datacaravan

13
เพลินรู้ ...คาราวาน...เพื่อความสุข วัดใหญ่สุวรรณาราม ตั้งอยู่ในเขตตําบลท่า ราบ อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี แต่เดิมเรียกกันว่า วัด น้อยปากใต้ , วัดน้อยปักษ์ใต้ หรือ วัดนอกปากใต้ เนื่องจากวัดตั้งอยู ่ทางด้านใต้ของแม่น้ําเพชรบุรีซึ่งแนว เดิมของแม่น้ําเพชรบุรีได้ไหลผ่านทางตอนเหนือของวัด ก่อนที ่จะไปออกปากอ่าวบ้านแหลม อีกประการหนึ่งก็ เพื่อให้คล้องจองกับ วัดในไก่เตี้ยซึ่งตั้งอยู ่ใกล้กันทาง ทิศใต้ ปัจจุบันมีสภาพเป็นวัดร้าง ส่วนสาเหตุที ่ได้ชื่อว่า วัดใหญ่ คงเป็นเพราะมีบริเวณกว้างขวางใหญ่โต ต่อ มาเมื่อพระสุวรรณมุนี (ทอง) ได้มาปฏิสังขรณ์วัดนี ้แล้ว คงมีการเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ตามสมณศักดิ์ของท่านว่า วัดสุวรรณารามแต่ชาวบ้านยังคงเรียกวัดใหญ่อยู่จึงเรียก รวมกันว่า วัดใหญ่สุวรรณาราม” ...หลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุในวัดแสดงถึงความเก่าแก่ที ่น่าจะมี มาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการปฏิสังขรณ์ครั ้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ (..2246-2251) โดยพระสุวรรณมุนี (สังฆราชแตงโม) ชาวเพชรบุรีซึ่งเคยมาอยู ่อาศัยในวัดนี้และบรรพชาเป็นสามเณรก่อนจะขี้น ไปอยู่กรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี ..2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดใหญ่สุวรรณารามขึ ้นเป็นพระอารามหลวง และเสด็จทอดพระเนตรหลายครั้งพร้อมทั ้งพระราชทานเงิน สําหรับการปฏิสังขรณ์วัดด้วย แสดงถึงความสําคัญของวัดใหญ่สุวรรณารามที ่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาโดย ตลอด โบราณสถานที่ปรากฏอยู ่ในวัดใหญ่สุวรรณารามนั้นทรงคุณค่าทางด้านศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม โบราณที่งดงามสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการ ปฏิสังขรณ์ และสร้างพระระเบียงคดรอบพระ อุโบสถที่ไม่มีหน้าต่าง ภายในมีภาพเขียนเทพชุมนุมที่ แปลกกว่า ที่อื่น ภาพเขียนนี้มีอายุกว่า 300 ปีมาแล้ว พระอุโบสถเป็นศิลปะอยุธยา ก่ออิฐถือปูนที ่มีฐานปัทม์อ่อนโค้งแบบฐานสําเภาหน้าบันเป็นงานรูปปั้นสมัย อยุธยาตอนปลายที่งามพลิ้วราวมีชีวิต ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่น มีภาพทวารบาล ภาพพุทธประวัติ และเทพชุมนุมเรียงรายกัน 5 ชั้น เสาและเพดานมีการตกแต่งด้วยลายทองบนพื ้นแดงอย่างวิจิตร ตัวพระอุโบสถ มีวิหารคตที่สร้างขึ ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ล้อมรอบ ลายปูนปั้น โดยเฉพาะที่หน้าบันซึ่งปั้นเป็นรูปพระนารายณ์ ทรงครุฑ ลายพุ่ม กระจัง ฝีมือช่างชั้นครูของเมืองเพชรบุรีราวสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาต่อต้น กรุงรัตนโกสินทร์ ภาพจิตรกรรม เขียนในสมัยอยุธยา ปัจจุบันยังอยู่ในสภาพ สมบูรณ์ โดย เฉพาะภาพบริเวณผนังด้านข้างพระประธาน ซึ่งยังไม่เคยได้รับการซ่อมแซม เขียนเป็นรูปเทพชุมนุมเรียงซ้อนกันห้าชั ้น ประกอบด้วยเทวดาจากสวรรค์ชั ้น ต่าง นั่งปะปนกับฤๅษี นักสิทธ์ วิทยาธร นาค ครุฑ และอสูร ซึ่งมีความ งดงามโดดเด่นเป็นพิเศษ ที่ พระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณารามมีจิตรกรรมที ่ฝา ผนังและที่บานประตูซึ่งงดงามมาก ถือเป็นเพชรน้ําเอกทีเดียว จิตรกรรมที่ บานประตูพระอุโบสถด้านในเป็นรูปทวารบาล (ผู้เฝ้าประตู ) บานประตูด้าน หลัง 2 ประตูด้านใน เขียนเป็นรูปกินนรบานละตัว งามทั้งรูปแบบ ทรวดทรง สีสันและเครื่องประดับ ที่งดงามเป็นพิเศษ คือ ประตูด้านหน้าช่องกลางด้าน ใน (บางท่านเรียกว่าหน้าต่าง) เป็นภาพเทวดาถือช่อกนกบานละองค์ เสื้อผ้า อาภรณ์อ่อนช้อยงดงามมาก ตอนบนของประตูเขียนรูปแม่ธรณีบีบมวยผม ท่านั ่ง ชันเข่าและท่าบีบมวยผมมีความอ่อนงามน่าชมยิ ่ง 1

Upload: ppmantana-art-laemkom

Post on 24-Mar-2016

213 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

เพลินรู้ คาราวาน 15-17 ก.ค. 2554

TRANSCRIPT

เพลินรู.้..คาราวาน...เพื่อความสุข

วัดใหญ่สุวรรณาราม ตั้งอยู่ในเขตตําบลท่าราบ อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี แต่เดิมเรียกกันว่า “วัดน้อยปากใต้, วัดน้อยปักษ์ใต ้ หรือ วัดนอกปากใต้” เนื่องจากวัดตั้งอยู่ทางด้านใต้ของแม่น้ําเพชรบุรีซึ่งแนวเดิมของแม่น้ําเพชรบุรีได้ไหลผ่านทางตอนเหนือของวัดก่อนที่จะไปออกปากอ่าวบ้านแหลม อีกประการหนึ่งก็เพื่อให้คล้องจองกับ “วัดในไก่เตี้ย” ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กันทางทิศใต้ ปัจจุบันมีสภาพเป็นวัดร้าง ส่วนสาเหตุที่ได้ชื่อว่า “วัดใหญ่ ” คงเป็นเพราะมีบริเวณกว้างขวางใหญ่โต ต่อมาเมื่อพระสุวรรณมุนี (ทอง) ได้มาปฏิสังขรณ์วัดนี้แล้ว

คงมีการเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ตามสมณศักดิ์ของท่านว่า “วัดสุวรรณาราม” แต่ชาวบ้านยังคงเรียกวัดใหญ่อยู่จึงเรียกรวมกันว่า “วัดใหญ่สุวรรณาราม” ...หลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุในวัดแสดงถึงความเก่าแก่ที่น่าจะมีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ (พ.ศ.2246-2251) โดยพระสุวรรณมุนี (สังฆราชแตงโม) ชาวเพชรบุรีซึ่งเคยมาอยู่อาศัยในวัดนี้และบรรพชาเป็นสามเณรก่อนจะขี้นไปอยู่กรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดใหญ่สุวรรณารามขึ้นเป็นพระอารามหลวง และเสด็จทอดพระเนตรหลายครั้งพร้อมทั้งพระราชทานเงินสําหรับการปฏิสังขรณ์วัดด้วย แสดงถึงความสําคัญของวัดใหญ่สุวรรณารามที่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด โบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในวัดใหญ่สุวรรณารามนั้นทรงคุณค่าทางด้านศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมโบราณที่งดงามสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที ่ 5 ได้มีการ ปฏิสังขรณ์ และสร้างพระระเบียงคดรอบพระอุโบสถที่ไม่มีหน้าต่าง ภายในมีภาพเขียนเทพชุมนุมที ่แปลกกว่า ที่อื่น ภาพเขียนนี้มีอายุกว่า 300 ปีมาแล้ว

