พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ telecom report nov 9...

20
ผลกระทบของเทคโนโล 4G ใน Telecom Report ฉบผมขอเสนอการยของ กงาน กสทช. งเนเอง ผลกระทบของเทคโนโล 4G” เทคโนโล 4G LTE (Long Term Evolu8on) เนเทคโนโลอสารไสายาน ปกรอสารเคอนในค 4 (4th Genera8on Mobile Communica8ons) งก ฒนานเอลดอดของการบงอลวยเทคโนโล GSM, GPRS และ EDGE ในอในจน โดยเมความสามารถการบงอลใรวดเวและ ประทภาพงน ระบบ 4G ตามมาตรฐาน IMTAdvanced ของ Telecommunica8ons UnionRadio Communica8ons Sector (ITUR) งาหนดนคงแรกใน ค.. 2008 จะ องสามารถบงอลไระบ 1 Gbps. แเองจากเทคโนโลจนงไ สามารถไ การใบการระบบ 4G ในจนงใบการความเวในการ ดาวโหลดงด 100 Mbps และพโหลดระบความเว 50 Mbps เนหก ใ บการวนใหจะงคงใบการ 4G ควบบ 3G โดยจะใบการ 3G ในนวน ให (Mass Coverage Area) และใบการ 4G ในนเฉพาะ (Specific Area) ความ องการบรอดแบนไสายความเวง เน แหงมชนความหนาแนประชากรง หอกมองการใงานเฉพาะทาง อา กชาการ กเคราะ หอตามโรง พยาบาลางๆใบการ Telemedicine เนน ตารางอไปแสดงการเปยบเยบ ความเวในการบงอลของระบบ 3G และ 4G (เวลาแสดงดตามยามมาตรฐาน วไปของ 3G และ 4G ความเวในการบงอลใบการจงอาจจะงคงากา งความเวนอบปมาณใงาน ณ ดใงานและปกรรองบวย) TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 1 Telecom Report Vol. 2015 no. 2 Nov. 9, 2015 .. ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม และรองประธาน กสทช. เปยบเยบความเวในการบงอลานระบบ 3G และ 4G

Upload: settapong-broadband

Post on 22-Jan-2018

386 views

Category:

Technology


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

ผลกระทบของเทคโนโลยี 4G

ใน  Telecom  Report  ฉบับนี้ผมขอเสนอการวิจัยของ  สำนักงาน  กสทช.  ซึ่งเป็นเรื่อง  “ผลกระทบของเทคโนโลยี  4G”  ดังนี้  

เทคโนโลยี  4G  LTE  (Long  Term  Evolu8on)  เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในยุคที่  4  (4th  Genera8on  Mobile  Communica8ons)  ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดข้อจำกัดของการรับส่งข้อมูลด้วยเทคโนโลยี  GSM,  GPRS  และ  EDGE  ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  โดยเพิ่มความสามารถการรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ระบบ  4G  ตามมาตรฐาน  IMT-­‐Advanced  ของ  Telecommunica8ons  

Union-­‐Radio  Communica8ons  Sector  (ITU-­‐R)  ซึ่งกําหนดขึ้นครั้งแรกในปี  ค.ศ.  2008  จะต้องสามารถรับ-­‐ส่งข้อมูลได้ที่ระดับ  1  Gbps.  แต่เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้  การให้บริการระบบ  4G  ในปัจจุบันจึงให้บริการที่ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดที่  100  Mbps  และอัพโหลดที่ระดับความเร็ว  50  Mbps  เป็นหลัก  ผู้ให้บริการส่วนใหญ่จะยังคงให้บริการ  4G  ควบคู่กับ  3G  โดยจะให้บริการ  3G  ในพื้นที่ส่วนใหญ่  (Mass  Coverage  Area)  และให้บริการ  4G  ในพื้นที่เฉพาะ  (Specific  Area)  ที่มีความต้องการบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง  เช่น  แหล่งชุมชนที่มีความหนาแน่นประชากรสูง  หรือกลุ่มที่ต้องการใช้งานเฉพาะทาง  อาทิ  นักวิชาการ  นักวิเคราะห์  หรือตามโรงพยาบาลต่างๆที่ให้บริการ  Telemedicine  เป็นต้น  ตารางต่อไปนี้แสดงการเปรียบเทียบความเร็วในการรับส่งข้อมูลของระบบ  3G  และ  4G  (เวลาที่แสดงคิดตามนิยามมาตรฐานทั่วไปของ  3G  และ  4G  ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ให้บริการจริงอาจจะยังคงตํ่ากว่า  ทั้งนี้ความเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณผู้ใช้งาน  ณ  จุดที่ใช้งานและอุปกรณ์ที่รองรับด้วย)  

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �1

Telecom ReportVol. 2015 no. 2Nov. 9, 2015

พ.อ. ดร. เศรษฐพงค ์มะลสิวุรรณประธานกรรมการกจิการโทรคมนาคม และรองประธาน กสทช.

