บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร ·...

14
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น 49 บททีบทที3 ระบบ ระบบ การย่อยอาหาร การย่อยอาหาร สิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีความต้องการหาอาหารเพื่อให้ตนเองสามารถดารงชีพอยู่บนโลกได้ ดังนั้น เราสามารถจะจาแนกสิ่งมีชีวิตตามการจัดหาอาหารออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ 1. autotroph คือพวกที่สามารถสร้างอาหารเองได้จากสารอนินทรีย์ 2. heterotroph เป็นพวกที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ประเภทของการย่อยอาหาร 1. การย่อยภายในเซลล์ (intracellular digestion) คือ การที่เซลล์นาอาหารเข้าไปภายในจนทาให้ เกิดถุงอาหาร (Food vacuole) แล้วใช้นาย่อยย่อยอาหารในเซลล์นั้น 2. การย่อยภายนอกเซลล์ (extracellular digestion) คือ การที่เซลล์ขับน้าย่อยออกมาย่อยอาหาร ภายนอกเซลล์จนกลายเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ แล้วดูดซึมไปใช้ประโยชน์ต่อไป ภาพที 3.1 ประเภทการย่อยอาหาร

Upload: others

Post on 22-Jan-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

49

บทที่ บทที่ 33 ระบบระบบการย่อยอาหารการย่อยอาหาร

สิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีความต้องการหาอาหารเพื่อให้ตนเองสามารถด ารงชีพอยู่บนโลกได้ ดังนั้น เราสามารถจะจ าแนกสิ่งมีชีวิตตามการจัดหาอาหารออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ 1. autotroph คือพวกที่สามารถสร้างอาหารเองได้จากสารอนินทรีย์ 2. heterotroph เป็นพวกที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ประเภทของการย่อยอาหาร

1. การย่อยภายในเซลล์ (intracellular digestion) คือ การที่เซลล์น าอาหารเข้าไปภายในจนท าให้เกิดถุงอาหาร (Food vacuole) แล้วใช้น้ าย่อยย่อยอาหารในเซลล์นั้น

2. การย่อยภายนอกเซลล์ (extracellular digestion) คือ การที่เซลล์ขับน้ าย่อยออกมาย่อยอาหารภายนอกเซลล์จนกลายเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ แล้วดูดซึมไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ภาพท่ี 3.1 ประเภทการย่อยอาหาร

Page 2: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

50

ประเภทของทางเดินอาหาร 1. ทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (complete digestive tract) ประกอบด้วยช่องเปิด 2 ช่อง

ท าหน้าที่เป็นปากและทวารหนักตามล าดับ 2. ทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete digestive tract) ประกอบด้วยช่องเปิดเพียง

1 ช่อง คือ อาหารเข้าทางปาก และกากอาหารออกทางเดียวกัน

หน้าท่ีของทางเดินอาหาร 4 ประการ คือ

1. การกิน (ingestion) คือการน าอาหารเข้าร่างกาย 2. การย่อยอาหาร (digestion) คือการท าให้ได้สารอาหารเพื่อน าไปใช้ประโยชน์ 3. การดูดซึม (absorption) คือการน าสารอาหารโมเลกุลเล็กเหล่านั้นเข้าสู่เซลล์เพื่อเข้าสู่ระบบ

ไหลเวียน 4. การขับออก (elimination หรือ egestion) คือการขับถ่ายสารที่ย่อยไม่ได้ออกเป็นกากอาหาร

ภาพท่ี 3.3 หน้าที่ของทางเดินอาหาร

ภาพท่ี 3.2 ประเภททางเดินอาหาร

Page 3: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

51

หน้าที่เหล่านี้จะส าเร็จได้ต้องมี 3 กระบวนการนี้ 1. การเคลื่อนไหว (motility) คือการคลุกเคล้าอาหารและผลักอาหารให้เคลื่อนไปตามทางเดิน

อาหาร 2. การหลั่ง (secretion) คือการหลั่งน้ าย่อยจากต่อมมีท่อตามทางเดินอาหาร 3. การขนส่ง (membrane transport) คือกลไกการดูดซึมสารอาหาร รวมถึงการขนส่งไปยังเส้นเลือด

