พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ telecom report no 1 nov 6 (revised)

6
ความเนมา 3G ประเทศไทย ใน .. 2545 กรมไปรษโทรเลขอญาตใบท โอ (มหาชน) หอ TOT และ บท กสท โทรคมนาคม (มหาชน) หอ CAT เนจการวมา เดใบการโทรพเคอน ไทยโมบาย 1900 MHz ในระบบโทรพเคอน แบบ 2G อมาใน .. 2551 บท TOT และ CAT ไเนขอมคณะฐมนต ในการโอนคน 1900 MHz ใเนของบท TOT แเยงเยว วยการขายน ไทยโมบายออใบบท TOT โดยวงความงหมด 3 วง 2 วง ความแรกใหบการใบการโทรพเคอนในระบบ 2G บนคนความ 1900 MHz วนก 1 วงความใหบใบการโทรพเคอนในระบบ 3G บนคนความ 2100 MHz ในเวลาอมา คณะกรรมการจการโทรคมนาคมแงชา หอ กทช.ไมเอน 13 . 2552 อใการโอนคนความนไ ใบท TOT ไเนบหารดการคนความ 1900 MHz แเยงเยว ใน วงปลาย 2552 บท TOT ไเดใบการโทรพเคอนในระบบ 3G บนคน ความ 2100 MHZ และบท TOT ไความวมอบนธตรในปแบบการขาย โดยนธตรนวน5 ราย เนใบการแบบ MVNOs (Mobile Visual Network Operators) ไแ กมสามารถไอ-โมบายภายใตรานา i-mobile 3G, กมอกซเภายใตรานา i-KooL 3G, กมไอภายใตรานา IEC 3G, กมเมคอลลภายใตรานา MOJO 3G และบท 365 ภายใตรานา 365 งใบการ MVNOs งหลายไเมเดใบการในวงปลายเอนนวาคม .. 2552 ในวง 2551-2552 ประกอบการรายหกในตลาดโทรพเคอนไเม ทยอยทดลองเดใบการ 3G านเทคโล HSPA ในกษณะไใเงพาช (Non-Commercial) โดยการแงคนความเมใในระบบ 2G มาเดใบการ 3G การขยายสถาฐานเอทดลองใบการเมนจนไปการทยอยเดใ บการในเงพาชในระยะเวลาอมา โดยบทแอดวาน นโฟ เซอส (มหาชน) หอ AIS ไขอความเนชอบจากทาง กทช. ไเมทดลองเดใบการ 3G ในกษณะ Non-Commercial บนาน ความ 900 MHz วยเทคโนโล HSPA งหดเยงใหในเอน พฤษภาคม 2551 และงหดกงเทพางสรรพนาเน TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 1 NOV. 6 1 Telecom Report Vol. 2015 no. 1 Nov. 6, 2015 .. ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม และรองประธาน กสทช.

Upload: ntc-thailand

Post on 13-Apr-2017

255 views

Category:

Technology


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report no 1 nov 6 (revised)

ความเป็นมา 3G ประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2545 กรมไปรษณีย์โทรเลขอนุญาตให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เป็นกิจการร่วมค้าที่เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไทยโมบาย 1900 MHz ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 2G ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 บริษัท TOT และ CAT ได้ดำเนินขอมติคณะรัฐมนตรีในการโอนคลื่น 1900 MHz ให้เป็นของบริษัท TOT แต่เพียงผู้เดียว ด้วยการขายหุ้นไทยโมบายที่ถืออยู่ให้กับบริษัท TOT โดยมีช่วงความถี่ทั้งหมด 3 ช่วง ซึ่ง 2 ช่วงความถี่แรกใช้สำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 2G บนคลื่นความถี่ 1900 MHz ส่วนอีก 1 ช่วงความถี่ใช้สำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz ในเวลาต่อมา คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 มีค. 2552 อนุมัติให้มีการโอนคลื่นความถี่กันได้ จึงทำให้บริษัท TOT ได้เป็นผู้บริหารจัดการคลื่นความถี่ 1900 MHz แต่เพียงผู้เดียว ในช่วงปลายปี 2552 บริษัท TOT ได้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G บนคลื่นความถี่ 2100 MHZ และบริษัท TOT ได้ความร่วมมือกับพันธมิตรในรูปแบบการขายต่อ โดยมีพันธมิตรจำนวน5 ราย เป็นผู้ให้บริการแบบ MVNOs (Mobile Visual Network Operators) ได้แก่ กลุ่มสามารถไอ-โมบายภายใต้ตราสินค้า i-mobile 3G, กลุ่มล็อกซเล่ย์ภายใต้ตราสินค้า i-KooL 3G, กลุ่มไออีซีภายใต้ตราสินค้า IEC 3G, กลุ่มเอ็มคอลซัลต์ภายใต้ตราสินค้า MOJO 3G และบริษัท 365 ภายใต้ตราสินค้า 365 ซึ่งผู้ให้บริการ MVNOs ทั้งหลายได้เริ่มเปิดให้บริการในช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552

