การเสวนา/สัมมนาทางวิชาการ€¦ ·...

7
53 การเสวนา/สัมมนาทางวิชาการ กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ มีหน้าทีสำรวจและตรวจสอบ วางแผนงาน อำนวยการ กำกับการ ออกแบบ กำหนดคุณลักษณะ กำหนด ราคามาตรฐาน กำหนดรายการพัสดุ และ ประมาณราคา จัดทำและควบคุมโครงการและ งบประมาณที่เกี่ยวกับแผนหลักในการซ่อม สร้างดัดแปลง และปรับปรุงเรือ อุปกรณ์ประจำเรือ ยานรบ ที่เกี่ยวข้อง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า ในรอบปีท่ผ่านมากรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ ได้จัดให้มีการเสวนาและ การสัมมนาทางวิชาการทั้งภายในกรมแผน การช่าง กรมอู่ทหารเรือและร่วมกับหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการระดมความคิด ตลอดจน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาขบวนการในการทำงาน ของหน่วยงาน เพื่อให้เป็นที่น่าเชื่อถือและ การเสวนา/สัมมนาทางวิชาการ กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ สามารถตอบสนองภารกิจหลัก ในการสร้างและ ซ่อมเรือของกรมอู่ทหารเรือ ตลอดจนสามารถ สนับสนุนองค์ความรู้และองค์บุคคลให้กับ หน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในกองทัพเรือและหน่วยงาน ภายนอก หัวข้อการเสวนาและการสัมมนาทางวิชาการ กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ จึงได้ พิจารณาหัวข้อในการจัดเสวนาและสัมมนาที่มี ความน่าสนใจ มีประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ใน การพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานของหน่วยให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยมี หัวข้อการเสวนาและสัมมนา ดังนี1. การนำมาตรฐานของ Classification Society มาใช้ในการกำหนด Staff Requirement 2. การใช้ซอฟต์แวร์ Tribon บริหารงาน สร้างเรือ Tribon Shipbuilding System Single Ship Model, multi-user concurrent access for design development and creation of production information

Upload: others

Post on 19-Oct-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • 53 การเสวนา/สัมมนาทางวิชาการ

    กรมแผนการชา่งกรมอูท่หารเรอืมหีนา้ที่สำรวจและตรวจสอบ วางแผนงาน อำนวยการกำกับการออกแบบกำหนดคุณลักษณะกำหนดราคามาตรฐาน กำหนดรายการพัสดุ และประมาณราคา จัดทำและควบคุมโครงการและงบประมาณที่ เกี่ยวกับแผนหลักในการซ่อมสรา้งดดัแปลงและปรบัปรงุเรอือปุกรณป์ระจำเรอื ยานรบ ที่ เกี่ยวข้อง เครื่องจักร เครื่องยนต์เครื่องไฟฟ้า ในรอบปีที่ผ่านมากรมแผนการช่างกรมอู่ทหารเรือ ได้จัดให้มีการเสวนาและ การสัมมนาทางวิชาการทั้ งภายในกรมแผนการช่างกรมอู่ทหารเรือและร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการระดมความคิด ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาขบวนการในการทำงานของหน่วยงาน เพื่อให้เป็นที่น่าเชื่อถือและ

    การเสวนา/สัมมนาทางวิชาการ กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ

    สามารถตอบสนองภารกิจหลัก ในการสร้างและซ่อมเรือของกรมอู่ทหารเรือ ตลอดจนสามารถสนับสนุนองค์ความรู้ และองค์บุ คคลให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในกองทัพเรือและหน่วยงานภายนอก

    หัวข้อการเสวนาและการสัมมนาทางวิชาการ กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ จึงได้พิจารณาหัวข้อในการจัดเสวนาและสัมมนาที่มีความน่าสนใจ มีประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานของหน่วยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยมีหัวข้อการเสวนาและสัมมนาดังนี้ 1. การนำมาตรฐานของClassificationSocietyมาใชใ้นการกำหนดStaffRequirement 2. การใชซ้อฟตแ์วร์Tribonบรหิารงานสร้างเรือ

