200 - mba online utccedit)id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly...

15
แนวทางสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ กรณีศึกษาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร น.ส.พระนาง สุรชิต และ ผศ. ดร.สวรส ศรีสุตโต บัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย E-mail : [email protected] กลุ่มวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดี เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการสร้างทายาทเข้าร่วมโครงการการสร้างทายาท ทดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการการสร้างทายาทดแทนลูกค้าผู้กูสูงอายุ เพื่อเป็นการรักษารากฐานของลูกค้าและเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพการเกษตรของลูกค้า ส่งผลต่อความยั่งยืนของธนาคาร และหาแนวทางในการเพิ่มจานวนทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ โดยเก็บข้อมูลจากจากแบบสอบถามจานวน 200 ชุด และจากการสัมภาษณ์ทายาทผู้สูงอายุ จานวน 20 คน นามาวิเคราะห์ร้อยละและความถี่ จากนั้นนาข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีผังก้างปลา ทาให้ ทราบปัญหา คือ ทายาทไม่ทราบว่ามีโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ ทัศนคติต่อ โครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ เข้าใจในขั้นตอนการสมัครเข้าโครงการฯ และเข้าใจใน คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ค่อนข้างปานกลาง ทายาทลูกค้าผู้กู้สูงอายุไม่สมัครใจเข้าร่วม โครงการฯ เนื่องจากทายาทมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดารงชีพ ส่วนกรณีทายาทสมัครใจแต่ยังไม่เข้า ร่วมโครงการ เนื่องจากทายาทขาดคุณสมบัติการเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. เช่น อาชีพหลักไม่ใช่เกษตรกร จาก การสารวจและสัมภาษณ์ทายาทลูกค้าผู้กู้สูงอายุ บิดามารดาสามารถชาระหนี้ได้ ซึ่งได้กาหนดแนว ทางแก้ไขได้ จานวน 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที1 แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยธนาคารทาการ ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบถึงโครงการนีแนวทางที2 แนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการสนับสนุน สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เมื่อเข้าร่วมโครงการและเป็นทายาทแทนผู้สูงอายุ

Upload: others

Post on 18-Nov-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

แนวทางสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ กรณีศึกษาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

น.ส.พระนาง สุรชิต และ ผศ. ดร.สวรส ศรีสุตโต

บัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มวิชาการตลาด

คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย E-mail : [email protected]

กลุ่มวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ถนนวิภาวดี เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาสาเหตุการสร้างทายาทเข้าร่วมโครงการการสร้างทายาท

ทดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการการสร้างทายาทดแทนลูกค้าผู้กู้

สูงอายุ เพ่ือเป็นการรักษารากฐานของลูกค้าและเพ่ิมศักยภาพการประกอบอาชีพการเกษตรของลูกค้า

ส่งผลต่อความยั่งยืนของธนาคาร และหาแนวทางในการเพ่ิมจ านวนทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ

โดยเก็บข้อมูลจากจากแบบสอบถามจ านวน 200 ชุด และจากการสัมภาษณ์ทายาทผู้สูงอายุ จ านวน

20 คน น ามาวิเคราะห์ร้อยละและความถี่ จากนั้นน าข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีผังก้างปลา ท าให้

ทราบปัญหา คือ ทายาทไม่ทราบว่ามีโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ ทัศนคติต่อ

โครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ เข้าใจในขั้นตอนการสมัครเข้าโครงการฯ และเข้าใจใน

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ค่อนข้างปานกลาง ทายาทลูกค้าผู้กู้สูงอายุไม่สมัครใจเข้าร่วม

โครงการฯ เนื่องจากทายาทมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการด ารงชีพ ส่วนกรณทีายาทสมัครใจแต่ยังไม่เข้า

ร่วมโครงการ เนื่องจากทายาทขาดคุณสมบัติการเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. เช่น อาชีพหลักไม่ใช่เกษตรกร จาก

การส ารวจและสัมภาษณ์ทายาทลูกค้าผู้กู้สูงอายุ บิดามารดาสามารถช าระหนี้ได ้ ซึ่งได้ก าหนดแนว

ทางแก้ไขได้ จ านวน 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยธนาคารท าการ

ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบถึงโครงการนี้ แนวทางที่ 2 แนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการสนับสนุน

สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เมื่อเข้าร่วมโครงการและเป็นทายาทแทนผู้สูงอายุ

Page 2: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

ค าส าคัญ : โครงการ , ผู้กู้สูงอายุ, ทัศนคติ, ทายาททดแทน

Abstract

The purpose of this research was to study causes and factors of farm heirs’

participation in the Farm Succession Project. This Project aims to increase

agriculturalists’ capability and to retain the customer base of Bank for Agriculture and

Agricultural Cooperatives. The project intends to create more agriculturalists’ heir to

conduct farm business in replacement of elderly agricultural borrowers. This could

contribute the benefit of achieving sustainability of Thailand Agricultural sector and

of BAAC as well. Primary data were collected using questionnaire with 200 sample

size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done

based on quantitative analysis method which is in form of in percentage and

frequency. Thereafter these data was applied into Fishbone Diagram Theory to

illustrate the existing problems. The result of this study reveals that causes of not

effectively join the project due to 1) Unrealized the project existence 2) Wrong

Attitude on the Project 3) Lack of Understanding the Project Process Participation 4)

Insufficient fund for live up. Some sample had willingness to join the project but

declined due to disqualification. According to the surveys and interviews of the heirs,

it shows that the elderly agriculturalists have capacity to repay debt. Hence, to

accelerate more awareness of the project, there are two solution offered. Firstly, the

bank should emphasize more on Public Relation (PR) or any advertising media.

