8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ....

24
เอกสารคําสอน วิชา ศ.452 เศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ Lecture Notes for EC452 International Monetary and Financial Economics บทที่8 ระบบการเงินระหว่างประเทศ พิจิตรา ประภัสสรมนู คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการเศรษฐศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาไทย สิงหาคม 2562

Upload: others

Post on 09-Aug-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

เอกสารคําสอน

วิชา ศ.452 เศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ

Lecture Notes for EC452 International Monetary and Financial Economics

บทที่ 8

ระบบการเงินระหว่างประเทศ

พิจิตรา ประภัสสรมนู

คณะเศรษฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โครงการเศรษฐศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาไทยสิงหาคม 2562

Page 2: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

1

ในบทนี้เราจะศึกษาพัฒนาการของระบบการเงินระหว่าวประเทศของโลก โดยจะศึกษาถึงความ

เป็นมาของระบบการเงินระหว่างประเทศตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน รวมถึงกฎกติกา ข้อบกพร่อง ข้อดี

และแนวทางในการปรับปรุงระบบการเงินระหว่างประเทศ เราสามารถแบ่งช่วงของระบบการเงินระหว่าง

ประเทศได้เป็น 4 ยุคสมัยดังนี้

1. ระบบมาตรฐานทองคํา (pure gold standard) ค.ศ. 1870-1914 หรือจนสิ้นสุดสงครามโลก

ครั้งที่หนึ่ง

2. ยุคมืด ค.ศ. 1914-1945 หรือช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง-สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

3. ระบบเบรตเต็นวูดส์ (Bretton Woods) หรือระบบมาตรฐานแลกเปลี่ยนทองคํา (Gold ex-

change standard) ปีค.ศ. 1946-1971

4. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ถึงปัจจุบัน

8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914

ในช่วงปีค.ศ. 1870-1914 มีการค้นพบทองคําเป็นปริมาณมาก ประเทศต่างๆหันมาใช้ทองคําเป็น

สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมากขึ้น ประกอบกับในช่วงนั้นประเทศอังกฤษเป็นมหาอํานาจในการค้า

ของโลกได้กําหนดค่าเงินปอนด์ไว้กับทองคํา ดังนั้นประเทศที่จะค้าขายกู้ยืมกับอังกฤษต้องกําหนด

ค่าเงินไว้กับทองคําด้วย เศรษฐกิจภายใต้ระบบมาตรฐานทองคํารุ่งเรืองมากจนเรียกได้ว่าเป็นยุคทอง

(The golden age) แห่งการค้าและการลงทุนจนมีผู้ตั้งคําถามว่าระบบมาตรฐานทองคําเป็นระบบที่

เอื้ออํานวยให้เศรษฐกิจโลกเจริญรุ่งเรืองจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานพบว่าประเทศต่างๆ

ไม่ได้ดําเนินนโยบายการเงินตามกฏเกณฑ์ของระบบมาตรฐานทองคําอย่างแท้จริง ดังนั้นความรุ่งเรือง

อาจไม่ได้มาจากตัวระบบ แต่อาจมาจากสาเหตุอื่น เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรม

ลักษณะสําคัญของระบบมาตรฐานทองคําคือมีการกําหนดให้ทองคํา 1 กก. มีมูลค่าเท่ากับหน่วย

ของเงินสกุลในประเทศ เช่น ทองคํา 1 กิโลกรัมมีค่าเท่ากับ 500,000 บาท ถ้าประเทศได้ทองคํา

เพิ่ม 1 กิโลกรัม ประเทศจะเพิ่มอุปทานของเงินได้ 500,000 บาท การที่ราคาทองคําเทียบกับเงิน

สกุลต่างๆมีค่าคงที่ ทําให้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินต่างๆคงที่ด้วย เช่น ราคาดอลลาร์ 35

ดอลลาร์/ออนซ์ ราคาปอนด์ 14.58 ปอนด์/ออนซ์ ดังนั้น ราคาดอลลาร์/ปอนด์ มีค่าเท่ากับ 35/14.58=2.4

นั่นคือ ทองคําทําหน้าที่เป็นมาตรฐานในการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินต่างๆ และการนํา

Page 3: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

2

เข้าส่งออกทองคําระหว่างประเทศทําได้เสรี ไม่มีข้อจํากัดใด หากประเทศมีการขาดดุลการชําระเงิน

ประเทศสามารถนําเข้าทองคําได้ไม่มีข้อจํากัด

ในระบบมาตรฐานทองคํา ธนาคารกลางต้องรักษาอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินในประเทศ

และทองคําให้คงที่ โดยต้องกําหนดปริมาณทองคําที่เก็บเป็นเงินสํารองระหว่างประเทศให้เหมาะสม

การรักษาสมดุลภายนอก (external balance) ไม่ได้อยู่ที่การรักษาดุลการชําระเงินสมดุลโดยตรงแต่

เป็นการรักษาปริมาณทองคําไหลเข้าออกอย่างเหมาะสม ส่วนการรักษาดุลภายใน (internal balance)

ทําได้โดยการจํากัดการขยายตัวของปริมาณเงินโดยปริมาณทองคํา ทําให้ประเทศมีเสถียรภาพทาง

ด้านราคา

ในกรณีที่ธนาคารกลางอังกฤษเพิ่มปริมาณเงินจะทําให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศลดลง ส่งผลให้

อัตราผลตอบแทนในสินทรัพย์เงินปอนด์ลดลง นักลงทุนจึงหันไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ โดย

นักลงทุนจะขายเงินปอนด์แลกกับทองคํา แล้วขายทองคําเพื่อแลกกับเงินในสกุลที่ให้อัตราดอกเบี้ย

สูงกว่า เหตุการณ์นี้ทําให้เงินทุนไหลออกจากประเทศอังกฤษ และในเมื่อธนาคารกลางอังกฤษซื้อ

ปอนด์ ขายทองคําเพื่อรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ ธนาคารกลางอังกฤษจะมีเงินทุนสํารองระหว่าง

ประเทศน้อยลง ขณะที่ธนาคารต่างประเทศมีเงินทุนสํารองมากขึ้น เพราะมีการซื้อทองคําจากนัก

ลงทุน การที่อังกฤษมีทองคําน้อยลง ปริมาณเงินในประเทศที่ลดลงจะกดดันให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น

อัตราดอกเบี้ยในประเทศปรับตัวจนเท่ากับอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ เราจะเห็นว่ากลไกการปรับตัว

เป็นแบบสมมาตร (symmetric) กันระหว่างประเทศ ประเทศที่สูญเสียเงินสํารองจะมีปริมาณเงินที่

ลดลง ส่วนต่างประเทศมีเงินสํารองเพิ่มขึ้นและมีปริมาณเงินที่สูงขึ้น

กลไกการปรับตัวนี้เรียกว่า Price-Spicie-Flow Mechanism ซึ่งคือการที่ราคาสินค้ามีการปรับ

ตัวเมื่อมีการไหลเข้าออกของทองคํา การปรับตัวนี้เกิดขึ้นตามสมการ MV = PQ โดยที่ M คือ

ปริมาณเงิน V คือ ความเร็วของการไหลของเงิน P คือราคาสินค้า และ Q คือปริมาณสินค้า ถ้า

ประเทศไม่มีการใช้นโยบาย sterilization คือไม่มีการปรับอุปทานของเงินเพื่อชดเชยการเปลี่ยนแปลง

ปริมาณเงินอันเนื่องจากการเสียดุลการชําระเงิน เมื่อประเทศมีดุลการชําระเงินขาดดุล ประเทศสูญ

เสียทองคํา ส่งผลให้อุปทานเงินจะลดลง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ต้องใช้นโยบายใดๆเพื่อเพิ่มอุปทาน

เงิน เพราะราคาสินค้าจะปรับลดลงโดยอัตโนมัติ ทําให้การส่งออกดีขึ้น การขาดดุลการชําระเงินลด

ลง ส่วนการเกินดุลการชําระเงินทําให้อุปทานเงินเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าสูงขึ้น ส่งออกแย่ลง นําเข้า

มากขึ้น จนในที่สุดดุลการชําระเงินปรับตัวสมดุล

ข้อดีของการใช้ระบบมาตรฐานทองคํานอกจากจะมีกลไกการปรับตัวทางการเงินแบบสมมาตรแล้ว

Page 4: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

3

ก็คือการที่ประเทศต่างๆกําหนดค่าเงินเทียบกับทองคํา หมายความว่าปริมาณเงินจะไม่โตเร็วกว่าความ

ต้องการถือเงิน จึงจะไม่ทําให้เกิดปัญหาราคาสินค้าสูงจากการขยายตัวของปริมาณเงินอย่างรวดเร็ว

ระบบมาตรฐานทองคําเป็นตัวจํากัดไม่ให้ธนาคารกลางใช้นโยบายการเงินขยายตัวที่มากไปจนทําให้

เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งคือการที่มูลค่าที่แท้จริงของเงินในประเทศมีเสถียรภาพและสามารถทํานาย

ได้

ข้อเสียหรือข้อบกพร่องของการใช้ระบบมาตรฐานทองคํา คือ

1. เนื่องจากมาตรฐานทองคําเป็นการจํากัดปริมาณเงินเท่ากับปริมาณทองคํา การใช้นโยบายการ

เงินขยายตัวเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทําได้ยาก

2. การผูกค่าเงินไว้กับทองคําจะทําให้ราคาสินค้ามีเสถียรภาพก็ต่อเมื่อราคาเปรียบเทียบของทองคํา

