บทที่ 10...

35
บทที10 อุณหพลศาสตร์เบื้องต้น อุณหพลศาสตร์ หรือเทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษา ความสัมพันธ์ของพลังงานความร้อน พลังงานกล หรือพลังงานภาพอื่น ตลอดจนศึกษาการถ่ายโอน ความร้อน และการให้พลังงานความร้อนแก่ระบบเพื่อการทางาน ในระบบทางอุณหพลศาสตร์จะมี อันตรกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมหลายอย่าง ได้แก่ การถ่ายโอนความร้อนของแก๊สในกระบอกสูบ โดย การนาความร้อน การทางานกลของระบบต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อลูกสูบเกิดการกระจัด ฯลฯ 10.1 อุณหภูมิและกฎข้อที่ศูนย์ทางอุณหพลศาสตร์ (Temperature and the zero th law of thermodynamics) ในชีวิตประจาวันจะเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิอยู่เสมอๆ เช่น บางวันรู้สึกว่าอากาศร้อน บางวัน อากาศเย็น เป็นต้น ความร้อนหรือความเย็นที่ประสาทสัมผัสของเรารับรู้ได้นั้นจะบอกถึงระดับของ อุณหภูมิ อย่างไรก็ตามประสาทสัมผัสของคนเราไม่สามารถบอกระดับอุณหภูมิได้แม่นยา เช่น แช่นในกระบอกโลหะและกระบอกพลาสติกไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น เมื่อปล่อยไว้จนกระทั่งน้าใน กระบอกทั้งสองกลายเป็นน้าแข็ง ถ้าใช้มือจับกระบอกทั้งสอง ความรู้สึกจะบอกว่ากระบอกนาทั้งสอง นั้นมีความเย็นเท่ากัน แต่ในความเป็นจริงแล้วกระบอกทั้งสองจะมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน เพราะว่า โลหะจะนาความร้อนได้ดีกว่าพลาสติก แต่ประสาทสัมผัสของคนเราไม่สามารถแยกแยะอุณหภูมิทีแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยได้ ดังนั้นเพื่อที่จะบอกถึงความแตกต่างของอุณหภูมิได้อย่างแม่นยา นักวิทยาศาสตร์จึงได้สร้างเครื่องมือสาหรับวัดอุณหภูมิขึ้นซึ่งเรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์(Thermometer) การทาความเข้าใจเกี่ยวกับอุณหภูมิจะต้องรู้จักเกี่ยวกับสภาวะสองอย่างคือ สัมผัสทาง ความร้อน (Thermal contact) และสมดุลความร้อน (Thermal equilibrium) การทาความเข้าใจ เกี่ยวกับสัมผัสทางความร้อนขอให้พิจารณาดังนี้ สมมติว่ามีวัตถุอยู่สองอันวางอยู่ในภาชนะที่เป็น ฉนวนความร้อนอันเดียวกัน ถ้าอุณหภูมิของวัตถุทั้งสองแตกต่างกันจะเกิดการแลกเปลี่ยนพลังงาน ระหว่างกัน ซึ่งเรียกพลังงานที่มีการแลกเปลี่ยนกันนี้เรียกว่า ความร้อน (Heat) และกล่าวได้ว่าวัตถุทั้ง สองอยู่ในสภาวะสัมผัสทางความร้อน สาหรับสภาวะสมดุลความร้อนจะเป็นสภาวะที่วัตถุซึ่งอยู่ใน สภาวะสัมผัสทางความร้อนไม่มีการแลกเปลี่ยนความร้อนซึ่งกันและกัน นั่นคือวัตถุทั้งสองมีอุณหภูมิ เท่ากัน พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ เมื่อใส่น้าร้อนในกระติกนาร้อนสองใบ สมมติให้เป็นกระติก A และ กระติก B ในกรณีนี้น้าในกระติกทั้งสองจะไม่อยู่ในสภาวะสัมผัสทางความร้อน ถ้านา เทอร์โมมิเตอร์จุ่มลงในกระติก A นั่นคือเทอร์โมมิเตอร์จะสัมผัสทางความร้อนกับนาร้อน เมื่อรอ จนกระทั่งเทอร์โมมิเตอร์และน้าร้อนเกิดสมดุลความร้อนจึงบันทึกค่าอุณหภูมิไว้ จากนั้นนา เทอร์โมมิเตอร์มาจุ่มลงในกระติก B แล้วรอจนกระทั่งเกิดสมดุลความร้อนจึงบันทึกค่าอุณหภูมิ ถ้า อุณหภูมิของน้าร้อนที่อ่านได้จากกระติกทั้งสองค่าเท่ากันจะกล่าวว่าน้าร้อนในกระติก A และ กระติก B อยู่ในสภาวะสมดุลความร้อนเดียวกันกับเทอร์โมมิเตอร์

Upload: others

Post on 01-Nov-2019

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

บทที่ 10 อุณหพลศาสตร์เบื้องต้น

อุณหพลศาสตร์ หรือเทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษา

ความสัมพันธ์ของพลังงานความร้อน พลังงานกล หรือพลังงานภาพอื่น ตลอดจนศึกษาการถ่ายโอนความร้อน และการให้พลังงานความร้อนแก่ระบบเพื่อการท างาน ในระบบทางอุณหพลศาสตร์จะมีอันตรกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมหลายอย่าง ได้แก่ การถ่ายโอนความร้อนของแก๊สในกระบอกสูบ โดย การน าความร้อน การท างานกลของระบบต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อลูกสูบเกิดการกระจัด ฯลฯ 10.1 อุณหภูมิและกฎข้อที่ศูนย์ทางอุณหพลศาสตร์ (Temperature and the zeroth law of thermodynamics)

ในชีวิตประจ าวันจะเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิอยู่เสมอๆ เช่น บางวันรู้สึกว่าอากาศร้อน บางวันอากาศเย็น เป็นต้น ความร้อนหรือความเย็นที่ประสาทสัมผัสของเรารับรู้ได้นั้นจะบอกถึงระดับของอุณหภูมิ อย่างไรก็ตามประสาทสัมผัสของคนเราไม่สามารถบอกระดับอุณหภูมิได้แม่นย า เช่น แช่น้ าในกระบอกโลหะและกระบอกพลาสติกไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น เมื่อปล่อยไว้จนกระทั่งน้ าในกระบอกทั้งสองกลายเป็นน้ าแข็ง ถ้าใช้มือจับกระบอกทั้งสอง ความรู้สึกจะบอกว่ากระบอกน้ าทั้งสองนั้นมีความเย็นเท่ากัน แต่ในความเป็นจริงแล้วกระบอกทั้งสองจะมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน เพราะว่าโลหะจะน าความร้อนได้ดีกว่าพลาสติก แต่ประสาทสัมผัสของคนเราไม่สามารถแยกแยะอุณหภูมิที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยได้ ดังนั้นเพื่อที่จะบอกถึงความแตกต่างของอุณหภูมิได้อย่างแม่นย านักวิทยาศาสตร์จึงได้สร้างเครื่องมือส าหรับวัดอุณหภูมิขึ้นซึ่งเรียกว่า เทอร์โมมิเตอร(์Thermometer)

การท าความเข้าใจเกี่ยวกับอุณหภูมิจะต้องรู้จักเกี่ยวกับสภาวะสองอย่างคือ สัมผัสทาง ความร้อน (Thermal contact) และสมดุลความร้อน (Thermal equilibrium) การท าความเข้าใจเกี่ยวกับสัมผัสทางความร้อนขอให้พิจารณาดังนี้ สมมติว่ามีวัตถุอยู่สองอันวางอยู่ในภาชนะที่เป็นฉนวนความร้อนอันเดียวกัน ถ้าอุณหภูมิของวัตถุทั้งสองแตกต่างกันจะเกิดการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างกัน ซึ่งเรียกพลังงานที่มีการแลกเปลี่ยนกันนี้เรียกว่า ความร้อน (Heat) และกล่าวได้ว่าวัตถุทั้งสองอยู่ในสภาวะสัมผัสทางความร้อน ส าหรับสภาวะสมดุลความร้อนจะเป็นสภาวะที่วัตถุซึ่งอยู่ในสภาวะสัมผัสทางความร้อนไม่มีการแลกเปลี่ยนความร้อนซึ่งกันและกัน นั่นคือวัตถุทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากัน

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ เมื่อใส่น้ าร้อนในกระติกน้ าร้อนสองใบ สมมติให้เป็นกระติก A และ กระติก B ในกรณีนี้น้ าในกระติกทั้งสองจะไม่อยู่ในสภาวะสัมผัสทางความร้อน ถ้าน าเทอร์โมมิเตอร์จุ่มลงในกระติก A นั่นคือเทอร์โมมิเตอร์จะสัมผัสทางความร้อนกับน้ าร้อน เมื่อรอจนกระทั่งเทอร์โมมิเตอร์และน้ าร้อนเกิดสมดุลความร้อนจึงบันทึกค่าอุณหภูมิไว้ จากนั้นน าเทอร์โมมิเตอร์มาจุ่มลงในกระติก B แล้วรอจนกระทั่งเกิดสมดุลความร้อนจึงบันทึกค่าอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิของน้ าร้อนที่อ่านได้จากกระติกทั้งสองค่าเท่ากันจะกล่าวว่าน้ าร้อนในกระติก A และ กระติก B อยู่ในสภาวะสมดุลความร้อนเดียวกันกับเทอร์โมมิเตอร์

Page 2: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

268

จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้ถ้าเรียกน้ าร้อนในกระติก A ว่าวัตถุ A เรียกน้ าร้อนในกระติก B ว่าวัตถุ B และเรียกเทอร์โมมิเตอร์ว่าวัตถุ C จะสรุปเป็นกฎทั่วๆไปที่เรียกว่า กฎข้อที่ศูนย์ของ อุณหพลศาสตร์ หรือ กฎของสมดุล (The law of equilibrium) ได้ดังนี ้

ถ้าวัตถุ A และ B ต่างก็อยู่ในสภาวะสมดุลความร้อนกับวัตถุ C แล้ว วัตถุ A และวัตถุ B จะอยู่ในสภาวะสมดุลความร้อนซึ่งกันและกัน 10.2 เทอร์โมมิเตอร์และสเกลอุณหภูมิ (Thermometer and temperature scales)

เทอร์โมมิเตอร์เป็นเครื่องมือที่ใช้ส าหรับวัดอุณหภูมิของระบบ การท างานของเทอร์โมมิเตอร์ทุกชนิดจะอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพบางอย่างเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปหรือเรียกว่า “สมบัติทางเทอร์โมเมตริกส์ (Thermometric properties)” ของสาร ตัวอย่างของสมบัติทางกายภาพบางอย่างที่เรียกว่านี้ได้แก่