Secondly, the bank should offer more incentive in terms of special loan interest rate.

Keywords : Project, Elderly Agricultural Borrowers, Attitude, Heirs

Page 3: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

1. บทน า

งานสินเชื ่อเป็นหนึ่งในส่วนงานหลักของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

(ธ.ก.ส.) ในการขับเคลื่อนภารกิจด้านสินเชื่อ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินทั้งในภาคการเกษตรและ

นอกภาคการเกษตร เพื่อการพัฒนาชนบทและช่วยเหลือในการสร้างอาชีพ หน้าที่ความรับผิดชอบ

หลักในการก าหนดและบริหารนโยบายกลยุทธ์และแผนงานด้านสินเชื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์

ของธนาคารด้วยวิสัยทัศน์ของธนาคารในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ เกิดความยั่งยืน

สิ่งที่ส าคัญที่จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิต คือ ธนาคารจึงมีโครงการแนวทางสนับสนุนการเข้า

ร่วมโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ แต่ปัญหาทึ่เกิดขึ้น คือ ความสามารถในการท า

อาชีพการเกษตรของลูกค้าผู้กู้สูงอายุลดน้อยลง ต้องการหยุดพักหรือต้องการให้ทายาทท าธุรกิจแทน

ธุรกิจของตนเอง หรือลูกค้าผู้กู้สูงอายุไม่สามารถท าอาชีพการเกษตรและไม่สามารถส่งช าระหนี้ได้เกิน

3 เดือน อาจท าให้เกิดหนี้ NPLs ขึ้นได้ ลูกค้าผู้กู้สูงอายุไม่สามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีในด้าน

การเกษตรใหม่ ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการผลิตได้อีกต่อไป ทายาทไม่สามารถมารับช่วง

เป็นเกษตรกรต่อจากลูกค้าผู้กู้สูงอายุได้ เช่น ย้ายถิ่นฐาน มีภาระครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดูมีงานที่ท าเป็น

ประจ าอยู่แล้ว

วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทายาทไม่สนใจเข้าร่วมโครงการการสร้าง

ทายาททดแทนลูกค้าผู ้กู ้สูงอายุ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการการสร้างทายาท

ทดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุของธนาคารในกรุงเทพมหานครฯ ซึ่งเป็นการรักษารากฐานของลูกค้าธนาคาร

และเป็นการเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพการเกษตรของลูกค้าที ่ส่งผลต่อความยั่งยืนของ

ธนาคาร และเพื ่อหาแนวทางให้กับธนาคารในการเพิ ่มจ านวนทายาททดแทนลูกค้าผู ้กู ้สูงอายุ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ท าให้ทราบถึงสาเหตุที่ทายาทไม่เข้าร่วมโครงการการสร้างทายาททดแทน

ลูกค้าผู้กู้สูงอาย ท าให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการการสร้างทายาทดแทนลูกค้าผู้กู้

สูงอายุ เพื ่อก้าวสู ่เกษตรกรอย่างยั ่งยืนจากการสร้างอาชีพต่อเนื ่องในภาคเกษตรกรและระบบ

เศรษฐกิจของประเทศ และท าให้ธนาคารมีแนวทางในการประชาสัมพันธ์ โครงการการสร้างทายาท

ทดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุเพ่ือท าให้มีจ านวนทายาทลูกค้าผู้กู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการนี้เพ่ิมมากข้ึน

Page 4: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

2. ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

1. ทฤษฎี S - R Model

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญลักษิตานนท์, ศุภร เสรีรัตน์, องอาจ ปทะวานิช, ปณิศา มีจินดา,

จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และอรทัย เลิศวรรณวิทย์ (2552)

กล่าวว่าจุดเริ่มต้นจากการเกิดสิ่งกระตุ้น (Stimulus=S) ที่เข้ามาในความรู้สึกนึกคิดของ

ผู้บริโภค (Buyer’s Characteristic หรือ Buyer’s Black Box) ที่เปรียบเสมือนกล่องด าที่ผู้ผลิต

หรือนักการตลาดไม่สามารถคาดการณ์ได้เมื่อผู้บริโภครับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นและเกิดความต้องการ แล้วเกิด

การซื้อหรือการตอบสนอง (Response = R)

1. สิ่งกระตุ้นภายนอกของผู้ซื ้อ (Stimulus=S) โดยเฉพาะสิ่งกระตุ้นทางการตลาดให้

สามารถจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อสินค้าข้ึนจากสิ่งกระตุ้น

2. ความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ (Buyer’s Black Box) กล่องด าหรือความรู้สึกนึกคิดของผู้

