km.saard.ac.thkm.saard.ac.th/files/150331099502414_15121820203037.docx · web viewคร ให น...

65
แแแแแแแแแแแแแแแแแ 1 แแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแ 1 แแแแแแแแ 5 แแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแแแแแแแ แแแแ 4 แแแแแแแ 1. แแแแแแแแแแแแแแแแแแ/แแแแแแแแแ ส 3.1 ส.1/3 สสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสส 2. แแแแแแแแแแ/แแแแแแแแแแแแแ สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสส 3. แแแแแแแแแแแแแแแ 3.1 แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ 1) สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส 2) สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส 3) สสสสสสสสสส สสสสสส สสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส 3.2 แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ

Upload: others

Post on 26-Dec-2019

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

แผนการเรียนรู้ที่ 1

สาระการเรียนรู้ เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

หน่วยที่ 5 เศรษฐกิจพอเพียงกับการดำรงชีวิต เวลา 4 ชั่วโมง

1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

ส 3.1 ม.1/3 อธิบายความเป็นมา หลักการ และความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย

2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

การนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคมไทยอย่างสมดุลและยั่งยืน

3. สาระการเรียนรู้

3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง

1) หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง

2) การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต

3) ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย

3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

(พิจารณาตามหลักสูตรสถานศึกษา)

4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

4.1 ความสามารถในการสื่อสาร

4.2 ความสามารถในการคิด

1) ทักษะการทำให้กระจ่าง

2

2) ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้

4.3 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

2. ซื่อสัตย์สุจริต

3. ใฝ่เรียนรู้

4. อยู่อย่างพอเพียง

6. ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

แผ่นพับความรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

7. การวัดและการประเมินผล

7.1 การประเมินผลก่อนเรียน

- ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

7.2 การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1) ตรวจใบงานที่ 5.1 เรื่อง หลักเศรษฐกิจพอเพียง

2) ตรวจใบงานที่ 5.2 เรื่อง การวิเคราะห์หลักเศรษฐกิจพอเพียง

3) ตรวจใบงานที่ 5.3 เรื่อง กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง

4) ตรวจใบงานที่ 5.4 เรื่อง พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

5) ประเมินการนำเสนอผลงาน

3

7) สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

8) สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

9) สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์

7.3 การประเมินหลังเรียน

- ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

7.4 การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

- ตรวจแผ่นพับความรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

8. กิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1 -2

นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

ขั้น นำเข้าสู่บทเรียน

ครูเล่าประวัติบุคคลที่ปฏิบัติตนสอดคล้องกับ ให้นักเรียนฟัง แล้วให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์การกระทำที่สอดคล้องกับความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม โดยมีครูช่วยชี้แนะ

ขั้น สอน

1. ครูอธิบายความรู้ให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2. ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่าผลที่ได้รับจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

4

3. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความสมัครใจ กลุ่มละ 5-7 คน แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาหาความรู้เรื่อง หลักการเศรษฐกิจพอเพียง จากหนังสือเรียน และช่วยกันทำใบงานที่กำหนดให้ ดังนี้

ใบงานที่ 1 เรื่อง หลักเศรษฐกิจพอเพียง

ใบงานที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์หลักเศรษฐกิจพอเพียง

4. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มผลัดกันเล่าผลงานของตนในใบงานที่ 1 และ 2 ให้สมาชิกในกลุ่มฟัง

5. ครูสมาชิกบางคนในกลุ่มออกมานำเสนอความรู้จากใบงานที่ 1 และ 2 ตามความเหมาะสม

ขั้น สรุป

นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลที่ได้รับจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ โดยมีครูตรวจสอบความถูกต้องและให้ข้อเสนอแนะเพิ่ม

ชั่วโมงที่ 3-4

ขั้น นำเข้าสู่บทเรียน

1. ครูให้นักเรียนดูภาพกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต แล้วให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวนั้นสามารถนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นแนวทางการปฏิบัติได้อย่างไร และคาดว่าจะเกิดผลอย่างไร

ขั้น สอน

1. รวบรวมข่าวสาร ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ และหลักการ

นักเรียนกลุ่มเดิมร่วมกันศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้

· การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของสังคม

· การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของนักเรียน

5

· ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย

2. ประเมินคุณค่าและประโยชน์

นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำใบงาน

ใบงานที่ 3 เรื่อง กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง

ใบงานที่ 4 เรื่อง การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิต

3. เลือกและตัดสินใจ

1. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันเสนอแนวทางการปฏิบัติตนตามหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มเลือกแนวทางการปฏิบัติตนตามที่ร่วมกันคิด แล้วนำไปปฏิบัติอย่างน้อย 5 พฤติกรรม

4. ปฏิบัติ

นักเรียนและคนบันทึกการปฏิบัติตนในการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แล้วรายงานผลต่อครู

ขั้น สรุป

ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปแนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตของคนในสังคม คุณค่า ความสำคัญ และประโยชน์ของประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนจัดทำแผ่นพับความรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง โดยให้

ครอบคลุมประเด็นที่กำหนด

นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

6

9. สื่อ/แหล่งเรียนรู้

9.1 สื่อการเรียนรู้

1) หนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์ ม. 1

2) หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม

- สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2546). กษัตริย์นักพัฒนา. กรุงเทพฯ : ดอกเบี้ย.

