นิสิตแพทย์จุฬาฯ : ชนะประกวด...

2
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชนด้วยคุณธรรม” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “บริการประทับใจ รับใช้ชาวประชา ก้าวหน้าวิชาการ บริหารงานดีเด่น เน้นคุณภาพชีวิต” นิสิตแพทย์จุฬาฯ : ชนะประกวดบทความ : แพทยสภา ปีท่ ๔ ฉบับที่ ๒๔ วันจันทร์ที่ ๑๒ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ รองคณบดี ฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงความยินดีกับ นางสาวสิตานัน เลิศศิริพาณิชย์ นิสิตแพทย์ ชั้นปีท่ 4 ได้รับรางวัล “รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง” จากบทความ “เพราะมีคุณค่า” และ นางสาวณิชกานต์ สุขศิริลักษณ์ นิสิตแพทย์ ชั้นปีท่ 5 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล “รองชนะเลิศอันดับสอง” จากบทความ “ใต้ท้องฟ้าบนพื้นดิน” ในหัวข้อ “แรงบันดาลใจที่จะเป็นแพทย์และความมุ่งมั่น ที่จะเป็นแพทย์ที่ดี” เมื่อวันพุธที่ 31 ตุลาคม 2555 เวลา 13.00 น. ศูนย์นิทรรศการไบเทค บางนา จาก พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภา ใน งานนิทรรศการ “มหกรรมรวมพล คนรักสุขภาพ 2555” (Thailand Medical Expo 2012) ซึ่งจัดโดย แพทยสภา นางสาวสิตานัน เลิศศิริพาณิชย์ นิสิตแพทย์ ชั้นปีท่ 4 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การศึกษา ประถมศึกษา : โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม พ.ศ. 2545 มัธยมต้น : โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ พ.ศ. 2548 มัธยมปลาย : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 การศึกษาปัจจุบัน : นิสิตแพทย์ ชั้นปีท่ 4 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความรู้สึกของการมีส่วนร่วม : “รู้สึกดีที่มีการเปิดโอกาสให้ นิสิตแพทย์ ได้แสดง ความสามารถในด้านอื่นเช่น การเขียน และเป็นโอกาสที่ดีที่เปิดมุมมองของ คนภายในสู่ภายนอกที่อาจจะมีความคิดที่ลึกตื้นแตกต่างกัน รู้สึกภาคภูมิใจและ เป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้และได้รับคัดเลือกบทความ หวังว่า บทความที่เขียนจะสามารถมอบบางสิ่งให้กับผู้อ่านได้บ้างไม่มากก็น้อย” “เพราะมีคุณค่า” บทความโดย : นางสาวสิตานัน เลิศศิริพาณิชย์ ฉันเคยถามตัวเองอยู่บ่อยครั้งว่าการ จะเป็น “แพทย์” สักคนต้องการอะไรบ้าง เคย สงสัยว่ามันจะเหมือนที่เคยวาดฝันไว้ตอนสมัย เด็กๆ หรือเปล่า ภาพแพทย์ที่รักษาคนไข้ แพทย์ที่เก่งกาจ ได้รับความเคารพ แท้จริงแล้ว เขาต้องผ่านอะไรบ้างกว่าจะไปยืนที่จุดๆ นั้นได้? ฉันเริ่มต้นด้วยความรู้สึก “เฉยชา” เลือกเรียนแพทย์ตามประสาเด็กมัธยมทีไม่รู้ว่าตัวเองอยากเป็นอะไรกันแน่ และก็ตามเพื่อนอยู่ส่วนหนึ่ง ฉันไม่เคยใฝ่ฝันหรือมี แรงบันดาลใจที่จะเป็นแพทย์ พอสอบติดก็คิดว่าคงจะเรียนได้ไม่ลำบากนัก ฉันคิดว่า หลายคนรู้สึกแบบเดียวกัน เป็นทัศนคติธรรมดาๆ แต่ก็ยังเลือกที่จะเข้ามาเรียนเพราะ รู้สึกว่ามันเป็นอาชีพที่ดี มั่นคง แล้วก็มีคนต้องการ ถึงฉันจะเป็นคนที่ค่อนข้างใจกว้าง และขี้สงสาร แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าความคิดเหล่านั้นจะช่วยให้อยากเป็นแพทย์มากขึ้น เมื่อสอบเข้ามาเรียนได้แล้วก็รู้เพียงแต่ว่าเราเลือกที่จะทำหน้าที่นี้แล้ว ชอบหรือไม่ อย่างน้อยเราก็ต้องเป็นหมอที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เราไม่อยู่บนความทุกข์ของตนเอง