the child with respiratory dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช...

30
แผนการสอน รหัสวิชา/ชื่อวิชา NUR 2227 ชื่อวิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น จานวนหน่วยกิต 3 หน่วยกิต (3-0-6) เรื่องที่สอน บทที10 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ The Child with Respiratory Dysfunction นักศึกษาหลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีท2 ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2 /2560 ผู้สอน อ.นภิสสรา ธีระเนตร วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อสิ้นสุดการศึกษาวิชานี้แล้ว นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี1.อธิบายความหมาย สาเหตุ พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกการวินิจฉัยโรค การรักษาและการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการติดเชื้อทางเดิน หายใจส่วนบน การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจได2. บอกความแตกต่างทางพยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกการวินิจฉัยโรค การรักษาและการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการติดเชื้อทางเดิน หายใจส่วนบน การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจได3. ใช้กระบวนการพยาบาลในการวางแผนการพยาบาลได้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่กาหนดได้ การพัฒนาผลการเรียนรู้ตาม มคอ.3 1. มีความรับผิดชอบต่อการกระทาของตนเอง (1.4) มีระเบียบวินัย และซื่อสัตย์ (1.5) 2. สามารถปรับตัวและทางานร่วมกับผู้อื่น (4.2) 3. สามารถสื่อสารภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และการนาเสนอ รวมท้งสามารถอ่านวารสาร และ ตาราภาษาอังกฤษอย่างเข้าใจ (5.3)

Upload: others

Post on 15-Jan-2020

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

แผนการสอน

รหัสวิชา/ชื่อวิชา NUR 2227 ชื่อวิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น จ านวนหน่วยกิต 3 หน่วยกิต (3-0-6) เรื่องท่ีสอน บทที่ 10 การพยาบาลเด็กท่ีมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ The Child with Respiratory Dysfunction นักศึกษาหลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2 /2560 ผู้สอน อ.นภิสสรา ธีระเนตร วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อสิ้นสุดการศึกษาวิชานี้แล้ว นักศึกษามีความรู้ความสามารถดังนี้

1.อธิบายความหมาย สาเหตุ พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกการวินิจฉัยโรค การรักษาและการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจได้ 2. บอกความแตกต่างทางพยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกการวินิจฉัยโรค การรักษาและการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจได้

3. ใช้กระบวนการพยาบาลในการวางแผนการพยาบาลได้สอดคล้องกับสถานการณ์ท่ีก าหนดได้ การพัฒนาผลการเรียนรู้ตาม มคอ.3 1. มีความรับผิดชอบต่อการกระท าของตนเอง (1.4) มีระเบียบวินัย และซื่อสัตย์ (1.5)

2. สามารถปรับตัวและท างานร่วมกับผู้อ่ืน (4.2) 3. สามารถสื่อสารภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และการน าเสนอ รวมทั้งสามารถอ่านวารสาร และต าราภาษาอังกฤษอย่างเข้าใจ (5.3)

Page 2: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

2

แผนการสอน

หัวข้อเรื่อง การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ The Child with Respiratory Dysfunction วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

หลังจากเรียนจบบทเรียนนี้แล้วนักศึกษาสามารถ -บอกปัจจัยที่ท าให้เด็กมีความผิดปกติของทางเดินหายใจได้ - บอกความหมาย พยาธิสรีรภาพ

ขั้นน า ความผิดปกติที่ เกิดขึ้นกับทางเดินหายใจในเด็ก ทั้งที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน ฉุกเฉิน วิกฤต และเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาส าคัญและพบบ่อย ได้แก่การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น กลุ่มอาการครูพ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น ปอดอักเสบ ความผิดปกติเรื้อรังของทางเดินหายใจเช่น หอบหีด รวมทั้งภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งความผิดปกติดังกล่าววามารถท าให้เด็กเกิดภาวะวิกฤตและน าไปสู่การเสียชีวิตหรือพิการได้ เนื้อหา ปัจจัยท่ีท าให้เด็กมีความผิดปกติของทางเดินหายใจได้ง่าย

1. ปัจจัยด้านเด็ก 2. สิ่งแวดล้อม

Nursing Care of the Child with Respiratory Tract Infection 1. การติ ด เชื้ อ ในทาง เดินหายใจส่ วนบน ( Upper respiratory tract infection : URI) 1.1 โรคหวัดหรือจมูกอักเสบ (Common cold, Acute rhinitis, Coryza) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก

-ทักทายผู้เรียนและเช็คชื่อนักศึกษาทุกคน -บรรยายปัจจัยที่ท าให้เด็กมีความผิดปกติของทางเดินหายใจ ความหมาย พยาธิสรีรภาพ ลักษณะ

-Power point -sheet -ข้อสอบ Pre-test -ข้อสอบ Post-test - กรณีศึกษา

-นักศึกษาแต่งกายเรียบร้อย -นักศึกษาเข้าเรียนตรงต่อเวลา - ความสนใจและการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการอภิปรายและวิเคราะห์กรณีศึกษา - Pre-post test ครบทุกคน

Page 3: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

3

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

ลักษณะทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษา โรคหวัดหรือจมูกอักเสบได้ -บอกความหมาย พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิก

และเด็กมักเป็นหวัดได้บ่อยๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยคือ Rhinovirus,Adenovirus, Parainfluenza virus และ Respiratory syncytial virus (RSV) พยาธิสรีรภาพ เยื่อบุจมูกจะบวมแดง โดยมี cell infiltration และมีการหลุดลอกของเยื่อบุผิวจมูก อาจจะมีคออักเสบหรือกล่องเสียงอักเสบร่วมด้วย ต่อมาเม่ืออาการดีข้ึนเยื่อบุผิวจมูกจะเจริญงอกข้ึนใหม่ ลักษณะทางคลินิก ระยะแรกจะมีไข้ น ้ามูกใส ต่อมาจะมีน ้ามูกไหลมากขึ้น แน่นคัดจมูก หายใจไม่สะดวก ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ภาวะแทรกซ้อน หูชั้นกลางอักเสบ, ไซนัสอักเสบ, ปอดอักเสบ ติดเชื้อแบคทีเรียซ ้า การวินิจฉัย จากลักษณทางคลินิก การรักษา 1. รักษาตามอาการ 2. รักษาเฉพาะ 1.2 โรคคออักเสบเฉียบพลัน (acute pharyngitis) เป็นการติดเชื้อบริเวณคอหอย อาจรวมถึงการอักเสบที่ต่อมทอนซิล มักพบในเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป และและพบบ่อยในเด็กอายุ 6-12 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบ

ทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษา โรคหวัดหรือจมูกอักเสบ -บรรยายความหมาย พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การ

Page 4: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

4

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

ภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษาโรคคออักเสบเฉียบพลันได้ -อธิบายความหมาย

บ่อยคือ Rhinovirus, Para influenza virus และ RSV ส่วนคออักเสบเฉียบพลันจากเชื้อแบคทีเรีย มักเกิดจาก Group A β-hemolytic streptococci พยาธิสรีรภาพ ผู้ปุวยเด็กจะมีการอักเสบของเยื่อบุคอบริ เวณ Posterior pharynx ตรวจพบว่ามีสีแดง (hyperemia) และมีการบวมโตของต่อมน้ าเหลืองบริเวณคอ ถ้าเยื่อบุจมูกและคอแห้งมาก ลักษณะทางคลินิก คออักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย อาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันคือ ไข้สูง เจ็บคอ กลืนอาหารล าบาก บางครั้งเสียงแหบ อาจหนาวสั่น หรือปวดเมื่อยตามตัว กล้ามเนื้อ ปวดท้อง คัดจมูก น้ ามูกไหล พบหนองสีขาวบริเวณทอนซิลและคอหอยด้านหลัง การวินิจฉัย ลักษณะทางคลินิก การตรวจร่างกาย การตรวจนับเม็ดเลือด และการเพาะเชื้อจากคอ การรักษา 1. รักษาตามอาการ 2. รักษาเฉพาะ หูช้ันกลางอักเสบ (Otitis Media) พบได้บ่อยในเด็ก โดยเฉพาะในทารกและเด็กเล็ก มัก

วินิจฉัย และการรักษาโรคคออักเสบเฉียบพลัน -บรรยายความหมาย

Page 5: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

5

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษาหูชั้นกลางอักเสบได้

เป็นผลจากการเป็นหวัดอยู่นาน โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง พยาธิสรีรภาพ เริ่มจากมีการอักเสบ บวมแดงของเยื่อบุในหูชั้นกลาง และมีน ้าใสๆ (serous exudate) ต่อมาเปลี่ยนเป็นหนอง ท า ให้ Eustachian tube อุดตัน และความดันในหูชั้นกลางเพ่ิมขึ้น เยื่อแก้วหูจะโปุงออก และแตกทะลุท าให้หนองไหลออกมาตลอดเวลาจนกว่าการอักเสบจะหมดไป ลักษณะทางคลินิก ผู้ปุวยจะมีไข้สูง และปวดหูมาก เด็กโตจะบอกได้ชัดเจน แต่เด็กเล็กจะแสดงโดยร้องไห้กวนกระสับ กระส่ายพักไม่ได้ ชอบเอามือดึงหูบ่อยๆ เมื่อเยื่อแก้วหูแตกทะลุและมีหนองไหลออกมา อาการปวดหู และไข้จะลดลง ภาวะแทรกซ้อน กระดูกมาสตอยด์อักเสบ สูญเสียการได้ยิน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หูชั้นในอักเสบ การวินิจฉัย ประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ลักษณะทางคลินิกการตรวจร่างกาย การเพาะเชื้อจากน ้าหรือหนองในหู การรักษา ขึ้นอยู่กับระยะของการอักเสบ 1. ท าลายเชื้อโดยให้ยาปฏิชีวนะ 2. บรรเทาอาการปวดหู 3. เจาะเยื่อแก้วหู (Myringotomy)

พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษาหูชั้นกลางอักเสบ

Page 6: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

6

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

- อธิบายความหมาย พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบ -อธิบายกระบวนการพยาบาลผู้ปุวยเด็กท่ีมีการ

4. ลดไข้โดยให้ยาลดไข้ 5. ลดการบวมในหูชั้นกลาง 1.4 โรคต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) โรคต่อมทอนซิลอักเสบพบได้บ่อยในเด็กอายุต ่ากว่า 9 ปี เชื้อที่เป็นสาเหตุได้บ่อยที่สุดคือ β hemolytic streptococi group A. พยาธิสรีรภาพ คออักเสบ แดง ต่อมทอนซิลโต และมีหนอง ลักษณะทางคลินิก ไข้สูง อ่อนเพลีย ซึม อาเจียน เด็กโตจะบ่นว่าเจ็บคอและกลืนล าบาก ส่วนเด็กเล็ก จะไม่ยอมรับประทานอาหาร ในรายที่มีอาการของต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังจะมีอาการเจ็บคออยู่เสมอ กลืนล าบาก หายใจล าบาก และต่อมน ้าเหลืองบริเวณคอโต การวินิจฉัย ลักษณะทางคลินิกการตรวจหาเชื้อโดยการท า Throat swab culture การรักษา 1. ให้พักผ่อนและดื่มน ้าอย่างเพียงพอ 2. ให้ยาลดไข้ แก้ปวด 3. ให้ยาปฏิชีวนะในกรณีท่ีเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย 4. ท า Tonsillectomy ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลผู้ป่วยและการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

บรรยายความหมาย พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบ -บรรยายกระบวนการพยาบาลผู้ปุวยเด็กท่ีมี

Page 7: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

7

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนได ้

1. เสี่ยงต่อทางเดินหายใจอุดกั้นจากการบวมของเยื่อบุจมูก และมีการสร้างเสมหะมากขึ้น 1.1 ประเมินภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจ 1.2 ดูแลให้ทางเดินหายใจโล่งอยู่เสมอ และได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ 1.3 ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก น ้ ามูกไหล โดยให้ยา Antihistamine และ Decongestant ตามแผนการรักษา 2. เสี่ยงต่อการได้รับสารน ้าและอาหารไม่เพียงพอ 2.1 ประเมินความรุนแรงของการขาดสารน ้าและอาหาร 2.2 ดูแลให้ได้รับสารน ้า และอาหารอย่างเพียงพอ 2.3 ผู้ปุวยที่มีน ้ามูกไหล แน่นคัดจมูก ดูดเสมหะให้ก่อนให้อาหารหรือนม กระตุ้นให้ดื่มน ้ามากๆ 2.4 ผู้ปุวยคออักเสบ บรรเทาอาการเจ็บคอ 3. มีความไม่สุขสบายจาก ไข้ หรือเจ็บคอ หรือคัดจมูก 3.1 ดูแลลดไข้ให้ผู้ปุวย เพ่ือให้เกิดความสุขสบาย และปูองกันการเกิด Febrile convulsion 3.2 ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ในผู้ปุวยที่มีคออักเสบเฉียบพลัน โดยให้บ้วนปากด้วยน ้ายาฆ่าเชื้อบ่อยๆ ประคบบริเวณคอด้วยความร้อน 3.3 ช่วยบรรเทาอาการปวดหู ในผู้ปุวยเด็กที่มีหูชั้นกลางอักเสบ 4. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

