กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร...

17
ห น า | 1 กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐาน การดําเนินการวิจัยใหเปนไปในทิศทางที่ถูกตองเหมาะสมกับปญหาของการวิจัยและลักษณะของการ วิจัยนั้น ผูวิจัยจะศึกษาขอมูลที่เกี่ยวของในทุกสวนแลวมากําหนดเปนกรอบแนวคิดเพื่อใหเกิดภาพรวมและ ขอบเขตของการวิจัยในการนําไปสูขั้นตอนของปฏิบัติการวิจัย โดยเฉพาะอยางยิ่งหากกรอบแนวคิดของการ วิจัยดีและแจมชัด จะสามารถระบุตัวแปรไดวาตัวแปรที่ตองพิจารณาและศึกษามีอะไรบาง สมมุติฐานจะ ชวยใหผูวิจัยไดทบทวนตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งวา ตัวแปรที่กําหนดนั้นครบถวนหรือไม หรือจะตองเพิ่มตัวแปร ใดๆอีก ซึ่งการตั้งสมมุติฐานจะชี้นําคําตอบของปญหาของการวิจัย กลาวคือ เปนขอความเฉพาะที่ผูวิจัย คาดคําตอบไวโดยอาศัยทฤษฎีเกี่ยวของกับความรู กฎเกณฑตางๆหรือจากประสบการณของผูวิจัยเอง การศึกษากรอบแนวความคิด ตัวแปร และสมมุติฐานมีสาระสําคัญดังนีการกําหนดกรอบความคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) ความหมายการกําหนดกรอบความคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) กรอบความคิดในการวิจัย (Conceptual framework) หมายถึง การนําเสนอภาพรวมๆ ของงานวิจัยที่ผูวิจัยจะทําโดยกําหนดออกมาใหเห็นรูปธรรมชัดเจน จากการศึกษาวิเคราะหเอกสารตํารา ทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวของอยางครอบคลุม แลวนําเสนอหรือสรุปเปนภาพรวมใหชัดเจนใหงายตอ ความเขาใจในปญหาและวิธีการวิจัย กรอบแนวคิดจะทําให นักวิจัยสามารถจัดระเบียบขอมูลไดและทําให เห็นความสัมพันธระหวางขอมูลอยางเปนระบบ เพราะกรอบแนวคิดเปนการรวบรวมเหตุการณตางๆ เขาไว ภายใตหัวขอเดียวกัน พื้นฐานเชิงทฤษฎีของกรอบความคิดในการวิจัย กรอบความคิดในการวิจัย (Conceptual framework) นับเปนสิงที่มีความจําเปนที่จะ เปนแนวทางในการทําวิจัยตอไป ซึ่งเปนการสรุปภาพรวมใหผูศึกษางานวิจัยวา งานวิจัยนั้นมีความคิดทีสําคัญอะไรบาง มีการเชื่อมโยงเกี่ยวของกันอยางไร มีความสัมพันธกันในลักษณะธรรมดาจนถึงแบบซับซอน ซึ่งงานวิจัยบางเรื่องจะเรียกการเชื่อมโยงของแนวคิดนี้วารูปแบบหรือตัวแบบ ( model )ก็ได ซึ่งลักษณะทีสําคัญของกรอบความคิด ไมวาจะเปนกรอบแนวความคิดของการวิจัยเชิงพรรณา หรือเชิงอธิบาย หรือ ความมีพื้นฐานเชิงทฤษฎี กลาวคือตัวแปรแตละตัวที่จะเลือกเขามาศึกษาจะตองมีพื้นฐานทางทฤษฎีจะชวย เพิ่มพูนความรูที่มีอยูแลวใหถูกตองสมบูรณมากขึ้น เพราะจะไดทดสอบทฤษฎี ที่ระบุถึงตัวแปรนั้นๆวา

Upload: others

Post on 27-Dec-2019

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 1

กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐาน

การดําเนินการวิจัยใหเปนไปในทิศทางที่ถูกตองเหมาะสมกับปญหาของการวิจัยและลักษณะของการ

วิจัยน้ัน ผูวิจัยจะศึกษาขอมูลที่เกี่ยวของในทุกสวนแลวมากําหนดเปนกรอบแนวคิดเพื่อใหเกิดภาพรวมและ

ขอบเขตของการวิจัยในการนําไปสูข้ันตอนของปฏิบัติการวิจัย โดยเฉพาะอยางย่ิงหากกรอบแนวคิดของการ

วิจัยดีและแจมชัด จะสามารถระบุตัวแปรไดวาตัวแปรที่ตองพิจารณาและศึกษามีอะไรบาง สมมุติฐานจะ

ชวยใหผูวิจัยไดทบทวนตรวจสอบอีกครั้งหน่ึงวา ตัวแปรที่กําหนดน้ันครบถวนหรือไม หรือจะตองเพิ่มตัวแปร

ใดๆอีก ซึ่งการต้ังสมมุติฐานจะช้ีนําคําตอบของปญหาของการวิจัย กลาวคือ เปนขอความเฉพาะที่ผูวิจัย

คาดคําตอบไวโดยอาศัยทฤษฎีเกี่ยวของกับความรู กฎเกณฑตางๆหรือจากประสบการณของผูวิจัยเอง

การศึกษากรอบแนวความคิด ตัวแปร และสมมุติฐานมีสาระสําคัญดังน้ี

การกําหนดกรอบความคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)

ความหมายการกําหนดกรอบความคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)

กรอบความคิดในการวิจัย (Conceptual framework) หมายถึง การนําเสนอภาพรวมๆ

ของงานวิจัยที่ผูวิจัยจะทําโดยกําหนดออกมาใหเห็นรูปธรรมชัดเจน จากการศึกษาวิเคราะหเอกสารตํารา

ทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวของอยางครอบคลุม แลวนําเสนอหรือสรุปเปนภาพรวมใหชัดเจนใหงายตอ

ความเขาใจในปญหาและวิธีการวิจัย กรอบแนวคิดจะทําให นักวิจัยสามารถจัดระเบียบขอมูลไดและทําให

เห็นความสัมพันธระหวางขอมูลอยางเปนระบบ เพราะกรอบแนวคิดเปนการรวบรวมเหตุการณตางๆ เขาไว

ภายใตหัวขอเดียวกัน

พ้ืนฐานเชิงทฤษฎีของกรอบความคิดในการวิจัย

กรอบความคิดในการวิจัย (Conceptual framework) นับเปนสิงที่มีความจําเปนที่จะ

เปนแนวทางในการทําวิจัยตอไป ซึ่งเปนการสรุปภาพรวมใหผูศึกษางานวิจัยวา งานวิจัยน้ันมีความคิดที่

สําคัญอะไรบาง มีการเช่ือมโยงเกี่ยวของกันอยางไร มีความสัมพันธกันในลักษณะธรรมดาจนถึงแบบซับซอน

