บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 ·...

21
132 บทที8 การเปลี่ยนเพศ และการจัดการชุดโครโมโซม การปรับปรุงพันธุปลา นอกจากคัดเลือกพันธุโดยวิธีตาง และการผสมขามแลว ปจจุบันการ ปรับปรุงพันธุปลา สามารถใชวิธีการเปลี่ยนเพศปลา และการจัดการชุดโครโมโซม เนื่องจากปลาบาง ชนิดนิยมเลี้ยงเพศใดเพศหนึ่งตามความตองการของตลาด และสภาพการเจริญเติบโตที่ดีกวา และงาย ตอการตอการจัดการ โดยอาศัยเทคนิคดานการแปลงเพศปลาดวยฮอรโมน หรือการเปลี่ยนแปลง โครโมโซม เพื่อการเหนี่ยวนําใหเปนเพศใดเพศหนึ่ง หรือใหปลาเปนหมันตามตองการ เปนการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตและการควบคุมประชากร ในกรณีที่ตองปลอยสูแหลงน้ําธรรมชาติ หรือกรณี ตองการศึกษาดานพันธุกรรมของปลา การแปลงเพศปลา ปลาเพศผูและเพศเมียหลายชนิดเจริญเติบโตในอัตราที่แตกตางกัน โดยปลาสวนใหญเพศเมีย จะโตเร็วกวาเพศผู เชน ปลาตะเพียนขาว ปลาไน สวนปลานิลเพศผูโตเร็วกวาเพศเมีย และตลาดนิยม มากกวา นอกจากนั้นการเลี้ยงปลาเพียงเพศเดียว จะชวยแกปญหาปลาแนนบอเนื่องจากปลานิลสามารถ วางไขผสมพันธุในบอเลี้ยงไดงาย การผลิตปลาเพศเดียวทําไดหลายวิธี ไดแก 1. การแปลงเพศปลานิลเพศผูโดยฮอรโมน 1.1 การเลี้ยงพอแมพันธุในกระชัง เพื่อเก็บไข ใชพอแมพันธุขนาด 250-500 กรัม อัตราปลอยการปลอย 6 ตัว/ตารางเมตร ตัวผู:เมีย 1:1 ใชแมปลาเพาะ 5 วัน พัก 10 วัน พอพันธุเพาะ 5 วัน พัก 5 วัน ใหอาหารโปรตีน 30 % อัตรา 1% ของน้ําหนักปลา จะไดไขประมาณ 200-1,000 ฟอง/ตัว 1.2 การเก็บไขและแบงระยะของไข หลังจากเก็บไขจากแมปลาแลวนําไขมาแยก ประเภทเปน 5 ระยะ ตาม รูปที31 ระยะที1-3 ใสในกรวยขนาด 5 ลิตรได 50,000 ฟอง ใชเวลาอนุบาล 1-3 วัน สวนระยะที4-5 ใสในถาด ขนาด 2 ลิตร ได 10,000 ฟอง ใชเวลาอนุบาล 7-14 วัน ใหน้ําไหล ผานความเร็ว 4-6 ลิตร /นาที เมื่อลูกปลาเขาระยะที5 ( รูปที1) ยายลงกระชังเพื่อการอนุบาลและแปลง เพศ ระยะที1 ระยะที2 ระยะที3 ระยะที4 ระยะที5 รูปที1 การพัฒนาการของไขและตัวออนแบง เปลือกไข ไขแดเยอมิ นอลดิส เม็ดสี เริ่มจุดตา

Upload: others

Post on 14-Jul-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

132

บทท่ี 8 การเปล ี่ยนเพศ และการจัดการชุดโครโมโซม

การปรับปรุงพันธุปลา นอกจากคัดเลือกพันธุโดยวิธีตาง ๆ และการผสมขามแลว ปจจุ บันการปรับปรุงพันธุปลา สามารถใชวิธีการเปล่ียนเพศปลา และการจัดการชุดโครโมโซม เ น่ืองจากปลาบางชนิดนิยมเล้ียงเพศใดเพศหน่ึงตามความตองการของตลาด และสภาพการเจริญเติบโตท่ีดีกวา และงา ยตอการตอการจัดการ โดยอาศัยเทคนิคดานการแปลงเพศปลาดวยฮอรโมน หรือการเปล่ียนแปลงโครโมโซม เพ่ือการเหน่ียวนําใหเปนเพศใดเพศหน่ึง หรือใหปลาเปนหมันตามตองการ เปนการเ พ่ิมประสิทธิภาพการผลิตและการควบคุมประชากร ในกรณีท่ีตองปลอย สูแหลงนํ้าธรรมชา ติ หรือกรณีตองการศึกษาดานพันธุกรรมของปลา

การแปลงเพศปลา

ปลาเพศผูและเพศเมียหลายชนิดเจริญเติบโตในอัตราท่ีแตกตางกัน โดยปลาสวนใหญ เพศเมียจะโตเร็วกวาเพศผู เชน ปลาตะเพียนขาว ปลาไน สวนปลานิลเพศผูโตเร็วกวาเพศเมีย และตลาดนิยมมากกวา นอกจากน้ันการเล้ียงปลาเพียงเพศเดียว จะชวยแกปญหาปลาแนนบอเน่ืองจากปลานิลสามารถวางไขผสมพันธุในบอเล้ียงไดงาย การผลิตปลาเพศเดียวทําไดหลายวิธี ไดแก

1. การแปลงเพศปลานิลเพศผูโดยฮอรโมน 1.1 การเล้ียงพอแมพันธุในกระชัง เ พ่ือเ ก็บไข ใชพอแมพันธุขนาด 250-500 กรัม อัตราปลอยการปลอย 6 ตัว/ตารางเมตร ตัวผู:เมีย 1:1 ใชแมปลาเพาะ 5 วัน พัก10 วัน พอพันธุ เพาะ 5 วัน พัก 5 วัน ใหอาหารโปรตีน 30 % อัตรา 1% ของนํ้าหนักปลา จะไดไขประมาณ 200-1,000 ฟอง/ตัว

1.2 การเก็บไขและแบงระยะของไข หลังจากเก็บไขจากแมปลาแลว นํา ไขมาแยกประเภทเปน 5 ระยะ ตาม รูปท่ี 31 ระยะท่ี 1-3 ใสในกรวยขนาด 5 ลิตรได 50,000 ฟอง ใชเวลาอนุบาล 1-3 วัน สวนระยะท่ี 4-5 ใสในถาด ขนาด 2 ลิตร ได 10,000 ฟอง ใชเวลาอนุบาล 7-14 วัน ให นํ้า ไหลผานความเร็ว 4-6 ลิตร/นาที เมื่อลูกปลาเขาระยะท่ี 5 (รูปท่ี 1) ยายลงกระชังเพ่ือการอนุบาลและแปลงเพศ

ระยะท่ี 1 ระยะท่ี 2 ระยะท่ี 3 ระยะท่ี 4 ระยะท่ี 5

รูปท่ี 1 การพัฒนาการของไขและตัวออนแบง

เปลือกไข

ไขแดง

เยอมินอลดิส เม็ดสี

เร่ิมจุดตา

Page 2: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

133

1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอรโมนในกระชัง โดยฮอรโมน 17 - อัลฟา เม ธิลเทสโทสเตอโรน (17-α methyltestosterone) ในอัตรา 60 mg/ปลาปน1กก. โปรตีน60 % ลูกปลาอยู ในกระชังแปลงเพศ 21-25 วัน ใสลูกปลา 6,000 ตัว/ต.ร.ม. ใหอาหารปลาปนผสมฮอรโมนเปนเวลา 5 คร้ัง /วัน (8.00;11.00;13.00;15.00และ16.30น.) โดยแบงอัตราการใหอาหาร ดังน้ี

วันท่ี 1-5 ใหอาหาร 6 กรัมตอมื้อ วันท่ี 6-10 ใหอาหาร 12 กรัมตอมื้อ วันท่ี 11-15 ใหอาหาร 20 กรัมตอมื้อ วันท่ี 16-25 ใหอาหาร 34 กรัมตอมื้อ

แลวจะทําการเปล่ียนกระชังทุก 7-10 วัน โดย พ้ืนท่ีของกระชัง 75% ของบอ ฮอรโมนเพศผูและเพศเมีย สามารถทําใหปลาเจ ริญไปเปนเพศท่ีตองการได ท้ัง น้ี

