แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท...

18
แบบบันทึกองค์ความรู(ปี 2558) ชื่อความรูการจัดทา SWOT เพื่อการวางแผน ชื่อ ชื่อสกุล เจ้าของความรู้ นายปิยะ ลิ้มจินดาศิริ ตาแหน่ง นักวิชาการศึกษาชานาญการพิเศษ สังกัด กลุ่มยุทธศาสตร์และแผน สานักงานศึกษาธิการภาค 4 พัฒนา/แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การวางแผนพัฒนาการศึกษา / แผนปฏิบัติราชการ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- การพัฒนาด้านต่างๆ ให้ประสบผลสาเร็จ จาเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ที่ดี แผนกลยุทธ์ที่จัดทาขึ้น ต้องมีเส้นทางการเดินทาง (Mapping) ที่ชัดเจน เพราะองค์กรใช้กลยุทธ์ในการทางานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ของตน กลยุทธ์ของแต่ละองค์กรจะถูกกาหนดตามธรรมชาติและลักษณะขององค์กรนั้นๆ การที่จะกาหนด กลยุทธ์ได้นั้นต้องรู้สถานภาพหรือสภาวะขององค์กรเสียก่อน แผนกลยุทธ์ที่ดีจะทาให้องค์กรบรรลุตาม วัตถุประสงค์หรือได้รับชัยชนะไปครึ่งหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ยังต้องมีกระบวนการกาหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม สาหรับตนเอง วิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์สภาวะขององค์กรและกระบวนการกาหนดกลยุทธ์มีหลายวิธี ด้วยกัน หนึ่งในวิธีการเหล่านี้ คือกระบวนการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งเป็นวิธีการที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันการวางแผนกลยุทธ์หรือ Strategic Planning เป็นสิ่งที่ได้มีการนามาใช้กันอย่าง แพร่หลายมาก ทั้งในกิจการด้านการทหาร ด้านการศึกสงคราม ด้านการเมืองระหว่างประเทศ และโดย เฉพาะ ในการบริหารงานภาคธุรกิจเอกชนนั้นถือได้ว่าประสบความสาเร็จสูงมาก ก้าวหน้าและเป็นที่กล่าวขวัญถึงกัน มาก สาหรับวงงาน/วงการราชการก็จาเป็นต้องมีการวางแผนจัดทาแผนกลยุทธ์เช่นเดียวกับวงการธุรกิจเอกชน ทั้งนี้ นอกจากส่วนราชการจะต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี พ.. 2546 มาตรา 9 มาตรา 13 และมาตรา 66 แล้ว ยังจะต้องคานึงถึงความอยู่รอด (Survive) และความก้าวหน้า (Growth) ของส่วนราชการในอนาคตอีกด้วย การวางแผนกลยุทธ์เป็นการวางแผนที่มีการกาหนดวิสัยทัศน์ มีการกาหนดเป้าหมายระยะยาว ที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ต้องการระบบการทางานที่มีความสามารถในการปรับตัว สูงสาหรับการทางานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันและสามารถเผชิญกับ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และในการวางแผนกลยุทธ์นั้นสิ่งที่สาคัญและจาเป็นสาหรับองค์กร คือ การกาหนดกลยุทธ์ สาหรับใช้ในการทางานเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของงาน โดยกลยุทธ์ของแต่ละ องค์กรจะถูกกาหนดตามธรรมชาติและลักษณะขององค์กรนั้น ๆ ทั้งนี้ องค์กรจะสามารถกาหนดกลยุทธ์ได้นั้น ต้องรู้สถานภาพหรือภาวะขององค์กรของตนเสียก่อน และนอกจากนั้นยังต้องมีกระบวนการกาหนดกลยุทธ์ทีเหมาะสมสาหรับตนเองด้วย ซึ่งวิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์สภาวะขององค์กรและกระบวนการกาหนด กลยุทธ์มีหลายวิธีด้วยกัน และหนึ่งในวิธีการเหล่านี้คือ การวิเคราะห์ SWOT หรือ SWOT Analysis ซึ่งเป็น วิธีการที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะเครื่องมือในการประเมินหรือวิเคราะห์องค์กรเพื่อการวางแผน และการกาหนดกลยุทธ์ขององค์กร

Upload: others

Post on 27-Jan-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)