3. เอกสารประกอบการสอน

4. ใบงานที่ 1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

5. ใบงานที่ 2 เรื่อง หลักเศรษฐกิจพอเพียง

6. ใบงานที่ 3 เรื่อง การวิเคราะห์หลักเศรษฐกิจพอเพียง

7. ใบงานที่ 4 เรื่อง กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง

8. ใบงานที่ 5 เรื่อง การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิต

9.2 แหล่งเรียนรู้

1) ห้องสมุด

2) แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

-http://www.sufficiencyeconomy.org/

-http://www.doae.go.th/report/SE/html/01.htm

-http://www.inspect9.moe.go.th/economic_king80.htm

-http://sufficiencyeconomy.panyathai.or.th/

-th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง

-www.gotoknow.org/blogs/posts/166775

7

10. กิจกรรมเสนอแนะ

.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

11. บันทึกหลังสอน

.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

12. ปัญหา / อุปสรรค

.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

13. ข้อเสนอแนะ / แนวทางในการแก้ปัญหา

........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ.............................................. ผู้สอน

( นางรุจิรา ทองคำ)

24 พฤศจิกายน 2558

8

14. ความเห็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ.......................................................

( )

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

15. ความเห็นผู้อำนวยการ

.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ...................................................

( นายวินัย กรานมูล )

ผู้อำนวยการโรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา

(เอกสารประกอบการสอน)

หลุดพ้นกระแส ปรับเปลี่ยนชีวิตสู่ความพอเพียง

“นายประเสริฐ ด้วยวงศ์”

บ้านมณฑล หมู่ที่ 6 ตำบลเทพนิมิต อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด

ภูเขาแยก น้ำท่วมนา เปลี่ยนวิถีชีวิต

นายประเสริฐ ด้วยวงศ์ กำนันตำบลเทพนิมิต อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ยึดอาชีพทำนาและมีวิถีชีวิตที่เหมือนกับชาวบ้านคนอื่นๆ วิถีชีวิตของกำนันประเสริฐเปลี่ยนไปเมื่อเกิดมหันตภัยทางธรรมชาติในปี 2537-2538 ฝนที่ตกหนักติดต่อกันหลายวัน ประจวบเหมาะกับชาวบ้านถากถางป่าบนภูเขาบรรทัด เพื่อขุดพลอยและนำไปขาย ทำให้น้ำเซาะแผ่นดินบนภูเขาบรรทัด เกิดเป็นช่องทางน้ำไหลหลากอย่างรวดเร็ว ทะลักเข้ามาในทุกหมู่บ้านของอำเภอเขาสมิง ทำให้น้ำท่วมข้าวที่กำลังออกรวง ความเสียหายในทุกพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ เป็นเวลาติดต่อกันถึง 2 ปี ทำให้คนในชุมชนถึงกับหมดเนื้อหมดตัวไปตามๆ กัน หลังจากนั้นเริ่มใหม่โดยไม่ได้ทำนาเป็นอาชีพหลักเพียงอย่างเดียว แต่ได้ทำอาชีพรองคือการทำสวนผลไม้ และเลี้ยงปลา เป็ด ไก่ เสริมความมั่นคงอีกแรงหนึ่งด้วย แต่ก็ไม่สามารถทำให้กำนันประเสริฐหายจนหรือจนน้อยลงไปได้เลย เนื่องจากราคาผลผลิตตกต่ำ หลายต่อหลายครั้งที่กำนันและลูกบ้านต้องเปลี่ยนอาชีพมาปลูกมันสำปะหลัง ปลูกยางพาราราคาก็ตกต่ำ ปลูกผลไม้ก็ล้นตลาด กำนันประเสริฐต้องประสบปัญหากับความล้มเหลวในการประกอบอาชีพครั้งแล้วครั้งเล่า และเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ตามกระแสโดยมิได้ศึกษาข้อมูลในสิ่งที่จะทำอย่างรอบคอบ กับการตัดสินใจโดยไม่ดูความพร้อมของตนเอง จึงทำให้กำนันเกิดปัญหาหนี้สิน เมื่อถึงวันนี้ กระแสการปลูกปาล์มก็เป็นทางเลือกและเป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็ว โดยมีสิ่งจูงใจในการเลือกปลูกปาล์มแทนพืชอื่น คือหากในพื้นที่จะปลูกปาล์มมีต้นไม้อื่นแล้วจะให้เงินชดเชยต้นละ 500 บาท กำนันไม่คิดที่จะทำตามกระแส จึงไม่คิดที่จะโค่นต้นผลไม้เพื่อปลูกปาล์มแทนเลยแม้แต่ต้นเดียว แต่ด้วยความเป็นห่วงลูกบ้านของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่ขณะนี้ตกอยู่ในสภาพมีฐานะยากจน มีหนี้สินมาก และขาดความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพเพื่อดำรงชีวิต และอาจเป็นไปได้ที่จะตัดสินใจเสี่ยงตามกระแส กำนันประเสริฐจึงได้เรียกประชุมลูกบ้านทั้งตำบล และให้ข้อคิด ผลของการประชุมครั้งนั้นทำให้ไม่มีครัวเรือนใดโค่นต้นเงาะทิ้งเพื่อนำพื้นที่มาปลูกปาล์มแทน จะมีก็เพียงแต่โค่นต้นที่แก่ทิ้งหรือบางครัวเรือนที่อยากจะทดลองปลูกก็เพียงแต่นำมาปลูกไว้ตามหัวไร่ปลายนาเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะจากบทเรียนที่กำนันและคนอื่นๆ ได้รับมา จึงทำให้ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังมากขึ้นเพื่อให้ครอบครัวมีภูมิคุ้มกันภัย ปรับวิถีชีวิตคืนสู่ธรรมชาติของหมู่บ้าน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ที่ทำให้ผลไม้มีรสชาติดีเยี่ยม มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่ใช้เพาะปลูกได้ตลอดปี อีกทั้งยังมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักและประทับใจแก่นักท่องเที่ยวทั่วโลกมาช้านาน จึงทำให้กำนันใช้เวลาที่เหลือทั้งหมดจากการปฏิบัติหน้าที่กำนันหันมาปลูกผลไม้เพิ่มเติมและศึกษาหาความรู้ นำมาปรับปรุงพันธุ์ผลไม้ให้มีคุณภาพ ทดลองทำให้ผลไม้ออกผลผลิตนอกฤดูกาล โดยประสานขอความช่วยเหลือจากทางราชการ

ครอบครัวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

เริ่มต้นที่ครอบครัวของเราก่อนปฏิบัติจนเห็นผลเป็นรูปธรรม จึงค่อยชักชวนให้ลูกบ้านทดลองปฏิบัติ เป็นสิ่งที่กำนันตั้งใจไว้ ตำรับตำราที่เคยไปร่วมอบรมโครงการทฤษฎีใหม่ และความรู้การทำบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือนที่ได้รับติดมือกลับมา กำนันก็เริ่มนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติโดยมีหลักคิดว่าหากเรานำแนวคิด หลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในครอบครัวแล้ว อย่างน้อยก็จะช่วยทำให้เราสามารถลดรายจ่ายลงได้บ้าง อีกทั้งยังเป็นผลดีด้วยซ้ำเพราะเราจะมีรายได้จากการนำผลผลิตในครัวเรือนไปขายทุกวัน

“...กิจกรรมที่ได้ทำ คือ ทำบัญชีรับ-จ่ายของครอบครัว จัดลำดับความสำคัญ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหรือจำเป็น รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกวัน คือ การซื้อพืชผักสวนครัวทุกชนิดและเนื้อสัตว์จากตลาดเพื่อนำมาปรุงเป็นอาหารทุกวัน และยังพบสิ่งที่ไม่จำเป็นที่เกิดจากรายจ่าย คือ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และเที่ยวกลางคืน เป็นที่มาของอีก 2 กิจกรรม คือ ปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง ซึ่งแต่ก่อนไม่ได้ปลูกพืชผักสวนครัวอะไรเลยทุกวันที่ทำอาหารต้องซื้อพืชผักสวนครัวทุกชนิดจากตลาดทั้งสิ้น และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อตัดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และเที่ยวเตร่ ตัดสินใจเลิกพฤติกรรมไม่ดีอย่างเด็ดขาด ทำให้มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น และยังทำให้มีเงินเหลือสำหรับปลดหนี้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ที่สำคัญทำให้ครอบครัวมีความสุข อบอุ่นมากขึ้น ส่วน 3 กิจกรรมที่เหลือ คือ ขุดบ่อเลี้ยงปลาดุกและปลาช่อน ในเนื้อที่ 6 ไร่ 1 บ่อ ซึ่งหลักคิดคือคนสนใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น จึงหันมานิยมบริโภคเนื้อปลาแทนเนื้อสัตว์อื่น ด้วยเหตุผลที่ว่าเนื้อปลาสามารถย่อยได้ง่าย และไม่มีไขมัน ราคาก็ไม่แพงมากนัก ส่วนการเลี้ยงก็ไม่ยุ่งยาก เมื่อครบกำหนดจึงจับปลาไปขายได้ราคาดี เก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ลงทุนเลี้ยงปลาครั้งต่อไป และนำส่วนหนึ่งไปใช้หนี้ธนาคาร อีกกิจกรรมหนึ่ง คือ ทำสวนผลไม้ผสมผสานเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมาก มังคุด เงาะ ทุเรียน ลองกอง สละ ซึ่งเป็นการปลูกทดแทนผลไม้ที่ได้โค่นทิ้งไป แต่การปลูกเพิ่มเติมครั้งนี้ต้องดูแลดินที่เสียจากการปลูกมันสำปะหลัง และปัญหาผลไม้มักจะราคาถูกเมื่อออกผลผลิตพร้อมๆ กัน แต่ถึงอย่างไรก็ยังทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นในแต่ละปีอย่างเห็นได้ชัด กิจกรรมสุดท้าย คือ เลี้ยงไก่บ้าน เพราะเป็นที่นิยมรับประทานของคนทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี เนื้อแน่น ไม่เละ เลี้ยงง่าย ต้นทุนในการเลี้ยงก็ไม่สูง ระยะเวลาในการเลี้ยงก็สั้น เลี้ยงไม่นานก็ขายได้แล้ว อีกทั้งยังขายได้ราคาสูงในช่วงเทศกาลไหว้บรรพบุรุษ ตรุษจีนและสารทจีน...”

