อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง...

111
อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

Upload: muzaxi

Post on 27-Jul-2015

6.342 views

Category:

Documents


7 download

DESCRIPTION

6 ตุลาคมยังไม่เป็นประวัติศาสตร์สาธารณะในความเห็นของนักวิชาการไทยหลายคนเรื่องของเหตุการณ์ 6 ตุลาคมไม่มีอะไรลึกลับ และทุกวันนี้ถึงแม้ว่าเราอาจขาดข้อมูลบางประการ โดยเฉพาะข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐว่า ใครสั่งให้หน่วยอะไรวางแผนและปฏิบัติงานอย่างไร เมื่อเรานำข้อมูลจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ในยุคนั้น หรือบทความในยุคต่อมา และมารวมกับความทรงจำของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เพื่อมาประกอบเป็นภาพรวม เราจะได้ภาพแท้ของเหตุการณ์ที่ค่อนข้างจะชัดเจน

TRANSCRIPT

Page 1: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปล่ียนแปลง

Page 2: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

สารบัญ

บทที่ 1 : 6 ตุลาคมจากมุมมองนักวิชาการและนักเขียนสํารวจหนัง สือและบทความตางๆเกี่ยวกับ 6 ตุลาคม

1

บทที่ 2 : เหตุการณ 6 ตุลาคมเกิดขึ้นไดอยางไร 23 บทที่ 3 : สรุปขอมูลเกี่ยวกับเหตุการณนองเลือด 6 ตุลาคม 2519 “อาชญากรรมที่รัฐและผูมีอํานาจกระทําตอประชาชนในความขัดแยงทางการเมือง”

79

บทที่ 4 : อนาคต 104

Page 3: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

บทที่ 1 : 6 ตุลาคมจากมุมมองนักวิชาการและนักเขียนสํารวจหนังสือและบทความตางๆเก่ียวกับ 6 ตุลาคม

6 ตุลาคมยังไมเปนประวัติศาสตรสาธารณะ ในความเห็นของนักวิชาการไทยหลายคนเร่ืองของเหตุการณ 6 ตุลาคมไมมีอะไรลึกลับ และทุกวันนี้ถึงแมวาเราอาจขาดขอมูลบางประการ โดยเฉพาะขอมูลจากหนวยงานของรัฐวา ใครส่ังใหหนวยอะไรวางแผนและปฏิบัติงานอยางไร เม่ือเรานําขอมูลจากส่ิงพิมพตางๆ เชน หนังสือพิมพในยุคนั้น หรือบทความในยุคตอมา และมารวมกับความทรงจําของผูท่ีเกี่ยวของกับเหตุการณเพ่ือมาประกอบเปนภาพรวม เราจะไดภาพแทของเหตุการณท่ีคอนขางจะชัดเจน ความมืดมนและความเงียบท่ีครอบคลุมเหตุการณ 6 ตุลาคมมาตลอด และการท่ีคนรุนใหมไมคอยเขาใจเร่ืองเหตุการณ 6 ตุลาคมเลยมาจากสาเหตุสําคัญหลายประการ เชน ไมมีการนําขอมูลตางๆมาประกอบเปนภาพรวมเพ่ือต้ังคําถามวา เหตุการณนองเลือดคร้ังนี้เกิดจากอะไร และใครควรจะรับผิดชอบกับส่ิงเลวรายท่ีเกิดข้ึน สวนใหญมีแตการพิจารณาประเด็นตางๆโดยแยกสวนเทานั้น นักจิตวิทยาพูดถึงปรากฏการณแบบน้ีโดยอธิบายวา “ความเขาใจ” ในประเด็นอะไรก็ตามโดยสมองของมนุษยตองมาจากการประกอบช้ินสวนตางๆของขอมูลมาเปนองครวม ธงชัย วินิจจะกูล เสนอเหตุผลอีก 4 ประการท่ีทําใหเราไมมีประวัติศาสตรสาธารณะของเหตุการณ 6 ตุลาคม คือ 1. ฝายท่ีไดรับ “ชัยชนะ” เม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ซ่ึงเปนฝายท่ีมีสวนโดยตรง หรือทางออมในการปราบ ปรามลวนแตเปนผูท่ีมีอํานาจ และอิทธิพลในสังคมไทย ดังนั้นเขาจึงไมไดประโยชนอะไรเลยจากการเปดเผยความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ 6 ตุลาคม ชาญวิทย เกษตรศิริ สรุปวา ประวัติศาสตรเหตุการณ 6 ตุลาคมเปนประวัติศาสตรของผูชนะซ่ึงลักษณะนี้ตางกับประวัติศาสตรท่ีมีความเจ็บปวดและบาดแผลในประเทศอ่ืน บางประเทศที่ไดรับการชําระไปแลว เนื่องจากการชําระดังกลาวสงเสริมอุดมการณและอํานาจของรัฐปจจุบันในประเทศนั้นๆ 2. เหตุการณ 6 ตุลาคมเปนเร่ืองของความขัดแยงทางอุดมการณยากท่ีจะมีผูรายฝายเดียวท่ีคนสวนใหญในสังคมยอมรับวา เปนผูราย ไมเหมือนเหตุการณ 14 ตุลาคมท่ีสังคมโดยรวมยอมสรุปวา เปนเพราะความผิดของเผด็จการทหาร ดังนั้นถึงแมวาเหตุการณ 6 ตุลาคมเปนการคล่ีคลายเหตุการณทางประวัติศาสตรจากเหตุการณ 14 ตุลาคม แตมักมีการพยายามแยกเหตุการณ 6 ตุลาคมออกจากเหตุการณ 14 ตุลาคม โดยท่ีเหตุการณ 6 ตุลาคมถูก “ลืม” ไป ปญหานี้เห็นไดชัดในเร่ืองการจัดงานรําลึกเหตุการณ 14 ตุลาคมและ 6 ตุลา คมเกือบทุกป

1

Page 4: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

3. สําหรับผูท่ีถูกกระทําและมีความเจ็บปวด ประวัติศาสตรเหตุการณ 6 ตุลาคมเปนเร่ือง “ลืมไมได” แตในขณะเดียวกัน “จําไมลง” เพราะการพยายามจดจําทําใหเจ็บปวดอีก นอกจากนี้หลายคนท่ีอยูในเหตุการณมองวา ตนเองควรรวมรับผิดชอบกับความสูญเสียท่ีเกิดข้ึนดวย 4. หลังจากท่ีเวลาผานไปสังคมไทยเปล่ียนจากการมองวา นักศึกษาเปนผูกระทําผิดมาเปนการมองนักศึก ษาวา เปนเหยื่อท่ีนาเห็นใจ แตกระแสหลักในสังคมกําหนดเงื่อนไขในการ “ใหอภัย” นักศึกษาวา จะตองมีการเลิกตั้งขอสงสัยตางๆพรอมกันไป หรือท่ีธงชัยเรียกวา “การหุบปากเหยื่อเพ่ือสมานฉันทสังคม” นอกจากนี้ เกษียร เตชะพีระ เสนอวา เนื่องจากปจจุบันนี้ปญญาชนหรืออดีตนักศึกษาท่ีผานเหตุการณ 6 ตุลาคมมีทัศนะทางการเมืองแตกตางกัน แมแตประวัติศาสตรของเหตุการณจากมุมมองผูถูกกระทําเองก็ไมเปนเอกภาพยากท่ีจะมีประวัติศาสตรเดียวของ “คนเดือนตุลา”

ความสําคัญของขอเขียนจากตางประเทศในยุคมืดของเผด็จการ ในการสํารวจขอเขียนตางๆของนักวิชาการและนักเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ 6 ตุลาคมเราตองใหความสําคัญกับบทความและหนังสือภาษาอังกฤษ หรือบทความภาษาไทยท่ีเขียนจากตางประเทศพอสมควร โดยเฉพาะในยุคแรกๆ เพราะในบรรยากาศของเผด็จการภายในเมืองไทยหลังการทํารัฐประหารเย็นวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ไมคอยจะมีใครสามารถเขียนอะไรไดอยางเปดเผย “คณะปฏิรูปการปกครองแผนดิน” ท่ียึดอํานาจเย็นวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 สงเจาหนาท่ีของรัฐไปคน และเผาหนังสือตามหองสมุดตางๆและรานขายหนังสือท่ัวเมือง ปรากฏการณแบบนี้มีลักษณะคลายๆการกระทําของพวกนาซีในเยอรมันกอนสงครามโลก หรือพวกยุวชนแดงในจีนสมัยการปฏิวัติวัฒนธรรม ส. ศิวรักษ คาดวามีการเผาและทําลายหนังสือกวา 100,000 เลมท่ีรานและโกดังเก็บหนังสือของอาจารย สวนในธุรกิจหนังสือพิมพมีการปดหนังสือพิมพหลายฉบับโดยวิธีการตางๆ เชน การเขาไปทําลายสํานักงานของหนังสือพิมพจนตองปดโดยปริยาย หรือการส่ังใหหนังสือพิมพทุกฉบับตองปด และขอใบอนุญาตเปดกิจการใหม รัฐบาล ธานินทร กรัยวิเชียร ท่ีถูกแตงต้ังจาก “คณะปฏิรูปการปกครองแผนดิน” ออกรายช่ือหนังสือตองหามกวา 200 รายการซ่ึงถือวาเปนเอกสารส่ิงพิมพท่ีหามมิใหผูใดมีไวในครอบครอง โดยท่ี สมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยเปนผูลงนามภายใตคําประกาศดังกลาว ในรายช่ือหนังสือตองหามมีงานเขียนของ เสกสรรค ประเสริฐกุล, ธีรยุทธ บุญมี, วิทยากร เชียงกูล, ณรงค เพชรประเสริฐ, รังสรรค ธนะพรพันธุ, สุชาติ สวัสดิ์ศรี, จิตร ภูมิศักดิ์, ปรีดี พนมยงค, สุพจน ดานตระกูล, คารล มารกซ, สุภา ศิริมานนท, ทวี หม่ืนนิกร, วี ไอ เลนิน, เหมาเจอตุง และกองบรรณาธิการสังคมศาสตรปริทัศน ฯลฯ นอกจากนี้ในมหาวิทยา ลัยตางๆมีการส่ังการหามสอน “ลัทธิการเมืองตางๆ” ซ่ึงแสดงใหเห็นชัดวา ในสังคมไทยยุคนั้นมีการทําลายเสรีภาพในการคิด เขียน และอาน ท้ังส้ิน

2

Page 5: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

บทความในยุคแรกๆ บทความภาษาไทยบทแรกเก่ียวกับเหตุการณ 6 ตุลาคมท่ีนักวิชาการไทยเขียนตีพิมพในลักษณะเอกสารสําเนาจากอังกฤษเพื่อใหคนไทยไดรับรูขอมูล นั่นคือบทความของ ปวย อ๊ึงภากรณ ซ่ึงเดิมดํารงตําแหนงเปนอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร ในยุคนั้น บทความนี้ช่ือ “ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519” และเร่ิมแจกในตางประเทศต้ังแตวันท่ี 28 ตุลาคม 2519 เปนตนไป ภายหลังมีการนํามาตีพิมพในประเทศไทยโดยสํานักพิมพตางๆ เชน สํานักพิมพมูลนิธิโกมลคีมทองในป พ.ศ. 2523 บทความของปวยกลาวถึงการใชอาวุธสงครามอยางไมเลือกหนาของตํารวจไทยใน ม.ธรรมศาสตร โดยท่ีมีกองกําลังเสริมจากลูกเสือชาวบาน กลุมกระทิงแดง และกลุมนวพล มีการบรรยายถึงความโหดรายทารุณของฝายท่ีตอตานนักศึกษาท่ีทองสนามหลวงและภายในมหาวิทยาลัยเอง นอกจากนี้ปวยยืนยันวา ใน ม.ธรรมศาสตร ไมมีอาวุธสงครามหรืออุโมงคลับดังท่ีมีการประโคมขาว ปวยอธิบายวา เจตนาที่จะทําลายลางขบวนการนักศึกษาและขบวนการของประชาชนท่ีรักเสรีภาพมีมาต้ังแตวันท่ีมีการลมเผด็จการทหารเม่ือวันท่ี 14 ตุลาคม 2516 3 ปกอนหนานั้น โดยแกนหลักคือ ผูท่ีสูญเสียอํานาจทางการเมืองไปในป พ.ศ. 2516 รวมท้ังผูท่ีเกรงวา “ประชาธิปไตยมากเกินไป” จะทําใหเขาสูญเสียอํานาจทางเศรษฐกิจ ในกลุมนี้มีท้ังนายทุน เจาของท่ีดินรายใหญ ทหาร และตํารวจบางกลุม รวมถึงนักการเมือง (โดยเฉพาะพรรคชาติไทย) และพระภิกษุ เชน กิตติวุฒโฑ ดวย พวกนี้ใชทุกวิธีการในการโจมตีกลุมพลังตางๆของประชาชนท่ีเปนปรปกษตอผลประโยชนของตนเอง เชน มีการใชความรุนแรง และการสังหารผูนําชาวนา ผูนํานักศึกษา และผูนําทางการเมือง และการปลุกระดมดวยขาวเท็จผานส่ือมวลชน เชน นสพ.ดาวสยาม กับสถานีวิทยุยานเกราะ ปวยช้ีแจงวา ละครท่ีนักศึกษาเลนใน ม.ธรรมศาสตร เม่ือวันท่ี 4 ตุลาคม 2519 มีสาระสําคัญ 2 ประการคือ การตอตานการกลับมาของอดีตเผด็จการจอมพล ถนอม กิตติขจร และการประทวงการฆาและแขวนคอพนักงานการไฟฟาสวนภูมิภาคท่ี จ.นครปฐม ปวยยืนยันวา ไมมีใครท่ีดูละครในวันนั้นท่ีเห็นวา มีการแตงหนา อภินันท บัวหภักดี ใหเหมือนเจาฟาชายแตอยางใด ดังนั้นการประโคมขาววา นักศึกษาหม่ินพระบรมเดชานุภาพของ นสพ.ดาวสยาม และสถานีวิทยุยานเกราะลวนแตเปนการประโคมขาวเท็จเพื่อปลุกระดมม็อบใหมาทําลายนักศึกษา ปวยเขียนวา ในการเสนอขาวเกี่ยวกับการเลนละครของนักศึกษา นสพ.ดาวสยาม อาจแตงภาพใหเหมือนเจาฟาชายมากข้ึน และในงานสัมมนาสําหรับนักศึกษาไทยท่ี New South Wales (ออสเตรเลีย) ในป พ.ศ. 2520 ปวยใหขอสังเกตเพิ่มเติมวา นอกจาก นสพ.ดาวสยาม แลว นสพ.บางกอกโพสต ก็มีสวนในการแตงภาพการเลนละคร และมีการนําเสนอขาวในทํานองท่ีเสนอวา นักศึกษาดูหม่ินเจาฟาชาย แตอยางไรก็ตาม “คณะกรรมการรับขอมูลและสืบพยานเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519” ในป พ.ศ. 2543 มีขอมูลหลักฐานท่ีพิสูจนวา ไมมีหนังสือพิมพฉบับไหนเลยท่ีแตงภาพการเลนละคร มีแตการประโคมขาวเท็จโดย นสพ.ดาวสยาม

3

Page 6: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

และสถานีวิทยุยานเกราะเทานั้น สวน นสพ.บางกอกโพสต เพียงแตลงภาพจริง และเสนอขาวจริงเกี่ยวกับการเลนละคร ปวยใหขอมูลเกี่ยวกับกลุมอันธพาลทางการเมืองท่ีถูกกอตั้งข้ึนมาโดยชนช้ันนําของรัฐไทย เชน กลุมกระทิงแดง และกลุมนวพลที่ตั้งโดยกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายใน (กอ.รมน.) หรือลูกเสือชาวบานซ่ึงเปนเคร่ืองมือทางการเมืองของนายทุนและขุนศึก โดยมีการอางวาจัดต้ังข้ึนเพื่อปกปอง “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย” ทายสุดปวยต้ังขอสังเกตวา ผูท่ีตองการกอรัฐประหารในยุคนั้นมีอยางนอย 2 ฝาย และฝายหน่ึงยึดอํานาจเย็นวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เพื่อตัดหนาอีกฝายหน่ึงซ่ึงในเร่ืองนี้ ชัยอนันต สมุทวณิช กับ เดวิด มอรเรล ในหนังสือวิชาการเกี่ยวกับการเมืองไทยท่ีตีพิมพเปนภาษาอังกฤษอธิบายวา พรรคชาติไทย (เชน พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร และ พล.ต. ชาติชาย ชุณหะวัณ) ซีกขวาของพรรคประชาธิปตย (เชน ธรรมนูญ เทียนเงิน และสมัคร สุนทรเวช) และนายทหารท่ีใกลชิดกับอดีตเผด็จการจอมพล ประภาส จารุเสถียร - จอมพล ถนอม วางแผนกอเร่ืองเพื่อเปนขออางในการทํารัฐประหารมาต้ังแตกลางป พ.ศ. 2519 และการนําจอมพล ประภาส และจอมพล ถนอม กลับเขามาในเมืองไทยเปนสวนหนึ่งของแผนน้ี แตกลุมท่ียึดอํานาจจริงๆเย็นวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ภายใตช่ือของ “คณะปฏิรูปการปกครองแผนดิน” ไมใชกลุมเดียวกัน เปนกลุมของนายทหารที่ไมเห็นดวยกับเครือขายจอมพล ถนอม - ประภาส นอกจากนี้ ฤดี เริงชัย เสนอวา เหตุการณ 6 ตุลาคมอาจสยดสยองกวานี้ถาหากไมเกิดการรัฐประหารซอนดังกลาว บทความสําคัญทางวิชาการอีกบทหนึ่งท่ีออกมาหลังเหตุการณ 6 ตุลาคมไมนานคือ บทความภาษาอังกฤษของ เบเนดิก แอนเดอรสัน ซ่ึงปจจุบันแปลเปนภาษาไทยแลว หนังสือภาษาไทยท่ีตีพิมพบทความนี้ของแอนเดอรสันเปนหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตรเหตุการณ 6 ตุลาคมท่ีพัฒนาความเขาใจของเราเกี่ยวกับเหตุการณไดมากทีเดียว เพราะมีการรวบรวมบทความตางๆหลายบทพรอมกับการโยงเร่ืองระหวางวันท่ี 14 ตุลาคม 2516 - 6 ตุลาคม 2519 โดยลําดับเหตุการณอยางชัดเจน แอนเดอรสันมองวากลุมฝายขวาที่กอความรุนแรงเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 มีฐานสนับสนุนในหมูชนช้ันกลาง ม่ังมี และในหมูชนช้ันนํา เชน ลูกเสือชาวบาน เปนเคร่ืองมือของฝายนิยมเจา และผูนําขบวนการนี้สวนใหญเปนผูมีฐานะดี นอกจากน้ีนักการเมืองจากพรรคชาติไทยมีสวนในการปลุกระดมฝายขวาใหตอตานนักศึกษา เชน พล.ต. ชาติชาย มีสวนในการสนับสนุนกลุมกระทิงแดง และ พล.ต. ประมาณ หัวหนาพรรคชาติไทยเปนผูท่ีชูคําขวัญ “ขวาพิฆาตซาย” ในยุคนั้น แอนเดอรสันเปนนักวิชาการคนแรกท่ีเห็นลักษณะคลายคลึงระหวาง “กลุมนอกระบบ” เชน ลูกเสือชาวบาน หรือกลุมอ่ืนๆในยุคนั้นกับขบวนการฟาสซิสตในยุโรป และภายหลังมีนักวิชาการอ่ืนๆขยายความเรื่องนี้ตอไป โดยสรุปแลว ลักษณะคลายคลึงดังกลาวต้ังอยูบนพื้นฐาน 3 ประการคือ 1. องคกรเหลานี้มีฐานสนับสนุนในหมูชนช้ันระดับกลางๆท่ีหวาดกลัวการเปล่ียนแปลงในยุควิกฤต 2. การดึงมวลชนมาเปนสมาชิกมักจะกระทําบนพ้ืนฐานการสรางนิยายรักชาติ

4

Page 7: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

3. องคกรเหลานี้พรอมท่ีจะใชความรุนแรงประเภทผิดกฎหมายซ่ึงทําใหเปนเคร่ืองมือท่ีดีของฝายรัฐ เพราะรัฐไมจําเปนตองรับผิดชอบกับการกระทําขององคกรดังกลาว แอนเดอรสันใหเหตุผล 4 ประการวา ทําไมชนช้ันระดับกลางของไทยเปล่ียนใจจากการสนับสนุนประชาธิป ไตยเม่ือวันท่ี 14 ตุลาคม 2516 มาสนับสนุนเผด็จการ และการใชความรุนแรงในป พ.ศ. 2519 คือ 1. เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในชวงท่ีราคาน้ํามันเพิ่มข้ึนท่ัวโลกต้ังแตป พ.ศ. 2516 ซ่ึงทําใหการลงทุนในเศรษฐ กิจไทยลดลง และเกิดปญหาขาดดุลการชําระเงิน 2. ในประเทศรอบดานรัฐบาลฝายขวาถูกลม และรัฐบาลคอมมิวนิสตข้ึนมามีอํานาจในป พ.ศ. 2518 3. ฝายกรรมาชีพ ชาวนา และนักศึกษาไทยออกมาประทวง และนัดหยุดงานบอย เนื่องจากปญหาเศรษฐกิจและความเหล่ือมลํ้าในสังคมท่ีสะสมมา 4. นักศึกษาท่ีเรียนจบ โดยเฉพาะนักศึกษาอาชีวะตกงานถึง 75 % ในชนบท และ 50 % ในกรุงเทพซ่ึงชวยใหนักศึกษากลุมนี้กลายเปนเคร่ืองมือของฝายขวาในการตอสูกับนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยไดงายข้ึน

การเขาใจฉากกวาง : หนังสือ “จาก 14 ถึง 6 ตุลาคม” หนังสือ “จาก 14 ถึง 6 ตุลาคม” ของชาญวิทยและ ธํารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต เปนหนังสือท่ีสําคัญ เพราะการวิเคราะหสถานการณท้ังภายใน และภายนอกประเทศท่ีกอใหเกิดความหวาดกลัวในหมูชนช้ันกลางและชนช้ันนําของไทยเปนส่ิงท่ีจะชวยใหเราเขาใจสาเหตุท่ีสังคมไทยในยุคนั้นแยกตัวออกเปน 2 ข้ัวท่ีขัดแยงกันจนเกิดเหตุนองเลือดข้ึนได สถานการณนี้ เสนห จามริก เรียกวา “วิกฤตการเปล่ียนแปลง” เสนหอธิบายวา วิกฤตในสังคมไทยมาจากการพัฒนา และเปล่ียนแปลงของเศรษฐกิจไทยควบคูกับการเปล่ียนแปลงในโลกภายนอก และตัววิกฤตคือ อาการของความลมเหลวในการปรับโครงสรางใหมในสังคมไทยเพ่ือใหทันกับสถานการณใหม ในทํานองเดียวกันชาญวิทยเสนอวา ถามองจากทฤษฎีประวัติศาสตร “ระยะเวลาชวงยาว” การกออาชญา กรรมของรัฐไทยในเหตุการณ 6 ตุลาคมเปนอาการสวนหนึ่งของการที่สังคมไทยปลดปลอยตนเองจากระบอบเกาเขาสูยุคใหมท่ีเต็มไปดวยความขัดแยงระหวางความคิดทันสมัย และความคิดอนุรักษนิยมซ่ึงความขัดแยงดังกลาวมีผลคอนขางรุนแรงในประเทศโลกท่ี 3 เนื่องจากความเปราะบางของประชาธิปไตย ในเร่ืองของ “อาชญากรรมของรัฐ” ธเนศ อาภรณสุวรรณ ในหนังสือ “เราไมลืม 6 ตุลาคม” อธิบายวา เหตุ การณ 6 ตุลาคม “คือวันท่ีเกิดการลอมปราบนักศึกษานับพันท่ีกําลังชุมนุมประทวงการกลับเขาประเทศของจอมพล ถนอม อยางสงบอยูในสนามฟุตบอล ม.ธรรมศาสตร ดวยวิธีรุนแรงการใชความรุนแรงกระทําโดยกลุมประชาชน “ฝายขวา” และหนวยปฏิบัติการพิเศษไปจนถึงกําลังตํารวจสวนหน่ึง แลวตามดวยการประ กาศยึดอํานาจโดยคณะทหารในนามของคณะปฏิรูปการปกครอง” และในเลมเดียวกันธงชัยนิยามเหตุการณนี้วา เปน “อาชญากรรมท่ีรัฐและผูมีอํานาจกระทําตอประชาชนในความขัดแยงทางการเมือง”

5

Page 8: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

หนังสือของนักวิชาการตางประเทศคนอื่นๆ ในชวงแรกๆหลังเหตุการณ 6 ตุลาคมนอกจากบทความของปวยและแอนเดอรสันแลว มีหนังสือวิชาการภาษาอังกฤษอีก 3 เลมท่ีกลาวถึงรายละเอียดของเหตุการณนี้พอสมควรซ่ึงเขียนโดยนักวิชาการตางประเทศและนักวิชาการไทย แตเราไมควรลืมบทความในวารสารและหนังสือพิมพตางประเทศในป พ.ศ. 2519 - 2520 ดวย ถาเราเขาใจสถานการณท้ังภายในและภายนอกสังคมไทยและวิกฤตท่ีเกิดข้ึน เราจะเขาใจวา ชนช้ันปกครองไทยท้ังชนช้ันมีความตองการท่ีจะกําจัดขบวนการนักศึกษาและฝายซาย เราจึงตองสรุปวา เหตุการณ 6 ตุลาคมเปนการพยายามทําลายขบวนการสังคมนิยมในประเทศไทยโดยชนช้ันปกครองไทยท้ังชนช้ัน ไมใชการกระทําขององคกร สถาบัน หรือกลุมใดกลุมหนึ่งโดยเฉพาะ อยางไรก็ตามสวนตางๆของชนช้ันปกครองไทยมีมุมมองท่ีอาจแตกตางกันไปเกี่ยวกับวิธีการท่ีควรจะใชในการสกัดขบวนการฝายซายไทย ฉะนั้นเราไมควรมองวามีการวาง “แผนใหญ” เพียงแผนเดียวโดยชนช้ันปกครองไทย เราควรเขาใจวา สวนตางๆของชนช้ันปกครองไทยมีการสรางกลุมพลังฝายขวามาคานนักศึกษา กรรมกร ชาวนา และฝายซาย และมีการฉวยโอกาสตามสถานการณ นักวิชาการและนักขาวตางประเทศ โดยเฉพาะในยุคแรกๆหลังวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 มีการถกเถียงกันถึงบทบาทของพระราชวังในเหตุการณนี้ นักวิชาการสวนใหญอธิบายวา กิจกรรมของพระราชวังมีสวนเสริมใหเกิดวิกฤตการณเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 โดยวิธีการตางๆ เชน การสนับสนุนลูกเสือชาวบาน และการไปเยี่ยมพระถนอมท่ีวัดบวรนิเวศในปลายเดือนกันยายนอยางเปดเผย เปนตน หลังเหตุการณ 6 ตุลาคมไมนานนักวิชาการสหรัฐ 4 คนรวมกันเขียนหนังสือช่ือ “Thailand : Domino by de fault” เพ่ือเปนการแนะแนวนโยบายความสัมพันธระหวางประเทศท่ีสหรัฐควรมีกับประเทศไทย หนังสือเลมนี้เขียนในยุคของประธานาธิบดี จิมมี คารเตอร ท่ีเร่ิมใชนโยบาย “สิทธิมนุษยชน” ท่ัวโลกเพื่อตอบสนองผลประโยชนของสหรัฐ สวนหนึ่งของหนังสือเลมนี้ซ่ึงแปลเปนภาษาไทยเขียนไววา “2 วันหลังพิธีอุปสมบทของพระถนอม พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จไปเยี่ยมท่ีวัด สมัคร นักการเมืองฝายขวาประกาศอยางเปดเผยในการประชุมคณะรัฐมนตรี ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช คร้ังสุดทายวา เปนพระราชประสงคของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวท่ีจะใหพระถนอมกลับมาอยูในประเทศไทย” คนสวนใหญในแวดวงชนช้ันปกครองในยุคนั้นเห็นวา จําเปนท่ีจะตองใชความรุนแรง และการปฏิบัตินอกกรอบของระบอบประชาธิปไตยในการสกัดกั้นขบวนการ “สังคมนิยม” ซ่ึงในสายตาของเขารวมถึงคนท่ีมีแนวคิดเสรีประชาธิปไตยดวย ดังนั้นเกือบทุกสวนของชนช้ันนําเห็นชอบกับการต้ังลูกเสือชาวบาน กลุมกระทิงแดง กลุมนวพล และกลุมนอกระบบอ่ืนๆถึงแมวาบางสวนอาจไมมีสวนเกี่ยวของโดยตรง และบางสวนอาจคาดไมถึงวาจะเกิดอะไรขึ้นในท่ีสุด

6

Page 9: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

เม่ือระยะเวลาผานไป “กลุมนอกระบบ” บางกลุมกลายเปนเคร่ืองมือเฉพาะของซีกหนึ่งของชนช้ันนําเทานั้น และส่ิงนี้กอใหเกิดความแตกแยกแยงชิงผลประโยชนกันในหมูชนช้ันปกครองเอง หนังสืออีกเลมหนึ่งท่ีมีความสําคัญอยางยิ่งในการเขาใจเหตุการณ 6 ตุลาคมคือ หนังสือของ แคทเทอรีน โบวี่ เกี่ยวกับลูกเสือชาวบาน เพราะหนังสือเลมนี้เปนการรวบรวมหลักฐานมหาศาลเก่ียวกับวิธีการกอตั้ง ลักษณะ และชะตากรรมของลูกเสือชาวบานจากงานวิจัยของโบวี่เองในประเทศไทย นับวาไมมีผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับลูกเสือชาวบานท่ีมีรายละเอียดมากเทาเลมนี้ โบวี่อธิบายวา ลูกเสือชาวบานถูกจัดต้ังข้ึนโดยกองบัญชาการตํารวจตระเวนชายแดนเพื่อตอสูทางความคิดกับพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย (พ.ค.ท.) ในชนบท และในป พ.ศ. 2519 คาดวา 20 % ของคนไทยในวัยทํางานเปนลูกเสือชาวบาน ความสัมพันธระหวางตํารวจตระเวนชายแดนซ่ึงมีบทบาทสําคัญในการใชอาวุธสงครามท่ี ม.ธรรมศาสตร กับลูกเสือชาวบาน และการสนับสนุนขบวนการนี้จากพระราชวังทําใหเราเขาใจเหตุการณ 6 ตุลาคมไดดีข้ึน ในป พ.ศ. 2519 ลักษณะของลูกเสือชาวบานเปล่ียนไปจากขบวนการของชาวชนบท เนื่องจากมีการนําชาว เมืองมาเปนลูกเสือมากข้ึน และในไมชาขบวนการนี้กลายเปนม็อบคนช้ันกลางระดับลางซ่ึงเปนเคร่ืองมือ ของนักการเมืองฝายขวาบางคน ปรากฏการณดังกลาวเปนสาเหตุสําคัญท่ีรัฐไทยภายหลังการยึดอํานาจเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เร่ิมพยายามสลายขบวนการ และปลอยใหตายไปเอง โบวี่มองวา ผูท่ีวางแผนกอรัฐประหารเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 แตถูก “คณะปฏิรูปการปกครองแผนดิน” ตัดหนาชิงทํารัฐประหารกอนคือ ฝายท่ีมีความสัมพันธใกลชิดท่ีสุดกับกลุมนอกระบบท้ังหลาย ดังนั้นความลมเหลวของรัฐประหารเม่ือวันท่ี 26 มีนาคม 2520 ซ่ึงเปนความพยายามที่จะกูสถานการณของฝายนี้ยิ่งชวยใหรัฐบาลไทยสามารถลดบทบาทของลูกเสือชาวบาน กลุมกระทิงแดง และสถานีวิทยุยานเกราะลงไปไดอีกมาก โดยสรุปแลวหนังสือของโบวี่วาดภาพของลูกเสือชาวบานท่ีเหมือนปศาจรายท่ีถูกสรางข้ึน และสนับสนุนโดยชนช้ันปกครองไทยหลายๆสวน แตหลังจากเหตุการณ 6 ตุลาคมมีการพยายามฝงปศาจน้ี เพราะถาปลอยไวจะควบคุมไมได หรือจะกลายเปนเคร่ืองมือของนักการเมืองกลุมใดกลุมหนึ่งเทานั้น

“คดี 6 ตุลาคม” รัฐไทยเปลี่ยนจากโจทกเปนจําเลย หลังเหตุการณ 6 ตุลาคมผูนํานักศึกษาและประชาชนบางคนถูกต้ังขอกลาวหาในคดีท่ีเรียกกันวา “คดี 6 ตุลาคม” สุธรรม แสงประทุม กับพวกรวมทั้งหมด 18 คนถูกต้ังขอกลาวหาวา กอกบฏ กอจลาจล ตอสู และพยายามฆาเจาหนาท่ีรัฐ และรวมกันกระทําการอันเปนคอมมิวนิสต ฯลฯ คดีนี้เร่ิมอยางจริงจังในศาลทหารเม่ือมีการฟองเม่ือวันท่ี 25 สิงหาคม 2520 ในตอนแรกลักษณะของการพิจารณาคดีไมไดเปนไปตามมาตรฐานความยุติธรรมสากลแตอยางใด เพราะรัฐบาลกําหนดวา ผูตองหาไมมีสิทธิใชทนายความพลเรือนในการปกปองตนเอง แตหลังจากการรณรงคเรียกรองท้ังภายในและภายนอกประเทศในเร่ืองนี้ และหลังจาก

7

Page 10: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ท่ีรัฐบาล “หอย” ของธานินทรถูกลมโดยการรัฐประหารท่ีเกิดข้ึนภายหลังเหตุการณ 6 ตุลาคมในอีก 1 ปถัดมา ลักษณะของคดีในศาลก็เปล่ียนไป และมีการยินยอมใหแตงต้ังทนายความพลเรือนสําหรับฝายจําเลย หนังสือ “คดีประวัติศาสตร คดี 6 ตุลาคม” ซ่ึงตอนแรกพิมพเปน 2 เลม โดยมี ธวัชชัย สุจริตวรกุล เปนบรร ณาธิการ แตภายหลังรวบรวมเปนเลมเดียว โดยมี สมยศ เช้ือไทย เปนบรรณาธิการ เปนหนังสือขอมูลท่ีมีความสําคัญอยางยิ่ง เพราะหนังสือเลมนี้บันทึกคําใหการของพยานโจทกซ่ึงเปนเจาหนาท่ีตํารวจ ดังนั้นเราสามารถถือไดวา เปนมุมมองหรือ “ขออาง” ของฝายตํารวจบางคนเก่ียวกับการลงมือปราบปรามนักศึกษาท่ี ม.ธรรมศาสตร และในการรวบรวมขอมูลสําหรับรายงานฉบับนี้ โดยเฉพาะในสวนท่ีพิจารณาคําใหการของพยานตอ “คณะกรรมการรับขอมูลและสืบพยานเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519” เราสามารถเปรียบเทียบมุมมองของเจาหนาท่ีตํารวจกับมุมองของผูถูกกระทําไดอยางดี การท่ีใชคําวา “ขออาง” ในการกลาวถึงมุมมองนายตํารวจ เพราะหลังจากท่ีเจาหนาท่ีตํารวจบางนายถูก ทนายฝายจําเลยซักถามปรากฏวา มีปญหาหลายประเด็นเกี่ยวกับคุณภาพของคําใหการของพยานโจทก กรณีท่ีชัดเจนมากคือ กรณีของ ร.ต.ท. วัชรินทร เนียมวณิชกุล ท่ีใหการในศาลวาตนเองไมไดยิงปนในเหตุการณ 6 ตุลาคม แตปรากฏวา ฝายทนายจําเลยมีรูปภาพ ร.ต.ท. วัชรินทร คาบบุหร่ียิงปนเขาไปใน ม.ธรรมศาสตร ในวันนั้น ธงชัย 1 ใน 18 ผูตองหาเลาวา แทนท่ีคดีเหตุการณ 6 ตุลาคมจะเปนการพิสูจนความผิดของฝายจําเลยโดยรัฐไทย ตัวรัฐไทยเองกลายเปนจําเลยท่ีแทจริง นอกจากรัฐไทยไมสามารถพิสูจนความผิดของผูตองหาแลว คดีนี้กลายเปนเวทีในการนําขอมูลตางๆเกี่ยวกับเหตุการณ 6 ตุลาคมออกมาประกาศตอสาธารณะ นอกจากนี้ตั้งแตวันแรกของการข้ึนศาลคดีนี้กลายเปนเวทีของประชาชนในการประทวงภายนอกศาลเร่ืองสิทธิเสรีภาพดวย ดังนั้นรัฐบาลจึงตองรีบประกาศนิรโทษกรรมผูตองหาท้ังหมดเม่ือวันท่ี 15 กันยายน 2521 กอนท่ีขอมูลอ่ืนๆจะออกมาสูสาธารณะ และอีกสาเหตุหนึ่งของการออกกฎหมายนิรโทษกรรมในคราวน้ันคงจะเปนความตองการของฝายรัฐท่ีจะปกปองเจาหนาท่ีของรัฐท่ีมีบทบาทในการใชความรุนแรงจากการฟองรองในอนาคตดวย ในหนังสือ “คดีประวัติศาสตร คดี 6 ตุลาคม ใครคือฆาตกร ?” นอกจากจะมีการตีพิมพคําใหการในศาลอีกคร้ังหนึ่งภายในเลมเดียวแลวยังมีการพูดถึงกรณีบทบาทของ พล.ต. จําลอง ศรีเมือง ในฐานะท่ีเคยเปนนายทหารกลุมยังเติรกในเหตุการณ 6 ตุลาคม เพราะในการเลือกต้ังในป พ.ศ. 2531 จงกล ศรีกาญจนา ผูลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.พรรคพลังธรรม อวดวา ตนอยูเคียงขาง พล.ต. จําลอง และพวก “รักชาติ” เม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ซ่ึงคําพูดนี้กลับกลายเปนการสรางภาพลักษณในแงลบกับ พล.ต. จําลอง เหตุการณนี้พิสูจนใหเห็นวา การมองบทบาทของกลุมฝายขวาเมื่อวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เปล่ียนจากบทบาทของ “วีรชนผูรักชาติ” ไปเปนบทบาทของ “ผูอับยศมือเปอนเลือด” ภายในชวงเวลา 12 ป และในขณะเดียวกันสังคมไทยเร่ิมหันมามองนักศึกษาดวยความเห็นใจ ถึงแมวา ความเห็นใจดังกลาวมาพรอมเง่ือนไขการ “หุบปากเหยื่อ” ท่ีกลาวถึงไปแลว สวนการสรุปวา พล.ต. จําลอง มือเปอนเลือดหรือไมเปนเร่ืองท่ีถกเถียงกันในหนังสือ “คดี 6

8

Page 11: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ตุลาคม” เลมนี้ โดยท่ี ชัยอนันต สมุทวณิช ออกมาปกปอง พล.ต. จําลอง และ พ.อ. ประจักษ สวางจิตร คัด คาน หนังสืออีกเลมหนึ่งท่ีเกี่ยวกับคดีเหตุการณ 6 ตุลาคมในศาลคือ หนังสือ “เราคือผูบริสุทธ์ิ” ซ่ึงตีพิมพในเดือนสิงหาคม 2521 1 เดือนกอนท่ีจําเลยท้ังหมดจะไดรับการนิรโทษกรรม หนังสือเลมนี้แบงเปน 3 สวน สวนแรกเปนการรวบรวม “จดหมายจาก ชวลิต วินิจจะกูล” ซ่ึงจริงๆแลวเขียนโดยธงชัย โดยเปนการรวบรวมประสบการณท้ังหมดของจําเลยหลายคนท่ีกําลังติดคุกอยู จดหมายเหลานี้เปนความพยายามท่ีจะส่ือใหคนภายนอกทั้งในเมือง และในปาทราบวาเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เกิดอะไรข้ึน และสภาพความเปนอยูของจําเลยเปนอยางไร สวนท่ี 2 ของหนังสือเลมนี้เปนการรวบรวมจดหมายจริงๆจากจําเลยแตละคน โดยใชช่ือจริงเพ่ือส่ือความรูสึกและความเห็นใหโลกภายนอกทราบ เชน จดหมายของ โอริสสา ไอราวัณวัฒน ซ่ึงเลาถึงความยากลําบากของเขา เนื่องจากการที่เจาหนาท่ีรัฐไมคอยสนใจใน การรักษาบาดแผลของเขาท่ีไดรับจากการถูกยิงเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 หรือจดหมายของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ซ่ึงเปนจดหมายท่ีพยายามปลุกใจนักศึกษาในโลกภายนอกโดยเขียนไววา “ถานักเรียนนักศึกษาเอาแตกมหนาอานตํารา แสงสวางแหงความเปนธรรมก็จะไมปรากฏขึ้น” สวนสุดทายของหนังสือ “เราคือผูบริสุทธ์ิ” เปนบทสัมภาษณจําเลยในคดี 6 ตุลาคมเพื่อเปนโอกาสในการแสดงความเห็นตอคดีนี้ และตอเหตุการณท้ังหมดท่ีเกี่ยวกับ 6 ตุลาคม และในบทสัมภาษณของสุธรรม เขาแสดงความเห็นวา “คดี 6 ตุลาคมจะส้ินสุดลงตอเม่ือนําเอาฆาตกรตัวจริงมาลงโทษ” หลังจากท่ีสุธรรมไดรับการปลอยตัวจากคุก มีการเขียนประสบการณสวนตัวของเขาเกี่ยวกับเหตุการณ 6 ตุลาคมในหนังสือ “ผมผานเหตุการณ 6 ตุลาคมมาไดอยางไร” โดยเลาถึงความพยายามของผูนําขบวนการนักศึกษาท่ีจะเขาพบนายกรัฐมนตรี และผูนําทางการเมืองอ่ืนๆเพ่ือช้ีแจง และแกขาวเท็จเกี่ยวกับการเลนละครของนักศึกษาหลังวันท่ี 5 ตุลาคม 2519 แตความพยายามนี้ลมเหลว เพราะเจาหนาท่ีตางๆท่ีเกี่ยวของไมสนใจฟงคําอธิบายของนักศึกษาแตอยางใด ในคํานําของหนังสือเลมนี้ สุวัฒน วรดิลก อธิบายวาในการ “นิรโทษกรรม” ผูบริสุทธ์ิท่ีเคยติดคุก ผูกุมอํานาจบานเมืองพยายามเสนอใหทุกคนมองวา เหตุการณ 6 ตุลาคม “แลวก็แลวกันไป ลืมมันเสียเถอะ” แตสําหรับผูมีอํานาจราชศักดิ์ และผูรวมกออาชญากรรมในวันนั้นการ “ลืม” เหตุการณนี้เปนเร่ืองงาย เพราะเขาเหลานั้นไมไดเสียน้ําตา หรือเลือดแมแตหยดเดียว นอกจากหนังสือ “คดีประวัติศาสตร คดี 6 ตุลาคม” ท่ีมีการตีพิมพคําใหการของเจาหนาท่ีรัฐบางคนในศาลแลว มีบทความอีกช้ินหนึ่งท่ีแสดงความเห็นของเจาหนาท่ีตํารวจท่ีอยูในสถานการณ แตจุดยืนคอนขางจะตางออกไป ในเดือนตุลาคม 2537 พ.ต.ต. มนัส สัตยารักษ เขียนบทความช่ือ “รําลึก 6 ตุลาคม 2519 วันวังเวง” ในมติชนสุดสัปดาห โดยท่ีมีใจความวา ตํารวจใชความรุนแรงเกินเหตุท้ังในดานการใชอาวุธ และการควบคุมนักศึกษา พ.ต.ต. มนัส เขียนวา “ตํารวจท่ีอยูรอบนอก (มหาวิทยาลัย) ใชอาวุธปนประจําตัวยิงเขาไปในมหาวิทยาลัยโดยไมไดหวังผลอะไรมากไปกวาสรางความพอใจใหแกตัวเอง” นอกจากนี้ พ.ต.ต. มนัส ยืนยันวา การชุมนุมของนักศึกษาใน ม.ธรรมศาสตร เปนไปอยางสงบมาตลอด บทความนี้นอกจากจะเสริม

9

Page 12: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ขอมูลท่ีสนับสนุนความบริสุทธ์ิของนักศึกษาแลวยังแสดงใหเห็นวา ตํารวจบางคนไมเห็นดวยกับวิธีการปราบปรามในวันนั้น

บทบาทของสหรัฐและสงครามเย็น เนื่องจากเหตุการณ 6 ตุลาคมเกิดข้ึนในยุคสงครามเย็น และตนเหตุสวนหน่ึงมาจากมุมมองชนช้ันปกครองไทยเกี่ยวกับสถานการณในประเทศเพ่ือนบานหลังสงครามอินโดจีน มีหลายคนตั้งคําถามวา สหรัฐมีสวนในการกอเหตุมากนอยแคไหน จากมุมมองนักวิชาการที่สํารวจเร่ืองนี้เราคงจะสรุปไดวา ปจจัยหลักท่ีนําไปสูเหตุการณคือ ปจจัยภายในประเทศ ไมใชปจจัยภายนอก เพราะถึงแมวา สหรัฐไมอยากเห็นประเทศไทยตกอยูในคายประเทศ “คอมมิวนิสต” และพรอมท่ีจะใหความชวยเหลือกับรัฐบาลไทยในการปราบคอมมิวนิสตเสมอ แตสหรัฐไมจําเปนตองส่ังการใหมีการปราบปรามขบวนการนักศึกษา เนื่องจากชนช้ันปกครองไทยคงจะมีเหตุผลสําคัญในการลงมือปราบปรามเอง ศรพรหม วาศสุรางค สรุปวา “ไมปรากฏหลักฐานวา องคกรหรือหนวยงานใดของสหรัฐจะเกี่ยวของโดยตรงกับการสังหารโหดเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519” นอกจากนี้ในชวงท่ีมี “คดี 6 ตุลาคม” รัฐบาลสหรัฐกําลังเสนอนโยบาย “สิทธิมนุษยชน” ท่ัวโลกโดยมองวา การปราบปรามแบบสุดๆ หรือรัฐบาลเผด็จการในโลกท่ี 3 ไมคอยชวยปกปองผลประโยชนของสหรัฐเทาไร ดวยเหตุนี้รัฐบาลสหรัฐสงตัวแทนระดับสูงมาท่ีกรุงเทพเพ่ือสังเกตการณคดีในศาลดวยซ่ึง ธงชัยมองวา มีสวนชวยใหกระบวนการในศาลมีความโปรงใสมากข้ึน ปเตอร เบล เสนอความเห็นวา เหตุการณ 6 ตุลาคมเปนการปราบปรามพลังการตอสูทางชนช้ันของชนช้ันลางไทยโดยฝายทุนเพื่อสถาปนาอัตรากําไรในเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจสหรัฐซ่ึงถาเราดูตัวเลขเกี่ยวกับอัตราการกอบโกยกําไรจากกรรมาชีพไทยหลังวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 จะเห็นวาพุงสูงข้ึน ส่ิงท่ีเราพอจะเสนอไดเกี่ยวกับบทบาทสหรัฐคือ สหรัฐใหความชวยเหลือกับตํารวจไทย และกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายในในการปราบปรามคอมมิวนิสต และระดับความชวยเหลือทางทหารของสหรัฐในป พ.ศ. 2519 สูงกวาระดับในปกอนหนานั้นถึง 9 เทา นอกจากนี้รัฐบาลสหรัฐในฐานะท่ีเปนท่ีปรึกษาของรัฐบาลไทยคงจะมีสวนในการแนะนําใหจัดต้ังหนวยงานตางๆของตํารวจตระเวนชายแดน และลูกเสือชาวบาน

งานรําลึก 20 ป เหตุการณ 6 ตุลาคม งานรําลึก 20 ปเหตุการณ 6 ตุลาคมเปนคร้ังแรกท่ีผูถูกกระทําในเหตุการณนั้นสามารถรวมตัวกันออกมาประกาศตอสังคมไทยวา ตนเองผานเหตุการณนี้มาในฐานะผูถูกกระทําท่ีไมมีความผิด ดังนั้นควรมีท่ียืนให

10

Page 13: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

เขาในสังคมไทยปจจุบัน ในงานคร้ังนั้นมีการตีพิมพหนังสือและบทความหลายเร่ือง และมีการเปดเผยขอมูลและมุมมองใหมๆ โดยเฉพาะในแงของความทรงจําสวนตัวมากมาย ตัวอยางสําคัญๆของหนังสือท่ีออกมาในยุคนั้น เชน เราไมลืม 6 ตุลาคม, มหาวิทยาลัยของฉัน, ตุลากาล, 6 ตุลาคมจารึก ความทรงจํา ความหวัง บทเรียน, 20 ป 6 ตุลาคม, หยดหนึ่งในกระแสธาร และบันทึกของฉัน สีสันไปสูดวงดาว นอกจากนี้หลังจากท่ีมีการเบิกทางในการนําเสนอหนังสือ และขอมูลดังกลาวก็มีหนังสือเลมอ่ืนตามมาในปตอมา เชน บันทึกภาพและเหตุการณประวัติศาสตร 14 ตุลาคม 16 ถึง 6 ตุลาคม 19 เปนตน หนังสือ “เราไมลืม 6 ตุลาคม” นอกจากจะมีบทความโดยนักวิชาการสําคัญๆ เชน ธเนศ อาภรณสุวรรณ, ธง ชัย วินิจจะกูล และ วิทยากร เชียงกูล แลว ยังมีการรวบรวมขอมูลเกี่ยวกับเหตุการณเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ท่ี ม.ธรรมศาสตร และคําใหการในศาล (คดี 6 ตุลาคม) ดวย หนังสือ “มหาวิทยาลัยของฉัน” มีบทความวิเคราะห และเลาความทรงจําของนักวิชาการสําคัญเชนเดียวกัน เชน สมศักดิ์และเกษียร เปนตน ในบทความของเกษียรมีการอธิบายถึง “ความเปนซาย” ของขบวนการนัก ศึกษาในยุคนั้น โดยใหเหตุผลวา มีความจําเปนท่ีจะเปน “ซาย” เพราะสังคมในยุคนั้น “ปวย” และภาระการทําใหสังคมดีข้ึนท่ีเร่ิมในเหตุการณ 14 ตุลาคมยังไมเสร็จส้ิน หนังสือ “ตุลากาล” เปนหนังสือท่ีรวบรวมคําบอกเลาส้ันๆ และความคิดเห็นของผูท่ีอยูในเหตุการณและญาติของผูเสียชีวิต นอกจากนี้มีบทบันทึกของนักขาวตางประเทศ และลําดับเหตุการณคราวๆในหนังสือเลมนี้มีบทความของธงชัยท่ีกลาวถึงไปแลว และบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ ท่ีมองวา เหตุการณ 6 ตุลาคมเปนอีกตัวอยางหนึ่งท่ีแสดงใหเราเห็นวา การเมืองไทยไมใชการเมืองที่มีวัฒนธรรมแบบสงบหรือสันติแตอยางใด นิธิเสนอวา ความรุนแรงของเหตุการณ 6 ตุลาคมมาจากการท่ีรัฐไมเขมแข็งพอท่ีจะรักษาความสงบทามกลางการท่ีฝายขวาและฝายซายวิ่งเขาหา 2 ข้ัวท่ีจัดต้ังไดดีท่ีสุดนั่นคือ กองทัพ และพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย หนังสือ “ตุลากาล” มีบทความท่ีพูดถึงงานของศิลปนในการตอสูเพื่อสังคมที่เปนธรรมในยุคนั้น และถาใครตองการชมรูปภาพผลงานของศิลปนในสมัยนั้นสามารถดูไดใน “สรางสานตํานานศิลป” นอกจากนี้ “บันทึกของฉัน สีสันไปสูดวงดาว” เปนหนังสือบันทึกท่ีเขียนโดยศิลปนคนหนึ่งท่ีเปนสมาชิก “แนวรวมศิลปนแหงประเทศไทย” หนังสือเลมนี้มีท้ังบทความที่เกี่ยวกับประสบการณสวนตัวเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 และประ สบการณในการเขาไปทํางานในปากับพรรคคอมมิวนิสตไทยดวย สินธุสวัสดิ์เลาวา เนื่องจากพวกศิลปนฝายซายกับนักศึกษาอาชีวะในกลุมกระทิงแดงมักจะจบจากสถานศึกษาเดียวกันทําใหรูจักกันดีซ่ึงมีผลรายในการใชความรุนแรงเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เพราะศิลปนฝายซายถูกหมายตัวหลายคน “6 ตุลาคมจารึก ความทรงจํา ความหวัง บทเรียน” มีการวิเคราะหความรุนแรงท่ีเกิดข้ึนจากมุมมองศาสนาพุทธ และการตอสูแบบสันติวิธี พระไพศาลเสนอวา ท้ังสองฝายพยายามลดทอนความเปนมนุษยของฝายตรงขาม และการวาดภาพวา ศัตรูเปนสัตวเลวราย ปูทางไปสูความสยดสยอง พระไพศาลอธิบายเพิ่มวา “ความโหดเหี้ยมเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เปนฝมือของคนปกติธรรมดา แตเม่ือความชั่วรายถูกปลุกเราเขาครอบงํา

11

Page 14: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

จิตใจจนไมมีท่ีวางแกคุณงามความดี เขาก็สามารถประหัตประหารผูคนได” ซ่ึงประเด็นนี้เปนประเด็นเดียวกันกับท่ีนิธิตั้งขอสงสัยวา บุคคลที่กอทารุณกรรม เชน การแขวนคอหรือเผาท้ังเปนเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เปนคนปกติไดอยางไร นิธิสรุปวา คนเหลานี้คงไดรับการฝกฝนมาจากหนวยทหารใหทําทารุณกรรม เพราะคนธรรมดานาจะไมประพฤติตัวถึงขนาดนั้น จุดเดนของ “หยดหนึ่งในกระแสธาร” ซ่ึงเปนหนังสืออีกเลมในชุด “20 ป 6 ตุลาคม” คือ เปนการวาดภาพกวางระยะยาวของความขัดแยงในสังคมไทยต้ังแตยุครัชกาลท่ี 6 ถึงยุคส้ินสุดของสงครามเย็น เพราะ ฤดี เริงชัย เสนอวา เหตุการณ 6 ตุลาคมเปนเพียงจุดปะทุแตกหักซ่ึงเปนสวนหนึ่งของเกลียวคล่ืนของความขัดแยงในสังคมท่ีมีมานาน หนังสือเลมนี้ใชวิธีการเลาประสบการณสวนตัวของผูเขียนซ่ึงเปน “คนรุนเดือนตุลา” เพ่ือวาดภาพส่ิงท่ีเกิดข้ึนกับนักศึกษา และปญญาชนตั้งแตเหตุการณ 14 ตุลาคม ผาน 6 ตุลาคม และการเขารวมกับพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยจนถึงยุคลมสลายของพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย “20 ป 6 ตุลาคม” มีบทความของชาญวิทยท่ีภายหลังนํามาพิมพใหมในหนังสือ “จาก 14 ถึง 6 ตุลาคม” มีบท ความของเกษียรเร่ืองความหลากหลายของความคิดในหมูนักศึกษาและฝายซายในยุคนั้นจนถึงยุคปจจุบันซ่ึงมีผลกระทบไปถึงมุมมองเก่ียวกับเหตุการณ 6 ตุลาคมทุกวันนี้ และมีบทความของ กิตติศักดิ์ ปรกติ เกี่ยวกับความสําคัญของการช้ีถูกช้ีผิดในเหตุการณ 6 ตุลาคม โดยเปรียบเทียบกรณีไทยกับการนําอดีตผูนําเกาหลีใตข้ึนศาลในขอหาปราบปรามนักศึกษาท่ีกวางจู

ภาพถาย นอกจากบทความตางๆแลว หนังสือ “มหาวิทยาลัยของฉัน” มีรูปภาพการแสดงละครแขวนคอที่นักศึกษาเลนเม่ือวันท่ี 4 ตุลาคม 2519 รูปภาพของเหตุการณตางๆที่เกี่ยวของกับเหตุการณ 6 ตุลาคมเปนส่ิงสําคัญท่ีชวยใหเราเขาใจสถานการณไดดีข้ึน ดังนั้นสําหรับผูท่ีไมมีเวลาไปคนดูรูปถายจากหนังสือพิมพในยุคนั้น หนังสือท่ีเสนอรูปภาพ เชน หนังสือของอรุณมีประโยชนในการประกอบภาพรวมของเหตุการณ นอกจากนี้หนังสือของอรุณยังมีการตีพิมพบทความสําคัญ 3 บทคือ คําใหการเกี่ยวกับ 6 ตุลาคมของ ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช (นายกรัฐมนตรี), สุรินทร มาศดิตถ (รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี) และ ชวน หลีกภัย (รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี) ในท้ังสามบทความท่ีกลาวถึงนี้บทของสุรินทรมีความนาสนใจมากท่ีสุดเพราะเปนการรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีสายวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 โดยมีการเลาถึงบทบาทของนักการเมืองสําคัญ เชน พล.ต. ชาติชาย และการโกหกของ พล.ต.ท. ชุมพล โลหะชาละ ตอท่ีประชุม หนังสืออีกเลมหนึ่งท่ีมีรูปภาพเหตุการณ 6 ตุลาคมท่ีคอนขางจะเปนประโยชนคือ สารคดี ฉบับ “รวมเลือดเนื้อชาติไทย” ซ่ึงหนังสือเลมนี้มีการสัมภาษณนักขาว 2 คนท่ีอยูทามกลางเหตุการณคือ สรรพสิริ วิรยศิริ อดีตผูอํานวยการโทรทัศน ชอง 9 กับ วิโรจน มุทิตานนท ชางภาพจาก นสพ.ไทยรัฐ วิโรจนเลาวา ตัวเอง “ถายรูปตํารวจถือปนมือหนึ่ง อีกมือหนึ่งคาบบุหร่ีไวท่ีปาก ผมเห็นเขายิงจนหมดกระสุน”

12

Page 15: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

นอกจากรูปภาพแลวสารคดีเลมนี้มีรายละเอียดพรอมแผนท่ีของเหตุการณตางๆท่ีเกิดท่ี ม.ธรรมศาสตร ในวันนั้น และอีกสวนท่ีนาสนใจคือ บทสัมภาษณผูท่ีเกี่ยวของกับเหตุการณ โดยเฉพาะฝายขวา เชน พล.ต.ท. สมควร หริกุล ผูรวมกอต้ังลูกเสือชาวบาน และ สมศักดิ์ ขวัญมงคล กับ พล.ต. สุตสาย หัสดิน อดีตหัวหนากลุมกระทิงแดง ในการเปรียบเทียบมุมมองของฝายขวาเกี่ยวกับเหตุการณ 6 ตุลาคมเราจะเห็นวา ในกรณี พล.ต.ท. สมควร เขามองวา ถึงเวลาท่ีจะใหอภัยซ่ึงกันและกัน โดยท่ีเขายอมรับวา นักศึกษาและผูกอการรายคอมมิวนิสตหวังดีตอชาติ เพียงแตมีแนวคิดตางกับฝายขวา แต พล.ต. สุตสาย ยัง “ภูมิใจท่ีชวยใหประเทศไทยยังรักษาความเปนประชาธิปไตยไวได” หนังสือสารคดีฉบับนี้มีบทความทางวิชาการที่นาสนใจของธงชัยช่ือ “ความทรงจํากับประวัติศาสตรบาดแผล กรณีการปราบปรามนองเลือด 6 ตุลาคม 19” ซ่ึงเปนบทความที่ตีพิมพคร้ังแรกในสารคดี ป 2539 และนํามาลงรัฐศาสตรสารดวย รายละเอียดของงานธงชัยช้ินนี้พิจารณาไปแลวในสวนแรกของบทนี้ นอกจากภาพถายนิ่งแลว วิดีโอ “6 ตุลา” ท่ีผลิตออกมาจําหนายในงาน 20 ป 6 ตุลาคมก็มีความสําคัญในการสรางความเขาใจกับเหตุการณดวย วิดีโอนี้เปนผลงานการถายภาพของนักขาวไทยและตางประเทศ สําหรับนักขาวไทยผูท่ีมีความกลาหาญในการบันทึกขอเท็จจริงในเหตุการณนั้นคือ สรรพสิริ ผูอํานวยการสถานีโทรทัศน ชอง 9 และคณะซ่ึงสรรพสิริเองถูกปลดออกจากตําแหนงทันทีหลังจากท่ีมีการทํารัฐประหารเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519

การปราบปรามเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมกระทําเพื่ออะไร ? ประชาชนในกลุมฝายขวาที่ออกมาชุมนุมเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 มองวา เขากําลังปกปอง “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย” แตเราตองถามลึกลงไปกวานั้นวา ผูท่ีมีอํานาจในการส่ังการปราบปราม หรือการระดมพลของฝายขวาตองการท่ีจะทําอะไร ? นักวิชาการคนแรกท่ีพยายามเสนอคําตอบเร่ืองนี้คือ ปวย โดยอธิบายวา “เจตนาที่จะทําลายลางพลังนักศึกษา และประชาชนท่ีใฝเสรีภาพนั้นมีอยูนานแลว ในเดือนตุลาคม 2516 เม่ือมีเหตุทําใหเปล่ียนระบอบการปกครองมาเปนรูปประชาธิปไตยนั้นมีผูกลาววา ถาฆานักศึกษาประชาชนไดสัก 10,000 - 20,000 คนบานเมืองจะสงบราบคาบ” ใครมีเจตนาแบบนี้ ? ปวยอธิบายวา “ผูท่ีสูญเสียอํานาจทางการเมืองในเดือนตุลา คม 2516 ไดแก ทหารและตํารวจบางกลุม ผูท่ีเกรงวา ในระบอบประชาธิปไตยตนจะสูญเสียอํานาจทางเศรษฐกิจไปไดแก พวกนายทุนเจาของท่ีดินบางกลุม” ความเห็นนี้ตรงกับมุมมองของ เดวิด มอรเรลล และ ซูซาน มอรเรลล ถึงแมวา การปราบปรามเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เปนการกระทําตอขบวนการนักศึกษาเปนหลัก แตเปาหมายโดยรวมนาจะเปนการทําลาย “ฝายซาย” ในประเทศไทยดังท่ี พล.ต. ประมาณ หัวหนาพรรคชาติไทยในยุคนั้นเคยชูคําขวัญ “ขวาพิฆาตซาย” แอนเดอรสันอธิบายเพิ่มวา ส่ิงหนึ่งท่ีฝายขวา โดยเฉพาะคนช้ันกลาง

13

Page 16: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ตองการคือ การหยุดยั้งการประทวงตางๆของนักศึกษา กรรมกร และชาวนาท่ีเขามองวา กอความไมสงบเรียบรอยในสังคม นอกจากความตองการท่ีจะทําลายฝายซายโดยตรงแลวมีนักวิชาการที่มองวา ผูนํากองทัพสวนใหญคิดวา ไทยมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” ซ่ึงจะเปดโอกาสใหฝายคอมมิว นิสตเขามา ดังนั้นตองลงมือปราบปรามพวกประชาธิปไตยดวยทุกวิธีทาง ในทํานองเดียวกันชาญวิทยและเสนหมองวา การปราบปรามคร้ังนี้เปนการหวังทําลายแนว “เสรีนิยม” และ “สังคมนิยม” ท่ีตองการการเปล่ียนแปลง โดยท่ีผูลงมือกระทําคือ กลุม “อนุรักษนิยม” ท่ียังคุมอํานาจรัฐอยูและไมตองการการเปล่ียนแปลง