หรือท่อน้ าเหลือง

ขั้นตอนของการย่อยอาหาร

1. การย่อยเชิงกล (mechanical digestion) คือการย่อยอาหารโดยการบดหรือเคี้ยวเพื่อให้อาหารมีขนาดเล็กลง เช่น ใช้ฟันบดเคี้ยว ใช้กึ๋น (gizzard) บด 2. การย่อยเชิงเคมี (chemical digestion) คือการย่อยอาหารโดยใช้น้ าย่อยหรือเอนไซม์ (enzyme) เข้าช่วยเพื่อให้อาหารมีโมเลกุลเล็กที่สุด แล้วจึงท าการดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้

การย่อยอาหารของจุลินทรีย์

จุลินทรีย์พวกโพรโตซัวเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ไม่มีอวัยวะที่ท าหน้าที่ย่อยอาหาร อาหารที่มีโมเลกุลเล็ก ๆ สามารถแพร่เข้าและออกจากเซลล์ไปสู่สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว โดยอาศัยการแพร่ผ่าน เยื่อหุ้มเซลล์ ส่วนอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ไม่สามารถเข้าสู่เซลล์โดยวิธีการแพร่ได้ จุลินทรีย์พวกโพรโตซัวก็จ ะมี วิ ธี น า อาหา ร เ ข้ า สู่ เ ซ ลล์ ต่ า ง ๆ กั น อาหา รที่ ถู ก น า เ ข้ า สู่ ภ าย ในจะ เ ก็ บสะสม ไ ว้ ใ น ฟูดแวคิวโอล (food vacuole) หรือถุงอาหาร ซึ่งจะถูกย่อยโดยอาศัยเอนไซม์จากไลโซโซมให้เป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลเล็กลง แล้วล าเลียงผ่านเยื่อฟูดแวคิวโอลเข้าไปในไซโพพลาสซึมเพื่อน าไปใช้ต่อไป ส่วนกากอาหารที่เหลือก็จะถูกส่งออกไปภายนอกเซลล์

อะมีบา (amoeba) จะมี วิธีการน าอาหารเข้าสู่ เซลล์ โดยกระบวนการฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) (ภาพที่ 3.4) โดยการยื่นส่วนไซโทพลาซึมที่เรียกว่า ซูโดโพเดียม (pseudopodium) โอบล้อมอาหารเข้าสู่เซลล์ เกิดเป็นฟูดแวคิวโอลแล้วไปรวมกับไลโซโซม (lysosome) ซึ่งมีเอนไซม์ไลโซไซม์ อยู่มากมายจึงเกิดการย่อยแบบภายในเซลล์ขึ้น สารที่ย่อยได้จะถูกดูดซึมเข้าสู่ไซโทพลาซึมในบริเวณ

Page 4: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

52

ภาพท่ี 3.5 การกินอาหารของ พารามีเซียม

ใกล้เคียง ส่วนกากอาหารหรือสารที่ย่อยไม่ได้จะถูกขับออกจากเยื่อหุ้มเซลล์ โดยแตกทะลุออกทางเยื่อหุ้มเซลล์ (egestion)

พารามีเซียม (paramecium) (ภาพที่ 3.5) จะใช้ซเีลีย (cilia) ที่อยู่บริเวณร่องปาก (oral groove) โบกพัดพาอาหารเข้าทางร่องปากที่มชี่องเปดิ เรียกว่า ไซโตสโตม (cytostome) อาหารจะเข้าไปใน ไซโทพลาซึม จนอยู่ในสภาพทีเ่ป็นฟดูแวคิวโอล แล้วอาหารจะถูกย่อย โดยเอนไซมใ์นไลโซโซม เช่นเดียวกบัอะมีบา ในที่สุดเหลือ เพียงกากอาหาร ฟูดแวคิวโอลนี้เคลื่อนมาที่บรเิวณใต้ร่อง ปากเพื่อก าจัดกากอาหารออกทางช่องเปิด (anal pore) ซึ่งมีต าแหน่งที่แนน่อน

