสวัสดิการแก่พนักงาน

โดยหมูบ่า้นที ่1 มอียูป่ระมาณ 164 หลงั จากนัน้

ก็ทยอยสร้างหมู่บ้านที่ 2 ตามลำดับ เพื่อให้

พนักงานไทยออยล์ได้อยู่อาศัยกันเป็นกลุ่ม

เป็นก้อน ตอนนั้นรวมจำนวนพนักงานและ

ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ 1 และ 2 ได้

ราว ๆ เกือบ 300-400 คน เรียกได้ว่าเป็น

ชุมชนชาวหมู่บ้านไทยออยล์กันเลยทีเดียว

โอกาสดีที่บริษัทฯ มอบให้นี้เอง ทำให้

พนักงานไทยออยล์ทั้งในรุ่นบุกเบิก TORC1 และ

TORC2 ได้ ใช้ เวลาบ่มเพาะมิตรภาพและ

ความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นมากขึ้น ทั้งใน

วิถีของการทำงาน ซึง่ตอ้งรว่มแรงกนัเพือ่ใหง้าน

รดุหนา้ไปอย่างต่อเนื่อง หากมีปัญหาใด ๆ เกิด

ขึ้นระหว่างทาง ก็พร้อมใจกอดคอกันแก้ปัญหา

จนสำเร็จลุล่วง ควบคู่ไปกับภารกิจการช่วยกัน

สอดส่องดูแลความปลอดภัยของโรงกลั่นน้ำมัน

ซึ่งเป็นเสมือนบ้านหลังที่สองของทุกคน

นอกจากวิถีการทำงานที่ลงแรงเทใจ

ร่วมกันแล้ว การใช้ชีวิตประจำวันหลังเลิกงาน

ก็เป็นอีกหนึ่งหนทางสร้างความผูกพัน หลังเลิก

งานชาวไทยออยล์ที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียง หรือ

แมแ้ตอ่ยูห่า่งออกไปหลายหลงั มเีวลาไดน้ัง่พดูคยุ

ถามสารทุกข์สุกดิบระหว่างกัน กลุ่มแมบ่า้นเอง

กม็กัชวนกนัทำอาหารเยน็ และนำมากนิร่วมกัน

เป็นวงใหญ่ที่บ้านใครสักคนหนึ่งตามแต่จะ

นัดหมาย พร้อมหน้ากันเป็นครอบครัวใหญ่

ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่น

กีฬาโปรดของใครหลายต่อหลายคน อย่างเช่น

เซปักตะกร้อ ซึ่งแม้ในช่วงนั้นยังไม่มีสโมสรของ

ชาวไทยออยล์เป็นรูปเป็นร่างเหมือนเช่นปัจจุบัน

แต่เพื่อน ๆ พี่ ๆ พนักงานยุคนั้นก็มีวิธีสนุกกับ

การเล่นกีฬาชนิดนี้ได้ง่าย ๆ โดยใช้เชือกกั้น

เพื่อให้มีเส้นแบ่งบอกเขตแดนเท่านั้น เพียงแค่นี้

เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม และมิตรภาพก็เกิดขึ้นได้

อย่างเป็นธรรมชาติ

ในช่วงเทศกาลประเพณี เช่น วันปีใหม่

วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันตรุษจีน ฯลฯ

ชาวไทยออยล์และครอบครัวได้รวมตัวกันทำ

กิจกรรมต่าง ๆ ตามเทศกาลและงานประเพณี

กนัอยา่งสมำ่เสมอ ในชว่งเริม่ตน้นัน้ พีใ่หญอ่ยา่ง

มล.จรัสพันธุ์ ชุมสาย หรือที่น้อง ๆ รุ่นหลัง

เรียกขานท่านด้วยความเคารพว่า คุณอาหม่อม

เป็นประธานหมู่บ้านไทยออยล์อยู่หลายสมัย

เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมดี ๆ มีประโยชน์

เพื่ อหลอมรวมใจเพื่ อนพ้องพนักงานและ

ครอบครัวให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

“พี่เก่าเล่าเรื่อง” เดินทางมาถึงบรรทัดนี้

จงึอยากเชญิชวนพีน่อ้งพอ้งเพือ่น ทัง้ชาวไทยออยล์

และชุมชนรอบรั้วโรงกลั่นฯ โปรดติดตามเรื่อง

ราวการค้นหาต้นทางของมิตรภาพและความ

ผูกพันตามแบบฉบับคนไทยออยล์ ที่มีต่อเพื่อน

พ้องคนทำงาน ครอบครัว ชุมชน และสังคมกัน

ต่อในฉบับหน้า เพื่อร่วมเรียนรู้บทเรียนในการ

ผสานวิถีการทำงานและวิถีชีวิตที่สามารถอยู่ได้

ด้วยสำนึกของความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม

ขอขอบคุณทุกเรื่องราวดี ๆ จากพี่ ๆ ชมรมศิษย์เก่า ผู้ทำหน้าที่คนต้นเรื่อง ไดแ้ก ่มล.จรสัพนัธุ ์ชมุสาย, คณุจรญู เกดิสวสัดิ,์ คุณฤทธิพร ริกุลสุรกาน, คุณสมทบ เนตราคม, คุณสุนทร เศวตศิลป์, คุณสุนทร เกษรางกูล และคุณโสภณ ตรีรัตน์

พนักงานไทยออยล์ทุกคนรู้ดีว่า ความปลอดภยั คอื หวัใจสูงสุดของการทำงาน ทุกคนจึงต้องทำงานแต่ละขั้นตอนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังอย่างเข้มงวด เน้นคุณภาพการทำงานตามมาตรฐานสากล แต่ช่วยกันดูแลกันและกันเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน เพื่อให้องค์กรที่เป็นทั้ง “บ้าน” และ “มหาวิทยาลัยชีวิต” ของทุกคน เป็นสถานที่ที่น่าอยู่ อบอุ่น และปลอดภัย

