ชุดการสอนที่ 2 ความรู้ ...ล กค าได แบ...

1
เนื้อหาสาระ ความรู้เกี่ยวกับสินค้า ความรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่พนักงานขายจะต้องทราบ การปฏิบัติ งานขายให้ได้ผลนั้น พนักงานจะต้องทราบข้อเท็จจริง และมีความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่เสนอขายอย่าง ละเอียดทุกแง่ทุกมุม จะได้สามารถบอกลูกค้าถึงประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากการซื้อสินค้า ช่วยในการตอบข้อโต้แย้ง และช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเอง ความรู้เกี่ยวกับสินค้า ช่วยทำให้พนักงานขายได้รับประโยชน์ และประสบผลสำเร็จในงานขาย ดังนี1) ทำให้พนักงานขายมีความเชื่อมั่นในตนเอง 2) ทำให้พนักงานขายสามารถตอบข้อซักถามหรือข้อโต้แย้งต่าง ๆ ของลูกค้าได้ 3) ทำให้การเสนอขายสินค้าหรือการสาธิตสินค้ามีชีวิตชีวาขึ้น 4) ช่วยทำให้พนักงานขายทำงานอย่างสนุกเพลิดเพลิน 5) ทำให้พนักงานขายสามารถจัดสรรสินค้าให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าได้ 6) ช่วยให้การเจรจาการขายเป็นที่น่าสนใจและน่าฟังขึ้น 7) ชักชวนให้ผู้ซื้อเชื่อได้ว่าสินค้าที่ขายนั้นเหมาะสมกับราคาที่ซื้อ 8) ช่วยส่งเสริมให้พนักงานขายมีโอกาสเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งหรือได้งานที่ดีขึ้น ประเภทของสินค้า (Types of Product) สินค้าหรือบริการ หมายถึง สิ่งที่มีอรรถประโยชน์ (Utility) ที่สามารถตอบสนอง ความต้องการของ ลูกค้าได้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของผู้ซื้อ ดังนี1. สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) สินค้าอุปโภคบริโภค หมายถึง สินค้าที่มีจุดประสงค์การซื้อเพื่อนำไปตอบสนองความต้องการของ ตนเองหรือครอบครัว โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อการจำหน่ายต่อหรือนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็น สินค้าอื่น ลูกค้าของสินค้าประเภทนี้คือผู้บริโภคคนสุดท้าย (Ultimate Consumer) ตลาดที่นำสินค้านี้ไป จำหน่ายเรียกว่าตลาดผู้บริโภค (Consumer Market) สินค้าอุปโภคบริโภค แบ่งออกได้ตามลักษณะของสินค้า ดังนี1.1 สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Goods) หมายถึงสินค้าที่มีวางขายทั่วๆ ไป เป็นสินค้าอุปโภค บริโภค หากมีขนาดและยี่ห้อเดียวกัน จะซื้อที่ไหนก็เหมือนกัน ใครซื้อให้ก็เหมือนกัน เช่น บุหรีน้ำอัดลม ฯลฯ 1.2 สินค้าที่ถูกกระตุ้นให้ซื้อ (Impulse Goods) หมายถึง สินค้าที่ผู้ซื้อไม่เคยคิดจะซื้อมาก่อน แต่พอเห็นสินค้านั้นจากการจัดแสดงสินค้า หรือเดินผ่าน ก็เกิดความต้องการขึ้นมาทันที สินค้าประเภทนีมักเป็นของใช้สตรีกระจุกกระจิก ราคาไม่แพง เช่น เครื่องประดับ ผ้าเช็ดหน้า ปริมาณสินค้าที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่ปัญหาที่จะทำให้เกิดการซื้อเพิ่ม 1.3 สินค้าเฉพาะเจาะจง (Specialty Goods) หมายถึง สินค้าที่ต้องผ่านการพิจารณาไตร่ตรองก่อน การซื้อ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าพิเศษ ราคาแพง แสดงถึงรสนิยมของผู้ซื้อ ใช้เวลาพิจารณาตรา ยี่ห้อ ประเทศผู้ผลิต ราคา ความนิยมสินค้านั้นๆ ก่อนการซื้อนาน 1.4 สินค้าเลือกซื้อ (Shopping Goods) หมายถึง สินค้าที่ต้องใช้ความพยายามใน การซื้อมากกว่า สินค้าประเภทแรก เป็นสินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบก่อนการซื้อ เช่น การซื้อเสื้อผ้าต้องมีการพิจารณา แบบ สี ยี่ห้อ ราคา ก่อนการตกลงใจซื้อ เช่น เนคไท ที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณาก่อนการตกลงใจ ซื้อนาน 1.5 สินค้าซื้อประจำ (Stable Goods) เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีความเป็นต้องใช้เป็นประจำ ปริมาณการซื้อแต่ละครั้งไม่มาก แต่ซื้อบ่อยๆ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ข้าวสาร อาหารแห้ง เป็นต้น 1.6 สินค้ายามฉุกเฉิน (Emergency Goods) เป็นสินค้าที่ลูกค้าไม่คิดว่าจะซื้อ เพราะคิดไม่คิดถึง แต่จะซื้อก็ต่อเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา เช่น สินค้าจำพวกยา บริการโรงพยาบาล เป็นต้น 1.7 สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought Goods) เป็นสินค้าที่แม้ว่ามีขายในท้องตลาดแต่ก็ไม่เห็น ประโยชน์หรือความจำเป็นที่จะซื้อ หรือ เช่น บริการประกันชีวิต ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าสินค้า ดังกล่าวมีราคาสูงเกินกว่าที่จะซื้อได้ สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods) สินค้าอุตสาหกรรม หมายถึง สินค้าที่ซื้อไปเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต หรือสินค้าพวกเครื่องจักร ที่ซื้อไปเพื่อใช้ในการเปลี่ยนสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ตลาดสินค้าอุตสาหกรรมเรียกว่า ตลาดธุรกิจ (Business Market) สินค้าอุตสาหกรรม แบ่งเป็นประเภทตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี1. อุปกรณ์หลัก (Major