อ.วนิดา บทที่ 3...

20
บทที3 แหล่งเรียนรู้ในชุมชน แหล่งเรียนรู้ในชุมชนมีบทบาทสาคัญในการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นขุมพลังทาให้เกิดการ ขับเคลื่อนในสังคมแห่งการเรียนรู้ยุคปฏิรูปการศึกษา โดยสอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที2 พ.ศ. 2545 หมวดที4 มาตรา 2 กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนอย่างเดียวไม่เพียงพอ การสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมทีเอื้อต่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทุกเวลา การส่งเสริมการดาเนินงานและการจัดตั้งแหล่ง เรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบและหลากหลาย ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานแห่งชาติและเทคโนโลยี ศูนย์กีฬาและ นันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ อันเป็นแนวทาง ปฏิบัติที่สาคัญและจาเป็นที่จะช่วยให้การปฏิรูปการศึกษาสาเร็จได้ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอน เน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนให้เกิดประโยชน์ โดยแหล่งเรียนรู้ในชุมชนจาแนกตามประเภทบุคคล ประเภททรัพยากรธรรมชาติ ประเภทสิ่งที่มนุษย์ สร้างขึ้น และประเภทกิจกรรมทางสังคม ประเพณีและความเชื่อ เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมี ประสิทธิภาพเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ความหมายของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน แหล่งเรียนรู้ในชุมชน หรือแหล่งวิทยาการในชุมชน ซึ่งตรงกับคาภาษาอังกฤษว่า Community resources หรือ Local resource โดยมีความหมายที่คล้ายคลึงกันดังนีเกษมสันติศรีคาแซง (2553 : 40) สรุปว่า แหล่งความรู้ในชุมชน หมายถึง สิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ได้แก่ บุคคล สถานทีสถาบันต่าง ๆ สิ่งของ ธรรมชาติแวดล้อม สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ผู้เรียนเข้าไปปฏิสัมพันธ์และเรียนรู้ได้ด้วย ตนเองโดยประสบการณ์ตรง และได้ความรู้ใหม่ ๆ ที่มีคุณค่า สามารถนาไปใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจาวันได้

Upload: -

Post on 14-Apr-2017

128 views

Category:

Business


9 download

TRANSCRIPT

Page 1: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

37

บทท่ี 3

แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

แหล่งเรียนรู้ในชุมชนมีบทบาทส าคัญในการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นขุมพลังท าให้เกิดการ

ขับเคลื่อนในสังคมแห่งการเรียนรู้ยุคปฏิรูปการศึกษา โดยสอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาตาม

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพ่ิมเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 หมวดที่ 4 มาตรา

2 กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนอย่างเดียวไม่เพียงพอ การสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่

เอ้ือต่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทุกเวลา การส่งเสริมการด าเนินงานและการจัดตั้งแหล่ง

เรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบและหลากหลาย ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์

สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานแห่งชาติและเทคโนโลยี ศูนย์กีฬาและ

นันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งเรียนรู้อ่ืนอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ อันเป็นแนวทาง

ปฏิบัติที่ส าคัญและจ าเป็นที่จะช่วยให้การปฏิรูปการศึกษาส าเร็จได้ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอน

เน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนให้เกิดประโยชน์

โดยแหล่งเรียนรู้ในชุมชนจ าแนกตามประเภทบุคคล ประเภททรัพยากรธรรมชาติ ประเภทสิ่งที่มนุษย์

สร้างข้ึน และประเภทกิจกรรมทางสังคม ประเพณีและความเชื่อ เพ่ือส่งเสริมให้การเรียนการสอนมี

ประสิทธิภาพเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา

ความหมายของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

แหล่งเรียนรู้ในชุมชน หรือแหล่งวิทยาการในชุมชน ซึ่งตรงกับค าภาษาอังกฤษว่า

Community resources หรือ Local resource โดยมีความหมายทีค่ล้ายคลึงกันดังนี้

เกษมสันติ์ ศรีค าแซง (2553 : 40) สรุปว่า แหล่งความรู้ในชุมชน หมายถึง สิ่งที่มีชีวิต

และไม่มีชีวิต ได้แก่ บุคคล สถานที่ สถาบันต่าง ๆ สิ่งของ ธรรมชาติแวดล้อม สภาพสังคม

เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ผู้เรียนเข้าไปปฏิสัมพันธ์และเรียนรู้ได้ด้วย

ตนเองโดยประสบการณ์ตรง และได้ความรู้ใหม่ ๆ ที่มีคุณค่า สามารถน าไปใช้ประโยชน์ใน

ชีวิตประจ าวันได้

Page 2: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

38

ทวีป อภิสิทธิ์ (2554 : 67) กล่าวว่า แหล่งเรียนรู้จัดเป็นสถานที่ท่ีเพ่ิมเติมความรู้และ