และเราก็จะไม่อยู่บนความทุกข์ของคนอื่น ชีวิตการเป็นแพทย์ของฉันพลิกผันเป็นอีกแบบเมื่อเลื่อนจากชั้นพรีคลินิกขึ้นชั้น คลินิก จากเด็กเรียนแพทย์คนหนึ่งที่งกๆ เงิ่นๆ นั่งเรียนเนื้อหาไปวันๆ แบบไร้จุดหมาย ไม่รู้ว่าจะได้ใช้ประโยชน์สักเท่าไร ฉันได้มาสัมผัสชีวิตการเป็น “แพทย์” จริงๆ ฉันได้เจอ กับคนไข้ ได้พูดคุย ดูแลรักษา มันแทบจะไม่เหมือนภาพที่ฉันเคยวาดฝันเอาไว้เลย มีคน ป่วยมากกว่าที่ฉันคิด คนไข้ไม่น้อยน่าสงสารจนเรียกได้ว่า “เหลือขอ” มันทำให้ฉันเริ่ม เข้าใจชีวิตบนเส้นทางที่ฉันไม่มีทางได้เดินเอง และเริ่มลงไปมองคนที่ต่ำกว่า ตั้งแต่เข้ามา เรียนแพทย์ หลายต่อหลายครั้งที่ฉันท้อถอยกับเนื้อหาที่ยากแสนยาก เบื่อหน่ายกับการ ต้องแข่งขันกับเพื่อน หลายครั้งที่อยากจะหยุดแล้วไปเริ่มใหม่ทางอื่นแค่เพราะตัวเลขไม่กีตัวในใบผลการเรียน แต่พอฉันมองคนที่ต่ำกว่า ฉันรู้สึกว่าปัญหาของฉันมันเป็นเรื่องเล็ก น้อยจนน่าขำ ยังมีคนที่ทุกข์ทรมาน ไม่รู้ว่าจะตายวันตายพรุ่งอยู่ตั้งมากมาย ฉันโชคดีแค่ ไหนแล้วที่ยังมีชีวิตที่ดี มีสังคมที่ดี จนมันทำให้ฉันรู้สึกว่าฉันเห็นแก่ตัว “ฉันได้มาตั้ง เยอะเท่านี้ แล้วฉันจะยืนอยู่เฉยๆ หรือ ทำไมฉันถึงไม่แบ่งให้คนที่มีน้อยกว่าบ้าง?” เป็นคำถามที่ผุดขึ้นในใจของฉัน ฉันไม่รู้ว่ามันเรียกว่าแรงบันดาลใจหรือไม่ แต่มันทำให้ ฉันรู้สึกว่าฉันหยุดอยู่ตรงนี้ไม่ได้ ฉันอยากให้คนอื่นมีความสุขเหมือนกัน ในเมื่อฉันอยู่ใน ฐานะของคนที่จะกลายเป็นแพทย์ คนที่สามารถจะช่วยเขาให้พ้นไปจากตรงนี้ได้ ฉันจะ ไม่ทำเชียวหรือ? ทำไมถึงไม่เต็มที่ ทำไมถึงหยุดในเมื่อความทุกข์มันไม่เคยหยุดรอฉัน? ฉันเริ่มลอง “ให้” แล้วฉันก็เริ่มมีความสุขเหมือนกับที่คนไข้มีความสุข... ฉันรู้สึกดีที่ได้ให้ และรู้สึกดีที่ผู้รับ “เห็นค่า” ของสิ่งที่เราให้ ถึงแม้ฉันจะยังเป็นแค่นิสิต แพทย์ที่ความรู้อ่อนด้อยเทียบกับแพทย์ที่อาวุโสกว่า แต่หลังจากวันนั้นฉันท้อในการเรียน น้อยลงมาก แค่คำขอบคุณสั้นๆ จากปากผู้ป่วยในแต่ละวันที่ไปโรงพยาบาล มันเป็น กำลังใจหล่อเลี้ยงให้ฉันยังรู้สึกว่า “ฉันยังมีคุณค่า” และมันแปลว่ายังมีคนที่ต้องการ “คุณค่านั้น” อยู่ มันทำให้นอกจากรักคนไข้แล้วฉันยังรักตัวเอง และมันยิ่งทำให้ฉัน อยากจะทำให้มากขึ้น อยากจะทำให้ดีขึ้น ตราบใดที่ยังมี “คนที่ต่ำกว่าฉัน” ถ้ายังไม่ หมดแรง ฉันก็ยังอยากที่จะให้เขามีชีวิตที่ดีกว่านีผ่านมาหลายปีท่เรียนแพทย์อาจมีหลงผิดหลงถูก แต่ตอนนี้ฉันรู้สึกว่าการเป็น แพทย์ที่ดีไม่ใช่ว่าต้องมีคุณสมบัติที่สวยหรู หรือมีผลการเรียนอันดับหนึ่ง แต่แพทย์คือคน ที่คอยเปลี่ยน “ทุกข์” ของคนไข้ให้กลายเป็น “สุข” สิ่งที่สำคัญของการเป็นแพทย์ที่ดี คือมี “ใจ” ที่เอื้ออาทร ถ้าเรามีใจที่มุ่งมั่นเข้มแข็ง มีทัศนคติที่ดี ความตั้งใจและสิ่งอื่นๆ มันก็จะตามมาเอง อย่างอื่นเราเก็บได้ตามรายทาง ตามประสบการณ์ที่จะหล่อหลอมเรา ในอนาคต แต่ “ใจ” ต้องมาตั้งแต่แรก ไม่อย่างนั้นก็จะไปไม่ถึงอนาคตไม่ใช่หรือ? บางทีฉันอยากหัวเราะ เพราะรู้สึกว่าการเป็นแพทย์ที่ดีไม่ต้องพยายามปั้นแต่ง หรือผลักดันตัวเองให้มากมาย “แพทย์ที่ดี” ก็คงยังเป็นคำพูดที่ไม่มีความหมายตราบใด ที่เราไม่ค้นพบ “คุณค่า” ในใจของตัวเอง ฉันรู้เพียงว่าหลังจากนี้ตราบใดที่ยังมีคน “ต้องการ” ฉันก็จะยังเป็น “แพทย์” ให้เขาก็เท่านั้น “แรงบันดาลใจในการที่นิสิตนักศึกษาเเพทย์ใฝ่ฝันจะเป็นแพทย์ เเละความมุ่งมั่นที่จะเป็นเเพทย์ที่ดี”