Equipment) เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอันดับแรกที่ผู้ประกอบการอุตสาห กรรมต้องจัดหา เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นต้นที่สูงที่สุดในการประกอบการอุตสาหกรรม เป็นต้นทุนคงที่ที่กิจการต้องคิดค่าเสื่อม อายุการใช้งานนาน เช่น ตัวอาคารอาจจะมีอายุการใช้งานนานถึง 50 ปี นอกจากตัวอาคารแล้ว เครื่องจักรที่จะใช้ในการผลิตก็มีความจำเป็นเป็นลำดับต่อมา เพราะเครื่อง จักรเป็นเครื่องมือที่จะผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต่อไป เครื่องจักรที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ดังนี1.1 แบบมาตรฐานหรือแบบเอนกประสงค์ เป็นเครื่องจักรที่สามารถใช้งานได้หลายด้าน เพียงแต่เปลี่ยนชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบบางตัวเท่านั้น เช่น เครื่องปั๊มโลหะ เพียงแต่เปลี่ยนแม่พิมพ์ เครื่องจักรก็สามารถปั๊มโลหะออกเป็นรูปต่างๆ ได้ตามแม่พิมพ์นั้นๆ 1.2 แบบเฉพาะเจาะจงหรือแบบเอนกประสงค์ เป็นเครื่องจักรที่ออกแบบมาเพื่อ การหนึ่งการ ใดโดยเฉพาะ ไม่สามารถทำการอย่างอื่นนอกเหนือได้ เช่น เครื่องทอผ้าก็จะทอผ้าได้อย่างเดียว ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ 2. วัตถุดิบในการผลิต (Raw Material) วัตถุดิบ หมายถึง สิ่งที่กิจการอุตสาหกรรมจะนำมา แปรรูปให้เป็นสินค้าอื่นๆ (สินค้าอุปโภคบริโภค) ต่อไป วัตถุดิบอาจจะมีสภาพเหมือนเดิมตาม ธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบที่โรงงานกลั่นน้ำมัน นำมากลั่นให้เป็นน้ำมันประเภทต่างๆ เพื่อขายให้กับ ผู้บริโภคทั่วไป หรือสับปะรดที่โรงงานนำมาผลิตเป็นสับปะรดกระป๋อง วัตถุดิบอีกประเภทหนึ่งคือ พวกกึ่งสำเร็จรูป หมายถึง วัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการมาบ้างแล้ว เช่น แร่เหล็กที่ผ่านการถลุงจนกลายเป็นเม็ด เป็นแผ่น และนำมาผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมเป็นเหล็ก เส้น หรือรูปทรงอื่นๆ เพื่อใช้ในการก่อสร้าง เป็นต้น 3. วัสดุสิ้นเปลืองเพื่อการผลิต (Supplies Material) ไม่ใช่สินค้าหลักในการประกอบการ อุตสาหกรรม เป็นวัสดุสิ้นเปลืองเพื่อใช้ในการผลิต ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เช่น น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้กับ เครื่องจักรต่างๆ ในโรงงาน เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของสินค้าหลัก หรือช่วยให้การทำงานของสินค้า หลักเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ สินค้าประเภทนี้มีการแข่งขันสูงในตลาด ด้านราคา ตรายี่ห้อ และบริการที่จะได้รับ ซึ่งจะมีส่วนในการช่วยให้เกิดการตัดสินใจซื้อ 4. วัสดุสิ้นเปลืองเพื่อการจัดการ (Management Material) เป็นสิ่งจำเป็นอีกอย่างหนึ่งสำหรับ ลูกค้าอุตสาหกรรม เพราะกิจการอุตสาหกรรมทุกประเภทย่อมมีฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารที่ต้องใช้วัสดุ บางชนิดในการบริหาร เช่น อุปกรณ์เครื่องเขียน กระดาษ วัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆ มีลักษณะการซื้อไม่มาก นัก มีส่วนช่วยในการวางแผนการทำงานให้ผู้บริหาร เพื่อให้การประกอบการทางอุตสาหกรรมบรรลุ เป้าหมายที่วางไว้ 5. บริการ (Service) ในทางเทคนิค หมายถึง บริการทางเทคนิคที่ผู้ขายเครื่องจักรจะให้กับลูกค้า ทางอุตสาหกรรม เช่น บริการติดตั้งเครื่องจักร บริการฝึกอบรมของผู้ขาย การให้บริการคำปรึกษาทาง วิศวกรรม หรือการจัดการเพื่อให้การบริหารงาน มีประสิทธิภาพมากขึ้น การให้บริการด้านการบำรุง รักษา การบริการทำความสะอาดตัวอาคาร การให้บริการอบรมด้านเทคนิคใหม่ๆ ในการจัดการเรื่อง การบริการลูกค้าทางอุตสาหกรรม ซึ่งจะเน้นในด้านคุณภาพมากกว่าค่าใช้จ่ายในการบริการ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรม ประโยชน์ของการมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า พนักงานขายที่มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ตนจำหน่ายเป็นอย่างดี จะได้รับประโยชน์ดังต่อ ไปนี1. ประโยชน์ในการนำเสนอต่อลูกค้า พนักงานขายต้องระลึกอยู่เสมอว่า การที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อ สินค้านั้น ลูกค้าไม่ได้ซื้อสินค้าเพราะรูปลักษณ์ทางกายภาพ แต่ลูกค้าซื้อประโยชน์จากการได้ใช้สินค้านั้น เช่น ลูกค้าที่ซื้อหลอดประหยัดไฟ ลูกค้าไม่ได้ซื้อหลอดไฟ แต่ลูกค้าซื้อแสงสว่าง และซื้อความประหยัดทีจะได้รับต่างหาก เมื่อเป็นเช่นนี้พนักงานขายจึงต้องพยายามนำเสนอให้ลูกค้าได้ทราบว่า สินค้าที่นำมา จำหน่ายนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง จะช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างไร 2. ช่วยให้พนักงานขายเกิดความเชื่อมั่น เมื่อพนักงานขายมีความรู้เกี่ยวกับบริการหรือสินค้าของ ตนเป็นอย่างดี ย่อมทำให้พนักงานขายเกิดความมั่นใจในการขาย ไม่กลัวที่จะต้องเข้าพบกับคนแปลก หน้า ไม่กลัวว่าจะนำเสนอไม่ได้ มีความมั่นใจที่จะพูดว่าสินค้าที่ตนมาเสนอนั้นจะสามารถตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร 3. ใช้ตอบคำถามของลูกค้า ไม่มีลูกค้าคนใดที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าโดยที่ตัวเองไม่แน่ใจใน คุณภาพของสินค้า การจะตัดสินใจซื้ออะไรก็ตามจะต้องผ่านกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลเสมอ ดังนั้นเมื่อลูกค้ายังข้องใจเกี่ยวกับตัวสินค้าลูกค้าก็จะยังไม่ซื้อสินค้า แต่จะถามเพื่อให้ได้คำตอบและ นำมาประกอบการตัดสินใจ พนักงานที่รู้จักสินค้าของตนเป็นอย่างดีย่อมสามารถตอบคำถามของลูกค้า ให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ช่วยให้การตัดสินใจซื้อทำได้ง่ายขึ้น 4. ใช้ต่อสู้กับคู่แข่งขันในการขาย ในระบบตลาดเสรีซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง สินค้ามีหลาย ตรายี่ห้อ การซื้อแต่ละครั้งลูกค้ามีโอกาสเลือกมาก พนักงานขายที่สามารถชี้ให้เห็นประโยชน์ของสินค้า ตนว่าดีกว่าของคู่แข่งขันหรือสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่าเท่านั้นที่จะถูกเลือก 5. ช่วยให้งานขายสนุก การไม่กลัวที่จะเข้าพบคนแปลกหน้า การไม่กลัวที่จะนำเสนอสินค้า การไม่ กลัวคำถาม ย่อมทำให้พนักงานขายคลายกังวลเรื่องการทำงานและสนุกกับการทำงาน เหมือนกับคนทีชอบการคำนวณและไม่ชอบเรียนภาษา ย่อมต้องการจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จะสนุกและมีความสุขกับ การได้เรียนมากกว่าชั่วโมงที่เป็นภาษาอังกฤษ 6. ช่วยให้เกิดความรักในอาชีพขาย เมื่อพนักงานขายทราบว่าสินค้าของตนมีประโยชน์ที่จะช่วย เหลือลูกค้าได้ พนักงานขายย่อมเกิดความภาคภูมิใจ ความพอใจ ที่มีส่วนช่วยเหลือลูกค้า ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยให้สังคมมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นจากการได้ใช้สินค้าที่มีประโยชน์ ทำให้พนักงานขายเห็นคุณค่าของตัวเขาเอง ย่อมเกิดความรักในอาชีพ รักในกิจการที่ตนทำงานอยู7. ช่วยให้ได้รับการส่งเสริมให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น การได้รับการส่งเสริมหรือเลื่อนขั้นเลื่อน ตำแหน่งในทางธุรกิจ จะวัดจากความสำเร็จในการทำงาน การมียอดการเข้าพบและยอดขายที่สูงย่อม แสดงถึงความสามารถที่ประจักษ์ได้ เมื่อถึงเวลาอันควรย่อมต้องได้รับการส่งเสริมให้ได้รับตำแหน่งทีสูงขึ้น เพราะธุรกิจเองก็ต้องการผู้ที่มีความสามารถในการบริหารองค์กรเพื่อความสำเร็จในอนาคต 8. ช่วยให้จัดสรรสินค้าได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ลูกค้าที่เข้าพบพนักงานขายในแต่ละวัน มีหลายประเภท บางประเภทกล่าวได้ว่ายังไม่ทราบเลยว่าตนเองต้องการอะไรที่จะนำมาตอบสนองความ ต้องการที่เกิดขึ้นได้ดีที่สุด พนักงานที่มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าเป็นอย่างดี ย่อมสามารถที่จะจัดสรรสินค้า ให้ลูกค้าได้รับความพอใจสูงสุด นอกจากพนักงานขายจะได้รับค่าตอบแทนแล้ว ยังได้รับความชื่นชม จากลูกค้า ช่วยสร้างภาพพจน์ให้กับกิจการด้วย สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับสินค้า 1. ประโยชน์ของสินค้า การตัดสินใจซื้อของลูกค้าเป็นการตัดสินใจซื้อประโยชน์ที่จะได้รับจากการ ใช้สินค้า ไม่ใช่การตัดสินใจซื้อตัวสินค้าพนักงานขายที่สามารถชี้ให้ลูกค้าเห็นประโยชน์ของสินค้า ย่อมเป็นการง่ายที่ลูกค้าจะนำไปเปรียบเทียบกับราคาก่อนการตกลงใจซื้อ เช่น การใช้สบู่อาบน้ำก็เพื่อให้ ร่างกายสะอาด แต่ถ้าสบู่ก้อนนั้นยังมีกลิ่นหอม สีสวย ขนาดเหมาะมือ มีครีมถนอมผิว บำรุงผิว มีตัวยา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ย่อมช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่า เพราะลูกค้าจะได้ประโยชน์มากกว่าในราคา เท่ากันกับยี่ห้ออื่น 2. ส่วนประกอบของสินค้า เช่น วัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นสินค้า พนักงานขายต้องพยายามบอกให้ ลูกค้าได้ทราบว่าสินค้านั้นผลิตจากวัตถุดิบอะไร มีความแตกต่างจากสินค้าอื่นอย่างไร เพราะบางกรณี วัตถุดิบที่นำมาผลิตจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่างกัน เช่น คนทั่วไปจะเชื่อมั่นรถยนต์วอลโว่ ว่ามีความแข็งแกร่ง เพราะผลิตจากเหล็กสวีเดน ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเหล็กที่ดีที่สุดในโลก หรือเครื่องครัวที่ทำจากอะลูมิเนียมย่อมดีกว่าเหล็ก เพราะนำความร้อนดีกว่า ช่วยประหยัดพลังงานใน การหุงต้ม เป็นต้น 3. ขบวนการผลิต จะมีส่วนทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น เช่น จะได้ฟังจากโฆษณาอยู่บ่อย ๆ ว่าสินค้านั้นมีการควบคุมการผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ คนฟังจะเกิดความมั่นใจมากขึ้น เพราะมั่นใจในความเที่ยงตรง หรือสินค้าที่ผลิตจากมือ หรือ "Hand Made" ย่อมได้รับความมั่นใจใน ความประณีตมากกว่าสินค้าที่ผลิตด้วยเครื่องจักร 4. การดูแลรักษา ลูกค้าอาจจะมีปัญหาจากการใช้สินค้า โดยพบว่าสินค้าที่ซื้อมานั้นไม่ดีเหมือนทีพนักงานขายได้บอกไว้ หรืออาจเกิดจากการดูแลรักษาสินค้าผิดวิธี พนักงานจะต้องระลึกเสมอว่า