ทัศนะวิพากษ์ : หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

10

Click here to load reader

Upload: muzaxi

Post on 27-Jul-2015

1.662 views

Category:

Documents


2 download

DESCRIPTION

การกระทำฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นประเด็นที่มีความสำคัญต่อสังคมไทย ดังจะเห็นได้ว่ามีการกล่าวหาและดำเนินคดีกับบุคคลต่างๆเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูง ข้อกล่าวหาดังกล่าวมีผลต่อการเคลื่อนไหวและการใช้สิทธิพื้นฐานของประชาชนในทางการเมืองมิใช่น้อย

TRANSCRIPT

Page 1: ทัศนะวิพากษ์ : หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

148

สมชาย ปรีชาศิลปกุล1

หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

นายประเดิม ดำรงเจริญ นักศึกษารามฯ บรรณาธิการวารสารสัจจธรรม ของพรรคสัจจธรรม มร. หนึ่งในเหยื่อของการ ใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาเป็นเครื่องมือทาง การเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2517 อันเป็นเหตุให้เขาต้องติดคุกฟรี ต่อมาศาลพิพากษาว่าเขาบริสุทธิ์

1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม ่

Page 2: ทัศนะวิพากษ์ : หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

149

1. เกริ่นนำ การกระทำความผิดฐานหมิ่นพระบรม

เดชานุภาพเป็นประเด็นที่มีความสำคัญต่อสังคมไทย ดังจะเห็นได้ว่ามีการกล่าวหาและดำเนินคดีกับบุคคลต่างๆ เกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูง ข้อกล่าวหาดังกล่าวมีผลต่อความเคลื่อนไหวและการใช้ สิทธิพื้นฐานของประชาชนในทางการเมืองมิใช่น้อย ปรากฏการณ์ในลักษณะเช่นนี้เป็นประเด็นที่ควรให้ความใส่ใจโดยเฉพาะเมื่อมักมีการกล่าวอ้างว่าสังคมไทยมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

ในขณะที่หลายประเทศซึ่งสถาบันกษัตริย์เคยมีบทบาททางการเมือง แต่เมื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย การให้สิทธิคุ้มกันและการปกป้องสถาบันกษัตริย์ในทางกฎหมายก็จะลดน้อยลง พร้อมกับการเปิดกว้างในการวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันกษัตริย์ แต่สำหรับสังคมไทยกลับดำเนินไปในทิศทางตรงกันข้าม ดูราวกับว่ายิ่งประชาธิปไตยลงหลักปักฐานมากขึ้นเพียงใด บทบัญญัติความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกลับมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น และการบังคับใช้ก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นสังคมที่มีลักษณะพิเศษอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นที่ยังคงสถาบันกษัตริย์ไว้ การทำ ความเขา้ใจตอ่ความผดิฐานหมิน่พระบรมเดชานภุาพ จึงเป็นสิ่งที่อาจช่วยให้มองเห็นพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยไทยในอีกแง่มุมซึ่งแตกต่าง ไปจากสังคมอื่นๆ

2. กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ในสังคมไทย

2.1 กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ฉบับสมบูรณาญาสิทธิราชย ์

ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ปรากฏครั้งแรกใน พระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาท ด้วยการพูดฤาเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ รัตนโกสินทรศก 1182 ในหมวดที่ว่าด้วย “หมิ่นประมาทพระผู้เปนเจ้า พระอรรคมเหษี พระบรมโอรสาธริาชแลพระเจา้แผน่ดนิตา่งประเทศ” ในมาตรา 4