    Tribon Shipbuilding System • Single Ship Model, multi-user concurrent access for design development and creation of production information

  • ารสารกรมอู่ทหารเรือ ประจำปี 2555ว54

    3. บทเรียนจากการปฏิบัติ งานของกรมแผนการช่างกรมอู่ทหารเรือในอดีต 4.มาตรฐานการออกแบบเรือและฐานข้อมูลการจัดซื้อ 5. การจดัทำงบประมาณและการจดัซือ้/จา้ง 6.การซ่อมทำเครื่องยนต์MTU 7.ระบบงานสีเรือของกองทัพเรือ 8.การปรับปรุงการซ่อมทำเรือแนวใหม่ จ ากหั วข้ อการ เสวนาและสั มมนาดังกล่าวกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ ได้ดำเนินสำเร็จลุล่วงสำเร็จตามความมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้โดยมีรายละเอียดในแต่ละหัวข้อดังนี้

    การนำมาตรฐานของ Classification Society มาใช้ในการกำหนด Staff Requirement เนื่องจากกองทัพเรือมีโครงการจัดหาและการปรับปรุงดัดแปลงเรือจำนวนหลายโครงการ ซึ่งกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือต้ อ ง ส นั บ ส นุ น ก ำ ลั ง พ ล ใ น ก า ร ร่ ว ม เ ป็ นคณะกรรมการต่างๆในภารกิจโครงการโดยเป็นผู้แทนของกรมอู่ทหารเรือ ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา พิจารณา กำหนด ควบคุม และตรวจสอบยุทโธปกรณ์ตลอดจนการทดสอบและติดตั้งให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรมการต่อเรือ โดยมีมาตรฐานต่าง ๆ เป็นข้อกำหนดที่มีหลากหลายให้เลือกใช้ จุดมุ่งหมายของการออกแบบเรือ คือทำให้เรือมีขีดความสามารถในการตอบสนองการปฏิบัติภารกิจ (Serve Operation) มีความปลอดภัยสูง (Safe Ship) และมีประสิทธิภาพในการใช้งาน (Effective Capability) ด้วยมาตรฐานที่เหมาะสมตามประเภทของเรือรวมทั้งไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมาตรฐานต่าง ๆที่กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ ใช้ในการออกแบบเรือมีดังนี้

    1. ม า ต ร ฐ า น ร ะ ดั บ น า น า ช า ติ(InternationalStandard)เช่นISO,IEC 2. มาตรฐานอุตสาหกรรม (IndustrialStandard)เช่นASTM,DIN,IEEE 3. ข้อกำหนดของสมาคมจัดชั้นเรือ(ClassificationSociety)เช่นABS,DNV,LR 4. มาตรฐานทางทหาร (MilitaryStandard)เช่นMIL,DStan การเลือกใช้มาตรฐานในระดับสากลมีแนวทางคล้ายคลึงกัน สำหรับเรือรบแล้วจะต้องพิจารณาความสำคัญในภารกิจทางทหารเป็นอันดับแรก ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เป็นลำดับถัดมาเพื่อให้เป็นไปตามหลักสากลและสอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ ผลการสัมมนากรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือได้จัดทำคู่มือ“การเลือกใช้มาตรฐานในการออกแบบเรือ” ซึ่งครอบคลุม ทั้งด้านตัวเรือกลจักร และไฟฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการนำมาตรฐานต่าง ๆ มาใช้ในการออกแบบให้เหมาะสมกับประเภทของเรือเพื่อให้เรือมีขีดความสามารถตรงกับความตอ้งการทางยุทธการมากที่สุด กรมอู่ทหารเรือ อนุมัติใช้เมื่อวันที่20ธันวาคมพ.ศ.2553