แอนโดรเจน (androgen) ซ่ึงเปนฮอรโมนเพศชายในปริมาณท่ีพอเหมาะ จะมีผลตอลักษณะเพศ โดยสามารถกระตุนใหมีการเจริญของลักษณะเพศข้ันท่ี 2 ซ่ึงเปนลักษณะของเพศชาย ฮอรโมนท่ีใชในการแปลงเพศ ไดแก 17 - อัลฟา เมธิลเทสโทสเตอโรน ซ่ึงเปนสารสเตอรอยด (steroid) สังเคราะห ท่ีมีจุดหลอมเหลว 160-161 องศาเซลเซียส มีความคงตัวในอากาศ ละลายในแอลกอฮอลและสารอินทรียตาง ๆ แตไมละลายในนํ้า การเตรียมอาหารผสมฮอรโมนเหลาน้ีสามารถทําได โดยการละลายฮอรโมนในแอลกอฮอลแลวฉีดผสมกับปลาปนท่ีผานการกรองเอา เศษกระดูกออกให ท่ัว ตากท้ิงไวจนแอลกอฮอลระเหยหมด จึงบรรจุอาหารในภาชนะท่ีมีฝาปด และเ ก็บในตู เ ย็นอุณหภูมิ 0-5 องศาเซลเซียส แลวใหอาหารผสมฮอรโมนแกลูกปลาท่ีมีอายุ 1 – 2 สัปดาห (นวลมณี, 2537) นอกจากน้ียังมี แอนดริออน (andrion) ชนิดแคปซูล ซ่ึงประกอบดวยสารออกฤทธ์ิ เทสโทสเตอโรน อเลยคาโมทต (testosterone aleykamoate) 40 มก. ท่ีละลายใน กรดโอลีอิค (oleic acid) กรดไขมันของ แอนโดรเจน (androgen) สามารถผานเขาตับทางระบบนํ้าเหลือง และทําใหมีปริมาณฮอรโมนในพลาสมาสูง ข้ึน ในสัตวนํ้าท่ีนิยมใชแปลงเพศใหเปนเพศผูคือปลา นิลและปลา กัด โดยจะ เ ร่ิมให เมื่อออกจากไขอายุประมาณ 1 สัปดาห ดวยการผสมอาหารใหกินนาน 1 เดือนในอัตรา 30-60 มก. ตออาหาร 1 กก. ในการใหฮอรโมนมีปจจัยท่ีตองคํานึงถึง คือ

วิธีการให ข้ึนกับระยะการเจริญเติบโตของปลา ถามีขนาดเล็กยังไมสามารถกินอาหารสําเร็จรูป จะใหโดยการแชในสารละลายฮอรโมน โดยท่ัวไปฮอรโมนซึ่งเปนสาร steroid สวนใหญจะไมละลายในนํ้า จึงตองนําไปละลายใน เอธิล แอลกอฮอร (ethyl alcohol) แลวจึงนําไปพนบนอาหาร

อายุขณะเร่ิมใหฮอรโมน การใหฮอรโมนตองเร่ิมกอนอวัยวะเพศจะ เจ ริญไปเปนเพศใดเพศหน่ึง ปลาตางชนิดกันจะเร่ิมเจริญไปเปนเพศใดเพศหน่ึงท่ีอายุตางกัน เชน ปลาตะเ พียนขาว เ ร่ิมแสดงความแตกตางของอวัยวะเพศเมื่ออายุ 2 สัปดาห ปลาดุกยักษเพศผูจะเร่ิมแยกเพศเมื่ออายุได 21 วัน ขณะท่ีเพศเมียจะเจริญกอนคือ 14 วัน จะเห็นวาการใหฮอรโมนไมจําเปนตองเร่ิมเมื่อปลากินอาหาร

Page 3: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

134

เพราะถาเร่ิมใหเร็วเกินไปอาจทําใหอัตราการรอดตํ่า ในขณะเดียวกันถาเร่ิมใหชาเ กินไปจะไม เปล่ียนเพศ

ระยะเวลาในการใหฮอรโมน ระยะ เวลา ท่ีใหตองนานพอ ถา ใหฮอรโมนชวงส้ันเกินไปจะไมเปล่ียนเพศ ถาใหนานเกินไปจะเปนหมัน

ระดับฮอรโมนและชนิดของฮอรโมน ระดับฮอรโมนแตกตา งกันตามชนิดฮอรโมนและชนิดปลาท่ีให ปลานิลตองการฮอรโมนระดับกลาง คือ 40-60 มก./กก. ของอาหาร ปลากลุม ซัลมอน ตองการฮอรโมนระดับตํ่า ตองทําการทดลองระดับฮอรโมนท่ีเหมาะสม ในระดับฮอรโมนท่ีสูงเกินไปจะทําใหปลาเปนหมัน และอาจทําใหปลาเปล่ียนเพศตรงขามกับท่ีตองการ เชน การใหฮอรโมน เมธิลเทสโทสเตอโรน ในระดับสูงเกินไป อาจทําใหปลาเพศผูเปล่ียนเปนปลา เพศเมีย ได (paradoxical effect) สําหรับชนิดฮอรโมนน้ัน พบวา ฮอรโมน สเตอรอยดอล (steroidal hormone) ท่ีมีในธรรมชา ติ มีประสิทธิภาพตํ่ากวาท่ีไดจากการสังเคราะห ฮอรโมนเพศผู ท่ีนิยมใชไดแก 17 - อัลฟา เม ธิลเทสโทสเตอโรน และ 11-เบตา-แอนโดร สทีนเดียน (11-β-androstenedione) เปนตน ฮอรโมนเพศเมีย ท่ีนิยมใชไดแก 17-เบตา-เอสตราไดออล (17-β-estradiol) การเปล่ียนเพศน้ีจะไมเปล่ียนแปลงพันธุกรรมของปลา แตอาจมีการเปล่ียนกลับได 1.4 การอนุบาลลูกปลา หลังจากแปลงเพศแลวอนุบาล 1 สัปดาห ใสปลา 1,000 ตัว /ต.ร.ม. ใหกินปลาปนผสมกับรําละเอียด (1:2) ใหอาหาร 4 คร้ัง/วัน ปลาอายุประมาณ 1 เดือน ปลาพรอมท่ีจะจําหนาย มีความยาว 2 ซ.ม. นํ้าหนัก 0.3 กรัม 2. ขอดีของปลานิลเพศผู 2.1 เจริญเติบโตเร็ว ใชเวลาเล้ียง 4 เดือน ไดปลาขนาด 3-4 ตัว/กก. (250-300 กรัม/ตัว) ผลผลิต 3,000 - 4,000 กก./ไร 2.2 เล้ียงงายเพราะไมมีลูกปลานิลเกิดเพ่ิมมากข้ึนในบอ จึงไมทําใหจํานวนปลาแนนบอจนเกินไปหรือมีปลาหลายขนาดทําใหงายตอการใหอาหารและการจัดการตาง ๆ 2.3 ผลผลิตท่ีจับจะขายไดราคาดีกวา เพาะปลานิลท่ีจับมีขนาดใหญ 2.4 คุณภาพปลานิลท่ีจับจะสด สะอาด เ น้ือแนน ไมมีกล่ินคาว ซ่ึงตรงกับความตองการของผูบริโภคในปจจุบัน 3. การเตรียมบอ 3.1 ขนาดบอเล้ียงอยางตํ่า 1 ไร สามารถกักนํ้าได 1.5 เมตร - 2 เมตร ข้ึนไป ตากบอใหแหง กรณีบอเกาหลังจากจับปลารุนกอนหมดบอแลวใหใชปูนขาว 100 กก./ไร โรยให ท่ัวบอในขณะท่ีดินกนบอยังหมาด ๆ อยูแลวจึงตากใหแหง 3.2 เติมนํ้าเขาบอใหลึก 1 เมตร ทํานํ้าเขียวกอนปลอยลูกปลา 3 วัน โดยใสปูนโดโลไมท 100 กก./ไร เติมปุย 46-0-0 และ 0-46-0 อยางละ 5 กก./ไร ละลายนํ้ากอนสาดใหท่ัวบอ

Page 4: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

135

4. การปลอย 4.1 ปลอยลูกปลานิลท่ีความหนาแนน 5-10 ตัว/ตารางเมตร (8,000 - 16,000 ตัว/ไร)

4.2 เปดเคร่ืองตีนํ้า 24 ช่ัวโมง กอนปลอยลูกปลา และใสเกลือ 20 กก./ไร กอนลูกปลาลงบอ 6 ช่ัวโมง

4.3 ควรขนสงลูกปลาในชวงท่ีอากาศเย็น หรือตอนกลางคืนแลวปลอย ลูกปลา นิลตอนเชาตรู พอลูกปลามาถึงบอใหแชถุงลูกปลาไวในบอ 20 นาที แลวเปดปากถุงออกคอย ๆ วักนํ้า ในบอเขาผสมนํ้าในถุง ข้ันตอนน้ีทําชา ๆ อยาใจรอน เพ่ือลูกปลานิลจะไดปรับตัวปรับสภาพไมเครียด การแปลงเพศปลานิลทางออม

การผลิตปลานิล ซุปเปอรเมล (super male) ซ่ึงมีข้ันตอน (รูปท่ี 2) ไดัแก 1. รวบรวมลูกปลาท่ีฟกเปนตัวแลว แตยังอยูในระยะท่ีถุงไขยังไมยุบจากปากแมปลา นํา ลูกปลามาอนุบาล จนเขาระยะถึงไขยุบและเร่ิมกินอาหาร

2. เตรียมอาหารผสมฮอรโมน เดธิลสทิเบสโทรล ดีอีเอส (diethylstibestrol ; DES) อัตราสวน 1 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ละลายฮอรโมนในสารละลายแอลกอฮอลและคลุกเคลากับอาหารให ท่ัว ใหลูกปลากินอาหารผสมฮอรโมนเปนเวลานาน 28 วัน ลูกปลาจะถูกเปล่ียนเพศเปนเพศเมียท่ีมีโครโมโซมเพศ 2 แบบ คือ เพศเมียท่ีมีโครโมโซมเพศเปน XX และเพศเมียท่ีมีโครโมโซมเพศเปน XY