1) การเปลี่ยนแปลงปริมาตรของของเหลว 2) การเปลี่ยนแปลงความยาวของของแข็ง 3) การเปลี่ยนแปลงความดันของก๊าซ 4) การเปลี่ยนแปลงปริมาตรของก๊าซที่ความดันคงที่ 5) การเปลี่ยนแปลงความต้านทานไฟฟ้าของตัวน า 6) การเปลี่ยนแปลงสีของวัตถุที่ร้อนมากๆ เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้กันทั่วไปจะเป็นชนิดที่ใช้ปรอทบรรจุอยู่ในหลอดแก้วเล็กๆ โดยอาศัย

สมบัติในการขยายตัวตามความร้อนของปรอท กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะเป็นสัดส่วนกับความสูงของล าปรอท การปรับเทียบเทอร์โมมิเตอร์จะท าได้โดยใส่เทอร์โมมิเตอร์ไว้ในระบบที่มีอุณหภูมิคงที่ วิธีที่นิยมกันทั่วไปก็คือแช่เทอร์โมมิเตอร์ไว้ในน้ าที่ใส่น้ าแข็งโดยก าหนดว่ามีอุณหภูมิเท่ากับศูนย์องศาเซลเซียส ซึ่งล าปรอทจะหดสั้นลงไปอยู่ที่ต าแหน่งหนึ่ง จากนั้นน าเทอร์โมมิเตอร์อันเดิมนี้ไปจุ่มลงในน้ าเดือด ซึ่งมีอุณหภูมิเท่ากับ 100 C ล าปรอทจะขยายตัวสูงขึ้นไปอยู่อีกต าแหน่งหนึ่ง ความแตกต่างของความสูงของล าปรอทนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 100 ช่องเท่าๆกัน ดังนั้นความสูงของล าปรอทหนึ่งช่องจะเท่ากับหนึ่งองศาเซลเซียส เพราะฉะนั้นถ้าความสูงของล าปรอทระหว่าง 0 C กับ 100 C เท่ากับ L แล้ว ส าหรับความสูงล าปรอทที่ระยะ x ใดๆ จะสอดคล้องกับอุณหภูมิตามสมการต่อไปน้ี

CL

X100te

(10.1)

Page 3: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

269

ส าหรับเทอร์โมมิเตอร์ชนิดอื่นๆ ก็จะใช้วิธีการปรับเทียบโดยการใช้อุณหภูมิที่เช่นกัน ทั้งนี้จะตั้งสมมติฐานว่าสมบัติทางเทอร์โมเมตริกส์แปรผันแบบเชิงเส้นกับอุณหภูมิ

10.3 เทอร์โมมิเตอร์ชนิดปริมาตรก๊าซคงที่และสเกลแบบเคลวิน (The Constant gas thermometer and the Kelvin scale)

เทอร์โมมิเตอร์ชนิดปริมาตรก๊าซคงที่แสดงดังภาพที่ 10.1 โดยสมบัติทางเทอร์โมเมตริกส์ของเทอร์โมมิเตอร์ชนิดนี้คือการเปลี่ยนแปลงความดันของก๊าซตามอุณหภูมิ โดยก๊าซที่ถูกบรรจุไว้ในกระเปาะมีปริมาตรคงที่ เมื่อต้องการจะวัดอุณหภูมิก็จุ่มกระเปาะนี้ลงไปในระบบที่จะวัด ถ้าระบบมีอุณหภูมิสูงก๊าซภายในกระเปาะจะร้อน ท าให้ความดันก๊าซเพิ่มขึ้นและไปดันให้ล าปรอทให้สูงขึ้น เมื่ออุณหภูมิเย็นลงความดันของก๊าซลดลงและล าปรอทก็จดลดต่ าลงด้วย ดังนั้นค่าของอุณหภูมิจะแสดงในเทอมของความดัน T = aP + b (10.2) เมื่อ a และ b เป็นค่าคงที่ ซึ่งหาได้จากการวัดอณุหภูมิคงที่สองค่า เช่น ที่ 0 C กับ 100 C เป็นต้น

จากการทดลองโดยใช้ก๊าซต่างชนิดในการสร้างเทอร์โมมิเตอร์แบบนี้ว่าค่าของอุณหภูมิที่อ่านได้เป็นดังภาพที่ 10.2 พบว่าความดันของก๊าซทุกชนิดจะลดลงเป็นศูนย์ที่อุณหภูมิเดียวกันคือ – 273.15 K ซึ่งค่านี้จะสอดคล้องกับ b ในสมการ (10.2) ในระยะแรกๆ การปรับเทียบเทอร์โมมิเตอร์ชนิดปริมาตรก๊าซคงที่จะใช้อุณหภูมิเยือกแข็งและจุดเดือดของน้ าเป็นมาตรฐาน แต่ในทางปฏิบัติจุดปรับเทียบทั้งสองกระท าได้ค่อนข้างยาก เพราะขึ้นกับความบริสุทธิ์ของน้ า ด้วยเหตุนี้จึงได้ก าหนดสเกลของอุณหภูมิขึ้นใหม่ในปี ค.ศ.1954 โดย The International Committee on Weights and Measures สเกลของอุณหภูมิใหม่นี้จะก าหนดให้ b = 0 การปรับเทียบอุณหภูมิจะอาศัยแหล่งอุณหภูมิมาตรฐานปฐมภูมิ (Primary temperture standard) ซึ่งเป็นอุณหภูมิน้ า น้ าแข็ง และไอน้ า อยู่ในสภาวะสมดุลทางความร้อนเดียวกัน เรียกจุดนี้ว่า จุดร่วมสามของน้ า (Triple point of water) อุปกรณ์ที่ใช้เป็นแหล่งอุณหภูมิมาตรฐานนี้เรียกว่า “เซลล์ร่วมสาม (Triple-Point cell)”

Page 4: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

270

aP

h

P

ภาพที่ 10.1 เทอร์โมมเิตอร์ชนิดปริมาตรก๊าซคงที ่ที่มา (ปรับปรุงจาก Serway, 2008, หน้า 535)

P

CTo

o100o0o273.15-

ก๊าซ 1

ก๊าซ 2

ก๊าซ 3

ภาพที่ 10.2 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันกับอุณหภูมิเมื่อใช้ก๊าซชนิดต่าง ที่มา (ปรับปรุงจาก Serway, 2008, หน้า 535)

จุดร่วมสามของน้ าจะมีอุณหภูมิเท่ากับ และมีความดัน 4.58 mm.Hg อุณหภูมิจุดร่วมสามของน้ าตามสเกลใหม่จะเท่ากับ 273.16 K เรียกสเกลนี้ว่า “Thermodynamic temperature scale” หรือในหน่วย SI เรียกว่า “เคลวิน” ซึ่งก าหนดให้เท่ากับ 1/273.16 ของอุณหภูมิของจุดร่วมสามของน้ า

จากสมการ (10.2) เมื่อให้ b = 0 และสมมติว่า P3 เป็นความดันที่จุดร่วมสามของน้ า ซึ่งมี

อุณหภูมิ T3 = 273.16 K จะได้ a = P

273.16

3

)( ดังนั้นสามารถก าหนดอุณหภูมิในเทอมของ ความดัน

ของก๊าซส าหรับเทอร์โมมิเตอร์ชนิดปริมาตรก๊าซที่คงที่ ได้เป็น

Page 5: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

271

T = PP

K273.16

3 (10.3)

จากการน าเทอร์โมมิเตอร์ชนิดปริมาตรก๊าซคงที่ไปวัดอุณหภูมิจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของน้ าจะได้เท่ากับ 373.15 K และ 273.15 K ตามล าดับ และเรียกอุณหภูมิที่ -273.15 K ว่า ศูนย์องศาสัมบูรณ์ (Absolute Temperature) หรือศูนย์เคลวิน 10.4 สเกลอุณหภูมิ (Temperature scale)

เมื่อใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบปริมาตรก๊าซคงที่วัดอุณหภูมิจุดเยือกแข็งเท่ากับ Ti = 273.15 Kนั่นคือ จุดร่วมสามของน้ าจะสูงกว่าจุดเยือกแข็งเท่ากับ 0.01 K และผลต่างของอุณหภูมิที่จุดเดือดกับจุดเยือกแข็งเท่ากับ 100 K กล่าวคือต่างกันอยู่ 100 เช่นเดียวกับสเกลเซลเซียส ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสเกลเคลวินและสเกลเซลเซียส คือ T = Tc + 273.15 (10.4) เมื่อ T เป็นการวัดในสเกลเคลวิน และ Tc วัดในสเกลเซลเซียส

นอกจากนี้การวัดอุณหภูมิในหน่วยที่นิยมใช้ส าหรับประเทศอังกฤษและประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นทางการก็คือสเกลอุณหภูมิแบบฟาเรนไฮต์ (Fahrenheit temperature scale) ซึ่งสเกลแบบนี้จะก าหนดจุดเยือกแข็งและจุดเดือดของน้ าที่ความดันบรรยากาศไว้ที่ 32 และ 212 F ตามล าดับ จะเห็นว่าการแบ่งสเกลในช่วงดังกล่าวไว้เท่ากับ 180 ช่อง เมื่อเปรียบเทียบกับการวัดในหน่วยเซลเซียสแล้วจะได้อัตราส่วนเป็น 100/180 หรือ 5/9 ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างฟาเรนไฮต์และเซลเซียสเป็นดังนี้

Tc = )( 32T9

5F TF = 32T

5

9c (10.5)

Tc TF ฟาเรนไฮต์ (Thermal expansion)

ผลของอุณหภูมิต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของวัตถุในระดับมหาศาล ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงขนาดและการเปลี่ยนแปลงสถานะ ในหัวข้อนี้จะศึกษาถึงผลของอุณหภูมิต่อ การเปลี่ยนแปลงขนาดของวัตถุเท่าน้ัน

Page 6: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

272

10.5.1 การขยายตัวเชิงเส้น (Linear expansion)

พิจารณาแท่งวัตถุขนาดสม่ าเสมอที่อุณหภูมิ T0 ที่มีความยาวเริ่มต้นเป็น L0 เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปเป็น T ท าให้ความยาวของวัตถุเปลี่ยนไปเป็น L ถ้าอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป T = T – T0 มีค่าไม่มากจนเกินไปโดยมีค่าน้อยกว่า 100 C พบว่าระยะที่วัตถุขยายตัว L = L – L0 จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับ T ถ้ามีวัตถุชนิดเดียวกันอยู่สองแท่งโดยแท่งหนึ่งมีความยาวเป็นสองเท่าของอีกแท่งหนึ่ง เมื่ออุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงเท่ากัน จะพบว่าการเปลี่ยนแปลงของความยาวของแท่งวัตถุที่ยาวกว่าจะมากกว่าวัตถุแท่งสั้นเป็นสองเท่า จึงสรุปได้ว่า L จะเป็นสัดส่วนกับความยาวเริ่มต้น L0 สามารถจะเขียนสมการของการขยายตัวเชิงเส้นได้เป็น L = L0T ถ้า T 0 จะได้

dT

dL

L

1α (10.6)

เมื่อ คือสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวเชิงเส้น (Linear coefficient of thermal expansion) มีหน่วยเป็น K-1 หรือ (C)-1

10.5.2 การขยายตัวเชิงพื้นที่ (Area expansion)