ซึ่งงานวิจัยบางเรื่องจะเรียกการเช่ือมโยงของแนวคิดน้ีวารูปแบบหรือตัวแบบ ( model )ก็ได ซึ่งลักษณะที่

สําคัญของกรอบความคิด ไมวาจะเปนกรอบแนวความคิดของการวิจัยเชิงพรรณา หรือเชิงอธิบาย หรือ

ความมีพื้นฐานเชิงทฤษฎี กลาวคือตัวแปรแตละตัวที่จะเลือกเขามาศึกษาจะตองมีพื้นฐานทางทฤษฎีจะชวย

เพิ่มพูนความรูที่มีอยูแลวใหถูกตองสมบูรณมากข้ึน เพราะจะไดทดสอบทฤษฎี ที่ระบุถึงตัวแปรน้ันๆวา

Page 2: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 2

ถูกตองหรือไม มีเงือนไขอะไรบาง สิ่งที่สําคัญไมนอยของการมีพื้นฐานทางทฤษฎีของกรอบแนวคิดและตัว

แปรคือชวยตีความหมายผลที่ไดจากการวิจัย

ตัวอยางเชน ในการวิจัยเรื่อง การศึกษาความตองการในการพัฒนาการปฏิบัติงานของครู

โรงเรียนระดับประถมศึกษาในจงัหวัดพทัลุง นักวิจัยไดเสนอกรอบความคิดของการวิจัยไวดังน้ี

แผนภาพ กรอบความคิดของการวิจัยตัวอยาง

จากกรอบความคิดขางบน นักวิจัยตองการแสดงใหเห็นวา ในการวิจัยเรื่องดังกลาวประกอบดวยตัว

แปรอิสระ 3 ตัว ไดแก วุฒิการศึกษา ประสบการณและกลุมสาระที่สอน และตัวแปรตาม ไดแก ความ

ตองการในการพัฒนาการปฏิบัติงานของคร ู4 ดาน คือ ดานการสอนที่เนนผูเรียน ดานการวิจัยเพื่อพัฒนา

ผูเรียน ดานการมีสวนรวมกับชุมชนและ และ ดานการพัฒนาทั้งโรงเรียน แบบแผนความสัมพันธ ของตัว

แปรในการวิจัย ประกอบดวย การเช่ือมโยงจากตัวแปรอิสระสามตัวไปยังตัวแปรตาม

แหลงท่ีมาของกรอบความคิด

ผูวิจัยสามารถสรางกรอบแนวคิดในการวิจัยจากแหลงที่มา ไดแก

1. ทฤษฎีของศาสตรที่เกี่ยวของ การกําหนดกรอบแนวคิดของการวิจัยที่รัดกุมและมีเหตุผล

ผูวิจัยจําเปนอยางย่ิงที่จะศึกษาทฤษฎีตางๆที่เกี่ยวตางๆกับตัวแปรที่ศึกษาทั้งในและนอกศาสตรที่ศึกษา เพื่อ

ความเช่ือมโยงและละเอียดรอบคอบระหวางตัวแปรกับปรากฏการณอยางมีเน้ือหาสาระโดยแท คําอธิบาย

และขอสรุปตางๆที่ไดจากการวิจัยของการวิเคราะหและสรุปผลจะมีความเช่ือถือในเชิงทฤษฎี โดยแสดงการ

จัดระบบแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมบางอยางข้ึนจากประสบการณทีเกิดข้ึนจริงๆและสามารถทําการพิสูจนได

โดยหลายๆทฤษฎีจะประกอบกันเปนศาสตร

วุฒิการศึกษา

1.ปริญญาตรีหรือต่ํากวา

2.สูงกวาปริญญาตร ี

ความตองการในการพัฒนาการ

ปฏิบัติงานของครู 4 ดาน

- ดานการสอนที่เนนผูเรียน

- ดานการวิจัยเพื่อพัฒนาผูเรียน

- ดานการมีสวนรวมกับชุมชน

- ดานการพัฒนาทั้งโรงเรียน

ประสบการณ

1. ตั้งแต5ปลงมา

2.มากกวา 5 ป

กลุมสาระ

1.วิชาไทย อังกฤษ สังคม

2.วิชาอ่ืนๆ

Page 3: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 3

2. รายงานการวิจัย เปนงานวิจัยที่มีการกลาวอางอิงหรือมีขอคนพบเกี่ยวกับตัวแปรที่ตองการ

ศึกษาเพื่อยืนยันถึงความมั่นใจตอการกําหนดตัวแปร รวมทั้งการขยายผลที่จะนําไปสูการกําหนดตัวแปรที่

เกี่ยวของใหครอบคลุม สวนการเลือกผลงานวิจัยที่จะใชอางอิงหรือศึกษาน้ัน ควรเลือกจากผลงานวิจัยที่มี

คุณภาพ เชน ผลงานวิจัยที่ไดลงพิมพเผยแพรในวารสารวิชาการในระดับประเทศและตางประเทศ

3. ผูทรงคุณวุฒิสาขาตางๆ ผูทรงคุณวุฒิจัดไดวาเปนผูมีความรูและประสบการณเกี่ยวกับ

ประเด็นของการวิจัยที่กําลังศึกษาอยู ซึ่งไมจําเปนวาจะตองเปนผูมีความเช่ียวชาญทางการวิจัยโดยตรง แต

อาจเปนผูมีความรูและประสบการณเกี่ยวกับเรื่องที่ผูวิจัยสนใจศึกษา แตสามารถใหคําปรึกษาที่เปนประโยชน

แกการวิจัย สามรถนํามาประมวลสรางกรอบแนวคิดได

4. ผูวิจัย นอกจากทฤษฎี รายงานการวิจัย และผูทรงคุณวุฒิสาขาตางๆที่เปนแหลงที่มาของ

การสรางกรอบของการวิจัยแลว ผูที่เคยเปนผูมคีวามรูและประสบการณโดยตรงเกี่ยวกับปญหาที่ทําวิจัย หรือ

เคยทํางานเกี่ยวกับเรื่องที่ทําวิจัย จะเปนผูที่เขาใจเรื่องที่ทําวิจัยเปนอยางดี รวมทั้งวิเคราะหและประเมิน

ขอมูล เพื่อสรางกรอบของการวิจัยไดชัดเจนโดยอาศัยทักษะกระบวนการของการวิจัยประกอบ

การสรางและเสนอกรอบความคิดในการวิจัย

การสรางกรอบแนวคิดเปนข้ันตอนที่ผูวิจัยจะตองนําขอมูลจากหลายแหลงมาวิเคราะหและ

สังเคราะห เพื่อใหไดขอมูลที่สําคัญและเกี่ยวของกับปญหาวิจัยจริงๆมา สรางเปนกรอบของงานวิจัย ซึ่งการ