ผู้ใดหมิ่นประมาทพระผู้เปนเจ้าซึ่งดำรงสยามรัฐ

มณฑล ฤาสมเด็จพระอรรคมเหษี ฤาสมเด็จ

พระบรมโอรสาธิราชก็ดี ฤาสมเด็จพระมหา

กระษัตราธิราชเจ้า ผู้ครองเมืองต่างประเทศ

ฤามหาประธานาธิบดีผู้ครองเมืองต่างประเทศ

ซึ่งมีทางพระราชสัมพันธมิตรไมตรีอันสนิทด้วย

กรุงสยามก็ดี โดยกล่าวเจรจาด้วยปาก ฤาเขียน

ด้วยลายลักษณอักษร ฤากระทำการอย่างใด

อย่างหนึ่งในที่เปิดเผย ท่ามกลางประชุมชน

ทั้งหลาย ด้วยกายวาจาอันมิบังควร ซึ่งเปนที่

แลเห็นได้ชัดว่าเปนการหมิ่นประมาทแท้ ท่าน

ว่าผู้นั้นกระทำผิด

เมื่อพิจารณาเปนสัตย์ว่า ผู้นั้นกระทำ

ผิดต่อข้อห้ามดังเช่นกล่าวมานี้แล้ว ก็ให้จำคุก

ไว้ไม่เกินกว่า 3 ปี ฤาให้ปรับเปนเงินไม่เกินกว่า

1500 บาท ฤาทั้งจำคุกและปรับด้วย

แต่ถ้าในเมืองต่างประเทศ ของสมเด็จ

พระมหากระษตัราธริาชเจา้ ฤามหาประธานาธบิด ี

ซึ่งถูกหมิ่นประมาทนั้น ไม่มีกฎหมายห้ามและ

ลงโทษ คนในบังคับของเมืองต่างประเทศนั้น

ไม่มีกฎหมายห้ามและลงโทษ คนในบังคับของ

เมืองต่างประเทศนั้น ในการหมิ่นประมาทพระผู้

เปนเจ้า ซึ่งดำรงค์สยามรัฐมณฑล โดยกล่าว

เจรจาด้วยปาก ฤาเขียนด้วยลายลักษณอักษร

ฤากระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในที่เปิดเผย

2 เสถียร ลายลักษณ์, ประชุมกฎหมายประจำศก, เล่ม 17 ร.ศ. 118-119 (ม.ป.ท.: โรงพิมพ์เดลิเมล์, นิติเวชช์,

2477)

Page 3: ทัศนะวิพากษ์ : หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

150

ท่ามกลางประชุมชนทั้งหลาย ด้วยกายวาจาอัน

มิบังควร ซึ่งเปนที่แลเห็นได้ชัดว่าเปนการหมิ่น

ประมาทแล้ว ก็ห้ามมิให้ฟ้อง และมิให้ลงโทษ

แก่ผู้หมิ่นประมาท สมเด็จพระมหากระษัตรา-

ธิราชเจ้า ฤามหาประธานาธิบดีผู้ครองเมืองต่าง

ประเทศ ตามมาตรานี้เหมือนกัน

ต่อมาเมื่อมีการจัดทำประมวลกฎหมาย

อาญาแบบของตะวันตก ความผิดดังกล่าวได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) โดยได้มีบทบัญญัติในเรื่องนี้ไว้ในมาตรา 98

ผู้ใดทนงองอาจ แสดงความอาฆาฎมาดร้าย

หรือหมิ่นประมาทต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี

สมเด็จพระมเหษีก็ดี มกุฏราชกุมารก็ดี ต่อ

ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในเวลารกัษาราชการตา่ง

พระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ด ี ท่านว่าโทษ

ของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่าเจ็ดปี และให้ปรับ

ไม่เกินกว่าห้าพันบาทด้วยอีกโสตหนึ่ง

บทบัญญัติในเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ตามที่ ได้กำหนดไว้ ในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ให้การคุ้มครองต่อพระมหากษัตริย์ ราชินีและมกุฎราชกุมาร รวมถึงผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จากการถูกอาฆาตมาดร้ายและหมิ่นประมาท และนอกนี้ก็ยังมีบทบัญญัติที่ให้การคุ้มครองรวมไปถึงพระราชโอรสและพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้า-อยู่หัวทุกรัชกาลในลักษณะเดียวกัน3 การให้ความคุ้มครองอย่างกว้างขวางในลักษณะเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งถือว่ากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด การละเมิดต่อพระ-

มหากษัตริย์และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องจึงเป็นความผิดที่ต้องได้รับการลงโทษ

2.2 กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ฉบับแรกเริ่มประชาธิปไตย

ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 บทบัญญัติในเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา ในหมวดความผิดฐานกบฏภายในพระราชอาณาจักร ซึ่งมีผลเกี่ยวข้องอย่างมากต่อการขยายขอบเขตในการแสดงความเห็นที่เกี่ยวพันกับพระมหากษัตริย์ โดยได้มีการแก้ไขในมาตรา 104 (1) ให้มีเนื้อหาดังนี้

ผู้ใดกระทำการให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายด้วย

วาจาหรือลายลักษณ์อักษร หรือเอกสารตีพิมพ์

หรือด้วยอุบายอย่างใดๆ ดังต่อไปนี้

ก) ให้เกิดความดูหมิ่นต่อพระมหา

กษัตริย์ หรือรัฐบาล หรือข้าราชการแผ่นดิน

ในหมู่ประชาชนก็ดี

ข) ..........

ค) ..........

ง) .......... ผู้นั้นมีความผิดต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินกว่า 7 ปี และให้ปรับไม่เกิน

กว่าสองพันบาท ด้วยอีกโสตหนึ่ง

แต่ถ้าวาจา หรือลายลักษณ์อักษร หรือเอกสาร

ตีพิมพ์ หรืออุบายอย่างใดๆ ที่ได้กระทำไป

ภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อ

สาธารณะประโยชน์ หรือเป็นเพียงการแสดง

ความคิดเห็นโดยสุจริต หรือเป็นเพียงการติชม�

3 มาตรา 100 ของกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127

ผู้ใดทนงองอาจ แสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาทต่อพระราชโอรส พระราชธิดา ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ไม่ว่ารัชกาลหนึ่งรัชกาลใด ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่าสามปี แลให้ปรับไม่เกินกว่าสองพันบาทด้วยอีก