ชื่อความรู้ การจัดท า SWOT เพ่ือการวางแผน ชื่อ – ชื่อสกุล เจ้าของความรู้ นายปิยะ ลิ้มจินดาศิริ ต าแหน่ง นักวิชาการศึกษาช านาญการพิเศษ สังกัด กลุ่มยุทธศาสตร์และแผน ส านักงานศึกษาธิการภาค 4 พัฒนา/แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การวางแผนพัฒนาการศึกษา / แผนปฏิบัติราชการ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การพัฒนาด้านต่างๆ ให้ประสบผลส าเร็จ จ าเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ที่ดี แผนกลยุทธ์ที่จัดท าขึ้นต้องมีเส้นทางการเดินทาง (Mapping) ที่ชัดเจน เพราะองค์กรใช้กลยุทธ์ในการท างานเพ่ือบรรลุวัตถุประสงค์ของตน กลยุทธ์ของแต่ละองค์กรจะถูกก าหนดตามธรรมชาติและลักษณะขององค์กรนั้นๆ การที่จะก าหนด กลยุทธ์ได้นั้นต้องรู้สถานภาพหรือสภาวะขององค์กรเสียก่อน แผนกลยุทธ์ที่ดีจะท าให้องค์กรบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือได้รับชัยชนะไปครึ่งหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ยังต้องมีกระบวนการก าหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมส าหรับตนเอง วิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์สภาวะขององค์กรและกระบวนการก าหนดกลยุทธ์มีหลายวิธีด้วยกัน หนึ่งในวิธีการเหล่านี้ คือกระบวนการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งเป็นวิธีการที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย

ปัจจุบันการวางแผนกลยุทธ์หรือ Strategic Planning เป็นสิ่งที่ได้มีการนามาใช้กันอย่างแพร่หลายมาก ทั้งในกิจการด้านการทหาร ด้านการศึกสงคราม ด้านการเมืองระหว่างประเทศ และโดย เฉพาะในการบริหารงานภาคธุรกิจเอกชนนั้นถือได้ว่าประสบความส าเร็จสูงมาก ก้าวหน้าและเป็นที่กล่าวขวัญถึงกันมาก ส าหรับวงงาน/วงการราชการก็จ าเป็นต้องมีการวางแผนจัดท าแผนกลยุทธ์เช่นเดียวกับวงการธุรกิจเอกชน ทั้งนี้ นอกจากส่วนราชการจะต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิ ธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 9 มาตรา 13 และมาตรา 66 แล้ว ยังจะต้องค านึงถึงความอยู่รอด (Survive) และความก้าวหน้า (Growth) ของส่วนราชการในอนาคตอีกด้วย การวางแผนกลยุทธ์เป็นการวางแผนที่มีการก าหนดวิสัยทัศน์ มีการก าหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ต้องการระบบการท างานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูงส าหรับการท างานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพ่ือให้ทันและสามารถเผชิญกับ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และในการวางแผนกลยุทธ์นั้นสิ่งที่ส าคัญและจ าเป็นส าหรับองค์กร คือ “การก าหนดกลยุทธ์” ส าหรับใช้ในการท างานเพ่ือการบรรลุวัตถุประสงค์ของงาน โดยกลยุทธ์ของแต่ละองค์กรจะถูกก าหนดตามธรรมชาติและลักษณะขององค์กรนั้น ๆ ทั้งนี้ องค์กรจะสามารถก าหนดกลยุทธ์ได้นั้นต้องรู้สถานภาพหรือภาวะขององค์กรของตนเสียก่อน และนอกจากนั้นยังต้องมีกระบวนการก าหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมส าหรับตนเองด้วย ซึ่งวิธีการและเทคนิคในการวิเคราะห์สภาวะขององค์กรและกระบวนการก าหนดกลยุทธ์มีหลายวิธีด้วยกัน และหนึ่งในวิธีการเหล่านี้คือ การวิเคราะห์ SWOT หรือ SWOT Analysis ซึ่งเป็นวิธีการที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะเครื่องมือในการประเมินหรือวิเคราะห์องค์กรเพ่ือการวางแผนและการก าหนดกลยุทธ์ขององค์กร

Page 2: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

SWOT Analysis ความหมายของ SWOT Analysis

SWOT Analysis เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ ซึ่งช่วยให้ผู้วางแผน ก าหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบต่อการท างานขององค์กร SWOT มาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ดังนี้

S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่ ง เป็นผลมาจากปัจจัยภายใน

ความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นบวก องค์กรน ามาใช้เป็นประโยชน์ในการท างานเพ่ือบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การด าเนินงานภายในที่องค์กรท าได้ดี เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล องค์กรจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการก าหนดกลยุทธ์การตลาด

W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน

สถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นลบและด้อยความสามารถ ซึ่งองค์กรไม่สามารถน ามาใช้เป็นประโยชน์ใน การท างานเพ่ือบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การด าเนินงานภายในที่องค์กรท าได้ไม่ดีเป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น

O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก ปัจจัยและสถานการณ์

ภายนอกที่เอ้ืออ านวยให้การท างานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการด าเนินการขององค์กร เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอ้ือประโยชน์หรือส่งเสริมการด าเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาส อยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น

