การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี :...

22
วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปที่ 34(1) : 9-29, 2557 __________________ 1 อาจารยประจำาภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังทาพระ การคาระหวางประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี เมืองนครปฐม The International Trade in Dvaravati Period: Aspect of the Archaeology of Nakhon Pathom สฤษดิ์พงศ ขุนทรง 1 Saritpong Khunsong บทคัดยอ นครปฐมเปนเมืองศูนยกลางสำาคัญของวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเจริญอยูในชวง ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 การขุดคนทางโบราณคดีที่เมืองนครปฐมในชวง พ.ศ. 2552- 2553 ทำาใหไดพบหลักฐานใหมที่สามารถนำามาตีความถึงการติดตอสัมพันธกับตางถิ่น และกิจกรรมการคาในสมัยทวารวดี ผลการศึกษาพบวา การติดตอคาขายในสมัยนี้มีทั้ง กับชุมชนโบราณที่อยู ภายในพื้นที่ของทวารวดีเองและกับชุมชนตางถิ่นที่อยู ไกลออกไป โดยเฉพาะกับอาณาจักรศรีวิชัยที่เจริญรุ งเรืองบริเวณเกาะสุมาตรา (ประเทศอินโดนีเซีย) และคาบสมุทรมาเลย (ประเทศไทยและมาเลเซีย) การติดตอคาขายกับบานเมืองศรีวิชัยทำาใหทวารวดีเขาไปเปนสวนหนึ่งของ เครือขายการคาโลกสมัยโบราณตามเสนทางสายแพรไหมทางทะเล ซึ่งเฟองฟูขึ้น อยางมากในชวงพุทธศตวรรษที่ 14 ภายใตการสนับสนุนจากจีนสมัยราชวงศถัง ความสัมพันธนี้สงผลกระทบบางประการตอชุมชนทวารวดีที่เมืองนครปฐม เห็นไดจาก การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีการปรากฏขึ้นของสินคาจากตางถิ่น ไดแก ลูกปดแกว สีเดียวแบบอินโด-แปซิฟค และเครื่องถวยจีนสมัยราชวงศถัง รวมไปถึงการแพรหลาย เขามาของพุทธศาสนานิกายมหายาน คำาสำาคัญ: 1. การคาระหวางประเทศ. 2. สมัยทวารวดี. 3. โบราณคดี. 4. เมือง นครปฐม.

Upload: others

Post on 10-Jan-2020

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย

ปที่ 34(1) : 9-29, 2557

__________________ 1 อาจารยประจำาภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังทาพระ

การคาระหวางประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี

เมืองนครปฐม

The International Trade in Dvaravati Period: Aspect of the

Archaeology of Nakhon Pathom

สฤษดิ์พงศ ขุนทรง 1

Saritpong Khunsong

บทคัดยอ

นครปฐมเปนเมืองศูนยกลางสำาคัญของวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเจริญอยูในชวง

ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 การขุดคนทางโบราณคดีที่เมืองนครปฐมในชวง พ.ศ. 2552-

2553 ทำาใหไดพบหลักฐานใหมที่สามารถนำามาตีความถึงการติดตอสัมพันธกับตางถิ่น

และกิจกรรมการคาในสมัยทวารวดี ผลการศึกษาพบวา การติดตอคาขายในสมัยนี้มีทั้ง

กับชมุชนโบราณท่ีอยูภายในพืน้ทีข่องทวารวดเีองและกบัชมุชนตางถิน่ทีอ่ยูไกลออกไป

โดยเฉพาะกบัอาณาจกัรศรวีชิยัทีเ่จรญิรุงเรอืงบรเิวณเกาะสุมาตรา (ประเทศอนิโดนเีซยี)

และคาบสมุทรมาเลย (ประเทศไทยและมาเลเซีย)

การติดตอคาขายกับบานเมืองศรีวิชัยทำาใหทวารวดีเขาไปเปนสวนหนึ่งของ

เครือขายการคาโลกสมัยโบราณตามเสนทางสายแพรไหมทางทะเล ซึ่งเฟองฟูขึ้น

อยางมากในชวงพุทธศตวรรษที่ 14 ภายใตการสนับสนุนจากจีนสมัยราชวงศถัง

ความสัมพันธนี้สงผลกระทบบางประการตอชุมชนทวารวดีที่เมืองนครปฐม เห็นไดจาก

การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีการปรากฏขึ้นของสินคาจากตางถิ่น ไดแก ลูกปดแกว

สีเดียวแบบอินโด-แปซิฟค และเครื่องถวยจีนสมัยราชวงศถัง รวมไปถึงการแพรหลาย

เขามาของพุทธศาสนานิกายมหายาน

คำาสำาคัญ: 1. การคาระหวางประเทศ. 2. สมัยทวารวดี. 3. โบราณคดี. 4. เมือง

นครปฐม.

Page 2: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

การคาระหวางประเทศสมัยทวารวดี: มุมมองจากงานโบราณคดีเมืองนครปฐม

10

สฤษดิ์พงศ ขุนทรง

Abstract

Nakhon Pathom was the major center of Dvaravati culture that flourished

during 7th – 11th century AD. The archaeological excavations in this ancient city

in 2009 - 2010 revealed some new evidence that can be interpreted in terms of

contact and trade activities in Dvaravati period. The study reveals that Dvaravati

had both domestic and international trades, especially with Srivijaya kingdom

that flourished in Sumatra Island (Indonesia) and Malay Peninsula (Thailand and

Malaysia).

The international trade with Srivijaya resulted in Dvaravati being part of

the ancient world trade network known as the maritime silk route, which greatly

flourished in the 9th century, under the support of T’ang dynasty of China. This

relationship caused some changes to the Dvaravati community in Nakhon Pathom.

This is shown by the economic growth with the emergence of non-local products,

such as Indo-Pacific or monochrome glass beads and Chinese T’ang ceramics,

as well as the spread of Mahayana Buddhism.

Keywords: 1. International trade. 2. Dvaravati period. 3. Archaeology.

4. Nakhon Pathom.

Page 3: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

11

ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย

เกริ่นนำา

อันที่จริงแล วประเด็นเรื่องการคาสมัยทวารวดีโดยเฉพาะบทบาทของ

เมืองนครปฐมโบราณนี้เคยมีนักวิชาการบางทานนำาเสนอไวแลว อาทิเชน ธิดา สาระยา

นกัประวตัศิาสตรไดกลาววา เมอืงนครปฐมเปนศนูยกลางการคาของภมูภิาคในลุมแมน้ำา

ทาจีน - แมกลอง เมืองนี้สรางขึ้นในราวพุทธศตวรรษท่ี 12 เพื่อรองรับการขยายตัว

ทางการคาที่เกิดขึ้นท้ังภายในและนอกภูมิภาค (ธิดา สาระยา, 2531 : 89-91) ขณะที่

ผาสขุ อนิทราวธุ นกัโบราณคดีผูเชีย่วชาญเรือ่งสมยัทวารวดกีลาววา นครปฐมนาจะเปน

ทัง้เมอืงหลวง และ “เมอืงทาคาขาย” ของรฐัทวารวดีในราวพทุธศตวรรษที ่13-16 (ผาสุข

อินทราวุธ, 2542 : 101) เพราะไดพบโบราณวัตถุที่แสดงใหเห็นถึงการติดตอคาขาย

กับตางถิน่หลายประเภท เชน ตราดินเผารปูเรอืสำาเภา (กรมศิลปากร, 2552 : 114-115)

แผนดินเผารูปคช-ลักษมีและทาวกุเวรท่ีอาจใชเปนเครื่องรางของพอคา (ผาสุข

อินทราวุธ, 2526 : 92-101) เปนตน ในสวนของผูเขียนเองก็มีขอมูลเพิ่มเติมจากการ

ขดุคนทางโบราณคดีท่ีเมอืงนครปฐมในชวง พ.ศ. 2552-2553 ทีแ่หลงโบราณคดหีอเอก

หมู 1 ตำาบลพระประโทน และทีห่มู 4 ตำาบลธรรมศาลา โดยพบโบราณวตัถปุระเภทสนิคา

ที่สะทอนใหเห็นถึงกิจกรรมการผลิต การติดตอคาขายแลกเปลี่ยนในสมัยทวารวดี

ไดเปนอยางดี

นครปฐมในสมัยโบราณ คือ “เมืองทาประเสริฐ”

พื้นที่ของจังหวัดนครปฐมเปนท่ีราบลุม ไมมีแหลงหินหรือแหลงแรธาตุใดๆ

ในเขตอำาเภอเมอืงซึง่เปนท่ีตัง้ของเมอืงนครปฐมในสมยัโบราณมลีกัษณะภมูปิระเทศเปน

ลานตะพักลำาน้ำาชั้นต่ำา (Lower terrace) ในเขตท่ีราบลุมแมน้ำาทาจีน พื้นดินจึงมีความ