ในช่วงปี 2551-2552 ผู้ประกอบการรายหลักในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ได้เริ่มทยอยทดลองเปิดให้บริการ 3G ผ่านเทคโลยี HSPA ในลักษณะไม่ใช่เชิงพาณิชย์ (Non-Commercial) โดยการแบ่งคลื่นความถี่เดิมที่ใช้ในระบบ 2G มาเปิดให้บริการ 3G มีการขยายสถานีฐานเพื่อทดลองให้บริการเพิ่มขึ้นจนนำไปสู่การทยอยเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ในระยะเวลาต่อมา โดยบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ได้ขอความเห็นชอบจากทาง กทช. ได้เริ่มทดลองเปิดให้บริการ 3G ในลักษณะ Non-Commercial บนย่าน ความถี่ 900 MHz ด้วยเทคโนโลยี HSPA ที่จังหวัดเชียงใหม่ในเดือน พฤษภาคม 2551 และจังหวัดกรุงเทพที่ห้างสรรพสินค้าเซ็น

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 1 NOV. 6 �1

Telecom ReportVol. 2015 no. 1Nov. 6, 2015

พ.อ. ดร. เศรษฐพงค ์มะลสิวุรรณประธานกรรมการกจิการโทรคมนาคม และรองประธาน กสทช.

Page 2: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report no 1 nov 6 (revised)

ทรัลเวิล์ดและสยามพารากอนในเดือนธันวาคม 2551 จากนั้นได้ให้บริการที่จังหวัดชลบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2552

ทางด้านของบริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ได้ทดลองเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G โดยใช้เทคโนโลยี HSPA บนคลื่นความถี่ย่าน 850 MHz ครอบคลุมใจกลางกรุงเทพมหานครในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552

ส่วนบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือTRUE โดย True move ได้รับมติจาก กสท.เพื่อทดลองให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G บนคลื่นความถี่ 850 MHz ในลักษณะไม่ใช่การค้าในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ดำเนินการทดลองให้บริการ 3G ผ่านเทคโนโลยี HSPA ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 สถานีฐานตามเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร รวมทั้งตามเมืองใหญ่ เช่น พัทยาภูเก็ต ซึ่งส่วนใหญ่ให้บริการในสนามบินและบริเวณหาดป่าตองรวมทั้งเชียงใหม่ ซึ่งให้บริการส่วนใหญ่ในสนามบินและบริเวณโดยรอบ

ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐและสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงให้เห็นว่าในปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ยุคของ 3G คุณสมบัติเด่นของ 3G คือ มีช่องสัญญาณความถี่และความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าระบบ 2G ด้วยอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลอย่างน้อย 384 กิโลบิตต่อวินาที ถึงสูงสุด 42 เมกะบิตต่อวินาที ทำให้การเชื่อมต่อและการรับส่งข้อมูลทำได้รวดเร็วขึ้นและในปริมาณมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้การใช้บริการด้านสื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) มีประสิทธิภาพและสมบูรณ์ขึ้น รวมทั้งการใช้งาน Applications และระบบเสียงก็มีคุณภาพที่ดีขึ้น ระบบ 3G จึงถูกนำไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนานวัตกรรมในวงการต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งในด้านธุรกิจ การสาธารณสุขการเงินการธนาคาร การบันเทิง และการศึกษา เป็นต้น

การให้บริการ 3G ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มต้นที่ประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการ 3G ในปี พ.ศ. 2544 แต่ยกเลิกผลการประมูลไปเนื่องจากจำนวนผู้เข้าประมูลเท่ากันพอดีกับจำนวนใบอนุญาตที่ทำการประมูล แต่ก็มีการให้ใบอนุญาตให้บริการ 3G ในปีต่อมา คือ พ.ศ. 2545 จากนั้นในปี พ.ศ. 2548 ประเทศบรูไนได้ให้บริการ 3G และต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และกัมพูชาก็เริ่มมีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G เช่นกัน พม่าให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ที่ใช้เฉพาะในกิจการ

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 1 NOV. 6 �2

Page 3: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report no 1 nov 6 (revised)

ทหาร ในปี พ.ศ. 2551 ในขณะที่อีกสามประเทศคือ ประเทศไทย สปป. ลาว และเวียดนาม ได้ให้บริการโทรศัพท์ 3G ในปี พ.ศ. 2552

การให้บริการด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3G (Third Generation of technology for mobile network) แบบเต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการในประเทศไทยได้เกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีการเปิดประมูลใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ผลการประมูลมีผู้ประกอบการ สามราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ค จำกัด (AWN) บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด (RF) ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เครือข่ายละ 15 MHz เป็นระยะเวลา 15 ปี และผู้ให้บริการแต่ละรายได้ให้บริการด้วยเทคโนโลยี 3G ประมาณกลางปี พ.ศ. 2556