3. ตรวจสอบสกุล (progeny testing) วาปลาเพศเมียตัวใดเปนเพศเมีย XY โดย เ ล้ีย งปลาเหลาน้ัน จนเปนแมพันธุ แลวนําไปผสมพันธุกับปลา เพศผูปกติ ท่ีมีโครโมโซมเพศเปน XY และตรวจสอบอัตราสวนเพศในลูกปลาท่ีผลิตจากแมปลาแตละ ตัวตามวิ ธีการ (นวลมณี และพุทธรัตน , 2538) โดยการยอมสีอวัยวะสืบพันธุภายในของลูกปลาอายุประมาณ 1-2 เดือน หรือความยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ดวยสียอม อะซีโต-คารมีน (aceto-carmine) และตรวจ เพศของลูกปลาภายใตกลองจุลทรรศนกําลังขยาย 40 หรือ 100 เทา ถาแมปลาตัวใดผลิตลูกปลาท่ีมีอัตราสวนเพศปลา เปนเพศผู / เพศเมียเทากับ 1 : 1 แสดงวามีโครโมโซมเพศเปน XX แตถาผลิตลูกปลาท่ีมีอัตราสวนเปนเพศผู / เพศเมียเทากับ 3 : 1 แสดงวามีโครโมโซมเพศเปน XY

4. เมื่อตรวจสอบปลาเพศเมียท่ีมีโครโมโซมเพศเปน XY แลวนําปลาเพศเมียดังกลาวมาผสมกับปลาเพศผูปกติ ซ่ึงจะไดลูกปลาเพศเมีย 1 สวน และลูกปลาเพศผู 3 สวน โดยในลูกปลาเพศผู เหลา น้ีจะมีอยู 1 สวน ท่ีมีโครโมโซมเพศเปน YY และอีก 2 สวนมีโครโมโซมเพศเปน XY

5. ตรวจสอบปลาเพศผูตัวใดท่ีมีโครโมโซมเพศเปน YY โดยการนําไปผสมกับปลา เพศเมียปกติ และตรวจสอบอัตราสวนเพศในลูกปลา ท่ีผลิตจากปลา เพศผูแตละ ตัว โดยการยอมสีอวัย วะสืบพันธุภายในของลูกปลาดวยสียอม อะซีโต-คารมีน เชนเดียวกับ ขอ ค. ถาปลา เพศผู ตัวใดผลิตลูกปลาท่ีมีอัตราสวนเพศเปน เพศผูลวน 1 : 1 แสดงวามีโครโมโซมเพศเปน YY ปลา นิลเพศผู ท่ีมี

Page 5: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

136

โครโมโซมเพศเปน YY เหลาน้ีนิยมเรียกวาปลานิล ซุปเปอรเมล หรือ YY-male ลูกปลา นิลจากพอพันธุ YY เรียกปลานิลเพศผู เจไนติค เมล ทิลาเปย จึเอ็มที (Genetics Male Tilapia ;GMT)

เพศผู(XY) และเพศเมีย(XX) แปลงเพศใหเปนเพศเมียโดยใหกินอาหารผสมฮอรโมน ดีอีเอส อัตราสวน 1 กรัมตออาหาร 1 กิโลกรัม นาน 28 วัน

เพศเมีย(XY) เพศเมีย(XX) เพศเมีย (XY) x เพศผู (XY) เพศผู (XY) เพศเมีย (XX) เพศผู (YY) X เพศเมีย (XX)

ปลานิลเพศผู GMT (XY)

รูปท่ี 2 แสดงข้ันตอนการทดลองผลิตปลานิล ซุปเปอรเมล (YY) ท่ีมา : นวลมณี และพุทธรัตน (2538)

การผลิตปลาเพศเมียลวน

มีข้ันตอนการผลิต (รูปท่ี 3 และ 4) การผลิตปลาเพศเมียลวน รายละเอียดคลายกับการผลิตปลาเพศผูลวน แตใชฮอรโมนแอนโดรเจน แทนฮอรโมนเอสโตรเจน และการผลิตโดยทางออมทดสอบโดยคัดตัวผูท่ีมีโครโมโซม XX ไว หรือการทํา ไจโนเจเนซีส (gynogenesis) แลวแปลงให เปนเพศผูดวยฮอรโมนเมธิลเทสโทสเตอโรน ปลาท่ีนิยมไดแกปลาตะเพียนขาว

ปลานิลซุปเปอรเมล (YY)

Page 6: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

137

พอพันธุ (XY) X แมพันธุ (XX)

ไจโนเจเนซีส

ปลาเพศเมีย (XX) เปล่ียนเพศโดยใชฮอรโมน 17 - อัลฟา เมธิลเทสโทสเตอโรน พอพันธุนีโอ เมล (XX) X แมพันธุ (XX) เปล่ียนเพศ โดยใชฮอรโมน 17 - อัลฟา เมธิลเทสโทสเตอโรน ลูกปลาเพศเมีย (XX) การเล้ียงปลาเพศเมียท้ังหมด รูปท่ี 3 แผนผังการผลิตปลาเพศเมียทางออมท้ังหมด ท่ีมา : นวลมณี (2537)

Page 7: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

138

ลูกปลา

แอนโดรเจน

เพศผู (XY)X เพศผู( XX ) ผสมทดสอบเพ่ือหา เพศผู ( XX)

เพศผู (XX) x เพศเมีย (XX) เพศผู (XX) x เพศเมีย ( XY) 100% ตัวเมีย 50 %ตัวเมีย 50 %ตัวผู

รูปท่ี 4 วิธีการผลิตปลาเพศเมียลวน ท่ีมา : Tave (1986) ประสิทธิภาพของการใชกวาเครือแดง (Butea superba) และฮอรโมน 17-α-Methyltestosterone (MT) ตอการแปลงเพศปลานิล 3 สายพันธุ คํานํา

ประมาณไดวาผลผลิตของปลานิลในปจจุบันกวา 1 แสนตัน มูลคาประมาณ 3,000 ลานบาทตอป 80% ไดมาจากการเล้ียงปลานิลแปลงเพศผูโดยใชฮอรโมนสังเคราะห ซ่ึงปจจุ บันสามารถผลิตไดประมาณ 60 ลานตัว/ป ขอดีของการเ ล้ีย งปลา นิลเพศผูอยา งเ ดีย วในบอสามารถควบคุมจํานวนประชากรได เพ่ิมผลผลิตเน่ืองจากปลานิลเพศผูโตดีกวาและไดปลาขนาดใกลเ คีย งกันสามารถขายไดราคาท่ีดี อยางไรก็ตามกระบวนการผลิตปลานิลดังกลาวหลังจากท่ีลูกปลา นิลออกเปนตัว เมื่อเ ร่ิม กินอาหาร เกษตรกรจะผสมฮอรโมน 17--α-Methyl testosterone (MT) โดยการละลายฮอรโมนในแอลกอฮอลแลวฉีดผสมกับปลาปนท่ีผานกรองเอาเศษกระดูกออกให ท่ัวในอัตรา 40-60 mg/อาหาร 1 กก. ตากท้ังไวจนแอลกอฮอลระเหยหมด จึงบรรจุอาหารในภาชนะท่ีมีฝาปด และเก็บในตูเย็นให กินวันละ 50-100 % ของนํ้าหนักตัวปลาเปนเวลานาน 25-30 วัน ผลจะทํา ให ลูกปลา นิลแปลงเพศเปนตัว ผูเกือบ 100% แตเน่ืองจากฮอรโมนดังกลาวเปนฮอรโมนสังเคราะหชนิดสเตอรรอยท่ีไมสามารถละลายนํ้าไดทําใหมีฮอรโมนเหลือกตกคางในบอหรือชะลางออกสูบริเวณใกลเ คีย ง ซ่ึงอาจสงผลกระทบตอสภาพความสมดุลของสัดสวนเพศปลาตามธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมตอส่ิงมีชีวิตท่ีอยู ในระบบนิเวศ ประกอบกับฮอรโมนดังกลาวมีราคาคอนขางแพลงและตองนําเขาจากตางประเทศ