ซื้อเป็นส่วนที่ได้รับอิทธิพลมาจากลักษณะของผู้ซื้อ (Buyer’s Characteristic)

3. การตอบสนองของผู้ซื้อ (Buyer’s Responses) การตอบสนองของผู้ซื้อ หรือการ

ตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Product Choice) ตอบสนองความต้องการ

4. ลักษณะของผู้ซื้อ (Buyer’s Characteristic) ถือว่าเป็นปัจจัยภายในของผู้ซื้อที่ส่งผล

ถึงความรู้สึกนึกคิดของผู ้ซื ้อ ซึ่งลักษณะของผู้ซื ้อประกอบด้วย ปัจจัยด้านวัฒนธรรม (Cultural

Factors) ปัจจัยด้านสังคม (Social Factors) มีอิทธิพลในการซื้อลักษณะทางสังคมประกอบด้วย

กลุ่มอ้างอิงครอบครัวบทบาทและสถานะของผู้ซื้อ ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal Factors) การเลือกซื้อ

ของบุคคล กระบวนการทางจิตวิทยา 4 อย่าง คือ การจูงใจ ความเข้าใจ การรับรู้ความเชื่อทัศนคติและ

การเรียนรู้ ปัจจัยด้านจิตวิทยา (Psychological Factor) เป็นปัจจัยภายในของผู้บริโภค ซึ่งที่มี

อ ิทธ ิพลต่อพฤติกรรมการซื ้อและการใช ้ผล ิตภ ัณฑ์ป ัจจ ัยภายใน ประกอบด้วย การจ ูงใจ

(Motivation) หมายถึง ความต้องการได้รับสิ่งกระตุ้น (Drive) ภายในตัวบุคคลกระตุ้นให้บุคคล

ปฏิบัติการจูงใจเกิดภายใน แต่อาจจะถูกกระทบจากปัจจัยภายนอก การรับรู้ (Perception) หมายถึง

Page 5: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

กระบวนการของความเข้าใจ(การเปิดรับ) การรับรู้เป็นกระบวนการของแต่ละขึ้นกับปัจจัยภายใน การ

เรียนรู้ (Leaning) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและความโน้มเอียงที่สั่งสมมา การรับรู้จะ

เกิดได้ขึ้นเมื่อบุคคลได้รับสิ่งกระตุ้นและจะเกิดการตอบสนองเกิดเป็นทฤษฎีสิ่งกระตุ้นการตอบสนอง

(Stimulus – Response (SR) Theory) ความเชื่อถือ (Belief) หมายถึง เป็นความคิดส่วนบุคคล ใน

อดีตและมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ทัศนคติ (Attitudes) หมายถึง เป็นการประเมินความพึงพอใจ

หรือไม่พึงพอใจของบุคคล ความรู ้ส ึกด้านอารมณ์และแนวโน้มมีผลต่อความคิด บุคลิกภาพ

(Personality) หมายถึง ลักษณะด้านจิตวิทยาของบุคคลที่แตกต่างกัน แนวคิดของตนเอง (Self-

Concept) หมายถึงความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อตนเองหรือเป็นความคิดท่ีบุคคลอื่นๆ (สังคม)

5. ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจของผู้ซื้อ (Buyer's Decision Process)

เกิดจากการส ารวจผู้บริโภคจ านวนมากในกระบวนการซื้อ โดยพบว่าผู้บริโภคจะผ่าน

กระบวนการ 5 ขั้นตอน โดยมีรายละเอียดดังนี้ การรับรู้ถึงปัญหา (Problem Recognition) หรือการ

รับรู้ถึงความต้องการ (Need Arousal) การค้นหาข้อมูล (Information Search) สามารถค้นหา

ข้อมูลผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบสนองความต้องการได้ การประเมินผลทางเลือก (Evaluation Of

Alternative) ผู้บริโภคประเมินผลประโยชน์ที่ได้รับแต่ละทางเลือกของผลิตภัณฑ์ที่ก าลังพิจารณา ใน

เรื ่องของ ราคา ความคงทน หรือคุณสมบัติของสินค้า เป็นต้น การตัดสินใจซื ้อ (Purchase

Decision) การตัดสินใจซื้อ หลังจากประเมินทางเลือก (Evaluation Of Alternative)แล้วเกิดความ

ตั้งใจซื้อ(Purchase Intention)และเกิดการตัดสินใจซ้ือ

2. ทฤษฎีวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคที่ 6W 1H (ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญลักษิตานนท์,

ศุภร เสรีรัตน์, องอาจ ปทะวานิช, ปณิศา มีจินดา,จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และอรทัย เลิศวรรณวิทย์,

2552)

กล่าวว่าการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค โดยสภาพแวดล้อมถือว่ามีความส าคัญมาก ส าหรับ

นักการตลาด เป็นการค้นคว้า หรือวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อและการบริโภค ทั้งที่เป็นบุคคลกลุ่ม

บุคคล หรือองค์กร สามารถสร้างการกระตุ้นหรือกลยุทธ์ทางการตลาด สามารถตอบสนองความพึง

Page 6: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

พอใจของผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยสามารถใช้ค าถาม 7 ประการ (6Ws 1H)

เพ่ือค้นหาค าตอบพฤติกรรมผู้บริโภค 7 ประการ หรือ 7Os ดังนี้

1. ใครอยู่ในตลาดเป้าหมาย (Who is in the Target market?)