Upload: buikhue

Post on 09-Apr-2018

220 views

Category:

Documents


2 download

TRANSCRIPT

Page 1: นิสิตแพทย์จุฬาฯ : ชนะประกวด ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year4/04-24.pdfณ ศ นย น ทรรศการไบเทค เวลา

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชนด้วยคุณธรรม”

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “บริการประทับใจ รับใช้ชาวประชา ก้าวหน้าวิชาการ บริหารงานดีเด่น เน้นคุณภาพชีวิต”

นิสิตแพทย์จุฬาฯ : ชนะประกวดบทความ : แพทยสภา

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒๔ วันจันทร์ที่ ๑๒ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕

รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ รองคณบดี ฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงความยินดีกับ นางสาวสิตานัน เลิศศิริพาณิชย์ นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 4 ได้รับรางวัล “รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง” จากบทความ “เพราะมีคุณค่า” และ นางสาวณิชกานต์ สุขศิริลักษณ์ นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล “รองชนะเลิศอันดับสอง” จากบทความ “ใต้ท้องฟ้าบนพื้นดิน” ในหัวข้อ “แรงบันดาลใจที่จะเป็นแพทย์และความมุ่งมั่น ที่จะเป็นแพทย์ที่ดี” เมื่อวันพุธที่ 31 ตุลาคม 2555 เวลา 13.00 น. ณ ศูนย์นิทรรศการไบเทค บางนา จาก พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภา ใน งานนิทรรศการ “มหกรรมรวมพลคนรักสุขภาพ 2555” (Thailand Medical Expo 2012) ซึ่งจัดโดย แพทยสภา

นางสาวสิตานัน เลิศศิริพาณิชย์ นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การศึกษา ประถมศึกษา : โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม พ.ศ. 2545 มัธยมต้น : โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ พ.ศ. 2548 มัธยมปลาย : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 การศึกษาปัจจุบัน : นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความรู้สึกของการมีส่วนร่วม : “รู้สึกดีที่มีการเปิดโอกาสให้ นิสิตแพทย์ ได้แสดงความสามารถในด้านอื่นเช่น การเขียน และเป็นโอกาสที่ดีที่ เปิดมุมมองของ คนภายในสู่ภายนอกที่อาจจะมีความคิดที่ลึกตื้นแตกต่างกัน รู้สึกภาคภูมิใจและ เป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้และได้รับคัดเลือกบทความ หวังว่าบทความที่เขียนจะสามารถมอบบางสิ่งให้กับผู้อ่านได้บ้างไม่มากก็น้อย”