อุดมสมบูรณเหมาะแกการเพาะปลูก ท้ังยังใชลำาน้ำาบางแกวที่ไหลผานตัวเมืองไปออก

แมน้ำาทาจีนเปนเสนทางคมนาคมหลักอีกดวย

ดังนัน้ปจจยัทางกายภาพ (Physical factor) คอืสภาพภมูปิระเทศ และการตัง้เมอืง

ที่นาจะเคยอยูติดกับแนวชายฝงทะเลเดิม ตลอดจนการจัดการระบบคูคลอง (ทิวา

ศุภจรรยา, กฤษณพล วิชพันธุ และชวลิต ขาวเขียว, 2544 : 151) จึงเอื้อประโยชนตอ

การตดิตอคาขายและสงเสรมิใหเมอืงนครปฐมเปนเมอืงทาสำาคัญในสมยัโบราณ เพราะใน

อดีตลำาน้ำาบางแกวมขีนาดใหญ คูเมอืงก็อาจเคยมคีวามกวางราวๆ 50 - 60 เมตร และไมมี

คันดิน ซึ่งแตกตางจากเมืองโบราณรวมสมัยแหงอื่นๆ จึงมีความเปนไปไดวามีการวาง

ระบบนี้ไวเพื่อควบคุมการเดินเรือสินคาเขามายังตัวเมืองไดโดยตรง (ทิวา ศุภจรรยา

และผองศรี วนาสิน, 2525 : 3)

หลักฐานที่นาสนใจคือ ไดพบตราดินเผาชิ้นหนึ่งจากเมืองนครปฐมเก็บอยูท่ี

Page 4: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

การคาระหวางประเทศสมัยทวารวดี: มุมมองจากงานโบราณคดีเมืองนครปฐม

12

สฤษดิ์พงศ ขุนทรง

พิพิธภัณฑสถานแหงชาติ พระนคร ดานขางมีจารึกที่ชำารุดไปบางสวน จิระพัฒน

ประพนัธวทิยา และรวนิทระ วสิศธะ (Ravindra Vasishtha) ผูเชีย่วชาญดานภาษาโบราณ

วเิคราะหไววาเปนจารกึอกัษรพราหม ีภาษาปรากฤต อานวา “varapata (na)” (วรปตน)

แปลวา “เมืองทาประเสริฐ” (อนันต กลิ่นโพธิ์กลับ, 2547 : 189-190) สอดคลองกับ

การคนพบตราดินเผารูปเรือสำาเภาและการไมมีคันดินที่เอื้อตอการเดินเรือภายในเมือง

ดังไดกลาวแลวขางตน

ภาชนะดินเผากับเครือขายความสัมพันธของชุมชนโบราณ

ในการขุดคนชั้นวัฒนธรรมชวงแรกท่ีเมืองนครปฐมไดพบเศษภาชนะดินเผา

อยางนอย 2 แบบ ซึ่งมีความสำาคัญ ทั้งตอการกำาหนดอายุสมัยแหลงและการแปลความ

ดานการติดตอสัมพันธกันระหวางชุมชน เพราะมีลักษณะคลายกับภาชนะท่ีพบตาม

ชุมชนรวมสมัยแหงอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ภาชนะดินเผาแบบ “พิมายดำา”

ในการขดุคนท่ีแหลงโบราณคดีหอเอกไดพบชิน้สวนปากภาชนะทรงชาม 27 ชิน้

ซึ่งมีการขัดพื้นผิวภายในใหเปนเสนสีดำาหรือเปนเสนมันวาว คลายกับ “ภาชนะแบบ

พมิายดำา” (Phimai black pottery) (Welch and McNeill, 2004) อนัเปนภาชนะประเภท

เดนชวงยุคเหล็กของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำาหนดอายุอยางกวางๆ อยูในราว

พุทธศตวรรษท่ี 4-12 (Welch and McNeill, 2004 : 540-541; รัชนี ทศรัตน และ

อำาพัน กิจงาม, 2547 : 186, 188) นอกจากนี้ยังไดพบท่ีแหลงโบราณคดีสมัยกอน

ประวัติศาสตรท่ีบานโปงมะนาว จังหวัดลพบุรี (มีชามแบบพิมายดำาจัดแสดงอยูที่

พิพิธภัณฑของวัด) การขุดคนตามเมืองทวารวดีในภาคกลางก็ไดพบภาชนะแบบ

พมิายดำานีด้วย เชนทีเ่มอืงจนัเสน จงัหวดันครสวรรค (Bronson, 1976 : 134-135, 192,

272-273, 389-391, fig. VIp) และเมืองซับจำาปา จังหวัดลพบุรี (สวาง เลิศฤทธิ์, 2547 :

40-41)

ภาชนะพิมายดำาจึงเปนหลักฐานที่แสดงถึงการติดตอสัมพันธกันของชุมชนใน

ภาคตะวนัออกเฉยีงเหนอืกับภาคกลางของไทย ซึง่มมีาแลวตัง้แตสมยักอนประวตัศิาสตร

ตอนปลาย (ยุคเหล็ก) ที่มีความสืบเนื่องมาจนถึงชวงแรกเริ่มสมัยประวัติศาสตร

ภาชนะลายเขียนสีเปนรูปคลายดวงอาทิตย

จากการขุดคนท่ีแหลงโบราณคดีหอเอกไดพบเศษภาชนะดินเผา 1 ชิ้น

ทีต่กแตงดวยลายเขยีนสเีปนแฉกคลายรปูดวงอาทติย (หรอืดอกไม) (ภาพท่ี 1) เทยีบได

กับลายเขยีนสท่ีีปรากฏบนหมอมพีวยหรอืกุณฑทีีพ่บในประเทศกัมพชูา เชน กุณฑจีาก

เมืองอังกอร บอเรย (Angkor Borei) ซึ่งอาจกำาหนดอายุอยูในราวพุทธศตวรรษที่ 9-11

Page 5: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

13

ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย

(Fehrenbach, 2009 : 36-38) และกุณฑีจากแหลงฝงศพยุคเหล็กชื่อ ภูมิสนาย (Phum

Snay) ซึ่งถูกฝงเปนของอุทิศใหกับหลุมฝงศพหมายเลข 7 กำาหนดอายุดวยวิธีการทาง

วิทยาศาสตรอยูในชวงพุทธศตวรรษที ่10 - 11 (Yasuda and Phoeurn, 2008 : 19, 37)

ภาพที่ 1 เศษภาชนะดินเผาลายเขยีนสคีลายรปูดวงอาทิตยจากแหลงโบราณคดีหอเอกเปรยีบเทยีบ

กับลายเขียนสีบนหมอกุณฑีจากประเทศกัมพูชา

(ที่มาของภาพ:Fehrenbach2009:Figure6.8;YasudaandPhoeurn2008:Front

Cover)

จากที่กลาวมาขางตนจะเห็นไดวา ตั้งแตชวงกอนหนาสมัยทวารวดี (Pre-

Dvaravati period) ชุมชนท่ีเมืองนครปฐมมีการติดตอกับตางถิ่นอยูแลวในลักษณะ

เครือขายความสัมพันธของชุมชนรวมสมัย ทั้งกับชุมชนท่ีอยูในดินแดนไทยปจจุบัน

และอาจรวมถึงชุมชนท่ีอยูไกลออกไปคือในกัมพูชา และนี่คงเปนปจจัยทางวัฒนธรรม

(Cultural factor) ประการหนึง่ทีส่งผลใหชมุชนแหงนีม้พีฒันาการดานเศรษฐกจิและสงัคม

(คือการมีจำานวนประชากรเพิ่มขึ้นตามลำาดับเวลา อันนำาไปสูการจัดระเบียบทางสังคม)

จนกลายเปนเมืองใหญในชวงตนสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13

เรื่องของ “ทวารวดี” ในเอกสารจีนสมัยราชวงศถัง

ในตำานานเมืองนครไชยศรี (ชื่อเมืองนครปฐมในสมัยโบราณ) กลาววาบริเวณ

นี้มีหมูบานของพวกพราหมณตั้งอยูกอนแลว พวกพราหมณไดบรรจุทะนานทองหรือ

“โทณะ” ท่ีเคยใชตวงพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจาไวในเรือนหิน เมื่อ พ.ศ.

