การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส...

56
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า เอกสารวิชาการลำดับที่ 48 รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร การทดลองจัดการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

Upload: others

Post on 09-Jan-2020

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า

เอกสารวิชาการลำดับที่ 48

สถาบันพระปกเกล้า อาคารศูนย์สัมมนา 3 ชั้น 5 ในบริเวณสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-527-7830-9 โทรสาร 02-968-9144

http://www.kpi.ac.th

รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร

การทดลองจัดการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

การทดลองปกครองท้องถิ่นครั้งนี้ เกิดขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

นั่นก็คือในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 6

ของราชวงศ์จักรี เป็นการทดลองทำขึ้น โดยพระองค์เอง และด้วยความรู้และประสบการณ์

ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เคยได้รับการศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ ลักษณะบ้านเมืองที่พระองค์ได้เรียนรู้

และมีประสบการณ์ได้พบเห็น คือบ้านเมืองที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

แบบรัฐสภาที่มีกษัตริย์เป็นประมุข

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการฯ

ราคา 50 บาท

ISBN : 978-974-449-352-1

Page 2: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร

สถาบันพระปกเกล้า ธันวาคม 2550

Page 3: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เมื่อ พ.ศ. 2461

รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร

สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ลิขสิทธิ์ของสถาบันพระปกเกล้า

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ISBN = 978-974-449-352-1

พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2550 จำนวน 1,000 เล่ม

จัดพิมพ์โดย สถาบันพระปกเกล้า อาคารศูนย์สัมมนา 3 ชั้น 5 ในบริเวณสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบรีุ 11000 โทรศัพท์ 0-2527-7830-9 โทรสาร 0-2968-9144 http://www.kpi.ac.th

บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผล ธีรพรรณ ใจมั่น

พิมพ์ที่ ส เจริญ การพิมพ์ 1510/10 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 โทรศัพท์ 02-913-2080 โทรสาร 02-913-2081 นางจรินพร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

Page 4: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

คำนำ เอกสารเผยแพร่เรื ่อง “ดุสิตธานี : การทดลองจัดการ

องค ์กรปกครองส ่วนท ้องถ ิ ่น เม ื ่อ พ.ศ. 2461” แต ่งโดย

รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร นับเป็นงานที่มีเจตนารมณ์ที่

ต้องการให้ผู ้อ่านเกิดความรู ้ ความเข้าใจในประวัติศาสตร์และ

พัฒนาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ซึ่งหลายคนมัก

จะเข้าใจผิดคิดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งจะเกิดขึ้นและ

เป็นผลจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พุทธศักราช 2540

ดังนั ้น เพื ่อให้เกิดการรับรู ้ที ่ถูกต้อง เอกสารเผยแพร่

ฉบับนี ้จ ึงได้บอกเล่าถึงประวัติศาสตร์และพัฒนาขององค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเจตนารมณ์ในการจัดตั้งดุสิตธานี

ของสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมถึงการแบ่งโครงสร้างการ

บริหารงานภายในของดุสิตธานี การเลือกตั้งผู้บริหาร ซึ่งเรียกว่า

“นคราภิบาล” อำนาจหน้าที ่ของ “นคราภิบาล” และรายได้ของ

Page 5: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ดุสิตธานี เช่นนี้เป็นต้น ดังนั้น สำหรับผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิก

สภาท้องถิ ่น และข้าราชการส่วนทัองถิ ่นจึงควรภาคภูมิใจใน

เกียรติภูมิและรากฐานอันงดงามแห่งประชาธิปไตย

รองศาสตราจารย ์นรนิต ิ เศรษฐบุตร ท ่านเคยดำรง

ตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายตำแหน่ง ไม่ว ่าจะเป็นอดีตคณบดีค

ณะรัฐศาสตร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิก-

วุฒิสภา เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และเมื ่อไม่นานนี ้

เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ท่านเป็นผู้มี

อุปการะคุณต่อแวดวงการเมืองการปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

การปกครองท้องถิ่น หลายครั้งท่านช่วยชี้ทางออกเพื่อแก้ไขปัญหา

และพัฒนาการปกครองท้องถิ ่น ประการสำคัญท่านเป็นผู ้ม ี

ส่วนร่วมในการผลักดันกฎหมายเกี ่ยวกับการปกครองท้องถิ ่น

หลายฉบับ ฉะนั้นแล้ว เอกสารเผยแพร่ฉบับนี้ จึงมีคุณค่าอย่างยิ่ง

สำหรับการอ่านและการศึกษา โดยผ่านความเข้าใจใน “ดุสิตธานี”

อันเป็นโรงเรียนสำหรับการสอนเรื่องประชาธิปไตยให้แก่สังคมไทย

ท้ายนี ้ ว ิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ ่น ใคร่ขอ

ขอบคุณท่านเป็นอย่างสูงที ่ได้สละเวลามาบอกเล่าเรื ่องราวดี ๆ

เช่นนี ้ให้เราได้รับรู ้ และเกิดความภาคภูมิใจในเกียรติภูมิแห่ง

การปกครองท้องถิ่นไทย

วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น

สถาบันพระปกเกล้า

Page 6: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

สารบัญ ดุสิตธานี : 3

การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เมื่อ พ.ศ. 2461

ภาคผนวก 25

ภาคผนวกที่ 1 27

ธรรมนูญลักษณะปกครอง คณะนคราภิบาล (ดุสิตธานี)

พระพุทธศักราช 2461

ภาคผนวกที่ 2 41

พระราชกำหนดเพิ่มเติมและแก้ไขธรรมนูญลักษณะปกครอง

คณะนคราภิบาลดุสิตธานี พระพุทธศักราช 2461

ภาคผนวกที่ 3 47

พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชกำหนดเพิ่มเติม

ธรรมนูญลักษณะปกครองนคราภิบาล พระพุทธศักราช 2461

Page 7: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

Page 8: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

การทดลองปกครองท้องถิ่นครั้งนี้

เกิดขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

นั่นก็คือในรัชสมัยของ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

ของราชวงศ์จักรี เป็นการทดลองทำขึ้น

โดยพระองค์เอง และด้วยความรู้และประสบการณ์

ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่เคยได้รับการศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ

ลักษณะบ้านเมืองที่พระองค์ได้เรียนรู้

และมีประสบการณ์ได้พบเห็น

คือบ้านเมืองที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

แบบรัฐสภาที่มีกษัตริย์เป็นประมุข

Page 9: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

การทดลองเรื่องการปกครอง“ดุสิตธานี”เมื่อพ.ศ.2461

ได้มีการกล่าวกันมาก่อนหน้านี้แล้วเพราะถ้านับอายุกันก็ถือว่า

จวนครบ90ปีแล้วทั้งนี้ได้มีผู้มองว่าเป็นการฝึกประชาธิปไตย

บ้างหรือเป็นการสร้างเมืองตุ๊กตาเป็นการย่อส่วนบ้านเมืองขึ้นมา

สมมุติลักษณะเมืองในฝันบ้าง

แต่ถ้าหากอ่านวิเคราะห์ดูจาก“ธรรมนูญลักษณะปกครอง

คณะนคราภิบาล (ดุสิตธานี) พระพุทธศักราช 2461”ที่ประกาศใช้

ในวันที่7พฤศจิกายนพ.ศ.2461และคำบอกเล่าในการดำเนิน

การหรือกิจการของเมืองสมมุติดุสิตธานีแล้วจะเห็นได้ว่าการทำ

“ดุสิตธานี”นั ้นน่าจะเป็นความคิดในการทดลองปกครองส่วน

ท้องถิ่นขึ้นในเมืองไทยนั่นเอง

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

Page 10: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

การทดลองปกครองท้องถ ิ ่นคร ั ้งน ี ้ เก ิดข ึ ้นในสมัย

สมบูรณาญาสิทธิราชย์นั ่นก็คือในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6ของราชวงศ์จักรีเป็นการ

ทดลองทำขึ้นโดยพระองค์เองและด้วยความรู้และประสบการณ์

ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เคยได้รับการศึกษา

อยู่ในประเทศอังกฤษลักษณะบ้านเมืองที่พระองค์ได้เรียนรู้และ

มีประสบการณ์ได้พบเห็นคือบ้านเมืองที่มีการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีกษัตริย์เป็นประมุข

การปกครองที่นำมาทดลองทำในเมืองสมมุติดุสิตธานีนั้น

เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างแน่นอนใน“ปรารภกรณีย์”

หรือคำปรารภของธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาล

(ซึ่งต่อไปในบทความนี้จะขอเรียกชื่อสั้นๆว่าธรรมนูญลักษณะ

ปกครองฯ)ได้ระบุว่าเป็นการ“...กำหนดอำนาจการพระราชทาน

แก่ชาวดุสิตธานีให้มีเสียงและโอกาสแสดงความคิดเห็นในวิธีการ

ปกครองตนเองในกิจการบางอย่าง ส่วนอำนาจในกิจการแผนกใด

ซึ่งยังมิได้ทรงพระกรุณาประสิทธิ์ประสาทให้ก็ย่อมคงอยู่ในรัฐบาล

กลาง ซึ่งมียอดรวมอยู่ในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตามแบบฉบับในอารยประเทศทั้งหลายที่จัดการนคราภิบาล”

ฉะนั้นจึงมี“รัฐบาลกลาง” และที่กำหนดไว้ในธรรมนูญ

ลักษณะปกครองฯนี ้ก็เพื ่อเป็นการปกครองตนเองในบางเรื ่อง

โดยที่ทำนี้ก็เป็นไปตามแบบประเทศที่พัฒนาแล้วที่เขาได้มีการ

ปกครองส่วนท้องถิ่น

ที ่เร ียกว่า“จัดการนคราภิบาล”นั ้นก็เห็นจะเป็นการ

ปกครองแบบเทศบาลหรือภาษาฝรั่งว่าmunicipalityนั่นเอง

Page 11: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

นครที่ถูกสมมุติเพื่อการทดลองนี้มาตรา2ของธรรมนูญ

ลักษณะปกครองฯเรียกว่า“จังหวัดดุสิตธานี” คนที่อยู่ในจังหวัดนี้

ก็ถูกกำหนด“บ้าน”ให้และก็เป็น“เจ้าบ้าน”

ส่วนผู้ปกครองนั้นเรียกว่า“นคราภิบาล”ที่ได้มาโดยการ

เลือกตั้งดังระบุไว้ในมาตรา6ของธรรมนูญลักษณะปกครองฯ

“คำว่านคราภิบาลนั้น ท่านให้เข้าใจว่าผู้ที ่ซึ ่งราษฎรใน

จังหวัดดุสิตธานี ผู้มีสิทธิตามธรรมนูญนี้จะเลือกได้พร้อมใจกัน

เลือกตั้งขึ้นเป็นผู้ปกครองชั่วปีหนึ่งๆ…”

ดังนั้นนคราภิบาลนั้นหรือผู้ปกครองจังหวัดดุสิตธานีนี้

ราษฎรในดุสิตธานีซึ่งเป็นผู้มีสิทธิตามธรรมนูญนี้เป็นผู้เลือกขึ้นมา

เป็นและก็จะอยู่ในตำแหน่งได้เพียง1ปีนั่นคือสมัยหนึ่งมีอายุ1

ปีและจะได้รับเลือกขึ้นในปีติดกันไม่ได้ระบุไว้ชัดในมาตรา9

ด้วยเหตุนี้ทุกปีจึงต้องมีการเลือกตั้งวันเลือกตั้งก็“ควร

เป็นวันที ่สุดของปี ตามแต่จะเหมาะแก่โอกาสที ่จะเป็นไปได้

(มาตรา 10)”

เมื่อมีการเลือกตั้งสิ่งที่น่าสนใจก็คือจะมีวิธีการเลือกตั้ง

อย่างไรเป็นการออกเสียงลับหรือเปิดเผยทั้งนี้มาตรา12ของ

ธรรมนูญลักษณะปกครองระบุว่า

“เมื่อจวนจะถึงวันกำหนดที่จะเลือกนคราภิบาลใหม่ ให้

ผู ้ซึ ่งรับอำนาจอำนวยการในการเลือกตั้งนคราภิบาล ป่าวร้อง

ทวยนาครชายหญิงให้ทราบ ว่าจะมีการเลือกตั้งนคราภิบาลที่ใด

วันใด และจะประกาศข้อความด้วยว่า ถ้าผู้ใดมีความปรารถนาจะ

สมมุติผู ้ใดให้เป็นนคราต่อไป ก็ให้เขียนในนามผู้นั ้นกรอกลง

Page 12: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ในแบบสมมุติที ่ได้แนบไว้ท้ายธรรมนูญนี้ และต้องลงนาม 1