Page 8: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

139

ฮอรโมนเพศผูและเพศเมีย สามารถทําใหปลา เจ ริญไปเปนเพศท่ีตองการได แอนโดรเจน (androgen) ซ่ึงเปนฮอรโมนเพศชายในปริมาณท่ีพอเหมาะ จะมีผลตอลักษณะเพศ โดยสามารถกระตุนใหมีการเจริญของลักษณะเพศข้ันท่ี 2 ซ่ึงเปนลักษณะของเพศชาย ฮอรโมนท่ีใชในการแปลงไดแก -α-Methyltestosterone ซ่ึงเปนสารสเตอรอยด (steroid) สังเคราะหท่ีมีจุดหลอมเหลว 160-161 °C มีความคงตัวในอากาศ ละลายไดในแอลกอฮอลและสารอินทรียตาง ๆ แตไมละลายในนํ้า การเตรียมอาหารผสมฮอรโมนเหลาน้ีสามารทําได อุณหภูมิ 0-5 °C แลวเร่ิมใหอาหารผสมฮอรโมนแกลูกปลาท่ีมีอายุ 1-2 สัปดาห (นวลมณี, 2537) นอกจากน้ีมีแอนดริออน (andiron) ชนิดแคปซูล ซ่ึงประกอบดวยสารออกฤทธ์ิ เทสโทสเตอโรน อเลยคาโมทต (testosterone aleykamoate) 40 มก. ท่ีละลายในกรดโอลีอิค ( oleic acid) กรดไขมันของแอนโดรเจน (androgen) สามารถผานเขา ตับทางระบบนํ้า เหลือง และทํา ใหมีปริมาณฮอรโมนในพลาสมาสูงข้ึนในสัตวนํ้าท่ีนิยมใชแปลงเพศให เปนเพศผู คือปลา นิลและปลา กัด โดยจะเร่ิมใหเมื่อออกจากไขอายุประมาณ 1 สัปดาห ดวยการผสมอาหารใหกินนาน 1 เ ดือน ในอัตรา 30-60 มก. ตออาหาร 1 กก.ในการใหฮอรโมนมีปจจัยท่ีตองคํานึกถึงคือระดับฮอรโมนและชนิดของฮอรโมน ระดับฮอรโมนแตกตางกันตามชนิดของฮอรโมนและชนิดปลาท่ีให ปลา นิลตองการฮอรโมนระดับกลาง คือ 40-60 มก./กก. ของอาหารปลากลุม ซัลมอน ตองการฮอรโมนระดับตํ่าตองทําการทดลองระดับฮอรโมนท่ีเหมาะสม ในระดับฮอรโมนท่ีสูงเกินไปจะทําใหปลาเปนหมัน และอาจทํา ใหปลาเปล่ียนเพศตรงขามกับท่ีตองการ เชน การใหฮอรโมน เมธิลเทสโทสเตอโรน ในระดับสูงเ กินไป อาจทําใหปลาเพศผูเปล่ียนเปนปลาเพศเมียได (paradoxical effect) สําหรับชนิดฮอรโมนน้ัน พบวา ฮอรโมน สเตอรอยดอล (steroidal hormone) ท่ีมีในธรรมชา ติมีประสิทธิภาพตํ่ากวา ท่ีไดจ ากการสังเคราะหฮอรโมนเพศผูท่ีนิยมใชไดแก 17-อัลฟาเมธิลเทสโทสเตอโรน และ 11-เบตา -แอนโดรสทีนเดียน (11-β -androstenedione) เปนตน ฮอรโมนเพศเมียท่ีนิยมใชไดแก 17-เบตา-เอสตราไดดอล (17-β -estradiol) การเปล่ียนเพศน้ีจะไมเปล่ียแปลงพันธุกรรมของปลา แตอาจมีการเปล่ียนกลับไดเมื่อปลามีอายุมากข้ึน (เกรียงศักด์ิ, 2544)

จากการศึกษาพบวาการแปลงเพศปลานิลโดยวิธีแช จะทําโดยการนําฮอรโมนเพศผูมาแชไขปลานิลท่ีมีปลานิลท่ีมีอายุ 2 วัน ความหนาแนน 40 ฟอง /ลิตร นาน 24 ช่ัวโมง แลวลา งสารละลายฮอรโมนออก กอนนําไปฟกตามปกติ จะทําใหไดลูกปลา เพศผู 87-88% ในขณะท่ีท่ีความหนาแนน 20,000 ฟอง/ลิตร นาน 24 ช่ัวโมง มีผลทําใหไดเพศผู 75-80 % คิดเปนฮอรโมนท่ีใช เ พีย ง 5.36 % ของการแปลงเพศดวยอาหาร ขอดีของการแปลงเพศปลานิลดวยวิธีการแช คือ ปลาจะสัม ผัสกับฮอรโมนเพียง 1 วัน เมื่อเ ทียบกับวิ ธีใหอาหารผสมฮอรโมนท่ีใช เ วลานาน 25-30 วัน การวิจัย เ พ่ือเ พ่ิมประสิทธิภาพการแปลงเพศใหมีผลเทียบเทากับ วิธีการใชฮอรโมนผสมอาหาร และสามารถดํา เ นินการเชิงการคาได หากโครงการประสบความสําเร็จจะมีผลทําใหปริมาณการใชฮอรโมนในการแปลงเพศลูกปลานิล 600 ลานตัว ลดลงจาก 11.4 กิโลกรัมเหลือเพียง 0.611 กิโลกรัมเทาน้ัน ทําใหตนทุนการผลิตลูกปลาแปลงเพศจะถูกลง (เพ็ญพรรณ, 2543-2546)

Page 9: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

140

จากการศึกษาของคณะผูวิจัยเบ้ืองตน พบวาการใชกวาว เครือแดง 100-200 กรัม /อาหาร 1 กิโลกรัมสามารถแปลงเพศลูกปลานิลแดงเปนเพศผูได 70-100% จากการศึกษาผลของกวาว เครือขาวตอการเติบโตและระดับฮอรโมนบางชนิดในปลาสลิด โดยการเสริมกวาว เครือขาว ท่ีระ ดับ 0 100 200 300 และ 400 สวนในลาน ในปลาอายุ 2 เดือน เก็บตัวอยา งท่ี 30 วัน พบวาปลาสลิดมี นํ้าหนักเ พ่ิมระหวาง 101-117 เปอรเซ็นต การเจริญเติบโตแตกตางกันอยางไมมี นัย สํา คัญทางสถิติ ( p<0.05) ดัชนีการพัฒนาของรังไขมีคา 3.27-5.78 ระดับฮอรโมนเอสโตรเจนมีคา 1,280-1740 พิโคกรัม /มิลลิลิตร เมื่อตรวจสอบท่ี 60 วัน กลุมท่ีไดรับกวาวเครือขาว 100 และ 200 สวนในลาน มี นํ้าหนักเ พ่ิม 419.4 และ 449.3 เปอรเซ็นตตามลําดับ มีคาดัชนีการพัฒนาของรังไขเทากับ 4.72 และ 6.17 ตามลําดับ สวนในกลุมท่ีไดรับกวาวเครือขาว 0 300 และ 400 สวนในลานมีนํ้าหนักเ พ่ิม เทา กับ 348.2 289.7 และ403.7 เปอรเซ็นตามลําดับ ดัชนีการพัฒนาของรังไขเทากับ 10.83 9.48 และ 8.37 ระดับฮอรโมนแอสโตรเจนมีคา 1,090-3,120 พิโคกรัม/มิลลิลิตร ดังน้ันการเสริมกวาวเครือในอาหารปลาสลิดควรมีการศึกษาระดับการใชและระยะเวลาท่ีเหมาะสม เน่ืองจากมีผลขางเคียงหลายประการ (อรพินทและคณะ, 2543) ผลการทดลอง ผลของการใชฮอรโมน 17-α-Methyltestosterone (MT) ผสมอาหารในระดับความเขมขนตางกันตอปลานิล 3 สายพันธุ คือ กานา นิลแดง จิตรลดา นําลูกปลาสมบูรณอายุประมาณ 3 วัน นํามาทําการทดลอง โดยใหอาหารท่ีมีระดับการผสมฮอรโมนตางกัน คือ 0 40 และ 60 มิลลิกรัมตออาหาร 1 กิโลกรัม มาแปลงเพศลูกปลาเปนเวลานาน 21 วัน ปลอยใน กระชังขนาด 1 ม2 จํานวน 100 ตัว มีผลการทดลองดังน้ี 1. ผลตอการเปล่ียนเพศผูของปลานิลและอัตราการอด จากตารางท่ี 1 ระดับความเขมขนของฮอรโมนตออัตราการแปลงใหเปนเพศผูของปลา นิลท้ัง 3 สายพันธุ มีคา 91.11% 85.55% และ 60 % จากความเขมขนของฮอรโมน 17-α methytestosterone 60, 40 และ 0 ppm ตามลําดับ การวิ เคราะหทางสถิติท่ีระ ดับพบวามีความแตกตา งกันทางสถิติ (p<0.05) กับหนวยทดลองชุดควบคุม จากการศึกษาของอํานวยและจงกล (2546) พบวาอัตราการเ เปลงเพศท่ีดีท่ีสุด 90% จากการใชฮอรโมนท่ีระดับ 60 µ/kg ขณะท่ีการแปลงเพศปลานิลโดย วิ ธีแชไขปลานิล ท่ีมีอายุ 2 วัน ความหนาแนน 40 ฟอง/ลิตร นาน 24 ช่ัวโมง แลวลางสารละลายฮอรโมนออก กอนนําไปฟกตามปกติ จะทําใหไดลูกปลาเพศผู 87-88 % (เพ็ญพรรณ, 2546) สวนผลของสายพันธุของปลานิลตอระดับการแปลงเปนเพศผูพบวาไมมีความแตกตางกันทางสถิติ (p>0.05)

Page 10: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

141

ตารางท่ี 1 การแปลงเพศเฉล่ีย (%) ของปลานิลแตละสายพันธุจากการใหฮอรโมนนาน 25 วัน จากตารางท่ี 2 ระดับความเขมขนของฮอรโมนท่ีมีผลตออัตรารอดของปลานิลท้ัง 3 สายพันธุ โดย ท่ีระดับความเขมขน 60, 40 และ 0 µ/kg มีคา 87.62 %, 84.29% และ 75.94 % ตางจากการศึกษาของอํานวยและจงกล (2546) มีอัตราการรอด 50% จากการใชฮอรโมนท่ีระดับ 60 µ/kg ท้ัง น้ีอาจ เ น่ืองจากอัตราการปลอยท่ีหนาแนนกวา จากการวิเคราะหทางสถิติของระดับความเขมขนของฮอรโมน 17-α methytestosterone ตออัตรารอดหลังการแปลงเพศ พบวามีความแตกตางกันทางสถิติ (p<0.05) กับชุดควบคุม สวนวิเคราะหทางสถิติของสายพันธุปลานิลโดยการศึกษาอัตรารอดหลังการแปลงเพศ พบวาไมมีความแตกตางกันทางสถิติ (p>0.05)