แผนชีวิตสู่แผนชุมชน

ความมุ่งมั่นที่จะนำชีวิตทุกชีวิตในตำบลเทพนิมิตได้อยู่อย่างพอเพียงผ่านถ้อยคำต่อไปนี้ของกำนัน คือ “...ต้องเผยแพร่ขยายผลให้กับคนในหมู่บ้านได้รู้และทดลองปฏิบัติดู โดยใช้วิธีการ ขั้นตอนที่ตนเองได้ปฏิบัติมา และจะขยายผลให้ครบทุกหมู่บ้านของตำบลเทพนิมิต สิ่งที่ตั้งใจทำคือ การให้ความรู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแก่คนในชุมชนและแนะนำชักชวนให้ปฏิบัติตามแนวทางครบทุกหมู่บ้านในตำบล ต้องจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใช้ในการเพาะปลูกและนำขายสู่ตลาดภายนอก

จัดตั้งร้านค้าชุมชน เพื่อเป็นแหล่งนำผลผลิตจากครัวเรือนที่เหลือจากการบริโภคมาจำหน่าย เพื่อลดการพึ่งพาภายนอกให้มากที่สุด และหาตลาดภายนอกรองรับผลผลิตของครัวเรือน เพื่อระบายผลผลิตและป้องกันปัญหาถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง พึ่งตนเองเป็นหลัก ทำเป็นขั้นตอน ทำให้พอดีในครัวเรือนเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และใช้คุณธรรมในการครองตน คือ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่อยากได้ของผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ยึดชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการครองตนและดำรงชีวิต เป้าหมายสุดท้ายคือ ประชาชนหายจน ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง...”

บทสรุปสุดท้ายกับวิถีการดำเนินชีวิตของกำนันประเสริฐ ด้วยวงศ์ ที่ผ่านมาต้องพบกับปัญหาอุปสรรคมากมาย ซึ่ง ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ทั้งจากภัยธรรมชาติและสภาพสิ่งแวดล้อม/เศรษฐกิจภายนอก ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับครอบครัว แต่หากมีการศึกษาหาความรู้ข้อมูล โดยใช้เหตุผลไตร่ตรอง อย่างละเอียดรอบคอบตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยธรรมชาติ และการเปลี่ยนไปตามกระแสความต้องการพืชเศรษฐกิจของตลาดสินค้าก็คงไม่ทำให้ครอบครัวของกำนันต้องประสบกับปัญหามากมายเช่นนี้ ความพอประมาณ ไม่โลภ จนมองเห็นสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ด้อยคุณค่า เชื่อมั่นและศรัทธาในความเป็นตัวตนของตนเอง ไม่ยอมรับในสิ่งที่ยังไม่ประจักษ์แก่สายตาอย่างชัดเจนแล้ว ก็จะทำให้ชีวิตเปรียบเสมือนมีเกราะที่แข็งแรงห่อหุ้มให้ปลอดภัยตลอดเวลา ไม่ต้องคอยเสี่ยงแบบไม่รู้ชะตากรรม ความสามารถในการพลิกผันชีวิตครอบครัวให้กลับฟื้นขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จะต้องมีสติและใช้ปัญญาส่องนำทางชีวิตใหม่ ถึงแม้ว่าจะเป็นทางเดิมที่เคยเดินมาก่อนแล้วในอดีตก็ตาม การมีคุณธรรม ซื่อสัตย์ อดทน ขยันหมั่นเพียร ไม่ยอมแพ้ต่อความยากลำบากและที่สำคัญคือความมั่นใจในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริ จึงทำให้ครอบครัวของกำนันประเสริฐ เกิดความสมดุลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยิ้มได้อย่างภาคภูมิใจในวันนี้

ที่มา : สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน. คู่มือปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเพื่อยกระดับรายได้ครัวเรือน. มปพ, 2549.

ใบงานที่

1ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

ตอนที่ 1

คำชี้แจงให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายอย่างไร

2. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเนื่องในโอกาสใดบ้าง

3. ทฤษฎีใหม่เป็นแนวทางปฏิบัติสำคัญของอาชีพใด มีความสำคัญอย่างไร

4. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สำคัญ ได้แก่ด้านใดบ้าง

ตอนที่ 2

คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนแผนผังความคิด แสดงหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

(หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

ใบงานที่

2หลักเศรษฐกิจพอเพียง

คำชี้แจง ให้นักเรียนเติมข้อความลงในช่องว่างเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ถูกต้อง

(พอประมาณ)

( ) ( )

(เงื่อนไขคุณธรรม) (เงื่อนไขความรู้ )

(นำสู่)

( )

ใบงานที่

3 การวิเคราะห์หลักเศรษฐกิจพอเพียง

คำชี้แจง ให้นักเรียนนำข้อความในกรอบด้านบนไปใส่ใต้ข้อความในแต่ละข้อที่มีใจความสัมพันธ์กัน

(มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) (พอประมาณ) (ความมีเหตุผล) (เงื่อนไขคุณธรรม) (เงื่อนไขความรู้)

(การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน)

(5. ชาวบ้านหมู่บ้านไทรน้อยต่างก็แลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการเกษตร ทำให้ทุกครัวเรือนนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ) (4. กานดาเลือกซื้อเสื้อผ้าที่จำเป็นสำหรับใส่ไปทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดบริษัท) (6. แต๋วทำข้าวแกงไปขายที่ตลาดขายหมดเกลี้ยงทุกวันไม่เหลือทิ้ง) (ไชยาได้รับการยกย่องว่าเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ รู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่น สร้างความสามัคคีระหว่างกลุ่ม) (2. ถึงแม้ว่าจันทร์ต้องการเที่ยวกลางคืนกับเพื่อน แต่เมื่อคุณแม่ห้ามเธอก็เชื่อฟัง) (3. ในช่วงที่มะม่วงราคาถูก แต่ชัยซึ่งเป็นเจ้าของสวนก็ไม่เดือดร้อน เพราะเขาปลูกพืชหลายชนิดคละกันไปกับสวนมะม่วง)

ใบงานที่

4กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง

ตอนที่ 1

คำชี้แจง ให้นักเรียนบรรยายภาพต่อไปนี้

((ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health/20111007/412026))1.

2.

((ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=brightday&month =13-06-2011&group=22&gblog=1))3.