ผู ้ร ับรอง 1 และให้ยื ่นหนังสือสมมุติถึงผู ้อำนวยการเลือกตั ้ง

นคราภิบาลก่อนวันประชุม 1 วัน”

ดูจากความในมาตรานี้จะเห็นได้ว่าในการจัดการเลือกตั้ง

นั้นจะมีผู้อำนวยการเลือกตั้งนคราภิบาลซึ่งเป็นผู้ที่จะประกาศให้รู้

ทั่วกันว่าจะมีการประชุมราษฎรของดุสิตธานีณที่ใดในวันเวลาใด

ราษฎรผู้ใดต้องการเสนอชื่อใครก็ต้องกรอกลงไปในแบบฟอร์ม

แบบฟอร์มนี้หาดูได้ง่ายเพราะแนบท้ายธรรมนูญลักษณะปกครองฯ

ฉบับนี้นั่นเอง

จะเสนอชื่อใครก็ได้ผู้เสนอต้องลงนามหนึ่งคนแล้วยัง

ต้องหาคนอื่นมารับรองอีกหนึ่งคนด้วยคนที่เสนอและคนที่รับรอง

นี้ต้องเป็นเจ้าบ้านและเสนอหรือรับรองใครแล้วก็ทำได้รายเดียว

จะไปเสนอและรับรองรายอื่นอีกมิได้(มาตรา13)

พอได้รายชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อแล้วต่อมาผู้อำนวยการ

เลือกตั้งนคราภิบาลก็ต้องเขียนชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด

ประกาศให้ผู้คนทั่วไปได้ทราบ(มาตรา14)

ในกรณีที่มีการเสนอชื่อคนเป็นนคราภิบาลเพียงคนเดียว

ก็ให้ถือว่าคนที่ได้รับการเสนอชื่อเพียงคนเดียวนั้นได้รับเลือกเป็น

นคราภิบาล(มาตรา15)

แต่ถ้ามีผู้ได้รับการเสนอชื่อตั้งแต่2คนขึ้นไปก็จะต้องมี

การออกเสียงตัดสินวิธีการเลือกลงคะแนนนั ้นมี2วิธีคือ

วิธีเปิดเผยก็ได้หรือไม่ก็วิธีลับจะเลือกวิธีใดก็ตามแต่ผู้อำนวยการ

เลือกตั้งจะเห็นสมควร(มาตรา17)

Page 13: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ที่น่าสนใจมากก็คือวิธีเลือกตั้งโดยคะแนนลับเพราะระบุ

วิธีเอาไว้ดังนี้ในมาตรา18

“…ให้ผู้อำนวยการเรียกมาถามที่ละคนโดยเงียบๆว่า จะ

เห็นสมควรให้ผู้ใดเป็น แล้วจดชื่อผู้ที่ราษฎรเลือกนั้นไว้ หรือจะ

ให้ราษฎรเขียนชื่อผู้ที่จะเลือกนั้นมาส่งคนละฉบับก็ได้ ตามแต่จะ

เห็นสมควร”

นับว่าเป็นการลงคะแนนลับที ่ต่างกว่าในสมัยปัจจุบัน

เพราะตามที่ใช้ในดุสิตธานีนั้นผู้อำนวยการจะทราบว่าใครออก

เสียงอย่างไรและผู้อำนวยการก็จะเป็นผู้ยืนยันว่าใครออกเสียง

อย่างไรอันจะเป็นผลของการออกเสียงท่ีว่าลับน้ันก็คือผูอ้อกเสียง

ลงคะแนนจะไม่มีทางทราบว่าใครออกเสียงให้ใครมาถึงสมัยนี้

ออกเสียงลับนั ้นก็คือแม้แต่ตัวประธานที ่ดำเนินการให้มีการ

ออกเสียงก็ไม่มีทางทราบว่าใครออกเสียงให้ใคร

ที ่สำคัญผู ้ที ่ได้รับเลือกจะปฏิเสธตำแหน่งนคราภิบาล

ได้ยากเมื่อได้รับเลือกตั้งให้เป็นเพราะ“ต้องถูกปรับเป็นเงิน 50

บาท”นับว่าแพงมากเงิน50บาทไทยเมื่อปีพ.ศ.2461นั้นลอง

เทียบค่าดูก็ได้

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าดุสิตธานีเป็นเรื่องของการปกครอง

ส่วนท้องถิ่นฉะนั้นเพื่อดูให้แน่ก็ต้องหันมาพิจารณาว่าดุสิตธานี

มีอำนาจและหน้าที่อะไรบ้างพอจะเทียบกับองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นไทยที่มีต่อมาได้บ้างหรือไม่

Page 14: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

มาตรา23ของธรรมนูญล ักษณะปกครองฯระบุว ่ า

“รัฐบาลมีหน้าที่” ต่างๆไว้ชัดเจนดีพอสมควรเช่น

“ก.ดูแลร ักษาเพ ิ ่มพูนความผาสุกของราษฎรทั ่วไป

ช่วยป้องกันทุกข์ภัยของประชาชนในเขตของตน

ข.ดูแลการคมนาคมคือถนนหนทางทั้งแม่น้ำลำคลอง

ให้ความสว่างไสวจัดการไฟฟ้าประปาในธานี

ค.การดับเพลิงและการรักษาสวนสำหรับนครให้เป็นที่

หย่อนกายสบายใจควรแก่ประโยชน์และความสุขอัน

จะพึงมีได้สำหรับสาธารณชน

ฆ.จัดการในเรื่องโรงพยาบาลสุสานและโรงฆ่าสัตว์

ง.ดูแลระเบียบการโรงเรียนราษฎร์ห้องอ่านหนังสือ

และโรงเรียนหัตถกรรมต่างๆ”

ถ้าเอาอำนาจหน้าที่ซึ่งเทศบาลต้องทำหรือควรทำเมื่อมี

พระราชบัญญัติเทศบาลเป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ.2476หลังการ

เปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475และการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญหรือระบอบประชาธิปไตยที ่มี

พระมหากษัตริย์เป็นประมุขแล้วจะเห็นได้ว่าหน้าที่ต่างๆที่รัฐบาล

ท้องถิ่นตามธรรมนูญลักษณะปกครองพ.ศ.2475ระบุไว้นั้นเป็น

เรื่องของท้องถิ่นโดยแท้

จะมีต่างโดยเห็นได้ชัดก็คือการที่ให้ดูแลโรงเรียนราษฎร์

และโรงเรียนหัตถกรรมซึ่งงานด้านการศึกษานี้ต่อมารัฐบาลกลาง

จะกำกับดูแลเป็นสำคัญแต่เรื ่องนี้ถ้าดูให้ดีก็ดูจะเป็นการมอง

การณ์ไกลและเป็นความก้าวหน้าในทางความคิดที่แสดงให้เห็น

Page 15: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ว่าการศึกษานั้นต้องการให้ท้องถิ่นดูแลในระดับโรงเรียนนั่นเอง

ในความเป็นจริงที่น่าสังเกตก็คือเทศบาลนครและเทศบาล

เมืองของไทยบางแห่งก็ได้มีโรงเรียนเทศบาลเป็นของตนเอง

จัดการศึกษาประสบความสำเร็จดีมาจนถึงทุกวันนี้พ.ศ.2550

มาถึงวันที่มีการกระจายเรื่องการศึกษาไปให้องค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นดูแลมากขึ้นจริงแต่หน้าที่ตามที่กำหนดไว้นี้ก็แสดงให้เห็น

อย่างชัดแจ้งว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครอง “ท้องถิ่น”เท่านั้น

ไม่ใช่เรื่องการปกครองประเทศเพราะไม่มีกิจการกลาโหมหรือการ

ทหารในการปกครองประเทศไม่มีเรื่องของการต่างประเทศไม่มี

เรื่องการเงินการคลังของประเทศแต่อย่างใดเลย

เมื่อเป็นการปกครองตนเองแม้ในระดับท้องถิ่นก็ตามก็ต้อง

ให้เก็บภาษีท้องถิ ่นมาใช้จ่ายเองเป็นการฝึกหัดที่สำคัญในการ

ปกครองตนเองดังนั้นจึงระบุอำนาจในการนี้ไว้ในมาตรา24ว่า

“นคราภิบาลมีอำนาจตั ้งพิกัด ภาษีอากรขนอนตลาด

เรือน โรง ร้าน เรือ แพ อันอยู่ในเขตหน้าที่ของนคราภิบาล แต่

เมื่อกำหนดพิกัดภาษีอากร นคราภิบาลจะต้องเรียกประชุมราษฎร

เพื่อทำการตกลงในเรื่องเช่นนี้ และประกาศให้รู้ทั่วกัน”

ที่ควรสังเกตอีกก็คือการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

อย่างดุส ิตธานีจะกำหนดภาษีท ้องถิ ่นอย่างไรนั ้นได้ระบุให้

ผู้ปกครองคือนคราภิบาลต้องตกลงกับผู้ถูกปกครองคือราษฎร

เสียด้วย

นอกจากภาษีท้องถิ่นดุสิตธานียังจะมีรายได้จากการออก

ใบอนุญาตอีกหลายรายการเช่นใบอนุญาตร้านจำหน่ายสุราและ

สถานเริงรมย์เป็นต้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา25ว่า

Page 16: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

10

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

“นคราภิบาลมีอำนาจออกใบอนุญาต และเก็บเงินค่า

ใบอนุญาตสำหรับยานพาหนะ ร ้านจำหน่ายสุรา โรงละคร

โรงหนัง สถานเริงรมย์ เก็บเงินจากมหาชนคนดูทั้งปวง”

หน้าที่หนึ่งซึ่งอาจถูกมองข้ามแต่ได้ถูกกำหนดไว้ก็คือการ

ทำบัญชีสำมะโนครัวราษฎร

“มาตรา 28 เป็นหน้าท่ีของรัฐบาลท่ีจะทำบัญชีสำมะโนครัว

ราษฎรในปกครองของตนและคอยแก้ไขบัญชีให้ถูกต้องตามที่

เป็นจริงอยู่เสมอ”

ที่อยากทราบกันมากก็คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควร

จะทำกิจการสาธารณะประโยชน์ที่มีผลกำไรได้หรือไม่เพราะถ้าทำ

แล้วก็อาจเป็นการแข่งขันกับเอกชนที่จะเข้ามาเป็นผู้ประกอบการได้

แต่ถ้าห้ามไม่ให้ทำเลยแม้เอกชนไม่ทำหรือทำแล้วมีราคาแพง

ประชาชนที่ใช้บริการอาจเดือดร้อน

คำตอบก็คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างดุสิตธานี

สามารถทำได้ดังที่มาตรา29กำหนด

“กิจการสาธารณะประโยชน์ซึ ่งมีผลกำไร เช่น การตั ้ง

ธนาคาร โรงจำนำ ตั้งตลาด เรือจ้าง เหล่านี้เป็นอาทิ นคราภิบาล

จะดำริให้จ ัดไปในเวลาที ่ เห ็นสมควรก็ได้ เป ็นทางหากำไร

บำรุงเมือง เพื ่อผ่อนภาษีอากรซึ ่งราษฎรจะต้องเสีย และเพื่อ

กระทำกิจเช่นว่านี้นคราภิบาลจะบอกกู้ก็ควร เพราะหนี้ชนิดนี้

นับว่าไม่ใช่หนี้ตายที่ไร้ผล”

Page 17: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

11

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

เมื่อแนะนำให้นคราภิบาลออกใบกู้กู้เงินมาใช้ดำเนินการ

ได้ทำให้สงสัยว่านคราภิบาลจะกู้ได้ตามใจต้องการโดยไม่มีใครมา

ควบคุมดูแลหรืออย่างไร

ปรากฏว่ามาตรา40ของธรรมนูญลักษณะปกครองฯ

ตอบข้อสงสัยเรื ่องการออกใบกู ้ของนคราภิบาลว่า“ต้องได้รับ

อนุมัติจากรัฐบาลกลางเสียก่อน โดยเฉพาะเรื่องเป็นคราวๆไป”