สรางกรอบแนวคิดน้ันแบงออกเปน 2 ลักษณะ คือ

1. กรอบแนวคิดแบบงาย อาศัยขอมูลจากผลงานวิจัยที่ศึกษามาแลวหรือจากทฤษฎีเพียง

ทฤษฎีเดียว

2. กรอบแนวคิดแบบซับซอน ผูวิจัยตองอาศัยขอมูลจากทฤษฎีหลายทฤษฎีรวมทั้งจาก

งานวิจัยหลายแหลงมาเช่ือมโยงเขาดวยกัน ซึ่งสามารถอธิบายความเปนเหตุและผลของการเช่ือมโยงตัวแปร

ตางๆอยางชัดเจน

หลักการกําหนดกรอบความคิด

(ก)ความตรงประเด็น กรอบความคิดการวิจัยตองกับประเด็นของการวิจัยและวิธีการวิจัยที่กําลัง

ศึกษา อาจเปนกรอบความคิดที่เลือกมาอยางตรงประเด็นมากที่สุดหรือเปนกรอบความคิดที่สังเคราะหมาจาก

กรอบความคิดอื่นหลายๆแหลงก็ได

(ข)ความงาย กรอบความคิดของการวิจัยตองงายตอความเขา มองแลวเห็นโครงสรางของสิ่งที่

ตองการ ไมสลับซับซอนจนยากที่จะเขาใจ

(ค)ความสอดคลอง กรอบความคิดการวิจัยตองสอดคลองกับแนวคิดเชิงทฤษฎีและสอดคลองกับ

สภาพความเปนจริงที่ปรากฏอยูภายนอก

Page 4: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 4

(ง)ประโยชนเชิงนโยบาย กรอบความคิดการวิจัยตองเปนประโยชนหรือมีความเปนไปไดสูงตอการ

นําไปดําเนินการหรือปฏิบัติในโครงการตาง ๆ

รูปแบบของการเสนอกรอบความคิดการวิจัย

กรอบความคิดของการวิจัยสามารถนําเสนอไดในแบบตางๆหลายรูปแบบ ทั้งน้ีนักวิจัยตองพิจารณา

เลือกใชรูปแบบที่เหมาะสม

(ก)แบบบรรยาย เปนการใชขอความบรรยายตัวแปรทั้งหมด ลําดับของตัวแปรและแบบ

ความสัมพันธในการวิจัยน้ัน ตัวอยางเชน

- การสูบบุหรี่มีความสัมพันธกับการเกิดเปนโรคมะเร็ง

(ข)แบบฟงช่ันทางคณิตศาสตร เปนการอธิบายตัวแปรทั้งหมดในการวิจัยและความสัมพันธของตัว

แปรพรอมกับทิศทางความสมัพันธโดยใชฟงช่ันทางคณิตศาสตร ตัวอยางเชน

Y = f(X)

(ค)แบบแผนภูมิ เปนการอธิบายตัวแปรและความสัมพันธของตัวแปรพรอมกับทิศทางความสัมพันธ

ดวยกรอบสี่เหลี่ยมและลูกศร ตัวอยางเชน

ประโยชนของกรอบแนวความคิดในการวิจัย

1. ทําใหผูวิจัยทราบวาตัวแปรที่จะวัดมีกี่ตัว อะไรบาง

2. ทําใหผูวิจัยกําหนดสิ่งที่จะศึกษาชัดเจน และเลือกสถิติไดอยางเหมาะสม

3. ทําใหผูวิจัยวางแผนเก็บขอมูลไดอยางเหมาะสม ชวงเวลาใดควรจะเก็บขอมูลกับตัวแปรใดกอน

– ตัวแปรใดหลัง

4. ทําใหผูวิจัยมองเห็นภาพที่จะทําการศึกษาชัดเจน และสามารถอธิบายความสัมพันธระหวางตัว

แปรตางๆ เปนไปอยางมีเหตุผล

จํานวนผูปวยที่เปนโรคมะเร็ง ปริมาณการสูบบุหร่ีของผูปวย

Page 5: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 5

ตัวแปร ( Variable)

ความหมายของตัวแปร

ตัวแปร ( Variable) คือ คุณลักษณะหรือสภาวการณตางๆ อาจเปนสิ่งของ สิ่งมีชีวิต สิ่งไมมีชีวิต

หรือเหตุการณ แสดงใหเห็นความแตกตาง หรือผลกระทบตอกันไดชัดเจน ซึ่งแบงออกเปนพวกหรือเปน

ระดับ หรือมีคาไดหลายคา เชน เพศ อายุ เช้ือชาติ ระดับการศึกษา ผลสัมฤทธ์ิ เปนตน เพศสามารถ

แปรไดเปนเปนหญิงและชาย อายุ แปรไดเปน 3 กลุม คือ ตํ่ากวา 20 ป 20-35 ป และ 35 ปข้ึนไป

ในการทําวิจัยโดยทั่วไปมักศึกษาเกี่ยวของกับตัวแปรเสมอ แตละบุคคลจะมีคุณลักษณะหรือคาตัวแปรตัว

หน่ึงเพียงอยางเดียว หรือคาเดียวในขณะหน่ึง เชน ก เปนเพศชาย ในขณะน้ันจะไมเปนเพศหญิง

ตัวแปรที่มีคุณลักษณะจัดเปนพวก ไดแก วิธีสอน เพศ อาชีพ เช้ือชาติ ศาสนา

ตัวแปรที่มีคุณลักษณะจัดเปนระดับ ไดแก วัย (เชนจัดเปนทารก วัยเด็ก วัยรุน วัยผูใหญ วัยชรา )

ระดับสติปญญา (เชน ที่จัดเปนสติปญญาสูง กลาง ตํ่า )

ตัวแปรที่มีคาไดหลายคา เชน ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาตางๆไมวาเปนดานพุทธพิสัย จิตพิสัย

ทักษะพิเศษ สามารถวัดคุณลักษณะดังกลาวออกมาในรูปคะแนน ซึ่งข้ึนอยูกับเครื่องมือเปนสําคัญ

เครื่องมือที่เปนแบบวัดบางฉบับอาจมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน บางฉบับ 200 คะแนน บางครั้งมีผูสอบ