พวกแบคทีเรีย เห็ดราและจุลินทรีย์บางชนิด จะมีการด ารงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีการย่อยอาหารโดยปล่อย เอนไซม์ออกมานอกเซลล์ เพื่อย่อยสารอินทรีย์จนเป็น สารอาหารโมเลกุลเล็ก (extracellular digestion) แล้วจึง ดูดซึมเข้าสู่เซลล์

การย่อยอาหารของสัตว์ท่ีไม่มีทางเดินอาหาร

ภาพท่ี 3.4 ขั้นตอนการกินอาหารของอะมีบา

Page 5: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

53

ฟองน้้า (sponge) (ภาพที่ 3.6) ฟองน้ ากินอาหารแบบกรอง ด้วยการจับอนุภาคอาหารขนาดเล็กที่ปะปนอยู่ในน้ าทะเลโดยพัดพาผ่านรูเล็ก ๆ ของช่องน้ าเข้าไปในตัวฟองน้ า โดยเซลล์ที่มีแฟลกเจลลัมซึ่ง เรียกว่า โคแอนโนไซต์ (choanocyte) โบกน้ าผ่านเข้ามาและใช้เมือกจับอนุภาคอาหารนั้น แล้วใช้กระบวนการฟาโกไซโทซิสจับอาหารเข้าเซลล์พร้อมกับสร้างฟูดแวคิวโอล (food vacuole) อาหารจะถูกย่อยและส่งไปตามส่วนต่าง ๆ โดยเซลล์อะมีโบไซต์ (amoebocyte)

การย่อยอาหารของสัตว์ท่ีมีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์

ซีเลนเทอเรต (coelenterate) ได้แก่ พวกไฮดรา (ภาพที่ 3.7) ซีแอนีโมนี ปะการัง กัลปังหา มีช่องภายในล าตัวที่เรียกว่าช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ (gastrovascular cavity) ซึ่งเป็นช่องที่มีรูเปิดเพียงทางเดียว รูเปิดนี้ท าหน้าที่เป็นทั้งปากในการกินอาหาร และเป็นทวารหนักในขับของเสีย เมื่อสัตว์พวกนี้ใช้

ภาพท่ี 3.6 การกินอาหารของฟองน้ า

Page 6: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

54

แทนตาเคิล (tentacle) หรือหนวดเล็กๆ ที่มีเข็มพิษ (nematocyst) จับเหยื่อใส่ปาก อาหารจะเข้าไปในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ ที่ผนังของช่องนี้มีเซลล์ต่อม (gland cell) ท าหน้าที่ปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ อาหารบางส่วนที่ย่อยแล้วอาจถูก เซลล์ย่อยอาหาร (digestive cell หรือ

nutritive cell) ที่อยู่ที่ผนังของช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ ท าการจับและย่อยภายในเซลล์ด้วยกระบวนการแบบเดียวกับอะมีบา พลานาเรีย (planaria) (ภาพที่ 3.8) เป็นสัตว์พวกหนอนตัวแบนชนิดหนึ่งที่ด ารงชีพอิสระ จับเหยื่อโดยการปล่อยเมือกออกมาและใช้ล าตัวคลุมลงบนตัวเหยื่อ เหยื่อจะถูกเมือกพันตัวท าให้เคลื่อนไหวไม่ได้ และจะใช้งวงหรือฟาริงซ์ยื่นออกมาดูดของเหลวในตัวเหยื่อเป็นอาหาร หรือกลืนเหยื่อเข้าไปช่อง แกสโทรวาสคิวลาร์ที่แตกแขนงทอดยาวไปตามล าตัว เซลล์ต่อมที่อยู่ตามผนังทางเดินอาหารจะปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอาหาร และชิ้นส่วนที่ย่อยแล้วจะมีเซลล์ที่ผนังทางเดินอาหารโอบล้อมอาหารเข้าไปยอ่ยภายในเซลล์ต่อ ส่วนกากอาหารที่ย่อยไม่ได้ก็จะกลับออกมาทางปาก พยาธิใบไม้ (fluke) (ภาพที่ 3.9) เป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับหนอนตัวแบน มีทางเดินอาหารคล้าย พลานาเรีย มีปาก ไม่มีทวารหนัก ลักษณะทางเดินอาหารไม่มีกิ่งก้านสาขามาก บริเวณส่วนหัวมีอวัยวะ