การบอกวิธีการรักษาสินค้าที่ถูกต้องมีความสำคัญพอๆ กับการบอกว่าสินค้านั้นใช้อย่างไร มีประโยชน์ อย่างไร เช่น การซักผ้าฝ้ายสี ต้องบอกให้ลูกค้าที่ซื้อทราบว่าต้องซักในเวลากลางวัน แต่ตากในบริเวณ ชายคาบ้านอย่าให้ถูกแดดเพราะแดดจะทำให้สีซีดเร็ว 5. รายละเอียดทางเทคนิค สินค้าอุตสาหกรรมหลายชนิด มีรายละเอียดทางเทคนิคมาก จึงมี ความจำเป็นที่พนักงานขายต้องบอกให้ลูกค้าได้ทราบ มิเช่นนั้นลูกค้าจะไม่ทราบวิธีการใช้ หรือใช้ ประโยชน์ไม่ครบถ้วน กลายเป็นสินค้าราคาแพง ไม่ทนทานในกรณีที่บำรุงรักษาผิดวิธี แหล่งที่มาของความรู้เกี่ยวกับสินค้า พนักงานขายสามารถศึกษาความรู้เกี่ยวกับสินค้า ได้จากแหล่งที่มา ดังต่อไปนี1. ตัวผลิตภัณฑ์ (Product) พนักงานขายสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าจาก ตัวผลิตภัณฑ์นั้นเองได้เป็นอย่างดียิ่งหรืออาจศึกษาได้จากฉลากและเครื่องหมายซึ่งติดมากับผลิตภัณฑ์ 2. พนักงานขายของผู้ผลิตหรือจำหน่าย พนักงานขายของผู้ขายปลีกอาจสอบถามและศึกษาหา ความรู้เกี่ยวกับสินค้าของตนและของคู่แข่งขันเป็นอย่างดี เขาย่อมเต็มใจที่จะอธิบายถึงคุณภาพ วิธีการ ใช้และส่วนประกอบของสินค้าให้แก่พนักงานขายของผู้ขายปลีก ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยเผยแพร่สินค้าของเขา 3. คู่มือขาย (Sales Manuals) คู่มือขายนั้นจัดทำขึ้นเพื่อให้พนักงานขายได้ศึกษาเรื่องราวอัน เกี่ยวกับสินค้า การติดต่อกับบริษัท เช่น การทำใบสั่งซื้อ การทำบัญชี ค่าใช้จ่าย รายงานประจำวัน การปฏิบัติเกี่ยวกับการให้เครดิต ฯลฯ 4. แฟ้มขาย (Sales Portfolio) ตัวอย่างภาพสินค้า แผนภูมิ สถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับการขายสินค้า ตลอดจนจดหมายชมเชยจากลูกค้า จะถูกรวบรวมอยู่ในแฟ้มขาย เพื่อแสดงให้ลูกค้าชม 5. ตัวแทนผู้ผลิต พนักงานที่นำสินค้ามาส่งกิจการอาจจะไม่ใช่เด็กส่งของธรรมดาพนักงานขาย สินค้าบางชนิด เช่น ขายยา ขายเครื่องจักร บางคนอาจมีความรู้ จบการศึกษาเภสัชศาสตร์หรือจบ วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และความชำนาญเฉพาะ พนักงานของกิจการสามารถสอบถาม รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้เป็นอย่างดี หรืออาจจะขอความร่วมมือให้จัดอบรมได้โดยไม่ต้องเสียค่า ใช้จ่าย 6. สมาคมธุรกิจต่าง ๆ กลุ่มผู้ผลิตหรือผู้ค้าปลีก ซึ่งดำเนินการขายสินค้าประเภทเดียวกันหรือ ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกัน จะร่วมกันจัดตั้งเป็นสมาคมและร่วมกันศึกษาสภาพตลาดและปรับปรุง กิจการดำเนินการให้กว้างขวางใหญ่โตขึ้น เช่น สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย สมาคมโฆษณาธุรกิจ แห่งประเทศไทย เป็นต้น 7. หนังสือพิมพ์ธุรกิจ สมาคมธุรกิจและองค์การค้าต่างๆ ตลอดจนธนาคารได้จัดพิมพ์หนังสือ พิมพ์หรือนิตยสารรายวัน รายงานข่าวการค้าต่างๆ เป็นแบบจุลสารหรือ นิตยสารรายสัปดาห์หรือ รายเดือน เช่น สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยออกวารสารการตลาดฯ นอกจากนี้ ยังมีเอกชนได้ ดำเนินการจัดทำหนังสือพิมพ์ และนิตยสารเพื่อเสนอข่าวทางด้านธุรกิจ ออกจำหน่าย เช่น หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ นิตยสารคู่แข่ง เป็นต้น 8. คู่มือสินค้า (Merchandise Manuals) เป็นหนังสือซึ่งจัดพิมพ์เป็นพิเศษเฉพาะแต่ละประเภท ของสินค้า ซึ่งได้ร่วมกันจัดทำโดยบริษัทห้างร้านเอกชน นิตยสาร และสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งนี้ได้รับ ความร่วมมือจากบรรดาผู้ผลิตต่างๆ ด้วย 9. การฝึกอบรม บริษัทอาจจัดหลักสูตรฝึกอบรมพนักงานขายของบริษัทขึ้นเอง หรืออาจจัดส่งไป ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ นอกจากนี้ก็อาจจะ มีพวกสมาคมธุรกิจต่างๆ จัดการอบรมขึ้น ในการให้การศึกษาแก่พนักงานขายนี้อาจจะใช้อุปกรณ์การสอนประกอบการบรรยาย เช่น สไลด์ ภาพยนตร์ เพื่อให้การอบรมเป็นไป อย่างได้ผล 10. แหล่งอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว พนักงานขายอาจจะศึกษาหาความรู้และ รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี- ห้องสมุด - หน่วยงานราชการต่าง ๆ - การสอบถามจากลูกค้า - การเข้าชมกิจการโรงงานต่าง ๆ ชุดการสอนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับสินค้า (Product Knowledge) มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ หลักการ วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการทำงาน การจัดการ สามารถทำงาน ประเมินผล ปรับปรุง และพัฒนางานธุรกิจ มาตรฐาน ง 2.1 มีความรู้ ทักษะ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีในงานอาชีพ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อธิบายความรู้พื้นฐานของพนักงานขาย เกี่ยวกับสินค้า ได้ถูกต้อง สาระการเรียนรู1. ประเภทของสินค้า 2. ประโยชน์ของการมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า 3. สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับสินค้า 4. แหล่งที่มาของความรู้เกี่ยวกับสินค้า