ทําไดกระจายต้ังแตจวนเต็มถึงจวนไดศูนย

ตัวแปรบางตัวมีคาไดหลายคา แตในการวิจัย ผูวิจัยจะจัดออกเปนระดับ เชน ประสบการณใน

การทํางาน อายุ รายได ประสบการณทํางาน อาจจําแนกเปนทํางานนอยกวา 5 ป 5-10 ป 11-15 ป

เปนตน

ความสําคัญของตัวแปร

บงบอกประเด็นวิจัยที่ตองการศึกษา

เช่ือมโยงกับแนวคิดทฤษฎีในการวิจัย

ธรรมชาติของตัวแปรจะนําไปสูการวางแผนออกแบบการวิจัย การกําหนดเครื่องมือเก็บ

รวบรวมขอมูล และการวิเคราะหขอมูลที่เหมาะสม

ความสัมพันธระหวางตัวแปรจะนําไปสูการต้ังสมมุติฐานในการวิจัย

Page 6: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 6

ประเภทของตัวแปร

ตัวแปรมีหลายประเภทดังน้ี

ก. ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) มีช่ือเรียกอีกหลายช่ือ เชน ตัวแปรตน ตัวแปร

จัดกระทํา ตัวแปรเรา เปนตน

การที่ใชช่ือวาตัวแปรจัดกระทํา (Manipulated or Treatment Variable) เปนการเรียกในกรณี

วิจัยการทดลองทั้งน้ีเน่ืองจากการวิจัยทดลองเปนตัวแปรที่ผูวิจัยจัดสภาพใหเกิดระดับหรือความเขมขน หรือ

ประเภทแตกตางกัน เชน ถาตัวแปรอิสระเปนอุณหภูม ิ ผูวิจัยจะจัดใหมีอุณหภูมิในการทดลองแตกตางกัน

เชน ใหกลุมหน่ึงอยูในสภาพแวดลอมที่มีอุณหภูม ิ 20 o C อีกกลุมอยู ในสภาพแวดลอมทีม่ีอุณหภูมิ 30 o C

เปนตน ดวยเหตุดังกลาวจึงเรียกวาเปนตัวแปรจัดกระทํา

ที่เรียกวาตัวแปรเรา ( Stimulas Variable) ก็เน่ืองจากตัวแปรน้ีเปนตัวแปรที่เราใหเกิดการ

ตอบสนอง เชนในการทดลองเกี่ยวกับวิธีสอนถือวาการสอนเปนตัวเราใหผูเรยีนมีพฤติกรรมใหผูเรียนมี

พฤติกรรมที่ชวยใหเกิดการเรียนรู

ที่เรียกวาตัวแปรปอน (Input Variable) เปนการเรียกในการวิจัยเชิงทดลอง ทั้งน้ีเน่ืองจากเปนตัว

แปรที่ใสในการทดลอง

ข. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) มีช่ือเรียกอีกอยางวาตัวแปรผล คําวา ตาม

(Dependent) หมายถึง ข้ึนอยูกับ หรือแปรผันไปตาม ตัวแปรอิสระ กลาวคือคาของตัวแปรน้ีจะแตกตาง

กันไปตามประเภท ระดับ หรือความเขมของตัวแปรอิสระ

ที่เรียกวาตัวแปรผล (Output Variable) เน่ืองจากเช่ือวาเปนตัวแปรที่ไดรับผล หรือเปนผลจาก

อิทธิพล ของตัวแปรอิสระ เชน การสอน (ตัวแปรอิสระ) เปนสาเหตุหรือมีอิทธิพลทําใหเกิดการเรียนรู (ตัว

แปรผล) เปนตน

ตัวอยาง

เรื่องที่วิจัย “การเปรียบเทียบการมีวินัยแหงตนและผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา

ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที่ 1 โรงเรียนบุรีรัมยพิทยาคม ระหวางวิธีสอนแบกระบวนการกลุม

สัมพันธและการสอนแบบบรรยาย” (ดารณี เงยวิจิตร.2525)

ตัวแปรอิสระ คือวิธีสอน ซึ่งม ี 2 วิธี คือ

1.วิธีสอนแบบกระบวนการกลุมสัมพันธ 2.วิธีสอนแบบบรรยาย

ตัวแปรตาม มี 2 ตัว คือ

1.ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา 2.ความมีวินัยแหงตน

Page 7: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 7

ค. ตัวแปรสอดแทรกหรือตัวแปรแทรกซอน (Intervening Variable) เปนตัวแปรที่เกิดข้ึน

ระหวางการทดลอง เชน ขณะที่การทดลองกลุมตัวอยางเกิดความเหน่ือยลาหรือเกิดความวิตกกังวล มี

แรงจูงใจสูงหรือตํ่าเปนตน นอกจากความเหน่ือยลา ความวิตกกังวล แรงจูงใจ และยังมีตัวแปรชนิดน้ีอีก

หลายตัว เชน ความรับรู ความตองการ ความรูสึก เปนตน

ง. ตัวแปรเกินหรือตัวแปรภายนอก (Extraneous Variable) คือตัวแปรที่ผูวิจัยไมไดมุงศึกษา

ผลของตัวแปรน้ันและไดควบคุม แตอาจมีอิทธิพลตอตัวแปรตามทําใหขอสรุปขาดความเที่ยงตรง

ตัวอยาง การทดลอง เพื่อเปรียบเทียบวิธีการสอน 2 วิธี วาใดจะชวยใหผูเรียนมีสัมฤทธ์ิทางเรียนของ

ผูเรียน ไดแก ระดับสติปญญาของผูเรียน ฯลฯ ดังน้ันทางเลือกกลุมตัวอยางโดยเลือกเอาหองเรียนที่

โรงเรียนจัดไว โดยไมไดใชวิธีจัดแบบสุม หองเรียนแตละหองมักมีนักเรียนที่มีระดับสติปญญาแตกตาง

กัน อน่ึงยังมีตัวแปรอื่น ๆ อีก เชน สถานะภาพทางเศรษฐกิจและทางสังคม ความสามารถทางการเรียน

ของผูเรียน เปนตน

ความสัมพันธระหวางตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม ตัวแปรเกิน และตัวแปรสอดแทรก แสดงไวดัง

ภาพ

การเสริมแรง

-สติปญญา(ความถนัด)

- เพศ

- อายุ - ฯลฯ

การเรียนรู

-แรงจูงใจ

-ความ เหนื่อยลา

- ความวิตกกังวล

- ฯลฯ

ตัวแปรอิสระ

ตัวแปรเกิน

ตัวแปรตาม

ตัวแปรสอดแทรก

Page 8: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 8

จ. ตัวแปร Organismic หรือ Attribute Variable คือ ตัวแปรที่ไมสามารถเปลี่ยนแปลง เชน เพศ

อายุ เช้ือชาติ เปนตน

ตัวอยางการพิจารณาตัวแปรตน ตัวแปรตาม ตัวแปรเกิน และตัวแปรแทรกสอด

จากปญหาการวิจยั “ครูสงสัยวาวิธีการสอน 2 แบบ คือ การสอนแบบบรรยาย และการสอน

แบบยึดผูเรียนเปนสําคัญ จะทําใหผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนกลุมสาระวิทยาศาสตรของนักเรียนช้ัน

