shooting landscape - nikon...low เล อกให เหมาะสมก...

9
ทริคที่จะช่วยให้คุณสนุกกับการถ่ายภาพแลนด์สเคปด้วยกล้อง DSLR SHOOTING LANDSCAPE

Upload: others

Post on 04-Mar-2020

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: SHOOTING LANDSCAPE - Nikon...Low เล อกให เหมาะสมก บสภาพแสงและสภาพฉาก แต ควรใช ขาต งกล องในการบ

ทริคที่จะช่วยให้คุณสนุกกับการถ่ายภาพแลนด์สเคปด้วยกล้อง DSLR

SHOOTING

LANDSCAPE

Page 2: SHOOTING LANDSCAPE - Nikon...Low เล อกให เหมาะสมก บสภาพแสงและสภาพฉาก แต ควรใช ขาต งกล องในการบ

กล้องและการปรับตั้ง START UP

เรามักจะได้ยินคำาว่า ภาพแลนด์สเคป กันอยู่เสมอ ซึ่งการถ่ายภาพแลนด์สเคปก็คือการบันทึกภาพภูมิทัศน์ หรือที่เราคุ้นเคยกันว่าภาพทิวทัศน์นั่นเอง การถ่ายภาพแลนด์สเคปต้องอาศัยความสวยงามของสถานที่ ความสวยงามของแสง การเลือกใช้เลนส์ที่เหมาะสม การเลือกมุมที่ดี การวัดแสงที่แม่นยำา การคุมความชัดลึกที่ดี และการจัดองค์ประกอบภาพที่ดี ซึ่งนักถ่ายภาพแลนด์สเคปที่มีประสบการณ์จะทราบดีว่า การจะได้ภาพที่ดีนั้นต้องอาศัยความพยายาม ความอดทน การรอคอย และทักษะในการถ่ายภาพค่อนข้างมาก บางครั้งคุณอาจต้องตื่นนอนตั้งแต่ตีสาม ตีสี่ เพื่อให้เดินทางไปทันแสงแรกแห่งรุ่งอรุณ บางครั้งต้องเดินทางขึ้นเขา ลงห้วย เป็นระยะทางไกลเพื่อไปถึงจุดที่ต้องการ บางครั้งต้องตากแดดตากฝนเพื่อให้ได้ภาพ แต่ท้ายที่สดุ การได้ยืนถ่ายภาพในจุดที่ต้องการและเก็บความประทับใจออกมาเป็นภาพถ่าย คือความสุขของผู้ที่ชื่นชอบแลนด์สเคปอย่างแท้จริง

ในการถ่ายภาพแลนด์สเคปโดยเฉพาะช่วงเวลาเช้ามืดหรือโพล้เพล้ ที่เราต้องการแสงสีสันสวยงามจากท้องฟ้า แต่เราก็มักจะสูญเสียรายละเอียดในส่วนพื้น ด้วยค่าแสงที่แตกต่างกันมาก แนะนำาให้คุณไปที่เมนู Active D-Lighting แล้วเข้าไปเลือกปรับเพิ่มรายละเอียดในส่วนมืดโดยจะปรับได้ 4 ระดับคือ Extra High, High, Normal และ Low หากค่าแสงแตกต่างกันมาก แนะนำาให้ปรับที่ Extra High หรือ High คุณจะเห็นความแตกต่างบนภาพได้อย่างชัดเจน โดยเมื่อบันทึกภาพเสร็จสิ้นในจุดนั้นแล้ว ควรปรับกลับไปที่ Auto หรือ Low เพื่อให้ระบบนี้ทำางานโดยไม่ปรับเพิ่มความสว่างมากนัก ซึ่งจะเหมาะกับการถ่ายภาพทั่วไปมากกว่า

ในการถ่ายภาพแลนด์สเคป ความคมชัดเป็นสิ่งสำาคัญลำาดับต้นๆ ดังนั้นในการเลือกความละเอียดภาพ ควรเลือกความละเอียดสูงที่สุดของกล้อง เช่น กับกล้อง D7100, D5300 หรือ D3300 ควรเลือกที่ 24 ล้านพิกเซลเท่านั้น เพื่อให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดสูงที่สุด การบันทึกด้วยไฟล์ RAW จะให้คุณภาพได้เยี่ยมยอด โดยคุณสามารถปรับดึงรายละเอียดในส่วนมืดและส่วนสว่างได้มากกว่า ทำาให้การถ่ายภาพในสภาพแสงที่มีคอนทราสต์สูง ภาพจะยังมีรายละเอียดดีทั้งส่วนมืดและส่วนสว่าง