Upload: others

Post on 16-Jan-2020

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ชุดการสอนที่ 2 ความรู้ ...ล กค าได แบ งออกได เป น 2 ประเภท ตามล กษณะของผ

เนื้อหาสาระ

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า

ความรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่พนักงานขายจะต้องทราบ การปฏิบัติ

งานขายให้ได้ผลนั้น พนักงานจะต้องทราบข้อเท็จจริง และมีความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่เสนอขายอย่าง

ละเอียดทุกแง่ทุกมุม จะได้สามารถบอกลูกค้าถึงประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากการซื้อสินค้า

ช่วยในการตอบข้อโต้แย้ง และช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเอง

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า ช่วยทำให้พนักงานขายได้รับประโยชน์ และประสบผลสำเร็จในงานขาย ดังนี้

1) ทำให้พนักงานขายมีความเชื่อมั่นในตนเอง

2) ทำให้พนักงานขายสามารถตอบข้อซักถามหรือข้อโต้แย้งต่าง ๆ ของลูกค้าได้

3) ทำให้การเสนอขายสินค้าหรือการสาธิตสินค้ามีชีวิตชีวาขึ้น

4) ช่วยทำให้พนักงานขายทำงานอย่างสนุกเพลิดเพลิน

5) ทำให้พนักงานขายสามารถจัดสรรสินค้าให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าได้

6) ช่วยให้การเจรจาการขายเป็นที่น่าสนใจและน่าฟังขึ้น

7) ชักชวนให้ผู้ซื้อเชื่อได้ว่าสินค้าที่ขายนั้นเหมาะสมกับราคาที่ซื้อ

8) ช่วยส่งเสริมให้พนักงานขายมีโอกาสเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งหรือได้งานที่ดีขึ้น

ประเภทของสินค้า (Types of Product)

สินค้าหรือบริการ หมายถึง สิ่งที่มีอรรถประโยชน์ (Utility) ที่สามารถตอบสนอง ความต้องการของ

ลูกค้าได้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของผู้ซื้อ ดังนี้

1. สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods)

สินค้าอุปโภคบริโภค หมายถึง สินค้าที่มีจุดประสงค์การซื้อเพื่อนำไปตอบสนองความต้องการของ

ตนเองหรือครอบครัว โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อการจำหน่ายต่อหรือนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็น

สินค้าอื่น ลูกค้าของสินค้าประเภทนี้คือผู้บริโภคคนสุดท้าย (Ultimate Consumer) ตลาดที่นำสินค้านี้ไป

จำหน่ายเรียกว่าตลาดผู้บริโภค (Consumer Market)

สินค้าอุปโภคบริโภค แบ่งออกได้ตามลักษณะของสินค้า ดังนี้

1.1 สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Goods) หมายถึงสินค้าที่มีวางขายทั่วๆ ไป เป็นสินค้าอุปโภค

บริโภค หากมีขนาดและยี่ห้อเดียวกัน จะซื้อที่ไหนก็เหมือนกัน ใครซื้อให้ก็เหมือนกัน เช่น บุหรี่

น้ำอัดลม ฯลฯ

1.2 สินค้าที่ถูกกระตุ้นให้ซื้อ (Impulse Goods) หมายถึง สินค้าที่ผู้ซื้อไม่เคยคิดจะซื้อมาก่อน

แต่พอเห็นสินค้านั้นจากการจัดแสดงสินค้า หรือเดินผ่าน ก็เกิดความต้องการขึ้นมาทันที สินค้าประเภทนี้

มักเป็นของใช้สตรีกระจุกกระจิก ราคาไม่แพง เช่น เครื่องประดับ ผ้าเช็ดหน้า ปริมาณสินค้าที่มีอยู่แล้ว

ไม่ใช่ปัญหาที่จะทำให้เกิดการซื้อเพิ่ม

1.3 สินค้าเฉพาะเจาะจง (Specialty Goods) หมายถึง สินค้าที่ต้องผ่านการพิจารณาไตร่ตรองก่อน

การซื้อ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าพิเศษ ราคาแพง แสดงถึงรสนิยมของผู้ซื้อ ใช้เวลาพิจารณาตรา ยี่ห้อ

ประเทศผู้ผลิต ราคา ความนิยมสินค้านั้นๆ ก่อนการซื้อนาน

1.4 สินค้าเลือกซื้อ (Shopping Goods) หมายถึง สินค้าที่ต้องใช้ความพยายามใน การซื้อมากกว่า

สินค้าประเภทแรก เป็นสินค้าที่ต้องการเปรียบเทียบก่อนการซื้อ เช่น การซื้อเสื้อผ้าต้องมีการพิจารณา

แบบ สี ยี่ห้อ ราคา ก่อนการตกลงใจซื้อ เช่น เนคไท ที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณาก่อนการตกลงใจ

ซื้อนาน

1.5 สินค้าซื้อประจำ (Stable Goods) เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีความเป็นต้องใช้เป็นประจำ

ปริมาณการซื้อแต่ละครั้งไม่มาก แต่ซื้อบ่อยๆ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ข้าวสาร อาหารแห้ง เป็นต้น

1.6 สินค้ายามฉุกเฉิน (Emergency Goods) เป็นสินค้าที่ลูกค้าไม่คิดว่าจะซื้อ เพราะคิดไม่คิดถึง

แต่จะซื้อก็ต่อเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา เช่น สินค้าจำพวกยา บริการโรงพยาบาล เป็นต้น

1.7 สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought Goods) เป็นสินค้าที่แม้ว่ามีขายในท้องตลาดแต่ก็ไม่เห็น

ประโยชน์หรือความจำเป็นที่จะซื้อ หรือ เช่น บริการประกันชีวิต ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าสินค้า

ดังกล่าวมีราคาสูงเกินกว่าที่จะซื้อได้

สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods)

สินค้าอุตสาหกรรม หมายถึง สินค้าที่ซื้อไปเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต หรือสินค้าพวกเครื่องจักร

ที่ซื้อไปเพื่อใช้ในการเปลี่ยนสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ตลาดสินค้าอุตสาหกรรมเรียกว่า

ตลาดธุรกิจ (Business Market)

สินค้าอุตสาหกรรม แบ่งเป็นประเภทตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้

1. อุปกรณ์หลัก (Major Equipment) เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอันดับแรกที่ผู้ประกอบการอุตสาห

กรรมต้องจัดหา เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นต้นที่สูงที่สุดในการประกอบการอุตสาหกรรม

เป็นต้นทุนคงที่ที่กิจการต้องคิดค่าเสื่อม อายุการใช้งานนาน เช่น ตัวอาคารอาจจะมีอายุการใช้งานนานถึง

50 ปี

นอกจากตัวอาคารแล้ว เครื่องจักรที่จะใช้ในการผลิตก็มีความจำเป็นเป็นลำดับต่อมา เพราะเครื่อง