ผลกระทบของ 6 ตุลาคม 2519 ตอสังคมไทยในยุคปจจุบัน เหตุการณ 6 ตุลาคมนําไปสูการทําลายระบบประชาธิปไตย เพราะมีการทํารัฐประหารยึดอํานาจโดยเผด็จการ แตการยกเลิกระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาท่ีเกิดข้ึน ดูเหมือนจะเปนแคมาตรการช่ัวคราวเทานั้น เพราะในไมชารัฐบาลเผด็จการสุดข้ัวก็ถูกลมไป และมีการเลือกตั้งจนในป พ.ศ. 2531 มีนายกรัฐมนตรีท่ีเปน ส.ส. ท่ีมาจากการเลือกตั้งอีกคร้ัง แตส่ิงท่ีเราควรตรวจสอบดูคือ ลักษณะของประชาธิปไตยในป พ.ศ. 2531 กับประชาธิปไตยระหวาง พ.ศ. 2516 - 19 ตางกันหรือไม เพราะมีนักวิชาการท่ีเสนอวา ประชาธิปไตยหลังเหตุ การณ 6 ตุลาคมเปนประชาธิปไตยท่ีไมทาทายผลประโยชนของชนช้ันนําไทยเลย ธงชัยเสนอวา การทําลายความฝนของคนหนุมสาวในการสรางสังคมใหมเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 บวกกับประสบการณความผิดหวังในปาทําใหหลายคนเข็ดกับความใฝฝนอีก และการท่ีสังคมไทยปจจุบันหมกมุนกับการกอบโกย การบริโภค เงิน กําไร และการหาชองทางในการเอาเปรียบคนอ่ืนมาจากการทําลายความฝนดังกลาว อยางไรก็ตาม เอนก เหลาธรรมทัศน มองวา มรดกและบทเรียนสําคัญจากเหตุการณ 6 ตุลาคมชวยใหเกิดความเปนธรรมในสังคมมากข้ึนในท่ีสุดคือ 1. รัฐบาลตองสนใจคนทุกขคนยากและชาวบานมากข้ึน 2. ความหมายของคําวา “ประชาธิปไตย” ถูกขยายใหครอบคลุมประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ไมใชแคเร่ืองการเมือง 3. รัฐบาลตองคํานึงถึงการเคล่ือนไหวขององคกรหรือสมาคมตางๆในสังคมมากข้ึนกวาเดิม ไมใชปกครองโดยขาราชการฝายเดียว

 

เหตุการณ 6 ตลุาคม 2519

14

Page 17: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

4. คนไทยเร่ิมเขาใจวาตองใชวิธีการประชาธิปไตยเพ่ือแกความขัดแยง ไมใชใชแตความรุนแรง 5. มุมมองของสังคมไทยตอสหรัฐเปล่ียนแปลงไปคือ เราไมแยกข้ัวมองวาเปนมิตรหรือเปนศัตรูแบบขาวดําเหมือนในอดีต 1. ความทรงจําของฝายนักศึกษาท่ีเปล่ียนไปโทษตนเอง ฝายซายและอดีตฝายซายไทยบางคนในยุคนี้มักหันมาโทษตัวเองวา ในอดีตขณะท่ีเปนหนุมสาวอยูในขบวนการนักศึกษาทํา “เกินเหตุ” โดยไมรูจักควบคุมการเรียกรองภายในขอบเขตท่ีเหมาะสม ธงชัยเขียนวา หลายคนมองวา “ความรุนแรงและการสูญเสียท่ีเกิดข้ึนนั้นสวนหนึ่งเปนผลมาจากความคิดเห็น และการเมืองของขบวนการนักศึกษาเอง” ความคิดท่ีธงชัยกลาวถึงคือ “การหลงไหลในสังคมนิยม และพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย” ซ่ึงแปลวา นักศึกษาตองรวมรับผิดชอบตอการสูญเสียท่ีเกิดข้ึนเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 คนท่ีโทษขบวนการนักศึกษาวาทํา “เกินเหตุ” มีมากมายซ่ึงถาเราวิเคราะหแนวคิดนี้โดยดันไปถึงจุดจบ แนว คิดนี้มีแนวโนมจะเสนอวา ผูถูกกระทําเองคือ ตนเหตุของสถานการณนองเลือดซ่ึงหมายความวา ผูท่ีปลุกระดมองคกรนอกระบบ และใชกําลังอาวุธสงครามฆานักศึกษาไมใชผูกระทําความผิดหลัก ความคิดแบบนี้เปนแนวคิดปฏิกิริยาท่ีไรความเปนธรรมอยางยิ่ง ปวยเคยตั้งขอสังเกตเกี่ยวกับทฤษฏีท่ีเสนอวา พวกฝายซายทํา “เกินเหตุ” วา “การปรับสถานการณตางๆในสังคมใหดีข้ึน (เชน การปฏิรูปท่ีดิน ฯลฯ) เกิดข้ึนทามกลางความวุนวาย แตการกดดันใหนายจางหัวแข็งลงมาเจรจากับลูกจางทําไดอยางไรถาไมนัดหยุดงาน ? การกดดันใหรัฐบาลออกมาแกไขปญหาชาวบานท่ีมีกับบริษัทเหมืองแรทําไดอยางไรถาไมประทวง ? ถามองยอนกลับไปรูสึกวา พวกเราทุกคนในยุคนั้นสายตาส้ันเวลาบนเร่ืองความวุนวายเหลานี้” สุธรรม อดีตผูนํานักศึกษาในยุคนั้นอธิบายวา เม่ือชาวบานมีปญหาเขาจะพยายามเขาไปหาราชการเพื่อแกไขปญหาดังกลาว แตราชการไมใหความสนใจแตอยางใด ดังนั้นชาวบานจึงหันมาขอความชวยเหลือจากขบวนการนักศึกษา และขบวนการนักศึกษากลายเปน “ปลองควันรอน” สําหรับการระบายความเดือดรอนท้ังปวงของประชาชนในลักษณะแบบนั้นนักศึกษาควรจะหันหลังใหกับประชาชนหรือ ? ขอเสนอวา เหตุการณ 6 ตุลาคมเปนผลจากการกระทําของนักศึกษาเอง หรือการโทษผูถูกกระทําเอง มีตัวอยางจากมุมมองของคนบางสวนในเหตุการณคลายๆกันในประเทศอ่ืน เชน ในกรณีการยึดอํานาจทามกลางการนองเลือดท่ีอินโดนีเซียในป พ.ศ. 2508 และท่ีชิลีในป พ.ศ. 2516 แนวคิดนี้มีขอสรุปวา เราไมควรเคล่ือนไหวเพื่อแกไขปญหาของสังคมเลย เราควรนิ่งเฉย และยอมรับวา ผูมีอํานาจในสังคมยอมจะกําหนดทุกอยางไดเสมอ เพราะถาเราบังอาจออกมาเคล่ือนไหวจะมีเหตุนองเลือดเกิดข้ึน ขอเสนอท่ีโทษขบวนการนักศึกษามีแนวคิดขอยอยตามมาอีกหนึ่งขอคือ มีการกลาวหาผูนํานักศึกษาในยุคนั้นวา ผิดพลาด เพราะไมยอมสลายม็อบท่ี ม.ธรรมศาสตร ท้ังๆท่ีสถานการณถึงข้ันอันตรายอยางถึงท่ีสุด ขอกลาวหาประเภทนี้นอกจากจะเปนการ “ฉลาดหลังเหตุการณ” แลวยังไมคํานึงถึงปญหาในการสลายม็อบ

15

Page 18: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ในเวลากลางคืน และปญหาของการสลายม็อบในขณะที่สมาชิกในม็อบเองไมตองการใหสลาย และส่ิงสําคัญท่ีถูกมองขามคือ ผูนํานักศึกษาอยางธงชัยหรือสมศักดิ์ไมไดวิ่งหนีไปหาความปลอดภัยสวนตัว แตเส่ียงอันตรายอยูกับม็อบถึงจุดสุดทาย สรุปแลวแนวท่ีตั้งคําถามเก่ียวกับการสลายม็อบเปนแนวท่ีโทษผูถูกกระทําในขณะท่ีไมกลาต้ังคําถามใหญวา “ใครในหมูชนช้ันปกครองส่ังการฆาประชาชนบริสุทธ์ิในวันนั้น” 2. การมองวาสังคมนิยมหมดยุคหมดสมัย การโทษตัวเองของฝายซายเหตุการณ 6 ตุลาคม และการสรุปบทเรียนจากประสบการณในปากับพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย เม่ือมารวมกับเหตุการณในตางประเทศ โดยเฉพาะการลมสลายของรัฐบาล “คอมมิวนิสต” ในยุโรปตะวันออกแลวมีผลใหอดีตนักศึกษาหลายคนมองวา สังคมนิยมหมดยุคหมดสมัย การปราบปรามนักศึกษาอยางโหดรายทารุณเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 มีผลชวยสนับสนุนความเห็นอันนี้จากแงมุมของความหวาดกลัว ดังนั้นอดีตนักศึกษาหลายคนจะพยายาม “ลืม” หรือปฏิเสธวา ตนเคยเปนสังคมนิยม ในหนังสือ “มหาวิทยาลัยของฉัน” มีการกลาวถึงผลกระทบตออดีตนักศึกษาท่ีผานเหตุการณ 6 ตุลาคม การเขาปารวมกับพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย และการออกมาจากปาในภายหลัง เกษียรต้ังขอสังเกตวา อุปสรรคในการสราง “สังคมนิยม” ในยุคนั้นมาจากท้ังชนช้ันผูมีอํานาจ และพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยซ่ึงในกรณีพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยผลของการทํางานทําใหปญญาชนท่ีเขาปาหมดสภาพของความเปนปญญาชนและมนุษยไป ถึงกระนั้นเกษียรยังมองวา การ “ลืม” ความเปนสังคมนิยมในยุคอดีตไมชวยอะไรในการกูศักดิ์ศรีของความเปนมนุษยแตอยางใด ฤดีซ่ึงเปนนักเคล่ือนไหวรุนเดือนตุลาท่ีผานเหตุการณท้ัง 14 ตุลาคมและ 6 ตุลาคมแลวไปเปนเจาหนาท่ีสถานีวิทยุเสียงประชาชนแหงประเทศไทยของพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยท่ีประเทศจีน พบวา พรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยมีความคิดคับแคบ และกลไกภายในพรรคไมมีประชาธิปไตย ไมมีบรรยากาศถกเถียงแบบวิชาการ และการวิเคราะหสถานการณในสังคมไทยของพรรคไมสอดคลองกับความเปนจริง ประสบการณนี้ทําใหฤดีเปล่ียนความคิดจากสังคมนิยมไปเปนอนาธิปไตยแบบสันติ อยางไรก็ตามผูท่ียังเปนนักมารกซิสตในยุคปจจุบันซ่ึงปฏิเสธแนวสตาลิน - เหมาของพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยมองวา ปญหาแทจริงในประสบการณของนักศึกษาไมไดเกิดจากความลมเหลวของแนวคิดสังคมนิยม หรือลัทธิมารกซแตอยางใด แตเกิดจากความลมเหลว และความเปนเผด็จการของแนวสตาลิน - เหมาในพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยมากกวา ในมุมกลับกันมีฝายท่ียังยึดม่ันในความดีความชอบของการตอสูของพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย เชน ในหนังสืองานฉลองอนุสาวรียวีรชนพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยท่ีบานชองชาง จ.สุราษฎรธานี ท่ีกลาววา “การตอสูเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการแสวงหาสังคมใหมท่ีดีงามเปนเร่ืองท่ีถูกตอง”

16

Page 19: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ในทํานองเดียวกัน ชลธิรา สัตยาวัฒนา เสนอในจดหมายจากท่ีม่ันในปาวา ชีวิตตอสูรวมกับพรรคคอมมิว นิสตแหงประเทศไทยเปนส่ิงงดงาม “ดิฉันไมเคยนึกเสียใจวา ตัดสินใจผิดพลาดเลย มีแตคิดเสียดายวา เรานาจะเขาปาใหเร็วกวานี้ ไมเคยเห็นท่ีไหนมีบรรยากาศประชาธิปไตยเทาท่ีนี่ ทุกความเห็นเม่ือเสนอแลวได รับการตอนรับอยางอบอุน และถูกนําไปกล่ันกรองพิจารณาในลักษณะรวมหมูแลวแปรเปนการปฏิบัติอยางรวดเร็ว รอบคอบเทาท่ีเง่ือนไขจะอํานวย เม่ือมีทรรศนะไมตรงกันตางฝายก็แลกเปล่ียนความเห็นกันอยางถนอมรักยึดม่ันในหลักการท่ีถูกตอง เสียงสวนนอยข้ึนตอเสียงสวนมาก” 3 สภาพผูกขาดทางการเมืองของชนชั้นนายทุน ในขอเขียนของธงชัย 6 ตุลาคมคือ การสังหารชีวิตท่ีมีความใฝฝนเพื่อคนยากไรและผูเสียเปรียบ การปฏิเสธแนวสังคมนิยมจากอดีตของคนสวนใหญมีผลทําใหหลายคนท่ีเคยยอมรับความคิดนี้เลิกใฝฝนท่ีจะสรางสังคมท่ีดีกวานี้ และแนว “โทษผูถูกกระทํา” ลวนแตพาพลเมืองไปยอมรับสภาพการผูกขาดทางการเมือง และเศรษฐกิจของชนช้ันปกครองไทย สภาพการผูกขาดทางการเมือง และเศรษฐกิจของชนช้ันปกครองในสมัยนี้ปรากฏออกมาอยางชัดเจนในลักษณะของพรรคการเมืองทุกพรรคที่ลวนแตเปนพรรคนายทุนกอนวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 การเมืองไทยมีพรรคฝายซายท่ีลงมาเลนบนเวทีการเมืองเปดอยางนอย 3 พรรคคือ พรรคสังคมนิยม พรรคแนวรวมสังคมนิยม และพรรคพลังใหม แตหลังเหตุการณ 6 ตุลาคมพรรคแบบนี้ถูกปราบปรามจนหมดส้ินไป การเมืองไทยปจจุบันจึงเหลือแตสภาพการแขงขันระหวางพรรคเศรษฐีท่ีไมมีขอแตกตางหลักทางนโยบาย และการแขงขันระหวางพรรคเศรษฐีแบบนี้ยอมใชเงินในการซ้ือเสียงสนับสนุนเปนหลัก เราจึงสรุปไดวา “ธุรกิจการเมือง” ท่ีเห็นอยูทุกวันนี้มีสวนมาจากมรดกเหตุการณ 6 ตุลาคม

บทเรียนที่สังคมไทยควรรับรู ในปาฐกถาเน่ืองในพิธีเปดประติมานุสรณ 6 ตุลาคมท่ี ม.ธรรมศาสตร เม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2543 ธงชัยเสนอวา บทเรียนท่ีสําคัญสําหรับสังคม ไทยท่ีควรจะไดจากการทําความเขา ใจกับเหตุการณ 6 ตุลาคมคือ วิธีการอะไรเหมาะสมสําหรับการจัดการกับความขัดแยง โดยเฉพาะความขัดแยง

 

การสลายการชมุนมุ 6 ตลุาคม 2519

17

Page 20: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

กับรัฐ เพราะในอดีตมีการสราง “ความสามัคคี” ของชาติแบบคับแคบในกรอบของผลประโยชน ชาติ ศาส นา พระมหากษัตริย โดยท่ีปฏิเสธพื้นท่ีใหผูท่ีมีความคิดอ่ืน การสราง “ความสามัคคี” แบบนี้ทําใหสังคมไทยเกิดเหตุการณรุนแรงเปนระยะๆซ่ึงบัดนี้ถึงเวลาแลวท่ีจะมองวา ความคิดท่ีแตกตางกันเปนคลังภูมิปญญาของสังคมแทนท่ีจะมองวาเปน “ภัย” ตอสังคมอยางในอดีต ส. ศิวรักษ เสนอวา ถามนุษยขาดความกลาหาญทางจาริยธรรมยอมไมอาจเจริญสติใหควบคูกับปญญาได เราตองกลาท่ีจะประกาศความเลวของผูนําท่ีเขนฆาประชาชนและกลายกยองคนดี และความกลาดังกลาวคือ ความหวังสําหรับอนาคต ใจ อ๊ึงภากรณ

18

Page 21: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

เอกสารอางอิง กนกศักด์ิ แกวเทพ และคณะ, เสนทางชาวนาไทย, กรุงเทพ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2542 กลุมนักศึกษากฎหมาย, เราคือผูบริสุทธิ์ เสียงจากอดีตจําเลยคดี 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : กลุมนักศึกษากฎหมาย, 2521

(พิมพใหมเปนครั้งที่ 4 โดย คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม ในป 2539) เกรียงศักด์ิ เชษฐพัฒนวนิช, “ลําดับเหตุการณทางการเมืองไทย 14 ต.ค. 16 ถึง 6 ต.ค. 19”, ชาญวิทย เกษตรศิริ และ ธํา

รงศักด์ิ เพชรเลิศอนันต, บรรณาธิการ, จาก 14 ถึง 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษย ศาสตร, 2541

เกษียร เตชะพีระ, “รูสึกแหงยุคสมัย”, สมศักด์ิและคณะ, มหาวิทยาลัยของฉัน, กรุงเทพ : องคการนักศึกษา ม.ธรรม ศาสตร, 2539 (ก)

เกษียร เตชะพีระ, “ทําไม 6 ตุลาคมจึงจํายาก”, พนม เอี่ยมประยูร, บรรณาธิการ, 20 ป 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : คณะกรรม การดําเนินการจัดงาน 20 ป 6 ตุลาคม ม.ธรรมศาสตร, 2539 (ข)

เกษียร เตชะพีระ, “เหลียวมาขางหลัง : บางทัศนะเก่ียวกับ 6 ตุลาคม”, มติชน รายวัน (7 ตุลาคม 2543) คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม, เราไมลืม 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6

ตุลาคม, 2539 (ก) คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม, ตุลากาล, กรุงเทพ : คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม, 2539 (ข) คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม, เราคือผูบริสุทธิ์ เสียงจากอดีตจําเลยคดี 6 ตุลาคม, กรุงเทพ :

คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม, 2539 (ค) ใจ อึ๊งภากรณ และคณะ, การเมืองไทยในทัศนะลัทธิมารคซ, กรุงเทพ : ชมรมหนังสือประชาธิปไตยแรงงาน, 2543 (ก) ใจ อึ๊งภากรณ, “ลูกเสือชาวบาน ไมกระบองที่ใชตีชนช้ันลาง”, กรุงเทพธุรกิจ (5 กรกฎาคม 2543) เซ็กช่ันจุดประกาย

(ข) ใจ อึ๊งภากรณ, “ความจริงเก่ียวกับบทบาทของบางกอกโพสตในเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519” มติชน รายวัน (11 มกรา

คม 2544) ชลธิรา สัตยาวัฒนา, “จดหมายจากชลธิรา ทําไมดิฉันจึงเขาปา”, ขาวไทยนิกร (ปที่ 2 ฉบับที่ 30 - 31, 19 พฤษภาคม

2521) ชัชรินทร ไชยวัฒน, “เกริ่น”, สมศักด์ิและคณะ, มหาวิทยาลัยของฉัน, กรุงเทพ : องคการนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร,

2539 ชาญวิทย เกษตรศิริ, “6 ตุลาคม กับสถานะทางประวัติศาสตรการเมือง”, ชาญวิทย เกษตรศิริ และ ธํารงศักด์ิ เพชรเลิศ

อนันต, บรรณาธิการ, จาก 14 ถึง 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2541 (เดิมพิมพใน พนม เอี่ยมประยูร, บรรณาธิการ, 20 ป 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : คณะกรรมการดําเนินการจัดงาน 20 ป 6 ตุลาคม ม.ธรรมศาสตร, 2539)

ชาญวิทย เกษตรศิริ และ ธํารงศักด์ิ เพชรเลิศอนันต, บรรณาธิการ, จาก 14 ถึง 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2541

ดาวสยาม (4 ตุลาคม 2519)

19

Page 22: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ธงชัย วินิจจะกูล, “ความทรงจํากับประวัติศาสตรบาดแผล กรณีการกราบปรามนองเลือด 6 ตุลาคม 19”, รัฐศาสตรสาร (ปที่ 19 ฉบับที่ 3, 2539) (ก) บทความจากงานสัมมนาวิชาการ “ความรุนแรงในสังคมไทย รําลึก 20 ป 6 ตุลาคม” สนับสนุนโดยมูลนิธิโกมลคีมทอง (พิมพครั้งแรกใน สารคดี, 2539)

ธงชัย วินิจจะกูล, คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม, เราไมลืม 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : คณะกรรมการประสาน งาน 20 ป 6 ตุลาคม (ข)

ธงชัย วินิจจะกูล, “ความอิหลักอิเหลื่อแหงชาติเน่ืองจาก 6 ตุลาคม 2519 ไมเปนประวัติศาสตร ไมมีอนุสาวรีย ไมมีวีรชน ไมสนใจชีวิต”, คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม, ตุลากาล, กรุงเทพ : คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม (ค)

ธงชัย วินิจจะกูล, “บทเรียนจากเหตุการณ 6 ตุลาคมซึ่งสังคมไทยไมยอมรับรู” ปาฐกถาในพิธีเปดประติมานุสรณ 6 ตุ ลาคม ณ ม.ธรรมศาสตร 6 ตุลาคม 2543, วารสารสืบสาน, ฉบับที่ 20, มกราคม 2544

ธเนศ อาภรณสุวรรณ, คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม, เราไมลืม 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : คณะกรรมการประ สานงาน 20 ป 6 ตุลาคม, 2539

ธวัชชัย สุจริตวรกุล, คดีประวัติศาสตร คดี 6 ตุลาคม เลม 1, กรุงเทพ : บพิธการพิมพ, 2521 ธวัชชัย สุจริตวรกุล, คดีประวัติศาสตร คดี 6 ตุลาคม เลม 2, กรุงเทพ : บพิธการพิมพ, 2522 นิธิ เอียวศรีวงศ, “6 ตุลาคม กับภูมิปญญาสังคมไทย”, คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม, ตุลากาล, กรุงเทพ :

คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม, 2539 นิธิ เอียวศรีวงศ, “ยอนรอย 6 ตุลาคม”, มติชน รายวัน (13 ตุลาคม 2543) หนา 6 เบเนดิก แอนเดอรสัน, “บานเมืองของเราลงแดง : แงมุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม”, ชาญ

วิทย เกษตรศิริ และ ธํารงศักด์ิ เพชรเลิศอนันต, บรรณาธิการ, จาก 14 ถึง 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : มูลนิธิโครงการตําราสัง คมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2541

ปวย อึ๊งภากรณ (2519) “ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519” พิมพแจกในตางประเทศต้ังแต 28 ตุลาคม 2519 และนํามาตีพิมพในประเทศไทยภายหลังโดยสํานักพิมพตางๆ

ปวย อึ๊งภากรณ (2520) เทปการสัมมนาเรื่อง 6 ตุลาคมที่ New South Wales (ออสเตรเลีย) ในเดือนมิถุนายน 2520 ปวย อึ๊งภากรณ, “แนวโนมของการเมืองไทย”, อันเน่ืองมาแต 6 ตุลาคม 2519, กรุงเทพ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2523 พนม เอี่ยมประยูร, บรรณาธิการ, 20 ป 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : คณะกรรมการดําเนินการจัดงาน 20 ป 6 ตุลาคม ม.ธรรม

ศาสตร, 2539 พระไพศาลและ ส.ศิวรักษ, 6 ตุลาคมจารึก ความทรงจํา ความหวัง บทเรียน, กรุงเทพ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2539 พิทยา วองกุล, “ทิศทางขบวนการประชาชนมิติใหม : แนวสันติธรรมและสรางความมั่นคงแหงชีวิต”, ประชาภิวัฒน :

บทเรียน 25 ป 14 ตุลาคม, (วิถีทรรศน ชุดโลกาภิวัฒน 7) กรุงเทพ : วิถีทรรศน, 2541 ไฟลามทุง, หนังสือในโอกาสฉลองอนุสาวรียวีรชนบานชองชาง จ. สุราษฎรธานี, เมษายน 2542 มนัส สัตยารักษ, “รําลึก 6 ตุลาคม 2519 วันวังเวง”, มติชน สุดสัปดาห (7 - 13 ตุลาคม 2537) ตีพิมพอีกครั้งใน ตุลาชน

ตุลาชัย (ฉบับที่ 2 ปที่ 1, ตุลาคม 2543) ยศ สันตสมบัติ, “ผูพิพากษา กฎหมาย และการเมือง : ธานินทร กรัยวิเชียร”, อํานาจ บุคลิกภาพ และผูนําการเมืองไทย,

กรุงเทพ : สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร, 2533

20

Page 23: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

รวมเลือดเน้ือชาติไทย รวม 3 เหตุการณสําคัญทางประวัติศาสตรการเมืองไทย (14 ตุลาคม 6 ตุลาคม และพฤษภาทมิฬ 35), กรุงเทพ : สารคดี, 2541

ราชกิจจานุเบกษา, เลม 94 ตอนที่ 18 และ ตอนที่ 97, เชียงใหม : โรงพิมพสงเสริมธุรกิจ, 2521. (คําสั่งออกมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2520 และ 6 ตุลาคม 2520 ตามลําดับ)

เริงรวี อรุณรุง, เรียบเรียง, เลาความจริง ขบวนการนักศึกษารามคําแหงยุคตน 2514 - 2519, กรุงเทพ : กลุมพิราบขาว ม.รามคําแหง, 2531

ฤดี เริงชัย, หยดหน่ึงในกระแสธาร, กรุงเทพ : สํานักพิมพมิ่งมิตร, 2539 ศร. พรหม วาศสุรางค, “ใครกอเหตุการณ 6 ตุลาคม” ตุลาชนตุลาชัย (ปที่ 1 ฉบับที่ 1, กรกฎาคม 2543) เดิมตีพิมพใน

ปริทัศนสาร (ตุลาคม - พฤศจิกายน, 2524) ศิโรตม คลามไพบูลย, “ประวัติศาสตร 6 ตุลาคม ระหวางความน่ิงและตะกอน” มติชน รายวัน. (18 ตุลาคม 2543) สถานีโทรทัศน ITV รายการยอนรอย 6 ตุลาคม 2519 ถายทอดออกอากาศเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2542 สมพร จันทรชัย, ยอนตํานานนักวิชาการสังคมนิยม ประชาชนตองใหญในแผนดินรําลึก 25 ป ดร. บุญสนอง บุณโย

ทยาน, กรุงเทพ : สถาบันพัฒนาการการเมือง, 2544 สมศักด์ิ เจียมธีรสกุล, “จดหมายจาก สมศักด์ิ เจียมธีรสกุล”, เราคือผูบริสุทธิ์ เสียงจากอดีตจําเลยคดี 6 ตุลาคม, กรุง

เทพ : กลุมนักศึกษากฎหมาย, 2521 สมศักด์ิ เจียมธีรสกุล เกษียร เตชะพิระ รุงนภา อําไพ และชอชงโค (นามแฝง), มหาวิทยาลัยของฉัน, กรุงเทพ : องค

การนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร, 2539 สมศักด์ิ เจียมธีรสกุล, “คืนที่ยาวนาน การไมตัดสินใจสลายการชุมนุมในธรรมศาสตรคืนวันที่ 5 ตุลาคม 2519”, มติ

ชน รายวัน, (6 ตุลาคม 2543) สมศักด์ิ เจียมธีรสกุล, “ชนวน : ภาพละครแขวนคอท่ีนําไปสูเหตุการณ 6 ตุลาคม”, มติชน รายวัน, (31 ตุลาคม 2543) สมยศ เช้ือไทย, บรรณาธิการ, คดีประวัติศาสตร คดี 6 ตุลาคม ใครคือฆาตกร ?, กรุงเทพ : สามัคคีสาสน, 2531 สยามรัฐ รายสัปดาห, (24 กันยายน 2519) สยามรัฐ รายวัน, “อุโมงคในธรรมศาสตร...” (9 ตุลาคม 2519) สรางสานตํานานศิลป 20 ป แนวรวมศิลปนแหงประเทศไทย 2517 - 2537, ม.ป.ท. : ม.ป.ป. สินธุสวัสด์ิ ยอดบางเตย, บันทึกของฉัน สีสันไปสูดวงดาว, เชียงใหม : รักและเมตตาวรรณกรรม, 2539 สุธรรม แสงประทุม, “จดหมายจากสุธรรม แสงประทุม”, เราคือผูบริสุทธิ์ เสียงจากอดีตจําเลยคดี 6 ตุลาคม, กรุงเทพ :

กลุมนักศึกษากฎหมาย, 2521 สุธรรม แสงประทุม, ผมผานเหตุการณ 6 ตุลาคมมาไดอยางไร ?, กรุงเทพ : สํานักพิมพดาวหาง, 2522 สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, “ควรจัดงาน 6 ตุลาคม และ 14 ตุลาคม รวมกันหรือไม !”, มติชน รายวัน (10 เมษายน 2544) เสถียร วิชัยลักษณ (ร.ต.ท.) และสืบวงศ วิชัยลักษณ (พ.ต.อ.), พระราชบัญญัติการพิมพ พ.ศ. 2484 พรอมดวย กฎ และ

ประกาศกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในพระราชบัญญัติน้ี กับประกาศของคณะปฏิวัติและคําสั่งคณะปฏิรูปการปกครองที่เก่ียวของ, กรุงเทพ : นิติเวชชการพิมพ, 2527

เสนห จามริก, “การเมืองไทยกับปฏิวัติตุลาคม”, ชาญวิทย เกษตรศิริ และ ธํารงศักด์ิ เพชรเลิศอนันต, บรรณาธิการ, จาก 14 ถึง 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2541

21

Page 24: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

อรุณ เวชสุวรรณ, บรรณาธิการ, บันทึกภาพและเหตุการณประวัติศาสตร 14 ตุลาคม 16 ถึง 6 ตุลาคม 19, กรุงเทพ : สํา นักพิมพอรุณวิทยา, 2541

เอกรงค รังคประทีป, เหตุการณ 6 ตุลาคม ในทัศนะนักวิชาการอเมริกัน, แปลจากงานของ วิลเลี่ยม แบร็ดลีย เดวิด มอแรลล เดวิด แซนตัน และ สตีเฟน ยัง และงานของ แอนเดอรสัน, กรุงเทพ : สํานักพิมพลานา, 2522

Anderson, B. (1977) Withdrawal symptoms : social and cultural aspects of the October 6 coup, Bulletin of Concerned Asian Scholars, July - September, vol. 9, 13

Bell, Peter F. (1978) Cycles of class struggle in Thailand. In : Turton, A., Fast, J. & Caldwell, M. (eds) Thailand roots of conflict. Spokesman, U.K.

Bowie, K. A. (1997) Rituals of national loyalty, Columbia University Press, U.S.A. Bradley, W., Morell, D., Szanton, D. & Young, S. (1978) Thailand : Domino by default ? The 1976 coup and

implications for U.S. policy, Papers in International Studies, S.E. Asia Series No. 46. Ohio University Center for International Studies

Girling, J. L. S. (1981) Thailand. Society & Politics, Cornell University Press Iamtham, Pornpirom (1987) The student-led democratic movement after 14 October 1973 incident and its relations

with the C.P.T. Asian Review (Chulalongkorn University) : 1, 7 Los Angeles Times 12 October 1976 “Thai military regime has cracks in its armor” George McArthur : 12 Mallet, Marian (1978) Causes and consequences of the October ’76 coup, In : Turton, A., Fast, J. & Caldwell, M.

(eds) Thailand roots of conflict, Spokesman, U.K. Morell, D. & Chai-anan Samudavanija (1981) Political conflict in Thailand. Oelgeschlager, Gunn & Hain,

Cambridge, Massachusetts Morell, D. & Morell, S. (1976) “Thai repression to bring more conflict” Los Angeles Times 14 November 1976 Morell, D. & Morell, S. (1977) Thailand : The costs of political conflict, Pacific Community, 8 (2) January 1977 Shawcross, William (1976) How tyranny returned to Thailand. New York Review of Books, 9 December 1976 Turton, A., Fast, J. & Caldwell, M. (eds) Thailand roots of conflict, Spokesman, U.K. Ungpakorn, Ji Giles (2001) Slamming the door to beat the cat. Crushing the Thai left on the 6 October 1976, Paper

presented at the 18th Annual Conference on Southeast Asian Studies, University of California, Berkeley, 16 - 17 February 2001

Winichakul, Thongchai (2000) Remembering/silencing the traumatic past : the ambivalent memories of the October 1976 massacre in Bangkok, In Shigeharu Tanabe & Keyes, C.F. (eds) Cultural crisis & social memory : politics of the past in the Thai world (In Press)

Woollacott, M. (1976) “Thailand’s royal revolution” The Guardian (U.K.) 28 October 1976

22

Page 25: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

บทที่ 2 : เหตุการณ 6 ตุลาคมเกิดข้ึนไดอยางไร วันท่ี 6 ตุลาคม 2519 นั้นเปนวันท่ีถูกจารึกไวในประวัติศาสตรวา เกิดกรณีนองเลือดคร้ังใหญท่ีสุดในประวัติศาสตรไทย เม่ือเจาหนาท่ีรัฐบาลและกลุมฝายขวาหลายกลุมรวมมือกันกอการสังหารหมูนักศึกษาประชาชนท่ี ม.ธรรมศาสตร ใจกลางพระนครจนทําใหมีผูเสียชีวิตอยางนอย 39 คน และบาดเจ็บ 145 คน การกอการสังหารคร้ังนี้กลายเปนขาวแพรไปท่ัวโลก แตท่ีนาประหลาดใจท่ีสุดคือ การกอกรณีนองเลือดคร้ังนี้ไมมีการจับกุมฆาตกรผูกอการสังหารเลยแมแตคนเดียว ในทางตรงขามนักศึกษาประชาชนท่ีเหลือรอดจากการถูกสังหารจํานวน 3,094 คนกลับถูกจับกุมท้ังหมดภายในวันนั้นเอง และถึงแมวา ในระยะตอมาผูถูกจับกุมจะไดรับการประกันตัวออกมาเปนสวนใหญ แตสุดทายยังมีเหลืออีก 27 คนถูกอายัดตัวเพื่อดําเนินคดี เปนชาย 23 คน และหญิง 4 คน จนทายท่ีสุดจะเหลือ 19 คนซ่ึงตกเปนจําเลย ถูกคุมขัง และดําเนินคดีอยูเกือบ 2 ปจึงจะไดรับการปลอยตัว สวนผูกอการสังหารซ่ึงควรจะเปนจําเลยตัวจริงนั้นไมมีรัฐบาลหรือผูกุมอํานาจคร้ังไหนกลาวถึงอีกเลย แมกระท่ัง พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน นายกรัฐมนตรีสมัยท่ีปลอยผูตองหาเหตุการณ 6 ตุลาคมทั้ง 19 คนนี้ไดกลาววา “แลวก็ใหแลวกันไป ลืมมันเสียเถิดนะ” เหมือนกับวา จะใหลืมกรณีฆาตกรรมดังกลาวเสีย มิใหกลาวถึงคนรายในกรณีนี้อีก จริงอยูประเทศดอยพัฒนา เชน ประเทศไทย มีคดีอิทธิพลจํานวนมากที่ทางการไมกลาแตะตอง และจับคนรายไมได แตคดีอิทธิพลเหลานั้นแตกตางจากคดี 6 ตุลาคม เพราะการกออาชญากรรมเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เปนเหตุการณกลางเมืองท่ีเปดเผยจนรับรูกันท่ัวโลก รวมท้ังผูตองหาท่ีเปดเผยโจงแจงมีอยูมาก แตคนเหลานี้นอกจากจะไมถูกจับกุมตามกฎหมายแลวยังไดความดีความชอบในฐานะท่ีเปนผูพิทักษ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย” อีกดวย ปญหาในกรณีนี้คือ อิทธิพลอะไรท่ีอยูเบ้ืองหลังกลุมฆาตกรซ่ึงผลักดันใหผูกออาช ญากรรมลอยนวลอยูไดเชนนี้ ? และนักศึกษาผูตกเปนเหยื่อของการฆาตกรรมกอความผิดรายแรงเพียงใดหรือจึงตองถูกลงโทษอยางรุนแรงเชนนี้ ? เงื่อนงําของการสังหารโหดน้ีไดรับการคล่ีคลายในตัวเองข้ันหนึ่งในเย็นวันนั้นเอง เม่ือคณะทหารกลุมหนึ่งในนามของ “คณะปฏิรูปการปกครองแผนดิน” กระทําการรัฐประหารยึดอํานาจลมเลิกการปกครองในระ บอบประชาธิปไตย ลมรัฐบาลท่ีไดมาจากการเลือกต้ังตามวิถีทางรัฐสภา และฟนระบอบเผด็จการขวาจัดข้ึนมาปกครองประเทศแทน ถาหากวา การสังหารหมูเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 คือ การกออาชญากรรมตอนักศึกษาผูรักความเปนธรรมแลว การรัฐประหารเย็นวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 คือ การกออาชญากรรมตอประเทศชาติ เพราะเปนการทําลายสิทธิประชาธิปไตยของประชาชนท้ังชาติท่ีไดมาจากการเสียสละเลือดเนื้อและชีวิตของวีรชนเหตุการณ 14 ตุลาคม เม่ือโยงการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองแผนดินคร้ังนี้เขากับการสังหารโหดท่ีเกิดข้ึนในวันเดียวกันจะทําใหมองเห็นภาพการเคล่ือนไหวของพลังปฏิกิริยาท่ีรวมมือกันกออาชญากรรมชัดเจนข้ึน

23

Page 26: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้นเพื่อนํามาสูความเขาใจของท่ีมาแหงเหตุการณ 6 ตุลาคม ในบทความนี้จึงจะขอนําเสนอสาระสําคัญดังหัวขอตอไปนี้

1. สภาพการณทางการเมืองไทยหลังเหตุการณ 14 ตุลาคม เหตุการณ 6 ตุลาคมเกิดข้ึนไดอยางไรนั้นกอนอ่ืนคงตองเร่ิมตนจากเหตุการณ 14 ตุลาคม เหตุการณคร้ังนั้น นับเปนคร้ังแรกท่ีนักศึกษาและประชาชนท่ีปราศจากอาวุธ และไมเคยมีสวนรวมทางการเมืองลุกฮือข้ึนสูตอสูจนกระท่ังสามารถโคนรัฐบาลเผด็จการท่ีนําโดยสถาบันทหารและระบบราชการลงได หลังจากท่ีระบอบนี้ครอบงําการเมืองไทยอยูนานถึง 16 ปนับต้ังแตการยึดอํานาจของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต ในเดือนตุลาคม 2501 การเปล่ียนแปลงเร่ิมต้ังแตเม่ือเกิดความรุนแรงเชาวันท่ี 14 ตุลาคม 2516 จากการเกิดเหตุปะทะของนักศึกษาประชาชนและเจาหนาท่ีตํารวจ - ทหาร จากน้ันการตอสูของฝายประชาชนลุกลามจนทําใหรัฐบาลไมอาจควบคุมสถานการณไวได ในท่ีสุดจอมพล ถนอม กิตติขจร ตองประกาศลาออกจากตําแหนงนายกรัฐมนตรีเย็นวันท่ี 14 ตุลาคม 2516 นั้นเอง จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงประกาศต้ัง สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร เปนนายกรัฐมนตรี เหตุการณจึงกลับคืนสูสภาพปกติเม่ือวันท่ี 15 ตุลาคม 2516 หลังจากท่ีอดีตผูนํา 3 คนคือ จอมพล ถนอม กิตติขจร, จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ. ณรงค กิตติขจร เดินทางหนีออกจากประเทศ แมวาจะประกาศเปนรัฐบาลรักษาการ แตสัญญาเปล่ียนภาพลักษณของการบริหารประเทศไปไมนอยจากการตั้งคณะรัฐบาลที่มีพลเรือนเปนสวนขางมากคือ 19 คน โดยมีตํารวจและทหารเพียง 5 คนซ่ึงสวนมากดํารงตําแหนงในสวนกลาโหม และมหาดไทยซ่ึงเปนคร้ังแรกนับต้ังแตการรัฐประหารเดือนพฤศจิกายน 2494 เปนตนมาท่ีคณะบริหารมีสัดสวนของพลเรือนมากเชนนี้ จากน้ันคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติราชการ (กตป.) ซ่ึงแตเดิม มี พ.อ. ณรงค เปนเลขาธิการถูกยกเลิก สัญญาประกาศวาจะปกครองประเทศดวยระบอบประชาธิปไตย จะใหเสรีภาพแกประชาชนอยางเต็มท่ี พยายามท่ีจะแสดงความใกลชิดกับประชาชนโดยการออกรายการโทรทัศนท่ีช่ือวา “พบประชาชน” เปนระยะๆเพื่อแสดงใหเห็นวา รัฐบาลมิไดบริหารประเทศโดยพลการดังท่ีผานมา นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังใหสัญญาท่ีจะแกปญหาของประเทศในหลายดาน โดยเฉพาะอยางยิ่งปญหาเงินเฟอ ปญหาความเดือดรอนของชาวนา ปญหาความยากจนของประชาชน เปนตน และสัญญาวา จะดําเนินการใหประเทศเปนประชาธิปไตยโดยเร็ว และใหมีการสอบสวนคดีสังหารหมูเม่ือวันท่ี 14 ตุลาคม 2516 สวน พล.อ. กฤษณ สีวะรา ผูบัญชาการทหารบกเสนอเร่ืองใหมีการยกเลิกการพระราชทานยศจอมพลแกนายทหารทําใหยศจอมพลส้ินสุดลง อยางไรก็ตามรัฐบาลประสบวิกฤตอยางหนัก เพราะปญหาหลายดานรุมเรา สวนหนึ่งมาจากวิกฤตเศรษฐกิจท่ีรุนแรงมากย่ิงข้ึนอันเนื่องจากวิกฤตการณน้ํามันในตลาดโลกซ่ึงเกิดข้ึนในป พ.ศ. 2517 ทําใหรัฐบาลตองข้ึนราคาน้ํามันภายในประเทศซ่ึงสงผลกระทบอยางมากตอราคาสินคาอุปโภคบริโภคทําใหประชาชนเดือดรอนมากข้ึน นอกจากน้ีคือ การเผชิญกับกระแสการต่ืนตัวของประชาชนทําใหเกิดการประทวงจากประชาชน

24

Page 27: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

สวนตางๆท่ีไมไดรับความเปนธรรมจนรัฐบาลไมอาจจะแกปญหาได การควบคุมเสถียรภาพทางการเมืองทําไดยาก ดังนั้นเม่ือวันท่ี 21 พฤษภาคม 2517 สัญญาจึงลาออกจากตําแหนง แตไดรับการแตงตั้งกลับมาใหม และบริหารประเทศตอมาอีก 9 เดือน หลังจากมีการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหมเม่ือวันท่ี 7 ตุลาคม 2517 และใหมีการเลือกตั้งใหมเม่ือวันท่ี 26 มกราคม 2518 ซ่ึงพรรคประชาธิปตยไดคะแนนเสียงมากท่ีสุด ดังนั้น ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช หัวหนาพรรคจึงไดรับตําแหนงนายกรัฐมนตรีคนใหม เม่ือวันท่ี 15 กุมภาพันธ 2518 และมีการต้ังรัฐบาล 2 พรรคระหวางพรรคประชาธิปตยและเกษตรสังคม แตปรากฏวาในวันแถลงนโยบายสภาลงมติไมรับรองนโยบายรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย จึงตองลาออกจากตําแหนง และ ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ปราโมช หัวหนาพรรคกิจสังคมรวบรวมเสียงพรรคตางๆ 12 พรรคมาสนับสนุนจนมากเพียงพอจึงไดเขารับตําแหนงนายกรัฐมนตรีแทน ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ แถลงนโยบายหลักคือ การผันเงินสูชนบท สงเคราะหผูมีรายไดนอยในกรุงเทพใหข้ึนรถเมลฟรี รักษาพยาบาลฟรี และวางนโยบายตางประเทศใหสหรัฐถอนทหารจากประเทศไทย รัฐบาลชุดนี้ไดรับการรับรองจากสภาผูแทนราษฎรเม่ือวันท่ี 20 มีนาคม 2518 รัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ บริหารประเทศตอจากนั้นมานาน 10 เดือนก็เกิดวิกฤตการณอยางหนักในคณะรัฐบาล หลังจากท่ีนายกรัฐมนตรีพยายามจะดึงพรรคเกษตรสังคมมาเขารวมรัฐบาล แตกลับกอใหเกิดความแตกแยกอยางมากในหมูพรรครวมรัฐบาลพรรคอ่ืน ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ จึงประกาศยุบสภาผูแทนราษฎรเม่ือวันท่ี 12 มกราคม 2519 และประกาศใหมีการเลือกต้ังใหมเม่ือวันท่ี 4 เมษายน 2519 ซ่ึงในการเลือกต้ังคร้ังนี้พรรคประชาธิปตยไดรับชัยชนะดวยเสียงมากท่ีสุด แมกระท่ัง ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ก็พายแพในการเลือกตั้งท่ีเขตดุสิต กรุงเทพ ดังนั้น ม.ร.ว. เสนีย หัวหนาพรรคประชาธิปตยจึงกลับมารับตําแหนงนายกรัฐมนตรี และตั้งรัฐบาลผสม 4 พรรคคือ พรรคประชาธิปตยเปนแกนนํารวมกับพรรคชาติไทยท่ีนําโดย พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร พรรคธรรมสังคมท่ีนําโดย พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย และพรรคสังคมชาตินิยมท่ีนําโดย ประสิทธ์ิ กาญจนวัฒน รัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศมาจนถึงเม่ือเกิดเหตุการณ 6 ตุลาคมจึงส้ินสภาพอยางเปนทางการดวยการรัฐประหารของฝายทหาร

2. ปจจัยที่นํามาสูเหตุการณ 6 ตุลาคม จากเงื่อนไขทางการเมืองท่ีกลาวมาเปนบริบทพ้ืนฐานท่ีจะทําความเขาใจการเกิดเหตุการณ 6 ตุลาคมซ่ึงปจจัยท่ีนํามาสูเหตุการณ 6 ตุลาคมสามารถพิจารณาตามหัวขอไดดังนี้คือ 2.1 การเฟองฟูของอุดมการณสังคมนิยม เนื่องจากชัยชนะของเหตุการณ 14 ตุลาคมทําใหการผูกขาดทางความคิดโดยรัฐพังทลายลงจึงเปนคร้ังแรกที่สังคมไทยมีเสรีภาพทางความคิดอยางเต็มท่ีหลังจากท่ีตองตกอยูภายใตอํานาจเผด็จการมาชานาน ดังนั้น เสรีภาพในการแสวงหาความรูใหมกลายเปนท่ีชอบธรรม ความรู และความคิดแบบสังคมนิยมท่ีเคยเปน

25

Page 28: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ความคิดตองหามในสมัยกอนเหตุการณ 14 ตุลาคมจึงไดรับความสนใจอยางยิ่ง สวนหนึ่งเร่ิมตนจากความสนใจในเร่ืองราวเกี่ยวกับจีน หรือท่ีเรียกกันวา จีนคอมมิวนิสต เพราะกอนหนานี้ รัฐบาลไทยถือวา จีนคอมมิวนิสตนั้นเปนศัตรูสําคัญ และจะโฆษณาใหเห็นวา จีนเปนผูกอใหเกิดความไมสงบในเอเชีย และเปนรัฐท่ีมุงจะรุกรานประเทศไทย ความรูเร่ืองจีนคอมมิวนิสตในดานตางๆจึงเปนส่ิงหามเผยแพร ตอมาในระยะกอนป พ.ศ. 2516 ไมนานนักเร่ิมเกิดกระแสพิจารณาจีนในอีกลักษณะหนึ่ง กลาวคือ จีนไมใชศัตรูผูรุกรานมากเทาท่ีเคยเขาใจ กระแสความคิดนี้สวนหนึ่งเปนผลจากการเปล่ียนแปลงของสถานการณระหวางประเทศ นั่นคือ การท่ีจีนไดรับการรับรองเขาเปนสมาชิกสหประชาชาติ ในป พ.ศ. 2514 และการท่ีประธานาธิบดี ริชารด นิกสัน แหงสหรัฐเดินทางไปเยือนจีนในป พ.ศ. 2515 อันเปนการเปดความสัมพันธระหวาง 2 มหาอํานาจ สถานการณนี้สงผลทําใหรัฐบาลไทยตองเริ่มปรับทาที และจะเร่ิมมีหนังสือท่ีอธิบายถึงเร่ืองจีนออกเผยแพรบาง เชน นโยบายตางประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน และผลกระทบท่ีมีตอประเทศไทย (ฉันทิมา อองสุรักษ) และ โจวเอินไหล (อ. อิทธิพล) ซ่ึงเผยแพรในป พ.ศ. 2516 แตกระนั้นกระแสแหงต่ืนตัวของประชาชนท่ีสนใจในเร่ืองความรูเกี่ยวกับจีนอยางจริงจังเร่ิมเห็นไดชัดหลังเหตุการณ 14 ตุลาคม เชน การที่ฝายวิชาการสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (สจม.) ตีพิมพ จีน แผนดินแหงการปฏิวัติตลอดกาล ออกเผยแพรในเดือนธันวาคม 2516 หนังสือเลมนี้เปนหนังสือแปลจากบันทึกของสามีภรรยาคูหนึ่งท่ีเดินทางเขาไปในจีน และนําความรูเกี่ยวกับสังคมจีนหลังปฏิวัติมาเผยแพรกับชาวโลก นอกจากนี้ เกษม วงศประดิษฐ แปลเร่ือง 15 ปในจีนออกเผยแพรเม่ือตนป พ.ศ. 2517 เร่ืองนี้เปนเร่ืองเก่ียวกับนายแพทยชาวอังกฤษช่ือ เจ.เอส.ฮอรน ซ่ึงเขาไปทํางานในจีนหลังปฏิวัติ และอาศัยอยูในจีนนานถึง 25 ป หนังสือเลมนี้กลายเปนหนังสือขายดี และมีสวนสําคัญท่ีทําใหความรูเกี่ยวกับจีนแพรหลายมากข้ึน นอกจากนี้ผลสะเทือนในดานแนวคิดสังคมนิยมเร่ิมแสดงใหเห็นเชนกัน ดังจะเห็นไดจากคําแถลงในการจัดพิมพเร่ือง จีน แผนดินแหงการปฏิวัติตลอดกาล มีขอความลงทายวา “จนกระท่ังหัวเล้ียวหัวตอสําคัญท่ีทําใหความคิดสังคมนิยมเปนท่ีสนใจเพิ่มข้ึนอยางมากก็คือ การจัด “นิทรรศการจีนแดง” โดยองคการนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร ท่ีหอประชุมใหญของมหาวิทยาลัยระหวางวันท่ี 23 - 29 มกราคม 2517 ซ่ึงนิทรรศการแสดงถึงประวัติบุคคลสําคัญของลัทธิคอมมิวนิสต และใหความรูในเร่ืองราวเกี่ยวกับจีนในดานตางๆ เชน ในดานการเมืองการปกครอง การศึกษา การแพทย เศรษฐกิจ การกีฬา และความสัมพันธระหวางประเทศ นอกจากนี้ยังมีการฉายภาพยนตรท่ีมาจากจีนคอมมิวนิสตดวย นับเปนคร้ังแรกที่ความรูเกี่ยวกับจีนไดรับการเปดเผยตอสาธารณชนในหลายแงมุมเชนนี้ ปรากฏวา นิทรรศการไดรับความสนใจอยางลนหลามจากประชาชนโดยท่ัวไป เพราะมีผูมาเขาชมแนนขนัดทุกวันจนตองขยายงานไปจนถึงวันท่ี 5 กุมภาพันธ 2517 และในงานนี้มีการนําเอาหนังสือตางๆท่ีใหความรูเร่ืองจีนมาวางจําหนาย เปนเร่ืองเกี่ยวกับจีนแดง ประวัติของเหมาเจอตุง ประวัติการตอสูของพรรคคอมมิวนิสตจีน เปนตน ซ่ึงไดรับความสนใจเชนกัน” การจัดนิทรรศการคร้ังนี้เปนท่ีสนใจของฝายรัฐบาลดวยเชนกัน ดังเห็นไดจากการท่ี พวง สุวรรณรัตน รัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงมหาดไทยกลาวเม่ือวันท่ี 28 มกราคม 2517 วา การแสดงออกตอประชาชนของ

26

Page 29: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

นิทรรศการจีนแดงถือวา ผิดกฎหมายวาดวยการกระทําอันเปนคอมมิวนิสต แตช้ีแจงตอไปวา “แตท่ีเจาหนาท่ีมิไดดําเนินการกับการกระทําดังกลาวใหเปนไปตามกฎหมายก็เพราะเปนเร่ืองนโยบายปจจุบัน” ในท่ีสุดมีการนําเร่ืองน้ีเขาพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ปรากฏวา รัฐมนตรีสวนใหญมีความเห็นวา การแสดงนิทรรศการคร้ังนี้ไมมีผลเสียแตอยางใด เพราะเปนการใหการศึกษาในแงวิชาการ และหนังสือท่ีวางขายไมถือวาผิดกฎหมาย เพราะเปนหนังสือท่ีหาซ้ือไดท่ัวไป ผลจากการจัดนิทรรศการน้ีทําใหหนังสือ วารสารองคการนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร (อ.ม.ธ.) ฉบับนิทรรศ การจีนแดง และปรัชญานิพนธเหมาเจอตุงท่ีตีพิมพเนื่องจากนิทรรศการนี้กลายเปนหนังสือขายดี โดยเฉพาะเลมหลังมีการพิมพซํ้า และหลังจากงานนิทรรศการนี้มีหนังสือท่ีเกี่ยวของกับจีนศึกษาออกเผยแพรอีก เชน โฉมหนาจีนใหม (เกษม วงศประดิษฐ) ซ่ึงเปนภาค 2 ของเร่ือง 15 ปในจีน จากนั้นคือ วาดวยลัทธิประชาธิปไตยแผนใหมของเหมาเจอตุง, รูดมานไมไผ ตอน จีนปฏิวัติวัฒนธรรม เปนความรูท่ัวไปเกี่ยวกับจีน และศิลปะปฏิวัติเปนหนังสือแสดงภาพปนชาวนาของจีนท่ีสะทอนการถูกกดข่ีพรอมกับคําบรรยาย หนังสือเลมนี้เปนเลมแรกท่ีถูกส่ังเก็บโดยทางตํารวจสันติบาลในป พ.ศ. 2518 เพราะ “ทางกรมตํารวจต้ังคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาแลวเห็นวา เปนหนังสือท่ีอาจจะกอใหเกิดอันตรายได” ซ่ึงทําใหทางการตํารวจถูกโจมตีอยางมากในการลิดรอนสิทธิของประชาชนเชนนั้นจนตองยกเลิกคําส่ังเก็บหนังสือดังกลาวในระยะตอมา ถึงกระนั้นยังมีหนังสือในแนวสังคมนิยมออกตีพิมพจําหนายอีกมากมาย เร่ิมจาก คําประกาศแหงความเสมอภาค ซ่ึงแปลจากเร่ือง Communist Manifesto ของ คารล มารกซ และ เฟรเดอริก เองเกลส ซ่ึงแมวาจะเปนหนังสือแปลท่ีอานยาก แตก็ไดรับความสนใจอยางมาก หนังสือแนวลัทธิมารกซเลมอ่ืนท่ีตีพิมพในป พ.ศ. 2517 เชน หลักลัทธิเลนิน (ไพรัช บํารุงวาที), ปรัชญาของลัทธิมารกซิสม (กุหลาบ สายประดิษฐ), ปรัชญาชาวบาน (ศักดิ์ สุริยะ) ซ่ึงเปนการนําเอาลัทธิมารกซมาอธิบายใหเขาใจงาย และประยุกตไดกับชีวิตประจําวัน หนังสือเหลานี้เม่ือพิมพเผยแพรแลวกลายเปนท่ีสนใจอยางยิ่งในหมูประชาชน แมกระท่ังหนังสือในเชิงวิชาการลัทธิมารกซท่ีออกเผยแพรแลวเสนอหลักการไมชัดเจน และยากแกการทําความเขาใจ เชน วิวัฒนา การของมารกซิสม (น.ชญานุตม) และหนังสือตอตานคอมมิวนิสต แตเสนอประวัติของมารกซ เชน ความผิดพลาดของนายหมาก (วสิษฐ เดชกุญชร) ก็ไดรับความสนใจเชนกัน ในระยะแรกนี้ขอบขายการทํางานของเราอาจจะอยูในวงแคบดวยความจํากัดของประสบการณ โลกทัศน และชีวทัศน อีกท้ังแรงงานของเราก็เปนแรงงานอาสาสมัคร แตเราจะเขารวมตอสูทางความคิดในกระแสของประวัติศาสตรเพื่อแสวงหาทิศทางของการสรางสังคมใหม ท้ังในปจจุบันและอนาคต หนังสือท่ีเร่ิมเสนอแนวทางการวิเคราะหสังคมโดยใชทฤษฎีลัทธิมารกซท่ีออกเผยแพรในป พ.ศ. 2517 ก็มีแลว นั่นคือ วิวัฒนาการของสังคม (สุพจน ดานตระกูล), วิจัยสังคมไทย (อํานาจ ยุทธวิวัฒน), การเมืองไทยกับทางไปสูสังคมนิยม (สุรัฐ รจนาวรรณ) หนังสืออีกเลมท่ีมีความสําคัญคือ ภัยรายจากเผด็จการฟาสซิสม (โยธิน มหายุทธนา) ซ่ึงรวบรวมตีพิมพตั้งแตตนป พ.ศ. 2517 แตกระน้ันหนังสือท่ีทําสถิติขายดีคือ โฉมหนาศักดินาไทย (จิตร ภูมิศักดิ์) โดยใชนามปากกาวา สมสมัย ศรีศูทรพรรณ หนังสือนี้เขียนมาต้ังแตป พ.ศ. 2500

27

Page 30: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

แลวนํามาพิมพซํ้า ในเรื่องนี้จิตรใชลัทธิมารกซมาเปนเคร่ืองมือวิเคราะหสังคมไทยในสมัยศักดินา และช้ีใหเห็นโฉมหนาท่ีกดข่ีของสังคมศักดินาซ่ึงเปนการทําลายภาพดั้งเดิมในสังคมไทยท่ีพยายามเสนอวา สังคมยุคศักดินาเปนสังคมที่สงบรมเย็นภายใตบารมีของผูปกครอง ความจริงแลวเคยมีงานของจิตรท่ีถูกตีพิมพเผยแพรกอนเหตุการณ 14 ตุลาคม เชน ศิลปเพ่ือชีวิต ศิลปเพ่ือประชาชน พิมพตั้งแตป พ.ศ. 2515 โดย กมล กมลตระกูล ผูนํากลับมาตีพิมพอธิบายวา คนพบหนังสือนี้ในหองสมุด ม.ธรรมศาสตร จึงเอามาพิมพซํ้า แตขายไมดีนักจนเม่ือนํามาตีพิมพใหมหลังเหตุการณ 14 ตุลาคมกลับกลายเปนหนังสือขายดีมาก เร่ืองราวสําคัญท่ีเผยแพรในระยะ พ.ศ. 2517 นี้ดวยคือ เร่ืองเกี่ยวกับกรณีสวรรคตของพระเจาอยูหัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) มีการพิมพเร่ืองขอเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต (สุพจน ดานตระกูล) ซ่ึงเปนหนังสือท่ีรวบรวมขอมูลเกี่ยวกับเหตุการณสวรรคตเพ่ือยืนยันวา ปรีดี พนมยงค ไมมีความผิด นอกจากนี้คือ กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489 (สรรใจ แสงวิเชียร และ วิมลพรรณ ปตธวัชชัย) ซ่ึงมุงจะอธิบายถวายพระเกียรติพระราชอนุชาวา ทรงบริสุทธ์ิพระทัยและไมมีสวนเกี่ยวของกับเหตุการณสังหารคร้ังนี้ แตหนังสือเร่ืองกรณีสวรรคตเลมสําคัญท่ีตีพิมพในระยะนี้คือ กงจักรปศาจ ซ่ึงเปนหนังสือท่ี ร.อ. ชลิต ชัยสิทธิเวช แปลจากหนังสือเร่ือง The Devil’s Discus ของ เรเน ครูเกอร และเปนหนังสือตองหามในประเทศไทยในระยะกอนหนานี้ หนังสือเลมนี้ไดใหขอเท็จจริง และเปดประเด็นใหมเกี่ยวกับกรณีสวรรคต โดยช้ีใหเห็นเชนกันวา ปรีดี พนมยงค และเจาหนาท่ีพระราชวัง 3 คนท่ีถูกประหารชีวิตไมมีความผิดแตอยางใด อาจจะเปนเพราะกรณีสวรรคตยังอยูในความสนใจของประชาชนเสมอ หนังสือเหลานี้จึงไดรับความสนใจอยางมาก นอกจากหนังสือเลมแลวยังมีหนังสือพิมพ และวารสารในเชิงกาวหนาท่ีเสนอแนวคิดใหมแกสังคม ท้ังในดานแนวทางประชาธิปไตย ขอถกเถียงเก่ียวกับแนวคิดสังคมนิยม ตลอดจนเสนอบทบาทของขบวนการนักศึกษาท่ีเปนหนังสือพิมพรายวันภาษาไทย เชน นสพ.ประชาชาติรายวัน, นสพ.ประชาธิปไตย และ นสพ.เสียงใหม และท่ีเปนหนังสือพิมพรายวันภาษาอังกฤษคือ นสพ.เดอะ เนช่ัน สําหรับ นสพ.อธิปตย ของศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย (ศนท.) ออกราย 3 วัน สวนท่ีเปนหนังสือพิมพรายสัปดาหคือ นสพ.มหาราษฎร ซ่ึงออกพิมพเผยแพรตั้งแตกอนเหตุการณ 14 ตุลาคม, นสพ.ประชาชาติรายสัปดาห นอกจากนี้คือหนังสือรายสัปดาห จตุรัส ท่ีเดนมากในการเสนอประเด็นทางการเมืองและสังคม และเอเชียวิเคราะหขาวซ่ึงเสนอแนวทางสังคมนิยม และเผยแพรความรูเกี่ยวกับจีนศึกษาใหแกขบวนการนักศึกษาอยางสม่ําเสมอ นอกจากนี้คือ สังคมศาสตรปริทัศน ของสมาคมสังคมศาสตรซ่ึงมีอิทธิพลมาหลายปกอนเหตุการณ 14 ตุลาคม ปุถุชน ซ่ึงเปนนิตยสารทางวรรณกรรมและสังคม แมกระท่ังวารสารรายเดือน อักษรศาสตรพิจารณ ของกลุมนิสิตคณะอักษรศาสตร ซ่ึงมี ประสิทธ์ิ รุงเรืองรัตนกุล เปนบรรณาธิการก็มีบทบาทท่ีกาวหนามากข้ึน และชวยสรางความคิดใหมใหแกขบวนการนักศึกษาเชนกัน ตอมาในป พ.ศ. 2518 - 2519 ยังคงเปนระยะ “ดอกไมรอยดอกเบงบาน” สําหรับแนวคิดสังคมนิยม เพราะหนังสือท่ีเสนอแนวทางสังคมนิยมยังคงตีพิมพเผยแพรอยางตอเนื่อง และครอบครองสวนขางมากของตลาดหนังสือ ท่ีสําคัญคือ กลุมนักศึกษาท่ีกาวหนากลุมหนึ่งท่ีนําโดย นิสิต จิรโสภณ ไดตั้งสํานักพิมพช่ือ “ชมรมหนังสือแสงตะวัน” เพื่อพิมพหนังสือเผยแพรอุดมการณสังคมนิยมโดยตรง สํานักพิมพนี้พิมพหนังสือท่ีเดน