    การใช ้Software Tribon บรหิารงานสร้างเรือ โปรแกรม Tribon เป็นซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับการออกแบบเรือโดยเฉพาะ เป็นที่ยอมรับในระดับสากลมีขีดความสามารถในการออกแบบเรือในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน วิศวกรออกแบบเรือฝ่ายต่าง ๆ สามารถมองเห็นการออกแบบของฝ่ายต่างๆได้ทำให้ไม่เกิดความซ้ำซ้อนสามารถมองภาพในสามมิติ นำข้อมูลไฟล์ไปตัดชิ้นส่วนประกอบตัวเรือด้วยเครื่อง CNC ได้ นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณปริมาณพัสดุในการสร้างเรือ

  • 55 การเสวนา/สัมมนาทางวิชาการ

    ได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีใช้งานในอู่เรือชั้นนำของโลกหลายแห่ง จึงเป็นที่น่ายินดีที่กรมอู่ทหารเรือโดยกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือได้มีโอกาสใช้โปรแกรมที่ทันสมัยนี้ ในการสร้างเรือเศรษฐกิจพอเพียง เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.991และ ต.994 การที่จะใช้โปรแกรมนี้ให้คุ้มค่า เป็นประโยชน์สูงสุดกับทางราชการอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องมีการวางแผนกำหนดแนวทางการใช้โดยเฉพาะการพัฒนากำลั งพลให้มีความรู้ความชำนาญในการใช้งานอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือจึงได้จัดการสัมมนาในหัวข้อ “การใช้ SoftwareTribonบริหารงานสร้างเรือ” เพื่อระดมความคิดจากผูท้ีเ่กีย่วขอ้งในการกำหนดแนวทางการใชง้าน โปรแกรมนี้ต่อไปในอนาคต ผลจากการสัมมนาได้กำหนดแนวทางการใช้โปรแกรม Tribon ให้เป็นซอฟต์แวร์ในการออกแบบเรือของกรมอู่ทหารเรือต่อไป ทั้งนี้จำเป็นจะต้องดำเนินการพัฒนากำลังพลให้มีความรู้ความชำนาญในการใช้งานโปรแกรมอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ พัฒนาการใช้งานโปรแกรมให้เต็มศักยภาพ เช่น การนำข้อมูลไปใช้ในการตัดชิ้นส่วนประกอบเรือด้วยเครื่อง CNC ในส่วนของงานผลิต ต่อไปในอนาคตการขยายแบบสร้างตัวเรือก็จะลดระยะเวลาลงได้อย่างมาก

    บทเรียนจากการปฏิบัติงานในอดีต การเรียนรู้อดีตเพื่อ เป็นบทเรียนในปัจจุบันและคาดการณ์ในอนาคต เป็นแนวคิดที่สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานเชิงรุกได้ดีอยู่เสมอ ที่ผ่านมาในแต่ละปีหน่วยงานต่าง ๆของกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ มีการปฏิบัติ งานที่ ต้องพบกับอุปสรรคข้อขัดข้องบางเหตุการณ์สามารถผ่านพ้น ไปได้ด้วยดี แต่บางเหตุการณ์นั้นกว่าจะผ่านพ้นไปได้ก็ต้องระดมความคิดพลังสมองของกำลังพลร่วมกันแก้ไข