จักรเป็นเครื่องมือที่จะผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต่อไป เครื่องจักรที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2

ชนิด ดังนี้

1.1 แบบมาตรฐานหรือแบบเอนกประสงค์ เป็นเครื่องจักรที่สามารถใช้งานได้หลายด้าน

เพียงแต่เปลี่ยนชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบบางตัวเท่านั้น เช่น เครื่องปั๊มโลหะ เพียงแต่เปลี่ยนแม่พิมพ์

เครื่องจักรก็สามารถปั๊มโลหะออกเป็นรูปต่างๆ ได้ตามแม่พิมพ์นั้นๆ

1.2 แบบเฉพาะเจาะจงหรือแบบเอนกประสงค์ เป็นเครื่องจักรที่ออกแบบมาเพื่อ การหนึ่งการ

ใดโดยเฉพาะ ไม่สามารถทำการอย่างอื่นนอกเหนือได้ เช่น เครื่องทอผ้าก็จะทอผ้าได้อย่างเดียว

ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้

2. วัตถุดิบในการผลิต (Raw Material) วัตถุดิบ หมายถึง สิ่งที่กิจการอุตสาหกรรมจะนำมา

แปรรูปให้เป็นสินค้าอื่นๆ (สินค้าอุปโภคบริโภค) ต่อไป วัตถุดิบอาจจะมีสภาพเหมือนเดิมตาม

ธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบที่โรงงานกลั่นน้ำมัน นำมากลั่นให้เป็นน้ำมันประเภทต่างๆ เพื่อขายให้กับ

ผู้บริโภคทั่วไป หรือสับปะรดที่โรงงานนำมาผลิตเป็นสับปะรดกระป๋อง

วัตถุดิบอีกประเภทหนึ่งคือ พวกกึ่งสำเร็จรูป หมายถึง วัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการมาบ้างแล้ว เช่น

แร่เหล็กที่ผ่านการถลุงจนกลายเป็นเม็ด เป็นแผ่น และนำมาผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมเป็นเหล็ก

เส้น หรือรูปทรงอื่นๆ เพื่อใช้ในการก่อสร้าง เป็นต้น

3. วัสดุสิ้นเปลืองเพื่อการผลิต (Supplies Material) ไม่ใช่สินค้าหลักในการประกอบการ

อุตสาหกรรม เป็นวัสดุสิ้นเปลืองเพื่อใช้ในการผลิต ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เช่น น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้กับ

เครื่องจักรต่างๆ ในโรงงาน เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของสินค้าหลัก หรือช่วยให้การทำงานของสินค้า

หลักเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ สินค้าประเภทนี้มีการแข่งขันสูงในตลาด ด้านราคา ตรายี่ห้อ

และบริการที่จะได้รับ ซึ่งจะมีส่วนในการช่วยให้เกิดการตัดสินใจซื้อ

4. วัสดุสิ้นเปลืองเพื่อการจัดการ (Management Material) เป็นสิ่งจำเป็นอีกอย่างหนึ่งสำหรับ

ลูกค้าอุตสาหกรรม เพราะกิจการอุตสาหกรรมทุกประเภทย่อมมีฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารที่ต้องใช้วัสดุ

บางชนิดในการบริหาร เช่น อุปกรณ์เครื่องเขียน กระดาษ วัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆ มีลักษณะการซื้อไม่มาก

นัก มีส่วนช่วยในการวางแผนการทำงานให้ผู้บริหาร เพื่อให้การประกอบการทางอุตสาหกรรมบรรลุ

เป้าหมายที่วางไว้

5. บริการ (Service) ในทางเทคนิค หมายถึง บริการทางเทคนิคที่ผู้ขายเครื่องจักรจะให้กับลูกค้า

ทางอุตสาหกรรม เช่น บริการติดตั้งเครื่องจักร บริการฝึกอบรมของผู้ขาย การให้บริการคำปรึกษาทาง

วิศวกรรม หรือการจัดการเพื่อให้การบริหารงาน มีประสิทธิภาพมากขึ้น การให้บริการด้านการบำรุง

รักษา การบริการทำความสะอาดตัวอาคาร การให้บริการอบรมด้านเทคนิคใหม่ๆ ในการจัดการเรื่อง

การบริการลูกค้าทางอุตสาหกรรม ซึ่งจะเน้นในด้านคุณภาพมากกว่าค่าใช้จ่ายในการบริการ

การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรม

ประโยชน์ของการมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า

พนักงานขายที่มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ตนจำหน่ายเป็นอย่างดี จะได้รับประโยชน์ดังต่อ

ไปนี้

1. ประโยชน์ในการนำเสนอต่อลูกค้า พนักงานขายต้องระลึกอยู่เสมอว่า การที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อ

สินค้านั้น ลูกค้าไม่ได้ซื้อสินค้าเพราะรูปลักษณ์ทางกายภาพ แต่ลูกค้าซื้อประโยชน์จากการได้ใช้สินค้านั้น

เช่น ลูกค้าที่ซื้อหลอดประหยัดไฟ ลูกค้าไม่ได้ซื้อหลอดไฟ แต่ลูกค้าซื้อแสงสว่าง และซื้อความประหยัดที่

จะได้รับต่างหาก เมื่อเป็นเช่นนี้พนักงานขายจึงต้องพยายามนำเสนอให้ลูกค้าได้ทราบว่า สินค้าที่นำมา

จำหน่ายนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง จะช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างไร

2. ช่วยให้พนักงานขายเกิดความเชื่อมั่น เมื่อพนักงานขายมีความรู้เกี่ยวกับบริการหรือสินค้าของ

ตนเป็นอย่างดี ย่อมทำให้พนักงานขายเกิดความมั่นใจในการขาย ไม่กลัวที่จะต้องเข้าพบกับคนแปลก

หน้า ไม่กลัวว่าจะนำเสนอไม่ได้ มีความมั่นใจที่จะพูดว่าสินค้าที่ตนมาเสนอนั้นจะสามารถตอบสนอง

ความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร

3. ใช้ตอบคำถามของลูกค้า ไม่มีลูกค้าคนใดที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าโดยที่ตัวเองไม่แน่ใจใน

คุณภาพของสินค้า การจะตัดสินใจซื้ออะไรก็ตามจะต้องผ่านกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลเสมอ

ดังนั้นเมื่อลูกค้ายังข้องใจเกี่ยวกับตัวสินค้าลูกค้าก็จะยังไม่ซื้อสินค้า แต่จะถามเพื่อให้ได้คำตอบและ