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 ��

Page 24: CSR ชุมชนของเรา 2

บ้านอ่าวอุดมในปัจจุบัน อยู่ห่างจากถนนสุขุมวิทประมาณ 3

กิโลเมตร มีชุมชนที่อยู่มาตั้งแต่ดั้งเดิมและชุมชนที่ขยายตัวเนื่องจาก

การอพยพเข้ามาทำงานในภาคอุตสาหกรรมอาศัยอยู่ด้วยกันอย่าง

กลมกลืน สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้คนมากหน้าหลายตาซึ่งเดินทาง

มาจากภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีขึ้น อยู่รวมกันและเป็นน้ำ

หนึ่งใจเดียวกันได้ก็เพราะผู้นำชุมชนที่ยึดถือคติ “ทำประโยชน์เพื่อส่วน

รวม...” อย่างเข้มแข็งตลอดมา

จันทร์ สว่างแจ้ง หรือ “ลุงจันทร์” ของชาวบ้านในชุมชนอ่าว

อุดม เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้นำชุมชนรุ่นแรก ๆ ที่ยังคงทำงานเพื่อ

ส่วนรวมอยู่เสมอแม้ว่าจะมีอายุกว่า 80 ปีแล้ว ลุงจันทร์ได้รับเลือกให้

เป็นประธานชุมชนมายาวนานถึง 8 ปี เพิ่งจะได้วางมือให้คนรุ่นหลัง

เข้ามาสานต่อเจตนารมณ์เมื่อ 4-5 ปีที่แล้วนี้เอง

“ที่ทำงานช่วยสังคมก็เพราะยากจนมาก่อน สมัยก่อนคนจนมัน

จนจริง ๆ ไม่มีจะกินจะใช้ ก็เรียนรู้ชีวิตมาโดยตนเองตลอด ผ่านมา

หมดทั้งดีทั้งไม่ดี พออายุ 32 ก็รู้หมดดีชั่ว หลังแต่งงานพอตั้งหลักได้ก็

ช่วยคนทุกอย่าง เอาสิ่งที่เราเรียนรู้มา มาบอกมาสอนคนอื่น...”

ลุงจันทร์ทำงานเพื่อชุมชนหลากหลายด้านควบคู่ไปกับการ

ทำงานเลี้ยงครอบครัว เริ่มต้นจากการเป็นที่ปรึกษาผู้ใหญ่บ้าน

ที่ลงมาทำงานด้วยตัวเองแทบทุกอย่าง และมาช่วยงานสุขาภิบาล

อ่าวอุดม จนเปลี่ยนมาเป็นเทศบาลอ่าวอุดม ลุงจันทร์ก็ยังคงทำงาน

อยา่งแขง็ขนั เปลีย่นยคุสมยัไปพรอ้มกนักบัการพฒันาของชมุชนอา่วอดุม

“...ที่ทำได้ก็เพราะงานชุมชนมันไม่ได้ทำทุกวัน วันไหนว่างก็ทำ แล้วเรา

ก็สบายใจได้ช่วยสังคม”

งานช่วยสังคมที่โดดเด่นและลุงจันทร์ยังคงทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ

มาถึงวันนี้ก็คือ งานอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชน หรือ อสม. ที่

ทำมากว่า 20 ปี ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นผู้สื่อสารสาธารณสุข หรือ ผสส.

และด้วยความที่ทำงานภาคปฏิบัติตลอดมาทำให้ลุงจันทร์ได้รับความไว้

เนื้อเชื่อใจจากชาวบ้านในชุมชนอ่าวอุดมมาโดยตลอด สามารถระดม

เงินจากห้างร้านและประชาชนได้ถึง 104,500 บาท นำมาสร้างศูนย์

สาธารณสุขชุมชนได้สำเร็จก่อนที่มีโรงพยาบาลอ่าวอุดม และลุงจันทร์

ยังได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนเข้าสอบแข่งขัน อสม. ดีเด่นในปี พ.ศ.

2538 อีกด้วย

“เป็น อสม. มา ความรู้แค่ ป.4 แต่ได้ไปสอบ อสม. ดีเด่นระดับ

อำเภอ ได้ที่ 1 ของอำเภอ ได้เป็นตัวแทนไปสอบในระดับจังหวัด และ

ได้ที่ 1 ของจังหวัด เพราะทำงานภาคปฏิบัติมาโดยตลอด ต่อจากนั้นก็

ไปสอบระดับเขตได้ที่ 1 อีก จึงได้ไปสอบในระดับประเทศที่สำนักงาน

เขตเมืองนนทบุรี สอบได้รองอันดับ 1 ของประเทศ” ลุงจันทร์เล่าถึง

ความหลังให้ฟังอย่างภาคภูมิใจ

ผลงานด้าน อสม. ที่ลุงจันทร์ภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่งก็คือการ

ก่อตั้งกองทนุฌาปนกจิใหเ้พือ่น ๆ สมาชกิ อสม. ในรปูแบบของกองทนุ

“เงนิชว่ยเหลอื อสม. เทศบาลแหลมฉบัง” ด้วยแนวคิดที่ลุงจันทร์เล่าให้

ฟังว่า “มาคิด ๆ ดูว่าคนตายไปไม่มีอะไรเลย บางครอบครัวไม่มีเงินจะ

จิตวิญญาณรุ่นแรกของชาวอ่าวอุดม หลายสิบปีก่อน “อ่าวอุดม” มีชื่อเรียกขานจากเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า“อ่าวกระสือ” สันนิษฐานว่าชาวบ้านสมัยนั้นอาจจะมองเห็นแสงไฟจากเรือที่เข้ามาจอดในอ่าวระหว่างอ่าวอุดมกับเกาะสีชังวับ ๆ แวม ๆ ไปมาเหมือนกระสือก็เป็นได้ ในสมัยก่อนบริเวณชุมชนอ่าวอุดมจะมีหนองน้ำขนาดใหญ่เรียกกันว่าหนองกระสือมีต้นพะยอมใหญ่ขึ้นอยู่หลายต้นสวยงามมาก

จันทร์สว่างแจ้ง

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553��

ปราชญ์ชุมชนโดย ตะวันฉาย

Page 25: CSR ชุมชนของเรา 2

ทำศพ ก็เลยออกหัวกัน ตั้งกองทุนฌาปนกิจ เพื่อช่วยเหลือเวลาสมาชิก

เสียชีวิต หรือเวลาเจ็บป่วย คนเอาของไปเยี่ยมไข้คนไข้กินไม่ได้ คนดี

กิน ก็เลยให้เป็นเงินดีกว่า...”