    ปัญหา ดังนั้นกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือจึงได้คัดกรองประเด็นปัญหาที่ เกิดจากการปฏิบัติงานที่สมควรนำมาเป็นบทเรียนในการปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต โดยได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุความผิดพลาด แนวทางการแก้ไขที่ผ่านมาการดำเนินการด้วยหลักวิชาการที่ควรใช้และหากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอีก จะมีแนวทางการแก้ไขปญัหาอยา่งไรซึง่หนว่ยตา่งๆไดน้ำเสนอบทเรยีน ที่สำคัญได้แก ่ 1. การประมาณการราคาเรือ (กรณีศึกษาการประมาณราคาค่าจัดส่งพัสดุและแบบรายละเอียดสำหรับสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง) 2. การระบุคุณลักษณะพัสดุเพื่อการจัดซื้อ 3. การจดัซือ้ชดุบำบดัของเสยี ประจำปีงบประมาณ2553 4. บทเรียนในการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของพัสดุ 5. การจัดหาสายไฟบกสนับสนุนให้กับเรือในกองทัพเรือ 6.ธรรมะกับกรณีศึกษา ผลการสัมมนาในแต่ละหัวข้อมีประเด็นที่น่าสนใจสามารถนำไปใช้เป็นบทเรียนในการทำงานต่อไปในอนาคตได้ อีกทั้งได้นำหัวข้อธรรมะมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาบทเรียนต่างๆดังนี้

  • ารสารกรมอู่ทหารเรือ ประจำปี 2555ว56

    1. ให้นำบทเรียนต่าง ๆ จากหัวข้อการสัมมนามาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแกไ้ขและใชใ้นการปฏบิตังิานทัง้นีใ้หย้ดึมาตรฐาน กฎ ระเบียบ และประโยชน์ต่อทางราชการเป็นสำคัญ 2. ให้นำหลักธรรมะมาประยุกต์ใช้กับการปฏบิตังิานของกรมแผนการชา่งกรมอูท่หารเรอื 3. ให้ร่วมกันปรึกษาหารือ หาหนทางในการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นและยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานการออกแบบเรือ กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการออกแบบเรือ ทั้งด้านตัวเรือกลจักรและไฟฟ้าการออกแบบเรือให้เรือมีความปลอดภัยเหมาะสมในการใช้งานและมีขีดสมรรถนะตามที่ต้องการ แตกต่างกันไปตามประเภท ภารกิจของเรือภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆทั้งงบประมาณทรัพยากรหรือเทคโนโลยีจำเป็นต้องมีมาตรฐานในการออกแบบเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเรือที่ออกแบบนั้นมีคุณสมบัติตามที่กำหนดผู้ที่ เกี่ยวข้องในขั้นตอนการสร้างเรือปฏิบัติได้ถูกต้องตามที่ออกแบบไปในแนวทางเดียวกันในหัวข้อด้านมาตรฐานของกองออกแบบกลจักร ฯมาตรฐานของกองออกแบบต่อเรือ ฯ โดยวัตถุประสงค์ ของการสั มมนา เพื่ อ ให้ ฝ่ า ยออกแบบต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานการออกแบบที่ใช้งานและได้ข้อคิดเห็นเพื่อปรับปรุงการกำหนดมาตรฐานในการออกแบบเรือร่วมกัน ผลจากการสัมมนามีแนวทางการใช้มาตรฐานการออกแบบเรือดังนี้ 1. มาตรฐานกองออกแบบกลจักร ฯให้ใช้ตามที่เจ้าของเรือต้องการจะใช้ข้อกำหนดของสมาคมจัดชั้นเรือ (Classification Society)เช่นABS,DNV,LR

    2. มาตรฐานกองออกแบบตอ่เรอื ฯ จะนำมาตรฐานที่มีใช้ตามในข้อกำหนด 2.1 มาตรฐานระดับนานาชาติ(InternationalStandard)เช่นISO,IEC 2.2 ม า ต ร ฐ า นอุ ต ส า หก ร ร ม(IndustrialStandard)เช่นASTM,DIN,IEEE 2.3 ข้อกำหนดของสมาคมจัดชั้นเรือ (Classification Society) เช่น ABS, DNV,LR 2.4 ม า ต ร ฐ า น ท า ง ท ห า ร(MilitaryStandard)เช่นMIL,DStan การจัดทำงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง การปฏิบัติงานของกรมแผนการช่างกรมอู่ทหารเรือ มีความจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หากมีความผิดพลาดในการปฏิบัติย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าในกฎระเบียบเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องรู้ซึ้งถึงกลวิธีของผู้ที่อาศัยช่องว่างกฎหมายในการหาผลประโยชน์จากการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางราชการ วัตถุประสงค์ของการสัมมนาเพื่อให้กำลังพลของกรมแผนการช่างกรมอู่ทหารเรือมีความรู้ในการจัดทำงบประมาณและการจัดซื้ อจัดจ้ าง รวมทั้ งข้อควรระวั งข้อสังเกตต่าง ๆ จากผู้ เชี่ยวชาญ ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่าง ๆ ร่วมกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ ทั้งโดยส่วนตัวและทางราชการต่อไป ผลจากการสัมมนาได้กรอบแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างและความรู้ต่างๆดังนี้ 1. การจัดซื้ อจัดจ้ างให้ปฏิบัติตามนโยบายกรมแผนการช่างกรมอู่ทหารเรือได้แก่ 1.1ถูกต้องตามกฎระเบียบ