รูปท่ี 5 ลักษณะอสุจิปลานิล รูปท่ี 6 ลักษณะไขปลานิล

ระดับความเขมขนของ 17 α- methytestosterone µ/kg สายพันธุ 0 40 60 เฉล่ียสายพันธุ กานา 55±7.07a 76.67±5.77b 86.67±5.77b 72.78±16.18 นิลแดง 60±7.07a 93.33±5.77b 90b 83.33±20.27 จิตรลดา 65±14.14a 86.67±5.77b 96.67±5.77b 80.55±13.57 เฉล่ีย 60±5 85.55±8.38 91.11±5.09

Page 11: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

142

ตารางท่ี 2 อัตรารอดเฉล่ีย (%) หลังจากการแปลงเพศ นาน 25 วัน ระดับความเขมขนของ 17 α- methytestosterone µ/kg

สายพันธุ control 40 60 เฉล่ียสายพันธุ กานา 82±15.09 96.33±1.76 96±2.08 91.44±8.1 นิลแดง 66.66±0.94 67.22±6.77 75.44±5.23 69.77±4.91 จิตรลดา 79.16±4 89.33±8.57 91.44±44 86.64±6.56

เฉล่ียความเขมขน 75.94±8.16 84.29±15.19 87.62±10.79

2. อัตรารอด การเจริญเติบโตและอัตราแลกเน้ือหลังการอนุบาลในกระชังนาน 2 เดือน จากตารางท่ี 3 ระดับความเขมขนของฮอรโมนตออัตรารอดของปลานิลท้ัง 3 สายพันธุ โดยท่ีคาเฉล่ียมีคาใกลเคียงกัน โดยมีคาเรียงจากมากไปนอยดังน้ี 40 ppm 93.00 % ชุดควบคุม 90.83 % และ ความเขมขน 60 ppm 88.55 % จากการวิเคราะหทางสถิติอัตรารอดไมมีความแตกตางกันทางสถิติ (p>0.05) และพบวาสายพันธุกานามีอัตรารอดสูงท่ีสุด 97.16 % รองลงมานิลแดง 91.44 % และ จิตรลดา 83.78 % และไมมีความแตกตางทางสถิติ (p>0.05) ตารางท่ี 3 อัตรารอดเฉล่ีย (%) ของปลานิล3สายพันธุหลังการอนุบาล 2 เดือน

ระดับความเขมขนของ 17 α- methytestosterone µ/kg สายพันธุ control 40 60 เฉล่ียสายพันธุ กานา 32.17±0.23 32.89±0.77 32.11±1.58 97.16±1.30 นิลแดง 31.67±0 29.56±3.1 30.22±0.19 91.44±3.23 จิตรลดา 27±4.24 30.56±2.17 26.22±5.29 83.78±6.93 เฉล่ีย 30.28±2.85 31±1.71 2952±3

จากตารางท่ี 4 ระดับความเขมขนของฮอรโมนท่ีมีอิทธิพลตออัตราการเจริญเติบโตของปลา นิลท้ัง 3 สายพันธุ โดยท่ีคาเฉล่ียของแตละระดับความเขมขนมีคาใกลเคียงกันโดยเรียงจากมากไปนอยดังน้ี ความเขมขน 40 µ/kg 0.0239 กรัม/วัน ความเขมขน 60 µ/kg 0.0239 กรัม /วัน และ ชุดควบคุม 0.0235 กรัม/วัน จากการวิเคราะหทางสถิติพบวาไมมีความแตกตางทางสถิติ (p>0.05) สาย พันธุของปลานิลตออัตราการเจริญเติบโตของปลานิล โดยท่ีสายพันธุกานาและ นิลแดง มีอัตราการเจ ริญเ ติบโตใกลเคียงกันมีคา 0.0280 กรัม/วัน และ 0.0227 กรัม/วัน สวนสายพันธุจิตรลดามี อัตราการเจ ริญเ ติบเทากับ 0.0205 กรัม/วัน และ พบวามีความแตกตางกันทางสถิติ (p<0.05) กับสาย พันธุกานาและนิลแดง

Page 12: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

143

ตารางท่ี 4 อัตราการเจริญเติบโตเฉล่ียตอวัน (กรัม/วัน) หลังการแปลงเพศและการอนุบาล 2 เดือน

ระดับความเขมขนของ 17 α- methytestosterone µ/kg สายพันธุ control 40 60 เฉล่ียสายพันธุ กานา 0.0285 0.0272 0.0285 0.028±0.00075 นิลแดง 0.0218 0.0237 0.0226 0.023±0.00095 จิตรลดา 0.0204 0.0209 0.0204 0.021±0.00029

เฉล่ียความเขมขน 0.0235±0.0043 0.0239±0.0032 0.0238±0.0042

จากตารางท่ี 5 ระดับความเขมขนของฮอรโมนไมมีผลตออัตราการเปล่ียนอาหารเปนเ น้ือของ

ปลานิลท้ัง 3 สายพันธุ โดยท่ีคาเฉล่ียของแตละระดับความเขมขนมีคาใกลเคียงกันโดยเรียงจากมากไปนอยดังน้ี ความเขมขน 40 µ/kg มีคา 2.71 รองลงมา ความเขมขน 60 µ/kg มีคา 3.02 และ ชุดควบคุมมีคา 3.12 การวิเคราะหทางสถิติ อัตราการเปล่ียนอาหารเปนเน้ือ พบวา ไมมีความแตกตา งกันทางสถิติ (p>0.05) สวนสายพันธุของปลานิลตออัตราการเปล่ียนอาหารเปนเน้ือของปลานิล พบวาสาย พันธุกานา และ นิลแดง มีอัตราการเปล่ียนอาหารเปนเน้ือใกลเคียงกัน 2.43 และ 2.86 และ สายพันธุนิลแดง และ จิตรลดา มีอัตราการใกลเคียงกัน 2.8 และ 3.55 แตสายพันธุกานา และ จิตรลดา มีคาตางกันทางสถิติสายพันธุมีความแตกตางกันทางสถิติ (p<0.05)

รูปท่ี 7 ลูกปลานิลกานา รูปท่ี 8 ลูกปลานิลจิตรลดา รูปท่ี 9 ลูกปลานิลแดง

Page 13: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

144

ตารางท่ี 5 อัตราการเปล่ียนอาหารเปนเน้ือหลังอนุบาล 2 เดือน

ระดับความเขมขนของ 17 α- methytestosterone µ/kg สายพันธุ control 40 60 เฉล่ียสายพันธุ กานา 2.35 2.45 2.50 2.43±0.07 นิลแดง 3.14 2.42 3.05 2.87±0.39 จิตรลดา 3.89 3.27 3.51 3.55±0.31

เฉล่ียความเขมขน 3.12±0.77 2.71±0.48 3.02±0.51 3. ผลฮอรโมน MT ตกคางในเลือดปลานิลหลังอนุบาล 2 เดือน

จากตารางท่ี 6 ปริมาณฮอรโมนท่ีเหลือในเลือดปลาสายพันธุตาง ๆ เรียงจากมากไปนอย ดังน้ี นิลแดง 0.98 ng/ml กานา 0.23 ng/ml และ จิตรลดา 0.21 ng/ml ความเขมขนของปริมาณฮอรโมนท่ีมีผลตอปริมาณฮอรโมนตกคางมากท่ีสุดคือ 60 µ/kg มีคา 1.77 ng/ml รองลงมา คือ 40 µ/kg มีคา 0.91 ng/ml สวนชุดควบคุมมีคา 0.61 ng/ml แสดงใหเห็นวาปริมาณฮอรโมนท่ีเหลือนอยมาก ในแตละสายพันธุและความเขมขน เมื่อเทียบกับผลจากการศึกษาผลของกวาวเครือขาวระดับฮอรโมนในปลาสลิด โดยเสริมกวาวเครือขาวท่ีระดับ 0, 100, 200, 300 และ 400 สวนในลาน ในปลาอายุ 2 เดือน เก็บตัวอยางท่ี 30 วันพบวาปลาสลิดระดับฮอรโมนเอสโตรเจนมีคา 1.2-1.7 ng/ml เมื่อตรวจสอบท่ี 60 วัน กลุม ท่ีไดรับกวาวเครือขาว 100 และ 200 สวนในลาน ระดับฮอรโมนเอสโตรเจนมีคา 1.0-3.1 ng/ml (อรพินทและคณะ, 2543) ตารางท่ี 6 ปริมาณฮอรโมนท่ีเหลือ (ng/ml) หลังจากเล้ียงเปนเวลา 2 เดือน

ระดับความเขมขนของ 17 α- methytestosterone µ/kg สายพันธุ control 40 60 เฉล่ียสายพันธุ กานา 0.27 0.21 0.21 0.231±0.037 นิลแดง ND 0.57 1.40 0.982±0.57 จิตรลดา 0.34 0.13 0.16 0.208±0.11