พระอุโบสถเป็นศิลปะอยุธยา ก่ออิฐถือปูนที่มีฐานปัทม์อ่อนโค้งแบบฐานสําเภาหน้าบันเป็นงานรูปปั้นสมัยอยุธยาตอนปลายที่งามพลิ้วราวมีชีวิต ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่น มีภาพทวารบาล ภาพพุทธประวัต ิและเทพชุมนุมเรียงรายกัน 5 ชั้น เสาและเพดานมีการตกแต่งด้วยลายทองบนพื้นแดงอย่างวิจิตร ตัวพระอุโบสถมีวิหารคตที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ล้อมรอบ

ลายปูนปั้น โดยเฉพาะที่หน้าบันซึ่งปั้นเป็นรูปพระนารายณ ์ทรงครุฑ ลายพุ่มกระจัง ฝีมือช่างชั้นครูของเมืองเพชรบุรีราวสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาต่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ภาพจิตรกรรม เขียนในสมัยอยุธยา ปัจจุบันยังอยู่ในสภาพ สมบูรณ์ โดยเฉพาะภาพบริเวณผนังด้านข้างพระประธาน ซึ่งยังไม่เคยได้รับการซ่อมแซม เขียนเป็นรูปเทพชุมนุมเรียงซ้อนกันห้าชั้น ประกอบด้วยเทวดาจากสวรรค์ชั้นต่าง ๆ นั่งปะปนกับฤๅษี นักสิทธ์ วิทยาธร นาค ครุฑ และอสูร ซึ่งมีความงดงามโดดเด่นเป็นพิเศษ ที่ พระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณารามมีจิตรกรรมที่ฝาผนังและที่บานประตูซึ่งงดงามมาก ถือเป็นเพชรน้ําเอกทีเดียว จิตรกรรมที่บานประตูพระอุโบสถด้านในเป็นรูปทวารบาล (ผู้เฝ้าประตู) บานประตูด้านหลัง 2 ประตูด้านใน เขียนเป็นรูปกินนรบานละตัว งามทั้งรูปแบบ ทรวดทรง สีสันและเครื่องประดับ ที่งดงามเป็นพิเศษ คือ ประตูด้านหน้าช่องกลางด้านใน (บางท่านเรียกว่าหน้าต่าง) เป็นภาพเทวดาถือช่อกนกบานละองค์ เสื้อผ้าอาภรณ์อ่อนช้อยงดงามมาก ตอนบนของประตูเขียนรูปแม่ธรณีบีบมวยผม ท่านั่ง ชันเข่าและท่าบีบมวยผมมีความอ่อนงามน่าชมยิ่ง

1

ภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถ เป็นจิตรกรรมภาพเทพชุมนม ฝีมือช่างสมัยอยุธยา ซึ่งยังอยู่ในสภาพที่ด ีและยังไม่เคยได้รับการซ่อมแซม น. ณ ปากน้ํา ผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะไทยเคยกล่าวยกย่องฝีมือช่างชาวเพชรบุรีที่เขียนภาพนี้ว่าเป็นฝีมือช่างเทวดา และลงความเห็นว่าเป็นฝีมือเดียวกันกับลายไทยบนศาลาการเปรียญด้วยจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถด้านยาวทั้ง 2 ด้านเขียนเป็นภาพเทพชุมนุมเรียงราย 5 ชั้น สามชั้นบนเขียนรูปพรหม ฤๅษี ยักษ์ และเทวดา สลับกันไป ส่วนสองชั้นล่างเขียนรูปครุฑ สลับกับเทวดา รูปเทวดาต่างๆ มีความละม้ายความเป็นมนุษย์ท่านั่งมีลักษณะเฉพาะคือ นั่งยกเข่า ขึ้นข้างหนึ่ง ทําให้ดูเบาและลอยต่างจากภาพแห่งอื่น ลายผู้นุ่งไม่ซ้ํากัน ระหว่างเทวดาแต่ละองค์เป็นลายพรรณพฤกษ์ แต่ละช่องลายต่างกัน มี ลักษณะใกล้เคียงธรรมชาติ

จิตรกรรมฝาผนังวัดใหญ่สุวรรณาราม มีลักษณะเป็นภาพเขียนเต็มผนัง ซึ่งบางส่วนลบเลือนเกือบหมด แต่ยังพอเห็นร่องรอยของความงดงามได ้ศาสตราจารย์ศิลป ์พีระศรี กล่าวว่า "ช่างที่อยู่ในสมัยที่ภาพเขียนเจริญถึงขีดสุดเท่านั้น จึงจะสามารถวาดภาพจิตรกรรมที่งดงามเช่นนี้ได้"

ที่หน้าบันทุกๆ ด้านของวิหารคตจะมีลวดลายพานและพระขันธ์เลข 5 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจํารัชกาลที่ 5 สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะรายรอบ

พระพุทธรูป เป็นพระพุทธรูปฝีมือช่างสมัยอยุธยา และองค์ ที่สําคัญคือ พระคันธารราษฎร์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าฯ ทรงอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ กรุงเทพมหานคร ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะนํามา

ประดิษฐานในโบสถ์แห่งนี้ นอกจากนี้ด้าน หน้าพระประธานยังมีพระรูปหล่อพระสังฆราชแตงโมประดิษฐานอยู ่และมีบาตรที่ทรงเคยใช้เก็บอยู่ในตู้ข้าง ๆ ด้วยพระพุทธรูป 6 นิ้ว (นิ้วพระบาท) ซึ่งประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหลังพระประธาน ไม่มีประวัติที่มาที่ไป และมีความเชื่อว่า การได้นมัสการพระพุทธรูป 6 นิ้ว เป็นสิ่งมงคลที่จะนํามาซ่ึงโภคทรัพย์ โชคชัยและความอุดมสมบูรณ์ทั้งปวง

2

สมเด็จเจ้าแตงโม เดิมชื่อ ทอง เป็นชาวนาหนองหว้า กําพร้าพ่อแม่แต่เล็กอยู่กับพี่สาว พี่สาวใช้ให้ ตําข้าว หาฟืนทุกวัน วันหนึ่งตําข้าวหก พี่สาวคว้าฟืนไล่ตีเลยวิ่งหนีเอาตัวรอด (อายุประมาณ 9 - 10 ขวบ) แล้วระเหระหนเข้าเมืองเที่ยวตุหรัดตุเหร่เข้าหมู่ไปตามฝูงเด็ก ๆ จนมีเพื่อนเล่นเพื่อนเที่ยวมาก เช่น เด็กบ้าน เด็กวัด เด็กทองนี้ได้เที่ยวอด ๆ อยาก ๆ อาศัยแต่น้ําประทังความหิวไปวันหนึ่ง ๆ ด้วยความอดทน วันหนึ่งลงเล่นน้ํากับเด็กวัดใหญ่ที่ท่าหน้าวัด มีเปลือกแตงโมลอยน้ํามา 1 ชิ้น ด้วยความหิวจึงคว้าเปลือกแตงโมได้แล้วก็ดําน้ําลงไปเคี้ยวกินแล้วโผล่ขึ้นมา เพื่อเด็กที่เล่นน้ําด้วยกันรู้ว่า