กับสินค้าอื่นๆมีเสถียรภาพ เช่นถ้าราคาดอลลาร์เท่ากับ 35 ดอลลาร์/ออนซ์ ราคาทองคําใน

ตะกร้าสินค้ามีค่าเท่ากับ 1/3 ของตะกร้าสินค้า/ออนซ์ ซึ่งหมายความว่าราคาสินค้าในประเทศ

เท่ากับ 105 ดอลลาร์ต่อหนึ่งตะกร้าสินค้า สมมติว่าถ้ามีการค้นพบทองคํามากขึ้น ราคาทองคํา

ตกเป็น 1/4 ของตะกร้าสินค้า/ออนซ์ ในขณะที่ราคาดอลลาร์เหมือนเดิม ดังนั้นราคาสินค้ามี

ค่าเท่ากับ 140 ดอลลาร์ต่อตะกร้าสินค้า เราจะเห็นว่าราคาสินค้ามีความผันผวนตามการเปลี่ยนแปลง

ในราคาเปรียบเทียบของทองคําต่อสินค้าอื่นๆ

3. ภายใต้ระบบมาตรฐานทองคํา ธนาคารกลางไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณและการถือเงินสํารอง

ระหว่างประเทศได้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในปริมาณทองคําที่ธนาคารกลางถือ

4. ระบบมาตรฐานทองคําส่งเสริมให้ประเทศที่มีทองคําผลิตทองคํามากขึ้น เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา

แอฟริกาใต้ รัสเซีย ออสเตรเลีย ซึ่งทําให้ประเทศเหล่านี้มีอิทธิผลอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก

ผ่านการซื้อขายทองคําในตลาดทองคํา

5. การผูกค่าเงินไว้กับทองคําทําให้ค่าเงินไม่มีเสถียรภาพ เพราะสภาพคล่องในระบบขึ้นกับการ

ค้นพบปริมาณทองคําในแต่ละปี ถ้าเศรษฐกิจโลกขึ้นกับปริมาณทองคํา ปริมาณเงินจะผันผวน

ตามปริมาณทองคําที่ผลิตได้ ระบบการเงินระหว่างประเทศไม่มีเสถียรภาพตามไปด้วย

6. มาตรฐานทองคําไม่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจโลกที่มีความซับซ้อน การขาดดุลการชําระเงิน

นานๆต้องปรับด้วยการลดอุปทานเงินซึ่งทําให้เกิดปัญหาการว่างงานได้

Page 5: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

4

เราจะเห็นว่าช่วงปีที่ใช้ระบบมาตรฐานทองคําคือ ปี 1870-1914 เป็นยุคทอง (The Golden

Age) ของการค้าการลงทุน กลไกการปรับตัวด้านดุลการชําระเงินทํางานได้ดี และเป็นช่วงปีที่มีการ

ค้นพบทองคําเป็นจํานวนมาก ประเทศอังกฤษเป็นมหาอํานาจของโลกได้ผูกค่าเงินปอน์ไว้กับทองคํา

ส่งผลให้ประเทศคู่ค้ากับอังกฤษต้องผูกค่าเงินไว้กับเงินปอนด์ด้วย กรุงลอนดอนเป็นศูนย์กลางการ

เงินโลกและเงินปอนด์เป็นที่ยอมรับทั่วโลก อังกฤษเป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย (lender of last re-

sort) เป็นนายธนาคารของโลกที่ให้กู้ยืมและการลงทุนระหว่างประเทศ

8.2 ยุคมืด ค.ศ. 1914-1945

ในช่วงสงครามโลกประเทศต่างๆไม่ยอมค้าขายกันส่งผลให้เงินตราต่างประเทศแลกเปลี่ยนกันไม่ได้

(ไม่มี convertibility) รวมถึงมีการห้ามส่งออกทองคําเพราะกลัวว่าจะสูญเสียทองที่ต้องใช้ชําระค่า

ใช้จ่ายในการทําสงคราม ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน ระบบเศรษฐกิจการเมืองและระบบ

การเงินระหว่างประเทศยุ่งเหยิงมาก นอกจากนี้เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าครั้งใหญ่

(The great depression) ทําให้มีการว่างงานสูง รายได้ตกตํ่า เหตุผลของการเกิดเศรษฐกิจตกตํ่าทั่ว

โลกเพราะอุปสงค์รวม (aggregate demand) น้อยเกินไป ส่งผลให้การผลิตตกตํ่า การว่างงานสูงขึ้น

สาเหตุสําคัญมาจากแรงงานและความสามารถในการผลิตน้อยลงจากภาวะสงคราม ภาวะเศรษฐกิจ

ตํ่าลุกลามไปทั่วโลกทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก หลายประเทศประสบปัญหาเงินเฟ้อด้วย เพราะ

มีการพิมพ์เงินเพิ่มเพื่อนําเงินไปฟื้นฟูประเทศหลังสงคราม

The great depression เริ่มจากการที่เศรษฐกิจอังกฤษเริ่มถดถอยในช่วงปี 1920s และตลาด

หุ้นในอเมริกาล่มในปีค.ศ. 1929 ทําให้ภาคการเงินมีปัญหาและลุกลามไปทั่วโลก ในปีค.ศ. 1931

นักลงทุนเริ่มไม่ไว้ใจในเงินปอนด์ เพราะไม่แน่ใจว่าเงินปอนด์จะสามารถรักษาค่าเงินที่กําหนดไว้กับ

ทองคําได้ ในปีค.ศ. 1933 อเมริกาประกาศลดค่าเงิน อย่างไรก็ตาม ประเทศอื่นเช่น ฝรั่งเศส

เบลเยี่ยม สวิสเซอร์แลนด์ (“Gold bloc” countries) ยังตรึงค่าเงินไว้กับทองคําได้จนปีค.ศ. 1936

หลังจากที่หลายประเทศประกาศลดค่าเงินเศรษฐกิจของประเทศที่เหล่านี้ค่อยๆฟื้นฟูดีขึ้น การฟื้นฟู

เศรษฐกิจโดยการดําเนินนโยบายกระตุ้นการเจริญเติบโตของรายได้ในประเทศเป็นนโยบายที่เราเรียก

ว่านโยบายขอทานเพื่อนบ้าน (Beggar-thy-neighbor policies) ซึ่งคือนโยบายที่ทําให้เศรษฐกิจใน

ประเทศดีขึ้นแต่ทําให้เศรษฐกิจต่างประเทศแย่ลง เช่น อเมริกาใช้นโยบายปกป้องแรงงานในประเทศ

เพื่อสนับสนุนการจ้างงานในประเทศ ทําให้การจ้างแรงงานต่างชาติน้อยลง แคนาดาเพิ่มอัตราภาษี

Page 6: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

5

ส่งออกไปยังอเมริกา ทําให้อเมริกานําเข้าสินค้าที่แพงขึ้น

8.3 ระบบเบรตเต็นวูดส์หรือระบบมาตรฐานแลกเปลี่ยนทองคํา ค.ศ.

1946-1971

หลังจากยุคมืดที่ระบบการเงินของโลกมีความวุ่นวาย ประเทศต่างๆทั่วโลกได้ร่วมมือกันปฏิรูประบบ

การเงินระหว่างประเทศจนเกิดระบบการเงินระหว่างประเทศขึ้นใหม่เรียกว่าระบบ Bretton Woods

ชื่อระบบนี้เป็นผลมาจากการประชุมปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศที่เมืองเบรตเต็นวูดส์ รัฐนิว

แฮมเชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ของตัวแทนประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งเป็นผู้ชนะสงคราม ลักษณะ

ที่สําคัญของการปฏิรูประบบการเงินของโลกในครั้งนี้ ได้แก่

1. มีการจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ทําหน้า

ที่สร้างกฏเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในระบบการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงให้ความช่วยเหลือแก่

ประเทศสมาชิกที่มีปัญหาการเงิน โดยประเทศสมาชิกต้องนําเงินสมทบเข้ากองทุน เงินสมทบ

นี้จะขึ้นอยู่กับโควตาของแต่ละประเทศ ซึ่งเงินสมทบอยู่ในรูปของทองคํา 25% ของโควตา

และเงินตราสกุลของตนเอง 75% ของโควตา ขนาดของโควตาขึ้นกับความสําคัญของประเทศ

ต่างๆในการค้าโลก ประเทศที่มีโควตามากมีอํานาจในการออกเสียงลงมติมากและมีสิทธิกู้เงิน

จาก IMF ได้มากเช่นกัน

2. กําหนดระบบอัตราแลกเปลี่ยนใหม่เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่แบบปรับได้ (adjustable

peg) โดยกําหนดให้เงินดอลลาร์มีค่าเท่ากับ 35 ดอลลาร์ต่อทองคํา 1 ออนซ์ และเงินดอลลาร์

สามารถเปลี่ยนเป็นทองคําได้อย่างไม่จํากัด ทําให้เงินดอลลาร์กลายเป็นเงินสกุลหลัก (key

currency) ของโลก และประเทศอื่นๆต้องประกาศค่าเงินของตนเองอิงกับทองคําหรือดอลลาร์

ค่าเงินที่ประกาศออกมาเรียกว่า ค่าเสมอภาค (par value) โดยประเทศต้องเข้าแทรกแซง

โดยการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพื่อปกป้องค่าเสมอภาคที่ประกาศไว้ไม่ให้เกินแถบความ

