mis loginmis.nkp-hospital.go.th/institute/adminstitute/nfile/sid... · web viewในป 2558-2559...

193
กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกก ก.กกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกก ก.ก. 2561 กกกกกกก 1 กกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกก โโโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโโโ โโโโโโ 159 โโโโโโโ 10 โโโโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโ 9 โโโโโโโโ (โโโโโโโโโ–โโโ) โโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโ 696 โโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโโโโ 15 โโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโ โโโโ “โโโ โโโโโโโโโโโโโโโ” โโโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโ โโโโโ โโโโโโโโโโโโโ 28 โโโโโโโ โ.โ. 2533 โโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโ 72 โโโ 3 โโโ 92.5 โโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโ 24 โโโโโโโ โ.โ. 2523 โโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโ 75 โโโโโ โโโโโโโโโ โโโโโโโโโโ 160 โโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโ โโโ โโโโโโโโ โโโโโโโโโโโ 1 โโโโโโโโ โ.โ. 2525 โโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโ 130 โโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโ A โโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโ โโโโโ โโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโ โโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโโ โโ

Upload: others

Post on 26-Feb-2021

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่

เดือนที่ประเมินตนเอง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ส่วนที่ 1 ส่วนนำ

ประวัติและความเป็นมา

โรงพยาบาลนครพิงค์ เป็นโรงพยาบาลประจําจังหวัด จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่ เลขที่ 159 หมู่ที่ 10 ตําบลดอนแก้ว อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ หลักกิโลเมตรที่ 9 ถนนโชตนา (เชียงใหม่–ฝาง) ระยะทางจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร และระยะทางจากจังหวัด 15 กิโลเมตร โรงพยาบาลนครพิงค์ เดิม ชื่อ “โรงพยาบาลเชียงใหม่” และได้เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลนครพิงค์ ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2533 เพื่อลดความสับสนของผู้มารับบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระหว่างชื่อโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ปัจจุบันบริเวณโรงพยาบาลมีเนื้อที่ประมาณ 72 ไร่ 3 งาน 92.5 ตารางวา

โรงพยาบาลนครพิงค์ เปิดบริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2523 โดยในระยะแรกบริการผู้ป่วย 75 เตียง จากจํานวนเตียงที่มี 160 เตียง เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่จํากัด และต่อมา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ได้เปิดให้บริการผู้ป่วยเพิ่มเป็น 130 เตียง ในปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลศูนย์ระดับ A และเป็นศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านอุบัติเหตุ หัวใจ มะเร็งและทารกแรกเกิด มีเตียงที่เปิดให้บริการ ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จํานวน 609 เตียง และเตียงผู้ป่วยวิกฤต 105 เตียง

วิสัยทัศน์โรงพยาบาล

ศูนย์ความเชี่ยวชาญที่มีคุณภาพและคุณธรรม ผู้รับบริการพึงพอใจ ในปี 2565

พันธกิจโรงพยาบาล

1. ให้การรักษา ส่งเสริม ฟื้นฟู ป้องกันโรค ครอบคลุมตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และระดับศูนย์ความเชี่ยวชาญ อย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานในรูปแบบเครือข่ายบริการสุขภาพ ด้วยความใส่ใจเอื้ออาทร คำนึงถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสืบสานประเพณี วัฒนธรรม

2. ผลิตบัณฑิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อรับใช้สังคม

ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue) ของโรงพยาบาล

1. เสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (P&P Excellence)

2. พัฒนาระบบบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้มีคุณภาพ มาตรฐานเพื่อให้บริการที่เป็นเลิศ (Service Excellence)

3. พัฒนาการบริหารจัดการด้านกำลังคนให้เพียงพอ และการพัฒนาบุคลากรและผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ (People Excellence)

4. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างมีธรรมาภิบาล (Governance Excellence)

เป้าประสงค์ (Objective)

1. ประชาชนทุกกลุ่มวัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค ภัยสุขภาพที่มีคุณภาพ

2. โรงพยาบาลมีโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน

3. ประชาชนเข้าถึงบริการและได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน

4. โรงพยาบาลมีอัตรากำลังบุคลากรเพียงพอ และสอดคล้องกับภาระงาน

5. บุคลากรมีสุขภาพดี มีศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

6. บัณฑิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มีความรู้ คุณธรรม ทักษะชีวิต

7. โรงพยาบาลมีระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

8. มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ

9. โรงพยาบาลมีสภาพคล่องทางการเงินเพียงพอที่จะพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

ประเด็นท้าทายของโรงพยาบาลนครพิงค์ ปี 2561

1. พ้นวิกฤตทางการเงินและการฟ้องร้อง (โรงพยาบาลปลอดภัย)

2. 2 P Safety (ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ปลอดภัย)

3. Excellence Center (Fast Track Trauma, Cardio, Newborn)

4. พ้นวิกฤตด้านอัตรากำลัง

ค่านิยมหลัก(Core Value)

“MOPH”

M : Mastery เป็นนายตนเอง

O : Originality เร่งสร้างสิ่งใหม่

P : People center ใส่ใจประชาชน

H: Humility ถ่อมตนอ่อนน้อม

ขอบเขตบริการ

โรงพยาบาลนครพิงค์เป็นสถานบริการระดับตติยภูมิ ให้บริการตรวจวินิจฉัย ดูแล รักษา ผู้ป่วยในทุกกลุ่มโรค โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกสาขา ประกอบด้วยศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง 4 ศูนย์ คือ ศูนย์หัวใจ อุบัติเหตุ มะเร็ง และทารกแรกเกิด รับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป ที่มีข้อจำกัดในการให้บริการผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อน ทั้งในและนอกเครือข่ายบริการเขตสุขภาพที่ 1

ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

โรงพยาบาลนครพิงค์ เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่ริม มีประชากรที่รับผิดชอบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. ประชากรในเขตอำเภอเมืองและอำเภอแม่ริม แบ่งตามพื้นที่ 22 ตำบล 146 หมู่บ้าน 28 ชุมชน รวมประชาการ 196,082 คน โดยแบ่งตามสิทธิการรักษา UC 110,867 คน และประกันสังคม 45,050 คน

2. ประชากรในเขตล้านนา 1 ประกอบด้วยประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน จำนวน 2,408,462 คน

อัตรากำลังบุคลากรโรงพยาบาลนครพิงค์

ตารางที่ 1 : จำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริงจำแนกตามประเภท

สาขา

ข้าราชการ

พนักงานราชการ

พกส.

ลูกจ้าง ประจำ

ลูกจ้างชั่วคราว

รวม

แพทย์

183

7

190

ทันตแพทย์

26

26

เภสัชกร

48

1

49

พยาบาลวิชาชีพ

657

-

117

-

-

774

พยาบาลเทคนิค

1

-

-

-

7

8

จพ.สาธารณสุข (เวชกิจฉุกเฉิน)

6

-

2

-

-

8

นักเทคนิคการแพทย์

24

1

25

นักวิทยาศาสตร์การแพทย์

5

2

7

นักกายภาพบำบัด

10

1

2

13

นักรังสีการแพทย์

12

2

1

15

นักจิตวิทยา

3

3

นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก

2

2

4

สหสาขาวิชาชีพ

26

26

32

18

115

อื่น ๆ

56

6

633

83

103

973

รวม

1,059

33

791

83

139

2,105

(ข้อมูล ณ 3 ม.ค.2561)

กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล

วิสัยทัศน์องค์กรพยาบาล

ศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาลที่มีคุณภาพและคุณธรรม ผู้รับบริการพึงพอใจ

พันธกิจ

1. ให้การรักษาพยาบาล ส่งเสริม ฟื้นฟู ป้องกันโรคอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานในรูปแบบเครือข่ายบริการสุขภาพด้วยความใส่ใจเอื้ออาทร คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเป็นพหุวัฒนธรรม

2. พัฒนาศักยภาพบุคลากรพยาบาลให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอุบัติเหตุ หัวใจและหลอดเลือด ทารกแรกเกิด และมะเร็ง

3. บุคลากรทางการพยาบาลทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข โดยสืบสานตามวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงาม

4. ร่วมสนับสนุนการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

เป้าหมาย :