ภาพแลนด์สเคปต้องสามารถแสดงรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ในภาพไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ใบหญ้า พื้นดิน โขดหิน ภูเขาได้คมชัด ดังนั้นจึงจำาเป็นต้องใช้กล้องที่มีคุณภาพสูง มีความละเอียดสูง มีช่วงการรับแสง (Dynamic Range) กว้าง สามารถเก็บรายละเอียดในส่วนมืดและส่วนสว่างได้ดี และต้องให้ภาพที่มีความอิ่มสีดี ภาพใสกระจ่าง นักถ่ายภาพแลนด์สเคปมืออาชีพจึงมักจะเลือกใช้กล้องฟอร์แมตฟูลเฟรมเพราะให้รายละเอียดสูง ความคมชัดสูง เก็บรายละเอียดส่วนมืดและส่วนสว่างได้ดี แต่จริงๆ แล้วกล้องฟอร์แมต DX ในปัจจุบันก็ใช้กับภาพแลนด์สเคปได้ดีมาก อย่างเช่น Nikon D7100, D5300 และ D3300 โดยกล้องทั้ง 3 รุ่นนี้มีความละเอียดสูงถึง 24 ลา้นพิกเซล จึงให้รายละเอียดสูงมากเมื่อใช้ถ่ายภาพแลนด์สเคป

ปรับเลือกคุณภาพและความละเอียดQUALITY

ACTIVE D-LIGHTING

คุณภาพ ความละเอียดFX Or DX

ดึงรายละเอียดในส่วนมืดขึ้นมา

ภาพเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่าการเปิดใช้ระบบ Active D-Lighting จะช่วยให้เก็บรายละเอียดของภาพได้มากขึ้น กล้อง Nikon D3 เลนส์ AF-S Nikkor 24-70mm f/2.8G ED ; 1/60 Sec f/13, ISO 200

Page 3: SHOOTING LANDSCAPE - Nikon...Low เล อกให เหมาะสมก บสภาพแสงและสภาพฉาก แต ควรใช ขาต งกล องในการบ

เก็บรายละเอียดทั้งส่วนมืดและสว่าง

เลือกระบบบันทึกภาพ

EXPOSURE MODE

HDR

นี่คือฟังก์ชั่นที่ควรใช้ให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะนักถ่ายภาพสมัครเล่นที่บันทึกด้วยไฟล์ JPEG Picture Control จะเป็นฟังก์ชั่นที่ใช้ปรับโทนสีและสไตล์ของภาพ แนะนำาให้ปรับไปที่ Landscape เพราะที่โหมดนี้กล้องจะปรับสีเขียวและนำ้าเงินให้สดเข้มกว่าปกติ จึงทำาให้ต้นไม้ ใบหญ้า และท้องฟ้าในภาพมีสีสันสดเข้มสวยงามกว่าที่ตาเห็น

หากฟังก์ชั่น Active D-Lighting ยังเพิ่มความสว่างของพื้นไม่ได้เท่าที่ต้องการ แนะนำาให้เปิดใช้ฟังก์ชั่น HDR แทน โดยฟังก์ชั่นนี้กล้องจะบันทึก 2 ภาพต่อเนื่อง โดยใช้ค่าเปิดรับแสงแตกต่างกัน จากนั้นจะนำาภาพทั้งสองมารวมเป็นภาพๆ เดียวโดยดึงรายละเอียดที่ดีในแต่ละภาพมาไว้ในภาพ HDR ผลที่ได้คือภาพมีรายละเอียดชัดเจนทั้งส่วนมืดและส่วนสว่าง โดยคุณสามารถปรับการทำางานได้ 4 ระดับคือ Extra high, High, Normal และ Low เลือกให้เหมาะสมกับสภาพแสงและสภาพฉาก แต่ควรใช้ขาตั้งกล้องในการบันทึกภาพเพื่อป้องกันภาพเบลอจากการเคลื่อนของกล้อง

การถ่ายภาพแลนด์สเคปนั้นสิ่งที่มีผลสำาคัญต่อภาพคือความชัดลึกของภาพ ดังนัน้ระบบบันทึกของภาพที่มืออาชีพนิยมใช้มากที่สุดคือระบบแมนนวล (M) เพราะในการถ่ายภาพแลนด์สเคปนั้นผู้ถ่ายจะมีเวลาค่อนข้างมาก ไม่ต้องรีบบันทึกภาพ ช่างภาพจึงมักจะเลือกความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงเอง ตามความเหมาะสมของสถานที่ และใช้ค่านั้นบันทึกภาพจนกว่าแสงจะเปลี่ยน จึงวัดค่าใหม่ อีกโหมดที่แนะนำาคือ โหมด A เพราะสะดวกในการควบคุมความชัดลึกของภาพ