เด็กทองกินเปลือกแตงโม ก็พากันเย้ยหยันต่าง ๆ ว่าจะกละกินเปลือกแตงโม จึงได้พากันเรียกว่าเด็กแตงโม ถึงอย่างไรก็ดี เด็กทองก็ไม่แสดงความเก้อเขินขัดแค้นต่อเพื่อเด็กด้วยกัน คงยิ้มแย้มแจ่มใสพูดจาเล่นหัวตามเคย ตั้งแต่วันนั้นมาก็กระจ๋อกระแจ๋กับเด็กวัดใหญ่จนได้เข้าไปเล่นหัวอยู่ในวัดกับเพื่อน ทั้งได้ดูเพื่อนเขาเขียนอ่านกันอยู่เนือง ๆ แล้วก็เลยนอนค้างอยู่กับเพื่อในวัดด้วยกัน วันหนึ่งเป็นพิธีมงคลการ เจ้าเมืองได้นิมนต์สมภารไปสวดมนต์เย็น ครั้นเสร็จแล้วกลับวัด พอตกเวลากลางคืนสมภารจําวัดตอนใกล้รุ่งฝันว่าช้างเผือกตัวหนึ่งได้เข้ามาอยู่ในวัด แล้วขึ้นไปบนหอไตร แทงเอาตู้พระไตรปิฎกล้มลงหมดทั้งหอ ครั้นตื่นจากจําวัดท่านก็นั่งตรองความฝันจึงทราบได้โดยตําราลักษณะสุบินทํานาย พอได้เวลาท่านจะไปฉันที่บ้านเจ้าเมือง ท่านสั่งกับพระเผ้ากุฏิว่า ถ้ามีใครมาหาให้เอาตัวไว้ก่อนรอจนกว่าจะพบท่าน แล้วท่านก็ไปฉัน ครั้นเสร็จแล้วกลับมาวัดถามพระว่ามีใครมาหาหรือเปล่า พระตอบว่าไม่มีใครมาหา ท่านจึงคอยอยู่จนเย็นก็ไม่เห็นมีใครมาจึงไต่ถามพระสามเณรศิษย์ว่าเมื่อคืนมีใครแปลกหน้าเข้ามาบ้างหรือเปล่า เด็กวัดคนหนึ่งเรียนว่า มีเด็กทองเข้ามานอนด้วยคนหนึ่ง ท่านจึงได้ให้ไปตามตัวมา ครั้นเด็กทองมาแล้ว ท่านจึงได้พิจารณาดูรู้ว่าเด็กทองนี้เองที่เข้าสุบิน ท่านจึงไต่ถามเรื่องราวต่างๆ จนได้ความตลอดแล้ว จึงชักชวนให้อยู่ในวัดมิให้ระเหระหนไปไหน

ศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม พระตําหนักไม้สักทั้งหลังที่พระเจ้าเสือ (พระสรรเพชญ์ที ่ 8) แห่งกรุงศรีอยุธยา พระราชทานแด่พระสังฆราชแตงโม เป็นสถาปัตยกรรม-ศิลปกรรมยุคอยุธยาตอนปลาย สร้าง สร้างด้วยไม้สัก ไม้ผนังเป็นฝาปะกน เสาทุกต้นเป็นเสาแปดเหลี่ยม บานประตูกลางด้านหน้ามีลายจําหลักไม้อันประณีตพิสดาร และที่หน้าบันมีลายปูนปั้นฝีมือช่างชั้นครูของเพชรบุรีฝาปะกนด้านนอกเดิมเขียนลายทองแต่ภายหลังลบเลือนจึงทาสีแดงทับ ส่วนภายในมีภาพเขียนสีฝุ่นซึ่งก็ลบเลือนไปมากเช่นกัน

เครื่องหลังคาเป็นโครงประดุชนิดมีจันทันต่อ มุงด้วยกระเบื้องกาบูแต่ด้วยการบูรณะที่ไม่ถูกต้องจึงมีการเทปูนตํา(ปูนโบราณ)ลงฉาบทั้งผืนหลังคา แต่ปูนตําเป็นปูนที่ใช้กะดาษฟางเป็นส่วนผสมจึงทําให้อมความชื้นและมีตะใคร่ขึ้นจับหลังคา ถือเป็นตัวอย่างพระราชมนเทียรสมัยอยุธยาที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ มีลักษณะเป็นเรือนไทยขนาดใหญ่ 10 ห้องหน้าบันหลังคาด้านหน้าและหลังเป็นมุขประเจิดหรือมุขทะลุขื่อ แกะสลักเป็นลายกระหนกช่อพุ่มหางโต ระหว่างชายคาและตัวฝาผนังเรือนด้านนอกมีคันทวยลายหน้าตั๊กแตนรองรับโดยตลอด

ศาลาการเปรียญนี้มีการแกะสลักไม้ที่สวยงาม โดยเฉพาะบานประตูสลักลายก้านขดปิดทอง ออกยอดเป็นลายกระหนกและหัวสัตว์ต่าง ๆ อยู่ในกรอบซุ้มเรือนแก้วที่สวยงามน่าชม ภายในยังมีภาพเขียนรูปเทวดาสมัยอยุธยาให้ชมอีกด้วย มีความสําคัญในเชิงประวัติศาสตร์และศิลปกรรมนั่นคือเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย และที่บานประตูมีรอยทหารพม่าใช้ขวานจามบานประตูเพื่อจับคนที่อยู่ข้างใน และยังมีธรรมาสน์เทศน์ ซึ่งแกะสลักลงรักปิดทอง รูปทรงเป็นบุษบกที่งดงามและสมบูรณ์ บนผนังภายในพระอุโบสถ มีภาพเขียนเทพชุมนุม อายุกว่า 300 ปี โดยมีบานประตูแกะสลักที่งดงามและมีความ

3

สําคัญในเชิงประวัติศาสตร์และศิลปกรรมนั่นคือเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย และที่บานประตูมีรอยทหารพม่าใช้ขวานจามบานประตูเพื่อจับคนที่อยู่ข้างใน

หอไตรกลางสระน้ํา ซึ่งมีเสารองรับเพียงสามเสา โดยในความคิดของช่างที่จะให้สอดคล้องกับที่เก็บพระไตรปิฏกสามหมวด คือ พระธรรมปิฏก พระไตรปิฏก และพระสุตันตปิฎก การที่สร้างไว้กลางน้ําก็เพื่อให้พ้นจากมดปลวกที่จะมากัดกินพระไตรปิฏกใบลานที่เก็บไว้ในหอ“หอไตรกลางน้ํา” เป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่สามารถหาชมได้ง่ายนักในปัจจุบัน เป็นหอไตรสามเสา ปลูกลงในสระน้ํา มีลักษณะเป็นเรือนไทยฝากระดาน 2 ห้อง หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ไม่มีกันสาด ใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎก

หอเก็บพระไตรปิฏก เป็นอาคารไม้ผนังฝาปะกน รองรับด้วยเสาไม ้3เสา จากแนวคิดที่ว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย 3 ปิฎกคือ พระธรรมปิฏก พระไตรปิฏก และพระสุตันตปิฎก

เว็จกุฎี ที่วัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี วัจจกุฎีหรือเว็จกุฎี คือ ชื่อเรียกอาคารที่ใช้สําหรับเป็นที่ขับถ่ายของพระภิกษุสงฆ์ในวัด เรียกอย่างภาษาปากว่า “ถาน” สมัยก่อนนิยมปลูกเป็นอาคารหลังเดียวโดดๆ มีห้องเดียวหรือแบ่งเป็น 2 ห้อง สําหรับในเมืองไทยมีทั้งแบบชนิดยกพื้นสูงและไม่ยกพื้น ดังปรากฏหลักฐานที่เป็นซากโบราณสถานสมัยสุโขทัย และมีกลุ่มเว็จกุฎีแบบไม่ยกพื้นในหลายหลัง ขนาดอาคารกว้างยาวประมาณ 1.20 x 1.50 เมตร ปัจจุบันเหลือเพียงแนวสัณฐานอาคารและช่องขับถ่าย ซึ่งใช้วิธีการขุดเป็นหลุมลึก 2 ข้างปากหลุมวางก้อนศิลาแลงสําหรับเป็นที่วางเท้าเวลานั่งถ่าย ส่วน