T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก ปัจจัยและสถานการณ์

ภายนอกที่ขัดขวางการท างานขององค์กรไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัญหาต่อองค์กร บางครั้งการจ าแนกโอกาสและอุปสรรคเป็นสิ่งที่ท าได้ยาก เพราะทั้งสองสิ่งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจท าให้สถานการณ์ที่เคยเป็นโอกาสกลับกลายเป็นอุปสรรคได้ และในทางกลับกัน อุปสรรคอาจกลับกลายเป็นโอกาสได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้องค์กรมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์แวดล้อม เป็นข้อจ ากัดที่ เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจ าเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ดังตารางที่ 1

Page 3: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

SWOT Analysis

สภาพแวดล้อม ภายใน

Strength (S) จุดแข็ง

จุดเด่น ข้อได้เปรียบ

Weakness (W) จุดอ่อน

ข้อเสียเปรียบ สภาพแวดล้อม

ภายนอก

Opportunity (O) โอกาส สิ่งเก้ือกูล

ที่จะด าเนินกิจกรรม

Threats(T) อุปสรรคที่จะท าให้

ด าเนินกิจกรรมไม่ส าเร็จ

ตารางที่ 1 แสดง SWOT Analysis

ที่มา : http://61.19.86.230/manage/Plan_pic/20120923145921.doc นอกจากการวิเคราะห์ SWOT ทีละด้านแล้ว ยังมีวิธีการ SWOT อีกแบบที่น่าสนใจ บางครั้ง

เราอาจจับคู่ท าการวิเคราะห์แบบนี้ได้ เรียกว่า TOWS Matrix ดังตารางที่ 2

TOWS Matrix คือ เทคนิคการวิเคราะห์เพ่ือก าหนดกลยุทธ์ หลังจากที่มีการประเมินสภาพแวดล้อมโดยการวิเคราะห์ให้เห็นถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค/ภาวะคุกคามแล้ว ก็จะน ามาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบแมทริกซ์โดยใช้ตารางที่เรียกว่า TOWS Matrix เพ่ือก าหนดออกมาเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ประเภทต่าง ๆ

การน าเทคนิคที่เรียกว่า TOWS Matrix มาใช้ในการวิเคราะห์เพ่ือก าหนดกลยุทธ์นั้น จะมีขั้นตอนการด าเนินการที่ส าคัญ 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจ ากัด โดยที่การประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็น การระบุให้เห็นถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจะเป็นการประเมินภายในองค์การ ส่วนการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นโอกาสและข้อจ ากัดจะเป็นการประเมินภายนอกองค์การ กล่าวได้ว่า ประสิทธิผลของการก าหนดกลยุทธ์ที่ใช้เทคนิค TOWS Matrix นี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจ ากัดที่ละเอียดในทุกแง่มุม เพราะถ้าวิเคราะห์ไม่ละเอียดหรือมองไม่ครบทุกแง่มุม จะส่งผลท าให้การก าหนดกลยุทธ์ที่ออกมาจะขาดความแหลมคม 2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจุดแข็งกับโอกาส จุดแข็งกับข้อจ ากัด จุดอ่อนกับโอกาส และจุดอ่อนกับข้อจ ากัด ซึ่งผลของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในข้อมูลแต่ละคู่ดังกล่าว ท าให้เกิด กลยุทธ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ 1) กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) ได้มาจากการน าข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพ่ือที่จะน ามาก าหนดเป็นกลยุทธ์ในเชิงรุก 2) กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy) ได้มาจากการน าข้อมูลการประเมินสภาพ แวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและข้อจ ากัดมาพิจารณาร่วมกัน เพ่ือที่จะน ามาก าหนดเป็นกลยุทธ์ในเชิ งป้องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก

Page 4: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

องค์กรมีจุดแข็ง ขณะเดียวกันองค์กรก็ประสบกับสภาพแวดล้อมที่เป็นข้อจ ากัดจากภายนอกที่องค์กรควบคุมไม่ได ้แต่องค์กรสามารถใช้จุดแข็งท่ีมีอยู่ในการป้องกันข้อจ ากัดท่ีมาจากภายนอกได้ 3) กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy) ได้มาจากการน าข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อม ที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะน ามาก าหนดเป็นกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข ทั้งนี้เนื่องจากองค์กรมีโอกาสที่จะน าแนวคิดหรือวิธีใหม่ ๆ มาใช้ในการแก้ไขจุดอ่อนที่องค์กรมีอยู่ได้ 4) กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy) ได้มาจากการน าข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจ ากัดมาพิจารณาร่วมกัน เพ่ือที่จะน ามาก าหนดเป็นกลยุทธ์ในเชิงรับ ทั้งนี้เนื่องจากองค์การเผชิญกับท้ังจุดอ่อนและข้อจ ากัดภายนอกที่องค์การไม่สามารถควบคุมได้ ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 แสดง TOWS Matrix