โสตหนึ่ง

Page 4: ทัศนะวิพากษ์ : หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

151

ตามปกติวิสัย ในบรรดาการกระทำของรัฐบาล

หรือของราชการแผ่นดิน การกระทำนั้นไม่ให้

ถือว่าเป็นความผิด

หากพิจารณาตามบทบัญญัตินี้ การเพิ่มเติม

เงื่อนไขว่าถ้าเป็นการกระทำภายใต้ความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ และรวมถึงเหตุผลอื่นๆ เช่น เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือแม้เป็นเพียงการแสดง ความเห็นโดยสุจริต จะเป็นผลให้การกระทำที่แม้อาจเป็นการดูหมิ่นต่อพระมหากษัตริย์ก็สามารถกระทำได้โดยไม่มีความผิดแต่อย่างใด บทบัญญัติในลักษณะเช่นนี้จึงเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ เกิดขึ้นในห้วงเวลา ดังกล่าว อันเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ การกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งที่ได้รับการปกป้อง หากเปรียบเทียบกับบทบัญญัติกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บทบัญญัติของกฎหมายจะมุ่งปกป้องสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยไม่มีข้อยกเว้น4 เนื้อหาในลักษณะดังกล่าวจึงสะท้อนความแตกต่างของการจัดวางสถานะของสถาบันกษัตริย์ในระบอบการปกครองที่แตกต่างกันเอาไว้ และรวมถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อกษัตริย์และรัฐบาล ระหว่างกฎหมายลักษณะอาญาก่อนและภายหลังจากที่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

ดังกรณีที่จำเลยอ้างต่อราษฎรว่าพระเจ้า แผ่นดินปกครองไม่ดีจะต้องถอด จำเลยซึ่งเป็น

พระเจ้าพี่ยาเธอจะครองราชสมบัติแทน จำเลยได้กล่าวว่า การฆ่าโคกระบือ ทำสุราเถื่อน และตัดไม้เพื่อกินเนื้อเพื่อใช้ไม่ต้องเสียภาษี เด็กที่ถูกบังคับให้เล่าเรียน ถ้าไม่อยากเรียนก็ไม่ต้องเรียน ถูกตัดสินว่าเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 (ฎีกาที่ 612/2475 ตัดสินตามตัวบทก่อน มีการแก้ไข)

เปรียบเทียบการแสดงความเห็นวิจารณ์รัฐบาลภายหลังจากที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ. 2477 จำเลยซึ่งเป็น ส.ส. กล่าวหาเสียงว่า

นับแต่ได้รัฐธรรมนูญมา ราษฎรยังไม่ได้รับ

การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยแท้จริง

เป็นอธิปไตยและเผด็จการ ซึ่งอยู่ในอำนาจของ

ผู้บริหารตามใจชอบ ปิดปากเสียงราษฎร ไม่ให้

พูดไม่ให้วิจารณ์ สร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

โกหกหลอกลวง จงมาช่วยกันแช่งอ้ายคนพูด

ไม่มีสัตย์ พวกก่อการแต่ก่อนมีแต่กางเกงชั้นใน

เดี๋ยวนี้แต่ละคนมีตึกและรถยนต์ รัฐธรรมนูญ

แก้ไขก็เป็นประชาธิปไตยโกหก จอมพล ป.

ระยำเพราะมีคนสอพลอ นายกรัฐมนตรีปัจจุบัน

จะระยำยิ่งกว่าเสียอีก (ฎีกาที่ 631/2491)

ศาลตัดสินว่าเป็นการพูดโฆษณาหาเสียง ให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามหลักประชาธิปไตย รัฐบาลอาจถูกติชมได้ แม้ถ้อยคำจะไม่เหมาะสมบ้างก็ไม่ผิดตามมาตรา 104 และได้วินิจฉัยว่า มาตรา 104 (1) วรรคท้ายที่บัญญัติว่า ถ้าได้กระทำไปภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือ

4 มาตรา 104 กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127

ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย ด้วยประการใดใด โดยเจตนาต่อผลอย่างหนึ่งอย่างใด ที่ว่าต่อไปในมาตรานี้ คือ

(1) เพื่อจะให้ขาดความจงรักภักดีหรือดูหมิ่น ต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี ต่อรัฐบาลก็ดี หรือต่อราชการแผ่นดินก็ดี

(2) เพื่อให้คนทั้งหลาย เกิดความเดือดร้อนแลกระด้างกระเดื่อง ถึงสามารถอาจจะเกิดเหตุร้ายขึ้นในแผ่นดินของ

ท่านได้ก็ดี

(3) เพื่อยุยงให้คนทั้งหลายกระทำการล่วงละเมิดต่อพระราชกำหนดกฎหมายก็ดี ท่านให้เอามันผู้กระทำการอย่าง

ใดใดโดยเจตนาเช่นว่ามานี้ ลงอาญาจำคุกไม่เกินกว่าสามปี แลให้ปรับไม่เกินกว่าพันบาทด้วยอีกโสตหนึ่ง

Page 5: ทัศนะวิพากษ์ : หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

152

เพื่อสาธารณประโยชน์ ฯลฯ ไม่ให้ถือว่าเป็นความผิดนั้น ไม่ได้หมายความเฉพาะการพูดในที่ประชุมรัฐสภา หลักของการปกครองระบอบประชาธิปไตยคือ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน รัฐบาลจึงอาจถูกติและชมได้ แม้จำเลยจะพูดจริงดังที่ถูกฟ้องก็ ไม่เป็นความผิด