เลือกโทนสีของภาพที่คุณชอบ

PICTURE CONTROL

ฟังก์ชั่น HDR จะช่วยให้คุณสามารถเก็บรายละเอียดในแต่ละส่วนของภาพได้มากขึ้น กล้อง Nikon D7100 เลนส์ AF-S Nikkor 18-105mm f/3.5-5.6G ED VR ; 1/250 Sec f/8, ISO 200, HDR : Normal

Picture Control จะช่วยให้คุณได้สีสันของภาพอย่างที่คุณชอบ ภาพนี้ปรับที่ Landscape กล้อง Nikon D7100 เลนส์ AF-S Nikkor 10-24mm f/3.5-4.5G ED ; 1/125 Sec f/14, ISO 200, Picture Control : Landscape, ฟิลเตอร์ : CPL

กล้อง Nikon D7100 เลนส์ AF-S Nikkor 18-300mm f/3.5-6.3G ED VR ; 1/500 Sec f/10, Mode : M, ISO 400

กล้อง Nikon D7100 เลนส์ AF-S Nikkor 18-300mm f/3.5-6.3G ED VR ; 1/250 Sec f/8, Mode : M, ISO 400 , HDR

Page 4: SHOOTING LANDSCAPE - Nikon...Low เล อกให เหมาะสมก บสภาพแสงและสภาพฉาก แต ควรใช ขาต งกล องในการบ

เลนส์แนะนำาสำาหรับการถ่ายภาพแลนด์สเคป

RECCOMMENDED LENSES

หากคุณชื่นชอบการถ่ายภาพแลนด์สเคป เลนส์มีส่วนสำาคัญต่อการได้ภาพที่สวยงาม ดังนั้นการเลือกใช้เลนส์ช่วงที่เหมาะสมกับสถานที่จึงเป็นเรื่องที่ควรเรียนรู้ ฝึกฝน เพื่อสามารถถ่ายทอดภาพออกมาได้สวยงาม

เลนส์ซูมมุมกว้างระดับมืออาชีพสำาหรับกล้องฟูลเฟรม เป็นเลนส์ที่ให้ภาพกว้างเป็นพิเศษโดยภาพมีความบิดเบี้ยวน้อย ให้ความคมชัดเยี่ยมยอดถ่ายทอดทุกรายละเอียดของต้นไม้ ใบไม้ได้ชัดเจนสุดยอด ให้ภาพที่มีมิติเพอร์สเปคทีฟโดดเด่น

เลนส์ซูมอเนกประสงค์สำาหรับนักเดินทางที่จะช่วยให้คุณสะดวกคล่องตัว สามารถบันทึกภาพทิวทัศน์ได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ภาพทิวทัศน์มุมกว้างไปจนถึงการถ่ายเจาะทิวทัศน์ในระยะไกล ภาพดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกดวงกลมโต

เลนส์ฟิชอายสำาหรับกล้องฟอร์แมต DX ให้ภาพกว้าง 180 องศา เก็บทิวทัศน์เบื้องหน้าได้สุดสายตา โดดเด่นด้วยเพอร์สเปคทีฟ ให้ความคมชัดสูง รายละเอียดเยี่ยม

AF-S Nikkor 10-24mm. f/3.5-4.5G ED

เลนส์ซูมมุมกว้างที่จะช่วยให้คุณเก็บภาพทิวทัศน์อันตระการตาได้ดั่งตาเห็น สร้างภาพแลนด์สเคปที่มีมิติด้วยเพอร์สเปคทีฟที่โดดเด่นในการทำาให้ฉากหน้ามีขนาดใหญ่ แสดงการเปรียบเทียบกับทิวทัศน์ในระยะไกลได้ชัดเจน เป็นเลนส์ที่ให้ความคมชัดสูง ใช้งานสนุก นำ้าหนักเบา พกพาสะดวก