“เพราะมีคุณค่า” บทความโดย : นางสาวสิตานัน เลิศศิริพาณิชย์ ฉันเคยถามตัวเองอยู่บ่อยครั้งว่าการ จะเป็น “แพทย์” สักคนต้องการอะไรบ้าง เคยสงสัยว่ามันจะเหมือนที่เคยวาดฝันไว้ตอนสมัยเด็กๆ หรือเปล่า ภาพแพทย์ที่รักษาคนไข้ แพทย์ที่เก่งกาจ ได้รับความเคารพ แท้จริงแล้วเขาต้องผ่านอะไรบ้างกว่าจะไปยืนที่จุดๆ นั้นได้? ฉันเริ่มต้นด้วยความรู้สึก “เฉยชา” เลือกเรียนแพทย์ตามประสาเด็กมัธยมที่ไม่รู้ว่าตัวเองอยากเป็นอะไรกันแน่ และก็ตามเพื่อนอยู่ส่วนหนึ่ง ฉันไม่เคยใฝ่ฝันหรือมีแรงบันดาลใจที่จะเป็นแพทย์ พอสอบติดก็คิดว่าคงจะเรียนได้ไม่ลำบากนัก ฉันคิดว่าหลายคนรู้สึกแบบเดียวกัน เป็นทัศนคติธรรมดาๆ แต่ก็ยังเลือกที่จะเข้ามาเรียนเพราะรู้สึกว่ามันเป็นอาชีพที่ดี มั่นคง แล้วก็มีคนต้องการ ถึงฉันจะเป็นคนที่ค่อนข้างใจกว้างและขี้สงสาร แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าความคิดเหล่านั้นจะช่วยให้อยากเป็นแพทย์มากขึ้น เมื่อสอบเข้ามาเรียนได้แล้วก็รู้เพียงแต่ว่าเราเลือกที่จะทำหน้าที่นี้แล้ว ชอบหรือไม่ อย่างน้อยเราก็ต้องเป็นหมอที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เราไม่อยู่บนความทุกข์ของตนเอง และเราก็จะไม่อยู่บนความทุกข์ของคนอื่น ชีวิตการเป็นแพทย์ของฉันพลิกผันเป็นอีกแบบเมื่อเลื่อนจากชั้นพรีคลินิกขึ้นชั้นคลินิก จากเด็กเรียนแพทย์คนหนึ่งที่งกๆ เงิ่นๆ นั่งเรียนเนื้อหาไปวันๆ แบบไร้จุดหมายไม่รู้ว่าจะได้ใช้ประโยชน์สักเท่าไร ฉันได้มาสัมผัสชีวิตการเป็น “แพทย์” จริงๆ ฉันได้เจอกับคนไข้ ได้พูดคุย ดูแลรักษา มันแทบจะไม่เหมือนภาพที่ฉันเคยวาดฝันเอาไว้เลย มีคนป่วยมากกว่าที่ฉันคิด คนไข้ไม่น้อยน่าสงสารจนเรียกได้ว่า “เหลือขอ” มันทำให้ฉันเริ่มเข้าใจชีวิตบนเส้นทางที่ฉันไม่มีทางได้เดินเอง และเริ่มลงไปมองคนที่ต่ำกว่า ตั้งแต่เข้ามาเรียนแพทย์ หลายต่อหลายครั้งที่ฉันท้อถอยกับเนื้อหาที่ยากแสนยาก เบื่อหน่ายกับการต้องแข่งขันกับเพื่อน หลายครั้งที่อยากจะหยุดแล้วไปเริ่มใหม่ทางอื่นแค่เพราะตัวเลขไม่กี่ตัวในใบผลการเรียน แต่พอฉันมองคนที่ต่ำกว่า ฉันรู้สึกว่าปัญหาของฉันมันเป็นเรื่องเล็กน้อยจนน่าขำ ยังมีคนที่ทุกข์ทรมาน ไม่รู้ว่าจะตายวันตายพรุ่งอยู่ตั้งมากมาย ฉันโชคดีแค่ไหนแล้วที่ยังมีชีวิตที่ดี มีสังคมที่ดี จนมันทำให้ฉันรู้สึกว่าฉันเห็นแก่ตัว “ฉันได้มาตั้งเยอะเท่านี้ แล้วฉันจะยืนอยู่เฉยๆ หรือ ทำไมฉันถึงไม่แบ่งให้คนที่มีน้อยกว่าบ้าง?” เป็นคำถามที่ผุดขึ้นในใจของฉัน ฉันไม่รู้ว่ามันเรียกว่าแรงบันดาลใจหรือไม่ แต่มันทำให้ฉันรู้สึกว่าฉันหยุดอยู่ตรงนี้ไม่ได้ ฉันอยากให้คนอื่นมีความสุขเหมือนกัน ในเมื่อฉันอยู่ในฐานะของคนที่จะกลายเป็นแพทย์ คนที่สามารถจะช่วยเขาให้พ้นไปจากตรงนี้ได้ ฉันจะไม่ทำเชียวหรือ? ทำไมถึงไม่เต็มที่ ทำไมถึงหยุดในเมื่อความทุกข์มันไม่เคยหยุดรอฉัน? ฉันเริ่มลอง “ให้” แล้วฉันก็เริ่มมีความสุขเหมือนกับที่คนไข้มีความสุข... ฉันรู้สึกดีที่ได้ให้ และรู้สึกดีที่ผู้รับ “เห็นค่า” ของสิ่งที่เราให้ ถึงแม้ฉันจะยังเป็นแค่นิสิต