หลังจากทำงาน อสม. ได้ 1 ปี ลุงจันทร์ก็ได้รับการชักชวนให้

เข้าอบรมเป็นลูกเสือชาวบ้าน เนื่องจากเคยช่วยงานด้านการจัดอบรม

ลูกเสือชาวบ้านมาก่อน และลุงจันทร์ได้นำแนวคิดเรื่องกองทุนฌาปนกิจ

มาก่อตั้งเป็น “ชมรมฌาปนกิจลูกเสือชาวบ้าน” ให้กับลูกเสือชาวบ้าน

อำเภอศรีราชา และอำเภอเกาะสีชังด้วย

ปัจจุบันลุงจันทร์ เป็นประธานกองทุนเงินช่วยเหลือ อสม.

เทศบาลแหลมฉบัง และเป็นที่ปรึกษาชมรมฌาปนกิจลูกเสือชาวบ้าน

ซึ่งเป็นเพียง 2 ตำแหน่งที่ลุงจันทร์ยังคงรับทำอยู่ด้วยความเต็มใจ

อย่างยิ่ง

โดยส่วนตัวแล้วลุงจันทร์เป็นคนที่ขวนขวายหาความรู้ด้านต่าง ๆ

อยูเ่สมอ เหน็ไดจ้ากประกาศนยีบตัรและวฒุบิตักิารอบรมตา่ง ๆ ทีเ่ขา้

รว่มอยู่เป็นประจำ อาทิ การอบรมไทยอาสาป้องกันชาติ ศูนย์ไทยอาสา

ปอ้งกนัชาต ิจ.ชลบรุ,ี อาสาสมคัรสาธารณสขุในเขตเมอืง สนง.สาธารณสขุ

จ.ชลบรุ,ี การอบรมคณะกรรมการชมุชนรุน่ที ่1 เทศบาลตำบลแหลมฉบงั,

การประนอมข้อพิพาทและกฎหมายที่ควรรู้ สนง.คุ้มครองสิทธิและ

ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สนง.อัยการสูงสุด, การประชุม

สัมมนา คณะกรรมการโรงเรียนประถมศึกษา สนง.การประถมศึกษา

จ.ชลบุรี, การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและงานสาธารณสุขมูลฐาน

(แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว) เทศบาลตำบลแหลมฉบัง เป็นต้น

และเมื่อถามถึงผลงานชิ้นโบว์แดงลุงจันทร์เล่าให้ฟังว่า “เมื่อ

ก่อนน้ำท่วมหมู่บ้านทุกปี ถึงขนาดเข่า ก็เลยไปของบประมาณเพื่อขุด

ทำทางน้ำไปออกทะเล ขุดที่บริเวณหมู่ 7 ของบประมาณมาได้ 52 ล้าน

แต่งบไม่พอเพราะมีช่วงที่เป็นคอคอดกิ่วอยู่ ก็ไปขอเพิ่ม กรรมการทั้ง

หมู่ 7 ก็มาพิจารณาเรื่องนี้ ในที่สุดก็ได้มาอีก 2 แสน ทำคลองระบาย

น้ำไปลงทะเล แล้วปูถนนทับข้างบนให้รถวิ่งได้เป็นระยะทาง 2

กิโลเมตรกว่า ...หลังจากนั้นน้ำก็ไม่ท่วมอีกเลย”

คติประจำใจที่ลุงจันทร์ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

การทำงาน และการช่วยสังคมก็คือ “ไม่มีการคอร์รัปชั่น ช่วยคนดี ไม่

ช่วยคนคอร์รัปชั่น พูดความจริง ไม่เคยทำเพื่อส่วนตัว ทำเพื่อส่วนรวม

ไม่เคยมีอคติกับใคร ช่วยได้เราก็ช่วย อันไหนไม่ดีเราก็แนะนำ ไม่เคย

เรียกสินไหมจากใคร ไม่รับเลี้ยงใคร ช่วยโดยบริสุทธิ์ เสียสละ ไม่หวัง

สิ่งตอบแทนอะไร ทำจริง ไม่หลอกลวง ไม่รีดไถ เพราะเราทำได้แบบนี้

เวลาจะไปออกปากกับใครก็มีผลสำเร็จ เพราะเขารู้เราทำจริง พอไปขอ

อะไรใครเขาก็เต็มใจให้สุดฝีมือ”

วันนี้อ่าวอุดมก็ยังคงเป็นอ่าวที่ไม่เคยหลับใหลเช่นกาลก่อน จาก

แสงไฟของเรือที่จอดเรียงรายในทะเลนับสิบนับร้อยลำ ราวกับดวงดาว

แห่งความดีของคนในชุมชน ดวงดาวเหล่านี้จะอยู่คู่เคียงไปกับชุมชน

อ่าวอุดมที่จะคงอยู่อย่างยั่งยืน หากสืบทอดจิตวิญญาณแห่งความดี

จากรุ่นสู่รุ่นเรื่อยไป...