ประถมศึกษาปที่ 6 ตางกันหรือไม”

ตัวแปรตน คือ วิธีสอน แบงเปน วิธีสอนแบบบรรยาย และวิธีสอนแบบยึดผูเรียนเปนสําคัญ

ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนกลุมสาระวิทยาศาสตรของนักเรียน

ตัวแปรเกิน ที่อาจมี เชน ไอคิว พื้นความรู และเพศ เปนตน

ตัวแปรแทรก ที่อาจมี เชน ความสนใจ และความกระตือรืนรน เปนตน

จากตัวอยางสามารถแสดงไดดังภาพ

ตัวแปรเกิน (ไอคิว ,เพศ, ความรูเดิม ฯลฯ)

ตัวแปรแทรก

(ความสนใจ ,ความกระตือรืนรน)

จากภาพ ตัวแปรที่ผูวิจัยตองการศึกษา คือ ตัวแปรตน และตัวแปรตาม ในกรอบสี่เหลี่ยม คือ

สนใจวาวิธีการสอนจะสงผลตอผลสัมฤทธ์ิของนักเรยีนหรือไม ซึ่งถาผลสัมฤทธ์ิที่ไดเปนเพราะวิธีสอนจริงๆก็

จะทําใหผลการวิจัยมีความชัดเจน แตจากภาพจะเห็นวามีตัวแปรอื่นเขามาเกี่ยวของดวย 2 ประเภท คือตัว

แปรเกินและตัวแปรแทรก ซึ่งมีอิทธิพลตอผลสัมฤทธ์ิของผูเรียนใหมีการเปลี่ยนแปลงดวย ทําใหผลการวิจัย

ไมชัดเจน

ตัวแปรตน ตัวแปรตาม

(วิธีสอน) (ผลสัมฤทธิ์)

Page 9: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 9

ตัวแปรที่เขามาเกี่ยวของประเภทแรก คือ ตัวแปรเกินซึ่งจะสงผลตอผลสัมฤทธ์ิ เชน ไอคิว หรือ

เพศของผูเรียน น้ันคือคะแนนที่ไดอาจไมใชเพราะวิธีสอน แตเปนเพราะไอคิวเด็กสูงอยูแลว หรือเน้ือหาที่

สอนเอื้อหรือเปนอุปสรรคตอเพศหน่ึงเพศใด เชนถาสอนเกี่ยวกับเรื่องคหกรรม เพศหญิงอาจไดเปรียบหรือ

มีพื้นความรูอยูแลว ทําใหไดคะแนนสูง หรือถาสอนเน้ือหาเกี่ยวกับเครื่องยนต เพศชายอาจไดเปรียบทําให

ไดคะแนนสูงกวา ไมใชเพราะวิธีสอนที่ผูวิจัยทดลองแตอยางใด ตัวแปรเกินดังกลาวจะสามารถสงผลหรือมี

อิทธิพลตอตัวแปรตามโดยตรง

ตัวแปรประเภทตอมา คือ ตัวแปรแทรก จากภาพจะไมสามารถสงผลโดยตรงตอตัวแปรตาม แต

จะสงผลโดยออมมาจากตัวแปรตน เชน ถาวิธีสอนโดยใชสื่อคอมพิวเตอรประกอบ ทําใหผูเรียนสนใจ

เพิ่มข้ึน มีแรงจูงใจ สงผลตอคะแนนหรือเน้ือหาที่นํามาสอน ไมใชเพราะวิธีสอน

ในการวิจัยผูวิจัยตองการศึกษาเฉพาะตัวแปรตนและตัวแปรตาม การที่มีตัวแปรเกินและตัวแปร

แทรกจะทําใหผลการวิจัยขาดความชัดเจนสรุปผลผิดพลาดได จึงตองควบคุมตัวแปรเกินหรือตัวแปรแทรกให

ไดมากที่สุด

การนิยามตัวแปร

ปญหาการวิจัย มักเปนปญหาที่ประกอบดวยตัวแปรตางๆ สิ่งที่จะชวยใหผูวิจัยและผูอื่นเขาใจ

ปญหาน้ันๆไดกระจาง ชัดเจน คือ ตองนิยามหรือหึความหมายตัวแปรที่ศึกษา โดยเฉพาะอยางย่ิงตัวแปร

ประเภทนามธรรม หรือที่เรียกวา “construct” จะตองระมัดระวังในการใหนิยาม คือตองใหเกิดความ

ชัดเจนมากที่สุด ตองใหทราบวาจะวัดไดอยางไร การที่จะนิยามตัวแปรใหชัดเจนน้ันตองอาศัยขอมูล และ

ขอเท็จจริงตางๆอยูมาก ซึ่งผูวิจัยสามารถหาขอมูลหรือขอเท็จจริงตางๆน้ีได 2 แนวทาง คือ

(1) อาศัยทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวของ แนวทางน้ีผูวิจัยตองอานและคนควา เพื่อหาขอมูล

เกี่ยวกับตัวแปรน้ันจากเอกสารตางๆที่กลาวถึงทฤษฎีของตัวแปรน้ันๆจากงานวิจัยที่เกี่ยวของ

(2) อาศัยขอเท็จจริงเชิงประจักษที่ไดจากการเก็บรวบรวมขอมูล ( Empirical approach )

แนวทางน้ีใชกับตัวแปรที่เปนนามธรรม (construct) และยังไมมีใครศึกษามากอน มีวิธีการ

ดังน้ี

1) เลือกกลุมตัวอยางที่คาดวามีคุณลักษณะสอดคลองกับลักษณะของตัวแปรที่ศึกษา

2) หาคุณลักษณะ( Attribute) ที่สําคัญจากการเก็บรวบรวมขอมูลจากกลุมตัวอยาง โดย

ใชเทคนิคตางๆ เชน การสังเกต การสอบถาม และการสัมภาษณ เปนตน

3) นําคุณลักษณะที่รวบรวมไดมาวิเคราะหเน้ือเพื่อหาองคประกอบสําคัญของตัวแปรน้ัน

เพื่อสรางโครงหุน(Model ) ของตัวแปร เพื่อจะใหคํานิยามตอไป

Page 10: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 10

การใหนิยามตัวแปร อาจใชแนวทางใดทางหน่ึงหรืออาจใชทั้งสองแนวทางประกอบกันก็ได

เน่ืองจาก ลักษณะของตัวแปร มีทั้งที่เปนลักษณะ Concept คือ ตัวแปรที่แสดงความหมายในลักษณะที่

บุคคลทั่วไปรับรูไดตรงกันหรือสอดคลองกัน ไดแกตัวแปรที่เปนรูปธรรม เชน เพศ อายุ เช้ือชาติ อาชีพ

ระดับการศึกษา เปนตน และลักษณะ Construct คือ ตัวแปรที่แสดงความหมายในลักษณะเฉพาะตัว