ปลายเปิดเป็นช่องขนาดย่อมเพื่อเป็นร่องผ่านของอุจจาระ นอกจากนี้ยังพบแบบชนิดยกพื้นสูงอีกด้วย ที่วัดอาวาสใหญ่บริเวณเขตเดียวกัน โดยยกผนังก่อเป็นพื้นสูง มีแผ่นหินเจาะทะลุเป็นช่องกลม ตอนปลายถากเซาะเป็นแนวร่องแคบๆยาวต่อออกมาทางด้านหน้าเพื่อเป็นทางไหลของปัสสาวะ การสร้างที่ขับถ่ายในลักษณะอย่างหลังนี้น่าจะเป็นอิทธิพลที่ได้รับจากพระสงฆ์ของลังกา ซึ่งมีวัฒนธรรมการขับถ่ายที่ไม่นิยมให้ “มูตร” (น้ําปัสสาวะ) ผสมรวมกับ “คูถ” (อุจจาระ) ทั้งนี้ก็เพื่อให้อุจจาระแห้งเร็วขึ้น มิให้เปียกแฉะจนเกิดการหมักเน่าและเหม็น รวมทั้งจะเป็นพาหนะแพร่เชื้อโรคต่อไป ในสมัยโบราณการป้องกันการแพร่เชื้อโรครวมทั้งป้องกันมิให้เกิดกลิ่นเหม็น มักนิยมใช้ขี้เถ้ากลบเป็นชั้นๆ แม้ว่าปัจจุบันจะเลิกใช้อาคารหลังนี้แล้ว แต่รูปแบบและแบบแผนการสร้างอาคารประเภทนี้ ก็ถือได้ว่ามีความสมบูรณ์และอาจเหลืออยู่เพียงไม่กี่หลังในประเทศไทยนอกจากนี้แล้วในพระธรรมวินัยก็ยังมีข้อระบุเกี่ยวกับเรื่องการขับถ่ายของพระภิกษุอีกหลายประการ คือ ๑. ทุกวัดจะต้องมีเว็จกุฎีเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์มีที่ขับถ่ายที่มิดชิดและเป็นของตนเองไม่ต้องเดือดร้อนชาวบ้าน๒.ห้ามมิให้พระภิกษุขับถ่ายอุจจาระลงในลําน้ํา เพื่อป้องกันมิให้การระบาดของโรคที่จะเกิดจากพระภิกษุแพร่ผ่านไปตามสายน้ํา จนเป็นที่มาของการสูญเสียชีวิตผู้คน๓.ห้ามมิให้ขับถ่ายรวมมูตร(ปัสสาวะ) และคูถ(อุจจาระ) เข้าด้วยกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้ว๔.ห้ามมิให้ทิ้งไม้ชําระลงในร่อง เพราะจะกลายเป็นหลักประคองให้อุจจาระกองเป็นเนินสูงขึ้น๕.ห้ามมิให้ภิกษุขุดหลุมเพื่อใช้เป็นที่ขับถ่าย ให้อาศัยหลุมที่เป็นแอ่งตามธรรมชาต ิข้อห้ามนี้เป็นการป้องกันไม่ให้การขุดนั้นอาจพลาดไปถูกสัตว์บางประเภทที่อาศัยอยู่ในพื้นดินการใช้วัจจกุฎีนั้นดูจะเป็นเรื่องเดียวที่ทรงบัญญัติให้พระภิกษุเข้าไปใช้ได้ตามลําดับที่ไปถึงก่อนหลัง ไม่ต้องคอยตามลําดับพรรษาที่อ่อนแก่กว่ากัน

4

พระรามราชนิเวศน์ หรือ พระราชวังบ้านปืน ตั้งอยู่ที่เขตบ้านปืน ริมแม่น้ําเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเสด็จประพาสจังหวัดเพชรบุรี โดยมนีายคาร์ล ดอห์ริง สถาปนิกชาวเยอรมนีเป็นผู้เขียนแบบ, ดร.ไบเยอร์ ชาวเยอรมนี เป็นนายช่างก่อสร้าง, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดํารงราชานุภาพ (พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมการก่อสร้าง, และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ ์กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต (พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมด้านการไฟฟ้า

พระรามราชนิเวศน์เป็นที่ตั้งของ พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดําเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที ่19 สิงหาคม พ.ศ. 2453

ประวัติด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะมีพระราชวังนอกพระนคร

เพื่อประทับค้างแรมได้โดยสะดวก จังหวัดเพชรบุรีที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะให้เป็นพระราชวังที่ใช้ประทับยามหน้าฝน พระองค์จึงมีพระราชโองการให้ซื้อที่ดินจากชาวบ้านที่เขตบ้านปืน ริมแม่น้ําเพชรบุรี โดยมสีมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นแม่งานควบคุมการก่อสร้าง และมีพระบัญชาให้ คาร์ล ซีกฟรีด เดอห์ริง (Karl Siegfried Dohring) ผู้เคยออกแบบ วังบางขุนพรหม วังวรดิศ และวังพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐมาแล้ว เป็นสถาปนิกออกแบบ

นายดอห์ริงได้เลือกผู้ร่วมงานทั้งสถาปนิก วิศวกร และมัณฑนากรเป็นชาวเยอรมันทั้งสิ้น เพื่อการทํางานให้มีศิลปะเป็นแบบเดียวกันพระที่นั่งองค์นี้จึงมีรูปแบบศิลปะตะวันตกอย่างเต็มตัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่ต้องการพระตําหนักแบบโมเดิร์นสไตล์ สถาปนิกจึงได้ออกแบบมาในลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเยอรมัน โดยได้แบบแผนมาจากตําหนักในพระราชวังของพระเจ้าไกเซอร์แห่งเยอรมันที่ทรงเคยประทับลักษณะทางสถาปัตยกรรม

พระตําหนักได้ใช้ลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบบาโรค (Baroque) และแบบอาร์ต นูโว (Art Nouveau) หรือที่เยอรมันเรียกว่าจุงเกนสติล(Jugendstil)ตัวพระตําหนักจะเน้นความทันสมัยโดยจะไม่มีลายปูนปั้นวิจิตรพิศดารเหมือนอาคารในสมัยเดียวกัน พระตําหนักหลังนี้จะเน้นในเรื่องของความสูงของหน้าต่าง ความสูงของเพดานซึ่งกว้างเป็นพิเศษ ทําให้พระตําหนักดูใหญ่โต โอ่อ่า สง่างาม และตระการตาแผนผังของตัวอาคารสร้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมสวนหย่อม มีสระน้ําพุตั้งอยู่ตรงกลาง ส่วนที่ประทับเป็นตึกสองชั้นขนาดใหญ่ หลังคาทรงสูงรูปโดม ภายในเป็นโถงสูงมีบันไดโค้งขึ้นสู่ชั้นสองซึ่งจัดเป็นจุดเด่นของพระตําหนักเพราะรวมสิ่งน่าชมไว้

หลายหลาก ตัวอย่างเช่น เสาที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบและตกแต่งด้วยโลหะ ขัดเงา เสาเหล่านี้แล่นตลอดจากพื้นจดเพดานชั้นสองและประดับด้วยกระเบื้องเขียวเข้ากันกับบริเวณโดยรอบโถงบันได ที่หัวเสาตาม ราวบันไดโค้งมีตุ๊กตากระเบื้องรูปเด็กในอิริยาบถต่าง ๆ ประดับไว้ รอบบริเวณโถงบันไดชั้นบนยังมีกรอบลูกไม้กระเบื้องเคลือบประดับตามช่องโดยรอบอีกด้วย