กว้าง (band) ที่กําหนดไว้ และเนื่องจากการแทรกแซงค่าเงินทําได้โดยการซื้อขายดอลลาร์

เงินดอลลาร์จึงถูกเรียกว่าเป็นสกุลเงินที่ใช้แทรกแซง (intervention currency) ในระบบเบรต

เต็นวูดส์จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าระบบมาตรฐานดอลลาร์

3. การสะสมเงินสํารองระหว่างประเทศทําได้โดยการสะสมทองคําและเงินตราต่างประเทศสกุลสําคัญๆ

Page 7: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

6

เนื่องจากความต้องการใช้เงินสํารองระหว่างประเทศมากขึ้นทุกปี ประเทศต่างๆทั่วโลกสะสม

เงินดอลลาร์เป็นเงินทุนสํารองระหว่างประเทศในปริมาณมากทําให้อเมริกาขาดดุการชําระเงิน

มากขึ้น เพราะอเมริกาส่งออกเงินดอลลาร์ให้ประเทศอื่นๆเพื่อใช้ในการค้าและใช้เป็นเงินสํารอง

ระหว่างประเทศ

4. ประเทศสมาชิกต้องไม่ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราของตน เงินตราสกุลต่างๆต้องมี con-

vertibility ในขณะเดียวกันก็ต้องทําให้อัตราแลกเปลี่ยนในเงินตราสกุลต่างๆคงที่ด้วย ดังนั้น

ถ้าประเทศมีปัญหาไม่สมดุลในดุลการชําระเงิน อัตราแลกเปลี่ยนไม่ใช่ตัวปรับให้เข้าสู่สมดุล

แต่เป็นกลไกการปรับตัวทางรายได้ เมื่อประเทศขาดดุลการชําระเงิน รายได้ของประเทศลด

ลง การจ้างงานน้อยลง และการว่างงานสูงขึ้น

8.3.1 การรักษาดุลภายใน (internal balance) และดุลภายนอก (external bal-

ance) ภายใต้ระบบ Bretton Woods

ดุลยภาพภายในเกิดเมื่อระดับผลผลิตที่มีการจ้างงานเต็มที่เท่ากับอุปสงค์มวลรวม ซึ่งสมการแสดง

ได้โดนสมการ

Y f = A+ CA(EP ∗/P,A)

โดย Y f คือรายได้ที่มีการจ้างงานเต็มที่ A คือส่วนการดูดซับหรือการใช้จ่ายในประเทศ CA คือดุล

บัญชีเดินสะพัดที่ขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง (EP ∗/P ) และการใช้จ่ายในประเทศ (A)

เราจะสร้างเส้น II ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน (E) และการใช้จ่ายในประเทศ

(domestic spending, A) ที่ทําให้เกิดสมดุลภายในที่รายได้ในประเทศอยู่ในระดับที่มีการจ้างงานเต็ม

ที่ โดยที่เส้น II มีความชันเป็นลบ เพราะการเพิ่มการใช้จ่ายรัฐบาล (G) ส่งผลให้อุปสงค์รวมเพิ่ม

ทําให้รายได้มากกว่ารายได้ที่มีการจ้างงานเต็มที่ อัตราแลกเปลี่ยนจึงต้องแข็งค่าเพื่อรักษาสมดุลภายใน

นอกจากนี้ จุดที่อยู่เหนือเส้น II แสดงถึงการใช้จ่ายที่มากกว่ารายได้ที่มีการจ้างงานเต็มที่ ดังนั้น

เศรษฐกิจมีการจ้างงานมากไป (overemployment) ส่วนจุดใต้เส้น II การใช้จ่ายน้อยไป เกิดปัญหา

จ้างงานตํ่าเกินไป (underemployment)

ดุลยภาพภายนอกเกิดเมื่อดุลบัญชีเดินสะพัดมีค่าเท่ากับ Z ซึ่งค่าเป้าหมายของดุลบัญชีเดินสะพัด

Page 8: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

7

สามารถแสดงได้โดยสมการ

CA(EP ∗/P,A) = Z

เช่นเดียวกัน เราจะสร้างเส้น XX ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน (E) กับการใช้

จ่ายในประเทศ (A) เส้น XX มีความชันเป็นบวก เพราะการเพิ่มการใช้จ่ายทําให้รายได้เพิ่มขึ้น ส่ง

ผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดแย่ลง ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนต้องอ่อนค่าเพื่อรักษาสมดุลภายนอก เราจะ

เห็นว่าจุดที่อยู่บนเส้น XX แสดงว่าดุลบัญชีเดินสะพัดมีค่าเท่ากับเป้าหมาย Z ส่วนจุดที่อยู่บน

เส้น XX อัตราแลกเปลี่ยนสูงเกินกว่าจะทําให้ดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในเป้าหมาย แสดงว่าดุลบัญชี

เดินสะพัดเกินดุล ในทางตรงกันข้าม จุดที่อยู่ใต้เส้น XX แสดงการขาดดุลในบัญชีเดินสะพัด

รูปที่ 8.1 แสดงสมดุลภายในที่แสดงด้วยเส้น II และสมดุลภายนอกที่แสดงด้วยเส้น XX จุด

ตัดกันของทั้งสองเส้นทําให้เกิดเขตเศรษฐกิจ 4 ส่วนที่สะท้อนปัญหาทางเศรษฐกิจต่างกัน ได้แก่

เขตที่ 1 ปัญหาการจ้างงานมากเกินไปและการเกินดุลในบัญชีเดินสะพัดมากเกินไป เขตที่ 2 มี

ปัญหาการจ้างงานมากเกินไปและการขาดดุลในบัญชีเดินสะพัดมากเกินไป เขตที่ 3 ปัญหาการจ้าง

งานน้อยเกินไปและการขาดดุลในบัญชีเดินสะพัดมากเกินไป และเขตที่ 4 ปัญหาการจ้างงานน้อย

เกินไปและการเกินดุลในบัญชีเดินสะพัดมากเกินไป

รูปที่ 8.1: ดุลภายในและดุลภายนอก

จุดตัดของเส้น II และ XX ที่จุดที่ 1 เป็นจุดที่ได้ทั้งดุลภายในและดุลภายนอก ในกรณีที่

Page 9: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

8

เศรษฐกิจไม่ได้อยู่ในดุลยภาพที่จุดที่ 1 รัฐบาลต้องดําเนินนโยบาบการเงินหรือนโยบายการคลังเพื่อ

ยกระดับรายได้ให้เข้าสู่รายได้ที่มีการจ้างงานเต็มที่ อย่างไรก็ตาม เราได้ศึกษามาก่อนหน้านี้แล้วว่า

ภายใต้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ นโยบายการเงินไม่มีประสิทธิผลแต่นโยบายการคลังโดยการเพิ่มการ

ใช้จ่ายรัฐบาลและนโยบายการลดค่าเงินมีประสิทธิผลทําให้รายได้ของประเทศเพิ่มขึ้นได้ ภายในระบบ

อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ การใช้นโยบายการคลังจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า นโยบายการคลังที่ทําให้เกิด

การเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายในประเทศเพื่อทําให้รายได้เปลี่ยนมาอยู่ที่จุดที่ 1 เรียกว่า expenditure-

changing policy เพราะเป็นการเปลี่ยนขนาด (level) ของอุปสงค์มวลรวมของประเทศ ส่วนนโยบาย

ที่ทําให้การใช้จ่ายเปลี่ยนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเรียกว่า expenditure-

switching policy เพราะเป็นการเปลี่ยนทิศทาง (direction) ของอุปสงค์รวม การอ่อนค่าของเงินใน

ประเทศทําให้การนําเข้าลดลงการส่งออกดีขึ้น มี expenditure switching จากการใช้จ่ายในสินค้า

ต่างประเทศมาใช้จ่ายในสินค้าในประเทศ

ภายใต้ระบบ Bretton Woods นโยบาย expenditure-switching จากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลก

เปลี่ยนทําได้ไม่บ่อยนัก นโยบายที่เลือกได้ในการทําให้เศรษฐกิจได้ดุลภายในและดุลภายนอกคือ นโยบาย

การคลังที่ทําให้เกิด expenditure-changing อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นว่าภายใต้ระบบ Bretton Woods

การดําเนินนโยบายการคลังเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทําให้เกิดดุลภายในและดุลภายนอกพร้อมกัน

ได้ ดังที่แสดงในรูปที่ 8.2 ที่จุดที่ 2 เศรษฐกิจมีการจ้างงานตํ่าไปและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล

ต้องมีการใช้ทั้งนโยบายการลดค่าเงิน (expenditure-switching) และนโยบายการคลังขยายตัว (expenditure-

changing) เพื่อทําให้เศรษฐกิจได้ทั้งดุลภายในและภายนอก อย่างไรก็ตาม ภายใต้อัตราแลกเปลี่ยน

คงที่อย่างระบบ Bretton Woods เราไม่สามารถใช้นโยบายที่ทําให้เกิดสมดุลภายในและภายนอก

พร้อมกันได้ เพราะเราไม่สามารถใช้นโยบายการลดค่าเงินได้ สิ่งที่ทําได้คือการใช้นโยบายการคลัง

การคลังเพียงอย่างเดียว นโยบายการคลังขยายตัวจะทําให้เศรษฐกิจเคลื่อนไปที่จุดที่ 3 เกิดสมดุล

ภายใน แต่จะยิ่งทําให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้นอีก ส่วนนโยบายการคลังหดตัว ทําให้เศรษฐกิจ