Page 8: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

8

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

- บอกความหมาย พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษา ภาวะแทรกซ้อน และประเมินระดับความรุนแรงของกลุ่มอาการครูพได้

4.1 ประเมินภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียซ ้า 4.2 ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์ โดยเน้นให้ผู้ปกครองเข้าใจความ ส าคัญของการดูแลให้ผู้ปุวยเด็กได้รับปฏิชีวนะครบตามแผนการรักษา 4.3 สังเกตอาการทางคลินิกของภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดข้ึน เช่น โรคไต ไข้รูมาติค 1.5 ครูพ (croup) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ ท าให้เกิดการอักเสบและบวมของกล่องเสียง และหลอดลมคอ โดยเฉพาะต าแหน่งอยู่ ใต้กล่องเสียง (subglottic airway) และเป็นสาเหตุของการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลัน พยาธิสรีรภาพ ไวรัสที่เป็นสาเหตุจะลุกลามจากเซลล์เยื่อบุผิวของจนมูกและคอหอยที่กล่องเสียงและหลอดลมคอ ท าให้มีการอักเสบและบวมทั่วๆไป เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจเฉียบพลัน ลักษณะทางคลินิก ผู้ปุวยเด็กมักมีอาการน าของโรคหวัด เช่น น้ ามูก ไอเล็กน้อยและไข้ต่ า จากนั้นจะเริ่มมีอาการไอเสียงก้อง (อาการเด่นในทารกและเด็กเล็ก) เสียงแหบ (อาการเด่นในเด็กโต) และหายใจมีเสียง stridor ซึ่งมักเกิดในช่วงหายใจ

- บรรยายความหมาย พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษา ภาวะแทรกซ้อน และประเมินระดับความรุนแรงของกลุ่มอาการครูพ

Page 9: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

9

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

เข้า การจัดระดับความรุนแรงของโรคพิจารณาจากลักษณะทางคลินิก5 อย่าง โดยจะพิจารณาให้คะแนนแต่ละอาการตั้งแต่ 0-2 คะแนน จากนั้นน ามารวมกันเป็นคะแนน croup score ซึ่งมีเกณฑ์การแปลผลดังนี้ คะแนน < 4 = ทางเดินหายใจอุดก้ันเล็กน้อย 4-7 = ทางเดินหายใจถูกอุดกั้นปานกลางถึงมาก > 7 = มีการอุดกั้นทางเดินหายใจรุนแรงมาก มักต้องใส่ท่อหลอดลม การวินิจฉัย 1. จากการซักประวัติ 2. การตรวจร่างกาย อาจตรวจพบว่าคอหอยปกติหรือมีการอักเสบ 3. การถ่ายภาพรังสีที่คอในท่า posterior-anterior พบลักษณะที่เรียนกว่า “classic steeple sign”หรือ “pencil sign” คือมีการตีบแคบบริเวณกล่องเสียง การรักษา ในรายที่ อาการไม่ รุ นแรงไม่จ า เป็นต้องนอนโรงพยาบาล โดยดูจากเสียง stridor ขณะพักและให้การรักษาดังนี ้1. ให้ยารักษาตามอาการ 2. ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ า ในราย

Page 10: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

10

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

-อธิบายกระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ปุวยเด็กกลุ่มอาการครูพได้

ที่อาการรุนแรงมาก ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล และให้การรักษาดังนี้ 1. ให้ออกซิเจนที่มีความชื้นสูง และจัดให้อยู่ในที่อากาศเย็น 2. ดูแลอย่างใกล้ชิด 3. ให้สารน้ าทางหลอดเลือดด า 4. ให้ยาขับเสมหะ ยาขยายหลอดลม ยาลดไข้ 5. ให้ยาเพ่ือช่วยให้เด็กพักในรายที่กระสับกระส่าย กระวนกระวายมาก เช่น chloral hydrate 6. ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่ติดเชื้อแบคทีเรียซ้ า 7. ให้ adrenaline ทาง nebulizer และ steroid เช่น dexamethasone 8. ถ้าอาการรุนแรงมักใส่ท่อทางเดินหายใจ ภาวะแทรกซ้อน ภาวะพร่องออกซิเจน ภาวะหายใจล้มเหลว ปอดบวมน้ า ข้อวินิจฉัยการพยาบาล : ขาดประสิทธิภาพในการท าทางเดินหายใจให้โล่ง เนื่องจากมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน การพยาบาล 1. ประเมินลักษณะทางคลินิกของภาวะทางเดินหายใจส่วนบน 2. จัดกิจกรรมรบกวนผู้ปุวยน้อยที่สุด

-บรรยายกระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ปุวยเด็กกลุ่มอาการครูพ

Page 11: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

11

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

- บอกความหมาย สาเหตุ พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษา ภาวะแทรกซ้อน โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ได้

3. กรณีผู้ปุวยได้รับออกซิเจน ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา ติดตามค่าความอ่ิมตัวของออกซิเจนในเลือด 4. ให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับโรคและการดูแลขณะอยู่โรงพยาบาลและที่บ้าน 5. ดูแลด้านจิตใจเด็กและครอบครัว เพ่ือลดความวิตกกังวล 2 .การติ ด เชื้ อ ในทาง เดินหายใจส่ วนล่ า ง ( Lower respiratory tract infection : LRI) 2.1 หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis) เป็นการอักเสบของหลอดลมใหญ่อย่างเฉียบพลัน มักจะมีการอักเสบของทางหายใจ ส่วนอื่นร่วม ด้วยเช่น จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ อาจเกิดตามหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน พบบ่อยใน เด็กโตและวัยรุ่น สาเหตุ เกิดจาก 1. การแพ้ (Allergy) 2. การติดเชื้อ (Infection) 3. การระคายเคืองจากสารเคมี (Chemical irritation) พยาธิสรีรภาพ การอักเสบจะเริ่มที่หลอดลมขนาดใหญ่ โดยมีการบวมของเยื่อบุชั้น mucosa ต่อมาเซลที่สร้าง mucous มีจ านวนมากขึ้นและขนาดโตขึ้นท า ให้มีเสมหะมาก และมีลักษณะใส เม็ดเลือดขาวชนิด PMN จะเข้าไปในผนังหลอดลมและท่อหลอดลม รวมกับมีการท าลายและหลุด

- บรรยายความหมาย สาเหตุ พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษา ภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