เฉล่ียความเขมขน 0.61±0.04 0.91±0.23 1.77 ±0.69 หมายเหตุ ND=ไมมีขอมลู

Page 14: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

145

สรุปผลและขอเสนอแนะ 1. ผลการเปล่ียนเพศของปลานิลและอัตรารอดของปลานิลหลังการแปลงเพศ พบวา ท่ีระ ดับ

ความเขมขนของฮอรโมน 17-α methytestosterone 60 ppm มีอัตราการเปล่ียนเพศสูงสุด 91.11 % รองลงมาเปนระดับความเขมขน 40 ppm 85.55 % สวนปลาท่ีไมไดรับฮอรโมนในชุดควบคุมมีอัตราการเปล่ียนเพศนอยท่ีสุด 60 % ซ่ึงมีความแตกตางกันทางสถิติ (p<0.05) โดยท่ีอัตราการเปล่ียนเพศของระดับความเขมขนท่ี 60 และ 40 ppm ไมแตกตางทางสถิติแตตา งกับชุดควบคุม สวนสายพันธุไมผลตออัตราการเปล่ียนเพศของปลานิล

2. อัตรารอดของปลานิลหลังการแปลงเพศพบวา ระดับความเขมขนของฮอรโมน 17-α methytestosterone 60 ppm มีอัตราการรอดสูงสุด 87.62 % รองลงมาเปนระดับความเขมขน 40 ppm 84.29 % และตํ่าท่ีสุดคือระดับความเขมขนท่ีไมไดรับฮอรโมนในชุดควบคุมมีอัตราการรอดนอยท่ีสุด 75.94 % เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติแลวพบวามีความแตกตางทางสถิติ (p<0.05)

3. อัตราการเจริญเติบโตตอวันและอัตราการเปล่ียนอาหารเปนเ น้ือหลังการอนุบาล 2 เ ดือนพบวา ระดับความเขมขนของฮอรโมน 17-α methytestosterone พบวาไมมีความแตกตางทางสถิติ (p>0.05) แตในสวนของสายพันธุพบวา สายพันธุกานา มีอัตราการเจริญเ ติบโตตอวันดีท่ีสุด 0.0280 กรัม/วัน รองลงมาเปนสายพันธุนิลแดง 0.0227 กรัม/วัน สวนสายพันธุท่ีมีคาอัตราการเจริญเติบโตนอยท่ีสุดคือ จิตรลดา 0.0205 กรัม/วัน และพบวามีความแตกตางกันทางสถิติ (p<0.05) แสดงวาสายพันธุมีผลตออัตราการเจริญเติบโตตอวันของปลานิล สายพันธุกานา มีอัตราการเปล่ียนอาหารเปนเ น้ือดีท่ีสุด 2.43 กรัม/วัน รองลงมาเปนสายพันธุนิลแดง 2.87 กรัม/วัน สวนสายพันธุท่ีมีคาอัตราการเจ ริญเ ติบโตนอยท่ีสุดคือ จิตรลดา 3.55 กรัม/วัน เมื่อเปรียบเทียบแลวพบวามีความแตกตางกันทางสถิติ (p<0.05) สวนระดับความเขมขนของฮอรโมน 17-α methytestosterone เมื่อทําการเปรียบเทียบทางสถิติแลวพบวาไมมีความแตกตางกันทางสถิติ (p>0.05) แสดงวา ระ ดับความเขมขนของฮอรโมน 17-α methytestosterone ไมมีผลตออัตราการเปล่ียนอาหารเปนเน้ือของปลานิล

4. ฮอรโมนท่ีตกคางในเลือดพบวามีในปริมาณท่ีนอยมากในแตละระดับความเขมขนและแตละสายพันธุมีปริมาณในปลานิลแดง 0.98 ng/ml รองลงมา กานา 0.23 ng/ml และ จิตรลดา 0.21 ng/ml ความเขมขนของปริมาณฮอรโมนท่ีมีผลตอปริมาณฮอรโมนตกคา งมากท่ีสุดคือ 60 ppm 1.77 ng/ml รองลงมาคือ 40 ppm 0.91 ng/ml นอยท่ีสุดคือ ชุดควบคุม 0.61 ng/ml การเปล่ียนแปลงโครโมโซม การเปล่ียนแปลงโครโมโซมในปลาอาจแบงไดเปน 3 ลักษณะ คือ ไจโนเจเนซีส (gynogenesis), แอนโดรเจเนซีส (androgenesis) และ โพลีพลอยดิ (polyploidy) ไจโนเจเนซีส คือ การผลิตสาย พันธุ ท่ีมีโครโมโซมมาจากแมท้ังหมด และ แอนโดรเจเนซีส หมายถึงการผลิตสายพันธุท่ีมีโครโมโซมมาจาก

Page 15: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

146

พอท้ังหมด สวนโพลีพลอยดิ หมายถึง การผลิตสายพันธุท่ีมีจํานวนโครโมโซมมากกวาปกติ เชน 3 n (triploid) หรือ 4 n (tetraploid) โดยอาศัยการเพ่ิมหรือลดจํานวนโครโมโซมซึ่งปกติมี 2 n (diploid) ในขบวนการปฏิสนธิโดยปกตินํ้าเช้ือจากตัวผู (spermatozoa) จะเปนตัวกระตุนใหขบวนการแบงเซลลไมโอซีส (meiosis) ระยะท่ี 2 ของไขดําเนินตอไป และทําใหเกิดการผลักดัน เซคกัน โพลาร บอดี (second polar body) ท่ีมีโครโมโซม 1 ชุด ออกจากนิวเคลียส ทําให เ กิด แฮบพลอยด โปรนิวคลีไอ (haploid pronuclei) ของเพศเมีย ซ่ึงจะรวมกับ โปรนิวคลีไอ (pronuclei) ของเพศผูและเกิด ดิพลอยด นิว เคลียสของตัวออนข้ึน ซ่ึงจะแบงตัวแบบ ไมโตซีส (mitosis) ตอไป 1. การผลิตสายพันธุแบบ ไจโนเจเนซีส และ แอนโดรเจเนซีส ประโยชนใชผลิตปลาเพศเ ดียว การสรางสายพันธุแททําไดโดยการผสมไขปกติ ท่ีมี แฮบพลอยด โปรนิวคลีไอ กับนํ้า เ ช้ือท่ีถูกทําลายโครโมโซม สวนการผลิตสายพันธุแบบ แอนโดรเจเนซีน ทําไดโดยการผสมไขท่ีถูกทําลายโครโมโซมกับนํ้าเช้ือปกติ ดังน้ันตัวออนแบบ ไจโนเจเนซีส และ แอนโดรเจเนซีส จะมีโครโมโซมเ พีย ง 1 n และมักมีความผิดปกติในขณะท่ีฟก ทําใหมีอัตราการรอดตายตํ่า แตจะสามารถเ พ่ิม อัตราการรอดตายใหสูงข้ึนได โดยการเหน่ียวนําใหตัวออนมีโครโมโซมเพ่ิมข้ึนเปน 2 n ซ่ึงสามารถทําไดโดยการยับยั้ งการกระตุน เซคกัน โพลาร บอดี ออกจากนิวเคลียส โดยการกระตุนไขในระยะเร่ิมตนการแบงตัวแบบ ไมโอซีส ระยะท่ี 2 ซ่ึงเกิดข้ึนกอนการรวมตัวของ โปรนิวคลีไอ ของเพศผูและเพศเมีย จึงทํา ให ตัวออนมีโครโมโซม 2 n คือจาก โปรนิวคลีไอ ของเพศเมีย และจาก เซคกัน โพลาร บอด้ี หรืออาจทําไดโดยการยับยั้งการแบงตัวแบบ ไมโตซีส ระยะท่ี 1 เฟริสท ไมโตซีส ดิวิซ่ัน (first mitosis division) ในขณะท่ีตัวออนมีการสรางโครโมโซมเพ่ิมเปน 2 n แลวแตยังไมมีการแบงเซลลจาก 1 เปน 2 เซลล ทํา ให ตัวออนมีโครโมโซม 2 n คือ จาก โปรนิวคลีไอ ท้ังหมด ประโยชนการผลิตปลาเพศเดียวแตมีปญหา เ ร่ืองอัตราการรอดจะไมดีเทาท่ีควร (รูปท่ี 10)

Page 16: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

147

รูปท่ี 10 แสดงข้ันตอนการผลิตสายพันธุแบบ ไมโตติก ไจโนเจเนติก ดิพลอยด และไมโอติก ไจโนเจ

เนติก ดิพลอยด ท่ีมา :ดัดแปลงจาก Donaldson (1986)

2. การผลิตสายพันธุแบบ โครโมโซม 3n (triploid) และ โครโมโซม 4n (tetraploid) นอกจากน้ีถามีการกระตุนไขท่ีผสมกับนํ้าเช้ือปกติ ในระยะการแบงตัวแบบ ไมโอซีส ระยะท่ี 2

จะทําใหเกิดตัวออนท่ีเปน โครโมโซม 3n ทําใหปลาเปนหมัน แตถามีการกระตุนในระยะการแบงตัวแบบ ไมโตซิส ระยะท่ี 1 จะไดตัวออนท่ีเปน โครโมโซม 4n คือจะมีโครโมโซมท่ีมาจาก เซคกัน โพลาร บอดี เพ่ิมข้ึนอีก 1 ชุด การเจ ริญเ ติบโตอาจ ดีกวาปลาปกติ 2n หรือดอยกวา ข้ึนอยู กับชนิด สภาพแวดลอม และการจัดการ ขอเสียอัตราการรอดคอนขางตํ่า