2. ผู้บริโภคซื้ออะไร (What does the consumer buy?)

3. ท าไมผู้บริโภคจึงซื้อ (Why does the consumer buy?)

4. ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ (Who participates in the buying?)

5. ผู้บริโภคซื้อเมื่อใด (When does the consumer buy?)

6. ผู้บริโภคซื้อที่ไหน (Where does the consumer buy?)

7. ผู้บริโภคซื้ออย่างไร (How does the consumer buy?)

งานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง

กันยปริณทองสามสีและอิสระทองสามสี (2560) ได้ท าการศึกษาเรื่อง “ความต้องการ

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อและบริการที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อของผู้สูงอายุในจังหวัดนราธิวาส” ผลการศึกษา

พบว่า ต้องการผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพเป็นหลักอันได้แก่ สินเชื่อเพื่อการค้า และ

สินเชื่อเพ่ือการเกษตร ซึ่งความต้องการดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับอาชีพของประชาชนในจังหวัดนราธิวาสที่

ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นส่วนมากผู ้สูงอายุที่ต้องการสินเชื ่อเพื่อการเกษตรมากที่สุด คือ ผู้

ประกอบอาชีพด้านการเกษตรและการประมง เนื่องจากต้องการเงินทุนเพื่อใช้ในการบุกเบิกหรือซื้อ

ที่ดินเพิ่มซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพรวมทั้งใช้ในกระบวนการผลิตและการหา

ตลาดสะท้อนว่าภาคการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ประสบปัญหาผลผลิตต ่าและด้อยคุณภาพ

เนื่องด้วยเกษตรกรขาดความรู้ทางเทคโนโลยีและการดูแลรักษาท่ีถูกต้อง

ประวุฒิ ทัศมาลี และดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมาธิวัฒน์ (2562) ได้ท าการศึกษาเรื่อง “ความพึง

พอใจของเกษตรกรรุ่นใหม่ต่อการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมสู่การเป็น เกษตรกรรุ่นใหม่ใน

กรุงเทพมหานคร” ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรรุ่นใหมท่ี่เข้ารับการอบรมเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง

30-39 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพหลักเป็นเกษตรกร รายได้ต่อเดือน 5,000-

10,000 บาท ปีที่ผ่านการประเมิน Young Smart Farmer 1 ปี ช่องทางการรับรู้ข่าวสารการอบรม

จากเจ้าหน้าที่รัฐ เกษตรกรรุ่นใหม่มีความพึงพอใจต่อการอบรม ความพึงพอใจของเกษตรกร รุ่นใหม่

Page 7: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

จ าแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าเพศไม่มีผลต่อความพึงพอใจในภาพรวม แต่พบว่าเพศมีผลต่อความ

พึงพอใจด้านเนื้อหา ส่วนปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่าเนื้อหาที่อบรมน ามาใช้ประกอบอาชีพได้น้อย

ควรเน้นเนื้อหาที่สามารถน ามาใช้ประกอบอาชีพได้มากขึ้น จ านวนวันอบรมมากเกินไป ควรลด

ระยะเวลาการอบรม

3. วิธีศึกษา

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มตัวอย่างทายาทผู้สูงอายุจ านวน 5 สาขาของ

ธ.ก.ส.กรุงเทพฯ ส านักกิจการนครหลวง จากจ านวนลูกค้าผู้สูงอายุ 5,436 คน การก าหนดขนาดตัวอย่าง

โดยใช้สูตรวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 เจาะจงสาขาที่มีลูกค้าผู้สูงอายุจ านวน

มาก 5 สาขา ขั้นที่ 2 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) โดยแบ่งสัดส่วนตาม

ประชากร ประกอบด้วย สาขาหนองจอก 77 คน สาขามีนบุรี 67 คน สาขาลาดกระบัง 30 คน สาขา

ภาษีเจริญ 15 คน และสาขาขนส่งสายใต้ 11 คน รวมจ านวน 200 คน โดยสัมภาษณ์ประชากรกลุ่ม

ตัวอย่างสาขาละ 2 คน ขั้นที่ 3 สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญของประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการแล้ว

จ านวน 100 คน มาค านวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทราบประชากร ยามาเน่ (Yamane,

1973) ในระดับความเชื่อม่ัน 10% ดังนี้

n = 5,436 1+5,436(0.1)2

n = 98.19 n ≈99 หรือ 100 คน รวมถึงสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจ านวน 10 คน

และประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการ จ านวน 100 คน มาค านวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรไม่ทราบประชากร คอแครน (Cochran, 1977) ในระดับความเชื่อมั่น 10% ดังนี้

Page 8: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

n = 1.962 (0.50) (0.50) 0.12

= 0.9604 = 96 คน หรือ100 คน 0.01

รวมถึงสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่างรวมจ านวน 10 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

แบบสอบถามปลายปิดและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างให้กับทายาทลูกค้าผู ้กู ้สูงอายุ

ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ ข้อมูลทั่วไปของประชากรกลุ่มตัวอย่าง พฤติกรรมการช าระหนี้ของบิดา