AF-S Nikkor 18-300mm. f/3.5-6.3G ED VR

AF Fisheye Nikkor 10.5mm. f/2.8G ED

AF-S Nikkor 14-24mm. f/2.8G ED

นำ้าหนักเบากว่ารุ่น 14-24 mm. ทำาให้พกพาได้สะดวกกว่าและสามารถใช้ฟิลเตอร์ด้านหน้าเลนส์ได้ จึงใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ และฟิลเตอร์กราดูเอทได้ โดดเด่นด้วยระบบป้องกันภาพสั่นไหว (VR) ช่วยให้คุณสามารถบันทึกภาพทิวทัศน์ในช่วงโพล้เพล้ได้แม้ไม่มีขาตั้งกล้อง

เลนส์ซูมมุมกว้างสำาหรับกล้องฟูลเฟรม เหมาะสำาหรับนักถ่ายภาพที่ต้องการเลนส์มุมกว้างมากเพื่อเก็บภาพทิวทัศน์ให้ได้ดั่งตาเห็น โดดเด่นด้วยขนาดกะทัดรัด นำ้าหนักเบา พกพาสะดวก คุณภาพเยี่ยมและราคาประหยัด ใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ได้สะดวก

AF-S Nikkor 16-35mm.

f/4G ED VR

AF-S Nikkor 18-35mm. f/3.5-4.5G ED

กล้อง Nikon D7100 เลนส์ AF-S Nikkor 10-24mm f/3.5-4.5G ED ; 1/30 Sec f/11, ISO 200

กล้อง Nikon D7100 เลนส์ AF-S Nikkor 18-300mm f/3.5-6.3G ED VR ; 1/500 Sec f/8, ISO 400

กล้อง Nikon D7000 เลนส์ AF Fisheye Nikkor 10.5mm. f/2.8G ED ; 1/60 Sec f/11, ISO 200

กล้อง Nikon D3 เลนส์ AF-S Nikkor 14-24mm f/2.8G ED ; 1/125 Sec f/8, ISO 400

กล้อง Nikon D600 เลนส์ AF-S Nikkor 16-35mm f/4G ED VR ; 1/30 Sec f/16, ISO 200 , ฟิลเตอร์ : CPL

Page 5: SHOOTING LANDSCAPE - Nikon...Low เล อกให เหมาะสมก บสภาพแสงและสภาพฉาก แต ควรใช ขาต งกล องในการบ

RECOMMENDED LENSES

เลนส์แนะนำาสำาหรับการถ่ายภาพแลนด์สเคป

MC-DC2

อุปกรณ์เสริมที่จำาเป็นสำาหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์

ACCESSORIES

เลนส์มุมกว้างความไวแสงสูงที่เหมาะอย่างยิ่งสำาหรับนักเดินทาง ด้วยนำ้าหนักเพียง 355 กรัม ระยะโฟกัสใกล้สุด 0.2 เมตร และขนาดรูรับแสงกว้างสุด f/1.8 ทำาให้เลนส์รุ่นนี้ใช้ถ่ายภาพทิวทัศน์ได้ดีเยี่ยม ทั้งการถ่ายภาพที่ต้องคุมความชัดลึกสูง และการสร้างภาพแบบชัดตื้นเพื่อเน้นบางจุดในสถานที่นั้นให้เด่นออกจากฉากหลัง

เลนส์ฟิชอายสำาหรับกล้องฟอร์แมต FX ให้ภาพกว้าง 180 องศา เก็บภาพได้กว้าง โดดเด่นด้วยเพอร์สเปคทฟี ให้ความคมชัดสูง เป็นเลนส์ที่มีขนาดเล็ก กะทัดรัด นำ้าหนักเบา ใส่ฟิลเตอร์ด้านท้ายเลนส์

ฟิลเตอร์ โพลาไรซ์

เป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้หากคุณชอบถ่ายภาพทิวทัศน์ ฟิลเตอร์โพลาไรซ์จะใช้ประโยชน์ในตัดแสงสะท้อนที่ผิวนำ้าโขดหิน ใบไม้ ใบหญ้า ภาพจึงมีสีสันสดใส หากเป็นผิวนำ้าจะทำาให้มองทะลุลงไปใต้นำ้าได้ นอกจากนั้นยังทำาให้ท้องฟ้าเข้มขึ้น และสามารถใช้แทนฟิลเตอร์ ND ได้ โดยฟิลเตอร์โพลาไรซ์จะลดแสงลง 2 สตอป

ฟิลเตอร์สีครึ่งซีก (Graduated Filter)