1. ระบบบริหารการพยาบาลมีประสิทธิภาพ

2. ระบบบริการพยาบาลมีคุณภาพตามมาตรฐาน ผู้รับบริการพึงพอใจ

3. บุคลากรทางการพยาบาลมีความรักความผูกพันต่อองค์กร

4. บุคลากรทางการพยาบาลมีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง

5. บริการพยาบาลในเครือข่ายได้รับการพัฒนา

ปรัชญา

กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ เน้นการทำงานเป็นทีม ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและให้บริการโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

ประเด็นยุทธศาสตร์กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล :

1. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการพยาบาลอย่างมีธรรมาภิบาล (Governance Excellence)

2. พัฒนาระบบบริการด้านการพยาบาลให้มีคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อให้บริการที่เป็นเลิศ (Service Excellence)

3. เสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของประชาชน/ผู้ป่วยโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (P&P Excellence)

4. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านกำลังคนให้เพียงพอและมีศักยภาพ (People Excellence)

5. พัฒนาระบบเครือข่ายคุณภาพการพยาบาล (Network Excellence)

ค่านิยมหลัก (Core Value)

“MOPH NURSES”

5. M : Mastery เป็นนายตนเอง

6. O : Originality เร่งสร้างสิ่งใหม่

7. P : People center ใส่ใจประชาชน

8. H : Humility ถ่อมตนอ่อนน้อม

9. N : Nourishing นุ่มนวลอ่อนโยน

10. U : Unity เป็นหนึ่งเดียว

11. R : Responsibility รับผิดชอบ

12. S : Sacrificed เสียสละ

13. E : Empowerment เสริมสร้างพลัง

14. S : Standard มีมาตรฐาน

ขอบเขตบริการ

บริหารงานบริการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ ยึดหลักธรรมาภิบาล จัดบริการพยาบาลที่มีคุณภาพตามภารกิจหลักของกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล เพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล โดยบริหารจัดการให้ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านทรัพยากรบุคคล จัดหาและธำรงรักษา จัดอัตรากำลังที่เหมาะสม ประเมินสมรรถนะหลักและสมรรถนะเชิงวิชาชีพในแต่ละระดับ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เหมาะสมกับงานที่ได้รับมอบหมายอย่างต่อเนื่องรวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจของบุคลากร

2. ด้านอาคารสถานที่ จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัย จัดหาและบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และเพียงพอตามเกณฑ์ขั้นต่ำ

3. ด้านการบริการพยาบาล มีการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลตามมาตรฐาน เน้นการบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการตามนโยบาย 2P Safety

4. ด้านวิชาการพยาบาล สนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้แก่บุคลากรทุกระดับและส่งเสริมสร้างผลงานคุณภาพ /นวัตกรรม/งานวิจัย เพื่อนำสู่การปฏิบัติ สร้างโอกาสให้บุคลากรทุกระดับแสดงผลงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในหน่วยงาน ในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล

5. ด้านการควบคุมกำกับ ติดตามกำกับการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามธรรมนูญองค์กร จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

6. ด้านการประสานงาน ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล คณะกรรมการทีมนำต่าง ๆ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ

ประเด็นยุทธศาสตร์กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล ปีงบประมาณ 2561-2565 :

1. เสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของประชาชน/ผู้ป่วยโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (P&P Excellence)

2. พัฒนาระบบบริการด้านการพยาบาลให้มีคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อให้บริการที่เป็นเลิศ (Service Excellence)

3. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านกำลังคนให้เพียงพอและมีศักยภาพ (People Excellence)

4. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการพยาบาลอย่างมีธรรมาภิบาล (Governance Excellence)

5. พัฒนาระบบเครือข่ายคุณภาพการพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ (Network Excellence)

จำนวนหน่วยงานในความรับผิดชอบ

ตารางที่ 2 จำนวนหน่วยงานในความรับผิดชอบ

หน่วยงาน

หน่วยงาน

หอผู้ป่วยพิเศษ 10 หอ

งานห้องผ่าตัด 19 ห้องผ่าตัด

หอผู้ป่วยหนัก 10 หอ

งานวิสัญญีพยาบาล

หอผุ้ป่วยใน 28 หอ

งานผู้ป่วยนอก

หน่วยตรวจรักษาพิเศษ 1 หน่วย

งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

งานผู้คลอด 6 เตียง

งานป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อใน รพ.