1133 ตอมาพระเจาศรสีทิธไิชยพรหมเทพจงึไดสรางนครไชยศรขีึน้เปนเมอืงใหญ (กรม

ศิลปากร, 2528 : 20-21) ตำานานหลายฉบับยังกลาวตรงกันวา ใน พ.ศ. 1199 พระยา

กาวณัดิศ ไดทรงกอ “พระประโทณเจดีย” (เจดียกลางเมอืงนครปฐมในสมยัโบราณ) ลอม

Page 6: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

การคาระหวางประเทศสมัยทวารวดี: มุมมองจากงานโบราณคดีเมืองนครปฐม

14

สฤษดิ์พงศ ขุนทรง

เรือนหินที่บรรจุโทณะเอาไว (เรื่องเดียวกัน, 4, 19 และ 23) สอดคลองกับตัวเขียนท่ี

กำากับใตรูปพระประโทณเจดียในสมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงศรีอยุธยาท่ีระบุวา พระประ

โทณเจดียสรางขึ้นในป พ.ศ. 1199 ดวย (กรมศิลปากร, 2542 : 94, 200)

ขอความในตำานานแสดงใหเห็นถึงกิจกรรมของราชสำานักกษัตริย เมือง

นครไชยศรีในชวงพุทธศตวรรษท่ี 12 ซึ่งเปนชวงเวลาเดียวกันกับท่ีจีนอยูภายใต

การปกครองของราชวงศสุย (พ.ศ. 1132-1161) และราชวงศถัง (พ.ศ. 1161-1450)

โดยพระจักรพรรดิท่ีมีชื่อเสียงแหงราชวงศถังคือ พระจักรพรรดิถังไทจง (พ.ศ. 1170-

1192 กำาหนดเรียกวาศักราช “เจินกวน”) พระองคทรงปกครองแผนดินโดยธรรม (อูจิง,

2546) และทรงทำาใหจีนเปนท่ีรูจักของชาวโลกในสมัยนั้น เมืองหลวงคือนครฉางอาน

(แปลวา สนัติภาพนิรันดร) เปนทีก่ลาวขานไปทัว่ถึงความมั่งคัง่รุงเรือง แมแตราชสำานัก

ทวารวดียังไดจัดสงเครื่องบรรณาการไปถวายพระองคถึง 3 ครั้ง

“ทวารวดี” ในจดหมายเหตุจีน

จดหมายเหตุจีนชื่อ “ทงเตี่ยน” (T’ung-tien) ซึ่งรวบรวมขึ้นชวงพุทธศตวรรษที่

14 ไดบนัทกึเก่ียวกับประเทศ “โถวเหอ” (T’ou-ho) ท่ีปกครองโดยราชวงศ “โถวเหอหลวั”

ซึ่งเปนท่ีรู จักของจีนมาตั้งแตสมัยราชวงศสุย และติดกับกับจีนหลายครั้งในสมัย

ราชวงศถัง โดยมีรายละเอียดสำาคัญดังนี้

“ประเทศนี้มีการคาขายแลกเปลี่ยนอยางเสรี ไมมี

การเก็บภาษีชาวเมืองสวนใหญประกอบอาชีพเกษตรกรรม

และคาขายประชาชนสามารถขี่ชางไดดีพอๆกับขี่มาซึ่งใน

ประเทศนี้มีมาอยูไมมากราวๆ1,000ตัว ...ในประเทศนี้มี

ชุมชนหรือเมืองท่ีเปนตลาดใหญ6แหงในการคาขายแลก

เปลี่ยนทุกคนจะใชเหรียญเงินตราที่มีขนาดเล็กคลายเมล็ด

เอลม(Elmseeds) เปนสื่อกลางประชากรสวนใหญนับถือ

พุทธศาสนาและมีการจัดตั้งโรงเรียนโดยใชภาษาเขียนท่ี

แตกตางไปจากจีน”(Yamamoto,1979:1140)

จากขอความขางตนจะเห็นไดวา เศรษฐกิจหลักของโถวเหอคือการเกษตร

กรรมและการคาขาย ประเทศโถวเหอไดสงเครื่องบรรณาการไปยังจีน 3 ครั้ง ในรัชกาล

พระจักรพรรดิถังไทจง คือป พ.ศ. 1181 พ.ศ. 1183 และ พ.ศ. 1192 (Yamamoto,

1979 : 1147) โดยจนีกลาวถงึสิง่ของบรรณาการจากโถวเหอ เชน แจกนัทองคำา สายรดัองค

ทำาจากอญัมณมีคีา นอแรด งาชาง ผลผลติจากทะเล เปนตน (Yamamoto, 1979 : 1140)

ซึ่งจีนยกยองนอแรดจากโถวเหอวามีคุณภาพดีเยี่ยม (To-ho-lo rhinoceros (horns))

(Gungwu, 1958 : 94) ในการสงบรรณาการไปครั้งสุดทายใน พ.ศ. 1192 โถวเหอ

Page 7: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

15

ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย

(เอกสารบางฉบับเรียก “โถวเหอหลัว”) ยังไดถวายงาชางและไขมุกเพื่อขอพระราชทาน

มาพนัธุดีดวย (Gungwu, 1958 : 94 ; Yamamoto, 1979 : 1141; Schafer, 1985 : 237)

โดยนกัวชิาการหลายทานตางมคีวามเหน็วาโถวเหอ (โถวเหอหลวั) นีเ้ปนคำาท่ีจนีใชเรยีก

“ทวารวดี” (Gungwu, 1958 : 93-94; Wolters, 1967 : 234, 344; Cœdès, 1968 : 76,

292; Wheatley, 1973 : 50, 56; Yamamoto, 1979 : 1139-143; Schafer, 1985 : 237)

แมวาในปจจุบันเราจะยังไมมีหลักฐานทางโบราณคดีมาสนับสนุนขอความท่ีกลาวถึง

สิ่งของตางๆ จากโถวเหอนี้ก็ตาม

นอกจากนี ้บนัทึกของพระถงัซมัจัง๋ซึง่จารกิไปยงัอนิเดียในชวง พ.ศ. 1172-1188

(ในรัชกาลจักรพรรดิถังไทจง) ก็ไดกลาวถึงบานเมืองในแถบนี้ท่ีชื่อ “โถโลโปตี้”

(To-lo-po-ti) คอื “ทวารวดี” เชนกัน (Beal, 1969 : 200) และในชวงตนพทุธศตวรรษที ่13

พระอี้จิง (I-Tsing) ซึ่งเดินทางจาริกไปยังอินเดียเมื่อ พ.ศ. 1214 (ในรัชกาลจักรพรรดิ

ถงัเกาจง) โดยอาศัยเรอืของพวกเปอรเซยีลองผานมายงัเอเชยีตะวนัออกเฉยีงใต (แวะพกั

ที่ศรีวิชัย) ก็ไดบันทึกไววาสามารถหาเครื่องเทศคือกระวานไดจากทวารวดี (I-Tsing,

1966 : 10, 129)

“โถวเหอ” ของจีน คือ “ทวารวดี” อยูที่เมืองนครปฐม

จะสังเกตไดวา เอกสารฝายจีนระบุถึงโถวเหอหรือทวารวดีมาตลอดชวง

พุทธศตวรรษท่ี 12 ปศักราชท่ีทางการจีนกลาวถึงการสงบรรณาการไปของโถวเหอ

ยังตรงกับหวงเวลาท่ีตำานานระบุถึงการสรางเมืองนครไชยศรีและการกอสราง

พระประโทณเจดียขึ้นกลางเมือง ทำาใหชวนคิดไปไดวาโถวเหอหรือทวารวดีที่สง

บรรณาการไปจีนในสมัยพระจักรพรรดิถังไทจงคงมีศูนยกลางอยูท่ีเมืองนครปฐม

สมยัโบราณ เพราะไมเพยีงไดคนพบเหรยีญเงนิมจีารกึ “ศรทีวารวดีศวรปณุยะ”แปลวา

“บุญกุศลของพระราชาแหงศรีทวารวดี” หรือ “พระเจาศรีทวารวดีผูมีบุญอันประเสริฐ”

ซึ่งกำาหนดอายุจากแบบอักษรอยูในชวงพุทธศตวรรษท่ี 12 เทานั้น (Boeles, 1964 :

102) แตเมืองนครปฐมยังมีอาณาบริเวณกวางใหญที่สุดในสมัยทวารวดีอีกดวย

(เฉพาะในเขตคูเมืองมีพื้นที่ 3,809 ไร)