เปรียบเทียบความเร็วในการรับส่งข้อมูลผ่านระบบ  3G  และ  4G

Page 2: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

  จากตารางจะเห็นได้ว่าความเร็วในการ  download  ข้อมูลผ่านโครงข่ายระบบ  4G  LTE  จะเร็วกว่าระบบ  3G  ประมาณ  2-­‐3  เท่า  และการ  upload  ข้อมูลผ่านระบบ  4G  LTE  จะเร็วกว่าระบบ  3G  ประมาณถึง  5  เท่า  อย่างไรก็ตามความเร็วตามตารางข้างต้นนั้นเป็นค่าความเร็วสูงสุดที่เป็นไปได้  ความเร็วในการให้บริการที่แท้จริงนั้นอาจตํ่ากว่ามาก  รายงานผลการทดสอบเปรียบเทียบความเร็วของในการรับส่งข้อมูลผ่านระบบ  3G  และ  4G  ของผู้ให้บริการ  Everything  Everywhere  (EE)  ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง  Orange  และ  T-­‐Mobile  ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศอังกฤษ  โดย  Guardian  แสดงให้เห็นว่า  ความเร็วในการ  download  และ  upload  ผ่านระบบ  4G  อยู่ที่  38.59  Mbps  และ  12.38  Mbps  ตามลำดับ  เร็วกว่าระบบ  3G  ซึ่งมีความเร็วเพียง  4.08  Mbps  และ  2.72  Mbps  ถึง  9  เท่า  (download)  และ  4.5  เท่า  (upload)  ตามลำดับโดยทำการทดสอบความเร็ว  ณ  ย่าน  Paddington  ใจกลางกรุงลอนดอน  เมื่อช่วงเดือนตุลาคมของปี  ค.ศ.  2012  ซึ่งเป็นช่วงที่มีการให้บริการระบบ  4G  เป็นครั้งแรกในอังกฤษ  

ผลกระทบของเทคโนโลยี 4G ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในแต่ละภาคอุตสาหกรรม

การศึกษานี้มุ่งเน้นการประมาณค่าผลกระทบของเทคโนโลยี  Long  Term  

Evolu8on  (LTE)  ซึ่งคือเทคโนโลยีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านทางโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่รู้จักกันในชื่อว่าเทคโนโลยี  4G  LTE  ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย  เนื่องจากเทคโนโลยี  4G  นี้เพิ่มความจุและความเร็วของอินเทอร์เน็ตผ่านทางโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่  ส่งผลให้การส่งผ่านข้อมูลง่ายขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการให้บริการ  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประสิทธิภาพการผลิตในหลายภาคอุตสาหกรรมในขนาดที่แตกต่างกันนอกจากนี้การพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านทางโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในหลายมิติ  การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างการเจริญเติบโตของแต่ละภาคอุตสาหกรรม  ดังนั้นเพื่อความเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยี  4G  ต่อทั้งโครงการเศรษฐกิจ  การศึกษานี้จึงทำการศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยี  4G  ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งโดยรวมและผลกระทบต่อแต่ละกลุ่มภาคอุตสาหกรรม  

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �2

Page 3: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

  ในประเทศไทย  เทคโนโลยี  4G  ยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย  เป็นเหตุให้การศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยี  4G  ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต้องทำโดยการใช้ข้อมูลจากประเทศที่มีการเริ่มใช้เทคโนโลยี  4G  แล้ว  การศึกษานี้จึงศึกษาการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศรายภาคอุตสาหกรรมเมื่อมีการเริ่มใช้เทคโนโลยี  4G  ใน  6  ภาคอุตสาหกรรมใน  66  ประเทศ  

  จากผลการศึกษาในส่วนนี้พบว่า  เมื่อควบคุมขนาดของภาคอุตสาหกรรมนั้น  ๆ  และการเปลี่ยนแปลงเชิงมหภาคของแต่ละประเทศแล้ว  การมีเทคโนโลยี  4G  ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในกลุ่มภาคอุตสาหกรรมการค้าส่ง  ค้าปลีก  ร้านอาหารและโรงแรมเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง  1.71  เปอร์เซ็นต์ในปีที่เริ่มมีเทคโนโลยี  4G  ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในกลุ่มภาคอุตสาหกรรมการขนส่งและการสื่อสารเพิ่มขึ้น  0.99  เปอร์เซ็นต์และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในกลุ่มภาคอุตสาหกรรมการเงิน  อสังหาริมทรัพย์  การบริหารงานของรัฐ  การทหาร  ประกันสังคม  การศึกษา  สุขภาพ  งานเพื่อสังคม  และกิจกรรมการผลิตส่วนตัวหรือในครัวเรือนเพิ่มขึ้น  0.58  เปอร์เซ็นต์และการมีเทคโนโลยี  4G  ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มภาคอุตสาหกรรมอื่น  ๆ  รวมทั้งภาคการเกษตรและภาคการผลิต  นั่นคือจะเห็นได้ว่าการมีเทคโนโลยี  4G  มีผลกระทบโดยตรงต่อภาคบริการมากกว่าภาคอื่น  ๆ  สำหรับผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศโดยรวมนั้น  การศึกษานี้พบว่าในปีที่มีเทคโนโลยี  4G  ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศโดยรวมในปีนั้นเพิ่มขึ้น  1.29  เปอร์เซ็นต์  

  การนำผลการศึกษาผลกระทบโดยเฉลี่ยของเทคโนโลยี  4G  ใน  66  ประเทศมาประยุกต์กับประเทศไทยนั้น  การศึกษานี้ทำโดยการพยากรณ์ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในกลุ่มภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยโดยไม่มีเทคโนโลยี  4G  และพยากรณ์ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในกลุ่มภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยโดยเพิ่มผลกระทบของเทคโนโลยี  4G  จากผลการศึกษาในส่วนนี้พบว่าการมีเทคโนโลยี  4G  มีผลเชิงบวกต่อกลุ่มภาคอุตสาหกรรมการค้าส่งค้าปลีกร้านอาหารและโรงแรมของประเทศไทยคิดเป็นมูลค่า  41,482  ล้านบาทในปี  2015  และมูลค่า  60,984  ล้านบาทในปี  2016  มีผลเชิงบวกต่อกลุ่มภาคอุตสาหกรรมการขนส่งและการสื่อสารคิดเป็นมูลค่า  11,837  ล้านบาทในปี  2015  และมูลค่า  15,797  ล้านบาทในปี  2016  และ  มีผลเชิงบวกต่อกลุ่มภาคอุตสาหกรรมการเงิน  อสังหาริมทรัพย์  การบริหารงานของรัฐ  การทหาร  ประกันสังคม  การศึกษา  สุขภาพ  งานเพื่อสังคม  และกิจกรรมการผลิตส่วนตัวหรือในครัวเรือนคิดเป็นมูลค่า  20,607  ล้านบาทในปี  2015  และมูลค่า  40,697  ล้านบาทในปี  2016  สำหรับ