จึงแสดงว่าจะออกใบกู้เองตามใจไม่ได้

ทำให้บ้านเมืองงามแล้วยังไม่พอ

ต้องทำให้บ้านเมืองสะอาดถูกสุขอนามัย

มีเจ้าพนักงานดูแลรักษาความสะอาด

“อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้โสโครก

อันเป็นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ

แก่ประชาชนทั่วไป”

Page 18: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

12

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

เมื่อมีนคราภิบาลขึ้นมาปกครองก็หวังได้ว่าบ้านเมืองจะ

เป็นระเบียบดูงดงามเพราะ“นคราภิบาลจะกำหนดปลูกสร้าง

วางแผนสำหรับนคร” เจ้าของจะปลูกสร้างบ้านหรืออาคาร“ต้องได้

รับอนุญาตจากนายช่างก่อสร้างของนคราภิบาลแล้วจึงจะปลูกได้”

(มาตรา30)

ทำให้บ้านเมืองงามแล้วยังไม่พอต้องทำให้บ้านเมือง

สะอาดถูกสุขอนามัยมีเจ้าพนักงานดูแลรักษาความสะอาด“อย่า

ทอดทิ้งหรือปล่อยให้โสโครก อันเป็นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บแก่

ประชาชนทั่วไป”

การปกครองที่ให้ราษฎรเลือกผู้ปกครองคือนคราภิบาลนี้

ดูไปแล้วก็เป็นการเลือกเอาคนเพียงคนเดียวก็เหมือนเลือกนายก

เทศมนตรีนั่นเองและเมื่อตรวจดูแล้วการให้ราษฎรเลือกดังกล่าวก็

เป็นการเลือกนายกเทศมนตรีโดยตรงของประชาชนนคราภิบาล

คนแรกที่ได้รับเลือกได้แก่พระยาอนุรุทธเทวาและนคราภิบาลที่

ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมานี้ก็จะตั้งคณะรัฐบาลท้องถิ่นของตนขึ้นมา

ซึ ่งดังในธรรมนูญลักษณะปกครองฯก็เร ียกซ้ำเหมือนกันว่า

“นคราภิบาล”แต่จะเป็นคณะบุคคลดูได้จากมาตรา21

“เมื ่อผู ้ใดได้เป็นนคราภิบาล ผู ้น ั ้นจะมีอำนาจตาม

พระธรรมนูญนี้ทันทีในการที่จะเลือกตั้งนคราภิบาล คือเจ้าหน้าที่

ต่างๆ เช่น เจ้าพนักงานคลัง เจ้าพนักงานโยธา นายแพทย์

สุขาภิบาล ผู้รักษาความสะดวกของประชาชน (Inspector of

Nuisances) เป็นต้น สำหรับจัดการให้เป็นไปตามธรรมนูญนี้ตาม

แต่จะเห็นสมควร”

Page 19: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

1�

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ที่ผู้เขียนขีดเส้นใต้เน้นตำแหน่งเจ้าหน้าที่เอาไว้สี่ตำแหน่ง

นั้นเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าทั้งสี่ตำแหน่งนี้ก็น่าจะเป็นเทศมนตรีร่วมทีม

กับนคราภิบาลนั่นเองที่มาจากการแต่งตั้งของนคราภิบาลมิใช่ได้

รับเลือกตั้งจากประชาชนถ้าเป็นสมัยนี้พ.ศ.2550ก็คงเป็นพวก

รองผู้ว่ากรุงเทพฯหรือรองนายกเทศมนตรีทั้งหลายชื่อตำแหน่งที่

คงยังไม่ลงตัวนักในการจะเรียกเป็นภาษาไทยได้แก่“ผู้รักษา

ความสะดวกของประชาชน” จึงต้องมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษอยู่ใน

วงเล็บด้วยและเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษคำเดียวที ่ปรากฎใน

เอกสารธรรมนูญลักษณะปกครองฉบับนี้ด้วย

คำว่า“นคราภิบาล”ในบรรทัดที ่สองของมาตรา21นี ้

เข้าใจว่าน่าจะตกคำว่า “คณะ”คือควรเป็น“คณะนคราภิบาล”

ซึ่งต่อไปในมาตราอื่นๆที่ตามหลังมาจะมีคำว่า“คณะนคราภิบาล”

หากพิจารณาต่อไปอีกก็จะพบว่าคณะบุคคลตามมาตรา21

นี้เป็นฝ่ายการเมืองที่ได้ตำแหน่งมาเป็นการชั่วคราวอยู่ได้ตามอายุ

สมัยของนคราภิบาลเท่านั้นส่วนฝ่ายประจำหรือตำแหน่งปลัด

เทศบาลในปัจจุบ ันนั ้นมีระบุไว ้ในมาตรา37เร ียกว่า“สภา

เลขาธิการ”

“มาตรา 37 คณะนคราภิบาลมีอำนาจที ่จะจัดตั ้งสภา

เลขาธิการขึ้น และสภาเลขาธิการคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะ

ลาออก หรือต้องออกด้วยเหตุอื่น”

ที่เทียบสภาเลขาธิการเท่ากับปลัดเทศบาลที่เป็นหน้าที่ฝ่าย

พนักงานประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็เพราะได้อ่าน

เทียบดูอำนาจและหน้าที ่ซึ ่งบัญญัติไว้ในมาตรา38ที ่มีอยู ่5

ประการดังนี้

Page 20: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

1�

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

“1.ให้มีหน้าที่บังคับบัญชาการแผนกหนังสือและรายงาน

กิจการทั้งปวงของคณะนคราภิบาล

2.เป็นที่ปรึกษาของคณะนคราภิบาลในทางระเบียบการ

ทางกฎหมาย

3.มีหน้าที ่ เป็นทนายแถลงคดีแทนคณะนคราภิบาล

ต่อศาล

4.สภาเลขาธิการมีสิทธิที่จะนั่งในที่ประชุมคณะนครา

ภิบาลและในที่ประชุมใหญ่ได้ทุกเมื่อ

5.ถ้าสภาเลขาธิการเป็นคหบดีเจ้าบ้านอยู่แล้วเมื่อเวลา

นั่งในที่ประชุมใหญ่มีสิทธิ์จะลงคะแนนความเห็นได้

ด้วย”

จากอำนาจและหน้าที่ทั้ง5ข้อนี้มีการกล่าวกัน“ที่ประชุม

ใหญ่”ซึ่งน่าจะหมายถึงการประชุมใหญ่ประจำปีเพื่อเลือกนครา-

ภิบาลหรือการประชุมใหญ่เพื่อกำหนดภาษีอากรตามมาตรา26

ก็ได้นั่นเอง

เมื ่อมีการเปลี ่ยนตัวนคราภิบาลทางคณะนคราภิบาล

ชุดเก่าต้องแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายยื่นต่อที่ประชุมด้วยและส่ง

มอบงานพร้อมบัญชีสำมะโนครัวแก่คณะนคราภิบาลชุดใหม่บัญชี

แสดงรายรับรายจ่ายนั้นต้องมีการตรวจบัญชีในเวลาสิ้นปีทุกคราว

ไปโดยคณะกรรมการ3นายที่ตั้งโดยรัฐบาล2นายและตั้งโดย

นคราภิบาล1นาย(มาตรา42)

แสดงว่าการควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินของคณะนครา

ภิบาลก็เป็นไปอย่างดี

Page 21: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

1�

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

การดำเนินการปกครองดุสิตธานีนี้เมื่อมีกฎเกณฑ์มีข้อ

บังคับให้ราษฎรต้องปฏิบัติตามเพื่อความสงบสุขเพื่อความสะอาด

เรียบร้อยของบ้านเมืองและเพื่อให้เมืองมีรายได้มาเป็นงบประมาณ

ค่าใช้จ่ายดังที่ได้กล่าวมาแล้วก็จำเป็นจะต้องมีบทลงโทษผู้ที่ทำผิด

ด้วยซึ ่งโทษที ่กำหนดไว้ก็เป็นโทษ“ปรับเงินเป็นพินัย”เช่น

ถ้าราษฎรคนใดไม่เชื่อฟังคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและธรรมนูญ

ก็อาจถูกลงโทษปรับเงินได้ไม่เกินครั้งละ10บาทอันเป็นโทษอย่าง

เดียวกับที่ใช้ลงโทษราษฎรที่ไม่ไปประชุมเจ้าบ้านเพื่อกำหนดภาษี

อากรโดยไม่ตั้งตัวแทนไม่ทำหน้าที่ประชุมแทนเช่นกัน

ถ้าเป็นกรณีขัดขืนคำสั่งของนคราภิบาลทางด้านระเบียบ

สุขาภิบาลปล่อยให้บ้านชำรุดเกิดความสกปรกโสโครกอันจะก่อให้

เกิดโรคหรือเป็นอันตรายหรือเกิดอัคคีภัยได้ก็อาจถูกลงโทษปรับ

ได้ครั้งละไม่เกิน5บาทอันโทษเหล่านี้ถ้ายังขืนทำซ้ำก็จะถูกปรับ

เพิ่มขึ้นได้ด้วย

เมื่อประมวลดูความในธรรมนูญลักษณะปกครองฯซึ่งมี

ทั้งหมดด้วยกันจำนวน51มาตราแล้วจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จ

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านสร้างเมือง“ดุสิตธานี”ขึ้นเป็นเมือง

สมมุติและได้เขียนธรรมนูญลักษณะปกครองฯออกมาเป็นกติกา

ใช้กับเมืองสมมุติเพื่อเป็นการทดลองการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น

มาดูรูปแบบก็น่าจะเป็นการปกครองส่วนท้องถิ ่นแบบเทศบาล

ที ่กล่าวกันว่าพระองค์ได้แบบมาจากการปกครองประเทศของ

ประเทศอังกฤษอันเป็นประเทศที่พระองค์ได้เคยเสด็จไปศึกษาจน

จบกลับมา

Page 22: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

1�

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ที ่ว ่าเป็นเมืองสมมุติก็เพราะไม่ใช่เป็นเมืองจริงๆของ

ประเทศไทยเพราะมิได้ยกเอาหมู่บ้านใดหรือตำบลใดหรืออำเภอ

ใดหรือจังหวัดใดของประเทศไทยที่มีอยู่แล้วเอามาใช้ฝึกหัดหาก

แต่สร้างขึ้นใหม่ในบริเวณพระราชวังเป็นเสมือนเมืองตุ๊กตาเพราะ

มีขนาดเล็กผู ้คนจะเข้าไปอาศัยอยู ่จริงๆไม่ได้หากแต่กำหนด

มอบหมายหรือให้มหาดเล็กของพระองค์ได้ขอเป็นที่อยู่อาศัยแต่

ในนามดังที่มีรายงานลักษณะของเมืองดุสิตธานีเอาไว้ต่อมาว่า

“ดุสิตธานีเป็นเมืองเล็กๆ สร้างขึ้นแห่งแรกในพระราชวัง

ดุสิต(ภายหลังย้ายไปอยู่ที่พระราชวังพญาไท) มีเนื้อที่ประมาณ

2 ไร่ เนื้อที่มีลักษณะเกือบจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ทางด้านใต้ของ

ดุสิตธานีชิดพระที ่นั ่งอุดร ทางด้านเหนือชิดอ่างหยก บ้าน

ทั้งหมดมีจำนวนประมาณร้อยกว่าหลัง การประชุมโหวดครั้งที่ 1

มีทวยนาครโหวด 199 เสียง บ้านแต่ละหลังมีขนาดโตกว่าศาล

พระภูมิ สร้างขึ้นด้วยฝีมือประณีต ฉลุสลักลวดลายอย่างวิจิตร

ทาสีสวยงาม ทุกๆ บ้านมีไฟฟ้าติดสว่างอยู ่กลางบ้าน ถนน

หนทางในเมืองดุสิตธานีส่วนมากเป็นถนนสายเล็กๆ มีบางสายที่

ใหญ่โต พอที่จะเดินได้ ถนนทุกสายสะอาดสะอ้าน สวยงาม ปลูก

ต้นไม้เล็กๆไว้ร่มรื่นสองข้างทางถนนที่เป็นสายสำคัญ”1

ที ่เรียกว่า“การทดลอง”ก็เพราะมิใช่สภาพบ้านเมืองที่

แท้จริงและ“ตัวคน” เองแม้จะเป็นคนจริงๆแต่ก็มิใช่เจ้าบ้านที่บ้าน

ของเขาอย่างแท้จริงหากแต่เป็นบ้านสมมุติที ่เสมือนทำขึ ้นใน

1 หมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) เรียบเรียง ดุสิต

ธานีเมืองประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ-

เกล้าเจ้าอยู่หัว. (กรุงเทพ – หอสมุดแห่งชาติ, 2513) หน้า 8

Page 23: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

1�

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ห้องทดลองจึงเป็นการสมมุติที่ต้องการทดลองเพื่อการเรียนรู้เป็น