เคลื่อนไปที่จุดที่ 4 เกิดสมดุลภายนอกแต่จะยิ่งทําให้ดุลภายในแย่ลง

8.3.2 ข้อบกพร่องของระบบ Bretton Woods

ระบบ Bretton Woods มีข้อเสียซึ่งจะนําไปสู่การล่มสลายของระบบ ข้อบกพร่องเหล่านี้ ได้แก่

1. ในระบบ Bretton Woods ก่อให้เกิดการเก็งกําไรในอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งนักลงทุนจะมีการ

Page 10: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

9

รูปที่ 8.2: การปรับตัวเข้าสู่ดุลภายในและดุลภายนอกภายใต้ระบบ Bretton Woods

เก็งกําไรไปในทางเดียว คือการที่ค่าเงินของประเทศที่ขาดดุลการชําระเงินจะลดค่า นักลงทุน

จึงมีแนวโน้มที่จะขายเงินสกุลในประเทศ ซื้อเงินตราต่างประเทศเก็บไว้ และเมื่อมีการลดค่า

เงินในประเทศจริง นักลงทุนจะขายเงินตราต่างประเทศเพื่อแลกเป็นเงินในประเทศเพื่อทํากําไร

การเก็งกําไรในลักษณะนี้ทําให้อัตราแลกเปลี่ยนไม่มีเสถียรภาพ

2. ปัญหาความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์ ในระบบ Bretton Woods ก่อให้เกิดความต้องการเงิน

ดอลลาร์เพื่อใช้เป็นเงินสํารองระหว่างประเทศในปริมาณมาก ทําให้อเมริกาต้องผลิตเงินดอลลาร์

มากขึ้น อเมริกาจึงขาดดุลการชําระเงินกับประเทศอื่นๆในปริมาณมาก เมื่อดอลลาร์อยู่ในมือ

ประเทศอื่นๆมากๆ ในขณะที่ปริมาณทองคําเพิ่มขึ้นช้า ความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์ลดลง ผู้

ที่ถือเงินดอลลาร์ไม่แน่ใจว่าอเมริกาจะสามารถรับแลกดอลลาร์เป็นทองคําในปริมาณมากๆพร้อมๆ

กันได้ การรับประกันว่าอมริกาจะสามารถให้แลกเงินดอลลาร์กับทองคําได้ไม่จํากัดเป็นปัญหา

ที่สําคัญที่สุด ถ้าอเมริกาจะแก้ปัญหานี้โดยให้อเมริกาขาดดุลน้อยลง อเมริกาพิมพ์เงินดอลลาร์

ออกมาน้อยลงก็จะเกิดปัญหาที่โลกไม่มีเงินสํารองเพียงพอ ฉะนั้นระบบการเงินโลกต้องเผชิญ

ปัญหา 2 ประเภทที่เสมือนเป็นทางสองแพร่ง (dilemma) คือปัญหาความเชื่อมั่นในค่าเงิน

ดอลลาร์ (confidence problem) และปัญหาสภาพคล่องไม่พอเพียง (liquidity problem)

3. ความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศทางด้านการเงินมีไม่มาก กล่าวคือ ยุคที่สงครามโลก

Page 11: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

10

ครั้งที่ 2 เพิ่งยุติ ประเทศต่างๆมีความต้องการที่จะฟื้นฟูการค้าการลงทุน และมีความต้องการ

เงินสํารองระหว่างประเทศสูง เกิดการขาดแคลนเงินดอลลาร์ อเมริกาจึงต้องพิมพ์ดอลลาร์

เพิ่ม ส่งผลให้อเมริกาขาดดุลการชําระเงินมากขึ้น ขณะที่ประเทศที่แพ้สงครามอย่างเยอรมนี

และญี่ปุ่นมีการเกินดุลการชําระเงิน และมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าอเมริกาที่มี

การขาดดุลการชําระเงิน เมื่อเศรษฐกิจโลกมีความไม่สมดุลจําเป็นต้องมีการปรับตัวเกิดขึ้น แต่

ภายใต้ระบบ Bretton Woods อเมริกาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงิน

ดอลลาร์กับทองคําได้ ถ้าทําเช่นนั้นเท่ากับว่าเป็นการยกเลิกข้อตกลงว่าอเมริกาจะรักษาอัตรา

แลกเปลี่ยนให้คงที่ในระดับนี้ตลอดไป เมื่ออเมริกาปรับตัวไม่ได้ ญี่ปุ่นและเยอรมนีที่มีการ

เกินดุลในบัญชีดุลการชําระเงินต้องปรับตัวโดยการเพิ่มค่าเงินตัวเอง แต่ทั้งสองประเทศต่าง

ไม่ยอมปรับ อีกทั้งอเมริกาเองได้ผลิตเงินออกมาเป็นจํานวนมากเพื่อนําไปใช้จ่ายในสงคราม

เวียดนาม ในขณะเดียวกันนักลงทุนมีการคาดการณ์ว่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่า มีการเทขายดอลลาร์

ในปริมาณมาก ถ้าทุกประเทศที่ถือเงินดอลลาร์นําเงินดอลลาร์มาแลกเป็นทองคํากับอเมริกา

ในเวลาพร้อมๆกัน อเมริกาคงไม่มีทองคําเพียงพอ อเมริกาตัดสินใจยกเลิกสัญญาที่จะยอม

แลกดอลลาร์กับทองคําในเดือนสิงหาคม 1971 ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเลิกระบบ Bretton Woods

ไปโดยปริยาย

อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะล้มเลิกระบบ Bretton Woods ประชาคมโลกได้มีความพยายามในการปฏิรูป

ระบบดังต่อไปนี้

1. ได้มีขยายบทบาทของ IMF เช่น ให้มีอํานาจในการให้กู้มากขึ้น มีการสร้างสิทธิพิเศษถอน

เงิน (SDR) โดยให้ SDR ทําหน้าที่แทนทองคําที่มีปริมาณจํากัด SDR เป็นกระดาษที่ทํา

หน้าที่เป็นเงินตราหรือเป็นทองคํากระดาษ (paper gold) ประเทศแต่ละประเทศสามารถสะสม

SDR เป็นเงินทุนสํารองระหว่างประเทศแทนการสะสมทองคํา โดยมูลค่าของ SDR อิงตาม

เงินตราสกุลสําคัญๆ

2. ให้มีการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างธนาคารกลางด้วยกันเองเพื่อลดปัญหาความเชื่อมั่นในเงิน

ดอลลาร์ อย่างเช่น ธนาคารกลางอังกฤษแลกเงินดอลลาร์ที่ตัวเองถือกับธนาคารกลางอเมริกา

ที่ถือเงินปอนด์ การที่ธนาคารกลางแลกเงินดอลลาร์ระหว่างกันเองช่วยลดปัญหาความเชื่อมั่น

ของเงินดอลลาร์ไปได้ระดับหนึ่ง คือถ้าอเมริกาไม่ต้องการให้ประเทศอื่นๆถือเงินดอลลาร์มาก

นัก ก็ให้นําเอาดอลลาร์ที่ประเทศนั้นถืออยู่มาแลกกับเงินของตัวเองที่ธนาคารกลางอเมริกา

Page 12: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

11

ถืออยู่

3. แยกราคาทองคําเป็น 2 ตลาด เพื่อไม่ให้แรงกดดันในราคาทองคําสูงขึ้น เช่นให้ทองคําใน

ตลาดทางการมีราคา 35 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนราคาทองคําในตลาดเอกชนให้ขึ้นกับอุปสงค์

อุปทานของทองคําในตลาด

4. เพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้น ประเทศที่เกินดุลกับประเทศที่ขาดดุลต้องมีการปรับ

ตัวโดยมีการปรึกษาหารือกันเพื่อใช้นโยบายให้สอดคล้องกันทั้งประเทศที่เกินดุลและขาดดุล

5. ส่งเสริมให้ใช้เงินตราหลักหลายสกุลเป็นเงินสํารองระหว่างประเทศแทนการใช้เงินดอลลาร์เพียง

อย่างเดียว อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่จะตกลงกันระหว่างประเทศได้ เพราะการกําหนดสัดส่วน

เงินตราสกุลต่างๆเพื่อใช้เป็นนํ้าหนักในการกําหนดค่าของเงินสํารองระหว่างประเทศต้องการ

ความร่วมมือระหว่างประเทศ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน

6. เสนอให้มีการกําหนดขอบเขตเงินตราที่เหมาะสม (optimum currency areas) โดยที่เขตเศรษฐกิจ

เดียวกันมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ระหว่างกัน ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเขตมีความยืดหยุ่น

ได้ ทั้งนี้ เขตเงินตราเดียวกันต้องสามารถเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว

และมีต้นทุนตํ่า เขตเงินตราที่เหมาะสมแต่ละเขตเปรียบเสมือนประเทศเดียวกัน เมื่อมีปัญหา

ไม่ต้องปรับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างกัน เพราะการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตช่วยลดปัญหา

ได้ระดับหนึ่ง นอกจากนี้ ประเทศเล็กที่มีเศรษฐกิจเปิดควรอิงค่าเงินไว้กับเงินสกุลสําคัญเพื่อ

ไม่ให้ราคาสินค้าในประเทศผันผวนจากการรับเอาความไม่มีเสถียรภาพจากภายนอกเข้ามาใน

ประเทศอย่างเต็มที่ ส่วนประเทศใหญ่จะเลือกใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบใดไม่น่ามีผล