แพทย์ที่ความรู้อ่อนด้อยเทียบกับแพทย์ที่อาวุโสกว่า แต่หลังจากวันนั้นฉันท้อในการเรียนน้อยลงมาก แค่คำขอบคุณสั้นๆ จากปากผู้ป่วยในแต่ละวันที่ไปโรงพยาบาล มันเป็นกำลังใจหล่อเลี้ยงให้ฉันยังรู้สึกว่า “ฉันยังมีคุณค่า” และมันแปลว่ายังมีคนที่ต้องการ “คุณค่านั้น” อยู่ มันทำให้นอกจากรักคนไข้แล้วฉันยังรักตัวเอง และมันยิ่งทำให้ฉันอยากจะทำให้มากขึ้น อยากจะทำให้ดีขึ้น ตราบใดที่ยังมี “คนที่ต่ำกว่าฉัน” ถ้ายังไม่หมดแรง ฉันก็ยังอยากที่จะให้เขามีชีวิตที่ดีกว่านี้ ผ่านมาหลายปีที่เรียนแพทย์อาจมีหลงผิดหลงถูก แต่ตอนนี้ฉันรู้สึกว่าการเป็นแพทย์ที่ดีไม่ใช่ว่าต้องมีคุณสมบัติที่สวยหรู หรือมีผลการเรียนอันดับหนึ่ง แต่แพทย์คือคนที่คอยเปลี่ยน “ทุกข์” ของคนไข้ให้กลายเป็น “สุข” สิ่งที่สำคัญของการเป็นแพทย์ที่ดีคือมี “ใจ” ที่เอื้ออาทร ถ้าเรามีใจที่มุ่งมั่นเข้มแข็ง มีทัศนคติที่ดี ความตั้งใจและสิ่งอื่นๆ มันก็จะตามมาเอง อย่างอื่นเราเก็บได้ตามรายทาง ตามประสบการณ์ที่จะหล่อหลอมเราในอนาคต แต่ “ใจ” ต้องมาตั้งแต่แรก ไม่อย่างนั้นก็จะไปไม่ถึงอนาคตไม่ใช่หรือ? บางทีฉันอยากหัวเราะ เพราะรู้สึกว่าการเป็นแพทย์ที่ดีไม่ต้องพยายามปั้นแต่งหรือผลักดันตัวเองให้มากมาย “แพทย์ที่ดี” ก็คงยังเป็นคำพูดที่ไม่มีความหมายตราบใดที่เราไม่ค้นพบ “คุณค่า” ในใจของตัวเอง ฉันรู้เพียงว่าหลังจากนี้ตราบใดที่ยังมีคน “ต้องการ” ฉันก็จะยังเป็น “แพทย์” ให้เขาก็เท่านั้น

“แรงบันดาลใจในการที่นิสิตนักศึกษาเเพทย์ใฝ่ฝันจะเป็นแพทย์ เเละความมุ่งมั่นที่จะเป็นเเพทย์ที่ดี”

Page 2: นิสิตแพทย์จุฬาฯ : ชนะประกวด ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year4/04-24.pdfณ ศ นย น ทรรศการไบเทค เวลา

ศูนย์ประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตึกอานันทมหิดล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 1873 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร. (02) 256 4183, 256 4462 โทรสาร (02) 252 5959 E-mail: [email protected], [email protected] และ [email protected]