บุคคลและอาจรับรูไดตรงกันหรือไมตรงกันก็ได มักเปนตัวแปรที่เปนนามธรรม บาครั้งเรียกตัวแปร

สมมติฐาน เชน ความวิตกกังวล ความเกรงใจ ทัศนคติ แรงจูงใจ เปนตน การนิยามตัวแปรจึงนิยามได

ตามลักษณะของตัวแปร ดังน้ี

(1) นิยามในลักษณะบอกองคประกอบ( Constitutive definition) เปนการอธิบายวาตัวแปร

น้ันหมายถึงอะไร มีองคประกอบอะไรบาง มักใชกับตัวแปรที่เปนลักษณะ Concept เชน

นิยามเพศวา ลักษณะทางกายภาพของบุคคล ซึ่งแบงได 2 อยาง คือ ชายกับหญิง

(2) นิยามในลักษณะปฏิบัติการ (Operational definition) เปนการอธิบายวาตัวแปรน้ัน

หมายถึงอะไร มีองคประกอบอะไรบาง และวัดไดอยางไร กลาวโดยสรุป การนิยามตัวแปร

ลักษณะน้ี ประกอบดวยลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ

1) คุณลักษณะหรือองคประกอบของตัวแปร

2) พฤติกรรมที่แสดงออก เน่ืองจากตัวแปรชนิดน้ีมักเปนคุณลักษณะแฝงไมสามารถ

สังเกตหรือวัดไดโดยตรง จึงตองวัดโดยทางออมซึ่งผูวิจัยตองมีความเช่ือวาคุณลักษณะ

ภายในเหลาน้ันจะเปนตัวกําหนดใหบุคคลแสดงพฤติกรรมอยางใดอยางหน่ึงออกมา

ภายใตสภาวะหรือเงือนไขที่เหมาะสม

3) สถานการณหรอืสิ่งเราที่เหมาะสมที่นํามาเราใหบุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา

พฤติกรรมน้ันๆสามารถวัดได

4) เกณฑที่เปนเครื่องช้ีบงวาพฤติกรรมที่แสดงออกมาน้ันมีความหมายเชนใดเปนที่

ตองการหรือไมตองการ

ตัวอยางการนิยามในลักษณะปฏิบัติการ เชน นิยามทัศนคติตอวิชาภาษาไทยหมายถึงทาท ี

ความรูสึกของบุคคล(คุณลักษณะ)ที่มีตอวิชาภาษาไทย ซึ่งแสดงออกมาใน 2 ลักษณะ คือความรูสึกในทางที่

ดี หรือความรูสึกในทางที่ไมดีตอวิชาภาษาไทย วัดไดโดยดูจากการเขารวมในกิจกรรมของวิชาภาษาไทย (สิ่ง

เรา) ถาบุคคลเขารวมกิจกรรมบอย แสดงวามีเจตคติที่ดีตอวิชาภาษาไทย ถาไมเขารวมกิจกรรมหรือ

หลีกเลี่ยงบอย แสดงวามีเจตคติที่ไมดีตอวิชาภาษาไทย เปนตน

Page 11: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 11

สมมุติฐาน ( Hypothesis )

ความหมายของสมมุติฐาน

สมมุติฐาน ( Hypothesis ) คือ คําตอบสรุปของการวิจัยที่ผูวิจัยคาดการณหรือ

พยากรณไวลวงหนากอนการเก็บรวบรวมขอมูล และการเขียนอยูในลักษณะของขอความที่กลาวถึง

ความสัมพันธของตัวแปรต้ังแต 2 ตัวแปรข้ึนไป คําตอบดังกลาวไดมาจากการไตรตรอง โดยใชหลัก

เหตุผลที่นาจะเปนมากที่สุด โดยมีรากฐานของทฤษฎี ผลการศึกษาคนควาหรือผลการวิจัยตางๆที่เกี่ยวกับ

เรื่องน้ัน ผูวิจัยมั่นใจวาผลการวิจัยนาจะตรงกับสมมติฐานที่ไดระบุไว สมมติฐานที่ต้ังไวอาจถูกตองตาม

หลักฐานที่ปรากฏจากการวิจัยหรืออาจไมถูกตองก็ได เพราะการต้ังสมมติฐานไมไดต้ังข้ึนมาลอยๆแตต้ังจาก

หลักเหตุผลที่สนับสนุนดวยทฤษฎีและผลการวิจัยที่ผานมา

ตัวอยาง

1. ความคิดสรางสรรคกบัผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนมีความสัมพันธกันทางบวก ( ตัวแปรคือ

ความคิดสรางสรรคกับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน)

2. เด็กที่ไดรับการเลี้ยงดูแบบเขมงวดมีวินัยในตนเองมากกวาเด็กที่ไดรับการเลี้ยงดูแบบปลอยปละ

ละเลย (ตัวแปร คือ การอบรมเลีย้งดูกับการมีวินัยในตัวเอง)

ประเภทของสมมติฐาน

สมมติฐานแบงออกเปน 2 ชนิดคือ

1. สมมติฐานทางการวิจัย (Research hypothesis) เปนสมมติฐานที่เขียนอยูในรูปของ

ขอความทีค่าดคะเนคําตอบตามวัตถุประสงค ซึ่งสวนใหญจะบรรยายถึงความสัมพันธของตัวแปร

สมมติฐานทางวิจยัน้ีมีเทคนิคการเขียนอยู 2 แบบ คือ

1.1 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) เปนสมมติฐานที่เขียนโดยสามารถระบ ุ

ไดแนนอนถึงทิศทางของความสัมพันธวาสัมพันธทางใด (บวกหรือลบ) หรือถาเปนการเปรียบเทียบก็สามารถ

ระบุไดถึงทิศทางของความแตกตาง เชน มากกวา-นอยกวา, ดีกวา-เลวกวา, สูงกวา-ตํ่าวา เปนตน การ

ต้ังสมมติฐานแบบน้ีเปนการช้ีใหเห็นถึงความเช่ือมั่นในเหตุผลของการต้ังสมมติฐานของผูวิจัยวามีความเช่ือมั่น

คอนขางสูง

Page 12: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 12

ตัวอยาง

* สตรีที่ทํางานนอกบานมีบุตรนอยกวาสตรีที่เปนแมบาน

* เยาวชนที่มไีอคิวสูงมีความวิตกกังวลสูงกวาเยาวชนที่ไอคิวตํ่า

1.2 สมมติฐานแบบไมมีทิศทาง (Non-directionalo hypothesis) เปนสมมติฐานที่เขียนโดย

ไมไดระบุทิศทางของความสัมพันธของตัวแปร หรือทิศทางของความแตกตาง เพียงระบุวาตัวแปรมี