แม้ตามคำพิพากษาฎีกานี้ จะเป็นการแสดงความเหน็วพิากษว์จิารณต์อ่รฐับาลมใิชเ่ปน็การกระ- ทำต่อพระมหากษัตริย์โดยตรงก็ตามแต่ก็เป็นกรณีที่น่าจะสามารถเทียบเคียงกันได้ เพราะในมาตรา 104 (1) นั้นได้ให้ความคุ้มครองต่อพระมหากษัตริย์ และรัฐบาลไว้ในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น การติชมรัฐบาลหรือพระมหากษัตริย์หากดำเนินไปภายใต้ความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญหรือเพื่อสาธารณ-ประโยชน์ ก็จะเป็นการกระทำที่ไม่มีความผิดตามการวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีที่กล่าวมาข้างต้น

2.3 กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฉบับประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 24995 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ประเด็น คือ

ประเด็นแรก มีการแก้ ไขเปลี่ ยนแปลงบทบัญญัติในมาตรา 104 (1) ซึ่งเดิมให้สิทธิแก่บุคคลในการแสดงความเห็นที่แม้จะทำให้เกิดความดูหมิ่นต่อพระมหากษัตริย์ แต่ถ้ากระทำไปภายใต้

ความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญก็จะไม่ถือว่าเป็นความผิด ในประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ได้มีการนำบทบัญญัติดังกล่าวมาบัญญัติไว้ ในมาตรา 116 โดยส่วนหนึ่งเป็นการคงสาระตามบทบัญญัติเดิมไว้ แต่ได้มีการตัดเอาส่วนของการ ดูหมิ่นต่อพระมหากษัตริย์ออกไป ทำให้บทบัญญัติของมาตรานี้เป็นเรื่องของการกระทำที่มุ่งต่อรัฐบาล หรือมุ่งสร้างความไม่สงบที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐเป็นการเฉพาะเจาะจง

ประเด็นที่สอง บทบัญญัติในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ได้ถูกแก้ไขใหม่ในมาตรา 112 ให้มีข้อความดังต่อไปนี้

ผู้ ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความ

อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี

รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี

ความแตกต่างจากบทบัญญัติเดิมก็คือ จาก

เดิมที่กำหนดให้ความผิดฐานนี้เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อ มีการแสดงความอาฆาตมาดร้ายหรือหมิ่นประมาท แต่ในมาตรา 112 ได้กำหนดให้การดูหมิ่นเป็น การกระทำที่จัดว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วย ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตของความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้มีลักษณะที่กว้างขวางขึ้น

ทั้งนี้ลักษณะของการหมิ่นประมาทและการดูหมิ่นมีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยการหมิ่นประมาทจะต้องเป็นการใส่ความ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง หรือทำให้คนทั้งหลายดูถูกหรือเกลียดชัง6

5 ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ซึ่งกำหนดใช้บังคับประมวลกฎหมายอาญาฉบับใหม่

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 เป็นต้นไป 6 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 326

ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง

ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ

Page 6: ทัศนะวิพากษ์ : หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

153

ทั้งนี้การใส่ความคือการยืนยันถึงข้อเท็จจริงใดๆ เกี่ยวกับบุคคลอื่น โดยอ้างว่าเขาได้กระทำการอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งจะยืนยันเป็นคำพูดของตนหรือเอา คำบอกเล่ามาเล่าให้ผู้อื่นฟังก็ได้7 ตัวอย่างเช่น กล่าวหาว่าพี่น้องร่วมบิดามารดาเป็นชู้กัน กล่าวหา ว่านายอำเภอเป็นเสือผู้หญิง ขอลูกสาวแล้วไม่มี เงินให้ กล่าวว่าเขาเป็นคนขี้โกง ทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นประจำ กล่าวว่าอีดอกทอง เป็นต้น สำหรับการดหูมิน่ หมายถงึ การกระทำการเหยยีดหยาม ซึง่อาจ กระทำทางกิริยา เช่น ยกส้นเท้าให้ ถ่มน้ำลายรด หรือเป็นการกระทำทางวาจา เช่น ด่าด้วยคำหยาบ ดา่บดิามารดา ดา่วา่เปน็สตัวเ์ดรจัฉาน เปน็ตน้8

การเพิ่มการดูหมิ่นเข้าไปในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีผลต่อการทำให้ผลของการกระทำบางอย่างซึ่งไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 98 ของกฎหมายลักษณะอาญาต้องเปลี่ยนแปลงไป ดังเช่น