ติดตามอ่าน “สารสัมพันธ์” ฉบับ “Spotlight” ได้ที่ http://www.md.chula.ac.th

http://www.md.chula.ac.th http://www.facebook.com/mdcu.page http://www.facebook.com/prmdcu.pr

http://www.twitter.com/prmdcu

ใต้ท้องฟ้าบนพื้นดิน บทความโดย : นางสาวณิชกานต์ สุขศิริลักษณ์ เรื่ อ งนี้ . . . เป็ นครั้ ง แรกของชี วิ ต . . . ที่ทำให้ฉันได้เรียนรู้ว่า “หมอ . . . ไม่ ใช่ เทพยดาบนฟ้ า . . . แต่เป็นเพียงมนุษย์ผู้หนึ่งที่ช่วยเหลือคนไข้... ด้วยจิตวิญญาณ” ท่ามกลางท้องฟ้ายามเย็นที่ตกแต่งด้วยแสงสีส้มไล่เฉดสีไปจนถึงสีชมพู ฉันเป็น นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 2 คนหนึ่งที่นั่งอยู่ริมระเบียงบ้านหลังจากกลับมาจากมหาวิทยาลัย ในมือของฉันมีขนมปังกรอบที่ฉันซื้อมาทานเล่นเป็นประจำระหว่างการนั่งทบทวนบทเรียน เหตุผลที่ฉันชอบทานขนมปังกรอบคือคุณปู่ของฉันมักซื้อมาให้ทาน ตั้งแต่ที่ฉันยังเด็กจนมันเป็นเรื่องปกติของฉันไปแล้ว ฉันเคยชินกับมัน ขนมชนิดนี้จึง ถูกนำมาเป็นเครื่องมือแทนแรงบันดาลใจให้ฉันตื่นแต่เช้าขึ้นมาทบทวนบทเรียนและ ตอนเย็นหลังเลิกเรียนซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านซื้อมาให้ฉันตอนมารับกลับบ้านทุกวันเรื่อยมา ตั้งแต่วัยเยาว์ วันนี้เป็นวันที่มีชั่วโมงเรียนวิชาการผ่าอาจารย์ใหญ่ซึ่งเป็นวิชาที่หนักเอาการสำหรับ นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 2 ตามตารางสอนกำหนดหมดคาบไว้ตอนสี่โมงเย็น แต่ขณะนี้ หกโมงครึ่งแล้ว ฉันพึ่งถอดเสื้อกาวน์และเตรียมล้างมีดผ่าตัด จากนั้นเมื่อเสร็จภารกิจ ทุกอย่างจึงกลับบ้านพร้อมคุณปู่ซึ่งขับรถมารับฉันเหมือนทุกๆ วันที่ผ่านมา เมื่อเจอคุณปู่ ฉันจึงยกมือไหว้กล่าวสวัสดี จากนั้นคุณปู่ก็พูดประโยคที่ทำให้ใบหน้าอันเหนื่อยล้ายิ้มออกได้ว่า “เรากลับบ้านกันเถอะ” เพราะฉันมีคำตอบอยู่ในใจอยู่แล้วว่า ถ้าฉันเห็นใบหน้าคุณปู่แสนใจดีเมื่อไหร่ หัวใจของฉันคงมีความสุขไม่น้อยเลย เมื่อกลับถึงบ้าน ฉันก็รีบจัดแจงเตรียมอาหารเย็นซึ่งเป็นหน้าที่หลักในบ้าน ของฉัน คุณปู่นั่งมองดูรูปถ่ายที่เรียงติดไว้ที่ผนังห้อง มีรูปถ่ายมากมายตั้งแต่คุณปู่ ยังเด็ก รูปวันสำเร็จการศึกษา รูปวันแต่งงาน และรูปถ่ายครอบครัวหลังจากที่มีหลานคนแรกซึ่งคือฉันนั่นเอง ฉันมองเห็นคุณปู่ดูภาพแล้วยิ้มออกมุมปากคล้ายกับคิดอะไร บางอย่างอยู่ไม่นานคุณปู่ก็ถามฉันเป็นภาษาจีนว่า “หลานโตขึ้นอยากเป็นหมออะไร?” ฉันตอบท่านว่า “ยังไม่ทราบเลยค่ะคุณปู่เดี๋ยวค่อยเลือกก็ได้อีกตั้งหลายปี” จากนั้น ฉันก็เดินต่อเพื่อเปิดประตูเข้าห้อง แล้วคุณปู่ก็ตอบว่า “อืม” ทันทีที่สิ้นเสียง ฉันได้ยินเสียงคุณปู่ล้มตึงลงไปที่พื้นข้างหลังฉัน ฉันตกใจมากและหันหลังกลับไปตกใจมากกว่า กับภาพที่อยู่ตรงหน้า คุณปู่นอนสิ้นสติอยู่ที่พื้น หัวใจฉันเต้นรัว มือของฉันหมดแรงกะทันหันพลอยทำให้แก้วน้ำที่ถืออยู่ตกลงพื้น ขณะนั้นความคิดของฉันเต็มไปด้วย บทเรียนปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานที่ได้เรียนมาจากมหาวิทยาลัย แต่ตรงกันข้ามมือของฉันแข็งไปหมดไม่ได้ทำตามในสิ่งที่ฉันคิดเลย ฉันรีบตะโกนขอความช่วยเหลือ จากคนอื่นในบ้าน ไม่นานคุณลุงก็วิ่งเข้ามารีบจับชีพจรและลมหายใจแล้วตะโกนว่า “คุณปู่ไม่หายใจแล้ว ทำอย่างไรดี!” จากนั้นเขาก็เริ่มปั๊มหัวใจ ในสมองของฉันตอนนั้นว่างเปล่า ทำอะไรไม่ถูก ฉันยืนนิ่งแต่รู้สึกว่าความคิดของฉันวิ่งเร็วมาก เวลาผ่านไปสักพัก รถพยาบาลก็มานำตัวคุณปู่ไป เมื่อทุกคนไปถึงโรงพยาบาล ฉันก็ได้ยินคำที่ไม่คาดว่าจะได้ยินในขณะนั้นคือ คุณปู่ผู้เป็นที่รักยิ่งของฉันได้ลาจาก ฉันไปอย่างไม่มีวันกลับ พร้อมกันนั้นฉันร้องไห้ฟูมฟาย โกรธหมอ โกรธพยาบาล โกรธทุกคนที่ไม่สามารถช่วยชีวิตคุณปู่ไว้ได้ แต่เมื่อตั้งสติได้แล้ว ฉันยิ่งรู้สึกผิด เพราะตระหนักได้ว่าด้วยเหตุใด ทั้งที่ฉันเป็น นิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และสิ่งที่ฉันทำในเวลาอันคับขันตอนนั้นเป็นเพียงการร้องไห้และตะโกนขอความช่วยเหลือ ด้วยเหตุใดในขณะนั้นจึงไม่ตั้งสติให้ได้ว่าตอนนั้นฐานะเราคือใคร ฉันเป็น นิสิตแพทย์ มีความรู้ความสามารถในการช่วยชีวิตแล้ว ถึงแม่ว่าฉันจะยังอ่อนประสบการณ์แต่ก็น่าคุ้มค่าที่จะทำเพื่อคนที่ฉันรัก ตอนนี้ฉันเป็น นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 5 เมื่อมองย้อนอดีตกลับไป ฉันยังตำหนิตัวเองว่าทั้งที่เคยเรียนเรื่องการปั๊มหัวใจมาและเคยผ่านการฝึกอบรมมา แต่ฉันกลับไม่ใช้ความรู้ความสามารถที่ฉันมีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ตอนนั้นฉันยังคงเด็กเกินไป ฉันรู้สึกเสียใจอย่างมากที่ตนไม่สามารถแม้แต่จะยื้อชีวิตคุณปู่ไว้ได้แม้แต่เพียงเสี้ยววินาทีเดียว ฉันจะจดจำบทเรียนอันมีค่าครั้งนี้ไว้ และถ้าหากฉันได้เจอผู้ป่วยกรณีเช่นนี้อีกครั้งในอนาคต ฉันจะได้ทุ่มเทความสามารถทั้งหมดที่ฉันมี