มารดาหรือ ญาติ ทัศนคติเก่ียวกับโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ ได้แก่ ความรู้ ความ

สนใจ และแนวโน้มพฤติกรรม ความต้องการและสาเหตุของทายาทในการสมัครใจเข้าร่วมโครงการ

และไม่เข้าร่วมโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ ได้แก่ การทราบถึงโครงการ วิธีการ

สนับสนุนของธนาคารให้กับทายาทผู้กู้สูงอายุในการเข้าร่วมโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้

สูงอาย ุ

การรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ โดยให้ประชากรกลุ่มตัวอย่างกรอกแบบสอบถามด้วยตัวเอง

จ านวน 200 คน ทายาทที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการจ านวน 100 คน และทายาทไม่สมัครใจเข้าร่วม

100 คน และสัมภาษณ์จ านวน 20 คน ทายาทที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการจ านวน 10 คน และ

ทายาทไม่สมัครใจเข้าร่วม 10 คน โดยทั้งหมดเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึงเดือน

กุมภาพันธ์ 2563

การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลที่ได้มาจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถิติเชิง

พรรณนา (Descriptive Statistics) โดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้าน

ประชากรศาสตร์พฤติกรรมการช าระหนี้ และความต้องการเป็นลูกค้าแทนผู้กู้สูงอายุ นอกจากนี้ท าการ

Page 9: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

หาค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการอธิบายข้อมูลด้าน

ทัศนคตติ่อโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ

การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์

การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ท าการจ าแนกค าที่ได้ผลการ

สัมภาษณ์แล้วหาค่าความถี่ของข้อความหรือค าที่จ าแนกไว้ภายใต้ระบบการจ าแนกที่ก าหนดไว้หลังจาก

นั้น ก็ท าการวิเคราะห์เชื่อมโยง สรุปบรรยายข้อมูลที่จ าแนก

4. ผลการศึกษา

4.1 ผลจากการส ารวจด้วยแบบสอบถาม มีดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศชาย(55%) มีอายุระหว่าง 31-40 ปี

(45%) ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นส่วนมาก (37.5%) ประกอบอาชีพ เกษตรกร/ท าสวน/

ท าไร่ (28%) สถานภาพสมรส (48.5%) มีรายได้เฉลี่ยประมาณต่อเดือน 20,000 – 30,000 บาท

(36.6%)

ส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมการช าระหนี้ของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ บิดา/มารดา/ญาติ

ของกู้เงินกับ ธ.ก.ส. ในวงเงิน 100,000 - 500,000 บาท (39.5%) ระยะเวลาในการช าระหนี้ ธ.ก.ส.

ของ บิดา/มารดา/ญาติ 1 – 5 ปี (31.5%) ภาระยอดหนี้คงเหลือของบิดา/มารดา/ญาติ กับ ธ.ก.ส.

คงเหลือ 100,001 - 500,000 บาท (39%) สาเหตุที่บิดา/มารดา/ญาติกู้กับ ธ.ก.ส. เกิดจากน าเงินกู้ไป

ใช้ประกอบอาชีพในภาคการเกษตร (61%) การช าระหนี้ของบิดา/มารดา/ญาติกับ ธ.ก.ส.นั้น

สามารถช าระหนี้ได้ (84.5%) ส่วนปัจจัยที่เป็นสาเหตุท าให้บิดา มารดา หรือญาติไม่สามารถช าระ

หนี้กับ ธ.ก.ส. เนื่องจากมีหนี้สินภายนอกหลายสัญญา (4%)

Page 10: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

10

ส่วนที่ 3 ทัศนคติต่อโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ

ประเด็นค าถาม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

1. ความเข้าใจ

1.1 ท่านเข้าใจในวัตถุประสงค์ ของโครงการนี้

3.72 33.78

1.2 ท่านเข้าใจถึงข้ันตอนการ สมัครเข้าโครงการนี้

3.50 35.32

1.3 ท่านเข้าใจถึงคุณสมบัติของ ผู้เข้าร่วมโครงการนี้

3.56

35.72

2. ความรู้สึก/ความสนใจ 2.1 ท่านคิดว่าโครงการสร้าง ทายาททดแทนลูกค้า ผู้กู้สูงอายุมีความน่าสนใจ

4.02 44.27

2.2 ท่านมีความสนใจเข้ารับการ อบรมเพ่ือน ามาพัฒนาอาชีพ

3.85 42.60

3. ความคิดเห็น

3.1 โครงการฯ มีประโยชน์ท าให้ ท่านเข้าถึงแหล่งเงินทุนใน การประกอบอาชีพเกษตรกร

3.83 45.54

3.2 โครงการฯ มีประโยชน์จาก การท าเกษตรกรแบบดั้งเดิม เป็นการท าเกษตรแบบ สมัยใหม่

3.82 45.57

3.3 โครงการฯ มีประโยชน์ใน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของ เกษตรกรอย่างยั่งยืน

3.88 46.50

ส่วนที่ 4 ความต้องการเป็นลูกค้าแทนผู้กู้สูงอายุ สมัครใจและเข้าร่วมโครงการแล้ว จ านวน 100