¦o°¥¨³ªµ¤¡¹¡°Ä°¼oÄo¦·µ¦n°¦·µ¦¡¥µµ¨£µ¡¦ª¤�¼onª¥Ä�

78.0478.5279.281.620102030405060708090100

¸�����¸�����¸�����¸���-¤¸������

¦o°¥¨³

โครงสร้างองค์กรพยาบาล

คณะกรรมการ องค์กรพยาบาล มีดังนี้ (รายละเอียด ตามเอกสารแนบ)

1. คณะกรรมการบริหารกลุ่มการพยาบาล

2. คณะกรรมการองค์กรพยาบาล

3. คณะกรรมการบริหารทรัพยากรพยาบาล

4. คณะกรรมการสารสนเทศทางการพยาบาล

5. คณะกรรมการพัฒนาบริการพยาบาล

6. คณะกรรมการงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาล

จำนวนและลักษณะโดยรวมของบุคลากร สุพรรณ

ตารางที่ 3 : จำนวนบุคลากรทางการพยาบาลจำแนกตามประเภท

ประเภทบุคลากร

จำนวนบุคลากร(ราย)

ข้าราชการ

647

พนักงานกระทรวงสาธารณสุข

551 (รวมทุกระดับ)

ลูกจ้างประจำ

45

ลูกจ้างชั่วคราว

66

รวม

2178

(ข้อมูล 1 ต.ค.56)

สาขา

ข้าราชการ

พนักงานราชการ

พกส.

ลูกจ้างประจำ

ลูกจ้างชั่วคราว

รวม

พยาบาลวิชาชีพ

657

-

117

-

-

774

พยาบาลเทคนิค

1

-

-

-

7

8

พนักงานช่วยเหลือคนไข้

271

43

17

331

พนักงานห้องผ่าตัด

9

1

5

พนักงานห้องเฝือก.

1

ผู้ช่วยพยาบาล

-

23

พนักงานประจำตึก

56

8

พนักงานเปล

34

1

ตารางที่ 4 : จำนวนบุคลากรพยาบาลจำแนกตามอายุ (สุพรรณ)

ประเภทพยาบาล

จำนวนคน (จำแนกตามช่วงอายุ)

< 25 ปี

25-30ปี

31-35ปี

36-40ปี

41-45ปี

46-50ปี

51-55ปี

56-60ปี

RN

RN อัตราจ้าง

TN

TN อัตราจ้าง

PN อัตราจ้าง

NA A/W

จนท.ธุรการ

Competency level (ศศิวิมล)

ตารางที่ 5 : จำนวนบุคลากรจำแนกตามลักษณะโดยรวมของบุคลากรพยาบาล (confirm Mam ถึงเดือน 31 ธันวาคม 2560) สุพรรณ

ประเภทพยาบาล

จำนวน

ต่ำกว่าปริญญาตรี

ระดับปริญญาตรี

ระดับปริญญาโท

ระดับ

ปริญญาเอก

เฉพาะทางการพยาบาล

RN

774

0

697

80

1

93

RNอัตราจ้าง

127

0

127

0

0

0

TN

1

1

0

0

0

0

TNอัตราจ้าง

7

7

0

0

0

0

PNอัตราจ้าง

23

23

0

0

0

0

NA A/W

342

342

0

0

0

0

จนท.ธุรการ

0

0

0

0

0

0

ตารางที่ 6 : จำนวนบุคลากรจำแนกตามระดับ และสาขาการศึกษา (ศศิวิมล ปรับข้อมูล)

ระดับ

จำนวน

สาขา

จำนวน

ปริญญาเอก

1

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารการพัฒนา (DA)

1

ปริญญาโท

80

การพยาบาลผู้ใหญ่

12

การพยาบาลผู้สูงอายุ

4

บริหารการพยาบาล

17

รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต

2

การพยาบาลเด็ก

6

การพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์

7

การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

2

การผดุงครรภ์ขั้นสูง

2

คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาสร้างเสริมสุขภาพ

3

คณะศึกษาศาสตร์

1

อนามัยแม่และเด็ก

1

การพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ

3

จิตวิทยาการศึกษา

2

สาธารณสุขศาสตร์

1

พัฒนาบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

1

เฉพาะทางการพยาบาล

93

การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตผู้ใหญ่

29

การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตทารกและเด็ก

5

วิสัญญีพยาบาล

39

การบริหารทางการพยาบาล

5

การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง

7

การพยาบาลผู้สูงอายุ

2

การพยาบาลประสาทวิทยาและประสาทศัลยศาสตร์

4

พยาบาลควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล (ICN)