ป. อวดอ้างเป็นหมอรักษาโรคทางคาถาอาคม พูดอวดอ้างต่อประชาชนว่า มือขวาของตนที่ถือมีดพับนี้เป็นพระขรรค์แก้ว มือซ้ายเป็นจักรนารายณ์ เป็นหมอวิเศษ จะชี้ให้คนเป็นบ้าหรือตายหรือเป็นอะไรก็ได้ทั้งสิ้น ป. จะเรียกพระเจ้าแผ่นดินกับรัฐธรรมนูญให้มากราบไหว้ก็ได้ ศาลตัดสินว่า การกระทำของ ป. เป็นเพียงแต่อวดอ้างให้คน ทั้งหลายเชื่อว่า ตนเป็นหมอวิเศษ มิได้มีเจตนา มุ่งร้ายผู้ใด คำกล่าวของ ป. ไม่มีคำใดที่จะทำให้ คนทั้งหลายดูหมิ่นหรือเกลียดชังผู้ใดเลย จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 98 ตามกฎหมายลักษณะอาญา (ฎีกาที่ 1081/2482) แต่หากพิจารณาตามกฎหมายอาญาที่ได้มีการบัญญัติให้ขยายความรวม

ไปถึงการกระทำที่เป็นการดูหมิ่นด้วย ก็อาจเป็นความผิดตามมาตรา 1129

หากเปรียบเทียบกับกรณีที่มีการกล่าวว่า ถ้าเลือกเกิดได้จะเลือกเกิดใจกลางพระบรมมหา ราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระ ไม่ต้องมายืน ตากแดดพูดให้ประชาชนฟัง ถึงเวลาเที่ยงก็เข้าห้องเย็นเสวยเสร็จก็บรรทม ตื่นอีกทีบ่ายสามโมง พอ ตกเย็นก็เสวยน้ำจัณฑ์ให้สบายอกสบายใจ คำพูดเช่นนี้ศาลเห็นว่าเป็นการกล่าวเปรียบเทียบว่า พระมหากษัตริย์ พระราชินีและรัชทายาททรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ต่างกับจำเลยที่ เป็นลูกชาวนาต้องทำงานหนัก ซึ่งไม่เป็นความจริง แม้จะไม่เกิดผลเพราะไม่มีใครเชื่อ ก็เป็นความผิดตามมาตรา 112 (ฎีกาที่ 2354/2531)

จะเห็นได้ว่าคำพิพากษาในคดีนี้ ประเด็นสำคัญที่ถูกพิจารณาว่าเป็นความผิดก็คือ การ ดูหมิ่นมิใช่ เป็นการหมิ่นประมาท เนื่องจากจะ เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ก็ต่อเมื่อการใส่ ความนั้นทำให้ผู้อื่นที่ได้รับฟังมีความคล้อยตาม และเชื่อถือคำกล่าวนั้น หากเป็นคำพูดที่ไม่เป็น ที่น่าเชื่อถือแก่วิญญูชนทั่วไปก็จะไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท เช่น กล่าวหาว่าเขาเป็นผีกะ (ผีปอบ) เข้าสิงและกินคนที่มาคบค้าสมาคม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะข้อความดังกล่าวคนโดยมากไม่เชื่อ จึงไม่เป็นเหตุให้ถูก ดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง (ฎีกาที่ 590/2473), ด่าเขาว่าอ้ายเหี้ย ก็ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท (ฎีกาที่ 1023/2494) เพราะฉะนั้น กรณีคำพูดของจำเลยที่เปรียบเทียบว่ากษัตริย์ แม้จะถูกพิจารณาว่าไม่เป็นความจริงและไม่ทำให้เกิดความดูหมิ่นหรือ

7 หยุด แสงอุทัย, คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127, พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน,

2548), หน้า 402 8 หยุด แสงอุทัย, กฎหมายอาญา ภาค 2-3, พิมพ์ครั้งที่ 10 (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

2546), หน้า 44 9 จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอน 1, พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษา

กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2536), หน้า 1115

Page 7: ทัศนะวิพากษ์ : หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

154

เกลียดชังขึ้นเพราะไม่มีใครเชื่อ ย่อมไม่เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่โดยที่มาตรา 112 ได้มีบทบัญญัติเรื่องดูหมิ่นเพิ่มเติมเข้ามา จึงทำให้การกล่าวถ้อยคำดังกล่าวเป็นความผิดในฐานนี้

การเพิ่มการดูหมิ่นเข้าไปในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีผลต่อการขยายขอบ เขตของความผิดฐานนี้ให้ครอบคลุมกว้างขวางออกไป แม้จะไม่ได้เป็นการกระทำให้เกิดการดูถูกหรือเกลียดชังขึ้นจากการใส่ความบางอย่างก็ตาม เช่น การพ่นสี การแสดงความไม่ เคารพต่อสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ ก็อาจเป็นการกระทำที่ถูกจัดว่าเป็นการดูหมิ่นได้ นอกจากนี้จากเดิม (การแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477) ที่แม้จะเป็น การดูหมิ่นต่อพระมหากษัตริย์ แต่หากกระทำไปภายใต้ความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญก็ถือว่าได้รับการคุ้มครอง แต่ตามบทบัญญัติที่ร่างขึ้นใหม่ในประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ไม่มีข้อยกเว้นดังกล่าวบัญญัติเอาไว้ ทำให้ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ในการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ หรืออาจกล่าวได้ว่าการดูหมิ่นต่อพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่มีความผิดไม่ว่าจะกระทำบนเหตุผลใดก็ตาม

บทบัญญัติของความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 ได้กลายเป็นบทบัญญัติที่สืบเนื่องมา และความเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้น อีกครั้งแต่เป็นเฉพาะการเพิ่มบทลงโทษจากจำคุก ไม่เกินเจ็ดปีเป็นจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี โดย คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเมื่อ พ.ศ. 251910

3. การขยายความหมายของ

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นอกจากความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นกับ

บทบัญญัติเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ในการบังคับใช้กฎหมายก็มี

การตีความที่ทำให้กฎหมายฉบับนี้มีความหมายที่ขยายออกครอบคลุมกว้างขวาง ซึ่งปรากฏขึ้นใน 2 ลักษณะด้วยกัน

3.1 การขยายการคุ้มครองในเชิงตัวบุคคล

ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้มีการกล่าวหา พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งองคมนตรีว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทหรืออยู่เบื้องหลังการยึดอำนาจในครั้งนี้ ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทของ พล.อ. เปรม และการเข้าชื่อกันเพื่อยื่นถวายฎีกาให้ทรงถอดถอน พล.อ. เปรม ซึ่งการกระทำในลักษณะดังกล่าวได้ถูกโต้แย้งว่าจะเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ทั้ งที่ เป็นที่ชัดเจนว่าความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ได้ครอบคลุมถึงองคมนตรีแต่อย่างใด องคมนตรีจึงไม่ได้รับการปกป้องเป็นพิเศษแตกต่างไปจากประชาชนทั่วไป การแสดงความเห็นต่อบทบาทหรือสถานะขององคมนตรีจึงเป็นสิ่งที่สมควรจะกระทำได้ แต่กลับปรากฏว่ามีการปกป้อง พล.อ. เปรม จากการ “ลามปาม” ด้วยการให้เหตุผลว่าองคมนตรีเป็นตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งหรือถอดถอนได้เอง การ กระทำใดๆ ที่กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจดังกล่าวจึงย่อมถือว่าเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชา นุภาพด้วย

ความพยายามในการขยายการคุ้มครองเชิงตัวบุคคลมาปรากฏอย่างชัดเจนเมื่อมีการเสนอ ร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยนายพรเพชร วิชิต- ชลชัย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เสนอแก้ไขกฎหมายอาญาให้ขยายออกไปโดยรวมถึงพระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองค-มนตรี องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ ด้วยการให้

10 คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ข้อ 1

Page 8: ทัศนะวิพากษ์ : หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

155

เหตุผลว่าบุคคลดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และอาจได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่บางประการอันเป็นราชการในพระองค์ อีกทั้งได้รับการรับรองสถานะและอำนาจหน้าที่ไว้ในรัฐธรรมนูญเสมอมา แต่บุคคลดังกล่าวกลับได้รับความคุ้มครองในกรณีมีการหมิ่นประมาทดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายเช่นเดียว กับบุคคลทั่วไป จึงสมควรกำหนดให้การกระทำ ดังกล่าวเป็นความผิดและรับโทษหนักขึ้น11

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเริ่มการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว ทางนายพรเพชรได้ถอนร่าง ดังกล่าวออกจากการพิจารณาด้วยการให้เหตุผลว่า “ได้รับแจ้งว่าทางองคมนตรีไม่สบายใจ เพราะทางคณะองคมนตรีได้พูดจากันแล้วทั้งหมด และแจ้ง ให้ผมทราบว่า ทางคณะองคมนตรีท่านไม่สบายใจ ที่จะคุ้มครองท่านเป็นพิ เศษ ถึงแม้ สนช. จะปรารถนาดีที่จะเพิ่มเติมในกฎหมายนี้ เมื่อเป็น ความประสงค์เช่นนี้ผมจึงแจ้งไปยังวิป สนช. แล้ว ก็ถอน”12

3.2 การขยายการคุ้มครองในเชิงการกระทำ

โดยทั่วไปการกระทำที่จะเป็นความผิดในฐานดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทต่อบุคคลอื่น มักจะต้องเป็นการกระทำที่แสดงออกโดยตรงต่อบุคคล ดังกล่าว หรือเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเจตนาให้เกิดผลกับบุคคลนั้นโดยเฉพาะเจาะจง ให้สามารถเข้าใจได้ว่าการกระทำที่เกิดขึ้นต้องการให้หมายถึงบุคคลใด เช่น การระบุชื่อของบุคคล เป็นต้น