พิจารณาวัตถุที่กว้าง L1 ยาว L2 มีพื้นที่เป็น A0 = L1L2 เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปเป็น T ท าให้พื้นที่เปลี่ยนไปเป็น A ดังนั้น A = A – A0 ถ้าก าหนดให้ เป็นค่าสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวเชิงพื้นที่ และในท านองเดียวกับ การขยายตัวเชิงเส้นเมื่อแต่ละด้านขยายตัวเท่ากัน จะได้

= ]dT

dLL

dT

dLL[

LL

1)LL(

dT

d

LL

1

dT

dA

A

1 1 2

21

21 21

21

= dT

dL

L

1

dT

dL

L

1 1

1

2

2

จากสมการ (10.6) จะได้

Page 7: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

273

= + = 2 (10.7)

10.5.3 การขยายตัวเชิงปริมาตร (Volume expansion)

สมมติว่ามีวัตถุภาพทรงลูกบาศก์ที่มีขนาด L1, L2 และ L3 ปริมาตรของวัตถุ คือ V = L1L2L3 ถ้าก าหนดให้ เป็นสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวเชิงปริมาตรจะได ้

= ][ 21 2

31 1

32321

LLdT

dLLL

dT

dLLL

LLL

1

dT

dV

V

1

= dT

dL

L

1

dT

dL

L

1

dT

dL

L

1 3

3

2

21

= + + = 3 (10.8) จะเห็นว่าค่าสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวเชิงพื้นที่และปริมาตรจะไม่ขึ้นกับภาพทรงทางเรขาคณิตของวัตถุและวัตถุแต่ละชนิดจะมีค่าสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวแตกต่างกันไป ดังตัวอย่างในตารางที่ 10.1 ตารางที่ 10.1 ค่าสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวเชิงเส้นและเชิงปริมาตรของวัตถุบางชนิด ที่อุณหภูม ิ20 C

สาร สัมประสิทธิ์ของการ

ขยายตัวเชิงเส้น ( 10-6)

สาร สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวเชิงปริมาตร ( 10-4)

อะลมูิเนียม 24 เอทิลแอลกอฮอล์ 1.12 ทองเหลือง 19 เบนซิน 1.24 ทองแดง 17 อะซิโตน 1.5

แก้ว 9 ไกลเซอรีน 4.8 แก้วไพเรก 3.2 ปรอท 1.82

ตะกั่ว 29 ยางสน 9.0 เหล็กกล้า 11 ก๊าซโซลีน 9.6

ที่มา (ปรับปรุงจาก Halliday, 2007, หน้า 588)

Page 8: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

274

ตัวอย่างที่ 10.1 แท่งทองแดงแท่งหนึ่งยาว 80 cm ที่ 15 C ถ้าให้ความร้อนกับแท่งทองแดงท าให้อุณหภูมิเพ่ิมขึ้นเป็น 35 C แท่งทองแดงจะมีความยาวเพิ่มขึ้นเท่าไร สัมประสิทธิ์การขยายตัวเชิงเส้นส าหรับทองแดงมีค่าเท่ากับ 1.7 10-5 C -1 วิธีท า L = L0T = [1.7 10-5](0.80)(35-15) = 2.7 10-4 m

10.5.4 การขยายตัวของน้ า (The expansion of waters)

โดยทั่วไปปริมาตรของของเหลวจะขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นและสัมประสิทธิ์ของ การขยายตัวเชิงปริมาตรเฉลี่ยจะมีค่ามากกว่าของแข็ง 10 เท่า แต่น้ าเป็นของเหลวที่ไม่เป็นไปตามกฎที่ว่านี้ ถ้าพิจารณาจากกราฟระหว่างความหนาแน่นและอุณหภูมิของน้ าดังภาพที่ 10.3 พบว่า ความหนาแน่นของน้ า จะเพิ่มขึ้นและมีค่ามากที่สุดที่ 4

C เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 4 C ความหนาแน่น

ของน้ าจะลดลง

0 2 4 6 8 10 12

0.9995

0.9996

0.9997

0.9998

0.9999

1.0000

3g/cmρ

อุณหภูมิ oC

ภาพที่ 10.3 การแปรผันของความหนาแน่นกับอุณหภูมิของน้ าที่ความดันบรรยากาศ ที่มา (ปรับปรุงจาก Halliday, 2007, หน้า 591) 10.6 การอธิบายก๊าซอุดมคติในระดับมหภาค (Macroscopic description of ideal gas)

ในหัวข้อนี้จะเกี่ยวข้องกับมวลของก๊าซที่บรรจุอยู่ในภาชนะปริมาตร V ที่ความดัน P และอุณหภูมิ T โดยจะศึกษาว่าปริมาณทั้งสาม มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ทั้งนี้เรียกสมการที่แสดงความสัมพันธ์ของปริมาณทั้งสามนี้ว่า “สมการของสถานะ (Equation of state)” ซึ่งมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างซับซ้อน แต่อย่างไรก็ตามถ้าความดันของก๊าซต่ ามาก ก๊าซจะมีความหนาแน่นน้อย

Page 9: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

275

สามารถหาสมการสถานะได้จากการทดลองและเขียนในภาพแบบง่ายๆ ได้ และเรียกก๊าซที่มีความหนาแน่นต่ าๆ ว่า “ก๊าซอุดมคติ (Ideal gas)” ทั้งนี้ก๊าซส่วนใหญ่ที่อุณหภูมิห้องและที่ความดันบรรยากาศจะมีพฤติกรรมที่พบประมาณได้ว่าใกล้เคียงกับก๊าซอุดมคติ

เพื่อความสะดวกในการแสดงจ านวนของก๊าซในปริมาตรที่ก าหนด จะเขียนในเทอมจ านวนโมเลกุล n ดังนี ้

M

mn (10.9)

เมื่อ m คือมวล และ M คือมวลโมลาร์ (Molar mass) ของก๊าซ ซึ่งมวลโมลาร์นิยมเขียนในภาพของ g/mole เช่น มวลโมลาร์ของออกซิเจน คือ 32 g/mole หมายความว่าออกซิเจนหนึ่งโมล เท่ากับ 32 g เป็นต้น

ก๊าซ

ภาพที่ 10.4 ก๊าซอุดมคติบรรจุในลูกสูบเพื่อให้ปริมาตรเปลี่ยนแปลง ที่มา (ปรับปรุงจาก Serway, 2008, หน้า 542)

พิจารณาก๊าซอุดมคติที่บรรจุไว้ในกระบอกสูบดังภาพที่ 10.4 เมื่อก๊าซไม่มีการรั่วเลย มวลของก๊าซจะคงที่ตลอดการเผาไหม้ พบว่า

(1) ถ้าให้อุณหภูมิของก๊าซคงที่ ความดันของก๊าซจะแปรผันกับปริมาตร ความสัมพันธ์นี้เรียกว่า กฎของบอล์ย (Boyle’s l aw)

(2) เมื่อให้ความดันของก๊าซคงที่ ปริมาตรของก๊าซจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิ เรียกความสัมพันธ์นี้ว่า กฎของชาร์ล และ เกรย์-ลุสเซค (The law of Charles and Gay-Lussec)

และจากผลการสังเกตทั้งสองข้อนี้ สามารถเขียนเป็นสมการสถานะส าหรับก๊าซอุดมคติได้ดังนี้ PV = nRT (10.10)

Page 10: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

276

และเรียกสมการ (10.10) ว่า กฎของก๊าซอุดมคติ (Ideal gas law) โดยที่ T เป็นอุณหภูมิสัมบูรณ์ และ R เป็นค่าคงที่สากลของก๊าซ (Universal gas constant) ในระบบ SI มีค่าเท่ากับ 8.31 J/(moleK) หรือเท่ากับ 0.0821 litteratm/(moleK) จากสมการ (10.10) สามารถหาปริมาตรของก๊าซ 1 mole ที่ความดันบรรยากาศและมีอุณหภูมิสูง 0 C ได้เท่ากับ 22.4 litters

กฎของก๊าซอุดมคติสามารถแสดงในเทอมของจ านวนโมเลกุลสุทธิ N เนื่องจาก N เท่ากับผลคูณของจ านวนโมล n กับเลขอะโวกาโดร (Avogadro’s number) จากสมการ (10.10) จะเขียนใหม่ได้เป็น

PV = nRT = AN

NRT= NKBT (10.11)

เมื่อ KB คือค่าคงที่ของโบลท์ซมาน (Boltzmann’s constant) ซึ่งมีค่าดังนี้

KB = AN

R= 1.38 10-23 J/K (10.12)

ตัวอย่างที ่10.2 ก๊าซอุดมคติปริมาตร 100 m3 ที่ 30 C และมีความดัน 100 Pa จะมีกี่ mole วิธีท า จาก

64

103.97)303)(8.31(

)101)(100(

RT

PVn

ตัวอย่างที่ 10.3 มวลออกซิเจนจ านวนหนึ่งมีปริมาตร 0.0200 m3 ที่ความดันบรรยากาศ 101 kPa และมีอุณหภูมิ 5.0 C จงหาปริมาตรของออกซิเจนจ านวนนี้ ถ้าความดันเปลี่ยนไปเป็น 108 kPa ในขณะที่อุณหภูมิเปลี่ยนไปเป็น 30 C วิธีท า จาก

2

22

1

11

T

VP

T

VP

เราจะได้ว่า

1

2

2

112 T

T

P

P V V

Page 11: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

277

แต ่T1 = 5 + 273 K และ T2 = 30 + 273 = 303 K ดังนั้น

V2 = 3m 0.0204 278

303

108

101(0.0200)

10.7 ความร้อนและพลังงานความร้อน (Heat and thermal energy)

พลังงานภายใน คือ พลังงานทั้งหมดของระบบในเมื่อระบบไม่มีการเคลื่อนที่ทั้งแบบเลื่อนต าแหน่งและหมุน ได้แก่ พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานเคมี และพลังงานที่เกิดจากความเครียด เช่น การอัด หรือยืดสปริง พลังงานความร้อน (Thermal energy) เป็นส่วนหนึ่งของพลังงานภายในที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของระบบ การส่งถ่ายพลังงานความร้อน (Thermal energy transfer) เป็นการส่งถ่ายพลังงานความร้อนที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม การส่งถ่ายพลังงานความร้อนนี้อาจท าให้พลังงานภายในของระบบเปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็ได้

ค าว่า ความร้อน (Heat) มักจะใช้เมื่อต้องการอธิบายการถ่ายเทพลังงานจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่ง นั่นคือ “การไหลของความร้อน (Heat flow)” เป็นการถ่ายเทพลังงานจากวัตถุที่มีอุณหภูมิต่างกัน ดังนั้นความร้อนจึงเป็นค าที่ใช้ในความหมายของพลังงานความร้อนและการส่งถ่ายพลังงานความร้อน หน่วยของปริมาณความร้อน (Q) ที่ใช้กันทั่วไปคือ แคลอรี (Calorie ; cal) ซึ่งเป็นปริมาณความร้อนที่ท าให้อุณหภูมิของน้ ามวล 1 g มีอุณหภูมิเพิ่มจาก 14.5