10

หลักสูตรระยะสั้นการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

28

การพยาบาลออร์โธปิดิกส์

1

การพยาบาลผู้ป่วยบาดแผลและ Ostomy

11

การพยาบาลในคลินิก

2

พยาบาลผู้เชี่ยวชาญไตเทียม

11

การพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา

4

การพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือด

9

การพยาบาลจิตเวชผู้ใหญ่

1

การพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน

1

การพยาบาลอายุรศาสตร์

1

การพยาบาลผู้ป่วยได้รับการบำบัดทดแทนไต

3

การพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุ

2

สุขภาพจิตและจิตเวช

1

เวชปฏิบัติทารกแรกเกิด

9

การพยาบาลผู้ป่วยบาดแผลออสโตมีและควบคุมขับถ่ายเองไม่ได้

12-2

การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม

1

การพยาบาลโรคเรื้อรัง

4

การพยาบาล Trauma nurse coordinator

1

การพยาบาลผู้บริหารระดับกลาง

6

การพยาบาลผู้บริหารระดับต้น

10

การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทหายใจ

2

การพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (กระตุ้นพัฒนาการ)

1

การพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

2

อนุมัติบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง (DNP)

2

การพยาบาลผู้ป่วยทางศัลยประสาทและไขสันหลัง

1

การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

1

การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

1

ลักษณะการให้บริการ เลขา service plan?????

ให้บริการรักษาพยาบาลในระดับตติยภูมิ

ประเภทการให้บริการ

ให้บริการพยาบาล ครอบคลุมทั้งด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม กุมารเวชกรรม สูติ-นรีเวชกรรม ออร์โธปิ-ดิกส์ จักษุ และโสต ศอ นาสิก กรณีผู้ป่วยจิตเวชให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอก โดยดูแลแบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ตารางที่ 7 : สถิติการให้บริการผู้ป่วยนอก / ผู้ป่วยใน

แผนก

จำนวนครั้งต่อปี

จำนวนเฉลี่ยรายต่อวัน

2558

2559

2560

2558

2559

2560

1. ผู้ป่วยนอก

533,682

541,975

646,458

1,462

1,484

1,771

2. ผู้ป่วยใน

48,870

51,046

50,220

133.8

139.85

137.58

ตารางที่ 8 : 5 อันดับโรคผู้ป่วยนอก

ลำดับ

กลุ่มโรค

ปี 2558

(ราย)

กลุ่มโรค

ปี 2559

(ราย)

กลุ่มโรค

ปี 2560

(ราย)

1

Hypertension

72,858

Hypertension

70,979

Hypertension

62,471

2

Hyperlipidemia

51,737

Hyperlipidemia

51,060

Hyperlipidemia

44,126

3

Non-insulin-dependent diabetes mellitus

27,338

Non-insulin-dependent diabetes mellitus

30,858

Non-insulin-dependent diabetes mellitus

26,989

4

CKD

10,164

CKD

10,762

HIV

15,088

5

HIV

9,395

HIV

9,600

CKD

13,036

ตารางที่ 9 : 5 อันดับโรคผู้ป่วยใน

ลำดับ

กลุ่มโรค

ปี 2558

(ราย)

กลุ่มโรค

ปี 2559

(ราย)

กลุ่มโรค

ปี 2560

(ราย)

1.

CA breast

1,390

Pneumonia

1,514

CA breast

1,579

2.

Pneumonia

1,269

CA breast

1,364

Pneumonia

1,275

3.

Beta thalassemia

768

Beta thalassemia

869

Beta thalassemia

910

4.

Neonatal Jaundice

652

Senile incipient cataract, PSC, ASC, SSC

812

CKD

813

5.