ในการถ่ายภาพทิวทัศน์มักจะพบปัญหาว่าแสงระหว่างท้องฟ้ากับทิวทัศน์เบื้องล่างแตกต่างกันมาก หากวัดแสงที่พื้นท้องฟ้าก็จะสว่างจ้า แต่ถ้าวัดแสงท้องฟ้าพื้นก็จะมืด ฟิลเตอร์กราดูเอทจะมีสีครึ่งซีกส่วนล่างใส จึงสามารถลดความสว่างของท้องฟ้าให้ใกล้เคียงกับพื้นได้ โดยมีให้เลือกใช้หลายสีเช่น ส้ม นำ้าเงิน ม่วง ชมพู และเทา โดยถ้าต้องการเพียงลดความสว่างของท้องฟ้า แต่ไม่เปลี่ยนสีท้องฟ้าควรใช้สีเทา (ND Graduated)

กระเป๋ากล้อง

กระเป๋ากล้องมีความสำาคัญมากสำาหรับการเดินทางออกไปถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรเลือกกระเป๋ากล้องที่ขนาดไม่ใหญ่เกินไป นำ้าหนักของกระเป๋าไม่มาก เพราะจะเป็นภาระต่อการเดินทาง สามารถป้องกันฝุ่นและฝนได้ หยิบใช้อุปกรณ์ต่างๆ ได้สะดวก หากมีกล้องและเลนส์หลายตัวควรเลือกกระเป๋ากล้องแบบเป้ เพราะนำ้าหนักจะตกบนบ่าและเอวอย่างสมดุล ทำาให้การเดินระยะไกลๆ ทำาได้คล่องตัว (กระเป๋าแบบสะพายไหล่นำ้าหนักจะตกลงข้างเดียวจึงไม่สมดุลทำาให้เมื่อยล้ามากกว่า)

ฟิลเตอร์ ND

เป็นฟิลเตอร์ที่ใช้ลดปริมาณแสง ใช้ประโยชน์เพื่อให้ได้ความเร็วชัตเตอร์ตำ่า เช่น การถ่ายภาพนำ้าตกให้เห็นสายนำ้าพลิ้วเป็นสาย การถ่ายภาพให้เห็นคลื่นที่ซัดโขดหินพลิ้วเป็นเส้น หรือ เมฆบนท้องฟ้าที่พลิ้วไหวเป็นต้น ฟิลเตอร์ ND มีหลายเบอร์ (ระดับความเข้ม) ควรเลือกที่ลดแสงได้เกิน 4 สตอป

ขาตั้งกล้อง

เป็นอุปกรณ์ที่จำาเป็น โดยเฉพาะเมื่อต้องถ่ายภาพในช่วงเช้ามืดหรือช่วงโพล้เพล้ซึ่งต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ตำ่า ขาตั้งกล้องจะทำาให้คุณได้ภาพที่คมชัด แม้จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ตำ่ามาก ควรเลือกขาตั้งที่มีความสูงใกล้เคียงกับระดับสายตา (เมื่อติดกล้องบนขาตั้ง) จะได้ไม่ต้องก้มและสามารถหลบฉากหน้าที่เกะกะสายตาได้ และควรเลือกขาตั้งกล้องที่สามารถรับนำ้าหนักกล้องได้อย่างมั่นคง

สายลั่นชัตเตอร์

เมื่อต้องถ่ายภาพทิวทัศน์ในสภาพแสงน้อยด้วยความเร็วชัตเตอร์ตำ่าโดยใช้ขาตั้งกล้อง สายลั่นชัตเตอร์คืออุปกรณ์ที่จำาเป็นต้องใช้เพื่อให้ไม่เกิดการสั่นไหวจากนิ้วที่กดลงไปที่ปุ่มลั่นชัตเตอร์ ภาพที่ได้จึงคมชัด หรือเมื่อต้องเปิดชัตเตอร์ B เพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ยามคำ่าคืน ก็จะสามารถล็อกให้ชัตเตอร์เปิดค้างไว้ตามต้องการได้

AF-S Nikkor 20 mm. f/1.8G ED

AF Fisheye Nikkor 16mm. f/2.8D

Nikon D3 เลนส์ AF Fisheye Nikkor 16mm. f/2.8D : 1/125 Sec f/11, ISO 200

Nikon D7000 เลนส์ AF-S Nikkor 10-24mm f/3.5-4.5G ED ; 1/125 Sec f/8, ISO 200 ฟิลเตอร์ : CPL

Page 6: SHOOTING LANDSCAPE - Nikon...Low เล อกให เหมาะสมก บสภาพแสงและสภาพฉาก แต ควรใช ขาต งกล องในการบ