แต่สำหรับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น พบว่าแทบไม่มีการกระทำที่เป็น การแสดงออกซึ่งการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นโดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ การดำเนินคดีหรือการกล่าวหาบุคคลใดในการกระทำความผิดฐานนี้มักจะเป็นการแสดงออกที่กระทำต่อวัตถุ สิ่งของ หรือสัญลักษณ์อื่นใดที่มีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ดังหลายคดีที่ตกเป็นข่าวขึ้น เช่น การตัดต่อภาพ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงไปในธนบัตรฉบับละ 20, 50 และ 100 บาท ก่อนนำไปเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต13 การพ่นสี สเปรย์ใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว14 การไม่ยืนตรงแสดงความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี (ฎีกาที่ 1294/2521) เป็นต้น ซึ่งการกระทำต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแต่ต้อง การคำอธิบายอย่างชัดเจนว่าการกระทำในลักษณะเช่นใดจึงควรถูกจัดว่าเป็นความผิด การกระทำในลักษณะเช่นใดเป็นเพียงการกระทำที่ไม่เหมาะสม แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการถกเถียงและทำความเข้าใจกับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่าง จริงจังใดๆ ขึ้น

จึงทำให้เกิดการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในการดำเนินคดีกับการกระทำต่างๆ ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง จนทำให้ดูราวกับว่าคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกำลังถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย การกระทำที่สามารถเชื่อมโยงกับวัตถุ สิ่งของ หรือสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในลักษณะที่อาจกระทบหรือเกี่ยวข้อง ก็สามารถ ที่จะถูกกล่าวหาว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความ

11 “สนช. เสนอเพิ่มโทษ ม.112 กม.หมิ่นฯ ขยายคลุม ‘องคมนตรี’ และห้ามเสนอข่าวคดีหมิ่นฯ,” ประชาไท,

8 ตุลาคม 2550 12 “องคมนตรีไม่สบายใจ ได้รับคุ้มครองพิเศษ ถอนแก้ ป.อาญา,” ประชาไท, 9 ตุลาคม 2550 13 “จับเจ้าของร้านเน็ตตัดต่อรูปทักษิณ ใส่ธนบัตรโพสต์ขึ้นเว็บ,” http://entertainment.hunsa.com/

view.php?cid=2278&catid=87 14 “เอือม,” 3 เมษายน 2550, http://etatdedroit.blogspot.com/2007/04/blog-post.html

Page 9: ทัศนะวิพากษ์ : หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

156

ผิดนี้ได้ เช่น การนำพระราชดำรัสมาพิมพ์ เป็น

ข้อความในสติ๊กเกอร์ โดยข้อความในสติ๊กเกอร์ มีดังนี้ เผยรับสั่งในหลวง “ถ้าทุจริตแม้นิดเดียว ก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป” เผยรับสั่งราชินี “ความยากจนไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่าละอาย ความชั่วช้าคดโกงนั่นแหละเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ น่าละอายอย่างยิ่ง” ผู้นำสติ๊กเกอร์มาติดตามสถานที่สาธารณะก็ถูกแจ้งความดำเนินคดีฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ15

การกล่าวหาพระราชภาวนาวิสุทธิ์แห่งวัดธรรมกายว่าทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนับว่าเป็นกรณีที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในเรื่องนี้คณะกรรมา- ธิการศาสนาได้กล่าวหาว่าพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (พระธัมมชโยหรือพระไชยบูลย์ สุทธิผล) ทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพใน 3 เรื่อง คือ16

หนึ่ง สั่งตัดไม้มงคลที่สมเด็จพระศรีนคริน-ทราบรมราชชนนีได้ทรงปลูกไว้ 2 ต้น เมื่อปี พ.ศ. 2522 เมื่อครั้งทรงเททองหล่อพระประธาน และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเดจ็พระเจา้ลกูเธอเจา้ฟา้จฬุาภรณวลยัลกัษณ ์ได้ทรงปลูกไว้เมื่อครั้งเสด็จวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ

สอง ย้ายพระพุทธรูปประธานที่สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือสมเด็จย่าทรงเททองหล่อไว้เมื่อปี 2522 โดยได้หายไปไม่ทราบอยู่ ที่ใด และได้นำพระพุทธรูปหล่อขึ้นใหม่โดยอาศัยเค้าโครงจากใบหน้า และรูปลักษณ์ของพระธัมมชโยเป็นต้นแบบ

สาม การซื้อและครอบครองที่ดินโดยไม่ใช้สมณศักดิ์ซึ่งเป็นราชทินนามที่ได้รับพระราชทาน ในการซื้อหรือถือครองที่ดินตามจังหวัดต่างๆ แต่กลับใช้ชื่อในการถือครองที่ดินว่าพระไชยบูลย์

สุทธิผล ซึ่งเป็นชื่อเดิม จะเห็นได้ว่าในสองกรณีแรก หากพิจารณา

ตามมาตรา 112 ก็เป็นที่ชัดเจนว่าการกระทำที่ เกิดขึ้นยากที่จะเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะนอกจากไม่ได้เกี่ยวข้องกับ พระมหากษัตริย์ ราชินีหรือรัชทายาทแล้ว ยังเป็น การกระทำที่กระทำต่อต้นไม้ และพระพุทธรูป อีกด้วย การดำเนินคดีกับพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ย่อมเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจที่มีต่อ ความผิดฐานนี้ว่าได้ขยายออกไปจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายอย่างมาก