สำคัญโดยมีเป้าหมายว่าจากนั้นจะนำไปใช้ที่เขตการปกครองจริง

ของประเทศไทย(คือจังหวัดสมุทรสาคร)ต่อไปด้วย

ปีที่เริ ่มทดลองจัดการการปกครองท้องถิ่นที่เมืองจำลอง

“ดุสิตธานี”นี้คือพ.ศ.2461นับเป็นปีที ่9ที่พระบาทสมเด็จ

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์การทดลองนี้จะเห็นได้

ว ่าเร ิ ่มจากบรรดามหาดเล็กและผู ้คนที ่ร ับราชการใกล้ช ิดกับ

พระองค์นั่นเองซึ่งก็น่าจะสะดวกและไม่เสียงานในหน้าที่ได้และ

เมื ่อทดลองอย่างนี ้ก็จะเห็นข้อดี-ข้อด้อยและดำเนินการแก้ไข

เสียก่อนได้

ดังปรากฏว่าออกธรรมนูญลักษณะปกครองฯออกมาใช้ใน

วันที ่7พฤศจิกายน2461ต่อมาอีก40วันก็สามารถจัดการ

เลือกตั้งได้ตัวนคราภิบาลแล้วในวันเดียวกันก็ได้ออกพระราช-

กำหนดเพิ่มเติมและแก้ไขธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนครา-

ภิบาลดุสิตธานีพระพุทธศักราช2461ให้มีตำแหน่งเชษฐบุรุษ

เลือกจากแต่ละอำเภอ“เพื่อเป็นผู้แทนทวยนาครในอำเภอนั้น

เข้าไปนั่งในสภากรรมการนครบาล”(มาตรา5)

ฉะน ั ้นเด ิมก ็ม ีคณะนคราภ ิบาลเป ็นผู ้บร ิหารแบบ

คณะเทศมนตรีโดยไม่มีสภาเทศบาลการแก้ไขก็คือให้มีสภาของ

ท้องถิ ่นข ึ ้นมานั ่นเองและผู ้บร ิหารคือตัวนคราภิบาลหรือ

นายกเทศมนตรีนั้นจะต้องเป็นเชษฐบุรุษเสียก่อนด้วย

ไม่เพียงแต่มีพระราชกำหนดเพิ่มเติมและแก้ไขธรรมนูญ

ลักษณะปกครองปลายปีพ.ศ.2461เท่านั้นต่อมายังมีกฎหมาย

ออกมาแก้ไขในเรื ่องนี ้อีกเช่นพระราชบัญญัติแก้ไขพระราช

Page 24: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

1�

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

กำหนดเพ ิ ่ ม เต ิมธรรมนูญล ักษณะปกครองนคราภ ิบาล

พระพุทธศักราช2461ซึ่งออกใช้เมื่อวันที่7กรกฎาคมพ.ศ.2462

เป็นต้น

ในการทดลองฝึกจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาล

นั้นจะเห็นได้ว่าในระยะเวลาระหว่างปีพ.ศ.2461และ2462

เป็นเวลาประมาณ2ปีนั้นได้มีการเลือก“นคราภิบาล”ถึง7ครั้ง

ด้วยกันแสดงว่านคราภิบาลแต่ละคนเป็นอยู่เพียงระยะเวลาสั้นๆ

มีการอภิปรายติติงกันและมีการลาออกและมีการเลือกตั้งคนใหม่

ขึ้นมามีทั้งการหาพวกวางแผนจะเลือกใครตามที่ได้รู้ก็ล้วนแต่

เป็นเรื่องให้ทดลองทำเป็นเรื่องฝึกหัดทดลองมิใช่จะปกครองจริง

จึงมีผู้กล่าวว่าเป็น“ละครเวทีการเมือง”2แต่ที่จริงน่าจะมิใช่ละครที่

แสดงให้ดูเท่านั้นหากเป็นการทดลองให้บุคคลที่ถือได้ว่ามีความรู้

ความเข้าใจดีเป็นกลุ่ม“ชนนำ”ของบ้านเมืองได้ทดลองปฏิบัติดู

ดังที ่กล่าวมาทั ่วกันแล้วว่าการทดลองจัดการปกครอง

ส่วนท้องถิ่นนี้ก็เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่จะเอาไปฝึกหัดในพื้นที่

การปกครองของประเทศอย่างจริงจังต่อไปดังที่พระยาสุนทรพิพิธ

ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทยสมัยโน้นได้เขียนเล่า

ให้ฟัง

“เมืองดุสิตธานี”เป็นพระราชประสงค์ที่จะทรงฝึกอบรม

เสนาอำมาตย์ราชบริพารนับแต่เสนาบดีลงมาให้ซาบซึ ้งใน

พระบรมราโชบายและวิธีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

จึงมีข้าราชการผู้ใหญ่ไปสมัครเป็นทวยนาครด้วยมากเฉพาะที่

กล่าวกันในที ่น ี ้ก ็ค ือพระยาราชนกูล(อวบเปาโรหิต)ปลัด

2 หมื่นอมรดรุณารักษ์ อ้างแล้ว หน้า 108

Page 25: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

1�

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

กระทรวงมหาดไทยซึ่งภายหลังได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา

มุขมนตรีท่านมีโอกาสได้เฝ้าใกล้ชิดอยู่เสมอๆเพราะในขณะนั้น

ท่านเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยมี

อาการป่วยกระเสาะกระแสะจึงมิได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าเมื่อพระยา-

ราชนกูลได้ซาบซึ ้งในพระบรมราโชบายและพระราชดำริโดย

ถ่องแท้แล้วประกอบกับที่ได้ทรงมีพระราชปฏิสัณฐานและเท็ดทูล

เรื่องการปกครองบ้านเมืองอยู่บ่อยๆครั้งหนึ่งเมื่อมีโอกาสเป็นการ

เฉพาะจึงกราบบังคมทูลขึ้นว่า“กระทรวงมหาดไทยได้ซาบซึ้งถึง

พระบรมราโชบายและวิธีการของดุสิตธานีแล้วถ้าต้องด้วยพระ

ราชประสงค์กระทรวงมหาดไทยจะรับสนองพระบรมราโชบายนำ

แบบอย่างของดุสิตธานีไปปฏิบัติในจังหวัดต่างๆตามที่เห็นสมควร

และเหมาะสมเป็นอันดับไปจนกว่าจะทั่วถึง’มีพระราชดำรัสตอบ

ว่า‘นั่นนะซิฉันต้องการให้ปกครองท้องที่มีการปรับปรุงกันเสียที

จึงได้วางระเบียบไว้เพื่อให้เห็นเป็นตัวอย่าง”

เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้พระองค์ก็ทรงเป็นกษัตริย์สมบูรณา-

ญาสิทธิราชย์เมื ่อมีพระราชดำริหรือพระราชประสงค์ในสิ ่งใด

ประการใดเพียงตรัสออกไปก็ย่อมสำเร็จได้ดังพระราชประสงค์

แต่พระองค์ทรงพระราชดำริอยู ่ในพระราชหฤทัยว่าการสิ ่งใด

เป็นการใหญ่ถ้าเพียงแต่ใช้พระราชอำนาจดำรัสสั่งให้ทำๆกันตาม

พระราชดำรัสนั้นก็จะต้องทำกันอย่างแน่นอนแต่การกระทำนั้น

อาจไม่สำเร็จหรือสำเร็จแต่ไม่เป็นผลดีโดยสมบูรณ์ดังนี ้ก็ได้

ฉะน้ันเร่ืองปฏิรปูการปกครองซ่ึงนับว่าเป็นเร่ืองใหญ่มากเพราะไม่เพียง

แต่เปลี่ยนแปลงวิถีทางการงานแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้สึก

ในจิตใจด้วยที่เดียวพระองค์จึงได้ทรงทำเป็นการทดลองขึ้นก่อน”3

3 เพิ่งอ้าง หน้า 322 - 323

Page 26: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

20

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

การปกครองท้องที่ซึ่งมีตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านและกำนันที่

ราษฎรในหมู่บ้านและตำบลได้เลือกกันอย่างเปิดเผยขึ้นมาเป็นผู้นำ

ของตนนั้นได้มีกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องที่มาก่อนแล้ว

คือมีมาตั้งแต่พ.ศ.2457

Page 27: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

21

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

เม ื ่อผู ้ร ับผิดชอบในกระทรวงมหาดไทยมีความเห็น

คล้อยตามและได้ทราบพระราชประสงค์ก็ได้คิดดำเนินการว่าจะให้

เลือกเขตพื ้นที ่ปกครองที ่ใดและจะมอบหมายให้ใครไปเป็น

ผู ้รับผิดชอบดูแลและในเรื ่องตัวบุคคลนั ้นก็น่าจะลงเอยที ่ตัว

“พระยาสุนทรพิพิธ”(เชยฆัฆวิบูลย์)ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของ

กระทรวงมหาดไทยที ่มีตำแหน่งอยู ่ที ่จ ังหวัดนครสวรรค์เป็น

ข้าราชการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววางพระราชหฤทัยเป็น

มหาดเล็กของพระองค์มาก่อนและเป็น“นักเรียนส่วนพระองค์”ที่

พระองค์ท่านส่งไปเรียนที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือนมาก่อนด้วย

ดังคำบอกเล่าของพระยาสุนทรพิพิธที่เล่าให้ฟังว่า

“เดือนมีนาคม พ.ศ. 2464 ข้าพเจ้าก ็ได้ร ับโทรเลข

กระทรวงมหาดไทยให้มารับราชการกรุงเทพฯ ขณะนั้นข้าพเจ้า

รับราชการอยู่จังหวัดนครสวรรค์ ครั้นเข้ามาถึงและรายงานตัวตาม

ระเบียบแล้ว ท่านเสนาบดีก็แจ้งความประสงค์ให้ทราบโดยตรง

แล้วสั่งให้ไปฟังเรื่องราวละเอียดจากท่านปลัดกระทรวง เมื่อได้พบ

กับท่านปลัดกระทรวง ท่านจึงได้บอกเรื ่องราวให้ทราบโดย

ตลอด...ท่านบอกว่า จังหวัดที่จะให้เริ่มงานนี้ได้ 4 เลือกเอาจังหวัด

สมุทรสาคร เพราะเหมาะด้วยเหตุผลหลายประการ”

สถานที่หรือเขตปกครองที่จะเปลี่ยนจากการทดลองใน

เมืองสมมุติอย่างดุสิตธานีมาให้ราษฎรไทยได้ฝึกหัดเรียนรู้การ

ปกครองตนเองระดับล่างที ่ต ่อมาภายหลังเร ียกกันว่า“การ

ปกครองส่วนท้องถิ่น”นั่นก็คือจังหวัดสมุทรสาคร

4 เพิ่งอ้าง หน้า 324

Page 28: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

22

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

เหตุผลที่เลือกจังหวัดสมุทรสาครนั้นก็มีดังที่พระยาสุนทร

พิพิธเล่าให้ฟังต่อมา

“…คือจังหวัดนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้โปรดเกล้าฯให้

จัดการสุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก และจังหวัดนี้ราษฎรมีอาชีพส่วน

ใหญ่อยู ่ 3 ประเภท คือ ทำนา ทำสวน ทำการประมง ซึ ่ง

เหมาะแก่ความคิดที่จะจัดการบำรุงช่วยเหลือยิ่งกว่าจังหวัดที่การ

อาชีพใหญ่น้อยประเภท เช่นมีแต่การทำนาเป็นส่วนใหญ่

เป็นต้น ทั้งเป็นจังหวัดที่ไม่ใหญ่โต มีพลเมืองไม่มาก และอยู่ใกล้

กร ุงเทพฯด้วย ด ูจะเป ็นความสะดวกด้วยประการท ั ้งปวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเห็นชอบด้วยแล้ว”5

ที ่ระบุว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวรัชกาลที ่5ตั ้ง

สุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรกนั้นก็คือสุขาภิบาลที่ท่าฉลอมนั่นเอง

สำหรับตัวคนที่จะให้มารับผิดชอบนั้นก็ดังที่ได้กล่าวมา

แล้วโดยพระยาสุนทรพิพิธยืนยันว่าทางกระทรวงตกลงจะย้าย

ตัวท่านจากจังหวัดนครสวรรค์มาอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาครและได้

กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6แล้วด้วย

ซึ่งได้กำหนดที่จะให้มีการร่างกฎหมายออกใช้บังคับในการนี้ตาม

ที่พระยาสุนทรพิพิธเล่า

“…ฉะนั้นหน้าที่ของข้าพเจ้าในชั้นต้นก็คือ การร่วมเป็น

กรรมการพิจารณาจัดร่างธรรมนูญการปกครอง และระเบียบ

แบบแผนที่จะต้องใช้ในการนี้ อีกประการหนึ่งก็คือ ข้าพเจ้าจะ

ต้องศึกษาระบบ Municipality ของอังกฤษ โดยให้ไปติดต่อ

6 เพิ่งอ้าง หน้า 325

Page 29: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

2�

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ปรึกษาหารือกับหม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ ซึ ่งเป็น

กรรมการในเรื่องนี้ด้วยผู้หนึ่ง เมื่อได้ทราบบทบัญญัติ และวาง

ระเบียบแบบแผนเรียบร้อยแล้ว ก็จะได้นำทูลเกล้าฯถวายขอ

พระราชทานพระบรมราชาวินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง...”