Page 12: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

12

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

- บอกความหมาย พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิก

ลอกของเยื่อบุชนิด ciliated ท าให้ลักษณะเสมหะเปลี่ยนเป็นหนอง ลักษณะทางคลินิก เริ่มมีอาการหวัดน า มาก่อน ประมาณ 2-3 วัน แล้วมีอาการไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะต่อมาไอมีเสมหะ ระยะแรกเสมหะจะมีลักษณะใส แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นหนอง บางรายอาจเจ็บบริเวณกระดูกหน้าอก และเจ็บหน้าอกด้วยถ้าไอมาก ภาวะแทรกซ้อน การติดเชื้อแบคทีเรียซ ้า, Emphysema, ปอดแฟบ การวินิจฉัย จากลักษณะทางคลินิกการตรวจร่างกาย ฟังเสียงที่หลอดลม จะได้ยินทั้ ง Rhonchi และหรือ crepitation ในรายที่มี จะได้ยินเสียง Wheezing การย้อมและเพาะเชื้อจากเสมหะ การถ่ายภาพรังสีทรวงอก การรักษา 1. การรักษาตามอาการ 2. การรักษาเฉพาะ ให้ยาปฏิชีวนะท่ีจ าเพาะต่อเชื้อ 2.2 หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchiolitis) สว่นใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยคือ RSV พบในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี พยาธิสรีรภาพ การติดเชื้อบริเวณหลอดลมฝอย ท า ให้เยื่อบุ

-บรรยายความหมาย พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิก

Page 13: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

13

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

ภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษา ภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน ได้ - อธิบายความหมาย สาเหตุ พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิก

หลอดลมฝอยอักเสบ บวม มีเสมหะและเซลที่ตาย แล้วคั่งค้างอยู่ ในหลอดลมฝอย อาจมีการหดเกร็งของหลอดลมร่วมด้วย ท า ให้เกิดการอุดก้ันของทางเดินหายใจ ลักษณะทางคลินิก มีอาการไข้หวัดน า มาก่อน ต่อมา 2-3 วันเริ่มมีหายใจหอบ ไอมากขึ้น หายใจเข้ามีหน้าอกบุ๋ม ช่วงหายใจออกยาว และได้ยินเสียง wheezing เป็นระยะ อาจได้ยินเสียง fine crepitation ร่วมด้วย ภาวะแทรกซ้อน ปอดอักเสบ ปอดแฟบ การติดเชื้ อแบคทีเรียแทรกซ้อน การวินิจฉัย ลักษณะทางคลินิกการตรวจร่างกาย การตรวจนับเม็ดเลือดขาว การถ่ายภาพรังสี การรักษา 1. ให้ออกซิเจนและความชื้น 2. ให้สารน ้าทางหลอดเลือดด า 3. ให้ยารักษาตามอาการเช่น ยาละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม ยาปฏิชีวนะ 4. การใช้เครื่องช่วยหายใจ ในรายที่มีภาวะหายใจวายเกิดข้ึน 2.3 ปอดอักเสบหรือปอดบวม (Pneumonia) เป็นการอักเสบของถุงลม และหลอดลมฝอยส่วนปลายสุด (terminal และ respiratory bronchiole) เป็นโรคที่มีความรุนแรง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต สาเหตุ

ภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษา ภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน -บรรยายความหมาย พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การ

Page 14: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

14

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

ภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย ประเมินความรุนแรงของโรคปอดอักเสบ การรักษา ภาวะแทรกซ้อน และการปูองกัน ได้

1. จากเชื้อไวรัส พบบ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี 2. จากเชื้อแบคทีเรีย 3. จากเชื้อ Mycoplasma 4. จากการส าลัก (Aspirated pneumonia) 5. จากเชื้อรา พยาธิสรีรภาพ เยื่อบุบวมมีเสมหะจ านวนมากในถุงลมและในทางเดินหายใจท าให้เกิดการอุดก้ันทางหายใจเกิด การขาดออกซิเจน ลักษณะทางคลินิกในทารกจะเริ่มด้วยอาการเบื่ออาหาร กระสับกระส่ายหรืออ่อนเพลีย บางรายอาจ พบอาการท้องร่วงและอาเจียนร่วมด้วย มีไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย อาจมีอาการเขียวร่วมด้วย โดยเฉพาะใน ทารก เสียงปอดจะได้ยินเสียง Rhonchi และ Crepitation การวินิจฉัย 1. อาการทางคลินิก 2. การถ่ายภาพรังสีทรวงอก 3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การประเมินความรุนแรงของโรคปอดอักเสบ (WHO) 1. non-severe pneumonia หายใจเร็วกว่าปกติแต่ไม่มีอาการหน้าอกบุ๋ม 2. Severe pneumonia หายใจแรงจนหน้าอกส่วนล่างบุ๋มเวลาหายใจเข้า (Lower chest indrawing)

วินิจฉัย การประเมินความรุนแรงของโรค การรักษา ภาวะแทรกซ้อน การปูองกันโรคปอดอักเสบหรือปอดบวม

Page 15: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

15

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

3. Very severe pneumonia มีอาการรุนแรง และมีอาการบ่งชี้ (ไม่ดูดนม,น้ า ซึมมาก ชัก Stridor, mal nutrition) การรักษา 1. การรักษาโดยทั่วไป 2. การรักษาจ าเพาะ ได้แก่ การให้ยาปฏิชีวนะ ปอดอกัเสบจากการส าลัก จากการส าลักน ้าและอาหารพบได้ในเด็กที่มีปัญหาในการกลืนอันเนื่องมาจากเป็นอัมพาต อ่อนแรง มีความพิการแต่ก าเนิด เด็กอาจมีการส าลักแปูงฝุุน ไขมัน ฯลฯ ภาวะแทรกซ้อนของปอดอักเสบ : Empyema, Plural effusion, Lung abcess, Atelectasis การวินิจฉัย - ลักษณะทางคลินิกการตรวจร่างกาย - การตรวจนับเม็ดเลือดขาว - การถ่ายภาพรังสีทรวงอก - การย้อมและเพาะเชื้อจากเสมหะ การรักษา 1. การรักษาตาม 2. การให้ยาปฏิชีวนะท่ีจ าเพาะต่อเชื้อที่เป็นสาเหตุ การป้องกันโรคปอดอักเสบ 1. ดูแลให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง มีภาวะโภชนาการที่ดี หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ปุวย

Page 16: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

16

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

-บอกความหมาย พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษา ภาวะแทรกซ้อนภาวะปอดแฟบได้