“ไม่มีการคอร์รัปชั่น ช่วยคนดี ไม่ช่วยคนคอรัปชั่น พูดความจริง ไม่เคยทำเพื่อส่วนตัว ทำเพื่อส่วนรวม ไม่เคยมีอคติกับใคร ช่วยได้ เราก็ช่วย อันไหนไม่ดีเราก็แนะนำ ไม่เคยเรียกสินไหมจากใคร ไม่รับเลี้ยงใคร ช่วยโดยบริสุทธิ์ เสียสละ ไม่หวังสิ่งตอบแทนอะไร ทำจริง ไม่หลอกลวง ไม่รีดไถ เพราะเราทำได้แบบนี้เวลาจะไปออกปากกับใครก็มีผลสำเร็จ เพราะเขารู้เราทำจริง พอไปขออะไรใครเขาก็เต็มใจให้สุดฝีมือ”

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 ��

Page 26: CSR ชุมชนของเรา 2

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553��

ร้านนี้รักษ์สิ่งแวดล้อมโดย หงวน ชวน ชิม

ทีเ่ลา่มายงัไมใ่ชท่เีดด็สดุ ๆ ทีส่ดุยอดจรงิ ๆ คอื วธิรีกัษโ์ลกของรา้นปา้ หรอื ปา้หวี ฉวีวรรณ นาคสุวรรณ เป็นวิธีเฉพาะซึ่งใครจะลอกเลียนแบบได้ไม่ว่ากัน วิธีแรก ของ การรกัษส์ิง่แวดลอ้มดเูหมอืนทัว่ ๆ ไป คอื การใชห้มอ้กว๋ยเตีย๋วไรส้ารตะกัว่ ชว่ยทัง้โลก และคนกินให้ปลอดภัย หม้อไร้สารตะกั่วแพงกว่าหม้อทั่วไปถึงสองเท่า แต่ล้างง่าย เกบ็ความรอ้นนาน เวลาตุน๋จะเปือ่ยเรว็ ทำใหป้ระหยดัพลงังาน วธิทีีส่อง คอื การมนีำ้ดืม่ แจกฟร ี มีแก้ว น้ำ น้ำแข็งพร้อม ขอเพียงบริการตนเอง ก็ไม่ต้องจ่ายตังค์ค่าน้ำเปล่า ขวดละ 5-10 บาท ประหยดัทัง้เงนิ ลดปรมิาณขยะ และการใชพ้ลาสตกิ เปน็วธิโีบรำ่โบราณ ที่ร้านก๋วยเตี๋ยวแต่ก่อนทำกันมานาน แต่เดี๋ยวนี้หายากไม่รู้ว่าเพราะอะไร

ร้านป้า

ร้านนี้ ไม่มีชื่อ เด็ก ๆ ม. เกษตร เรียก “ร้านป้า” ขึ้นชื่อลือชานักหนาว่าอร่อยและให้เยอะ โดยเฉพาะในหมู่หนุ่มชาววิศวะฯ กินกันทุกวัน สาว ๆ ก็มาไม่น้อยหน้า เพราะร้านนี้มีทีเด็ด ไม่ใช่แค่น้ำซุปสูตรเฉพาะที่ทำขายมากว่า 20 ปี ไม่ใช่ลูกชิ้นที่คัดสรรใช้แต่ของดี กระดูกหมูเปื่อย ๆ ที่แถมฟรี หรือผักคะน้าที่ตัดเอาแต่ยอดเท่านั้น อะไรกินไม่อร่อย ป้าไม่เอา ไม่ใช้

Page 27: CSR ชุมชนของเรา 2

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 ��

การเดินทาง แยกอ่าวอุดม ให้เข้าซอยแหลมฉบังทาวเวอร์ ตรงไปจนเจอทางรถไฟ ขับตรงขึ้นมาข้ามทางรถไฟจะเห็นทางเข้าหมู่บ้านแฟมิลี่ สังเกตทาวน์เฮาส์ห้องหัวมุมด้านซ้ายมือ ร้านทาสีส้ม กันสาดสีน้ำเงิน เส้นทางนี้สามารถทะลุออกทางบายพาสได้ หรือโทรหาป้าหวีได้ที่ 08-3805-9721 ควรโทรก่อนเที่ยง เพราะป้าจะได้วางมือจากการทำก๋วยเตี๋ยวมารับได้

แต่วธิพีเิศษ เทคนิคลดการใช้กระดาษทิชชู่ในร้าน “ปกติที่ร้านของป้าจะมีทิชชู่อย่างดีวางให้ใช้ ทิชชู่เช็ดปากแผ่นใหญ่สีขาวสะอาด ป้าซื้อกล่องละ 15 บาท 150 แผ่น คิดแล้วประมาณ 10 แผ่น 1 บาท ป้าก็คิดว่าคนหนึ่งใช้อยา่งมากไมเ่กนิ 5 แผน่ ปา้กโ็อเคแลว้ แตเ่ดก็บางคนดงึเอาดงึเอา เชด็นดิ แล้วก็ทิ้งบางทีกองเป็นพะเนินอยู่ข้างชามก๋วยเตี๋ยว เห็นแล้วป้าไม่ว่า แต่ครั้งหน้าถ้ามากินป้าจะมีวิธีสอนเขา คือ ถ้าเขามากับเพื่อนสั่งก๋วยเตี๋ยวเหมือนกัน เพื่อนเขาจะได้ก๋วยเตี๋ยวที่น่ากินมาก ป้าจะแถมทั้งกระดูก หมูสองสามชิ้น ส่วนของเขาป้าก็ทำแบบธรรมดา ๆ แต่คิดราคาเท่ากัน แล้วเด็ก ๆ เขาก็จะหยุดเอง “ปา้ไมไ่ดห้ว่งเรือ่งเงนิหรอก แตห่ว่งสิง่แวดลอ้ม ทำอะไรอยา่ใหม้ากเกนิไป เงนิหมดกห็ามาใหมไ่ดแ้ตส่ิง่แวดลอ้มหาไมไ่ด ้ป้าคิดง่าย ๆ ว่า ถ้าเงินเป็นสิ่งแวดล้อมของคุณ กระดาษก็เป็นสิ่งแวดล้อมของชั้น เรามาช่วยกันรักษาไหม ถ้าเขาใช้กระดาษประหยัด เขาก็รักษาเงินของเขาไว้ได้ด้วย” นอกจากนี ้ ปา้หวยีงัใชเ้ทคนคิคลา้ยกนันีไ้ปสอนใหเ้ดก็ ๆ กนิผกัอกีดว้ย ป้าหวีชี้แจงว่า “ป้าเองก็มีลูกชายอายุไล่เลี่ยกับวัยรุ่นเหล่านี้ เห็นแล้วก็คิดถึงอยากสอนให้เขากินผัก” เพราะฉะนั้น ป้าหวีจะเลือกคะน้าอย่างดี ตัดทิ้ง ครึ่งหนึ่ง ใช้ครึ่งหนึ่ง ทั้งที่บางทีผักก็แพงเหลือเกินแต่ป้าถือคติว่า อย่าไปกิน กินไปก็ไม่อร่อย แล้วเดี๋ยวเด็ก ๆ จะไม่ชอบผัก เพราะฉะนั้นถ้าใครกินผักก็จะได้กระดูกหมูติดเนื้อเปื่อย ๆ ไปกินฟรี ในราคาเพียงชามละ 20-25 บาท เท่านั้น ถ้าเป็นเกาเหลาก็แค่ 25 บาท อร่อยจริง ๆ ต้องท้าให้ไปลองเอง