4.

5.

((ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/66842))6.

7.

8.

((ที่มา : http://www.mersiainter.com/index.php?actions=news_ content&content=61))

((ที่มา : http://www.sirindhorn.net/news-detail.php?id=2009-10-20%2010:57:15))9.

10.

((ที่มา : http://jhonjun.blogspot.com/2011/05/blog-post.html))

ตอนที่ 2

คำชี้แจงให้นักเรียนตอบคำถามที่กำหนด โดยพิจารณาจากภาพในตอนที่ 1 ประกอบ

1. ภาพใดจัดเป็นความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว กิจกรรมในภาพมีผลดีอย่างไร

2. ภาพใดเป็นความพอเพียงระดับชุมชน กิจกรรมในภาพมีผลดีอย่างไร

3. ภาพใดเป็นความพอเพียงในภาคธุรกิจเอกชน กิจกรรมในภาพมีผลดีอย่างไร

4. ภาพใดเป็นความพอเพียงระดับประเทศ

ใบงานที่

5การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิต

ตอนที่ 1

คำชี้แจง ให้นักเรียนยกตัวอย่างการนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตของนักเรียน ตามหัวข้อที่กำหนดให้

1. การรู้จักช่วยเหลือตนเองและครอบครัว

2. การนำไปใช้ในการพัฒนาจิตใจ

3. การนำไปใช้ในการพัฒนาสังคม

4. การนำไปใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

5. การนำไปใช้ในการพัฒนาวัฒนธรรม

คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนแผนผังความคิด แสดงความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย

(ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย)

ใบงานที่

1ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

ตอนที่ 1

คำชี้แจงให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายอย่างไร

เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว

ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการ

พัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าทันต่อยุคโลกาภิวัตน์

2. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเนื่องในโอกาสใดบ้าง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องในโอกาสวันเฉลิม

พระชนมพรรษา พ.ศ. 2517 วันพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2517 ฯลฯ

3. ทฤษฎีใหม่เป็นแนวทางปฏิบัติสำคัญของอาชีพใด มีความสำคัญอย่างไร

เป็นแนวทางปฏิบัติสำคัญเกี่ยวกับการเกษตร มีความสำคัญ คือ ช่วยให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ในช่วงประสบ

ปัญหาทางเศรษฐกิจ

4. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สำคัญ ได้แก่ด้านใดบ้าง

โครงการด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข ด้านส่งเสริมอาชีพ ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ

ด้านการคมนาคม/สื่อสาร ด้านสวัสดิการ ฯลฯ

ตอนที่ 2

คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนแผนผังความคิด แสดงหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

(ตัวอย่าง)

(การพิจารณาเรื่องต่างๆ อย่างครบวงจร) (การพัฒนาความพร้อมของคน)

(หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

(เศรษฐกิจพอเพียง)

(การพึ่งตนเอง)

(การให้และการเสียสละ)

(การใช้หลักพออยู่พอกิน)

(การพัฒนาตามระบอบประชาธิปไตย)

(พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)

ใบงานที่

2หลักเศรษฐกิจพอเพียง

คำชี้แจง ให้นักเรียนเติมข้อความลงในช่องว่างเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ถูกต้อง

(พอประมาณ)

(มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) ( มีเหตุผล)

(เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต สติปัญญา ขยัน อดทน แบ่งปัน) (เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง)

(นำสู่)

( ชีวิต / เศรษฐกิจ / สังคม / สมดุล มั่นคง / ยั่งยืน )

ใบงานที่

3การวิเคราะห์หลักเศรษฐกิจพอเพียง

คำชี้แจง ให้นักเรียนนำข้อความในกรอบด้านบนไปใส่ใต้ข้อความในแต่ละข้อที่มีใจความสัมพันธ์กัน

(มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) (พอประมาณ) (ความมีเหตุผล) (เงื่อนไขคุณธรรม) (เงื่อนไขความรู้)

(การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน)

(5. ชาวบ้านหมู่บ้านไทรน้อยต่างก็แลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการเกษตร ทำให้ทุกครัวเรือนนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ) (4. กานดาเลือกซื้อเสื้อผ้าที่จำเป็นสำหรับใส่ไปทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดบริษัท) (6. แต๋วทำข้าวแกงไปขายที่ตลาดขายหมดเกลี้ยงทุกวันไม่เหลือทิ้ง) (1. ไชยาได้รับการยกย่องว่าเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ รู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่น สร้างความสามัคคีระหว่างกลุ่ม) (2. ถึงแม้ว่าจันทร์ต้องการเที่ยวกลางคืนกับเพื่อน แต่เมื่อคุณแม่ห้ามเธอก็เชื่อฟัง) (3. ในช่วงที่มะม่วงราคาถูก แต่ชัยซึ่งเป็นเจ้าของสวนก็ไม่เดือดร้อน เพราะเขาปลูกพืชหลายชนิดคละกันไปกับสวนมะม่วง)

( เงื่อนไขคุณธรรม) ( มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) ( ความมีเหตุผล)

( เงื่อนไขความรู้ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน) ( พอประมาณ) ( พอประมาณ)

(9. น้อยอ่านหนังสือสม่ำเสมอทุกวัน ทำให้ไม่ต้องหักโหมเร่งอ่านหนังสือในเวลาสอบ) (7. ยอดยิ่งประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต เพราะเขารู้จักพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) (8. เกตุและก้านเป็นผู้ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนทุกวัยได้ทุกคน พวกเขาได้รับคำแนะนำในทางที่ดีจากเพื่อนหลายอย่างที่เป็นประโยชน์)

( การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน) ( มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) ( พอประมาณ ความมี เหตุผล เงื่อนไขความรู้)

(11. ถึงแม้ว่าราคาสินค้าประเภทผักจะมีราคาสูงขึ้นมาก แต่ลุงแม้นก็ไม่เดือดร้อน เพราะมีผักสวนครัวที่ลุงแม้นปลูกไว้) (10. กองเชียร์กีฬาสีฟ้าใช้วัสดุตกแต่งกองเชียร์จากเศษวัสดุ และวัสดุรีไซเคิล เพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) (12. สันติเป็นผู้ที่ปฏิบัติตนตามหลักทางสายกลาง เขามีความสุขในชีวิต)

( มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) ( พอประมาณ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน) ( ความมีเหตุผล การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน)

ใบงานที่

4กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง

ตอนที่ 1

คำชี้แจง ให้นักเรียนบรรยายภาพต่อไปนี้

((ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health/20111007/412026))1.

รู้จักการออม

2.

กิจการด้านอุตสาหกรรม

3.

((ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=brightday&month =13-06-2011&group=22&gblog=1))

การดูแลรักษาสุขภาพ

4.

การดำเนินธุรกิจ

5.

การรวมกลุ่มอาชีพ

((ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/66842))6.

การบริหารจัดการประเทศ

7.

การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

8.

((ที่มา :http://www.mersiainter.com/index.php?actions=news_ content&content=61)

การร่วมมือกันรักษาสิ่งแวดล้อม

9.

((ที่มา : http://www.sirindhorn.net/news-detail.php?id=2009-10-20%2010:57:15))

การรวมกลุ่มอาชีพ

10.

((ที่มา : http://jhonjun.blogspot.com/2011/05/blog-post.html))

การดูแลรักษาสุขภาพ

ตอนที่ 2

คำชี้แจงให้นักเรียนตอบคำถามที่กำหนด โดยพิจารณาจากภาพในตอนที่ 1 ประกอบ

1. ภาพใดจัดเป็นความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว กิจกรรมในภาพมีผลดีอย่างไร

ภาพที่ 1 มีผลดี คือ การออม ทำให้มีเงินสะสมไว้ใช้ในยามจำเป็น

ภาพที่ 3 และภาพที่ 10 มีผลดี คือ การดูแลสุขภาพทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวเมื่อเจ็บป่วย

2. ภาพใดเป็นความพอเพียงระดับชุมชน กิจกรรมในภาพมีผลดีอย่างไร

ภาพที่ 5 และภาพที่ 9 การรวมกลุ่มอาชีพทำให้สามารถพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือกันได้ เป็นการสร้างความเข้มแข็ง มั่นคงให้กับอาชีพ

ภาพที่ 7 การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน มาสร้างประโยชน์อย่าง

เหมาะสม เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สมดุล และยั่งยืน

ภาพที่ 8 การร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม ย่อมมีผลดีต่อสุขภาพของประชาชนในสังคมอย่างยั่งยืน

3. ภาพใดเป็นความพอเพียงในภาคธุรกิจเอกชน กิจกรรมในภาพมีผลดีอย่างไร

ภาพที่ 2 การดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมที่อยู่บนพื้นฐานของเงื่อนไขความรู้ และคุณธรรม ย่อมประสบความสำเร็จในกิจการ และมีความมั่นคงต่อองค์กร

ภาพที่ 4 การดำเนินธุรกิจต่างๆ ด้วยการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน ย่อมทำให้ธุรกิจนั้นมีผลประโยชน์อย่างเหมาะสม และเป็นธรรม

4. ภาพใดเป็นความพอเพียงระดับประเทศ

ภาพที่ 6 การบริหารจัดการประเทศ โดยการวางรากฐานให้ประชาชนส่วนใหญ่ดำรงชีวิตด้วยความพอดี และ

พึ่งตนเองได้ ย่อมส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ใบงานที่

5 การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิต

ตอนที่ 1

คำชี้แจง ให้นักเรียนยกตัวอย่างการนำหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนำไปใช้ในชีวิต

ของนักเรียน ตามหัวข้อที่กำหนดให้

1. การรู้จักช่วยเหลือตนเองและครอบครัว

2. การนำไปใช้ในการพัฒนาจิตใจ

3. การนำไปใช้ในการพัฒนาสังคม

4. การนำไปใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

5. การนำไปใช้ในการพัฒนาวัฒนธรรม

(พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)

ตอนที่ 2

คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนแผนผังความคิด แสดงความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย

(ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย)

(พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)

แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

คำชี้แจงให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่

เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มปรากฏตั้งแต่เมื่อไร

ก.พ.ศ. 2517ข. พ.ศ. 2519

ค.พ.ศ. 2521ง. พ.ศ. 2529

2.ทฤษฎีใหม่เป็นแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องใด

ก.การค้า

ข.การเกษตร

ค.การอุตสาหกรรม

ง.การเมืองการปกครอง

3.หลักการเศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของ

หลักธรรมใด

ก.ทางสายกลางข. เบญจธรรม

ค.อริยสัจ 4ง. เบญจศีล

4.ศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด

จังหวัดเชียงใหม่ จัดอยู่ในโครงการตามพระราชดำริ

ในข้อใด

ก.การส่งเสริมอาชีพ

ข.การอนุรักษ์และพัฒนาดิน

ค.การอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ

ง.การส่งเสริมการเกษตรตามทฤษฎีใหม่

5.ข้อใดเป็นความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว

ก.สมาคมแม่บ้านการเกษตรเป็นสมาคมที่มีความ

มั่นคง

ข.ธงชัยเป็นผู้จัดการบริษัทส่งออกสินค้าทางการ

เกษตร

ค.นิภาและกมลชวนเพื่อนๆ ออมเงินแล้วนำไป

ฝากธนาคาร

ง.ผู้ใหญ่แม้นนำชาวบ้านผลิตสินค้าหนึ่งตำบล

หนึ่งผลิตภัณฑ์

6.การกระทำในข้อใด แสดงถึงความพอประมาณ

ก.เอกพอใจที่ร้านขายของมีกำไรมาก

ข.อ้อมซื้ออุปกรณ์การเรียนในวงเงินที่มีอยู่

ค.แอนทำงานตามที่เจ้านายมอบหมายให้ทำ

ง.อ้วนเก็บเงินที่คุณแม่ให้ใช้จ่ายเป็นรายวันทั้งหมด

เพื่อฝากธนาคาร

7.กานดาตกลงใจไม่ไปเที่ยวทะเลกับเพื่อนๆ ในช่วง

ฤดูฝนตามคำแนะนำของคุณแม่ ข้อความนี้สอดคล้อง

กับข้อใดมากที่สุด

ก.เงื่อนไขชีวิต

ข.ความมีเหตุผล

ค.ความพอประมาณ

ง.มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

8.ปีนี้ราคาข้าวตกต่ำกว่าทุกปี แต่ลุงมั่นยังไม่เดือดร้อน

เพราะลุงมั่นเป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชหลายชนิดรวมทั้ง

ปลูกข้าว ข้อความนี้สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด

ก.ความมีเหตุผล

ข. เงื่อนไขหลักวิชา

ค.ความพอประมาณ

ง. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

9.เงื่อนไขความรู้ตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่อะไร

ก.ซื่อสัตย์ สุจริต รอบรู้

ข.รอบคอบ อดทน แบ่งปัน

ค.รอบรู้ เรียบร้อย รอบคอบ

ง.รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง

10.เงื่อนไขคุณธรรมตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง

ได้แก่อะไร

ก.ซื่อสัตย์ เมตตา กรุณา อดทน ขยัน

ข.ซื่อสัตย์ สุจริต เมตตา กรุณา อดทน

ค.ขยัน อดทน แบ่งปัน เมตตา กรุณา มั่นคง

ง.ซื่อสัตย์ สุจริต สติปัญญา ขยัน อดทน แบ่งปัน

แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

คำชี้แจงให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.นายดำเป็นเจ้าของสวนทุเรียน เขาชอบอธิบายความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการทำสวนทุเรียนให้ประสบความสำเร็จให้แก่เพื่อนบ้านเสมอ การกระทำของนายดำ

สอดคล้องกับข้อใด

ก.อดทน แบ่งปัน ซื่อสัตย์

ข.สติปัญญา แบ่งปัน ขยัน

ค.ซื่อสัตย์ สุจริต เมตตา

ง.ขยัน อดทน เมตตา

2.หลักการเศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของ

หลักธรรมใด

ก.เบญจศีลข. อริยสัจ 4

ค.เบญจธรรมง. ทางสายกลาง

3.เงื่อนไขความรู้ตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่อะไร

ก.รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง

ข.รอบรู้ เรียบร้อย รอบคอบ

ค.รอบคอบ อดทน แบ่งปัน

ง.ซื่อสัตย์ สุจริต รอบรู้

4.ความพอเพียงระดับชุมชนควรเน้นย้ำในเรื่องใด

ก.การดูแลระวังรักษาสุขภาพ

ข.การรวมกลุ่มกันเป็นสมาคม

ค.การรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม

ง.การขยายเครือข่ายอาชีพต่างๆ ของชุมชน

5.เก่งมีอาชีพเป็นพ่อค้าขายผลไม้ที่ตลาด เขาต้องตื่นในเวลา 04.00 น. เพื่อไปขายผลไม้ เขามีลูกค้าประจำมาก

เพราะเขาจะนำผลไม้ที่สดและไม่มีตำหนิขายให้แก่ลูกค้า

การกระทำของเก่งสอดคล้องกับข้อใด

ก.ขยัน ซื่อสัตย์ รอบรู้

ข.ขยัน อดทน ซื่อสัตย์

ค.ขยัน อดทน เพียรพยายาม

ง.ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน

6.การสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้รักสามัคคี สอดคล้องกับข้อใดสุจริต รู้รักสามัคคี สอดคล้องกับข้อใด

ก.เงื่อนไขชีวิตและหลักวิชา

ข.เงื่อนไขคุณธรรม

ค.พอประมาณ

ง.มีเหตุผล

7.ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีของมาลี เป็นที่นิยมของสตรีทั่วไปในจังหวัด เพราะมาลีคอยแนะนำช่างตัดเย็บทุกคนให้มีความประณีตในการทำงาน ข้อความดังกล่าวสอดคล้องกับเงื่อนไขความรู้ในเรื่องใด

ก.รอบรู้ สติปัญญา ระมัดระวัง

ข.รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง

ค.รอบคอบ มีเหตุผล ระมัดระวัง

ง.ระมัดระวัง มีเหตุผล สติปัญญา

8.หมู่บ้านตาลเดี่ยวมีชมรมฝึกอาชีพและชมรม

รักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านใด

ก.ด้านสังคม

ข.ด้านการศึกษา

ค.ด้านความสามัคคี

ง.ด้านความมั่นคง

9.มะลิ ชอบใช้เสื้อผ้าที่ทอด้วยฝ้าย มีลวดลายไทย และเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นเมือง แสดงว่า มะลิเป็นบุคคล