นำมาประกอบการตัดสินใจ พนักงานที่รู้จักสินค้าของตนเป็นอย่างดีย่อมสามารถตอบคำถามของลูกค้า

ให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ช่วยให้การตัดสินใจซื้อทำได้ง่ายขึ้น

4. ใช้ต่อสู้กับคู่แข่งขันในการขาย ในระบบตลาดเสรีซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง สินค้ามีหลาย

ตรายี่ห้อ การซื้อแต่ละครั้งลูกค้ามีโอกาสเลือกมาก พนักงานขายที่สามารถชี้ให้เห็นประโยชน์ของสินค้า

ตนว่าดีกว่าของคู่แข่งขันหรือสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่าเท่านั้นที่จะถูกเลือก

5. ช่วยให้งานขายสนุก การไม่กลัวที่จะเข้าพบคนแปลกหน้า การไม่กลัวที่จะนำเสนอสินค้า การไม่

กลัวคำถาม ย่อมทำให้พนักงานขายคลายกังวลเรื่องการทำงานและสนุกกับการทำงาน เหมือนกับคนที่

ชอบการคำนวณและไม่ชอบเรียนภาษา ย่อมต้องการจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จะสนุกและมีความสุขกับ

การได้เรียนมากกว่าชั่วโมงที่เป็นภาษาอังกฤษ

6. ช่วยให้เกิดความรักในอาชีพขาย เมื่อพนักงานขายทราบว่าสินค้าของตนมีประโยชน์ที่จะช่วย

เหลือลูกค้าได้ พนักงานขายย่อมเกิดความภาคภูมิใจ ความพอใจ ที่มีส่วนช่วยเหลือลูกค้า

ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยให้สังคมมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นจากการได้ใช้สินค้าที่มีประโยชน์

ทำให้พนักงานขายเห็นคุณค่าของตัวเขาเอง ย่อมเกิดความรักในอาชีพ รักในกิจการที่ตนทำงานอยู่

7. ช่วยให้ได้รับการส่งเสริมให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น การได้รับการส่งเสริมหรือเลื่อนขั้นเลื่อน

ตำแหน่งในทางธุรกิจ จะวัดจากความสำเร็จในการทำงาน การมียอดการเข้าพบและยอดขายที่สูงย่อม

แสดงถึงความสามารถที่ประจักษ์ได้ เมื่อถึงเวลาอันควรย่อมต้องได้รับการส่งเสริมให้ได้รับตำแหน่งที่

สูงขึ้น เพราะธุรกิจเองก็ต้องการผู้ที่มีความสามารถในการบริหารองค์กรเพื่อความสำเร็จในอนาคต

8. ช่วยให้จัดสรรสินค้าได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ลูกค้าที่เข้าพบพนักงานขายในแต่ละวัน

มีหลายประเภท บางประเภทกล่าวได้ว่ายังไม่ทราบเลยว่าตนเองต้องการอะไรที่จะนำมาตอบสนองความ

ต้องการที่เกิดขึ้นได้ดีที่สุด พนักงานที่มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าเป็นอย่างดี ย่อมสามารถที่จะจัดสรรสินค้า

ให้ลูกค้าได้รับความพอใจสูงสุด นอกจากพนักงานขายจะได้รับค่าตอบแทนแล้ว ยังได้รับความชื่นชม

จากลูกค้า ช่วยสร้างภาพพจน์ให้กับกิจการด้วย

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับสินค้า

1. ประโยชน์ของสินค้า การตัดสินใจซื้อของลูกค้าเป็นการตัดสินใจซื้อประโยชน์ที่จะได้รับจากการ

ใช้สินค้า ไม่ใช่การตัดสินใจซื้อตัวสินค้าพนักงานขายที่สามารถชี้ให้ลูกค้าเห็นประโยชน์ของสินค้า

ย่อมเป็นการง่ายที่ลูกค้าจะนำไปเปรียบเทียบกับราคาก่อนการตกลงใจซื้อ เช่น การใช้สบู่อาบน้ำก็เพื่อให้

ร่างกายสะอาด แต่ถ้าสบู่ก้อนนั้นยังมีกลิ่นหอม สีสวย ขนาดเหมาะมือ มีครีมถนอมผิว บำรุงผิว มีตัวยา

ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ย่อมช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่า เพราะลูกค้าจะได้ประโยชน์มากกว่าในราคา

เท่ากันกับยี่ห้ออื่น

2. ส่วนประกอบของสินค้า เช่น วัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นสินค้า พนักงานขายต้องพยายามบอกให้

ลูกค้าได้ทราบว่าสินค้านั้นผลิตจากวัตถุดิบอะไร มีความแตกต่างจากสินค้าอื่นอย่างไร เพราะบางกรณี

วัตถุดิบที่นำมาผลิตจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่างกัน เช่น คนทั่วไปจะเชื่อมั่นรถยนต์วอลโว่

ว่ามีความแข็งแกร่ง เพราะผลิตจากเหล็กสวีเดน ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเหล็กที่ดีที่สุดในโลก

หรือเครื่องครัวที่ทำจากอะลูมิเนียมย่อมดีกว่าเหล็ก เพราะนำความร้อนดีกว่า ช่วยประหยัดพลังงานใน

การหุงต้ม เป็นต้น

3. ขบวนการผลิต จะมีส่วนทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น เช่น จะได้ฟังจากโฆษณาอยู่บ่อย

ๆ ว่าสินค้านั้นมีการควบคุมการผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ คนฟังจะเกิดความมั่นใจมากขึ้น

เพราะมั่นใจในความเที่ยงตรง หรือสินค้าที่ผลิตจากมือ หรือ "Hand Made" ย่อมได้รับความมั่นใจใน

ความประณีตมากกว่าสินค้าที่ผลิตด้วยเครื่องจักร

4. การดูแลรักษา ลูกค้าอาจจะมีปัญหาจากการใช้สินค้า โดยพบว่าสินค้าที่ซื้อมานั้นไม่ดีเหมือนที่

พนักงานขายได้บอกไว้ หรืออาจเกิดจากการดูแลรักษาสินค้าผิดวิธี พนักงานจะต้องระลึกเสมอว่า

การบอกวิธีการรักษาสินค้าที่ถูกต้องมีความสำคัญพอๆ กับการบอกว่าสินค้านั้นใช้อย่างไร มีประโยชน์

อย่างไร เช่น การซักผ้าฝ้ายสี ต้องบอกให้ลูกค้าที่ซื้อทราบว่าต้องซักในเวลากลางวัน แต่ตากในบริเวณ