เรื่องน่ารู้และเทคนิคการถ่ายภาพแลนด์สเคป

การใช้เลนส์มุมกว้างในการถ่ายภาพแลนด์สเคปนั้นสิ่งที่มักจะเกิดกับมือใหม่คือ ภาพดูกว้าง เวิ้งว้าง ไร้จุดเด่น ภาพดูแบนขาดมิติ นั่นเป็นเพราะผู้ถ่ายมองภาพแต่เพียงความกว้าง อยากเก็บภาพให้หมดอย่างที่สายตาเห็น แต่ไม่เลือกถ่ายภาพที่จะแสดงทัศนมิติของเลนส์มุมกว้าง ทำาให้ทุกสิ่งในภาพดูไกลและมีขนาด

TIPS & TECHNIQUE

เล็กไปหมด ภาพจึงขาดความน่าสนใจ การเลือกใช้ฉากหน้าที่ดีเช่น กอดอกไม้ โขดหิน แล้วเข้าใกล้ฉากหน้าให้มากจะทำาให้ส่วนนี้มีขนาดใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่อยู่ห่างออกไปทำาให้ในภาพมีระยะใกล้ กลาง และไกล ภาพจึงดูมีมิติ ไม่ดูกว้างแบบเวิ้งว้าง ภาพจึงดูน่าสนใจกว่า

สร้างมิติด้วยฉากหน้า

แม้จะใช้ฉากหน้าแล้วก็ตาม แต่ถ้ากล้องยังอยู่ค่อนข้างห่างจากฉากหน้า ภาพก็ไม่สามารถแสดงความลึกของภาพได้มากนัก เราสามารถทำาให้คุณสมบัติเด่นของเลนส์มุมกว้างแสดงพลังได้ชัดเจนขึ้นโดยเลื่อนกล้องเข้าไปใกล้ฉากหน้าให้มากขึ้น เลือกฉากหน้าที่เหมาะสมกับภาพ คุมความชัดลึกให้ได้ เท่านี้ภาพท่ีได้จะดูมีมิติมากขึ้น

ใกล้เข้าไปอีก

ภาพบนบันทึกโดยเลื่อนกล้องเข้าใกล้ฉากหน้าอย่างมาก แล้วคุมความชัดลึกด้วยรูรับแสงแคบ ภาพจะมีมิติกว่าภาพเล็กด้านซ้ายซึ่งบันทึกจากที่เดียวกัน และภาพบนนำามาปรับลดความบิดเบี้ยวของเส้นที่ถ่ายด้วยเลนส์ฟิชอาย กล้อง Nikon D3 เลนส์ AF Nikkor 16mm. f/2.8 D ; 1/60 Sec f/16, ISO 400

ภาพเปรียบเทียบสองภาพนี้แสดงให้เห็นถึงมิติภาพจากการเข้าใกล้ฉากหน้ามากกว่า กล้อง Nikon D7100 เลนส์ AF-S Nikkor 10-24mm. f/3.5-4.5G ED ; 1/60 Sec f/16, Mode : M, ISO 400

กลอ้ง Nikon D7100 เลนส์ AF-S Nikkor 10-24mm. f/3.5-4.5G ED ; 1/250 Sec f/11, Mode : M, ISO 400

Page 7: SHOOTING LANDSCAPE - Nikon...Low เล อกให เหมาะสมก บสภาพแสงและสภาพฉาก แต ควรใช ขาต งกล องในการบ

เลือกใช้รูรับแสง

ที่เหมาะสม

ในการถ่ายภาพแลนด์สเคป นักถ่ายภาพมือใหม่มักจะมีความเขา้ใจผิดว่าควรใช้รูรับแสงแคบๆ เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดลึกและคมชัด ดังน้ันในการถ่ายภาพจึงมักจะเปิดรูรับแสงแคบสุด f/22 เพื่อให้ภาพมีความชัดลึกสูงสุด แต่ส่ิงที่ควรทราบคือที่รูรับแสงแคบๆ เช่น f/22 หรือ f/16 แมจ้ะได้ความชัดลึกสูงแต่คุณจะเสียรายละเอียดของภาพไปค่อนข้างมาก เนื่องจากปัญหาเรื่อง การเลี้ยวเบนของแสง (Diffraction) ทำาให้ภาพมีความคมชัดลดลง ดังนั้นในการถ่ายภาพควรดูว่าความชัดลึกที่คุณต้องการนั้นคือจากจุดไหนถึงจุดไหน เช่น จากกอดอกไม้ (ห่าง 1 เมตร) ถึงระยะไกลสุด ( อินฟินิตี้ ) คุณอาจใช้เพียง f/11 ก็ได้ความชัดลึกครอบคลุมแล้ว สิ่งสำาคัญอยู่ที่ตำาแหน่งการโฟกัส หากคุณปรับโฟกัสที่กอดอกไม้คุณอาจต้องใช้ถึง f/22 ในการทำาให้ความคมชัดครอบคลุมถึงระยะอินฟินิต้ี แต่ถ้าโฟกัสที่ระยะกลางๆ เช่น 3 เมตร ก็จะได้ความลึกด้านหน้าครอบคลุมมาถึงระยะ 1 เมตร และด้านหลังไปถึงอินฟินิตี้ได้ นี่คือสิ่งสำาคัญของการถ่ายภาพแลนด์สเคปที่ควรรู้