ที่มีส่วนในการพัฒนาด้านใด

ก.ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม

ข.ด้านการค้า ด้านสิ่งแวดล้อม

ค.ด้านวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ

ง.ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม

10.สมาคมพ่อค้าไทยจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพสินค้าส่งออกขายต่างประเทศ

ข้อความนี้เป็นความพอเพียงในระดับใด

ก.ระดับบุคคลและครอบครัว

ข.ระดับภาคธุรกิจเอกชน

ค.ระดับประเทศ

ง.ระดับชุมชน

(การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด))

แบบประเมินแผ่นพับความรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

รายการประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ / ระดับคะแนน

ดีมาก (4)

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

1. การอธิบายความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

อธิบายความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้องครบถ้วนชัดเจน

อธิบายความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่

อธิบายความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้องเพียงบางส่วน

อธิบายความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ถูกต้อง

2.การอธิบายหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

อธิบายหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้อง

4 ประเด็น

อธิบายหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้อง

3 ประเด็น

อธิบายหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้อง

2 ประเด็น

อธิบายหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้อง

1 ประเด็น

3.การอธิบายความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

อธิบายความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้อง

4 ประเด็นขึ้นไป

อธิบายความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้อง

3 ประเด็น

อธิบายความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้อง

2 ประเด็น

อธิบายความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้อง 1 ประเด็น

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

11 - 12

9 - 10

6 - 8

ต่ำกว่า 6

ระดับคุณภาพ

ดีมาก

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

(เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน1.ก2.ข3.ข4.ค5.ค6.ข7.ข8.ง9.ง10.ง)

(เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน1.ข2.ง3.ก4.ค5.ง6.ข7.ข8.ก9.ค10.ข)

แบบประเมิน การนำเสนอผลงาน

คำชี้แจง :ให้ ผู้สอน สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ลงในช่อง ที่ตรงกับระดับคะแนน

ลำดับที่

รายการประเมิน

ระดับคะแนน

4

3

2

1

1

เนื้อหาละเอียดชัดเจน

2

ความถูกต้องของเนื้อหา

3

ภาษาที่ใช้เข้าใจง่าย

4

ประโยชน์ที่ได้จากการนำเสนอ

5

วิธีการนำเสนอผลงาน

รวม

ลงชื่อ...................................................ผู้ประเมิน

............../.................../................

(เกณฑ์การตัดสินคุณภาพช่วงคะแนนระดับคุณภาพ18 - 20ดีมาก14 - 17ดี10 - 13พอใช้ต่ำกว่า 10ปรับปรุง)

เกณฑ์การให้คะแนน

ผลงานหรือพฤติกรรมสมบูรณ์ชัดเจนให้4คะแนน

ผลงานหรือพฤติกรรมมีข้อบกพร่องบางส่วนให้3คะแนน

ผลงานหรือพฤติกรรมมีข้อบกพร่องเป็นส่วนใหญ่ให้2คะแนน

ผลงานหรือพฤติกรรมมีข้อบกพร่องมากให้1คะแนน

แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล

ชื่อ ชั้น

คำชี้แจง :ให้ ผู้สอน สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ลงในช่อง ที่ตรงกับระดับคะแนน

ลำดับที่

รายการประเมิน

ระดับคะแนน

4

3

2

1

1

การแสดงความคิดเห็น

2

การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

3

การทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

4

ความมีน้ำใจ

5

การตรงต่อเวลา

รวม

ลงชื่อ...................................................ผู้ประเมิน

............../.................../................

(เกณฑ์การตัดสินคุณภาพช่วงคะแนนระดับคุณภาพ18 - 20ดีมาก14 - 17ดี10 - 13พอใช้ต่ำกว่า 10ปรับปรุง)เกณฑ์การให้คะแนน

ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอให้4คะแนน

ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้งให้3คะแนน

ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้งให้2คะแนน

ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมน้อยครั้งให้1คะแนน

แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม

ชื่อกลุ่ม ชั้น

คำชี้แจง :ให้ ผู้สอน สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ลงในช่อง ที่ตรงกับระดับคะแนน

ลำดับที่

รายการประเมิน

ระดับคะแนน

4

3

2

1

1

การแบ่งหน้าที่กันอย่างเหมาะสม

2

ความร่วมมือกันทำงาน

3

การแสดงความคิดเห็น

4

การรับฟังความคิดเห็น

5

ความมีน้ำใจช่วยเหลือกัน

รวม

ลงชื่อ...................................................ผู้ประเมิน

............../.................../................

(เกณฑ์การตัดสินคุณภาพช่วงคะแนนระดับคุณภาพ18 - 20ดีมาก14 - 17ดี10 - 13พอใช้ต่ำกว่า 10ปรับปรุง)

เกณฑ์การให้คะแนน

ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอให้4คะแนน

ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้งให้3คะแนน

ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้งให้2คะแนน

ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมน้อยครั้งให้1คะแนน

แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์

คำชี้แจง : ให้ ผู้สอน สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ลงในช่อง ที่ตรงกับระดับคะแนน

คุณลักษณะ

อันพึงประสงค์ด้าน

รายการประเมิน

ระดับคะแนน

4

3

2

1

1. รักชาติ ศาสน์

กษัตริย์

1.1 ยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติ ร้องเพลงชาติได้ และอธิบายความหมายของเพลงชาติ

1.2