8.4 ระบบอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันระบบการเงินระหว่างประเทศที่กําลังใช้อยู่ในโลกคือระบบการเงินที่มีการจัดการเกี่ยวกับอัตรา

แลกเปลี่ยน (managed exchange rate system) ระบบนี้จะเปิดโอกาสให้เลือกใช้ระบบอัตราแลก

เปลี่ยนตามที่เห็นสมควร โดยที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางสามารถเข้าแทรกแซงในตลาดเงินตราต่าง

ประเทศเพื่อลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในระยะสั้น แต่จะปล่อยให้กลไกตลาดทํางานเพื่อ

ให้อัตราแลกเปลี่ยนเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาว ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบมีการจัดการนี้เป็นการนํา

Page 13: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

12

เอาข้อดีของทั้งระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวและระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่มาใช้ให้เกิด

ประโยชน์สูงสุด

8.4.1 ข้อดีข้อเสียของระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว

ข้อดีของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวมีดังต่อไปนี้

1. ความเป็นอิสระในการดําเนินนโยบายการเงิน (Monetary Policy Autonomy)

ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ความสามารถในการใช้นโยบายการเงินของประเทศมีจํากัด เพราะ

การรักษาอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ทําได้ด้วยการรักษาอัตราดอกเบี้ยในประเทศให้เท่ากับอัตราดอกเบี้ย

ของต่างประเทศที่ประเทศผูกค่าเงินไว้ ส่วนในระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ธนาคารกลาง

มีความเป็นอิสระในการใช้นโยบายการเงินมากขึ้น ในกรณีที่เศรษฐกิจมีการว่างงาน ธนาคาร

กลางสามารถใช้นโยบายการเงินขยายตัวกดดันให้อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้น ค่าเงินในประเทศ

อ่อนค่า ส่งเสริมให้การส่งออกและรายได้ของประเทศมากขึ้น

นอกจากนี้ ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ประเทศสามารถกําหนดอัตราเงินเฟ้อเป้า

หมายในระยะยาวได้เองโดยไม่จําเป็นต้องเผชิญกับการส่งผ่านทางราคาจากต่างประเทศ ใน

กรณีที่ต่างประเทศมีอัตราเงินเฟ้อสูง จะมีการส่งผ่านทางราคาให้เศรษฐกิจในประเทศประสบ

ภาวะเงินเฟ้อตามไปด้วยถ้าอัตราแลกเปลี่ยนถูกกําหนดให้คงที่ กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าต่าง

ประเทศสูง ประเทศจะมีดุลการชําระเงินเกินดุล เพระมีความได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น

ส่งผลให้มีความต้องการถือเงินในประเทศเพิ่มขึ้น ธนาคารกลางต้องเพิ่มปริมาณเงินเพื่อกําจัด

ส่วนเกินในอุปสงค์การถือเงิน ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าในประเทศสูงขึ้น ภายใต้อัตราแลก

เปลี่ยนคงที่จึงมีการนําเข้าอัตราเงินเฟ้อจากต่างประเทศ (import foreign inflation) อย่างไร

ก็ตาม ในระบบที่อัตราแลกเปลี่ยนยืดหยุ่นได้ อัตราแลกเปลี่ยนเป็นฉนวนป้องกันการส่งผ่าน

ภาวะเงินเฟ้อได้ เช่น ถ้าอเมริกาเพิ่มปริมาณ ระดับราคาสินค้าในอเมริกาสูงขึ้น ค่าเงินดอลลาร์

อ่อนค่า ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าโดยเปรียบเทียบ นั่นคือ อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นตัวเงินลด

ลงโดยที่ระดับราคาสินค้าในประเทศไม่เปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติธนาคารกลางอาจจะไม่ได้มีความเป็นอิสระในการดําเนินนโยบาย

การเงินอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนมีผลกระทบต่อตัวแปรทางมหภาค

อื่นๆ ซึ่งทําให้ธนาคารกลางอาจจะถูกกดดันให้ต้องดําเนินนโยบายอื่นๆเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

Page 14: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

13

ธนาคารกลางจึงไม่มีความเป็นอิสระในการดําเนินนโยบาย

2. ความสมมาตรของนโยบายการเงิน (Symmetry)

ภายใต้ระบบ Bretton Woods ก่อให้เกิดความไม่สมมาตร (asymmetry) ในระบบการเงินของ

โลก 2 ประการ ประการแรก การที่เงินดอลลาร์เป็นเงินสกุลหลักของโลกที่ทุกๆประเทศใน

โลกต้องผูกค่าเงินของตัวเองไว้กับเงินดอลลาร์ ทําให้ธนาคารกลางของอเมริกามีบทบาทหลัก

ในการกําหนดปริมาณเงินของโลก ในขณะที่ประเทศอื่นๆในโลกไม่มีแม้กระทั่งบทบาทในการ

กําหนดปริมาณเงินในประเทศตัวเอง ประการที่สอง ประเทศที่มีความไม่สมดุลพื้นฐาน (fun-

damental disequilibrium) ควรจะมีการลดค่าเงินของตัวเองเพื่อปรับตัวเข้าสู่สมดุล แต่ภาย

ใต้ระบบ Bretton Woods อเมริกาที่ประสบภาวะไม่สมดุลพื้นฐานกลับประกาศลดค่าเงินไม่

ได้

ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ประเทศมีอิสระในการดําเนินนโยบายการเงินการคลัง

เพื่อปรับอัตราแลกเปลี่ยนได้ ค่าเงินของแต่ละประเทศจะถูกกําหนดจากกลไกราคาในตลาด

เงินตราต่างประเทศอย่างสมมาตรกันทั่วโลก

3. อัตราแลกเปลี่ยนเป็น Automatic Stabilizers ในระบบเศรษฐกิจ

รูปที่ 8.3 แสดงการปรับตัวของอัตราแลกเปลี่ยนภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่และระบบ

อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวเมื่อมีการลดลงของอุปสงค์ในประเทศเนื่องจากอุปสงค์ต่อสินค้าส่ง

ออกน้อยลง เมื่อมีการลดลงของอุปสงค์รวม เส้น DD เคลื่อนไปทางซ้ายจากเส้น DD1

เป็น DD2 สมมติให้การเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์รวมเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบชั่วคราว ดัง

นั้นการเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนในระยะยาว ภาย

ใต้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ดุลยภาพเปลี่ยนจากจุดที่ 1 เป็นจุดที่ 2 ที่อัตราแลกเปลี่ยนสูง

ขึ้น ค่าเงินในประเทศอ่อนค่าลง เราจะเห็นว่าการลดลงของอุปสงค์รวมทําให้รายได้ในประเทศ

ลดลง อุปสงค์ของการถือเงินที่แท้จริงลดลง อัตราดอกเบี้ยในประเทศลดลงเพื่อรักษาดุลยภาพ

ในตลาดเงินในประเทศ ในขณะเดียวการลดลงของอัตราดอกเบี้ยในประเทศกดดันให้อัตราแลก

เปลี่ยนสูงขึ้น

ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ธนาคารกลางต้องเข้าแทรกแซงไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนสูง

ขึ้นโดยการซื้อเงินสกุลในประเทศ ขายเงินตราต่างประเทศ ปริมาณเงินในประเทศลดลงส่ง

ผลให้เส้น AA เลื่อนไปทางซ้ายเป็น AA2 ผลผลิตลดลงเป็น Y 3 ซึ่งลดลงมากกว่ากรณี

Page 15: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

14

อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เราจะเห็นว่าภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว อัตราแลกเปลี่ยน

ช่วบลดความผันผวนจากผลกระทบภายนอกประเทศได้

รูปที่ 8.3: อัตราแลกเปลี่ยนเป็น Automatic Stabilizers ในระบบเศรษฐกิจ

ในกรณีที่อุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกลดลงอย่างถาวร อัตราแลกเปลี่ยนคาดการณ์ (Ee) สูงขึ้น

ด้วย เส้น AA2 เลื่อนกลับไปเป็นเส้น AA1 เราจะเห็นว่าเมื่อ shock ในระบบเศรษฐกิจเกิด

ขึ้นอย่างถาวร อัตราแลกเปลี่ยนจะยิ่งปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินในประเทศอ่อนค่ามากกว่ากรณี shock

แบบชั่วคราว อัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่านี้เป็นตัวบรรเทาให้รายได้หรือผลผลิตในประเทศไม่

ลดลงมากนัก

ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ถ้าหาก shock ที่เกิดขึ้นทําให้เกิดปัญหาความไม่สมดุล

พื้นฐาน (fundamental disequilibrium) จะมีการคาดการณ์ว่าค่าเงินในประเทศจะมีการลด

ค่า นักลงทุนพากันเก็งกําไรค่าเงินและเคลื่อนย้ายเงินลงทุนออกนอกประเทศ ซึ่งจะยิ่งทําให้

เงินสํารองระหว่างประเทศลดลง ปริมาณเงินในประเทศหดตัว และยิ่งทําให้ปัญหาการว่างงาน

รุนแรงขึ้น ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว อัตราแลกเปลี่ยนมีการอ่อนค่าอย่างแท้จริง

(real depreciation) เพราะอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นตัวเงินอ่อนค่า การเปลี่ยนแปลงในอัตรา