28

Page 31: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

มากคือ สรรนิพนธ เหมาเจอตุง ซ่ึงพิมพเปนชุดออกมาเปน 8 เลม เลมอ่ืนๆ เชน เหมาเจอตุง ผูนําจีนใหม (เทอด ประชาธรรม), ลัทธิคอมมิวนิสตจอมปลอมของครุสชอฟ (กองบรรณาธิการหุงฉี), แถลงการณของพรรคคอมมิวนิสต (คารล มารกซ และ เฟรเดอริก เองเกลส) ซ่ึงฉบับท่ีชมรมหนังสือแสงตะวันนํามาตีพิมพคือ ฉบับแปลของสํานักพิมพภาษาตางประเทศ, ปกกิ่ง ทีปกร ศิลปนนักรบของประชาชน เปนหนังสือรวมบทความดานวรรณกรรมของจิตรความเรียงวาดวยศาสนา เปนงานแปลเชิงวิพากษศาสนาของจิตร, วิทยาศาสตรสังคมของประชาชน (อนันต ปนเอ่ียม) ซ่ึงเปนหนังสืออธิบายลัทธิมารกซอยางงายเชนกัน, วิวัฒนาการแหงสังคมสยาม (สรรค รังสฤษฏ์ิ) เปนเร่ืองของการนําเอาลัทธิมารกซมาอธิบายประวัติศาสตรสังคมไทย เปนตน นอกจากหนังสือของชมรมหนังสือแสงตะวันยังมีหนังสืออ่ืนๆอีกมากซ่ึงเสนอความรูเกี่ยวกับจีน และแนวทางสังคมนิยม หนังสือเหลานี้พิมพเผยแพรในนามสํานักพิมพตางๆหลากหลายกันท่ีเปนหนังสือเชิงทฤษฎี เชน วิวัฒนาการความคิดสังคมนิยม (ชาญ กรัสนัยบุระ), ลัทธิสังคมนิยมแบบเพอฝนและแบบวิทยาศาสตร (อุทิศและโยธิน), มารกซ จงใจจะพิสูจนอะไร อยางไร ? (สุภา ศิริมานนท), เศรษฐศาสตรเพ่ือมวลชน (วิภาษ รักษาวาที) เปนตน เร่ืองท่ีเกี่ยวกับประวัติศาสตรพรรคคอมมิวนิสตจีนและแนวคิดทฤษฎี เชน นักศึกษาจีน แนวหนาขบวนการปฏิวัติสังคม ซ่ึงพิมพโดยพรรคพลังธรรม ม.ธรรมศาสตร, คติพจนประ ธานเหมาเจอตุง, วาดวยการสรางพรรค, วาดวยประชาธิปไตยรวมศูนย (เศรษฐ วัฒน ผดุงรัฐ), โฉมหนาจีนใหม ตีพิมพโดยองคการนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร, บนเสนทางไปสูสังคมนิยมจีน (ธีรยุทธ บุญมี) นอกจากเร่ืองจีน เร่ืองเกี่ยวกับผูนําเกาหลีเหนือไดรับการตีพิมพคือ กิมอิลซอง ดวงตะวันท่ีไมลับฟาของประชาชาติเกาหลี ภาคครอบครัวและชีวิตในวัยเยาว (คม ทิวากร) ซ่ึงพิมพโดยสํานัก พิมพเข็มทิศ นอกจากนี้คือ เร่ืองท่ีเกี่ยวกับการตอสูของประชาชนอินโดจีน เชน สงครามอินโดจีน (เสกสรรค ประเสริฐกุล), สงครามอินโดจีน ลาว เขมร เวียดนาม (ชาญวิทย เกษตรศิริ), สงครามจรยุทธ (ศาศวัต วิสุทธ์ิวิภาษ) และตีพิมพโดยสํานักพิมพปุถุชน ในป พ.ศ. 2517 สรรนิพนธโฮจิมินห (วารินทร สินสูงสุด และ ปารวดี วรุณจิต) และวิเคราะหการตอสูของพรรคลาวดอง (ธีรยุทธ บุญมี) เปนตน และหนังสือท่ีแพรหลายอยางมากอีกเร่ืองหน่ึงคือ เช กูวารา นายแพทยนักปฏิวัติผูยิ่งใหญ (ศรีอุบล) ซ่ึงเปนเร่ืองของ เช กูวารา นักปฏิวัติสากลนิยมผูโดงดังซ่ึงตีพิมพคร้ังแรกต้ังแตป พ.ศ. 2516 ตอมากลายเปนหนังสือขายดีจนตองตีพิมพซํ้าหลายคร้ัง แมกระท่ังเอกสารภายในพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยหลายฉบับท่ีเสนอเนื้อหาปฏิวัติไดรับการนํามาตีพิมพอยางเปดเผย เชน ชีวทัศนเยาวชน ซ่ึงนําเสนอหลักการในการดํารงชีวิตท่ีกาวหนาของเยาวชน ลัทธิวัตถุนิยมทางประวัติศาสตรและวิวัฒนาการทางสังคม (อธิคม กรองเกรดเพชร) เปนเอกสารศึกษาเร่ืองทฤษฎีภายในพรรค ใครสรางใครทําเปนเอกสารของพรรคท่ีนําเสนอการวิเคราะหสังคมไทยอยางงายๆ, คติพจนเหมาเจอตุง เปนการรวบรวมวลีและถอยคําตางๆของเหมาเจอตุงมาไวในเลมเดียวกัน และถือเปนหนังสือคูมือของสมาชิกสันนิบาตเยาวชนพรรคคอมมิวนิสตไทย หนทางการปฏิวัติไทยเปนเอกสารชี้นําสถานการณภายในพรรค และเร่ืองอ่ืนๆ เชน หญิงสูหญิงชนะ ใตธงปฏิวัติ ฯลฯ แตท่ีสําคัญคือ การตีพิมพไทยกึ่งเมืองข้ึน ของ อรัญ พรหมชมพู (อุดม ศรีสุวรรณ) ในป พ.ศ. 2519 ซ่ึงเปนหนังสือวิเคราะหเชิงประวัติศาสตรท่ีสําคัญ

29

Page 32: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

อยางยิ่งท่ีช้ีใหเห็นวา ไทยนั้นมิใชประเทศท่ีเปนเอกราชสมบูรณ แตตกอยูในฐานะ “กึ่งเมืองข้ึน” ของจักร วรรดินิยมมาต้ังแตสมัยรัชกาลท่ี 4 การเผยแพรของหนังสือเหลานี้ถือไดวา เปนการนํามาซ่ึงการปฏิวัติทางภูมิปญญาของสังคมไทย ทําใหนักศึกษาประชาชนจํานวนมากหลุดจากโครงครอบทางความคิดแบบเกาสูโครงสรางทางความคิดแบบใหมท่ีมีทีทาวาจะกาวหนากวาในยุคสมัยนั้นนั่นคือ แนวคิดแบบสังคมนิยม การท่ีแนวคิดสังคมนิยมกลายเปนท่ียอมรับสวนหนึ่งก็เพราะทฤษฎีลัทธิมารกซสามารถวิเคราะหสังคมเกาไดอยางมีพลัง และยังเสนอทางออกไดชัดเจน นั่นคือการนําเสนอวา สังคมมนุษยเปนสังคมที่มีชนช้ัน มีการกดข่ีขูดรีด เอารัดเอาเปรียบกันเพื่อรักษาการกดข่ีขูดรีดนั้นชนชั้นปกครองจะสรางรัฐข้ึนมาปกปองอํานาจของตน และสรางศาสนาและวัฒนธรรมข้ึนมามอมเมาประชาชน แตสาระสําคัญท่ีชนช้ันปกครองตองการรักษาไวคือ การขูดรีดทางเศรษฐกิจท่ีทําใหชนช้ันปกครองท่ีเปนชนช้ันศักดินา และนายทุนมีฐานะม่ังค่ังรํ่ารวย ขณะที่ประชาชนช้ันลางท่ีเปนกรรมกรชาวนาจะตกอยูในภาวะยากจนขนแคนเสมอ แตกระนั้นแนวคิดสังคมนิยมก็มิไดสอนใหประชาชนทอแท เพราะตามหลักปรัชญาสังคมนิยมนั้นมนุษยเปนผูสรางสังคมของตนเอง ดังนั้นชนช้ันกรรมกรและชาวนาจึงสามารถท่ีจะกําหนดอนาคตของตนได โดยการรวมพลังกันกอการปฏิวัติโคนลมสังคมท่ีกดข่ีลง และสรางสังคมใหมของชนช้ันกรรมาชีพข้ึนแทน สังคมใหมของกรรมาชีพนี้คือ สังคมแบบสังคมนิยมท่ีมนุษยจะมีความเสมอภาค ไมมีการกดข่ีขูดรีดกันอีกตอไป จะเปนสังคมท่ีกาวหนารุงเรือง ตัวอยางท่ีดีสําหรับความกาวหนาของลัทธิสังคมนิยมในความรูท่ีพัฒนาหลังเหตุการณ 14 ตุลาคมคือ ชัยชนะและการยืนหยัดของการปฏิวัติจีน เพราะต้ังแตหลังการปฏิวัติในป พ.ศ. 2492 จีนสามารถแกปญหาความยากจนและลาหลังของตน และพัฒนาจนกลายเปนประเทศชั้นนําของโลก และเปนสังคมท่ีมีความเสมอภาคยิ่งกวาประเทศทุนนิยมใดๆ การที่หนังสือพิมพเอเชียวิเคราะหขาวนําเอาเร่ืองเกี่ยวกับความกาวหนา ชัยชนะ และแบบอยางอันดีของจีนมาเผยแพรเปนการปลุกเราใหเห็นอนาคตวา สังคมไทยจะตองดีข้ึนอยางแนนอน ดังบทความท่ีสะทอนวา “ระบบเศรษฐกิจของเราจําเปนตองเปล่ียนไปเปนสังคมนิยมจึงจะแกไขภาวะยุงยากได และความจริงแนวโนมความเส่ือมศรัทธาในระบบทุนนิยมนั้นเปนไปท่ัวโลก” นอกจากนี้ชัยชนะในการปฏิวัติของกัมพูชาและเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 และชัยชนะของการปฏิวัติลาวในเดือนธันวาคมปเดียวกันเปนแรงใจปลุกเราใหเห็นวา โอกาสในการขับไลจักรวรรดินิยม และสรางชัยชนะท่ีจะนํามาสูการสรางสังคมใหมนั้นเกิดข้ึนได และเปนการชวยตอกย้ําใหเกิดความมั่นใจในชัยชนะของประชาชนมากข้ึน ดวยเหตุเหลานี้จึงทําใหอุดมการณสังคมนิยมคอยๆกลายเปนอุดมการณของขบวนการนักศึกษาไทย และทฤษฎีสังคมนิยมกลายเปนอาวุธในการวิพากษสังคมไทยอยางไมเคยปรากฏมากอน โดยการวิเคราะหและวิพากษสังคมไทยวา เปนสังคมชนช้ันท่ีมีการกดข่ีขูดรีดกันอยางรุนแรง ชนช้ันปกครองไทยสบคบกับจักรวรรดินิยมสหรัฐทําการกดข่ีประชาชนอยางหนัก หนทางในการแกไขจึงจะตองปฏิวัติประเทศไปสูสังคมนิยม โคนลมชนช้ันท่ีกดข่ีอันไดแก กลุมทุนนิยมขุนนาง ขุนศึก และศักดินา ขับไลจักรวรรดินิยมสหรัฐ และสรางสังคมใหมแหงชนช้ันกรรมกรชาวนาข้ึน อุดมการณสังคมนิยมเรียกรองใหนักศึกษาในฐานะท่ีเปนเยาวชนเขาแบกรับหนาท่ีนี้ซ่ึงสอดคลองกับจิตสํานึกในการตอสูเพื่อสวนรวมในขบวนการ

30

Page 33: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

นักศึกษาที่พัฒนามาต้ังแตยุคกอนเหตุการณ 14 ตุลาคม เม่ือมาถึงขณะนี้คําขวัญเรียกรองให “รับใชประชาชน” จึงแพรหลายท่ัวไปในขบวนการนักศึกษา การเผยแพรของอุดมการณสังคมนิยมซ่ึงเปดโปงใหเห็นความเหลวแหลกเส่ือมทรามของสังคมไทยอยางชัดแจงไดรับการเผยแพรเปนท่ีสนใจของประชาชนอยางมาก ในท่ีสุดแมกระท่ังพรรคประชาธิปตยซ่ึงเปนพรรคการเมืองใหญ และคอนขางมีบทบาทยังประกาศวา จะใชนโยบายบริหารประเทศแบบ “สังคมนิยมออนๆ” นอกจากนี้ยังมีการกอตั้งพรรคการเมืองแนวสังคมนิยมข้ึนมาตอสูทางรัฐสภา 3 พรรคนั่นคือ พรรคแนวรวมสังคมนิยม ท่ีนําโดย แคลว นรปติ โดยมี เกริก ระวังภัย เปนรองหัวหนาพรรค และ พรชัย แสงชัจจ เปนเลขาธิการพรรค ตอมาคือ พรรคสังคมนิยมแหงประเทศไทย ซ่ึงมี พ.อ. สมคิด ศรีสังคม เปนหัวหนาพรรค, ไขแสง สุกใส เปนรองหัวหนาพรรค และ บุญสนอง บุญโยทยาน เปนเลขาธิการพรรค ปรากฏวาพรรคสังคมนิยมแหงประเทศไทยไดรับการตอนรับ และเขารวมจากคนรุนใหมจากขบวนการนักศึกษาจํานวนมาก และชูคําขวัญวา “ประชาชนตองเปนใหญในแผนดิน” พรรคท่ี 3 คือ พรรคพลังใหม ซ่ึงตั้งข้ึนโดยกลุมนักวิชาการ และปญญาชนท่ีรักความเปนธรรมอีกกลุมหนึ่ง หัวหนาพรรคคือ กระแส ชนะวงศ นายแพทยรางวัลแมกไซไซ เลขาธิการพรรคคือ ปราโมทย นาครทรรพ นอกจากนี้ยังรวมดวยคนอ่ืนๆ เชน จรัญ ประดับพงษ, ประสาน ตางใจ, อาทิตย อุไรรัตน เปนตน พรรคแนวทางสังคมนิยมท้ังสามพรรคพยายามดําเนินการตอสูหนทางรัฐสภาเพ่ือปกปองพิทักษผลประโยชนของประชาชนคนยากคนจนอยางเต็มท่ี และไดรับการสนับสนุนจากประชาชนไมนอย ดังจะเห็นไดจากการเลือกต้ังเดือนกุมภาพันธ 2518 มีสมาชิกท้ังสามพรรคไดรับเลือกเขาสูสภาถึง 37 ท่ีนั่ง เปน สมาชิกพรรคสังคมนิยมแหงประเทศไทย 15 ท่ีนั่ง พรรคพลังใหม 12 ท่ีนั่ง และพรรคแนวรวมสังคมนิยม 10 ท่ีนั่ง และในจํานวนนี้ปรากฏวา สุธีร ภูวพันธ ส.ส.พรรคแนวรวมสังคมนิยม จาก จ.สุรินทร ไดรับคะแนนเสียงจากประชาชนมากที่สุดของประเทศดวย อันเปนการแสดงใหเห็นวา พรรคแนวทางสังคมนิยมไดรับการตอนรับจากประชาชนเปนอยางดี และกลายเปนพลังตอรองทางการเมืองในรัฐสภาอันสําคัญยิ่ง ผลงานชิ้นสําคัญของพรรคแนวทางสังคมนิยมท้ังสามพรรคคือ ความพยายามผลักดันใหมีการเลิกกฎหมายคอมมิวนิสต โดยเร่ิมจากวันท่ี 23 มีนาคม 2518 บุญสนอง เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแหงประเทศไทยแถลงวา จะเสนอใหมีการเลิก พ.ร.บ. ปองกันการกระทําอันเปนคอมมิวนิสต พ.ศ. 2496 เพราะเห็นวา กฎหมายฉบับนี้เปนเคร่ืองมือของฝายทรราชในการเขนฆา และทํารายประชาชนผูบริสุทธ์ิจึงควรท่ีจะยกเลิกเสีย และเสนอใหประชาชนไทยสามารถต้ังพรรคคอมมิวนิสตไดอยางถูกตองตามกฎหมายเชนในยุโรปตะวันตก ดังนั้นเม่ือวันท่ี 23 เมษายน 2518 ท้ังสามพรรคชักชวนใหพรรคประชาธิปตย และพรรคเกษตรสังคมซ่ึงเปนพรรครวมฝายคานเสนอรางยกเลิก พ.ร.บ. ปองกันการกระทําอันเปนคอมมิวนิสต พ.ศ. 2496 อยางเปนทางการจึงนํามาซ่ึงการอภิปรายกันอยางกวางขวาง เพราะฝายทหารและขาราชการยังเห็นวา กฎหมายฉบับนี้มีความจําเปนในการใชปราบปรามการกอการรายของฝายคอมมิวนิสต หรือถาเลิกกฎหมายฉบับนี้ก็ควรจะตองมีกฎหมายความม่ันคงฉบับใหม ในท่ีสุดสภาความม่ันคงเสนอรางกฎหมายใหมเรียกวา “รางกฎหมายความปลอดภัยแหงชาติ” ซ่ึงยิ่งมีมาตรการในการปราบปราบประชาชนท่ีครอบจักรวาลยิ่งกวา พ.ร.บ. ปอง

31

Page 34: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

กันการกระทําอันเปนคอมมิวนิสต พ.ศ. 2496 และเม่ือวันท่ี 2 กันยายน 2518 คณะรัฐมนตรีไดรับรางกฎหมายฉบับใหมนี้ แตตอมาเกิดกระแสการคัดคานอยางหนัก โดยขบวนการนักศึกษา และพรรคสังคมนิยมท้ังสามพรรค รัฐบาลจึงแถลงวา จะมอบใหคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาใหม ดวยการเคลื่อนไหวของฝายพรรคสังคมนิยมทําใหผูปกครองศักดินา และพรรคการเมืองชนช้ันนายทุนเกิดความหวาดระแวงวา พรรคแนวทางสังคมนิยมเหลานี้จะไปทําใหผลประโยชน และความไดเปรียบของตนลดลงจึงไดใชพยายามท่ีจะใสรายปายสีและทําลาย เชน การโจมตีวาพรรคสังคมนิยมเหลานี้เปนแนวรวมของคอมมิวนิสต โดยใชคําขวัญรณรงควา “สังคมนิยมทุกชนิดคือคอมมิวนิสตนั่นเอง” หรือไดเงินจากคณะ กรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแหงรัฐ (KGB) แหงสหภาพโซเวียตบาง ขายชาติใหเวียดนามบาง เปนปฏิปกษกับสถาบันพระมหากษัตริยบาง นอกจากนี้คือ การใชความรุนแรงทําราย และกอกวนผูสมัครรับเลือกต้ังของท้ังสามพรรค ดวยเหตุจากการโจมตีใสราย และสกัดกั้นทุกวิถีทางดังกลาว ทําใหการเลือกต้ังในเดือนเมษายน 2519 มีผูสมัครท้ังสามพรรคไดรับเลือกเขาสภาผูแทนราษฎรเพียง 6 คนเทานั้นคือ พรรคพลังใหม 3 คน, พรรคสังคมนิยมแหงประเทศไทย 2 คน และพรรคแนวรวมสังคมนิยม 1 คน อยางไรก็ตามการแพรหลายของความรูเกี่ยวกับจีน และการเผยแพรแนวคิดสังคมนิยมกอใหเกิดการปรับเปล่ียนนโยบายเชนกัน เพราะรัฐบาลพลเรือนหลังเหตุการณ 14 ตุลาคมมีแนวโนมท่ีจะยอมรับการเปนมิตรกับจีนมากข้ึน เม่ือวันท่ี 4 เมษายน 2517 รัฐบาล สัญญา ธรรมศักดิ์ เสนอยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติฉบับท่ี 53 ท่ีจะใหมีการเปดการคากับจีนอยางเสรี แตปรากฏกวา สมาชิกสภาท่ีเรียกวากลุม 99 คัดคาน อยางไรก็ตามกระแสตอตานจีนไมอาจจะดํารงอยูไดเม่ือ ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ รับตําแหนงนายกรัฐมนตรีก็เดินทางไปเยือนจีนอยางเปนทางการ และออกแถลงการณรวมเพ่ือฟนฟู และกระชับไมตรีระหวาง 2 ประเทศเม่ือวันท่ี 1 กรกฎาคม 2518 2.2.1 การตอสูของกรรมกร ขบวนการเคลื่อนไหวท่ีสําคัญแรกสุดคือ การตอสูของชนช้ันกรรมกร ท้ังนี้เพราะตลอดเวลาที่อยูภายใตการปกครองเผด็จการกรรมกรถูกกดข่ีขูดรีดอยางหนัก เนื่องจากนโยบายมุงสงเสริมการลงทุนของรัฐบาลต้ังแตสมัยจอมพล สฤษดิ์ ท่ีมุงท่ีจะสรางบรรยากาศการลงทุนท่ีดีสําหรับนักลงทุนตางชาติจึงมุงท่ีจะกดคาจางแรงงานของกรรมกรใหต่ํา แตในขณะเดียวกันยกเลิกกฎหมายแรงงานสัมพันธ ใชกฎอัยการศึก หามการนัดหยุดงานของกรรมกรอยางเด็ดขาด หากคนงานขัดขืนมีโอกาสที่จะถูกจับกุมในขอหาคอมมิวนิสตโดยทันที กรรมกรไทยจึงยากจนขนแคน และตองทํางานในเง่ือนไขท่ียากลําบาก คาจางแรงงานต่ํา ไมมีหลักประกันในดานสวัสดิการและชีวิตการทํางาน ตองตกอยูในสภาพเสียเปรียบอยางยิ่งตอนายทุนเจาของโรงงาน ดังนั้นปญหาของชนช้ันกรรมกรจึงเปนปญหาที่ส่ังสมมากข้ึนทุกที กรรมกรจึงมีความพยายามในการนัดหยุดงานตอสูอยูบาง โดยเฉพาะในระยะปกอนหนาเหตุการณ 14 ตุลาคมเร่ิมมีการนัดหยุดงานของกรรมกรเพ่ิมข้ึนทุกป ในขณะเดียวกันรัฐบาลเร่ิมใชนโยบายผอนปรนบางประการ เชน การออกกฎกระทรวงมหาดไทย ลงวันท่ี

32

Page 35: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

16 เมษายน 2515 ใหมีการตั้งกรรมการพิจารณากําหนดคาจางแรงงานข้ันตํ่าตามมาตรฐานขององคการแรงงานระหวางประเทศ ปรากฏวา ในการประกาศใชคาจางข้ันตํ่าคร้ังแรกเดือนกุมภาพันธ 2516 ใหคาจางข้ันตํ่าเทากับ 12 บาทตอวัน แตกระนั้นมาตรการผอนปรนเหลานี้มิไดแกปญหาข้ันพื้นฐานของชนช้ันกรรมกร เพราะแมวา อัตราคาแรงข้ันตํ่านั้นจะตํ่ามากเม่ือเทียบกับระดับการครองชีพ แตโรงงานจํานวนมากยังจายคาแรงตํ่ากวาท่ีกฎหมายกําหนด ดังนั้นเม่ือระบอบเผด็จการพังทลายจากเหตุการณ 14 ตุลาคมจึงเกิดกระแสการนัดหยุดงานเพ่ือเรียกรองความเปนธรรมขนานใหญ ดังจะเห็นไดจากหลังเหตุการณ 14 ตุลาคมเพียง 1 เดือนเศษจนถึงวันท่ี 30 พฤศจิกายน 2516 กรรมกรนัดหยุดงานถึง 180 คร้ัง โดยเฉล่ียแลวมีการนัดหยุดงานของกรรมกรถึง 4 คร้ังตอวัน และการนัดหยุดงานของกรรมกรน้ีแผขยายไปท่ัวท้ังในกรุงเทพและตางจังหวัด จากน้ันในเดือนตอมา กรรมกรนัดหยุดงานอีกเปนจํานวน 300 คร้ัง คิดเปนอัตราถึง 10 คร้ังตอวัน และในการประทวงของชนช้ันคนงานมีหลายคร้ังท่ีกระทบกระเทือนอยางมาก เชน การนัดหยุดงานของกรรมกรทาเรือ และกรรมกรเขายึดทาเรือปดการขนสง 1 วันจนทําใหทางฝายบริหารการทาเรือตองยอมปรับคาแรงตามขอเรียกรอง ตอมาเม่ือวันท่ี 12 ธันวาคม 2516 กรรมกรรถไฟนัดหยุดงานทําใหการขนสงทางรถไฟตองชะงัก และทายท่ีสุดทางการรถไฟตองปรับคาแรงกรรมกรเชนกัน ตอมาในป พ.ศ. 2517 กระแสการหยุดงานของกรรมกรก็ยิ่งสูงข้ึนถึง 357 คร้ัง และมีกรรมกรท่ีเกี่ยวของกับการนัดหยุดงานเพิ่มทวีมากข้ึน จากน้ันในป พ.ศ. 2518 มีการนัดหยุดงานของกรรมกรอีก 241 คร้ัง และในป พ.ศ. 2519 จนถึงเดือนตุลาคมท่ีเกิดเหตุการณ 6 ตุลาคมมีการนัดหยุดงาน 133 คร้ังจนกลาวไดวาขบวนการกรรมกรเกือบท้ังหมดผานการนัดหยุดงานในชวงระยะเวลากอน 6 ตุลาคมนี้แลวแทบท้ังส้ิน การขยายตัวแหงการนัดหยุดงานของชนช้ันกรรมกรอาจแสดงใหเห็นไดดังตาราง

ปการนัดหยุดงาน วันทํางานท่ีสูญเสีย จํานวนลูกจางท่ีเกี่ยวของ 2514 275 15,312 2515 347 80,319 2516 50 887,296 2517 357 883,507 2518 241 734,722 2519 133 342,495

ตารางสถิติการนัดหยุดงาน ท่ีมา กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย ปญหาอยูท่ีวา การนัดหยุดงานดังกลาวเกิดข้ึนจากการยุยงของฝายซายตามท่ีเอกสารคณะปฏิรูปกลาวอางหรือ ? คําตอบคือ ไมนาจะใช เพราะในระหวางปลายป พ.ศ. 2516 - 2517 ท่ีกรรมกรนัดหยุดงานอยางมาก

33

Page 36: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

นั้นยังไมมีขบวนการฝายซายท่ีไหนแข็งแกรงพอท่ีจะไปยุยงกรรมกรโรงงานนับพันโรงงานใหหยุดงานได ดังนั้นปญหาการนัดหยุดงานเหลานี้เกิดจากสภาพความบีบค้ันแรนแคนของกรรมกรท่ีส่ังสมตัวมาแสนนานจนเกิดแรงระเบิดข้ึนในระยะดังกลาว ขอเรียกรองของกรรมกรโดยมากมักเปนเร่ืองขอใหนายจางเพ่ิมคาแรงงานและสวัสดิการ รวมทั้งหลักประกันในการทํางานตางๆ กระแสแหงการตอสูของกรรมกรท่ีเพิ่มข้ึนในระยะนี้เองนํามาสูการกอต้ังองคกรกรรมกรในรูปของสหภาพแรงงานข้ึนมากมายในวิสาหกิจตางๆ ท้ังในภาครัฐวิสาหกิจ และโรงงานเอกชนซ่ึงการรวมตัวกันของกรรมกรเขาเปนสหภาพแรงงานจะเกิดข้ึนไมไดเลยภายใตระบอบเผด็จการกอนหนานี้ การเกิดขององคกรกรรมกรเหลานี้ทําใหการเคล่ือนไหวของชนช้ันกรรมกรเปนระบบและเปนขบวนการมากยิ่งข้ึน โดยเร่ิมจากวันท่ี 1 พฤษภาคม 2517 กลุมกรรมกรตางๆ 34 สมาคมรวมมือกับขบวนการนักศึกษาจัดงานวันกรรมกรข้ึนท่ี ม.ธรรมศาสตร และท่ีสวนลุมพินี มีกรรมกรเขารวมนับหม่ืนคนซ่ึงนับเปนคร้ังแรกตั้งแตป พ.ศ. 2500 ท่ีมีการจัดงานวันกรรมกรยิ่งใหญเชนนี้ และสัญญาออกปราศรัยทางวิทยุและโทรทัศนเพื่อสดุดีชนช้ันกรรมกรดวย ตอมาเม่ือวันท่ี 5 มิถุนายน 2517 กรรมกรโรงงานทอผายานออมนอยเรียกรองใหโรงงานอ่ืนๆเขาประทวงสมาคมส่ิงทอของกลุมนายทุนทอผาท่ีประกาศจะลดการผลิต และลดเวลาการทํางานของกรรมกร โดยอางเหตุผลวา ยอดขายในตลาดโลกลดลง สมาคมกรรมกร 34 แหงรวมกันยื่นหนังสือถึงรัฐบาลใหชวยแกไข แตไมไดรับการตอบสนอง เมื่อวันท่ี 9 มิถุนายน 2517 กรรมกรทอผา 600 โรงงานท่ัวประเทศจึงนัดหยุดงาน และนัดชุมนุมท่ีสนามหลวง ตั้งขอเรียกรองใหมีการปรับคาจางแรงงาน ใหมีสวัสดิการ และใหมีกฎหมายคุมครองแรงงาน การชุมนุมขยายตัวเปนการชุมนุมใหญท่ียืดเยื้อถึง 4 วัน และมีกรรมกรหลายหมื่นคนเขารวมซ่ึงนับเปนการเคล่ือนไหวชุมนุมใหญท่ีสุดหลังเหตุการณ 14 ตุลาคม ในท่ีสุดรัฐบาลรับปากท่ีจะพิจารณาขอเรียกรองของกรรมกร โดยเฉพาะเร่ืองคาชดเชยเม่ือออกจากงาน และการปรับคาจางแรงงานข้ันต่ํา ในท่ีสุดรัฐบาลตองยอมประกาศยอมประกันคาจางแรงงานข้ันตํ่าใหกรรมกรซ่ึงนํามาสูการประกาศประกันคาแรงข้ันตํ่าวันละ 20 บาทในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ในเดือนตุลาคม 2517 และตอมารัฐบาลประกาศใช พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ พ.ศ. 2518 การตอสูนัดหยุดงานของกรรมกรคร้ังนี้ไดรับการสนับสนุนอยางดีจากกลุมอิสระตางๆในขบวนการนักศึกษา และองคการบริหาร ม.ธรรมศาสตร จึงทําใหสมาคมกรรมกรตางๆซ่ึงเปนกรรมกรภาคเอกชนท่ีรวมการตอสูจัดต้ังองคกรรวมคือ “ศูนยประสานงานกรรมกรแหงชาติ” เพื่อประสานงานการตอสูของกรรม กร โดยมีผูนําสําคัญคือ เทิดภูมิ ใจดี ประธานกลุมสหภาพกรรมกรโรงแรม และ ประสิทธ์ิ ไชโย จากสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมทอผาสมุทรสาคร เปาหมายของศูนยประสานงานกรรมกรนอกจากจากตอสูเพื่อประโยชนของชนช้ันกรรมกรแลวยังมุงท่ีจะประสานพลังกับกลุมชาวนา และขบวนการนักศึกษาเพื่อสรางพลัง 3 ประสานข้ึนเปนพลังทางการเมืองสําคัญ ในการเรียกรองสิทธิประโยชนของประชาชน นอกเหนือจากกลุมสหภาพแรงงานเอกชนท่ีนําโดยศูนยประสานงานกรรมกรมีกลุมสหภาพแรงงานอีกกลุมหนึ่งจัดต้ังข้ึนดวยซ่ึงมาจากสหภาพในกิจการสาธารณูปโภคของรัฐไดแก สหภาพของพนักงานการไฟฟา

34

Page 37: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

การประปา องคการโทรศัพท โรงงานยาสูบ คลังสินคา ทาเรือ เปนตน หลังจากท่ีไดมีการใช พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ พ.ศ. 2518 กลุมสหภาพแรงงานสวนนี้รวมกันสหภาพแรงงานกลางเรียกวา “กลุมสหภาพแรงงานแหงประเทศไทย” มีผูนําคือ ไพศาล ธวัชชัยนันท ประธานสหภาพแรงงานการไฟฟานครหลวง และ อารมณ พงศพงัน จากสหภาพแรงงานประปานครหลวง กลุมนี้เปนแกนกลางในการจัดงานวันกรรมกรท่ีสวนลุมพินี เม่ือวันท่ี 1 พฤษภาคม 2518 และตอมามีบทบาทในการหนุนชวยการตอสูของกรรมกรเชนเดียวกัน ในป พ.ศ. 2518 การตอสูของกรรมกรยิ่งแหลมคมมากข้ึน โดยเร่ิมจากการเคล่ือนไหวของกรรมกรหญิงโรงงานสแตนดารดการเมนทซ่ึงเปนโรงงานตัดเย็บเส้ือผาสําเร็จรูปท่ีตั้งอยูยาน ถ.พระราม 4 ประทวงนายจางท่ีไมยอมจายคาจางตามกฎหมายแรงงาน ในครั้งนี้ฝายนายจางใชวิธีการแยกสลายกรรมกรเปน 2 สวน โดยมีสวนหนึ่งท่ีไมรวมการประทวง และตองการเขาทํางาน เม่ือวันท่ี 28 พฤษภาคม 2518 กองกําลังตํารวจภายใตการนําของ พ.ต.อ. ยุทธนา วรรณโกวิท ผูบังคับการตํารวจนครบาลใตพยายามนําเอากรรมกรสวนท่ีเขาขางนายจางเขาทํางานเกิดการปะทะกับฝายกรรมกรท่ีตองการประทวง ฝายตํารวจตัดสินใจใชไมกระบองเขาทุบตีกรรมกรที่นัดหยุดงานซ่ึงลวนเปนกรรมกรหญิงท้ังส้ินทําใหกรรมกรบาดเจ็บ 28 คน นับเปนคร้ังแรกท่ีเร่ิมมีการใชวิธีการแยกสลายโดยใหกรรมกรขัดแยงกันเอง และเปนคร้ังแรกท่ีฝายตํารวจใชความรุนแรงกับกรรมกร หลังจากนั้นคือ การประทวงของพนักงานโรงแรมดุสิตธานีซ่ึงเคยนัดหยุดงานคร้ังท่ี 1 ในเดือนสิงหาคม 2517 เปนเวลา 23 วันเพื่อเรียกรองคาจางแรงงาน ตอมาเม่ือวันท่ี 1 พฤษภาคม 2518 คนงาน 400 คนนัดหยุดงานคร้ังท่ี 2 หลังจากท่ียื่นขอเรียกรองตอฝายบริหารแลวไมไดรับการตอบสนอง การนัดหยุดงานยืดเยื้อ เพราะฝายเจาของโรงแรมไมยอมเจรจาและไลฝายพนักงานออก 105 คน และยังวาจางกลุมกระทิงแดงซ่ึงเปนกลุมอันธพาลการเมืองเขามาเพื่อคุมครองทรัพยสิน ปรากฏวา เม่ือวันท่ี 2 มิถุนายน 2518 เทิดภูมิ ใจดี ผูนําพนักงานดุสิตธานีถูกลอบยิง แตไมไดรับอันตราย เหตุการณนี้จึงทําใหฝายศูนยประสานงานกรรมกรจัดการชุมนุมประทวงใหญท่ีสวนลุมพินีเปนเวลา 3 วัน ในท่ีสุดฝายรัฐบาลเขามาจัดการปญหาขอเรียกรองของฝายกรรมกรถูกนําเขาพิจารณาในคณะกรรมการแรงงานสัมพันธซ่ึงตัดสินใหฝายกรรมกรแพ เพราะเปนการเรียกรองซํ้าภายในเวลาไมถึง 1 ปซ่ึงขัดกับ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ พ.ศ. 2518 ตอมาเม่ือวันท่ี 26 กรกฎาคม 2518 เกิดการนัดหยุดงานของกรรมกรหญิงโรงงานกระเบ้ืองเคลือบวัฒนาวินิลไทม อ.กระทุมแบน จ.สมุทรสาคร ฝายนายจางใชอันธพาลเขาคุมครองโรงงาน เกิดการปะทะกับฝายกรรมกรเปนเหตุให สําราญ คํากล่ัน กรรมกรหญิงอายุ 15 ปถูกยิงเสียชีวิตซ่ึงนับเปนคร้ังแรกท่ีเกิดความรุนแรงถึงข้ันเสียชีวิตในการนัดหยุดงาน ตั้งแตวันท่ี 9 ตุลาคม 2518 กรรมกรหญิงโรงงานฮารา ตรอกวัดไผเงิน เร่ิมนัดหยุดงานเพ่ือเรียกรองขอข้ึนคาแรงและปรับปรุงสวัสดิการ การนัดหยุดงานคร้ังนี้กลายเปนการตอสูท่ียืดเยื้อและดุเดือดท่ีสุด เพราะฝายนายจางไมยอมเจรจาและยังมีคําส่ังไลคนงานท่ีประทวงออกจากงาน การประทวงดําเนินไปจนถึงวันท่ี 19 ธันวาคม 2518 กรรมกรยึดโรงงาน และทําการผลิตสินคาออกมาขาย โดยใชวัตถุดิบท่ีเหลืออยู และต้ังช่ือโรงงานวา “สามัคคีกรรมกร” มีการขอระดมทุนชวยเหลือ โดยการขายหุนใหประชาชนหุนละ 20 บาท ตอ

35

Page 38: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

มาเม่ือวันท่ี 13 มีนาคม 2519 ฝายตํารวจบุกเขายึดโรงงานคืน และจับนักศึกษาและกรรมกรหลายคนไปคุมขังไวในขอหาผิดกฎหมายโรงงาน อยางไรก็ตามการตอสูของกรรมกรหญิงโรงงานฮารากลายเปนตํานานแหงการตอสูของชนช้ันกรรมกรไทยท่ีช้ีใหเห็นจิตใจท่ีตอสูของชนช้ันกรรมกร ในเดือนธันวาคม 2518 รัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ตัดสินใจจะเลิกจําหนายขาวสารราคาถูกแกประชาชน ดังนั้นเม่ือวันท่ี 2 มกราคม 2519 กรรมกรสังกัดสหภาพแรงงานตางๆท่ัวกรุงเทพนัดหยุดงานพรอมกันเพื่อคัดคานการยกเลิกการจําหนายขาวสารคร้ังนี้ ตอมามีการชุมนุมใหญของกรรมกรท่ีลานพระบรมรูปทรงมา และกรรมกรเขารวมชุมนุมหลายหม่ืนคน ในท่ีสุดวันท่ี 6 มกราคม 2519 รัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ตองยอมรับขอเรียกรอง วันท่ี 5 พฤษภาคม 2519 กรรมกรโรงงานลักกี้เท็กซ (ไทย) จํานวนถึง 5,000 คนนัดหยุดงานเพ่ือเรียกรองใหปรับคาจางแรงงาน ฝายนายจางไมยอม และขอใหจับผูนําการประทวงในขอหาผิด พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ พ.ศ. 2518 ในครั้งนี้กรรมกรถูกแบงแยกเปน 2 ฝายเชนกัน โดยกรรมกรฝายท่ีสนับสนุนนายจางไดรับการคุมกันจากตํารวจติดอาวุธครบมือใหเขาทํางานตามปกติ การประทวงดําเนินตอมาจนถึงวันท่ี 3 มิถุนายน 2518 จึงสามารถตกลงกันได และกรรมกรสวนใหญกลับเขาทํางาน แตตอมาฝายนายจางไมไดปฏิบัติตามสัญญา เพราะไมยอมรับผูนํากรรมกรที่ประทวงกลับเขาทํางาน นอกจากนี้ยังไมยอมใหสวัสดิการแกกรรมกรตามท่ีตกลงไว โดยท่ีฝายกรรมกรไมอาจจะดําเนินการใดๆได เพราะเกิดเหตุการณ 6 ตุลาคมข้ึนเสียกอน 2.2.2 การเคล่ือนไหวของชาวนา สําหรับการต่ืนตัวของชาวนาในชนบทในป พ.ศ. 2516 นั้นเปนผลสะเทือนมาจากปญหาความทุกขยากท่ีมีมาชานาน เนื่องจากโครงสรางหลักของประเทศยังเปนภาคชนบท เกษตรกรที่เปนชาวนาชาวไรมีมากถึง 80 % ของประชากร แตปรากฏวา ชาวนาสวนใหญยังคงมีชีวิตความเปนอยูท่ีลําบากยากจน ปญหาหลักคือ ชาวนาไมมีท่ีนาทํากิน เพราะถูกเจาท่ีดินและนายทุนเงินกูขูดรีดและฉอโกงไป ขาวขายไมไดราคา ชาวนาตองตกอยูภายใตวัฏจักรแหงความยากจน ดังนั้นเม่ือเกิดการตอสูในเหตุการณ 14 ตุลาคมแลวฝายนักศึกษาประชาชนไดรับชัยชนะไดสรางผลสะเทือนแกชนช้ันชาวนาอยางมาก การรองทุกขของชาวนาเพ่ิมทวีข้ึนเปนอยางมาก โดยมีนิสิตนักศึกษาเปนส่ือกลางในการติดตอกับรัฐบาลจนในท่ีสุดเม่ือวันท่ี 1 มีนาคม 2517 ชาวไรชาวนาจึงตัดสินใจเดินทางเขามายังกรุงเทพเพื่อเรียกรองตอรัฐบาลใหเรงแกปญหา ชาวนาท่ีมาชุมนุมมีจํานวนหลายพันคนจากหลายจังหวัดในภาคกลาง เชน จ.นนทบุรี, จ.ปทุมธานี, จ.นครสวรรค, จ.อยุธยา, จ.นครปฐม, จ.สระบุรี ชาวนาเหลานี้มาชุมนุมท่ีสนามหลวงแลวเดินขบวนไปที่ทําเนียบรัฐบาลยื่นขอเสนอแกรัฐบาล มีสาระสําคัญใหรัฐบาลจัดการใหชาวนาขายขาวไดในตลาดโลก ใหประกันราคาขาวแกชาวนา ควบคุมการสงออก ลดคาพรีเมียมขาว และควบคุมราคาน้ํามันเช้ือเพลิงและปุยใหถูกลง ปรากฏวา สัญญารับขอเสนอ และรับปากวาจะหาทางแกไข

36

Page 39: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ตอมาในระยะปลายเดือนพฤษภาคม 2517 ชาวนาจาก 6 จังหวัดรองเรียนตอรัฐบาลเปนคร้ังท่ี 2 เพื่อใหรัฐบาลชวยเหลือในเร่ืองหน้ีสินและท่ีนาท่ีถูกโกงดวยวิธีการตางๆ ดังนั้นเม่ือวันท่ี 4 มิถุนายน 2517 รัฐบาลสัญญาประกาศใชมาตรา 17 ชวยเหลือชาวนา และต้ังคณะกรรมการสอบสวนตามคํารองขอของราษฎรตอความเปนธรรมในเร่ืองหนี้สิน (ก.ส.ส.) โดยมี ประกอบ หุตะสิงห รองนายกรัฐมนตรีเปนประธานรับเร่ืองรองทุกข แตก็ยังไมอาจแกปญหาได ในท่ีสุดวันท่ี 9 สิงหาคม 2517 ชาวนาจํานวนมากจากจังหวัดตางๆเดินทางเขามาในกรุงเทพอีกคร้ัง และการชุมนุมคร้ังใหญท่ีทองสนามหลวงเชนเคย โดยรองเรียนตอรัฐบาลวา การมาคร้ังนี้จะเปนคร้ังสุดทาย ถาไมไดรับความเปนธรรมจะคืนบัตรประชาชน และลาออกจากการเปนคนไทย เม่ือวันท่ี 2 กันยายน 2517 ตัวแทนของชาวนาย้ําวา ถารัฐบาลไมชวยเหลือจะคืนบัตรประชาชน และจะประกาศตั้งเขตปลดปลอยตนเอง หามราชการเขาเกี่ยวของ รัฐบาลขูวา ถาชาวนาทําเชนนั้นจะโดนขอหากบฏ แตกระน้ันตัวแทนชาวนาจาก 8 จังหวัดรวบรวมบัตรประชาชนมากกวา 2,000 ใบเพ่ือคืนใหแกรัฐบาล ตอมาเม่ือวันท่ี 18 พฤศจิกายน 2517 ชาวนาการชุมนุมข้ึนอีกคร้ังท่ีทองสนามหลวง และยื่นขอเรียกรอง 8 ขอ ชาวนาวางยุทธศาสตรวา จะยื่นหนังสือตอนายกรัฐมนตรีเปนอันดับแรก และถาไมไดผลจะถวายฎีกาตอพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว รัฐบาลรับขอเสนอ 6 ขอ แตยังไมมีมาตรการท่ีจะชวยเหลือชาวนาอยางจริงจัง จึงทําใหเกิดการเดินขบวนใหญของชาวนาเม่ือวันท่ี 29 พฤศจิกายน 2517 จากน้ันชาวนาไดขอสรุปวา การตั้งตัวแทนแตละจังหวัดนั้นมิไดมีอํานาจตอรองกับรัฐบาลอยางแทจริงจึงไดนํามาสูการกอตั้งองคกรของชาวนาข้ึนอยางเปนทางการเม่ือวันท่ี 6 ธันวาคม 2517 โดยใชช่ือวา “สหพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย” โดยมี ใช วังตะกู เปนประธาน วันท่ี 6 พฤษภาคม 2518 ชาวนาภาคเหนือและอีสาน 23 จังหวัดเปนจํานวนนับพันคนเดินทางมาชุมนุมท่ีทองสนามหลวงอีกคร้ัง โดยการนําของสหพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศซ่ึงเปนคร้ังแรกในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ชาวนายังคงเรียกรองใหรัฐบาลแกปญหาที่ดินทํากิน และใหชวยในปญหาท่ีถูกโกงท่ีดิน รัฐบาลปฏิเสธไมยอมรับขอเสนอโดยอางวา ไมอาจจะบรรจุเร่ืองเขาสภาผูแทนราษฎรได ชาวนาจึงวางหรีดประทวงท่ีบานนายกรัฐมนตรี ซ.สวนพลู และในท่ีสุดตองสลายตัวกลับภูมิลําเนาโดยไมไดผลตามขอเรียกรอง การเคล่ือนไหวของชาวนาน้ันมีผลใหรัฐบาลตองยอมปรับปรุงนโยบายหลายประการ เชน การตรา พ.ร.บ. การเชานา พ.ศ. 2517 การจัดต้ังองคการตลาดเพื่อเกษตรกร และการตั้งสํานักงานปฏิรูปท่ีดิน ในป พ.ศ. 2518 เพื่อหาทางต้ังโครงการปฏิรูปท่ีดินแกปญหาชาวนา หรือนโยบายของรัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ในป พ.ศ. 2518 ท่ีผันเงินไปสูชนบทเพื่อสรางการจางงาน เปนตน แตปรากฏวา ในระยะตอมามาตรการเหลานี้กลายเปนเพียงมาตรการในการผอนปญหา ไมมีมาตรการใดท่ีจะสามารถแกปญหาใหกับชาวนาไดอยางแทจริง อีกประการหนึ่งจากการเคล่ือนไหวของชาวนาเชนนี้สรางความวิตกอยางมากตอชนช้ันนําอนุรักษนิยมและผูนําระดับทองถ่ิน การตอบโตกลับกลายเปนการจับกุมและการต้ังขบวนการลอบสังหารผูนําชาวนาทําใหสถานการณยิ่งรายแรงมากข้ึน

37

Page 40: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

2.2.3 การเคล่ือนไหวของขบวนการประชาชนอ่ืนๆ นอกจากกรรมกรและชาวนาแลวประชาชนในวงการอื่นๆท่ีทุกขยากเดือดรอนไมวาจะเปนพอคาแมคา หาบเรแผงลอย ประชาชนในสลัม กระเปารถเมลและพนักงานขับรถ พนักงานรถบริษัทขนสง (บขส.) พอคาลอตเตอร่ีรายยอยและคนพิการ พนักงานไทยการด กลุมชาวประมง และประชาชนผูเดือดรอนกลุมอ่ืนๆเกิดความต่ืนตัวท่ีจะรูจักสิทธิของตนเองในการรองเรียนและตอสูเพ่ือความเปนธรรมมากย่ิงข้ึน ตัวอยางท่ีมีการเคล่ือนไหวเปนขบวนใหญ เชน องคกรครู เร่ิมเคล่ือนไหวเมื่อวันท่ี 17 เมษายน 2517 โดยเรียกรองใหครูท้ัง หลายรวมพลังกันตานการทุจริตของโรงเรียน และคัดคานการที่โรงเรียนราษฎรไลครูจํานวนมากออกอยางไมเปนธรรม และนํามาซ่ึงการต้ังองคกรครู เชน สมาคมครูโรงเรียนราษฎร สมาคมครูนครหลวง สมาคมครูแคธอลิก และศูนยพิทักษสิทธิครูแหงประเทศไทย มีการชุมนุมท่ีคุรุสภา โดยมีครูเขารวมเปนจํานวนมาก ผูชุมนุมยื่นขอเรียกรอง 6 ขอตอ นพ. บุญสม มารติน รัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงมหาดไทย เรียกรองใหแกปญหาชวยใหครูมีงานทํา เม่ือวันท่ี 18 เมษายน 2517 ครูท่ีชุมนุมเดินขบวนไปยังลานพระรูปทรงมา และมีครูกรีดเลือดประทวงกระทรวงศึกษาธิการ ในท่ีสุด นพ. บุญสม มารติน รับปากวา จะชวยเหลือครูท่ีถูกลอยแพ มิฉะนั้นจะพิจารณาตนเองปรากฏวา เม่ือมาถึงวันท่ี 11 พฤษภาคม 2517 นพ.บุญสม ยังไมสามารถแกปญหาของครูไดจึงยื่นใบลาออกจากตําแหนง การลาออกของ นพ. บุญสม เปนชนวนเหตุหนึ่งท่ีทําใหรัฐบาลสัญญาลาออกท้ังคณะเม่ือวันท่ี 22 พฤษภาคม 2517 สําหรับปญหาของครูท่ีตกงาน กระทรวง ศึกษาธิการประกาศวา จะแกโดยจางเปนครูพิเศษเพื่อสอนในโรงเรียนรัฐบาลตามแตท่ีจะเห็นสมควร การเคล่ือนไหวเรียกรองความเปนธรรมของกลุมพระสงฆเกิดข้ึนเม่ือวันท่ี 10 มกราคม 2518 โดยพระภิกษุสามเณรจากวัดมหาธาตุ และวัดตางๆหลายรอยรูปท่ัวประเทศมาชุมนุมกันท่ีลานอโศก วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏมีพระสงฆเขารวมการชุมนุมบางรูปตอสูดวยวิธีอหิงสาคือ อดอาหาร ขอเรียกรองคือ ขอใหทบทวน พ.ร.บ. คณะสงฆ พ.ศ. 2505 ท่ีสรางระบอบเผด็จการในหมูสงฆดวยการสรางองคกรมหาเถรสมาคมมาเปนเคร่ืองมือ นอกจากนี้คือ การขอความเปนธรรมแกอดีตพระพิมลธรรม และอดีตพระศาสนโสภณซ่ึงถูกจับสึกและถอดสมณศักดิ์ในสมัยจอมพล สฤษดิ์ และถูกคุมขังดวยขอหาคอมมิวนิสต ในการชุมนุมมีการโจมตีการทํางานของมหาเถรสมาคมอยางหนักจนถึงขนาดท่ีพระสงฆหนุมรูปหนึ่งนําประทวงตอท่ีชุมนุมสงฆดวยคํากลาววา “มหาเถระสมาคมจงพินาศ” ในท่ีสุดสมเด็จพระอริยวงศาคตญานซ่ึงดํารงตําแหนงพระสังฆราชตองยอมตอขอเรียกรอง เดินทางมาเยือนลานอโศกเมื่อวันท่ี 17 มกราคม 2518 และสัญญาวา นิมนตพระท้ังสองรูปกลับคืนสมณศักดิ์ พระสงฆท่ีชุมนุมตางขอขมาตอการลวงเกินท่ีเกิดข้ึนและสลายตัว ตอมากลุมพระสงฆท่ีกาวหนาเหลานี้จัดต้ังข้ึนเปนองคกรท่ีเรียกวา “ยุวสงฆ” การเคล่ือนไหวเพื่อความเปนธรรมของประชาชนกลุมตางๆเหลานี้นับเปนการเปล่ียนแปลงที่สําคัญอยางหนึ่งในประวัติศาสตรของประชาชนไทย เพราะเปนคร้ังแรกท่ีเกิดกระแสการตื่นตัวในการตอสูเพื่อความเปนธรรมของชนช้ันลางในระดับท่ีมากเชนนี้ ผลกระทบอยางหนึ่งของการตอสูของฝายประชาชนทําใหเจาหนาท่ีของรัฐบาลบางกลุมนํารูปแบบการตอสูไปใชเพ่ือผลประโยชนของกลุมตน เชน การประทวงของ

38

Page 41: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

กลุมตํารวจซ่ึงเกิดข้ึนเม่ือวันท่ี 16 สิงหาคม 2518 โดยตํารวจภูธรระดับผูกองท่ัวประเทศเปนจํานวนหลายรอยคนมาชุมนุมกันท่ีโรงแรมนารายณเพ่ือคัดคานกฎหมายโอนอํานาจสอบสวนจากเจาหนาท่ีตํารวจไปยังพนักงานฝายปกครอง จากน้ันวันท่ี 19 สิงหาคม 2518 กลุมตํารวจในนามของศูนยกลางตํารวจแหงประเทศไทยนัดชุมนุมท่ีทองสนามหลวง และเดินขบวนไปที่บานของ ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ตํารวจจํานวนหนึ่งบุกเขาพังบานทําใหทรัพยสินเสียหายจํานวนมาก กอนจะสลายตัวไปจึงทําใหเจาหนาท่ีตํารวจช้ันผูใหญตองขอขมาตอนายกรัฐมนตรีซ่ึงเปนคร้ังแรกท่ีเกิดเหตุการณลักษณะนี้เชนกัน 2.3 การเคล่ือนไหวของขบวนการนักศึกษา ขบวนการตอสูท่ีเปนแกนกลาง และเคล่ือนไหวอยางแหลมคมท่ีสุดคือ ขบวนการนักเรียนนักศึกษา อันเปนผลสืบเนื่องจากการต่ืนตัวของนักศึกษาตามมหาวิทยาลัย และนักเรียนตามโรงเรียนตางๆมีการขยายตัวอยางมากขององคกรเคล่ือนไหวของนักศึกษาซ่ึงสวนมากมักจะข้ึนตนดวยคําวา “ศูนย” หรือ “แนวรวม” เชน ศูนยพิทักษสิทธิครูแหงประเทศไทย ศูนยกลางนักเรียนแหงประเทศไทย แนวรวมกลุมอิสระธรรมศาสตร แนวรวมพิทักษทรัพยากร แนวรวมนักเรียนอาชีวะแหงประเทศไทย และยังมีการจัดต้ังองคกรลักษณะเชนนี้ในเขตภูมิภาค เชน แนวรวมนักศึกษาเชียงใหม ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยนักศึกษาภาคใต ศูนยนักเรียนนักศึกษาโคราช เปนตน แตการเคล่ือนไหวท้ังหมดของกลุมนักเรียนนักศึกษาน้ีถือกันวา ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยเปนแกนกลางของขบวนการ ในฐานะท่ีเปนองคกรท่ีมีบทบาทสําคัญมาตั้งแตกอนเหตุการณ 14 ตุลาคม และยังเปนองคกรประสานงานขององคการนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยตางๆอีกดวย ตอมาหลังจากเหตุการณ 14 ตุลาคมการเคล่ือนไหวของขบวนการนักศึกษายังดําเนินตอไป โดยทิศทางเปล่ียนจากการรณรงคเพื่อประชาธิปไตยไปสูเปาหมายอ่ืนมากยิ่งข้ึน โดยเฉพาะการมุงไปท่ีปญหาเอกราช นอกจากน้ีคือ การเช่ือมประสานการตอสูของกรรมกรและชาวนาเขาดวยกัน สรางพลัง “3 ประสาน” ข้ึน รวมท้ังเปนผูสนับสนุนการตอสูเพ่ือความเปนธรรมท่ัวไปจึงจะขอกลาวถึงบทบาทของขบวนการนักศึกษาในหัวขอตอไปนี้ 2.3.1 การตอสูเพื่อเอกราช ทิศทางสําคัญอยางหนึ่งของขบวนการนักศึกษาหลังเหตุการณ 14 ตุลาคมคือ การเคล่ือนไหวเรื่องปญหาเอกราช โดยการเร่ิมตอตานอิทธิพลตางๆของสหรัฐท่ีมีอยูในประเทศไทย ปญหาสืบเนื่องมาจาก สมัยรัฐบาลเผด็จการทหารตกลงทําสัญญารวมมือเปนพันธมิตรกับสหรัฐ ในการกอการรุกรานเวียดนาม ยอมใหสหรัฐใชดินแดนประเทศไทยเปนฐานทัพในการโจมตีเวียดนามเพื่อแลกเปล่ียนกับผลประโยชน และเงินชวยเหลือท่ีฝายสหรัฐสนองให ดังนั้นในป พ.ศ. 2516 จึงมีฐานทัพสหรัฐในไทยถึง 12 แหงคือ อูตะเภา (จ.ชลบุรี), ตา

39

Page 42: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

คลี (จ.นครสวรรค), จ.อุบลราชธานี, จ.อุดรธานี, จ.นครพนม, น้ําพอง (จ.ขอนแกน), สัตหีบ (จ.ชลบุรี), จ.ลพบุรี, เข่ือนน้ําพุง (จ.สกลนคร), จ.นครราชสีมา และ จ.กาญจนบุรี โดยมีศูนยบัญชาการใหญ และหนวยจัสแม็กตั้งอยูในกรุงเทพ มีเคร่ืองบินสหรัฐประจําในไทยถึง 550 ลําเพื่อใชในการทิ้งระเบิดในลาว เขมร และเวียดนาม และมีทหารอเมริกันท่ีประจําอยูในไทยนับแสนคน สําหรับหนวยจัสแม็กในไทยมีหนาท่ีโดยตรงในการสงกําลังบํารุงใหทหารอเมริกันในเวียดนาม การผูกพันเปนมิตรกับสหรัฐยังสงผลตอนโยบายตางประเทศของไทยจากการท่ีรัฐบาลไทยดําเนินรอยตามนโยบายตางประเทศของสหรัฐเสมอ และในทางเศรษฐกิจบริษัทขามชาติของสหรัฐเขามามีสวนครอบงําเศรษฐกิจไทยอยางมาก ตั้งแตสินคาประจําวัน เชน น้ําอัดลมไปจนถึงยางรถยนต เคร่ืองใชไฟฟา และการขายอาวุธแกกองทัพไทย นอกจากนี้คือ การครอบครองตลาดทรัพยากรคือ น้ํามัน ดีบุก และแรธาตุตางๆซ่ึงเปนสินคานําเขา และสินคาสงออกท่ีสําคัญของไทย แตท่ีสําคัญไมนอยคือ การที่ฐานทัพสหรัฐไดรับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือดินแดนไทย เชน เม่ือวันท่ี 1 ธันวาคม 2516 กองทัพสหรัฐในประเทศไทยใชกฎอัยการศึกประหารชีวิต เทพ แกนกลา ซ่ึงมีความผิดในขอหาใชปนยิงนายทหารอเมริกันเสียชีวิต โดยคดีนี้ไมไดผานการพิจารณาของศาลไทยแตอยางใด จากกรณีเชนนี้แนวคิดของขบวนการนักศึกษาไทยในเหตุการณ 14 ตุลาคมจึงเห็นวา ประเทศไทยไมไดมีเอกราชสมบูรณ หากแตตองตกอยูในสถานะก่ึงเมืองข้ึน และถูกครอบงําโดยจักรวรรดินิยมสหรัฐ ดังนั้น ทิศทางอันสําคัญยิ่งของขบวนการนักศึกษานั้นคือ การตอสูเพื่อเอกราชสมบูรณซ่ึงคือ การตอตานจักรวรรดินิยมสหรัฐซ่ึงถือเปนศัตรูสําคัญของประชาชนไทย ความจริงกระแสตอตานสหรัฐเร่ิมตนต้ังแตกอนหนานี้ ดังจะเห็นไดจากการท่ีกลุมนักศึกษากาวหนาออกหนังสือช่ือ ภัยขาว ในป พ.ศ. 2514 วิพากษวิจารณบทบาทของสหรัฐในเอเชีย และโดยเฉพาะในสงครามเวียดนาม แตในขณะน้ันกระแสการเรียกรองเอกราชยังมิไดเปนกระแสหลัก เม่ือเทียบกับการตอสูเพื่อประชาธิปไตยเพ่ือคัดคานรัฐบาลจอมพล ถนอม ท่ียังคงใชอํานาจเผด็จการ เม่ือไดรับชัยชนะในเหตุการณ 14 ตุลาคมขบวนการนักศึกษาจึงมุงเนนเปาหมายไปยังการรณรงคเพื่อเอกราชมากข้ึน โดยมุงท่ีจะคัดคานและตอตานลัทธิจักรวรรดินิยมของสหรัฐเพื่อจะใหมีการถอนทหารและฐานทัพสหรัฐออกจากประเทศไทย นอกจากนี้คือ การเรียกรองใหรัฐบาลดําเนินนโยบายเปนอิสระทางดานการตางประเทศแทนท่ีจะใชนโยบายตามหลังสหรัฐแตเพียงอยางเดียว และรวมท้ังขอใหเลิกสิทธิพิเศษตางๆแกฝายสหรัฐ เม่ือเกิดการเปล่ียนแปลงจากเหตุการณ 14 ตุลาคมดูเหมือนวา ฝายรัฐบาลสหรัฐเองจะตระหนักเชนกันวา สถานการณในไทยอาจไมเหมือนเดิมในยุคเผด็จการทหาร ดังนั้นในเดือนพฤศจิกายน 2516 จึงสง วิลเลียม อาร. คินเนอร มาเปนเอกอัครราชทูตประจําประเทศไทยคนใหม กลุมนักศึกษาออกแถลงการณเม่ือวันท่ี 20 พฤศจิกายนมีใจความตอนหนึ่งวา “ฉะนั้นในโอกาสท่ี วิลเลียม อาร. คินเนอร เอกอัครราชทูตอเมริกันคนใหมประจําประเทศไทยเดินทางมารับตําแหนงนี้ เราจึงขอวิงวอนใหพอแม พี่นอง ประชาชนชาวไทยใหความสนใจตอการมาของบุคคลผูนี้ใหจงดี เพราะประวัติของบุคคลผูนี้มีขอนาสังเกตหลายประการคือ

40

Page 43: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

1. เคยรับราชการในกองทัพบกอเมริกันเปนเวลานาน (พ.ศ. 2483 - 2504) 2. เคยเปนผูอํานวยการสถาบันวิจัยนโยบายตางประเทศของ PU ซ่ึงเปนหนวยงานของหนวยสืบราชการลับกลางแหงสหรัฐอเมริกา (CIA) โดยตรง 3. เคยเขียนหนังสือรวมกับกลุมท่ีวางแผนยุทธศาสตรการปฏิบัติการรบในเอเชียอาคเนยซ่ึงทํางานรับใชกลุมนายทุนวอลสตรีทซ่ึงเปนนักคาสงคราม” ปญหาความขัดแยงเกิดข้ึนอยางชัดเจนจากกรณีจดหมายปลอมซ่ึงเกิดข้ึนเม่ือวันท่ี 24 ธันวาคม 2516 กลาวคือ เจาหนาที่ของหนวยสืบราชการลับกลางแหงสหรัฐอเมริกากลางของสหรัฐปลอมวา เปนจดหมายของ สหาย จํารัส หรือ เปล้ือง วรรณศรี ซ่ึงเปนผูนําระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยสงมาถึงรัฐบาลเพ่ือขอเจรจาหยุดยิงทําใหรัฐบาลไทยเตรียมการท่ีจะเจรจาหยุดยิงกับฝายพรรคคอมมิวนิสตเปนเวลา 1 เดือน ตอมาเม่ือวันท่ี 4 มกราคม 2517 หนวยสืบราชการลับกลางแหงสหรัฐอเมริกากลางของสหรัฐยอมรับวา นั่นเปนจดหมายปลอม และขอโทษตอรัฐบาลไทย จากกรณีนี้เอง ชวินทร สระคํา อดีต ส.ส.รอยเอ็ด รวมกับ กระบ่ีศักดิ์ และ ยอดธง ทับทิวไม เขียนหนังสือ เปดหนากาก CIA เพื่อช้ีใหเห็นถึงความชั่วรายของหนวยสืบราชการลับกลางแหงสหรัฐอเมริกาในประเทศตางๆ รวมท้ังในประเทศไทยดวย ชวินทรย้ําวา เขาเขียนเร่ืองนี้ดวยจุดมุงหมายในการปกปอง “ผืนแผนดินของคนไทยและชาติไทย” และกลาวดวยวา การพิมพหนังสือนี้เปนอันตรายตอชีวิตเขามาก แตเขาก็ตัดสินใจทํา เพราะ “ถาจะใหผมเลือกระหวางการมีชีวิตอยูอยางไรความหมาย กับการตายเพื่อรักษาสัจจะนั้นผมเลือกเอาอยางหลัง” อาจจะเปนดวยเหตุนี้เองท่ีทําใหชวินทรถึงแกกรรมอยางมีเง่ือนงําดวยอุบัติเหตุทางรถยนตเม่ือวันท่ี 16 มิถุนายน 2517 ในป พ.ศ. 2517 มีการตีพิมพซํ้า โฉมหนาจักรวรรดินิยม (มณี ศูทรวรรณ) ซ่ึงเขียนลงใน นิติศาสตร ฉบับตอนรับศตวรรษใหมในป พ.ศ. 2500 ในบทความนี้ผูเขียนใชทฤษฎีของ วลาดิมีร เลนิน เร่ือง “จักรวรรดินิยม ข้ันสูงสุดของทุนนิยม” มาเปนหลักในการวิเคราะห โดยช้ีวา จักรวรรดินิยมคือ ข้ันผูกขาดของระบบทุนนิยม และอธิบายใหเห็นวา สหรัฐนั้นเขามารุกรานไทยท้ังในทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมจึงสรุปวา ภารกิจของประชาชนไทยน้ันจะตอง “รวมมือกันผนึกกําลังใหสนิทแนนเพื่อทําลายจักรวรรดินิยม และปลดเปล้ืองพันธะท่ีทําใหไทยอยูในสภาพเมืองพึ่งและกึ่งเมืองข้ึนนี้ และรวมมือกับกองทัพมหาชนคนงานท่ัวโลกเพื่อทําลายลัทธิจักรวรรดินิยมระหวางประเทศนี้เสีย” นอกจากนี้ยังมีการตีพิมพ อเมริกันอันตราย (พิรุณ ฉัตร วนิชกุล) ซ่ึงมีบทความช้ีชัดถึงการแทรกแซงของสหรัฐในประเทศไทย ปรากฏวา กระแสกดดันเหลานี้กอใหเกิดการเปล่ียนแปลงดานนโยบายเชนกัน เพราะเม่ือ ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ เขารับตําแหนงนายกรัฐมนตรีในเดือนมีนาคม 2518 ก็แถลงนโยบายวา จะดําเนินการใหมีการถอนทหาร และฐานทัพสหรัฐออกจากประเทศไทยภายใน 1 ปซ่ึงกลายเปนเง่ือนเวลาสําคัญในการเคล่ือนไหวของขบวนการนักศึกษาตอมา กรณีสําคัญตอมาคือ การเคล่ือนไหวกรณี “มายาเกวซ” ซ่ึงเกิดข้ึนจากการที่เรือสินคาช่ือ มายาเกวซ ของสห รัฐถูกรัฐบาลเขมรแดงยึดเม่ือวันท่ี 14 พฤษภาคม 2518 รัฐบาลสหรัฐลอบสงนาวิกโยธิน 1,000 คนเขามาท่ีฐานทัพอูตะเภาโดยไมแจงใหรัฐบาลไทยทราบ และใชการปฏิบัติการจากประเทศไทยโจมตีกองเรือของกัมพูชาบีบใหทางการกัมพูชาคืนเรือมายาเกวซใหสหรัฐ ขบวนการนักศึกษานัดชุมนุมคร้ังใหญเม่ือวันท่ี 17