2. เด็กที่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ผู้ปุวยหนักที่ต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ควรระวังการติดเชื้อปอดอักเสบ 2.4 ปอดแฟบ (Atelectasis) เป็นภาวะที่ปอดขยายตัวไม่เต็มที่ อาจเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของปอดหรือทั้งหมดก็ได้ พบบ่อยในเด็กเล็ก สาเหตุ 1. แรงกดจากภายนอกหลอดลมและเนื้อปอด 2. หลอดลมอุดตัน 3. แรงตึงผิว (surface tension) ของถุงลมผิดปกติหรือมีการท า ลายของเซลบุถุงลมในปอด พยาธิสรีรภาพ เมื่อมีการอุดกั้นของหลอดลม อากาศที่ขังอยู่ในถุงลมจะซึมเข้าเส้นเลือด อากาศจากถุงลมบริเวณอ่ืนที่ปกติ จะกระจายเข้ามาในบริเวณนี้ แต่ไม่มากพอที่จะท า ให้ถุงลมโปุงพอง เนื้อปอดบริเวณนี้จึงแฟบ ลักษณะทางคลินิก ถ้าเป็นน้อยจะไม่แสดงอาการ ถ้าเป็นมากจะหายใจล าบาก หอบ เขียว ตรวจร่างกายเวลาหายใจเข้า ทรวงอกบริเวณที่เป็นขยายตัวน้อยลง เคาะทึบ เสียงหายใจค่อยลง หลอดลมใหญ่และ mediastinum ถูกดึงเข้าหาข้างท่ีเป็น ภาวะแทรกซ้อน - ฝีในปอด หลอดลมโปุงพอง เกิดพังผืดของเนื้อปอด การวินิจฉัย ลักษณะทางคลินิกการตรวจร่างกาย การถ่ายภาพรังสีทรวงอก การส่องตรวจในหลอดลม

- บรรยายความหมาย สาเหตุ พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัย และการรักษา ภาวะแทรกซ้อน ภาวะปอดแฟบ

Page 17: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

17

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

-อธิบายกระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ปุวยเด็กที่มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่างได้

การรักษา 1. ให้ออกซิเจน และความชื้น 2. รักษาสาเหตุ เช่น ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมต้องเอาออก 3. ช่วยระบายเสมหะและช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดี 4. การให้สารบางอย่างท่ีช่วยแทน Surfactant ที่ลดน้อยลง 5. ผ่าตัดเอาปอดที่แฟบ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเด็กที่มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง 1. เสี่ยงต่อการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หลักการพยาบาล เหมือนการพยาบาลผู้ปุวยเด็กที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน ในข้อ 1 2 เสี่ยงต่อการชักจากไข้สูง (Febrile convulsion) 2.1 วัดอุณหภูมิอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง 2.2 ลดไข้ โดย เช็ดตัวลดไข้ ให้ยาลดไข้ 2.3 สังเกตอาการชักจากไข้สูง 3. เสี่ยงต่อการได้รับสารน ้าและอาหารไม่เพียงพอ 3.1 ประเมินความรุนแรงของการขาดน ้า และอาหาร 3.2 ดูแลให้ได้รับสารน ้าและอาหารอย่างเพียงพอ 3.3 ติดตามผลการตรวจหาอิเล็คโทรลัยต์ในเลือด 4. มีความไม่สุขสบายจากการเจ็บหน้าอก 4.1 จัดให้ผู้ปุวยนอนตะแคงข้างที่ปอดมีพยาธิสภาพ 4.2 ประคองทรวงอกเวลาไอ

-บรรยายกระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ปุวยเด็กที่มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง

Page 18: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

18

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

-บอกความหมาย สาเหตุ พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกการวินิจฉัย การรักษา และการให้ค าแนะน าแก่เด็กโรคหืดและครอบครัวได้

4.3 ให้ยาบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกตามแผนการรักษา 5. มีการติดเชื้อและมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อ 5.1 ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา 5.2 แยกผู้ปุวยตามหลัก Respiratory isolation 5.3 ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล 5.4 เด็กโต สอนให้ปิดปาก-จมูก เมื่อไอหรือจาม 6. เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียซ ้า 6.1 ประเมินภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียซ ้า 6.2 ให้การพยาบาลด้วยหลัก Aseptic technique 6.3 ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน 6.4 เครื่องมือเครื่องใช้ต้องสะอาด 6.5 ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์ 6.6 ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Long-Term Respiratory Dysfunction

โรคหีด (Asthma) หมายถึง โรคเรื้อรังระบบหายใจที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก โดยมีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ส่งผลให้เยื่อบุผนังหลอดลมของผู้ปุวยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น สาเหตุ 1. ปัจจัยภายในตัวของผู้ปุวย 2. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 2 ประเภท 2.1 ปัจจัยก่อให้เกิดโรค

-บรรยายความหมาย สาเหตุ พยาธิสรีรภาพ ลักษณะทางคลินิกการวินิจฉัย การรักษา และการให้ค าแนะน าแก่เด็กโรคหืดและครอบครัว

Page 19: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

19

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

2.2 ปัจจัยที่เก่ียวข้องหรือกระตุ้นให้เกิดโรค พยาธิสรีรภาพ โรคหืดเป็นผลจากการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากกลไกด้านภูมิคุ้มกันที่มีการตอบสนองที่มากเกินของ T-helper lymphocyte ท าให้เกิดภาวะหลอดลมไวเกิน และเกิดอาการต่างๆ จนเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจต่อมา การอักเสบท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ 1. ภาวะหลอดลมหดตัว 2. การบวมของผนังหลอดลม 3. การสร้างเสมหะมากขึ้นในหลอดลม ลักษณะทางคลินิก 1. หายใจล าบาก หายใจเร็ว หายใจออกยาว มีเสียงวี๊ด หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก มีอาการเขียว เด็กมักจะนั่งยืดศีรษะไปข้างหน้า จะช่วยให้หายใจดีขึ้น 2. ไอแห้งๆ ต่อมาไอมีเสมหะเหนียว 3. ปวดท้องจากการใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องและกระบังลมมาก การวินิจฉัย 1. จากประวัติ 1.1 ผู้ปุวยมีอาการไอ หอบ เหนื่อย หายใจมีเสียงวี๊ด 1.2 มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว 2. การตรวจร่างกาย 2.1 ในรายเรื้อรังและรุนแรง อาจพบบริเวณหน้าอกโปุงนูน