พระยาสุนทรพิพิธและหม่อมเจ้าสกลวรรณากรวรวรรณ

นี ้ต่อมาหลังเปลี ่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475และได้มี

กฎหมายว่าด้วยเทศบาลออกมาใช้ทั้งสองท่านได้ร่วมกันเขียน

หนังสือเรื ่องการปกครองส่วนท้องถิ่นเกี ่ยวกับเทศบาลออกมา

เผยแพร่ความรู ้ในด้านนี ้ดังนั ้นความคิดเห็นต่างๆในเรื ่อง

การปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลง

การปกครองจึงน่าจะสืบต่อมาให้เห็นได้ในหนังสือเล่มนี้ด้วยที่น่า

เสียดายก็คือหนังสือฉบับนี้เองก็มีผู้สนใจน้อยเพิ่งจะมีนักวิชาการ

ทางด้านการกระจายอำนาจดร.นครินทร์เมฆไตรรัตน์คณบดี

คณะรัฐศาสตร์หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปพบเข้าได้เอามาพิมพ์

เผยแพร่ให้ได้ศึกษากัน

ที่น่าสนใจมากสำหรับคนที่อยากรู้เรื่องโครงการฝึกหัดจาก

การปกครองส่วนท้องถิ่นของจริงที่จังหวัดสมุทรสาครในรัชสมัย

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6ว่าทำไมจึงไม่เกิดขึ้น

หรือเกิดขึ้นแล้วแต่ล้มเหลวไปคำตอบก็มีอยู่ชัดเจนในคำบอกเล่า

ของพระยาสุนทรพิพิธว่า

“…ภายหลังต่อมา ดูเหมือนว่าเมื่อกระทรวงมหาดไทยได้

ทูลเกล้าฯถวายร่างกฎหมาย และระเบียบแบบแผนขึ้นไปแล้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะ

เสนาบดี แล้วมีข่าวกระเส้นกระสายจะเท็จจริงอย่างไรไม่ทราบว่า

Page 30: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

2�

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

มีเสนาบดีบางท่านเห็นว่าร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย

ให้สิทธิแก่ราษฎรกว้างขวางเกินไป อาจกระทบกระเทือนต่อ

ผลประโยชน์ของรัฐ เรื่องจึงยังตกลงไม่ได้ คงค้างพิจารณาอยู่

ต่อมาไม่ช้าถึงปี พ.ศ. 2465 กระทรวงมหาดไทยกับกระทรวง

นครบาลก็ถูกยุบรวมเข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน ท่านเจ้าพระยา-

สุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งก่อนแล้ว

ท่านเจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาลได้มาดำรง

ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแทน ในระยะนี้เรื ่องการ

ปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคก็ยังไม่ตกลงว่ากระไร คงเงียบอยู่

คร ั ้นล ุว ันท ี ่ 25 พฤศจ ิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด ็จ

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคต”6

แสดงได้อย่างชัดเจนว่าเร ื ่องที ่จะทำจริงๆที ่จ ังหวัด

สมุทรสาครไม่เกิดขึ้นเพราะเรื ่องนี้ไม่ผ่านการพิจารณาของ“ที่

ประชุมเสนาบดี” ฉะนั้นที่น่าสนใจก็คือที่ประชุมเสนาบดีนั้นมีใคร

บ้างอย่างน้อยเสนาบดีกระทรวงนครบาลคือเจ้าพระยายมราชนั้น

ก็คงจะเห็นด้วยเพราะได้ทำงานและมีส่วนรู ้เรื ่องดุสิตธานีเป็น

อย่างดี

คำบอกเล่าของพระยาสุนทรพิพิธที ่ว ่า“…มีเสนาบดี

บางท่านเห็นว่าร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย ให้สิทธิแก่

ราษฎรกว้างขวางเกินไป” นั้นบ่งบอกชัดว่าเสนาบดีบางท่านที่ว่า

นั้นอาจเป็นคนเดียวหรือมากกว่าหนึ่งคนก็ได้แต่ต้องเป็นเสนาบดี

ที่มีความสำคัญเพราะเมื่อท้วงติงขึ้นก็มีผลทำให้เรื่องการฝึกหัด

ปกครองจริงๆในจังหวัดสมุทรสาครไม่อาจเป็นจริงได้

5 เพิ่งอ้าง หน้า 32

Page 31: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

ภาคผนวก

Page 32: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส
Page 33: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

2�

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ธรรมนูญลักษณะปกครอง

คณะนคราภิบาล

(ดุสิตธานี)

พระพุทธศักราช 2461

ปรารภกรณีย์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจ

ยุติธรรมและความเมตตาปรานีสูงสุดทรงพระกรุณาแก่ไพร่ฟ้า

ข้าแผ่นดินเสมอหน้าทรงพระราชดำริว่าทวยนาครแห่งดุสิตธานี1

ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นที่ตั้งราชนิเวศน์มี

ฐานะความเป็นอยู่และภูมิธรรมความรอบรู้สูงพอสมควรจะเริ่ม

1 ขอให ้ผู ้อ ่านพ ึงใช ้ความส ังเกตว ่า พระบาทสมเด ็จ

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู ่หัว จะทรงใช้เมืองสมมุติที ่ให้ชื ่อว่า

“ดุสิตธานี” เป็นเมืองตัวอย่าง คำว่า “ทวยนาคร” ตรงกับ

คำว่า “ปวงประชาราษฎร์” และที่เมืองดุสิตธานี จะเป็นเวที

การปกครองแบบใหม่ในเมืองไทยยุคนั้น ที ่เรียก “ระบอบ

ประชาธิปไตย”

ภาคผนวกที่ 1

Page 34: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

2�

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

การศึกษาการปกครองตนเองได้ในกิจการบางอย่างเพื่อยังความ

ผาสุกสวัสดิ์ตามฐานะของตนๆให้ยิ่งขึ้นจึงมีพระราชประสงค์จะ

ประสาทธรรมนูญลักษณะปกครองแก่ทวยนาครแห่งดุสิตธานีไว้

เป็นหลักฐานต่อไป

ธรรมนูญลักษณะปกครองนคราภิบาลนี ้เป็นกำหนด

อำนาจการพระราชทานแด่ชาวดุสิตธานีให้มีเสียงและโอกาสแสดง

ความเห็นในวิธีจัดการปกครองตนเองในกิจการบางอย่างส่วน

อำนาจในกิจการแผนกใดซึ ่งยังมิได้ทรงพระกรุณาประสิทธิ ์

ประสาทให้ก็ย่อมคงอยู่ในรัฐบาลกลางซึ่งมียอดรวมอยู่ในพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตามแบบฉบับในอารยประเทศทั้ง

หลายที่จัดการนคราภิบาล

อำนาจอันคงอยู่ในรัฐบาลกลางนี้แม้ทรงพระราชดำริเห็น

สมควรจะพระราชทานเพิ่มเติมให้แก่คณะนคราภิบาลดุสิตธานีอีก

เมื่อใดอย่างไรก็จะได้ทรงพระกรุณาพระราชทานต่อไปตามกาลตาม

สมัยที ่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรแก่สติปัญญาและภูมิธรรม

ของตน

อีกนัยหนึ ่งอำนาจกิจการในแผนกซึ ่งได้ทรงพระกรุณา

ประสาทแล้วแต่มาปรากฎภายหลังว่าอำนาจเช่นนั้นๆยังมิสมควร

ได้โดยยังมิรู ้จักใช้ก็ดีหรือโดยประการอื่นก็ดีก็จะได้ทรงพระ

กรุณาเลิกถอนหรือแก้ไขเพื่อประโยชน์และความดำรงอยู่ด้วยดี

แห่งมหาชนหมู่ใหญ่

บัดนี้การตั้งพระราชธานีนับว่าจวนสำเร็จแล้วตามพระราช

ประสงค์สะพรั่งพร้อมด้วยเคหสถานและที่ทำการประกอบอาชีพ

ต่างๆสมควรจะมีธรรมนูญจัดการนคราภิบาลขึ้นไว้เพื ่อความ

Page 35: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

2�

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ไพศาลแห่งนครจึงมีพระราชประกาศิตประสาทธรรมนูญจัดเป็น

บทมาตราดังต่อไปนี้

หมวดที่ 1 ว่าด้วยนามและการใช้รัฐธรรมนูญ

มาตรา 1 ให้เรียกบทบัญญัตินี ้ว่าธรรมนูญลักษณะปกครอง

คณะนคราภิบาลดุสิตธานีพระพุทธศักราช2461

มาตรา 2 ธรรมนูญนี้ให้ใช้ทั่วไปในจังหวัดดุสิตธานีตั้งแต่วัน

ประกาศนี้เป็นต้นไป

มาตรา 3 บรรดากำหนดกฎข้อบังค ับแต่ก ่อนบทใดขัดต่อ

ข้อความในธรรมนูญนี้ให้ยกเลิกเสียใช้ธรรมนูญนี้แทนต่อไป

มาตรา 4 การแผนกใดซึ่งบังคับไว้ว่านคราภิบาลจะจัดไม่ได้แต่

เมื่อได้รับอนุมัติจากกระทรวงทบวงการผู้เป็นเจ้าหน้าที่คือรัฐบาล

กลางแล้วนั้นเพ่งความถึงพระบรมราชานุมัติในพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นยอดแห่งรัฐบาล

หมวดที่ 2 บทวิเคราะห์ศัพท์

มาตรา 5 คำว่าบ้านและเจ้าบ้านที่กล่าวในธรรมนูญนี้ให้พึงเข้าใจ

ดังนี้คือ

ข้อ1คำว่าบ้านนั ้นท่านหมายความถึงเรือนหลังเดียว

ก็ตามหลายหลังก็ตามซึ่งอยู่ในเขตที่มีเจ้าของเป็นอิสระส่วน1

Page 36: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

�0

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

นับในธรรมนูญนี้ว่าบ้าน1ห้องแถวและแพหรือเรือซึ่งจอดประจำ

อยู่ที่ใดถ้ามีเจ้าของหรือผู้เช่าครอบครองเป็นอิสระต่างหากห้อง1

หลัง1ลำ1หรือหมู่1ในเจ้าของหรือผู้เช่าคน1นั้นก็นับว่าบ้าน

1เหมือนกัน

ข้อ2เจ้าบ้านนั้นท่านหมายความว่าผู้ปกครองบ้านซึ่งว่า

มาแล้วในข้อก่อนจะครอบครองด้วยว่าเป็นเจ้าของบ้านก็ตามนับ

ตามธรรมนูญนี้ว่าเป็นเจ้าบ้าน

ข้อ3โรงพยาบาลที่ทำการต่างๆของรัฐบาลหรือนครา-

ภิบาลสถานีรถไฟที ่ เหล่านี ้ เป ็นสาธารณสถานอยู ่ในความ

ปกครองของหัวหน้าในที่นั้นไม่นับเป็นบ้านตามธรรมนูญนี้

มาตรา 6 คำว่านคราภิบาลนั้นท่านให้เข้าใจว่าผู้ที่ซึ่งราษฎรใน

จังหวัดดุสิตธานีผู้มีสิทธิตามธรรมนูญนี้จะเลือกได้พร้อมใจกัน

เลือกตั ้งขึ ้นเป็นผู ้ปกครองชั ่วปีหนึ ่งๆโดยได้รับพระราชทาน

พระบรมราชานุมัติ

มาตรา 7 คำว่าปรับนั้นท่านหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งราษฎร