ประสบการณ์ให้แก่ผู้สนใจศึกษาเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนที่แตกต่างกัน ธาตรี สุภเสถียร (2552 : 12) สรุปไว้ว่า แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน หมายถึง สิ่งที่มีอยู่

ในชุมชนที่มีคุณค่าต่อการศึกษาที่โรงเรียนสามารถน ามาจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ตาม

จุดประสงค์ได้ ซึ่งได้แก่ แหล่งโบราณสถาน แหล่งโบราณวัตถุ สถานที่ทางราชการ บุคคลส าคัญ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติและขนบธรรมเนียมประเพณี จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า แหล่งเรียนรู้ในชุมชน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ใน

ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นบุคคล สถานที่ สถาบัน องค์กร ตลอดจนทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้าง

ขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อที่จัดขึ้นในชุมชนที่มี

คุณค่าเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน เพ่ือให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ระหว่างกลุ่มเพ่ือน ระหว่างครูกับผู้เรียน ระหว่างวิทยากรประจ าแหล่งการเรียนรู้กับครูและผู้เรียน

รวมทั้งเป็นแหล่งที่ผู้เรียนอาจอาศัยการสืบค้นของตนเองเพ่ือแสวงหาความรู้เพ่ิมเติมและเพ่ิมพูน

ประสบการณ์ตรง และสามารถน าไปเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพ่ือการพัฒนา

ความรู้ความสามารถของผู้เรียนได้

ความส าคัญของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

แหล่งเรียนรู้ในชุมชนมีความส าคัญ ดังนี้

ชุติมา ศิริวงศ์ (2551 : 17) กล่าวว่า การใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนมีความส าคัญต่อการ

เรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง เพราะการได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จะท าให้

ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และตระหนักถึงคุณค่าทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน เป็นโอกาสที่ดีที่

ผู้เรียนได้รับความรู้เพ่ิมเติมควบคู่กับการฝึกความสามารถในการเรียนรู้ต่าง ๆ อาทิ การสังเกต การ

ตั้งค าถาม การปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่ืน ซึ่งความรู้ความเข้าใจ รวมถึงความสามารถที่ผู้เรียนได้รับจาก

กระบวนการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้นั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้ เรียนสามารถน าไปใช้ประโยชน์ใน

ชีวิตประจ าวันได้ ท าให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของความรู้และความสามารถที่ตนได้เรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียน

เกิดความรักและความเพลิดเพลินในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

ด าริ บุญชู (2548 : 28) ได้กล่าวถึงความส าคัญของแหล่งการเรียนรู้ ไว้ดังนี้

Page 3: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

39

1. เป็นแหล่งที่รวมขององค์ความรู้อันหลากหลาย พร้อมที่จะให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษา

ค้นคว้าด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล และเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้

ตลอดชีวิต

2. เป็นแหล่งเชื่อมโยงให้สถานศึกษาและชุมชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ท าให้คนใน

ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาแก่บุตรหลานของตน

3. เป็นแหล่งข้อมูลที่ท าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดความสนุกสนาน

และมีความสนใจที่จะเรียนรู้ ไม่เกิดความเบื่อหน่าย

4. ท าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการคิดได้เอง ปฏิบัติเองและสร้างความรู้ด้วยตนเอง

ขณะเดียวกันก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรม และท างานร่วมกับผู้อ่ืนได้

5. ท าให้ผู้เรียนได้รับการปลูกฝังให้รู้และรักท้องถิ่นของตน มองเห็นคุณค่าและตระหนัก

ถึงปัญหาในชุมชนของตน พร้อมที่จะเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต

บรรเจิด มีกุล (2555 : 22) กล่าวถึง แหล่งเรียนรู้ในชุมชนว่ามีความส าคัญต่อการเรียน

การสอนเป็นอย่างมากเพราะท าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสภาพชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ได้อย่าง

แท้จริงเป็นการได้รับประสบการณ์ตรงอย่างแท้จริง ส่งผลให้การเรียนการสอนบรรลุตามจุดประสงค์

ตามท่ีตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

ประสิทธิ์ พิทักษ์คชวงค์ (2554 : 30) แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนมีความส าคัญและจ าเป็น

ต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นการศึกษาหาความรู้สร้างองค์ความรู้ได้

ด้วยตนเอง จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดย

อาศัยการบริหารจัดการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

สรุปได้ว่า แหล่งเรียนรู้ในชุมชนมีความส าคัญเป็นแหล่งสร้างเสริมความรู้ ความคิด

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง หรือลงมือปฏิบัติได้จริง โดยอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์เพ่ือกระตุ้นให้เกิด

การเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนใน

ท้องถิ่นกับผู้เข้าศึกษาในการท ากิจกรรมร่วมกัน ช่วยสร้างความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งของการมี