แลกเปลี่ยนจะไม่กดดันให้ราคาปรับตัวลดลงและไม่สร้างแรงจูงใจในการเก็งกําไรในค่าเงิน

4. อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวสามารถป้องกันการขาดดุลและเกินดุลในบัญชีเดินสะพัดที่มากเกิน

Page 16: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

15

ไป

ในกรณีที่ประเทศขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ประเทศต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเพื่อชดเชยการ

ขาดดุลดังกล่าว เมื่อมีการกู้ยืมประเทศต้องชําระคืนเงินกู้ ในการชําระหนี้ที่กู้ยืมมาประเทศ

ต้องมีรายได้จากการส่งออกมากขึ้นเพื่อนํารายได้ส่วนนี้ไปจ่ายคืนเงินกู้ อัตราแลกเปลี่ยนใน

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวจะมีการปรับตัวสูงขึ้น เพื่อให้ค่าเงินในประเทศอ่อนค่าและผลัก

ดันให้การส่งออกดีขึ้น ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวจึงช่วยให้มีการปรับตัวของดุลบัญชีเดิน

สะพัดหรือดุลการชําระเงินได้อย่างอัตโนมัติโดยที่ธนาคารกลางไม่จําเป็นต้องดํารงทุนสํารองระหว่าง

ประเทศไว้เป็นจํานวนมากเพื่อปกป้องค่าเงิน

5. การเก็งกําไรในค่าเงินมีเสถียรภาพ (stabilizing speculation) ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยน

ลอยตัว

แนวคิดเกี่ยวกับการเก็งกําไรในค่าเงินแบ่งเป็น 2 แนวคิด คือ การเก็งกําไรอย่างมีเสถียรภาพ

(stabilizing speculation) และการเก็งกําไรที่ไม่มีเสถียรภาพ (destabilizing speculation)

การเก็งกําไรที่มีเสถียรภาพเป็นการเก็งกําไรที่ตรงข้ามกับตลาด เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนตํ่า นัก

เก็งกําไรคาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะสูงขึ้น นักเก็งกําไรจึงซื้อเงินตราต่างประเทศเก็บไว้ และ

ขายเงินตราต่างประเทศออกเพื่อทํากําไรเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นในอนาคต การเก็งกําไร

โดยการซื้อเงินตราต่างประเทศทําให้เงินตราต่างประเทศมีราคาแพงหรือเงินตราต่างประเทศ

แข็งค่า ค่าเงินในประเทศอ่อนค่าเป็นไปตามที่นักเก็งกําไรคาดการณ์ไว้ และถ้าหากอัตราแลก

เปลี่ยนสูง นักเก็งกําไรคาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะลดลง นักเก็งกําไรจะรีบขายเงินตราต่างประเทศ

และซื้อเงินตราต่างประเทศคืนเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนลดลง การเก็งกําไรลักษณะนี้จะทําให้อัตรา

แลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวไปตามตัวแปรเศรษฐกิจพื้นฐานและอัตราแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนแปลง

เพียงเล็กน้อย

การเก็งกําไรที่ไม่มีเสถียรภาพเป็นการเก็งกําไรที่มีทิศทางเดียวกับการผันผวนของตลาด เมื่อ

อัตราแลกเปลี่ยนลดลง นักเก็งกําไรคาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะยิ่งลดตํ่าลงในอนาคต นักเก็ง

กําไรขายเงินตราต่างประเทศ การขายเงินตราต่างประเทศจะยิ่งทําให้ค่าเงินในประเทศแข็งค่า

เงินตราต่างประเทศอ่อนค่า เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนกําลังเพิ่มขึ้น นักเก็งกําไรคาดว่าอัตราแลก

เปลี่ยนจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต นักเก็งกําไรเข้าซื้อเงินตราต่างประเทศ และขายเงินตราต่าง

ประเทศในอนาคต การซื้อเงินตราต่างประเทศของนักเก็งกําไรจะยิ่งทําให้เงินตราต่างประเทศ

Page 17: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

16

แข็งค่า เงินในประเทศอ่อนค่า อัตราแลกเปลี่ยนยิ่งสูงขึ้น การเก็งกําไรลักษณะนี้ทําให้อัตรา

แลกเปลี่ยนผันผวนมาก

ผู้สนับสนุนระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวมองว่าภายใต้ระบบนี้ นักเก็งกําไรผลักดันให้เกิดการ

เก็งกําไรแบบมีเสถียรภาพ เช่น เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนจะสูงขึ้น นักเก็งกําไรคาดว่าอัตราแลก

เปลี่ยนจะตํ่าลง การเก็งกําไรโดยการขายเงินตราต่างประเทศกดดันให้อัตราแลกเปลี่ยนตํ่าลง

จริงๆ ค่าเงินในประเทศแข็งค่า การแข็งค่าของค่าเงินในประเทศเป็นตัวจํากัดไม่ให้ดุลบัญชี

เดินสะพัดเกินดุลมากเกินไป อัตราแลกเปลี่ยนภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวจะ

ไม่ผันผวนมากไปเพราะการเก็งกําไรที่มีเสถียรภาพช่วยทําให้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับที่เหมาะ

สมกับการเกิดสมดุลภายนอก นอกจากนี้ การที่อัตราแลกเปลี่ยนถูกกําหนดจากกลไกราคา

ในตลาดเงินตราต่างประเทศทําให้แรงจูงใจในการโจมตีค่าเงินมีน้อย

ข้อเสียของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวคือ การที่อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนขึ้นลงตามอุปสงค์

และอุปทานของเงินตราต่างประเทศเป็นอุปสรรคสําหรับในการดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศ เพราะ

จะทําให้เกิดกําไรหรือขาดทุนจากการผันผวนได้ ในการที่จะลดความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนและ

ปกป้องความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ ประเทศต้องพัฒนาตลาดเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าให้

ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้นักลงทุนทําสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าเพื่อปกป้อง

ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

8.4.2 ข้อดีข้อเสียของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่

ข้อดีของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่

1. ความมีวินัยในการดําเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (Discipline for Macroeconomic Poli-

cies)

ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ธนาคารกลางมีความเป็นอิสระในการดําเนินนโยบายการ

เงิน โดยธนาคารกลางสามารถปรับเปลี่ยนปริมาณเงินให้เหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจในประเทศ

อย่างไรก็ตาม ความเป็นอิสระในการดําเนินนโยบายอาจทําให้ธนาคารกลางหรือรัฐบาลดําเนิน

นโยบายอย่างไม่มีวินัย เช่น การใช้นโยบายการเงินขยายตัวเป็นเวลานานทําให้ประเทศประสบ

ปัญหาเงินเฟ้อในอนาคต อย่างไรก็ตาม การที่อัตราแลกเปลี่ยนถูกกําหนดให้คงที่เทียบกับเงิน

Page 18: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

17

สกุลต่างประเทศหนึ่ง ธนาคารกลางหรือรัฐบาลต้องมีวินัยในการดําเนินนโยบายเพื่อรักษาอัตรา

แลกเปลี่ยนให้คงที่อยู่เสมอ

ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ธนาคารกลางสามารถพิมพ์เงินเพิ่มขึ้นได้ ผลของการ

เพิ่มปริมาณเงินคืออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ขณะที่ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่จะช่วยป้องกัน

การพิมพ์เงินเพิ่มเพื่อนําไปใช้จ่ายของภาครัฐบาลได้ (seigniorage) เพราะเมื่อใดที่มีการพิมพ์

เงินเพื่อนําไปใช้จ่ายของภาครัฐ เปรียบเสมือนว่าธนาคารกลางเป็นเจ้าหนี้ที่ให้กู้แก่รัฐบาลที่

มีงบประมาณขาดดุล นั่นคือ การที่รัฐบาลมีการใช้งบประมาณขาดดุล รัฐบาลต้องมีภาระผูก

ผันในการจ่ายคืนหนี้ที่กู้ยืมมาจากธนาคารกลางเพื่อ finance งบประมาณที่ขาดดุลนี้ ซึ่งเปรียบ

เสมือนว่าการพิมพ์เงินเพิ่มเพื่อนําไปใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นการเก็บภาษีอัตราเงินเฟ้อจากประชาชน

ที่ถือเงิน

2. เพิ่มความเชื่อมั่นจากนักลงทุนจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ

ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ นักลงทุนไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงจากความผันผวนของ

อัตราแลกเปลี่ยน ต้นทุนการดําเนินธุรกรรมระหว่างประเทศน้อยลง ทําให้เกิดสภาวะที่ดีต่อ

การค้าการลงทุน

ข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนคงที่

1. การกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าหากเรากําหนดอัตราแลกเปลี่ยนให้

มีมูลค่าสูงเกินไป (overvalued) จะทําให้ราคาสินค้าส่งออกแพงเกินไป ราคาสินค้าเข้าถูกเกิน

ไป ส่งผลให้ให้ดุลการค้าเลวลงได้

2. การกําหนดค่าเงินคงที่อาจถูกโจมตีค่าเงินจากนักเก็งกําไรได้ถ้าหากเงื่อนไขอื่นๆ อํานวย เช่น

เงินทุนสํารองระหว่างประเทศมีน้อย ไม่มีการควบคุมการปริวรรตเงินตรา

3. เมื่อเกิดปัญหาขาดดุลหรือเกินดุลในดุลการชําระเงิน อัตราแลกเปลี่ยนไม่สามารถเป็นกลไก

ช่วยในการปรับตัวเพื่อบรรเทาปัญหาได้

จากข้อดีข้อเสียของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่และลอยตัวทําให้มีการดําเนินนโยบายอัตราแลก