ใครใช้กระดาษทิชชู่น้อย ป้าแถมหมูให้เล้ย!

Page 28: CSR ชุมชนของเรา 2

TELEPHONEOFFICE

BADMINTONCOURT

SCHOOLPOLICESTATION

KANTARY BAY

SOI JERM JOMPON 1

SRIRACHA NAKORN

KAMEOHOUSE

SRIRACHANIGHT MARKET

ROBINSON Dept. Store

BANGKOK Bank

CAPE RACHA

SRIRACHAGENERALHOSPITAL(PHYATHAI)

SRIRACHA MAP

KARAVELHOUSE

Jerm

JomponRoad

JermJomponRoad

SrirachaMarket

Tessabarn1Road

BANGKOK

SUKHUMVITROAD

PATTAYA

เกาะลอยมีเสน่ห์ตรงที่มีบรรยากาศและทิวทัศน์สวยงาม โดยเฉพาะยามเยน็ชาวศรีราชาและผู้มาเยือนชอบที่ไปนั่งกินลมชมวิวชมพระอาทิตย์ตกน้ำที่สวยงามมาก บนเกาะลอยยังมีสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น วัดเกาะลอยวัดเก่าแก่นับร้อยปีซึ่งผู้คนให้ความเคารพศรัทธา เป็นที่ประดิษฐานศาลเจ้าพ่อกวนอู และเจ้าแม่กวนกิมหยกขาวที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย บนเกาะยังมีสวนเต่าทะเลซึ่งเด็กๆชอบกันมาก

เสน่ห์ที่ไม่มีวันจม ของศรีราชา

เกาะลอยตัง้อยูท่างทศิเหนอืของตลาดศรรีาชา มเีนือ้ทีป่ระมาณ 3 ไรเ่ศษ การเดนิ

ทางมาก็ไม่ยาก เมื่อเข้าตลาดศรีราชาให้วิ่งรถเลียบริมทะเลมา จะเห็นสะพานคอนกรีตที่

ทอดยาวพาดข้ามทะเลเชื่อมระหว่างชายฝั่งจนถึงเกาะ รถสามารถข้ามผ่านไปได้เลย

สำหรับคนที่ไม่มีรถส่วนตัวให้ลงที่ตึกคอมศรีราชา แล้วนั่งรถตุ๊กตุ๊กเข้ามาก็ได้เช่นกัน

เดิมทีสะพานคอนกรีตที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของเกาะลอยแห่งนี้เป็นเพียงสะพาน

ไม้ที่เอามาต่อเป็นทางเดินเชื่อมต่อกันเท่านั้น รถไม่สามารถข้ามมาได้ แต่ปัจจุบันสร้าง

เป็นถนนคอนกรีตกว้างขวาง รถวิ่งสวนทางกันได้สบาย แถมยังมีทางเดินสำหรับให้คนที่

ชอบเดินชมวิวอีกด้วย

พอเดินเข้าไปในเกาะลอยจะเห็นสระน้ำขนาดใหญ่ นั่นคือ สวนเต่าทะเล บ่อเลี้ยงเต่าที่เทศบาลก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.

2535 จะมีเต่าทะเลอยู่ 2 ชนิด คือเต่าตนุ และเต่ากระ ปัจจุบันมีเต่าทะเลประมาณ 250 ตัว เป็นเต่าทะเลที่ติดมากับเครื่องมือ

ประมงของชาวประมง แทนที่จะนำไปเป็นอาหารหรือนำไปทำเป็นเครื่องประดับขาย ก็ได้นำมามอบให้ทางเทศบาลอนุรักษ์ไว้ในบ่อ

เต่าเพื่อให้ประชาชนได้ชม

ใกล้ ๆ สวนเต่าทะเลมีร้านขายอาหารเต่ากล่องละ 20 บาท เป็นปลาหมึกสดตัวเล็ก ๆ ใส่กล่องโฟมและให้ช้อนสเตนเลส

มาด้วย พอให้อาหารเต่าหมดกล่องแล้วต้องนำกล่องโฟมและช้อนไปคืนให้ทางร้านเพื่อใช้หมุนเวียน ช่วยลดการใช้ทรัพยากรของ

โลกลงได้บ้าง

พอให้อาหารเต่าเสร็จก็ขึ้นไปไหว้พระที่ วัดเกาะลอยศรีมหาราชา ทางเดินขึ้นวัดเป็นบันไดค่อนข้างลาดชันเพราะวัดอยู่บน

เนนิเขา เมือ่ขึน้ไปถงึขา้งบนแมม้บีรเิวณไมก่วา้งมากนกั แตอ่ากาศด ีทวิทศันส์วย มองเหน็ทะเลและตวัเมอืง เหมาะแกก่ารนัง่พกัรบัลม