  • 57 การเสวนา/สัมมนาทางวิชาการ

    1.2ถูกหลักปฏิบัติทฤษฎี 1.3ต้องสำเร็จและสัมฤทธิ์ผล 1.4กองทัพเรือได้ประโยชน์ 1.5 ตรงตามความตอ้งการของผูใ้ช้ 2. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านต่างๆดังนี้ 2.1การจัดทำงบประมาณดังนี้ 2.1.1 หลักการและวิธีการงบประมาณโดยทั่วไป 2.1.2 กระบวนการงบประมาณแผ่นดิน 2.1.3 การบรหิารงบประมาณ 2.2การจัดซื้อ/จ้างดังนี้ 2.2.1 ระเบยีบการจดัซือ้/จา้ง 2.2.2 หลกัการจดัหาพสัดุ 2.2.3 ขั้นตอนการจัดหาพัสดุ

    การซ่อมทำเครื่องยนต์ MTU เรือต่าง ๆ ของกองทัพเรือใช้เครื่องยนต์ตราอักษร MTU อยู่ เป็นจำนวนมากหลายหน่วยงาน ในแต่ละปีต้องมีการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องทั้งการซ่อมฉุกเฉินการซ่อมทำขั้นW1-6ซึ่งกรมอู่ทหารเรือเป็นหลักในการดำเนินการจึงจำเป็นต้องจัดหาอะไหล่และการบริการทางเทคนิคจากบริษัทที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ MTU AsiaPte.Ltd.บริษัท เพาเวอร์เทค2004จำกัดและบริษัท ยูพีเอส เอ็นจิน เซอร์วิส เซ็นเตอร์ จำกัดการดำ เนิ นการดั งกล่ า วที่ ผ่ านมามีปัญหาข้อขัดข้องเกิดขึ้นทั้ งระเบียบขั้นตอนปฏิบัติและความไม่เข้าใจกัน ทั้งกรมอู่ทหารเรือและผู้ประกอบการจึงจัดการสัมมนาในการแก้ปัญหาต่าง ๆ และสร้างความร่วมมือระหว่างกันโดยมีผู้แทนหน่วยต่างๆเข้าร่วมได้แก่กรมอู่ทหารเรือกองเรือยุทธการ และผู้แทนผู้ประกอบการ ณโรงแรม ชาเตรียม สวีท กรุงเทพมหานคร วันที่28 เมษายน พ.ศ.2554 โดยมีวัตถุประสงค์

    เพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างความร่วมมือระหว่างกรมอู่ทหารเรือกับผู้ประกอบการ ผลจากการสัมมนากรมอู่ทหารเรือและMTUAsiaPte.Ltd.บริษัท เพาเวอร์เทค2004จำกัด และ บริษัท ยูพีเอส เอ็นจิน เซอร์วิสเซ็นเตอร์ จำกัด ได้ลงนามในเอกสารข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกันโดยมีสาระสำคัญได้แก่ 1. ให้มีความร่วมมือกับกรมอู่ทหารเรืออย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านองค์บุคคล (การอบรมสัมมนา, การฝึกอบรมหลักสูตรการซ่อมบำรุงต่าง ๆ) ด้านองค์วัตถุ (การให้การสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือ อะไหล่ ตลอดจนการทดสอบต่างๆ) 2. จัดทำแผนการซ่อมทำและทำการสั่งอะไหล่ล่วงหน้า 4 เดือน (บางชิ้นส่วนอาจจะ8 เดือนแล้วแต่กรณี) หากตามสัญญากำหนดแล้วเสร็จ 180 วัน บริษัท ฯ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนภายใน150วัน 3. ผู้ประกอบการจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ งทั้ ง หมดร่ ว มประชุ มห า รื อ กั บกรมอู่ทหารเรือ และได้ทำบันทึกความเข้าใจในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้การจัดซื้ออะไหล่ของกรมอู่ทหารเรือ สามารถส่งมอบได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว 4. บริษัทเพาเวอร์เทค2004จำกัดจะดำเนินการจัดส่งเอกสารทางเทคนิคและเอกสารรายงานวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์MTUให้เป็นวงรอบ 5. บริษัท เพาเวอร์เทค 2004 จำกัดจะจัดสัมมนาโดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงจากหนว่ยตา่งๆเชน่กรมแผนการชา่งกรมอูท่หารเรอื หน่วยซ่อมของกรมอู่ทหารเรือ และหน่วยผู้ใช้เรือ(กองเรือยุทธการ) เข้าร่วมสัมมนาเพื่อรับทราบปัญหา อุปสรรค และข้อขัดข้องต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องยนต์MTU

  • ารสารกรมอู่ทหารเรือ ประจำปี 2555ว58

    ระบบงานสีเรือของกองทัพเรือ ในปัจจุบัน เรือที่ เข้ ารับการซ่อมทำมีสภาพตัวเรือผุกร่อนโดยเฉพาะตัวเรือใต้แนวน้ำซึ่ ง เป็นส่ วนที่ มี ความสำคัญที่ เ กี่ ย วข้ องกับความปลอดภัยและสมรรถนะของเรือ ในปัจจุบันสีทาเรือได้มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพอายุการใช้งานมากยิ่งขึ้น กรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือจึงได้จัดการสัมมนาเชงิวชิาการในหวัขอ้“ระบบงานสเีรอืของกองทพัเรอื”ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ห้องประชุมกรมอู่ทหารเรือ วัตถุประสงค์ของการสัมมนาเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสีทาเรือกับกำลังพลของกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ และระดมความคดิ ขอ้เสนอแนะในการปรบัปรงุวธิกีาร เทคโนโลยีการทาสีเรือของกองทัพเรือให้ดียิ่งขึ้น

    ผลจากการสัมมนาได้แนวทางการทาสีเรือของกองทัพเรือดังนี้ 1. ระบบสีกันเพรียงเป็นตราอักษรเดียวกันทั้งระบบและเหมาะสมต่อการใช้งานตามประเภทเรือ 2. ระบบสีตัว เรือภายนอกทั้ งหมดต้องผ่านมาตรฐานIMOหรือMil 3. สีตัวเรือภายในท้องเรือต้องมีความเหมาะสมต่อการใช้งานในพื้นที่บริเวณน้ำท่วมขัง 4. กำหนดวงรอบการลอกสีและทำสีเรือใหม่ทุก10ปีควรให้ลอกสีถึงเนื้อเหล็ก 5. คุณสมบัติของสีสำหรับทาเรือได้รับมาตรฐาน IMO หรือมาตรฐานทางการทหารของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา หรือกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ 6. คุณสมบัติของสีดาดฟ้าบินต้องเป็นไปตามมาตรฐานMIL–PRF-24667LSA