41

Page 44: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

พฤษภาคม 2518 เพื่อประทวงการที่สหรัฐละเมิดอํานาจอธิปไตยไทยเชนนั้น จากนั้นมีการเดินขบวนประทวงสหรัฐจาก ม.ธรรมศาสตร ไปท่ีหนาสถานทูตสหรัฐท่ี ถ.วิทยุ และชุมนุมกันอยูท่ีนั่น 3 วัน ในกรณีนี้ รัฐบาลไทยแสดงทาทีแข็งกราวกับรัฐบาลสหรัฐเปนคร้ังแรก โดยการออกแถลงการณคัดคานท่ีสหรัฐละเมิดอธิปไตย ดําเนินการอันไมเปนมิตร และเรียกตัวทูตไทยประจําสหรัฐกลับประเทศจนกระท่ังรัฐบาลสหรัฐยอมแสดงความเสียใจกับรัฐบาลไทยอยางเปนทางการเม่ือวันท่ี 19 พฤษภาคม 2518 ฝายนักศึกษาจึงเดินขบวนกลับมายังอนุสาวรียประชาธิปไตยแลวสลายตัว แตมีการประกาศวา จะมีการตอสูตอไปจนกวาสหรัฐจะถอนทหารและฐานทัพออกจากไทยท้ังหมด จากนั้นเม่ือวันท่ี 4 กรกฎาคม 2518 มีการชุมนุมใหญของฝายนักศึกษาประชาชนเพื่อแสดงมติตอตานสหรัฐอีกคร้ังท่ี ม.ธรรมศาสตร แตการเคล่ือนไหวตอตานจักรวรรดินิยมสหรัฐคร้ังใหญท่ีสุดเกิดข้ึนต้ังแตวันท่ี 20 มีนาคม 2519 ซ่ึงเปนวันกําหนดเสนตายของรัฐบาลไทยใหสหรัฐถอนทหารและฐานทัพออกจากประเทศไทย มีการชุมนุมใหญตอตานสหรัฐท่ีสนามหลวงตรงขาม ม.ธรรมศาสตร และปรากฏวา รัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ยืดกําหนดใหฝายสหรัฐอีก 4 เดือนเพื่อเก็บขาวของออกจากประเทศ เม่ือนักศึกษาทราบผลเชนนั้นมีการประณามรัฐบาลวา ไมจริงใจ และตกลงใหมีการเดินขบวนไปยังสถานทูตสหรัฐในวันรุงข้ึนเพื่อกดดันใหฝายสหรัฐใหทําตามกําหนดเวลาในคร้ังนี้ใหได ดังนั้นเม่ือวันท่ี 21 มีนาคม 2519 จึงมีการเดินขบวนใหญของนักศึกษาประชาชนนับแสนคนจาก ม.ธรรมศาสตร ไปยังสถานทูตสหรัฐท่ี ถ.วิทยุ กรณีนี้กลายเปนเหตุรุนแรงเม่ือคนรายโยนระเบิดใสขบวนแถวของประชาชนเม่ือเคล่ือนไปถึงหนาบริเวณโรงภาพยนตรสยามทําใหมีผูเสียชีวิต 4 คน แตขบวนของนักศึกษายังเคล่ือนตอไปจนถึงหนาสถานทูตสหรัฐ และนําโปสเตอรผาประกาศเจตนารมณ 20 มีนาคม 2518 ไปประกาศไว เม่ือวันท่ี 4 กรกฎาคม 2519 มีการจัดนิทรรศการที่ ม.ธรรมศาสตร และฝายเอกสารส่ิงพิมพองคการนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร มีการออกหนังสือช่ือ อเมริกัน อันธพาลโลก นอกจากนี้มีการการชุมนุมตอตานสหรัฐท่ีประตู ม.ธรรมศาสตร ดาน ถ.พระอาทิตย เชิงสะพานพระปนเกลาซ่ึงคร้ังนี้เปนการชุมนุมตอตานจักรวรรดินิยมเปนคร้ังสุดทาย กอนท่ีจะเกิดกรณีนองเลือดวันท่ี 6 ตุลาคม เพราะการเคล่ือนไหวเม่ือวันท่ี 20 กรกฎาคม 2519 ของขบวนการนักศึกษาไมไดใชวิธีการชุมนุม แตใชวิธีการสงนิสิตนักศึกษาราว 3,000 คนจากทุกมหาวิทยาลัยออกเคาะประตูประชาชนเพื่อพูดคุย และรับฟงขอเสนอของประชาชนตอกรณีขับไลจักรวรรดินิยมสหรัฐ ในทายท่ีสุดการเคล่ือนไหวของขบวนการนักศึกษาไดผลพอสมควร เพราะหลังจากป พ.ศ. 2519 สหรัฐถอนทหาร และฐานทัพท้ังหมดออกไปจากประเทศไทย หลังจากน้ันอิทธิพลการครอบงําของสหรัฐท่ีมีตอไทยก็ลดลงซ่ึงเปนสวนหนึ่งท่ีแสดงใหเห็นการเส่ือมถอยอํานาจของสหรัฐในขอบเขตท่ัวโลกอีกดวย การตอตานจักรวรรดินิยมสหรัฐของขบวนการนักศึกษาสวนหนึ่งเปนอิทธิพลของลัทธิชาตินิยมซ่ึงมีการตีความใหม เพราะในสายตาของรัฐบาลไทยในระยะกอนหนานี้ศัตรูผูท่ีจะรุกรานประเทศไทยน้ันคือ คอมมิวนิสตท่ีมุงจะแทรกซึมบอนทําลายความสงบสุขของประชาชาติไทย ความรักชาตินั้นหมายถึง การท่ีจะตองรังเกียจชิงชัง และตอตานการรุกรานของคอมมิวนิสตซ่ึงโดยนัยมักจะหมายถึงคอมมิวนิสตจีนและ

42

Page 45: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

เวียดนามเหนือ สวนสหรัฐคือ มหามิตรท่ีทุมเทความชวยเหลือประเทศไทยใหพนจากการรุกรานของคอมมิว นิสต ปรากฏวา ขบวนการนักศึกษาหลังเหตุการณ 14 ตุลาคมตีความเสียใหมวา ศัตรูท่ีรุกรานและครอบงําประเทศไทยอยางแทจริงนั้นคือ สหรัฐ สวนคอมมิวนิสตนั้นเปนเพียง “ผี” ที่ปลุกข้ึนมาสรางภาพใหประชา ชนหวาดกลัว เพราะไมไดปรากฏหลักฐานท่ีชัดเจนเลยวา มหาอํานาจคอมมิวนิสตคือ สหภาพโซเวียตและจีนจะกอการรุกรานประเทศไทยในทางใด หากในประเทศไทยน้ันมีแตครอบครองของทหารและฐานทัพสหรัฐราวกับวา ประเทศตกอยูภายใตการยึดครอง นอกจากนี้สหรัฐคือ ผูกอสงครามในอินโดจีนทําใหประ ชาชนผูบริสุทธ์ิเปนจํานวนมากตองบาดเจ็บลมตาย แตท่ีสําคัญคือ การครอบงําและรุกรานของสหรัฐดํารงอยูไดดวยความรวมมือของชนช้ันปกครองไทยนั่นเองดังท่ี กุหลาบบานเม่ือป ร.ศ. 194 สะทอนวา “พฤติกรรมของสหรัฐไมมีอะไรนาสงสัยอีกตอไป เขาเปนอสูรสงคราม - นักปราบปรามประชาชน สหรัฐทําใหเกิดสงครามสูรบกันอยางนองเลือดและยืดเยื้อ สหรัฐเขนฆาประชาชนผูเรียกรองเอกราช ตองการสลัดใหหลุดจากแอกการครอบงําของตางชาติไมรูจักเทาไรตอเทาไร วาถึงสวนของประเทศไทยเราเองอสูรสงครามนักปราบปรามประชาชนไมไดมีแตเฉพาะหัวโจกใหญอยางจักรวรรดินิยมสหรัฐเทานั้นยังมีพวกชนชั้นปกครองท่ีเปนตัวแทนของชนช้ันนายทุนใหญ และเจาท่ีดินใหญ พวกเขาดานหนึ่งมีอํานาจอยูไดดวยการพิทักษคํ้าชูของสหรัฐ อีกดานหน่ึงไดผลตอบแทนจากสหรัฐเปนเศษดอลลารเล็กๆนอยๆ ดังนั้นพวกเขาจึงสมคบแนบสนิทเปนอันหนึ่งอันเดียวกับสหรัฐ อสูรสงคราม - นักปราบปรามประชาชนทั้งหัวโจก และลูกสมุนนี้เหี้ยมโหดมาก กอหนี้เลือดไวกับประชาชนมหาศาลจึงเปนหนาท่ีของเยาวชนผูรักชาติรักประชาธิปไตยทุกคนจะตองรวมมือรวมใจกันกําจัดอสูรสงคราม - นักปราบปรามประชาชนน้ีใหหมดส้ินไป” 2.3.2 การเคล่ือนไหวอ่ืนๆของขบวนการนักศึกษา นอกเหนือจากการเคล่ือนไหวเพื่อใหประเทศไทยมีเอกราชสมบูรณแลวขบวนการนักศึกษายังกอใหเกิดการเคล่ือนไหวตอสูเพ่ือคัดคานการปราบปรามของฝายรัฐ เร่ืองท่ีมีความลอแหลม และเผชิญอํานาจรัฐโดยตรงไดแก กรณีบานนาทราย และกรณีถีบลงเขาเผาลงถังแดง นอกจากนี้ยังมีการเคล่ือนไหวคร้ังท่ีสําคัญคร้ังอ่ืนๆดังจะกลาวไดคือ กรณีบานนาทรายเร่ิมจากเม่ือวันท่ี 24 มกราคม 2517 มีการเผาหมูบานนาทรายท่ี อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ซ่ึงมีประชากรราว 1,500 คน ทางราชการอางวา ผูกอการรายคอมมิวนิสตเปนผูเผาหมูบาน แตเม่ือวันท่ี 13 กุมภาพันธ 2517 เมื่อ ธีรยุทธ บุญมี ผูประสานงานกลุมประชาชนเพ่ือประชาธิปไตย (ปช.ปช.) นํา ลม กาญจนสาร ผูใหญบานนาทรายมาเปดเผยเร่ืองการเผาหมูบานวา เจาหนาท่ีของรัฐเองเปนผูปดลอมและเผาหมูบาน ท้ังยังสังหารชาวบานตายอีก 3 คนซ่ึงถือวา เปนการเหยียบย่ํากฎหมายบานเมืองคร้ังใหญ จากน้ันนําชาวบานเขาพบนายกรัฐมนตรีเพ่ือช้ีแจงความจริง ในท่ีสุดผูวาราชการ จ.หนองคาย ตองยอมรับวาเจาหนาท่ีเปนผูเผาหมูบาน แตอางวา ชาวบานเปนผูกอการรายจึงตองเผา จนกระท่ังเม่ือวันท่ี 19 กุมภาพันธรัฐบาลตอง

43

Page 46: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ตั้งกรรมการข้ึนสอบสวนขอเท็จจริงกรณีนี้ ในขณะท่ีฝายนักศึกษานัดชุมนุมท่ีสนามหลวง และศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยยื่นขอเรียกรองแกรัฐบาล 3 ขอคือ ใหรัฐบาลชดใชคาเสียหายแกชาวบานนาทราย ใหหาตัวผูกระทําผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม และใหยอมรับและเปล่ียนแปลงนโยบายการปราบปราม ตอมาเม่ือวันท่ี 28 กุมภาพันธ 2517 พล.ท. สายหยุด เกิดผล ผูอํานวยการกองอํานายการปองกันและปราบปรามคอมมิวนิสต (กอ.ปค.) ยอมรับวา เหตุการณท่ีบานนาทรายเจาหนาท่ีทําเกินกวาเหตุ และทางราชการจะยอมชดใชคาเสียหายและสรางบานใหใหม และจะเลิกใชนโยบาย “ตาตอตา ฟนตอฟน” ในทางการเมือง ผลจากกรณีนี้ ชวินทร สระคํา จึงเขียนเปนหนังสือ พิษเพลิงรายท่ีบานนาทราย พิมพในป พ.ศ. 2517 กอนท่ีจะเสียชีวิตอยางมีเง่ือนงํา ตอมาในเดือนกุมภาพันธ 2518 มีการเปดเผยขอมูลถึงปฏิบัติการทางการทหารของฝายเจาหนาท่ีรัฐท่ี จ.พัทลุง เรียกวา กรณีถีบลงเขาเผาลงถังแดง นั่นคือ ในระหวางป พ.ศ. 2514 - 2516 ฝายเจาหนาท่ีปราบคอมมิวนิสตภาคใตใชนโยบายเหวี่ยงแหลอมจับกุมประชาชนไปสอบสวนแลวฆามากกวา 3,000 คน มีการเปดอภิปรายท่ีทองสนามหลวงโดยศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย และแนวรวมตอตานเผด็จการแหงชาติเปดเผยขอเท็จจริงกรณีนี้เม่ือวันท่ี 14 กุมภาพันธ 2518 และตอมาเม่ือวันท่ี 17 กุมภาพันธ 2518 ตัวแทนประชาชนพัทลุงเขาพบและยื่นหนังสือรองทุกขถึง พล.อ. กฤษณ สีวะรา ผูบัญชาการทหารสูงสุดสําหรับความรุนแรงในกรณีถังแดงรายละเอียดท่ีปรากฏคือ “เจาหนาท่ีประกอบดวยทหาร ตํารวจ และสมาชิกสํานักอํานวยการกองอาสารักษาดินแดน (อ.ส.) เขาลอมหมูบาน จับบรรดาราษฎรท่ีตองสงสัยไปเปนจํานวนมากแลวทําการสอบสวนโดยวิธีการทารุณตางๆ เชน สอบสวนแลวเม่ือไมรับก็ยิงกรอกหู ใชคอนทุบตนคอ จับชาวบานใสถังแดงแลวเผาท้ังเปน บางคร้ังใหถือมีดกันคนละเลมฆากันเอง และมีราษฎรอีกจํานวนมากท่ีถูกจับไปแลวหายสาบสูญ บางคราวเม่ือมีฝนตกหนักมักพบกะโหลกคนกล้ิงลงมาจากเขาทําใหเช่ือกันวา ราษฎรท่ีหายไปนั้นถูกจับข้ึนเฮลิคอปเตอรแลวถีบลงมา” ในกรณีนี้ทางฝายกลไกรัฐไมสามารถใหความชัดเจนได นอกจากท่ี พล.อ. สายหยุด ช้ีแจงในเบ้ืองตนวา “เร่ืองนี้ตองฟงหูไวหู ผมไมขอออกความเห็น” แต พล.อ. กฤษณ ยอมรับวา เร่ืองถังแดงนั้นเกิดข้ึนจริง และจะลาออกจากตําแหนงในกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายใน สําหรับรายงานท้ังหมดเกี่ยวกับกรณีถังแดงนี้ เรืองยศ จันทรคีรี นํามาเรียบเรียงลงในสังคมศาสตรปริทัศน และวิจารณกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายในอยางหนักซ่ึงสอดคลองกับกระแสสังคมในขณะน้ันท่ีตอตานกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายในอยูแลวจนถึงขนาดเสนอยุบหนวยงานเสีย หรือใหยายไปสังกัดมหาดไทย ทายที่สุดในเดือนมีนาคม 2518 พล.อ. สายหยุด เองกลับกลายเปนเปาหมาย เพราะมีคําส่ังยายไปดํารงตําแหนงอ่ืน และให พล.ต. ภิญโญ วัชรเทศ มารับตําแหนงผูอํานวยการกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายในแทน การเคล่ือนไหวสําคัญในระยะปดภาคฤดูรอนเดือนมีนาคม - เมษายน 2517 คือ การเขารวมโครงการเผยแพรประชาธิปไตย โดยโครงการน้ีไดงบประมาณมาจากรัฐบาล และศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยเปนผูผลักดัน มีการรับอาสาสมัครนิสิตนักศึกษานับพันคนเพ่ือออกไปเผยแพรประชาธิปไตยในชนบทเพ่ือ

44

Page 47: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

รองรับการเลือกต้ังท่ีจะมีข้ึน ปรากฏวา นักศึกษาท่ีออกไปสูชนบทในคร้ังนี้ไปเรียนรูถึงความทุกขยากเดือดรอนท่ีแทจริงของประชาชนระดับลางจึงกอใหเกิดความสํานึกท่ีจะตองรับผิดชอบ และชวยแกปญหาของประชาชนมากยิ่งข้ึน โครงการเผยแพรประชาธิปไตยคร้ังนี้จึงมีสวนสําคัญยิ่งในการนํานักศึกษาไป ประสานกับชาวนา และจะมีสวนอยางยิ่งในการหนุนชวยการตอสูของชาวนาในระยะตอมา นอกจากน้ีแลวคือ กลุมนักศึกษาสวนมากท่ีออกชนบทไดขอสรุปวา การเกิดของผูกอการรายคอมมิวนิสตในชนบทเปนปญหาภายใน ไมใชปญหาการแทรกแซงจากภายนอก เพราะโดยมากเกิดจากเจาหนาท่ีของรัฐใชอํานาจขมเหงราษฎร จากน้ันเม่ือรัฐธรรมนูญฉบับใหมมีการรางเสร็จเรียบรอยและผานการพิจารณาวาระท่ี 2 จากสภาผูแทนราษ ฎร ขบวนการนักศึกษาเปดการชุมนุมท่ีอนุสาวรียประชาธิปไตยเม่ือวันท่ี 19 กันยายน 2517 เพื่อแสดงความเห็นวา สภานิติบัญญัติแหงชาติรางรัฐธรรมนูญท่ีไมเปนประชาธิปไตยจึงเรียกรองใหมีการแกรัฐธรรม นูญใหมใน 4 ประเด็นคือ 1. ใหประชาชนอายุ 18 ปมีสิทธิในการเลือกตั้ง 2. ใหประชาชนต้ังแตอายุ 23 ปข้ึนไปสมัครรับเลือกตั้งได 3. คัดคานการมี 2 สภาโดยยังคงวุฒิสภาท่ีมาจากการแตงต้ัง 4. การยอมใหทหารตางชาติเขามาต้ังในประเทศไทยไดโดยไมตองผานสภาผูแทนราษฎร การชุมนุมคร้ังนี้ดําเนินไป 3 วันก็สลายตัว หลังจากท่ี สัญญา ธรรมศักดิ์ ใหมีบันทึกปลอบใจวา จะชวยเหลือผลักดัน แมวารัฐบาลจะไมมีอํานาจ เพราะถือวาเปนเร่ืองท่ีสภาผูแทนราษฎรจะวินิจฉัยเอง นอกจากนี้คือ การเคล่ือนไหวกรณี 9 ชาวนาเร่ิมตนจากเมื่อวันท่ี 4 สิงหาคม 2518 เม่ือฝายตํารวจภูธรท่ี จ.ลําพูน จับผูนําชาวนา จ.ลําพูน 8 คน และนักศึกษา 1 คนดวยขอหาม่ัวสุมทางการเมือง และทําใหเกิดความวุนวายในบานเมือง ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยเรียกประชุมทันที และตกลงเคล่ือนไหวคัดคานโดยยื่นขอเรียกรองตอรัฐบาลใหปลอยตัวผูตองหา และขอใหรัฐบาลดําเนินจับตัวคนรายท่ีสังหารผูนําชาวนาในขณะน้ัน การชุมนุมประทวงมีข้ึนเม่ือวันท่ี 5 สิงหาคม 2518 ท้ังท่ี ม.ธรรมศาสตร กรุงเทพ และท่ีประตูทาแพ จ.เชียงใหม รัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ใหคําตอบกับฝายนักศึกษาวา การจับกุมนั้นดําเนินไปตามหลักฐานจึงไมอาจปลอยตัวได ดังนั้นการชุมนุมจึงยืดเยื้อตอไปท้ัง ม.เชียงใหม และ ม.ธรรมศาสตร ตางหยุดเรียนประทวงตั้งแตวันท่ี 6 สิงหาคม 2518 เปนตนไป การชุมนุมยืดเยื้อมาจนถึงวันท่ี 14 สิงหาคม 2518 จนเม่ือกรมอัยการส่ังไมฟองผูตองหาการชุมนุมจึงสลายลง 2.4 การเปล่ียนแปลงในดานวัฒนธรรม อิทธิพลของแนวคิดสังคมนิยมทําใหนักศึกษากลายเปนแนวหนาในการวิพากษวัฒนธรรมเกาดวยการเสนอคําขวัญ “ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน” มาหักลางแนวทางศิลปะแบบเกา โดยการวิพากษวา แนวทางศิลปวัฒนธรรมท่ีดํารงอยูนั้นเปนศิลปะท่ีมุงรับใชชนช้ันปกครองศักดินาและทุนนิยมเพื่อจะมอมเมาให

45

Page 48: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ประชาชนพรามัวอยูกับความลาหลัง และยอมรับการครอบงําของชนช้ันปกครอง ศิลปะแนวใหมจึงไมควรท่ีจะเปนเชนนั้น หากแตจะตองเปนศิลปะท่ีรับใชประชาชน โดยการสะทอนภาพความทุกขยากเดือดรอนของประชาชนคนช้ันลางแลวเสนอทางออกหรือแนวทางการตอสูตอคนเหลานั้น กระแสศิลปะเพ่ือชีวิตนี้สงผลกระทบอยางยิ่งตองานดานวรรณกรรม สวนหน่ึงคือ การนําเอาวรรณกรรมเพ่ือชีวิตเดิมท่ีเคยตีพิมพในชวงทศวรรษ 2490 มาตีพิมพซํ้า ตอมาในป พ.ศ. 2517 มีการจัดนิทรรศการ “เผาวรรณคดี” โดยสาระคือ การนํา เอาวรรณคดีท้ังหลายท่ีถือกันวา ทรงคุณคามาวิพากษวิจารณใหเห็นดานท่ีเปนวรรณกรรมรับใชชนช้ันศักดินา สวนนิยายประโลมโลกทั้งหลายถูกวิพากษวา เปนวรรณกรรมน้ําเนา มอมเมา เสนอแตเร่ืองไรสาระ ดัง นั้นขบวนการนักศึกษาจึงพยายามที่จะเสนอรูปแบบใหมแหง “วรรณกรรมเพ่ือชีวิต” เขาแทนท่ีซ่ึงเปนวรรณ กรรมท่ีมุงจะสะทอนถึงความทุกขยาก และการตอสูของประชาชนท่ีถูกกดข่ี กระแสวรรณกรรมเพื่อชีวิตเหลานี้สวนหนึ่งเปนการร้ือฟนกระแสวรรณกรรมเพื่อชีวิตท่ีเร่ิมพัฒนาในทศวรรษท่ี 2490 มีการร้ือฟนและตีพิมพซํ้างานเขียนของกลุมอักษรสาสน งานเขียนของจิตรและนักเขียนอ่ืนในสมัยนั้น เชน ขอคิดจากวรรณคดี (อัศนี พลจันทร), ศิลปวรรณคดีกับชีวิต (อุดม สีสุวรรณ) รวมทั้งนวนิยายเพ่ือชีวิต เชน แลไปขางหนา (ศรีบูรพา), ปศาจ ความรักของวัลยา (เสนีย เสาวพงศ), เมืองนิมิตร (ม.ร.ว. นิมิตมงคล นวรัตน) เปนตน แตกระน้ันกระแสแหงวัฒนธรรมของยุคหลังเหตุการณ 14 ตุลาคมมีการลักษณะพิเศษของยุคสมัยตนเอง กรณีหนึ่งคือ การเกิดการเฟองฟูของนวนิยายและหนังสือเด็กจากจีน โดยมีการพิมพเผยแพรออกเปนภาษาไทยจํานวนมาก เชน พายุ ซ่ึงลงพิมพเปนตอนๆในนิตยสารเอเชียวิเคราะหขาวกอนมีการรวมเลม เร่ืองอ่ืนไดแก ตะเกียงแดง, รุกเหนือรบใต, เกาอ้ีเปา (เกาอ้ีปา), ทหารนอยจางกาเดินทัพทางไกลไปกับประธานเหมา (สีกวงเยา), เขาโรงเรียน (กวั่นหวา), หยางกินซือ วีรชนอมตะ (วางเฮา) และวีรสตรีจีนปฏิวัติหลิวหูหลาน (วีรจิตร) เปนตน ซ่ึงลักษณะของทุกเร่ืองจะตองสะทอนใหเห็นซ่ึงจิตใจท่ีเสียสละและกลาหาญของประชาชนจีนท่ีอุทิศชีวิตเพื่อชาติ และเพ่ือการปฏิวัติเพื่อสรางสังคมอันดีงาม อันเปนแบบอยางแกชนรุนหลัง ไมเพียงแตการรับอิทธิพลจากชวงทศวรรษ 2490 และการรับอิทธิพลจากจีน กระแสวัฒนธรรมเพ่ือชีวิตในเหตุการณ 14 ตุลาคมกอใหเกิดการสรางวรรณกรรมเพ่ือชีวิตแหงยุคสมัยตนเองเชนกัน เชน เกิดการเขียนเร่ืองส้ันใหมโดยนักเขียนรุนใหม เชน สถาพร ศรีสัจจัง, วัฒน วรรลยางกูร นอกจากน้ีดานนวนิยาย เชน พอขาเพิ่งจะยิ้ม (สันติ ชูธรรม), พิราบแดง (สุวัฒน วรดิลก), ไผตัน (สุจิตต วงษเทศ), ตําบลชอมะกอก (วัฒน วรรลยางกูร) หรือการเกิดงานแปลใหม เชน คนข่ีเสือ (ภวาณี ภัฏฏาจารย) ซ่ึงเปนนวนิยายเพ่ือชีวิตอินเดีย เบาหลอมนักปฏิวัติ (นิโคไล ออฟตรอฟสกี) แตท่ีเฟองฟูอยางมากคือ บทกวีใหมท่ีแตงโดย รวี โดมพระจันทร, วิสา คัญทัพ ซ่ึงมีการรวมเลมตีพิมพออกเปนเลม ควบคูกับการเคล่ือนไหวในวงการวรรณกรรมคือ การวิพากษระบบการศึกษาแบบเกาวา เปนการศึกษาแบบลาหลัง รับใชสังคมทุนนิยม และใชระบบ “แพคัดออก” ซ่ึงทําใหชนช้ันลางมีโอกาสเขาถึงการศึกษายากจึงมีการจัดนิทรรศการ “โฉมหนาการศึกษา และชําแหละหลักสูตร” เม่ือตนป พ.ศ. 2518 ซ่ึงวิพากษเนื้อหาการ ศึกษาแบบเกา และเสนอใหจัด “การศึกษาเพื่อมวลชน” ข้ึนแทนท่ี ในขณะเดียวกันมีการพิมพหนังสือออกมา

46

Page 49: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

มากมายเพ่ือนําเสนอแนวคิดเชนนี้ เชน การศึกษาเพ่ือมวลชน ซ่ึงเปนหนังสือรวมบทความพิมพตั้งแตเดือนมีนาคม 2517, โรงเรียนตายแลว (ช.เขียวพุมพวง) พิมพในป พ.ศ. 2518 ซ่ึงกลายเปนหนังสือขายดี ผลสะเทือนจากการวิพากษแนวทางการศึกษา และการเสนอการศึกษาเพื่อมวลชนทําใหรัฐบาลตองยอมรับ และตั้งกรรมการพื้นฐานเพื่อปฏิรูปการศึกษาในป พ.ศ. 2518 ในดานบทเพลงและดนตรีก็เชนเดียวกัน เพลงแบบเกาจะถูกวิจารณวา เปนเพลงไมมีเนื้อหาสาระ สะทอนแตเร่ืองความรักสวนตัว ไมกอใหเกิดประโยชนแกสังคม ขบวนการนักศึกษาจึงใหกําเนิดเพลงแบบใหมท่ีเรียกวา “เพลงเพื่อชีวิต” ซ่ึงเปนบทเพลงที่สะทอนชีวิตและความทุกขยากของประชาชน เกิดวงดนตรีเพ่ือชีวิตข้ึนมาในขบวนการนักศึกษามากมาย วงดนตรีเพื่อชีวิตท่ีเกิดข้ึนมาเปนวงแรกคือ วงดนตรี ท.เสนและสัญจร ในป พ.ศ. 2516 ซ่ึงนําโดย สุรชัย จันทิมาธร และเลนเพลง “คนกับควาย” ท่ีแตงโดย สมคิด สิงสง และเพลง “เปบขาว” ท่ีนํามาจากบทกวีของจิตรวงนี้ตอมาพัฒนามาเปนวงดนตรีคาราวาน นอกจากนี้ เชน วงดนตรีกรรมาชนของนักศึกษา ม.มหิดล ซ่ึงสวนใหญนําเอาเพลงท่ีจิตรแตงไวมารอง วงดนตรีโคมฉายและวงดนตรีลูกทุงสัจธรรมของนักศึกษา ม.รามคําแหง วงดนตรีคุรุชนของนักศึกษาวิทยาลัยครูสวนสุนันทา นอกจากนี้วงดนตรีท่ีมีเอกลักษณอันนาสนใจคือ วงดนตรีตนกลา ซ่ึงเปนวงดนตรีเพื่อชีวิตท่ีใชเคร่ืองดนตรีไทยบรรเลง เพลงเพ่ือชีวิตเหลานี้ไดรับการตอนรับเปนอยางดีจากขบวนการนักศึกษา และกลายเปนอาวุธอันสําคัญในการเผยแพรอุดมการณ ตลอดจนปลุกเราจิตใจนักศึกษาใหมีความรูสึกกลาตอสู เพลงหลายเพลงมีบทบาทอยางมากในการสรางจิตสํานึกรับใชประชาชน และความใฝฝนถึงสังคมใหมแกนักศึกษา เชน เพลง “เพื่อมวลชน” ท่ีเสนอใหนักศึกษาพลีตนเพ่ือรับใชประชาชน เพลง “ฟาใหม” ของจิตรสะทอนใหเห็นถึงความ หวังตอสังคมใหมท่ีกําลังจะมาถึง เพลง “อเมริกันอันตราย” สะทอนถึงภาระหนาท่ีในการตอตานจักรวรรดินิยมสหรัฐ เพลง “ความตายอยางมีคา” ปลุกใจใหนักศึกษากลาเสียสละเพ่ืออุดมการณ และเพลง “ตนมะขามสนามหลวง” สะทอนใหเห็นถึงสภาพการเผชิญหนากับชนช้ันปกครองท่ีแหลมคมมากข้ึน สวนเพลง “อินโดจีน” แตงข้ึนเพื่อสดุดีชัยชนะของประชาชนอินโดจีน เปนตน อยางไรก็ตามกลุมชนช้ันนําควบคุมการเผยแพรเพลงเพ่ือชีวิตอยางยิ่ง โดยไมยอมใหเพลงเหลานี้ออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง หรือโทรทัศนเลย ดนตรีเพื่อชีวิตจึงกลายเปนวัฒนธรรมเฉพาะของขบวนการนักศึกษา จนกระท่ังถึงเวลาเม่ือเกิดเหตุการณ 6 ตุลาคม ในวงการละครก็เชนเดียวกัน ละครเพ่ือชีวิตซ่ึงถือกําเนิดต้ังแตกอนเหตุการณ 14 ตุลาคมคือ ละครพระจันทรเส้ียว ตอมาก็เกิดคณะละครตะวันเพลิงของนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร และคณะละครแฉกดาวของนิสิต นักศึกษาหลายมหาวิทยาลัย เชน จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ม.เชียงใหม, ม.รามคําแหง, ม.ธรรมศาสตร โดยมี คํารณ คุณะดิลก จากกลุมพระจันทรเส้ียวมาชวยฝกซอม จนถึงป พ.ศ. 2518 ชมรมศิลปะการละครของทุกมหาวิทยาลัยหันมาจัดแสดงละครเพ่ือชีวิตท้ังส้ิน จากนั้นเม่ือมีการจัดนิทรรศการ หรือมีการชุมนุมของนักศึกษาประชาชน ละครเพ่ือชีวิต จินตลีลา และง้ิวท่ีกาวหนาจะกลายเปนศิลปวัฒนธรรมท่ีเปนหัวใจของการแสดงบนเวทีเสมอ

47

Page 50: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

กลุมจิตรกรรมและประติมากรรมเพื่อชีวิตท่ีพัฒนาข้ึนมาหลังจากเหตุการณ 14 ตุลาคมกอใหเกิดการจัดต้ังกลุม “แนวรวมศิลปนแหงประเทศไทย” ข้ึนซ่ึงศิลปนฝายกาวหนาท้ังหลายรวมกัน และเลือกให พนม สุ วรรณนาถ เปนประธานแนวรวมคนแรก จากน้ันจัดนิทรรศการชื่อ “ศิลปวัฒนธรรมทาส” ข้ึนในเดือนกุมภา พันธ 2518 เพื่อวิเคราะหและวิพากษศิลปะวัฒนธรรมที่รับใชชนช้ันท่ีกดข่ี และเสนอศิลปะวัฒนธรรมใหมท่ีรับใชประชาชนตอมาจิตรกรกลุมนี้เขียนภาพสะทอนถึงปญหาสังคมการเมืองอยางชัดเจน ชุดภาพท่ีเดนมากคือ การแสดงภาพเมื่อครบรอบ 2 ป 14 ตุลาคมในเดือนตุลาคม 2518 กลุมศิลปนวาดภาพคัทเอาททางการ เมืองเกี่ยวกับการตอสูของประชาชนจํานวน 48 ภาพออกแสดงบนเกาะกลาง ถ.ราชดําเนิน ตลอดสายซ่ึงเปนนิทรรศการภาพศิลปขนาดใหญคร้ังแรก และสรางผลสะเทือนอยางมากตอวงการศิลปะในประเทศไทย 2.5 การปรับตัวของขบวนการนักศึกษา กระแสวิพากษวัฒนธรรมของขบวนการนักศึกษายังกอใหเกิดการปรับขบวนภายในดวย เนื่องจากเหตุการณ 14 ตุลาคมสรางผลสะเทือนใหกับมหาวิทยาลัยตางๆจึงทําใหเกิดพรรคนักศึกษาที่กาวหนาในทุกมหาวิทยาลัย และมีการขยายงานมวลชนในหมูนักศึกษาจนหลายพรรคไดรับเลือกต้ังใหเปนพรรคบริหารมหาวิทยาลัย ในกรณีของ ม.ธรรมศาสตร ซ่ึงเปนฐานอันม่ันคงของฝายนักศึกษากาวหนาท่ีมีแนวโนมสนับสนุนการตอสูของประชาชน กลุมนักศึกษาท่ีกาวหนาในมหาวิทยาลัยรวมกันต้ังพรรคนักศึกษาช่ือ พรรคพลังธรรม ตั้งแตกอนเหตุการณ 14 ตุลาคม และสง พีรพล ตริยะเกษม ลงสมัครเลือกต้ังไดรับชัยชนะมาต้ังแตป พ.ศ. 2516 ตอมาในป พ.ศ. 2517 สง วิจิตร ศรีสังข ลงสมัครรับเลือกต้ัง และไดเปนพรรคบริหารองคการนักศึกษาตอมาอีกสมัยหนึ่ง สวนท่ี ม.รามคําแหง กลุมนักศึกษากาวหนากอตั้งเปนพรรคสัจธรรมในป พ.ศ. 2517 แตพายแพการการเลือกตั้งองคการนักศึกษา แมวาจะคุมเสียงในสภาไวไดโดยพรรคท่ีชนะเลือกต้ังคือ พรรครามธรรม ซ่ึงเปนฝายกลาง จนถึงเดือนมกราคม 2518 พรรคสัจธรรมจึงชนะเลือกตั้งท้ังองคการบริหารและสภา และในป พ.ศ. 2519 พรรคสัจธรรมก็ชนะอีกคร้ังหนึ่ง โดยมี มหินทร ตันบุญเพิ่ม เปนนายกองคการท่ี ม.มหิดล นักศึกษาฝายกาวหนาต้ังพรรคแนวรวมมหิดลข้ึนมาสมัครรับเลือกต้ัง และไดรับชัยชนะเชนเดียวกันท่ี ม.ศรีนรินทรวิโรฒประสานมิตร มีการต้ังพรรคพลังซ่ึงชนะการเลือกตั้งในมหาวิทยาลัย สําหรับท่ี ม.เชียงใหม พรรคนักศึกษาท่ีกาวหนาช่ือ พรรคประชาธรรม ชนะการเลือกต้ังเชนกัน และในป พ.ศ. 2519 จาตุรนต ฉายแสง ไดรับเลือกเปนนายกองคการ สําหรับท่ีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยกลุมนักศึกษากาวหนาต้ังพรรคจุฬาประชาชนขึ้น แตในป พ.ศ. 2518 นั้น พรรคท่ีชนะเลือกต้ังคือ พรรคอิสราธิปไตย ซ่ึงเปนฝายกลาง จนในการเลือกต้ังป พ.ศ. 2519 พรรคจุฬาประชาชนรณรงคแขงกับพรรคนองพี่จุฬาซ่ึงเปนพรรคฝายขวาและไดรับชัยชนะเปนคร้ังแรก โดยผลักดันให เอนก เหลาธรรมทัศน ข้ึนรับตําแหนงนายกสโมสร นอกจากนี้คือ ม.เกษตรศาสตร ซ่ึงเปนท่ีม่ันของกลุมนักศึกษาฝายลาหลัง พรรคนักศึกษาท่ีกาวหนาคือ พรรครวมพลังสามัคคีชนะเลือกต้ังเม่ือตนป พ.ศ. 2519

48

Page 51: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ยังมีการตั้งพรรคนักศึกษากาวหนาในวิทยาลัยครูหลายแหง และชนะเลือกตั้งเชนกันจึงเปนท่ีนาสังเกตวา พรรคนักศึกษาฝายกาวหนาชนะการเลือกตั้งในทุกมหาวิทยาลัยในป พ.ศ. 2519 สําหรับในระดับโรงเรียนมัธยม แมวาจะไมมีการเลือกต้ังในลักษณะเชนนี้ แตกลุมนักเรียนท่ีกาวหนาขยายองคกรของตนเองอยางรวดเร็วเชนเดียวกัน การขยายอิทธิพลท่ีกาวหนาของฝายนักศึกษาน้ันมีผลกระทบอยางมากตอการเส่ือมสลายของระบบโซตัส ระบบอาวุโส และประเพณีรับนองอันเหลวไหลของนิสิตนักศึกษาซ่ึงเปนกระแสของนักศึกษาในระยะกอนเหตุการณ 14 ตุลาคม ม.รามคําแหง ซ่ึงเปนมหาวิทยาลัยเปดเปนมหาวิทยาลัยแหงแรกท่ีไมมีระบบรับนองเชนนั้น ตอมา ม.ธรรมศาสตร เลิกระบบเชนนั้นต้ังแตกอน 14 ตุลาคม โดยจะเรียกนักศึกษาใหมท่ีเขาสูมหาวิทยาลัยดวยคําวา “เพ่ือนใหม” แทนคําวา “นองใหม” และในป พ.ศ. 2517 องคการนักศึกษา ม.ธรรม ศาสตร จัดการรับเพ่ือนใหมดวยการจัดสัมมนาเร่ืองปญหาของประเทศไทยในดานตางๆ จากนั้นในป พ.ศ. 2518 จัดงานรับเพื่อนใหม โดยการนํานักศึกษาใหมไปฝกการใชแรงงานเพื่อใหรูจักชีวิตชาวนาท่ี อ. แสวงหา จ.อางทอง ตอมา ม.วิชาการศึกษา หรือท่ีเปล่ียนช่ือมาเปน ม.ศรีนครินทรวิโรฒ และเปนมหาวิทยาลัยท่ีมีนิสิตท่ีเปนผูใหญเขามาเรียนเปนจํานวนมากในแตละปก็ลมเลิกการจัดรับนองใหมเชนเดียวกัน สวนจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในชวงแรกมีการยกเลิกพิธีรับนองใหมเปนบางคณะ คณะอักษรศาสตร ครุศาสตร และแพทยศาสตรนั้นเร่ิมตนกอน จากน้ันคณะอ่ืนๆก็คอยเลิกรับนองตามลําดับ จนถึงป พ.ศ. 2519 คณะวิศวกรรมศาสตรเปนคณะสุดทายท่ีเลิกงานรับนอง หลังจากท่ีนิสิตฝายกาวหนาชนะการเลือกต้ังภายในคณะ และในเวลาตอมา ม.เชียงใหม และ ม.ขอนแกน ก็เลิกการรับนองเชนกัน คงเหลือแตเพียง ม.เกษตรศาสตร ท่ียังดํารงพิธีรับนองไวมากท่ีสุด แตกระน้ันในป พ.ศ. 2519 คณะตางๆใน ม.เกษตรศาสตร ก็เลิกรับพิธีรับนองเชนกัน เหลือแตเพียงคณะวนศาสตรท่ียังคงเปนคณะสุดทายท่ีคงประเพณีการรับนองไวอยางเครงครัด นอกจากนี้ประเพณีท่ีลาหลัง ไรสาระ และฟุมเฟอยชนิดตางๆถูกลดจํานวนลงอยางมาก และมักจะไมไดรับความสนใจจากนักศึกษาสวนใหญ กิจกรรมท่ีนักศึกษามหาวิทยาลัยตางๆจัดทําในชวงนี้จะเปล่ียนแปลงไปสูส่ิงท่ีมีสาระ เชน การจัดนิทรรศการเผยแพรความรูท่ีกาวหนา ใหขอมูลขาวสารแกประชาชน หรือจัดกิจกรรมอ่ืนๆท่ีมีเปาหมายในการประสานและมุงรับใชประชาชนระดับลาง การจัดงานอภิปรายถึงปญหาสําคัญของชาติ การต้ังกรรมการขึ้นใหคําปรึกษา หรือรับรองทุกขของประชาชนในดานตางๆ งานออกคายของนิสิตนักศึกษาก็แปรเปล่ียนจากงานสรางถาวรวัตถุเปนการใชแรงงาน และดัดแปลงตนเองใหเขากับกรรมกรชาวนา การแขงขันฟุตบอลประเพณีระหวาง ม.ธรรมศาสตร และจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยซ่ึงถูกยกเลิกไปตั้งแตหลังเหตุการณ 14 ตุลาคมถูกร้ือฟนมาจัดใหมอีกคร้ังในเดือนมกราคม 2519 โดยท่ีนิสิตนักศึกษา 2 มหาวิทยาลัยลมเลิกรูปแบบกิจกรรมท่ีลาหลังท้ังหมด และริเร่ิมใชกิจกรรมท่ีเปนประโยชนแทน เชน การไปทําความสะอาดวัดในตอนเชา และการสอดแทรกเนื้อหาท่ีกาวหนาลงไปในการจัดขบวนพาเหรด จึงทําใหฟุตบอลประเพณี พ.ศ. 2519 มีรูปแบบท่ีแตกตางจากงานท่ีจัดในปกอนหนานี้อยางส้ินเชิง ดานศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยท่ีมีสถานะเปนแกนนําการเคล่ือนไหวนั้นในชวงแรกหลังเหตุการณ 14 ตุลาคมเกิดความขัดแยงภายใน เนื่องจากนักศึกษากลุมอิสระจํานวนหน่ึงไมพอใจการทํางาน

49

Page 52: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ของคณะกรรมการศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยท่ีนําโดย สมบัติ ธํารงธัญญวงศ ดังนั้นในการประชุมเม่ือวันท่ี 1 พฤศจิกายน 2516 คณะกรรมการถูกซักฟอกอยางหนัก จากน้ันกลุมนักศึกษาสวนหนึ่งจึงแยกตัวออกมาต้ังเปน “กลุมธรรมศาสตรเสรี” โดย เสกสรรค ประเสริฐกุล เปนผูนํา การแยกตัวดังกลาวดวยเหตุผลวา จะใหมีความคลองตัวในการทํางานมากข้ึน โดยคําแถลงกลุมธรรมศาสตรเสรีอธิบายลักษณะการทํางานของกลุมวา ดําเนินงานเหมือนศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย แตโครงสรางในการทํางานเปนอิสระกวา มีนโยบายที่จะใหความรูดานประชาธิปไตยแกประชาชนเปนสําคัญ รวมท้ังเรงเรานักเรียน นิสิตนักศึกษาใหสนใจตอปญหาบานเมืองอยางจริงจัง รับผิดชอบตอสังคม และตอตานความฟุงเฟอ ผลจากความขัดแยงทําใหกรรมการชุดของสมบัติลาออกเม่ือวันท่ี 18 พฤศจิกายน 2516 แตปรากฏวาในการเลือกต้ังวันท่ี 6 ธันวาคมชุดของสมบัติไดรับเลือกต้ังกลับมาอีกจึงทําใหความขัดแยงดํารงอยูตอไป กลุมธรรมศาสตรเสรีจึงเปนแกนรวมกลุมนักศึกษากาวหนาอีกกลุมหนึ่งต้ังเปนสหพันธนักศึกษาเสรีแหงประเทศไทย มีองคกรนําท่ีแตกตางไปจากศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย นอกจากนี้กลุมของ ธีรยุทธ บุญมี แยกตัวไปตั้งกลุมช่ือ ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ปช.ปช.) เคล่ือนไหวเปนอิสระเชนกัน อยางไรก็ตามยังถือไดวา ขบวนการนักศึกษายังเปนเอกภาพในแงของเปาหมายท่ีมุงจะตอสูเพื่อใหสังคมไทยเปนเอกราชอยางแทจริง เพียงแตวาผลจากความแตกแยกในองคกรทําใหศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยสูญเสียบทบาทนําในชวงป พ.ศ. 2517 เพราะองคการนักศึกษามหาวิทยาลัยตางๆยังไมไดเปนเอกภาพกัน ตัวอยางท่ีเห็นไดชัดคือ กรณีครบรอบป 14 ตุลาคมในป พ.ศ. 2517 กลุมอิสระ 13 กลุมนําโดยองคการนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร จัดงานมหกรรมการเมืองท่ี ม.ธรรมศาสตร ปรากฏวา ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยไมเขารวมการจัดงานคร้ังนี้ ตอมาในการเคล่ือนไหวขับไลจอมพล ถนอม คร้ังแรก หลังจากท่ีจอมพล ถนอม ลอบกลับเขามาในประเทศไทยเมื่อวันท่ี 27 ธันวาคม 2517 โดยอางวา จะมาเยี่ยมพอท่ีปวยหนัก นักศึกษาจัดการชุมนุมใหญเรียกรองใหมีการจับกุม และดําเนินคดีจอมพล ถนอม การเคล่ือนไหวครั้งนี้ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยซ่ึง ช่ังทอง โอภาสศิริวิทย รักษาการเลขาธิการตัดสินใจไมเขารวมการเคล่ือนไหว ดังนั้นองคกรนักศึกษาฝายกาวหนาตางๆ 23 กลุมจึงไดจัดต้ังกันข้ึนเปนแนวรวมตอตานเผด็จการแหงชาติ โดยมี สุธรรม แสงประทุม เปนเลขาธิการ การเคล่ือนไหวคร้ังนี้ทําใหจอมพล ถนอม ตองหนีออกนอกประเทศอีกคร้ังเม่ือวันท่ี 29 ธันวาคมนั้นเอง ตอมา คํานูณ สิทธิสมาน จาก ม.ธรรมศาสตร เขามารักษาการตําแหนงเลขาธิการศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย ตั้งแตเดือนมกราคม 2518 แตการนําของศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยยังไมเปนเอกภาพ จนถึงในเดือนมิถุนายน 2518 เม่ือพรรคนักศึกษาฝายกาวหนาชนะการเลือกตั้งในมหาวิทยาลัยตางๆเปนสวนขางมาก และสามารถผลักดันให เกรียงกมล เลาหไพโรจน นิสิตคณะนิติศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเขารับตําแหนงเลขาธิการศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยจึงทําใหการนําในขบวนการเปนเอกภาพกันมากท่ีสุด และถือไดวา กลุมนักศึกษากาวหนามีบทบาทนําในขบวนการนักศึกษาอยางชัดเจน ในระหวางป พ.ศ. 2517 เกิดความขัดแยงในขบวนการ เนื่องจากกระแสการวิพากษลัทธิแก ผิน บัวออน กรณีนี้เกิดข้ึนจากการที่ วิจิตร ศรีสังข ตีพิมพหนังสือ แนวทาง 14 ตุลาคมจงเจริญ (อํานาจ ยุทธวิวัฒน) เพื่อ

50

Page 53: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ประกอบนิทรรศการมหกรรมการเมืองในโอกาสครบรอบป 14 ตุลาคมในเดือนตุลาคม 2517 ช่ือ อํานาจ ยุทธวิวัฒน เปนนามปากกาของผิน อดีตกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยท่ีหันมาทํางานใหกับฝายอํานาจรัฐ และพยายามขยายการจัดตั้งของฝายตนเขามาในขบวนการนักศึกษา ขอเสนอในหนังสือเลมนี้กอใหเกิดความขัดแยงอยางมาก เพราะในสวนนําของพรรคพลังธรรม ม.ธรรมศาสตร เห็นวา ขอเสนอดังกลาวไมถูกตอง เพราะเชิดชูแนวทาง 14 ตุลาคมอันจะนํามาซ่ึงการลุกข้ึนสูในเมือง และจะเปนการงายแกชนช้ันปกครองในการปราบปราบ กลุมนักศึกษากาวหนาในพรรคพลังธรรมนําเสนอวา ส่ิงท่ีจะตองเชิดชูคือ เจตนารมณ 14 ตุลาคมท่ีรักประชาธิปไตย และจิตใจ 14 ตุลาคมท่ีกลาเสียสละยิ่งกวาท่ีจะเชิดชูแนวทาง 14 ตุลาคม ดังนั้นจึงมีการนําเอาหนังสือแนวทาง 14 ตุลาคมจงเจริญมาเผาทิ้ง และมีการออกหนังสือช่ือ ศึกษา 14 ตุลาคม และวิพากษหลิวสาวฉีไทย (ดรุณใหม) ออกมาตอบโต โดยมีการวิพากษผินวา เปนนักปลนทฤษฎี และเปนหัวโจกลัทธิแกของไทย การวิวาทะในขบวนการนักศึกษาคร้ังนี้เปนคร้ังสําคัญท่ีจะกอใหเกิดผลคือ ความแตกแยก เพราะนักศึกษาอีกกลุมหนึ่งท่ีไมเห็นดวยกับฝายนํานักศึกษาที่วิพากษผินจึงแยกตัวไปต้ังพรรคนักศึกษาใหมช่ือ พรรคแนวประชา ในการเลือกตั้งภายในของ ม.ธรรมศาสตร ในเดือนกันยายน 2518 จึงกลายเปนการแขงขันระหวางพรรคแนวประชาฝายหน่ึงกับพรรคพลังธรรมซ่ึงสามารถสรางแนวรวมสามัคคีกับพรรคยูงทองเปนอีกฝายหนึ่ง พรรคแนวประชาเสนอคําขวัญเพื่อจูงใจนักศึกษาวา ไมนําไมตามใคร เราจะไปพรอมๆกันซ่ึงแสดงนัยถึงการวิจารณพรรคพลังธรรมวา เอาแตเคล่ือนไหวภายนอกมากเกินไปจนไมสนใจนักศึกษาสวนใหญ ปรากฏวา ฝายพรรคพลังธรรม - ยูงทองใชยุทธวิธีเคาะประตูนักศึกษา โดยแบงกลุมยอยไปพูดคุยกับนักศึกษาจึงทําใหฝายพรรคพลังธรรมยังคงชนะการเลือกต้ัง แตกระน้ันในการเลือกต้ังคร้ังตอมาในเดือนมกราคม 2519 พรรคแนวประชาสละแนวทางของผินกลับมาสามัคคีกับพรรคพลังธรรมอีกคร้ัง พรรคท้ังสามจึงสงคนสมัครรับเลือกตั้งรวมกัน แขงกับกลุมฝายขวาซ่ึงต้ังพรรคโดมข้ึนมา ปรากฏวาแนวรวม 3 พรรคไดรับชัยชนะอยางทวมทน โดย พิเชียร อํานาจวรประเสริฐ เขารับตําแหนงนายกองคการนักศึกษา อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยเผยแพรเขามาในขบวนการนักศึกษาโดยผานลูกหลานของผูปฏิบัติงานของพรรคท่ีเขามาเปนนิสิตนักศึกษา แตตอมาหลังเหตุการณ 14 ตุลาคมเกิดการขยายตัวของแนวคิดสังคมนิยม การขยายตัวขององคกรพรรคในขบวนการนักศึกษาจึงเปนไปอยางรวดเร็ว เนื่องจากขบวนการนักศึกษาเร่ิมเห็นชอบกับแนวทางสังคมนิยมมากข้ึนทุกที และเช่ือม่ันวา นี่เปนแนวทางท่ีจะแกปญหาของประเทศไทย การยอมรับพรรคคอมมิวนิสตเปนผลจากความเช่ือท่ีวา พรรคเปนองคกรจัดต้ังของฝายสังคมนิยมอยางแทจริง และมีเกียรติประวัติการตอสูมาตั้งแตป พ.ศ. 2485 จึงสามารถเปนองคกรท่ีนําการสรางสังคมใหมใหเปนจริงได นอกจากน้ีวิทยุเสียงประชาชนแหงประเทศไทย (สปท.) ของพรรคคอมมิวนิสตยังเปนกระบอกเสียงท่ีเสนอ และวิเคราะหสถานการณดวยทฤษฎีสังคมนิยมอยางม่ันคงท่ีสุด นอกจากนี้การใชความรุนแรงปราบปรามของฝายกลไกรัฐเปนอีกสาเหตุหนึ่งท่ีผลักดันใหผูปฏิบัติงานจํานวนไมนอยยอมรับพรรคคอมมิวนิสตมากยิ่งข้ึน ในฐานะทางเลือกใหมท่ีแตกตางไปจากรัฐบาลปฏิกิริยา แตในดานของตัวบุคคลนั้น ปรากฏวา ฝายนําของพรรคคอมมิวนิสตนั้นอยูไกลเกินไปที่จะเขาใจ และช้ีนํา

51

Page 54: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

สถานการณแหงการตอสูของขบวนการนักศึกษาไดจึงกลายเปนวา คนของขบวนการนักศึกษานั่นเองท่ีเขาไปมีบทบาทภายในองคกรของพรรคคอมมิวนิสตมากข้ึน โดยเฉพาะสาขาของพรรคคอมมิวนิสตในเมือง และคนเหลานี้จะเปนคนท่ีมีบทบาทชี้นําในขบวนการนักศึกษา หรือกลาวอีกนัยหนึ่งองคกรพรรคคอมมิวนิสตนั้นเปนเพียงผูนําในเชิงแนวคิดทางยุทธศาสตร แตคนของขบวนการนักศึกษาเองท่ีเปนฝายกําหนดแนวทางการตอสู เม่ือปลายป พ.ศ. 2518 กระแสการปฏิวัติวัฒนธรรมในขบวนการนักศึกษาครอบคลุมไปถึงการสรางประเพณีและวัฒนธรรมใหมในกรอบเดิม โดยเร่ิมจากการจัดงานลอยกระทงรักไทยซ่ึงเปนงานลอยกระทงในรูปแบบใหม ไมมีการประกวดนางนพมาศ แตเปนงานท่ีแสดงใหเห็นถึงความกาวหนาของศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน นอกจากนี้ในปใหม พ.ศ. 2519 องคการนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร จัดงานปใหม อรุณแหงชัย โดยสรางความหวังใหป พ.ศ. 2519 เปนปแหงชัยชนะของประชาชน ขณะท่ีทางกลุมนิสิตท่ีกาวหนาของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยจัดงานปใหมชูไทข้ึนเชนกัน และในเดือนมกราคม 2519 นี้เองงานฟุตบอลประเพณีระหวาง ม.ธรรมศาสตร และจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยถูกนํามาจัดใหม โดยสอดแทรกเนื้อหาท่ีกาวหนาลงไป ตอมาในเทศกาลสงกรานตของป พ.ศ. 2519 ขบวนการนักศึกษาจัดงานสงกรานตเบิกฟาประเพณีเพื่อสะทอนประเพณีใหมท่ีรับใชชีวิต รับใชมวลมหาประชาชนซ่ึงการเคล่ือนไหวเหลานี้กอใหเกิดโฉมหนาใหมทางวัฒนธรรมของไทยดวย ในระยะท่ีการตอสูแหลมคมมากข้ึน และแนวความคิดสังคมนิยมเปนท่ียอมรับมากข้ึนนั้น นอกจากจะมีการเสนอแนวทางในการเปล่ียนแปลงสังคมไปสูสังคมนิยม ท้ังในทางยุทธศาสตรและยุทธวิธีแลวยังมีการเสนอหลักเกณฑในการเปนนักปฏิวัติเพื่อปรับปรุงขบวนการนักศึกษาใหมีลักษณะปฏิวัติมากยิ่งข้ึน กอใหเกิดการจัดต้ัง และเคล่ือนไหวเพื่อปรับปรุงชีวทัศนคร้ังใหญ โดยสาระน้ันการจัดต้ังคือ การสรางองคกรใหเขมแข็ง มีวินัยและมีจิตใจสูรบมากข้ึน สวนการปรับปรุงชีวทัศนคือ ความพยายามที่จะผลักดันวา ผูปฏิบัติงานในขบวนการนั้นจะมีโลกทัศนท่ีกาวหนาอยางเดียวไมพอจะตองมีชีวทัศนท่ีกาวหนาดวย ตัวแบบของบุคคลท่ีกาวหนา และกอใหเกิดความประทับใจแกขบวนการนักศึกษาคือ จิตร ปญญาชนปฏิวัติซ่ึงมีลักษณะการใชชีวิตท่ีนายกยอง และเสียสละทามกลางการปฏิวัติในป พ.ศ. 2509 หลังจากเหตุการณ 14 ตุลาคมชีวิตของเขาถูกนํามาศึกษา นํามากลาวสดุดี มาแตงเปนเพลง ควบคูกับการเขียนของเขา ท่ีตีพิมพออกมาอยางมากมายจนสมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทยถึงกับจัดการสัมมนาเก่ียวกับเร่ืองนี้ และตีพิมพออกเปนหนังสือช่ือ จิตร ภูมิศักดิ์ นักรบของคนรุนใหม นอกจากการสรางบุคคลตัวแบบข้ึนมาแลวการปรับปรุงชีวทัศนยังมาจากการศึกษา โดยหนังสือเลมสําคัญท่ีใชในการศึกษาเพื่อปรับปรุงชีวทัศน เชน ชีวทัศนเยาวชน ซ่ึงเปนหนังสือรวบรวมขอเสนอแนะ และการช้ีนําตอการใชชีวิตท่ีกาวหนาของเยาวชน เสริมทฤษฎีซ่ึงเปนหนังสือรวบรวมมาจากบทความที่เคยลงตีพิมพในหนังสือพิมพเสียงใหม เปนเร่ืองทฤษฎีเกี่ยวกับวิธีคิดวิธีการทํางานของเยาวชนนักศึกษา ศีลธรรมสังคมนิยม ของ อนุช อาภาภิรม ซ่ึงเปนการวางรากฐานใหเห็นวา โลกสังคมนิยมสามารถท่ีจะมีศีลธรรมได และศีล ธรรมใหมนั้นไมไดวางรากฐานอยูท่ีศาสนาซ่ึงเปนจิตนิยม แตเปนศีลธรรมท่ีวางอยูบนรากฐานแหงการ

52

Page 55: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

เสียสละ และรับใชประชาชน พลังชีวิตเรียกรองใหเยาวชนกลาตอสู กลาเสียสละเพื่อประโยชนสุขของประชาชน เปนตน นอกจากนั้นวรรณกรรมจากจีนจํานวนมากมีลักษณะเสนอทัศนะในการดัดแปลงตนเองเชนกัน เชน เร่ืองของ นอรแมน เบธูน นายแพทยและสมาชิกพรรคคอมมิวนิสตแคนาดาท่ีเขาไปชวยเหลือการปฏิวัติจีนในสงครามตอตานญ่ีปุน เปนแบบอยางของจิตใจสากลนิยม และเร่ืองของ จางซือเตอ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสตจีนท่ีเสียสละตนเอง ทํางานทุกชนิดเพื่อการปฏิวัติ และแสดงใหเห็นจิตใจท่ีเสียสละ ในกระแสแหงการนําเสนอใหมีการปรับปรุงชีวทัศนนั้น สวนหนึ่งเร่ืองทัศนะใหมตอความรักเปนท่ีสนใจไมนอยซ่ึงเปนเพราะนักศึกษาท่ียังเปนเยาวชนคนหนุมสาว มีความออนไหวตอเร่ืองความรักไดงายจึงมีหนังสือท่ีนําเสนอเกี่ยวกับเร่ืองความรักตีพิมพออกมาหลายเลม เชน สารแดนิด (ประสาน) พิมพตั้งแตป พ.ศ. 2517 และกลายเปนหนังสือท่ีมีการพิมพซํ้าหลายคร้ัง ตอมามีการตีพิมพ บนเสนทางรัก (ลือชัย รังสรรค) ซ่ึงเปนหนังสือท่ีเคยตีพิมพตั้งแตทศวรรษ 2490 ชีวทัศนหนุมสาว ซ่ึงเปนเอกสารศึกษาทัศนะความรักภายในพรรคคอมมิวนิสต และเร่ืองท่ีโดงดังมากในป พ.ศ. 2519 คือ ทัศนะความรักท่ีกาวหนา (อารยา แสงธรรม และ พิทักษ ชัยสูงเนิน) พิมพโดยพรรคจุฬาประชาชน การนําเสนอในเร่ืองปญหาความรักนี้เกือบทุกเร่ืองจะมีเนื้อหาที่คลายกันคือ เสนอใหมองความรักอยางเปนวิทยาศาสตร และเรียกรองใหแปรความรักสวนตัวมาข้ึนกับผลประโยชนของประชาชน หรือข้ึนตองานปฏิวัติเพื่อเปล่ียนแปลงไปสูสังคมท่ีดีงามเสียกอน 2.6 ขบวนการทางสังคมอื่น ๆ ผลจากการเคล่ือนไหวเหตุการณ 14 ตุลาคมนอกจากจะกอใหเกิดการเคล่ือนไหวเพ่ือเอกราชประชาธิปไตยและความพยายามในการแกไขปญหาของกรรมกรชาวนาแลวยังกอใหเกิดการเคล่ือนไหวทางสังคมอื่นๆท่ีนาสนใจคือ ขบวนการสิทธิสตรี และขบวนการสภาพแวดลอม ขบวนการสิทธิสตรีนั้นเร่ิมพัฒนากอนเหตุการณ 14 ตุลาคมเล็กนอยซ่ึงเปนผลมาจากการคัดคานการประกวดนางสาวไทยในป พ.ศ. 2515 เหตุผลสําคัญของการคัดคานคือ ความไมเหมาะสมในการจัดงานในภาวะเศรษฐกิจท่ีตกตํ่าอยางมากในป พ.ศ. 2515 ในขณะที่ประชาชนในภาคเหนือและภาคอีสานตองเผชิญภาวะความอดอยากและหนาวตาย แตคณะกรรมการจัดงานวชิราวุธยังคงจัดใหมีการประกวดนุงนอยหมนอยตอไป กลุมนักศึกษาหญิงจากหลายสถาบันจึงรวมตัวกันคัดคานการประกวดดังกลาวซ่ึงสงผลใหการประกวดนางงามตองถูกยกเลิกไปอีกหลายป ผลท่ีติดตามมาคือ การเกิดของกลุมผูหญิงสถาบันตางๆซ่ึงมุงจะสรางองคกรเพื่อเรียกรองสิทธิใหสตรีมีความเสมอภาคเทาเทียมชาย และใหชายยุติการพิจารณาสตรีในฐานะวัตถุบําเรอความใคร ปรากฏวา ตั้งแตเดือนธันวาคม 2516 ชุมนุมนิสิตหญิงคณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนําโดย จิรนันท พิตรปรีชา พิมพหนังสือช่ือ ขบวนการดอกไมบาน ออกเผยแพรซ่ึงเปนหนังสือรวบรวมทัศนะท่ีกาวหนาเกี่ยวกับสตรี และปกหลังของหนังสือนี้ตีพิมพบทกวีมีใจความวา