ส่วนร่วม เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้

Page 4: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

40

ประเภทของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

แหล่งเรียนรู้ในชุมชนมีการจ าแนกตามลักษณะ ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1. แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

แหล่งเรียนรู้ที่เกิดข้ึนเองตามธรรมชาติที่เป็นประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์

ความรู้ได้จากสภาพจริง เช่น ภูเขา ดิน ทุ่งนา ป่าไม้ แร่ธาตุ ทะเล เกาะ แม่น้ า ล าคลอง น้ าตก

อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สวนพฤกษศาสตร์ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ เป็นต้น

ได้กล่าวถึง (เกษม ค าบุตดา. 2550 : 10-11 ; ด าริ บุญชู. 2548 : 28 ; ทวีป อภิสิทธิ์. 2554 :

41 ; ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน. 2547 : 3-4 ; สุจิตรา ภักดีสงคราม. 2551 :

145)

1.1 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทยประกาศ

จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2505 ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรักหรือบริเวณขอบทางด้านทิศ

ตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช มีเนื้อที่ประมาณ 2,168 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,355,396 ไร่

ใหญ่ เป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกันถึง 11 อ าเภอ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด

ปราจีนบุรี นครนายก นครราชสีมา และสระบุรี ได้รับสมญานามว่าเป็น “อุทยานมรดกของอาเซียน”

เป็นผืนป่าใหญ่ต้นก าเนิดของต้นน้ าล าธารที่ส าคัญหลายสาย เช่น แม่น้ านครนายก และแม่น้ ามูล

อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า กวางป่า เก้ง กระทิง เสือ ตลอดจนมี

ลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม

Page 5: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

41

ภาพที่ 3.1 เว็บไซต์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ที่มา : ส านักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี). ออนไลน์. 2558.

1.2 อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ต าบลเมืองเก่า อ าเภอเมืองสุโขทัย จังหวัด

สุโขทัย บริเวณพ้ืนที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยครอบคลุมพ้ืนที่กว่า 70 ตารางกิโลเมตร ในอดีต

เมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และ

เศรษฐกิจ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีสถานที่ส าคัญที่เป็นพระราชวัง ศาสนสถาน

โบราณสถานส าคัญที่น่าชมมากมาย เช่น วัดมหาธาตุ วัดชนะสงคราม เนินปราสาทพระร่วง หรือ

เขตพระราชวังในสมัยสุโขทัย วัดตระพังเงิน วัดสระศรี วัดศรีสวาย ศาลตาผาแดง วัดพระพายหลวง

วัดศรีชุม วัดช้างรอบ วัดสะพานหิน วัดเชตุพน วัดเจดีย์สี่ห้อง วัดช้างล้อม วัดตระพังทองหลาง โดย

มีคูเมือง ก าแพงเมืองสุโขทัย และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส

Page 6: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

42

ภาพที่ 3.2 โบราณสถานภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

ที่มา : ถ่ายเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามค าแหงมหาราช สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518

ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง ทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ ลักษณะพระบรมรูปพ่อขุนรามค าแหง

มหาราชเป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมด า ขนาด 2 เท่าขององค์จริง สูง

3 เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่

ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน แท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้าง ๆ ลักษณะพระพักตร์เหมือน

อย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้นที่ถ่ายทอดความรู้สึกว่า พ่อขุนรามค าแหงมหาราชมีน้ าพระทัย

เมตตากรุณา ยุติธรรม มีความเด็ดขาดในการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ที่ด้านข้างมีภาพแผ่น

จ าหลักจารึกเหตุการณ์เก่ียวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัย

Page 7: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

43

ภาพที่ 3.3 พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามค าแหงมหาราช

ที่มา : ถ่ายเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

ภาพที่ 3.4 ศิลาจารึกพ่อขุนรามค าแหง

ที่มา : ถ่ายเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

Page 8: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

44

2. แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่สร้างข้ึน

แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างเพ่ือสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนเทคโนโลยีและสิ่ง

อ านวยความสะดวกของมนุษย์ เช่น สถานที่ส าคัญทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ

สถานที่ราชการ สถาบันทางการศึกษา สถาบันทางศาสนา อุทยาน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ศูนย์

วัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดประชาชน ตลาด ศูนย์การค้า บริษัท ธนาคาร โรงมหรสพ

โรงงานอุตสาหกรรม สะพาน เขื่อน ฝายทดน้ า สวนสาธารณะ สวนผัก สวนผลไม้ สวนสัตว์

สนามกีฬา สนามบิน เป็นต้น

2.1 ห้องสมุดสีเขียว หรือ “Green Library” ห้องสมุดประชาชนต้นแบบประหยัด

พลังงานแห่งแรกในไทยและเอเชีย

ห้องสมุดสีเขียว ตั้งอยู่ ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ

ในชุมชนร่มเกล้า เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการประชาชนทุกวันอังคาร -วัน

อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. (หยุดวันจันทร์และวันนักขัตฤกษ์) ห้องสมุดสีเขียวก่อสร้าง

ขึ้นมาเพ่ือให้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ และมีเป้าหมายให้เป็นอาคารต้นแบบส าหรับประชาชนและ

เยาวชนได้ เข้ามาศึกษาวิธีการประหยัดพลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการใช้

ชีวิตประจ าวันอย่างง่าย ๆ ซึ่งสามารถน าแนวคิดนี้ไปต่อยอดปรับปรุงบ้านของตัวเองให้น่าอยู่ขึ้น

จุดเด่นอีกประการของห้องสมุดสีเขียวคือ มีโซนนิทรรศการที่รวมเกร็ดความรู้

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน และรวมรายละเอียดการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อมให้ผู้มา

เยือนได้ทราบ และมีการแยกโซนห้องอ่านหนังสือของเด็กและผู้ใหญ่ออกจากกัน โดยในห้องอ่าน

หนังสือส าหรับเยาวชนจะเต็มไปด้วยหนังสือเยาวชนที่น่าสนใจมากมาย รวมทั้งมีคอมพิวเตอร์ที่

เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และโทรทัศน์ส าหรับฉายภาพยนตร์ต่าง ๆ มีเบาะนั่งสบาย ๆ ส าหรับเด็ก

และในช่วงวันหยุดยังมีการจัดกิจกรรมที่ให้ความรู้เรื่องการประหยัดพลังงานและการน าวัสดุรีไซเคิล

มาใช้ประโยชน์ เพ่ือสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ท ากิจกรรมร่วมกันระหว่างครอบครัวพ่อ-แม่-

ลูก ให้เกิดขึ้นอีกด้วย

Page 9: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

45

ภาพที่ 3.5 บรรยากาศห้องสมุดสีเขียว

ที่มา : ห้องสมุดสีเขียว. ออนไลน์. 2557.

2.2 พิพิธภัณฑ์ภาพ 3 มิติ โคราช ตั้งอยู่ในโครงการไพลินสแควร์ (ตะวันแดงสาดแสง

เดือน) ติดทางรถไฟถนนสืบศิริ อ าเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีลักษณะเป็นงานศิลปะมากกว่า

100 ภาพ สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมถ่ายภาพ ผลงานทั้งหมดสร้างสรรค์โดยศิลปินชาวโคราช 8 ท่าน

มีแก่นเรื่องที่หลากหลายทั้งแนวธรรมชาติ ฉากจากภาพยนตร์ ไปจนถึงงานศิลปะที่สะท้อนกลิ่นอาย

ของความเป็นจังหวัดนครราชสีมา เช่น ภาพหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ภาพพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน

ขี่ชอปเปอร์ ภาพนักมวยสมจิตร จงจอหอ ปราสาทหินพิมาย หรือน้ าตกเหวสุวัตที่เขาใหญ่ จึง

แน่ใจว่าภาพศิลปะของที่นี่ไม่ซ้ าแบบกับแกลอรี่ในจังหวัดอ่ืน ๆ

Page 10: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

46

ภาพที่ 3.6 ภาพหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ณ พิพิธภัณฑ์ภาพ 3 มิติ โคราช ณ พิพิธภัณฑ์ภาพ 3 มิติ

โคราช

ที่มา : ถ่ายเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2557 ณ พิพิธภัณฑ์ภาพ 3 มิติ โคราช

ภาพที่ 3.7 ภาพปราสาทหินพิมาย ณ พิพิธภัณฑ์ภาพ 3 มิติ โคราช

ที่มา : ถ่ายเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2557 ณ พิพิธภัณฑ์ภาพ 3 มิติ โคราช

Page 11: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

47

2.3 สวนสัตว์นครราชสีมา หรือที่เรียกว่า ซาฟารีอีสาน ตั้งอยู่ที่ 111 หมู่ที่ 1 ต าบล

ไชยมงคล อ าเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30000 ด้วยพ้ืนที่ทั้งหมด 545 ไร่ ซึ่งมี

การแสดงสัตว์ป่านานาชนิด อยู่ในความดูแลทั้งหมดประมาณ 1,800 ตัว สภาพภูมิอากาศเหมาะสม

ตามหลักภูมิศาสตร์ การน าสัตว์ต่าง ๆ จากแอฟริกามาจัดแสดง ได้แก่ 5 สัตว์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งทุ่งหญ้า

แอฟริกา ได้แก่ สิงโต เสือดาว-เสือด า ช้างแอฟริกา แรดขาว ควายป่าแอฟริกา ทั้งยังมียีราฟ

ม้าลาย กลุ่มแอนติโลป ครอบครัวลิงซิมแปนซีใหญ่ที่สุด อาคารสัตว์หากินกลางคืน สัตว์สะเทินน้ า