พระตําหนักหลังนี้ยังมีสิ่งที่น่าชมอีกมาก กล่าวคือ การตกแต่งภายในแต่ละห้องให้มีรูปลักษณ์แตกต่าง กันไปทั้งสีสันและวัสดุที่ใช้ เช่น บริเวณโถงบันไดใช้โทนสีเขียว ห้อง เสวยใช้โทนสีเหลือง ตกแต่งช่องประตูด้วย

5

เหล็กดัดแบบอาร์ต นูโว และประดับผนังด้วยแผ่นกระเบื้องเคลือบสีเหลืองสด ตัดกรอบด้วยกระเบื้องเขียวเป็นช่อง ๆ ตามแนวยืน โดยกระเบื้องประดับผนังมีลวด ลายนูนเป็นรูปสัตว์และพรรณพืชต่าง ๆ แทรกอยู่เป็นระยะ ๆ ห้องพระบรรทมใช้โทนสีทอง โดยตกแต่งเสาในห้องด้วยแผ่นโลหะสีทองขัดเงาดุนลาย หัวเสาเป็นภาพเขียนแจกันดอกไม้หลากสี บนพื้นครึ่งวงกลมสีทอง ดูสง่างามและมลังเมลือง

การก่อสร้างพระที่นั่งแห่งนี้ มาสําเร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2461 และพระราชทานนามว่า “พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนาม "พระราชวังบ้านปืน" โดยพระราชทานนามพระราชวังใหม่ว่า “พระรามราชนิเวศน์”[1] นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงดําเนินการหล่อรูปปั้นพระนารายณ์ทรงปืนเพื่อนํามาประดิษฐานไว้ยังหน้าพระที่นั่ง (ปัจจุบัน รูปปั้นนี้ย้ายมาไว้ยังหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) แต่คนทั่วไปจะเรียกติดปากว่าพระราชวังบ้านปืนตาม ชื่อเดิมของถิ่นที่อยู่นั่นเอง แม้ว่าพระรามราชนิเวศน์จะสร้างเสร็จในรัชกาลที่ 6 แต่พระองค์ก็มิได้เสด็จประพาสมายังพระราชวังนี้บ่อยนัก จะเสด็จมาประทับเพื่อทอดพระเนตรการซ้อมเสือป่าบ้าง แต่ก็น้อยครั้งมาก วังนี้จึงเริ่มทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ

ครั้นมาถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดฯ ให้ปรับพระราชวังนี้เป็นสถานศึกษาของเหล่าครูในแขนงวิชาชีพต่าง ๆ มาจนกระทั่งวิชาชีพเหล่านี้แข็งแกรงขึ้นจนย้ายออกไปตั้งอยู่ที่อื่นได้ วังนี้จึงถูกปล่อยให้ทรุดโทรมลงอีกครั้ง หลังจากนั้น พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชวังแห่งนี้เป็นโรงเรียนวังพระรามราชนิเวศน์ โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม โรงเรียนฝึกหัดครูผู้กํากับลูกเสือในพระบรมราชูปถัมภ์ และโรงเรียนประถมวิสามัญหญิง จนกระทั่ง โรงเรียนเหล่านี้ย้ายออกไป พระราชวังบ้านปืนจึงถูกทิ้งให้รกร้างอีกครั้ง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ฝ่ายทหารได้ใช้พระราชวังนี้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการทหาร ปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นที่ตั้งของจังหวัดทหารบกเพชรบุรีและต่อมาได้เป็นมณฑลทหารบกที่15 และได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และศิลปะของจังหวัดเพชรบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงโปรดฯ ให้ใช้พระราชวังบ้านปืนนี้เป็นหนาวย

บัญชาการของ ทหารบก และเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร-ศิลปะของจังหวัดเพชรบุรีด้วย แต่หากเราจะขอเข้าชมก็ต้องได้รับการอนุญาตจากผู้บังคับการจังหวัดทหารบก กองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 เพื่อขอเข้าชมอย่างไม่เป็นทางการเสียก่อน

สนามแบดมินตัน  อยู่ใจกลางระราชวัง ห้อมล้อมด้วยอาคารทั้ง4 ด้าน เป็นพื้นที่เปิดโล่ง ซึ่งนับเป็นสนามแบดมินตันแห่งแรกของไทย แต่ปัจจุบันได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นสวนหย่อม

6

กองบิน5แรกบินในสยาม ความสําเร็จในการพัฒนาเครื่องบินของพี่น้องตระกูลไรท์ ทําให้ความฝันเรื่องการบินของมนุษย์เป็นจริงขึ้นมา และได้รับความสนใจในฝั่งตะวันตกอย่างรวดเร็ว ในรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว นายชาร์ล แวนเดน บอร์น (Charles Van Den Born) นักบินชาวเบลเยี่ยม ได้นําเอาเครื่องบินแบบ อังรี ฟาร์มัง 4(Henry Farman IV) มาแสดงที่สนามม้าสระประทุม ระหว่างวันที ่31 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2453 (ค.ศ.1911 *การเปลี่ยนคริสต์ศักราชเป็นพุทธศักราชก่อน พ.ศ.2484 ถือเอาเดือนเมษายน เป็นเดือนแรกในการเริ่มต้นเปลี่ยน ดังนั้นวันที ่31 มกราคม -6 กุมภาพันธ์ จึงยังอยู่ในป ีพ.ศ.2453) และเนื่องจากได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จึงทําการแสดงการบินเพิ่มเติมในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2453 อีกหนึ่งวัน นับเป็นการแสดงการบินครั้งแรกของเมืองไทย ในปีเดียวกันนั้นเอง จอมพลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวง

กลาโหมได้เสด็จไปยังยุโรป และทรงทราบถึงเรื่องการปรับปรุงการบินในฝรั่งเศส เมื่อเสด็จกลับพระนครจึงทรงมีรับสั่งกับนายพลเอก พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบก ถึงความจําเป็นในการมีกองกําลังเครื่องบิน ไว้ป้องกันประเทศ ดังนั้นกระทรวงกลาโหมจึงได้มีดําริ จัดตั้งหน่วยบินขึ้น โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพบก

วันที ่2 พฤษจิกายน พ.ศ.2456 นายทหารไทยชุดแรกที่ไปทําการศึกษาวิชาการบิน ที่ประเทศฝรั่งเศสได้เดินทางกลับถึงเมืองไทย ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน กระทรงกลาโหมจึงได้จัดตั้งแผนกการบินทหารบกขึ้นที่สนามม้าสระประทุม มีเคร่ืองบินบรรจุครั้งแรก 8 เครื่อง ประกอบด้วยแบบเบรเกต์(Breguet) 4 เครื่อง และแบบนิเออปอรต์ (Nieuport) 4 เครื่อง หลังจากนั้นแผนกการบินทหารบก ได้ยกฐานะขึ้นเป็น กองบินทหารบก กรมอากาศยานทหารบก กรมอากาศยาน กรมทหารอากาศ และกองทัพอากาศ ตามลําดับ โดยเมื่อคราวที่ยกฐานะขึ้นเป็นกรมอากาศยานนั้น ได้มีการจัดตั้งส่วนราชการใหม่ แบ่งออกเป็น 5 กองคือ1.กองโรงเรียนการบินเบื้องต้น 2.กองโรงงานกรมอากาศยาน3.กองบินใหญ่ที่ 1 ประจวบคีรีขันธ์ 4.กองบินใหญ่ที่ 2 ดอนเมือง5.กองบินใหญ่ที่ 3 นครราชสีมา