53

Page 56: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ดอกไมมีหนามแหลม มิใชแยมคอยคนชม บานไวเพื่อสะสม ความอุดมแหงดินดาน ดอกไมถูกเหยียบย่ํา ความเจ็บชํ้าย้ําผสาน ดอกใหมใกลจะบาน เลือดแดงฉานสงดอกชู

นอกจากนี้ยังตีพิมพบทความ อดีต ปจจุบัน และอนาคตของสตรีไทย (จิตร ภูมิศักดิ์) เผยแพรไปอยางกวางขวาง บทความนี้วิจารณการกดข่ีทางเพศท่ีเกิดข้ึนในยุคศักดินาและทุนนิยมอยางรุนแรง และเรียกรองใหสตรีท้ังหลายสามัคคีกันตอสูเพื่อปลดเปล้ืองพันธนาการของการกดข่ีทางเพศ บทความของจิตรกาวไปไกลกวาการเรียกรองสิทธิใหแกสตรีธรรมดา แตเรียกรองใหสนใจสตรีดอยโอกาสที่ถูกกดข่ีอยางถึงท่ีสุด นั่นคือ กรรมกรหญิง และหญิงบริการโสเภณีซ่ึงเปนกลุมสังคมที่มีฐานะตํ่าตอยท่ีสุด ตองขายตัวเปนสินคา และสิทธิความเปนมนุษยของตนเองถูกทําลาย บทความของจิตรกอใหเกิดการต่ืนตัวในหมูสตรีอยางมาก ในท่ีสุดกลุมสตรีของมหาวิทยาลัยตางๆรวมตัวกันเปนกลุมผูหญิง 10 สถาบัน และกลายเปนกลุมท่ีมีบทบาทในการเคล่ือนไหวในเร่ืองเกี่ยวกับสตรีซ่ึงจะมีประเด็นครอบคลุมต้ังแตการเรียกรองใหปรับปรุงสถานะทางกฎหมายของสตรีใหเสมอภาคกับบุรุษ และการรณรงคในเร่ืองสิทธิของสตรีระดับลาง ผลงานสําคัญอยางหน่ึงของขบวนการนักศึกษาสตรีหลังเหตุการณ 14 ตุลาคมคือ การรณรงคใหวันท่ี 8 มีนาคมเปนวันสตรีสากลทําใหสังคมไทยไดรูความสําคัญของวันนี้เปนคร้ังแรก ดวยการจัดงานสตรีสากล 8 มีนาคม 2518 ในงานนี้ จิรนันท พิตรปรีชา เขียนหนังสือเกี่ยวกับสตรีออกเผยแพรอีกเลมหนึ่งคือ โลกท่ี 4 เพื่อสะทอนถึงฐานะที่ต่ําตองของสตรีในสังคม และกระตุนใหสตรีเกิดความต่ืนตัว สํานึกในสถานะของตนเอง ในระยะนี้เองท่ีคําขวัญสตรี เสมอภาค สรางสรรค เปนท่ีแพรหลายกันท่ัวไป ตอมาในวันสตรีสากลป พ.ศ. 2519 มีการเผยแพรหนังสือ ปญหาและแนวทางการตอสูของผูหญิง (ฤดี เริงชัย) เปนตน สวนขบวนการส่ิงแวดลอมเร่ิมตนพัฒนาเนื่องมาจากในฤดูแลงของป พ.ศ. 2516 เกิดเหตุการณคร้ังแรกที่แมน้ําแมกลองเนา เพราะผลจากนํ้าเสียของโรงงานอุตสาหกรรมกอใหเกิดความตระหนกถึงภัยอันเนื่องจากสภาพแวดลอมท่ีถูกทําลาย นักศึกษามหาวิทยาลัยแทบทุกแหงจึงกอตั้งชมรมอนุรักษธรรมชาติ และสภาพแวดลอมข้ึน กลุมอนุรักษธรรมชาติ และสภาพแวดลอมเหลานี้มีบทบาทเพ่ิมข้ึนอยางมาก หลังเหตุการณ 14 ตุลาคม ปรากฏวา ปญหาธรรมชาติและสภาพแวดลอมกลายเปนกรณีหนึ่งท่ีนําขบวนการนักศึกษามาปะทะในเร่ืองผลประโยชนกับสหรัฐโดยตรง เพราะปลายป พ.ศ. 2516 นี้เองชมรมอนุรักษธรรมชาติทราบวา กองทัพอากาศไทยขอใชพื้นท่ีในอุทยานแหงชาติดอยอินทนนทซ่ึงเปนเขตปาตนน้ําลําธารเพื่อสรางเรดาหสําหรับสหรัฐท่ีจะใชในการสอดสองจีนและอินโดจีน นักศึกษาชมรมอนุรักษประมวลวา การสรางฐานเรดาหนี้เกิดความเสียหายถึง 5 ประการคือ 1. ทําลายแหลงตนน้ําลําธาร โดยเฉพาะแหลงซับน้ํา 2. ทําลายทิวทัศนและธรรมชาติท่ีสวยงาม 3. ทําลายปาไม

54

Page 57: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

4. ทําลายพืชพันธุท่ีหายาก 5. ทําลายความสําคัญทางโบราณคดี การประทวงคร้ังนี้กอใหเกิดการจัดต้ังชมรมอนุรักษธรรมชาติ 37 สถาบัน มีการชุมนุมคัดคานการกอสรางท่ี จ.เชียงใหม เม่ือวันท่ี 6 กุมภาพันธ 2517 ขณะท่ีกองทัพอากาศอางเหตุผลเร่ืองความมั่นคงโจมตีวา กลุมนักศึกษาชมรมอนุรักษท่ีคัดคานเปนพวกท่ีมีความสัมพันธกับผูกอการรายคอมมิวนิสต (ผ.ก.ค.) เม่ือวันท่ี 24 มีนาคม 2517 กลุมนักศึกษายื่นหนังสือคัดคานท่ีสถานทูตสหรัฐเพื่อสงคําคัดคานไปยังประธานาธิบดี ริชารด นิกสัน แตการเคล่ือนไหวครั้งนี้ไมประสบผล เพราะมติคณะรัฐมนตรียังคงอนุมัติใหกองทัพอากาศสรางฐานเรดาหตามตองการ ขอสังเกตจากการเคล่ือนไหวเร่ืองนี้คือ การมองผลประโยชนของชาติท่ีตางกันอยางตรงขามของคน 2 กลุม ขณะท่ีกองทัพอากาศเห็นวา การสรางเรดาหนั้นเปนความมั่นคงของชาติ แตกลุมนักศึกษาเห็นวา การทําลายปาท่ีดอยอินทนนทนั้นเปนการทําลายเอกลักษณแหงชาติ ปญหาเร่ืองทรัพยากรกลายเปนประเด็นสําคัญตอมาที่สะทอนถึงลักษณะชาตินิยมหลังเหตุการณ 14 ตุลาคม ปญหานี้คือ กรณีเทมโก ซ่ึงสืบเนื่องจากต้ังแตป พ.ศ. 2506 กลุมนายทหารและขาราชการระดับสูงท่ีนําโดยจอมพล สฤษด์ิ ตั้งบริษัทธุรกิจช่ือ บริษัท เหมืองแรบูรพาเศรษฐกิจ จํากัด เพื่อมาขอรับสัมปทานสํารวจและขุดแรในอาวไทยเปนเนื้อท่ีถึง 101,724 ไรซ่ึงเปนเร่ืองผิดกฎหมาย แตกรมทรัพยากรธรณีก็อนุมัติประทานบัตรให ตอมาในป พ.ศ. 2511 บริษัทนี้ไมมีความสามารถท่ีจะขุดแรไดจึงรวมมือกับบริษัท ยูเนียนคารไบน จํากัด ของสหรัฐต้ังบริษัท ไทยแลนดเอ็กพลอเรช่ันแอนดไมนิง จํากัด (TEMCO) และรับโอนกรรมสิทธิในการทําเหมืองแรในทะเลมาจาก บริษัท เหมืองแรบูรพาเศรษฐกิจ จํากัด ซ่ึงเปนการตัดสิทธ์ิการทําเหมืองแรในทะเลของบริษัทรายยอยท้ังหมด ในระยะตอมา บริษัท เหมืองแรบูรพาเศรษฐกิจ จํากัด ยุบตัวลง ผูถือหุนบริษัท ไทยแลนดเอ็กพลอเรชั่นแอนดไมนิง จํากัด กลายเปนบริษัทตางประเทศท้ังหมด ดังนั้นขบวนการนักศึกษาจึงตอสูเคล่ือนไหวใหรัฐบาลเลิกประทานบัตรของบริษัท ไทยแลนดเอ็กพลอเรช่ันแอนดไมนิง จํากัด และใหนําตัวขาราชการท่ีคบคิดกับบริษัทกระทําผิดกฎหมายมาลงโทษ โดยการตอสูข้ึนสูกระแสสูงเม่ือตนป พ.ศ. 2518 โดยมีการชุมนุมใหญของนักศึกษาประชาชนเพ่ือคัดคานสัมปทาน บริษัท ไทยแลนดเอ็กพลอเรช่ันแอนดไมนิง จํากัด ท่ีสนามหลวงเม่ือวันท่ี 7 กุมภาพันธ 2518 จนในท่ีสุดรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย ตองยอมถอนประทานบัตรของบริษัทเม่ือวันท่ี 17 เมษายนปเดียวกันนั้น โครงการสรางอางเก็บน้ํามาบประชัน จ.ชลบุรี เปนอีกกรณีหนึ่งท่ีเกิดปญหาจากการที่กรมชลประทานจะสรางอางเก็บน้ําซ่ึงจะทําใหน้ําทวมเนื้อท่ีนาของชาวบานจํานวนหลายหมูบานทําใหราษฎรเดือดรอนกวา 2,000 ครอบครัว และน้ําในโครงการนี้มิไดนํามาใชเพ่ือการชลประทาน แตเปนไปเพื่อหลอเล้ียงเมืองพัทยา ซ่ึงกําลังจะมีการสรางโรงแรมข้ึนมาอีกหลายแหง ตลอดจนมีโครงการสนามกอลฟริมอางเก็บน้ํา ดังนั้นเม่ือวันท่ี 22 กรกฎาคม 2517 ชาวบานมาบประชันเดินทางเขามาประทวงในกรุงเทพ และขอเขาพบนายกรัฐมน ตรีเพ่ือช้ีแจงความจริง กลุมนักศึกษาชมรมอนุรักษธรรมชาติมีสวนสําคัญอยางมากในการชวยประสานงานใหแกชาวบาน และออกบอรดช้ีแจงถึงปญหาของการสรางอางเก็บน้ํามาบประชัน หลังจากนั้น ชาวบานเขามาชุมนุมอีกหลายคร้ัง และผลของการรณรงคทําใหกรมชลประทานตองระงับโครงการไประยะหน่ึง แตปรา

55

Page 58: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

กฏวา เม่ือวันท่ี 11 สิงหาคม 2517 เมตตา อุดมเหลา ผูนําชาวนาแหงมาบประชันถูกคนรายสังหารชีวิต โดยไมสามารถท่ีจะจับคนรายได ในดานปญหาปาไมชมรมอนุรักษธรรมชาติหลายสถาบันพยายามรณรงคใหมีการรักษาปาไมของชาติ ในระยะแรกต้ังชมรมอนุรักษในป พ.ศ. 2516 การรณรงคของนักศึกษาจะเปนการรวมมือกับกรมปาไมเพ่ือขับไลชาวบานออกจากพ้ืนท่ีปา แตหลังจากท่ีมีการเปล่ียนแปลงทางความคิดของฝายนักศึกษา มีการเปล่ียนการมองปญหา เพราะนักศึกษาชมรมอนุรักษธรรมชาติเร่ิมไมเห็นดวยท่ีวา ชาวบานเปนตัวการทําลายปา และการขับไลชาวบานจากปาจะเปนการแกปญหา เพราะความจริงแลวปาไมท่ีถูกตัดทําลายจํานวนมากเปนผลิตผลจากระบบทุนนิยม เพราะชนชั้นนายทุนตองการไมปริมาณมากไปจําหนาย ในขณะท่ีชาวบานตองการเพียงท่ีทํากินเล็กนอย การทําลายปามิไดมีปริมาณมากนัก และถามีการใหการศึกษาท่ีดี ชาวบานจะชวยรักษาปาดวยซํ้า ความขัดแยงระหวางนักศึกษากับฝายกรมปาไมจะเห็นไดชัดในป พ.ศ. 2519 ในกรณีเขาสอยดาว จ.จันทบุรี สวนท่ีภูเขียว จ.ชัยภูมิ เปนความขัดแยงระหวางนักศึกษากับการไฟฟาท่ีรับผิดชอบในการสรางเข่ือนจุฬาภรณ เพราะฝายนักศึกษาหันไปใหการสนับสนุนแกชาวบานซ่ึงถูกกลาวหาวาบุกรุกปา นอกเหนือจากนั้นกลุมนักศึกษาอนุรักษธรรมชาติยังทําการรณรงคอีกหลายประเด็น เชน การคัดคานการต้ังโรงไฟฟาปรมาณูในประเทศไทยท่ีมีโครงการจะต้ังข้ึนท่ีอาวไผ (จ.ระยอง) และการคัดคานการตั้งโรงงานปโตรเคมีซ่ึงจะกอใหเกิดการทําลายสภาพแวดลอมตามธรรมชาติอยางมาก และเร่ิมมีการตั้งกลุมเพ่ือศึกษาผลกระทบของการสรางเข่ือนท่ีทําลายสภาพแวดลอม การรณรงคเร่ืองอากาศเสีย น้ําในแมน้ําลําคลองเนาเสีย และแมกระท่ังการผลักดันใหมีการปลูกตนไมในกรุงเทพใหมากข้ึน นอกจากนี้ยังมีการเผยแพรหนังสือ การวิจัยเพ่ือขายชาติ ซ่ึงเปดเผยใหเห็นวา จักรวรรดินิยมสหรัฐรวมมือกับกลุมผูนําของไทยในการทําลายปาไมแหงชาติอยางไรนับต้ังแตป พ.ศ. 2493 เปนตนมา และเสนอวา “จักรวรรดินิยมสหรัฐเปนศัตรูตัวใหญและสําคัญท่ีสุดของการอนุรักษ ธรรมชาติ ผูท่ีรักธรรมชาติ รักความเปนธรรม รักประชาชนท้ังหลายตองตอสูตอไปจนกวาประชาชนจะมีเอกราช และประชาธิปไตยอยางแทจริง” ปรากฏวา การรณรงคของนักศึกษาอนุรักษธรรมชาติมักไมคอยไดผล หากแตเร่ิมมีการโตแยงแลววา กลุมนักศึกษาเหลานี้ตอตานการพัฒนาประเทศมากเกินไป และมีแนวโนมท่ีจะเปนคอมมิวนิสต

3. การตอตาน กวาดลาง และปราบปราม การเคล่ือนไหวสนับสนุนการตอสูของกรรมกรชาวนาและคนยากจน การมุงท่ีจะเรียกรองเอกราชสมบูรณโดยคัดคานการคงอยูของทหารและฐานทัพในประเทศไทย การขยายตัวของอุดมการณสังคมนิยม และการเกิดของพรรคการเมืองแนวทางสังคมนิยมท่ีตอสูทางรัฐสภาท่ีเสนอคําขวัญใหประชาชนเปนใหญในแผนดิน ตลอดจนถึงการเกิดกระแสวิพากษสังคมและวัฒนธรรมในดานตางๆท่ีดําเนินการโดยขบวนการนักศึกษาเปนแกนกลางกอใหเกิดความวิตกอยางมากในหมูผูมีอํานาจและกลุมอนุรักษนิยมท่ีมีความหวาดกลัววาผลประโยชนของตนจะตองถูกกระทบกระเทือน และย่ิงเกิดการปฏิวัติไปสูสังคมนิยมในกัมพูชาและ

56

Page 59: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

เวียดนามในเดือนเมษายน 2518 และการปฏิวัติในลาวในเดือนธันวาคมปเดียวกัน อันนํามาสูการยกเลิกสถาบันกษัตริยในลาวยิ่งกอใหเกิดความวิตกอยางยิ่งวา จะเกิดการเปล่ียนแปลงในทํานองเดียวกันในประเทศไทย แตแทนที่ชนช้ันนําไทยจะหันมาแกปญหาสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองใหเปนธรรมมากข้ึน หรือหันมาสรางประเทศไทยใหมีเอกราชประชาธิปไตยอยางแทจริง กลุมอนุรักษนิยมและปฏิกิริยากลับเห็นวา การเคล่ือนไหวเหลานี้เปนความวุนวาย และใชทัศนะท่ีคับแคบโจมตีการเคล่ือนไหวตอตานความไมเปนธรรมนี้วา เปนการเคล่ือนไหวของคอมมิวนิสต รวมท้ังเหมารวมวา ขบวนการนักศึกษาจะตองกลายเปนปศาจคอมมิวนิสตไปทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีความเห็นวา รัฐบาลพลเรือนสมัย ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ และ ม.ร.ว. เสนีย โอนเอนไปตามเสียงของขบวนการนักศึกษามากเกินไป ดังนั้นวิธีการแกปญหาจึงใชความรุนแรงเขาจัดการยุติบทบาทของขบวนการนักศึกษา และนําประเทศกลับคืนสูเสถียรภาพเชนเดิม โดยสรางเง่ือนไขท่ีจะกอการรัฐประหารนําเอารัฐบาลท่ีเขมแข็ง และปราบปรามคอมมิวนิสตมาบริหารประเทศแทน วิธีการท่ีใชตอขบวนการนักศึกษาคือ การแบงแยกขบวนการ และทําลาย ใชความรุนแรงเขาสกัดกั้น การตั้งองคกรฝายขวาข้ึนตอตานขบวนการนักศึกษา การปดลอมทางขาวสารและใสรายปายสี และทายท่ีสุดคือ การกวาดลางปราบปราม และกอรัฐประหารฟนเผด็จการซ่ึงกระบวนการทั้งหมดนี้เองท่ีนํามาสูการเกิดเหตุการณ 6 ตุลาคม ความพยายามท่ีจะกวาดลางปราบปรามเร่ิมต้ังแตกลางป พ.ศ. 2517 เม่ือกลุมปฏิกิริยาตางๆเร่ิมฟนตัวจากการถอยรนเม่ือวันท่ี 14 ตุลาคม 2516 จึงเร่ิมทําการเคล่ือนไหวตอตานพลังฝายกาวหนา เหตุการณแรกท่ีเปนสัญญาณแหงการปราบปรามคือ “กรณีพลับพลาไชย” ในเดือนกรกฎาคม 2517 ขณะท่ีฝายขบวนการนักศึก ษาจัดเตรียมการเคล่ือนไหวคัดคานจักรวรรดินิยมเม่ือวันท่ี 4 กรกฎาคม 2517 ซ่ึงเปนวันชาติสหรัฐนั้นเกิดเหตุรายข้ึนคืนวันท่ี 3 กรกฎาคม 2517 ซ่ึงเร่ิมจากตํารวจจราจรสถานีตํารวจพลับพลาไชยจับกุมคนขับแท็กซ่ีคนหนึ่งช่ือ พูน ลํ่าลือประเสริฐ ซ่ึงจอดรถในท่ีหามจอด ตํารวจนําตัวไปยังสถานีตํารวจ ในระหวางนั้นพูนตะโกนวา “ตํารวจทํารายประชาชน” ทําใหประชาชนท่ีเห็นเหตุการณรวมตัวกันประทวง และลอมสถานีตํารวจพลับพลาไชย เหตุการณลุกลามกลายเปนการปราบปรามประชาชน เม่ือตํารวจยิงใสประชาชนท่ีมาชุมนุม และทางกลุมประชาชนพยายามตอบโตจนลุกลามเปนการจลาจล เหตุการณยืดเยื้อไปจนถึงวันท่ี 9 กรกฎาคม 2517 โดยรัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตกรุงเทพ มีประชาชนถูกตํารวจยิงเสียชีวิตถึง 27 คน และบาดเจ็บ 120 คน เหตุการณนี้ทําใหการตอตานสหรัฐท่ีขบวนการนักศึกษาดําเนินการไวไมอาจกระทําได จากนั้นมาตรการตางๆท่ีใชกับขบวนการนักศึกษาอยางเปนทางการพอจะสรุปไดคือ 3.1 การโฆษณาทําลายภาพลักษณ ตั้งแตป พ.ศ. 2517 ขบวนการโฆษณาชวนเช่ือเพื่อทําลายภาพลักษณของขบวนการนักศึกษาเกิดข้ึนอยางตอเนื่อง เชน การกลาวหาวา นักศึกษากอความวุนวายในสังคม ขบวนการนักศึกษาเปนคอมมิวนิสต ผูนํานักศึกษาเปนญวน รับเงินจากตางประเทศ ไปฝกอาวุธท่ีฮานอย (เวียดนาม) และโจมตีการชุมนุมประทวง

57

Page 60: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

และการเคล่ือนไหวของฝายนักศึกษาวา เปนการใชกฎหมูอยูเหนือกฎหมาย หรือแมกระท่ังการสรางขาวลือทําลายตัวบุคคล เชน เสกสรรคและธีรยุทธ ผูนํานักศึกษาโกงเงินศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยไปใชสวนตัว เปนตน โดยเร่ืองเหลานี้ปราศจากหลักฐานอยางส้ินเชิง นอกจากนี้คือ การถากถางนักศึกษาท่ีแตงตัวเรียบงายวา เปนพวก “5 ย” คือ ผมยาว กางเกงยีนส เส้ือยับ รองเทายาง สะพายยาม เพื่อจะแสดงใหเห็นวาพวกนักศึกษาเหลานี้เปนตัวตลกบาบอเพื่อใหขาดความเช่ือถือในหมูประชาชน โดย ประยูร จรรยาวงศ นักเขียนการตูนประจํา นสพ.ไทยรัฐ เปนคนท่ีมีบทบาทสําคัญในการเผยแพรภาพลักษณเชนนี้ สําหรับศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยตั้งแตป พ.ศ. 2518 ถูกเสียดสีวา เปน “ศูนยเถ่ือน” เพราะไมมีสถา นะหรือมีการจดทะเบียนท่ีถูกตองตามกฎหมาย หรือเปนศูนย สทร. หมายถึง “เสือกทุกเร่ือง” ซ่ึงเปนการโจมตีการเขารวมสนับสนุนการตอสูของประชาชนวา เปนการ “เสือก” นั่นเอง การทําลายภาพลักษณในลักษณะเชนนี้ทางราชการใชกับสหพันธชาวนาชาวไรเชนเดียวกัน โดยใชคําเรียกวา “สหพันธเถ่ือน” และเรียกผูนําสหพันธวา “เปนผูท่ีอางตัววาเปนผูนําชาวนา” ในกระบวนการใสรายปายสีนี้สวนหนึ่งนาจะประสานกับการท่ีทางฝายรัฐเองสงคนของรัฐเขามาปะปนแลวสรางสถานการณใหเกิดจริงเพ่ือทําลายภาพลักษณ เชน ในระหวางท่ีนักศึกษากอการประทวงกรณีเรือมายาเกวซท่ีหนาสถานทูตสหรัฐในเดือนพฤษภาคม 2518 มีชายไมทราบช่ือคนหนึ่งบุกเขาไปในบริเวณท่ีฝายนักศึกษานําเอาธงชาติของสหรัฐมาแขวนประทวง และปสสาวะรดธงชาติสหรัฐ จากนั้นชายผูนี้ก็หลบหายไป การใชวิธีการประทวงเชนนี้ไมไดถูกกําหนดอยูในแผนการของฝายนักศึกษาเลย และชายผูกระทําเชนนั้นก็มิใชผูปฏิบัติงานในองคกรนักศึกษาองคกรใดจึงมีความเปนไดอยางยิ่งวา ชายผูนี้ถูกสงปะปนเขามา เพื่อทําใหการประทวงดูลุกลาม และวิธีการนี้เปนการทําลายภาพลักษณของนักศึกษาทําใหประชาชนไมเขาใจและเห็นวา เปนวิธีการท่ีเกินเลย ตอมาชายผูนี้ไดปรากฏตัวอีกหลายคร้ังเม่ือมีการเคล่ือนไหวของฝายนักศึกษา และคืนวันท่ี บุญสนอง บุญโยทยาน ถูกสังหาร โดยเปนผูมาดูศพท่ีโรงพยาบาลเปาโลคืนวันท่ี 1 มีนาคม 2519 การโฆษณาดังกลาวนี้แผขยายออกไปรวมกับการโฆษณาปลุกกระแส “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย” และกลาวหาวา นักศึกษาจะเปนผูบอนทําลายสถาบันเหลานี้ มีการแตงเพลงจํานวนไมนอยท่ีแสดงถึงนัยในการตอตานขบวนการนักศึกษา เชน เพลงรกแผนดิน เพลงถามคนไทย มีประโยคสําคัญท่ีกลาวในเชิงบริภาษไปถึงเยาวชนนักศึกษาวา “วิญญาณปูจะรองไอลูกหลานจัญไร” นอกจากนี้คือ เพลงเราสู ซ่ึงพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงพระราชนิพนธทํานอง และเนื้อรองแตงโดย สมภพ จันทรประภา มีประโยคเนนวา “สูท่ีนี่ สูตรงนี้ สูจนตาย ถึงเปนคนสุดทายก็ลองดู” เพลงทหารพระนเรศวร มีเนื้อรองข้ึนตนวา “เปร้ียง เปรี้ยง เปนเสียงฟาฟาด โครมโครมพินาศพังสลอน” แตท่ีโดงดังและโจมตีขบวนการนักศึกษามากท่ีสุดไดแก เพลง หนักแผนดิน ซ่ึงแตงในป พ.ศ. 2518 โดย พ.ต. บุญสง หักฤทธ์ิศึก และรองโดย สันติ ลุนเผ มีเนื้อรองข้ึนตนวา

คนใดใชช่ือไทยอยู กายก็ดูเหมือนไทยดวยกัน

58

Page 61: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ไดอาศัยโพธ์ิทองแผนดินของราชันย แตใจมันยังเฝาคิดทําลาย คนใดยุยงปลุกปน ไทยดวยกันหมายใหแตกทําลาย ปลุกระดมมวลชนใหสับสนวุนวาย เพื่อคนไทยแบงฝายรบกันเอง คนใดหลงชนชาติอ่ืน ชาติเดียวกันเขายืนขมเหง ไดสินทรัพยเจือจานก็ประหารไทยกันเอง ทีชาติอ่ืนเกรงดังชาติของมัน * หนักแผนดิน หนักแผนดิน หนักแผนดิน คนเชนนี้เปนคนหนักแผนดิน

การโฆษณาโจมตีฝายนักศึกษานั้นสวนหน่ึงอาศัยส่ือมวลชนของรัฐอันไดแก วิทยุ และโทรทัศนซ่ึงในขณะน้ันสวนมากยังอยูในมือของฝายทหาร ดังนั้นการเร่ิมโจมตี และโตกลับฝายนักศึกษาเร่ิมเห็นต้ังแตตนป พ.ศ. 2517 เม่ือเกิดกรณีขัดแยงเร่ืองบานนาทราย อีกสวนหนึ่งอาศัยหนังสือพิมพฝายขวา เชน นสพ.ขาวรายวัน (จรุง รักชาติ) นอกจากนี้คือ นสพ.ดาวสยาม (ประสาน มีเฟองศาสตร), นสพ.บานเมือง (มานะ แพรพันธุ), นสพ.สยามิศร (ประหยัด ศ.นาคะนาท) และในหลายคอลัมนของ นสพ.ไทยรัฐ โดยเฉพาะ “สีน้ํา” หรือ มานิตย ศรีสาคร นั้นใชหนากระดาษโจมตีผูนําศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย และใสรายขบวนการนักศึกษาตลอดเวลา สวน นสพ.ดาวสยาม นั้นเปนหนังสือพิมพลงขาวใสราย และทําลายภาพ ลักษณขบวนการนักศึกษาอยูเสมอ และหลายคร้ังถึงกับใชคําบริภาษอันหยาบคายจึงถูกฝายนักศึกษาเดินขบวนตอตาน และวางหรีดดําหนาสํานักงานหลายคร้ัง สําหรับ นสพ.ขาวรายวัน ลงรายช่ือบัญชีดําหมายหัวบุคคลวา เปนผูนําคอมมิวนิสตจํานวนมากซ่ึงสวนมากเปนช่ือผูนํานักศึกษา ผูรักความเปนธรรม และนักการเมืองฝายสังคมนิยม และแมกระท่ังผูท่ีถึงแกกรรมไปในระยะกอนหนานี้แลว เชน จิตรยังติดในบัญชีดํานี้ดวย มีบางคร้ังท่ีชนช้ันนําใชวิธีการสรางขาว เชน เม่ือวันท่ี 17 ธันวาคม 2518 พ.ต.ท. บุญเลิศ เลิศปรีชา รัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงมหาดไทยออกมาแถลงทําลายภาพพจนวา มีนักศึกษาปลอมออกไปปลุกปนยุยงชาวนา และกรรมกรเพื่อกอใหเกิดความแตกแยกภายในชาติ ตอมาเมื่อวันท่ี 27 มกราคม 2519 หลังจากที่รัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ อยูในชวงรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท. บุญเลิศ แถลงวา ไดรับขาววา นักศึกษาจะชุมนุมกันท่ี ม.ธรรมศาสตร แลวเดินขบวนไปถวายฎีกาตอพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวใหรัฐบาลชุดปจจุบันลาออก แลวใหแตงต้ัง ปวย อ๊ึงภากรณ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร เปนนายกรัฐมนตรี แต พ.ต.ท. บุญเลิศ ไมไดอธิบายวา ไดรับขาวมาจากท่ีใด ฝายนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร จึงออกแถลงการณคัดคาน และประณามวา พ.ต.ท. บุญเลิศ ใหขาวอยางไมรับผิดชอบ และปวยปฏิเสธวา ขาวของ พ.ต.ท. บุญเลิศ ไมเปนความจริงแตอยางใด ขณะเดียวกันมีการปดกั้นการโฆษณาประชาชนสัมพันธของฝายนักศึกษามิใหไดมีโอกาสแถลงขอเท็จจริงใดๆแกประชาชนเลย ดวยเหตุนี้เองฝายปฏิกิริยาจึงสามารถทําใหประชาชนเขาใจสับสนตอขบวนการนัก ศึกษาเปนอยางมาก ดังนั้นฝายนักศึกษาโดยองคการนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร จึงจัดทําหนังสือพิมพบอรดข้ึนมาโดยใชบอรด 2 แผนวางท่ีหนาประตูทาพระจันทร และหนาประตูหอประชุมใหญแหงละแผนเพื่อจะเผยแพรขาวสารของฝายนักศึกษาสูประชาชน โดยมีการเปล่ียนขาวอยูเสมอ ปรากฏวาในป พ.ศ. 2519 กลุม

59

Page 62: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

อันธพาลการเมืองจะเร่ิมคุกคาม และมีการเผาทําลายบอรดขาวของฝายนักศึกษาหลายคร้ัง แตฝายนักศึกษาพยายามทําข้ึนใหมเพื่อทลายการปดลอมทางดานขาวสาร การใสรายปายสีวา นักศึกษาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเร่ิมตั้งแตป พ.ศ. 2517 หลังจากวารสารประชาธรรม ของพรรคสัจธรรม ฉบับเดือนกรกฎาคม 2516 ตีพิมพบทกลอนบทหนึ่งช่ือ “ถึงชาวฟาจากขาชาวดิน” แตงโดย น.ป.น. มีใจความข้ึนตนวา

ชาวเอยชาวเขา เจาอยูสูงสงา เจาอยูบนฟา แตขาอยูบนดิน เจาอยูสูงเสียดฟา เจาคาขายฝน ขุดพลอยขายกิน ปลูกฝนปลูกกัญชา ท้ังแบกอาวุธติดบาย คุมลาใสฝน มุงหนาหากิน ขนฝนขนกัญชา จึงบคอยอดอยาก บสิมากมีปญหา เพราะเจามีเทวดา คอยมาเยี่ยมมาเยือน เอาวัวมาแจก แบกแกะมาสู หาหมูมาใหเล้ียง เชอะ ! หาเสียงเทวดา

หลังจากวารสารน้ีเผยแพรไปแลวนานกวาปจึงเร่ิมมีการกระพือขาววา บทกลอนนี้หม่ินพระบรมเดชานุภาพ ประยูร จรรยาวงศ กลาวถึงเร่ืองนี้วา “ขาพเจามีความรูสึกเสียใจท่ีวา ในการที่พระเจาอยูหัวเสด็จไปพระราช ทานสัตวเล้ียงตางๆแกราษฎรน้ันมีผูเขาใจวา พระองคไปหาเสียง” จากน้ันในเดือนตุลาคม 2517 หนังสือ พิมพตางๆมีการตีพิมพโหมประโคมวา นักศึกษาหม่ินพระบรมเดชานุภาพ ในท่ีสุดเม่ือวันท่ี 26 ตุลาคม 2517 ทางการตํารวจจับกุม ประเดิม ดํารงเจริญ บรรณาธิการพรรคสัจธรรมเปนจําเลยในขอหาหม่ินพระบรมเด

ชานุภาพ แตในท่ีสุดศาลตัดสินใหยกฟองคดีนี้ทําใหการใชเร่ืองหม่ินพระบรมเดชานุภาพเปนเคร่ืองมือท่ียังไมบรรลุเปาหมาย แตกระนั้นการโจมตีขบวนการนักศึกษา โดยพยายามโยงเขากับการลมลางสถาบันพระมหากษัตริยยังมีข้ึนเสมอ ตัวอยาง เชน กรณี นสพ.สยามิศร พาดหัวขาวโจมตีการจัดงานฟุตบอลประเพณีของจุฬา - ธรรม ศาสตรในป พ.ศ. 2519 วา มีการบรรเลงเพลงปลุกเราใหคนลมกษัตริย เพลงท่ีถูก

 

ผูประทวงทีถ่กูเผา เมือ่วนัที ่6 ตลุาคม 2519

60

Page 63: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

หยิบมาใสรายคร้ังนี้คือ เพลงมารช มธก. ซ่ึงเอาทํานองเพลงมาซาแยซของฝร่ังเศสมาใช ฝายนักศึกษากอการประทวง โดยการไปวางหรีดหนาสํานักพิมพ และช้ีแจงใหทราบวา เพลงนี้เปนเพลงประจํามหาวิทยาลัยมานานแลว และไมไดมีความเกี่ยวของแตอยางใดกับการลมลางสถาบันพระมหากษัตริยไทย 3.2 การแยกสลายขบวนการนักเรียนอาชีวะ เนื่องจากในการตอสูเม่ือวันท่ี 14 ตุลาคม 2516 นักเรียนอาชีวะแสดงบทบาทสําคัญอยางมากในการตอสู ทําใหชนช้ันนํามีความวิตกอยางมากในพลังของนักเรียนอาชีวะจึงพยายามการแยกสลายพลังนักเรียนอาชีวะออกจากขบวนการนักศึกษา โดยเร่ิมจากการสงนักเรียนอาชีวะฝายขวาเขาควบคุมศูนยกลางนักเรียนอาชีวะแหงประเทศไทย และใชองคกรนักเรียนอาชีวะนี้ในการเคล่ือนไหวท่ีตอตานฝายขบวนการนักศึกษาซ่ึงความขัดแยงระหวางศูนยกลางนักเรียนอาชีวะกับฝายขบวนการนักศึกษานั้นเร่ิมเห็นชัดต้ังแตกรณีพลับพลาไชยเปนตนมา ท่ีศูนยกลางนักเรียนอาชีวะออกแถลงการณไมเห็นดวยตอฝายนักศึกษา จากน้ันมีการเคล่ือนไหวของฝายอาชีวะในทิศทางตรงขามอีกหลายคร้ัง เชน เม่ือวันท่ี 3 กรกฎาคม 2518 ศูนยกลางนักเรียนอาชีวะ และสหพันธนักศึกษาครูจัดการชุมนุมท่ีสวนลุมพินี และเดินขบวนไปยังสถานทูตสหรัฐเพื่อแสดงการขอบคุณท่ีใหความชวยเหลือประเทศไทย และมีการมอบกระเชาตอกไมแกอุปทูตสหรัฐประจําประเทศไทยดวย ตอมาเม่ือแยกนักเรียนอาชีวะออกจากนักศึกษาแลวก็จัดต้ังกลุมนักเรียนอาชีวะอันธพาลกลุมหนึ่งข้ึนเปนกลุมกระทิงแดงเพ่ือใชเปนแกนกลางในการกอกวนขบวนการนักศึกษาดวยอาวุธ ใชความเหี้ยมโหดรุนแรงตอตานการตอสูดวยสันติวิธีของขบวนการนักศึกษา กลุมกระทิงแดงกอตั้งอยางเปนทางการในเดือนตุลาคม 2517 ในระหวางท่ีขบวนการนักศึกษากําลังเคล่ือนไหวเร่ืองการเรียกรองใหแกรัฐธรรมนูญใหประชาชนอายุ 18 ปมีสิทธิเลือกต้ัง สวนมากประกอบดวยอันธพาลในคราบนักเรียนอาชีวะไดรับการสนับสนุน และจัดต้ัง จากเจาหนาท่ีอาวุโสในกองทัพใหเปนกองกําลังอาวุธปฏิกิริยา หรืออันธพาลการเมืองท่ีอยูเหนือกฎหมาย ผูมีบทบาทสําคัญท่ีสุดจนไดรับการกลาวขวัญวาเปน “เจาพอกลุมกระทิงแดง” คือ พ.อ. สุตสาย หัสดิน ซ่ึงยืน ยันวา จะตองต้ังกองกําลังข้ึนมาเพ่ือตอตานฝายนักศึกษา เพราะฝายนักศึกษาพยายามเปล่ียนทิศทางของประ เทศ ประเทศจึงตกอยูในภาวะคอมมิวนิสตแทรกแซง รัฐบาลก็ออนแอ พ.อ.สุดสาย เปรียบเทียบวา นักศึกษามหาวิทยาลัยเหมือนหัว นักเรียนอาชีวะก็เหมือนแขนขาจะตองตัดแขนขาออกจากหัวเสียกอน สวนกําลังท่ีมีบทบาทสําคัญไดแก สุชาติ ประไพหอม, เฉลิมชัย มัจฉากลํ่า และ สมศักดิ์ ขวัญมงคล เปนตน สําหรับท่ีมาของช่ือกลุม สมศักดิ์ หัวหนาฝายกําลังพลอธิบายวา “ไอการท่ีเราต้ังช่ือกระทิงแดงข้ึนมานี่ เพราะวาเราไมรูวาจะใชช่ืออะไรดี ทุกคนเห็นวาช่ือกระทิงแดงนี่ดี เพราะกระทิงแดงเปนสัตวปา สัตวอนุรักษ สัตวสงวน” กลุมกระทิงแดงน้ันเปนกองกําลังอภิสิทธ์ิ ท้ังนี้เพราะสามารถออกมาใหสัมภาษณขูวา จะสังหารใครตอใคร และยังกอการปาระเบิดกลางเมืองไดโดยไมถูกจับกุม เชน ตั้งแตวันท่ี 29 ธันวาคม 2517 เม่ือจอมพล ถนอม กลับเขามาในประเทศคร้ังแรก กลุมกระทิงแดงออกแถลงการณคัดคาน โดยอางวา การตอตานจอมพล

61

Page 64: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ถนอม นั้น เปนการกอการไมสงบ แตในท่ีสุดกลุมกระทิงแดงกลับปาระเบิดพลาสติกนับสิบลูกท่ีสนาม หลวงเพื่อใหประชาชนแตกต่ืน เม่ือวันท่ี 16 กุมภาพันธ 2519 เผด็จ ดวงดี ซ่ึงเปนท่ีปรึกษาของกลุมกระทิงแดงเปดเผยหลักการทํางานของกลุมกระทิงแดงวา “จําเปนตองใชระเบิดเปนเคร่ืองมือสําคัญเพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตยใหคงอยูในประเทศไทยตอไป” นอกจากนี้ยังมีหลักฐานวา กลุมกระทิงแดงยังไดรับการสนับสนุนจากทางราชการอีกดวย เชน กลุมกระทิงแดงจะมีวิทยุวอลกกี - ทอลกกีของตํารวจไวเพื่อติดตอส่ือสารกัน และใชรถตํารวจรวมท้ังสเตช่ันเวกอนวิ่งไปรอบเมือง เม่ือกลุมกระทิงแดงขวางระเบิดพลาสติกเขาใสนักศึกษาหลายคร้ังถึงแมวาจะมีตํารวจอยูใกลก็มิไดใสใจ รวมท้ังในกรณีเม่ือวันท่ี 20 มีนาคม 2519 ท่ี สุชาติ ประไพหอม ผูนํากลุมกระทิงแดงประกาศต้ัง “แนวรวมตอตานจักรวรรดินิยมคอมมิวนิสต” และประกาศใหไมใหประชาชนใช ถ.ราชดําเนิน ถาไมเช่ือจะไมรับรองความปลอดภัย และเม่ือฝายนักศึกษานัดชุมนุมท่ีหนา ม.ธรรมศาสตร มีสมาชิกกลุมกระทิงแดงมาโยนระเบิดกอนกวน ตอมาเม่ือวันท่ี 21 มีนาคม 2519 กลุมกระทิงแดงขนอาวุธสงครามประเภทระเบิดกลางกรุงมาตั้งไวท่ีอนุสาวรียประชาธิปไตยอยางเปดเผยเพ่ือปองกันไมใหขบวนนักศึกษาประชาชนท่ีกําลังเคล่ือนไปยังสถานทูตสหรัฐผาน ฝายนักศึกษาตองออมออกไปทางบางลําภูเพื่อหลีกเล่ียงท่ีจะผานบริเวณราชดําเนินอันทําใหกลุมกระทิงแดงไมอาจจะหาเหตุปะทะได ปรากฏวา ในระยะ 2 ปเศษท่ีกลุมกระทิงแดงปฏิบัติการกวนเมืองแทบจะไมเคยถูกตํารวจจับกุม หรือถาถูกจับกุมก็จะไดรับการปลอยตัวอยางไมนาเช่ือ จนถึงเหตุการณ 6 ตุลาคมกลุมกระทิงแดงเปนดานหนาสุดท่ีรวมกับกองกําลังตํารวจตระเวนชายแดนเขาบุกปราบปรามนักศึกษา 3.3 การตั้งกลุมพลังฝายขวาอ่ืน ๆ นอกเหนือจากการจัดต้ังกลุมกระทิงแดงยังมีการจัดต้ังกลุมพลังฝายปฏิกิริยาตางๆเพิ่มเติมอีกมาก โดยมีเปาหมายรวมกันในการทําลายขบวนการนักศึกษา กลุมตางๆเหลานี้มีจํานวนมาก และไดรับการสนับสนุนอันดียิ่งจากอํานาจ และกลไกของรัฐในขณะนั้นท่ีสามารถระบุช่ือได เชน กลุมนวพล ชมรมอาชีวะเสรี ลูกเสือชาวบาน กลุมเพ็ชรไทย กลุมชางดํา กลุมพิทักษไทย สหพันธนักศึกษาครูแหงประเทศไทย กลุมแนวรวมรักชาติ กลุมประชาชนผูรักชาติ กลุมแนวรวมตอตานเผด็จการทุกรูปแบบ ขบวนการปฏิรูปแหงชาติ สหพันธครูอาชีวะ กลุมกรรมกรเสรี กลุมคางคาวไทย กลุมกลวยไมไทย กลุมวิหคสายฟา กลุมสหภาพแรงงานเอกชน ชมรมแมบาน ฯลฯ ซ่ึงจะยกตัวอยางองคกรท่ีสําคัญคือ 3.3.1 กลุมนวพล กลุมนี้กอตั้งข้ึนในเดือนตุลาคม 2517 โดยความหมายของช่ือกลุมแปลความไดวา “กําลังใหม” ตามรูปแบบการกอต้ัง “หรืออีกในความหมายหนึ่งคือ พลัง 9 อันหมายถึงพลังของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว (รัชกาล

62

Page 65: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ท่ี 9) อันเปนราชการปจจุบัน” ผูกอต้ังคือ กลุมทหารในกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายใน เชน พล.อ. วัลลภ โรจนวิสุทธ์ิ (อดีตเจากรมขาวทหาร), พล.อ. สายหยุด เกิดผล (เสนาธิการกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายใน) เปนตน พล.อ.วัลลภ อธิบายเหตุผลในการตั้งกลุมนวพลวา ชาติจะอยูรอดดวยสถาบันวัดกับวังจึงตองระดมประชาชนเพ่ือปองกัน 2 สถาบันหลักนี้ พล.อ. วัลลภ กลาวถึงพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวเพื่อใหกําลังใจแกกลุมนวพลวา “ทรงมีพระราชดําริหวงใยสถานการณทางการเมืองท่ีเปนอยู และเคยมีกระแสพระราชดํารัสกับบรรดาผูท่ีเขาเฝาใกลชิดเปนการสวนพระองคนับตั้งแตพนมเปญ (กัมพูชา) และไซงอน (เวียดนาม) ตกอยูในมือของคอมมิวนิสตวา ไมวาอะไรจะเกิดข้ึนพระองคจะไมเสด็จออกจากประเทศไทยเปนอันขาด” ผูนําสําคัญอ่ืนๆของกลุมนวพลนั้นไดแก พล.ท. สําราญ แพทยกุล ซ่ึงเปนองคมนตรี เปนอดีตแมทัพภาคที่ 3 และเปนผูท่ีใกลชิดเบ้ืองยุคลบาทอยางยิ่ง พล.ท. สําราญ เปนกลุมนวพลอันดับแรก หรือหมายเลข 001 นอก จากน้ีไดแก วัฒนา เขียววิมล ปญญาชนจากสหรัฐซ่ึงเปนวิทยากรประจํา และเปนผูประสานงานองคการ วัฒนาใหอธิบายวา “กลุมนวพลคือพลังใหม 3 ประการคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย” จากนั้นคือ กิตติวุฒโฑ ผูซ่ึงประกาศตอสาธารณชนในเดือนมิถุนายน 2519 วา การฆาคอมมิวนิสตไมบาป โดยใหเหตุผลวา ใครก็ตามท่ีทําลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริยนั้นถือวา เปนมาร มิใชมนุษย การฆามารจึงไมบาป หากแตเปนภาระหนาท่ีท่ีคนไทยจะตองกระทํา การฆาถาเปนการฆาเพ่ือประเทศชาติ แมจะไดบาปจากการฆา แตก็ไดบุญจากการปองกันชาติใหพนจากศัตรู จากนั้นก็เปรียบเทียบวา การฆาคอมมิวนิสตเหมือนการฆาปลาถวายพระ กลุมนวพลตั้งเปาท่ีจะดําเนินการอยูในกลุมขาราชการระดับทองถ่ิน และในหมูนักธุรกิจเปนสวนใหญ โดยยืนยันเปาหมาย และนโยบายท่ีจะปราบปรามฝายซายโดยเฉพาะจึงโฆษณาตนเองวา เปนองคกรตอตานคอมมิวนิสตเพื่อธํารงไวซ่ึง “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย” และความรูสึกตอตานคอมมิวนิสตนั้นมีมากจน กระท่ังกลุมนวพลออกแถลงการณเม่ือวันท่ี 16 ธันวาคม 2518 โจมตี ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ วา เปนคอมมิวนิสต เพราะเดินทางไปเปดความสัมพันธกับจีน เปนท่ีทราบกันตอมาวา กลุมนวพลไดรับการสนับสนุนทางการเงิน และวัสดุอุปกรณจากบางสวนในกองทัพบกและกรมตํารวจ และอยางนอยไดรับการสนับสนุนเปนสวนตัว ปรากฏวา กลุมนวพลประสบความสําเร็จอยางมากในการสรางองคกรและขยายสมาชิก ผูดําเนินงานของกลุมนวพลใชวิธีการชุมนุมประชาชนเพื่อรวบรวมเสียงสนับสนุน โดยเรียกรองใหเกิดความรักชาติ และตอตานคอมมิวนิสตอยางหวือหวา ในการดําเนินการกลุมนวพลใชโครงสรางการจัดต้ังแบบกลุมยอยตามแบบคอมมิวนิสต ผูนําท่ีสอแววดีจะถูกคัดเลือกเขารับการฝกอบรมทางการเมืองในระดับจิตวิทยา จนถึงปลายป พ.ศ. 2518 กลุมนวพลอางวา มีสมาชิกปฏิบัติการกวา 1 ลานคน แมตัวเลขนี้จะเกินจริงอยูบาง แตก็เห็นไดวา กลุมนวพลกลายเปนองคกรฝายขวาท่ีใหญโตและมีอิทธิพลมาก ในการเลือกต้ังเม่ือวันท่ี 4 เมษายน 2519 กลุมนวพลจัดต้ังพรรคการเมืองลงสมัครแขงขันดวยคือ พรรคธรรมาธิปตย โดยมี เมธี กําเพ็ชร เปนหัวหนาพรรค โดยใชคําขวัญท่ีลอคําขวัญของพรรคสังคมนิยมวา “เม่ือทองนาสีทองผอนอําไพ ประชาชนไทยจะมีขาวกิน” แตปรากฏวาพรรคน้ีไมประสบความสําเร็จมากนักในการ

63

Page 66: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

เลือกต้ังท่ีมีข้ึน ตอมาในเหตุการณ 6 ตุลาคมกลุมนวพลมีสวนเปนอยางมากในการเขารวมกรณีสังหารดังกลาว 3.3.2 ลูกเสือชาวบาน บุคคลท่ีมีบทบาทในการกอต้ังคือ พล.ต.ต. สมควร หริกุล ผูกํากับตํารวจชายแดนเขต 4 รวมมือกับขาราชการทองถ่ินอีกหลายคนจัดการอบรมลูกเสือชาวบานรุนท่ี 1 เมื่อวันท่ี 9 สิงหาคม 2514 ท่ี อ.ดานซาย จ.เลย ตอมา พล.ต.ต. เจริญฤทธ์ิ จํารัสโรมรัน รองผูบัญชาการตํารวจตระเวนชายแดนเขารวมผลักดัน จุดมุงหมายเร่ิมแรกของการจัดต้ังลูกเสือชาวบานคือ การสรางความสามัคคีในหมูขาราชการ และประชาชนเพื่อใหประชาชนชวยสงขาว และรวบรวมขอมูลใหกับทางราชการเกี่ยวกับคอมมิวนิสต ตอมาในป พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว และสมเด็จพระบรมราชินีทรงรับกิจการลูกเสือชาวบานไวในพระบรมราชานุเคราะห และโปรดเกลาใหสมุหราชองครักษทําหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย ตามหนังสือของกรมราชองครักษท่ี กห.0204/2477 ลงวันท่ี 25 ตุลาคม 2515 ใหแจงใหผูวาราชการจังหวัดทุกจังหวัดสนับสนุนกิจการลูกเสือชาวบาน โดยใหความรวมมือกับตํารวจตระเวนชายแดน และตอมายังทรงพระราชทานผาพันคอลูกเสือ วอกเกิล (ปลอกรัดผาพันคอ) และหนาเสือแกลูกเสือชาวบานท่ีสําเร็จการอบรมทุกนาย ท้ังยังเสด็จไปพระราชธงลูกเสือดวยพระองคเองเสมอ ดังนั้นในระยะหลังเหตุการณ 14 ตุลาคม กิจการลูกเสือชาวบานจึงขยายตัวอยางมาก และมีนายทหารและนักการเมืองสําคัญเขารวมหลายคน เชน พล.ต. ชาติชาย ชุณหะวัณ ซ่ึงเปนผูตรวจการลูกเสือชาวบาน ธรรมนูญ เทียนเงิน เปนผูอํานวยการลูกเสือชาวบานพระนคร จนถึงป พ.ศ. 2519 ลูกเสือชาวบานท่ัวประเทศจึงมีจํานวนหลายลานคน มีท้ังเด็กผูใหญจนถึงคนชรา สวนมากแลวจะถูกปลุกใหยึดม่ันอยูกับ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย” และกระหายจะกวาดลางคอมมิวนิสต หรือผูท่ีท่ีคิดวา เปนคอมมิวนิสต ดวยเหตุนี้ในเหตุ การณ 6 ตุลาคมเม่ือถูกปลุกวา นักศึกษาเปนคอมมิวนิสต และหม่ินพระบรมเดชานุภาพ ลูกเสือชาวบานกลายเปนกําลังสําคัญท่ีรวมชุมนุมตอตานนักศึกษาท่ีพระบรมรูปทรงมาเย็นวันท่ี 5 ตุลาคม 2519 จากนั้นเชามืดวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ลูกเสือชาวบานนําโดย พล.ต.ต. เจริญฤทธ์ิ และธรรมนูญรวมกับองคกรฝายขวากลุมอ่ืนเคล่ือนมายังทองสนามหลวงในบริเวณตรงขามกับ ม.ธรรมศาสตร ลูกเสือชาวบานจึงกลายเปนกองกําลังหนึ่งท่ีมีสวนรวมในการปราบปรามขบวนการนักศึกษา และลูกเสือชาวบานยังคงชุมนุมอยูจนถึงเย็นวันที่ 6 ตุลาคม 2519 จึงสลายกอนการรัฐประหารเพียงเล็กนอย 3.3.3 ชมรมวิทยุเสรี เปนกลุมสถานีวิทยุของทหารรวมประสานงานกัน โดยมีสถานีวิทยุยานเกราะเปนแกนกลางต้ังแตป พ.ศ. 2519 และมี พ.ท. อุทาร สนิทวงศ ณ อยุธยา, อาคม มกรานนท และ อุทิศ นาคสวัสดิ์ เปนโฆษกสําคัญ ชมรม

64

Page 67: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

วิทยุเสรีนี้มีบทบาทอยางมากในการเผยแพรทัศนะโจมตีขบวนนักศึกษา โดยออกรายการประจําวันช่ือ “เพื่อแผนดินไทย” โจมตีและประณามขบวนการนักศึกษาวา เปนคอมมิวนิสตแทบทุกวัน และมักจะโจมตีมายังรัฐบาลพลเรือนดวยวา ออนแอ ไมมีมาตรการเด็ดขาดทําใหคอมมิวนิสตเหิมเกริม หรือหลายคร้ังวิจารณโจมตีการเปลี่ยนแปลงไปสูสังคมนิยมในประเทศเพื่อนบาน และปลุกใหคนไทยข้ึนมาตอตานแนวโนมเชนนั้น นอกจากนั้นยังเปนแกนกลางในการประสานงานอยางเปดเผยในการปราบปรามนักศึกษา และบางคร้ังมีลักษณะช้ีนําการกอการตอตานนักศึกษา ท้ังท่ีเปนส่ือมวลชนของรัฐโดยตรง ตัวอยางท่ีชัดเจนคือ กรณีกลุมกระทิงแดงบุกเผา ม.ธรรมศาสตร เม่ือวันท่ี 20 สิงหาคม 2518 โดยกลุมกระทิงแดง และกลุมศูนยกลางนักเรียนอาชีวะอางวา ระหวางท่ีมีการชุมนุมท่ี ม.ธรรมศาสตร ในกรณีจับกุม 9 ผูนําชาวนาและนักศึกษาเม่ือตนเดือนสิงหาคม 2518 นั้นมีนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพคนหนึ่งซ่ึงเปนฝายอาชีวะถูกนักศึกษาทํารายกลุมกระทิงแดงจึงตองยกพวกมาแกแคน เปนท่ีนาแปลกใจที่วิทยุยานเกราะออกขาวเร่ืองนี้ลวงหนา โดยอธิบายวา กลุมกระทิงแดงตองเผา ม.ธรรมศาสตร เพื่อเปนการตัดไมขมนาม แตไมมีเจาหนาท่ีตํารวจมาปองกันรักษา ม.ธรรมศาสตร แตอยางใด นอกจากน้ี พ.ท. อุทาร ซ่ึงเปนโฆษกออกอากาศในเชิงช้ีนํา และกลุมกระทิงแดงก็ปฏิบัติตาม เชน การออกขาววา ฝายนักเรียนอาชีวะนั้นควบคุมสถานการณใน ม.ธรรมศาสตร ไวไดแลว และจะสงหนวยจูโจมไปยังศูนยนักเรียนท่ี ม.มหิดล จะโจมตีโรงเรียนชางกลพระราม 6 และพรรคสัจธรรม ม.รามคําแหง แตตอมาออกประกาศวา ไดสืบทราบวา การจูโจมดังกลาวยกเลิกแลว ดังนั้นวิทยุยานเกราะจึงมีลักษณะคลายศูนยบัญชาการในการปฏิบัติงานคร้ังนี้ซ่ึงทําให ม.ธรรมศาสตร เสียหายอยางมาก ทรัพยสินถูกปลนสะดม และอาคารสถานท่ีถูกทําลายหลายแหง แตทางมหาวิทยาลัยประกาศใหฝายนักศึกษาออกจากมหาวิทยาลัยใหหมดเสียกอนท่ีกลุมกระทิงแดงจะมาถึงจงึเล่ียงความเสียหายไปไดอยางมาก เสนห จามริก รองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร กลาวในเร่ืองนี้วา “ความเสียหายดานวัตถุไมเทาไร แตความเสียหายดานจิตใจนั้นมากมายกวา” เหตุการณอีกคร้ังหนึ่งคือ กอนหนาท่ีฝายนักศึกษากําลังจะเคล่ือนไหวตอตานสหรัฐเม่ือวันท่ี 20 มีนาคม 2519 กลุมกระทิงแดงประกาศลวงหนาเม่ือวันท่ี 19 มีนาคม 2519 วา วันท่ี 20 มีนาคม 2519 ขอใหนักเรียนอาชีวะทุกคนเตรียมพรอมกันอยูในโรงเรียน คอยฟงคําส่ังจากสถานีวิทยุยานเกราะ หากสถานีวิทยุแหงนี่ส่ังใหไปรวมกันท่ีใดใหประธานนักเรียนส่ังนักเรียนไปรวมกันท่ีนั่น ดังนั้นจึงไมนาแปลกใจท่ีวิทยุยานเกราะจะมีบทบาทสําคัญอีกคร้ังในการช้ีนํากลุมกระทิงแดง และกลุมฝายขวาอ่ืนๆในการเคล่ือนไหวตอตานนักศึกษาเม่ือวันท่ี 5 - 6 ตุลาคม 2519 อันนํามาซ่ึงเหตุการณ 6 ตุลาคม 3.3.4 ชมรมแมบาน กอต้ังข้ึนในป พ.ศ. 2519 เพื่อโจมตีขบวนนักศึกษาท่ีเคล่ือนไหวตอตานฐานทัพสหรัฐโดยตรง โดยมีทมยันตี หรือ วิมล ศิริไพบูลย (เจียมเจริญ) เปนแกนสําคัญ และรวมเอาภรรยาขาราชการ ภรรยานายพล และแมบานจํานวนมากเขาเปนสมาชิก บทบาทท่ีเดนชัดของชมรมแมบานคือ การปกปองและแกตางแทนสหรัฐ และ

65

Page 68: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

โจมตีขบวนการนักศึกษาวา เปนผูบอนทําลายมิตรประเทศ เม่ือวันท่ี 19 มีนาคม 2519 ชมรมแมบานจัดอภิปรายท่ีโรงพยาบาลสงฆ โดยเชิญ สมัคร สุนทรเวช ไปกลาวโจมตีขบวนการนักศึกษาซ่ึงนําไปออกอากาศท่ีสถานีวิทยุยานเกราะ ตอมาเม่ือวันท่ี 17 พฤษภาคม 2519 ชมรมแมบานจัดการชุมนุมคัดคานนักศึกษาท่ีสนามไชยซ่ึงการชุมนุมคร้ังนี้ไดรับการโหมประโคมอยางมากทางวิทยุและส่ือมวลชนอ่ืนๆเพื่อชักชวนใหประชาชนมารวมชุมนุม ชมรมแมบานต้ังขอเสนอเรียกรองใหคงเรดาหของสหรัฐไวในประเทศไทยตอไป แทนท่ีจะเห็นวา การตั้งเรดาหของสหรัฐเปนการละเมิดอธิปไตยของประเทศ และรุกรานเพื่อนบาน นอกจากนี้ยังมีบุคคลหรือกลุมการเมืองอ่ืนๆ ท่ีมีบทบาทในการทําลายขบวนการนักศึกษา เชน สมัคร สุนทรเวช, สมบุญ ศิริธร, สงสุข ภัคเกษม ซ่ึงเปนผูนํากลุมปกขวาของพรรคประชาธิปตย, ธานินทร กรัยวิเชียร นักกฎหมายประจํากองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายใน และผูเช่ียวชาญในการตอตานคอมมิวนิสต, ดุสิต ศิริวรรณ โฆษกรายการโทรทัศน “สนทนาประชาธิปไตย” ซ่ึงมีทัศนะขวาจัดคับแคบ นอกจากนี้คือ พ.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร และ สมชัย รักวิจิตร ผูเขียนหนังสือตอตานคอมมิวนิสตใหกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายใน เปนตน บุคคลเหลานี้หลายคนตอมามีบทบาทสําคัญในรัฐบาลคณะปฏิรูป บุคคลและองคกรเหลานี้กอรูปข้ึนเปนพลังฝายขวา และเปนหัวหอกโดยตรงท่ีตอสูกับพลังนักศึกษาดวยวิธีการตางๆ และเปนพลังเปดเผยท่ีทําลายขบวนนักศึกษา มีการเคล่ือนไหวท่ีตอตานขบวนการนักศึกษาดังตัวอยางเชน ในเดือนกรกฎาคม 2519 ซ่ึงเปนกําหนดเสนตายท่ีรัฐบาลกําหนดใหสหรัฐถอนทหารออกจากประเทศไทย และเปนท่ีคาดหมายวา ขบวนการนักศึกษาจะเคล่ือนไหวตอตานสหรัฐคร้ังใหญ ตั้งแตตนเดือน นสพ.ดาวสยาม ประโคมขาวเร่ืองแผน 3 ข้ันตอนของฝายคอมมิวนิสตท่ีจะยึดกรุงเทพ จากน้ันชมรมวิทยุเสรีรับเอาเร่ืองนี้ไปประโคมในหมูประชาชนเพื่อใหเกิดความหวาดวิตกวาคอมมิวนิสตจะยึดเมือง และถือโอกาสโจมตีฝายนักศึกษาวา เปนเคร่ืองมือของคอมมิวนิสต ในสัปดาหตอมา พ.ท. อุทาร ออกวิทยุยานเกราะกลาวหาวา ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยจะสงกําลังบุกสถานีวิทยุของตน และเรียกรองใหมีการชุมนุมประชาชนเพ่ือตอตานศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย และตอมาเม่ือวันท่ี 19 กรกฎาคม 2519 องคกรฝายขวาหลายกลุมรวมกันจัดงาน “มหกรรมตอตานคอมมิวนิสตและศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย” ท่ีบริเวณ ถ.ราชดําเนิน จนถึงสนามหลวง ในงานน้ีมีการปราศรัยโจมตีศูนยกลางนิสิตนัก ศึกษาแหงประเทศไทยอยางหยาบคาย และเรียกรองใหรัฐบาลยึดตึก กตป. คืนจากศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย และมีการจัดนิทรรศการ “บรรพบุรุษของเรา” ท่ีหนาตึก กตป. เพื่อเสนอขอมูลวา ฝายนิสิตนักศึกษากระทําในส่ิงท่ีขัดกับเจตนารมณของบรรพบุรุษอยางไร และเม่ือวันท่ี 18 กรกฎาคม 2519 ท่ีวังสราญรมยมีลูกเสือชาวบานจากทุกเขตในกรุงเทพ และจากจังหวัดใกลเคียงมาต้ังคาย จากนั้นในรุงข้ึน ลูกเสือชาวบานเหลานี้เคล่ือนยายไปยังพระตําหนักจิตรลดารโหฐาน ในขออางวา เพื่อถวายความอารักขาแกพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เพราะเกรงวา จะมีพวก “หนักแผนดิน” มาบุก ทายท่ีสุดจึงไปตั้งกําลังรองรําทําเพลงอยูท่ีบริเวณสวนสัตวเขาดินซ่ึงจะเห็นไดวา ขบวนการเหลานี้พยายามสรางเร่ืองใหเกินเลยเพื่อทําให