ความสัมพันธ หรือถาเปนการเปรียบเทียบก็ระบุไดเพียงวาสองกลุมน้ันมีคุณลักษณะแตกตางกันเทาน้ัน

ตัวอยาง

* ความคิดสรางสรรคกับผลสัมฤทธทางการเรียนมีความสัมพันธกัน

* เด็กที่ไดรับการเลี้ยงดูแบบเขมงวดกับเด็กที่ไดรับการเลี้ยงดูแบบปลอยปละละเลยมี

วินัยในตนเองแตกตางกัน

2. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis ) เปนสมมติฐานที่เขียนเปลี่ยนรูปมาจาก

สมมติฐานทางวิจัยใหอยูในรูปของโครงสรางทางคณิตสาสตร โดยใชสัญลักษณที่แทนคุณลักษณะของ

ประชากรที่เรียกวา คาพารามิเตอร ( Paramiter ) มาเขียนอธิบายความสัมพันธของตัวแปรหรืออธิบายความ

แตกตางระหวางกลุม

2.1 สมมติฐานท่ีเปนกลาง หรือสมมติฐานหลักหรือสมมติฐานศูนย (Hull hypothesis) แทน

ดวยสัญลักษณ H0 เปนสมมติฐานทางสถิติที่เขียนอธิบายถึงความสัมพันธของตัวแปร โดยระบุวาตัว

แปร 2 ตัวแปรน้ันมีความสัมพันธกัน หรือคุณลักษณะใดคุณลักษณะหน่ึงของสองกลุมน้ันไม

แตกตาง ใชคาพารามิเตอรที่บงบอกถึงความไมแตกตางกัน

2.2 สมมติฐานท่ีไมเปนกลางหรือสมมติฐานเลือกหรือสมมติฐานอ่ืน (Alternative

hypothesis) แทนดวยสัญลักษณ H1 เปนสมมติทางสถิติที่เขียนอธิบายถึงความสัมพันธของตัว

แปร โดยระบุถึงทิศทางของความสัมพันธของตัวแปรวาสัมพันธกันทางใด (บวกหรือลบ) หรือ

อธิบายถึงคุณลักษณะใดคุณลักษณะหน่ึงของสองกลุม โดยระบุวากลุมใดมีคุณลักษณะน้ันหรือสิ่ง

น้ัน ดีกวา-เลวกวา, มากกวา-นอยกวา, สูงกวา-ตํ่ากวา อีกกลุมใชคาพารามิเตอรที่บงบอกถึง

ความแตกตางกัน

สัญลักษณที่ใชบอยในการต้ังสมมติฐานทางสถิติ ไดแก

r แทนความสัมพันธของตัวแปรในรูปคะแนนดิบ

ρ แทนความสัมพันธของตัวแปรในรูปลําดับที ่

μ แทนคาประชากร

휌 แทนความแปรปรวนของประชากร

Page 13: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 13

ตัวอยาง

สมมติฐานท่ีเปนกลาง หรือสมมติฐานหลักหรือ

สมมติฐานศูนย (Hull hypothesis)

สมมติฐานท่ีไมเปนกลางหรือสมมติฐานเลือก

หรือสมมติฐานอ่ืน

(Alternative hypothesis)

- คาเฉลี่ยของประชากรเทากับ50

(H0 : = 50 )

- คาเฉลี่ยของประชากรไมเทากับ50

(H1 : 50 )

- คาเฉลี่ยของประชากรมากกวา50

(H1 : >50 )

- คาเฉลี่ยของประชากรนอยกวา50

(H1 : <50 )

- คาเฉลี่ยของประชากร ก.ไมแตกตางจาก

คาเฉลี่ยประชาการ ข. (H0 : 1 = 2 )

- คาเฉลี่ยของประชากร ก. แตกตางจาก

คาเฉลี่ยประชาการ ข. (H1 : 1 ≠ 2 )

- คาเฉลี่ยของประชากร ก. มากกวาคาเฉลี่ย

ประชาการ ข. (H1 : 1 > 2 )

- คาเฉลี่ยของประชากร ก. นอยกวาคาเฉลี่ย

ประชาการ ข. (H1 : 1 < 2 )

แหลงท่ีมาของสมมติฐาน

สิ่งที่จะชวยทําใหผูวิจัยสามารถต้ังสมมติฐานไดดีสมเหตุสมผลน้ันมีหลายประการ ดังตอไปน้ี

1. จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของ ทําใหไดรูทฤษฎีและผลวิจัยในประเด็นตางๆ

ทําใหเกิดความเขาใจและเกิดแนวคิดที่ทําใหสามารถต้ังสมมติฐานได

2. จากการสนทนากับผูมีความรูความเช่ียวชาญในเรื่องน้ันๆ คํากลาวหรือขอคิดเห็นของ

ผูเช่ียวชาญจะเปนแนวทางทําใหผูวิจัยสามารถต้ังสมมติฐานได

3. จากประสบการณเบื้องตนของผูวิจัยเองที่ไดทํางานคลุกคลีกับเรื่องน้ันมากอน ทําใหมีขอมูลที่

จะเปนแนวทางทําใหผูวิจัยสามารถต้ังสมมติฐานได

4. เกิดจากการไดรวมอภิปรายเกี่ยวกับปญหาที่จะศึกษากับบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวของกับเรือ่งน้ันๆ ทํา

ใหเกิดความคิดเช่ือมโยงกับประสบการณเดิมของผูวิจัยก็สามารถต้ังสมมติฐานได

5. จากการสังเกตพฤติกรรม สังเกตความสัมพันธของตัวแปรตางๆของพฤติกรรมน้ัน รวมทั้งการ

วิเคราะหแนวโนมของพฤติกรรมน้ันๆก็ทําใหไดแนวทางในการต้ังสมมติฐาน

Page 14: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 14

หลักในการเขียนสมมติฐาน

1. ใชขอความที่เฉพาะเจาะจงกะทัดรัด ชัดเจน สอดคลองกับจุดมุงหมายของการวิจัย

2. เขียนสมมติฐานหลังจากที่ไดศึกษาเอกสารที่เกี่ยวของกับการวิจัย ครบถวนแลว

3. โดยทั่วไปจะเขียนสมมติฐานกอนการเก็บรวบรวมขอมูล แตมีการวิจัยบางประเภท เชน การ

วิจัยเชิงคุณลักษณะที่ผูวิจัยไมจําเปนตองต้ังสมมติฐานในการวิจัยไวกอนที่จะทําการสํารวจ แต

อาจเริ่มจากการสังเกตรวบรวมขอมูลแลวสรางสมมติฐานจากขอมูลหรือพัฒนามาเปนทฤษฎี

เพื่ออธิบายขอมูลน้ัน

4. เขียนในรูปที่สามารถทดสอบไดจากขอมูลที่จะไปรวบรวมมา

5. กรณีที่มีความซับซอน ควรแยกสมมติฐานออกเปนขอๆซึ่งการวิจัยครั้งน้ันจะทําการทอสอบเปน