ภาพท่ี 3.8 ลักษณะทางเดินอาหารของพลานาเรีย

Page 7: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

55

ดูดเกาะ (oral sucker) ใช้ดูดเลือดจากเหยื่อเข้าปาก ต่อจากปากเป็นคอหอยและล าไส้แยกออกเป็นแขนง การย่อยอาหารเป็นการย่อยแบบภายนอกเซลล์และการย่อยแบบภายในเซลล์

พยาธิตัวตืด (tape worm) (ภาพที่ 3.10) เป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับหนอนตัวแบน บริเวณส่วนหัวมีอวัยวะดูดเกาะหลายอันอยู่รอบ ๆ ส่วนหัว เรียกว่า sucker ไม่มีทางเดินอาหารจึงต้องดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วจากทางเดินอาหารของผู้ถูกอาศัย (host) เข้าสู่ร่างกาย โดยไม่ต้องย่อย

ภาพท่ี 3.9 ทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้ตับในคน

เดิน

Page 8: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

56

การย่อยอาหารของสัตว์ท่ีมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

หนอนตัวกลม (nematode) เป็นสัตว์พวกแรกที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ (ภาพที่ 3.11) ประกอบด้วย ปาก (mouth) คอหอย (pharynx) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาวที่มีกล้ามเนื้อบุผนังหนามาก ช่องภายในค่อนข้างแคบ การบีบตัวคลายตัวของกล้ามเนื้อบุผนังฟาริงซ์จะท าให้เกิดแรงดูด ท าให้อาหารเคลื่อนเข้าสู่ล้าไส้ (intestine) ซึ่งเป็นท่อยาว มีลิ้นปิดเปิดระหว่างล าไส้กับคอหอย การย่อยอาหารและดูดซับอาหารเกิดขึ้นภายในล าไส้ การย่อยอาหารเป็นการย่อยแบบภายนอกเซลล์ จากนั้นขับกากออกทางทวารหนัก (anus) ส าหรับหนอนตัวกลมที่เป็นปรสิต มักจะกินเนื้อเยื่อต่าง ๆ หรือกินอาหารที่ย่อยแล้วของผู้ถูกอาศัย

ไส้เดือนดิน (earth worm) (ภาพที่ 3.12) ทางเดินอาหารแยกเป็นส่วนต่าง ๆ แต่ละส่วนท าหน้าที่

แตกต่างกัน เริ่มจากปาก (mouth) เป็นทางเข้าของอาหาร เนื่องจากไส้เดือนดินกินซากขนาดเล็ก ปากจึงไม่มีฟัน อาหารจะถูกกลืนเข้าไปในปากด้วยการท างานของกล้ามเนื้อที่แข็งแรงบริเวณคอหอย (pharynx) อาหารจึงผ่านไปยังกระเพาะพักอาหาร (crop) ก่อนที่จะถูกส่งไปบดที่กึ๋น (gizzard) ซึ่งมีกล้ามเนื้อแข็งแรง เมื่ออาหารถูกบดแล้วจึงส่งผ่านต่อไปยังล้าไส้ (intestine) ซึ่งเป็นช่วงทางเดินอาหารที่มีความยาวมากที่สุด มีเอนไซม์ถูกปล่อยออกมาจากเซลล์บุผนังล าไส้ สารที่ได้จากการย่อยแล้วจะถูกดูดซึมและส่งเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด ส าหรับผนังล าไส้ทางด้านหลังจะเจริญและบุ๋มเข้าไปในช่องล าไส้เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการย่อยอาหาร เกิดเป็นติ่งเนื้อที่เรียกว่า ไทโฟลโซล (typhlosole) ส่วนกากอาหารจะถูกขับออกมาทางทวารหนัก (anus)