ผู้กระทำผิดต้องเสียให้แก่คณะนคราภิบาลเพื่อถ่ายโทษ

หมวดที่ 3 ว่าด้วยกำหนดและการเลือกตั้งนคราภิบาล

มาตรา 8 ผู้ที ่เป็นนคราภิบาลนั้นท่านกำหนดอายุให้เป็นชั่วปี

เดียวเมื่อถึงกำหนดจะสิ้นปีต้องมีการเลือกตั้งใหม่ทุกปี

มาตรา 9 ผู ้ที ่เป็นนคราภิบาลมาปี1แล้วจะรับเลือกให้เป็น

นคราภิบาลอีกปี1ติดๆกันไม่ได้

Page 37: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

�1

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

มาตรา 10 เวลาที่จะประชุมเลือกนคราภิบาลคนใหม่ควรจะเป็น

วันที่สุดของปีหรือวันที่ใกล้ที่สุดของปีตามแต่จะเหมาะแก่โอกาสที่

จะเป็นไปได้แต่ให้เป็นที่พึงเข้าใจว่านคราภิบาลที่เป็นอยู่ต้องทำการ

ในหน้าที่จนกว่าจะมีการเลือกตั้งนคราภิบาลคนใหม่เสร็จแล้วโดย

เรียบร้อย

มาตรา 11 ให้ราษฎรซึ่งตั้งบ้านเรือนหรือจอดเรือแพประจำอยู่ใน

จังหวัดดุสิตธานีทั้งชายหญิงไม่ว่าโสดหรือแต่งงานแล้วประชุม

พร้อมกันเลือกเจ้าบ้านผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งเป็นที่นับถือของตนขึ้นเป็น

นคราภิบาลสำหรับปกครองธานีนั้นและวิธีเลือกนคราภิบาลนั้นให้

ทำดังกำหนดต่อไปนี้

มาตรา 12 เมื่อจวนจะถึงวันกำหนดที่จะเลือกนคราภิบาลใหม่ให้

ผู้ซึ่งรับอำนาจอำนวยการในการเลือกตั้งนคราภิบาลป่าวร้องทวย

นาครชายหญิงให้ทราบว่าจะมีการประชุมเลือกตั้งนคราภิบาลที่ใด

วันใดและประกาศข้อความด้วยว่าถ้าผู ้ใดมีความปรารถนาจะ

สมมุติผู้ใดให้เป็นนคราภิบาลต่อไปก็ให้เขียนนามผู้นั้นกรอกลงใน

แบบสมมุติที่ได้แบบไว้ท้ายธรรมนูญนี้และต้องลงนาม1ผู้รับรอง

1และให้ยื่นหนังสือสมมุติถึงผู้อำนวยการเลือกตั้งนคราภิบาลก่อน

วันประชุม1วัน

มาตรา 13 ผู้ที่จะลงนามเป็นผู้นำและผู้รับรองในหนังสือสมมุติ

ตามมาตรา12ต้องเป็นคหบดีเจ้าบ้านและคนหนึ่งๆห้ามมิให้นำ

และรับรองบุคคลผู้ใดให้เป็นนคราภิบาลเกินกว่า1คน

มาตรา 14 ให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งนคราภิบาลเขียนนามผู้ที่ได้รับ

สมมุติตามมาตรา12นั้นโฆษณาไว้ณที่ทำการเพื่อสาธารณชน

ทราบด้วย

Page 38: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

�2

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

มาตรา 15 ถ้าผู้ใดรับสมมุติแต่เพียงรายเดียวเท่านั้นไม่มีผู้ใด

สมมุติผู้อื่นมาอีกแล้วไซร้ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับสมมุติแต่เพียงผู้เดียว

นั้นเป็นอันได้รับเลือกตั้งเป็นนคราภิบาลทีเดียว

มาตรา 16 เมื่อถึงกำหนดวันที่ผู้อำนวยการได้ป่าวร้องไว้แล้วนั้น

ให้นาครทั้งหมดมาประชุมพร้อมกันยังตำบลและเวลาที่ผู้อำนวย

การกำหนดไว้

มาตรา 17 ในเมื่อทวยนาครมาประชุมพร้อมกันตามกำหนดแล้ว

ถ้าหากว่ามีผู้ได้รับสมมุติเป็นนคราภิบาลแต่คนเดียวเท่านั้นไซร้ก็

ให้เจ้าพนักงานผู้รับอำนาจอำนวยการโฆษณาแก่ทวยนาครให้ทราบ

ว่าผู้นั้นได้รับเลือกเป็นนคราภิบาลโดยถูกต้องตามธรรมนูญนี้แล้ว

แต่ว่าถ้าแม้มีผู้รับสมมุติแล้วตั้งแต่2คนขึ้นไปก็ให้เจ้าพนักงาน

ซึ่งได้รับอำนาจอำนวยการไต่ถามความเห็นทวยนาครให้พร้อมกัน

เลือกผู้หนึ่งผู้ใดที่ได้รับจดนามโฆษณาตามมาตรา14นั้นโดยเปิด

เผยก็ได้หรือเมื่อเห็นว่าที่เลือกโดยเปิดเผยไม่คล่องใจที่จะเลือก

จะใช้วิธีเลือกโดยลงคะแนนลับก็ได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งใน2วิธีนี้ตาม

แต่อำนวยการจะเห็นสมควร

มาตรา 18 ถ้าราษฎรพร้อมใจกันเลือกโดยเป็นการเปิดเผยแล้วก็

ให้ผู้อำนวยการถามว่าจะเลือกผู้ใดเมื่อได้รับคำตอบจากราษฎร

ที่มาประชุมว่าจะเลือกผู้ใดแล้วถ้ามีผู้เห็นชอบด้วยก็ให้ยกมือขึ้น

นับคะแนนเรียงตัวไปฝ่ายผู้ที่ไม่เห็นชอบให้นั่งลงเสียถ้าเป็นการ

เลือกตั้งโดยคะแนนลับให้ผู้อำนวยการเรียกมาถามทีละคนโดย

เงียบๆว่าจะเห็นสมควรให้ผู้ใดเป็นแล้วจดชื่อผู้ที่ราษฎรเลือกนั้น

ไว้หรือจะให้ราษฎรเขียนชื่อผู้ที่จะเลือกนั้นมาส่งคนละฉบับก็ได้

ตามแต่จะเห็นสมควร

Page 39: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

มาตรา 19 ผู ้ที ่ได้คะแนนสูงกว่าผู ้อื ่นหรือที ่มีราษฎรโดยมาก

เลือกขึ้นนั้นให้ถือว่าผู้นั้นได้รับเลือกเป็นนคราภิบาลและพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุมัติแล้วนับว่า

ผู้เป็นนคราภิบาลโดยชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 20 ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนคราภิบาลแล้วนั้นต้องรับภาระ

ทำการในหน้าที ่นั ้นต่อไปถ้าไม่เต็มใจรับจะไม่รับก็ได้แต่ต้อง

ถูกปรับเป็นเงิน50บาทนอกจากกระทรวงผู้เป็นเจ้าหน้าที่จะดำริ

ผ่อนผันให้โดยเหตุสมควร

หมวดที่ 4 ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของนคราภิบาล

มาตรา 21 เม ื ่อผู ้ ใดเป ็นนคราภ ิบาลผู ้น ั ้นจะม ีอำนาจตาม

พระธรรมนูญนี้ทันทีในการที่จะเลือกตั้งนคราภิบาลคือเจ้าหน้าที่

ต่างๆเช่นเจ้าพนักงานคลังเจ้าพนักงานโยธานายแพทย์สุขาภิบาล

ผู้รักษาความสะดวกของประชาชน(InspectorofNuisances)

เป็นต้นสำหรับจัดการให้เป็นไปตามธรรมนูญนี้ตามแต่จะเห็น

สมควร

มาตรา 22 นคราภิบาลมีอำนาจปกครองบรรดาราษฎรที่อยู่ในเขต

ธานีของตนและให้ราษฎรที่อยู่ในเขตนั้นจงเชื่อถ้อยฟังคำนครา-

ภิบาลอันชอบด้วยกฎหมายและธรรมนูญที่ใช้อยู่จงทุกประการ

มาตรา 23 รัฐบาลมีหน้าที่

ก.ดูแลรักษาเพิ่มพูนความผาสุกของราษฎรทั่วไปช่วย

ป้องกันทุกข์ภัยของประชาชนในเขตของตน

Page 40: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ข.ดูแลการคมนาคมคือถนนหนทางทั้งแม่น้ำลำคลอง

ให้ความสว่างไสวจัดการไฟฟ้าประปาในธานี

ค.การดับเพลิงและการรักษาสวนสำหรับนครให้เป็นที่

หย่อนกายสบายใจควรแก่ประโยชน์และความสุขอัน

จะพึงมีได้สำหรับสาธารณชน

ฆ. จัดการในเรื่องโรงพยาบาลสุสานและโรงฆ่าสัตว์

ง.ดูแลระเบียบการโรงเรียนราษฎร์ห้องอ่านหนังสือ

และโรงเรียนหัตถกรรมต่างๆ

มาตรา 24 นคราภิบาลมีอำนาจที ่จะตั ้งพิกัดภาษีอากรขนอน

ตลาดเรือนโรงร้านเรือแพอันอยู่ในเขตหน้าที่ของนคราภิบาล

แต่เมื ่อกำหนดพิกัดภาษีอากรนคราภิบาลจะต้องเรียกประชุม

ราษฎรเพื่อทำการตกลงในเรื่องเช่นนี้และเมื่อจะเปลี่ยนพิกัดภาษี

ใหม่ก็ต้องเรียกประชุมใหม่ทุกครั้งไปและประกาศให้รู้ทั่วกัน

มาตรา 25 นคราภิบาลมีอำนาจจะออกใบอนุญาตและเก็บเงิน

ค่าใบอนุญาตสำหรับยานพาหนะร้านจำหน่ายสุราโรงละคร

โรงหนังสถานที่เริงรมย์เก็บเงินจากมหาชนคนดูทั้งปวง

มาตรา 26 เมื่อนคราภิบาลได้เรียกประชุมเจ้าบ้านเพื่อกำหนดภาษี

อากรและใบอนุญาตตามที ่ว ่าในมาตราข้างบนนั ้นให้ราษฎร

เจ้าบ้านทั ้งหมดไปประชุมพร้อมกันตามที ่กำหนดนัดหมายถ้า

เจ้าบ้านไปประชุมไม่ได้ก็ต้องตั ้งผู ้แทนตัวและมีหนังสือมอบ

อำนาจให้ผู้นั้นไปในที่ประชุมแทนนั้นด้วย

Page 41: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

มาตรา 27 ถ้ารัฐบาลจะประกาศหรือสั่งราชการอันใดให้ราษฎร

ทราบเป็นหน้าที่ของนคราภิบาลที่จะรับข้อเสนอข้อความนั้นๆไป

แจ้งแก่ราษฎรที่อยู่ในปกครองของตนให้ทราบ

มาตรา 28 เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะทำบัญชีสำมะโนครัวราษฎร

ในปกครองของตนและคอยแก้ไขบัญชีให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงอยู่

เสมอ

มาตรา 29 กิจการสาธารณประโยชน์ซ ึ ่งม ีผลกำไรเช ่นการ

ตั ้งธนาคารโรงจำนำตั ้งตลาดรถรางเรือจ้างเหล่านี ้เป็นอาทิ

นคราภิบาลจะดำริให้จัดไปในเวลาที่เห็นสมควรก็ได้เป็นทางหา

กำไรบำรุงเมืองเพื่อผ่อนภาษีอากรซึ่งราษฎรจะต้องเสียและเพื่อ

กระทำกิจเช่นว่านี้นคราภิบาลจะออกใบกู้ก็ควรเพราะหนี้ชนิดนี้

นับว่าไม่ใช่หนี้ตายที่ไร้ผล

มาตรา 30 เป็นหน้าที่ของนคราภิบาลจะกำหนดปลูกสร้างวางแผน

สำหรับนครเพื ่อความงามและอนามัยความผาสุกแห่งธานี

เคหสถานบ้านเรือนที่ทำการต่างๆเมื่อเจ้าของจะปลูกสร้างต้องได้

รับอนุญาตจากนายช่างก่อสร้างของนคราภิบาลแล้วจึงจะปลูกได้

ดังนี้สถาบัตยกรรมจึงจะสมานเจริญตา

มาตรา 31 การขยายเขตนคราภิบาลต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาล

กลาง

Page 42: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

หมวดที่ 5 ว่าด้วยการบำรุงรักษาความสะอาดและ

ป้องกันโรคภัย

มาตรา 32 คณะนคราภิบาลมีหน้าที ่จัดตั ้งเจ้าพนักงานแผนก

สุขาภิบาลเพื่อคอยดูแลรักษาความสะอาดทั่วไปตลอดทั้งเมือง

ว่ากล่าวคนในปกครองให้ระวังรักษาอย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้

โสโครกอันเป็นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บแก่ประชาชนทั่วไป

มาตรา 33 เมื ่อนคราภิบาลเห็นว่าบ้านใดหมู่ใดชำรุดรุงรังหรือ

ปล่อยให้โสโครกโสมมอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ผู้ที่อยู่ในที่นั้น

หรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกันหรือผู้ที่ผ่านไปมาอันอาจเกิดอัคคีภัยหรือ

โรคร้ายขึ้นถ้าเห็นสมควรจะบังคับให้เจ้าบ้านหรือผู้ที่อยู่ในที่นั้น

แก้ไขเสียให้ดีก็มีอำนาจบังคับได้

มาตรา 34 เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดนคราภิบาลได้บังคับให้รื้อถอนจัดทำ

หรือซ่อมแซมบ้านเรือนใหม่ขัดขืนไม่กระทำตามบังคับของนครา-

ภิบาลนั้นก็ให้นคราภิบาลมีอำนาจฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้พิจารณา

ลงโทษตามพระราชกำหนดกฎหมาย

หมวดที่ 6 ว่าด้วยการสับเปลี่ยนและตั้งนคราภิบาล

มาตรา 35 เมื่อถึงเวลาสับเปลี่ยนตัวนคราภิบาลใหม่ประจำปีให้

คณะนคราภิบาลเก่าแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายยื ่นต่อที ่ประชุม

ราษฎรและส่งเสียการงานยอดบัญชีสำมะโนครัวแก่คณะนครา-

Page 43: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ภิบาลใหม่จนสิ้นเชิง

มาตรา 36 ในเวลาเรียกประชุมใหญ่ประจำปีนั้นให้สมุหเทศา-

ภิบาลหรือผู้แทนเข้ามานั่งในที่ประชุมด้วย

มาตรา 37 คณะนคราภิบาลมีอำนาจที่จะจัดตั้งสภาเลขาธิการขึ้น

และสภาเลขาธิการคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะลาออกหรือ

ต้องออกด้วยเหตุอื่น

หมวดที่ 7 ว่าด้วยหน้าที่สภาเลขาธิการ

มาตรา 38 สภาเลขาธิการนั้นเมื่อคณะนคราภิบาลได้เลือกตั้งขึ้น

โดยชอบด้วยพระธรรมนูญแล้วให้มีอำนาจและหน้าที่จัดการดังต่อ

ไปนี้

1.ให้มีหน้าที่บังคับบัญชาการแผนกหนังสือและรายงาน

กิจการทั้งปวงของคณะนคราภิบาล

2.เป็นที่ปรึกษาของคณะนคราภิบาลในทางระเบียบการ

ทางกฎหมาย

3.มีหน้าที่เป็นทนายแถลงคดีแทนคณะนคราภิบาลต่อ

ศาลหรือจะตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนในหน้าที่นี้ก็ได้

4.สภาเลขาธิการมีสิทธิ์ที่จะนั่งในที่ประชุมคณะนครา-

ภิบาลและในที่ประชุมใหญ่ได้ทุกเมื่อ

Page 44: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

5.ถ้าสภาเลขาธิการเป็นคหบดีเจ้าบ้านอยู่แล้วเมื่อเวลา

นั่งในที่ประชุมใหญ่มีสิทธิจะลงคะแนนความเห็นได้

ด้วย

หมวดที่ 8 ว่าด้วยทุนและการเงินทองของคณะนคราภิบาล

มาตรา 39 เมื่อนคราภิบาลจัดตั้งนคราภิบาลขึ้นแล้วท่านให้ถือว่า

คณะนั้นเป็นบุคคลโดยนิติสมมติมีสิทธิที่จะถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์

ได้มีอำนาจที่จะจ่ายทรัพย์นั้นในการบำรุงความรุ่งเรืองแห่งนคร

และในการป้องกันสิทธิและทรัพย์สมบัติของตน

มาตรา 40 คณะนคราภิบาลมีอำนาจจะออกใบกู้เงินในนามของ

คณะนคราภ ิบาลได ้ เพ ื ่อเป ็นทุนใช ้จ ่ายในการปกครองตาม

พระธรรมนูญนี้แต่มีอำนาจที่จะกระทำตามที่ว่าในมาตรานี้ต้องได้

รับอนุมัติจากรัฐบาลกลางเสียก่อนโดยเฉพาะเรื่องเป็นคราวๆไป

มาตรา 41 เงินที่คณะนคราภิบาลเก็บได้จากราษฎรในทางภาษี

อากรนั้นอนุญาตให้เก็บไว้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ได้แต่ต้องมี

หลักฐานบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายให้ชัดเจน

มาตรา 42 ให้มีคณะกรรมการ2คนตรวจบัญชีในเวลาสิ้นปีทุก

คราวไปกรรมการตรวจบัญชีนี ้ร ัฐบาลกลางเป็นผู ้ต ั ้ง3นาย

นคราภิบาลเป็นผู้ตั้ง1นายกรรมการนี้มิได้รวมอยู่ในนคราภิบาล

Page 45: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

หมวดที่ 9 ว่าด้วยกำหนดโทษผู้กระทำผิด

มาตรา 43 ผู ้ใดขัดขืนไม่กระทำตามคำสั ่งของนคราภิบาลใน

ระเบียบการปกครองเช่นว่าในมาตรา22ก็ดีและตามมาตรา26

ก็ดีท่านให้ลงโทษปรับเงินเป็นพินัยคนหนึ่งครั้ง1ไม่เกิน10บาท

มาตรา 44 ผู ้ใดขัดขืนคำสั ่งนคราภิบาลเนื ่องในระเบียบการ

สุขาภิบาลเช่นปล่อยให้บ้านเรือนชำรุดรุงรังและเกิดการโสโครก

ตามที่ได้กล่าวมาในมาตรา32ก็ดีตามมาตรา33ก็ดีท่านให้

ลงโทษปรับเงินคนหนึ่งครั้ง1ไม่เกิน5บาทเป็นพินัย

มาตรา 45 ถ้าผู้ใดถูกปรับเพราะได้กระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใด

แล้วมากระทำผิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่2ท่านว่าไม่เข็ดหลาบ

โทษที่ท่านบัญญัติความผิดไว้นั้นเท่าใดเมื่อเวลากำหนดโทษนั้น

ท่านให้เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบขึ้นอีก3ใน5ส่วนด้วย

มาตรา 46 ผู ้ใดถูกปรับเพราะกระทำผิดมาครั ้งหนึ ่งแล้วไม่

เข็ดหลาบมาทำความผิดขึ้นอีกคราวนี้เป็นครั้งที่2และความผิด

ครั ้งหลังนี ้ซ ้ำประเภทกันกับความผิดในครั ้งก่อนภายในเวลา

6เดือนท่านว่าเวลากำหนดโทษนั้นให้เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบเป็น

ทวีคูณ

Page 46: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

�0

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

หมวดที่ 10 ว่าด้วยการรักษาธรรมนูญ

มาตรา 47 เมื่อราษฎรมีความไม่พอใจในคำสั่งในกฎข้อบังคับใดๆ

ของคณะนคราภิบาลก็ให้ราษฎรมีอำนาจร้องเรียนต่อรัฐบาลกลาง

ได้

มาตรา 48 ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งผู้ใดในคณะนคราภิบาลทำการเกิน

อำนาจที่มีอยู ่ในธรรมนูญหรือผิดด้วยกฎหมายจนเป็นเหตุให้

ผู ้อื ่นได้รับความเสียหายนั้นมีสิทธิจะฟ้องร้องยังศาลหลวงได้

แม้พิจารณาส่งฟ้องแล้วให้ปรับเจ้าหน้าที่ผู้ผิดสินไหมกึ่งหนึ่งพินัย

กึ่งหนึ่ง

มาตรา 49 ให้นคราภิบาลเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามธรรมนูญ

นี้

มาตรา 50 การที ่จะฟ้องผู ้กระทำผิดตามธรรมนูญนี ้ให้สภา

เลขาธิการเป็นเจ้าหน้าที่ฟ้องร้องต่อศาลหลวง

มาตรา 51 ให้นคราภิบาลมีอำนาจที่จะจัดตั้งกฎข้อบังคับสำหรับ

จัดและรักษาการให้เป็นไปตามธรรมนูญนี้เมื่อกฎข้อบังคับนั้นได้

รับอนุมัติจากรัฐบาลกลางและได้โฆษณาแล้วก็ให้ใช้ได้เหมือนเป็น

ส่วนหนึ่งของธรรมนูญนี้

ประกาศมาณวันที่7พฤศจิกายนพระพุทธศักราช2461เป็นปีที่

9ในรัชกาลปัตยุบันนี้

Page 47: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

�1

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ภาคผนวกที่ 2

พระราชกำหนดเพิ่มเติมและแก้ไข ธรรมนูญลักษณะปกครอง

คณะนคราภิบาลดุสิตธาน ี

พระพุทธศักราช 2461

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ผู้ทรงซึ่งไว้อำนาจ

ยุต ิธรรมและความเมตตาปราน ีสูงสุดทรงพระราชดำร ิว ่า

ธรรมนูญลักษณะปกครองและนคราภิบาลดุสิตธานีพระพุทธ

ศักราช2461ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกาศพระบรม

ราชโองการให้ใช้มาแล้วตั ้งแต่วันที ่7พฤศจิกายนพระพุทธ

ศักราช2461นั้นเมื่อลองใช้มาแล้วก็ปรากฏว่าโดยมากนับเป็นการ

สะดวกแก่วิธีการเรียบร้อยดีอยู่แต่ยังมีข้อขาดตกบกพร่องอยู่บ้าง

ซึ่งสมควรจะเพิ่มเติมให้สมบูรณ์หรือแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

