cybersecurity workforce v2พ นเอก ดร.เศรษฐพงค มะล ส...

8
พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ Workforce Planning for Cybersecurity แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กสทช. Short paper

Upload: others

Post on 26-Jan-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: cybersecurity workforce v2พ นเอก ดร.เศรษฐพงค มะล ส วรรณ Workforce Planning for Cybersecurity แนวทางการพ ฒนาบ

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

Workforce Planning for Cybersecurity

แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

กสทช.

Short paper

Page 2: cybersecurity workforce v2พ นเอก ดร.เศรษฐพงค มะล ส วรรณ Workforce Planning for Cybersecurity แนวทางการพ ฒนาบ

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม และมีการใช้งานเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีระดับความเสี่ยงในระดับสูงที่ระบบไซเบอร์ของประเทศจะถูกโจมตีและคุกคามจนเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้น หากประเทศชาติให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรทางด้านนี้ จะทำให้สามารถลดความเสี่ยงต่อการคุกคามทางไซเบอร์ของประเทศได้

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยผลของรายงานฉบับนี้ได้มาจากการศึกษา วิจัยและวิเคราะห์ แนวทางการพัฒนาบุคลากรจากเอกสารที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อให้ผู้ศึกษาเอกสารฉบับนี้ได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศและวัฒนธรรมขององค์กรต่อไป

คำนำ

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม/รองประธาน กสทช.

6 ตุลาคม 2560

Page 3: cybersecurity workforce v2พ นเอก ดร.เศรษฐพงค มะล ส วรรณ Workforce Planning for Cybersecurity แนวทางการพ ฒนาบ

1พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

ความเร่งด่วนในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งในทุกองค์กร ทั้งนี้เนื่องจากทรัพย์สินที่มีรูปแบบเป็นดิจิทัล รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านดิจิทัล มีสภาวะที่เสี่ยงมากขึ้นในทุกขณะที่จะถูกโจมตี อย่างไรก็ตามองค์กรส่วนใหญ่ยังมีบุคลากรที่ไม่พร้อมในสภาวะความเสี่ยงดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ ระบบการฝึกอบรม และเครื่องมือที่จะสร้างให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถป้องกันทรัพย์สินขององค์กรได้อย่างยั่งยืน

จากรายงานการถูกโจมตีจากองค์กรทั่วโลกมีระดับความรุนแรงและความถี่เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับทุกปี และที่สำคัญในทุกองค์กรยังมีมุมมองว่าความรับผิดชอบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นหน้าที่ของฝ่ายเทคนิคด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ICT เพียงฝ่ายเดียวนั้น ไม่สามารถปกป้ององค์กรจากความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้อีกต่อไป ดังนั้นความร่วมมือจากทุกฝ่ายในองค์กร รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ และต้องลงมาให้ความร่วมมือกับผู้บริหารในทุกระดับขององค์กร โดยองค์กรจะต้องมีการบูรณาการตั้งแต่ระดับนโยบาย เชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติรวมทั้งต้องวางแผนทางด้านเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับความเสี่ยงขององค์กร รวมทั้งเชื่อมโยงกับบุคลากรอย่างมีความประสานสอดคล้อง ซึ่งความสำคัญในอันดับต่างๆ ที่จะสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่องค์กรก็คือ องค์กรจะต้องพัฒนาบุคลากรไม่ว่าจะเป็นในด้านการจัดการระบบสารสนเทศ (Managing information systems) การจ้างบุคลากรที่มีความชำนาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity talent) การวางนโยบายขององค์กร (Establishing corporate policy) และการสร้างวัฒนธรรมองค์กร (Building corporate culture) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้องค์กรสามารถที่จะระบุ (identify) ตรวจจับ (detect) ตอบสนอง (respond) และฟื้นฟู (recover) จากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber attacks) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

Page 4: cybersecurity workforce v2พ นเอก ดร.เศรษฐพงค มะล ส วรรณ Workforce Planning for Cybersecurity แนวทางการพ ฒนาบ

2พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

ความท้าทายขององค์กรที่จะพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของไซเบอร์สเปซนั้นยังเป็นประเด็นที่จะต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน เนื่องจากองค์กรทั่วๆ ไป ยังขาดความชัดเจนและความสอดคล้องกับความเสี่ยง เช่น บทบาทของบุคลากรในแต่ละตำแหน่งไม่มีความชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นขอบเขตความรับผิดชอบ และการระบุความเชี่ยวชาญของแต่ละตำแหน่งที่ขาดความชัดเจนและไม่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

คณะผู้บริหารด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Chief Information Security Officer (CISO)) ที่อาจประกอบด้วย Chief Information Officer (CIO), Chief Security Officer (CSO), Chief Risk Officer (CRO) และตำแหน่งอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่ยังขาดการวางแผนในด้านเครื่องมือที่ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการที่องค์กรขาดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเหตุให้ขาดความชัดเจนและความสอดคล้อง จะยิ่งทำให้ผู้บริหารด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มีความยากลำบากในการวางแผนงบประมาณ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการใช้งบประมาณเกินความจำเป็นได้ในบางส่วน

ความไม่เข้าใจของผู้บริหารที่ไม่มีความเกี่ยวข้องทางเทคนิค (Non-technical leaders) ที่ขาดการฝึกอบรมในการบูรณาการการบริหารความเสี่ยงที่มีความซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ ขององค์กรในวงกว้าง อาจเป็นสาเหตุให้องค์กรวางแผนผิดพลาดในการจัดการทรัพยากรในภาพรวมได้ ดังนั้นการวางแผนทรัพยากรบุคคล จะต้องมีภาพที่ชัดเจนในการเชื่อมโยงระหว่างการวางแผนบุคลากร (workforce planning) และการลำดับความสำคัญของความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร

การสร้างกรอบความคิดในการวางแผนทรัพยากรบุคคลในด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity workforce) จะต้องสอดคล้องกับ กลยุทธ์หลักขององค์กร

Page 5: cybersecurity workforce v2พ นเอก ดร.เศรษฐพงค มะล ส วรรณ Workforce Planning for Cybersecurity แนวทางการพ ฒนาบ

3

โดยหลักการพื้นฐานการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Critical security controls) ในขั้นตอนแรกคือ การที ่จะต้องทำให้องค์กรชี้ชัดในด้านการจัดลำดับความสำคัญในการปฏิบัติ (Prioritized action) โดยจะต้องมีการกำหนดวิธีการในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งจะต้องอ้างอิงกับมาตรฐาน ที่อาจมีการให้คำแนะนำจากแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

จากเอกสาร Cybersecurity Workforce Handbook ของ Council on Cybersecurity, Department of Homeland security สหรัฐอเมริกา ได้มีการกำหนดรายการควบคุม (Critical Control) ตามตาราง ดังนี้

Critical Control

Description

1 Inventory of Authorized and Unauthorized Devices

2 Inventory of Authorized and Unauthorized Software

3 Secure Configurations for Hardware and Software

4 Continuous Vulnerability Assessment and Remediation

5 Malware Defenses

6 Application Software Security

7 Wireless Access Control

8 Data Recovery Capability

9 Security Skills Assessment and Appropriate Training to Fill Gaps

10 Secure Configurations for Network Devices

11 Limitation and Control of Network Ports, Protocols, and Services

12 Controlled Use of Administrative Privileges

13 Boundary Defense

14 Maintenance, Monitoring, and Analysis of Audit Logs

15 Controlled Access Based on the Need to Know

16 Account Monitoring and Control

17 Data Protection

18 Incident Response and Management

19 Secure Network Engineering

20 Penetration Tests and Red Team Exercises

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

Page 6: cybersecurity workforce v2พ นเอก ดร.เศรษฐพงค มะล ส วรรณ Workforce Planning for Cybersecurity แนวทางการพ ฒนาบ

4

วงจรการบริหารทรัพยากรบุคคลด้ านความมั ่นคงปลอดภัย ไซ เบอร์ (Workforces Management Cycle)

องค์กรทุกขนาด ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน และภาครัฐ มีความจำเป็นที่จะต้องปกป้องทรัพย์สิน ระบบ และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล โดยองค์กรจะต้องมียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Cybersecurity Strategy) และจะต้องมีแผนบริหารทรัพยากรบุคคลที่ดี โดยขั้นตอนไปสู่ความสำเร็จจะต้องมีการออกแบบวงจรการขับเคลื่อนที่ยั่งยืน และเหมาะสม โดยเอกสาร Cybersecurity Workforce Handbook ของ Council on Cybersecurity, Department of Homeland security ของสหรัฐอเมริกา ได้เสนอแนะวงจรการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ดังรูป

โดยแต่ละขั้นตอน ประกอบไปด้วย การปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่องค์กรกำหนดขึ้น และจะต้องสอดคล้องกับกระบวนการและกรอบความคิดทางยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ขององค์กร

Figure: Workforce management Cycle

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

Reference : http://pellcenter.org/wp-content/uploads/2015/05/Cybersecurity-Workforce-Handbook.pdf

Page 7: cybersecurity workforce v2พ นเอก ดร.เศรษฐพงค มะล ส วรรณ Workforce Planning for Cybersecurity แนวทางการพ ฒนาบ

มัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

ปริญญาตรี: วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร (เกียรตินิยมเหรียญทอง)โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (นักเรียนเตรียมทหารรุ่น 26, จปร. รุ่น 37)

ปริญญาโท: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (MS in EE) (วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร) Georgia Tech สหรัฐอเมริกา

ปริญญาโท: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (MS in EE) (วิศวกรรมโทรคมนาคม) The George Washington University สหรัฐอเมริกา

ปริญญาเอก: วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Ph.D. in EE) (วิศวกรรมโทรคมนาคม) Florida Atlantic University สหรัฐอเมริกา

ประวัติการศึกษา

Certificate

หลักสูตรส่งทางอากาศ (Airborne) กองทัพบก

หลักสูตรจู่โจม (Ranger) กองทัพบก

หลักสูตรหลักประจำเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 84 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

หลักสูตรเสนาธิการทหาร วิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 51

หลักสูตรการบริหารทรัพยากรเพื่อความมั่นคง (Defense Resourse Management) ประเทศสหรัฐอเมริกา

หลักสูตร Streamlining Government Through Outsourcing Course ประเทศสหรัฐอเมริกา

หลักสูตรเสนาธิการร่วม Joint and Combined Warfighting Course สหรัฐอเมริกา

หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง วิทยาลัยการยุติธรรม สานักงานศาลยุติธรรม

หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง วตท. รุ่นที่ 18 สถาบันวิทยาการตลาดทุน

หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 57 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

หลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 6

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

Page 8: cybersecurity workforce v2พ นเอก ดร.เศรษฐพงค มะล ส วรรณ Workforce Planning for Cybersecurity แนวทางการพ ฒนาบ

WE'RE SMARTER WHEN WE'RE CONNECTED