ภาพท่ี 3.10 ลักษณะของพยาธิตัวตืด

ภาพท่ี 3.11 ลักษณะทางเดินอาหารของหนอนตัวกลม

Page 9: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

57

แมลง (insect) ทางเดินอาหารคล้ายกับพวกแอนเนลิด แต่อวัยวะต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปบ้างเพื่อ

เพิ่มประสิทธิภาพในการกินอาหาร หรือเพื่อให้เหมาะกับชนิดของอาหาร เช่น ปากของแมลง (ภาพที่ 3.13) มีหลายชนิด มักใช้น้ าลายในการดูดอาหาร โดยยุงใช้น้ าลายพ่นใส่เลือดเพื่อไม่ให้เลือดแข็งตัว ยุงจึงดูดเลือดไปใช้ได้ ผีเสื้อดูดน้ าหวานโดยใช้งวงซึ่งม้วนเป็นวงดูดเข้าไป ส่วนแมลงวันปล่อยน้ าลายออกมาละลายอาหารแล้วจึงดูดอาหารเข้าปาก จึงเห็นได้ว่าการท าให้อาหารเปลี่ยนสภาพมีขนาดเล็กลงนั้นเริ่มต้นที่ปาก

ภาพท่ี 3.12 ลักษณะทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน

Page 10: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

58

หากน าตั๊กแตนมาผ่าดูทางเดินอาหาร (ภาพที่ 3.14) จะพบว่าประกอบด้วยปาก(Mouth) ถัดไปเป็นคอ

หอย (pharynx) หลอดอาหาร (esophagus) เป็นทางเดินอาหารที่ค่อย ๆ พองออกจนเป็นถุงใหญ่เรียกว่า ถุงพักอาหาร (crop) สองข้างของหลอดอาหารมีต่อมน้ าลาย(salivary gland) สีขาว รูปร่างคล้ายกิ่งไม้ ส่วนปลายของถุงพักอาหารนี้มีกระเปาะแข็ง ๆ เรียกว่าโปรเวนตริคูลัส หรือกึ๋น (proventiculus หรือ

gizzard) ภายในมีฟันเพื่อใช้บดอาหาร ส่วนที่ต่อกับกึ๋นมีถุงเล็ก ๆ รูปร่างคล้ายนิ้วมือ 8 ถุง เรียกว่า แกสตริกซีกา (gastric ceca) เชื่อกันว่าท าหน้าที่สร้างน้ าย่อย ช่วงนี้จะต่อกับทางเดินอาหารส่วนกลาง

(mid gut) ตอนกลางของล าตัวจะมีอวัยวะก าจัดของเสีย เรียกว่า หลอดมัลพิเกียน (malpighian tubule) เป็นเส้นฝอยบาง ๆ สีเหลืองอยู่กันเป็นกระจุก ถัดไปเป็นโคลอน (colon) เป็นส่วนหนึ่งของล าไส้ใหญ่ ส่งกากอาหารไปยังไส้ตรง (rectum) แล้วจึงเปิดออกที่ทวารหนัก (anus)

ปลา (Fish) (ภาพที่ 3.15) เป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ปลากินอาหารหลากหลายชนิด เมื่ออาหารเข้าปากแล้วจะเคลื่อนผ่านคอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ไพโลริกซีกา (pyloric

ภาพท่ี 3.13 ลักษณะปากของแมลงชนิดต่าง ๆ

ภาพท่ี 3.14 ลักษณะทางเดินอาหารของต๊ักแตน

Page 11: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

59

ceca) ซึ่งจะพบเฉพาะปลากินเนื้อ จากนั้นอาหารเคลื่อนผ่านล้าไส้ และสุดท้ายกากอาหารจะออกมาทางทวารหนัก ทั้งนี้การย่อยอาหารจะอาศัยต่อมสร้างน้ าย่อย ที่ประกอบด้วย ตับ (liver) ซึ่งมีถุงน้ าดี (gall bladder) เก็บน้ าดี และตับอ่อน (pancreas) สร้างน้ าย่อย

