โรคกรดไหลย อน - takeda.com€¦ ·...

8
โรคกรดไหลยอน จากกระเพาะสูหลอดอาหาร โรคกรดไหลยอน จากกระเพาะสูหลอดอาหาร Gastroesophageal Reflux Disease (GERD)

Upload: others

Post on 19-Jul-2020

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: โรคกรดไหลย อน - takeda.com€¦ · อาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ

โรคกรดไหลย�อนจากกระเพาะสู�หลอดอาหารโรคกรดไหลย�อนจากกระเพาะสู�หลอดอาหารGastroesophageal Reflux Disease (GERD)

สนับสนุนการจัดพ�มพ�โดย

บร�ษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด

Page 2: โรคกรดไหลย อน - takeda.com€¦ · อาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ

ภาวะนี้อาจท�าให้เกิดหลอดอาหารอักเสบ หรือเป็นมากจนเกิดแผลรุนแรง จนท�าให้ปลายหลอดอาหารตีบ หรือเกดิการเปลี่ยนแปลงเซลล์ของเยื่อบุหลอดอาหารได้ บางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ ในบางรายผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการทางด้านของโรคหู คอ จมูก อาทิ ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยอาการทางระบบหายใจ เช่น หอบหืด หรือ อาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ หรือมีกลิ่นปาก เป็นต้น

คนไทยเป็นโรคกรดไหลย้อน มากน้อยแค่ไหน พบว่าประมาณ 7.4% ของประชากรไทยเป็นโรคนี้ อย่างไรก็ดี โรคนี้แม้จะไม่ร้ายแรงเหมือนกับโรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจ แต่ก็รบกวนคุณภาพชีวิตของ ผู้ป่วยได้ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงผลกระทบกับประสิทธิภาพการท�างานด้วย

โรคกรดไหลย้อนคืออะไร

โรคกรดไหลย้อนจากกระเพาะ สู่หลอดอาหาร หรือโรคกรดไหลย้อน

[Gastroesophageal Reflux Disease (GERD)] เป็นภาวะที่น�้าย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไป

ในหลอดอาหาร โดยของที่ไหลย้อนส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ส่วนน้อยอาจเป็นด่างจากล�าไส้เล็ก โดยอาจมีหรือไม่มีหลอดอาหารอักเสบก็ได้

ผู้ป่วยจะมีอาการแสบยอดอกและ/หรือร่วมกับมีภาวะเรอเปรี้ยว

(รู้สึกเหมือนมีกรดซึ่งมีความรู้สึกเหมือนมีน�้ารสเปรี้ยวหรือขม

ไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือปาก)

“ “

Gastroesophageal Reflux Disease (GERD)2

Page 3: โรคกรดไหลย อน - takeda.com€¦ · อาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ

โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุอาทิ

• การคลายตัวของหลอดอาหารส่วนปลายโดยที่ไม่มีการกลืน

• ความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต�่ากว่าในคนปกติ หรือเกิดมีการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร

• เกิดภาวะการมีแอ่งของกรด (acid pocket) บริเวณกระเพาะอาหารส่วนบนใกล้กับ

หลอดอาหารหลังรับประทานอาหาร ท�าให้เป็นแหล่งของกรดที่จะย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร

• เกิดจากความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร

• อาจมีส่วนสัมพันธ์กับเชื้อแบคทีเรียบางชนิดหรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

ปัจจัยเสี่ยงที่มีบทบาทต่อ

โรคกรดไหลย้อนได้แก่ โรคอ้วน การตั้งครรภ์

การสูบบุหรี่ การใช้ยาบางชนิด เช่นยาต้านฮีสตามีน ยาแก้ปวด

โรคกรดไหลย้อน จากกระเพาะสู่หลอดอาหาร 3

Page 4: โรคกรดไหลย อน - takeda.com€¦ · อาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ

สามารถพบโรคนี้ได้ตั้งแต่ทารกจนถึงเด็กโต ในเด็กเล็ก อาการที่ควรนึกถึงโรคนี้ได้แก่ อาเจียนบ่อยหลังดูดนมโลหิตจาง น�้าหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับได้

จะรู้ ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน

โรคนี้พบในเด็กได้ ไหม

อาการสำาคัญคือ

(1) อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ อาการนี้ จะเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหาร การโน้มตัวไปข้างหน้า

การยกของหนัก หรือการนอนหงาย

(2) อาการเรอเปรี้ยว คือ มีกรดซึ่งเป็นน�้ารสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก โดยคนไข้อาจมีทั้ง 2 อาการหรืออาการใดอาการหนึ่งก็ได้

บางรายอาจมีโรคกระเพาะอาหารหรือล�าไส้แปรปรวนร่วมด้วยได้ โดยอาจมีอาการอื่น ๆ ที่พบร่วม อาทิ ท้องอืดแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหรือกลืนล�าบากในรายที่เป็นมากบางรายอาจมาด้วยอาการที่ไม่ใช่อาการของหลอดอาหารอาทิ เจ็บหน้าอก จุกที่คอ มีอาการคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ เสียงแหบ หรือเจ็บคอเรื้อรัง หอบหืดหรือปากมีกลิ่นโดยหาสาเหตุไม่ได้

Gastroesophageal Reflux Disease (GERD)4

Page 5: โรคกรดไหลย อน - takeda.com€¦ · อาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ

โดยปกติแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากอาการดังที่กล่าวมา โดยผู้ป่วยที่มี