จากกองบินใหญ่ที่ 1 ถึงกองบิน 5 บนเนื้อที่ราว 4,000 ไร่ ตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเลด้านตะวันออก อาณาเขตทิศเหนือ เป็นอ่าวประจวบ ด้านทิศใต้เป็นอ่าวมะนาว และด้านตะวันตกเป็นตัวเมืองประจวบฯ "กองบินใหญ่ที่ 1" ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2465 โดยผู้บุกเบิก 2 ท่านคือ ร.อ.หลวงอมรศักดาวุธ และ ร.อ.กาพย์ ทัตตานนท ์กองบินใหญ่ที่ 1 มีวิวัฒนาการโดยลําดับ ดังนี้พ.ศ. 2468 เป็น โรงเรียนการยิงปืนพ.ศ. 2469 เป็น โรงเรียนการบินที่ 2พ.ศ. 2479 เป็น กองบินน้อยที่ 5พ.ศ. 2506 เป็น กองบิน 5พ.ศ. 2520 เป็น กองบิน 53พ.ศ. 2535 เป็น กองบิน 53 กองพลบินที่ 4พ.ศ. 2539 เป็น กองบิน 53 กองพลบินที่ 4 กองบัญชาการยุทธทางอากาศพ.ศ. 2550 เป็น กองบิน 5 กองพลบินที่ 4 กองบัญชาการยุทธทางอากาศพ.ศ. 2552 เป็น กองบิน 5

7

ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์อุทยานประวัติศาสตร์ กองบิน 5 และ อาคารประวัติสงคราม ได้แสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับวีรกรรม วันที ่8 ธันวาคม พ.ศ.2484

การเจรจาขอผ่านแดนราว 23 นาฬิกา ของวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2484 นายซูโบกามิ เอกอัคราชทูตญี่ปุ่นและคณะได้เดินทาง ไปพบนายกรัฐมนตรีที่ทําเนียบรัฐบาล แจ้งความประสงค์ว่า ญี่ปุ่นกําลังอยู่ในช่วงความเป็นหรือความตายกับ อังกฤษและสหรัฐอเมริกา มีความตั้งใจที่จะโจมตีดินแดนของประเทศดังกล่าวในเวลา 1 นาฬิกาของวันที่ 8 ธันวาคม ต้องอาศัยดินแดนไทยเป็นทางผ่าน ผู้แทนไทยจึงได้แจ้งถึงภาวะที่ประกาศตนเป็นกลางของประเทศ และผู้ที่จะสั่งการ ให้เปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้คือผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งก็คือท่านนายกรัฐมนตรีซึ่งไม่อยู ่ณ เวลานั้น โดยไม่รีรอต่อท่าทีขอรัฐบาลไทย กองกําลังญี่ปุ่นที่เตรียมการไว้อย่างพร้อมเพรียง ได้ตัดสินใจยกพลขึ้นบกที่ จังหวัดริมชายฝั่งทะเลไทย ในคืนวันที ่7 และรุ่งสางของวันที่ 8 ธันวาคม และในบ่ายเดียวกันนั้นตามเวลาของไทย หรือรุ่งเช้าตามเวลาท้องถิ่นกองกําลังโจมตีแบบสายฟ้าแลบ ของจักรวรรดิญี่ปุ่นบุกเข้าโจมตีเพิร์ล ฮาเบอร์ของอเมริกา รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษจึงประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในเช้าวันถัดมา

7 นาฬิกาของวันที่ 8 ธันวาคม จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้เดินทางถึงยังที่ประชุมและรับฟังรายงานเหตุการณ์จากทุกฝ่าย นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เสนอให้พิจารณาทางได้ทางเสีย จึงได้ข้อสรุปว่าเราคงไม่มีทางต่อสู้แต่อย่างใด นายกรัฐมนตรีจังประกาศว่า ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะต้าน หลังจากหารือรัฐบาลไทยจึงได้ลงนาม ในสัญญายินยอมให้ญี่ปุ่นผ่านแดน โดยตกลงรับเงื่อนไขที่กองทัพญี่ปุ่นเสนอ หนึ่งในสามข้อคือ ยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทางผ่านประเทศไทยไปเท่านั้น

พ.ศ.2482 สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ก่อตัวขึ้นรัฐบาลไทยภายใต้การนําของจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีนโยบายวางตัวเป็นกลาง ท่ามกลางไฟสงครามซึ่งแบ่งโลกออกเป็น 2 ฝ่าย

8

วีรกรรมวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484

สงครามมหาเอเชียบูรพาก็อุบัติขึ้น ประเทศไทยคือ หนึ่งในที่หมายของการยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่น เพื่อไปโจมตีทหารอังกฤษในพม่าและมลายูย้อนกลับไปเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 … เป็นวันที่ประวัติศาศตร์ไทยได้จารึกวีรกรรมของเหล่าลูกทัพฟ้าไทยผู้ต่อสู้กับอริราชศัตรูผู้รุกรานแผ่นดินเกิด  เช้าตรู่ของวันนั้น  ณ บริเวณอ่าวมะนาว กองบินน้อย ที่ 5 ประจวบครีขันธ์  กําลังทหารญี่ปุ่น 1 กรมผสมได้ยกพลขึ้นบกยึดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ กองบินน้อยที่ 5 เพื่อเป็นเส้นทางเดินทัพผ่านเข้าประเทศพม่าทางช่องทางด่านสิงขร ณ เวลาประมาณ

04.00 น. ขณะที่ ร.ต.ศรีศักดิ์ สุจริตธรรม ผู้บังคับหมวดกองร้อยทหารราบและพลทหารจํานวนหนึ่ง ได้ไปยังอ่าวมะนาวเพื่อลากอวนน้ําตื้น ในขณะที่กําลังเตรียมตัวที่จะทอดอวน ได้ตรวจพบเรือไม่ปรากฏสัญชาติจํานวนมากลอยลําอยู่ในอ่าวมะนาวจึงได้รีบกลับไปแจ้งให้ นาวาอากาศโท หม่อมหลวง ประวาส ชุมสาย ผู้บังคับกองบินน้อยที่ 5 ทราบ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับกําลังของข้าศึกได้เข้าตี บน.5 แล้วจึงเกิดการสู้รบขั้นตะลุมบอน กําลังทางอากาศของกองบินน้อยที่ 5 พยายามนําเคร่ืองบินจํานวน 7 เครื่อง บินขึ้นทําการต่อสู้และถูกขัดขวางจากข้าศึก ร.ท.สวน สุขเสริม ผู้บังคับฝูงบินและพลทหาร สมพงษ์ แนวบันทัด พลปืนหลังได้รับบาดเจ็บ มีเพียง พ.อ.อ.แม้น ประสงค์ดี สามารถนําเครื่องบินแบบ HAWK 3 ขึ้นบินเป็นผลสําเร็จ แต่ไม่สามารถทิ้งระเบิดเพื่อทําลายเรือฝ่ายญี่ปุ่นได้ส่วนกําลังภาคพื้นยังมีการสู้รบกันอย่างหนักแต่ก็ไม่สามารถต้านทานกําลังของกองทัพญี่ปุ่นได้เนื่องจากมีปริมาณที่มากกว่าเกือบ 10 เท่า  ผู้บังคับการกองบินน้อยที่ 5 ได้ประเมินสถานการณ์แล้วเห็นว่าเป็นรองฝ่ายญี่ปุ่นในทุกๆ ด้าน จึงสั่งให้เผากองรักษาการณ์และคลังน้ํามัน เพื่อมิให้ฝ่ายข้าศึกใช้ประโยชน์แล้วรวบรวมกําลังพลที่เหลือพร้อมทั้งครอบ ครัวไปรวมกันที่เชิงเขาล้อมหมวกใช้เป็นที่มั่นสุดท้าย เพื่อสู้ตายวันที ่9 ธันวาคม 2484 เวลาประมาณ 12.00น. ร.ต.ท.สงบ พรหมรานนท ์พร้อมด้วยบุรุษไปรษณีย์พยายามนําโทรเลขของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด แจ้งกับผู้บังคับกองบินน้อยที ่