รายขอไป

ลักษณะของสมมติฐานท่ีดี

* สอดคลองกับจุดมุงหมายของการวิจัย

* อธิบายหรือตอบคําถามไดครอบคลุมปญหา

* สอดคลองกับสภาพที่เปนจริงที่ยอมรับกันทั่วไป

* สมเหตุสมผลตามทฤษฎีและความรูพื้นฐาน

* ถามีหลายตัวแปร หรือหลายประเด็นควรแยกเปนสมมุติฐานยอยๆ จะทําใหสรุปวา ยอมรับ

หรือปฏิเสธสมมุติฐานไดชัดเจน

* เขียนดวยถอยคําที่อานเขาใจงายและมีความชัดเจนไมกํากวม

* ควรเขียนในรูปของประโยคบอกเลา

* มีขอมูลหรือหลักฐานที่จะนํามาสนับสนุนหรือคัดคาน

* สมมุติฐานที่ดีไมจําเปนตองถูกตองเสมอไป

* มีขอบเขตพอเหมาะไมแคบหรือกวางไป ถาแคบเกิน ไปจะทําใหอธิบายตัวแปรที่เกี่ยวของไดไม

หมด ถากวางเกินไปไมสามารถหาขอมูลมาทดสอบไดเพียงพอ

* ระบุทิศทางที่แนนอนของความสัมพันธระหวางตัวแปรน้ัน

* อิงทฤษฎี สอดคลองกับขอเท็จจริงหรือทฤษฎีที่ไดรับการยืนยันแลว

* สามารถทดสอบได อธิบายขอเท็จจริงเกี่ยวกับปญหาการวิจัยไดอยางมีความเที่ยงตรงและ

เช่ือถือได

* ควรกระทําหลังจากไดศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับปญหาน้ันๆ มาเปนอยางดี

* คําศัพทที่ใชถามีความหมายไดหลายอยาง ผูวิจัยตองนิยามใหชัดเจนใหเปนที่เขาใจตรงกัน

* คุมคากับการศึกษา

Page 15: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 15

ประโยชนของสมมติฐาน

1. ชวยบอกขอบเขตของปญหา เน่ืองจากสมมติฐานเปนคําตอบที่คาดคะเนตอปญหาทุกดาน

ดังน้ันสมมติฐาน จึงชวยบอกใหทราบวาปญหาน้ันๆจะศึกษาอะไร แงมุมใดบาง

2. ชวยช้ีแนวทางในการวางแผนการวิจัย สมมติฐานชวยช้ีแนวทางวาจะใชกลุมตัวอยางชนิดใด

ขอมูลอะไรบาง จะเก็บขอมูลอยางไร ใชเครื่องมือใด ตลอดจนการเลือกใชสถิติเพื่อการ

วิเคราะหขอมูลอยางเหมาะสม

3. ชวยใหนักวิจัยมีความคิดแจมแจงในเรื่องที่ทําการวิจัย ทั้งน้ีเพราะสมมติฐานจะช้ีใหทราบถึง

ความสัมพันธระหวางตัวแปรตางๆ ตัวแปรใดเปนอิสระ ตัวแปรใดเปนตัวแปรตาม หรืออะไร

เปนเหตุ อะไรเปนผล ซึ่งจะเปนการชวยอธิบายปญหาใหชัดเจนย่ิงข้ึน

4. เปนแนวทางในการลงสรุป ซึ่งการสรุปจะเขียนในลักษณะคัดคานหรือสนับสนุนสมมติฐานที่ต้ัง

ไว ซึ่งทําใหการแปลผลชัดเจน มีความหมาย เขาใจงาย

สรุป

กรอบแนวคิดของการวิจัย เปนสวนหน่ึงของการสรุปภาพรวมที่จะชวยใหผูวิจัยทราบถึงตัวแปรแต

ละตัวที่จะเลือกศึกษา จะตองมีพื้นฐานทางทฤษฎีวามีความสัมพันธหรือเกี่ยวของกับเรื่องที่ศึกษาอยางไร

เพื่อจะทําใหตัวแปรที่เลือกมาศึกษามีความสมบูรณและถูกตองย่ิงข้ึน ซี่งการสรางกรอบความคิดในการวิจัย

น้ัน ผูวิจัยตองนําขอมูลจากหลายแหลงมาวิเคราะห สังเคราะหเพื่อใหไดขอมูลที่สําคัญ และเกี่ยวของกับ

ปญหาการวิจัยจริงๆ มาสรางเปนกรอบของงานวิจัย สวนตัวแปรจะเปนสิ่งที่ผูวิจัยตองการศึกษา ซึ่งอาจ

เปนคุณลักษณะหรือภาวการณตางๆก็ได และเมื่อนํามาศึกษาสามารถวัดได นับด หรือแจกแจงได โดยตัว

แปรจะมีความสําคัญตอการวิจัยในลักษณะของการเช่ือมโยงทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวของ กําหนด

สมมติฐานการวิจัย ชวยทําใหสามารถวัดและทดสอบได รวมทั้งเปนแนวทางในวิเคราะหขอมูล ดังน้ันจึง

พบวา ในการวิจัยผูวิจัยไดมีนิยามตัวแปรไวเพื่อสะดวกในการดําเนินการวิจัย ทําใหเกิดความเช่ือโยงได

เหมาะสม นอกจากน้ันสิ่งหน่ึงที่จะชวยใหการวิจัยเปนไปอยางมีทิศทาง คือ สมมติฐานการวิจัย ทั้งน้ี

เน่ืองจากสมมติฐานจะชวยจํากัดขอบเขตของการวิจัย ทําใหผูวิจัยชัดเจนเกี่ยวกับการทําวิจัยตามเปาหมายท่ี

กําหนดไวในการแกปญหา สรุปและตีความผลการวิจัยเปนไปไดงาย รวมทั้งชวยอธิบายปญหาของการวิจัย

ใหแจมชัดจากความสัมพันธระหวางที่ตองการศึกษาวิจัย

Page 16: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 16

เอกสารอางอิง

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องตน. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน

พิสนุ ฟองศรี. (2551). การวิจัยในช้ันเรียน :หลักการและเทคนิคปฏิบัติ กรุงเทพฯ : ดานสุธาการพิมพ

พวงรัตน ทวีรัตน. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤกศาสตรละสังคมศาสตร. กรุงเทพมหานคร :

สํานักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรนีครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

Page 17: กรอบความคิดในการวิจัย ตัวแปร และสมมุติฐานfile.siam2web.com/natcha/511/201278_86249.pdf · ปริญญาตรีหรือต่ํากว

ห น า | 17