• อาการแสบยอดอก และ/หรือ

• เรอเปรี้ยว

ทั้งนี้ไม่ควรมีอาการที่บ่งบอกว่าน่าจะเป็นโรคอื่น อาทิ น�้าหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายด�าหรือถ่ายเป็นเลือด หรือมีไข้ แพทย์สามารถวินิจฉัยได้เลยว่า ผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อน และให้การรักษาเบื้องต้นได้เลย

ในบางรายอาจมีความจ�าเป็นต้องได้รับการตรวจค้นพิเศษเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การกลืนแป้ง การตรวจวัดการบีบตัวของหลอดอาหาร และการตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร ซึ่งพบว่าได้ผลแม่นย�าและดีที่สุดในปัจจุบัน เป็นต้น

จะวินิจฉัยโรคนีไ้ด้อย่างไร

การส่องกล้องหลอดอาหารในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะพบเป็น 2 ลักษณะคือ

(1) เยื่อบุหลอดอาหารส่วนปลายดูปกติ ไม่เห็นมีการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งพบได้มากในคนไทยและคนเอเชียส่วนใหญ่

(2) มีลักษณะการอักเสบของหลอดอาหาร โดยในรายที่ เป็นรุนแรง อาจมีการตีบแคบของหลอดอาหาร หรือเกิดเป็นมะเร็งเกิดขึ้น

การส่องกล้องช่วยการวินิจฉัยอย่างไร

โรคกรดไหลย้อน จากกระเพาะสู่หลอดอาหาร 5

Page 6: โรคกรดไหลย อน - takeda.com€¦ · อาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ

การรักษาประกอบไปด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการด�าเนินชีวิตการให้ยา การส่องกล้องรักษาและการผ่าตัด

โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือการเปลี่ยนพฤติกรรมการด�าเนินชีวิตซึ่งสามารถท�าได้ดังต่อไปนี้

• ระวังไม่ให้น�้าหนักตัวมากหรืออ้วนเกินไป โดยแนะน�าให้ลดน�้าหนัก

• หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา น�้าชา กาแฟ น�้าอัดลม น�้าผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อคโกแลต

• ในผู้ป่วยที่มีอาการแสบยอดอกในช่วงกลางคืน

แนะน�าให้ระวังอาหารมื้อเย็น โดยไม่รับประทานปริมาณมาก และไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

นอนหนุนหัวเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้วและนอนตะแคงซ้าย

• ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง

• ออกก�าลังกายสม�่าเสมอ

• ไม่ใส่เสื้อรัดรูปเกินไป

จะปฏิบัติตัวอย่างไรถ้าเป็นโรคนี้

เป้าหมายของการรักษา แพทย์จะมุ่งเน้น ให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น• รักษาอาการต่าง ๆ ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะ อาการแสบยอดอก• รักษาการอักเสบของแผลในหลอดอาหาร

• ป้องกันผลแทรกซ้อน

Gastroesophageal Reflux Disease (GERD)6

Page 7: โรคกรดไหลย อน - takeda.com€¦ · อาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ

เมื่อปฏิบัติตัวเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรท�าอย่างไร แพทย์จะพิจารณาให้รับประทานยากลุ่ม Proton pump inhibitors

(PPIs) อาทเิช่น omeprazole, dexlansoprazole ซึง่เป็นกลุม่ทีใ่ห้ผลด ีในปัจจุบัน และได้ผลดกีว่ายาในกลุม่ H2 blocker receptor antagonist และ ดีกว่ากลุ่มยาที่กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร โดยที่แพทย์ จะให้รับประทานยาเป็นเวลา 4-8 สัปดาห์

ในบางรายที่เป็นมาก อาจมีความจ�าเป็นต้องใช้ยาเป็นระยะเวลา นานหลายเดือนหรือเป็นปี ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ในบางรายอาจพิจารณาการรักษาด้วยการส่องกล้องหรือการผ่าตัด

ในปัจจุบันมียากลุ่มใหม่ที่เรียกว่า Potassium Competitive Acid Blocker (P-CAB) อาทิเช่น vonoprazan ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งกรดได้รวดเร็ว และนานกว่ากลุ่ม PPI โดยรับประทานได้เพียงวันละครั้ง จากการศึกษาทางคลินิกพบว่าให้ผลดีกว่า PPI ในผู้ป่วยกรดไหลย้อนที่มีการอักเสบของหลอดอาหาร แต่ได้ผลไม่แตกต่างกันในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่พบการอักเสบของหลอดอาหาร

ส�าหรับยาในกลุ่มที่มีผลต่อการลดจ�านวนการคลายตัวของหูรูดนั้น ยังมีอยู่

จ�านวนไม่มากและยังมีผลข้างเคียงอยู่พอสมควร อาจจะมีที่ใช้ในผู้ป่วยบางราย ผู้ป่วยบางรายที่มีความไวของหลอดอาหารร่วมด้วยการใช้ยาลดความไวของหลอดอาหารซึ่งแนะน�าให้ใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าอาจมีความจ�าเป็นการใช้ยาบางอย่างเช่น Sodium alginate ก็อาจใช้ร่วมกับยา PPIs ในรายที่มีอาการเพิ่มขึ้นในบางช่วงได้

อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากมีอาการต่าง ๆ ดังกล่าว เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้อง

โรคกรดไหลย้อน จากกระเพาะสู่หลอดอาหาร 7

Page 8: โรคกรดไหลย อน - takeda.com€¦ · อาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ

โรคกรดไหลย�อนจากกระเพาะสู�หลอดอาหารโรคกรดไหลย�อนจากกระเพาะสู�หลอดอาหารGastroesophageal Reflux Disease (GERD)

สนับสนุนการจัดพ�มพ�โดย

บร�ษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด

TH/TAK/2018-00099