ชายคาบ้านอย่าให้ถูกแดดเพราะแดดจะทำให้สีซีดเร็ว

5. รายละเอียดทางเทคนิค สินค้าอุตสาหกรรมหลายชนิด มีรายละเอียดทางเทคนิคมาก จึงมี

ความจำเป็นที่พนักงานขายต้องบอกให้ลูกค้าได้ทราบ มิเช่นนั้นลูกค้าจะไม่ทราบวิธีการใช้ หรือใช้

ประโยชน์ไม่ครบถ้วน กลายเป็นสินค้าราคาแพง ไม่ทนทานในกรณีที่บำรุงรักษาผิดวิธี

แหล่งที่มาของความรู้เกี่ยวกับสินค้า

พนักงานขายสามารถศึกษาความรู้เกี่ยวกับสินค้า ได้จากแหล่งที่มา ดังต่อไปนี้

1. ตัวผลิตภัณฑ์ (Product) พนักงานขายสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าจาก

ตัวผลิตภัณฑ์นั้นเองได้เป็นอย่างดียิ่งหรืออาจศึกษาได้จากฉลากและเครื่องหมายซึ่งติดมากับผลิตภัณฑ์

2. พนักงานขายของผู้ผลิตหรือจำหน่าย พนักงานขายของผู้ขายปลีกอาจสอบถามและศึกษาหา

ความรู้เกี่ยวกับสินค้าของตนและของคู่แข่งขันเป็นอย่างดี เขาย่อมเต็มใจที่จะอธิบายถึงคุณภาพ วิธีการ

ใช้และส่วนประกอบของสินค้าให้แก่พนักงานขายของผู้ขายปลีก ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยเผยแพร่สินค้าของเขา

3. คู่มือขาย (Sales Manuals) คู่มือขายนั้นจัดทำข้ึนเพื่อให้พนักงานขายได้ศึกษาเรื่องราวอัน

เกี่ยวกับสินค้า การติดต่อกับบริษัท เช่น การทำใบสั่งซื้อ การทำบัญชี ค่าใช้จ่าย รายงานประจำวัน

การปฏิบัติเกี่ยวกับการให้เครดิต ฯลฯ

4. แฟ้มขาย (Sales Portfolio) ตัวอย่างภาพสินค้า แผนภูมิ สถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับการขายสินค้า

ตลอดจนจดหมายชมเชยจากลูกค้า จะถูกรวบรวมอยู่ในแฟ้มขาย เพื่อแสดงให้ลูกค้าชม

5. ตัวแทนผู้ผลิต พนักงานที่นำสินค้ามาส่งกิจการอาจจะไม่ใช่เด็กส่งของธรรมดาพนักงานขาย

สินค้าบางชนิด เช่น ขายยา ขายเครื่องจักร บางคนอาจมีความรู้ จบการศึกษาเภสัชศาสตร์หรือจบ

วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และความชำนาญเฉพาะ พนักงานของกิจการสามารถสอบถาม

รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้เป็นอย่างดี หรืออาจจะขอความร่วมมือให้จัดอบรมได้โดยไม่ต้องเสียค่า

ใช้จ่าย

6. สมาคมธุรกิจต่าง ๆ กลุ่มผู้ผลิตหรือผู้ค้าปลีก ซึ่งดำเนินการขายสินค้าประเภทเดียวกันหรือ

ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกัน จะร่วมกันจัดตั้งเป็นสมาคมและร่วมกันศึกษาสภาพตลาดและปรับปรุง

กิจการดำเนินการให้กว้างขวางใหญ่โตขึ้น เช่น สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย สมาคมโฆษณาธุรกิจ

แห่งประเทศไทย เป็นต้น

7. หนังสือพิมพ์ธุรกิจ สมาคมธุรกิจและองค์การค้าต่างๆ ตลอดจนธนาคารได้จัดพิมพ์หนังสือ

พิมพ์หรือนิตยสารรายวัน รายงานข่าวการค้าต่างๆ เป็นแบบจุลสารหรือ นิตยสารรายสัปดาห์หรือ

รายเดือน เช่น สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยออกวารสารการตลาดฯ นอกจากนี้ ยังมีเอกชนได้

ดำเนินการจัดทำหนังสือพิมพ์ และนิตยสารเพื่อเสนอข่าวทางด้านธุรกิจ ออกจำหน่าย เช่น หนังสือพิมพ์

ประชาชาติธุรกิจ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ นิตยสารคู่แข่ง เป็นต้น

8. คู่มือสินค้า (Merchandise Manuals) เป็นหนังสือซึ่งจัดพิมพ์เป็นพิเศษเฉพาะแต่ละประเภท

ของสินค้า ซึ่งได้ร่วมกันจัดทำโดยบริษัทห้างร้านเอกชน นิตยสาร และสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งนี้ได้รับ

ความร่วมมือจากบรรดาผู้ผลิตต่างๆ ด้วย

9. การฝึกอบรม บริษัทอาจจัดหลักสูตรฝึกอบรมพนักงานขายของบริษัทขึ้นเอง หรืออาจจัดส่งไป

ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ นอกจากนี้ก็อาจจะ มีพวกสมาคมธุรกิจต่างๆ

จัดการอบรมขึ้น ในการให้การศึกษาแก่พนักงานขายนี้อาจจะใช้อุปกรณ์การสอนประกอบการบรรยาย

เช่น สไลด์ ภาพยนตร์ เพื่อให้การอบรมเป็นไป อย่างได้ผล

10. แหล่งอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว พนักงานขายอาจจะศึกษาหาความรู้และ

รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้

- ห้องสมุด

- หน่วยงานราชการต่าง ๆ

- การสอบถามจากลูกค้า

- การเข้าชมกิจการโรงงานต่าง ๆ

ชุดการสอนที่ 2

ความรู้เกี่ยวกับสินค้า (Product Knowledge)

มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ หลักการ วิธีการ ขั้นตอน

กระบวนการทำงาน การจัดการ สามารถทำงาน ประเมินผล ปรับปรุง และพัฒนางานธุรกิจ

มาตรฐาน ง 2.1 มีความรู้ ทักษะ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีในงานอาชีพ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

อธิบายความรู้พื้นฐานของพนักงานขาย เกี่ยวกับสินค้า ได้ถูกต้อง

สาระการเรียนรู้

1. ประเภทของสินค้า

2. ประโยชน์ของการมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า

3. สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับสินค้า

4. แหล่งที่มาของความรู้เกี่ยวกับสินค้า