อนึ่ง ทัทซูโร ยามาโมโต (Tatsuro Yamamoto) เคยใหความเห็นวา ตลาดใหญ

6 แหงของโถวเหอท่ีจีนกลาวถึงในจดหมายเหตุทงเตี่ยน สวนหนึ่งอาจตรงกับเมือง

นครปฐม อูทอง (สุพรรณบุรี) ลพบุรี หรือพงตึก (กาญจนบุรี) ก็เปนได (Yamamoto,

1979 : 1142) ขอคิดเห็นของยามาโมโตมีความสอดคลองกับขอเสนอของ ธิดา สาระยา

ที่เคยกลาววา บานเมืองในแถบลุมแมน้ำาทาจีน-แมกลอง คือนครปฐม อูทอง และคูบัว

จงัหวดัราชบรุ ีมลีกัษณะการปกครองแบบรฐั (State) เปนสังคมเมอืงในลุมแมน้ำาลำาคลอง

(Riverine region) โดยนครปฐมมีบทบาทเปนศูนยกลางของภูมิภาค ธิดา สาระยา ยัง

Page 8: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

การคาระหวางประเทศสมัยทวารวดี: มุมมองจากงานโบราณคดีเมืองนครปฐม

16

สฤษดิ์พงศ ขุนทรง

เสนอดวยวานครปฐมเปน “เมืองท่ีถูกจัดตั้ง” ขึ้นในชวงพุทธศตวรรษที่ 12 เพื่อรองรับ

จำานวนประชากรท่ีเพิ่มมากขึ้นและตอบสนองตอการขยายตัวทางการคาที่เกิดขึ้นท้ัง

ภายในภูมิภาคและการคาโพนทะเล (ธิดา สาระยา, 2531 : 89-91) ดังนั้นความเห็นของ

ธิดา สาระยา จึงมีหลักฐานสนับสนุนเพิ่มเติม ทั้งตำานานเมือง เอกสารจีน และหลักฐาน

ทางโบราณคดีที่ขุดคนพบเมื่อไมนานมานี้ ซึ่งจะกลาวถึงตอไป

“สินคาตางถิ่น” กับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตอระบบการคาสมัยทวารวดี

ดังไดกลาวแลวในตอนตนวา ผาสุข อินทราวุธ เคยเสนอวา นครปฐมนาจะ

เปนทั้งเมืองหลวงและ “เมืองทาคาขาย” ของทวารวดีในราวพุทธศตวรรษท่ี 13-16

ขอเสนอนี้มีหลักฐานทางโบราณคดีท่ีขุดคนพบใหมมาสนับสนุน เพราะชุมชนท่ีเมือง

นครปฐมคงมีพัฒนาการขึ้นตามลำาดับเวลา จนกระทั่งในชวงพุทธศตวรรษที่ 14-16 จึง

ไดพบโบราณวัตถุที่เปน “สินคาตางถิ่น” หลายประเภทปรากฏขึ้น ซึ่งแสดงใหเห็นถึง

กจิกรรมการคาขายแลกเปลี่ยนทัง้กบัชมุชนภายใน (Domestic trade) และการคาระดบั

นานาชาติ (International trade)

สินคาตางถิ่นจากชุมชนภายใน “โกลนหิน” วัตถุดิบจากแหลงผลิตใน

เพชรบุรี

ในการขุดคนที่เมืองนครปฐมไดพบชิ้นสวนหินบดและสะเก็ดหินจำานวนหนึ่ง

ซึ่งมีทั้งหินทราย (Sandstone) หินทรายแปง (Siltstone) และหินโคลน (Mudstone)

แตหินเหลานี้ไมไดมีแหลงวัตถุดิบในจังหวัดนครปฐม เพราะนาจะมาจากแหลงวัตถุดิบ

และแหลงผลติท่ีอำาเภอเขายอย จงัหวดัเพชรบรุ ีกรมศลิปากรไดสำารวจพบแหลงหนิทีน่ำา

มาสลกัประตมิากรรมสมยัทวารวดีบนเขาพระ ท้ังยงัไดพบแหลงผลติงานประตมิากรรม

หินท่ีสำาคัญคือ แหลงโบราณคดีในตำาบลหนองปรง (สำานักงานโบราณคดีและ

พิพิธภัณฑสถานแหงชาติที่ 1 ราชบุรี 2541 : 42-44; กรมทรัพยากรธรณี, 2550 : 121)

ที่บานหนองปรงนี้เคยมีการสำารวจพบโกลนพระพุทธรูป โกลนธรรมจักร-

กวางหมอบ และโกลนหนิบดเปนจำานวนมาก การสำารวจและขดุคนของภาควชิาโบราณคดี

เมื่อ พ.ศ. 2544 ยังไดพบโกลนแทนหินบดหลายชิ้นกระจายอยูตามพื้นดิน ภายในหลุม

ขุดคนก็ไดพบสะเก็ดหินเปนจำานวนมาก แสดงใหเห็นถึงการสกัดหรือแกะสลัก

ประติมากรรมหิน (Indrawooth, 2008 : 307-315) กอนจะสงโกลนหินดังกลาวไปยัง

ชมุชนรวมสมยัแหงอืน่ๆ เฉพาะทีเ่มอืงนครปฐมนัน้ภายในหองคลงัของพพิธิภณัฑสถาน

แหงชาติ พระปฐมเจดีย ไดเก็บรักษาหินบดและแทนหินบดไวมากถึง 30 ชิ้น และมี

โกลนพระพุทธรูป ธรรมจักร และกวางหมอบ ซึ่งคาดวามาจากแหลงผลิตที่อำาเภอ

เขายอยเชนกัน (ภาพที่ 2) และลาสุดก็มีการวิเคราะหตัวอยางหินดวยวิธีศิลาวรรณา

Page 9: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

17

ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย

พบวา ชิ้นสวนหินท่ีพบจากหลุมขุดคนท่ีเมืองนครปฐมมีองคประกอบเหมือนกันกับหิน

จากอำาเภอเขายอย จังหวัดเพชรบุรี (ธนินทร นิธิอาชากุล, 2555)

“ตะกั่ว” วัตถุดิบจากเหมืองโบราณที่กาญจนบุรี

ในการขุดคนที่เมืองนครปฐมไดพบหลักฐานของการถลุง/หลอมโลหะ และ

พบวัตถุโลหะจำานวนหนึ่งซึ่งสวนใหญเปนเครื่องมือเหล็กและวัตถุสำาริด นอกจากนี้

ก็มีตุมถวงแหทำาจากตะก่ัว โดยพบกอนตะก่ัวขนาดเล็ก 2 กอน ท่ีอาจใชเปนวัตถุดิบ

(Ingot) ในการหลอม แตแรโลหะก็ไมสามารถหาไดในแถบนี ้ชมุชนท่ีนีจ่งึตองหาซือ้หรอื

แลกเปลี่ยนวัตถุดิบมาจากตางถิ่น กอนจะนำามาผลิตเครื่องมือเครื่องใชหรือสรางสรรค

เปนประติมากรรมที่เนื่องในศาสนา

เมื่อไมนานมานี้ ภูวนาท รัตนรังสิกุล (2555 : 108) ไดทำาการวิเคราะหตะก่ัว

ไอโซโทป (Lead isotope) ของหวงและกอนตะก่ัวที่พบจากแหลงโบราณคดีหอเอก

พบวาตะก่ัวทีน่ำามาใชทำาวตัถนุัน้นาจะมทีีม่าจากบรเิวณเหมอืงสองทอ อำาเภอทองผาภมู ิ

จงัหวดักาญจนบรุ ี(ผลการวเิคราะหตะก่ัวไอโซโทปของโบราณวตัถจุากแหลงโบราณคดี

ภมูสินาย ประเทศกมัพชูา ก็เปนไปในทิศทางเดียงกัน) ดังนัน้วตัถดิุบในการผลติสิง่ของ

เครื่องใชโลหะ (รวมทั้งประติมากรรมหิน) สวนหนึ่งจึงมาจากแหลงทรัพยากรบริเวณ

เทือกเขาทางตะวันตกของประเทศไทย

“ลูกปดแกว” สินคานำาเขาจากคาบสมุทรภาคใต

ในการขุดคนที่เมืองนครปฐมไดพบลูกปดแกวจำานวน 60 ลูก โดยมาจากชั้น

วัฒนธรรมในชวงพุทธศตวรรษท่ี 14-16 เทานั้น ลูกปดที่พบเปนลูกปดแกวสีเดียว

(Monochrome glass beads) ไดแก สีฟา สีแดง สีสม สีเหลือง สีเขียว และสีดำา เดิมมี

ภาพที่ 2ประติมากรรมหินจากเมืองนครปฐมและแหลงผลิตในจังหวัดเพชรบุรี

Page 10: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

การคาระหวางประเทศสมัยทวารวดี: มุมมองจากงานโบราณคดีเมืองนครปฐม

18

สฤษดิ์พงศ ขุนทรง

ผูกำาหนดชือ่เรยีกลกูปดแกวสีเดียวเชนนีว้า “ลกูปดลมสินคา” (Trade wind beads) ตอมาม ี

ผูกำาหนดชื่อเปน “ลูกปดแบบอินโด-แปซิฟค” (Indo-Pacific beads) เพราะพบหลักฐาน

ตามแหลงโบราณคดีหลายแหงในมหาสมทุรอนิเดียและแปซฟิค (Francis, 2002 : 19-20)

ปจจุบันมีขอมูลบงชี้วา การผลิตลูกปดแกวแบบอินโด-แปซิฟคเกิดขึ้นตั้งแต

พุทธศตวรรษท่ี 4 หรือ 5 โดยมีแหลงผลิตอยูในแถบเมืองอริกเมฑุ (Arikamêdu)