สำหรับข้อหาการไม่ใช้สมณศักดิ์ซึ่งเป็น นามที่ได้รับพระราชทาน นับเป็นประเด็นที่ใกล้เคียงกับการแจ้งความเพื่อให้มีการดำเนินคดีกับสมัคร สุนทรเวช ที่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2550 ภายหลังจากที่นายสมัครให้สัมภาษณ์ในการแถลงเปิดตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคพลังประชาชนผ่าน ทางสถานีโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า “เพราะได้ตรวจสอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถึงจะเป็นรัฐธรรมนูญที่เลวก็ยอมที่จะเป็นนายกฯ” ซึ่งนายอำนาจ จันทรมนตรี แกนนำเครือข่ายคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนภาคอีสาน พร้อมชาวบ้านจาก 4 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง อ.พลับพลาชัย อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ และ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ กว่า 30 คน เห็นว่าเป็นการ ใช้วาจาจาบจ้วงหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องจากพระองค์ทรงเป็น ผู้ลงพระปรมาภิไธยในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว จึงได้เข้าร้องทุกข์แจ้งความเพื่อให้ดำเนินคดีกับนายสมัคร17

อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาดังกล่าวอาจถูก

15 “เปิดคำให้การพยาน คดี ‘สติ๊กเกอร์หมิ่น’,” http://www.mthai.com/webboard/5/61566.html 16 “ธรรมกายดูดทรัพย์อีก ออกเทปขาย อวดอุตริ,” เดลินิวส์, 6 มีนาคม 2542, http://rabob.tripod.com/

daily107.htm 17 “ชาวบุรีรัมย์-สุรินทร์บุกแจ้งความดำเนินคดี ‘สมัคร’ หมิ่นเบื้องสูง,” ผู้จัดการออนไลน์, 7 พฤศจิกายน 2550

Page 10: ทัศนะวิพากษ์ : หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

157

โต้แย้งได้ว่าถ้าเช่นนั้นการรัฐประหารรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ก็ย่อมเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยเช่นกัน เนื่องจากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ต้องได้รับการลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์

แม้การขยายความหมายของความผิดฐาน หมิ่นพระบรมเดชานุภาพจะยังสามารถถูกโต้แย้งด้วยหลักและเหตุผลทางกฎหมายซึ่งทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษตามข้อกล่าวหา แต่การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างกว้างขวางเช่นนี้ ในแง่หนึ่งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจของสังคมที่มีต่อความผิดฐานนี้ได้ว่ากำลังขยายตัวให้ครอบ คลุมถึงการกระทำต่างๆ เกินกว่าที่กฎหมายได้บัญญัติเอาไว้

4. หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

และสังคมการเมืองไทย จากความเปลี่ยนแปลงในบทบัญญัติและการ

บังคับใช้กฎหมายในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ขยายเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย ทำให้เกิดประเด็นคำถามดังต่อไปนี้

ประการแรก กฎหมายว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างไร แม้จะมีการให้เหตุผลว่าการมีกฎหมายนี้ไว้เพื่อปกป้องสถาบันฯจากการล่วงละเมิดโดยผู้ไม่จงรักภักดี แต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจะพบว่ามีข้อพิพาทเป็นจำนวนมากที่แสดงให้เห็นได้ว่ามิได้เป็นการกระทำที่มุ่ง ปกป้องสถาบันฯ แต่อย่างใด หากเป็นการมุ่งผลประโยชน์ในทางการเมืองหรือเป็นผลประโยชน์

ส่วนตัวมากกว่า ในกรณีเช่นนี้ย่อมทำให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกลายมาเป็น “เครื่องมือ” ในการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจระหว่างบุคคลฝ่ายต่างๆ

ประการที่สอง ความคิดว่าด้วยความเสมอภาคและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในสังคมไทยเป็นอย่างไร การยอมรับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอาจส่งผลกระทบต่อแนวความคิดต่อหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยอย่างสำคัญ ยิ่งมีการขยายขอบข่ายของความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพออกไปมากเท่าใด ก็ยิ่งมีผลกระทบที่รุนแรงต่อทั้งความคิดว่าด้วยความเสมอภาพและเสรีภาพในการแสดงความคิดมากขึ้นไปเป็นเงาตามตัว

ประการที่สาม กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพควรมีอยู่หรือไม่ และหากจำเป็นที่จะต้องมีอยู่กฎหมายนี้ควรจะมีเนื้อหาในลักษณะ เช่นใด แม้ว่าอาจมีบางฝ่ายที่มีความเห็นว่าควรยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพื่อไม่ให้เกิดการนำเอาสถาบันกษัตริย์มาเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งกันในทางการเมือง แต่ก็มีบางฝ่ายที่เห็นว่ากฎหมายนี้ยังมีความจำเป็นอยู่สำหรับสังคมไทย แต่อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญก็คือว่าทั้งหมดนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น และถกเถียงในประเด็นดังกล่าว เพื่อให้เห็นถึงความจำเป็นและความเหมาะสมของกฎหมายในเรื่องนี้ว่ายังควรมี อยู่หรือไม่ และหากยังคงต้องมีอยู่ ควรจะมีอยู่ในลักษณะเช่นใดที่จะเป็นไปได้อย่างสอดคล้องกับ