ประโยชน์ของ SWOT Analysis 1. น า SWOT ไปจัดท าแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาองค์กร 2. การท า SWOT จะช่วยให้ไหวตัวทันสถานการณ์ และมีการเตรียมความพร้อมกับการปรับเปลี่ยนของสภาพแวดล้อม บางครั้งเมื่อโอกาสมาถึง องค์กรจะได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้ทันและเต็มที่ หรือ ถ้าเรารู้ว่าแนวโน้มจะมีปัญหาอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นกับองค์กร เราจะได้มีการเตรียมตัวรับมือ ผ่อนสถานการณ์ที่เลวร้ายให้บรรเทาลงได้ ที่มา : http://61.19.86.230/manage/Plan_pic/20120923145921.doc

Page 5: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

ข้อควรพิจารณาในการวิเคราะห์ SWOT ในการวิเคราะห์ SWOT มีปัจจัยที่ผู้วิเคราะห์ควรพิจารณาและควรตระหนัก 3 ประการคือ 1) มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ผู้วิเคราะห์จะต้องรู้และยอมรับจุดอ่อนของหน่วยงาน/องค์กร/พ้ืนที่ รู้อุปสรรคของหน่วยงาน/องค์กร/พ้ืนที่ จะต้องมีใจเป็นกลางในการวิเคราะห์ปัญหาของหน่วยงาน/องค์กร 2) แยกแยะปัญหาให้ได้และแก้ปัญหานั้นให้ตรงจุด ผู้วิเคราะห์จะต้องแยกแยะให้ได้ว่าอะไรเป็นปัญหาและอะไรเป็นสาเหตุของปัญหา เพ่ือหาทางแก้ไขให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) มองปัญหาให้กว้างและครบทุกด้าน ผู้วิเคราะห์ อย่ามองปัญหาเพียงข้อเดียวหรือด้านใดด้านหนึ่งต้องมองให้กว้างและครอบคลุมทุกด้าน การจัดท า SWOT

เพ่ือให้เห็นภาพของการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก (SWOT Analysis) จึงใคร่ขอยกตัวอย่างจากการจัดท าทิศทางการพัฒนาการศึกษาในพ้ืนที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 ซึ่งส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ขอความร่วมมือส านักงานศึกษาธิการภาคทุกภาคจัดท าทิศทาง การพัฒนาการศึกษาระดับภาคการศึกษา ปี พ.ศ. 2560 – 2569 เพ่ือน าไปจัดท าเป็นแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2569 ต่อไป ดังต่อไปนี้ ก่อนที่จะก าหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาในพ้ืนที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1จะต้องท าการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมของพ้ืนที่ (SWOT Analysis) ทั้งปัจจัยภายในซึ่งประกอบด้วยจุดแข็งและจุดอ่อน และปัจจัยภายนอกซึ่งประกอบด้วยโอกาสและอุปสรรคก่อน

ตัวอย่าง การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมด้านการศึกษาของกลุ่มจังหวัด (SWOT Analysis)

เพ่ือให้การก าหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาในพ้ืนที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 มีความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งบริบท สถานการณ์ และความต้องการของพ้ืนที่ จึงได้ท าการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมด้านการศึกษาของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 (SWOT Analysis) ดังต่อไปนี้

การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน (Internal Factors Analysis : IFA)

จุดแข็ง (Strengths : S) 1. ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาการจัดการศึกษา 2. เป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาและสถาบันทางวิชาการจ านวนมาก ทุกระดับการศึกษา และหลากหลายสาขา และมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

3. มีสถานศึกษากระจายตัวอย่างทั่วถึง 4. มีสถานศึกษาชั้นน าเพิ่มข้ึนอย่างต่อเนื่อง 5. มีการเปิดสอนสาขาวิชาหลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน

6. มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา

Page 6: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

7. มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดการศึกษา 8. ระบบโครงข่ายเทคโนโลยีกระจายอย่างทั่วถึง

9. มีนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า โลหะ ก่อสร้าง เป็นต้น

10. มีสถานประกอบการจ านวนมากรองรับผู้ที่จบการศึกษา 11. มีแรงงานฝีมือรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะด้านอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อาหาร และเครื่องดื่ม 12. มีแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ส าคัญ และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 13. วิถีชีวิตชุมชนเอ้ือต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงนิเวศ 14. พ้ืนที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีระบบชลประทานที่ดี มีศักยภาพรองรับการผลิตด้านอุตสาหกรรม การเกษตร และเกษตรธรรมชาติ จุดอ่อน (Weaknesses : W)

1. ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่ขาดภาวะผู้น าทางวิชาการ 2. สถานศึกษาส่วนใหญ่มีครูผู้สอนไม่ตรงวิชาเอก 3. ขาดการประสานงานอย่างเป็นระบบระหว่างหน่วยงานทางการศึกษา 4. ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน 5. คุณภาพผู้ที่จบการศึกษายังไม่เป็นตามความคาดหวังของสังคม 6. การเรียนรู้ด้านอาชีพไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน 7. ความต้องการของผู้เรียนด้านอาชีวศึกษามีแนวโน้มลดลง 8. มีนักเรียนบางส่วนอ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง 9. ผู้เรียนขาดทักษะพ้ืนฐานในการด ารงชีวิต 10. ความรู้ความสามารถของผู้เรียนต่ ากว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น

11. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง 12. ข้อมูลสารสนเทศเพ่ือสนับสนุนการบริหารจัดการศึกษาไม่ทันสมัย 13. ผู้ปกครองมีค่านิยมในการให้บุตรหลานเรียนต่อสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ 14. ปัญหาสังคมมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่น การแพร่ระบาดของยาเสพติด การตั้งครรภ์ก่อนวัย อันควร การทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา เป็นต้น

การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (External Factors Analysis : EFA)

โอกาส (Opportunities : O) 1. ระเบียบ กฎหมาย เอ้ือต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา 2. นโยบายรัฐบาลให้ความส าคัญกับการศึกษา และการเรียนต่อสายอาชีพ 3. นโยบายรัฐบาลให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 4. กระแสการให้ความส าคัญต่อการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Page 7: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

5. การกระจายอ านาจทางการบริหารจัดการศึกษา 6. นโยบายรัฐบาลให้ความส าคัญกับ 5 อุตสาหกรรมใหม่ (อุตสาหกรรมพลังงานสะอาด อุตสาหกรรมเพ่ือสุขภาพ อุตสาหกรรมไบโอพลาสติก อุตสาหกรรมยานอากาศ และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์) 7. กระแสการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 8. ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นช่องทางการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ของผู้เรียน 9. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เป็นโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ 10. การเพ่ิมงบประมาณเพ่ือการศึกษา 11. การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ท าให้เกิดการตื่นตัวในการพัฒนาการจัดการศึกษา 12. การเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 13. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

อุปสรรค (Threats : T) 1. นโยบายด้านการศึกษาเปลี่ยนแปลงบ่อย 2. การวัดผลและประเมินผลไม่สอดคล้องกับหลักสูตรท้องถิ่น 3. การกระจายอ านาจทางการศึกษายังไม่เป็นรูปธรรม 4. หลักเกณฑ์ในการออกใบประกอบวิชาชีพครูยังไม่ได้มาตรฐาน 5. การผลิตครูยังไม่มีคุณภาพตามความคาดหวังของสังคม 6. สภาพสังคมปัจจุบันไม่เอ้ือต่อการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ

7. สภาวการณ์ทางการแข่งขันและการลงทุนทางการศึกษาที่สูงขึ้น 8. การขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีกระบวนการ ขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน 9. ผลการประเมินส่งผลให้สังคมเกิดทัศนคติทางลบต่อการจัดการศึกษา 10. ขาดกระบวนการติดตามและประเมินผลการด าเนินงานตามแผนที่เป็นระบบและจริงจัง 11. การอพยพเคลื่อนย้ายของแรงงานต่างถิ่น และแรงงานต่างด้าว และประชากรแฝง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพการจัดการศึกษา การก าหนดยุทธศาสตร์

ตัวอย่าง การก าหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1

จากผลการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมด้านการศึกษาของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 (SWOT Analysis) และการสังเคราะห์นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง จึงได้ก าหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 พ.ศ. 2560 - 2569 ดังต่อไปนี้

วิสัยทัศน์ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างทั่วถึงตลอดชีวิต ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มีความสมานฉันท์ปรองดอง มีระเบียบวินัย มีศักยภาพในการแข่งขัน ภาคภูมิใจในมรดกของสังคมและความเป็นไทย

Page 8: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

พันธกิจ การพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและสนองตอบความต้องการของพ้ืนที ่

ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การจัดการศึกษาตามความต้องการอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง ตลอดชีวิต

2. การพัฒนาการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ 3. การเพ่ิมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา 4. การท านุบ ารุงศิลปะ วัฒนธรรม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และดูแลรักษา

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 6. การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง 7. การสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข

8. การสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ เป้าประสงค์ 1. ประชากรได้รับโอกาสทางการศึกษาตามความต้องการอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง ตลอดชีวิต

2. เพ่ิมปริมาณผู้เรียนสายอาชีพให้เพียงพอต่อความต้องการและให้บริการด้านวิชาชีพแก่ ประชาชน

3. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา 4. ผู้เรียนตระหนักถึงความส าคัญใน การอนุรักษ์ ฟ้ืนฟูศิลปะ วัฒนธรรม เอกลักษณ์

ภูมิปัญญาท้องถิ่น และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

6. สถานศึกษาจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพสอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษา 7. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุขตามอัตภาพ 8. เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Page 9: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การจัดการศึกษาตามความต้องการอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง ตลอดชีวิต

เป้าประสงค์ ตัวช้ีวัด กลยุทธ์ ประชากรได้รับโอกาสทางการศึกษาตามความต้องการอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง ตลอดชีวิต

- จ านวนปีการศึกษาเฉลี่ยของ ประชากร เพ่ิมขึ้น - อัตราการเข้าเรียนของประชากร วัยเรียนเพิ่มขึ้น - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของประชากร ที่ได้รับบริการทางการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพ่ิมข้ึน - ร้อยละของเด็กพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษที่ได้รับ การศึกษาตามศักยภาพ เพ่ิมข้ึน - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของประชากร ที่อ่านออกเขียนได้ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของผู้สูงวัยทีไ่ด้รับ การศึกษานอกระบบและตาม อัธยาศัย - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของผู้สูงวัยในกลุ่ม ที่มีศักยภาพทีไ่ด้รับการพัฒนาเพื่อ ส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญา และองค์ความรู้ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของผู้สูงวัยที่ได้รับ การส่งเสริมให้มีโอกาสถ่ายทอด ภูมิปัญญาสู่คนรุ่นหลัง - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของประชากรวัย แรงงานที่ได้รับการส่งเสริมให้มี ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ

- ส่งเสริมการจัดการศึกษา ทุกรูปแบบ และตาม ความต้องการของผู้เรียน - ส่งเสริมการเข้าเรียนของ ประชากร วัยเรียน - ส่งเสริมการจัดการศึกษาแก่เด็ก พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มี ความสามารถพิเศษ ตาม ศักยภาพ - ส่งเสริมการจัดการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยแก่ผู้สูงอายุ - ส่งเสริมการพัฒนาผู้สูงวัย ในกลุ่มท่ีมีศักยภาพเพ่ือให้ สามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาและ องคค์วามรู้ได้ - ส่งเสริมผู้สูงวัยให้มีโอกาส ถ่ายทอดภูมิปัญญาและ องค์ความรู้ - ส่งเสริมให้ประชากรวัยแรงงาน มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยี ใหม่ๆ - ส่งเสริมให้ประชากรวัยแรงงาน มีความรู้ในการรักษาศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยว ของชุมชน

Page 10: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. (ต่อ) เป้าประสงค์ ตัวช้ีวัด กลยุทธ์

- ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของประชากรวัย แรงงานที่ได้รับการส่งเสริมให้มี ความรู้ ในการรักษาศิลปะ วัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยว ของชุมชน - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของประชากรวัย แรงงานมีการศึกษาระดับ มัธยมศึกษา ตอนปลายหรือเทียบเท่าข้ึนไป - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของประชากรวัย แรงงานที่ได้รับการพัฒนาทักษะ ฝีมือแรงงาน - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของผู้ผ่าน การอบรม การศึกษาต่อเนื่อง - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของประชากรกลุ่ม เป้าหมายที่ได้รับบริการ/เข้าร่วม กิจกรรมการเรียนรู้ด้าน ภาษาอังกฤษและภาษาใน กลุ่มประเทศอาเซียน

- ส่งเสริมการศึกษาแก่ประชากร วัยแรงงานเพื่อยกระดับ การศึกษา - ส่งเสริมการพัฒนาทักษะฝีมือ แก่ประชากรวัยแรงงาน - ส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องและ การเรียนรู้ตลอดชีวิต - เพ่ิมและกระจายโอกาสทางการ ศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยให้ครอบคลุมทุก พ้ืนที่และกลุ่มเป้าหมาย - ส่งเสริมการให้บริการ/การจัด กิจกรรมการเรียนรู้ด้านภาษา อังกฤษและภาษาในกลุ่ม ประเทศอาเซียน

Page 11: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

ประเด็นยุทธศาสตร์ 2. การพัฒนาการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ เป้าประสงค์ ตัวช้ีวัด กลยุทธ์

เพ่ิมปริมาณผู้เรียนสายอาชีพให้เพียงพอต่อความต้องการและให้บริการด้านวิชาชีพแก่ประชาชน

- ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของนักเรียน อาชีวศึกษาท่ีมีสมรรถนะทาง วิชาชีพตามมาตรฐาน - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของสถานศึกษาที่มี การจัดกิจกรรมแนะแนวการเรียน ต่อสายอาชีพ - สัดส่วนนักเรียนสายอาชีพต่อ นักเรียน สายสามัญ 60 : 40 - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของผู้ปกครอง ที่เห็นความส าคัญของการเรียน สายอาชีพ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของผู้เรียนสาย อาชีพทีเ่ข้ารับการศึกษาระบบ ทวิภาค ี- ร้อยละที่เพ่ิมข้ึนของผู้ส าเร็จ การศึกษาอาชีวศึกษาที่มีสมรรถนะ เป็นที่พอใจของผู้ใช้ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของผู้เข้ารับ การศึกษาหลักสูตรระยะสั้น ฝึกอบรม และพัฒนาวิชาชีพ - จ านวนสถานศึกษาอาชีวศึกษาของ เอกชนที่เพิ่มข้ึน - จ านวนที่เพ่ิมข้ึนสถานศึกษา อาชีวศึกษาท่ีเปิดสอนปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือ สายปฏิบัติการ

- สร้างและส่งเสริมค่านิยม การเรียนสายวิชาชีพ - ส่งเสริมการจัดกิจกรรม แนะแนวการเรียนต่อสายอาชีพ - ส่งเสริมการพัฒนาเพ่ือยกระดับ คุณภาพการศึกษาอาชีวศึกษา - ส่งเสริมความร่วมมือจัด การศึกษา ในระบบทวิภาคี - จัดและขยายโอกาสทาง การศึกษาวิชาชีพให้กว้างขวาง ต่อเนื่อง - ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชน ลงทุนจัดการศึกษาอาชีวศึกษา - เปิดสอนปริญญาตรีสาย เทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ

Page 12: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

ประเด็นยุทธศาสตร์ 3. การเพ่ิมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา เป้าประสงค์ ตัวช้ีวัด กลยุทธ์

ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา

- สัดส่วนที่เพ่ิมข้ึนของการจัด การศึกษาระหว่างภาครัฐกับ ภาคเอกชน - จ านวนเครือข่ายเฝ้าระวังพฤติกรรม เสี่ยงของเยาวชนเพิ่มขึ้น - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของสถานศึกษาที่มี เครือข่ายบริหารจัดการ - จ านวนองค์คณะบุคคล องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ภาคส่วนต่างๆ ที่มี ส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา เพ่ิมข้ึน

- ส่งเสริมสนับสนุนให้เอกชนและ ทุกภาคส่วนร่วมจัดและ สนับสนุนการจัดการศึกษา - ส่งเสริมการพัฒนาภาคี เครือข่ายและการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนในการบริหาร และจัดการศึกษา

Page 13: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การทะนุบ ารุงศิลปะ วัฒนธรรม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เป้าประสงค์ ตัวช้ีวัด กลยุทธ์ ผู้เรียนตระหนักถึงความส าคัญใน การอนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปะ วัฒนธรรม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม

- ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของผู้เรียนที่มี ความสุขและมีความภูมิใจ ในความเป็นไทย - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของสถานศึกษา ที่จัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญา ท้องถิ่น - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของผู้เรียน ที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญา ท้องถิน่ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของสถานศึกษา ที่จัดกิจกรรมเกี่ยวกับ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของผู้เรียนที่เข้า ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

- ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการ อนุรักษ์ฟ้ืนฟูศิลปะ วัฒนธรรม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการดูแลรักษาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - ส่งเสริมการพัฒนาภาคี เครือข่ายและการมีส่วนร่วมของ ภาคส่วนต่างๆ ในการสนับสนุน กิจกรรมการอนุรักษ์ ฟ้ืนฟู ศิลปะ วัฒนธรรม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญา ท้องถิ่น และ การดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

Page 14: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

ประเด็นยุทธศาสตร์ 5. การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เป้าประสงค์ ตัวช้ีวัด กลยุทธ์

ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลัก ระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานจากการ ประเมินระดับชาติ เพ่ิมขึ้น - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของสถานศึกษา ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินจาก สมศ. - ร้อยละที่ลดลงของผู้ไม่รู้หนังสือ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของนักเรียนที่มี ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของนักเรียน ที่มคีวามสามารถในการคิด วิเคราะห์ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของนักเรียนที่มี ความ สามารถในการคิดค านวณ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของนักเรียนที่มี ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของนักเรียนที่ใช้ อินเทอร์เน็ตเพ่ือการเรียนรู้ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของนักเรียนที่มี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตาม หลักสูตร - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของนักเรียนที่มี ทักษะในศตวรรษที่ 21 - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลัก ระดับอาชีวศึกษาจากการประเมิน ระดับชาติเพิ่มขึ้น - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลัก ของการศึกษานอกโรงเรียนจากการ ประเมินระดับชาติ เพ่ิมขึ้น

- พัฒนาระบบประกันคุณภาพ และโอกาสทางการศึกษา - ส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนา นวัตกรรมและสื่อการเรียน การสอน - ส่งเสริมการพัฒนาปรับปรุง หลักสูตรและสื่อการเรียน การสอน - พัฒนาการจัดการเรียนรู้และ มาตรฐานการเรียนรู้ - ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารเพ่ือการเรียนรู้ - ส่งเสริมการพัฒนาการจัดการ เรียนรู้ทักษะในศตวรรษท่ี 21 - ส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนให้มี ความพร้อมในการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน - พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน ผู้เรียนทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

Page 15: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

ประเด็นยุทธศาสตร์ 6. การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง เป้าประสงค์ ตัวช้ีวัด กลยุทธ์

สถานศึกษาจัดการศึกษาได้อย่าง มีคุณภาพสอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษา

- ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการ ศึกษาท่ีได้รับการพัฒนาศักยภาพ ให้สอดคล้องกับการพัฒนา การศึกษา - ร้อยละที่เพ่ิมขึ้นของครูที่ได้รับการ พัฒนาให้มีความสามารถในการ จัดการเรียนรู้ได้ อย่างมีคุณภาพ - ร้อยละที่เพ่ิมขึ้นของครูที่ได้รับการ พัฒนาให้สามารถจัดการเรียนรู้เพื่อ พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของบุคลากรทาง การศึกษาที่สามารถปฏิบัติงานได้ ตามมาตรฐานหรือเกณฑ์ท่ีก าหนด - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของสถานศึกษา ที่ได้รับการนิเทศ ติดตาม และ ช่วยเหลือให้การด าเนินงานมี คุณภาพและประสิทธิภาพ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของสถานศึกษาที่ มีความพร้อมและความเข้มแข็งใน การบริหารจัดการศึกษาตามหลัก ธรรมาภิบาล - ร้อยละที่เพ่ิมข้ึนของสถานศึกษาที่มี การปรับตัวโดยการพัฒนารูปแบบ การจัดการศึกษาเพ่ือรองรับการ กระจายอ านาจ

- ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะ และศักยภาพของผู้บริหาร คร ู คณาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษา

- ส่งเสริมการบริหารจัดการ สถานศึกษาตามหลัก ธรรมาภิบาล - ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการ บริหารจัดการศึกษาเพ่ือรองรับ การกระจายอ านาจ - ส่งเสริมการนิเทศ ติดตาม ให้ ความช่วยเหลือสถานศึกษา - ส่งเสริมการน าเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการบริหารและจัด การศึกษา - ส่งเสริมการพัฒนาผู้บริหารและ บุคลากรของโรงเรียนเอกชน

Page 16: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

ประเด็นยุทธศาสตร์ 7. การสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข เป้าประสงค์ ตัวช้ีวัด กลยุทธ์

ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุขตามอัตภาพ

- ร้อยละท่ีลดลงของการตั้งครรภ์ใน ผู้เรียนที่มีอายุต่ ากว่า 15 ปี - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของสถานศึกษาที่ จัดกิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม การอยู่รว่มกันในสังคมอย่างมี ความสุข - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของนักเรียนที่เข้า ร่วมกิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมี ความสุข - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของสถานศึกษาที่ จัดกิจกรรมส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของนักเรียนที่เข้า ร่วมกิจกรรมส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการ - จ านวนผู้เรียนทุกระดับที่เข้ารับการ บ าบัดการตดิยาาเสพติดลดลง

- ส่งเสริมการเรียนการสอน เพศศึกษา - ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับการ ป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ในวัยรุ่น - ส่งเสริมการจัดกิจกรรม คุณธรรม จริยธรรม การอยู่ร่วม ในสังคมอย่างมีความสุข และ ค่านิยม 12 ประการ - ส่งเสริมการจัดกิจกรรมต่อต้าน ยาเสพติด

Page 17: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

ประเด็นยุทธศาสตร์ 8. การสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ เป้าประสงค์ ตัวช้ีวัด กลยุทธ์

เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

- ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของสถานศึกษาที่ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ หลากหลายอย่างต่อเนื่อง - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของนักเรียนที่เข้า ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย อย่างต่อเนื่อง - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของสถานศึกษา ที่มกีารพัฒนาด้วยองค์ความรู้อย่าง ต่อเนื่อง - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของผู้สูงวัยที่ได้รับ การส่งเสริมให้มีความรู้ในการดูแล สุขภาพแบบองค์รวม - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของประชากรที่ได้รับ การส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีในการ เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ - ร้อยละท่ีเพ่ิมข้ึนของผู้เรียนทุกระดับ การศึกษาที่มีทักษะในการแสวงหา ความรู้ได้ด้วยตนเอง

- ส่งเสริมการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ของสถานศึกษา - ส่งเสริมการพัฒนาสถานศึกษา โดยใช้องค์ความรู้ - ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ใน การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม - ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใน การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ - ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะใน การแสวงหาความรู้ได้ด้วย ตนเอง - พัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็น องค์การแห่งการเรียนรู้ - เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร และบรรยากาศที่ส่งเสริมการ เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต - ส่งเสริมการบริการทาง วิชาการแก่สังคม

Page 18: แบบบันทึกองค์ความรู้ (ปี 2558)...แบบบ นท กองค ความร (ป 2558) ช อความร การจ ดท

อ้างอิง อัมพร ไหลประเสริฐ. เอกสารประกอบการสอนวิชาการบริหารพยาบาล เรื่อง การวิเคราะห์องค์กรโดยใช้ เทคนิค SWOT analysis. ออนไลน์ http://61.19.86. 230/manage/Plan_pic/20120923145921. doc. เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2558. ส านักงานศึกษาธิการภาค 4. รายงานการฝึกอบรมตามโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวางแผน ยุทธศาสตร์ของส านักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างวันที่ 16 – 20 มิถุนายน 2557 ณ โรงแรม ริเวอร์วิว เพลส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.