จึงมีพระราชประกาศิตประสาทพระราชกำหนดนี้ขึ ้นไว้

เพื่อเพิ่มเติมแก้ไขธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาลดุสิต

ธานีพระพุทธศักราช2461มีบทมาตราดังต่อไปนี้

Page 48: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

�2

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

หมวดที่ 1 ว่าด้วยนาม และการใช้พระราชกำหนด

มาตรา 1 ให้เรียกบทบัญญัตินี้ว่าพระราชกำหนดเพิ่มเติมและ

แก้ไขธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาลดุสิตธานี

มาตรา 2 พระราชกำหนดเป็นเหมือนส่วนหนึ่งแห่งธรรมนูญ

ลักษณะปกครองแห่งนคราภิบาลดุสิตธานีและให้ใช้ทั่วไปแต่วัน

ประกาศนี้เป็นต้นไป

มาตรา 3 บรรดากำหนดข้อบังคับแต่ก่อนบทใดขัดกับข้อความ

พระราชกำหนดนี้ให้ยกเลิกเสียใช้พระราชกำหนดนี้สืบไป

หมวดที่ 2 ว่าด้วยตำแหน่งเชษฐบุรุษ

มาตรา 4 เพื่อประโยชน์และความสะดวกแห่งทวยนาครให้ตั้ง

ตำแหน่งกรรมการในนคราภิบาลขึ้นอีกเรียกว่าเชษฐบุรุษ

มาตรา 5 เชษฐบุรุษนั้นให้ทวยนาครเจ้าบ้านสมมุติและเลือก

คหบดีนายบ้านผู้มีอายุเป็นผู้ที่นับถือในเขตอำเภอที่ตนตั้งบ้านเรือน

อยู่นั้นอำเภอละคนเพื่อเป็นผู้แทนทวยนาครในอำเภอนั้นเข้าไปนั่ง

ในสภากรรมการนคราภิบาล

มาตรา 6 ผู้ที ่รับตำแหน่งเชษฐบุรุษสำหรับอำเภอใดต้องตั้ง

บ้านเรือนมั่นคงอยู่ในเขตอำเภอนั้น

Page 49: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

มาตรา 7 นาครผู้ที่จะเลือกเชษฐบุรุษสำหรับอำเภอใดต้องเป็น

ผู ้ที ่ตั ้งบ้านเรือนอยู ่ในเขตอำเภอนั ้นจะมีเสียงเลือกเชษฐบุรุษ

สำหรับอำเภออื่นนอกจากที่ตนตั้งบ้านเรือนอยู่นั้นไม่ได้เป็นอันขาด

แต่ถ้านาครผู้ใดมีบ้านเรือนอยู่ในเขตอำเภอเกินกว่า1อำเภอก็มี

สิทธิจะเลือกเชษฐบุรุษสำหรับอำเภอที่ตนตั้งบ้านเรือนอยู่นั้นได้ทุก

อำเภอ

มาตรา 8 การเลือกเชษฐบุรุษสำหรับอำเภอให้กำหนดการกระทำ

ก่อนเลือกนคราภิบาลไม่น้อยกว่า7วัน(ตามปฏิทิน)และวิธีเลือก

เชษฐบุรุษนั้นให้ทำดังกำหนดต่อไปนี้

มาตรา 9 เมื่อจวนจะถึงกำหนดวันที่จะเลือกเชษฐบุรุษใหม่ให้

ผู้ซึ่งได้รับอำนาจอำนวยการเลือกเชษฐบุรุษป่าวร้องทวยนาครใน

อำเภอนั้นๆให้ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งเชษฐบุรุษที่ใดวันใด

มาตรา 10 เมื่อถึงกำหนดที่ผู้อำนวยการได้ป่าวร้องไว้แล้วนั้นให้

ทวยนาครทั้งหมดมาประชุมพร้อมกันยังตำบลเวลาที่ผู้อำนวยการ

กำหนดไว้

มาตรา 11 เมื่อทวยนาครมาประชุมพร้อมกันตามกำหนดนั้นแล้ว

ให้พนักงานผู้รับอำนาจอำนวยการถามความเห็นทวยนาครผู้ใดจะ

สมมุติคหบดีผู้ใดให้เป็นเชษฐบุรุษสำหรับอำเภอนั้นและผู้ใดจะ

รับรองเมื่อผู้ใดมีผู้สมมุติและรับรองผู้หนึ่งผู้ใดคนหนึ่งแล้วก็ให้

เจ้าพนักงานถามทวยนาครอีกว่าจะมีผู้ใดสมมติอีกคนหนึ่งหรือไม่

ถ้าแม้ไม่มีผู้ใดสมมติขึ้นอีกคนหนึ่งแล้วก็ถือว่าผู้ที่ได้รับสมมติคน

แรกนั้นเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นเชษฐบุรุษโดยชื่นตาไม่มีผู้ใดคัดค้าน

ทีเดียวแต่ถ้าแม้ว่ามีผู้สมมติกว่า1คนก็ให้พนักงานจัดการให้

Page 50: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ทวยนาครลงคะแนนโดยวิธีใดวิธีหนึ่งซึ่งจะเป็นการสะดวกและ

เหมาะที่สุด

มาตรา 12 ผู้ที ่ได้คะแนนเลือกสูงกว่าผู้อื ่นให้ถือว่าผู้นั ้นได้รับ

เลือกเป็นเชษฐบุรุษโดยชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 13 ผู ้ที ่ได้รับเลือกเป็นเชษฐบุรุษอำเภอ1แล้วจะเป็น

เชษฐบุรุษอีกอำเภอ1ในคราวเดียวกันไม่ได้

มาตรา 14 ผู ้ที ่ได้รับเลือกเป็นเชษฐบุรุษแล้วนั ้นต้องรับภาระ

ทำการในหน้าที่นั้นต่อไปถ้าไม่เต็มใจรับจะไม่รับก็ได้แต่ต้องถูก

ปรับเป็นเงิน30บาทนอกจากเจ้าพนักงานผู้อำนวยการเลือกจะ

ยอมผ่อนผันให้โดยเหตุสมควร

มาตรา 15 ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นเชษฐบุรุษแล้วให้คงอยู่ในตำแหน่ง

โดยมีกำหนด1ปี

มาตรา 16 เมื่อผู้ใดได้รับตำแหน่งเป็นเชษฐบุรุษจนครบกำหนด

เขตแล้วเมื่อถึงกำหนดเลือกใหม่จะรับตำแหน่งต่อไปก็ได้ไม่มี

ข้อห้าม

มาตรา 17 ผู้ใดเป็นเชษฐบุรุษแล้วมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

ก.เป็นกรรมการที่ปรึกษาในสภาของนคราภิบาลและ

นคราภิบาลนัดให้ประชุมเมื่อใดต้องไปและต้องแสดง

ความเห็นโดยสุจริต

ข.เป็นหัวหน้าทวยนาครในเขตอำเภอของตนเพราะ

ฉะนั้นต้องหมั่นสอดส่องดูทุกข์สุขของทวยนาครและ

เป็นผู ้ที ่นำข้อความที ่ทวยนาครปรารถนาไปชี ้แจง

Page 51: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

แถลงเหตุผลในสภานคราภิบาลและขอให้สภาปรึกษา

และดำริการนั้นๆ

ค.เมื ่อมีเหตุการณ์อันเห็นควรที ่จะนำปรึกษาในสภา

นคราภิบาลให้เชษฐบุรุษแจ้งไปยังนคราภิบาลขอให้

นัดประชุมสภานคราภิบาล

มาตรา 18 ผู ้ท ี ่ ได ้ร ับตำแหน่งเป ็นเชษฐบุรุษไม่ได ้เบ ี ้ยหว ัด

เงินเดือนอย่างใดสำหรับตำแหน่งนั้นโดยเฉพาะแต่จะรับเบี้ยหวัด

เงินเดือนในตำแหน่งอื่นได้โดยไม่ขัดข้องต่อพระราชกำหนดนี้

หมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิแห่งเชษฐบุรุษเนื่องในการเลือก

นคราภิบาล

มาตรา 19 ผู้ที่จะได้รับสมมติเป็นนคราภิบาลต้องเป็นเชษฐบุรุษ

อยู่แล้วด้วย

มาตรา 20 ในการที ่จะเลือกนคราภิบาลใหม่ผู ้ที ่จะลงนามใน

หนังสือสมมติในนามผู้สมมติต้องเป็นเชษฐบุรุษอยู่แล้วด้วยแต่

ผู ้จะลงนามเป็นผู ้ร ับรองนั ้นไม่จำเป็นต้องเป็นเชษฐบุรุษด้วย

หามิได้

Page 52: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

หมวดที่ 4 ว่าด้วยเชษฐบุรุษกิตติมศักดิ์

มาตรา 21 บุคคลผู ้ใดได้กระทำความชอบในราชการแผ่นดิน

หรือมีคุณวิเศษเป็นที ่นับถือแห่งสาธารณชนอนุญาตให้คณะ

นคราภิบาลปรึกษากันเชิญให้รับตำแหน่งเป็นเชษฐบุรุษกิตติมศักดิ์

ของดุสิตธานีได้และให้อยู่ในตำแหน่งนั้นตลอดชีวิต

มาตรา 22 ผู ้ใดได้รับเกียรติยศเป็นเชษฐบุรุษกิตติมศักดิ ์ของ

ดุสิตธานีแล้วมีสิทธิดังต่อไปนี้

ก.เข้านั่งในสภานคราภิบาลได้ในโอกาสอันควร

ข. รับสมมุติเป็นนคราภิบาลได้

ค.ลงนามเป็นผู้สมมตินคราภิบาลใหม่ได้

ประกาศณวันที่13ธันวาคมพระพุทธศักราช2461เป็นปีที่9

ในรัชกาลปัตยุบันนี้

Page 53: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

ภาคผนวกที่ 3

พระราชบัญญัติ

แก้ไขพระราชกำหนดเพิ่มเติม

ธรรมนูญลักษณะปกครอง

นคราภิบาล

พระพุทธศักราช 2461

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจ

ยุติธรรมและความเมตตาปรานีสูงสุดทรงพระราชดำริว่าพระราช

กำหนดเพิ่มเติมและแก้ไขธรรมนูญลักษณะปกครองนคราภิบาล

ดุสิตธานีพระพุทธศักราช2461ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้

ประกาศพระบรมราชโองการใช้มาแล้วตั ้งแต่วันที่13ธันวาคม

พระพุทธศักราช2461ว่าด้วยการตั้งเชษฐบุรุษประจำอำเภอละคน

นั้นยังหาเหมาะไม่จึงมีพระราชประกาศิตประกาศพระราชกำหนดนี้

แก้ไขบางมาตราให้ดียิ่งขึ้นดังต่อไปนี้

Page 54: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

หมวดที่ 1 ว่าด้วยนามและการใช้พระราชกำหนด

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี ้ให้เรียกว่าพระราชกำหนดแก้ไข

ธรรมนูญลักษณะปกครองนคราภิบาลพระพุทธศักราช2462

มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้นับว่าเป็นเหมือนส่วนหนึ่งแห่ง

ธรรมนูญลักษณะปกครองนคราภิบาลดุสิตธานีและให้ใช้ทั่วไปตั้ง

แต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป

หมวดที่ 2 ว่าด้วยการแก้ไขตำแหน่งเชษฐบุรุษ

มาตรา 3 ให้แก้ไขวิธีเลือกเชษฐบุรุษซึ่งปรากฏอยู่ในมาตรา5

และมาตรา8แห่งพระราชบัญญัติเพิ่มเติมและแก้ไขธรรมนูญ

ลักษณะปกครองนคราภิบาลพระพุทธศักราช2461นั้น

ข้อ1คำว่าให้ทวยนาครเจ้าบ้านสมมติและเลือกคหบดี

นายบ้านผู้มีอายุและมีผู้นับถือในเขตอำเภอละคนนั้นเป็นตำบลละ

คนเพื่อเป็นผู้แทนนาครในตำบลนั้น

ข้อ2คำว่าเลือกเชษฐบุรุษสำหรับอำเภอให้กำหนดการ

กระทำก่อนเลือกนคราภิบาลใหม่ไม่น้อยกว่า7วัน(ตามปฏิทิน)

นั้นให้ยกเลิกเสียจะกระทำก่อนเลือกนคราภิบาลก่อนกี่วันก็ได้

แล้วแต่ผู้รับอำนาจอำนวยการเลือกตั้งจะเห็นสมควร

Page 55: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

��

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

มาตรา 4 บรรดาพระราชกำหนดข้อบังคับแต่ก่อนบทใดขัดกับ

ข้อความในพระราชกำหนดนี้ให้ยกเลิกเสียให้ใช้พระราชกำหนดนี้

สืบไป

ประกาศมาณวันที่7กรกฎาคมพ.ศ.2462

(8ก.ค.62)

Page 56: การทดลองจัดการ องค์กรปกครอง ...ด ส ตธาน : การทดลองจ ดการองค กรปกครองส

วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า

เอกสารวิชาการลำดับที่ 48

สถาบันพระปกเกล้า อาคารศูนย์สัมมนา 3 ชั้น 5 ในบริเวณสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-527-7830-9 โทรสาร 02-968-9144

http://www.kpi.ac.th

รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร

การทดลองจัดการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ. 2461

การทดลองปกครองท้องถิ่นครั้งนี้ เกิดขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

นั่นก็คือในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 6

ของราชวงศ์จักรี เป็นการทดลองทำขึ้น โดยพระองค์เอง และด้วยความรู้และประสบการณ์

ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เคยได้รับการศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ ลักษณะบ้านเมืองที่พระองค์ได้เรียนรู้

และมีประสบการณ์ได้พบเห็น คือบ้านเมืองที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

แบบรัฐสภาที่มีกษัตริย์เป็นประมุข

ดุสิตธานี : การทดลองจัดการฯ

ราคา 50 บาท

ISBN : 978-974-449-352-1