สะเทินบก

ภาพที่ 3.8 บรรยากาศภายในสวนสัตว์นครราชสีมา

ที่มา : ถ่ายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553 ณ สวนสัตว์นครราชสีมา

การแสดงความสามารถของแมวน้ า พบกับการแสดงความสามารถของแมวน้ า

สายพันธุ์เคปเฟอร์ซีล นอกจากได้รับความสนุกสนานและเสียงหัวเราะจากแมวน้ าแสนรู้แล้วยังได้รับ

ความรู้ทางธรรมชาติของแมวน้ าและยังเป็นมหาวิทยาลัยแมวน้ าแห่งแรกในประเทศไทยที่ฝึกสอน

แมวน้ าจากสวนสัตว์ทั่วประเทศ เปิดท าการแสดงทุกวัน วนัจันทร์ - ศุกร์ 2 รอบ เวลา 11.00 น.

และ 14 .00 น. วันเสาร-์อาทิตย์ 4 รอบ เวลา 10.30 น. 11.30 น. 13.30 น. และ 15.30 น.

บริการศูนย์ประชุมสัมมนา พร้อมอุปกรณ์น าเสนองานที่ทันสมัย ความจุ 150-

200 คน บริการบ้านพักรับรอง บ้านพักทรงไทยริมสระน้ า จ านวน 22 หลัง พร้อมด้วยสิ่งอ านวย

ความสะดวกครบครัน บริการด้านการเที่ยวชม ได้แก่ การให้บริการจักรยาน รถกอล์ฟให้เช่า

รถรางน าชม รถเอทีวีส าหรับเด็ก รถมอร์เตอ์ไซต์จิ๋ว เรือเล็กเจ็ทโบ๊ท เครื่องเล่นหยอดเหรียญ

Page 12: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

48

ร้านนวดแผนโบราณ ร้านถ่ายภาพที่ระลึก ร้านจ าหน่ายสินค้าที่ระลึก และสวนน้ า "korat Zoo

Lagoon" สวนน้ าสันทนาการเพ่ือการเรียนรู้ส าหรับทุกคนในครอบครัวที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน

พร้อมกับโลมาปลาหมึก และช้างพ่นน้ า สระน้ าวนที่ใสสะอาด

บริการโครงการน านักเรียนเข้าศึกษาเรียนรู้ในสวนสัตว์ มี 2 โปรแกรม คือ 1

โปรแกรม 1 วัน และโปรแกรม 2 วัน 1 คืน เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องสัตว์ป่าโดยมีหลักสูตรการเรียนใน

ด้านการอนุรักษ์และธรรมชาติวิทยา อันเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตส านึกในการร่วมอนุรักษ์สัตว์

ป่า ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือสนับสนุนในด้านค่าบัตรผ่านประตู ค่าบัตร

เข้าชมการแสดงความสามารถของสัตว์ อาหาร ที่พัก และแบบเรียนรู้ มีอาคารค่ายพักแรมที่

สามารถรองรับได้ถึง 500 คน

ศูนย์การเรียนรู้เพ่ือการอนุรักษ์และโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก เพ่ือให้นักเรียน

นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ชีวิตสัตว์ป่าธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการ

ออกแบบและมีสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย นอกจากนั้นยังมีโรงภาพยนตร์ขนาดเล็กเปิดให้ชมสารคดี

เกี่ยวกับธรรมชาติสัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อม เพ่ือให้ผู้ที่สนใจเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จุได้

ประมาณ 100 คน

3. แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เป็นบุคคล

บุคคลเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม

ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งด้านการประกอบอาชีพ การสืบสานวัฒนธรรม ตลอดจนนักคิด นักประดิษฐ์

และผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขาวิชาชีพ บางท่าน

เป็นปราชญ์ชาวบ้าน บางท่านเป็นอดีตข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน บางท่านเป็น

ผู้น าทางศาสนา และบุคลากรในสถานศึกษา ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตนมีอยู่ให้ผู้สนใจหรือผู้

ต้องการเรียนรู้

องค์ความรู้ของ นายจันทร์ที ประทุมภา ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจ าปี 2554

สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง อ าเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา อาชีพเกษตรกรรม

อายุ 73 ปี อยู่บ้านเลขที่ 138 บ้านโนนรัง หมู่ที่ 6 ต าบลตลาดไทร อ าเภอชุมพวง จังหวัด

นครราชสีมา

Page 13: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

49

ผลงานดีเด่น

1. บุคคลที่มีความสามารถน าความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้กับตนเองจนประสบ

ความส าเร็จและยังสามารถถ่ายทอดความรู้ และขยายผลให้แก่ชาวบ้านจนประสบความส าเร็จ

2. แปลงเกษตรแบบประณีตในพื้นที่ 1 ไร่

หลังจากได้น้อมน าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แล้วประสบผลส าเร็จ ท าให้