C ไปเป็น 15.5 C ดังนั้น

กิโลแคลอรี (Kilocalorie; Kcal) จะเป็นปริมาณความร้อนที่ท าให้น้ ามวล 1 kg มีอุณหภูมิเพิ่มจาก 14.5

C ไปเป็น 15.5 C (1 Kcal = 103 cal ) หน่วยของความร้อนในระบบวิศวกรรมของอังกฤษ

คือ บีทียู (British Thermal Unit ; BTU) ซึ่งหมายถึงปริมาณความร้อนที่ท าให้น้ า 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิเพิ่มจาก 63

F ไปเป็น 64 F เนื่องจากความร้อนเป็นพลังงาน จึงสามารถเขียนหน่วยในภาพแบบต่างๆ ได้ตามแต่สะดวก เช่น จูล อิเล็กตรอน - โวลต์ เอิร์ก หรือ ฟุต -ปอนด์ ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างแคลอรีและหน่วยของพลังงานกลที่ได้จากการทดลองของจูล (Joule) คือ 1 calorie = 4.186 J (10.13) ผลลัพธ์น้ีเรียกว่า สมมูลกลความร้อน (Mechanical equivalent of heat)

เมื่อมีแรงเสียดทานในระบบเชิงกล พลังงานบางส่วนสูญเสียไปในภาพของความร้อน ท าให้พลังงานในระบบเชิงกลนั้นไม่อนุรักษ์ จูลได้อธิบายความสมมูลระหว่างพลังงานกลและพลังงาน ความร้อนด้วยการทดลองต่อไปน้ี ชุดทดลองตามภาพที่ 10.5 ประกอบด้วยภาชนะที่เป็นฉนวนความร้อนใช้บรรจุน้ า งานที่ท ากับน้ าเกิดจากการหมุนใบพัดด้วยอัตราเร็วคงที่ โดยมีมวลถ่วงท าให้เกิดความร้อนจากแรงเสียดทาน ถ้าไม่มีพลังงานสูญเสียไปในผนังของภาชนะและส่วนที่เป็นเพลาหมุนแล้ว พลังงานศักย์ของมวลจะเท่ ากับงานที่ใบพัดท ากับน้ า ถ้ามวลถ่วงทั้งสองตกลงมาเป็นระยะ h พลังงานศักย์ทีสูญเสียไปจะเท่ากับ 2

Page 12: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

278

mgh ซึ่งพลังงานส่วนนี้จะท าให้น้ าร้อนขึ้น จากการทดลองพบว่าพลังงานกลนี้เป็นสัดส่วนโดยตรงกับมวลของน้ าและอุณหภูมิเพิ่มขึ้น โดยค่าคงที่ของสัดส่วนที่ทดลองได้เท่ากับ 4.18 J/(gC)

mm

นวนความร้อน

ภาพที่ 10.5 การทดลองความสมมูลระหว่างพลังงานกลและพลังงานความร้อน ที่มา (ปรับปรุงจาก Serway, 2008, หน้า 555) 10.8 ความจุความร้อนและความร้อนจ าเพาะ (Heat capacity and specific heat)

เมื่อสารได้รับความร้อนอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเสมอและถ้าได้รับปริมาณความร้อนมากพอจะมีผลท าให้สารเกิดการเปลี่ยนสถานะ (Phase) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจุความร้อนของสารแต่ละชนิดซึ่งไม่เท่ากัน

ความจุความร้อน (Heat capacity; C) เป็นปริมาณของพลังงานความร้อนที่ท าให้อุณหภูมิของสารใดๆ เพิ่มขึ้น 1

C ทั้งนี้สารแต่ละชนิดต้องการปริมาณพลังงานความร้อนไม่เท่ากัน เช่น ความร้อนที่ท าให้น้ า 1 g มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น1

C เท่ากับ 1 cal หรือในกรณีของคาร์บอนจะเท่ากับ 0.12 cal เป็นต้น ดังนั้นจากนิยามจึงกล่าวได้ว่าความจุความร้อนของน้ า 1 g คือ 1 cal/C และความจุความร้อนของคาร์บอน 1 g คือ 0.12 cal/C

จากนิยามของความจุความร้อน สามารถเขียนความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อน Q ที่ส่งถ่ายระหว่างระบบที่มีมวล m กับสิ่งแวดล้อม และอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป Tได้เป็น Q = CT (10.14)

ในเรื่องของความร้อน มีค าที่มักจะพบบ่อยๆ คือ แหล่งความร้อน (Heat reservoir) ซึ่งพิจารณาว่าเป็นระบบที่มีความจุความร้อนขนาดใหญ่ เช่น ทะเลสาบ อุณหภูมิของแหล่งก าเนิด ความร้อนจะสมมติว่าคงที่ตลอดกระบวนการ หมายความว่าแหล่งก าเนิดความร้อนสามารถ

Page 13: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

279

แลกเปลี่ยนความร้อนกับระบบอื่นๆ ได้โดยที่อุณหภูมิของมันเองไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

ความร้อนจ าเพาะ (Specific heat; C) เป็นปริมาณที่ใช้บ่อยที่สุดในทางปฏิบัติ ซึ่งนิยามว่าเป็นความจุความร้อนต่อหน่วยมวล ถ้าปริมาณความร้อน Q หน่วย ถูกถ่ายเทให้กับมวล m กิโลกรัม แล้วท าให้อุณหภูมิเปลี่ยนไป T ความจุความร้อนของสาร คือ

Tm

Qc

Δ (10.15)

จากสมการ (10.15) สามารถเขียนปริมาณความร้อน Q ที่ส่งถ่ายระหว่างสารมวล m กับสิ่งแวดล้อม แล้วท าให้อุณหภูมิเปลี่ยนไป T เป็น Q = mcT (10.16) ความจุความร้อนโมลาร์ (The molar heat capacity; C) ของสารใดๆ นิยามว่าเป็นความร้อนจ าเพาะต่อโมล จะได ้

n

C'C (10.17)

เมื่อจ านวนโมล n เท่ากับมวลหารด้วยน้ าหนักโมเลกุล (Molecular weight; M ) จึงเขียนความจุความร้อนโมลาร์ใหม่ได้เป็น

Mcm/M

mc

n

C'C (10.18)

ตัวอย่างที่ 10.4 จงหาความร้อนที่จ าเป็นในการท าให้น้ า 250 mL มีอุณหภูมิสูงขึ้นจาก 20.0 C เป็น 35.0 C วิธีท า Q = mcT = (250)(1.00)(15.0) = 3.75 103 cal = 15.7 kJ

ถ้าจ านวนโมลของระบบเป็นค่าเฉพาะ สามารถพิจารณาความจุความร้อนโมลาร์ว่ามีค่าคงที่ ดังนั้นพลังงานความร้อน Q จะแสดงได้ในภาพ

Page 14: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

280

Q = nCT (10.19)

เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น T และ Q จะเป็นบวกทั้งคู่ หมายความว่ามีความร้อนไหลเข้าสู่ระบบ ในทางกลับกันถ้าอุณหภูมิลดลง T และ Q จะเป็นลบทั้งคู่ ซึ่งในที่นี้มีความร้อนไหลออกจากระบบสู่สิ่งแวดล้อม

ความจุความร้อนของสารทุกชนิดจะขึ้นกับอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบๆ อาจคิดว่าความจุความร้อนมีค่าคงที่ และสามารถพิจารณาว่าความจุความร้อนจ าเพาะ c คงที่ได้ ตัวอย่างเช่น ความร้อนจ าเพาะของน้ าจะเปลี่ยนแปลงไปประมาณ 1 เปอร์เช็นต์ เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงในช่วง 0 ถึง 100C ที่ความดันบรรยากาศ

การวัดความร้อนจ าเพาะจะเป็นการหาค่าปริมาณความร้อนที่ท าให้อุณหภูมิของสารนั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งขึ้นกับเงื่อนไขในการวัดด้วย ในกรณีทั่วไปการวัดความร้อนจ าเพาะที่ความดันคงที่จะแตกต่างจากการวัดเมื่อให้ปริมาตรคงที่ ถ้าก าหนดให้ cP เป็นความร้อนจ าเพาะที่ความดันคงที่ และ cV เป็นความร้อนจ าเพาะที่ปริมาตรคงที่ ดังนั้นจึงนิยมแสดงค่าความร้อนจ าเพาะที่ความดันคงที่ตามตารางที่ 10.2 ตารางที่ 10.2 ความร้อนจ าเพาะและความจุความร้อนโมลาร์ของแข็งบางชนิดที่ 25 oC และความดันบรรยากาศ

สาร ความร้อนจ าเพาะ (Cal/gC) ความจุความร้อนโมลาร ์อะลูมินัม (Aluminum)

ทองแดง(Copper) ทอง(Gold) เหล็ก(Iron) ตะกั่ว(Lead) เงิน(Silver)

0.215 0.0924 0.0308 0.107 0.0305 0.056

5.80 5.86 6.07 5.89 6.31 6.06

ที่มา (ปรับปรุงจาก Halliday, 2007, หน้า 607) หมายเหตุ: เมื่อต้องการเปลี่ยนเป็นหน่วย (J/g.K) ต้องคูณด้วย 4.186

วิธีการวัดค่าความร้อนจ าเพาะของของแขง็และของเหลวอย่างง่ายๆ โดยใส่สารที่ต้องการวัดค่าความร้อนจ าเพาะลงในน้ าที่ทราบมวลและอุณหภูมิ จากนั้นทิ้งไว้จนกระทั่งอุณหภูมิปรับตัวจนสมดุล จึงวัดค่าอุณหภูมิอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้จะคิดว่าปริมาณของงานเชิงกลไม่เกิดขึ้นในกระบวนการ และจากกฎของการอนุรักษ์พลังงานจะได้ว่า ความร้อนของวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงต้องสูญเสียไปจะเท่ากับความร้อนที่น้ าได้รับเพิ่มขึ้น ดังนั้น mx เป็นมวลของสารที่ต้องการวัดค่าความร้อนจ าเพาะ ซึ่งสมมติให้เป็น cx และ Tx เป็นอุณหภูมิเริ่มต้นของสาร ในท านองเดียวกัน ถ้าให้ mw, cw และ Tw เป็นมวล ความร้อนจ าเพาะและอุณหภูมิเริ่มต้นของน้ าตามล าดับ ถ้า T เป็นอุณหภูมิเมื่อระบบอยู่ในสมดุล

Page 15: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

281

ความร้อน จากสมการ (10.15) พบว่า ความร้อนที่น้ าได้รับคือ mwcw(T - Tw) และความร้อนที่สารสูญเสียไปคือ mxcx(T – Tx) สมมติว่าระบบไม่มีการสูญเสียความร้อนเลย จากหลักการอนุรักษ์พลังงานจะได้

ความร้อนลด = ความร้อนเพิ่ม mwcw(T - Tw) = mxcx(T – Tx)