คน สมัครใจแต่ยังไม่เข้าร่วมโครงการ จ านวน 64 คน และไม่สมัครใจจ านวน 36 คน

Page 11: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

11

กรณีที่ทายาทสมัครใจและเข้าร่วมโครงการนั้นต้องการให้ผู ้กู้สูงอายุได้หยุดพัก รองลงมา

ต้องการขอสินเชื่อเพื่อต่อยอดอาชีพทดแทนผู้กู ้สูงอายุ กรณีที ่สมัครใจแต่ยังไม่เข้าร่วมโครงการ

เนื่องจากทายาททขาดคุณสมบัติการเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. เช่น อาชีพหลักไม่ใช่เกษตรกร รองลงมา ยัง

ไม่ได้โอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันมาจากบิดามารดาหรือญาติ และกรณีที่ไม่สมัครใจ เนื่องจาก

ทายาทมีรายได้ไม่เพียงพอ รองลงมา ทายาทมีการย้ายถิ่นฐาน และความต้องการของทายาทในการ

เข้าร่วมโครงการ คือ ธนาคารควรสนับสนุนให้ทายาทเข้าร่วมโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้

สูงอายุ โดยธนาคารท าการประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบถึงโครงการนี้ รองลงมา สนับสนุนสินเชื่อใน

อัตราดอกเบี้ยพิเศษ เมื่อเข้าร่วมโครงการและเป็นทายาทแทนผู้สูงอายุ

4.2 ผลจากการสัมภาษณ์ มีดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ถูกสัมภาษณ์ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (60%) อายุระหว่าง 31-40

ป ี(50%) ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นส่วนมาก (50%) ประกอบอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ

เป็นหลัก (30%) สถานภาพโสด (50%) มีรายได้เฉลี่ยประมาณต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาท (35%)

ส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมการช าระหนี้ของผู้ถูกสัมภาษณ์ ส่วนใหญ่บิดา/มารดา/ญาติของ

ทายาทกู้เงินกับ ธ.ก.ส.วงเงินต ่ากว่า 100,000 บาท (45%) ระยะเวลาในการช าระหนี้ ธ.ก.ส. ของ

บิดา/มารดา/ญาติ 1 – 5 ปี (35%) ส่วนใหญ่ภาระยอดหนี้คงเหลือของบิดา/มารดา/ญาติ กับ ธ.ก.ส.

คงเหลือต ่ากว่า 100,000 บาท (50%)

ข้อมูลผลสัมภาษณ์พฤติกรรมการช าระหนี้ สาเหตุที่บิดา/มารดา/ญาติกู้กับ ธ.

ก.ส. นั้น เพื่อน าเงินกู้ไปใช้ประกอบอาชีพในภาคการเกษตร 14 คน การช าระหนี้ของบิดา/มารดา/

ญาติกับ ธ.ก.ส. สามารถช าระหนี้ได้ 18 คน ส่วนปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้บิดา/มารดา/ญาติไม่สามารถ

ช าระหนี้ได้ คือ ราคาผลผลิตตกต ่า ต้นทุนการผลิตสูง มีค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 1 คน และเศรษฐกิจไม่

ดี แต่ช าระแบบทบงวด 1 คน

ส่วนที่ 3 ทัศนคติต่อโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ มีความเข้าใจว่า

โครงการนี้ให้ทายาทของเกษตรกรเข้าเป็นลูกค้าแทนบิดามาดาที่มีอายุมากแล้ว จ านวน 14 คน โดยมี

ความรู้สึกและความสนใจเข้าร่วมโครงการ แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดโครงการ จ านวน 4 คน และมี

ความคิดเห็นเป็นโครงการที่น่าสนใจ จ านวน 5 คน

Page 12: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

12

ส่วนที่ 4 ความต้องการเข้าร่วมโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ทราบ

ถึงโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุจ านวน 13 คน และไม่ทราบจ านวน 7 คน โดยสมัคร

ใจและเข้าร่วมโครงการแล้ว จ านวน 10 คน สมัครใจแต่ยังไม่เข้าร่วมโครงการ จ านวน 7 คน และไม่

สมัครใจจ านวน 3 คน และความต้องการของทายาทในการเข้าร่วมโครงการ คือ ธนาคารควรสนับสนุน

ให้ทายาทเข้าร่วมโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ โดยธนาคารท าการประชาสัมพันธ์ให้

ลูกค้าทราบถึงโครงการนี้ รองลงมาคือฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ เมื่อเข้าร่วมโครงการและเป็นทายาทแทน

ผู้สูงอายุ ผลการศึกษา มีวัตถุประสงค์โดยสรุป ดังนี้ ศึกษาสาเหตุที่ทายาทไม่สนใจเข้าร่วมโครงการ

การสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ ซึ่งกรณีที่ทายาทสมัครใจแต่ยังไม่เข้าร่วมโครงการ เนื่องจาก

ทายาทขาดคุณสมบัติการเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. เช่น อาชีพหลักไม่ใช่เกษตรกร และกรณีที่ทายาทไม่สมัคร

ใจ เนื ่องจากทายาทมีรายได้ไม่เพียงพอ ศึกษาปัจจัยที ่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการสร้างทายาท

ทดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุของธนาคารในกรุงเทพมหานครฯ ซึ่งเป็นการรักษารากฐานของลูกค้าธนาคาร

และเป็นการเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพการเกษตรของลูกค้าที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของธนาคาร

คือ กรณีปัจจัยที่ทายาทสมัครใจและเข้าร่วมโครงการนั้นต้องการให้ผู้กู้สูงอายุได้หยุดพักและเข้าเป็น

ลูกค้าแทนบิดามารดาที่มีอายุมากแล้ว และศึกษาเพื่อหาแนวทางให้กับธนาคารในการเพิ่มจ านวน

ทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ โดยธนาคารควรสนับสนุนให้ทายาทเข้าร่วมโครงการสร้างทายาท

ทดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ โดยธนาคารท าการประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบถึงโครงการนี้

5. สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา

ผลการศึกษาการสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ จากการ

รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมินั้น ได้ผลการวิเคราะห์ว่าความต้องการเป็นลูกค้าแทนผู้กู้สูงอายุ

ทายาททีส่มัครใจและเข้าร่วมโครงการแล้ว เนื่องจากต้องการให้ผู้กู้สูงอายุได้หยุดพักและเนื่องจากเป็น

การสืบทอดอาชีพของบิดามารดา ส่วนทายาททีส่มัครใจแต่ยังไม่เข้าร่วมโครงการ สาเหตุเนื่องจาก

ทายาทขาดคุณสมบัติการเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. เช่น อาชีพหลักไม่ใช่เกษตรกรและเนื่องจากบิดามารดา

สามารถด าเนินอาชีพเกษตรกรได้ด้วยตนเอง ทายาทไม่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากทายาทมี

รายได้ไม่เพียงพอ และไม่มีหนี้ กับ ธ.ก.ส. และทายาทท าธุรกิจส่วนตัวอยู่ ส่วนทัศนคติทายาทมีความ

Page 13: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

13

เข้าใจต่อโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ ในขั้นตอนการสมัครและเข้าใจคุณสมบัติของ

ผู้เข้าร่วมโครงการในระดับปานกลาง โดยสรุปกระบวนการศึกษานั้นทายาทต้องการให้ธนาคารสนับสนุน

ทายาทเข้าร่วมโครงการสร้างทายาททดแทน ดังนี้ ธนาคารควรท าการประชาสัมพันธ์เพ่ือเป็นการสร้าง

แรงจูงใจให้ทายาทผู้กู้สูงอายุที่สมัครใจแต่ยังไม่เข้าร่วมโครงการและทายาทที่ไม่สมัครใจเข้าร่วม

โครงการให้ทราบถึงโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุนี้ ซึ่งทายาทที่จะเข้าทดแทนลูกค้าผู้

กู้สูงอายุต้องมีทัศนคติและความเข้าใจขั้นตอนการสมัครและคุณสมบัติรายละเอียดของผู้สมัครเข้าร่วม

โครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุอย่างชัดเจน โดยธนาคารต้องท าการประชาสัมพันธ์

โครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุทราบอย่างต่อเนื่อง หากท าเพียงครั้งเดียว อาจไม่

สามารถจูงใจทายาทลูกค้าผู้กู้สูงอายุให้เข้าร่วมในโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุได้ ซึ่ง

จะท าให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแนวทางสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้

สูงอายทุี่ตั้งไว้

อภิปรายผลการวิจัย

จากการศึกษาแนวทางสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู ้สูงอายุ

ผู้ศึกษาวิเคราะห์พบว่า ในแบบส ารวจของทายาทผู้กู้สูงอายุด้านทัศนคติทายาทมีความเข้าใจต่อ

โครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ ในขั้นตอนการสมัครและเข้าใจคุณสมบัติของผู้เข้าร่วม

โครงการในระดับปานกลาง และมีความต้องการให้ธนาคารสนับสนุนสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษเมื่อ

เข้าร่วมโครงการและเป็นทายาทแทนผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของกันยปริณ ทองสามสีและ

อิสระ ทองสามสี (2560) คือความต้องการผลิตภัณฑ์สินเชื่อและบริการที่เกี ่ยวข้องกับสินเชื่อของ

ผู้สูงอายุในจังหวัดนราธิวาส ต้องการผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลักและ

ในแบบสัมภาษณ์ของทายาทผู้กู้สูงอายุมีความต้องการให้ธนาคารฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ เมื่อเข้าร่วม

โครงการและเป็นทายาทแทนผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ประวุฒิ ทัศมาลี และดวงกมล

ปานรศทิพ ธรรมาธิวัฒน์ (2562) คือ ความพึงพอใจของเกษตรกรรุ่นใหม่ต่อการฝึกอบรมหลักสูตร

เตรียมความพร้อมสู่การเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ในกรุงเทพมหานคร

โดยปัจจัยที่มีผลต่อความส าเร็จ (Key Success Factors) ของธนาคารท าการประชาสัมพันธ์ให้

ลูกค้าทราบถึงโครงการนี้ ธนาคารสนับสนุนสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เมื่อเข้าร่วมโครงการและ