การจะได้ภาพแลนด์สเคปที่สวยงามนั้น นักถา่ยภาพจะต้องหาข้อมูลของสถานที่นั้นๆก่อนว่า ควรเดินทางไปในช่วงเดือนไหนจึงจะสวยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นทุ่งดอกไม้ นำ้าตก ล้วนมีช่วงเวลาที่ดีที่สุด การไปผิดฤดูกาล ผิดช่วงเวลาคุณอาจไม่พบสิ่งที่ต้องการ ในแต่ละสถานที่ แต่ละมุมถ่ายภาพก็มีช่วงเวลาที่เหมาะสม อย่างเช่นนำ้าตกบางแห่งต้องถ่ายช่วงเช้า เพราะช่วงบ่ายย้อนแสง จุดชมวิวบางแห่งเห็นเฉพาะดวงอาทิตย์ตก การมาถ่ายภาพในช่วงเช้าจึงไม่มีอะไรน่าสนใจ ทุ่งดอกไม้เช่น ทุ่งดอกกระเจียว ทุ่งบัวตองนั้นต้องเดินทางไปในช่วงที่ดอกไม้บานเต็มที่จงึจะได้ภาพสวย ดังนั้นการหาข้อมูลก่อนเดินทางจะทำาให้คุณไม่พลาดสิ่งที่ต้องการ

ไปให้ถูกที่ถูกเวลา

ภาพที่ซับเจกต์อยู่ไกลไม่จำาเป็นต้องใช้รูรับแสงแคบ กล้อง Nikon D90 เลนส์ AF-S Nikkor 70-300mm. f/4-5.6G ED VR ; 1/500 Sec f/8, ISO 200

(ภาพบน) กล้อง Nikon D300S เลนส์ AF-S Nikkor 10-24mm. f/3.5-4.5G ED ; 1/100 Sec f/11, ISO 200(ภาพล่าง) กล้อง Nikon D7100 เลนส์ AF-S Nikkor 10-24mm. f/3.5-4.5G ED ; 1/200 Sec f/8, ISO 200

กล้อง Nikon D7000 เลนส์ AF Micro Nikkor 105mm. f/2.8G ED VR I ; 1/125 Sec f/3.5, Mode M, ISO 200

กล้อง Nikon D7100 เลนส์ AF-S Nikkor 10-24mm. f/3.5-4.5G ED ; 1/60 Sec f/16, ISO 200 , ฟิลเตอร์ CPL

Page 8: SHOOTING LANDSCAPE - Nikon...Low เล อกให เหมาะสมก บสภาพแสงและสภาพฉาก แต ควรใช ขาต งกล องในการบ

การถ่ายภาพแลนด์สเคปนั้น โชคเป็นสิ่งสำาคัญเพราะธรรมชาตินั้นเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าวันนี้ท้องฟ้าจะสวยเพียงใด นักถ่ายภาพมืออาชีพหลายคนจึงต้องเดินทางไปที่เดิมๆ หลายต่อหลายครั้ง เพื่อให้ได้ภาพอย่างที่อยากได้ บางครั้งต้องอดทนรอคอยให้แสงเป็นใจอยู่หลายวัน

การถ่ายภาพแลนด์สเคปโดยเฉพาะช่วงโพล้เพล้หรือช่วงฟ้าสาง แนะนำาให้คุณเปิด LIVE VIEW เพื่อดูค่าแสงและสีสันของภาพที่คุณจะได้ หากสีไม่ถูกใจคุณสามารถปรับไวท์บาลานซ์แล้วดูผลที่ได้บนหน้าจอ คุณสามารถปรับ Picture Control แบบต่างๆ ปรับลด-เพิ่มความอิ่มสี คอนทราสต์และโทนสี แล้วดูผลจากบนหน้าจอ LCD ได้ทันทีก่อนบันทึก ซึ่งจะทำาให้มือใหม่สามารถควบคุมแสงและสีสันได้ง่ายกว่าการใช้ช่องมองภาพ