การทําปลาใหมีโครโมโซม 3n : นําไขผสมกับอสุจิตามปกติท้ิง ไวประมาณ 15-20 นา ที ช็อค ดวยอุณหภูมิ 7-15 องศาเซลเซียส สวนการทําปลาใหมีโครโมโซม 4n : ทําเชนเ ดียว กับ 3n แต ช็อค หลังผสม 30-60 นาที (รูปท่ี 11)

อสุจิ ฉายแสงอสุจิ

การผสม

ตัวออน

เพิ่มจํานวนโครโมโซม

แบงเซลล

เพิ่มโครโมโซม

แบงเซลล

โพลาร บอดีสลาย

โครโมโซม 1n

ไจโนเจเนติก โฮโมไซโกต โครโมโซม 2n

ไจโนเจเนติก เฮทเตอรโรไซกัส โครโมโซม 2n

Page 17: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

148

รูปท่ี 11 การทําปลาโครโมโซม 3n, 4n และ 2n ปกติ ท่ีมา : ดัดแปลงจาก Colin (1993)

2.1 การทําลายโครโมโซมของนํ้าเช้ือ การทําลายโครโมโซมของนํ้าเช้ือ อาจทําไดโดยการใช ไอออนนิซ่ิง เรเดียซ่ัน (ionizing radiation) เชน รังสี แกมมา (gamma) รังสี อัลตราไวโอเลต (ultraviolet) หรือสารเคมี ท่ีทํา ให เ กิดการ กลายพันธุ (mutation) โดยปกติรังสี X และ Co60 เปนรังสีแกมมา ท่ีใช กันแพรหลาย ในการทําลายโครโมโซมของนํ้าเช้ือ เน่ืองจากมีอํานาจในการทะลุทะลวงสูง อัตราการใชจะอยูประมาณ 100 Krad (นวลมณี, 2537) อยางไรก็ตาม พบวา รังสีแกมมาไมสามารถทําลายโครโมโซมของนํ้า เ ช้ือไดอยา งสม่ําเสมอ โดยมักจะพบช้ินสวนยอยของโครโมโซม (chromosome fragment) ท่ีมาจากนํ้า เ ช้ือในตัวออนท่ีได การนํารังสีอัลตราไวโอเลตมาใชในการทําลายโครโมโซมของ นํ้า เ ช้ือ เ น่ืองจากมีความปลอดภัยและใชไดงายกวารังสีแกมมา อยางไรก็ตามรังสีอัลตราไวโอเลต มีอํานาจในการทะลุทะลวงตํ่า จึงตองใชกับนํ้าเช้ือจํานวนนอย มีความปลอดภัยและใชไดงายกวารังสีแกมมา อยา งไรก็ตามรังสีอัลตราไวโอเลตมีอํานาจในการทะลุทะลวงตํ่า จึงตองใชกับนํ้าเช้ือจํานวนนอย และถาจะใหไดผลดีตองมีการเจือจางนํ้าเช้ือดวยสารละลายท่ียับยั้งการเคล่ือนท่ีของนํ้าเช้ือ ในทางปฏิบัติจะใหหลอดไฟ โดยวางนํ้าเช้ือท่ีเจือจางแลวไวใตหลอดไฟระยะหา งประมาณ 20 ซม . เปนเวลาหลายนา ที การใช รังสีอัลตราไวโอเลตทําใหเกิดการแตกหักของโครโมโซมนอยกวาการใชรังสีแกมมา จึงทําใหอัตรารอดตายของตัวออนสูงกวาการใชรังสีแกมมา มีรายงานการใชสารเคมีสองชนิดในการทําลายโครโมโซมของนํ้าเช้ือไดแก ไดเมธิล ซัลเฟส (dimethyl sulfate) (Cherfas, 1981; Chourrout, 1986) ซ่ึงขอดีของการใช

โครโมโซม 3n โครโมโซม 4n โครโมโซม 2n

ไข (ระยะโปรเฟส 2)

ช็อคดวยความเย็น ช็อคดวยความเย็น

อสุจิ

ระยะเมตาเฟส 2 แอนนาเฟส 2 โพลารบอดีสลาย ระยะเมตาเฟสของไขท่ีผสมแลว

Page 18: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

149

สารเคมีคือใชงายและใชไดกับนํ้าเช้ือจํานวนมาก อยางไรก็ตามการใชสารเคมีก็ทํา ให เ กิดการแตกหักของโครโมโซมเชนกัน (อุทัยรัตน,2538) 2.2 การทําลายโครโมโซมของไข มีรายงานของการใชรังสีแกมมาในการทําลายโครโมโซมของไขปลาเรนโบว เทราท และพบวามี ช้ินสวนยอยของโครโมโซมเ กิดข้ึนเชนกัน (Parson and Thorgaard, 1984) สวนรังสีอัลตราไวโอเลตมีประสิทธิภาพในการทําลายโครโมโซมของไข ตํ่ามาก เ น่ืองจากไมสามารถทะลุทะลวงเปลือกไขไดดีพอ (Ihssen et al., 1990)

3. การกระตุนการแบงเซลลเพ่ือใหเกิดตัวออนท่ีเปนดิพลอยด ในการผลิตสายพันธุแบบ ไจโนเจเนติก แอนโดรเจเนติก หรือ โพลีพลอยด จะตองมีการยับยั้ งการแบงเซลล โดยการกระตุนไขในขณะท่ีมีการแบงตัว แบบ ไมโอซิส ระยะท่ี 2 หรือการแบงตัวแบบ ไมโตซิส ระยะท่ี 1 โดยมีวิธีท่ีนิยมปฏิบัติดังน้ี 3.1 การกระตุนโดยการใชอุณหภูมิ การใชอุณหภูมิสูงหรือตํ่ากระตุนไขภายหลังท่ีไดรับการผสมนํ้า เ ช้ือ เปนวิ ธี ท่ีนิยมปฏิบัติในการยับยั้งการผลักดัน เซคกัน โพลาร บอดี ออกจากนิวเคลียสของไขในระยะการแบงเซลล แบบ ไมโอซิส ระยะท่ี 2 เพ่ือทําใหเกิดตัวออนแบบ ไมโตติก ไจโนเจเน ติก ดิพลอยด หรือ โครโมโซม 3n โดยพบวาการใชอุณหภูมิตํ่าจะมีผลยับยั้งการแบงเซลลระยะแอนนาเฟส 2 (anaphase ll) สวนการกระตุนดวยอุณหภูมิสูงจะทําลาย สปนเดิล แอพพาราตัส (spindle apparatus) การเลือกระดับอุณหภูมิและระยะเวลาท่ีเหมาะสมในการกระตุนจะข้ึนอยูกับชนิดของปลา โดยปกติพบวาการใชอุณหภูมิ ตํ่า จะเหมาะสมกับปลาเขตรอน สวนการใชอุณหภูมิสูงจะเหมาะสมกับปลาเขตหนาว นอกจากน้ียังสามารถใชอุณหภูมิกระตุนในระยะการแบงตัวแบบ ไมโตซิส ซ่ึงจะทําใหเกิดตัวออนท่ีเปน ไมโตติก ไจโนเจเนติก ดิพลอยด แอนโดรเจเนติก ดิพลอยด หรือ โครโมโซม 4n ข้ึนโดยการกระตุนไขในขณะท่ีมีการแบงเซลลถึงระยะ เฟริสท คลีเวท (first cleavage) โดยใชระดับอุณหภูมิและระยะ เวลาการกระตุนเชนเดียวกับท่ีใชยับยั้งการแบงเซลลแบบ ไมโอซิสระยะท่ี 2 ก็ใหผลเชนเดียวกัน 3.2 การกระตุนโดยการใชความดัน การใชความดันกระตุนเพ่ือยับยั้งการแบงเซลลแบบ ไมโอซิส ระยะ ท่ี 2 ได ริเ ร่ิม ข้ึนคร้ังแรกในปลาซีบรา หลังจากน้ันไมนานก็ไดนํามาใชอยางแพรหลายในปลาหลาย ๆ ชนิด โดยใชความดันระหวาง 7,000-10,000 ปอนด/ตร.น้ิว เปนเวลานานหลายนาที ซ่ึงโดยปกติจะใหผลดีกับปลาทุกชนิด อยางไรก็ตามในขณะน้ีการใชความดันยังมีขีดจํากัดท่ีไมสามารถใช กับไขจํานวนมากไดในคราวเดียวกัน สวนการใชความดันกระตุนการแบงเซลลในระยะ ไมโตซิส ระยะแรกก็ไดผลเชนกัน (Chourrout, 1984; Parson และ Thorgaard, 1984) ขอดีของการใชความดันคือ ทํา ไดง า ย และไมมีผลขางเคียงตอการพัฒนาของไข 3.3 กระตุนโดยการใชสารเคมี

Page 19: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

150

มีรายงานการใชสารยับยั้ง ไซโตคลาซิน-บี (cytochalasin - B) หรือพวก โคลซิซิน(colchicine) ในการกระตุนการแบงเซลล N ในระยะ ไมโอซิส ท่ี 2 หรือ ไมโตซิส ท่ี 1 ในปลาซัลมอน (Rafstie et al., 1977; Allen และ Stanley, 1979; Smith และ Lemoine, 1979) อยางไรก็ตาม ตัวออนท่ีไดจะประกอบไปดวยเซลลท่ีมีโครโมโซม 2, 3, และ 4 ชุด รวมกัน (mosaic embryo) การใชประโยชนของสายพันธุท่ีไดจากการเปล่ียนแปลงโครโมโซม