เมื่อคุณลุงของฉันถามหมอกลับถึงสาเหตุการตาย คุณหมอไม่ให้เหตุผลและ ยังแสดงท่าทีโมโหและพูดจาไม่ดีเมื่อคุณลุงตื้อถามเหตุผล ญาติคนอื่นถามคำถาม เพิ่มเติม แต่ทุกคนก็รู้สึกว่าแพทย์คนนั้นคงจะรำคาญครอบครัวเราและแม้แต่ฉันเอง ก็ยังรู้สึก จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ครอบครัวของฉันยังคงรู้สึกไม่ดีกับแพทย์คนนั้นที่ไม่เอาใจใส่ต่อญาติผู้ป่วย ญาติของฉันบางคนบอกว่ารู้สึกว่าแพทย์ไม่พยายามช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยจนถึงที่สุด ตั้งแต่นั้นมาฉันตั้งปฏิญาณกับตัวเองว่า “ถ้าฉันได้เป็นแพทย์ ฉันจะเป็นแพทย์ที่มีปิยวาจาต่อคนไข้และญาติคนไข้ ยึดมั่นในอุดมคติและเมตตาคุณ” การเป็นแพทย์ที่ดีไม่ใช่แค่เป็นเพียงผู้ที่มีสามารถในการรักษาโรคหรือมีความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เราควรยึดหลักการการรักษาองค์รวมคือ ดูแลทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของคนไข้หรือ บ่อยครั้งที่ฉันเห็นคนไข้ร้องไห้ต่อหน้าอาจารย์แพทย์หรือแม้กระทั่งการ “กราบ” ซึ่งแสดงให้ถึงว่า คนไข้มีความทุกข์มากและยากลำบากจากโรคที่เป็นและเห็นว่าแพทย์ที่อยู่ต่อหน้าเขาตรงนั้นสามารถขจัดสิ่งเลวร้ายทั้งหมดให้ออกจากชีวิตเขาไปได้ บางทีแพทย์รักษาคนให้รอดชีวิตได้เพียงหนึ่งคน แต่ก็เปรียบเสมือนได้รักษาทั้งครอบครัวของผู้นั้นเพราะได้รักษาจิตใจของครอบครัวผู้นั้นไปด้วยพร้อมๆ กัน เพราะ “คนไข้ของแพทย์” ไม่ใช่เป็นเพียงคนคนหนึ่งที่มาร้องขอความช่วยเหลือจากเรา ปริญญาบัตรหนึ่งใบก็ไม่ใช่ที่สุดของอาชีพแพทย์ แต่ถือเป็นเพียงขั้นแรกของก้าวบันไดแห่งเส้นทางชีวิตแพทย์เท่านั้น อาชีพแพทย์จึงเป็นอาชีพที่ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตและ “รักคนไข้” อย่างใจจริง อย่างไรก็ตาม ฉันถือว่าเรื่องที่ฝังใจในอดีตนี้ยังเป็นบทเรียนอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้ฉันใฝ่ฝันจะเป็นแพทย์ที่ดี มีความกล้าและเอาใจใส่ผู้ป่วยและญาติเสมือนญาติของตัวเอง และจนถึงวันนี้ฉันนำความโศกเศร้าในอดีตเปลี่ยนผันกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ผลักดันสร้างความฝันและยึดมั่นอุดมคติไว้ว่า ต่อจากนี้จะไม่มีใครเสียชีวิตจากความกลัวของฉันเป็นอันขาด ถึงแม้ว่า แพทย์ก็เป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ใช่เทวดาที่จะเสกให้คนฟื้นคืนชีพได้ แต่ฉันก็จะรักษาคนไข้อย่างเต็มความสามารถด้วยพละกำลังทั้งหมดที่ฉันมีอยู่ เพราะหน้าที่หลักของฉันในอนาคตคือ “การช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์” สุดท้ายนี้ ฉันขอมอบอุดมการณ์ของ สมเด็จพระบิดาแห่งการแพทย์ไทย เป็นข้อคิดย้ำเตือนใจให้กับเพื่อนนิสิตนักศึกษาแพทย์และรุ่นพี่แพทย์ทุกท่านเพื่อให้เป็นหลักยึดมั่นในเส้นทางชีวิตไว้ว่า...