ดังนั้น

T)(Tm

)T(Tcmc

xx

wwwx

(10.20)

ตัวอย่างที่ 10.5 เมื่อให้ความร้อนปริมาณหนึ่งกับมวลอะลูมิเนียม (c = 0.21 cal/g. C) ก้อนหนึ่ง อุณหภูมิของมวลเพิ่มขึ้น 57 C สมมติว่าเมื่อให้ความร้อนปริมาณเท่ากันกับก้อนทองแดงซึ่งมีมวลเท่ากัน อุณหภูมิของก้อนทองแดงจะเพิ่มขึ้นเท่าไร c = 0.093 cal/gC ส าหรับทองแดง วิธีท า เนื่องจาก Q มีค่าเท่ากันทั้งสองกรณี เราจึงได้ว่า mcA1TA1 = mcCuTCu หรือ

TCu = C 101.3 (57)0.093

0.21 )T(

c

c 2A1

Cu

A1

10.9 ความร้อนแฝง (Latent heat)

สารต่าง ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเสมอเมื่อมีการถ่ายเทความร้อนระหว่างสารนั้นกับสิ่งแวดล้อม มีบางปรากฏการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงความร้อนไม่มีผลท าให้อุณหภูมิของสารเปลี่ยนแปลง ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้น เมื่อคุณลักษณะเฉพาะทางกายภาพของสารเปลี่ยนแปลงจากภาพหนึ่งไปเป็นอีกภาพหนึ่ง หรือเรียกว่า “การเปลี่ยนสถานะ (Phase change)” เช่น เปลี่ยนจากสถานะของแข็งไปเป็นของเหลว เปลี่ยนจากสถานะของเหลวไปเป็นก๊าซ และการเปลี่ยนโครงสร้างผลึกของของแข็ง การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมานี้ จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพลังงานภายใน และพลังงานที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนสถานะนี้เรียกว่า “ความร้อนของการแปลงภาพ (Heat of transformation)”

พิจารณาตัวอย่างของความร้อนที่ใช้ท าให้ก้อนน้ าแข็งอุณหภูมิ -30 oC กลายเป็นไอน้ าอุณหภูมิ 100 oC เริ่มแรกความร้อนที่ส่งถ่ายไปในก้อนน้ าแข็งจะท าให้มันกลายเป็นน้ าแข็งที่อุณหภูมิ

Page 16: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

282

0 oC นั่นคือ ในช่วงแรกนี้สถานะของน้ าแข็งยังคงเดิม จนกระทั่งได้รับความร้อนเพิ่มขึ้น น้ าแข็งจะเริ่มละลายกลายเป็นน้ า ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งไปเป็นของเหลว แต่ช่วงแรกของการเปลี่ยนสถานะนี้ ยังคงเป็นน้ าที่ 0 oC ต่อเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง 100 oC ซึ่งเป็นจุดเดือดของน้ า เมื่อน้ าเดือดได้รับความร้อนจะยังคงมีอุณหภูมิ 100 oC แต่จะเปลี่ยนไปเป็นไอน้ าซึ่งเป็นสถานะก๊าซ ความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารบริสุทธิ์มวล m ก าหนดเป็น Q = mL (10.21) เมื่อ L เป็นความร้อนแฝงของสาร และขึ้นกับธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

- ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ (Latent heat of vaporization; Lv) เป็นปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนแปลงสถานะของสารจากของเหลวให้กลายเป็นสถานะก๊าซ โดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง

- ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว (Latent heat of fusion; Lv) เป็นปริมาณความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งไปเป็นของเหลว โดยไม่ท าให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ตารางที่ 10.3 ความร้อนแฝงของสารบางชนิด

สาร จุดหลอมเหลว

(oC)

ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว

(Cal/g)

จุดเดือด (oC)

ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ

(Cal/g) ฮีเลียม -269.65 1.25 -268.93 4.99

ไนโตรเจน -209.97 6.09 -195.81 48.00 ออกซิเจน -218.79 3.30 -182.97 50.90

น้ า 0.00 79.70 100.00 540 เงิน 660 21.50 2450 2720 ทอง 1063 15.40 2660 377

ทองแดง 1083 32 1187 1210

ที่มา (ปรับปรุงจาก Halliday, 2007, p. 610) ตัวอย่างที ่10.6 จุดเดือดและความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอของฮีเลียมเหลวคือ 4.2 K และ 4.99 Cal/g ตามล าดับถ้าให้ความร้อนฮีเลียมเหลวด้วยเตาไฟฟ้าที่มีก าลังคงที่ 10 W จะใช้เวลาเท่าไรจึงจะท าให้ฮีเลียมเหลวมวล 1 kg เดือด

Page 17: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

283

วิธีท า Lv = 4.99 Cal/g แสดงว่า ฮีเลียมเหลว 1 kg จะต้อใช้พลังงานความร้อน 4.99 x 103 Cal เพื่อท าให้ฮีเลียมเหลวเดือด หรือคิดเป็นพลังงานกลได ้ 4.99 x 103 Cal = (4.99 x 103)(4.186) = 2.09 104 J

แหล่งจ่ายความร้อนมีก าลัง 10 W = 10 J/s ดังนั้น ในเวลา 1 s จะมีพลังงาน 10 J ส่งถ่ายให้กับฮีเลียม เพราะฉะนั้น เวลาที่ใช้ในการส่งถ่ายพลังงาน 2.09 x 104 J ให้กับฮีเลียมคือ

s 102.0910

102.09t 3

4

10.10 การถ่ายเทความร้อน (Heat transfer)

ในทางปฏิบัติมีความจ าเป็นที่ควรท าความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราการถ่ายเทความร้อนระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม และกลไกที่ตอบสนองต่อการถ่ายเทความร้อน ถ้ าต้องการท าให้อุณหภูมิในภาชนะใดๆ เพิ่มขึ้น สิ่งที่ต้องท าก็คือ ให้ความร้อนกับภาชนะนั้นๆ เช่น น าภาชนะไปตั้งบนเตาไฟ ตัวอย่างเช่น การต้มน้ าจะมีการถ่ายเทพลังงานให้กับน้ า จึงท าให้อุณหภูมิของน้ าแตกต่างจากสิ่งแวดล้อม ที่กล่าวมานี้เป็นแนวทางพื้นฐานของค าว่า ความร้อน (Heat) ซึ่งนิยามได้ว่า ความร้อน คือ พลังงานที่ส่งถ่ายระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อมเนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิ

2T

1 T

A

x

1 2 TT

ความร้อน หลจาก

ภาพที่ 10.6 การส่งถ่ายความร้อนโดยการน า ที่มา (ปรับปรุงจาก Serway, 2008, หน้า 572)

10.10.1 การน าความร้อน (Heat conduction)

ในกระบวนการนี้ ความร้อนจะถูกส่งถ่ายระหว่างระบบสองระบบโดยผ่านตัวกลางที่เชื่อมระหว่างระบบ ตัวกลางที่กล่าวนี้อาจเป็นวัตถุเกร็งหรือของเหลวที่ไม่มีการไหล ในภาพที่ 10.6 ใช้แท่งวัตถุเกร็งขนาดสม่ าเสมอเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างระบบที่มีอุณหภูมิต่างกัน ก าหนดให้อุณหภูมิ T2

Page 18: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

284

มากกว่า T1 ระบบในลักษณะนี้จะเกิดการถ่ายเทความร้อนผ่านตัวกลางจากต าแหน่งที่มีอุณหภูมิสูงไปยังต าแหน่งที่มีอุณหภูมิต่ า จากการทดลองพบว่า หลังจากสภาวะคงตัว ถ้า T2 และ T1 ไม่แตกต่างกันมากนัก อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงแบบเชิงเส้นตามความยาวของแท่งวัตถุ ในกรณีที่การไหลของ ความร้อนในแท่งวัตถุอยู่ในสภาวะคงตัว ความร้อน Q ที่ผ่านพื้นที่หน้าตัดของแท่งวัตถุในช่วงเวลา t ใด ๆ จะมีค่าเหมือนกันหมดตลอดทั้งแท่งวัตถุ ซึ่งภายใต้เงื่อนไขสถานะคงตัวพลังงานจะถูกส่งผ่านตัวกลางโดยไม่มีส่วนใดของตัวกลางมีพลังงานเพิ่มขึ้นหรือสูญเสียไป ถ้าก าหนดให้กระแสความร้อน (Heat current ; H) เป็นความร้อนที่ไหลผ่านพื้นที่หน้าตัดต่อหน่วยเลาหรือเรียกว่า อัตรา การเปลี่ยนแปลงปริมาณความร้อน จะได้

t

QH

ถ้ากระแสความร้อนคงตัว อัตราส่วน t

Q ที่ทุก ๆ ต าแหน่งของตัวกลางจะมีค่าเหมือนกัน จาก

การทดลองพบว่า กระแสความร้อนที่คงตัวในแท่งวัตถุตัวกลางจะมีความสัมพันธ์ดังนี้ 1) เป็นสัดส่วนโดยตรงกับผลต่างอุณหภูมิ T = T2 – T1 2) เป็นสัดส่วนโดยตรงกับพื้นที่หน้าตัด A 3) เป็นสัดส่วนผกผันกับระยะทาง 4) ขึ้นอยู่กับชนิดของสาร

สามารถสรุปได้ว่าในชว่งเวลาสั้นๆ T อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณความร้อน Q ในช่วง x คือ

x

TKA

t

QH

Δ

Δ

Δ

Δ (10.22)

เมื่อ K เป็นสัมประสิทธิ์ของการน าความร้อน (Thermal conductivity) เครื่องหมายลบแสดงว่า ความร้อนจะไหลจากอุณหภูมิสูงไปยังอุณหภูมิต่ า ค่าคงที่ K จะขึ้นกับชนิดของสาร แต่ไม่ขึ้นกับขนาดและภาพร่างของวัตถุ และสารแต่ละชนิดจะมีค่าความน าความร้อนแตกต่างกันดังตัวอย่างในตารางที่ 10.4 ในระบบ SI ค่า K มีหน่วยเป็น W/(m.K) จากสมการ (10.13) ถ้า x มีค่าน้อยๆ แล้วจะได้

dx

dTKA

dt

dQH (10.23)

dT/dx เรียกว่า เกรเดียนท์ของอุณหภูมิ (Temperature gradient) ตารางที่ 10.4 แสดงค่าความน าความร้อนของสารบางชนิดที่ 25 oC

Page 19: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

285

สาร ค่าความน าความร้อน K

[W/m C)] ทองแดง 397 ตะกั่ว 34.7 อากาศ 0.0234 ฮีเลียม 0.138

ที่มา (ปรับปรุงจาก Halliday, 2007, หน้า 625)

ความร้อน

นวน1 2 TT

1 T2 T

L

ภาพที่ 10.7 การน าความร้อนผ่านแท่งวัตถุสม่ าเสมอ ที่มา (ปรับปรุงจาก Serway, 2008, หน้า 573)

ถ้าสารที่เป็นฉนวนที่มีภาพร่างเป็นแท่งขนาดสม่ าเสมอยาว L ดังภาพที่ 10.7 น าไปเชื่อม