ทางตะวันตกเฉียงใตของอินเดีย (Francis, 2002 : 30) ตอมาในชวงพุทธศตวรรษที่

6-7 แหลงผลิตคงอยูท่ีเมืองเมนไท (Mantai) ประเทศศรีลังกา เมืองออกแกว ประเทศ

เวียดนาม แหลงโบราณคดีกัวลา เซลินซิง (Kuala Selinsing) ประเทศมาเลเซีย แหลง

โบราณคดีควนลูกปด อำาเภอคลองทอม จังหวัดกระบี่ (Francis, 2002 : 31) แหลง

โบราณคดีภูเขาทอง กิ่งอำาเภอสุขสำาราญ จังหวัดระนอง (บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ และ

เรไร นัยวัฒน, 2550 : 128-129) จนกระทั่งในชวงที่เกิดบานเมืองศรีวิชัยขึ้นแลวในชวง

พุทธศตวรรษที่ 13-18 แหลงผลิตหรือสงออกลูกปดแกวนาจะอยูแถบเมืองปาเล็มบัง

(Palembang) บนเกาะสุมาตรา แหลงสุไหง มาส (Sungai Mas) ประเทศมาเลเซีย และ

แหลงทุงตกึ อำาเภอตะกัว่ปา จงัหวดัพงังา (Francis, 2002 : 36 ; บุณยฤทธิ ์ฉายสวุรรณ

และเรไร นัยวัฒน, 2550) เฉพาะที่ตะกั่วปานั้นไดพบจารึกภาษาทมิฬ (ภาษาอินเดีย

ภาคใต) ระบถุงึ “มณกิกิรมมั” คือสมาคมพอคา (Cœdès, 1968 : 107) ซึง่ปเตอร ฟรานซสิ

(Peter Francis) สันนิษฐานวาคือสมาคมพอคาลูกปดแกว เพราะคำาวา “มณิก” คือ

แกวมณีนั่นเอง (Francis, 2002 : 39 ; Karashima, 2009)

ลูกปดแกวสีเดียวท่ีไดจากการขุดคนท่ีเมืองนครปฐมจึงนาจะเปนสินคาที่นำาเขา

มาจากแหลงผลิตหรือสงออกลูกปดที่มีอายุรวมสมัย เพราะในปจจุบันยังไมพบรองรอย

การผลิตภายในชุมชนเอง ในการขุดคนที่แหลงโบราณคดีหอเอกยังไดพบลูกปดแกว

แบบเคลือบใสสีทองหรืออำาพัน (False gold-glass bead) 1 ลูก (ภาพที่ 3) ซึ่งเหมือน

กับลูกปดจากแหลงโบราณคดีสุไหง มาส (Francis, 2002 : color plate 21) และแหลง

โบราณคดีทุงตึก (บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ และเรไร นัยวัฒน, 2550 : 112)

ภาพที่ 3 ลูกปดเคลือบทองจากแหลงโบราณคดีตางๆ (ที่มาของภาพ:บุณยฤทธิ์ฉายสุวรรณและเรไรนัยวัฒน,2550:112;Francis,2002: colorplate21)

Page 11: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

19

ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย

ทวารวดี - ศรีวิชัย : เครือขายความสัมพันธทางการคาและศาสนา

จะเห็นไดวา ลูกปดแกวสีเดียวคือโบราณวัตถุสำาคัญที่สะทอนใหเห็นถึงการ

ตดิตอคาขายระหวางชมุชนในภาคกลางกับภาคใต (หรอืหมูเกาะ) ซึง่ในชวงพทุธศตวรรษ

ที่ 12 ขณะท่ีทวารวดีมีความสัมพันธกับจีนนั้น เอกสารจีนยังไดกลาวถึงรัฐพันพัน

(P’an-P’an) ซึง่ตัง้อยูทางใตของโถวเหอหลวั (คือทวารวดี) วาไดจดัสงเครือ่งบรรณาการ

ไปจนีเมือ่ พ.ศ. 1178 ในรชักาลพระจกัรพรรดิถงัไทจง นกัวชิาการหลายทานสันนษิฐาน

วา “รัฐพันพัน” คงมีอาณาบริเวณแถบอาวบานดอน คือในเขตอำาเภอไชยาและพุนพิน

จังหวัดสุราษฎรธานี (Wheatley, 1973 : 47-51; Jacq-Hergoualc’h, 2002 : 294)

ซึ่งตอมาในชวงตนพุทธศตวรรษท่ี 14 จะปรากฏศิลาจารึกที่เก่ียวของกับมหาราช

แหงอาณาจักรศรีวิชัย (กรมศิลปากร, 2529 : 187-222) บริเวณอำาเภอไชยาและพุนพิน

มรีองรอยชมุชนโบราณและศิลปกรรมศาสนาพราหมณและพทุธศาสนา (พริยิะ ไกรฤกษ,

2523 ; พงศธนัว สำาเภาเงนิ และนงคราญ สขุสม, 2552) ขณะเดียวกนัก็พบประตมิากรรม

แบบศิลปะทวารวดีปรากฏอยูดวย (พิริยะ ไกรฤกษ, 2523 : 31-49) ดังนั้นบานเมือง

โบราณในภาคกลางแถบลุ มน้ำาทาจีน-แมกลองคือ รัฐทวารวดี และบานเมืองใน

คาบสมุทรภาคใตคือ รัฐพันพัน (ซึ่งตอมามีความเก่ียวของกับอาณาจักรศรีวิชัย)

จึงมีความสัมพันธกันทั้งทางดานการคาและการศาสนามาตั้งแตชวงพุทธศตวรรษที่ 12

นอกจากนี ้ทีเ่มอืงคบูวัและอูทองมปีระตมิากรรมสำารดิขนาดเลก็รปูพระโพธิสัตว

อวโลกิเตศวร (ปทมปาณี) ซึ่งมีรูปแบบคลายกับศิลปะทางภาคใต (พิริยะ ไกรฤกษ,

2520 : 86-87; กรมศิลปากร, 2534ข : 93; ชอง บวสเซอลีเย, 2533 : 137-138) ในการ

ขดุแตงโบราณสถานทีเ่มอืงอูทอง โดย ชอ็ง บวสเซอลเิยร (Jean Boisselier) นกัปราชญ

ชาวฝรั่งเศสก็ไดพบอิทธิพลศิลปะศรีวิชัยปรากฏอยู กับลวดลายเครื่องประดับ

สถาปตยกรรมที่กำาหนดอายุอยูในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 (ช็อง บัวเซอลีเยร, 2511 :

17-18, 20) ทั้งยังไดพบพระพิมพดินดิบแบบศรีวิชัยจากการขุดแตงเจดียหมายเลข

15 ท่ีเมืองอูทองดวย (ช็อง บัวเซอลีเยร, 2511 : 18-19) (ขณะที่พระพิมพของศิลปะ

ทวารวดีทำาจากดวยดินเผา) ช็อง บวสเซอลิเยร ยังไดเคยชี้แนะวา มีอิทธิพลของพุทธ

ศาสนามหายานจากดินแดนทางใตปรากฏขึ้นท่ีเจดียจุลประโทนเมืองนครปฐม ในชวง

พุทธศตวรรษท่ี 14 (สุภัทรดิศ ดิศกุล, 2540 : 80) หรือในกรณีของพระพิมพดินเผา

บางแบบของเมืองนครปฐมก็ทำาตามเรื่องในคัมภีรของพุทธมหายาน และเทียบไดกับ

พระพิมพดินดิบที่พบทางภาคใต (พิริยะ ไกรฤกษ, 2523 : 44-46; นิติพันธุ ศิริทรัพย,

2524 : 20-21, 23-25, รูปที่ 1-2, 11-17; ผาสุข อินทราวุธ, 2543 : 285) (ภาพที่ 4)

Page 12: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

การคาระหวางประเทศสมัยทวารวดี: มุมมองจากงานโบราณคดีเมืองนครปฐม

20

สฤษดิ์พงศ ขุนทรง

ดังนั้น ปจจัยทางวัฒนธรรมท่ีนาจะสงผลใหเมืองนครปฐมมีการติดตอสัมพันธ

และทำาการคาขายระหวางดินแดนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตั้งแตชวงพุทธศตวรรษที่ 14

เปนตนมา คงเปนเพราะการปรากฏขึ้นของบานเมือง “ศรีวิชัย” ในดินแดนเกาะสุมาตรา

ของอนิโดนเีซยี แหลมมลายใูนมาเลเซยี และคาบสมทุรภาคใตของไทย (Wolters, 1967 :