“ฉันไม่ต้องการจะให้พวกเธอมีความรู้เพียงอย่างเดียว ฉันต้องการให้พวกเธอเป็นบุคคลที่ถึงพร้อมแล้วด้วย”

“ I don’t want you to be only a doctor, but I also want you to be a man. ”

พระราชดำรัสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

นางสาวณิชกานต์ สุขศิริลักษณ์ นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การศึกษา ประถมศึกษา : โรงเรียนพร้อมมิตรพิทยา กรุงเทพฯ พ.ศ. 2544 มัธยมต้น : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าฯ พ.ศ. 2547 มัธยมปลาย : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. 2550 การศึกษาปัจจุบัน : นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความรู้สึกของการมีส่วนร่วม : “ภาคภูมิใจที่ได้ทำประโยชน์และชื่อเสียงให้กับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความสามารถของตนเอง จึงทำให้รู้สึกเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ได้แรงบันดาลใจจากการทำงานและรวบรวมแนวคิดของตนที่มีต่อการเป็นนิสิตแพทย์ ออกมาเป็นรูปธรรม มีจิตสาธารณะ ต่อวิชาชีพแพทย์และสถาบันแพทย์ทุกระดับ”

นิสิตแพทย์จุฬาฯ : ชนะประกวดบทความ : แพทยสภา