5 ให้ทราบว่า ทางรัฐบาลยินยอมให้ฝ่ายญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไปยังประเทศพม่าได้ ทางจังหวัดจึงได้สั่งให้บุรุษไปรษณีย์ว่ายน้ํานําโทรเลขจากอ่าวประจวบไปขึ้น ที่บริเวณเชิงเขาล้อมหมวก แต่ผลของการสู้รบในครั้งนี้ฝ่ายทหารญี่ปุ่นเสีนชีวิตกว่า 400 นาย ฝ่ายไทย เสียชีวิต 42 คน ซึ่งประกอบด้วยทหารอากาศ 38 คน ยุวชนทหาร 1 คน ตํารวจ 1 คน และ ครอบครัว 2 คนเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติในวีรกรรมการต่อสู้อันห้าวหาญของนักรบแห่งกองบินน้อยที่ 5 ซึ่งยอมเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย กองทัพอากาศจึงได้สร้าง อนุสาวรีย์ “วีรชน 8 ธันวาคม 2484 “บริเวณที่เกิดการสู้รบ ณ กองบิน 5 ในปัจจุบัน โดยสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2493และในวันที่ 8 ธันวาคมของทุกปีกองทัพอากาศได้กําหนดประกอบพิธีวางพวงมาลาและสดุดีวีรกรรม 8 ธันวาคม 2484 ณ อนุสาวรีย์ และบําเพ็ญกุศลแด่วีรชนผู้ล่วงลับโดยมีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของ กองทัพอากาศ ส่วนราชการต่างๆ ตลอดจนพี่น้องประชาชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มาร่วมพิธีรําลึกถึงและสดุดี เหล่าวีรชนเป็นประจําทุกปีและในวันที่ 8 ธันวาคม 2553 นี้ทาง

อนุสาวรีย์รายนามผู้เสียชีวิต

9

กองทัพอากาศก็ใด้จัดพิธีรําลึก วีรกรรมของผู้เสีนสละและประดับเหรียญกล้าหาญบนธงชัยเฉลิมพลของกองบิน 5 ขึ้น ณ อ่าวมะนาว   กองบิน 53  จังหวัดประจวบขีรีขันธ์ โดยม ีพลเอก ประวิตร วงศ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานในพิธี พร้อมทั้ง ผบ.เหล่าทัพและผบ.ตร. รวมทั้งนายทหารชั้นผู้ใหญ่ เข้าร่วมเป็นจํานวนมากเพื่อระลึกถึงวีรกรรม ของเหล่าผู้เสียสละชีพเพื่อประเทศชาติ

จุดลงนามสงบศึกวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2484 หลังการสู้รบเป็นเวลา 33 ชั่วโมงยุติลงทหารทั้งสองฝ่ายยืนเรียงแถว เพื่อแลกเปลี่ยนดาบปลายปืนกับดาบซามูไร จากนั้นจึงลงนามในสัญญาสงบศึก ณ ที่แห่งนี้

ภายหลังจากเหตุการณ์ในวันนั้น รัฐบาลไทยได้ยินยอมให้ญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านในการยกพลขึ้นบกไปยังประเทศพม่าและมลายู เพื่อทําการรบกับทหารอังกฤษ วีรกรรมในครั้งนี้ได้ประกาศเกียรติ์ให้เกริกไกรว่า คนไทยมีความสมัครสมานสามัคคีและรักชาติยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งหมดเมื่อถึงคราวคับขันก็ปกป้องอธิปไตย โดยไม่คํานึงถึงแม้ชีวิตของตนเอง

หินแกะสลักด้านหนึ่งแสดง เหตุการณ์ ขณะสู้รบ หินแกะสลักอีกด้านแสดงเหตุการณ์ ลงนามในสัญญาสงบศึก

ศาลเจ้าพ่อเขาล้อมหมวก ศาลเจ้าพ่อเขาล้อมหมวกเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ ์ที ่ชาวประจวบคีรีขันธ์ให้ความเคารพศรัทธามาช้านาน  ตั้งอยู่ที่เชิงเขาล้อมหมวก  ในบริเวณอ่าวมะนาว  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งอยู่ในพื้นที่ดูแลของกองยิน 53  พื้นที่แห่งนี่เคยเป็นดินแดนแห่งยุทธภูมิสําคัญในสมัยสงคราโลกครั้งที่ 2  ที่เลื่องลือในความกล้าหาญของวีรชนไทย  รวมถึงยังมีเรื่องเล่าขานถึงตํานานแห่งความศักดิ์สิทธิ์แห่งเจ้าพ่อเขาล้อมหมวก                    ในศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานเจ้าพ่อเขาล้อมหมวก ซึ่งเป็นรูปปั้นขายชาวจีนมีหนวดเครายาวดูมีเมตตา ในแผ่นศิลาที่ด้านหน้าศาลได้บรรยายไว้ว่า  เจ้าพ่อเขาล้อมหมวกเป็นชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานจากเมืองจีนแผ่นดินใหญ่ มาตั้งหลักปักฐานที่แผ่นดินนี้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  โดยในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้นได้สร้างคุณงามความด ี ให้แก่แผ่นดินจนเป็นที่นับถือของคนทั้งหลาย  ตราบจนสิ้นอายุขัยเมื่ออาย ุ 97  ปี  ด้วยพลังแห่งคุณงามความด ีและบารมีที่สะสมไว้ของท่าน  ส่งผลให้ท่านเป็นดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นเทพมเหศักดิ์อยู่ที่เขาล้อมหมวกแห่งนี้  ช่วยดลบันดาลและประทานพรให้ความสุขความเจริญแก่สรรพสัตว์ทั้งปวงตลอดไป

จุดลงนามสงบศึก หินแกะสลักด้าน

10

                       ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อเขาล้อมหมวกนั้นเป็นที่เลื่องลือ  มีเรื่องเล่าในช่วงสงครามโลกครั้งที ่2 ว่า  ชาวบ้านต่างพากันหนีภัยจากระเบิดมายังศาลเจ้าพ่อเขาล้อมหมวกเพื่อขอบารมีให้ท่านคุ้มครอง  เมื่อนักบินญี่ปุ่นพยายามทิ้งระเบิดโจมตีฐานที่มั่นของไทย  และศาลเจ้าพ่อเขาล้อมหมวกเพื่อทําลายขวัญ และกําลังใจของชาวบ้าน ปรากฏว่าลูกระเบิดทั้งหมดต่างปลิวไปตกทะเล  ทําให้ชาวบ้านปลอดภัย  เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจของนักบินและทหารญี่ปุ่นที่เห็นเหตุการณ์  พากันมาไหว้ขอขมาเจ้าพ่อเขาล้อมหมวกกันในภายหลัง  แม้เวลาจะผ่านมานานแล้ว เจ้าพ่อเขาล้อมหมวกก็ยังเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้านในท้องถิ่น และผู้ที่เดินทางมาขอพรจากทุกแห่งหนเสมอมา