66

Page 69: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

เหตุการณดูสับสนวุนวาย และบานปลายไปจากประเด็นการเคล่ือนไหวตอตานสหรัฐของฝายนักศึกษาอยางมาก 3.3 ความรุนแรงและการลอบสังหาร นอกเหนือจากการใสรายปายสีคือ การใชมาตรการทํารายและสังหารชีวิตโดยตรง โดยตั้งแตหลังกรณีพลับพลาไชยเปนตนมา การใชความรุนแรงในการสังหารฝายนักศึกษา และขบวนการประชาชนเร่ิมปรากฏชัดเจน ตั้งแตการสังหาร ชวินทร สระคํา และ เมตตา เหลาอุดม ผูนําชาวนามาบประชันท่ีไดกลาวถึงไปแลวนั้น ตอมาเม่ือวันท่ี 23 สิงหาคม 2517 แสง รุงนิรันดรกุล ผูนํานักศึกษา ม.รามคําแหง ถูกลอบยิงเสียชีวิตที่บริเวณปายรถประจําทางท่ีริม ถ.พระราม 4 โดยไมอาจจะจับคนรายได ในป พ.ศ. 2518 เกิดการสังหารผูนํานักศึกษาและกรรมกร เชน สนอง ปญชาญ ผูนํากรรมกร TEMCO ถูกยิงเสียชีวิตท่ี จ.พังงา เม่ือวันท่ี 25 มกราคม 2518 ตอมา นิสิต จิรโสภณ หัวหนาขาว นสพ.อธิปตย ถูกสังหารโดยการผลักตกรถไฟเม่ือวันท่ี 2 เมษายน 2518 ขณะไปทําขาวการตอสูของประชาชน จ.นครศรีธรรมราช และอีกกรณีหนึ่งคือ มานะ อินทสุริยะ ผูนํานักเรียนโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยถูกยิงตายขณะออกติดโปสเตอรตอตานสหรัฐท่ี จ.นครราชสีมา เม่ือวันท่ี 30 มิถุนายน 2518 แตกระนั้นเปาหมายในการสังหารอยางจริงจังคือ ผูนําชาวนาท่ีทํางานใหกับสหพันธชาวนาชาวไร มีการสังหารผูนําชาวนาถึง 21 ศพท่ีพอรวบรวมไดคือ 5 เมษายน 2518 : เฮียง ส้ินมาก ผูแทนชาวนา จ.สุรินทร ถูกยิงเสียชีวิต 10 เมษายน 2518 : อาย ธงโต ถูกยิงเสียชีวิต 18 เมษายน 2518 : ประเสริฐ โฉมอมฤต ถูกยิงเสียชีวิต 21 เมษายน 2518 : โงน ลาววงศ ผูนําชาวนาหมูบานหนองบัวบานซ่ึงนําชาวบานคัดคานการสรางอางเก็บน้ําหวยหลวง จ.อุดรธานี ถูกรัดคอและทุบศีรษะเสียชีวิต 5 พฤษภาคม 2518 : มงคล สุขหนุน ผูนําชาวนา จ.นครสวรรค ถูกฆาตกรรม 20 พฤษภาคม 2518 : เกล้ียง ใหมเอ่ียม รองประธานสหพันธชาวนาชาวไร อ.หางฉัตร (จ.ลําปาง) ถูกยิงเสียชีวิต 22 มิถุนายน 2518 : พุฒ ปงลังกา ผูนําชาวนา จ.เชียงราย ถูกสังหาร 3 กรกฎาคม 2518 : จา จักรวาล รองประธานสหพันธชาวนาชาวไรบานดง อ.แมริม จ.เชียงใหม ถูกยิงเสียชีวิต 18 กรกฎาคม 2518 : บุญทา โยธา ถูกยิงเสียชีวิตท่ี จ.ลําพูน 31 กรกฎาคม 2518 : อินถา ศรีบุญเรือง ประธานสหพันธชาวนาชาวไรภาคเหนือถูกยิงเสียชีวิต 4 สิงหาคม 2518 : สวัสดิ์ ตาถาวรรณ ผูนําชาวนาดอยสะเก็ด (จ.เชียงใหม) ถูกยิงเสียชีวิตขณะกลับจากงานศพ

67

Page 70: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

11 สิงหาคม 2518 : พุฒ ทรายดํา ชาวนา ต.แมบอน อ.ฝาง (จ.เชียงใหม) ถูกจอยิงเสียชีวิตในหองคนไขท่ีสถานีอนามัย อ.ฝาง 22 ตุลาคม 2518 : บุญรัตน ใจเย็น ผูนําชาวนา อ.สารภี (จ.เชียงใหม) ถูกคนรายลอบยิงเสียชีวิต ขณะเดินอยูบนถนน การสังหารผูนําชาวนาเหลานี้ทางการตํารวจพยายามจะเบ่ียงเบนประเด็นวา เปนเร่ืองชูสาวบาง เร่ืองขัดแยงผลประโยชนสวนตัวบาง ฝายซายฆากันเองบาง แตมิไดพยายามจะจับคนรายมาลงโทษ เชน ในกรณีท่ีพอหลวงอินถา ศรีบุญเรือง ผูนําชาวนาภาคเหนือถูกฆามีการปลอมจดหมายเพ่ือปายสีวา พอหลวงตองการท่ีจะลาออกจากสหพันธชาวนาชาวไรจึงถูกฝายซายจางฆา แตกระนั้น ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ออกรายการพบประชาชนทางสถานีโทรทัศนเม่ือวันท่ี 8 สิงหาคม 2518 ยืนยันวา รัฐบาลไมมีนโยบายท่ีจะปราบปรามประชาชน แตยอมรับวา การลอบสังหารผูนําชาวนานั้นคลายมีขบวนการลาสังหาร กรณีท่ีเปนเหตุการณรุนแรงอยางมากคือ การชุมนุมประทวงคําส่ังของกระทรวงมหาดไทยท่ียาย ธวัช มกรพงศ ผูวาราชการ จ.พังงา ไปเปนผูวาราชการ จ.ลําพูน ท้ังนี้เพราะธวัชมีบทบาทสําคัญอยางมากในการสนับสนุนการตอสูของฝายนักศึกษาในกรณี TEMCO และกรณีอ่ืนๆท่ีมุงพิทักษทรัพยากรของประเทศจึงถูกกลาวหาเสมอวา เปนผูวาราชการจังหวัดฝายคอมมิวนิสต แตกระน้ันเม่ือมีคําส่ังยายดังกลาว นักศึกษาประชาชนชาวพังงาจึงชุมนุมประทวงท่ีหนาศาลากลางเพ่ือคัดคานคําส่ังเม่ือวันท่ี 23 กันยายน 2518 การชุมนุมยืดเยื้อไปจนถึงวันท่ี 1 ตุลาคม 2518 เกิดเหตุรายเมื่อมีการวางระเบิดกลางท่ีชุมนุมทําใหประชาชนเสียชีวิต 15 คน และบาดเจ็บ 17 คน จนถึงป พ.ศ. 2519 การสังหารทางการเมืองเกิดข้ึนอยางเปดเผยตอไป เทาท่ีพอจะลําดับไดคือ 3 กุมภาพันธ 2519 : ปรีดา จินดานนท นักศึกษา ม.มหิดล และนักดนตรีวงดนตรีกรรมาชนถูกฆาตกรรมดวยรถชนท่ีหนามหาวิทยาลัย ถ.พระราม 6 15 กุมภาพันธ 2519 : มีคนรายปาระเบิดท่ีทําการพรรคพลังใหมในกรุงเทพ ปรากฏวา การปาระเบิดผิด พลาดเกิดระเบิดข้ึนกอนทําให พิพัฒน กางกั้น เสียชีวิตในท่ีเกิดเหตุ และ ประจักษ เทพทอง บาดเจ็บสาหัสจนตองถูกตัดแขน และมีการคนพบบัตรสมาชิกกลุมกระทิงแดงในตัวของบุคคลท้ังสองจึงทําใหมีหลักฐานอยางชัดเจนวา กลุมกระทิงแดงคือ ผูอยูเบ้ืองหลังการปฏิบัติการเชนนี้ แตฝายเจาหนาท่ีตํารวจไมไดดําเนินการอยางไรเลยตอกลุมกระทิงแดง ในทางตรงขาม พล.ต. ประมาณ รองนายกรัฐมนตรี แถลงใหรายวา สงสัยวา การที่พรรคพลังใหมถูกขวางระเบิดเชนนี้จะเปนการจงใจสรางสถานการณเพื่อหาเสียงหรือไม เพราะเม่ือเกิดเหตุระเบิดพรรคพลังใหมจะไดมีขาวลงหนังสือพิมพ 18 กุมภาพันธ 2519 : อมเรศ ไชยสะอาด นักศึกษา ม.มหิดล ฝายการเงินของศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยถูกยิงเสียชีวิต ระหวางไปออกคายท่ี อ.ดานขุนทด จ.นครราชสีมา 28 กุมภาพันธ 2519 : บุญสนอง บุญโยทยาน เลขาธิการพรรคสังคมนิยมถูกสังหาร โดยคนรายดักยิงเสียชี วิตท่ีหนาประตูบาน ขณะกลับจากงานเล้ียง

68

Page 71: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

3 มีนาคม 2519 : มีคนรายวางระเบิดท่ีโรงเรียนชางกลพระราม 6 ผูอํานวยการโรงเรียนคือ ดิลกชัย สุนาถวณิชยกุล นั้นถูกกลาวหามาต้ังแตระยะกอนหนานี้วา เปนผูใหการสนับสนุนตอฝายขบวนการนักศึกษา และเคยถูกลอบยิงไดรับบาดเจ็บเม่ือวันท่ี 19 ตุลาคม 2518 คนรายท่ีมาวางระเบิดกลาววา การวางระเบิดมีข้ึนเพื่อ “ส่ังสอนฝายซายใหรูสํานึก” เหตุการณนี้มีผูเสียชีวิต 3 คน 21 มีนาคม 2519 : มีการขวางระเบิดใสขบวนของนักศึกษาประชาชนท่ีเดินขบวนตอตานฐานทัพสหรัฐท่ีบริเวณหนาโรงภาพยนตรสยาม มีผูเสียชีวิต 4 คนคือ กมล แซนิ้ม, นิพนธ เชษฐากุล, แกว เหลืองอุดมเลิศ และ ธเนศร เขมะอุดม 24 มีนาคม 2519 : ปาระเบิดอีกคร้ังท่ี จ.ชัยนาท ในขณะท่ี สมหวัง ศรีชัย ผูสมัครพรรคพลังใหมกําลังปรา ศรัยหาเสียงท่ีวัดหนองจิก อ.วัดสิงห ในขณะน้ันมีผูฟงการปราศรัยอยูราว 200 คน ปรากฏวา ระเบิดไมถูกสมหวัง แตกลับทําใหประชาชนท่ีฟงการหาเสียงเสียชีวิต 8 คน บาดเจ็บอีก 10 คน 12 มิถุนายน 2519 : ขณะท่ีนักศึกษา ม.ขอนแกน กําลังต้ังแถวตอนรับนักศึกษาใหมท่ีมาจากกรุงเทพมีระ เบิดดังข้ึนทําใหนักศึกษาเสียชีวิต 1 คนคือ ไพโรจน พงษวิริยพงศ 18 สิงหาคม 2519 : ชิด กงเพ็ชร ผูนําชาวนาทุมฟาผา อ.แมลานอย (จ.แมฮองสอน) ถูกลอบยิงเสียชีวิต ความจริงแลวกรณีลอบยิงและทํารายมีมากกวานี้ เพราะมีอีกหลายรายท่ีมีการลอบยิงหรือปาระเบิด แตมีเพียงผูบาดเจ็บมิไดเกิดการเสียชีวิต สวนหนึ่งเปนเพราะการใชความรุนแรงของกลุมกระทิงแดงในดานปน ระเบิด ตอขบวนการนักศึกษาเปนไปอยางเปดเผยมาต้ังแตป พ.ศ. 2517 ยิ่งในระยะหลังการลอบยิงผูนํา และนักศึกษากลายเปนเหตุการณปกติ และในการเคล่ือนไหวของขบวนการนักศึกษาแทบทุกคร้ังจะตองมีกลุมกระทิงแดงมาปาระเบิดหรือคุกคาม โดยท่ีเจาหนาท่ีของรัฐไมเคยจัดการดําเนินการจับกุมแตอยางใด กลาวโดยสรุปคือ กลไกของรัฐยินยอมใหฝายปฏิกิริยาใชความรุนแรงนี้ได และนอกจากการสังหารชีวิตยังมีการจับกุมนักศึกษาประชาชนดวยขอหาคอมมิวนิสตเกิดข้ึน เชน 23 เมษายน 2519 : มีการจับกุมนักศึกษาและกรรมกร 9 คนท่ี อ.ออมนอย (จ.สมุทรสาคร) และ อ.สามพราน (จ.นครปฐม) ในขอหาคอมมิวนิสต บุคคลที่ถูกจับนําโดย สุภาพ พัฒออง (ท่ีปรึกษาสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมทอผา), นิภาพรรณ พัฒนไพบูลย และผูนํากรรมกรอ่ืนๆ 9 พฤษภาคม 2519 : จับนักเรียน นักศึกษา และชาวนา 6 คนท่ี จ.เชียงใหม นําโดย พรเลิศ กรองแสง

4. การกอเหตุการณ 6 ตุลาคม การคุกคามฝายนักศึกษาเกิดข้ึนอยางหนักในป พ.ศ. 2519 ตั้งแตตนป การปฏิบัติการดังกลาวกระทําจนกระท่ังแนใจไดวา ขบวนการออนกําลังลงมากแลวจึงมีการนําเอาตัวจอมพล ประภาส เขามาสูประเทศเม่ือวันท่ี 16 สิงหาคม 2519 ในขออางของจอมพล ประภาส วา จะเขามารักษาตา ฝายนักศึกษาเรียกชุมนุมประชาชนเพื่อเรียกรองใหนําตัวจอมพล ประภาส มาลงโทษ ในการประทวงคร้ังนี้กลุมอันธพาลการเมืองกอกวนเชนเดิมดวยการขวางระเบิดใสท่ีชุมนุมของฝายนักศึกษาทําใหมีผูเสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บอีก 38

69

Page 72: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

คน แตปรากฏวา เหตุการณนี้กลุมชนช้ันนํายังไมมีความพรอมเพียงพอท่ีจะกอการรัฐประหารจึงตองผลักดันใหจอมพล ประภาส เดินทางออกนอกประเทศไปกอน ในท่ีสุดจอมพล ประภาส ยินยอมเดินทางออกไปยังไทเป (ไตหวัน) อีกคร้ังเม่ือวันท่ี 22 สิงหาคม 2519 โดยกอนออกเดินทางไดรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตใหเขาเฝาพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอีกดวย หลังจากนี้เร่ิมมีขาววา จอมพล ถนอม จะขอกลับเขาสูประเทศไทยอีกคร้ัง เนื่องจากบิดาขุนโสภิตบรรณลักษณ (อําพัน กิตติขจร) ซ่ึงมีอายุถึง 90 ปแลว ตั้งแตวันท่ี 3 กันยายน 2519 ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยเรียกประชุมกลุมตางๆ 165 กลุมเพื่อคัดคานการกลับเขามาของจอมพล ถนอม โดยระบุความผิดของจอมพล ถนอม 11 ขอ จากนั้นเม่ือวันท่ี 7 กันยายน 2519 มีการอภิปรายท่ีหอประชุมใหญ ม.ธรรมศาสตร ในหัวขอ “ทําไมจอมพล ถนอม จะกลับมา” ซ่ึงผูอภิปรายหลายคนสรุปวา การเขามาของจอมพล ถนอม สวนหนึ่งเปนแผนการที่วางไวเพื่อจะหาทางกอการรัฐประหารนั้นเอง อยางไรก็ตามคณะรัฐมนตรี ม.ร.ว. เสนีย มีมติมิใหจอมพล ถนอม กลับเขาประเทศ แตปรากฏวา เม่ือถึงวันท่ี 19 กันยายน 2519 จอมพล ถนอม กลับเขาประเทศจนได โดยบวชเปนสามเณรมาจากสิงคโปร จากน้ันตรงไปยังวัดบวรนิเวศเพ่ือบวชเปนภิกษุ โดยมีพระญาณสังวรเปนองคอุปชฌาย และเม่ือบวชเรียบรอยก็ขนานนามวา สุกิตติขจโรภิกษุ ในกรณีนี้วิทยุยานเกราะนําคําปราศรัยของจอมพล ถนอม มาออกอากาศเม่ือวันท่ี 19 กันยายน 2519 ซ่ึงมีสาระสําคัญวา จอมพล ถนอม กลับเขามาในประเทศคร้ังนี้เพื่อเยี่ยมอาการปวยของบิดาจึงไดบวชเปนพระภิกษุตามความประสงคของบิดา และไมมีจุดมุงหมายทางการเมืองอยางใดเลย จากน้ันวิทยุยานเกราะตักเตือนมิใหนักศึกษากอความวุนวาย มิฉะนั้นแลวอาจจะตองมีการประหารสัก 30,000 คนเพ่ือใหชาติบานเมืองรอดพนจากภัย เม่ือเกิดเหตุการณเชนนี้ขบวนการนักศึกษาท่ีนําโดยศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย และแนวรวมตานเผด็จการแหงชาติเคล่ือนไหวโดยทันที โดยยื่นขอเสนอตอรัฐบาล แสดงการคัดคานจอมพล ถนอม ท่ีใชศาสนาบังหนาทําใหพระศาสนามัวหมอง เรียกรองใหนําเอาจอมพล ถนอม มาข้ึนศาลพิจารณาคดี พรอมท้ังคัดคานความพยายามท่ีจะกอการรัฐประหาร นอกจากนี้ขณะท่ีกลุมยุวสงฆออกคําแถลงคัดคานสถานะภิกษุของจอมพล ถนอม โดยขอใหมหาเถรสมาคมตรวจสอบการบวชคร้ังนี้วา ถูกตองตามพระวินัยหรือไม และถวายหนังสือตอสังฆราชใหสอบสวนพระญาณสังวรดวย ในฐานะท่ีทําการบวชใหแกผูตองหาคดีอาญา ปรากฏวา สมเด็จพระสังฆราชยอมรับวา การบวชนั้นไมถูกตอง สวนเร่ืองขับไลจอมพล ถนอม จากประเทศนั้นเปนเร่ืองทางโลกท่ีทางมหาเภระสมาคมไมอาจเกี่ยวของได ตอมาในการประชุมสภาผูแทนราษฎรเม่ือวันท่ี 23 กันยายน 2519 สมาชิกสภาเสนอใหมีการประชุมในเร่ืองการกลับมาของจอมพล ถนอม โดยตรง และลงมติคัดคานการกลับมาของจอมพล ถนอม ใหรัฐบาลดําเนินการเร่ืองนี้โดยทันที ปรากฏวา ม.ร.ว. เสนีย ไมอาจจะจัดการอะไรไดจึงลาออกจากตําแหนงกลางสภาผูแทนราษฎร และในเวลา 21.30 น. วันเดียวกันพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว และสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จไปที่วัดบวรนิเวศเพ่ือสนทนาธรรมกับพระญาณสังวรซ่ึงเคยเปนพระพี่เล้ียงเมื่อพระองคทรงผนวช ในระหวางการเยือนคุณหญิง เกษหลง สนิทวงศ นางสนองพระโอษฐ แถลงวา สมเด็จพระราชินีใหมาบอกวา

70

Page 73: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ไดทราบวาจะมีคนใจรายจะมาเผาวัดบวรนิเวศจึงทรงมีความหวงใยอยางมาก “ขอใหประชาชนชวยกันดูแลปองกัน อยาใหผูใจรายมาทําลายวัด” วันท่ี 24 กันยายน 2519 สมัคร รัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงมหาดไทยแถลงวา “การท่ีพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวเสด็จวัดบวรนิเวศกลางดึกแสดงใหเห็นวา พระองคตองการใหพระถนอมอยูในประเทศตอไป” อยางไรก็ตามในคืนวันนั้นขบวนการนักศึกษาออกติดโปสเตอรตอตานจอมพล ถนอม ท่ัวประเทศ ปรากฏวา นิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยท่ีออกติดโปสเตอรถูกชายฉกรรจจํานวนหน่ึงดักทําราย และนําเอาโปสเตอรท่ีจะติดนั้นไปทําลาย นอกจากนี้ ชุมพร ทุมไมย และ วิชัย เกษศรีพงศา พนักงานการไฟฟาสวนภูมิภาค จ.นครปฐม และเปนสมาชิกแนวรวมประชาชนออกติดโปสเตอรตอตานจอมพล ถนอม ถูกคนรายฆาตกรรมแลวนําไปแขวนคอที่ประตูทางเขาท่ีดินจัดสรรบริเวณหมูบาน 2 ต.พระประโทน (จ.นครปฐม) ปรากฏจากการชันสูตรวา ท้ังสองคนถูกซอมและฆาอยางทารุณกอนท่ีจะนําศพไปแขวน สันนิษฐานวา เจาหนาท่ีตํารวจ จ.นครปฐม เปนผูลงมือ ซ่ึงกรณีนี้สรางความสะเทือนใจอยางมาก ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยจึงต้ังขอเรียกรองเพ่ิมตอรัฐบาลใหจับคนรายมาลงโทษโดยเร็ว ทางฝายรัฐบาลต้ังให พล.ต.ท. ชุมพล โลหะชาละ เปนผูควบคุมคดี วันท่ี 26 กันยายน 2519 กิตติวุฒโฑแถลงย้ําวา “การบวชของพระถนอมคร้ังนี้ไดกราบบังคมทูลขออนุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว รวมท้ังการขอเขามาในเมืองไทยดวย ดังนั้นพระถนอมจึงเปนผูบริสุทธ์ิ” ตอมาเม่ือวันท่ี 27 กันยายน 2519 สงสุข ภัคเกษม ส.ส.พรรคประชาธิปตย ฝายขวาออกมาแถลงขาวใสรายปายสีวา กลุมฝายซายในพรรคประชาธิปตยซ่ึงหมายถึงกลุมของ ดํารงค ลัทธพิพัฒน และ ชวน หลีกภัย จายเงินใหแกศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย 800,000 บาทผานสุธรรม ในกรณีเคล่ือนไหวตอตานจอมพล ประภาส ในเดือนสิงหาคมท่ีผานมา การชุมนุมคัดคานจอมพล ถนอม ของขบวนการนักศึกษาเร่ิมข้ึนเม่ือวันท่ี 28 กันยายน 2519 ท่ีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และยื่นคําขาดใหรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย แกไขปญหาเร่ืองจอมพล ถนอม กิตติขจร และใหจับตัวคนรายท่ีกอการฆาตกรรม 2 ชางไฟฟา จ.นครปฐม มาลงโทษ และขอใหรัฐบาลจัดกําลังรักษาความปลอดภัยแกผูชุมนุม ตอมาศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยใชมาตรการรุกคือ ขอใหรัฐบาลตอบภายใน 3 วัน วันท่ี 1 ตุลาคม 2519 ตัวแทนญาติวีรชน 14 ตุลาคมเขาพบนายกรัฐมนตรี ขอใหดําเนินการขับจอมพล ถนอม ออกจากประเทศไทย และเร่ิมอดอาหารประทวงท่ีหนาทําเนียบรัฐบาล ในวันเดียวกันกลุมฝายขวา 13 กลุมรวมออกแถลงการณวา “ไดปรากฏแนชัดแลววา ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยนักศึกษา สภาแรงงานแหงประเทศไทย และนักการเมืองฝายซายถือเอาพระถนอมมาเปนเง่ือนไขสรางความไมสงบข้ึนภายในประเทศชาติถึงข้ันจะกอวินาศกรรมทําลายวัดบวรนิเวศวิหาร และลมลางรัฐบาล เร่ืองนี้กลุมตางๆดังกลาวประชุมลงมติวา จะรวมกันปกปองวัดบวรนิเวศทุกวิถีทางตามพระราชเสาวนีย” วันท่ี 2 ตุลาคม 2519 กําหนดเวลาเสนตายท่ีศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยยื่นไวมาถึง ทางกลุมกระทิงแดงต้ังกําลังลอมวัดบวรนิเวศ โดยอางวา เพ่ือปองกันศาสนสถาน ปรากฏวา ตัวแทนศูนยกลางนิสิต

71

Page 74: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

นักศึกษาแหงประเทศไทยเขาพบนายกรัฐมนตรี แตยังไมมีอะไรคืบหนา ดังนั้นจึงมีการตกลงใหมีการชุมนุมประชาชนคร้ังใหญท่ีสนามหลวงเย็นวันท่ี 4 ตุลาคม ในเวลากลางวันของวันท่ี 4 ตุลาคม 2519 นั้นเองกลุมอิสระ 21 กลุมของ ม.ธรรมศาสตร รณรงคใหนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร งดสอบเพ่ือรวมการประทวงขับไลจอมพล ถนอม ในการรณรงคงดสอบนี้ชมรมนาฏศิลปและการละครจัดการแสดงละครเรียกรองใหนักศึกษามีจิตสํานึกในการเขารวมการตอสู โดยมีฉากหนึ่งท่ีเปนภาพสะทอนถึงชางไฟฟาท่ีถูกสังหารท่ี จ.นครปฐม ปรากฏวาการรณรงคประสบผลจนทําใหมหาวิทยา ลัยตองประกาศเล่ือนการสอบออกไปอยางไมมีกําหนด ตอมาเวลาตั้งแต 15.30 น. มีการชุมนุมประชาชนท่ีสนามหลวงจนกระท่ังเกิดฝนตก และมีแนวโนมการคุกคามของกลุมฝายขวา ในเวลา 19.30 น. ดังนั้นกลุมนักศึกษาท่ีนําการชุมนุมจึงมีมติใหยายเวทีเขามาชุมนุมใน ม.ธรรมศาสตร เพื่อความสะดวกในการรักษาความปลอดภัย และการประทวงขามคืนมาจนถึงวันท่ี 5 ตุลาคมมีการชุมนุมประทวงจอมพล ถนอม เกิดข้ึนในอีกหลายจังหวัด เชน จ.เชียงใหม, จ.ขอนแกน, จ.นครราชสีมา, จ.สงขลา เปนตน หลังจากนี้สถานีวิทยุทหารทุกแหงออกขาวเกี่ยวกับกรณีหม่ินพระบรมเดชานุภาพน้ี และระดม “ผูรักชาติ” จํานวนนับพันไปชุมนุมท่ีลานพระบรมรูปทรงมาเพื่อตอตานกรณีดังกลาว โดยเฉพาะกลุมพลังฝายขวา เชน ลูกเสือชาวบาน กลุมกระทิงแดง และกลุมนวพล จากการอางเอาเร่ืองการหม่ินสถาบันพระมหากษัตริยนี้เอง กลุมปฏิกิริยาจึงสามารถระดมประชาชนท่ีโกรธแคนเปนจํานวนมากมารวมการชุมนุมได โดยประเด็นท่ีวิทยุยานเกราะเรียกรองคือ ใหทําลายพวก “คอมมิวนิสต” ท่ีอยูใน ม.ธรรมศาสตร และประทวงรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย ท่ีตั้งรัฐบาลใหมโดยไมใหสมัคร และ สมบุญ ศิริธร เขารวมในคณะรัฐมนตรี เวลาดึกของวันนั้นการชุมนุมของฝายขวายายสถานท่ีมายังทองสนามหลวงตรงบริเวณฝงตรงขาม ม.ธรรมศาสตร และมีการยั่วยุประชาชนอยางหนักใหเกลียดชังนักศึกษามากยิ่งข้ึน และเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ฝายเจาหนาท่ีตํารวจเริ่มยิงอาวุธสงครามใสผูชุมนุม ตอมาใชกองกําลังตํารวจกองปราบ และหนวยตํารวจตระเวนชายแดนนําการกวาดลางนักศึกษาใน ม.ธรรมศาสตร ดวยอาวุธสงครามเต็มอัตรา นี่คือการปราบปรามใหญเหตุการณ 6 ตุลาคมนั่นเอง

5. บทบาทของสหรัฐกับ 6 ตุลาคม การเคล่ือนไหวของขบวนการนักศึกษาส่ันคลอนผลประโยชนของสหรัฐในประเทศไทยเชนกัน โดยเฉพาะกรณีการคัดคานการตั้งฐานทัพในประเทศไทย การตอตานการครอบงําทางเศรษฐกิจ และการขูดรีดทรัพยากรของสหรัฐ รวมท้ังการเปดโปงโทษกรรมของสหรัฐในสวนอ่ืนๆของโลก ดวยเหตุนี้จึงสรางความไมพอใจใหกับสหรัฐอยางมาก ความจริงแลวต้ังแตหลังป พ.ศ. 2493 หลังการรัฐประหารของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ประเทศไทยและสหรัฐมีความสัมพันธท่ีใกลชิดกันมาก สหรัฐเร่ิมนําเอาระบบอุปถัมภเขามาใชในประเทศไทย โดยการใหความชวยเหลือและคํ้าจุนอํานาจของผูมีอํานาจในประเทศไทย เชน การที่หนวยสืบราชการลับกลางแหงสหรัฐอเมริกา สนับสนุน พล.ต.อ. เผา ศรียานนท และกระทรวงกลาโหม

72

Page 75: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

สหรัฐสนับสนุนจอมพล สฤษดิ์ เปนตน ในสมัยจอมพล ถนอม และจอมพล ประภาส สหรัฐใชระบบดังกลาวคํ้าจุนอํานาจเผด็จการของรัฐบาลนั้นไวเชนกันซ่ึงกลายเปนความสัมพันธอันลึกซ้ึงระหวางผูนําทางการทหารของไทยกับสหรัฐตลอดมา หลังเหตุการณ 14 ตุลาคม องคการของสหรัฐ เชน หนวยสืบราชการลับกลางแหงสหรัฐอเมริกายังคงมีบทบาทในประเทศไทยอยางมากจากการท่ี พล.อ. สายหยุด ผูอํานวยการกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายในเคยใหสัมภาษณในป พ.ศ. 2517 ยอมรับวา หนวยสืบราชการลับกลางแหงสหรัฐอเมริกายังมีความสัมพันธท่ีใกลชิดกับกองกําลังตํารวจตระเวนชายแดน และ พล.ท. วิฑูรย ยะสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมตํารวจใหสัมภาษณวา หนวยสืบราชการลับกลางแหงสหรัฐอเมริกากําลังใหความชวยเหลือประเทศไทยอยางจริงจัง และตัวเขาเองยังไดรับรายงานจากหนวยสืบราชการลับกลางแหงสหรัฐอเมริกาอยางสม่ําเสมอ แตกลาวแกตางวา หนวยสืบราชการลับกลางแหงสหรัฐอเมริกาเปนหนวยงานประชาธิปไตยและเกลียดเผด็จการ และเปนท่ีเปดเผยรูกันท่ัวไปวา หนวยสืบราชการลับกลางแหงสหรัฐอเมริกาเปนผูจายเงินสนับสนุน พล.ท. วิฑูรย ยะสวัสดิ์ เปนหัวหนาหนวยเสือพรานซ่ึงไปรบในลาวในระยะกอนหนานี้ นอกจากนี้สหรัฐยังเปนผูสนับสนุนอยางแข็งขันตอกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายใน และรวมท้ังเงินทุนในการกอต้ังกลุมนวพลดวย เม่ือวันท่ี 17 สิงหาคม 2518 จอหน รัสกิน เขียนบทความลงใน นสพ. สตารทรีบูน ในมีนิอาโปลิส (สหรัฐ) วา หนวยสืบราชการลับกลางแหงสหรัฐอเมริกาใหการชวยเหลือดานการเงินแกกลุมนวพลและกลุมกระทิงแดงถึง 12,500,000 ดอลลารสหรัฐ และสําหรับการชวยเหลืออยางเปนทางการ รัฐบาลสหรัฐยังใหเงินใหเปลากับรัฐบาลไทยถึง 566 ลานบาท ดังนั้นแมวาเหตุการณ 6 ตุลาคมจะไมปรากฏหลักฐานวา องคกรหรือหนวยงานใดของสหรัฐจะเกี่ยวของโดยตรงกับการสังหารโหด สวนการเกี่ยวของทางออมหรือทาทีอยางลับๆของสหรัฐตอเหตุการณ 6 ตุลาคมนั้นยังตองศึกษาตอไป

6. กลุมทหารหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผนดิน กอนหนานี้ตั้งแตเม่ือจอมพล สฤษด์ิ ยึดอํานาจการบริหารประเทศในป พ.ศ. 2501 ไดเรียกคณะของตนท่ียึดอํานาจวา “คณะปฏิวัติ” ดวยความมุงหมายท่ีจะสรางเขาใจวา การมีการปฏิวัติประเทศไทยใหมุงไปสูความ กาวหนา ตอมาเม่ือจอมพล ถนอม ยึดอํานาจตนเองในป พ.ศ. 2514 นําคําวา “คณะปฏิวัติ” มาใชอีกคร้ัง ดัง นั้นหลังเหตุการณ 14 ตุลาคมคําวา “ปฏิวัติ” จึงเส่ือมคาแหงการใชลง คณะทหารที่คิดการยึดอํานาจจึงตองคิดหาคําใหม คําวา “ปฏิรูปการปกครองแผนดิน” กอนหนานี้หมายถึง การปรับปรุงการบริหารประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ซ่ึงมีการเปล่ียนแปลงรูปแบบการปกครองแผนดิน โดยใชแนวความคิดและวิธีการแบบตะวันตกมาดําเนินการ ดังนั้นแนวโนมท่ีจะมีการรัฐประหารคร้ังใหมในนามของ “คณะปฏิรูป” เกิดข้ึนกอนหนานี้แลว

73

Page 76: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

เม่ือวันท่ี 19 ธันวาคม 2518 มีกลุมบุคคลกลุมหนึ่งซ่ึงประกอบดวยขาราชการ ทหาร ตํารวจ นักธุรกิจ และผูนํากรรมกรฝายขวานัดประชุมท่ีสโมสรสีลม และต้ังกลุมท่ีช่ือวา “ขบวนการปฏิรูปแหงชาติ” ผูท่ีมีบทบาทสําคัญในกลุมนี้คือ ประสิทธ์ิ ไชยทองพันธ ขาราชการกรมแรงงานซ่ึงมีบทบาทสําคัญในการจัดต้ังกรรมกรฝายขวา กลุมขบวนการปฏิรูปแถลงเปาหมายท่ีจะตอตานคอมมิวนิสต โดยโจมตีรัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ดวยวา เปนรัฐบาลท่ีออนเกินไป “ปลอยใหคอมมิวนิสตเพนพานเต็มแผนดิน” จึงเสนอใหมีการเก็บหนังสือฝายสังคมนิยมทั่วประเทศ แตปรากฏวา การสรางกระแสของขบวนการยังไมประสบความสําเร็จ แตกลุมขบวนการปฏิรูปยังคงเคล่ือนไหวตอมาจนกระท่ังเม่ือวันท่ี 3 ตุลาคม 2519 มีคําวา “สภาปฏิรูป” ลงใน นสพ.ไทยรัฐ แลวในคอลัมน “ไตฝุน” จากนั้นการรัฐประหารเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 กลุมทหารท่ียึดอํานาจจึงเรียกคณะของตนวา “คณะปฏิรูปการปกครองแผนดิน” คณะปฏิรูปการปกครองแผนดินประกอบดวย พล.ร.อ. สงัด ชะลออยู เปนหัวหนาคณะ นอกจากนี้ยังมี พล.อ. บุญชัย บํารุงพงศ, พล.อ.อ. กมล เตชะตุงคะ, พล.อ. เสริม ณ นคร และ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน เปนตน แตกลุมทหารท่ีจะนํามาสูการรัฐประหารนี้มิไดรวมตัวกันในลักษณะเชนนี้มากอน หลังเหตุการณ 14 ตุลาคมกลุมทหารแบงออกเปนกําลังตางๆ 3 กลุมใหญนั่นคือ กลุม พล.อ. กฤษณ สีวะรา หรือกลุมส่ีเสากลุมหนึ่ง กลุมทหารอํานาจเดิมของจอมพล ประภาส ซ่ึงจะมี พล.ท. ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และ พล.อ. ประเสริฐ ธรรมศิริ เปนแกนอีกกลุมหนึ่ง แตกลุมท่ี 3 ท่ีจะมีบทบาทมากคือ กลุม ซ.ราชครู ซ่ึงนําโดย พล.ต. ประมาณ (หัวหนาพรรคชาติไทย) รวมดวย พล.ต. ชาติชาย (เลขาธิการพรรค) และ พล.ต. ศิริ ศิริโยธิน (รองหัวหนาพรรค) และมีการเช่ือมประสานเขากับขาราชการทหารตํารวจคนสําคัญท่ียังอยูในประจําการ เชน พล.ท. ไพฑูรย อิงคตานุวัตร, พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ, พล.ท. วิฑูรย ยะสวัสดิ์, พล.ต.ท. ชุมพล โลหะชาละ เปนตน กลุมนี้แสดงบทบาทเปนปกขวาของคณะรัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ดังเม่ือวันท่ี 11 พฤษภาคม 2518 พล.ต. ประมาณ เปนผูเสนอคําขวัญ “ขวาพิฆาตซาย” เรียกรองใหประชาชนทุกหมูเหลาท่ีเห็นวา เปน “ฝายขวา” ลุกข้ึนพิฆาต “ฝายซาย” คือ ขบวนการนักศึกษา กลุมทหารท้ังสามกลุมนี้มิไดเปนอันหนึ่งอันเดียวกันนัก แตกลุมท่ีมีบทบาทสูงท่ีสุดคือกลุม พล.อ. กฤษณ สีวะรา แต พล.อ. กฤษณ เกษียณอายุราชการเมื่อวันท่ี 30 กันยายน 2518 พล.ร.อ. สงัด ผูบัญชาการทหารเรือไดรับตําแหนงผูบัญชาการทหารสูงสุดแทน ขณะท่ี พล.อ. บุญชัย ไดรับตําแหนงผูบัญชาการทหารบก สําหรับ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท ไดรับตําแหนงเสนาธิการทหาร ปรากฏวา ในเดือนเมษายน 2519 พล.อ. กฤษณ ถึงแกกรรมอยางมีเง่ือนงําหลังจากท่ีไดรับการแตงต้ังใหเปนรัฐมนตรีวาการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาล ม.ร.ว. เสนีย เพียง 2 สัปดาห พล.อ. บุญชัย ผูบัญชาการทหารบกข้ึนมามีบทบาทในกลุมนี้แทน โดยรับชวงอํานาจตอมาจนกระท่ังเกษียณอายุราชการเม่ือวันท่ี 30 กันยายน 2519 และ พล.อ. เสริม เขารับตําแหนงผูบัญชาการทหารบกตอมา อยางไรก็ตามนายทหารสวนมากจะมีบทบาทที่ไมเปดเผยนักในการประกาศตัวเปนศัตรูกับขบวนการนักศึกษา นอกจากจะเปนผูสนับสนุนองคกรฝายขวาตางๆ และแสดงบทบาทในการทําลายขบวนการนักศึกษาผานกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายใน สวนการสังหารหมูเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ไมมี

74

Page 77: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

หลักฐานแนชัดวา กลุมเหลานี้จะมีสวนเกี่ยวของในการนี้แตอยางใด และโดย เฉพาะอยางยิ่ง พล.อ. บุญชัย บํารุงพงศ, พล.ร.อ. สงัด ชะลออยู, พล.อ. เสริม ณ นคร และ พล.อ.อ. กมล เตชะตุงคะ นั้นไมนาท่ีจะเปนตัวการใหญท่ีเปนตนเหตุใหเกิดการสังหารหมูคร้ังนี้ เพราะถาหากวา นาย ทหารเหลานี้เปนแกนกลางจะสามารถใชกําลังทัพดําเนินการไดเลย ไมตองใชกําลังตํารวจกองปราบ และตํารวจตระเวนชาย แดนเขาสังหารนักศึกษาประชาชนอยางท่ีปรากฏ เพราะอํานาจส่ังการเหนือตํารวจตระเวนชายแดนไมนาจะอยูในมือนายทหารเหลานี้ในระยะนั้น เม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 นั้นมีความเปนไปไดวา นายทหารกลุมอีกกลุมหนึ่งซ่ึงทราบตอมาวา เปนกลุมของ พล.อ. ฉลาด และ พล.ท. วิทูรย จะมีสวนโดยตรงในการปราบปรามนักศึกษามากกวา และเตรียมจะกอการรัฐประหารในเวลาดึก แตปรากฏวา กลุมของ พล.อ. บุญชัย และ พล.ร.อ. สงัด รวมกันกอการรัฐประหารยึดอํานาจการปกครองเสียกอนในตอนหัวคํ่าวันนั้นเอง หลังจากการรัฐประหารคณะปฏิรูปการปกครองแผนดินแตงต้ังให ธานินทร กรัยวิเชียร เปนนายกรัฐมนตรี ธานินทรขณะน้ันอายุ 50 ปดํารงตําแหนงผูพิพากษาหัวหนาคณะศาลฎีกา เปนบุคคลที่ประชาชนท่ัวไปไมเคยไดยินช่ือในวงการเมืองมากอนเลย นอกจากช่ือเสียงในฐานะท่ีเปนวิทยากรตอตานคอมมิวนิสต และมีแนวคิดทางการเมืองขวาตกขอบ ชวน สมาชิกพรรคประชาธิปตยเสนอหลักฐานวา “สภาปฏิรูป” มีการเตรียมการมาลวงหนาอยางนอยต้ังแตเดือนกุมภาพันธ 2519 และรวมท้ังมีการเตรียมตัวบุคคลท่ีจะมารับตําแหนงนายกรัฐมนตรีดวย และมีความเปนไปไดวา บุคคลนั้นคือ ธานินทร นั่นเอง ดังท่ี บุญชนะ อัตถากร อธิบายถึงคําบอกเลาของ พล.ร.อ. สงัด หัวหนาคณะปฏิรูปดังมีใจความสวนหนึ่งวา “เม่ือเดือนกุมภาพันธ 2519 มีขาวลืออยูท่ัวไปวา จะมีทหารคิดกอการปฏิวัติ เหตุการณบานเมืองในขณะน้ัน ฝายซายกําลังฮึกเหิม และรบกวนความสงบสุขอยูท่ัวไปจึงกราบบังคมทูลข้ึนไปยังในหลวงซ่ึงทรงประทับอยูท่ีภูพิงคราชนิเวศ (จ.เชียงใหม) ในขณะน้ัน คุณสงัดจึงกราบบังคมทูลใหทรงทราบสถานการณบานเมืองวา เปนท่ีนาวิตก ถาปลอยไปบานเมืองอาจจะตองตกอยูในสถานะอยางเดียวกับลาวและเขมรจึงควรดําเนินการปฏิวัติ อยากไดพรจากพระโอษฐใหทางทหารดําเนินการไดตามท่ีคิดไว แตในหลวงมิไดรับส่ังตรงๆคงรับส่ังแตวา ใหคิดเอาเองวา ควรจะทําอยางไรตอไป คุณสงัดเห็นวา เม่ือไมรับส่ังตรงๆก็คงจะดําเนินการไมไดจึงกราบบังคมทูลวา ถาทางทหารยึดอํานาจการปกครองไดแลวใครควรจะเปนนายกรัฐมนตรีไดกราบบังคมทูลช่ือไปประมาณ 15 ช่ือ แตไมทรงรับส่ังสนับสนุนผูใด เม่ือไมไดช่ือบุคคล และเวลาก็ลวงเลยไปมากแลว คุณสงัดเตรียมตัวจะกราบบังคมทูลลากลับ

 

พล.ร.อ. สงดั ชลออยู เขาเฝาหลงัการรฐัประหาร

75

Page 78: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

แตกอนจะออกจากท่ีเฝาในหลวงทรงรับส่ังวา จะทําอะไรลงไปควรปรึกษานักกฎหมายคือ ธานินทร กรัยวิเชียร ผูพิพากษาศาลฎีกาเสียดวย คุณสงัดบอกวา ไมเคยรูจักธานินทรมากอนเลย พอมาถึงกรุงเทพไดบอกพรรคพวกทางกรุงเทพใหทราบ และเชิญธานินทรมาพบ”

บทสรุป : ความใฝฝนถึงสังคมใหมไมใชความผิด จากท่ีกลาวมาเราจะเห็นไดวา เหตุการณ 6 ตุลาคมเปนผลผลิตอันสืบเนื่องจากเหตุการณ 14 ตุลาคม เม่ือขบวนการนักศึกษาไดรับชัยชนะในการตอสู และนํามาซ่ึงกระแสการตื่นตัวดานประชาธิปไตยคร้ังใหญท่ีสุดในประวัติศาสตรซ่ึงในกระแสดังกลาวกอใหเกิดการต่ืนตัวอยางมากของประชาชนกลุมตางๆ การตอสูเพ่ือสิทธิของประชาชนชนช้ันลาง ท้ังกรรมกร ชาวนา และกลุมสังคมอ่ืนๆเกิดข้ึนเปนระลอกคล่ืน นอกจากนี้ยังมีกระแสตอตานจักรวรรดินิยมสหรัฐ รวมท้ังกระแสแหงการขยายตัวของแนวคิดสังคมนิยมซ่ึงเปนแนวคิดท่ีวิพากษสังคมเกา เสนอทางออกใหมแกสังคม และนํามาซ่ึงการเรียกรองการปฏิวัติวัฒนธรรม สรางวัฒนธรรมใหมท่ีรับใชประชาชน เปนตน ซ่ึงเปนกระแสคล่ืนท่ีสงผลกระทบตอสังคมไทยอยางไมเคยปรากฏมากอน กระแสตางๆเหลานี้ผานเขามาในสังคมไทยซ่ึงเคยเปนสังคมที่มีโครงสรางแบบอนุรักษนิยม ชนช้ันนําท่ีกุมอํานาจรัฐนั้นไมคุนเคยกับประชาธิปไตยท่ีจะเปดใหประชาชนมีเสรีภาพในการตอสูเพื่อสิทธิของตนเอง คุนเคยแตกับการใชอํานาจเผด็จการ คุมอํานาจเหนือประชาชนท่ีภักดี และวานอนสอนงาย เช่ือในส่ิงเดียวกับชนช้ันนํา และปฏิบัติตามคําส่ังของรัฐ ชนช้ันนําไทยจึงรูสึกตระหนกและไมเขาใจกระแสเชนนี้ เขาใจไปวา กระแสกาวหนาเหลานี้จะบ่ันทอนความมั่นคงของแหงสถานะของตน ยิ่งกวานั้นความรูสึกไมมีเสถียรภาพ หวาดวิตกในกระแสการเปล่ียนแปลงของประเทศเพื่อนบาน เกรงวา ขบวนการนักศึกษาจะเปนตัวการกอใหเกิดการปฏิวัติในลักษณะเดียวกันในสังคมไทย นํามาซ่ึงการวางแผนท่ีจะหยุดยั้งการเปล่ียนแปลงเชนนี้ แตชนช้ันนําของไทยน้ันก็ไมมีบทเรียน ไมรูจักการแกปญหาทางการเมืองกับฝายประชาชนอยางสันติวิธี และทําอยางอ่ืนไมเปนนอกจากวางแผนรัฐประหาร ดังนั้นจึงใชวิธีการท่ีเคยชินคือ ใชความรุนแรงในการสกัดกั้นและปราบปรามแลวสรางเง่ือนไขในการยึดอํานาจโดยกองทัพ ดังนั้นแผนการกอการรัฐประหารและเตรียมการท่ีจะสังหารนักศึกษานั้นมีการเตรียมการมาตั้งแตกอนอยางนอยต้ังแตกลางป พ.ศ. 2517 เม่ือเกิดกรณีพลับพลาไชย กรณีนี้ไดเห็นถึงความพรอมของอํานาจรัฐท่ีจะใชความรุนแรงตอฝายประชาชน หลังจากน้ันเร่ิมมีการจัดต้ังกองกําลังฝายขวา และกลุมอันธพาลการเมืองข้ึน แลวใชความรุนแรงสกัดกั้นการเคล่ือนไหวของขบวนการนักศึกษา และเกิดการสังหารฝายนักศึกษา นักการเมืองฝายสังคมนิยม และผูนําชาวนาเกือบตลอดเวลา นอกจากนี้เร่ิมมีการสรางสถานการณตางๆเพ่ือหาทางปราบปรามฝายนักศึกษาประชาชน รวมทั้งการปดลอมการประชาสัมพันธของขบวนการนักศึกษา แลวทําลายภาพลักษณของฝายนักศึกษา และแมกระท่ังมีการเช่ือมโยงหลายคร้ังวา ฝายนักศึกษามีเปาหมายจะทําลายสถาบันพระมหากษัตริยเพื่อใหประชาชนรังเกียจชิงชังขบวนการนักศึกษา หรืออยางนอยก็สับสน

76

Page 79: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ไมเขาใจสถานการณท่ีเกิดข้ึนเพื่อจะไดไมใหการสนับสนุนฝายนักศึกษา การกระทําเชนนี้มิไดเกิดข้ึนโดยบังเอิญ แตมีการวางแผนและกําหนดการลวงหนาท้ังส้ิน หลังจากท่ีไดมีการเตรียมการเรียบรอย ในป พ.ศ. 2519 เร่ิมมีการวางเงื่อนไขรัฐประหาร ในสวนการปราบปรามมีการเตรียมไวกอนเชนกันจึงมีการนําเอาจอมพล ประภาส และจอมพล ถนอม เขามาในประเทศตามลําดับเพื่อสรางสถานการณปราบปรามและกอรัฐประหาร และเง่ือนไขดังกลาวสมบูรณเม่ือเกิดกรณีใสรายปายสีนักศึกษา ในกรณีหม่ินพระบรมเดชานุภาพเจาฟาชายจึงปลุกระดมประชาชนข้ึนมาตอตานนักศึกษาเม่ือวันท่ี 5 ตุลาคม 2519 และใชความรุนแรงของอํานาจรัฐเขาปราบปรามนักศึกษาประชาชนเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 และกอการรัฐประหารฟนเผด็จการในเย็นวันเดียวกันนั้นเอง เหตุผลหลักในการกอการสังหารนักศึกษาประชาชนเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 นั้นคือ ขอหาท่ีวา ฝายนักศึกษานั้นหม่ินพระบรมเดชานุภาพ และนักศึกษานั้นเปนคอมมิวนิสต ตอบโตเจาหนาท่ีดวยอาวุธรายแรง ดังท่ีแถลงการณของคณะปฏิรูปการปกครองแผนดินช้ีแจงไวตอนหนึ่งวา “ไดมีกลุมบุคคลซ่ึงประกอบดวยนิสิตนักศึกษาบางกลุมทําการหม่ินพระบรมเดชานุภาพอันเปนการเหยียบย่ําจิตใจคนไทยท้ังชาติ โดยเจตจํานงทําลายสถาบันพระมหากษัตริย ซ่ึงเปนสวนหน่ึงของแผนการคอมมิวนิสตท่ีจะเขายึดครองประเทศไทย เม่ือเจาหนาท่ีตํารวจเขาจับกุมก็ตอสูดวยอาวุธอันรายแรงท่ีใชในราชการสงคราม โดยรวมมือกับผูกอการรายชาวเวียดนามตอสูเจาหนาท่ีตํารวจดวยประชาชน และเจาหนาท่ีตํารวจไดเสียชีวิตเปนจํานวนมาก” คํากลาวหาเร่ืองนักศึกษาใน ม.ธรรมศาสตร มีอาวุธรายแรง และใชอาวุธดังกลาวตอบโตเจาหนาท่ีทําใหเจาหนาท่ีและประชาชนเปนจํานวนมากเสียชีวิตเปนเร่ืองท่ีปราศจากหลักฐานโดยส้ินเชิง ความจริงนั้นฝายนักศึกษาใน ม.ธรรมศาสตร มีเพียงอาวุธปองกันตัวเพียงเล็กนอย และแทบมิไดทําใหเจาหนาท่ีเสียชีวิตแตประการใด สวนขอหาหม่ินพระบรมเดชานุภาพนั้นเปนขอหาใสรายปายสีอยางแทจริง เพราะในขณะนั้น ขบวนการนักศึกษากําลังอยูในระหวางรณรงคขับไลจอมพล ถนอม การกอการหม่ินพระบรมเดชานุภาพนั้นไมไดใหประโยชนใดๆเลยตอการดําเนินการกับจอมพล ถนอม หรือตอการการเรียกรองใหนําตัวฆาตกรท่ีฆาชางไฟฟา จ.นครปฐม มาลงโทษ จึงไมมีเหตุผลใดๆที่ขบวนการนักศึกษาจะทําเชนนั้น และยิ่งกวานั้นตลอดเวลาแหงการเคลื่อนไหวในรอบ 3 ปไมเคยมีแมแตคร้ังเดียวท่ีจะมีการเคล่ือนไหวหรือกระทําใดๆท่ีจะกระทบตอสถาบันพระมหากษัตริย เพียงแตพยายามเรียกรองความเปนธรรมแกประชาชนในวงการตางๆเทานั้น ดังนั้นขอหาหม่ินพระบรมเดชานุภาพจึงเปนเหลวไหลและเกินจริง แตกระนั้นสมมติวา มีสวนใดสวนหนึ่งของขบวนการนักศึกษามุงจะหม่ินพระบรมเดชานุภาพ ส่ิงท่ีควรทําก็เพียงแตจับกุมนักศึกษากลุมนั้นมาพิจารณาคดีในศาลเพียงเทานั้น การลอมปราบและเขนฆานักศึกษาท่ีกําลังชุมนุมตอตานจอมพล ถนอม จึงไมใชวิธีการดําเนินการสะสางคดีหม่ินพระบรมเดชานุภาพ และเปนเคร่ืองช้ีวา กลุมชนช้ันนําท่ีปราบ ปรามนักศึกษานั่นเองคือ ผูใช “กฎหมู” กระทําการเหนือกฎหมายอยางแทจริง สวนขอหาคอมมิวนิสตนั้นเปนเร่ืองใสรายปายสีเชนเดียวกัน จริงอยูวา ขบวนการนักศึกษาในป พ.ศ. 2519 นั้นมีความโนมนําท่ียอมรับแนวคิดแบบสังคมนิยม และมีสายจัดต้ังของพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย

77

Page 80: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

อยูในขบวนการ แตนั่นไมใชความชอบธรรมท่ีจะกอการเขนฆาสังหารนักศึกษาที่กําลังชุมนุมตอตานจอมพล ถนอม ภายใน ม.ธรรมศาสตร เพราะเปนคนละเร่ืองกัน อยางมากนักศึกษาท่ีอยูในสายจัดต้ังของพรรคมีเพียงบางสวนและเปนสวนนอย ขบวนการนักศึกษาทั้งขบวนยังมีความแตกตางจากพรรคคอมมิวนิสตอยางมาก ความจริงความคิดแบบสังคมนิยม หรือแมกระท่ังคอมมิวนิสตมิไดมีอะไรมากไปกวาอุดมการณชุดหนึ่งท่ีมุงจะสรางสังคมใหมซ่ึงเปนความใฝฝนของเยาวชนคนหนุมสาว การคิดหรือใฝฝนถึงสังคมอุดมการณจึงไมใชความผิดท่ีจะตองมาเขนฆากันกลางเมืองเชนนี้ หรือแมกระท่ังจะกวาดลางสายงานของพรรคคอมมิวนิสตในขบวนการนักศึกษาก็ไมอาจจะทําไดดวยการกวาดลางเชนนี้ ถาหากเห็นวา การเขารวมกับพรรคคอมมิวนิสตเปนการผิดกฎหมายก็ควรจะตองใชวิธีการหาหลักฐานมาจับกุมคนท่ีเขารวมกับพรรคคอมมิวนิสตมาข้ึนศาลพิจารณาคดีตามกฎหมาย การลอมฆานักศึกษาใน ม.ธรรมศาสตร ไมใชวิธีการอันถูกตอง เหตุการณ 6 ตุลาคมยังช้ีใหเห็นดวยวา แมเมืองไทยจะเปนเมืองพุทธศาสนา แตเปนเมืองพุทธท่ีไมมีรากฐานอหิงสาธรรม เพราะรัฐและกลไกรัฐในเหตุการณ 6 ตุลาคมมีความพรอมท่ีจะใชความรุนแรงปราบปรามประชาชนตลอดเวลา หากวา การเคล่ือนไหวท่ีเอียงไปทางซายของขบวนการนักศึกษากอใหเกิดปญหา ความขัดแยง ชนช้ันนําไทยสมัยนั้นไมเคยคิดท่ีจะคล่ีคลายปญหาความขัดแยงในสังคมดวยสันติวิธี โดยใชภูมิปญญาเปนเคร่ืองมือ ดังนั้นบทเรียนท่ีสังคมไทยจะตองรับจากเหตุการณ 6 ตุลาคมคือ ฝายรัฐและชนช้ันนําจะตองไมแกปญหากับฝายประชาชนดวยการใชความรุนแรงอีกในทุกระดับ นอกจากนั้นจะตองทําใหสังคมไทยเปดกวางทางความคิด โดยยอมรับวา ความคิดความเช่ือ การเทิดทูนบูชา การมีความใฝฝน หรืออุดมการณท่ีแตกตางกันจะตองไมเปนสาเหตุในการเขนฆาหรือการยอมรับการเขนฆา เนื่องจากความหฤโหดของเหตุการณ 6 ตุลาคมน้ันมิใชเพียงแตการเกิดเขนฆา สังหาร แขวนคอ และเผาท้ังเปนกลางเมืองเทานั้น แตยังอยูท่ีวา มีประชาชนจํานวนมากเห็นการเขนฆาเชนนี้แลวยังสามารถปรบมือ และรองเพลง “หนักแผนดิน” ตอหนาความตายของผูอ่ืนไดอยางหนาช่ืนตาบาน การท่ีสังคมไทยยอมรับความรุนแรงไดในระดับนี้เพียงเพราะเขาใจไปวา อีกฝายหน่ึงหม่ินพระบรมเดชานุภาพ และหากยังไมมีการสรุปบทเรียนใดๆ จากเหตุการณท่ีเกิดขึ้นเลยยอมเปนเร่ืองท่ีอันตรายอยางยิ่ง สุดทายนี้ผูเขียนยังใครขอย้ําอีกคร้ังวา สังคมไทยควรจะตองยอมรับวา ความใฝฝนในสังคมท่ีดีงามไมใชความผิด การที่ผูใดผูหนึ่งหรือกลุมใดกลุมหนึ่งมีอุดมการณแบบสังคมนิยม คอมมิวนิสต หรืออุดมการณอ่ืนใดท่ีแตกตางจากรัฐยอมเปนสิทธิเสรีภาพซ่ึงควรจะใหเกียรติและเคารพซ่ึงกันและกัน ความตายของนักศึกษาประชาชนเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นาจะทําใหสังคมไทยต่ืนข้ึนมาตระหนักความจริงในขอนี้ อีกท้ังสังคมไทยควรจะยกยองผูเสียสละเหลานี้เปน “วีรชน” ผูเปนแบบอยางของคนท่ีเสียสละเพื่ออุดมการณในการสรางสรรคสังคมท่ีดีงามอยางแทจริง สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

78

Page 81: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

บทท่ี 3 : สรุปขอมูลเก่ียวกับเหตุการณนองเลือด 6 ตุลาคม 2519 “อาช ญากรรมที่รัฐและผูมีอํานาจกระทําตอประชาชนในความขัดแยงทางการเมือง” บทความน้ีเปนการนําเสนอขอมูล และหลักฐานเกี่ยวกับเหตุการณเม่ือวันท่ี 4 - 6 ตุลาคม 2519 ท่ีนําไปสูการนองเลือดท่ี ม.ธรรมศาสตร เชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 โดยใชขอมูลปากคําและเอกสารที่ “คณะกรรมการรับขอมูลและสืบพยานเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519” ไดรับจากพยาน 62 คนในเดือนกันยายนและพฤศจิกายน 2543 มาเปรียบเทียบกับขอมูลในบทความ หนังสือวิชาการ และรายการวิทยุหรือโทรทัศนท่ีเกี่ยวกับเหตุการณเดียวกัน

การปราบปรามผูชุมนุมภายใน ม.ธรรมศาสตร โดยเจาหนาที่ของฝายรัฐไทย เชามืดวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เวลาประมาณ 5.00 น. มีบุคคลท่ีไมทราบช่ือยิงลูกระเบิด M 79 ลงกลางสนามฟุต บอลของ ม.ธรรมศาสตร ขณะท่ีมีนักศึกษาและประชาชนชุมนุมกันอยางสงบ ปรากฏวา มีท้ังผูเสียชีวิตและผูบาดเจ็บ การยิงลูกระเบิด M 79 จากหนามหาวิทยาลัยขามตึกหอประชุมใหญในคร้ังนั้นคงตองเปนการกระทําของ “ผูท่ีรูจักใชอาวุธประเภทนี้ เพราะตองเขาใจวิถีโคงของลูกระเบิด” ลูกระเบิด M 79 จะยิงจากปนยาวท่ีถือดวยมือ การมีอาวุธสงครามประเภทนี้ และความรูในการใชอาวุธชนิดนี้แสดงวา ผูท่ียิง ตองเปนเจาหนาท่ีของรัฐ หรืออยางนอยท่ีสุดตองเปนผูท่ีใกลชิดกับทหารหรือตํารวจ ผูท่ีอยูใน ม.ธรรมศาสตร ในคืนวันนั้นคาดวา การยิงลูกระเบิด M 79 เชามืดวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เปน “สัญญานเขาตีและเร่ิมปราบปรามของเจาหนาท่ีรัฐไทย” หลังจากนั้นไมนานกองกําลังตํารวจหลายหนวยงานภายใตการบังคับบัญชาของ พล.ต.ท. ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตํารวจใชอาวุธปนกลยาวชนิดมือถือ (เชน M 16), ปนกลชนิดหนัก HK 33, ปน M 79 และปนไรแรงสะทอน ระดมยิงเขามาในมหาวิทยาลัยจากศูนยบัญชาการตํารวจในพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ และจากดานหนาของ ม.ธรรมศาสตร การยิงระดมโดยอาวุธสงครามดังกลาวกระทําอยางไมเลือกหนา หลังจากท่ีระดมยิงเสร็จแลวก็มีกลุมคนไมแตงเคร่ืองแบบขับรถเมลพังประตูดานหนาของ ม.ธรรมศาสตร เพื่อเปดทางใหกองกําลังตางๆบุกเขาไปในมหาวิทยาลัย บางคนต้ังขอสังเกตวา ผูท่ีขับรถเมลพังประตูคงจะเปนพลทหารนอกเคร่ืองแบบท่ีเปนสมาชิกกลุมนวพล เทาท่ีเรามีขอมูลจากส่ิงพิมพ หนวยตํารวจท่ีมีสวนในการระดมยิง และบุกเขาไปใน ม.ธรรมศาสตร ในคร้ังนี้อยูภายใตคําส่ังของอธิบดีกรมตํารวจ พล.ต.อ. ศรีสุข มหินทรเทพ และอยูภายใตการบัญชาการโดยตรงของ พล.ต.ท. ชุมพล โลหะชาละ (รองอธิบดีกรมตํารวจ), พล.ต.ต. เสนห สิทธิพันธ, พล.ต.ต. กระจาง ผลเพิ่ม,