    การบริหารงานซ่อมทำเรือของกรมอู่ทหารเรือ พ.ศ.2554 กรมอู่ทหารเรือได้แต่งตั้งคณะทำงานปรบัปรงุแนวทางการซอ่มทำเรอืของกรมอูท่หารเรอืเพื่ อ ให้ ก ารซ่ อมทำ เรื อของกองทัพ เรื อ มีประสิทธิภาพเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “การบริหารงานซ่อมทำเรือของกรมอู่ทหารเรือ พ.ศ.2554” โดยกำหนดการจัดประชุม ฯ จำนวน 2 วัน ระหว่าง

  • 59 การเสวนา/สัมมนาทางวิชาการ

    วันที่ 6 – 7 กันยายน พ.ศ.2554 ณ อาคารนาวีภิรมย์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ได้แก่ กรมอู่ทหารเรือกองเรือยทุธการ และหนว่ยใชก้ำลงัในพืน้ทีต่า่ง ๆจำนวน77นาย วัตถุประสงค์ของการสัมมนาเพื่อชี้แจงแนวทางการซ่อมบำรุงเรือของกรมอู่ทหารเรือที่คณะทำงาน ฯ ได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกรมอู่ทหารเรือ ตลอดจนผู้ บั งคั บบัญชาระดับสู งของหน่ วยผู้ ใช้ เรื อรบัทราบและขอรบัทราบความคดิเหน็ขอ้เสนอแนะ อื่นๆ เพื่อที่คณะทำงานฯจะได้นำมาสรุปเสนอกรมอู่ทหารเรือเพื่อขออนุมัติใช้งานต่อไป ผลจากการประชุมสัมมนาผู้ เข้าร่วมสัมมนาได้ร่วมแสดงข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะซึ่งเป็นประโยชน์หลายประการและได้ข้อสรุปที่สำคัญดังนี้ 1. ทบทวนคู่มือการบริหารซ่อมทำเรือของกรมอู่ทหารเรือ พ.ศ.2550 โดยการปรับปรุงวงรอบการซ่อมบำรุงเรือใหม่ตามขนาดและสภาพของเรือที่ใช้TimeAssessmentเป็นตัวกำหนด 2.ทบทวนการแบ่งมอบเรือให้กับหน่วยซ่อมเจ้าภาพ โดยการนำข้อมูลที่ตั้งปกติของเรือหรือพื้นที่ปฏิบัติการ ข้อมูล ขีดความสามารถWorkLoadของหน่วยซ่อมบำรุงมาพิจารณา 3. จั ดหาสี ท า เรื อที่ มี คุณภาพและการติดตั้งสังกะสีกันกร่อนที่ได้มาตรฐาน 4.หน่วยซ่อมบำรุงสำรวจและจัดทำรายละเอียดการซ่อมทำ/รายการอะไหล่ให้ชัดเจนโดยกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ ดำเนินการกำหนดรูปแบบและแบบฟอร์มในการสำรวจเรือให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและนำระบบ UnitReplacementมาใช้ในการจัดหาอะไหล่

    ผลจากการจัดเสวนาและสัมมนาของกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ ทำให้เกิดแนวความคิดการปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการต่อไป และจะเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้กรมอู่ทหารเรือเป็นหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถตอบสนองภารกิจหลักในการสรา้งและซอ่มเรอืตลอดจนสามารถสนบัสนนุ องค์ความรู้และองค์บุคคลให้กับหน่วยงานอื่น ๆทั้งในกองทัพเรือและหน่วยงานภายนอก ซึ่งทำให้กรมอู่ทหารเรือมีศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ ในฐานะหน่วยงานหลักด้านยุทธบริการของกองทัพเรือที่มีประวัติศาสตร์และผลงานยาวนาน ต่อเนื่องจนถึง122ป ีแห่งนี้

    วารสารกรมอู่ ปี 55 55วารสารกรมอู่ ปี 55 56วารสารกรมอู่ ปี 55 57วารสารกรมอู่ ปี 55 58วารสารกรมอู่ ปี 55 59วารสารกรมอู่ ปี 55 60วารสารกรมอู่ ปี 55 61