ค่างแว่นถิ่นใต้ค่างแว่นถิ่นใต้  “ ค่าง ” เป็นสัตว์จําพวกลิงชนิดหนึ่งใน 3 ชนิด คือ ค่าง ชะนี และลิง  มีลักษณะคล้ายชะนีมากกว่าลิง คือมีลําตัว ขา และมือยาว โดยเฉพาะหางยาว  มีความยาวมากกว่าหางของชะน ีค่างแว่นมีสีที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีถึง 4 ชนิด  ซึ่งแต่ละชนิดมีสีแก่อ่อนแตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม โดยส่วนมากค่างแว่นจะมีสีตามตัวเป็นสีเทา  มือ-เท้าดํา หน้าสีเทาเข้มหรือสีเทาดํา ขนบนหัวตรงกลางขนสีอ่อนกว่าส่วนอื่นๆ ซึ่งดูคล้ายสีเงิน ริมฝีปากทั้งบนและล่าง มีวงขาวรอบตา แต่บางตัววงขาวอาจไม่รอบตาก็ได้ ลูกค่างแว่นเกิดใหม่จะมีสีเหลืองส้ม เหมือนสีทอง และจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเทาเมื่ออายุประมาณ  3 เดือนอาหารที่มันโปรดปรานที่สุดคือยอดอ่อนของใบไม้ต่าง ๆ โดยกินอาหารมากถึง 2 กิโลกรัมต่อวัน พวกมันมีสัญชาติญาณระวังภัยสูงและตื่นตกใจง่าย ปัจจุบันค่างแว่นถิ่นใต้เป็นสัตว์ที่ถูกคุกคามอย่างหนักด้วยการล่า จนอาจสูญพันธ์ุได้ในอนาคตค่างแว่นถิ่นใต้  หรือเรียกกันทั่วๆ ไปว่า  ค่างแว่น  พบในพม่า  ไทย  มาเลซีย  สําหรับประเทศไทยพบทางภาดใต้  โดยเฉพาะในป่าดงดิบ  มีการดําเนินชีวิตอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่

11

อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการที่เปิดบริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ค่าเข้าชมนิทรรศการ ผู้ใหญ่ คนละ 20 บาท เด็ก คนละ 10 บาท (สูงไม่เกิน 120 ซม.) *ยกเว้นพระภิกษุ สามเณร ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ต่างๆ*โดยสามารถเข้าชมได้ตามอัธยาศัย กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรนําชม โปรดทําหนังสือแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ จุดท่องเที่ยวภายในอุทยานฯ ที่น่าสนใจและไม่ควรพลาด ได้แก่

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ําหว้ากอ จัดแสดงพันธุ์ปลาหลากสายพันธุ ์และสัตว์น้ํานานาชนิด ทั้งน้ําจืด น้ํากร่อย และน้ําเค็ม มากกว่า 50 ตู้ภายใต้แนวคิด "จากขุนเขาสู่ท้องทะเลไทย" สัมผัสกับมหัศจรรย์โลกใต้น้ําความสวยงามของสัตว์น้ําหลากหลายชนิดทั้งน้ําจืด และน้ําเค็ม โดยการจัดแบ่งพื้นที่จัดแสดงเป็น 6 ส่วน ได้แก่

โซนที ่1 อัศจรรย์โลกสีคราม (The miraculous underwater world)   จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการกําเนิดโลก กําเนิดสิ่งมีชีวิต ทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวเนื่อง อีกทั้งวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก

โซนที ่2 จากขุนเขาสู่สายน้ํา (From great mountains to streams) เป็นส่วนที่นําเสนอโดยการจําลองบรรยากาศเกี่ยวกับชนิดและระบบนิเวศแหล่งต้นน้ํา ป่าต้นน้ํา และแนวทางอนุรักษ์ อีกทั้งจัดแสดงพันธุ์ปลาน้ําจืดหลากหลายสายพันธุ์    

โซนที ่3 สีสันแห่งท้องทะเล (The colorful sea) เป็นการจําลองระบบนิเวศป่าชายเลน หาดทราย หาดหินและหุ่นจําลองของสัตว์ต่าง ๆ ในระบบนิเวศ ผู้เข้าชมได้เรียนรู้เรื่องราว เกี่ยวกับชีวิตสัตว์น้ําตามถิ่นอาศัยตามระบบนิเวศน้ําจืด กร่อย และทะเล ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ แนวปะการัง

โซนที ่4 เปิดโลกใต้ทะเล (Underwater world disclosure) นําผู้ชมเข้าสู่จินตนาการโลกใต้ท้องทะเลไทย ชมชีวิตสัตว์ขนาดต่าง ๆ โดยเฉพาะที่มีขนาดใหญ่ในถิ่นอาศัยใต้ทะเล พร้อมทั้งชมโชว์นักประดาน้ําให้อาหารสัตว์น้่ํา

โซนที ่5 พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ํา (Aquatic animals'specimens Museum) จัดแสดงตัวอย่างสัตว์น้ําที่เก็บรวบรวมไว้มากกว่าร้อยชนิด พร้อมเกร็ดความรู้เกี่ยวกับสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดต่าง ๆทั้งหมด 6 กลุ่ม

12

โซนที ่6 กิจกรรมบทปฏิบัติการ (Activities Visitors can) เชิญพบกับบ่อแสดงสัตว์น้ํา ที่ผู้เข้าชมสามารถชมกับสัตว์น้ําได้อย่างใกล้ชิด จัดแสดงทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น เต่าทะเล ดาวทะเล ปลิงทะเล และหอยมือเสือ พร้อมยังมีบริการคอมพิวเตอร์ประเมินผลโดยเป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจจากการเข้าชมนิทรรศการของตัวท่านเอง

อาคารดาราศาสตร์และอวกาศ ภายในจัดแสดงนิทรรศการทางด้านดาราศาสตร์ อวกาศ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นอาคารแฝด 3 หลัง ประกอบด้วยอาคารพันทิวาทิตย์ อาคารพันพินิตจันทรา อาคารดาราทัศนีย์ โดยม ี2 ชั้น และมีทางเดินเชื่อมต่อถึงกัน โดยบริเวณด้านหน้าสร้างเลียนแบบหอดูดาวชัชวาลเวียงชัย จังหวัดเพชรบุรี มีความสูงประมาณตึก 7 ชั้น ชั้นบนมีจุดชมวิว ภายในจัดแสดงนิทรรศการทางด้านดาราศาสตร์ อวกาศ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตลอดจนนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระอัจฉริยภาพแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสครองราชย์ครบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ในป ีพ.ศ. 2539 สัดส่วนอาคารพระมหาธาตุฯ จึงมีความหมายการครองราชย์ครบ 50 ปี หลายอย่างเริ่มจากเป็นอาคาร กว้าง 50 เมตร ยาว 50 เมตรและสูง 50 เมตร เป็นอาคารมีความสูง 5 ชั้น หมายถึง ขันธ์ 5 เป็นหมู่เจดีย์ 9 องค์ หมายถึงประจํารัชกาลที่ 9 แม้เป็นอาคาร สถาปัตยกรรมไทยแท้ แต่แนวคิดการก่อสร้างเป็นแบบใหม่ เป็นการสร้างวัดไทยโดยรวมเอาโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ วิหารคด มารวมอยู่ในอาคาร เดียวกันในแนวตั้ง และภายในอาคารมีพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม 41 องค์ ที่คัดสรรแล้วจากทั่วประเทศสร้างใหม่มารวมไว้ ชั้นใต้ดินเป็นที่เก็บน้ําฝน ชั้นพระวิหารเป็นประดิษฐานพระพุทธรูปอิริยาบถ 4 ชั้น 4 เป็นพระอุโบสถมีพระพุทธรูปปางลีลาโดยจําลอง แบบมาจากพระพุทธรูปปางลีลา ยุคสุโขทัยองค์ที่สวยงามที่สุดในโลกเป็นพระประธาน ผนังชั้นนี้มีภาพจิตรกรรมฝาผนังลายไทยที่สวยงามมาก โดยเฉพาะ ที่ด้านหลังพระประธาน เป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์โดดเด่น นอกจากนี้ตามช่องหน้าต่างเป็น กระจกสแตนกลาส บทพระราชนิพนธ์ เรื่องพระมหาชนก

13