79

Page 82: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

พล.ต.ต. เสริม จารุรัตน, พล.ต.ต. วิเชียร แสงแกว และ พล.ต.ต. ยุทธนา วรรณโกวิท และผูท่ีออกคําส่ังใหเจาหนาท่ีตํารวจใชอาวุธปนไดตามความจําเปนคือ อธิบดีกรมตํารวจ พล.ต.อ. ศรีสุข หนวยตํารวจท่ีออกมาปฏิบัติการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนในเชาวันนั้นมีทั้งหมด 3 หนวยคือ 1. ตํารวจตระเวนชายแดน พลรมจากคายนเรศวรมหาราช อ.หัวหิน จ.ประจวบตีรีขันธ ภายใตการบังคับบัญชาของ พล.ต.ต. กระจาง และ พล.ต.ต. เสนห 2. ตํารวจกองปราบ ภายใตการบังคับบัญชาของ พล.ต.ต. วิเชียร 3. กองปฏิบัติการพิเศษตํารวจนครบาล ภายใตการบังคับบัญชาของ พล.ต.ต. เสริม พฤติกรรมของกองกําลังตํารวจในเชาวันนั้นไมใชพฤติกรรมของกองกําลังท่ีจะรักษาความสงบเรียบรอยแตอยางใด การปฏิบัติงานในครั้งนั้นเปนการปราบปรามอยางชัดเจน ยิ่งกวานั้นการปราบปรามของหนวยงานรัฐกระทําดวยความทารุณโหดรายเกินความจําเปน เชน มีการทํารายฆาฟนนักศึกษาที่กําลังวิ่งหนีมือเปลาหรือวายน้ําอยูในแมน้ําเจาพระยา หรือท่ียกมือยอมจํานนแลว หรือท่ีถูกจับมัดมือไปแลว หรือท่ีอยูในหอประชุมใหญของมหาวิทยาลัยซ่ึงถือวา ผิดหลักสากลในการทําสงครามของกองทหารมืออาชีพโดยส้ินเชิง นักศึกษาแพทยและพยาบาลที่เปนสมาชิกหนวยอาสาสมัคร “พยาบาลเพ่ือมวลชน” ถูกฆาตายในวันนั้นท้ังหมด 5 คน รวมถึงนักศึกษาพยาบาลหญิงคนหนึ่งท่ีถูกยิงตายในแมน้ําเจาพระยาขณะท่ีกําลังวายน้ําหนี สรุปแลวการฆาฟนนักศึกษาโดยเจาหนาท่ีของรัฐในเชาวันนั้นทําอยางเปนระบบดวยเจตนาที่จะใชความโหดรายทารุณ วิโรจน มุทิตานนท อดีตชางภาพจาก นสพ.ไทยรัฐ ท่ีอยูในเหตุการณมองวา เชาวันนั้น “ไมใชสงคราม แตคือการเขนฆาคนท่ีไรทางตอสู เปนการปดประตูตีแมว” นักศึกษาที่ถูกตอนลงมาจากตึกคณะบัญชี และตึกคณะวารสารศาสตร ท้ังชายและหญิงถูกส่ังใหถอดเส้ือนอนคว่ําบนสนามหญา คนท่ีบังเอิญเงยหนาข้ึนดูสถานการณจะถูกยิงท้ิงหรือทําราย กอนหนานั้นตํารวจ และกลุมพลเรือนท่ีมีอาวุธชนิดตางๆท่ีเขามาใน ม.ธรรมศาสตร (เชน ลูกเสือชาวบาน กลุมกระทิงแดง และกลุมนวพล) ตบตีและปลนทรัพยสินสวนตัวจากนักศึกษาดุจเสมือนกองโจรท่ีไรวินัย หลังจากนั้นกองกําลังตํารวจบางสวนต้ังปนกลหนักบนพื้นดิน และยิงปนเหลานั้นขามหัวนักศึกษาที่นอนอยูบนสนามหญาเขาไปในตึกบัญชีเพื่อกอใหเกิดความหวาดกลัว และปลอกกระสุนรอนๆจากปนกลดังกลาวตกลงบนหลังนักศึกษาท่ีไมใสเส้ือซ่ึงการกระทําดังกลาวของตํารวจนอกจากจะเปนการขมขูนักศึกษาแลวยังถือวา เปนการทําลายทรัพยสินของมหาวิทยาลัยดวย นอกจากนั้นเย็นวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 มีกลุมนวพลบางคนอวดกับเพื่อนวา ในเชาวันนั้นได “ลวงผูหญิงตามสบาย” ขณะ “ปฏิบัติการ” ใน ม.ธรรมศาสตร นักศึกษาและประชาชนที่บาดเจ็บจากการโจมตีของตํารวจตองรอการรักษาพยาบาลเปนเวลานาน บางคนท่ีบาดเจ็บสาหัสคิดวา ตนโชคดีท่ีไดข้ึนไปนอนบนรถพยาบาลท่ีมาจอดอยูท่ีสนามฟุตบอล แตแลวเขาก็ตองรอเปนช่ัวโมงกวาตํารวจจะใหรถพยาบาลออก โดยท่ีไมมียาหรือแมแตน้ําดื่มเพื่อชวยเหลือผูบาดเจ็บเหลานั้น พยาบาลท่ีอยูบนรถตองใชน้ําลายของตนเองชวยเหลือผูบาดเจ็บท่ีกระหายน้ําอยางหนัก สวนผูบาดเจ็บท่ีถูกจับจะตองรอการรักษาพยาบาลหลายวัน

80

Page 83: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

นักศึกษาและประชาชนท่ีถูกจับใน ม.ธรรมศาสตร กวา 3,000 คนไมไดถูกจับในลักษณะท่ีเปน “ผูตองหา” ในการปฏิบัติการณ “ปกติ” ของตํารวจในระบอบประชาธิปไตยแตอยางใด เกือบทุกคนจะถูกรุมซอมโดยนายตํารวจท่ีมาต้ังแถว “ตอนรับ” ขณะท่ีลงจากรถในสถานท่ีคุมขังไมวาจะเปนบางเขน จ.นครปฐม หรือ จ.ชลบุรี นอกจากน้ีแลวพยานที่ 62 ใหการวา ตํารวจตระเวนชายแดนเรียกผูถูกจับใน ม.ธรรมศาสตร วา เปน “เชลย” ซ่ึงแสดงใหเห็นวา ตํารวจมองวากําลังทําสงครามกับนักศึกษา การส่ังใหนักศึกษาถอดเส้ือเปนสวนหน่ึงของวิธีการในการทําลายศักดิ์ศรีของนักศึกษาที่ถูกมองวา เปน “เชลยศึก” และดูเหมือนจะกลายเปนประเพณีอันช่ัวรายของฝายเจาหนาท่ีรัฐไทยในการปราบปรามประชา ชน เนื่องจากมีการใชวิธีการนี้ในเหตุการณพฤษภาทมิฬ 2535 เพราะการถอดเส้ือไมมีความจําเปนแตอยางใดในกระบวนการจับกุม “ผูตองหา” ถาจะอางวา ตองถอดเส้ือเพื่อพิสูจนวา ไมไดซอนอาวุธก็ตองถามวา นักศึกษาสวนใหญมีอาวุธจริงหรือไม และในเม่ือสามารถซอนอาวุธในกางเกง การถอดเส้ือจะมีประโยชนอะไรนอกจากการทําลายความรูสึกของผูถูกจับ การทําลายศักดิ์ศรีและความรูสึกของ “ผูตองหา” กอนท่ีจะมีการนําข้ึนศาลเพ่ือพิสูจนความผิดเปนพฤติกรรมท่ีขัดกับมาตรฐานความยุติธรรมของประเทศอารยะสากล

การรวมมือกันระหวางเจาหนาที่ฝายรัฐกับ “กลุมฝายขวานอกระบบ” เชน ลูกเสือชาว บาน กลุมกระทิงแดง และกลุมนวพล กอนอ่ืนเราตองทําความเขาใจวา ลูกเสือชาวบาน กลุมกระทิงแดง และกลุมนวพล เปนตัวอยางของ “กลุมฝายขวานอกระบบราชการ” ท่ีมีแนวทางการเมืองประเภทท่ีอางแนวคิดรัก “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย” และท่ีสําคัญคือ เปนกลุมท่ีพรอมเสมอท่ีจะใชความรุนแรงนอกขอบเขตของกฎหมาย ดังนั้นเราตองตั้งคําถามวาทําไมเจาหนาท่ีของรัฐไทยจึงรวมมือกับกลุมเหลานี้ ? ลูกเสือชาวบานเปนขบวนการท่ีถูกต้ังข้ึนมาในป พ.ศ. 2514 โดย พล.ต.ท. สมควร หริกุล รองผูบัญชาการตํารวจตระเวนชายแดน “ถา พล.ต.ท. สมควร หริกุล เปนตัวหลักในการกอกําเนิดขบวนการ ในหลวงเปนบุคคลสําคัญท่ีสุดในการสนับสนุนการขยายขบวนการ และราชูปถัมภชวยเปดทางใหมีการสนับสนุนลูกเสือชาวบานจากภาครัฐและภาคเอกชน” “ภายหลังการพังทลายของพวกเผด็จการ (พ.ศ. 2516) ลูกเสือชาวบานจะเปล่ียนมาเปนเครื่องมืออยางเปดเผยของฝายนิยมเจา ทางราชวงศเปนผูใหการสนับสนุนทางการเมืองถึงลูกถึงคนอยางตอเนื่อง การไดรับราชูปถัมภทําใหการปราบปรามการประทวงของชาวนาและนักศึกษา ท้ังท่ีเปนการกระทําสวนตัวและเปนเร่ืองเฉพาะทองถ่ินเปนส่ิงท่ีถูกตองคือ เปนเร่ืองสําคัญตอการรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย”

81

Page 84: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

การตั้งลูกเสือชาวบานข้ึนโดย พล.ต.ต. สมควร คงไดรับอิทธิพลมาจากองคกรปราบปรามคอมมิวนิสตของสหรัฐท่ีเคยทด ลองใชรูปแบบนี้ในเวียดนาม แตท่ีสําคัญคือ การต้ังลูกเสือชาวบานในยุคแรกต้ังข้ึนมาเพื่อปลุกระดมคนในชนบทใหเกลียดชังคอมมิวนิสต เพราะในชวงนั้นพรรคคอม มิวนิสตแหงประเทศไทย (พ.ค.ท.) เร่ิมมีการปฏิบัติการในชนบทไทย ลูกเสือชาวบานเดิมเปนขบวนการของชาวชนบท แตในตนป พ.ศ. 2519 เร่ิมมีการสรางขบวนการนี้ในเมืองซ่ึงทําใหลูกเสือชาวบานกลายเปนเคร่ืองมือของนักการเมืองฝายขวาบางคนโดยตรง ในการเลือกตั้งป พ.ศ. 2518 - 2519 ลูกเสือชาวบานถูกนํามาใชในการหาเสียงใหนักการเมืองเหลานี้ และนาสังเกตวา เวลาท่ี ม.ร.ว. เสนีย ปรับคณะรัฐมนตรีในตนเดือนตุลาคม 2519 โดยนําเอา สมบุญ ศิริธร และ สมัคร สุนทรเวช ออกจากคณะรัฐมนตรี ลูกเสือชาวบานรวมพลังประทวงรัฐบาล และลอมทําเนียบจนมีคนเตือน รัฐมนตรี สุรินทร มาศดิตถ (ซ่ึงถูกมองวาเปน “ฝายซาย”) ใหระวังตัวเม่ือเดินทางออกจากทําเนียบรัฐบาล การรวมมือกันระหวางตํารวจตระเวนชายแดนกับลูกเสือชาวบานท่ี ม.ธรรมศาสตร เม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 คงจะเขาใจได ถาเราทราบท่ีมาของขบวนการน้ีวา ถูกจัดต้ังข้ึนโดยตํารวจตระเวนชายแดน และเม่ือวันท่ี 5 ตุลาคม 2519 พล.ต.ต. เจริญฤทธ์ิ จํารัสโรมรัน รองผูบัญชาการตํารวจตระเวนชายแดนออกคําส่ังกับสมาชิกลูกเสือชาวบานผานส่ือมวลชนฝายขวา เชน สถานีวิทยุยานเกราะ ใหลูกเสือชาวบานมาชุมนุมกันท่ีลานพระรูปทรงมาในกรุงเทพ โดยที่ตํารวจตระเวนชายแดนจัดรถเพ่ือลําเลียงคน ตอจากนั้นมีการนําลูกเสือชาวบานบางสวนมาท่ี ม.ธรรมศาสตร เพื่อรวมในเหตุการณนองเลือด

กลุมกระทิงแดง เปนอีกกลุมหนึ่งท่ีตั้งข้ึนมาโดยคนท่ีใกลชิดกับอํานาจรัฐไทย กลุมกระทิงแดงตั้งข้ึนมาโดย พ.อ. สุตสาย หัสดิน ซ่ึงอยูในกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และกลุมกระทิงแดงไดรับเงินจากงบประมาณลับของกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายในเพ่ือจูงใจใหกระทําความรุนแรงกับขบวนการนักศึกษาดวย กลุมกระทิงแดงนอกจากจะไดงบประมาณจากฝายรัฐแลวยังใชอุปกรณของตํารวจนครบาลในการปฏิบัติการดวย แกนนําของกลุมกระทิงแดงมีลูกชายของ พ.อ. สุตสาย ท่ีช่ือ สืบสาย หัสดิน และ สมศักดิ์ ขวัญมงคล กับ เฉลิมชัย มัจฉากลํ่า (ผูพันต๋ึง) และสมาชิกกลุมกระทิงแดงประกอบไปดวยนักศึกษาอาชีวะ

 

ราชวงศกบัลกูเสอืชาวบาน

82

Page 85: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

หรือทหารผานศึก นอกจากน้ีนักการเมืองในพรรคชาติไทย เชน พล.ต. ชาติชาย ชุณหะวัน ก็ใกลชิดกับกลุมกระทิงแดงดวย ในหนังสือ “เราไมลืม 6 ตุลาคม” วีราวรรณ ทัศนุตากุล อางถึง อรนุช หัสดิน (ภรรยาของ พ.อ. สุตสาย) จาก นสพ. มติชน (2 ตุลาคม 2522) วา เม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เจาหนาท่ีของรัฐขอยืมกลุมกระทิงแดงเพื่อเขาไปตีรวนท่ี ม.ธรรมศาสตร เพราะเปนลูกไมท่ีทําใหตํารวจเขาไปจัดการได พ.อ. สุตสาย เลาถึงบทบาทของตนวา เม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 กลุมกระทิงแดงไดเปรียบศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย เพราะถึงแมวา ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยจะมีมวลชน แตกลุมกระทิงแดงมีระเบิด และเขามีสวนในการทําระเบิดเอง และเก็บสะสมไวท่ีบานดวย

กลุมนวพล กลุมนอกระบบอีกกลุมหนึ่งท่ีมีบทบาทสําคัญในการใชความรุนแรงเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 คือ กลุมนวพล กลุมนี้ถูกจัดข้ึนโดยกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายในเชนเดียวกัน แตหัวหนาคือ วัฒนา เขียววิมล ซ่ึงเปนอาจารยสอนสงครามจิตวิทยาของกองอํานวยการรักษาความม่ันคงภายใน มีรายงานขาวจากนักเขียนสหรัฐวา วัฒนาเคยประกาศในป พ.ศ. 2518 วา จะพยายามสรางความแตกแยกในสังคมไทยเพ่ือเปนเหตุผลในการยึดอํานาจของฝายทหาร และในเดือนมกราคม 2519 วัฒนาเรียกรองใหมีการตั้งรัฐบาลใหมท่ีมีทหารหนุนหลังเพื่อรักษาความสงบเรียบรอยของบานเมือง กลุมนวพลจะพยายามขยายสมาชิกในหมูนายทุน ทหาร ภิกษุ และปญญาชน และจะเนนวิธีการแบบจิตวิทยามากกวากลุมกระทิงแดง เชน สมาชิกกลุมนวพลมีความสัมพันธใกลชิดกับ นสพ.ดาวสยาม ซ่ึงเปนส่ือท่ีคอยโจมตีขบวนการนักศึกษา และฝายท่ีเรียกรองประชาธิปไตยมาตลอด อยางไรก็ตามมีขอมูลบางสวนท่ีเสนอวา กลุมนวพลมีการแจกเงินและสะสมลูกระเบิด หรืออาวุธอ่ืนเพื่อใชความรุนแรงใน ม.ธรรมศาสตร ดวย และบางคนเช่ือวา ผูท่ีขับรถพังประตูเพื่อเปดทางใหมีการบุกมหาวิทยาลัยเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 อาจเปนสมาชิกกลุมนวพลท่ีเปนพลทหารนอกเคร่ืองแบบ ยิ่งกวานั้นมีบางคนท่ีตั้งขอสงสัยวา บุคคลที่กอทารุณกรรม เชน การแขวนคอ หรือเผาท้ังเปนเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 คงไดรับการฝกฝนมาจากหนวยทหาร เพราะคนธรรมดาไมนาจะกระทําทารุณไดถึงขนาดนี้ สมาชิกเดนๆของกลุมนวพลนอกจากวัฒนาแลวมี ธา นินทร กรัยวิเชียร, ทมยันตี (วิมล เจียมเจริญ) และกิตติวุฒโฑ นอกจาก 3 กลุมหลักท่ีกลาวถึงไปแลวมีกลุมฝายขวานอกระบบอีกหลายกลุม เชน กลุมคางคาวไทย กลุมกุหลาบดํา ชมรมแมบาน และกลุมพิทักษชาติไทย เปนตน ท้ังสามกลุม “นอกระบบ” ท่ีกลาวถึงไดรับการประสานงานทางส่ือวิทยุเม่ือวันท่ี 5 - 6 ตุลาคม 2519 โดยส่ือของรัฐเองโดยเฉพาะ สถานีวิทยุยานเกราะซ่ึงมี พ.ท. อุทาร สนิทวงศ เปนผูอํานวยการ จุดยืนของสถานีวิทยุแหงนี้คือ จะคอยตอตานและโจมตีขบวนการนิสิตนักศึกษา ขบวนการกรรมกร ขบวนการชาวนา ขบวนการคอมมิวนิสต และบุคคลท่ีมีความเห็นทางการเมืองท่ีตางออกไปจากมุมมองของฝายขวาทุกคนตัวอยางเชน

83

Page 86: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

สถานีวิทยุแหงนี้จะมองวา ผูท่ียึดถือแนวความคิดเสรีนิยมหรือสังคมนิยมประชาธิปไตยออนๆอยาง ปวย อ๊ึงภากรณ หรือ ชวน หลีกภัย “เปนคอมมิวนิสต” สถานีวิทยุยานเกราะทําหนาท่ีช้ีนําการกระทําของฝายขวาท่ีใชความรุนแรงมานาน เชน ดูเหมือนวา เปนหนวยบังคับบัญชาการเผา ม.ธรรมศาสตร โดยกลุมกระทิงแดงในป พ.ศ. 2518 และการโยนระเบิดเขาใสการเดินขบวนของนักศึกษาท่ีสยามสแควรในตนป พ.ศ. 2519 บายวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 หลังจากท่ีกลุมฝายขวาเสร็จส้ินการฆาฟนนักศึกษาท่ี ม.ธรรมศาสตร สถานีวิทยุยานเกราะส่ังการตอใหลูกเสือชาวบานเดินทางไปท่ีสนามบินดอนเมืองเพื่อทํารายปวย แตโชคดีท่ีเจาหนาท่ีสนามบินไมใหพวกนี้เขาไป อยางไรก็ตาม พ.ต.ท. สลาง บุนนาค เดินทางไปท่ีดอนเมืองตามคําส่ังของสถานีวิทยุยานเกราะ โดยท่ีไมไดรับคําส่ังอะไรเลยจากกรมตํารวจ และ พ.ต.ท. สลาง เขาไปดาวาปวยขณะท่ีพูดโทรศัพทอยู และตบหูโทรศัพทออกจากมือของปวย หลายปภายหลัง พ.ต.ท. สลาง พยายามแกตัวโดยพูดเท็จวา ไปท่ีดอนเมืองเพื่อปกปองปวย อีกคนหนึ่งท่ีปจจุบันพยายามอางวาไป “ปกปอง” ปวยท่ีดอนเมืองคือ วัฒนา เขียววิมล หัวหนากลุมนวพล ซ่ึงมาพรอมลูกนองอาจารยกลุมนวพล 2 คนจาก ม.ธรรมศาสตร คือ อ. ราตรี กับ อ. ปนัดดา ปจจุบันนี้วัฒนาดํารงตําแหนงเปนท่ีปรึกษาคณะกรรมาธิการการบริหาร และยุติธรรมของวุฒิสภาไทย การใชส่ือมวลชนของฝายรัฐเพื่อโจมตีนักศึกษา กรรมกร ชาวนา และอาจารยมหาวิทยาลัยเร่ิมในสมัยท่ี พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร หัวหนาพรรคชาติไทยคุมส่ือตางๆของรัฐ พรรคพวกท่ี พล.ต. ประมาณ เกณฑมาเพ่ืองานประเภทน้ีไดแก ดุสิต ศิริวรรณ, ประหยัด ศ.นาคะนาท, ธานินทร กรัยวิเชียร, อุทิศ นาคสวัสดิ์, ทมยันตี, อาคม มกรานนท และ พ.ท. อุทาร สนิทวงศ เปนตน เนื่องจากดานหนาของ ม.ธรรมศาสตร มีการชุมนุมกันของกลุมฝายขวานอกระบบเม่ือวันท่ี 5 ตุลาคม 2519 ทําใหมีการพยายามกอกวนผูท่ีอยูในมหาวิทยาลัยดวยวิธีการตางๆ เชน การยิงปนส้ันและโยนระเบิดเขาไปบาง หรือการพยายามเผาส่ิงของท่ีอยูติดร้ัวมหาวิทยาลัยต้ังแตยามดึกของวันนั้น อยางไรก็ตามหลังจากท่ีกองกําลังตํารวจเร่ิมระดมยิง และบุกเขาไปในมหาวิทยาลัยการกระทําของกลุมฝายขวาไมไดหยุดอยูแคการกอกวน หลายคนบุกเขาไปในมหาวิทยาลัยพรอมๆกับเจาหนาท่ีตํารวจเพื่อทํารายนักศึกษา หลายคนมีบทบาทโดยตรงในการกอทารุณกรรม เชน มีการแขวนคอ เผาท้ังเปน ทุบตีจนตาย ตอกไมท่ิมศพ ใชไมกระทําอนาจารกับศพผูหญิง หรือปสสาวะบนศพ ส่ิงเหลานี้เกิดข้ึนกลางทองสนามหลวงในยามสวาง หนาวัดพระแกวและวัดมหาธาตุ และสวนใหญเจาหนาท่ีของรัฐไทยไมไดพยายามหามปรามแตอยางใด ตรงกันขามในวันนั้นมีหลายกรณีท่ีเจาหนาท่ีตํารวจทํางานรวมกับกลุมฝายขวาเหลานี้ นอกจากนี้กิตติวุฒโฑ (กลุมนวพล) ภิกษุท่ีเคยประกาศวาการฆาคอมมิวนิสต “ไมบาป” ก็มาทํา “หนาท่ี” ในเชาวันนั้นโดยเดินกวาดตอนนักศึกษาท่ีล้ีภัยเขาไปในวัดมหาธาตุออกไปจากเขตวัดเพื่อใหตํารวจจับ พฤติกรรมของลูกเสือชาวบานหรือกลุมนอกระบบอ่ืนเชาวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ท่ี ม.ธรรมศาสตร อาจอธิบายไดจากขอมูลซ่ึง แคทเทอรีน โบวี่ ไดจากนักวิชาการไทยในออสเตรเลียคือ ลูกเสือชาวบานท่ี จ.นครปฐม เคยมีการฝก “แขวนคอนักศึกษาช่ัว” กอนเหตุการณ 6 ตุลาคมซ่ึง จ.นครปฐม คือ สถานท่ีท่ีเกิดเหตุการณแขวนคอพนักงานการไฟฟาสวนภูมิภาคท่ีกําลังติดโปสเตอรตอตานการกลับมาของเผด็จการจอมพล ถนอม ดวย

84

Page 87: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ภาพถายการทารุณกรรมท่ีเกิดข้ึนในเชาวันนั้นถูกถายทอดไปท่ัวโลก แตภายในประเทศไทยมีนักขาวคนหนึ่งท่ีมีความกลาหาญในการแสดงขอเท็จจริงคือ สรรพสิริ วิรยสิริ ผูอํานวยการสถานีโทรทัศน ชอง 9 ซ่ึงไปถายภาพเพื่อบอกความจริงใหกับสังคมไทย เขาเลาวา นักศึกษาท่ีกําลังถูกเขนฆาเปน “ลูกหลานเราท้ังนั้น ทําไดอยางไร ? คนไมมีสิทธ์ิจะผูกคอเขา” “การเกลียดชังท่ีเห็นวันนั้นมาจากการเพาะเชื้อของบางคน” “ผมไมมีปน ผมสูไดอยางเดียวโดยเอาความจริงมาเปดเผยใหคนรับรู นี่คือหนาท่ีของผม” หลังจากน้ันไมนานสรรพสิริถูกปลดออกจากตําแหนง คาดวาในเชาวันนั้นมีผูเสียชีวิตไมนอยกวา 46 คน ในจํานวนนี้มีผูท่ีเราทราบช่ือไมกี่คน แตช่ือของผูท่ีเรารูจักไดรับการบันทึกไวท่ีดานหลังของประติมานุสรณ 6 ตุลาคมท่ี ม.ธรรมศาสตร ทาพระจันทร เย็นวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ขณะท่ีพยานท่ี 51 เดินกลับบานตาม ถ.มหรรณพ หลังเสาชิงชา เขาเห็นกลุมนวพล และลูกเสือชาวบานกินเหลาเล้ียงฉลอง “ชัยชนะ” ของเขาใน ม.ธรรมศาสตร ในเชาวันนั้น

เหตุผลที่เจาหนาที่ฝายรัฐเสนอเพื่อสรางความชอบธรรมในการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนเชาวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ตามหลักการท่ียอมรับกันท่ัวไปในระบบประชาธิปไตยเจาหนาท่ีตํารวจมีหนาท่ีรักษาความสงบเรียบรอยของบานเมือง ถามีผูท่ีตํารวจสงสัยวา กระทําความผิดตามกฎหมาย เจาหนาท่ีจะพยายามจับกุม “ผูตองหา” มาสอบสวน และหลังจากที่สอบสวนเสร็จเรียบรอยแลว ถามีขอมูลเพียงพอวา มีการกระทําผิดจริงตํารวจจะตองสงเร่ืองใหศาลพิจารณา ในยามปกติเจาหนาท่ีของรัฐในระบบประชาธิปไตยควรจะพยายามหลีกเล่ียงการใชความรุนแรง และถาเกิดการใชอาวุธ ใชความรุนแรง หรือมีการปราบปรามอยางหนัก เจาหนาท่ีของรัฐและนักการเมืองท่ีมีหนาท่ีรับผิดชอบ หนวยงานดังกลาวจะตองออกมาช้ีแจงอธิบายเหตุผล “พิเศษ” ท่ีนําไปสูการใชความรุนแรงฆาฟนประชาชน ดังนั้นในเหตุการณ 6 ตุลาคมเราควรพิจารณาเหตุผล “พิเศษ” ท่ีฝายรัฐไทยเสนอเพื่อสรางความชอบธรรมในการปฏิบัติการดังกลาว เหตุผลท่ีฝายรัฐใชในการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 มีท้ังหมด 4 เหตุผลคือ 1. นักศึกษาเลนละครหม่ินเจาฟาชาย 2. นักศึกษาชุมนุม และสะสมอาวุธใน ม.ธรรมศาสตร เพื่อกอการกบฏ 3. มีการปะทะกันระหวางกลุม “ผูรักชาติ” กับกลุมนักศึกษา และตํารวจคุมสถานการณไมไดจึงตองบุกเขาไปใน ม.ธรรมศาสตร 4. นักศึกษาอาศัยการมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” หลังเหตุการณ 14 ตุลาคมเพ่ือฉวยโอกาสเผยแพรลัทธิคอมมิวนิสตโดยมีวัตถุประสงคท่ีจะทําลายชาติ ในการวิเคราะหเหตุการณท่ีเกิดข้ึนเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 วา มีความชอบธรรมมากนอยเพียงไร เราจําตองพิจารณาประเด็นส่ีประเด็นนี้

85

Page 88: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

1. นักศึกษาเลนละครหม่ินเจาฟาชายหรือไม ? บายและเย็นวันท่ี 5 ตุลาคม 2519 สถานีวิทยุยานเกราะประโคมขาววา นักศึกษาเลนละครแขวนคอท่ีลานโพธ์ิ ม.ธรรมศาสตร เม่ือวันท่ี 4 ตุลาคม 2519 เพื่อดูหม่ินเจาฟาชาย สถานีวิทยุแหงนี้อางอิงรูปถายในหนา นสพ.ดาวสยาม และ นสพ.บางกอกโพสต เพื่อเปนการยืนยันขาวดังกลาว นสพ.ดาวสยาม เองมีการพิมพรูปภาพการเลนละครแขวนคอของนักศึกษาเปนใบปลิวพิเศษแจกประชาชนในชวงนั้น นอกจากนี้นายตํารวจหลายนายท่ีเปนพยานโจทก (ฝายรัฐ) ในคดี 6 ตุลาคมใหปากคําในศาลวา ตนเองทราบขาว “การหม่ินเจาฟาชายของนักศึกษา” หลังจากท่ีไดดูภาพใน นสพ.บางกอกโพสต เย็นวันท่ี 5 ตุลาคม 2519 สถานีวิทยุยานเกราะและสถานีวิทยุอ่ืนในเครือขายเดียวกันประโคมขาวอยางตอเนื่องเร่ืองการเลนละครของนักศึกษา และมีการส่ังการผานสถานีวิทยุแหงนี้ใหลูกเสือชาวบาน และกลุมนวพลมาชุมนุมกันท่ีลานพระรูปทรงมาเพื่อจัดการกับนักศึกษา ยิ่งกวานั้นมีการเรียกรองใหผูรักชาติ “ฆามัน ! ฆามัน ! (นักศึกษา)”

นักศึกษาเลนละครดูหม่ินหรือไม ? การเลนละครของนักศึกษาเม่ือวันท่ี 4 ตุลาคม 2519 ท่ีลานโพธ์ิ ม.ธรรมศาสตร เปนการเลนละครที่เลาเร่ืองเหตุการณท่ีพนักงานการไฟฟาสวนภูมิภาค 2 คนถูกฆาตาย และแขวนคอท่ี จ.นครปฐม ขณะท่ีเขากําลังติดปายโปสเตอรคัดคานการกลับมาของอดีตเผด็จการจอมพล ถนอม เปาหมายในการเลนละครครั้งนั้นเพื่อท่ีจะเตือนใจนักศึกษาป 1 ท่ีกําลังจะเขาสอบใหเขามีความคิดเพื่อสังคมมากข้ึน และมารวมการประทวงตอตานเผด็จการกับนักศึกษาอ่ืนๆโดยท่ีไมเขาหองสอบ การเลนละครคร้ังนั้นไมมีเจตนาท่ีจะดูหม่ินเจาฟาชายแตอยางใดท้ังส้ิน และในการเลนละครคร้ังนั้นมีผูดูละครมากพอ สมควรซ่ึงรวมถึงผูท่ีไมใชนักศึกษาดวย เชน อาจารยใน ม.

ธรรมศาสตร (รวมถึงอาจารยท่ีเปนสมาชิกกลุมนวพล) ตํารวจจราจร ตํารวจสันติบาล และนักขาวจากส่ือมวลชนตางๆ ปรากฏวา ไมมีใครท่ีอยูในเหตุการณในวันนั้นท่ีมองวา เปนการเลนละครดูหม่ินแตอยางใดเลย นอกจากน้ี ม.ร.ว. เสนีย ก็ไมเช่ือวามีการเลนละครทํานองนั้นดวย และ พล.ต.ท. คงเดช ชูศรี สรุปวา มีการสรางเร่ืองแลวเอามาอางเพื่อกระทําการยึดอํานาจ เจาหนาท่ีตํารวจของรัฐไทยท่ีไดรับการแตงตั้งใหเปนประธานคณะกรรมการสอบสวนคดีเร่ืองนี้โดยตรงมีขอสรุป “ภายในไมกี่วัน” วา ไมมีขอมูลเพียงพอท่ีจะดําเนินคดีกับใคร

 

การแขวนคอลอเลยีนของนกัศกึษา

86

Page 89: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ขอหาวา อ. ลาวัณย แตงหนาผูเลนละคร ไมมีความจริงแตอยางใด ในขณะท่ีมีการประโคมขาวเท็จวา นักศึกษาเลนละครดูหม่ินเจาฟาชาย มีการเสนอผานสถานีวิทยุยานเกราะวา ผูท่ีเปนตัวแสดงการแขวนคอไดรับการแตงหนาใหเหมือนเจาฟาชาย และการแตงหนากระทําโดย อ. ลาวัณย อุปอินทร ซ่ึงขณะน้ันเปนอาจารยประจําท่ี ม.ศิลปากร และเปนสมาชิก “แนวรวมศิลปนแหงประเทศไทย” ขอกลาวหานี้ไมมีขอเท็จจริงแตอยางใด ในประการแรกลาวัณยไมไดมีสวนในการแตงหนาหรือจัดละครในวันนั้น ประการท่ี 2 ลาวัณยไมเคยพบนักศึกษาผูที่แสดงการแขวนคอ 2 คนกอนท่ีจะเกิดเหตุการณ 6 ตุลาคม และประการที่ 3 การแตงหนาผูท่ีเลนละครแขวนคอในวันนั้นแตงหนาเพื่อใหดูเหมือนคนท่ีถูกซอมจนตายแลวนํามาแขวนคอตามเหตุการณท่ีเกิดข้ึนท่ี จ.นครปฐม ความจริงเกี่ยวกับเร่ืองนี้ยืนยันไดจากการท่ีหนวยงานตํารวจไมมีการดําเนินคดีในศาลกับลาวัณยแตอยางใด ความเชื่อผิดเร่ือง “การแตงฟลม” โดย นสพ.ดาวสยาม และ นสพ.บางกอกโพสต หลายคนท่ีเกี่ยวของกับเหตุการณ 6 ตุลาคมมีความเช่ือวา นสพ.ดาวสยาม และ นสพ.บางกอกโพสต มีการนําฟลมรูปถายจากการเลนละครไปแตงใหผูเลนละครที่ช่ือ อภินันท บัวหภักดี มีหนาคลายเจาฟาชายเพ่ือใหเกิดเร่ือง แตการสํารวจรูปถายจากส่ือมวลชน 4 แหลง หลายๆรูปซ่ึงรวมถึงภาพถายท่ีนํามาตีพิมพโดย นสพ.ดาวสยาม และ นสพ.บางกอกโพสต ท่ีรวบรวมไวในแฟมของกรมตํารวจ (พล.ต.ท. จํารัส จันทรขจร) พิสูจนวา ไมมีการแตงฟลมแตอยางใด เพราะใบหนาของอภินันทมีลักษณะคลายกันในทุกรูป และคลายภาพถายหนาตรงของอภินันทในยุคนั้นท่ีถายไวในวันอ่ืนๆดวย ดังนั้นเราจําตองสรุปวา ไมมีการแตงฟลมโดยส่ือมวลชนแตอยางใด มีแตการประโคมขาวเท็จเกี่ยวกับการเลนละครของนักศึกษาโดย นสพ.ดาวสยาม และสถานีวิทยุยานเกราะ และการประโคมขาวเท็จทําไดสําเร็จ เพราะกลุมฝายขวาตางๆตองการเช่ือคํากลาวหาตางๆท่ีปายรายปายสีนักศึกษาอยูแลว และโดยบังเอิญถาไมสํารวจรายละเอียดใหดี ใบหนาของอภินันทก็มีลักษณะบางประการที่อาจคลายคลึงกับเจาฟาชาย นสพ.บางกอกโพสต ไมไดแตงภาพ และไมไดประโคมขาวเท็จวา นักศึกษาเลนละครหม่ินเจาฟาชายอยางท่ีหลายๆคนเคยเขาใจ ทําไมคนเดือนตุลาไมนอยถึงเช่ือและเขาใจผิดวา นสพ.บางกอกโพสต มีสวนในการปายรายนักศึกษา ? อาจมีเหตุผล 3 ประการคือ 1. กลุมฝายขวาอางถึงรูปถายใน นสพ.บางกอกโพสต ตลอดเพ่ือกอความรุนแรง ใน นสพ.ไทยรัฐ มีภาพกลุมฝายขวายืนชู นสพ.บางกอกโพสต ท่ีหนา ม.ธรรมศาสตร ดวยอาการโกรธแคน 2. นสพ.บางกอกโพสต เปนหนังสือพิมพฝายขวาท่ีไมเห็นดวยกับนักศึกษา และเปนหนังสือพิมพท่ีไมถูกปดหลังการทํารัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519

87

Page 90: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

3. นสพ.บางกอกโพสต ไมไดใชความพยายามในการออกมาแกขาวเท็จเกี่ยวกับการเลนละครของนักศึกษา ท้ังๆท่ีมีการอางถึงภาพถายใน นสพ.บางกอกโพสต ท่ี “พิสูจน” วา นักศึกษาหม่ินเจาฟาชาย โดยคนท่ีใชความรุนแรงกับนักศึกษาเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 และโดยตํารวจท่ีเปนพยานโจทกในคดี 6 ตุลาคมภายหลัง อาจมีบางคนสงสัยวา เปนไปไดหรือไมที่นักศึกษาจงใจเลือกอภินันทมาเลนละคร เพราะใบหนาเขาคลายเจาฟาชาย ? คําตอบคือเปนไปไมไดเนื่องจาก 1. ละครแขวนคอท่ีเลนวันนั้นมีสาระสําคัญเกี่ยวกับพนักงานการไฟฟาท่ีถูกแขวนคอเทานั้น 2. ในการเลนละครแขวนคอมีผูแสดง 2 คนท่ีตองสลับกันเลน เพราะการถูกแขวนทําใหเจ็บหนาอก ผูท่ีเลนละครอีกคนหนึ่งคือ วิโรจน ตั้งวาณิชย ซ่ึงมีใบหนาแตกตางจากเจาฟาชายโดยส้ินเชิง 3. ผู ท่ี เลนละครแขวนคอ 2 คนถูกคัด เลือกมาโดยไมมีการวางแผนลวงหนาดวย เง่ือนไขท่ีเขามีน้ําหนักเบาและตัวเล็กท่ีสุดในหมูผูเลนละครซ่ึงเหมาะกับการนํามาถูกแขวน 4. อภินันทเองไมไดตั้งใจจะเลนละครในวันนั้น เขาไมไดเปนสมาชิกของคณะผูเลนละครดวย วันนั้นเขาเขาไปใน ม.ธรรม ศาสตร เพ่ือนัดพบเพื่อนไปดูภาพยนตร แตเนื่องจากเพื่อนไมมาตามนัด อภินันทจึงเดินไปหาเพื่อนคนอ่ืนท่ีกําลังเตรียมเลนละครอยู พล.ต.ท. ชุมพล และผูบังคับบัญชาหนวยตํารวจตางๆท่ี ม.ธรรมศาสตร คืนวันท่ี 5 และเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 กลาววา ทางตํารวจตองการเขาไปเจรจาอยางสันติกับนักศึกษาเพ่ือนําผูแสดงละครออกมาสอบสวน และเม่ือทําไมไดจึงจําเปนตองบุกเขาไปใน ม.ธรรมศาสตร แตคําอธิบายน้ีมีจุดออน 2 ประการคือ 1. ทางตํารวจสามารถโทรศัพทเขาไปท่ีตึกสภาอาจารย ม.ธรรมศาสตร (อ.ม.ธ.) เพื่อคุยกับแกนนํานักศึกษาได และในอดีตตํารวจเคยโทรศัพทคุยกับผูนํานักศึกษาเปนประจํา แตคืนวันท่ี 5 และเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ตํารวจไมเลือกท่ีจะโทรศัพทเขาไป ยิ่งกวานั้นเม่ือสถานการณแยลง และนักศึกษาพยายามโทรศัพทออกไปขอความชวยเหลือ ปรากฏวา สายโทรศัพทถูกเจาหนาท่ีตัดขาด 2. พล.ต.ท. ชุมพล ระบุวา ตนเองคุยกับนายกรัฐมนตรีเม่ือเวลา 1.00 น. ของวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 และหลังจากนั้นไดกําหนดนโยบายวา จะตองหาทางใหผูนํานักศึกษาออกมาช้ีแจงและตอบคําถามใหได และถาไมออกมาภายในเวลา 7.00 น. จะตองสงตํารวจเขาไปเจรจาใน ม.ธรรมศาสตร แตทางฝายนักศึกษาระบุวาตั้งแตคืนวันท่ี 5 ตุลาคม 2519 มีการตกลงกันกับนายกรัฐมนตรีวา จะสงผูแทนนักศึกษาและผูแสดงละครออกไปช้ีแจงกับนายกรัฐมนตรีเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 อยูแลว ดังนั้นรองอธิบดีกรมตํารวจนาจะมีขอมูลนี้

 

การสลายการชมุนมุ เมือ่วนัที ่6 ตลุาคม 2519

88

Page 91: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

สรุป : นักศึกษาไมไดเลนละครดูหม่ินเจาฟาชายแตอยางใด และเจาหนาท่ีตํารวจสามารถสืบขอเท็จจริงเร่ืองนี้ไดงาย ดังนั้นการปราบปรามนักศึกษาดวยอาวุธสงคราม โดยยกขอกลาวหานี้มาใชไมมีความชอบธรรมแตอยางใดท้ังส้ิน 2. นักศึกษาชุมนุมสะสมอาวุธใน ม.ธรรมศาสตร เพื่อกอการกบฏหรือไม ? หลังจากที่มีการปราบปรามนักศึกษาเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 มีการประโคมขาววาภายใน ม.ธรรมศาสตร มีการสะสมอาวุธ มีการขุดอุโมงค มีการสรางบังเกอร และมีทหารเวียดนามเหนือเขาไปสมทบ ขอกลาวหาวา มี “ญวน” ในหมูนักศึกษา และผูท่ีถูกเผาคือ “ญวน” ถูกเสนอโดยรองอธิบดีกรมตํารวจ พล.ต.ท. ชุมพล หลังเหตุการณเพียง 3 วัน และโดยรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย สมัคร หลังเหตุการณ 8 เดือน อยางไรก็ตามไมมีขอมูลอะไรที่สามารถนํามาสนับสนุนขอกลาวหานี้ไดเลย กอนหนาท่ีจะเกิดเหตุการณนองเลือด สมัครซ่ึงเปนนักการเมืองฝายขวาท่ีสนับสนุนสถานีวิทยุยานเกราะ และกลุมฝายขวา เชน ลูกเสือชาวบาน เคยพูดในฐานะรัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงมหาดไทยวา มีพวกฝายซายขนอาวุธมาเพ่ือกอการจลาจลในกรุงเทพ ทางเจาหนาท่ีตํารวจมีความเห็นขัดแยงกันเองในเร่ืองอาวุธของนักศึกษา พล.ต.ท. ชุมพล กลาววา เชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 นักศึกษาใชปนกลยิงออกมาจากมหาวิทยาลัยในขณะท่ีตํารวจ “มีแตปนพก และปนคารไบน” แตในขณะเดียวกัน พล.ต.ท. ชุมพล สารภาพวา เวลาเขาไปใน ม.ธรรมศาสตร พบแคปนพก 3 กระบอกและปนลูกซองยาว 1 กระบอก สวน พล.ต.ต. กระจาง ซ่ึงสุรินทรระบุวา เปนผูคุมกําลังตํารวจตระเวนชายแดนท่ีเขาไปใน ม.ธรรมศาสตร แจงตอคณะรัฐมนตรีสายวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 วา นักศึกษาไมมีอาวุธสงคราม เพราะไมมีปญญาท่ีจะหาอาวุธประเภทนั้นมาใช และผูท่ีใชอาวุธสงครามในวันนั้นมีแตฝายตํารวจเองเทานั้น พ.ต.ท. สลาง เสนอวา หลังจากการปราบปรามนักศึกษาคนพบอาวุธ “มากมาย” พ.ต.ท. สลาง ดูเหมือนจะสับ สนวา เขาไปใน ม.ธรรมศาสตร เพราะเหตุใด ? เพราะในสวนหน่ึงของคําใหการในศาลบอกวา เขาไปเพื่อ “เจรจากับนักศึกษา” แตในอีกสวนหนึ่งพูดวา เพื่อ “ปราบปรามกบฏ” ในบทความของ พ.ต.ต. มนัส สัตยารักษ อธิบายวา ตํารวจบางคนท่ีอยูรอบนอกมหาวิทยาลัยใชปนสวนตัวยิงเขาไปเพื่อสรางความพอใจกับตนเองเทานั้น และในความชุลมุนของเหตุการณมนัสก็เกือบถูกยิงจากฝายตํารวจเอง จากขอมูลท่ีเสนอตอศาลในคดี 6 ตุลาคมทางกรมตํารวจรายงานวา มีตํารวจถึงแกกรรมท่ีโรงพยาบาลตํารวจเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เวลา 8.00 น. 1 ราย และอีก 1 รายถึงแกกรรมท่ีโรงพยาบาลตํารวจเม่ือวันท่ี 7 ตุลา คม 2519 เวลา 10.15 น. ตํารวจ 2 นายน้ีตาย เพราะถูกยิงท่ีสมอง แตไมมีขอมูลวา ถูกยิงขณะท่ีปฏิบัติการท่ีไหน เม่ือโฆษกของรัฐบาลนํานักขาวตางชาติไปดู ม.ธรรมศาสตร 7 วันหลังเหตุการณ เขาตองยอมรับวา หาอุโมงคลับ “ไมพบ” และ “ไมรูวาบังเกอรหายไปไหน” ตอจากนั้นเม่ือนักขาวถามวา “ใครเร่ิมยิงกอน นักศึก

89

Page 92: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ษาหรือตํารวจ ?” โฆษกตอบวา “ใครยิงกอนไมใชประเด็น” และเม่ือนักขาวถามตอไปวา “นักศึกษามีอาวุธมากนอยแคไหน ? ขอดูไดไหม ? และถานักศึกษามีอาวุธทําไมนักศึกษาตายมากกวาตํารวจ ?” โฆษกตอบวา “ไมทราบ” อาวุธของนักศึกษา เชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 มีนักศึกษากลุมเดียวเทานั้นท่ีมีอาวุธ กลุมนั้นคือ กลุมท่ีมีหนาท่ีรักษาความปลอดภัย อาวุธท่ีเขามีอยูในมือสวนใหญเปนอาวุธประเภทปนส้ันท่ีใชปองกันตัว การถืออาวุธในยุคนั้นเพื่อการปองกันตัวเปนส่ิงจําเปน เพราะมีการลอบสังหารผูนํานักศึกษา ผูนํากรรมกร และนักการเมือง เชน บุญสนอง บุณโยทยาน หรือแมแตผูนําชาวนา 44 คนในภาคเหนือก็ถูกยิงตาย สวน ปวย อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร ในยุคน้ันก็ตองระวังตัว และมีคนแนะนําใหถือปน แตปวยปฏิเสธ นอกจากนี้เวลามีการชุมนุมของนักศึกษาและฝายประชาชนมักจะมีการกอกวนลอบยิง และขวางระเบิดโดยกลุมกระทิงแดงเปนประจํา เชน กรณีการเดินขบวนตอตานฐานทัพสหรัฐท่ีสยามสแควรในเดือนมีนาคม 2518 ท่ีมีการขวางระเบิดเขาใสขบวนจนผูเสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บหลายราย แตทุกคร้ังท่ีเกิดเหตุการณแบบนี้ทางเจาหนาท่ีตํารวจไมเคยจับกุมผูรายไดเลย ขณะที่ พล.ต. ประมาณ นักการเมืองท่ีเปนรัฐมนตรีและผูนําพรรคชาติไทยกลับอางวา การสังหารผูนําชาวนาในภาคเหนือ “ไมใชเร่ืองเกี่ยวของกับการเมือง” ดังนั้นการถืออาวุธของนักศึกษาใน ม.ธรรมศาสตร เม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เปนการถืออาวุธประเภทที่ใชปองกันตัวเปนหลัก ไมใชอาวุธอัตโนมัติหรืออาวุธสงครามแตอยางใด อาวุธท่ีนักศึกษามีใน ม.ธรรมศาสตร เปนปนส้ันไมเกิน 30 กระบอก ปนลูกซองยาว 2 กระบอก และระเบิดมือประมาณ 10 ลูกซ่ึงท้ังหมดนี้เปนอาวุธท่ีเหมาะสมกับการรับมือกับอันธพาลขางถนน แตไมเหมาะกับการกอกบฏหรือการสูรบกับหนวยงานของรัฐแตอยางใดตัวอยางเชน เวลามีการยิงเพื่อยับยั้งผูท่ีกําลังบุกเขามาใน ม.ธรรมศาสตร ผูท่ีใชปนคนหนึ่งกลาววา ลูกกระสุนไปไมถึงเปา เพราะตกลงกลางสนามฟุตบอล เปนตน นอกจากนี้นักศึกษาหนวยรักษาความปลอดภัยบางคนอาจมีปน แตไมคอยอยากใช คนหน่ึงรายงานวา ตอนรักษาการคืนวันท่ี 5 ตุลาคม 2519 เขาเอาปนไปซอนไวในตนไม เพราะไมกลาใช สรุปแลวนักศึกษาที่ใชปนในเชาวันนั้นเพื่อหามไมใหกลุมกระทิงแดงปนเขามาใน ม.ธรรมศาสตร ในประการแรก และเม่ือตํารวจระดมยิงและบุกเขามาเขาพยายามยิงปนเพื่อถวงเวลาใหนักศึกษา สวนใหญหนีความตายไปออกทางประตูอีกดานของมหาวิทยาลัยซ่ึงตองนับวาหนวยรักษาความปลอดภัยกลุมนี้สละชีวิตเพื่อปกปองผูมาชุมนุม นอกจากนี้ไมมีขอมูลอะไรท้ังส้ินท่ีบงช้ีวา หนวยรักษาความปลอดภัยสามารถยิงตํารวจได หลายคนเช่ือวา ตํารวจท่ีบาดเจ็บหรือเสียชีวิตในวันนั้นถูกยิงจากพวกตํารวจกันเอง เนื่องจากความสับสนของเหตุการณ สรุป : ถึงแมวานักศึกษาบางคนจะมีอาวุธ แตก็เปนอาวุธขนาดเล็กท่ีไรประสิทธิภาพในการสูรบ ไมมีขอมูลอะไรท้ังส้ินท่ีสนับสนุนขอกลาวหาวา นักศึกษาสะสมอาวุธเพื่อกอการกบฏ

90

Page 93: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

3. มีการปะทะกันระหวางกลุม “ผูรักชาติ” กับกลุมนักศึกษาและตํารวจคุมสถานการณไมได ในระบอบประชาธิปไตยคนสวนใหญจะมองวา เจาหนาท่ีตํารวจควรมีจุดยืนเปนกลาง ไมเขาขางพลเมืองฝายใดฝายหน่ึง ไมเลือกเขาขางกลุมคนท่ีมีความเชื่อทางการเมืองประเภทหนึ่ง แตถามีการกระทําท่ีผิดกฎหมายเจาหนาท่ีตํารวจจะตองเขาไประงับการกระทําดังกลาว ในกรณีท่ีมีการปะทะกันระหวางพลเมือง 2 กลุมคือ มีการใชความรุนแรงท่ีผิดกฎหมายจากท้ังสองฝาย เจาหนาท่ีตํารวจมีหนาท่ีเขาไปแยกคูกรณีท่ีปะทะกันโดยหามปรามและปลดอาวุธท้ังสองฝาย ในรายการวิทยุ 2 วันหลังเหตุการณ 6 ตุลาคม พล.ต.ท. ชุมพล และนายตํารวจซ่ึงมียศสูงสุดท่ีประจําการในเหตุการณแจงวา ตํารวจจําเปนท่ีจะตองใชอาวุธบุกเขาไปใน ม.ธรรมศาสตร เพราะ “ประชาชนบุกเขาไปแลว” และตํารวจหามไมได พล.ต.ท. ชุมพล ช้ีแจงวา 1. ตํารวจคุมสถานการณไมได 2. ตํารวจจําเปนตองใชอาวุธบุกเขาไปใน ม.ธรรมศาสตร เพื่อปกปองประชาชนท่ีบุกเขาไปใน ม.ธรรม ศาสตร ในลักษณะ “มือเปลา” ไมถืออาวุธ ในเม่ือมีนักศึกษายิงปนออกมาขางนอก 3. ตํารวจจําเปนตองบุกเขาไปเพื่อคุมครองมหาวิทยาลัยซ่ึงเปนสถานท่ีราชการ ประเด็นชี้แจงของ พล.ต.ท. ชุมพล มีน้ําหนักมากนอยแคไหน ? พลเมือง 2 กลุมท่ีมีการ “ปะทะกัน” ตั้งแตคืนวันท่ี 5 ตุลาคม 2519 ท่ี ม.ธรรมศาสตร คือ 1. กลุมฝายขวาภายนอกรั้วของมหาวิทยาลัยซ่ึงประกอบไปดวยลูกเสือชาวบาน กลุมกระทิงแดง และกลุมนวพล 2. นักศึกษาประชาชนท่ีชุมนุมกันภายในร้ัวมหาวิทยาลัย การ “ปะทะกัน” ระหวาง 2 ฝายนี้มีลักษณะอยางไร ? ตั้งแตเวลาประมาณ 0.00 น. กลุมกระทิงแดงกระทําการ “กอกวน” การชุมนุมของนักศึกษาในลักษณะท่ีเคยกระทําในอดีตหลายคร้ังคือ ยิงปนพกเขามาเปนบางคร้ังบางคราว โยนระเบิดพลาสติกเพื่อกอใหเกิดความกลัว และพยายามปนร้ัวมหาวิทยาลัยเขามาเผาบอรดหรือปอมยามที่อยูใกลๆร้ัว นอกจากนี้พยายามสงคนเขาไปทางประตูในตอนหัวคํ่าเพื่อกอความวุนวาย สวนฝายหนวยรักษาความปลอดภัยของนักศึกษาพยายามกันไมใหการ “กอกวน” ดังกลาวมีผลกระทบกับการชุมนุมภายใน โดยตรวจเช็คคนท่ีเดินเขามาทางประตูใน ชวงหัวคํ่า และในชวงดึกๆจะยิงปนพกออกไปขางนอก ถามีคนพยายามปนร้ัวเพื่อเตือนไมใหเขามา นี่คือ สภาพการ “ปะทะกัน” ท่ีเกิดขึ้นคืนวันท่ี 5 ตุลาคม 2519

91

Page 94: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

เราทราบจากจํานวนนักศึกษา และประชาชนท่ีถูกจับเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 วา ภายในมหาวิทยาลัยมีผูคนประมาณ 3,000 - 4,000 คน กลุมฝายขวาภายนอกรั้วมหาวิทยาลัยมีจํานวนเทาไร ? พล.ต.ท. ชุมพล ระบุวา พลเรือนท่ีบุกเขาไปใน ม.ธรรมศาสตร เชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 มีเปน “พันๆ” แต พล.ต.ต. ประสาท ชูสาร พยานโจทกของฝายรัฐในคดี 6 ตุลาคมใหการในศาลวา มีประชาชนท่ีหนา ม.ธรรมศาสตร เชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ประมาณ 70 - 80 คน และพยานท่ีมาใหการกับคณะกรรมการรับขอมูลและสืบพยานเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519 ยืนยันวา มีกลุมฝายขวาชุมนุมอยูนอกร้ัวนอยกวาจํานวนท่ี พล.ต.ท. ชุมพล ระบุ เชน อดีตนักศึกษาซ่ึงอยูใน “หองขาว” ตึกสภาอาจารย ม.ธรรมศาสตรกลาววา เวลา 1.00 - 2.00 น. มีแค 50 - 60 คน และพยานท่ี 18 ใหขอมูลปากคําวา ผูไมแตงเคร่ืองแบบท่ีบุกเขามาในมหาวิทยาลัยในชวงเชามีจํานวนเปน “รอย” เทานั้น นอกจากนี้ภาพถายจากสถานีโทรทัศนของนักขาวไทย และตางประ เทศแสดงใหเห็นวา จํานวนผูชุมนุมภายนอก ม.ธรรมศาสตร มิไดมีมากจนถึงกับหนวยตํารวจไมอาจคุมสถานการณได และยิ่งกวานั้นตํารวจที่มาประจําการท่ีมหาวิทยาลัยมาจากหนวยงาน 3 หนวยท่ีมีการฝกฝนในการปราบจลาจล และการตอสูกับพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทยโดยตรง ทุกหนวยมาพรอมอาวุธสงคราม ดังนั้นความเห็นของพยานท่ี 56 ซ่ึงเปนนักขาวชาวไทยท่ีอยูในเหตุการณสรุปวา “ขออางวาเจาหนาท่ีของรัฐคุมสถานการณไมไดเปนขออางท่ีเหลวไหล” หลักฐานอีก 2 ช้ินท่ีปฏิเสธขออางวา ตํารวจอยูในสภาพท่ีไมพรอมเพียงพอท่ีจะคุมสถานการณคือ การที่มีการส่ังการใหตํารวจตระเวนชายแดนเดินทางมาจากคายนเรศวรมหาราช อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ ตั้งแตเวลา 2.00 น. เชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 และการท่ี พล.ต.ท. ชุมพล ตั้งกองบัญชาการตํารวจท่ีพิพิธภัณฑสถานแหงชาติตั้งแตยามดึก โดยที่มีการยืนยันวา พล.ต.ท ชุมพล อยูในพื้นท่ีสถานการณเวลา 3.00 น. ขอมูลดังกลาวพิสูจนวา ตํารวจมีการเตรียมการอยางหนักต้ังแตคืนวันท่ี 5 ตุลาคม 2519 หรืออยางนอยต้ังแต 2.00 - 3.00 น. ของเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ไมใชวาตํารวจไมพรอมท่ีจะรับมือกับสถานการณแตอยางใด ยิ่งกวานั้น ศ. เสนห จามริก ใหขอมูลปากคํากับ “คณะกรรมการรับขอมูลและสืบพยานเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519” วาในชวงปลายเดือนสิงหาคม 2519 ในขณะท่ีมีการชุมนุมตอตานการกลับมาของจอมพล ประภาส ตํารวจระดมกําลังพรอมอาวุธสงครามในพิพิธภัณฑสถานแหงชาติขาง ม.ธรรมศาสตร ในรูปแบบเดียวกันกับท่ีเกิดข้ึนคืนวันท่ี 5 ตุลาคม 2519 ซ่ึงถามองยอนกลับไปอาจจะดูเหมือนเปนการซอมรบก็ได และเสนหใหความเห็นวา มีอะไรหลายๆอยางท่ีช้ีใหเห็นวา มีการวางแผนเพื่อปราบปรามนักศึกษา เชน วิธีการใหขอมูลออกอากาศของสถานีวิทยุยานเกราะท่ีมีลักษณะคลายๆการส่ังการ เปนตน สวน พ.ต.ท. สลาง ช้ีแจงวา ตนเองไมมีความสามารถที่จะเปนผูบังคับบัญชาหนวยกองกําลังตํารวจ เพราะตนเองไมสามารถคุมลูกนองในหมูนายตํารวจได พูดงายๆคือ ลูกนองของ พ.ต.ท. สลาง กําลังวิ่งเตนเพื่อใหมีการปราบปรามนักศึกษา ดังนั้นถา พ.ต.ท. สลาง ไมตามใจเขาก็จะคุมสถานการณไมได

92

Page 95: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ทําไมนายตํารวจหลายระดับตั้งแตรองอธิบดีท่ีอางวา “คุมสถานการณไมได” จนเกิดเหตุนองเลือดอยางปาเถ่ือนไมถูกปลดออกจากตําแหนง หรือถูกเล่ือนไปทํางานในตําแหนงท่ีไมเกี่ยวกับการปฏิบัติการในฐานะท่ีทํางานลมเหลว และคุมลุกนองไมได ? พยานท่ี 14, 15, 27, 45 ซ่ึงเปนอดีตหนวยรักษาความปลอดภัยของนักศึกษาท่ีประจําการอยูดานหนาของ ม.ธรรมศาสตร รายงานวา ผูบุกเขาไปคร้ังแรกประกอบไปดวยเจาหนาท่ีแตงเคร่ืองแบบเปนสวนใหญ โดยเฉพาะตํารวจตระเวนชายแดน และผูไมใสเคร่ืองแบบบางคนก็ถืออาวุธดวย ประเด็นช้ีแจงของ พล.ต.ท. ชุมพล วา ตํารวจตองบุกเขาไปใน ม.ธรรมศาสตร เพื่อปกปองประชาชนมือเปลาท่ีกําลังบุกเขาไปสูกับนักศึกษาจึงเปนขอเสนอเชิงเหตุผลท่ีแปลก เพราะถาตํารวจจะรักษาความสงบเรียบรอยท่ี ม.ธรรมศาสตร ในวันนั้นก็มีวิธีการท่ีงายและมีประสิทธิภาพมากกวานี้คือ ตํารวจจะตองใชกองกําลังติดอาวุธท่ีมีอยูยืนตามแนวรั้วของมหาวิทยาลัยและแยก 2 ฝายออกจากกันคือ กั้นไมใหฝายขวาเขามาใกล ม.ธรรมศาสตร และกั้นไมใหฝายผูอยูขางในยิงออกมานั่นเอง และถามีฝายใดฝายหน่ึงฝาฝนคําส่ังของตํารวจอาจใชความรุนแรงไดระดับหนึ่ง คําถามคือ ในเม่ือ พล.ต.ท. ชุมพล อางวา ประชาชนฝายขวาเปนฝายท่ีฝาฝนคําส่ังของตํารวจและบุกเขาไปเพื่อสูกับนักศึกษา ทําไมตํารวจเขาไปยิงนักศึกษาและไมยิงหรือจับกุมพวกฝายขวา ? ขอเสนอของ พล.ต.ท. ชุมพล วา ตํารวจตองใชอาวุธบุกเขาไปใน ม.ธรรมศาสตร เพื่อปกปองสถานท่ีราชการดูนาสงสัยและแปลก ยิ่งไปกวานั้นเพราะพอตํารวจเขาไปในมหาวิทยาลัยไดก็จัดแจงต้ังปนกลหนักยิงกราดเขาไปในตึกบัญชี และยิงลูกระเบิด M 79 ใสตึกตางๆซ่ึงเปนสถานท่ีราชการกอใหเกิดความเสียหายกับตึกคณะบัญชีและคณะวารสารไมนอย และท่ีสําคัญคือ การใชปนในชวงนี้เปนการใชปนในขณะท่ีนักศึกษาทุกคนยอมจํานนแลว พยานทุกคนรายงานวา หลังจากท่ีตํารวจเร่ิมระดมยิงเขามา (หรือต้ังแตกอนหนานั้นดวยซํ้า) มีหนวยตํารวจประจําการตามประตูตางๆของมหาวิทยาลัยเพ่ือหามไมใหนักศึกษาหนีออกไป ถาเจตนาของตํารวจคือ การเขาไปเจรจาและสลายการชุมนุมอยางสันติ หรือการเขาไปจับกุมแกนนําของขบวนการนักศึกษาหรือนักศึกษาท่ีแสดงละคร ทําไมตองหามไมใหนักศึกษาคนอ่ืนออกจากประตูมหาวิทยาลัยทางดานทาพระ จันทรกับทาพระอาทิตย ? และทําไมมีการถอนหนวยตํารวจจากสถานีตํารวจในพื้นท่ี (ซ่ึงรูจักผูนํานักศึกษาอยางดี) ออกจากการประจําการตามประตูมหาวิทยาลัยท้ังสองดานน้ันแลวนําหนวยตํารวจอ่ืนจากนอกพ้ืนท่ีเขามาแทน ? หลังเหตุการณ 6 ตุลาคม เม่ือวันท่ี 20 ตุลาคม 2519 ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ประเสริฐ ณ นคร ออกจดหมายถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยตางๆเพ่ือขอความรวมมือในการช้ีแจง “ขอเท็จจริง” เกี่ยวกับเหตุการณท่ีเกิด ข้ึนท่ี ม.ธรรมศาสตร ใหผูปกครองและนักศึกษาทราบ โดยประเสริฐเขียนวา “การปฏิบัติงานของเจาหนาท่ีตํารวจมิไดกระทําเกินกวาเหตุ เพราะในวันดังกลาวประชาชนมีความเคียดแคน และตองการเขาจับตัวนักศึกษาท่ีหม่ินพระบรมเดชานุภาพ ถาเจาหนาท่ีตํารวจไมเขาไปปฏิบัติงานกอน