247-253 ; Cœdès, 1968 : 81-85) โดยศรีวิชัยมีบทบาทเปนพอคาคนกลางที่ควบคุม

ชองแคบซนุดาและชองแคบมะละกา ซึง่อยูใน “เสนทางสายแพรไหมทางทะเล” (Maritime

silk road) ทีใ่ชในการตดิตอคาขายกันระหวางจีน อนิเดีย อาหรบัเปอรเซยี และอาณาจกัร

ไบแซนไทน ผลกระทบสวนหนึง่จากกจิกรรมการคาตามเสนทางสายนีก็้ทำาใหพบโบราณ

วัตถุที่ผลิตหรือสงออกจากคาบสมุทรภาคใตรวมทั้งสินคาที่มาจากจีน (และอาหรับ

เปอรเซีย) ตามเมืองโบราณสมัยทวารวดีในภาคกลาง

“เครื่องถวยจีน” สินคาตางถิ่นจากชุมชนภายนอก

โดยปกติแลวในการขุดคนเมืองโบราณสมัยทวารวดีจะพบเศษภาชนะดินเผา

เนื้อดินธรรมดา (Earthenware) เปนจำานวนมาก เชนที่แหลงธรรมศาลาเมืองนครปฐม

ไดพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดามากถึง 8,207 ชิ้น มีน้ำาหนักรวม 100 กิโลกรัม

แตที่นาสนใจคือ ไดพบชิ้นสวนเครื่องเคลือบ (Glazed ware) เพียง 3 ชิ้น ซึ่งคาดวาเปน

ภาพที่ 4 พระพิมพดินเผาจากเมืองนครปฐมและพระพิมพดินดิบจากเขาอกทะลุจังหวัดพัทลุง จัดแสดงอยูที่พิพิธภัณฑสถานแหงชาติพระนคร

Page 13: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

21

ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย

ชิ้นสวนเครื่องถวยจีนสมัยราชวงศถัง ประกอบดวย

1. เศษเครื่องเคลือบสีเขียวแบบเยว (Yue ware) หรือไหดุซุน (Dusun jar)

2. เศษเครื่องเคลือบสีเขียวปนเหลือง (Green-slashed ware) หรืออาจเปน

เครื่องถวยแบบถังสามสี (Tang three-color ware or Sancai-glazed)

3. เศษเครื่องเคลือบสีน้ำาตาล (Deep brown glazed)

แมจะขุดพบเครื่องเคลือบในปริมาณนอยมากและเปนชิ้นสวนขนาดเล็ก

(เพราะเปนสิ่งของหายากของชุมชน) แตหลักฐานที่พบนี้ชวยเสริมใหเห็นภาพการ

คาขายระหวางประเทศในสมัยทวารวดีไดเปนอยางดี เพราะมีขอมูลท่ีนาสนใจคือ เมื่อ

พ.ศ. 2541 ไดพบแหลงเรือจมที่เกาะเบลีตุง (Belitung Shipwreck) ทางตะวันออก

ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เรือลำานี้ (ตอในแถบตะวันออกกลาง) บรรทุก

เครื่องถวยสมัยราชวงศถังมาเปนจำานวนมาก (Krahl … et al., 2011 : 30, 107) สินคา

สวนใหญมาจากแหลงเตาฉางชาซึง่พบชามลายเขยีนสมีากถงึ 55,000 ใบ (Krahl … et al.,

2011 : 56) ทั้งยังพบไหเคลือบสีเขียวแบบดุซุนอีกหลายใบ (Krahl … et al., 2011 :

32-33) (ภาพท่ี 5) โดยมีกำาหนดอายุท่ีนาเชื่อถือของเรือจมลำานี้อยูในชวงครึ่งหลังของ

พทุธศตวรรษที ่14 (Krahl … et al., 2011 : 35-37) สอดคลองกับผลการกำาหนดอายชุัน้

วัฒนธรรมที่เริ่มปรากฏเครื่องถวยจีนสมัยราชวงศถัง (และลูกปดแกว) ที่เมืองนครปฐม

ภาพที่ 5 ไหดุซุนจากแหลงเรือจมที่เกาะเบลีตุงประเทศอินโดนีเซีย

(ที่มาของภาพ:Krahl…etal.,2011:197)

Page 14: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

การคาระหวางประเทศสมัยทวารวดี: มุมมองจากงานโบราณคดีเมืองนครปฐม

22

สฤษดิ์พงศ ขุนทรง

ราชวงศถงันัน้เจรญิรุงเรอืงสงูสดุในรชักาลพระจกัรพรรดิถงัเซวยีนจง (ครองราชย

ระหวาง พ.ศ. 1256-1299) (Lewis, 2009 : 40; Schirokauer … et al., 2013 : 107)

พระองคสงเสริมกิจการคาขายตามเสนทางสายแพรไหมทางทะเล กวีสมัยราชวงศถัง

ไดพรรณนาสภาพทางการคาชวงนัน้ไววา มแีถวของเรอืสินคาจากหมืน่ประเทศ ตางแยง

กันจะเปนทีห่นึง่เพือ่ถวายทองคำาและผาแพรไหม (Qingxin, 2009 : 40) และในชวงกลาง

ถึงปลายสมัยราชวงศถังตอตนราชวงศซง ราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 จีนก็ไดสง

เครื่องถวยเปนสินคาออก (Qingxin, 2009 : 67-69; Srisuchat … et al., 1989 : 15-17)

จนมีคำากลาววา “เสนทางสายแพรไหมทางทะเลเปรียบประดุจเสนทางการคาขาย

เครือ่งถวย” (Maritime silk road as the ceramics road) (Qingxin, 2009 : 68) เหน็ไดจาก

ปริมาณเครื่องถวยสมัยราชวงศถังที่พบในแหลงเรือจมท่ีเกาะเบลีตุง ซึ่งนักวิชาการ

สนันษิฐานวาอาจมจีดุหมายปลายทางอยูท่ีเกาะชวาของอนิโดนเีซยี (Flecker, 2011 : 118)

นอกจากนี้ยังไดคนพบเครื่องถวยจีนสมัยราชวงศถังท่ีเมืองปาเล็มบังบนเกาะ

สุมาตรา (Manguin, 1992 : 63-73) โดยพบเปนจำานวนมากตามเมืองทาชายฝง

ในคาบสมุทรภาคใตของไทยทั้งท่ีแหลมโพธิ อำาเภอไชยา จังหวัดสุราษฎรธานี

(เขมชาต ิเทพไชย, 2531 : 88-94, 112-115) หรอืทุงตกึ จงัหวดัพงังา (บณุยฤทธิ ์ฉายสุวรรณ

และเรไร นยัวฒัน, 2550 : 101-105) และไดพบตามเมอืงสมยัทวารวดีหลายแหง เชน อูทอง

จงัหวดัสพุรรณบรุ ีดงละคร จงัหวดันครนายก และศรมีโหสถ จงัหวดัปราจนีบรุ ี(ภทัรพงษ

เกาเงิน, 2545 : 113; กรมศิลปากร, 2536 : 44; กรมศิลปากร, 2534ก : 44) ดังนั้น

เสนทางสายแพรไหมทางทะเล (หรอืเสนทางการคาเครือ่งถวย) จงึเปนปจจยัทาง

วัฒนธรรมหรือแรงกระตุนทางเศรษฐกิจที่สำาคัญ เพราะเช่ือมโยงทั้งอาณาจักร

ศรีวิชัยและโดยเฉพาะรัฐทวารวดีที่ต้ังอยูตอนในแผนดินเขากับเครือขาย

การคาโลกสมัยโบราณ

แผนที่แสดงตำาแหนงของแหลงโบราณคดีที่กลาวถึงในบทความ

Page 15: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

23

ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย

สงทาย

นับตั้งแตที่พอคาคนกลางอยางอาณาจักรศรีวิชัยเริ่มมีบทบาทในดินแดนเกาะ

สุมาตราในชวงพุทธศตวรรษที่ 13 และปรากฏจารึกของกษัตริยศรีวิชัยในคาบสมุทร

ภาคใตของไทยในชวงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 14 (Cœdès, 1968 : 83-84) ชื่อของ

“โถวเหอ” หรือ “ทวารวดี” ก็หายไปจากรายชื่อรัฐท่ีสงบรรณาการไปยังจีน (Gungwu,

1958 : 122-123) ดังนั้นการติดตอคาขายระหวางจีนกับทวารวดี ในชวงที่เกิด

อาณาจักรศรีวิชัยขึ้นแลวคงเปนไปในทางออม คือนาจะผานมาทางบานเมือง

ทางใตมากกวาจะติดตอกันโดยตรง สังเกตไดอยางชัดเจนจากการคนพบ

เครื่องถวยจีนสมัยราชวงศถังทางภาคใตในปริมาณมากกวาท่ีพบตามเมืองโบราณ

ทวารวดีในภาคกลาง และการคาขายนี้คงไมไดมีเพียงเครื่องถวยจีนเปนสินคาสงตอมา

เทานั้น แตยังรวมไปถึงการคาขายลูกปดแกวดวย

ดังนั้นหวงเวลาที่สำาคัญที่นำาเสนอในบทความนี้คือ ราวพุทธศตวรรษที่ 14 (ชวง

พ.ศ. 1300 - 1400) เพราะเปนชวงท่ีจีนไดสงเครื่องถวยมาขายอยางเปนล่ำาเปนสัน

ตามเสนทางสายแพรไหมทางทะเล ดังกรณีการคนพบเรือจมท่ีเกาะเบลีตุง และเปน

ชวงเดียวกันกับท่ีเมืองทาคาขายในภาคใตของไทยทั้งแหลมโพธิและทุ งตึกไดมี

ความสำาคัญขึ้น ขอมูลเหลานี้สอดคลองกับการพบโบราณวัตถุประเภท “สินคาตางถิ่น”