ระหว่างแหล่งความร้อนที่อุณหภูมิ T1 และ T2 โดยให้ T2 มากกว่า T1 เมื่อระบบก าลังเข้าสู่สถานะ คงตัว อุณหภูมิที่แต่ละจุดบนแท่งวัตถุจะคงที่ ในกรณีนี้ เกรเดียนท์ของอุณหภูมิจะมีค่าเหมือนกันและ

หาได้จาก L

TT

dx

dT 12 ดังนั้นการส่งถ่ายความร้อนในช่วงเวลา T คือ

L

)TKA(T

t

Q 12 Δ

Δ (10.24)

ถ้าแผ่นวัตถุหนา L1, L2, … และแต่ละแผ่นมีค่าความน าความร้อนเป็น K1, K2, … โดยที่ทุกแผ่นมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากันเป็น A เมื่อน ามาประกบกัน อัตราการถ่ายเทความร้อนผ่านทุก ๆ แผ่นที่สถานะ คงตัวหาได้จาก

)( ii

i

12

/KL

)TA(T

t

Q

ΣΔ

Δ (10.25)

Page 20: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

286

ตัวอย่างที่ 10.7 แผ่นเหล็กหนา 2 cm มีพื้นที่ตัดขวางขนาด 5000 cm2 หน้าด้านหนึ่งของแผ่นเหล็กอยู่ที่อุณหภูมิ 150 C และอีกด้านหนึ่งอยู่ที่อุณหภูมิ 140 C จงหาความร้อนที่ผ่านแผ่นเหล็กในแต่ละวินาที ส าหรับเหล็ก kT = 80 W/mK วิธีท า

kJ/s 20 0.02

10(80)(0.50)

L

TAk

t

QT

10.10.2 การพาและการแผ่รังสีความร้อน (Conduction and radiation)

นอกจากการน าความร้อนแล้ว กระบวนการถ่ายเทความร้อนที่ส าคัญอีกสองกระบวนการได้แก่ การพาความร้อนและการแผ่รังสี การพาความร้อนเป็นกระบวนการถ่ายเทความร้อนที่เป็นผลมาจากมวลสารได้รับความร้อนแล้วมีการเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น ระบบท าน้ าร้อนและอากาศร้อน น้ าหรืออากาศที่ถูกบังคับให้เคลื่อนที่ด้วยปั๊มหรือพัดลม ซึ่งลักษณะเช่นนี้ เป็นการพาความร้อนด้วยแรงบังคับ แต่ในธรรมชาติการพาความร้อนเกิดจากความแตกต่างของความหนาแน่นของมวลสารในบริเวณที่ร้อนกับเย็น เช่น ของไหลที่ร้อนจะมีความแน่นน้อยกว่าของไหลที่เย็นกว่า การพาความร้อนเป็นกลไกในการผสมผสานมวลอากาศร้อนและอากาศเย็นในบรรยากาศเข้าด้วยกันจึงเป็นกุญแจส าคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

กลไกอันที่สามของกระบวนการถ่ายเทความร้อนได้แก่ การแผ่รังสี วัตถุทุกชนิดจะแผ่รังสีในภาพของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น เหล็กที่ถูกเผา หรือไส้ของหลอดไฟฟ้า อัตราการแผ่รังสีของวัตถุเป็นสัดส่วนโดยตรงกับก าลังสี่ของอุณหภูมิสัมบูรณ์ ตามกฎของสเตฟาน (Stefan’s law) P = AeT4 (10.26) เมื่อ P เป็นก าลังในการแผ่รังสีของวัตถุ มีหน่วยเป็น W หรือ J/s เป็นค่าคงที่สากลเท่ากับ W/m² A เป็นพ้ืนที่ผิวของวัตถุ มีหน่วยเป็น m² e เป็นค่าคงที่ของการแผ่รังสี (Emissivity) มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 ทั้งนี้ขึ้นกับสมบัติของพ้ืนผิว T เป็นอุณหภูมิสัมบูรณ์

ขวดเทอร์มอส (Thermos bottle) ขวดเทอร์มอสเป็นภาชนะที่ออกแบบมาให้มีการสูญเสียความร้อนโดยการถ่ายเทความร้อน

น้อยที่สุด เพื่อใช้เก็บของเหลวที่ร้อนหรือเย็นมากๆ เป็นเวลานานๆ เช่นน้ าร้อน หรือไนโตรเจนเหลว โครงสร้างมาตรฐานของขวดเทอร์มอส ประกอบด้วยขวดแก้วไพเร็กซ์ที่มีผนังสองชั้น ช่องว่างระหว่าง

Page 21: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

287

ผนังเป็นสุญญากาศเอป้องกันการถ่ายเทความร้อนโดยการน าและการพาความร้อน ผิวด้านในของผนังทั้งสองขวดแก้วฉาบด้วยเงินเพื่อป้องกันการแผ่รังส ี

สุ ากาศ าบด้วยเงิน

ผิวด้านใน

น้ าร้อนหรือน้ าเย น

ภาพที่ 10.8 โครงสร้างของขวดเทอร์มอส ที่มา (ปรับปรุงจาก Halliday, 2007, หน้า 629) 10.11 งานและความร้อนในกระบวนการอุณหพลศาสตร์ (Work and heat thermodynamic processes)

การศึกษาอุณหพลศาสตร์ในระดับมหภาคจะอาศัยตัวแปรคือ ความดัน ปริมาตร อุณหภูมิ และพลังงานภายใน ส าหรับอธิบายระบบ จ านวนของตัวแปรมหภาคที่กล่าวมานี้จะขึ้นกับธรรมชาติของระบบในเอกพันธ์ เช่น ก๊าซเดี่ยวที่บรรจุในภาชนะหนึ่งจะต้องการตัวแปรเพียงสองตัว เช่น ความดันและปริมาตร ส าหรับอธิบายพฤติกรรมของระบบ

พิจารณาระบบอุณหพลศาสตร์ เช่น ก๊าซที่บรรจุในกระบอกสูบดังภาพที่ 10.9 (ก) ในสภาวะสมดุล ก าหนดว่าก๊าซที่บรรจุอยู่ภายในมีปริมาตรเป็น V และความดันจากภายนอกที่กระท ากับผนังกับลูกสูบของกระบอกสูบเท่ากับ P ถ้า A เป็นพื้นที่หน้าตัดของลูกสูบ แรงที่ก๊าซกระท ากับลูกสูบคือ F = PA คราวนี้สมมติว่าก๊าซมีการขยายตัวอย่างช้าๆ จนประมาณได้ว่า ระบบยังคงอยู่ในสภาวะสมดุลตลอดเวลา (Quasi-statically) ขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นไปเป็นระยะทาง Y งานที่ก๊าซกระท ากับลูกสูบคือ dW = Fdy = PAdy เนื่องจาก Ady = dV เป็นปริมาตรของก๊าซในกระบอกสูบที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นสามารถเขียนงานได้ใหม่เป็น dW = PdV (10.27)

Page 22: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

288

ถ้าก๊าซขยายตัวตามภาพที่ 10.9 (ข) แล้ว dV จะเป็นบวกและงานที่ท าโดยก๊าซจะเป็นบวกด้วย และถ้าก๊าซถูกอัดจะท าให้ dV เป็นลบ งานที่กระท าโดยก๊าซก็จะเป็นลบด้วย ในกรณีที่งานเป็นลบหมายความว่ามีงานกระท าให้กับระบบ ถ้างานที่กระท าโดยระบบเป็นศูนย์แล้ว ปริมาตรของระบบจะคงที่ และงานสุทธิที่กระท าโดยก๊าซจะท าให้ปริมาตรเปลี่ยนจาก Vi เป็น Vf คือ

PdVWf

i

V

V (10.28)

P V

A

dyV

A

dy

(ก) (ข)

ภาพที่ 10.9 ก๊าซที่บรรจุอยู่ในกระบอกสูบทรงกระบอกที่ความดัน P เมื่อเกิดงานท าให้ลูกสูบเลื่อนต าแหน่งเป็นผลให้ปริมาตรของกระบอกสูบเปลี่ยนไป

ที่มา (ปรับปรุงจาก Halliday, 2007, หน้า 614)

ในกรณีทั่ ว ไปความดันจะไม่คงที่ แต่ขึ้ นกั บปริมาตรและอุณหภูมิ ถ้ า เราทราบ การเปลี่ยนแปลงความดันและอุณหภูมิในแต่ละขั้นตอนในกระบวนการ จะสามารถแสดงสถานะของก๊าซได้ในภาพแผนภูมิ PV ดังภาพที่ 10.10 “งานที่ท าโดยก๊าซในการขยายตัวจากสถานะเริ่มต้นไปยังสถานะสุดท้ายจะเท่ากับพื้นที่ใต้กราฟของแผนภูม ิPV”

จากภาพที่ 10.11 จะเห็นว่างานที่ท าให้ก๊าซขยายตัวจากสถานะ i ไปยังสถานะ f ขึ้นกับเส้นทางเฉพาะระหว่างสองสถานะ กระบวนการตามภาพที่ 10.11 (ก) ความดันของก๊าซลดลงจาก Pi ไปเป็น Pf โดยท าให้ก๊าซดังกล่าวเย็นลงที่ปริมาตรคงที่ Vi และต่อจากนั้นปริมาตรของก๊าซเปลี่ยนจาก Viไปเป็น Vf ด้วยความดันคงที ่Pf งานที่ท าตามเส้นทางนี้คือ Pf(Vf - Vi) ตามภาพที่ 10.11 (ข) ครั้งแรกก๊าซขยายตัวจาก Vi ไปเป็น Vf ที่ความดันคงที่ Pi และเมื่อความดันลดลงเป็น Pf ที่ปริมาตรคงที่ Vf งานที่ท าตามเส้นทางนี้คือ Pi(Vf - Vi)

Page 23: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

289

งานตามภาพที่ 10.11 (ข) จะมีค่ามากกว่างานตามภาพที่ 10.11 (ก)

ส าหรับกระบวนการตามภาพที่ 10.11 (ค) ทั้ง P และ V จะเปลี่ยนแปลงพร้อมกันไปอย่างต่อเนื่อง การหางานที่ท าจะต้องทราบภาพร่างของกราฟ PV

P

iP

fP

iVfV

V

i

f

งาน=พ้ืนที่ใต้กรา

ภาพที่ 10.10 การขยายตัวของก๊าซจากสถานะ i ไปสถานะ f งานที่ท าโดยก๊าซเท่ากับพื้นทีใ่ต้กราฟ ที่มา (ปรับปรุงจาก Halliday, 2007, หน้า 615)

iP

fP

fViV

P

V

f

iP

fP

fViV

P

V

f

i

iP

fP

fViV

P

V

f

i

(ก) (ข) (ค)

ภาพที่ 10.11 ขณะที่ก๊าซเปลี่ยนจากสถานะเริ่มต้นไปสู่สถานะสุดท้ายงานที่ท าจะขึ้นกับเส้นทางระหว่างสถานะทั้งสอง