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553��

ของดีบ้านเราโดย บัว แซ่อึ้ง

Page 29: CSR ชุมชนของเรา 2

วัดเกาะลอยเป็นสถานที่สำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เมื่อ พ.ศ. 2442 สมเด็จพระพันวัสสา

อยัยกิาเจา้ ขณะดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาบรมราชเทวี ได้เสด็จแปรพระราชฐานมา

ประทับ ณ พระตำหนกันำ้ศรมีหาราชา ในระหวา่งประทบัอยูน่ัน้ทรงบำเพญ็ราชกศุลอยูเ่สมอ ๆ จงึโปรดเกลา้ฯ

ใหจ้ดัเสนาสนะขึน้ที่วัดเกาะลอยเป็นที่พำนักสงฆ์ และพระราชทานภัตตาหารถวายพระสงฆ์เป็นประจำ โดย

โปรดให้ทหารนำใส่เรือไปถวาย ต่อมาที่พำนักสงฆ์เกาะลอยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเป็น “วัดเกาะลอย

ศรีมหาราชา” และได้รับกฐินหลวงทุกปี ในขณะที่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงประทับอยู่ที่ศรีมหาราชา

ลงจากวัดเกาะลอยมาที่ ศาลเจ้าพ่อกวนอ ูอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะลอย ไหว้นมัสการเจ้าพ่อ

แล้วก็เดินเรื่อยมาทางด้านหลังของเกาะเพื่อไปสถานที่ไฮไลท์ที่สุดของเกาะลอยในเวลานี้ พระโพธิสัตว์กวนอิม

หยกขาว ความสูง 4 เมตร ซึ่งทางเทศบาลได้จัดสร้างขึ้น พระโพธิสัตว์กวนอิมที่เกาะลอยนี้ เป็นองค์ที่ทำด้วยหยกขาวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

แกะสลักโดยช่างฝีมือจากพระราชวังจีน พร้อมด้วยสาวก 2 องค์ ขนาดความสูงองค์ละ 2 เมตร และมีกระถางธูปขนาด 80 เซนติเมตร

ประดิษฐานอยู่ในเก๋งมังกรจีน 8 เหลี่ยม 48 เสา หลังคาลดหลั่นกัน 3 ชั้น เพดานภายในเก๋งมังกรจีนได้รับการออกแบบเขียนภาพมังกรแบบไทย

โดยจิตรกรระดับชาติ

เจ้าแม่กวนอิม หรือพระอวโลกิเตศวรกวนอิมโพธิสัตว์ พระนามกวนอิมนั้นเป็นการออกเสียงตามศัพท์ จากคำว่า “อวโลกิเตศวร” ที่แปลได้

ว่ากวนซอีมิ ตอ่มาเนือ่งจากคำวา่ “ซ”ี ไปตรงกบัพระนามของพระจกัรพรรดหิลซีหีมนิ จงึตดัคำวา่ “ซ”ี ออกเหลอืเพยีงกวนอมิ พระกวนอมิเปน็

พระโพธสิตัว์ ทีม่สีมญานามวา่ มหาเมตตา มหากรณุา เพราะพระองคม์คีวามเมตตากรณุาตอ่สตัวโ์ลกเปน็อนัมาก พระกวนอมิ

สามารถนมิตินริมาณกายไปโปรดสตัวย์งัโลกอืน่ ๆ เชน่ นริมาณกายเปน็นาคไปโปรดนาคทีโ่ลกนาค นริมาณกายเป็นเทพไป

โปรดเทพยังสวรรค์ นิรมาณกายมาโปรดยังโลกมนุษย์ที่ทุก ๆ คนเห็นเป็นเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น

รูปพระกวนอิมที่เราเห็นเป็นรูปเพศหญิง ความจริงแล้วรูปเพศหญิงเป็นเพียงนิรมาณกายหนึ่งเท่านั้น

ในจำนวน 32 กาย หาใช่พระกวนอิมเป็นเพศหญิงไม่

เกาะลอยนอกจากจะเปน็สถานทีท่อ่งเทีย่วแลว้ ยงัเปน็ทา่เรอืสำหรบัเดนิทางไปเกาะสชีงัอกีดว้ย ทา่เรอืนี ้

จะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้าของทุกวัน ค่าเดินทางคนละ 40 บาท ใช้เวลาเดินทางไปเกาะสีชัง 45

นาที บนเกาะยังมีร้านอาหารและร้านขายของที่ระลึกให้เลือกชิมเลือกช้อปกันอีกด้วย

ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของเกาะลอยและเป็นเอกลักษณ์ของศรีราชาก็คือ ในวันที่ 19-21 เมษายน

ของทุก ๆ ปีจะมีการจัดงานประเพณีกองข้าวขึ้นที่นี่ ตลอดชายฝั่งศรีราชาจนถึงเกาะลอยจะเต็มไปด้วย

ดวงไฟประดับสวยงามตระการตา น่ามาเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง

ภาพบางส่วนจาก www.oknation.net, www.siamfreestyle.com

ท่านสามารถมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลไทยได้โดย หากพบเห็นเต่าทะเลติดมากับเครื่องมือประมงและเต่าทะเลยังแข็งแรง โปรดปล่อยเต่ากลับคืนสู่ท้องทะเล หรือหากพบ

เต่าทะเลได้รับบาดเจ็บ กรุณานำมามอบให้ทางเทศบาลศรีราชาเพื่อให้การดูแลรักษาต่อไป

เต่าทะเลเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โปรดอย่าใช้หรือซื้อหาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ

ที่ทำจากเต่าทะเล และอาหารที่มีส่วนประกอบของเต่าทะเล เช่น ไข่เต่า ไม่บุกรุกพื้นที่วางไข่เต่าทะเลโดยเฉพาะที่เกาะคราม