ในการถ่ายภาพแลนด์สเคป เราต้องจะเดินทางไปถึงสถานที่ถ่ายภาพเร็วสักหน่อย เพื่อที่จะมีเวลาเดินดูรอบๆ ว่ามีมุมใดที่น่าสนใจ สามารถใช้อะไรเป็นฉากหน้าได้ โดยเฉพาะจุดถ่ายภาพที่เป็นมุมมหาชน การไปถึงที่หมายล่วงหน้าจะทำาให้สามารถเลือกมุมได้ หากไปช้ามุมดีๆ มักจะถูกจับจองหมด

เมื่อได้มุมที่ต้องการคุณควรเตรียมพร้อมด้วยการตั้งกล้องบนขาตั้ง ปรับความสูงให้เหมาะสม ใส่สายลั่นชัตเตอร์ นำาเลนส์มาลองสวมกับกล้องแล้วปรับเลือกช่วงซูมที่เหมาะสม ปรับระนาบของภาพให้ตรงเพื่อไม่ให้เส้นขอบฟ้าเอียง โดยใช้ระดับนำ้าที่ติดอยู่กับหัวขาตั้งกล้องหรือใช้ระดับนำ้าอิเล็กทรอนิกส์ของกล้อง

ความชดัลึกของภาพคือ ระยะของช่วงความชัดตั้งแต่ด้านหน้าจุดโฟกัสไปจนถึงด้านหลังจุดโฟกัสซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดรูรับแสงที่ใช้ (รูรับแสงกว้างความชัดลึกน้อย รูรับแสงแคบความชัดลึกสูง) และระยะโฟกัส (ปรับโฟกัสใกล้ความชัดลึกจะน้อยลง) ความชัดลึกจะครอบคลุมมาด้านหน้าจุดโฟกัสประมาณ 1/3 และครอบคลุมไปด้านหลัง 2/3 ด้วยคุณสมบัติเช่นนี้ทำาให้ในการถ่ายภาพแลนด์สเคป ช่างภาพมืออาชีพมักจะใช้ในการเลือกตำาแหน่งโฟกัสโดยจะไม่โฟกัสในระยะอินฟินิต้ี และไม่โฟกัสที่ฉากหน้า แต่จะเลือกโฟกัสจากตำาแหน่งที่ให้ความชัดลึกครอบคลมุสูงสุดที่เรียกกันว่า Hyperfocal Distance ซึ่งจะเป็นตำาแหน่งโฟกัสที่ทำาให้ไม่จำาเป็นต้องเปิดรูรับแสงแคบสุดก็ยังให้ความชัดลึกเพียงพอ จุดดีคือการใช้รูรับแสงช่วงกลางๆ เช่น f/8 หรือ f/11 ภาพจะมีความคมชัดสูงกว่าการเปิดรูรับแสง f/16 หรือ f/22 และยังทำาให้ได้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น 1-2 สตอป หากบริเวณที่ถ่ายภาพมีลมพัดก็จะได้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงพอจะหยุดการสั่นไหวของใบไม้ ดอกไม้ได้

อดทนและรอคอย

พร้อมสำาหรับการบันทึกภาพ เลือกมุมที่ดีที่สุด

ใช้ LIVE VIEW เพื่อตรวจสอบค่าแสงและสีสัน

Hyperfocal Distance

เทคนิคของมืออาชีพที่คุณก็ทำาได้

กล้อง Nikon D7100 เลนส์ AF-S Nikkor 10-24mm. f/3.5-4.5G ED ; 1/100 Sec f/11, WB : 9000K, ISO 200

(ภาพขวา) กล้อง Nikon D3 เลนส์ AF-S Nikkor 24-70mm. f/2.8G ED ; 1/200 Sec f8, ISO 200

กล้อง Nikon D7100 เลนส์ AF-S Nikkor 70-300mm. f/4.5-5.6G ED VR ; 1/500 Sec f/8, WB : 8000K, ISO 200

กล้อง Nikon D7100 เลนส์ AF-S Nikkor 18-105mm. f/3.5-5.6G ED VR ; 1/125 Sec f/11, WB : 9000K, ISO 200

Page 9: SHOOTING LANDSCAPE - Nikon...Low เล อกให เหมาะสมก บสภาพแสงและสภาพฉาก แต ควรใช ขาต งกล องในการบ