จัดตั้งบ้านเป็นศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดความรู้เรื่องทฤษฎีใหม่ของพระองค์ ซึ่งขณะนี้เปิดเป็นศูนย์

การเรียนรู้ที่ใช้อบรมให้กับส านักงานเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้หนึ่งในจ านวน 151

ศูนย์การเรียนรู้ทั่วประเทศ ผู้ที่เข้าอบรมคือเกษตรกรที่สนใจในเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ มาอบรมเพ่ือ

ปรับเปลี่ยนแนวความคิดเปลี่ยนจิตส านึกให้รู้จักพ่ึงตนเองและพ่ึงพากันเองในชุมชนได้ ถ้าเกษตรกร

อยากจะลดรายจ่ายในการท าเกษตร ก็ต้องให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น การขยายพันธุ์พืช เพาะ

เมล็ด ติดตา ทาบกิ่ง เสียบยอด การขยายเพาะพันธุ์ปลาเลี้ยงเอง และสอนวิธีท าหัวอาหารเลี้ยง

ปลา ซึ่งเป็นการประหยัดและลดรายจ่ายเป็นอย่างมาก วัตถุดิบที่ท าหัวอาหารปลาก็น ามาจาก

การเกษตรทั้งนั้น เช่น ถั่ว มัน ข้าวโพด ทุกอย่างที่เกษตรกรท าและอีกส่วนหนึ่งคือสอนการท าปุ๋ย

ชีวภาพ และทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการเกษตรหรือเกี่ยวกับการลดรายจ่าย และจากการท างาน

เพ่ือสังคมที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์จริงที่ได้สั่งสมมานั้น ท าให้นายจันทร์ทีได้รับการยอมรับให้

เป็นปราชญ์อีสานที่ท าหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้สนใจทั่วไป และในปีหนึ่งมีผู้เข้ามาเรียนรู้และ

ชื่นชมผลงานของนายจันทร์ทีไม่ต่ ากว่า 2-3 พันคน จากความมุ่งมั่นและจริงใจในการให้ความรู้

เนื่องจากนายจันทร์ทีคิดว่าการที่รู้แล้วไม่ควรเก็บไว้เพียงผู้เดียว ควรถ่ายทอดสิ่งดี ๆ ให้กับชุมชน

เพราะคิดว่าตนเองเคยตกทุกข์ได้ยากมาจึงรู้ว่าถ้าท าอย่างถูกต้องจะท าให้ส าเร็จ ดังนั้นจึงต้องขยาย

ความรู้ให้กับคนอ่ืนและชุมชนต่อไป

Page 14: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

50

ภาพที่ 3.9 นายจันทร์ที ประทุมภา ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจ าปี 2554

ที่มา : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ออนไลน์. 2558.

4. แหล่งเรียนรู้ในชุมชนตามกิจกรรมทางสังคม ประเพณีและความเชื่อ

การปฏิบัติการด้านประเพณีวัฒนธรรม ตลอดจนการปฏิบัติการ ความเคลื่อนไหว

เพ่ือแก้ปัญหาและปรับปรุงพัฒนาสภาพต่าง ๆ ในท้องถิ่น การที่มนุษย์เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรม

ต่าง ๆ เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีพ้ืนบ้าน การละเล่นพ้ืนบ้าน กีฬาพ้ืนบ้าน วรรณกรรม

ท้องถิ่น ศิลปะพ้ืนบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ประจ าวัน เป็นต้น

5. แหล่งเรียนรู้ในชุมชนตามประเภทสื่อสารสนเทศ

แหล่งเรียนรู้ที่ท าหน้าที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้สารสนเทศให้ถึงกัน

แหล่งเรียนรู้ประเภทนี้ ท าให้ขบวนการเรียนรู้เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง เช่น วิทยุ

วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว โทรทัศน์ เคเบิลทีวี สื่อนวัตกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีโสตทัศนวัสดุ

สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สื่ออิเล็กทรอนิคส์ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น (ทวีป อภิสิทธิ์. 2554 : 42)

สรุปได้ว่า ประเภทของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน สามารถจ าแนกได้ 5 ประเภท คือ

1) แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและอยู่รอบ ๆ

ตัวเราที่ครูผู้สอนสามารถน าไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อธรรมชาติ 2) แหล่งเรียนรู้ใน

ชุมชนที่สร้างขึ้น คือ สถานที่ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ให้บริการความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ฝึกปฏิบัติ

Page 15: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

51

และอบรมเกี่ยวกับงานและอาชีพต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน 3) แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เป็นบุคคล คือ

บุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการท างานและการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการสั่งสม

ความรู้ประสบการณ์จนเกิดความช านาญและเชี่ยวชาญในอาชีพสาขานั้น ๆ 4) แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