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �3

Page 4: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

ในระบบเศรษฐกิจโดยรวมการมีเทคโนโลยี  4G  มีผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมคิดเป็นมูลค่า  168,136  ล้านบาทในปี  2015  และมูลค่า  265,274  ล้านบาทในปี  2016  

  ในด้านประสิทธิภาพในการผลิต  ผลกระทบของเทคโนโลยี  4G  ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น  ขึ้นอยู่กับความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีอื่นๆ  เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี  4G  ด้วยกล่าวคือ  สำหรับภาคการเกษตรและการผลิต  การที่ผลกระทบของเทคโนโลยี  4G  ไม่มีนัยสำคัญ  อาจจะเนื่องมาจากเทคโนโลยี  4G  เพิ่งมีการเริ่มใช้ในปี  2009  และเทคโนโลยีในภาคนี้พัฒนาได้ช้าหรือยังไม่คุ้มค่าในการพัฒนา  จึงยังไม่เห็นผลกระทบเชิงประจักษ์ซึ่งแตกต่างจากภาคการสื่อสารซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น  และการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งต่อข้อมูล  จึงได้รับผลกระทบเชิงบวกจากเทคโนโลยี  4G  ในทันที  เช่นเดียวกับภาคบริการซึ่งเห็นผลกระทบเชิงบวกอย่างชัดเจน  การส่งผ่านข้อมูลที่ง่ายขึ้นนั้นเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตเนื่องจากต้นทุนธุรกรรม  (Transac8on  cost)  ที่ลดลง  รูปแบบการทำธุรกิจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น  และการซื้อขายทำได้ง่ายขึ้น  

  ทั้งนี้การวิเคราะห์ตัวเลขผลกระทบของเทคโนโลยี  4G  ต้องคำนึงถึงปัจจัยทางพฤติกรรมผู้บริโภคด้วย  การพัฒนาเทคโนโลยีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านทางโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปข้างหน้ามีแนวโน้มจะเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค  สินค้าและบริการบางประเภทมีความต้องการเพิ่มขึ้น  และสินค้าและบริการบางประเภทที่ไม่ทันต่อเทคโนโลยีอาจจะถูกทดแทน  ดังนั้นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอาจมีผลกระทบเชิงลบต่อบางภาคอุตสาหกรรมได้  ในกรณีของประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลายประเภท  เช่น  ฮาร์ดไดร์ฟ  เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอุปสงค์ลดลงเมื่อระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านทางโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่พัฒนามากขึ้น  ภาคการผลิตของประเทศจึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบเชิงลบในระยะยาว  

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �4

Page 5: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

ข้อมูลการเริ่มต้นใช้เทคโนโลยี 4G (LTE) ในประเทศต่าง ๆ จาก 4gamericas.org

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �5

Page 6: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมส่วนเพิ่มของการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ระดับความเร็ว 4G ในด้านการบันเทิง

ปัญหาของการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ  3G  ที่พบมากมักเกี่ยวข้องกับความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ  เช่น  การดูคลิปวิดีโอผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มักจะติดขัด  หรือกระตุก  มีความไม่ต่อเนื่อง  โดยเฉพาะหากดูวิดีโอที่ความละเอียดสูง  เมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในยุคก่อนหน้า  ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนของระบบ  4G  คือ  ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้นมากเนื่องจากมี  bandwidth  ที่กว้างขึ้น  ระบบ  4G  ยังช่วยลดความล่าช้าในการส่งข้อมูลโดยรวม  (latency  ตํ่าลง)  เพราะการตอบสนองจากเครือข่ายทำได้เร็วขึ้น  รวมทั้งยังเพิ่มสมรรถนะของเครือข่ายโดยรวมเนื่องจากประสิทธิภาพของ  spectrum  ที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย  ในทางปฏิบัติแล้ว  โดยสรุป  การมีระบบ  4G  จะทำให้  

  -­‐  เกิดการพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับใช้งานนอกบ้านหรือที่ทำงานผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ที่มากขึ้น  และทำให้การใช้งานแอพพลิเคชันที่มีอยู่เดิมมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น  เช่น  แอพพลิเคชัน  telemedicine  ระบบตรวจสอบควบคุมทางไกล  (remote  monitoring)  การใช้งาน  desktop  จำลองเคลื่อนที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ  (fully-­‐mobile  virtual  desktops)  และการประชุมทางไกลผ่าน  high-­‐defini8on  mobile  videoconferencing  

  -­‐  สามารถรับส่งหรือแชร์ข้อมูลแบบ  real-­‐8me  สำหรับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่และสามารถเล่นไฟล์มัลติมีเดียบนอุปกรณ์สื่อสารได้โดยไม่ต้องมีการดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตจนครบไฟล์  (streaming)  ได้รวดเร็วมากขึ้นและได้อย่างต่อเนื่อง  ไม่เกิดการติดขัด  