93

Page 96: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ประชาชนท่ีเคียดแคนก็อาจจะเขาไปประชาทัณฑนักศึกษา และทรัพยสินของมหาวิทยาลัยท้ังหมดอาจถูกทําลาย” เอกสารฉบับนี้ซ่ึงตองถือวา เปนความเห็นของรัฐบาลในยุคนั้นเปนการเสนอขอมูลเท็จท้ังส้ิน เพราะนอกจากจะมีการกระทําเกินเหตุโดยตํารวจแลวยังมีผลใหนักศึกษาหลายคนเสียชีวิต เพราะถูกยิงและถูกประชาทัณฑอยางเลวรายทารุณ นอกจากนั้นทรัพยสินของ ม.ธรรมศาสตร ยังถูกทําลายโดยเจาหนาท่ีของรัฐเองดวย สรุป : ขอเสนอวา ตํารวจจําเปนตองเขาบุกเขาไปปราบปรามนักศึกษา เพราะคุมสถานการณไมอยู หรือเพื่อปกปองประชาชนท่ีไรอาวุธ หรือเพื่อปกปองมหาวิทยาลัยอันเปนสถานท่ีราชการไมมีน้ําหนักและความจริงเลย 4. ตํารวจจําเปนท่ีจะตองปราบปรามนักศึกษา เพราะนักศึกษาอาศัยการมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” หลังเหตุการณ 14 ตุลาคมเพื่อฉวยโอกาสเผยแพรลัทธิคอมมิวนิสตโดยมีวัตถุประสงคท่ีจะทําลายชาติ - ขอเสนอนี้มีน้ําหนักหรือไม ? ในความเห็นของฝายขวา การบุกเขาไปฆาฟนคนใน ม.ธรรมศาสตร อยางปาเถ่ือนเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เปนส่ิงจําเปน เพราะพวกท่ีอยูใน ม.ธรรมศาสตร เปน “คอมมิวนิสต” และหวังลมลางสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย พูดงายๆในการปกปอง 3 สถาบันนี้เขามองวา จะใชความรุนแรงเทาไรก็ใชได และยอมมีความชอบธรรมทั้งส้ิน ขออางนี้นับเปนขออางสุดทายของคนท่ีจนตรอกในการใหความชอบธรรมกับส่ิงท่ีเกิดข้ึนเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 อาจารย ม.ธรรมศาสตร คนหน่ึงท่ีเปนสมาชิกกลุมนวพลพอเห็นภาพการ “เลนละครดูหม่ิน” ก็ประกาศตอเจาหนาท่ีตํารวจวา อยาก “ขวางระเบิดใสนักศึกษาฆาใหตาย” นี่คือตัวอยางของความคิดอาจารยในกลุมนวพลตอนักศึกษาท่ีเปนลูกศิษยลูกหาของตนเอง ตัวอยางของผูท่ีมองวา การใชความรุนแรงกับ “ฝายซาย” ไมผิดอะไรเลยมีอีกมากมาย เชน กลุมนวพล กิตติวุฒโฑมองวา “การฆาคอมมิวนิสตเปนเร่ืองไมบาป” หัวหนากลุมกระทิงแดง พล.ต. สุตสาย มองวาเหตุ การณ 6 ตุลาคม “ไมมีอะไรนาเสียใจ” พล.ต.ท. สมควร หริกุล แกตัวแทนผูท่ีกระทําความโหดรายในวันนั้น โดยอธิบายวา ในหมูนักศึกษามีการแทรกแซงของลัทธิคอมมิวนิสต เพราะมีหนังสือของฝายซายท่ีวิเคราะหสังคมไทยเต็มไปหมด สมัครมองในลักษณะเดียวกันวา นักศึกษากําลังจะพาประเทศไทยไปเปนคอมมิวนิสต เพราะเสนอวา “ประชาชนจะเปนใหญในแผนดิน” และ พล.ต.ท. ชุมพล มองวา ศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทยควรจะถูกปราบปราม เพราะเปนส่ิงผิดกฎหมายมาตลอด ไมไดจดทะเบียนและเท่ียวไปยุงเกี่ยวกับปญหาในสังคมภายนอก ความเห็นของสมัครวา การเรียกรองใหมีประชาธิปไตย (ประชาชนตองเปนใหญในแผนดิน) คือ ส่ิงท่ีทําใหเกิดความวุนวายในสังคม โดยเฉพาะในชวงหลังเหตุการณ 14 ตุลาคมเปนความเช่ือของชนชั้นปกครองไทยโดยท่ัวไป ท้ังสมัครและโฆษกของ “คณะปฏิรูปการปกครองแผนดิน” ท่ียึดอํานาจเย็นวันท่ี 6 ตุลาคม 2519

94

Page 97: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

มองวา หลังเหตุการณ 14 ตุลาคมประเทศไทยมี “ประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพมากเกินไป” ดังนั้นถาจะมีเสถียรภาพในสังคมตองมีเผด็จการ แต สุธรรม แสงประทุม อดีตผูนํานักศึกษามีความเห็นตาง สุธรรมอธิบายวา ในยุคนั้นเม่ือชาวบานมีปญหาแลวไปรองเรียนกับทางราชการมักจะไมมีใครฟง ชาวบานยอมมาหานักศึกษาเปนเร่ืองธรรมดา เพราะประชาชนผูถูกเอารัดเอาเปรียบมองวา ขบวนการนักศึกษาเปนเพื่อนของผูถูกกดข่ี หรือเปนองคกรท่ีจะชวยสรางความเปนธรรมในสังคม ในลักษณะเดียวกันปวยอธิบายวา สิทธิเสรีภาพในการประทวงตามหลักการประชาธิปไตยเปนส่ิงจําเปน ถาสังคมจะมีความเปนธรรม “การปรับสถานการณตางๆในสังคมใหดีข้ึน (เชน การปฏิรูปท่ีดิน ฯลฯ) เกิดข้ึนทามกลางความวุนวาย แตการกดดันใหนายจางหัวแข็งลงมาเจรจากับลูกจางทําไดอยางไรถาไมนัดหยุดงาน ? การกดดันใหรัฐบาลออกมาแกไขปญหาชาวบานท่ีมีกับบริษัทเหมืองแรทําไดอยางไรถาไมประทวง ? ถามองยอนกลับไปรูสึกวา พวกเราทุกคนในยุคนั้นสายตาส้ันเวลาบนเร่ืองความวุนวายเหลานี้” อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ. เปรม ติณสูลานนท มีความเห็นวา นักศึกษาเขาปาไปรวมกับพรรคคอมมิวนิสตเพราะถูกกดขี่ในเมืองโดยเฉพาะในเหตุการณ 6 ตุลาคม ดังนั้นเขาจึงเสนอวา การสรางความเปนธรรมและเสรีภาพในสังคมจะสามารถเอาชนะพรรคคอมมิวนิสตได ขอสรุปนี้นาจะแยงกับความเห็นวา การมีประชาธิปไตยมากเกินไปเปนส่ิงท่ีทําลายเสถียรภาพของสังคมไทย หรือจะพาไทยไปเปนคอมมิวนิสต ตรงกันขามแมแตเปรมยังมองวา เสถียรภาพของสังคมไทยมาจากการมีสิทธิเสรีภาพเต็มท่ีตางหาก ในแงหนึ่งเราอาจมองไดวา การทําลายขบวนการนักศึกษาเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เปนการทําลายขบวนการหลักในสังคมไทยที่มีเจตนา และความสามารถเพียงพอท่ีจะนําการเปล่ียนแปลงไปสูสังคมท่ีเปนธรรม หรือสังคมนิยมท่ีมีองคประกอบของประชาธิปไตยแทก็ได เราไมควรลืมวา องคกรนักศึกษาเปนแกนนําสําคัญท่ีลมเผด็จการทหารและตอสูเพ่ือประชาธิปไตยมาต้ังแตกอนเหตุการณ 14 ตุลาคมเสียอีก ดังนั้นถาขบวนการนักศึกษาไมถูกทําลายเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 สังคมไทยอาจมีลักษณะท่ีแตกตางจากรูปแบบปจจุบันท่ีมีความเหล่ือมลํ้าสูง ในขณะเดียวกันก็จะแตกตางจากระบบเผด็จการ “คอมมิวนิสต” ในอินโดจีนดวย ส่ิงหนึ่งท่ีสนับสนุนขอคาดการณนี้คือ ขบวนการนักศึกษามีสวนในการถกเถียงกับผูนําพรรคคอมมิวนิสตในชวงทายกอนท่ีจะพากันออกจากปา เพราะไมพอใจกับส่ิงท่ีพวกเขาเห็นวา พรรคมีลักษณะเปนเผด็จการ และการถกเถียงดังกลาวมีสวนสําคัญในการลดบทบาท และอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสตไทยในท่ีสุด เกษียร เตชะพีระ อธิบายวา “ฝายซายไทย” ในยุคระหวาง 14 ตุลาคมถึง 6 ตุลาคมเปนการบรรจบรวมของ 3 กระแสหลักคือ 1. กระแสปญญาชนฝายคานในเมืองซ่ึงมีองคประกอบหลากหลาย เชน แนวพุทธของตะวันออก แนวซายใหมตะวันตก และแนวมารกซิสต 2. กระแสความคิดของพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย 3. กระแสซายดั้งเดิมของไทยจากปญญาชนมารกซิสตสมัยป พ.ศ. 2490

95

Page 98: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

3 กระแสดังกลาวนอกจากจะนําไปสูความขัดแยงจนปาแตกในท่ีสุดแลวยังแสดงใหเห็นวา ขบวนการนักศึกษาและฝายซายในเมือง ถาไมถูกปราบไมจําเปนตองนําเมืองไทยไปสูรูปแบบสังคมท่ีเหมือนจีน เวียดนาม หรือเขมรก็ได ปวยแสดงความเห็นวา “ขอนาเสียดายสําหรับคนรุนหนุมรุนสาวท่ีใฝในเสรีภาพก็คือ เหตุการณเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ไมเปดโอกาสใหเขามีทางเลือกท่ี 3 เสียแลว ถาไมทําตัวสงบเสง่ียมคลอยตามอํานาจไมเปนธรรมก็ตองเขาปาไปทํางานรวมกับคอมมิวนิสต” สรุป : ขอเสนอวา ตํารวจจําเปนตองเขาบุกเขาไปปราบปรามนักศึกษา เพราะเปนวิธีเดียวท่ีจะปกปองชาติจากการมีประชาธิปไตย “มากเกินไป” เปนขอเสนอท่ีเหลวไหล

ใครควรจะเปนผูรับผิดชอบกับพฤติกรรมของเจาหนาที่รัฐและเหตุการณนองเลือดที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ? ในเม่ือสังคมมีคนท่ีดํารงตําแหนงเปน “ผูนํา” ในหนวยงานตางๆซ่ึงคนเหลานั้นไดรับการมอบหมายอํานาจในการตัดสินใจส่ังการและยศศักดิ์ หรือคาตอบแทนตามบทบาทหนาท่ีดังกลาว ผู ท่ี เปนผูนําหรือผูบังคับบัญชายอมจะตองรับผิดชอบกับเหตุการณหรือผลงาน ท้ังท่ีดีและไมดีที่เกิดข้ึนภายใตการนําของตน ความหมายของ “ผูท่ีตองรับผิดชอบ” ในท่ีนี้มีความหมายท่ีกวางขวาง เพราะการรับผิดชอบโดยรวมตองครอบคลุมถึงการวางนโยบายและทิศทางการทํางาน การวางแผนเพื่อใหบรรลุผล การตัดสินใจสั่งการโดยรวม การตัดสินใจส่ังการในเหตุการณ และการลงมือกระทําเอง การกระทําใดๆของเจาหนาท่ีรัฐ และเหตุการณ 6 ตลุาคมไมไดเกิดจากอุบัติเหตุ มีท้ังการปูทางหรือวางนโยบาย (ไมวาจะมีเจตนาใหเกิดเหตุการณนองเลือดหรือไม) มีการวางแผนลวงหนา มีการตัดสินใจส่ังการ และมีการลงมือกระทําทามกลางสถานการณดวย ความหมายของ “การรับผิดชอบ” กับการกระทําของเจาหนาท่ีรัฐในเหตุการณนองเลือดมีหลายระดับ อาจเปนการออกมาสารภาพผิดตอสาธารณะ และการแสดงความเสียใจอาจเปนการยอมรับผิดซ่ึงรวมถึงการยอมชดเชยแกผูท่ีไดรับความเสียหายในเหตุการณ หรือยอมแกไขสถานการณดวยวิธีอ่ืนๆ หรืออาจมีการนําผูนําท่ีตองรับผิดชอบมาข้ึนศาลภายใน หรือภายนอกประเทศเพ่ือลงโทษผูกระทําความผิด กรณีการลงโทษอดีตประธานาธิบดีในเกาหลีใตท่ีมีสวนในการปราบปราบนักศึกษา หรือกรณีการพยายามนํานายพล ออกุสโต ปโนเช (อดีตประธานาธิบดีชิลี) ท่ีมีสวนในการสังหารฝายซาย และนักสหภาพแรงงานมาข้ึนศาลเปนตัวอยางท่ีดี หลายคนอาจต้ังขอสงสัยวา ในเม่ือเหตุการณผานไป 25 ปแลวทําไมตองมาแสวงหาผูรับผิดชอบกันในยุคนี้ คําตอบคือ ตราบใดท่ีไมมีการพิจารณาพฤติกรรมอยางเปนทางการของผูนําระดับสูงของไทยท่ีส่ังการ หรืออยูในตําแหนงส่ังการในเหตุการณท่ีเจาหนาท่ีของรัฐใชความรุนแรงกับประชาชนโดยไมมีเหตุผลอันชอบ

96

Page 99: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ธรรม คนช่ัวท่ีกอใหเกิดเหตุการณนองเลือดจะลอยนวลและไดกําลังใจ ในอนาคตผูนําแบบนี้จะไมเกรงกลัวในการใชความรุนแรงกับประชาชนเพื่อรักษาผลประโยชนสวนตัวอีก และเปนท่ีนาสังเกตวา ทุกวันนี้ยังไมมีผูนําคนใดท่ีถูกสังคมไทยบังคับใหรับผิดตอเหตุการณ 14 ตุลาคม, 6 ตุลาคม และพฤษภาทมิฬ 2535 เลย ยิ่ง กวานั้นการฆาฟนนักศึกษาใน ม.ธรรมศาสตร เม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เสมือนเปนการกระทําเพื่อ “พิสูจน” ตอสาธารณะวา ทรราชท่ีกอใหเกิดเหตุการณ 14 ตุลาคมจะไมมีการถูกลงโทษ และใครท่ีคิดจะประทวงเร่ืองนี้จะตองถูกปราบปราม บางคนอาจเสนอวา ในสังคมพุทธแบบเอเชียตะวันออกดังเชนเมืองไทยมีวัฒนธรรมท่ีปฏิเสธการช้ีถูกช้ีผิด โดยอางถึงส่ิงท่ีเรียกวาเมตตาธรรม แต กิตติศักดิ์ ปรกติ มองวา คําอธิบายนี้เปนความเขาใจผิด เพราะการฆาฟนประชาชนโดยรัฐในประเทศเอเชียตางๆ รวมถึงประเทศไทยกระทําบนพ้ืนฐานการปายสีช้ีผิดผูถูกกระทํา และเปนการฆาฟนท่ีไรซ่ึงความมีเมตตาธรรม ดังนั้นการปฏิเสธการช้ีถูกช้ีผิดในเหตุการณ 6 ตุลาคมของสังคมไทยจึงนาจะเปน “ลัทธิยอมจํานนท่ีไรหลักการ” มากกวาความคิดวิถีไทยๆ หรือวิถีเอเชีย กิตติศักดิ์เสนอตอไปวา การนําอดีตประธานาธิบดีระดับนายพล 2 คนของเกาหลีใตมาข้ึนศาลลงโทษในกรณีฆาฟนนักศึกษาท่ีกวางจูเปนบทเรียนท่ีดีสําหรับไทย ตามหลักการทางรัฐศาสตรผูท่ีไดรับการเลือกต้ังเปนผูนําทางการเมืองสูงสุดของประเทศในระบอบ ประชาธิปไตยจะตองรับผิดชอบกับส่ิงท่ีเกิดข้ึนในสมัยของตนเองกอนผู อ่ืน ดังนั้น ม.ร .ว . เสนีย (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย) ควรจะรับผิดชอบกอนคนอ่ืน แตเม่ือพิจารณาความเปนจริงทางประวัติศาสตรแลวมีคําถามวา ในยุคนั้น ม.ร.ว. เสนีย และรัฐบาลของเขามีอํานาจจริงหรือ ? หลายคนมองวา รัฐบาลประชาธิปตยของ ม.ร.ว. เสนีย เปนเพียงรัฐบาลในนามเทานั้น เพราะผูมีอํานาจจริงคือ ผูถืออาวุธ คําถามท่ีตามมาคือ ใครบางท่ีมีอํานาจจริงในยุคนั้น ? เราตองแสวงหาขอมูลเพิ่มตรงนี้ คําตอบคงหาไดไมยากถาเราศึกษาขอเขียนของนักวิชาการท่ีสํารวจไปแลวในบทท่ี 1 ของหนังสือเลมนี้ อยางไรก็ตามถา ม.ร.ว. เสนีย ไมมีอํานาจในยุคนั้น และมีเหตุการณนองเลือดเกิดข้ึนหนาท่ีแรกสุดท่ีเขาสมควรทําคือ การลาออกจากตําแหนงทันที และประณามการกระทําของฝายท่ีมีอํานาจจริง รองลงมาจากระดับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีแลวผูท่ีควรจะตองรับผิดชอบตอการตัดสินใจส่ังการเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 คือ อธิบดีกรมตํารวจ และผูบังคับบัญชากองกําลังตํารวจในภาคสนาม เพราะคนเหลานี้มีสวนในการตัดสินใจ และลงมือใชอาวุธปราบปรามนักศึกษาโดยตรงซ่ึงเราลวนทราบช่ือของคนเหลานี้ ในกรณีของอธิบดีกรมตํารวจ เจาหนาท่ีผูนี้ถูกปลดออกจากตําแหนงหลังเหตุการณ แตการปลดออกจากตําแหนงคร้ังนั้นไมไดเปนเพราะรัฐบาลใหมท่ีมาจากการรัฐประหารมองวา เขากระทําความผิดในการปราบปรามนักศึกษาท่ี ม.ธรรมศาสตร นายตํารวจระดับลางๆท่ีเพียงแตทําตามคําส่ังของผูบังคับบัญชามักจะกลายเปนแพะรับบาปแทนผูใหญท่ีส่ังการ ดังนั้นเราจําเปนท่ีจะตองระมัดระวังในการลงโทษนายตํารวจชั้นผูนอยท่ีมีสวนในการใชความรุนแรง อยางไรก็ตามมี 2 กรณีท่ีนายตํารวจช้ันผูนอยจะตองรับผิดชอบกับส่ิงท่ีตนเองกระทําคือ 1. ในกรณีท่ีตัดสินใจกระทําการนอกกรอบของคําส่ัง หรือในกรณีท่ีฟงคําส่ังจากผูอ่ืนท่ีไมใชผูบังคับบัญชา

97

Page 100: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

2. ในกรณีท่ีจงใจโกหกในศาลหรือส่ือมวลชนเกี่ยวกับส่ิงท่ีเกิดข้ึน นอกจากนี้แลวนายตํารวจช้ันผูนอย และพลเมืองธรรมดาทุกคนสมควรจะตองรับผิดชอบตอจิตสํานึกของตนเองในส่ิงท่ีเขากระทําในฐานะท่ีเปนมนุษยในสังคม แตเร่ืองนี้อาจไมเปนเร่ืองสาธารณะก็ได ส่ิงท่ีเปนเร่ืองสาธารณะอีกเร่ืองหนึ่งคือ การกระทําทารุณกรรมของพลเมืองในกลุมฝายขวานอกระบบ ผูนําของกลุมเหลานี้ ผูท่ีกอต้ังและผูท่ีใหการสนับสนุนกับกลุมตางๆ ผูท่ีประโคมขาวเท็จเร่ืองการเลนละครเพื่อปลุกระดมกลุมนอกระบบใหมาชุมนุมกัน ผูท่ีมีสวนในการระดมกองกําลังนอกระบบในเชาวันนั้น ตลอดจนเจาหนาท่ีตํารวจช้ันผูใหญท่ีไมยอมหามการกระทําของพวกน้ีจะตองรับผิดชอบกับส่ิงท่ีเกิดข้ึนเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ดวย แมแตสมาชิกระดับลางของกลุมนอกระบบท่ีมีสวนในการทําอาชญากรรมก็สมควรตอง รับผิดชอบตอสังคม เพราะเขาไมไดรับคําส่ังการตามหนาท่ีเหมือนนายตํารวจช้ันผูนอย อยางไรก็ตามผูท่ีตองรับผิดชอบการกระทําของลูกเสือชาวบาน กลุมกระทิงแดง และกลุมนวพลเชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ควรตกอยูกับผูนําทางการเมืองในระดับสูงของชาติเปนหลักเพื่อไมใหผูนอยในระดับลางรับบาปแทนอยางท่ีมักเกิดข้ึนบอยคร้ังท่ัวโลก นักการเมืองท่ีเขามาครองตําแหนงหลังการทํารัฐประหารเย็นวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 และตัดสินใจนํานักศึกษาผูบริสุทธ์ิข้ึนศาล ในขณะท่ีไมยอมนําฆาตกรจริงท่ีกอทารุณกรรมมาข้ึนศาลตองรับผิดชอบตอสังคมไทยดวย นักการเมือง และผูนําทางสังคมอ่ืนๆท่ีพยายามใหขอมูลเท็จตอสังคมท้ังภายในและภายนอกประเทศเพื่อปกปดความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ 6 ตุลาคมก็ควรรับผิดชอบเชนกัน สุดทายนี้เราตองกลับมาพิจารณาวา ในยุคนั้นบุคคลกลุมไหนบางท่ีมีอํานาจทางการเมืองจริง ถาไมใชรัฐบาลของ ม.ร.ว. เสนีย เพราะแมแตนายตํารวจระดับอธิบดีกรมตํารวจเองคงไมกลาตัดสินใจลงมือใชอาวุธสงครามปราบปรามนักศึกษารุนแรงถึงขนาดน้ัน เราตองถามวา ใครส่ังการใหตํารวจทํา หรือใครสัญญากับตํารวจวา ถาลงมือปราบปรามนักศึกษาจะไมมีผลรายเกิดกับตนเอง คนท่ีใหคําม่ันสัญญาแบบนี้ไดอาจเปนผูมีอํานาจอิทธิพลในขณะนั้น หรือเปนผูท่ีวางแผนจะยึดอํานาจเมื่อวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ดวยวิธีการรัฐประหาร ดังนั้นเราตองพิจารณาครอบคลุมไปถึงผูท่ีมีสวนในการวางแผนทํารัฐประหาร ตลอดจนผูท่ีมีสวนในการวางแผน และสนับสนุนการนําอดีตเผด็จการถนอมกลับเขามาสูประเทศไทยเพ่ือกอเหตุวุนวาย รวมถึงผูท่ีทํารัฐประหารจริงเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ดวย

กรรมการแสวงหาความจริง (Truth Commission) “คณะกรรมการรับขอมูลและสืบพยานเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519” ไมใชกรรมการแสวงหาความจริงในลักษณะของกรรมการประเภทนี้ท่ีถูกต้ังข้ึนมาในอาฟริกาใต และโดยรวมแลวท่ัวโลกมีกรรมการแสวงหาความจริงเกิดข้ึนใน 20 ประเทศ กรรมการเหลานี้มีลักษณะพิเศษท่ีตางจาก “คณะกรรมการรับขอมูลและสืบพยานเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519” ตรงท่ีกรรมการแสวงหาความจริงมักจะไดรับมอบหมายใหทํางานเปนทางการ ดังนั้นจะมีอํานาจทางกฎหมายในการเรียกพยานและสืบหาเอกสาร

98

Page 101: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ในการพิจารณาวา เมืองไทยควรมีกรรมการแสวงหาความจริงหรือไม เราควรพิจารณาสิ่งท่ีกําลังเกิดข้ึนในอินโดนีเซียหลังจากท่ีเผด็จการ ซูฮารโต ถูกลมไป เพราะในยุคนี้เกิดกระแสสําคัญในสังคมอินโดนีเซียท่ีเรียกรองใหมีกรรมการแสวงหาความจริง และรัฐบาลของ ยูซุฟ ฮาบิบี และ อับดูรราหมาน วาฮิด ก็ลวนแตสนับสนุนความคิดอันนี้ โดยมีการสงเจาหนาท่ีและนักสิทธิมนุษยชนไปดูงานท่ีอาฟริกาใตและเกาหลีใตดวย นอกจากนี้ผูนําทางสังคมบางคนในอินโดนีเซียมีความกลาหาญเพียงพอท่ีจะรับผิดชอบ และขออภัยตอสังคมเกี่ยวกับเร่ืองท่ีเกิดข้ึนในอดีต เชน นายพล วิรานโต ท่ีขออภัยในการปราบปรามเกินเหตุในแควนอาเจะห และวาฮีดท่ีออกมาขออภัยเร่ืองบทบาทขององคกรอิสลามนะหดาตุล อูลามะซ่ึงเคยมีสวนในเหตุการณนองเลือดท่ีเกาะชวาในป พ.ศ. 2508 - 2509 เปนตน แมร่ี ซัวบูเชน อดีตผูอํานวยการมูลนิธิฟอรดในอินโดนีเซีย และนักวิชาการจาก University of California, Los Angeles (สหรัฐ) อธิบายวา การจัดต้ังกรรมการแสวงหาความจริงมีประโยชนตอสังคม 5 ประการคือ 1. กรรมการแสวงหาความจริงจะเปดโอกาสใหผูถูกกระทําเลาเหตุการณอยางเปนทางการตอสังคม 2. มีประโยชนในการใหการศึกษาตอพลเมืองเก่ียวกับเหตุการณท่ีเกิดข้ึนในประวัติศาสตร เพราะมีการตีพิมพรายงานเปนทางการ 3. กรรมการแสวงหาความจริงจะเปดโอกาสใหมีการยอมรับวา มีการกระทําความผิด และอาจแนะนําใหมีการจายคาชดเชยได 4. กรรมการแสวงหาความจริงอาจชวยแกปญหาความขัดแยงในสังคมได โดยเสนอการปฏิรูปสถาบันตางๆท่ีเคยมีสวนในเหตุการณนองเลือด 5. กรรมการแสวงหาความจริงสามารถคนหาผูท่ีตองรับผิดชอบ และผูท่ีมีสวนในการกอเหตุรุนแรงได ประโยชนท่ีจะเกิดข้ึนท้ังหาประการดังกลาวอาจนําไปสูการรักษาบาดแผลที่เกิดข้ึนกับสังคมไดเปนอยางดี ถาสังคมของเราไมหาทางเรียนรู หรือสรุปบทเรียนเพื่อยุติการใชความรุนแรงของรัฐท่ีกระทําตอประชาชน เหตุการณนองเลือดจะเกิดข้ึนอยางตอเนื่องเปนระยะๆ เผชิญ สุวรรณทัต คือ ผูหนึ่งท่ีเขาใจปญหานี้ดี เม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เผชิญกับภรรยาพยายามชวยเหลือนักศึกษาที่บาดเจ็บ แตกลับถูกเจาหนาท่ีรัฐทําราย ตอมาในเหตุการณพฤษภาทมิฬ 2535 ภรรยาและลูกชายอายุ 14 ของเผชิญตองเสียชีวิตไป ธงชัย วินิจจะกูล อดีตผูนํานักศึกษาท่ีอยูในเหตุการณ และปจจุบันเปนนักวิชาการเสนอวา สังคมไทยจะตองทําความเขาใจกับเหตุการณ 6 ตุลาคมและการสังหารผูนําชาวนา นักการเมือง และนักศึกษากอนหนานั้นดวย เพราะเปนเร่ืองสําคัญท่ีจะชวยทําใหเราหลีกเล่ียงความรุนแรงในอนาคตได ธงชัยมองวา ความรุนแรงท่ีเกิดข้ึนในป 2519 มาจากการท่ีสังคมไทยไมสามารถจัดการกับความขัดแยงทางความคิดซ่ึงทุกวันนี้ยังมีความพยายามในการสราง “ความสามัคคีของชาติ” บนพื้นฐานกรอบแคบๆของลัทธิอํานาจนิยมท่ีมักปรากฏตัวในนามของความสามัคคีภายใตผลประโยชนของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย ความคิดท่ีไมเขากรอบแบบนี้จะถูกมองวา เปนภัยซ่ึงถึงเวลาแลวท่ีสังคมไทยควรจะมองวา ความคิด “แหวกกรอบ” คือ คลังภูมิปญญาของสังคม

99

Page 102: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

สรุป เชาวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 เจาหนาท่ีตํารวจของรัฐไทยกออาชญากรรมทางการเมือง โดยลงมือปราบปรามขบวนการนักศึกษาดวยอาวุธสงครามใน ม.ธรรมศาสตร การปราบปรามคร้ังนั้นไมมีเหตุผลท่ีมีความชอบธรรมแตอยางใดท้ังส้ิน นอกจากนี้เจาหนาท่ีตํารวจรวมมือกับอันธพาลฝายขวาท่ีมาชุมนุมตอตานนักศึกษาท่ีหนามหาวิทยาลัย โดยปลอยใหผูบริสุทธ์ิถูกเขนฆาอยางทารุณท่ีทองสนามหลวงหนาวัดพระแกว และวัดมหาธาตุ การแสวงหาผูนําของสังคมไทยท่ีตองออกมารับผิดชอบกับเหตุการณนองเลือดคร้ังนี้ไมใชเร่ืองยากในดานขอมูลหลักฐาน ขอมูลทางประวัติศาสตรท่ีสังคมไทยมีอยูในมือไมวาจะเปนเอกสาร ส่ิงพิมพ หนังสือพิมพ หนังสือวิชาการ หรือคําใหการของพยานมีหลักฐานเพียงพอท่ีจะเจาะจงไดวา ใครมีสวนรวมในการกอเหตุ ดังนั้นในข้ันตอนตอไปสังคมไทยตองตัดสินใจวา ควรจะเดินหนาตอไปอยางไรในเร่ืองนี้ สําหรับการสรุปบทบาทของบุคคลและองคกรตางๆในเหตุการณ 6 ตุลาคมจากขอมูลท่ี “คณะกรรมการรับขอมูลและสืบพยานเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519” มีอยู เราขอฝากภาระน้ีไวกับผูอาน โดยท่ีผูอานจะตองพิจารณาขอมูลท้ังหมดในบทตางๆของรายงานนี้เพื่อตัดสินใจเอง อยางไรก็ตามส่ิงท่ี “คณะกรรมการรับขอมูลและสืบพยานเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519” อยากจะเนนคือ การปดหูปดตา การฝง การลืม หรือการหลีกเล่ียงการพิจารณาปญหาของเหตุการณ 6 ตุลาคมอยางท่ีเคยทํากันมาตลอดในอดีตไมใชทางออกสําหรับสังคมไทย ถาเราตองการสรางสังคมไทยใหมีความสงบสุข คุณธรรม และความยุติธรรม

หมายเหตุ พยานหลายคนท่ีมาใหการไดแสดงความจํานงท่ีจะพบบุคคลท่ีรวมผานเหตุการณ 6 ตุลาคมกับเขา แตไมมีโอกาสพบกันอีกหลังจากเหตุการณคร้ังนั้น บางคนเปนเพื่อนกัน บางคนเปนผูชวยเหลือพยาน บางคนไดรับความชวยเหลือจากพยาน อยางไรก็ตามจนถึงทุกวันนี้เราไมสามารถแนะนําทางออกสําหรับบุคคลเหลานี้ได ดังนั้นเราจึงขอความชวยเหลือจาก “คนเดือนตุลา” ทุกคนชวยกรุณาหาทางออกใหดวย ใจ อ๊ึงภากรณ

100

Page 103: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

เอกสารอางอิง กนกศักด์ิ แกวเทพ และคณะ, เสนทางชาวนาไทย, กรุงเทพ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2542 กิตติศักด์ิ ปรกติ, “เหตุการณ 6 ตุลาคมกับบทเรียนการปราบปรามประชาชนจากกวางจูถึงทาพระจันทร”, พนม เอี่ยม

ประยูร, บรรณาธิการ, 20 ป 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : คณะกรรมการดําเนินการจัดงาน 20 ป 6 ตุลาคม ม.ธรรมศาสตร, 2539

เกษียร เตชะพีระ, “ทําไม 6 ตุลาคมจึงจํายาก ?”, พนม เอี่ยมประยูร, บรรณาธิการ, 20 ป 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : คณะ กรรมการดําเนินการจัดงาน 20 ป 6 ตุลาคม ม.ธรรมศาสตร, 2539

คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม, เราไมลืม 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : คณะกรรมการประสานงาน 20 ป 6 ตุลาคม, 2539

ธงชัย วินิจจะกูล, “บทเรียนจากเหตุการณ 6 ตุลาคมซึ่งสังคมไทยไมยอมรับรู”, ปาฐกถาในพิธีเปดประติมานุสรณ 6 ตุลาคม ณ ม.ธรรมศาสตร 6 ตุลาคม 2543, วารสารสืบสาน ฉบับที่ 20 มกราคม 2544

ธวัชชัย สุจริตวรกุล, คดีประวัติศาสตร คดี 6 ตุลาคม เลม 1, กรุงเทพ : บพิธการพิมพ, 2521 ธวัชชัย สุจริตวรกุล, คดีประวัติศาสตร คดี 6 ตุลาคม เลม 2, กรุงเทพ : บพิธการพิมพ, 2522 นิธิ เอียวศรีวงศ, “ยอนรอย 6 ตุลาคม”, มติชน รายวัน, (13 ตุลาคม 2543) : 6 “ยอนรอยทางชีวิต ‘ต๋ึงกลุมกระทิงแดง’ ในเง้ือมเงากระทิงเฒา”, เนช่ันสุดสัปดาห, (ปที่ 9 ฉบับที่ 470, 4 - 10 มิถุนายน

2544) : 10 - 12 พระไพศาลและ ส.ศิวรักษ, 6 ตุลาคมจารึกความทรงจํา ความหวัง บทเรียน, กรุงเทพ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2539 เพ่ือนมหิดลเดือนตุลา, หนังสืองานรําลึกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2540 เบเนดิก แอนเดอรสัน, “บานเมืองของเราลงแดง : แงมุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม”, ชาญ

วิทย เกษตรศิริ และ ธํารงศักด์ิ เพชรเลิศอนันต, บรรณาธิการ, จาก 14 ถึง 6 ตุลาคม, กรุงเทพ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2541

ปวย อึ๊งภากรณ, ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519, (ตีพิมพหลายครั้ง) กรุงเทพ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2519 ปวย อึ๊งภากรณ, “แนวโนมของการเมืองไทย”, อันเน่ืองมาแต 6 ตุลาคม 2519, กรุงเทพ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2523 มนัส สัตยารักษ, “รําลึก 6 ตุลาคม 2519 วันวังเวง”, มติชนสุดสัปดาห, (7 - 13 ตุลาคม 2537) ตีพิมพอีกครั้งใน ตุลาชน

ตุลาชัย (ปที่ 1 ฉบับที่ 2, ตุลาคม 2543) รวมเลือดเน้ือชาติไทย รวม 3 เหตุการณสําคัญทางประวัติศาสตรการเมืองไทย (14 ตุลาคม 6 ตุลาคม และพฤษภาทมิฬ

35), กรุงเทพ : สารคดี, 2541 ฤดี เริงชัย, หยดหน่ึงในกระแสธาร, กรุงเทพ : สํานักพิมพมิ่งมิตร, 2539 สมศักด์ิ เจียมธีรสกุล, “ชนวน : ภาพละครแขวนคอที่นําไปสูเหตุการณ 6 ตุลาคม”, มติชน รายวัน. (31 ตุลาคม 2543) :

6 สมยศ เช้ือไทย, บรรณาธิการ, คดีประวัติศาสตร 6 ตุลาคม ใครคือฆาตกร ?, (พิมพครั้งที่ 2) กรุงเทพ : สามัคคีสาสน,

2531 สมัคร สุนทรเวช, คําปราศรัยตอนักศึกษาไทยในฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2520, ตีพิมพใน วีระ มุสิกพงศ, โหงว

น้ังปง, กรุงเทพ : สันต์ิวนาการพิมพ, 2521

101

Page 104: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

สินธุสวัสด์ิ ยอดบางเตย, บันทึกของฉัน สีสันไปสูดวงดาว, เชียงใหม : รักและเมตตาวรรณกรรม, 2539 สุธรรม แสงประทุม, ผมผานเหตุการณ 6 ตุลาคมมาไดอยางไร ?, กรุงเทพ : สํานักพิมพดาวหาง, 2522 สุรินทร มาศดิตถ, “จดหมายพระสุรินทร” (เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2520), ธวัชชัย สุจริตวรกุล, บรรณาธิการ, คดีประวัติ

ศาสตร คดี 6 ตุลาคม เลม 2, กรุงเทพ : บพิธการพิมพ, 2522 Bangkok Post 6 ตุลาคม 2519 : 1 Bowie, K. (1997) Rituals of national loyalty, Columbia University Press, New York Girling, L. S. (1981) Thailand : society & politics, Cornell University Press Morell, D. & Chai-anan Samudavanija (1981) Political Conflict in Thailand. Oelgeschlager, Gunn & Hain,

Cambridge Massachusetts Morell, D. & Morell, S. (1977) Thailand : The costs of political conflict, Pacific Community, 8 (2) January Shawcross, W. (1976) How tyranny returned to Thailand. New York Review of Books, 9 ธันวาคม 2519 Ungpakorn, Ji Giles (2001) Slamming the door to beat the cat, Crushing the Thai left on the 6th October 1976,

Paper presented at the 18th Annual Conference on Southeast Asian Studies, University of California, Berkeley, 16 - 17 กุมภาพันธ 2544

Zurbuchen, M. (2001) Looking back to move forward. A Truth Commission could bring healing for a tragic past, Inside Indonesia No. 65, มกราคม - มีนาคม 2544

ขอมูลจากวิทยุ โทรทัศน และเทปสัมมนา สลาง บุนนาค (2519) สถานีวิทยุยานเกราะ บายวันที่ 6 ตุลาคม 2519 (เทป) ชุมพล โลหะชาละ (2519) สถานีวิทยุกระจายเสียงแหงประเทศไทย 9 ตุลาคม 2519 รายการสนทนาประชาธิปไตย

(เทป) เทปการใหคําสัมภาษณภาษาอังกฤษกับนักขาวตางประเทศโดยโฆษกรัฐบาล (พ.อ. อรุณ) ที่ ม.ธรรมศาสตร หลังการ

ยึดอํานาจของ “คณะปฏิรูปการปกครองแผนดิน” 13 ตุลาคม 2519 ปวย อึ๊งภากรณ (2520 ก) เทปการอภิปรายใหนักศึกษาไทยที่ออสเตรเลีย ปวย อึ๊งภากรณ (2520 ข) จากเทปการอภิปรายใหนักศึกษาที่ Georgetown (วอชิงตัน สหรัฐ) 15 กุมภาพันธ 2520 แปล

ไทย ปวย อึ๊งภากรณ, “แนวโนมของการเมืองไทย”, อันเน่ืองมาแต 6 ตุลาคม 2519, กรุงเทพ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2523

สมัคร สุนทรเวช (2519) เทปรายการโทรทัศน ชอง 7 เมื่อ 11 ตุลาคม 2519 วิดีโอบันทึกงาน 20 ป 6 ตุลาคมที่ ม.ธรรมศาสตร - การใหการของ เผชิญ สุวรรณทัต ITV (2542 ก) รายการ “ยอนรอย” เหตุการณ 6 ตุลาคม ถายทอดออกอากาศเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2542 ITV (2542 ข) รายการ “ยอนรอย” ทําไมนักศึกษาและประชาชนถึงเขาปา ถายทอดออกอากาศเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม

2542 ขอมูลปากคําพยานที่มาใหการกับ “คณะกรรมการรับขอมูลและสืบพยานเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519” จะมีหมายเลขกํา

กับตามลําดับการใหการ หมายเลขดังกลาวที่ปรากฏในรายงานช้ินน้ีเปนการบันทึกไวสําหรับใชเปนขอมูลอางอิงของ

102

Page 105: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

คณะกรรมการรับขอมูลและสืบพยานเหตุการณ 6 ตุลาคมเพื่อประโยชนในการศึกษาวิจัยทางประวัติศาสตรตอไปในอนาคต แตรายช่ือพยานที่ตีพิมพในทายหนังสือเลมน้ีจะเรียงลําดับใหมตามตัวอักษรแรกของชื่อ

แหลงขอมูลเอกสารหรือภาพถายที่มอบใหคณะกรรมการรับขอมูลและสืบพยานเหตุการณ 6 ตุลาคมในป พ.ศ. 2543 จํานง สรพิพัฒน พล.ต.ท. จํารัส จันทรขจร ประเสริฐ ณ นคร ลาวัณย อุปอินทร สุขุม เลาหพูนรังสี

103

Page 106: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

บทที่ 4 : อนาคต

การจัดการกับความจริงและความสูญเสีย ถึงแมวาวันเวลาผานไปถึง 25 ปหลังเหตุการณ 6 ตุลาคม แตเหตุการณนี้ยังมีผลกระทบตอสังคมไทยในยุคปจจุบัน เพราะความขัดแยงทางการเมืองท่ีนําไปสูเหตุการณนองเลือด และส่ิงท่ีตามมากอใหเกิดความสูญเสียในสังคมไทยหลายๆระดับ บทความสงทายชิ้นนี้จะพิจารณาปญหาของการจัดการกับความจริง และปญหาของการจัดการกับความสูญเสียท่ีเกิดข้ึนเนื่องจากเหตุการณ 6 ตุลาคมเพื่อใหประชาชนพลเมืองไทยรวมกันพิจารณาวา เราจะจัดการกับความสูญเสียดังกลาวไดอยางไร ในประเด็นปญหาการจัดการกับความจริง บอยครั้งสังคมไทยมักจะหลีกเล่ียงการยอมรับความจริง ถาเปนความจริงเกี่ยวกับประวัติศาสตรยากๆท่ีมีเหตุการณนองเลือด ในแงหนึ่งปรากฏการณดังกลาวไมแปลกอะไร ส่ิงเหลานี้เกิดข้ึนในหลายๆประเทศ แตในท่ีสุดการปดหูปดตาดังกลาวไมไดชวยรักษาบาดแผลของสังคม ตรงกันขามอาจกอใหเกิดปญหาตอเนื่องอยางเร้ือรัง ดังนั้นในขั้นตอนแรกเรามองวา รัฐไทยและสังคมไทยโดยรวมควรจะหาทางยอมรับความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ 6 ตุลาคม และเราหวังวา รายงานของคณะกรรม การรับขอมูลและสืบพยานเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519 คร้ังนี้จะมีสวนในการพัฒนาขอมูลความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ แตท่ีสําคัญยิ่งกวานั้นเรามองวา การยอมรับความจริงตองนําไปสูการสรุปบทเรียนเพื่อไมใหเหตุการณเชนนี้เกิดข้ึนอีก ในอนาคตเราไมตองการเห็นรัฐไทยลงมือฆาประชาชนอีกคร้ัง เพราะเพียงในช่ัวอายุคนคนเดียวมีเหตุการณแบบนี้เกิดข้ึนในประเทศไทยถึง 3 คร้ังแลว

1. ความสูญเสียในแงสวนตัว การกระทําของฝายรัฐไทยรวมกับองคกรอันธพาลนอกระบบเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ทําใหมีผูเสียชีวิตหลายคน ญาติพี่นองและเพ่ือนของผูท่ีเสียชีวิตสูญเสียคนในครอบครัว คนท่ีเขารักใคร และคนใกลชิด สวนผูท่ีบาดเจ็บจากการกระทําขององคกรรัฐ และองคกรอันธพาลนอกระบบมีท้ังผูท่ีบาดเจ็บทางกายโดยตรง และผูท่ีบาดเจ็บทางจิตใจเนื่องจากผานเหตุการณอันโหดรายมา ในสวนนี้แมแตฝายผูกระทําเอง เชน เจาหนาท่ีของรัฐช้ันผูนอยบางคน หรือผูท่ีถูกชักชวนมารวมในองคกรนอกระบบบางคน เม่ือสํานึกผิดแลวก็อาจมีบาดแผลทางจิตใจเหมือนกัน และบาดแผลทางจิตใจดังกลาวอาจยังดํารงอยูในขณะท่ีบาดแผลทางกายหายหรือดีข้ึนแลว หลังจากท่ีเกิดเหตุการณนักศึกษา และประชาชนสวนหนึ่งจํานวนหลายพันคนตางพากันเขาปาไปรวมตอสูในกองกําลังของพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย (พ.ค.ท.) อีกสวนหนึ่งตองหนีออกนอกประเทศ ในกรณีของคนท่ีเขาปาหรือตองเดินทางออกนอกประเทศ เพราะไมมีความปลอดภัยในสังคมเมือง คนเหลานี้

104

Page 107: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

จะสูญเสียโอกาสในการศึกษาเลาเรียน หรือประกอบอาชีพหลายปซ่ึงยอมมีผลกระทบตอชีวิตในเวลานั้น และในชีวิตภายหลังดวย นอกจากนี้แลวคนเหลานี้ยังสูญเสียโอกาสท่ีจะอยูกับญาติพี่นองและครอบครัว ผูบริสุทธ์ิท่ีถูกตํารวจจับเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ตองข้ึนศาลทหาร และตองติดคุกเปนเวลาถึง 2 ปกอนจะไดรับการปลอยเปนอิสระโดยปราศจากความผิดใดๆ ตองถูกดูหม่ินเหยียดหยาม ถูกเกลียดชัง ถูกเขาใจผิดๆ และถูกตราหนาวา เปนพวกทําลายชาติ พวกเขาตองสูญเสียเวลาชวงหนึ่งของชีวิต และโอกาสท่ีจะเลาเรียนหรือประกอบอาชีพการงานเชนกัน การสูรบท่ีทวีข้ึนอยางมากมายท่ัวทุกภูมิภาค หลังการปราบปรามเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ระหวางกองทัพปลดแอกประชาชนแหงประเทศไทยภายใตการนําของพรรคคอมมิวนิสตแหงประเทศไทย กับทหารหรือตํารวจของฝายรัฐนําไปสูความสูญเสียชีวิต และการบาดเจ็บท้ังทางกายและใจซํ้าอีกรอบ ดังนั้นสังคมไทยควรจะพิจารณาบทเรียนจากอดีตวา การใชความรุนแรงในการปราบปรามของฝายรัฐ ไมวาจะดวยเหตุอะไรมีผลกระทบตอสังคมในระยะยาวอยางไร และมีผลทําใหความรุนแรงในสังคมเพ่ิมข้ึนหรือลดลง ความสูญเสียสวนตัวท้ังหมดท่ีกลาวถึงนี้ยากท่ีจะชดเชยได เงินชดเชยจากฝายรัฐสําหรับคนท่ีพิการทางกายหรือใจอาจชวยไดระดับหนึ่ง เงินชดเชยผูสูญเสียโอกาสทางชีวิตท่ียังประสบปญหาอยูจนทุกวันนี้อาจชวย ใหคนเหลานี้ประกอบอาชีพไดงายข้ึน และเงินชดเชยสําหรับคนชราท่ีสูญเสียลูกหลานผูท่ีเขาหวังจะไดพึ่งพิงไปก็เปนส่ิงสําคัญ และเปนเร่ืองท่ีเราควรจะพิจารณา แตแคเงินชดเชยไมสามารถนําลูกหลาน มิตรสหาย เพื่อนรักท่ีเสียชีวิตไปใหกลับคืนมาได เงินชดเชยไมสามารถกูศักดิ์ศรีท่ีสูญเสียไปใหกลับคืนมาได ไมสามารถแกความเจ็บปวดทางใจไดท้ังหมด และไมสามารถทําใหพวกเขามีท่ียืนในสังคมเชนคนท่ัวไปได ดังนั้นเราจําตองพิจารณาวิธีแกไขบาดแผลเหลานี้โดยวิธีอ่ืนดวย การยอมรับความจริงเกี่ยวกับเหตุการณนองเลือดคร้ังนี้ การยอมรับวาฝายรัฐกระทําอาชญากรรมและกระทําความผิด การยอมรับวากลุมอันธพาลที่ใชความโหดรายในวันนั้นเปนฝายปาเถ่ือน และไมใชฝาย “รักชาติ” เปนข้ันตอนแรกในการท่ีสังคมไทยจะเร่ิมเปดใจกลาตรวจสอบประวัติศาสตรของเราเองเพ่ือรักษาบาดแผล ตองสรุปบทเรียนจากเหตุการณ 6 ตุลาคมเพ่ือไมใหส่ิงเหลานี้เกิดข้ึนอีกในอนาคต เพราะถาสังคมไทยกลาท่ีจะศึกษาจากบทเรียนดังกลาวอยางนอยความสูญเสียท่ีเกิดข้ึนก็จะไมสูญเปลาไปเสียท้ังหมด

2. ในแงของสังคมไทยโดยรวม นอกจากความสูญเสียสวนตัวแลวความสูญเสียท่ีเกิดจากเหตุการณ 6 ตุลาคมยังเกิดข้ึนในรูปแบบความสูญเสียทางสังคม หรือความสูญเสียในลักษณะสวนรวมดวย ในประการท่ี 1 : การท่ีเจาหนาท่ีรัฐถลมอาคารเรียนของ ม.ธรรมศาสตร ดวยอาวุธสงคราม และการท่ีกลุมอัน ธพาลนอกระบบบุกเขาไปในมหาวิทยาลัยเพื่อทํารายผูคน และทําลายหรือกระท่ังขโมยทรัพยสินสวนรวมกอใหเกิดความเสียหายตอทรัพยสินของประชาชน และตอมหาวิทยาลัยท่ีมีบทบาทในการผลิตผูนําทางสังคม และในการพัฒนาความดีงามของสังคมไทยในหลายยุคหลายสมัย เทานั้นไมพอยังสรางความเกลียด

105

Page 108: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ชัง หวาดระแวง ตอสถาบันการศึกษาอันเปนตนกําเนิดของสายธารประชาธิปไตยแหงนี้ซ่ึงมีผลตอเนื่องมาจนถึงปจจุบันทําใหสถาบันการศึกษาอ่ืนๆพลอยหวาดกลัวภัยทางการเมือง ทําลายประเพณีการตอสูเพื่อสังคมในขบวนการนักศึกษา ปญญาชนตองเลิกราจากกิจกรรมเพ่ือสังคมและคนยากคนจน การบุกทําลาย ม.ธรรมศาสตร จึงเปนการจงใจทําลายจิตวิญญาณการตอสูในหมูนักศึกษา ปญญาชน ท้ังยังปลูกฝงความหวาดกลัวแกบรรดาครูอาจารย และผูบริหารมหาวิทยาลัยในรุนตอๆมา เกิดเปนชองวางท่ีไมอาจสานตอจนแมในปจจุบันนี้ ม.ธรรมศาสตร ก็ยังไมสามารถฟนคืนสูสภาวะปกติได ในประการท่ี 2 : การท่ีคนหนุมสาวและผูนําทางสังคมบางคนตองเสียชีวิต หรือบาดเจ็บทางกายและจิตใจ ท้ังกอนและหลังเหตุการณ บางคนตองล้ีภัยออกนอกประเทศยอมทําใหสังคมไทยสูญเสียทรัพยากรบุคคลท่ีจะมารวมกันพัฒนาประเทศใหมีประชาธิปไตยและความเปนธรรม และเปนท่ีนาสังเกตอยางยิ่งท่ี “คนรุนเดือนตุลา” และคนอ่ืนๆท่ีเปนฝายถูกกระทํา และถูกปายรายวาเปน “ภัย” ตอชาติในเหตุการณนี้ปจจุบันกลับกลาย เปนผูท่ีสังคมไทยใหการยกยอง หรือผูท่ีมีฐานะเปนผูนําของสังคมในหลายๆรูปแบบ ไมวาจะเปนนักวิชา การ นักการเมือง นักธุรกิจ หรือนักกิจกรรมในองคกรพัฒนาเอกชน แตในขณะเดียวกันหลายคนท่ีเคยประกาศตนวา เปนผู “รักชาติ” และยืนอยูกับฝายเผด็จการ คนท่ีเคยใกลชิดกับลูกเสือชาวบาน กลุมกระทิงแดง และกลุมนวพลกลับกลายเปนอาชญากร เปนผูท่ีประพฤติตัวเส่ือมเสีย เปนผูท่ีทําผิดกฎหมาย หรือผิดจริยธรรมในสังคมปจจุบัน ส่ิงเหลานี้ควรจะนํามาประกาศในสังคมไทยอยางชัดเจนเพ่ือเปนบทเรียนสําคัญสําหรับอนาคต ในประการท่ี 3 : เม่ือเรามาพูดถึงจริยธรรมแลวเราควรพิจารณาความสูญเสียทางจริยธรรมท่ีเกิดข้ึนกับสังคม ไทย เนื่องจากเหตุการณ 6 ตุลาคม และการใชความรุนแรง และความเปนเผด็จการในเหตุการณอ่ืนๆดวย เชน เหตุการณพฤษภาทมิฬ 2535 เปนตน เพราะการสรางประเพณีทางการเมืองในสังคมไทยที่ยกยองหรืออยางนอยไมประณาม และไมลงโทษเจาหนาท่ีของรัฐ ไมเอาผิดกับนักการเมืองท่ีใชความรุนแรง และกลไกรัฐเขาประหัตประหารฆาฟนประชาชนเพื่อรักษาอํานาจเผด็จการของตนเปนส่ิงท่ีทําลายวัฒนธรรมความเปนธรรม และวัฒนธรรมประชาธิปไตยในสังคมไทย ดังนั้นส่ิงหนึ่งท่ีเราควรพิจารณาคือ เราจะ “จัดการ” กับบรรดาผูนําประเทศที่ตองรับผิดชอบกับการฆาฟนประชาชนในอดีตอยางไร การ “จัดการ” ดังกลาวมี 2 ระ ดับคือ 1. การปรับปรุงมาตรฐานวัฒนธรรมทางการเมืองใหมในสังคมไทยโดยการประณามการกระทําดังกลาวในอดีตอยางท่ัวถึง 2. การจัดการกับตัวผูนําท่ีเคยกระทําความผิดและท่ียังมีชีวิตอยูในทางกฎหมาย ตัวอยางจากตางประเทศมีมากพอสมควร และเราควรจะศึกษาบทเรียนดังกลาวเพ่ือนํามาประยุกตใชกับสังคมไทยตัวอยางเชน กรณีท่ีอดีตผูนําเผด็จการทหารในประเทศเกาหลีใตถูกจําคุกเนื่องจากกออาชญา กรรมฆาฟนนักศึกษาท่ีกวางจู กรณีผูนํายูโกสลาเวียท่ีถูกสงไปข้ึนศาลนานาชาติในคดีอาชญากรรมทางสงคราม หรือกรณีท่ีนายพล ออกุสโต ปโนเช จากชิลีถูกฟองศาลคดีฆาประชาชนและละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังการกอรัฐประหารในป พ.ศ. 2516 เปนตน

106

Page 109: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

ประเพณีเกาในสังคมไทยท่ีมักจะยกโทษใหผูนําเผด็จการ และปลอยใหคนเหลานี้มีชีวิตอยูอยางสุขสบายในสังคมเปดโดยไมมีการประณามจะตองถูกร้ือท้ิง ในประการท่ี 4 : การที่รัฐบาลไทยออกประกาศข้ึนบัญชี “หนังสือตองหาม” กวา 200 เลมภายหลังการทํารัฐ ประหารเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 โดยท่ีหนังสือดังกลาวสวนใหญเปนหนังสือท่ีเขียนข้ึนโดยปญญาชนช้ันนําของไทย และตางประเทศเปนการทําลายความสรางสรรคทางปญญาเพื่อสรางความคับแคบ การตั้งบัญชีหนังสือตองหามกระทําไปพรอมๆกับการส่ังหามไมใหมีการเรียนการสอนในเร่ืองปรัชญาการเมืองประเภทท่ีทวนกระแสหลัก แนวคิดแบบนี้ของชนชั้นปกครองไทยในยุคนั้นสงผลระดับหนึ่งไปสูระบบการศึกษา และการพัฒนาสติปญญาของคนรุนหลัง โดยเฉพาะคนหนุมสาวท่ีไมมีโอกาสในการฝกฝนตนเองใหคิดเปนเทาท่ีควร ในยุคแหงการปฏิรูปการศึกษาเชนปจจุบันเราเร่ิมเห็นปญหานี้ชัดเจนข้ึน นอกจากนี้ความคับแคบทางความคิดของปญญาชนรุนใหมอาจจะมีผลทําใหประเทศไทยหาทางออกในวิกฤตเศรษฐกิจยากยิ่งข้ึน เนื่องจากภูมิปญญากระแสรองชนิดตางๆท่ีอาจใชในการกูสถานการณถูกทําลายไป ในประการท่ี 5 : การสรางความชอบธรรมกับผูท่ีอางวา “การมีประชาธิปไตยมากเกินไปนําไปสูความปน ปวน” เปนการเปดชองทางใหเผด็จการกลับเขามาในสังคมไทยเสมอ การจัดการกับความขัดแยง และอุดม การณท่ีแตกตางกันดวยความรุนแรงแลวอางเปนความชอบธรรม หรือการอางสถาบันสําคัญของชาติเพื่อโจมตีผูท่ีมีความเห็นตางจากรัฐลวนปูทางไปสูอํานาจเผด็จการ จากการศึกษาประวัติศาสตรของเผด็จการจะเห็นวา ไมมีผูนําเผด็จการคนใดท่ีแกปญหาของชาติอยางจริงจัง ตรงกันขามสวนใหญจะฉวยโอกาสกอบโกยผลประโยชนสวนตัวในขณะท่ีปลอยใหปญหาทางสังคมขยายตัวไปเร่ือยๆ การใหความชอบธรรมกับเผด็จการในรูปแบบท่ีเราทํามาตลอดสงผลใหผูท่ีพยายามเปล่ียนแปลงสังคมเพื่อใหสังคมมีความยุติธรรมมากข้ึนหมดกําลังใจหรือหวาดกลัวภัยจนไมกลาจะทําอะไรเพื่อสวนรวม เราจําเปนจะตองสรางวัฒนธรรมใหม ตองใหความสนับสนุน ยกยอง ช่ืนชม และตอบแทนคุณความดีของผูท่ีกลาตอสูเพื่อความเปนธรรมในสังคม และกลาทาทายกลุมอํานาจมืดในสังคม

ขอเสนอในการจัดการกับความจริงและความสูญเสีย ถึงเวลาแลวท่ีพลเมืองไทยจะตองพิจารณาอดีต และเลือกทางในการแกไขปญหาบาดแผลจากเหตุการณ 6 ตุลาคม 1. การจัดการกับบาดแผล 6 ตุลาคมในสังคมไทยทําโดยการปกปดไมไดอีกแลว ในอดีตภาครัฐและฝายอนุรักษนิยมพยายาม “แกขาว” ความรุนแรงท่ีเกิดข้ึนเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 โดยการใหขอมูลเท็จ และปายรายฝายถูกกระทําวาเปนผูผิด แตภายในระยะเวลาไมถึง 2 ปความพยายามในการปายรายดังกลาวลมเหลว ดังนั้นภาครัฐจึงหันมายกเลิกคดีท่ีเคยดําเนินกับผูนํานักศึกษา และเสนอวาควร “ยก

107

Page 110: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

โทษ” ใหทุกฝายและ “ลืม” เหตุการณนี้ไป แตนี่ก็ไมใชทางออกเชนกัน ในยุคแหงประชาธิปไตยธรรมรัฐ ความโปรงใส การตรวจสอบ และการมีสวนรวมของพลเมืองไทย การปกปดส่ิงท่ีเกิดข้ึนเม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 ไมใชวิธีการท่ีเหมาะสม ดังนั้นในยุคนี้ตองมีการเผชิญหนากับความจริงในประวัติศาสตรของสังคมเรา ท้ังๆท่ีผูกระทําความผิดอาจเปนผูท่ียังมีอํานาจหรืออิทธิพลในสังคมอยูก็ตาม สังคมเราจะกลากาวตอไปเพื่อสรางจริยธรรมหรือไม ? 2. ทางแกไขบาดแผลคงจะมากกวาแคเร่ืองเงินชดเชย เงินชดเชยแกปญหาบาดแผลไมได และสรางสังคมท่ีมีจริยธรรมไมได แตเราไมควรมองขามเร่ืองเงินชดเชยถาเปนประโยชนจริงๆกับผูสูญเสียบางคนในยุคปจจุบัน 3. ทางแกไขบาดแผลจะตองมากกวาคํา “ขอโทษ” โดยรัฐ คํา “ขอโทษ” จากรัฐไทยอาจเปนกาวหนึ่งในทิศทางการยอมรับวา มีอาชญากรรมของรัฐเกิดข้ึน โดยท่ีรัฐเปนผูกระทําความผิด แตคําขอโทษคงจะไมพอ และอาจไมเหมาะสมกับสถานการณปจจุบัน ในท่ีสุดตองมีการทําความเขาใจอยางท่ัวถึงในสังคมเราวา เม่ือวันท่ี 6 ตุลาคม 2519 รัฐไทยกระทําความผิดอยางไร การยอมรับส่ิงนี้ตองทําอยางเปดเผยผานส่ือตางๆ รวมถึงตําราเรียนในโรงเรียนดวย คนรุนหลังจะไดเรียนรูประวัติศาสตรของตนเอง และพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยได 4. ควรมีการเปดเผยขอมูลเพิ่มขึ้น ในยุคท่ีมีการพูดถึงความโปรงใส และสิทธิเสรีภาพในการรับรูขอมูลเพื่อตรวจสอบองคกรของรัฐและสังคมโดยท่ัวไป เราควรจะผลักดันใหหนวยงานของรัฐเปดเผยขอมูลทุกชนิดเกี่ยวกับเหตุการณ 6 ตุลาคม (และเหตุการณอ่ืนท่ีคลายกัน เชน พฤษภาทมิฬ 2535) เราตองการทราบวาใครบางในองคกรของรัฐเปนผูส่ังการใหเจาหนาท่ีใชอาวุธฆาฟนประชาชน เราตองการทราบวาผูส่ังใชอํานาจส่ังการในรูปแบบไหน ผานสายงานอะไร และคนเหลานี้ใชเงินภาษีของประชาชนในการดําเนินการดังกลาวอยางไร องคกรสิทธิมนุษยชน และกลุมพลเมืองอื่นๆควรจะเรียกรองสิทธิท่ีจะรับรูขอมูลดังกลาวตามหลักการในรัฐธรรมนูญฉบับใหม นอกจากนี้ควรมีการแตงต้ังคณะกรรมการทางการท่ีมีอํานาจตรวจสอบทางกฎหมายเพื่อรวบรวม และศึกษาขอมูลตอไป คณะกรรมการดังกลาวอาจใชรูปแบบกรรมการแสวงหาความจริงท่ีใชในตางประเทศ หรือรูปแบบอ่ืนก็ได

108

Page 111: อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง

การพิมพรายงานช้ินนี้เปนโอกาสสําหรับสังคมไทยท่ีจะรักษาบาดแผลจากเหตุการณ 6 ตุลาคม และสรางมาตรฐานจริยธรรมทางการเมืองใหม ความสําเร็จในเปาหมายนี้ข้ึนอยูกับความจริงใจของรัฐบาล สภาผูแทนราษฎร วุฒิสภา พรรคการเมือง ส่ือมวลชน องคกรประชาชน และพลเมืองธรรมดา ชลธิรา สัตยาวัฒนา และ ใจ อ๊ึงภากรณ

109