Page 20: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

20

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

2.2 ขณะที่มีอาการจะตรวจพบ ไอ เหนื่อยหอบ หายใจล าบาก เสียงหายใจออกยาวขึ้น และหายใจมีเสียงวี๊ด 2.3 อาจมีอาการแสดงของโรคภูมิแพ้อ่ืนๆ เช่น อาการโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือ ผิวหนังอักเสบ 3. การทดสอบสมรรถภาพปอด

โดยใช้เครื่องมือ peak expiratory flow meter (PEF) หรือ spirometer การรักษา Global Initiative for Asthma Guideline (GINA) ก าหนดแนวทางการรักษาโดยมีเปูาหมายดังนี้ 1. สามารถควบคุมอาการของผู้ปุวยได้ 2. ปูองกันอาการหอบเฉียบพลัน 3. ช่วยให้สมรรถภาพปอดอยู่ในระดับใกล้เคียงปกติมากท่ีสุด 4. ผู้ปุวยสามารถด าเนินชีวิตตามปกติได้ สามารถออกก าลังกาย และไปโรงเรียนเช่นเดียวกับเด็กวัยเดียวกัน 5. ได้รับยาที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงยาที่มีผลข้างเคียง 6. ปูองกันการสูญเสียสมรรถภาพของปอดอย่างถาวร 7. ปูองกันการเสียชีวิตจากโรคหอบหืด หลักการรักษาโรคหืด ประกอบด้วย 1. การให้ความรู้แก่ผู้ปุวย 2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิงกระตุ้น และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ 3. การรักษาโดยการใช้ยา

Page 21: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

21

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

- อธิบายกระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ปุวยเด็กโรคหืดได้

4. การรักษาโดยการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ 5. การติดตามดูแลรักษาเป็นระยะๆ 6. การวางแผนการรักษาการจับหืดเฉียบพลัน 7. การวางแผนการรักษาโดยใช้ยาที่เหมาะสมในระยะยาวส าหรับผู้ปุวยเด็กในแต่ละวัย การรักษาโรคหืดโดยการใช้ยา ยาที่รักษาโรคหีด แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้ 1. ยาบรรเทาอาการหอบหืด เป็นกลุ่มยาที่ใช้ เพ่ือขยายหลอดลม 2. ยาควบคุมอาการ ใช้ในการควบคุมอาการระยะยาว ได้แก่ ยาต้านการอักเสบ การให้ค าแนะน าแก่เด็กและครอบครัว 1. การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆที่ท าให้เกิดอาการ 2. การควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในบ้านเพื่อลดสิ่งกระตุ้น 3. สอนวิธีการใช้ยาขยายหลอดลม ยาปูองกัน 4. แนะน าการดูแลช่วยเหลือเมื่อมีอาการหอบ 5. แนะน าเกี่ยวกับส่งเสริมสุขภาพของบุตร 6. สอนการฝึกการบริหารการหายใจ ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 1. แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจท าให้เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ

-บรรยายกระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ปุวยเด็กโรคหืด

Page 22: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

22

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

การพยาบาล 1. ประเมินภาวะพร่องออกซิเจนจากลักษณะทางคลินิกเช่น หายใจหอบ หายใจล าบาก หายใจเข้ามีเสียงดัง (inspiratory stridor) มีหายใจหน้าอกบุ๋มรุนแรงมากข้ึน 2. จัดท่านอนให้อยู่ในท่าศีรษะสูงประมาณ 30 องศา ใช้ผ้าหนุนให้คอแหงนเล็กน้อยในเด็กเล็ก หรือในเด็กโตที่เป็นโรคหอบหืดควรจัดท่านอนกึ่งนั่ง เพ่ือให้ปอดขยายตัวได้ดี และมีการระบายอากาศท่ีดี 3. ดูแลให้ได้รับออกซิเจนที่มีความชื้นสูง ชนิดที่มีละอองน้ า ในรายที่เสมหะเหนียวข้น 4. ดูแลให้พักผ่อนโดยจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ 5. ดูแลใช้เทคนิคการผ่อนคลายในเด็กโต 6. ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ ยาขยายหลอดลม ยาขับเสมหะ 7. ติดตามฟังและบันทึกเสียงหายใจที่ผิดปกติ 8. วัดความอ่ิมตัวของO2ทุก 1-4 ชั่วโมงตามความรุนแรง 2 การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่อง เนื่องจากมีการหดเกร็งของหลอดลม การบวมของหลอดลมหรือมีการสร้างเสมหะมากขึ้น การพยาบาล 1. ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา กรณีที่มีเสมหะเหนียวข้นควรใช้ชนิดที่มีความชื้นสูง 2. จัดท่านอนศีรษะสูง

Page 23: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

23

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

- จัดท่าเพ่ือระบายเสมหะ การเคาะทรวงอก การสั่นทรวงอก การก าจัดเสมหะได้อย่างถูกต้อง

3. ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน 4. วัดสัญญาณชีพและค่าความอ่ิมตัวของออกซิเจนทุก 1 -4 ชั่วโมงตามความรุนแรงของผู้ปุวย 5. ช่วยเหลือในการระบายเสมหะ ท ากายภาพบ าบัดทรวงอก 6. ดูแลให้ได้รับสารน้ าอย่างเพียงพอ 7. ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดลม ยาละลายเสมหะ และยาขับเสมหะตามแผนการรักษา 8. ประเมินเสียงหายใจ และติดตามผลการถ่ายภาพรังสี Nursing Care of the Child with Chest

Physical Therapy and Home Health Education for the Child with Respiratory Problem

การท ากายภาพบ าบัดทรวงอกในทารกและเด็ก - การจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ (postural drainage) เป็นวิธีการอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ท าให้หลอดลมของปอดส่วนที่จะท าการระบายเสมหะอยู่ในแนวดิ่งเพ่ือให้เสมหะสามารถเคลื่อนตัวตามแรงโน้มถ่วงของโลก (ในทารกแรกเกิดและทารกนิยมจัดท่าร่วมกับการเคาะและการสั่นทรวงอก) - การเคาะทรวงอก (percussion) เป็นวิธีการที่ท าให้เกิดการสั่นสะเทือนบริเวณทรวงอก แรงสั่นสะเทือนจะผ่านไปยังหลอดลมท าให้เสมหะท่ีติดอยู่ผนังหลอดลมหลุดออก

-สาธิตการจัดท่าเพ่ือระบายเสมหะ การเคาะทรวงอก การสั่นทรวงอกและการก าจัดเสมหะ - ให้นักศึกษาสาธิตย้อนกลับการเคาะทรวงอก การสั่นทรวงอก