  -­‐  สามารถส่งข้อมูลประเภท  8me-­‐sensi8ve  data  ได้อย่างทันที  (near-­‐immediate)  

เช่น  การซื้อขายหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้รายอื่นแบบ  real-­‐8me  

หากเทียบกับ Wi-Fi ซึ่งมีความเร็วเทียบเคียงกับ 4G การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ 4G ทำให้

-­‐  สามารถใช้แอพพลิเคชันซึ่งต้องใช้ผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างเต็มรูปแบบระหว่างเดินทางเคลื่อนที่    

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �6

Page 7: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

  -­‐  มีความสะดวกสบายมากขึ้น  เพราะสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายเคลื่อนที่ได้    

  -­‐  เกิดความปลอดภัยเนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะ  อื่น  ๆ    

  -­‐  Bandwidth  ที่สูงของ  LTE  ทำให้สามารถรองรับการจัดตั้งหรือ  set-­‐up  ที่ทำงานชั่วคราว  (temporary  workplaces)  ขึ้นได้อย่างรวดเร็ว  เพื่อเป็นทางเลือกหรือ  back-­‐up  การเชื่อมต่อแบบประจำที่หรือ  fixed  broadband  

ตารางต่อไปนี้เปรียบเทียบขีดจำกัดของการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ  EDGE  3G  และ  4G  

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �7

Page 8: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

จากประโยชน์ของระบบ  4G  ข้างต้น  ทำให้รูปแบบหรือพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เปลี่ยนไปจากเดิม  ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคเนื้อหาหรือการซื้อขาย  โฆษณาสินค้าในลักษณะที่ต่างไปจากเดิม  งานวิจัยในสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้  ซึ่งเป็นประเทศที่มีการพัฒนาและใช้งานระบบ  4G  เป็นประเทศแรก  ๆ  แสดงให้เห็นว่า  เว็บไซต์ที่มีการนำเสนอเนื้อหาผ่านคลิปวิดีโอหรือมีความหลากหลายของเนื้อหาที่นำเสนอผ่านคลิปวิดีโอนั้นได้นับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก  เพราะผู้ใช้งานที่เคลื่อนที่เดินทางสามารถเข้าถึงเนื้อหาและ  stream  คลิปวิดีโอได้ทันทีและไม่เกิดความไม่ต่อเนื่อง  เนื่องจากการ  buffer  วิดีโอทำได้ด้วยความรวดเร็ว  

  ด้วยชีวิตประจำวันของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครือข่ายออนไลน์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  ระบบ  4G  จะทำให้โลกเชื่อมต่อกันได้เต็มรูปแบบมากขึ้น  โดยมีอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ที่อำนวยความสะดวกและกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันซึ่งขาดไม่ได้  ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์  การบันเทิงและข้อมูลต่างๆได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น  สามารถใช้งานแอพพลิเคชันที่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้สอดรับกับระบบ  4G  ได้มากขึ้น  การสื่อสารหรือประชุมผ่านวิดีโอ  หรือ  video  calls  ก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยคุณภาพเสียงและวิดีโอที่ดีขึ้นมากกว่าที่เคยเป็น  

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �8

Page 9: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

  เนื่องจากการรับส่งไฟล์ที่มีขนาดใหญ่  และคลิปวิดีโอ  รวมทั้งการ  streaming  

วิดีโอ  หนัง  และเพลงออนไลน์สามารถทำได้สะดวกรวดเร็วขึ้น  ผู้ใช้งานจึงสามารถรับชมโทรทัศน์ออนไลน์  ชมการถ่ายทอดสดรายการ  เหตุการณ์  พิธีการหรือการแข่งขันกีฬา  รวมทั้งสามารถดูหนังฟังเพลงที่มีความละเอียดของภาพที่สูงมากได้อย่างไหลลื่น  ในระหว่างที่เดินทางเคลื่อนที่  นอกจากนี้การใช้งานแผนที่หรือเครื่องนำทาง  naviga8on  ต่าง  ๆ  ก็มีประสิทธิภาพและความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น  

  ผลกระทบอีกด้านหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากการมีเทคโนโลยี  4G  คือ  การเล่นเกมและการพนันออนไลน์มีการพัฒนาและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ผู้ใช้จะสามารถใช้แอพพลิเคชันเกมออนไลน์ต่างๆ  ในขณะที่เดินทางผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้เสมือนกับที่เล่นเกมจากคอมพิวเตอร์หรือคอนโซลประจำที่ได้มากขึ้นด้วยกราฟฟิค  ภาพและเสียงที่มีความละเอียดชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม  การพัฒนาเกมในรูปแบบใหม่ที่อาศัยการส่งผ่านข้อมูลแบบ  real-­‐8me  เช่น  เกมออนไลน์แบบเล่นหลายคนพร้อม  ๆ  กัน  (mul8-­‐player)  ที่ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นแบบ  real-­‐8me  ก็จะมีจำนวนมากขึ้นและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การเล่นพนันออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชันด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วก็จะยิ่งมีความเสถียรมากขึ้นด้วยระบบการทำธุรกรรมผ่านโครงข่ายที่มีประสิทธิภาพ  ผู้ใช้สามารถเล่นการพนันแบบ  Live-­‐be\ng  ได้อย่างเต็มรูปแบบในขณะที่เคลื่อนที่เดินทางหรือรับชมการแข่งขันหรือการถ่ายทอดสดอยู่ที่ใดก็ได้  ทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว  