ในชั้นวัฒนธรรมชวงพุทธศตวรรษท่ี 14-16 ภายในหลุมขุดคนท่ีเมืองนครปฐม

รวมถึงการปรากฏรองรอยของศิลปะทางพุทธศาสนามหายานแบบศรีวิชัยในภาคกลาง

ของไทยดวย

อยางไรก็ตาม ผูเขียนยังไมอาจอธิบายไดแนชัดเกี่ยวกับสินคาสงออกของ

ทวารวดี แมวาเอกสารจีนจะกลาวถึงงาชางหรือนอแรด (ชั้นดี) จากทวารวดี และระบ ุ

ดวยวาชาวทวารวดีสวนใหญทำาอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจะตองมีผลผลิตทางการเกษตร

อยางไมตองสงสัย แตเราไมพบหลกัฐานทางโบราณคดีในสวนนี ้เพราะเปนอนิทรยีวตัถ ุ

ที่สูญสลายได เวนแตร องรอยแกลบขาวจำานวนมากท่ีปะปนอยู ในกอนอิฐที่ใช

ในการกอสรางศาสนสถานสมัยทวารวดี และยังควรพิจารณาดวยวาเอกสารบางฉบับ

อาจใหขอมลูคลาดเคลือ่น เชนเมือ่กลาวถงึกระวานจากทวารวด ีแตกระวานนัน้นาจะมา

จากทางภาคใตของไทยหรือหมูเกาะในอินโดนีเซียที่มีเครื่องเทศเปนสินคาออกสำาคัญ

นอกจากนี ้ผูเขยีนยงัมไิดวเิคราะหเชือ่มโยงหลกัฐานบางอยางจากเมอืงนครปฐม

เชน ภาพปูนปนชาวตางชาติที่สวมหมวกทรงสูง (อุษา งวนเพียรภาค, 2548 : 82-83)

หรือภาพใบหนาชาวอาหรับมุสลิมบนแผนอิฐจากเจดียจุลประโทน (อนุวิทย เจริญ

ศุภกุล, 2528 : 32-33) ซึ่งหากไดตีความอยางจริงจังแลวก็นาจะทำาใหเขาใจในสภาพ

เศรษฐกิจของทวารวดีในบริบทของเสนทางการคาโลกไดดีมากยิ่งขึ้น ท้ังนี้ยังรวมไป

Page 16: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

การคาระหวางประเทศสมัยทวารวดี: มุมมองจากงานโบราณคดีเมืองนครปฐม

24

สฤษดิ์พงศ ขุนทรง

ถึงการพิจารณาความสำาคัญของหลักฐานทางโบราณคดีและงานศิลปกรรมตามเมือง

โบราณรวมสมัยแหงอื่นๆ อยางละเอียดถี่ถวนอีกครั้ง เชน อายุสมัยของชั้นวัฒนธรรมที่

ขุดคนพบเครื่องถวยจีนสมัยราชวงศถังหรือเครื่องถวยสีฟาแกมเขียวของอาหรับ

เปอรเซยี ภาพปนูปนชาวตางชาตจิากเมอืงอูทองและคบูวั หรอืพระพมิพดินเผาท่ีมจีารกึ

ชือ่ภกิษจุนีเปนอกัษรภาษาจนี พบทีเ่มอืงศรเีทพ จงัหวดัเพชรบรูณ (กรมศิลปากร, 2529 :

247-250 ; Brown, 1996 : 37) ฯลฯ เพื่อชวยกันปะติดปะตอเรื่องราวของ “ทวารวดี”

ใหมีความกระจางชัดยิ่งขึ้นกวาเดิม

Page 17: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

25

ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย

บรรณานุกรม

ภาษาไทย

กรมศิลปากร. (2528). เรื่องพระปฐมเจดีย กรมศิลปากรตรวจสอบชำาระใหมและ

การบูรณะและปฏิสังขรณพระปฐมเจดีย. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ยูนิตี้

โพรเกรส. (โดยเสด็จพระราชกุศลในงานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมสิริชัย

(ชิต ชิตวิปุลเถร) เจาอาวาสวัดพระปฐมเจดีย อำาเภอเมือง จังหวัดนครปฐม.

วันที่ 23 มีนาคม 2528).

________. (2529). จารึกในประเทศไทย เลม 1 อักษรปลลวะ หลังปลลวะ

พุทธศตวรรษที่ 12 – 14. กรุงเทพฯ: หอสมุดแหงชาติ กรมศิลปากร.

________. (2534ก). โบราณสถานสระมรกต. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

________. (2534ข). ราชบุรี. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งกรุพ.

________. (2536). รายงานการขุดคนและขุดแตงเมืองดงละคร อำาเภอเมือง

จังหวัดนครนายก. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร.

________. (2542). สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา - ฉบับกรุงธนบุรี.

กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. (คณะกรรมการฝายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ

ในคณะอำานวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว จัด

พิมพเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธ.ค.

2542).

________. (2552). ศลิปะทวารวด:ี ตนกำาเนดิพทุธศลิปในประเทศไทย. กรงุเทพฯ:

กรมศิลปากร.

กรมทรพัยากรธรณ.ี (2550). ธรณวิีทยาประเทศไทย. กรงุเทพฯ: กรมทรพัยากรธรณ ี

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม.

เขมชาติ เทพไชย. (2531). แหลมโพธิ: แหลงเศรษฐกิจของศรีวิชัย. กรุงเทพฯ:

กรมศิลปากร.

ชอง บวสเซอลีเย. (2533). ขอคิดบางประการเก่ียวกับศิลปะทวารวดี. แปลโดย

หมอมเจา สุภัทรดิศ ดิศกุล. เมืองโบราณ 16 (1) : 134-139.

ช็อง บัวเซอลีเยร. (2511). ความรูใหมทางโบราณคดีจากเมืองอูทอง. แปลโดย

หมอมเจา สุภัทรดิศ ดิศกุล. พระนคร: กรมศิลปากร.

ทิวา ศุภจรรยา, กฤษณพล วิชพันธุ และชวลิต ขาวเขียว. (2544). “เมืองคูคลอง

(ชุมชนขนาบน้ำา): ภูมิปญญาการสรางบานแปงเมืองจากอดีตถึงรัตนโกสินทร.”

ใน ภูมิศาสตรกับวิถีชีวิตไทย : หนา 146-163. กรุงเทพฯ: ศูนยมานุษยวิทยา

สิรินธร.

Page 18: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

การคาระหวางประเทศสมัยทวารวดี: มุมมองจากงานโบราณคดีเมืองนครปฐม

26

สฤษดิ์พงศ ขุนทรง

ทวิา ศุภจรรยา และผองศร ีวนาสนิ. (2525). “การศกึษาลกัษณะชมุชนโบราณจากภาพ

ถายทางอากาศจังหวัดนครปฐม.” ใน การสัมมนาประวัติศาสตร โบราณคดี

และศิลปวัฒนธรรมนครปฐม : หนา 1-9. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร

และชุมนุมนิสิตเกาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ธนนิทร นธิอิาชากลุ. (2555). การตรวจสอบความสัมพันธของโกลนหินสมัยทวาร

วดรีะหวางแหลงผลติ เขาพระ จงัหวัดเพชรบุร ีกบัเมืองโบราณคบัูว จงัหวัด

ราชบุรี และเมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม โดยวิธีศิลาวรรณนา.

เอกสารการศกึษาเฉพาะบคุคล ปรญิญาศลิปศาสตรบณัฑติ ภาควชิาโบราณคดี

คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธิดา สาระยา. (2531). การกอตัวของรัฐในลุมน้ำาทาจีน-แมกลอง: พัฒนาการทาง

ประวัติศาสตรของเมืองนครปฐม ศึกษาจากหลักฐานทางโบราณคดี. เมือง

โบราณ 14 (1) : 83-92.

นติพินัธุ ศริทิรพัย. (2524). พระพมิพดนิเผาสมัยทวารวดทีีน่ครปฐม. วทิยานพินธ

ปรญิญามหาบณัฑติ สาขาโบราณคดสีมยัประวตัศิาสตร มหาวทิยาลยัศลิปากร.

บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ และเรไร นัยวัฒน. (2550). ทุงตึกเมืองทาการคาโบราณ.

ภูเก็ต: สำานักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต.

ผาสขุ อนิทราวธุ. (2526). ตราดินเผารปูคช-ลกัษมแีละกุเวรจากเมอืงนครปฐมโบราณ.