Page 24: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

24

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

-ระบุข้อบ่งชี้ในการท ากายภาพบ าบัดทรวงอก ข้อห้ามในการจัดท่าระบายเสมหะ ข้อควรระวังในการเคาะหรือสั่นทรวงอก การหยุดท ากายภาพบ าบัดทรวงอกได้

- การสั่นทรวงอก (vibration) เป็นการช่วยให้เสมหะเคลื่อนตัวออกจากหลอดลมเล็กเข้าสู่หลอดลมใหญ่ - การก าจัดเสมหะ (secretion removal) เช่น การดูดเสมหะ การไอ ข้อบ่งชี้ในการท ากายภาพบ าบัดทรวงอก • มีเสมหะเหนียวข้นหรือมีปริมาณมาก • มีภาวะปอดแฟบ (atelectasis) • พิการแต่ก าเนิด เช่น ไส้เลื่อนกะบังลม • หลังถอดท่อช่วยหายใจใหม่ๆ เพ่ือปูองกันปอดแฟบ • ทารกแรกเกิดหรือเด็กเล็กที่มีเสมหะ ไม่สามารถไอเอาเสมหะออกเองได้ • ทารกท่ีเป็นโรคปอดเรื้อรังหรือ สูดส าลักขี้เทา ข้อห้ามในการจัดท่าระบายเสมหะ • มีอากาศคั่งในช่องเยื่อหุ้มปอด ยังไม่ได้รักษา • เลือดออกในปอดหรือไอเป็นเลือด (hemoptysis) • โรคทางหัวใจและหลอดเลือดที่ยังไม่รักษา เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ • ผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดอาหาร หลังผ่าตัดหัวใจ หัวใจ สมอง และผู้มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง • น้ าคั่งในช่องเยื่อหุ้มปอดท่ีเป็นบริเวณกว้าง • Acute asthma หรือหายใจล าบากรุนแรง • มีภาวะ gastroesophageal reflux disease: GERD

-บรรยายข้อบ่งชี้ในการท ากายภาพบ าบัดทรวงอก ข้อห้ามในการจัดท่าระบายเสมหะ ข้อควรระวังในการเคาะหรือสั่นทรวงอก การหยุดท ากายภาพบ าบัดทรวงอก

Page 25: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

25

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

• ทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันในปอดสูง (PPHN) ที่เกิดอาการหายใจล าบากรุนแรง ข้อควรระวังในการเคาะหรือสั่นทรวงอก • ไม่เคาะหรือสั่นทรวงอกในทารกหรือเด็กที่กระดูกซี่โครงหัก เลือดออกในปอด/ไอเป็นเลือด มีแผลเปิดที่ผนังทรวงอกหรือใส่ท่อระบายจากทรวงอก เลือดออกง่ายจากเกล็ดเลือดต่ ากว่า 30000/ลบ.มม. วัณโรคปอดชนิดเฉียบพลัน • ขณะไอไม่ควรท าการเคาะปอด • หลีกเลี่ยงการเคาะบริเวณท้อง หลังด้านล่าง กระดูกสันหลัง หัวไหล่ ต้นคอ และทรวงอกเด็กหญิงที่เริ่มเป็นสาว • ระหว่างท าควรประเมินการหายใจร่วมกับ SaO2 หากมีภาวะหายใจล าบากมากขึ้น หรือ SaO2ลดลงอย่างรวดเร็ว ควรหยุดท าเป็นระยะๆรอจนกว่าอาการแสดงหรือ SaO2กลับสู่สภาพเดิมก่อนการท า การหยุดท ากายภาพบ าบัดทรวงอก 1. ไม่มีเสมหะตลอดช่วง 24-48 ชม. หลังจากที่ไม่ได้ท ากายภาพบ าบัดทรวงอก 2. เสียงปอดปกติ ไม่มีเสียงเสมหะ 3. ภาพถ่ายรังสีทรวงอกปกติ การดูดเสมหะ - ทารกคลอดก่อนก าหนด ใช้ความดันลบ 40-80 mmHg - ทารก ใช้ความดันลบ 60-100 mmHg

Page 26: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

26

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

-ระบุข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ภาวะแทรกซ้อน การปูองกันภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นและภาวะแทรกซ้อนจากการดูดเสมหะได้

- เด็ก ใช้ความดันลบ 100-120 mmHg ข้อบ่งชี้ในการดูดเสมหะ • เด็กมีอาการของการอุดก้ันทางเดินหายใจ • ไม่รู้สึกตัว ใส่ท่อช่วยหายใจ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อห้ามในการดูดเสมหะ • ตอบสนองไวกว่าปกติต่อการดูดเสมหะ , มีภาวะ thrombocytopenia หรือก าลังได้รับการรักษาด้วย systemic anticoagulant, ผ่าตัดบริเวณ pharynx, กล่องเสียงอักเสบ (epiglotitis) หรือเพ่ิงได้รับอาหาร ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการดูดเสมหะ • ขาดออกซิเจน, ชีพจรเต้นผิดจังหวะ, ติดเชื้อ, ความดันต่ า, ปอดแฟบ, เยื่อบุหลอดลมถูกท าลาย, การอาเจียนและส าลักอาหาร ก า ร ป้ อ ง กั น ภ า ว ะ ท า ง เ ดิ น ห า ย ใ จ ถู ก อุ ด กั้ น แ ล ะภาวะแทรกซ้อนจากการดูดเสมหะ ขั้นตอนการดูดเสมหะควรปฏิบัติ ดังนี้ 1. ให้ออกซิเจนส ารองในทางเดินหายใจก่อนและหลังการดูดเสมหะ 2. ดูดเสมหะโดยวิธีไร้เชื้อ 3. การสอดสายดูดเสมหะ กรณีดูดเสมหะทางจมูกให้สอดสายดูดเสมหะผ่านจมูกลงไปสู่ nasopharynx การดูดเสหะทางปากให้สอดสายดูดเสมหะเข้าทางปากถึง oropharynx

- บรรยายข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ภาวะแทรกซ้อน การปูองกันภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นและภาวะแทรกซ้อนจากการดูดเสมหะ

Page 27: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

27

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

-บอกการให้ค าแนะน าเกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจที่บ้านได้

กรณีดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจ ความลึกในการสอดมี 2 แบบ คือ แบบลึกและแบบตื้น ควรสอดสายอย่างรวดเร็วแต่นุ่มนวล เวลาที่ใช้ในการดูดแต่ละครั้ง ไม่ควรเกิน 10 วินาที 4. ถ้ายังมีเสมหะอยู่ให้ดูดซ้ า กรณีผู้ปุวยไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ ให้ดูดเสมหะทางจมูกก่อนแล้วจึงต่อด้วยทางปากโดยไม่ต้องล้างสาย กรณีเมื่อดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจแล้วให้ตามด้วยการดูดในช่องปากได้ 5. หลังจากดูดเสมหะ อย่าลืมปรับออกซิเจนให้เท่ากับค่าเดิมที่ผู้ปุวยได้รับอยู่ก่อนการดูดเสมหะ บันทึกปริมาณ ลักษณะ และสีของเสมหะ การให้ค าแนะน าเกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจที่บ้าน การพยาบาลระยะเฉียบพลัน 1. จัดให้นอนศีรษะสูง 2. ให้ออกซิเจน 3. ให้ยาตามแผนการรักษา 4. ประเมินอาการ ผลข้างเคียงท่ีอาจเกิดข้ึนจากการใช้ยา 5. ประเมินลักษณะทางคลินิกทั่วไป 6. ดูแลให้ได้รับสารน้ า สารอาหารให้เพียงพอทั้งทางปากและหลอดเลือดด า 7. ควรอยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ไม่ควรปล่อยทิ้งเด็กไว้ตามล าพัง

-บรรยายการให้ค าแนะน าเกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจที่บ้าน

Page 28: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

28

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

การพยาบาลในระยะยาว 1. อธิบายให้เด็กและญาติเข้าใจเกี่ยวกับโรค 2. สังเกตและก าจัดสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นและชักน า 3. สอนวิธีการใช้ยาขยายหลอดลม ยาลดการเกร็งของหลอดลม และสเตียรอยด์ รวมทั้งผลข้างเคียงของยา ข้อห้าม ข้อระวังในการใช้ 4. สอนวิธีการหายใจเพ่ือให้อากาศเข้าปากมากที่สุด ช่วยให้ปอดมีการขยายตัวเต็มที่ทุกกลีบ 5. แนะน าเกี่ยวกับการเลือกวิธีการออกก าลั งกายให้เหมาะสม 6. การดูแลสภาพทางจิตใจทั้งตัวเด็กและครอบครัว การวางแผนจ าหน่ายในเด็กที่ต้องได้รับออกซิเจนที่บ้าน 1. ผู้ดูแลผู้ปุวยควรได้รับการฝึกฝนทักษะการใช้และดูแลเครื่องผลิตออกซิเจนและถังออกซิเจน 2. การท าความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ สายต่อและ nasal cannula 3. ผู้ดูแลต้องฝึกทักษะการสังเกตเมื่ออุปกรณ์เกิดขัดข้องในกรณีต่างๆที่ส าคัญก่อนกลับบ้าน เช่น สาย nasal cannula หลุดหรืออุดตัน ถังออกซิเจนหมด หรือวาล์วปิด 4. ผู้ดูแลจ าเป็นจะต้องมีความสามารถในการประเมินอาการของผู้ปุวย โดยเฉพาะการสังเกตลักษณะสีผิวที่แสดงถึงภาวะการขาดออกซิเจน และสามารถปรับออกซิเจนตาม

Page 29: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

29

วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา กิจกรรมการสอน อุปกรณ์/สื่อ วิธีการประเมินผล

ความเหมาะสมกับสภาวะที่เด็กต้องการได้ สรุป ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจในนับว่าเป็นปัญหาส าคัญและพบบ่อยในเด็ก หากพยาบาลมีความรู้สามารถให้การดูแลช่วยเหลือเพ่ือปูองกันภาวะผิดปกติซึ่งจะน าไปสู่การเสียชีวิตหรือพิการได้

- แบ่งกลุ่มอภิปรายและวิเคราะห์กรณีศึกษา - บรรยายสรุปการพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ - post test

บันทึกหลังสอน 1) นักศึกษาเข้าเรียนครบ 120 คน 2) ก่อนเข้าสู่บทเรียนให้นักศึกษาทุกคนท า Pre-test เพ่ือประเมินความรู้เบื้องต้นก่อนการเรียนการสอน ผลคะแนนนักศึกษาส่วนใหญ่ ..................... 3) มีการมอบหมายงานให้นักศึกษาโดยแบ่งกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษาในแต่ละโรค นักศึกษาทุกคนในแต่ละกลุ่ม............................... 4) ให้นักศึกษาทุกคนในแต่ละกลุ่มอภิปรายกรณีศึกษาและน าเสนอหน้าชั้นเรียน นักศึกษา............................................... ..... 5) ผลการเรียนรู้ .......% นักศึกษาสามารถท า Post-test ได้คะแนนมากกว่า 60% 6) ปัญหาและอุปสรรค ................................. 7) ข้อเสนอแนะ........................................

เอกสารอ้างอิง ฐิติมา สุขเลิศตระกูล และ จุฑามาศ โชติบาง. (2554). หลักการพยาบาลผู้ปุวยเด็กที่มีความผิดปกติของทางเดินหายใจ ใน วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร และ อุษณีย์ จินตะเวช

(บรรณาธิการ), การพยาบาลเด็ก เล่ม 2, เชียงใหม่: ครองช่าง พริ้นติ้ง จ ากัด.

Page 30: The Child with Respiratory Dysfunction...หายใจส วนบน การต ดเช อทางเด นหายใจส วนล าง และโรคเร อร

30

สมหญิง โควศวนนท์. (2555). การพยาบาลผู้ปุวยเด็กที่มีปัญหาระบบหายใจ ใน ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์, ฟองค า ติลกสกุลชัย, วิไล เลิศธรรมเทวี, อัจฉรา เปรื่องเวทย์, พรรณรัตน์ แสงเพ่ิม, และ สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง (บรรณาธิการ), ต าราการพยาบาลเด็ก เล่ม 2 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจ ากัด พรี-วัน.

สุจิตรา นิมมานิตย์ และ ประมวญ สุนากร. (2537). ปัญหาโรคเด็กที่พบบ่อย, กรุงเทพฯ บริษัทดีไซร์จ ากัด ชุติมณฑน์ พันศิริ และ สุปรียา ราชสีห์. (2560). การท ากายภาพบ าบัดทรวงอกในทารกและเด็ก เข้าถึงได้จาก https://www.google.co.th/url rehab.md.kku.ac.th โครงการส่งเสริมฟ้ืนฟูสมรรถภาพปอดเด็ก คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี . (2560). การเคาะปอดเพ่ือระบายเสมหะในเด็ก เข้าถึงได้จาก

http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar21032007.php

Winkelstein, M. (2005). The child with respiratory dysfunction. In M. J. Hockenberry, D. Wilson, & M.L. Winkelstein. (Eds.) Wong’s essential of pediatric nursing (pp. 787-811). St. Louis: Mosby