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 ��

Page 30: CSR ชุมชนของเรา 2

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553��

เยี่ยมเยือนเพื่อนบ้านโดย คำละไม

ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในบนพื้นที่ 12,000 ไร่ ที่มีความอุดม

สมบูรณ์เป็นลำดับ 2 ของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 26 ของโลก

ผืนนี้ ในอดีตได้เดินทางผ่านความสมบูรณ์ ความเสื่อมโทรม และ

การทำลายจากน้ำมือมนุษย์จนถึงจุดวิกฤติ ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

ป่าผืนเดียวกันนี้กลับฟื้นคืนมาอุดมด้วยทรัพยากรจากความร่วมแรง

ร่วมใจกันของคนในชุมชน ช่วยหล่อเลี้ยงทุกชีวิตที่ตระหนักถึงคุณค่า

ของมันอย่างยั่งยืน

บทเรียนราคาแพงกว่า30ล้านบาท บา้นเปรด็ใน ชมุชนเลก็ ๆ ใน ต.หว้งนำ้ขาว อ.เมอืง จ.ตราด

เป็นชุมชนชาวจีนที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งกว่า 50 ปีก่อน ใช้ชีวิต

เรียบง่ายด้วยการปลูกข้าวไร่ จับกุ้ง หอย ปู ปลา และหาของป่า

เลี้ยงชีพ ต่อมารัฐเปิดให้สัมปทานป่า ก่อให้เกิดปัญหาการทำลายป่า

ชายเลนอย่างรวดเร็ว มีการฉกฉวยผลประโยชน์ สร้างความร่ำรวยให้

แก่คนบางกลุ่ม

ในป ี พ.ศ. 2526-2528 สภาพปา่ชายเลนเริม่มกีารเปลีย่นแปลง

อย่างชัดเจน จากการที่นายทุนเข้าขุดลอกคลองแบ่งเขตป่าชายเลน

เพื่อทำบ่อเลี้ยงกุ้งในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มกัน

ปรึกษาปัญหาและต่อสู้เรียกร้อง จนกระทั่งสามารถระเบิดประตูน้ำ

ในนากุ้งและขับไล่นายทุนออกจากพื้นที่ได้สำเร็จ

ปลายปี พ.ศ. 2530 ชาวบ้านได้ร่วมมือกันปลูกพันธุ์ไม้ฟื้นฟูป่า

ชายเลนเป็นครั้งแรก ...ทว่าวิกฤติที่หนักกว่ากลับเข้ามาแทนที่ ในปี

พ.ศ. 2534 การทำนากุ้งที่กำลังเฟื่องฟูและให้กำไรงาม ทำให้ชาว

บ้านหันกลับมาทำนากุ้งกันแทบทุกหลังคาเรือน สารเคมีที่สะสมใน

นากุ้งถูกปล่อยลงป่าชายเลนโดยตรง กุ้งเกิดโรคระบาด ระบบนิเวศ

เสื่อมโทรม ความหลากหลายในป่าชายเลนถูกทำลาย และนำไปสู่

วิกฤติรุนแรงที่สุดในปี พ.ศ. 2538 นากุ้งล่มสลาย ชุมชนมีหนี้สินรวม

กันถึง 30 ล้านบาท

“การทำลายป่าชายเลน ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเกิดความ

เสื่อมโทรมอย่างมาก และการทำลายยังส่งผลโดยตรงต่อสัตว์น้ำที่

ต้องพึ่งพาอาศัยป่าชายเลนด้วย เพราะป่าชายเลนเป็นทั้งแหล่งอาหาร

ทีอ่ยูอ่าศยั และเปน็แหลง่ผสมพนัธุข์องกุง้ หอย ป ูปลา เมือ่ปา่ชายเลน

ถูกทำลาย สัตว์น้ำก็ลดจำนวนลง ปริมาณสัตว์น้ำที่ชาวบ้านจับได้ก็

ลดน้อยลง เป็นผลให้ไม่สามารถหาเลี้ยงครอบครัวได้เพียงพอเหมือน

อย่างแต่ก่อน” ลุงอี๊ด หรือ นายอำพร แพทย์ศาสตร์ ผู้ใหญ่บ้าน

เปร็ดใน และประธานกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน

เล่าถึงความหลังในวันก่อน

ชุมชนอยู่ได้ด้วยน้ำใจที่หวนคืนมา เมื่อชาวบ้านได้ตระหนักถึงผลเสียที่เกิดขึ้น จึงมีการรวมกลุ่ม

ปรึกษาหารือและกำหนดกฎเกณฑ์ร่วมกัน เพื่อหาแนวทางแก้ไข

ปัญหากันอีกครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูและรักษาป่าชายเลน

ของหมู่บ้านเอาไว้

“กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน เกิดจากการ

ต่อต้านและการผลักดันกลุ่มนายทุนออกจากป่าชายเลน ต้องต่อสู้กับ

กลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ชุมชนเกิด

จิตสำนึกร่วมกันในการอนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างจริงจัง เห็นถึงความ

ร่วมมือร่วมใจ มีการวางแผนประสานงานกัน และที่สำคัญที่สุดคือก่อ

ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชน” นาย

ศุภกิจ ห้วงน้ำ กรรมการกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนบ้าน

เปร็ดใน กล่าวถึงความเป็นมาของชุมชนเข้มแข็ง

บ้านเปร็ดใน ทรัพยากรสมบูรณ์ชุมชนเข้มแข็ง “...ชุมชนจะเข้มแข็งได้มันต้องมาจากฐานทรัพยากร เพราะฐาน