เมืองโบราณ 9 (3) : 92-101.

________. (2542). ทวารวด ีการศกึษาเชิงวิเคราะหจากหลกัฐานทางโบราณคด.ี

กรุงเทพฯ: โรงพิมพอักษรสมัย.

________. (2543). พุทธปฎิมาฝายมหายาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพอักษรสมัย.

พงศธนัว สำาเภาเงนิ และนงคราญ สขุสม. (2552). รายงานการขดุคนทางโบราณคดี

โบราณสถานเขาพระนารายณ อำาเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎรธานี.

กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

พิริยะ ไกรฤกษ. (2520). ขอคิดเห็นเกี่ยวกับแบบศิลปะในประเทศไทย คัดเลือก

จากพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ สาขาสวนภูมิภาค. กรุงเทพฯ: อมรินทร

การพิมพ.

________. (2523). ศลิปทกัษณิกอนพทุธศตวรรษที ่19. กรงุเทพฯ: กรมศลิปากร.

(เนือ่งในโอกาสวนัเฉลมิพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหวั 5 ธนัวาคม

2523).

ภทัรพงษ เกาเงนิ. (2545). โบราณคดคีอกชางดนิ. กรงุเทพฯ: สำานกังานโบราณคดี

และพิพิธภัณฑสถานแหงชาติที่ 2 สุพรรณบุรี.

Page 19: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

27

ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย

ภวูนาท รตันรงัสกุิล. (2555). การศกึษาวิจยัโบราณวัตถทุีมี่ตะกัว่เปนองคประกอบ

หลักในวัฒนธรรม ทวารวดี. วิทยานิพนธปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา

วิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัชนี ทศรัตน และอำาพัน กิจงาม. (2547). รายงานการขุดคนแหลงโบราณคดี

บานสวย อำาเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สวาง เลศิฤทธ์ิ. (2547). รายงานวิจยัฉบับสมบูรณพัฒนาการของความซบัซอนทาง

เศรษฐกจิและสังคมจากสมัยกอนประวัตศิาสตรตอนปลายถงึยุคแรกเริม่

ประวัติศาสตร ในเขตที่สูงทางตะวันออกของภาคกลางของประเทศไทย.

กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำานักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแหงชาติที่ 1 ราชบุรี. (2541). คูบัว: ความ

สัมพันธกับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกลเคียง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หมอมเจา. (2540). ทองอารยธรรม. กรุงเทพฯ: ธุรกิจกาวหนา.

อนันต กลิ่นโพธิ์กลับ. (2547). การศึกษาความหมายและแบบของตราประทับ

สมัยแรกเริม่ประวัติศาสตรในพิพิธภณัฑสถานแหงชาตอิูทอง อำาเภออูทอง

จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัย

ประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนุวิทย เจริญศุภกุล. (2528). ภาพบุคคลบนแผนอิฐแบบทวารวดี ณ เจดียจุลประโทน

นครปฐมกับความสำาคัญทางประวัติศาสตรและโบราณคดีเอเชียอาคเนย. ศิลป

วัฒนธรรม 6 (5) : 32-33.

อุษา งวนเพียรภาค. โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ พระปฐมเจดีย.

นนทบุรี: ส.พิจิตรการพิมพ.

อูจิง. (2546). เจินกวนเจิ้งเยา ยอดกุศโลบายจีน. อธิคม สวัสดิญาณ, เรียบเรียง.

กรุงเทพฯ: ดอกหญา.

ภาษาอังกฤษ

Beal, Samuel. (1969). Siyuki: Buddhist records of the Western world, translated

from the Chinese of Hiuen Tsiang (A.D. 629). Delhi: Oriental Books.

Boeles, J. J. (1964). The King of Sri Dvaravati and his Regalia. Journal of the

Siam Society LII (II) : 99-114.

Bronson, Bennet. (1976). Excavation at Chansen and the Cultural Chronology

of Protohistoric Central Thailand. Doctoral dissertation, University of

Pennsilvania Museum.

Page 20: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

การคาระหวางประเทศสมัยทวารวดี: มุมมองจากงานโบราณคดีเมืองนครปฐม

28

สฤษดิ์พงศ ขุนทรง

Brown, Robert L. (1996). The Dvaravati Wheels of the Law and the Indianization

of South East Asia. Leiden: E.J. Brill.

Cœdès, George. (1968). The Indianized States of Southeast Asia. Translated

by Sue Brown Cowing. Honololo: University of Hawaii Press.

Fehrenbach, Shawn Szjeda. (2009). Traditional of ceramic technology: an

analysis of the assemblages from Angkor Borei, Cambodia. Thesis

for the degree of Master of Arts in Anthropology, University of Hawai’i.

Flecker, Michael. (2011). A ninth-century Arab shipwreck in Indonesia: first

archaeological evidence of direct trade with China. Shipwrecked: Tang

Treasure and Monsoon Winds : 101-119. Regina Krahl and others, ed.

Singapore: The Smithsonian’s Museum of Asian Art.

Francis, Jr., Peter. (2002). Asia’s Maritime Bead Trade 300 B.C. to the Present.

Honolulu: University of Hawai’i Press.

Gungwu, Wang. (1958). The Nanhai Trade : a study of the early history of Chinese

trade in the South China sea. Journal of the Malayan Branch Royal

Asiatic Society 31 (2) : 1-135.

Indrawooth, Phasook. (2008). “Recent Research on Dvaravati Cultural Workshop

Sites in Petchaburi Province, Central Thailand.” In Interpreting Southeast

Asia’s Past : monument, image and text : p. 306-322. Elizabeth A.

Bacus, Ian C. Glover and Peter D. Sharrock, ed. Singapore: NUS Press.

I-Tsing. (1966). A Record of the Buddhist Religion as practised in India and

the Malay Archipelago (A.D. 671-695). Translated by J. Takakusu. Delhi:

Munshiram Monoharlal.

Jacq-Hergoualc’h, Michel. (2002). The Malay Peninsula : crossroads of the

maritime silk road (100 BC-1300 AD). Translated by Victoria Hobson.

Leiden: Brill.

Karashima, Noboru. (2009). “South Indian Merchant Guilds in the Indian Ocean

and Southeast Asia.” In Nagapattinam to Suvarnadwipa: Reflection on

the Chola Naval Expeditions to Southeast Asia : p. 135-157. Hermann

Kulke, K.Kesavapany, Vijay Sakhuja, ed. Singapore: Institute of Southeast

Asian Studies.

Page 21: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด

29

ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย

Krahl, Regina … et al., ed. (2011). Shipwrecked: Tang Treasure and Monsoon

Winds. Singapore: The Smithsonian’s Museum of Asian Art.

Lewis, Mark Edward. (2009). China’s Cosmopolitan Empire. Cambridge: The

Belknap Press of Harvard University Press.

Manguin, Pierre-Yves. (1992). “Excavations in South Sumatra, 1988-90: New

Evidence for Sriwijayan Sites.” In Southeast Asian Archaeology 1990:

proceedings of the third conference of the European Association

of Southeast Asian Archaeologist : p. 63-73. Ian Glover, ed. Brussels:

Centre for South-East Asian Studies University of Hull.

Qingxin, Li. (2009). Maritime Silk Road. Translated by William W. Wang. China:

China Intercontinental Press.

Schafer, Edward H. (1985). The golden peaches of Samarkand: a study of

T’ang Exotics. California: University of California Press.

Schirokauer, Conrad …. et al. (2013). A brief history of Chinese and Japanese

civilizations. 4th ed. United State: Wadsworth, Cengage Learning.

Srisuchat, Tharapong … et al. (1989). Early Chinese Ceramics in Southern Thailand.

Silpakorn Journal 33 (4) : 15-18.

Welch, David J. and McNeil, Judith R. (2004). “The Origin Phimai Black Site:

A new look at Ban Suai, Phimai, Thailand.” In Southeast Asian Archaeology

Wilhelm G. Solheim II Festschrift : p. 522-543. Victor Paz, ed. Manila:

The University of Philippines Press.

Wheatley, Paul. (1973). The Golden Khersonese. 1961 reprint ed. Westport:

Greenwood Press.

Wolters, O. W. (1967). Early Indonesian commerce : a study of the origins

of Srivijaya. Ithaca, New York: Cornell University Press.

Yamamoto, Tatsuro. (1979). “East Asian Historical Sources for Dvaravati Studies.”

In Proceeding Seventh IAHA Conference vol. II : p. 1137-1150.

Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Yasuda, Yoshinori and Phoeurn, Chuch. (2008). Preliminary report for the

excavation in Phum Snay 2007. Kyoto: International Research Centre

for Japanese Studies.

Page 22: การค าระหว างประเทศสมัยทวารวดี : มุมมองจากงานโบราณคดี ... · พิมายดำานี้ด