ตามกิจกรรมทางสังคม ประเพณีและความเชื่อ คือ การปฏิบัติการด้านประเพณีวัฒนธรรม ตลอดจน

การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน 5) แหล่งเรียนรู้ในชุมชนตาม

ประเภทสื่อสารสนเทศ คือ สื่อนวัตกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิคส์ สื่อ

สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

กรณีศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

จิมทอมป์สันฟาร์ม ตั้งอยู่อ าเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา พ้ืนที่กว่า 600 ไร่ บน

เชิงเขาพญาปราบ ต าบลตะขบ โดยเริ่มจากเป็นแหล่งผลิตไข่ไหมจ าหน่ายให้สมาชิกเกษตรกรเพ่ือ

รับซื้อรังสดในการผลิตเส้นไหมและเป็นพ้ืนที่ปลูกหม่อนอันเป็นอาหารหลักของหนอนไหม และเป็น

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรปีละครั้งในเดือนธันวาคมให้บุคคลทั่วไปที่หลงใหลในธรรมชาติได้ชื่นชม

บรรยากาศอันงดงาม และเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการเกษตรพร้อมเรียนรู้วงจรชีวิตของหนอนไหม

ชมแปลงพืชผัก และดอกไม้นานาชนิด รวมถึงเลือกซื้อไม้ดอกไม้ประดับ และผลผลิตทางการ

เกษตรปลอดสารพิษ จิมทอมป์สันฟาร์มมีเจตนารมณ์ท่ีจะอนุรักษ์และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม

อันทรงคุณค่าของชาวไทยเชื้อสายลาวซึ่งอาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่สายตาชาวไทยและ

ชาวต่างชาติ เพ่ือสร้างส านึกในคุณค่าของประเพณีและวัฒนธรรมอีสานอันเก่าแก่และงดงาม

Page 16: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

52

ภาพที่ 3.10 เว็บไซต์จิมทอมป์สันฟาร์ม

ที่มา : จิมทอมป์สันฟาร์ม. ออนไลน์. 2558.

บริการจุดท่องเที่ยวต่าง ๆ ภายในจิมทอมป์สันฟาร์ม มี 5 จุด ดังนี้

จุดที่ 1 ทุ่งคอสมอสและแปลงเก็บผักปลอดสารพิษ บนพ้ืนที่กว่า 50 ไร่ พร้อมชม

แปลงผักปลอดสารพิษ ที่นักท่องเที่ยวสามารถเลือกเก็บผักสด ๆ จากแปลงได้ด้วยตนเองและซื้อ

กลับบ้านได้ พร้อมด้วยจุดบริการให้นักท่องเที่ยวทุกท่านได้เลือกรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม

ตามอัธยาศัย ก่อนขึ้นรถน าชมไปยังจุดท่องเที่ยวต่าง ๆ ต่อไปภายในฟาร์ม

ภาพที่ 3.11 ทุ่งคอสมอสและแปลงเก็บผักปลอดสารพิษ

ที่มา : ถ่ายเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556 ณ จิมทอมป์สันฟาร์ม

Page 17: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

53

จุดที่ 2 ลานฟักทองและทุ่งไม้ดอกหลากสี ชื่นชมผลงานศิลปะจากหลากหลายศิลปินใน

โครงการศิลปะในฟาร์ม ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติที่ล้อมรอบด้วยภูเขาพญาปราบและอ่างเก็บ

น้ าล าส าลาย ตระการตากับทุ่งดอกไม้หลากสีสดใสของธรรมชาติที่รังสรรค์ความสวยงามไว้อย่างน่า

ตื่นตาตื่นใจกับลานฟักทองยักษ์สีสันสดใส ฟักทองแฟนซีรูปร่างแปลกตา และฟักทองอีกกว่า 30

สายพันธุ์ ทีพ่ร้อมให้นักท่องเที่ยวได้เก็บภาพความประทับใจอย่างใกล้ชิด

ภาพที่ 3.12 ลานฟักทองและทุ่งไม้ดอกหลากสี

ที่มา : ถ่ายเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556 ณ จิมทอมป์สันฟาร์ม

จุดที่ 3 หมู่บ้านอีสาน เป็นสถาปัตยกรรมไทยอีสานที่เป็นเอกลักษณ์มารวบรวมไว้บน

พ้ืนที่กว่า 10 ไร่ อาทิ บ้านโคราช บ้านภูไท และเรือนเหย้า ซึ่ง “หมู่บ้านอีสาน” แห่งนี้ได้กลายเป็น

อีกหนึ่งจุดต้อนรับนักท่องเที่ยวที่หลงใหลในสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าและ วัฒนธรรมประเพณีอัน