เปลี่ยนแบบลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Floating Exchange Rate) โดยปล่อยให้อัตรา

แลกเปลี่ยนลอยตัวเป็นไปตามกลไกตลาด แต่ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากไป ธนาคารกลางเข้า

Page 19: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

18

แทรกแซงเพื่อรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในช่วงที่ต้องการ ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบ

มีการจัดการ อัตราแลกเปลี่ยนจะไม่แข็งค่าหรืออ่อนค่ามากเกินไป การแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน

ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจะช่วยลดต้นทุนหรือความเสียหายจากการเกิด exchange rate overshoot-

ing นอกจากนี้ การแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้อัตราแลกเปลี่ยนปรับ

ตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาว

8.4.3 ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ประเทศต่างๆเลือกใช้

เราสามารถแบ่งระบบอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้

1. กําหนดค่าเงินอิงกับสกุลอื่น (Peg) โดยธนาคารเข้าแทรกแซงค่าเงินให้อยู่ในระดับที่กําหนด

โดยยอมให้ค่าเงินเปลี่ยนได้บ้างในแถบ (band) แคบๆ การกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่โดย

อิงค่าเงินในประเทศกับเงินสกุลอื่นสามารถจําแนกย่อยเป็น 3 ประเภทดังนี้

(a) การใช้เงินสกุลอื่นแทนเงินตราของตนเอง (Dollalization) ประเทศเลือกใช้เงินดอลลาร์

สหรัฐเป็นเงินตราของตนเอง ได้แก่ ประเทศเอกวาดอร์ ปานามา ประเทศหมู่เกาะบาง

ประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก

(b) การอิงกับเงินตราสกุลหลักเพียงสกุลเดียว (Single Currency Peg) เป็นการอิงค่าเงิน

ไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐหรือเงินสกุลหลักอื่นๆ ได้แก่ ประเทศโอมาน ซาอุดิอาระเบีย

จีน บังกลาเทศ บางกรณีประเทศใช้ระบบคณะกรรมการเงินตรา (currency board) ซึ่ง

เป็นระบบที่ผูกค่าเงินของประเทศไว้กับเงินสกุลหลักตายตัว โดยคณะกรรมการเงินตรา

จะถือเงินสกุลหลักไว้เป็นเงินสํารองสําหรับใช้แทรกแซงเพื่อรักษาค่าเงินให้คงที่ คณะ

กรรมการเงินตราไม่มีอํานาจในการดําเนินนโยบายการเงินโดยอิสระ มีหน้าที่เพียงแทรกแซง

อัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น ซึ่งทําให้ระบบนี้มีข้อดีตรงที่ไม่มีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง

ได้ ประเทศที่ใช้ระบบ currency board ได้แก่ ประเทศบรูไน ลิทัวเนีย เอสโตเนีย

(c) การอิงกับเงินหลายสกุล (Basket Peg) เป็นการอิงค่าเงินกับตะกร้าของเงินตราต่างประเทศ

ที่กําหนด เช่นประเทศฟิจิ โมร็อกโก ประเทศไทยเคยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนนี้ในช่วง

ก่อนมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540

2. ยืดหยุ่นอย่างจํากัด (Limited Flexibility) ระบบนี้เป็นการอิงค่าเงินกับเงินสกุลเดียวหรือหลาย

Page 20: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

19

สกุลก็ได้ แต่ค่าของอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดสามารถเคลื่อนไหวใน band ที่กว้างกว่าในกลุ่ม

ที่ 1 กรณีที่ค่าเงินเป้าหมายปรับเปลี่ยนได้ทีละน้อยภายใน band เราเรียกระบบนี้ว่า Crawl-

ing Pegs ส่วนในกรณีที่ band สามารถปรับเปลี่ยนได้ทีละน้อย เรียกว่า Crawling Bands

ประเทศที่ใช้ระบบเหล่านี้ ได้แก่ โบลิเวีย นิคารากัว อิสราเอล

3. ยืดหยุ่นมากขึ้น (More Flexibility) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ปล่อยให้อัตราแลก

เปลี่ยนลอยตัวแต่มีการแทรกแซงเป็นครั้งคราว (Managed Floating) กับประเภทที่ปล่อย

ให้ค่าเงินลอยตัวอย่างอิสระ (Independent Floating) ประเทศที่ใช้ระบบลอยตัวแบบมีการจัดการ

ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม ส่วนประเทศที่อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวอิสระ ได้แก่ อเมริกา

แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อังกฤษ

การเลือกใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบใดขึ้นกับลักษณะของระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ

ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่มักใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ส่วนประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจ

เล็กมักใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนอิงกับเงินตราสกุลหลัก ถ้าหากประเทศที่มีปัญหาเงินเฟ้อสูง ประเทศ

ที่มีการผลิตหลากหลาย (diversified economies) ที่ไม่พึ่งพาสาขาหนึ่งในอัตราที่สูง และประเทศที่

มีความเกี่ยวเนื่องกับตลาดทุนของโลกมากควรใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เพื่อให้อัตราแลก

เปลี่ยนปรับตัวอัตโนมัติตามสภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ข้อบกพร่องของระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบมีการจัดการ

1. ค่าเงินในประเทศมีค่าที่ไม่สอดคล้องกับค่าเงินที่ดุลยภาพ (Currency Misalignment) คือปัญหา

ที่อัตราแลกเปลี่ยนไม่ปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพ โดยค่าเงินอาจจะแข็งค่าทั้งๆที่ประเทศขาดดุลการชําระเงิน

ต่อเนื่อง ถึงแม้เราจะปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาด แต่ก็ต้องมีการแทรกแซง

เพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนได้ดุลยภาพ

2. ส่งเสริมให้เกิดการกีดกันทางการค้า เมื่อประเทศมีการเกินดุล/ขาดดุลการชําระเงินแต่ไม่ต้องการ

แทรกแซงค่าเงิน โดยหันมาใช้การกีดกันทางการค้าเป็นมาตรการแก้ปัญหาการขาดดุล/เกิน

ดุลในดุลการชําระเงิน

3. นโยบายเศรษฐกิจมหภาคของประเทศต่างๆไม่เป็นอิสระต่อกัน (No Policy Autonomy) การ

เปิดเสรีการค้าการลงทุนระหว่างประเทศที่มากขึ้นทําให้ประเทศต้องพึ่งพิงกันมากขึ้น และผล

ของนโยบายของประเทศหนึ่งมีผลกับอีกประเทศ

Page 21: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

20

4. ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้ง่าย การที่เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศมีความคล่องตัวทําให้

เกิดการเก็งกําไรในค่าเงินจนนําไปสู่วิกฤคิการณ์ทางการเงินได้

8.4.4 นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศกําลังพัฒนา

ประเทศกําลังพัฒนามักมีระบบเศรษฐกิจขนาดเล็ก ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมน่าจะเป็นการ

ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่โดยอิงค่าเงินกับเงินสกุลหลัก ซึ่งจะทําให้ราคาในประเทศมีเสถียรภาพ

นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในค่าเงิน อย่างไรก็ตาม การปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวมีข้อดีที่อัตรา

แลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นได้จะเป็นฉนวนป้องกันความผันผวนจากภายนอกได้ ประเด็นที่ควรพิจารณา

ว่าประเทศกําลังพัฒนาควรจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบใดมี 2 ประเด็นคือ (1) ถ้าต้องการอิงค่าเงิน

ไว้กับเงินสกุลหลักควรอิงไว้กับเงินสกุลใด หรือถ้าอิงกับตะกร้าของเงินตราต่างประเทศ สัดส่วนของ

เงินตราต่างประเทศในตะกร้าควรเป็นเท่าไร และ (2) ถ้าจะให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวควรจะปล่อย

ลอยตัวอิสระหรือจะยังมีการแทรกแซงอยู่บ้าง

ทางเลือกของประเทศกําลังพัฒนามี 3 แนวทางคือ

1. ถ้าประเทศค้าขายกับประเทศใดมากก็อิงค่าเงินกับเงินตราของประเทศคู่ค้า

2. อิงค่าเงินไว้กับตะกร้าเงินตราต่างประเทศหลายๆสกุล

3. ประเทศกําลังพัฒนาที่มีระบบเศรษฐกิจค่อนข้างใหญ่เลือกใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวและ

แทรกแซงเป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตาม ประเทศกําลังพัฒนาหลายประเทศไม่เห็นด้วยกับการ

ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เพราะเห็นว่าทําให้เกิดผลเสียต่อประเทศดังนี้

• ความไม่แน่นอนในรายได้จากการส่งออก รายจ่ายเพื่อการนําเข้า มูลค่าของเงินสํารอง

ระหว่างประเทศ

• อัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นได้จะนําไปสู่การแบ่งเขตเงินตรา (currency area) ในลักษณะ

ที่แต่ละเขตเงินตราจะประกอบด้วยประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ (ประเทศพัฒนาแล้ว)

1 ประเทศและประเทศบริวารอีกจํานวนหนึ่ง ในเขตเศรษฐกิจแต่ละเขตประเทศบริวาร

ค้าขายกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โอกาสที่ประเทศบริวารในเขตหนึ่งค้าขายกับประเทศบริวาร

ในอีกเขตหนึ่งมีน้อย เพราะอยู่กันคนละเขตเงินตราและอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวระหว่าง

Page 22: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

21

กัน ในที่สุดประเทศกําลังพัฒนาต้องพึ่งพาประเทศที่พัฒนาแล้วที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจเดียวกัน

มากเกินไป

• ความกลัวในการจัดการกับเงินสํารองระหว่างประเทศและหนี้ต่างประเทศ เมื่ออัตราแลก

เปลี่ยนยืดหยุ่นได้ มูลค่าเงินสํารองระหว่างประเทศและมูลค่าหนี้ต่างประเทศมีค่าไม่แน่นอน

ขึ้นกับการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละช่วงเวลา

• การพัฒนาตลาดเงินตราต่างประเทศให้ทํางานอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้อัตราแลกเปลี่ยน

ลอยตัวไม่ใช่เรื่องง่ายสําหรับประเทศกําลังพัฒนา

ด้วยเหตุเหล่านี้ประเทศกําลังพัฒนาส่วนใหญ่เลือกใช้ระบบการกําหนดค่าเงินให้คงที่โดยอิงค่า

เงินไว้กับเงินสกุลหลัก ประเทศเหล่านี้เลือกที่จะทิ้งเป้าหมายการดําเนินนโยบายการเงินอย่าง

อิสระเพื่อแลกกับเสถียรภาพด้านราคาและอัตราแลกเปลี่ยน

8.4.5 นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศไทย

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตรา (multiple exchange

rate system) โดยให้อัตราแลกเปลี่ยนราชการมีค่าเท่ากับ 12.50 บาท/ดอลลาร์ และอัตราแลกเปลี่ยน

ในตลาดเสรีซึ่งกําหนดโดยอุปสงค์อุปทานตลาด ทั้งนี้ อัตราในตลาดเสรีสูงกว่าอัตราราชการเสมอ

นอกจากนี้ มีการกําหนดให้ผู้ส่งออกต้องขายเงินตราต่างประเทศให้ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยอัตรา

ราชการ ส่วนผู้นําเข้าซื้อเงินตราต่างประเทศในอัตราตลาด ยกเว้นผู้นําเข้าสินค้าจําเป็นที่ได้รับอนุญาต

ให้ซื้อเงินตราต่างประเทศในอัตราราชการ

ปีพ.ศ. 2492 ไทยสมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แต่ยังไม่พร้อม

ประกาศค่าเสมอภาค ในปีพ.ศ. 2498 เมื่อปัญหาการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศบรรเทาลง รัฐบาล

จึงเริ่มใช้นโยบายการค้าและการเงินระหว่างประเทศที่เสรีมากขึ้น โดยยกเลิกระบบอัตราแลกเปลี่ยน

หลายอัตราและจัดตั้ง “ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา” (Exchange Equalization Fund

หรือ EEF) เพื่อแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศให้ค่าเงินบาทมีเพียงอัตราเดียวและมีเสถียรภาพ

มากขึ้น โดยเงินบาทมีค่าประมาณ 20 บาท/ดอลลาร์

เราสามารถแบ่งระบบอัตราแลกเปลี่ยนต่างๆของประเทศไทยได้เป็น 6 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2498-2506 หรือ ค.ศ. 1955-1963) ประเทศไทยเป็นสมาชิก IMF แล้ว

แต่ยังไม่สามารถกําหนดค่าเสมอภาคของเงินบาทได้ เนื่องจากรัฐบาลในยุคนั้นเห็นว่าฐานะการเงิน

Page 23: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

22

ของประเทศยังไม่มั่นคงเพียงพอ ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามรักษาค่าเงินบาทไว้ที่ 20 บาท/

ดอลลาร์

ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2506-2521 หรือ ค.ศ. 1963-1978) ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2506 รัฐบาล

ไทยตกลงกําหนดค่าเสมอภาคของเงินบาทตามพันธะที่มีกับ IMF 1 บาท = ทองคํา 0.0427245

กรัม หรือ 20.80 บาทต่อดอลลาร์ และกําหนด band เท่ากับ ±1% เมื่อมีการยกเลิกระบบเบรตเต็

นวูดส์ และมีข้อตกลงชื่อ Smithsonian Agreement ไทยลดค่าเงินบาทตามการลดค่าของเงินดอลลาร์

ดังนี้

• การลดค่าเงินครั้งที่ 1 พ.ศ. 2514 ลดค่าเงินบาท 1 บาท = ทองคํา 0.0395516 เพื่อรักษา

อัตราแลกเปลี่ยน 20.80 บาทต่อดอลลาร์เดิม และเปลี่ยนแปลง band เป็น ±2.25%

• การลดค่าเงินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2516 มีการประกาศลดค่าเงินอีก 10% ตามการลดค่าเงินดอลลาร์

• การเพิ่มค่าเงินบาทในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2516 เนื่องจากการลดค่าเงินไม่ช่วยให้ดุลการค้า

ปรับตัวดีขึ้น สถานการณ์การเงินระหว่างประเทศยังคงวุ่นวาย มีการเก็งกําไรค่าเงินต่อเนื่อง

ไทยจึงประกาศเพิ่มค่าเงินเป็น 20 บาท/ดอลลาร์

ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2521-2524 หรือ ค.ศ. 1978-1981) ภายหลังการยกเลิกระบบเบรตเต็นวูดส์

เงินสกุลสําคัญของโลกมีค่าผันผวนมากขึ้น ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติการณ์พลังงานถึง

สองครั้ง ก่อให้เกิดปัญหาการชําระเงินระหว่างประเทศเรื้อรัง ในปี พ.ศ. 2521 ธนาคารแห่งประเทศไทย

ยกเลิกการกําหนดค่าเสมอภาค หันมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นโดยผูกค่า

เงินบาทไว้กับตะกร้าเงิน (basket) โดยใช้วิธีกําหนดค่าเงินประจําวันร่วมกันกับธนาคารพาณิชย์ ใน

ระบบ daily fixing

ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2524-2527 หรือ ค.ศ. 1981-1984) เงินดอลลาร์แข็งขึ้นและไทยมีปัญหา

ขาดดุลการค้ารุนแรงมากเนื่องมาจากวิกฤติการณ์นํ้ามันครั้งที่ 2 ทําให้เงินบาทเริ่มมีแนวโน้มอ่อน

ตัวเทียบกับดอลลาร์ มีการเก็งกําไรในเงินบาทมากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องขายเงินดอลลาร์

ออกไปอย่างมากและอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาค่าเงินบาทไว้ เป็นเหตุให้เงินสํารองระหว่างประเทศลด

ลงอย่างมาก ในปีพ.ศ. 2524 มีการยกเลิกระบบ daily fixing และประกาศลดค่าเงินจาก 21

บาท/ดอลลาร์ เป็น 23 บาท/ดอลลาร์ และให้ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นผู้กําหนดอัตรา

แลกเปลี่ยนเอง ในช่วงนี้เป็นช่วงที่เศรษฐกิจยํ่าแย่ มีทั้งการเกิดวิกฤตการณ์นํ้ามันและวิกฤตการณ์

สถาบันการเงิน

Page 24: 8.1 ระบบมาตรฐานทองคํา ค.ศ. 1870-1914econ.tu.ac.th/class/archan/Pichittra/EC 452 1_62/Ch8...1. ระบบมาตรฐานทองค า

23

ระยะที่ 5 (พ.ศ. 2527-2540 หรือ ค.ศ. 1984-1997) มีเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยน

แบบอิงกับตะกร้าเงิน ผูกค่างินไว้กับเงินตราหลายสกุลเพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทยืดหยุ่น

และเป็นอิสระจากเงินดอลลาร์มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ได้ลดค่าเงินบาทเป็น 27 บาท/ดอลลาร์ เมื่อ

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจดีขึ้น รัฐบาลเริ่มเปิดเสรีทางการเงินโดยการยกเลิกการควบคุมอัตราดอกเบี้ย

และการเปิดเสรีด้านบัญชีทุนทําให้มีการไหลของทุนเข้าออกได้สะดวกขึ้น มีการจัดตั้งวิเทศธนกิจ (in-

ternational banking facilities) เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาค เศรษฐกิจ

ไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว บัญชีเดินสะพัดขาดดุลอย่างต่อเนื่อง เงินต่างชาติไหลเข้ามาก ก่อให้เกิด

การเก็งกําไรในกิจกรรมต่างๆ

ระยะที่ 6 (พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน หรือ ค.ศ. 1997-ปัจจุบัน ) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 การส่งออกหด

ตัว เกิดปัญหาความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนและมีการเก็งกําไรค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2540

ทําให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยสูญเสียเงินสํารองระหว่างประเทศเป็นจํานวนมากจากการแทรกแซง

ค่าเงิน โดยพยายามพยุงค่าเงินบาทโดยการขายดอลลาร์ล่วงหน้าแต่ก็ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่น

ในค่าเงินบาทได้ จนในที่สุดต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ 2 ก.ค. พ.ศ. 2540 ทําให้ค่า

เงินบาทลดค่าอย่างมาก เศรษฐกิจเข้าสู่วิกฤติการณ์โดยภาวะเงินเฟ้อรุนแรงขึ้น ธุรกิจประสบปัญหา

ไม่สามารถชําระหนี้คืนได้ กิจการล้มละลายเป็นจํานวนมาก เศรษฐกิจหดตัว จนต้องขอรับความช่วย

เหลือจาก IMF และมีการเปลี่ยนมาใช้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float-

ing) คือปล่อยให้ค่าเงินถูกกําหนดโดยกลไกตลาด แต่มีการแทรกแซงเมื่อเห็นสมควร