  นอกจากนี้เทคโนโลยี  4G  ยังก่อให้เกิดผลกระทบทางอ้อมอีกหลายประการ  โดยเฉพาะในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือประกอบธุรกิจที่ต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารผ่านอีเมลล์  เอกสารออนไลน์  หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ  ระบบ  4G  ทำให้ใช้งานสิ่งเหล่านี้ได้รวดเร็วขึ้นและมีแอพพลิเคชันที่อำนวยความสะดวกในการทำงานมากขึ้น  ที่สำคัญผู้ใช้สามารถทำงานทางไกล  (remote  working)  และใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูลแบบ  Cloud  ผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มรูปแบบ  ทำให้สามารถประหยัดต้นทุน  เวลาและแรงงานในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น  หากไม่ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ในทางที่ทำลายประสิทธิภาพหรือสมาธิในการทำงานของตน  เช่น  การเล่นแชท  (Chat)  หรือดูหนังฟังเพลงระหว่างทำงาน  เป็นต้น  

  ในประเทศกําลังพัฒนาที่โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่ยังมีไม่ทั่วถึง  ระบบ  4G  หากมีการวางโครงข่ายที่ทั่วถึงก็จะช่วยให้ประชากรสามารถเข้าถึงและใช้งาน

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �9

Page 10: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับ  4G  ซึ่งเทียบเคียงหรืออาจดียิ่งกว่า  Wi-­‐Fi  ได้  ทำให้ช่วยลดช่องว่างทางดิจิทัลลง  อุตสาหกรรมใหม่หรือการจ้างงานที่สอดคล้องกับการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จาก  4G  ก็จะมีมากขึ้น  และเนื่องจากอุตสาหกรรมโทรคมนาคม  โดยเฉพาะโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่  จัดเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญตัวหนึ่งของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอื่น  ๆ  ที่ใช้ประโยชน์จากโทรคมนาคม  การที่ประเทศมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น  ก็จะทำให้เกิดการเจริญเติบโตและขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนยิ่งขึ้น  ทำให้ความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกอยู่ในระดับที่สูงขึ้น  โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่สภาพเศรษฐกิจยังสามารถรองรับและสนับสนุนการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วหรือยังมี  capacity  ทางเศรษฐกิจอยู่มาก  

  อย่างไรก็ตาม  เทียบกับเทคโนโลยี  3G  แล้ว  ระบบ  4G  มีข้อด้อยกว่าประการหนึ่งคือ  เทคโนโลยี  4G  เป็นระบบที่รองรับการส่งผ่านข้อมูลเพียงอย่างเดียว  (data-­‐only)  ดังนั้นหากผู้ใช้กําลังใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่และมีสายเข้าหรืออยู่ระหว่างการสนทนาผ่านโทรศัพท์  การเชื่อมต่อก็จะเปลี่ยนเป็นระบบ  3G  (ซึ่งรองรับได้ทั้งการเชื่อมต่อเสียงและข้อมูลพร้อมๆกัน;  voice-­‐and-­‐data  connec8on)  ทันที  ผู้ที่ต้องการรับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่องพร้อมกับรับสายหรือสนทนาทางโทรศัพท์ไปด้วยเป็นประจำจึงไม่สามารถกระทำได้ผ่านระบบ  4G  นอกจากนี้การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยเฉพาะด้านการบันเทิง  เช่น  การ  stream  วิดีโอที่มีความละเอียดสูง  ที่ความเร็วระดับ  4G  ยังถูกจำกัดด้วยจำนวน  megabytes  ที่ผู้ให้บริการอนุญาตให้ลูกค้าใช้ได้ใน  package  ต่างๆตามค่าบริการรายเดือนที่ลงทะเบียนไว้  ซึ่งแม้ว่าการใช้งาน  4G  จะทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลหรือ  stream  วิดีโอได้เร็วขึ้นหลายเท่า  หากผู้ใช้ยังคงมีข้อจำกัดด้านจำนวน  megabytes  ที่ผู้ให้บริการกําหนดให้ใช้ได้ในแต่ละเดือนอยู่  ก็จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากระบบ  4G  ได้อย่างเต็มที่เท่ากับที่ควรจะเป็น  

ผลการสำรวจและประเมินผลกระทบส่วนเพิ่มของการให้บริการ 4G ในประเทศไทย

Capital  Economics  หน่วยงานอิสระด้านการวิจัยในสหราชอาณาจักรได้ทำการประเมินผลกระทบจากการให้บริการเทคโนโลยี  4G  ในสหราชอาณาจักรร่วมกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม  Everything  Everywhere  (Orange  ร่วมกับ  T-­‐Mobile)  และเผยแพร่ผลการวิจัยเมื่อเดือนพฤศจิกายน  ปี  ค.ศ.  2014  ในรายงาน  “Improving  connec8vity  -­‐  

S8mula8ng  the  economy:  Mobile  network  operators  and  the  UK  economy”  โดยประเมินว่าการให้บริการ  4G  ในสหราชอาณาจักรซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคมปี  ค.ศ.  

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �10

Page 11: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

2012  อาจมีศักยภาพที่จะดึงดูดการลงทุนทางตรงจากภาคเอกชน  (direct  private  investment)  ได้มากถึง  5,500  ล้านปอนด์ภายในปี  ค.ศ.  2015  และจะเพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากให้กับประชาชนอย่างน้อย  10  ล้านคนซึ่งไม่สามารถติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่ซึ่งให้ความเร็วในระดับเดียวกันได้  นอกจากนี้ยังพยากรณ์ว่าการมีระบบ  4G  ให้บริการแก่อุตสาหกรรมทั่วประเทศจะทำให้  GDP  ของ   สหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นประมาณ  0.5  เปอร์เซ็นต์ภายในสิ้นปี  ค.ศ.  2020  หรือประมาณ  

75,000  ล้านปอนด์  และช่วยให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากถึง  125,000  งานทั่วสหราชอาณาจักร  ตัวเลขประมาณการดังกล่าวนั้นเป็นของสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้ว  ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากการมีการให้บริการระบบ  4G  ใน ประเทศกําลังพัฒนาซึ่งยังคงมี  capacity  ทางเศรษฐกิจอยู่มากนั้นก็ควรจะมากในระดับเดียวกันหรือยิ่งกว่า  

  การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมส่วนเพิ่มของให้บริการ  4G  โดยรวมและที่มีต่อการบันเทิงโดยเฉพาะในประเทศไทย  ซึ่งคิดในส่วนที่เพิ่มจากผลกระทบของการให้บริการ  3G  นั้น  การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้วิธีการศึกษาเดียวกันกับการประเมินผล กระทบของการให้บริการที่ความเร็วระดับ  3G  คือ  การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ผ่านเว็บไซต์  surveymonkey.com  ซึ่งมีการสุ่มตัวอย่างจากคนไทยทั่วทุกภาคจำนวน  1,000  คน  (848  คนหลังจากการตัดข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อออกไป)  โดยเป็นกลุ่มเดียวกันกับที่ใช้ในการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการให้บริการ  3G  ในหัวข้อก่อนหน้านี้  จากตัวอย่างทั้งหมด  848  คน  พบว่ามีผู้ต้องการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ระดับความเร็วสูงสุดที่  4G  มากที่สุดถึงร้อยละ  50  ดังแสดงในแผนภูมิต่อไปนี้

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �11

Page 12: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมส่วนเพิ่ม  (marginal)  ของการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ  4G  โดยรวมและในด้านการบันเทิงโดยเฉพาะ  จะคิดจากความยินดีที่จะจ่ายส่วนเพิ่ม  (Marginal  willingness-­‐

to-­‐pay;  Marg.  WTP)  ต่อเดือนของผู้ใช้งานในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยรวมและในด้านการบันเทิง  โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจที่แสดงข้างต้นมาประกอบการคำนวณผลกระทบ  จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทยทั้งหมดมีประมาณทั้งสิ้น  26,964,345  คน  และใช้สมมติฐานว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดที่ยังไม่ได้ใช้บริการที่ความเร็วระดับ  4G  เปลี่ยนไปใช้บริการระบบ  4G  ได้โดยไม่มีต้นทุน  ในปี  พ.ศ.2556  ตารางต่อไปนี้แสดงผลการคำนวณความยินดีที่จะจ่ายส่วนเพิ่มซึ่งเป็นผลกระทบส่วนเพิ่ม  (marginal)  ทางเศรษฐกิจและสังคมจากการใช้บริการ  4G  โดยรวมและในด้านการบันเทิงในปี  พ.ศ.  2556

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �12

ตารางแสดงมูลค่าของความยินดีที่จะจ่ายและผลกระทบส่วนเพิ่ม  (marginal)  จากการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ  4G

Page 13: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

ผลกระทบของเทคโนโลยี 4G ที่มีต่ออุตสาหกรรมโฆษณา

การโฆษณาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในสังคมสมัยใหม่  ผู้บริโภคสามารถรับข่าวสารต่าง  ๆ  ได้ในหลากหลายช่องทาง  เช่น  โทรทัศน์  หนังสือพิมพ์  วิทยุ  อินเทอร์เน็ต  เป็นต้น  ดังนั้น  ผู้ประกอบการจึงหันมาให้ความสนใจและลงทุนในการโฆษณาผ่านทางสื่อต่าง  ๆ  เพื่อสื่อสารและดึงดูดให้ผู้บริโภคมีการเพิ่มการบริโภคที่มากขึ้น  อุตสาหกรรมโฆษณาจึงก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในฐานะส่วนหนึ่งของแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจแม้ว่าจากข้อมูลของ  ZenithOp8media  แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนของมูลค่าการใช้จ่ายด้านการโฆษณาต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ  (GDP)  ในประเทศต่าง  ๆ  โดยส่วนมากนั้นมีลักษณะที่คงที่หรือลดลง  แต่มูลค่าของอุตสาหกรรมโฆษณายังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาคของโลก  ซึ่งในตารางแสดงให้เห็นว่าในช่วงปี  ค.ศ.  2008  ถึง  2013  กลุ่มประเทศในทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนในมูลค่าการใช้จ่ายด้านโฆษณาที่สูงที่สุด  (ประมาณร้อยละ  36)  ในขณะที่อุตสาหกรรมโฆษณาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  (ซึ่งรวมถึงประเทศไทย)  แม้ว่าจะมีสัดส่วนมูลค่าการใช้จ่ายโฆษณาต่อมูลค่าอุตสาหกรรมของโลกในระดับที่ตํ่ากว่าทวีปอเมริกาเหนือ  แต่อุตสาหกรรมโฆษณาในภูมิภาคนี้ก็ได้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ  6  ต่อปี  ทำให้ใน

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �13

ตารางแสดงมูลค่าของความยินดีที่จะจ่ายและผลกระทบส่วนเพิ่มจากการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ  4Gในด้านการบันเทิง

Page 14: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

อนาคตอันใกล้สัดส่วนของมูลค่าการใช้จ่ายด้านการโฆษณาของภูมิภาคมีโอกาสที่จะเข้าใกล้ทวีปอเมริกาโดยคาดการณ์ว่า  สัดส่วนดังกล่าวในปี  ค.ศ.  2018  จะเพิ่มเป็นร้อยละ  33  จากเดิมร้อยละ  30  ในปี  ค.ศ.  2013

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �14

สัดส่วนมูลค่าการใช้จ่ายด้านโฆษณาต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ  หน่วย:  ร้อยละ

Page 15: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

ในอดีตการโฆษณาสินค้าหรือบริการต่าง  ๆ  จะถูกจำกัดอยู่เพียงช่องทางแบบดั้งเดิม  (Tradi8onal  Media)  เช่น  นิตยสาร  ป้ายโฆษณา  หนังสือพิมพ์  วิทยุ  โทรทัศน์  เป็นต้น  แต่ด้วยพัฒนาการของระบบอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงมากขึ้น  รวมถึงความนิยมใช้อินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในระยะเวลาไม่กี่ปี  ทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้ช่องทางใหม่  (New  Media)ในการโฆษณาสินค้าและบริการ  เช่น  การโฆษณาออนไลน์  การโฆษณาผ่าน  YouTube  การโฆษณาผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์  การโฆษณาผ่าน  mobile  devices  การโฆษณาผ่าน  search  engine  ต่าง  ๆ  เป็นต้น  การพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เองทำให้ธุรกิจมีทางเลือกในการโฆษณาที่หลากหลาย  และสามารถเลือกช่องทางการโฆษณาและรูปแบบการโฆษณาที่เหมาะสมกับประเภทธุรกิจหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้นส่งให้ผลลัพธ์ของการโฆษณานั้นมีความน่าพอใจยิ่งขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับ  Tradi8onal  Media  แล้วจะพบว่าการโฆษณาผ่าน  New  Media  

มีประโยชน์ในด้านต่าง  ๆ  ที่มากกว่า  Tradi8onal  Media  ทั้งในด้านต้นทุนในการโฆษณา  การเข้าถึงผู้บริโภค  ความจำเพาะเจาะจง  ความยืดหยุ่น  และความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคปัจจัยเหล่านี้ทำให้การโฆษณาผ่าน  New  Media  มีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งส่งผลให้มูลค่าการใช้จ่ายด้านโฆษณาผ่าน  New  Media  ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลจาก  The  Global  Media  Trends  Report  2013-­‐2014  ที่จัดทำโดย  McKinsey&Company  แสดงให้เห็นถึงการโฆษณาผ่าน  New  Media  (ในรายงานใช้คำว่า  Digital  Adver8sing)  ว่ามีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมในช่วงปี  ค.ศ.  2008  ถึง  2013  ที่สูงถึงร้อยละ  15.6  และยังคาดการณ์ว่าจะยังคงเติบโตต่อที่อัตราร้อยละ  15.1  ในช่วงปี  ค.ศ.  2013  ถึงปี  ค.ศ.  2018  ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงทำให้คาดการณ์ได้ว่า  ภายในปี  ค.ศ.  2018  การโฆษณาผ่าน  New  Media  จะมีสัดส่วนในมูลค่าการใช้จ่ายด้านโฆษณาที่เพิ่มขึ้นและแซงการโฆษณาผ่านช่องทางอื่น  ๆ  รวมถึงจะเป็นเครื่องจักรสำคัญในการเร่งการเติบโตของอุตสาหกรรมโฆษณาทั้งหมด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโฆษณาผ่าน  mobile  

devices  ที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ  83.9  ในปีค.ศ.  2013  และมีแนวโน้มที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปีด้วยอัตราร้อยละ  34.5  ต่อปีในอีก  5  ปีข้างหน้า  ซึ่งกุญแจที่สำคัญของการเติบโตนี้  ได้แก่  การเพิ่มขึ้นของอัตราการเข้าถึงแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน  ความสะดวก  และความง่ายในการใช้อินเทอร์เน็ต  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ตไร้สายในแง่ของความเร็ว  และการเติบโตที่มากขึ้นของแอพพลิเคชันต่าง  ๆ  

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �15

Page 16: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

การเติบโตของศักยภาพทางเทคโนโลยีของโลก  (Technology  Competence)  

ทำให้เกิดการบูรณาการเทคโนโลยีของ  mobile  devices  เข้าไปในการโฆษณาผ่าน  Tradi8onal  Media  ให้การโฆษณามีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคที่มากขึ้น  ตัวอย่างของการพัฒนาในรูปแบบนี้  ได้แก่  Augmented  Reality  หรือ  AR  ที่เป็นการผสมผสานโลกความเป็นจริงเข้ากับโลกเสมือนจริง  โดยที่ใช้การซ้อนภาพสามมิติเข้าไปบนภาพจริง  ซึ่งมีการแสดงผลภาพแบบเรียลไทม์และต้องมีการอาศัยความเร็ว  และความแรงของการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตจึงจะสามารถแสดงผลได้อย่างสมบูรณ์

ตัวอย่างการโฆษณาโดยใช้เทคโนโลยี  AR  เช่น  VW  Golf  Augmented  Reality  

Campaign76  ซึ่งมีเป้าหมายที่จะโฆษณารถยนต์รุ่น  “The  New  Golf  Cabriolet”  โดยบริษัทต้องการที่จะทำให้ผู้บริโภคนั้นได้มีโอกาสสัมผัสถึงรูปลักษณ์และรายละเอียดของรถในทุกที่ไม่เพียงแต่  ณ  บริษัทของตัวแทนจำหน่ายเท่านั้น  ดังนั้นบริษัท  Volkswagen  จึงได้มีการพัฒนา  Mobile  applica8on  ขึ้นมา  โดยเมื่อเปิดแอพพลิเคชันตัวนี้ด้วย  สมาร์ทโฟนหรือ  แท็บเล็ตแล้วแสกนไปยังนิตยสาร  หรือโปสเตอร์ที่มีโฆษณารถของบริษัทอยู่ก็จะสามารถเห็นภาพสามมิติของรถขึ้นมาบนหน้าจอ  ทำให้ผู้บริโภคสามารถดูราละเอียดของรถ  ปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นต่าง  ๆ  ของรถได้ตามต้องการ  หรือถ่ายรูปร่วมกับรถ  พร้อมทั้งยังสามารถแชร์ต่อไปยังเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้อีกด้วย

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �16

Page 17: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

นอกจากนี้  บริษัท  Volkswagen  ยังได้มีการจัดแคมเปญอื่น  ๆ  เช่น  Volkswagen  Beetle  Campaign  at  Yonge  Dundas  Square  ที่เมื่อเปิดแอพพลิเคชันของแคมเปญขึ้นมาแล้ว  สแกนไปยังป้ายโฆษณาต่าง  ๆ  จะสามารถเห็นภาพสามมิติเคลื่อนไหวของรถยนต์  Volkswagen  บนหน้าจอ

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �17

Page 18: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

อีกตัวอย่างพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในการโฆษณาคือ  Near  Field  Communica8on  (NFC)  ที่เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระยะสั้นในระยะประมาณ  4  

เซนติเมตร  ตัวอย่างโฆษณาที่มีการใช้เทคโนโลยีนี้  เช่น  Unicef  NFC  S8cker  Campaign  

ที่เป็นการโฆษณาผ่านวิธีการแบบดั้งเดิมคือการให้บุคคลที่เป็นอาสาสมัครของ  Unicef  ติดสติ๊กเกอร์  แต่สติ๊กเกอร์  ดังกล่าวได้มีเทคโนโลยี  NFC  ฝังอยู่  ผู้ที่สนใจจะบริจาคเงินให้กับ  Unicef  สามารถทำได้โดยการนำโทรศัพท์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปแตะกับสติ๊กเกอร์ดังกล่าว  ระบบก็จะทำการเชื่อมต่อเข้ากับหน้าเว็บไซต์ของ  Unicef  และสามารถบริจาคเงินให้กับ  Unicef  ได้ทันที

ตัวอย่างการโฆษณาเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งในส่วนของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่  หรืออุปกรณ์ไร้สายอื่น  ๆ  รวมถึงบทบาทของการพัฒนาโครงข่าย  Mobile  Broadband  ที่สามารถทำให้การบูรณาการช่องทางการโฆษณา  และการสร้างแนวทางการโฆษณาใหม่  ๆ  เกิดขึ้นมาได้

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �18

Page 19: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีต่าง  ๆ  จะเป็นปัจจัยผลักดัน  (push  factor)  ให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมโฆษณา  โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโฆษณาผ่าน  mobile  devices  ได้เป็นอย่างดี  แต่การเติบโตของเทคโนโลยีการโฆษณาผ่าน  mobile  devices  บางประเภทเช่น  loca8on-­‐based  adver8sing  หรือ  personalized  adver8sing  ที่มีลักษณะการโฆษณาโดยการเก็บข้อมูลรายละเอียดการใช้อินเทอร์เน็ต  ความชื่นชอบ  ประวัติการเข้าเว็บไซต์  รวมถึงประวัติของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการแสดงโฆษณาให้มีความเหมาะสมกับกับแต่ละคนนั้น  ได้สร้างข้อโต้เถียงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ปัจจุบันได้มีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมการโฆษณาและปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายฉบับ  เช่น  Online  Privacy  Protec8on  Act  (CalOPPA)  ของรัฐแคลิฟอร์เนีย  ประเทศสหรัฐอเมริกา  Massachuseis  Data  Privacy  Regula8ons  ของมลรัฐแมสซาชูเซตส์  ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นต้น  จากการศึกษาของ  Booz  &  Company  (2012)  ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงกฎหมายปกป้องความเป็นส่วนตัวต่อการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีด้านโฆษณาโดยทำการสำรวจจากนักลงทุนและธุรกิจเงินร่วมลงทุน  (venture  capitalist)  ซึ่งผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงใด  ๆ  ในกฎหมายปกป้องความเป็นส่วนตัวมีผลทำให้นักลงทุนร้อยละ  63  ไม่สนใจลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีด้านโฆษณาและหากได้มีการออกกฎหมายที่ใช้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถเลือกที่จะให้เก็บข้อมูลหรือไม่ให้เก็บข้อมูลของตนจะส่งผลให้นักลงทุนประมาณร้อยละ  82  ลดความสนใจในการลงทุนในธุรกิจดังกล่าวดังนั้น  กฎหมายปกป้องความเป็นส่วนตัวเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยฉุดรั้ง  (pull  factor)  ให้อุตสาหกรรมการโฆษณาไม่สามารถเติบโตขึ้นได้มากเท่าที่คาดการณ์  

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �19

Page 20: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report nov 9 ผลกระทบต่อเทคโนโลยี 4 G

เกี่ยวกับผู้เขียน

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

Ph.D. in Electrical Engineering (Telecom) D.Phil. in Cybersecurity Strategy and Management MS. in Telecom Engineering MS. in Mobile Communication BS. in Electrical Engineering Cert. in National Security (Anti-terrorism program) Cert. in National Security (Defense Resource Management) Cert. in National Security (Streamlining Government) Cert. in Spectrum Management

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 2 NOV. 9 �20