ที่มา (ปรับปรุงจาก Serway, 2008, หน้า 565) 10.12 กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ (The first law of thermodynamics)

กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์เป็นกฎทั่วไปของการอนุรักษ์พลังงานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนพลังงานภายใน กฎนี้เป็นสากลสามารถใช้ได้กับกระบวนการทุกชนิดในธรรมชาติที่ด าเนินการอยู่ระหว่างสถานะสมดุล 2 สถานะ กฎข้อนี้กล่าวว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายในระบบ พลังงานจะต้องมีค่าคงที ่

สมมติว่าระบบมีการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะเริ่มต้น i ไปยังสภาวะสุดท้าย f โดยระบบได้รับความร้อนในปริมาณ Q หน่วย และระบบท างานเป็น W ตัวอย่างเช่น ระบบหนึ่งเป็นก๊าซมี การ

Page 24: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

290

เปลี่ยนแปลงของความดันและปริมาตรจาก Pi ,Vi ไปเป็น Pf ,Vf โดยปริมาณ Q – W จะเท่ากับการเปลี่ยนแปลงพลังงานภายในของระบบ ∆U นั่นคือ ∆U = Q - W (10.29) สมการ (10.29) เรียกว่า “กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร”์

เพื่อความสะดวกจะก าหนดว่า Q เป็นบวก ถ้าระบบได้รับความร้อนและเป็นลบถ้าระบบคายความร้อน และในท านองเดียวกัน ถ้างาน W เป็นบวกถ้าระบบท างานให้กับสิ่งแวดล้อมและเป็นลบถ้าสิ่งแวดล้อมท างานให้กับระบบ

ถ้าระบบมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (Infinitesimal change) หมายความว่า ปริมาณความร้อนเพียงเล็กน้อย dQ ท าให้เกิดการท างานเพียงเล็กน้อย dW พลังงานภายในจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น dU ดังนั้น ∆U = dQ - dW (10.30) 10.13 การประยุกต์กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์บางประการ (Some applications of the first of thermodynamics)

ในหัวข้อนี้จะเป็นการประยุกต์กฎข้อที่หนึ่ งของอุณหพลศาสตร์กับ กระบวนการ อุณหพลศาสตร์ที่มีเงื่อนไขต่างๆ

10.13.1 กระบวนการความร้อนคงที่ (Adiabatic process) เป็นกระบวนการที่ไม่มีความร้อนไหลเข้าหรือไหลออกจากระบบ ดังนั้น Q = 0 จาก

กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์จะได ้ ∆U = - W (10.31)

ในทางปฏิบัติ กระบวนการความร้อนคงที่ท าให้เกิดได้ด้วยการหุ้มระบบด้วยฉนวน ความร้อนหรือเกิดขึ้นกระบวนการที่มีการด าเนินการอย่างรวดเร็วมากจนถือว่าไม่มีการถ่ายเท ความร้อน จากสมการ (10.31) ถ้าก๊าซขยายตัวโดยให้ความร้อนที่จะได้งาน W เป็นบวก และ ∆U เป็นลบแสดงว่าพลังงานภายในลดลง ผลลัพธ์คือก๊าซจะเย็นตัวลง ในทางตรงกันข้าม ถ้าก๊าซถูกอัดโดยให้ความร้อนคงที่ จะท าให้งาน W เป็นลบ และ ∆U เป็นบวก

กระบวนการความร้อนคงที่มีความส าคัญมากในทางวิศวกรรม ตัวอย่างกระบวนนี้ที่พบโดยทั่วไปได้แก่ การขยายตัวของก๊าซร้อนในเครื่องยนต์สันดาปภายใน การไหลเวียนของก๊าซในเครื่องท าความเย็น เป็นต้น

Page 25: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

291

10.13.2 กระบวนการความดันคงที่ (Isobaric process)

เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อความดันของระบบมีค่าคงที่ เช่น การต้มน้ าให้เดือดเป็นไอที่ความดันสม่ าเสมอ ในกระบวนการนี้การถ่ายเทความร้อนและการท างานจะไม่เป็นศูนย์ โดยงานที่ท าจะเท่ากับผลคูณของความดันกับปริมาตรที่เปลี่ยนไป หรือ P(Vf – Vi)

10.13.3 กระบวนการปริมาตรคงที่ (Isovolumetric process)

เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น โดยปริมาตรของระบบมีค่าคงที่ ในกระบวนการนี้จะไม่มี การท างาน ดังนั้นจากกฎข้อหนึ่งทางอุณหพลศาสตร์จะได ้ ∆U = Q (10.32)

เพราะว่า ถ้าระบบได้รับความร้อนเพิ่มขึ้นแต่ปริมาตรของระบบยังคงที่ ความร้อนทั้งหมดที่ระบบได้รับจะท าให้พลังงานภายในระบบเพิ่มขึ้น ตัวอย่างของกระบวนการนี้ได้แก่ การผสมของอากาศกับไอของก๊าซโซลีนในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ขณะเริ่มจุดระเบิด อุณหภูมิและความดันจะเพิ่มขึ้นอย่างทันทีทันใด แต่ในชั่วขณะเวลานั้นปริมาตรของกระบอกสูบยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง

10.13.4 กระบวนการอุณหภูมิคงที่ (Isothermal process)

เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิคงที่ ถ้าเขียนกราฟระหว่างความดันกับปริมาตรของก๊าซอุดมคติ จะได้กราฟที่มีภาพร่างเป็นไฮเปอร์โบลาที่เรียกว่า เส้นอุณหภูมิคงที่ (Isotherm) ในระหว่างการเกิดกระบวนการอุณหภูมิคงที่พลังงานภายในของระบบจะเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นผลมาจากการถ่ายเทความร้อนและมีการท างานเกิดขึ้น ตัวอย่างของกระบวนการนี้ได้แก่ การหลอมละลายของน้ าแข็งเมื่อได้รับความร้อนหรือการเดือดของน้ ากลายเป็นไอ

พิจารณาก๊าซอุดมคติที่ขยายตัวภายใต้อุณหภูมิคงที่ ตามกราฟในภาพที่ 10.12 ซึ่งเป็นกราฟไฮเปอร์โบลาที่สอดคล้องกับสมการ PV = ค่าคงที่ ให้ค านวณหางานที่กระท าโดยการขยายตัวของก๊าซจากสถานะ i ไปยังสถานะ f

การขยายตัวของก๊าซเมื่ออุณหภูมิคงที่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบรรจุก๊าซในภาชนะที่มีสัมผัสความร้อนที่ดีกับแหล่งความร้อน งานที่ท าโดยก๊าซหาได้จากสมการ (10.28) เนื่องจากเป็นก๊าซอุดมคติและกระบวนการเป็นเข้าใกล้สภาวะสมดุลมากที่สุดอย่างช้าๆ (quasi-static) จึงสามารถใช้ PV = nRT ส าหรับทุกๆ จุดบนเส้นทาง ดังนั้น

W = PdVf

i

V

V =

V

dVnRT

f

i

V

V (10.33)

Page 26: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

292

=

i

f

V

VnRTln

งานที่ได้เท่ากับพื้นที่ใต้กราฟระหว่างความดันกับปริมาตร ถ้าก๊าซขยายตัวโดยอุณหภูมิคงที่

แล้ว Vf > Vi พบว่างานมีค่าเป็นบวกตามที่คาดหมายไว้ ถ้าก๊าซถูกอัดโดยอุณหภูมิคงที่แล้ว Vf < Vi จะได้งานมีค่าเป็นลบ

iP

fP

fViV

P

V

f

i

W

PV คงที่อุณหภูมิคงที่

ภาพที่ 10.12 แผนภาพ PV ส าหรับก๊าซที่ขยายตัวโดยมีอุณหภูมิคงที่ ที่มา (ปรับปรุงจาก Serway, 2008, หน้า 569) ตัวอย่างที่ 10.8 จงค านวณหางานที่ท าโดยก๊าซอุดมคติจ านวน 1 mole ที่อุณหภูมิ 0 oC แล้วขยายตัวจากปริมาตร 3 liters ไปเป็น 10 liter วิธีท า จากสมการ (10.33) จะได้

W =

i

f

V

VnRTln

= (1)(8.31)(273)ln(10/3) = 2.73 103 J

“การเดือด (The boiling)” เป็นตัวอย่างหนี่งของกระบวนการอุณหภูมิคงที่ เมื่อของเหลวมวล m กลายเป็นไอที่ความดันคงที่ P ถ้า VL เป็นปริมาตรในสถานะที่เป็นของเหลว และ VV เป็นปริมาตรเมื่อมีสถานะเป็นไอ สามารถหางานที่ท าในขณะระบบมีการขยายตัวและเปลี่ยนแปลงพลังงานภายในได้โดยพิจารณาดังนี ้

การขยายตัวเกิดขึ้นที่ความดันคงที่ งานที่ท าโดยระบบคือ

)V(V PdVPPdVW LV

V

V

V

V

V

L

V

L

Page 27: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

293

ความร้อนที่ใช้เปลี่ยนให้ของเหลวกลายเป็นไอจนหมดคือ Q = mLV เมื่อ LV เป็นความร้อนจ าเพาะของการกลายเป็นไอของของเหลว จากกฎข้อหนึ่งทางอุณหพลศาสตร์และผลลัพธ์ข้างบน จะได้ U = Q – W = mLv – P(Vv - VL) (10.34) ตัวอย่างที่ 10.9 ในกระบวนการหนึ่ง ระบบได้รับความร้อนเข้า 8.00 kcal ที่ขณะที่ระบบท างาน 6.00 kJ ในระหว่างกระบวนการนี้พลังงานภายในของระบบเปลี่ยนไปเท่าไร วิธีท า เรามี Q = (8000)(4.184) = 33.5 kJ และ W = 6.00 kJ ดังนั้น จากกฎข้อที่หนึ่ง Q = U + W U = Q - W = 33.5 – 6.00 = 27.5 kJ ตัวอย่างที่ 10.10 ความร้อนจ าเพาะของน้ ามีค่า 4184 J/kgK พลังงานภายในของน้ า 50 g เปลี่ยนไปกี่จูลเมื่อน้ ามีอุณหภูมิสูงขึ้นจาก 21 C เป็น 37 C วิธีท า ความร้อนที่ใส่เข้าไปเพื่อท าให้น้ าร้อนขึ้นคือ Q = cmT = (4184)(0.05)(16) = 3.4 103 J

ถ้าเราไม่ค านึงถึงการขยายตัวเล็กน้อยของน้ า งานที่ท าต่อสิ่งแวดล้อมมีค่าเท่ากับศูนย์ และดังนั้น W = 0 แล้วกฎข้อที่หนึ่ง Q = U + W บอกเราว่า U = Q = 3.4 kJ

Page 28: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

294

สรุป

ความสัมพันธ์ระหว่างสเกลเคลวินและสเกลเซลเซียส T = Tc + 273.15 ความสัมพันธ์ระหว่างฟาเรนไฮต์และเซลเซียส