การประกอบการของผู้ประกอบการรายใหม่ ที่ประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ได้ไปนั้นคือ AWN, DTN และ RFT อยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาต ซึ่งต่างจากเดิมที่ใช้ระบบสัมปทาน ภายใต้ระบบสัมปทาน ผู้ที่เสมือนเป็นเจ้าของคลื่นความถี่คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แล้วแต่กรณีว่าเป็นคลื่นความถี่ย่านใด โดยผู้ประกอบการเอกชนรายอื่นมาขอใช้คลื่นความถี่นั้นในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้สัญญา สร้าง - ส่งมอบ - ดำเนินการ (Build, Transfer, and Operate : BTO) ซึ่งเมื่อสิ้นสุดอายุสัมปทานแล้ว ผู้ประกอบการที่มาขอใช้คลื่นความถี่ ต้องส่งมอบโครงข่ายทั้งหมดให้กับเจ้าของคลื่น

ไม่เพียงเท่านั้น รายได้จากการให้สัมปทานยังตกเป็นของเจ้าของคลื่น โดยไม่จำเป็นต้องนำส่งเข้ารัฐทั้งหมด ทำให้รายได้จากการประกอบการของเจ้าของคลื่นมีความมั่นคงตลอดอายุสัมปทาน แต่อาจมีข้อเสียคือ เจ้าของคลื่นไม่มีการปรับปรุงเทคโนโลยีและการให้บริการเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคตหากสัมปทานสิ้นสุดลง และจำเป็นต้องบริหารโครงข่ายที่ได้รับการถ่ายโอนมาด้วยตนเองต่อไป

ภายใต้ระบบใบอนุญาต เจ้าของคลื่นคือ รัฐ ซึ่งกํากับดูแลโดย กสทช. ซึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ด้วยการประมูล โดยผู้ที่มีสิทธิ์ประมูลไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ออกให้โดย กสทช. มาก่อนแล้ว ซึ่งรายได้จากการประมูลให้นำส่งเข้ากระทรวงการคลัง เป็นรายได้ของแผ่นดิน และผู้ประกอบการมีสิทธิ์ใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ได้ตลอดอายุของการอนุญาต (ประมาณ 15 ปี หรือแล้วแต่จะกำหนดเป็นอย่างอื่น) โดยเมื่อหมดเวลาการใช้คลื่นฯ กสทช. จะนำคลื่น

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 1 NOV. 6 �3

Page 4: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report no 1 nov 6 (revised)

ความถี่ดังกล่าวมาประมูลรอบใหม่ ทั้งนี้โครงข่ายของผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องส่งมอบให้รัฐหลังจากสิ้นสุดเวลาการอนุญาตใช้คลื่นความถี่

การเติบโตของจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย

จำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดระหว่างปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2556 ในรอบ 10 ปีนี้จำนวนเลขหมาย ได้เพิ่มจากประมาณ 27 ล้านเลขหมาย เป็นประมาณ 92 ล้าน เลขหมาย ซึ่งเป็นการเติบโตถึง 2.4 เท่าตัวใน 10 ปี หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 24 ต่อปี (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต 1) หรือประมาณร้อยละ 13 ต่อปี (ค่าเฉลี่ยแบบดอกเบี้ยทบต้น)

จำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2547-2556

เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตของจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายปีระหว่างปี พ.ศ. 2547 ถึง 2556 จะพบว่าในปี พ.ศ. 2549 และ 2550 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก (ประมาณร้อยละ 32) แต่ลดลงในช่วงปี พ.ศ. 2551 - 2552 จากนั้นทรงตัวในช่วง 4 ปีหลังคือ พ.ศ. 2552 - 2556 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ยุคของการสื่อสารด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G โดยมีอัตราการเติบโตของเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงทรงตัวนี้ประมาณร้อยละ 6.7 - 9.8

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 1 NOV. 6 �4

Page 5: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report no 1 nov 6 (revised)

อัตราการเติบโตของจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่

เมื่อจำแนกประเภทของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นระบบ 2G และ 3G ก่อนหน้าที่จะมีการให้บริการ 3G อย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2556 พบว่าสัดส่วนของการใช้บริการ 3G ยังอยู่ในระดับตํ่า คือ ประมาณร้อยละ 3.6 ในปี พ.ศ. 2554 และเพิ่มมาเป็นร้อยละ 7.2 ในปี พ.ศ. 2555 (ตารางที่ 1-3) ต่อมาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 ประเทศไทยมีสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มเป็นร้อยละ 8.1 ในขณะที่สัดส่วนเดียวกันของโลกอยู่ที่ร้อยละ 28.5

จำนวนเลขหมายที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 2G และ 3G ในประเทศไทย

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 1 NOV. 6 �5

Page 6: พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ Telecom report no 1 nov 6 (revised)

เกี่ยวกับผู้เขียน

พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

Ph.D. in Electrical Engineering (Telecom) D.Phil. in Cybersecurity Strategy and Management MS. in Telecom Engineering MS. in Mobile Communication BS. in Electrical Engineering Cert. in National Security (Anti-terrorism program) Cert. in National Security (Defense Resource Management) Cert. in National Security (Streamlining Government) Cert. in Spectrum Management

TELECOM REPORT VOL. 2015 NO. 1 NOV. 6 �6