ดีงามของภาคอีสาน โดยมีการจ าลองวิถีชีวิต และประเพณีวัฒนธรรมของชาวอีสาน การละเล่น

อาหารการกิน และการประกอบอาชีพของชาวบ้านในอดีตให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสความเป็นอยู่ของ

ชาวอีสานอันเรียบง่ายและพอเพียง และได้สร้างและรวบรวม “หมู่บ้านโคราช” เพ่ิมในบริเวณ

ใกล้เคียงเพ่ือเป็นการสะท้อนสถาปัตยกรรมอันหลากหลายของภาคอีสานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แล้ว

ทักทาย “บุญหลาย” และ “บุญล้อม” ควายไทยแสนรู้ที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกท่านที่กระท่อม

ปลายนา ก่อนขึ้นรถเพ่ือไปยังจุดท่องเที่ยวต่อไป

Page 18: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

54

ภาพที่ 3.13 หมู่บ้านอีสาน

ที่มา : ถ่ายเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556 ณ จิมทอมป์สันฟาร์ม

จุดที่ 4 หมู่บ้านจิม ร่วมชมและเรียนรู้กระบวนการผลิตผ้าไหมอันเลื่องชื่อและเป็น

เอกลักษณ์ของจิมทอมป์สัน ตั้งแต่วงจรชีวิตหนอนไหมที่สร้างเส้นใยธรรมชาติ การสาวไหม การฟอก

ย้อมเส้นไหม การทอผ้าไหมและการพิมพ์ผ้าไหม

ภาพที่ 3.14 หมู่บ้านจิมทอมป์สัน

ที่มา : ถ่ายเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556 ณ จิมทอมป์สันฟาร์ม

Page 19: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

55

จุดที่ 5 ตลาดจิม สัมผัสความสวยงามของธรรมชาติกับสวนไม้ดอกและสวนสับปะรดสี

ชมแปลงผักไร้ดินแบบปลอดสาร และส่งท้ายกิจกรรมความสนุกสนาน ณ ตลาดจิมด้วยการเลือกซื้อ

ผลผลิตทางการเกษตรจากจิมทอมป์สันฟาร์ม เช่น เห็ดนางรม เห็ดหอมสด และเห็ดโคนญี่ปุ่น

พืชผักประเภทแตงและน้ าเต้า ฟักทองนา ๆ พันธุ์ แคนตาลูปพันธุ์เจดดิว เป็นต้น พร้อมด้วย

ผลิตภัณฑ์แปรรูปของจิมทอมป์สันฟาร์มทุกชนิด เช่น น้ าผึ้งบริสุทธิ์ ผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมและชา

ใบหม่อน ล้วนผลิตและใช้วัตถุดิบจากผลผลิตทางการเกษตรที่ปลูกบนพ้ืนที่ในฟาร์มของจิมทอมป์สัน

จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพปลอดสารพิษ พิเศษสุดคือ ชาใบหม่อนธรรมชาติจากจิมทอมป์สัน

ฟาร์มที่มีให้เลือกถึง 3 รสชาติ ได้แก่ ชาเขียว ชาจีน และชาฝรั่ง ต้นไม้ ไม้ดอกกระถางหลากหลาย

สายพันธุ์ ไม้ดอกระบบไฮโดรโพนิกส์ ตลอดจนผ้าไหม ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

มากมายจากจิมทอมป์สัน ก่อนอ าลาจิมทอมป์สันฟาร์ม

ภาพที่ 3.15 ผลผลิตทางการเกษตรตลาดจิมทอมป์สัน

ที่มา : ถ่ายเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556 ณ จิมทอมป์สันฟาร์ม

Page 20: อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

56

ภาพที่ 3.16 ผักปลอดสาร

ที่มา : ถ่ายเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556 ณ จิมทอมป์สันฟาร์ม

สรุป

แหล่งเรียนรู้ในชุมชนน ามาซึ่งการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งในเรื่องความคิด ความเข้าใจใน

คุณค่าและทัศนคติได้อย่างกว้างขวางทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบ ตามอัธยาศัยและยังพัฒนาการ

เรียนรู้ (Learning) และการศึกษา (Education) โดยเน้นความส าคัญทั้ งความรู้ คุณธรรม

กระบวนการเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์เพ่ือส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในท้องถิ่นกับผู้เข้า

ศึกษาในการท ากิจกรรมร่วมกัน ช่วยสร้างความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วม เกิด

ความตระหนักและเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยจ าแนกได้ 5 ประเภท คือ แหล่งเรียนรู้ใน

ชุมชนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่สร้างขึ้น แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เป็นบุคคล

แหล่งเรียนรู้ในชุมชนตามกิจกรรมทางสังคม ประเพณีและความเชื่อ และแหล่งเรียนรู้ในชุมชนตาม

ประเภทสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ตลอดจนกรณีศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จิมทอมป์สันฟาร์ม อ าเภอ

ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา