special issue - สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ... ละส...

4
022 for Quality December 2009 Special Issue 1 4 6 No. สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัย และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2548 โดย เปลี่ยนสถานภาพมาจากสำนักพัฒนาเกษตรที่สูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็น องค์การมหาชน เพื่อให้มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัวและประสาน ความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันได้ดียิ่งขึ้น มีหน้าที่ส่งเสริมและ สนับสนุนงานโครงการหลวงและขยายผลสำเร็จของโครงการหลวงไปยังพื้นที่สูงอื่น ๆ ของ ประเทศ โดยมีวิสัยทัศน์การดำเนินงานมุ่งสู“องค์การที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนการพัฒนา พื้นที่สูงอย่างยั่งยืน เน้นสนับสนุนภารกิจของโครงการหลวง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่าง บูรณาการ และเกิดความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม” ในการจัดทำรายงานพิเศษเรื่อง “ตามรอยเบื้องยุคลบาท การพัฒนาอุตสาหกรรมด้วย วิถีพอเพียง” วารสาร For Quality ได้รับเกียรติสัมภาษณ์ คุณสุทัศน์ ปลื้มปัญญา ผู้อำนวยการ- สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้กรุณาอธิบายการดำเนินงานของสถาบันฯ เพื่อสนับสนุนงานโครงการหลวงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน และ ขยายผลองค์ความรู้ของโครงการหลวงสู่ชุมชนพื้นที่สูง ซึ่งมีจุดแข็งที่สำคัญ คือ เป็นแหล่ง- กำเนิดของพืชพรรณธรรมชาติที่หลากหลาย มีภูมิทัศน์และทิวทัศน์ตามธรรมชาติที่สวยงาม ถือเป็นทุนทางธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้เป็นช่องทางการพัฒนาที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าได้ มากมาย ตามแนวทางของโครงการหลวงทั้งด้านการวิจัยและด้านพัฒนา เพื่อให้เกิดประโยชน์ อย่างกว้างขวางและยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขยายผล 40 ปี โครงการหลวง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 ท่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ก่อตั้ง โครงการหลวง เพื่อรับผิดชอบงานพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา ลดการปลูกพืช- เสพติด รวมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธาร โดยมี หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธาน- มูลนิธิโครงการหลวง ทรงรับสนองพระราชดำริ และมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้ง กองบรรณาธิการ แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) “ความสำเร็จของ สถาบันวิจัยและ พัฒนาพื้นที่สูง คือ ยึดเกษตรกร ในพื้นที่เป็น เป้าหมายหลัก” เปิดแผนบูรณาการเกษตรพื้นที่สูง ต่อยอดความสำเร็จโครงการหลวง

Upload: nguyentruc

Post on 07-Mar-2018

230 views

Category:

Documents


6 download

TRANSCRIPT

Page 1: Special Issue - สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ... ละส งผลกระทบต อการพ ฒนาพ นท ส งมากข

022 ● for Quality December 2009

Special Issue

1

4

6

No.

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัย

และพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2548 โดย

เปลี่ยนสถานภาพมาจากสำนักพัฒนาเกษตรที่สูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็น

องค์การมหาชน เพื่อให้มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัวและประสาน

ความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันได้ดียิ่งขึ้น มีหน้าที่ส่งเสริมและ

สนับสนุนงานโครงการหลวงและขยายผลสำเร็จของโครงการหลวงไปยังพื้นที่สูงอื่น ๆ ของ

ประเทศ โดยมีวิสัยทัศน์การดำเนินงานมุ่งสู่ “องค์การที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนการพัฒนา

พื้นที่สูงอย่างยั่งยืน เน้นสนับสนุนภารกิจของโครงการหลวง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่าง

บูรณาการ และเกิดความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม”

ในการจัดทำรายงานพิเศษเรื่อง “ตามรอยเบื้องยุคลบาท การพัฒนาอุตสาหกรรมด้วย

วิถีพอเพียง” วารสาร For Quality ได้รับเกียรติสัมภาษณ์ คุณสุทัศน์ ปลื้มปัญญา ผู้อำนวยการ-

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้กรุณาอธิบายการดำเนินงานของสถาบันฯ

เพื่อสนับสนุนงานโครงการหลวงให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน และ

ขยายผลองค์ความรู้ของโครงการหลวงสู่ชุมชนพื้นที่สูง ซึ่งมีจุดแข็งที่สำคัญ คือ เป็นแหล่ง-

กำเนิดของพืชพรรณธรรมชาติที่หลากหลาย มีภูมิทัศน์และทิวทัศน์ตามธรรมชาติที่สวยงาม

ถือเป็นทุนทางธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้เป็นช่องทางการพัฒนาที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าได้

มากมาย ตามแนวทางของโครงการหลวงทั้งด้านการวิจัยและด้านพัฒนา เพื่อให้เกิดประโยชน์

อย่างกว้างขวางและยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ขยายผล 40 ปี โครงการหลวง

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้

ก่อตั้ง โครงการหลวง เพื่อรับผิดชอบงานพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา ลดการปลูกพืช-

เสพติด รวมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธาร โดยมี หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธาน-

มูลนิธิโครงการหลวง ทรงรับสนองพระราชดำริ และมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้ง

กองบรรณาธิการ

แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

“ความสำเร็จของ

สถาบันวิจัยและ

พัฒนาพื้นที่สูง

คือ ยึดเกษตรกร

ในพื้นที่เป็น

เป้าหมายหลัก”

เปิดแผนบูรณาการเกษตรพื้นที่สูง

ต่อยอดความสำเร็จโครงการหลวง

Page 2: Special Issue - สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ... ละส งผลกระทบต อการพ ฒนาพ นท ส งมากข

for Quality December 2009 ● 023

Special Issue

1

4

6

No.

หน่วยงานจากต่างประเทศร่วมดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตลอด

ระยะ 40 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สภาพการปลูกฝิ่นหมดไปจาก

พื้นที่โครงการหลวง ชาวเขาหันมาปลูกพืชเมืองหนาวมากกว่า

118 ชนิดทดแทน โดยมีระบบตลาดรองรับ ทำให้เกษตรกรใน

พื้นที่โครงการหลวงมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม กระแสโลกาภิวัตน์ และการแข่งขันอย่าง

เสรีในระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันทำให้บริบทของการพัฒนา

พื้นที่สูงเปลี่ยนไปจากเดิมมาก มีปัจจัยใหม่ ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง

และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาพื้นที่สูงมากขึ้น ทำให้ทรัพยากร

บนพื้นที่สูงถูกใช้อย่างเข้มข้นและเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว มี

การปนเปื้อนของสารเคมีเกษตร รวมทั้งปัญหาความมั่นคงและ

ปัญหายาเสพติด เงื่อนไขและปัญหาเหล่านี้ทำให้การพัฒนา

พื้นที่สูงเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญภายใต้การ

ดำเนินงานของ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การ

มหาชน) เพื่อเป็นองค์การที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนการพัฒนา

พื้นที่สูงอย่างยั่งยืนและสนับสนุนภารกิจของโครงการหลวง เพื่อ

ให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการ และเกิดความสมดุลทั้งทาง

ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยมีพันธกิจ 6 ด้าน คือ

1. ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของโครงการ-

หลวง

2. สนับสนุนการวิจัย รวบรวม รักษา และต่อยอดภูมิ-

ปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งรักษาคุณค่าและสร้างประโยชน์จาก

ความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง

3. ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับมูลนิธิโครง-

การหลวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวิจัยพัฒนาและ

ถ่ายทอดองค์ความรู้ และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

และสอดคล้องกับแนวทางของโครงการหลวง รวมทั้งสนับสนุน

กระบวนการในการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อฟื้นฟูและรักษาสิ่ง-

แวดล้อม

4. จัดให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาและเผยแพร่

ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างครบวงจร

ตลอดจนเป็นศูนย์ประสานงาน และส่งเสริมการดำเนินการดัง-

กล่าว

5. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและแลกเปลี่ยน

การวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ

6. จัดแสดงนิทรรศการด้านการเกษตร ด้านความ

หลากหลายทางชีวภาพ และด้านอื่น ๆ พร้อมทั้งดำเนินการ

บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว และพักผ่อนด้านการเกษตรและ

วัฒนธรรม รวมทั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรและการ

อนุรักษ์พันธุ์พืช

คุณสุทัศน์ ปลื้มปัญญา ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและ

พัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้อธิบายการดำเนินงานของ

สถาบันฯ ว่า บนพื้นที่สูงในประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ

67.22 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 53 ของพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่

จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัด

พะเยา จังหวัดลำพูน จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดลำปาง

จังหวัดตาก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเลย

จังหวัดสุโขทัย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัด

อุทัยธานี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดประจวบ-

คีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี จัดแบ่งพื้นที่ดำเนินงานเป็น 4

ลักษณะ โดยสถาบันฯ มีบทบาทในการวิจัยและการพัฒนา

แตกต่างกัน ดังนี้

1. พื้นที่โครงการหลวง หมายถึง พื้นที่สูงที่อยู่ภายใต้

การดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวง 38 ศูนย์/สถานี ใน 5

จังหวัดภาคเหนือ

2. พื้นที่ขยายผลโครงการหลวง หมายถึง พื้นที่ที่

สถาบันฯ ขยายผลสำเร็จของโครงการหลวงไปสู่ชุมชนบนพื้นที่-

สูงส่วนใหญ่ของประเทศ รวมถึงพื้นที่ของโครงการพิเศษต่าง ๆ

โดยร่วมดำเนินการกับหน่วยงานระดับกระทรวงและหน่วยงาน

ในระดับพื้นที่และชุมชน มีพื้นที่ทั้งหมด 17 แห่งใน 6 จังหวัด

ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดน่าน จังหวัด

กาญจนบุรี จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงราย

3. พื้นที่เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง พื้นที่หมู่บ้าน

หรือชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเพื่อรับการ

ถ่ายทอดองค์ความรู้จากโครงการหลวงผ่านระบบการเรียนรู้ที่

อาศัยสื่อสารสนเทศและครูในชนบท สถาบันฯ ร่วมดำเนินการ

กับมูลนิธิโครงการหลวง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์การ-

ศึกษานอกโรงเรียน ดำเนินงานใน 44 กลุ่มบ้านของ 5 จังหวัด

ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงราย จังหวัด

พะเยา และจังหวัดแม่ฮ่องสอน

4. พื้นที่โครงการ “รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน”

หมายถึง พื้นที่ของลุ่มน้ำสำคัญ 10 ลุ่มน้ำใน 6 จังหวัด ที่

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงอื่น ๆ สนองพระ-

ราชดำริ โดยดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธาร

พัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน และสนับ-

Page 3: Special Issue - สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ... ละส งผลกระทบต อการพ ฒนาพ นท ส งมากข

024 ● for Quality December 2009

Special Issue

1

4

6

No.

สนุนให้ชุมชนมีเครือข่ายการเรียนรู้ด้วยตนเอง สถาบันฯ ทำ

หน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของโครงการฯ และสนับสนุนการวิจัย

เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่สูง

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เป็นองค์การที่ทำหน้าที่

ในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน เน้นสนับสนุน

ภารกิจของโครงการหลวง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณา-

การและเกิดความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่ง-

แวดล้อม ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์สำคัญ 3 ยุทธศาสตร์ คือ

ยุทธศาสตร์การวิจัย และพัฒนา ยุทธศาสตร์การถ่ายทอดความรู้

และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และยุทธศาสตร์การ

เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยมีจุดเด่นการ

ดำเนินงานในการสนับสนุนงานโครงการหลวงและการขยายผล

ความสำเร็จของโครงการหลวงไปยังพื้นที่สูงส่วนใหญ่ของประเทศ

ภายใต้แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง พ.ศ.

2550–2554 พอสรุปได้ดังนี้

● แผนงานด้านการพัฒนา

➲ สนับสนุนการพัฒนาเชิงบูรณาการในพื้นที่โครงการ-

หลวง ดำเนินการสนับสนุนงานโครงการหลวงในพื้นที่ 38 แห่ง

ของภาคเหนือ เน้นการสนับสนุนการพัฒนาเชิงบูรณาการ การ

ถ่ายทอดความรู้ การพัฒนามาตรฐานคุณภาพและผลผลิต การ

พัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน และการฟื้นฟูและรักษาสิ่ง-

แวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้โครงการหลวงเป็น

แหล่งเรียนรู้ของการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน

➲ โครงการขยายผลสำเร็จของโครงการหลวงสู่ชุมชน

บนพื้นที่สูง ดำเนินการในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง ซึ่ง

ปัจจุบันมีพื้นที่ 24 แห่ง ใน 7 จังหวัด เน้นการส่งเสริมการ

พัฒนาอย่างยั่งยืน โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้จากทุนความรู้

ของโครงการหลวงผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการ

พัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและ

แนวทางของโครงการหลวง

➲ โครงการพัฒนาโครงการหลวงให้เติบโตต่อเนื่อง

เชิงคุณภาพ ได้แก่ การพัฒนาระบบคุณภาพมาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์โครงการหลวงในระดับมาตรฐานสากล

➲ โครงการศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่สูง มุ่งให้

เกิดการเผยแพร่และเรียนรู้จากองค์ความรู้โครงการหลวงในระดับ

ชุมชน โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์ความรู้ของโครงการ และ

การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในระดับชุมชน เพื่อให้เกิดการนำ

ไปปรับใช้อย่างเหมาะสมในพื้นที่สูงส่วนใหญ่ของประเทศ โดย

จัดทำเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงาน ได้แก่

มูลนิธิโครงการหลวง สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน สถาบัน-

วิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มโครงการ

เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2550 เรียกว่า “โครงการจัดการความรู้

และกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน”

➲ โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ไขปัญหา

การปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน คณะกรรมการสถาบันฯ ได้รับทราบ

สถานการณ์และปัญหาการปลูกฝิ่นในประเทศไทย ได้มอบให้

สถาบันฯ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม

ยาเสพติด (ป.ป.ส.) จัดทำร่างแผนแม่บทโครงการขยายผล

โครงการหลวง เพื่อแก้ไขปัญหาการปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน และ

คณะกรรมการ ป.ป.ส. ได้มีมติให้ความเห็นชอบ

➲ โครงการพัฒนาเครือข่ายวิจัยและแลกเปลี่ยน

ประสบการณ์การพัฒนากับนานาชาติ เพื่อเผยแพร่พระราช-

กรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการทดแทน

การปลูกพืชเสพติด และการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน โดยเน้น

การพัฒนาเครือข่าย ความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานใน

ระดับนานาชาติ

● แผนงานด้านการวิจัย

➲ โครงการวิจัยเชิงบูรณาการในพื้นที่โครงการหลวง

เน้นสนับสนุนการวิจัยที่มีลักษณะเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนา

องค์ความรู้ของโครงการหลวง รวมทั้งงานวิจัยด้านการตลาด

ด้านสิ่งแวดล้อม และงานวิจัยเชิงนโยบาย

➲ โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ขยายผล

โครงการหลวง เน้นการทดสอบองค์ความรู้โครงการหลวงในท้อง-

ถิ่น อาทิ การวิจัยการฟื้นฟูแหล่งอาหาร และความหลากหลาย

ทางชีวภาพของชุมชนบนพื้นที่สูง การวิจัยและพัฒนาปัจจัยการ

ผลิตชีวภาพและผลิตภัณฑ์จากความหลากหลายทางชีวภาพ

บนพื้นที่สูง การวิจัยเพื่อฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมบนพื้นที่สูง การ

วิจัยเชิงปฏิบัติการในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน

อย่างยั่งยืน และการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาทางสังคมของชุมชน

Page 4: Special Issue - สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ... ละส งผลกระทบต อการพ ฒนาพ นท ส งมากข

for Quality December 2009 ● 025

Special Issue

1

4

6

No.

ชาวเขา เป็นต้น

➲ โครงการวิจัยการฟื้นฟูแหล่งอาหารและความหลาก

หลายทางชีวภาพของชุมชนบนพื้นที่สูง เป็นการศึกษาที่เน้น

กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยได้รวบรวมองค์ความรู้

และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์จากป่าเพื่อเป็นแหล่ง-

อาหาร ยาสมุนไพร และพลังงาน ตลอดจนสนับสนุนให้ชุมชน

ฟื้นฟูแหล่งอาหารของชุมชน (food bank) และความหลาก-

หลายทางชีวภาพ และสนับสนุนการปลูกพืชท้องถิ่นเพื่อเป็น

สินค้าของชุมชน เช่น งานวิจัยและพัฒนาเชิงบูรณาการในชุมชน

ในพื้นที่บ้านโป่งคำ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน เพื่ออนุรักษ์และ

ฟื้นฟูการปลูกพืชท้องถิ่น ได้แก่ การฟื้นฟูการปลูกหวายและ

หัตถกรรมจากหวาย เพื่อฟื้นฟูอนุรักษ์และต่อยอดองค์ความรู้

ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์หวายและพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ และ