Page 14: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

14

เป็นทายาทแทนผู้สูงอายุ และการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ เมื่อเข้าร่วมโครงการเป็นทายาทแทนผู้สูงอายุ

ประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้

1. ผู้บริหาร ธ.ก.ส. ส านักกิจการนครหลวง ได้แก่ สาขามีนบุรี สาขาหนองจอก สาขา

ลาดกระบัง สาขาภาษีเจริญ และสาขาขนส่งสายใต้ เนื่องจากผู้บริหารมีบทบาทหน้าที่ส าคัญในการ

ก าหนดนโยบาย เป้าหมาย รวมทั้งการอนุมัติการด าเนินโครงการ งบประมาณ และทรัพยากรที่ใช้ใน

การด าเนินโครงการ

2. การมีส่วนร่วมของพนักงาน พนักงานทุกคนให้ความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์โครงการให้

ลูกค้าทราบถึงโครงการนี้ จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ เป้าหมายการพัฒนาอาชีพ ซึ่งเป้าหมายที่ต้อง

บรรลุร่วมกัน และธนาคารท าการออกข่าว สปอต์โฆษณาทางทีวี หรือ สปอต์โฆษณาเสียงตามสายตาม

ห้างสรรพสินค้า การแจกโบว์ชัวร์ หรือการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ทายาทลูกค้าผู้กู้สูงอายุทราบ

และมีส่วนร่วมในการรับฟังรายละเอียดถึงโครงการนี้

3. การส ารวจทายาทผู้กู้สูงอายุมีความต้องการให้ธนาคารสนับสนุนสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ย

พิเศษ เพื่อที่ทายาทผู้กู้สูงอายุเข้ามาทดแทนผู้กู้สูงอายุน าเงินทุนจากสินเชื่อไปต่อยอดอาชีพแทนผู้กู้

สูงอายุได้ต่อไป เนื่องจากทายาทเมื่อเข้าทดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุแล้ว ธนาคารได้ก าหนดให้ทายาทได้

อัตราดอกเบี้ยพิเศษในชั้นของผู้กู้สูงอายุในชั้นเดิม โดยทายาทผู้กู้สูงอายุไม่ต้องไม่เริ่มจัดชั้นดอกเบี้ย

ใหม่ต่อไป และต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสร้างรายได้จากการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ และมี

ความพร้อมที่จะเรียนรู้ ฝึกอบรมพัฒนาอาชีพให้กับตนเองต่อไป

ข้อเสนอแนะทางการตลาด

ธนาคารควรประชาสัมพันธ์กับทายาทผู้กู้สูงอายุ เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการสร้าง

ทายาททดแทนลูกค้าผู้กู ้สูงอายุนี้ โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการสร้างทายาททดแทนผู้กู้

สูงอาย ุด้านความรู้สึก/ความสนใจ ด้านพฤติกรรมการช าระหนี้

นอกจากนี้ธนาคารควรสนับสนุนสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ตอบสนองความต้องการของ

ทายาทผู้กู้สูงอายุ โดยธนาคารได้ก าหนดให้ทายาทผู้สูงอายุได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษในชั้นของผู้กู้

สูงอายใุนชั้นเดิม โดยทายาทผู้กู้สูงอายุไม่ต้องไม่เริ่มจัดชั้นดอกเบี้ยเงินกู้ใหมต่่อไป

Page 15: 200 - MBA Online UTCCEdit)Id1251-26-04... · size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is

15

ข้อเสนอแนะส าหรับการศึกษาครั้งต่อไป

ควรศึกษาแนวทางสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู ้สูงอายุ ทุกสาขา

ใน ธ.ก.ส. กรุงเทพฯ ส านักกิจการนครหลวง เพ่ือน าผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับผลการศึกษานี้

บรรณานุกรม

ปัทพร สุคนธมาน.(2557). โครงการการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนผู ้สูงอายุ . :

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กันยปริณทองสามสีและอิสระทองสามสี .(2560). ความต้องการผลิตภัณฑ์

สินเชื่อของผู้สูงอายุจังหวัด.นราธิวาสวารสารปาริชาต.:มหาวิทยาลัยทักษิณฉบับพิเศษ.

ประวุฒิ ทัศมาลี และ ดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมาธิวัฒน์ (2562). ความพึงพอใจของเกษตรกรรุ่น

ใหม่ ต่อการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ ใน

กรุงเทพมหานคร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. ปีที่ 37 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม).

วันรัตน์จันทกิจ.(2556) 17 เครื่องมือนักคิด.กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. โรงพิมพ์

ซีเอ็ดยูเคชั่นจ ากัด.

ลิขิตา เฉลิมพลโยธิน.นิศาชลรัตนมณีและประสพชัยพสุนนท์.(2561) .ปัจจัยด้านการประกอบ

อาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุต าบลแหลมใหญ่อ าเภอเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม .ฉบับ

ภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม

2561. : มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญลักษิตานนท์ , ศุภร เสรีรัตน์ , องอาจ ปทะวานิช, ปณิศา มีจินดา ,

จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และอรทัย เลิศวรรณวิทย์ .(2552). การบริหารตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ:

Diamond In Business World