ทรัพยากรมันเป็นทั้งแหล่งอาหารแหล่งรายได้ของคนในชุมชน

ป่าชายเลนคือซูเปอร์มาร์เก็ตของเรา...”ผู้ใหญ่อำพรแพทย์ศาสตร ์

Page 31: CSR ชุมชนของเรา 2

ในปัจจุบันปัญหาที่หนักหน่วงของป่าชายเลนบ้านเปร็ดในคือ คลื่นกัดเซาะแนวป่าชายเลนพังทลาย ชาวบ้านจึงมีแนวคิดในการทำเต๋ายาง เพื่อป้องกันความเสียหาย “มันพังมากจนป่าเลนหายหมดทั้งแผ่นดิน ทั้งป่า คลื่นเริ่มกัดเซาะ ย้อนไปซัก 10 กว่าปี พื้นที่ป่าที่ถูกกินไปก็ประมาณ 40-60 เมตร ไม้ที่เป็นไม้กันชนเริ่มหมด ผลของการวางเต๋ายางปรากฏว่ามันชะลอได้แล้ว” นายศุภกิจ กล่าวถึงสถานการณ์การกัดเซาะของคลื่น เต๋ายาง คือภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่นำยางนอกของล้อรถยนต์มาผูกเข้าด้วยกันให้เป็นปะการังเทียม สำหรับเป็นบ้านที่อยู่ของลูกปลา ลูกปู ลูกหอย และสัตว์น้ำต่าง ๆ

ชุมชนของเรา เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2553 ��

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2543 สภาพป่าชายเลนบ้านเปร็ดในเริ่ม

ฟื้นตัว พร้อมกับจิตสำนึกของคนในชุมชน บ้านเปร็ดในกลายเป็น

ชุมชนอนุรักษ์ที่ร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อรักษาป่าชายเลน

และฟื้นฟูสภาพเสื่อมโทรมให้กลับคืนมาเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์

และยงัไดข้ยายการสรา้งเครอืขา่ยไปยงัชมุชนอืน่ ๆ โดยใชป้า่ชายเลน

เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนใกล้เคียง

รักและหวงแหนป่าชายเลน

ในปัจจุบัน “กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน”

ที่ชาวบ้านในชุมชนร่วมมือกันจัดตั้งขึ้น มีหน้าที่และกิจกรรม

มากมาย ดูแลพื้นที่ป่าชายเลน สร้างคนรุ่นใหม่สืบสานภารกิจ

ใช้งานวิจัยเพื่อลดความขัดแย้งทางความคิด และรวบรวมผลงาน

วิจัยเป็นชุดความรู้เชิงนวัตกรรมของชุมชน บูรณาการผลผลิตจาก

ความอุดมสมบูรณ์ของป่า มาสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจ เช่น

เพิม่ผลผลติสตัวน์ำ้ ธนาคารปแูสม บ้านปลา (เต๋ายาง, ปะการังเทียม)

โครงการ “หยุดจับร้อยคอยจับล้าน” ที่ไม่ให้ชาวบ้านจับปูแสม

ในคืนแรม 4-5-6 คำ่ ในเดอืน 11 หรอืเดอืนตลุาคม เพราะเปน็ชว่ง

ที่ปูแสมวางไข่และเป็นตัวอ่อน โครงการนี้ทำให้ชาวบ้านมีรายได้

จากการจับปูแสมเพิ่มขึ้น เพราะลูกปูแสมสามารถเติบโตได้ดีใน

ทกุ ๆ ป ีนอกจากนีย้งัมกีารลดหนีส้นิชมุชนดว้ยระบบสจัจะออมทรพัย ์

ที่สามารถลดหนี้ได้และช่วยให้ชาวบ้านมีเงินออม กลายมาเป็นต้น

แบบการจัดการระบบสัจจะออมทรัพย์ให้กับชุมชนต่าง ๆ เข้ามา

ศึกษาดูงาน

ข้อมูลและภาพอ้างอิงจาก http://www.haii.or.th/thailandwaterchallenge/ http://www.thaingo.org/, http://www.siamscubadiving.com/

ผู้ใหญ่อำพรแพทย์ศาสตร์

ความหวังอันสดใส“ลูกไม้ป่าเลน” เพื่อให้การอนุรักษ์ป่าชายเลนมีความต่อเนื่องและยั่งยืน

ชุมชนจึงพยายามปลูกจิตสำนึก ความรัก ความผูกพัน และคุณค่า

ของทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนไปสู่คนรุ่นหลัง โดยสนับสนุนให้

เยาวชนเข้าร่วมเรียนรู้กับกลุ่มฯ ในทุกกิจกรรม รวมทั้งประสานกับ

โรงเรียนจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเกี่ยวกับป่าชายเลน จนนำไปสู่การ

เกิดขึ้นของ “กลุ่มลูกไม้ป่าเลน” ในปี พ.ศ. 2550

กลุ่มลูกไม้ป่าเลนดำเนินงานภายใต้ระบบ “พี่ดูแลน้อง” ไม่มี

หัวหน้า ไม่มีลูกน้อง มีแต่พี่ที่คอยพูด-สอน-ช่วยเหลือ-ดูแล-ให้ความ

รู้แก่น้อง ๆ ปลูกฝังนิสัยรักป่าและการพัฒนาชุมชนบนความสัมพันธ์

ที่เท่าเทียมกัน และยังมีกิจกรรมออมทรัพย์กลุ่มเยาวชน ต่อยอดมา

จากกิจกรรมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านเปร็ดใน เพื่อปลูกฝังให้เด็ก ๆ

รู้จักเก็บออม โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุคือ เด็กประถมออมสัปดาห์ละ

6 บาท พี่มัธยม 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท

“เมื่อทรัพยากรกลับมาเพียงพอสำหรับทุกคน ปัญหาการ

แกง่แยง่มนักห็มดไป เราตอ้งทัง้ปราม ทัง้บอก สอนกนัในชมุชนใหม้ใีจ

อนุรักษ์ แล้วปู ปลา มันจะไม่หมดไป เพราะอย่าลืมว่าป่าหายไป

เมื่อไหร่ทุกอย่างก็ต้องหมดตาม” ผู้ใหญ่อำพร แพทย์ศาสตร์ กล่าว

อย่างภาคภูมิใจ

ศุภกิจห้วงน้ำ

Page 32: CSR ชุมชนของเรา 2