การฟื้นฟูยาพื้นบ้านโป่งคำเพื่อฟื้นฟูอนุรักษ์ และต่อยอดองค์-

ความรูภ้มูปิญัญาการใชส้มนุไพรและยาพืน้บา้น

➲ โครงการวิจัยระบบการปลูกข้าว-

โพดเหลื่อมด้วยพืชตระกูลถั่วโดยวิธีไม่ไถพรวน

ได้ดำเนินงานวิจัยการปลูกข้าวโพดแบบไม่

ไถพรวนและเหลื่อมด้วยตระกูลถั่ว โดยเปรียบ-

เทียบกับการปลูกแบบดั้งเดิม พบว่า แปลงที่มี

การปลูกแบบดั้งเดิม มีปริมาณอินทรียวัตถุใน

ดินน้อยกว่าแปลงที่มีการปลูกด้วยพืชตระกูล

ถั่วเหลื่อม และการเจริญเติบโตของข้าวโพดใน

แปลงที่ปลูกพืชตระกูลถั่วจะเจริญเติบโตได้

ดีกว่าแบบที่ไม่ปลูกพืชตระกูลถั่ว

➲ โครงการวิจัยและพัฒนาการปลูก

เฮมพ ์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก

สำนักคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง-

ชาติ โดยดำเนินงานร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อพัฒนาเทคนิคการผลิต

เส้นใย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการศึกษาต้นทุนการปลูก-

เฮมพ์และการตลาด

➲ โครงการวิจัยการปลูกพืชพลังงานบนพื้นที่สูง ได้แก่

การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นิยมปลูกพืชท้องถิ่น เช่น มะแดก

สำหรับสกัดน้ำมันพืชใช้จุดตะเกียง เพื่อพัฒนาคุณภาพและการ

ผลิตเป็นเชื้อเพลิงสำหรับชุมชน

นอกจากนี้ยังมีโครงการวิจัยนอกภาคเกษตร ได้แก่

โครงการรวบรวมและศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรม

ของชนเผ่าในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่สูง ศึกษาและ

รวบรวมข้อมูลภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ อาทิ เส้นทางการอพยพ

และการตั้งถิ่นฐานของชาวเขา จำนวน 6 เผ่า ได้แก่ มูเซอ อาข่า

ลีซอ ปะหล่อง ไทลื้อ และไทยใหญ่ ตลอดจนศึกษาแนวทางการ

ถ่ายทอดการอนุรักษ์ผ้าและสิ่งทอของชนเผ่า โครงการล่าสุด คือ

การรับโอนการดำเนินงาน “สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์

2549” จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง

ธรรมชาติ และศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร การตกแต่งสวน

ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตร

โครงการหลวงตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

พัฒนาพื้นที่สูงด้วยวิถีพอเพียง

คุณสุทัศน์ ปลื้มปัญญา ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและ

พัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) กล่าวถึงความสำเร็จในการ

ดำเนินงานของสถาบันฯ โดยยึดเกษตรกรในพื้นที่เป็นเป้าหมาย-

หลัก เพื่อให้เกษตรกรเรียนรู้ร่วมไปกับสถาบันฯ และมีทักษะการ

ดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง โดยเลียนแบบความ

สำเร็จของโครงการหลวงซึ่งเริ่มต้นจากชุมชน

จากนั้นจึงศึกษาวิจัยการผลิตและการตลาด

สินค้าเกษตร เป็นฐานความรู้เพื่อใช้สนับสนุน

การเสริมสร้างแนวทางในการจัดการให้โครงการ

ประสบความสำเร็จ

การดำเนินงานของสถาบันวิจัยและ

พัฒนาพื้นที่สูงและมูลนิธิโครงการหลวง จะ

ดำเนินงานในลักษณะจูงมือเดินกันไป เพื่อ

สนับสนุนซึ่งกันและกัน งานวิจัยและองค์-

ความรู้ต่าง ๆ ของโครงการหลวงถือเป็นหัวใจ

สำคัญ สถาบันฯ ต้องอาศัยความรู้และประสบ-

การณ์จากโครงการหลวงไปใช้ประโยชน์ใน

การแนะนำส่งเสริมแก่ชาวเขาบนพื้นที่สูง

พื้นที่ส่วนใหญ่ 20 จังหวัด โดยมีหลักการ

ดำเนินงานที่สำคัญ 2 ประการ ประกอบด้วย

การวิจัยเพื่อนำผลสำเร็จจากงานวิจัยไปให้ชาวเขาได้ใช้ประโยชน์

และพัฒนาตามความต้องการของตลาด รวมทั้งการดำเนินงาน

ภายใต้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีภูมิคุ้มกันต่อความ

เสี่ยงจากภายนอก โดยสถาบันฯ มียุทธศาสตร์ที่ไม่เล็งผลเลิศ

จนเกินไป มีความรอบคอบระมัดระวัง การวิจัยต้องทดลอง

ปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลจริง และสามารถเพิ่มรายได้จากการขาย

สินค้าสู่ตลาด เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นสูง

ทั่วประเทศไทย