นก (Bird) (ภาพที่ 3.16) นกกินอาหารที่มีพลังงานสูงและมีการย่อยอาหารอย่างรวดเร็ว นกไม่มีฟันและต่อมน้ าลายเจริญไม่ดี แต่สามารถสร้างเมือกส าหรับคลุกเคล้าอาหารและหล่อลื่น ลิ้นมีต่อมรับรสน้อยแต่ก็รับรสได้บ้าง คอหอยสั้น หลอดอาหารค่อนข้างยาวมีผนังกล้ามเนื้อตอนปลาย มีกระเพาะพัก

อาหาร (crop) โดยท าหน้าที่ เก็บอาหาร แล้วน าไปย่อยในกระเพาะอาหาร (stomach หรือ

proventriculus)ซึ่งสร้างน้ าย่อย ถัดไปเป็นกระเพาะบดหรือกึ๋น (gizzard) มีกล้ามเนื้อหนา ผนังด้านในเป็นสันใช้บดอาหาร นอกจากนี้นกยังมีการกลืนก้อนกรวดขนาดเล็กเข้าไปช่วยในการบดอาหาร ส่วนถัดไปเป็นล้าไส้เล็ก ล้าไส้ใหญ่และโคลเอกา

ภาพท่ี 3.15 ลักษณะทางเดินอาหารของปลา

Page 12: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

60

สัตว์เค้ียวเอ้ือง (ruminant) เช่น วัว ควาย แพะ แกะ มีกระเพาะเป็น 4 ห้องขนาดใหญ่ (ภาพที่ 3.17) หญา้ที่กินเข้าไปจะผ่านจากหลอดอาหารเข้าสู่รูเมน (rumen) ที่คนทั่วไปเรียกว่า ผ้าขี้ริ้ว ซึ่งภายในมีจุลินทรีย์ท าการย่อยสลายอาหารโดยแบคทีเรียย่อยสลายเซลลูโลส แล้วท าให้เป็นก้อนขนาดเล็กเรียกว่า คัด (gud) ในเวลาที่พักอยู่เฉย ๆ จะส ารอกคัดกลับเข้ามาที่ปากเพื่อเคี้ยวตัดเส้นใยพืชให้สั้นลงหรือที่เรียกว่า เค้ียวเอ้ือง จากนั้นอาหารจะผ่านไปยังกระเพาะส่วนที่สอง เรติคิวลัม (reticulum) หรือกระเพาะรังผึ้ง แล้วเคลื่อนต่อไปยังโอมาซัม (omasum)หรือกระเพาะสามสิบกลีบ และสิ้นสุดที่อะโบมาซัม

(abomasum) ซึ่งเป็นกระเพาะที่แท้จริง มีน้ าย่อยโปรตีน และมีการย่อยตามปกติเกิดขึ้นที่แอบโอมาซัม เมื่ออาหารผ่านกระเพาะออกมาแล้วจึงเข้าสู่ล าไส้เล็กส่วนต้นที่มีอวัยวะช่วยย่อยอาหาร ได้แก่ ตับ ท าหน้าที่สร้างน้ าดีเพื่อท าให้ไขมันที่อยู่ในล าไส้เล็กแตกตัว ตับอ่อนสร้างเอนไซม์ช่วยย่อยพวกโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในล าไส้เล็ก เมื่ออาหารถูกย่อยโมเลกุลเล็กแล้วจะถูกส่งต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่อไป และขับกากอาหารออกทางทวารหนัก (anus)

ภาพท่ี 3.17 ลักษณะทางเดินอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง

Page 13: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

61

กระเพาะอาหารของสัตว์เค้ียวเอ้ือง 1. รูเมน (rumen) หรือกระเพาะผ้าขี้ร้ิว 2. เรติคิวลัม (reticulum) หรือกระเพาะรังผึ้ง 3.โอมาซัม (omasum) หรือกระเพาะสามสิบกลีบ 4. อะโบมาซัม (abomasum)

Page 14: บทที่ 33 ระบบการย่อยอาหาร · เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา 3 (ว 40143) ระบบการย่อยอาหาร

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างด าเนินการปรับปรุงแก้ไข ใช้ส าหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

62