1. ไจโนเจเนซิส (gynogenesis) สายพันธุ ไมโอติก ไจโนเจเนซิส ดิพลอยด ยังมีประโยชนในการศึกษาเก่ีย ว กับ ครอสซิ่ง โอ

เวอร (crossing over) ซ่ึงมีประโยชนในการจัดทําแผนท่ีโครโมโซม (chromosome map) นอกจากน้ียังสามารถนํามาใชในการผลิตปลาเพศเดียวในกลุมปลาท่ีเพศเมียมียีนท่ีควบคุมเพศเปนแบบ โฮโมแกมมีติก (homogametic ;xx) และยังสามารถนํามาใชในการศึกษาการถายทอดการกําหนดเพศในปลาได อีกดวย ในทางกลับกันสายพันธุแบบ ไมโตติก ไจโนเจเนซิส ดิพลอยด จะมียีนบนโครโมโซมเปน โฮโมไซกัส (homozygous) ท้ังหมด ซ่ึงสามารถนํามาใชในการผลิตสายพันธุเลือดชิดไดโดยใช เ วลา เ พีย ง 2 รุน เมื่อเปรียบเทียบกับการใชวิธีผสมปกติ หรือการใช ไมโอติก ไจโนเจเนติก ดิพลอยด ซ่ึงตองใช เ วลามากกวา 10 รุน สายพันธุเลือดชิดท่ีไดมีความสําคัญมากในการผลิตลูกผสมท่ีมี ลักษณะดีกวาพอแม (hybrid vigor) โดยมีรายงานวาปลาไนท่ีไดจากการผสมขามพันธุระหวางสายพันธุแบบ ไมโตติก ไจโนเจเนติก ดิพลอยด 2 สายพันธุเจริญเติบโตดีกวาชุดควบคุมอยางมาก (Nagy, 1987) 2. แอนโดรเจเนซิส (androgenesis) ประโยชนของ แอนโดรเจเนซิส ก็คลายคลึงกับ ไจโนเจเนซิส คือใชในการผลิตสาย พันธุ เ ลือดชิด แตการใช แอนโดรเจเนซิส มีขอไดเปรียบเน่ืองจากปลาเพศผูมักจะมีชวงระยะสมบูรณ เพศสั้นกวาเพศเมีย และยังสามารถเก็บสายพันธุเลือดชิดไวไดในรูปของนํ้าเช้ือแชแข็งอีกดวย นอกจากน้ี แอนโดรเจเนซิส ยังสามารถใชศึกษาอิทธิพลของ ไมโตคอนเดรียล (mitochondrial ; DNA) โดยเปรียบเทียบปลาท่ีมีนิวเคลียส DNA เหมือนกันแตมี ไมโตชอนเดรียล ท่ีแตกตางกัน ขอเสียของ แอนโดรเจเนซิส คือทําไดยาก อยางไรก็ตามในขณะน้ีมีรายงานของการผลิตสายพันธุ จากนํ้าเช้ือของปลาโครโมโซม 4n

3. โครโมโซม 3n (triploid) 3.1 ปลาเปนหมัน ความเปนหมันของปลา โครโมโซม 3n มีประโยชนอยางมากในอุตสาหกรรม การเพาะเล้ียงสัตวนํ้า และการบริหารทรัพยากรประมง เชน การนําปลาซัลมอนเพศเมีย ท่ีเปน โครโมโซม 3n มาเล้ียงแทนปลาปกติ เพราะปลา โครโมโซม 3n จะไมแสดงลักษณะของปลา ท่ีสมบูรณ เพศ เชน หยุดกินอาหารและเปล่ียนสีตัวไปจนไมเปนท่ีตองการของผูบริโภค นอกจากน้ี Penman et al. (1987) เสนอแนะใหผลิตปลานิลท่ีเปน โครโมโซม 3n เพ่ือใชใน อุตสาหกรรมการเพาะเ ล้ีย ง เพราะจะทํา ใหไมเกิดปญหาการแพรพันธุในบอ สําหรับตัวอยา งของการใชปลา โครโมโซม 3n ในการบริหาร

Page 20: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

151

ทรัพยากรประมง ไดแกการนําปลา กินหญา ท่ีเปน มาใชควบคุมวัชพืชแทนปลา กินหญาปกติในสหรัฐอเมริกา เพ่ือปองกันปญหาการแพรกระจายของปลาท่ีนํา เขามาจากตา งประ เทศ (Allen et al., 1986) 3.2 การเจริญเติบโต ปลาโครโมโซม 3n มีขนาดของเซลลท่ีใหญกวาปกติ แตไมไดหมายความวา ปลาโครโมโซม 3n จะสามารถเจริญเติบโตไดอยางไมมี ขีดจํา กัด และจะไม เ จ ริญเ ติบโตเ ร็วกวาปกติโดยเฉพาะในชวงกอนถึงข้ึนสมบูรณเพศอยางไรก็ตามมีขอยกเวนในปลากดหลวง (Wolsters et al., 1982) และปลา บลู ทิลาเปย (blue tilapia) (Valenti, 1975) ซ่ึงพบวา ปลา โครโมโซม 3n จะมีขนาดใหญกวาปกติเมื่อมีอายุ 8 เดือนข้ึนไป ปลาโครโมโซม 3n จะโตดีกวาปลาปกติในชวงท่ีปลาปกติเจ ริญเขาสูวัยเจริญพันธุเทาน้ัน เน่ืองจากในระยะน้ีปลาปกติจะนําพลังงานสวนใหญไปใชในขบวนการสืบพันธุ ดังน้ันจึงอาจสรุปไดวา ปลาโครโมโซม 3n เจริญเติบโตดีกวาปลาปกติ เพราะความเปนหมันไมใชเพราะวามีโครโมโชม 3 ชุด 3.3 การผสมขามพันธุ การทําโครโมโซม 3n สามารถเพ่ิมอัตรารอดของตัวออนท่ีไดจ ากการผสมขามพันธุ (interspecific hybridization) เชน ในการผสมขามพันธุ ปลาเรนโบว เทราท กับปลา บราวน เทราท โดยปกติจะไมมีอัตรารอด แตถามีการเหน่ียวนําใหเกิดตัวออนท่ีเปน โครโมโซม 3n จะทํา ใหมี อัตรารอดข้ึน (Chevassus et al., 1983) โดยลูกผสมท่ีไดจากการกระตุนการแบงเซลลในระยะ ไมโอซิส ท่ี 2 จะมีโครโมโซมท่ีมาจากแม 2 ชุด และจากพอ 1 ชุด ซ่ึงอาจนําวิธีการน้ีไปใชในการผลิตลูกผสมท่ีมีลักษณะของเพศหน่ึงเพศใดมากกวาอีกเพศหน่ึงไดเพียงรุนเดียวเมื่อเทียบกับปลาใชปกติซ่ึงตองใช เ วลา 2 รุน

4 โครโมโซม 4n (tetraploid) การผลิตปลาโครโมโซม 4n ทําไดยากกวาปลาโครโมโซม 3n แตขณะน้ีมีราย งานการผลิตปลาโครโมโซม 4n ได 100% ในปลาเรนโบว เทราท (Chourrout, 1984) ความนาสนใจของปลาโครโมโซม 4n คือความไมเปนหมัน ดังน้ันจึงสามารถนําไปผสมกับปลาปกติเ พ่ือใชผลิตปลาโครโมโซม 3n ซ่ึงวิธีการน้ีจะมีประโยชนอยางยิ่งในการผลิตปลาท่ีไมสามารถใชวิ ธีทางกายภาพได เชน ปลานิล อยางไรก็ตามการใชนํ้าเช้ือของปลาโครโมโซม 4n ผสมกับไขปกติมักให อัตราผสมคอนขางตํ่า ท้ังน้ีอาจเปนเพราะนํ้าเช้ือของปลาโครโมโซม 4n ท่ีมีโครโมโซม 2 ชุด จะมีขนาดของสวนหัวใหญกวาปกติ ทําใหไมสามารถผานชอง ไมโครไพล (microphyle) ของไขปกติได การเจ ริญเ ติบโตและลักษณะตาง ๆ ของปลา โครโมโซม 3n ท่ีไดจากการผสมปลาปกติกับปลาโครโมโซม 4n ก็ไมแตกตางจากปลาปกติมากนัก แตคอนขางจะดีกวาปลาโครโมโซม 3n ท่ีไดมาจากการผลิตโดยวิ ธีทางกายภาพ นอกจากน้ียังมีรายงานของการผลิตปลาเรนโบว เทราท ท่ีเปนโครโมโซม 4n จากการทํา ไจ

Page 21: บทที่ 8 การเปลี่ยนเพศ และการ ... · 2009-03-16 · 133 1.3 การแปลงเพศปลาโดยฮอร โมนในกระช

152

โนเจเนซิส ของลูกผสมของปลาปกติกับปลาโครโมโซม 4n และพบวาปลาท่ีไดมี อัตรารอดและอัตราการเจริญเติบโตดีกวาปลาโครโมโซม 4n รุนแรก (อุทัยรัตน,2538)