Page 29: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

295

Tc = )( 32T9

5F

สมการของการขยายตัวเชิงเส้น L = L0T สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวเชิงเส้น

dT

dL

L

สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวเชิงพื้นที ่ = 2 สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวเชิงปริมาตร = 3 สมการสถานะส าหรับก๊าซอุดมคต ิ PV = nRT PV = NKBT เมื่อ KB = 1.38 10-23 J/K ปริมาณความร้อน Q = mcT Q = nCT Q = mL อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณความร้อน

dx

dTKA

dt

dQH

การส่งถ่ายความร้อน

L

)TKA(T

t

Q 12 Δ

Δ

Page 30: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

296

กฎของสเตฟาน P = AeT4 งาน dW = Fdy = PAdy = PdV กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร ์ ∆U = Q – W กระบวนการความร้อนคงที่ ∆U = - W กระบวนการความดันคงที่ W = P(Vf – Vi) กระบวนการปริมาตรคงที่ ∆U = Q กระบวนการอุณหภูมิคงที่

W =

i

f

V

VnRTln

แบบฝึกหัด

1. 59 ตอบ 15 C และ 288.15 K 2. แท่งเหล็กกล้ายาว 30 m ที่อุณหภูมิ 0

C อุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 40 C ความยาวของแท่งเหล็กจะ

เพิ่มขึ้นเท่าไร ถ้าสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวเชิงเส้นของเหล็กเท่ากับ 11 10-6 (C)-1

Page 31: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

297

ตอบ 0.013 m 3. บรรจุก๊าซฮีเลียมบริสุทธิ์ในกระบอกสูบ ถ้าเริ่มต้นกระบอกสูบมีปริมาตร ความดัน และอุณหภูมิเท่ากับ 10 10-3 m3 250 kPa และ 300 K ตามล าดับ ถ้าปริมาตรของลูกสูบลดลงเป็น 8 10-3 m3 และมีความดันเพิ่มขึ้นเป็น 350 kPa จงหาอุณหภูมิสุดท้ายของก๊าซ สมมติว่าก๊าซฮีเลียมมีพฤติกรรมเหมือนก๊าซอุดมคติ และไม่มีการรั่วซึมของก๊าซออกจากกระบอกสูบ ตอบ 525 K 4. จงหาพลังงานความร้อนที่ท าให้น้ า 1 kg มีอุณหภูมิเพ่ิมขึ้น 3 C ตอบ 10 kCal 5. จงหาความร้อนที่สูญเสียออกจากน้ านี้ในขณะที่มันเย็นตัวกลับลงมาที่อุณหภูมิ 20.0 C ตอบ -15.7 kJ 6. จงหาปริมาณความร้อนที่ก้อนอะลูมิเนียม 25 g คายออกมาเมื่อมันเย็นตัวลงจา 100 C เป็น 20 C ส าหรับอะลูมิเนียม c = 880 J/kg. C ตอบ -0.42 kcal 7. โลหะชิ้นใหญ่มวล 500 g ท าให้ร้อนจนมีอุณหภูมิ 300 C ใส่ลงในน้ ามวล 15 kg ซึ่งมีอุณหภูมิเริ่มต้น 20 C ปรากฏว่าเมื่อระบบอยู่ในสมดุลความร้อน วัดอุณหภูมิได้เท่ากับ 50 C จงหาความร้อนจ าเพาะของโลหะชิ้นนี ้ตอบ 0.36 Cal/gC 8. แผ่นวัตถุหนา L1 และ L2 มีความน าความร้อนเป็น K1 และ K2 ทั้งสองแผ่นมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ A น ามาประกบกันดังภาพที่ 10.13 ถ้าอุณหภูมิที่ผิวนอกทั้งสองด้านเป็น T1 และ T2 โดยให้ T2 มากกว่า T1 จงหาอุณหภูมิที่รอยต่อ และอัตราการส่งถ่ายความร้อนผ่านแผ่นวัตถุในสถานะคงตัว

Page 32: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

298

1 T2 T

2L 1L

2K 1K

T

ภาพที่ 10.13 ภาพประกอบแบบฝึกหดัข้อที่ 8

ตอบ )/K(L)/K(L

T)A(T

t

Q

2211

2

Δ

Δ

9. น้ า 1 g มีปริมาตร 1 cm³ ที่ความดันบรรยากาศ เมื่อน้ าจ านวนนี้เดือดจนเป็นไอจะมีปริมาตรเป็น 1617 cm³ จงค านวณการเปลี่ยนแปลงพลังงานภายในส าหรับกระบวนการนี ้ตอบ 2090 J 10. พลังงานภายในของของแข็งจะเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อม ถ้าท าให้แท่งทองแดงมวล 1 kg ที่ความดันบรรยากาศ มีอุณหภูมิเพิ่มจาก 20 oC ไปเป็น 50 oC จงหา

ก) งานที่ท าโดยทองแดง ข) ปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทเข้าไปในแท่งทองแดง ค) พลังงานภายในที่เพิ่มขึ้น

ตอบ (ก) 1.7 10-7 J (ข) 1.16 104 J (ค) 1.16 104 J 11. กระบวนการทางอุณหพลศาสตร์ แสดงดังภาพที่ 10.14 ถ้ากระบวนการ ab ดูดกลืนความร้อน 600 J กระบวนการ bd ดูดกลืนความร้อน 200 J จงหา

ก) พลังงานภายในที่เปลี่ยนแปลงส าหรับกระบวนการ ab ข) พลังงานภายในที่เปลี่ยนแปลงส าหรับกระบวนการ abd ค) ความร้อนที่ถูกดูดกลืนส าหรับกระบวนการ acd

Page 33: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

299

ภาพที่ 10.14 ภาพประกอบแบบฝึกหัดข้อที่ 11 ตอบ (ก) 600 J (ข) 560 J (ค) 560 J 12. น้ า 1 g กลายเป็นไอน้ าปริมาตร 1,671 cm3 ความดัน 1 atm ค่าความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอเท่ากับ 2,256 J/g จงหางานและพลังงานภายในที่เพิ่มขึ้น ตอบ 169 J และ 2,087 J 13. อัตราการอัดของเครื่องยนต์ดีเซลเท่ากับ 15 หมายความว่าอากาศในกระบอกสูบจะถูกอัด

เท่ากับ 15

1 เท่าของปริมาตรเดิม ถ้าความดันเดิมเป็น 1.0 105 Pa อุณหภูมิเดิม 27 C จงหา

ความดัน อุณหภูมิปลายภายหลังการอัดของลูกสูบ ถ้าอากาศเป็นของผสมระหว่างแก๊สออกซิเจนและไนโตรเจนมีค่า 40.1 ตอบ ความดัน atm44 อุณหภูม ิ C613 14. แผ่นโลหะเหมือนกันทุกประการสองแผ่น (มวล = m, ความร้อนจ าเพาะ = c) มีอุณหภูมิต่างกัน แผ่นหนึ่งมีอุณหภูมิ 20 C และอีกแผ่นหนึ่งอยู่ที่อุณหภูมิ 90 C วางแผ่นทั้งสองให้มีการสัมผัสกันทางความร้อนที่ดี อุณหภูมิสุดท้ายของแผ่นโลหะทั้งสองเป็นเท่าไร ตอบ 55 C

Page 34: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

300

15. กระติกน้ าใบหนึ่งบรรจุกาแฟ 250 g ที่ 90 C เอานม 20 g ที่ 5 C เติมลงไป หลังจากที่ถึงสภาพสมดุลแล้ว ของเหลวมีอุณหภูมิเท่าไร สมมติว่าไม่มีการสูญเสียความร้อนให้กับตัวกระติก ตอบ 84 C 16. กระติกน้ าร้อนใบหนึ่งมีน้ า 150 g ที่ 4 C บรรจุอยู่ เอาชิ้นโลหะมวล 90 g ที่ 100 C ใส่ลงไป หลังจากที่ถึงสภาพสมดุลแล้ว อุณหภูมิของน้ าและโลหะเท่ากับ 21 C จงหาความร้อนจ าเพาะของโลหะ สมมติว่าไม่มีการสูญเสียความร้อนให้กับตัวกระติก ตอบ -79 C 17. กระป๋องแคลอริมิเตอร์ทองแดงมวล 200 g บรรจุน้ ามัน 150 g ที่ 20 C เอาอะลูมิเนียมมวล 80 g ที่ 300 C ใส่ลงไปในน้ ามัน จงหาอุณหภูมิของระบบหลังจากที่ระบบถึงสภาพสมดุลแล้ว cCu = 0.093 cal/gC, CAl = 0.21 cal/gC, coil = 0.37 cal/gC ตอบ 72 C 18. เผาคาร์บอน 3.0 g ให้กลายเป็น CO2 ในแคลอริมิเตอร์ทองแดง แคลอริมิเตอร์มีมวล 1500 g และมีน้ ามวล 2000 g ในแคลอริมิเตอร์ อุณหภูมิเดิมเท่ากับ 20 C และอุณหภูมิสุดท้ายเท่ากับ 31 C จงค านวณความร้อนที่คาร์บอนแต่ละกรัมให้ออกมา cCu = 0.093 cal/gC ไม่ต้องค านึงถึงความจุความร้อนที่มีค่าน้อยของคาร์บอนและคาร์บอนไดออกไซด ์ตอบ 7.8 kcal/g 19. จงหาอุณหภูมิ Tf ที่เป็นผลจากการผสมน้ าแข็ง 150 g ที่ 0 C กับน้ า 300 g ที่ 50 C ตอบ 6.7 C 20. จงหาความร้อนที่คายออกมาเมื่อไอน้ า 20 g ที่ 100 C กลั่นตัวและเย็นตัวลงถึง 20 C ตอบ -12 kcal

Page 35: บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้นpws.npru.ac.th/nattapon/data/files/บทที่ 10 อุณห... · บทที่ 10 อุณหพลศาสต์เบื้องต้น

301

เอกสารอ้างอิง

พงษ์ศักดิ์ ชินนาบุญ และ วีระชัย ลิ้มพรชัยเจริญ. (2549). ิสิกส์ มหาวิทยาลัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สมพงษ์ ใจดี. (2548). ิสิกส์ มหาวิทยาลัย 1 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมชูปถัมภ์. (2543). ิสิกส์ เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ.

Douglas, C. G. (2009). Physics for Sciectists & Engineers with Modern Physics (4th ed.). United States of America. Pearson Education, Inc.

Halliday, D. , Resnick, R. , & Walker, J. (1997). Fundamental of physics (5th ed.). New York: John Wiley & Sons. . (2001). Fundamental of physics (6th ed.). New York: John Willey & Sons. . (2007). Fundamental of physics (8th ed.). New York: John Willey & Sons. . (2011). Fundamental of physics (9th ed.). New York: John Willey & Sons. Serway, R. A. (1996). Physics for scientists & engineers with modern physics

(4th ed.). Philadelphia: Saunders College. . (2008). Physics for scientists & engineers with modern physics (7th ed.).

Philadelphia: Saunders College.