CKD

641

CKD

766

Appendicitis

755

ตารางที่ 10 : ผู้ป่วยผ่าตัด 5 อันดับแรก

ลำดับ

กลุ่มโรค

ปี 2558

(ราย)

กลุ่มโรค

ปี 2559

(ราย)

กลุ่มโรค

ปี 2560

(ราย)

1

Debridement

1,588

Phacoemulsification and aspiration of cataract

2,020

Debridement

1,835

2

Phacoemulsification and aspiration of cataract

1,436

Debridement

1,778

Phacoemulsification and aspiration of cataract

1,569

3

caesarian section

1,247

caesarian section

1,332

caesarian section

1,173

4

Appendectomy

824

Appendectomy

1,031

Appendectomy

1,102

5

Closed reduction of fracture of radius and ulna without internal fixation

484

Closed reduction of fracture of radius and ulna without internal fixation

525

Closed reduction of fracture of radius and ulna without internal fixation

576

ตารางที่ 11 : ผู้ป่วยเสียชีวิต 5 อันดับแรก

ลำดับ

กลุ่มโรค

ปี 2558

(ราย)

กลุ่มโรค

ปี 2559

(ราย)

กลุ่มโรค

ปี 2560

(ราย)

1

Pneumonia

216

Pneumonia

237

Pneumonia

199

2

Septic shock

99

Septic shock

110

Septic shock

77

3

Septicemia

80

Septicemia

59

Traumatic subdural hemorrhage without open intracranial wound

49

4

Chronic obstructive pulmonary disease with acute lower respiratory infection

69

CKD

58

Chronic obstructive pulmonary disease with acute lower respiratory infection

46

5

Acute respiratory failure

58

Chronic obstructive pulmonary disease with acute lower respiratory infection

55

Septicemia

45

ตารางที่ 12 : อัตราการครองเตียง / อัตราตาย / LOS

ลำดับ

รายการ

หน่วยนับ

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

1

อัตราการครองเตียง

ร้อยละ

121.45

122.21

122.64

2

อัตราตาย

ร้อยละ

3.44

3.33

3.065

3

LOS ขอศูนย์ข้อมูลใหม่

วัน/คน

259,319

272,409

272,613

(พี่รินทร์)

ความท้าทายและเป้าหมายในการประกันคุณภาพ

โรงพยาบาลนครพิงค์ได้ปรับเปลี่ยนจากโรงพยาบาลทั่วไปเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในปี 2558 และมีการพัฒนาสู่ศูนย์ความเชี่ยวชาญ ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข 4 ด้าน คือ New born หัวใจ มะเร็ง อุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลจึงต้องมีการพัฒนาในแต่ละด้านดังนี้

ด้านบุคลากร

องค์กรพยาบาล มีการบริหารงานภายใต้ทรัพยากรจำกัด สัดส่วนอัตรากำลังและภาระงานไม่เหมาะสม ต่อภาระงานและความต้องการรับบริการของประชาชน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายบริการทางสุขภาพ การมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและญาติ รวมถึงความรับผิดชอบร่วมกันของชุมชน

เป้าหมายด้านบุคลากร มีดังนี้

1) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกลุ่มการพยาบาล

2) การเสริมสร้างค่านิยมและทัศนคติที่ดีในการทำงาน

3) มีระบบการสรรหาและธำรงรักษาบุคลากรทางการพยาบาลไว้

ด้านการดูแลผู้ป่วย

1.การให้บริการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง (Cancer nursing service) องค์กรพยาบาล ให้บริการพยาบาลในผู้ป่วยมะเร็ง ทั้งการรักษาในด้านการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด ทั้งแบบชนิดไป-กลับ และแบบนอนพักในโรงพยาบาล

2.ศูนย์โรคหัวใจ (Cardiac Center service) องค์กรพยาบาล มีบุคลากรที่สามารถให้บริการพยาบาลตรวจประเมิน และให้การพยาบาลเฉพาะทางสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความผิดปกติของผนังกั้นห้องหัวใจและลิ้นหัวใจ ภาวะโรคหัวใจแต่กำเนิดหรืออื่น ๆ ตลอดจน การรักษาที่จัดให้มีการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด การทำ CABG การทำ PCI และการใส่ Pacemaker รวมทั้งมีระบบ Fast track ของ AMI จากห้องตรวจผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ไปหอผู้ป่วย CCU หรือ Cath lab เป็นต้น

3.ศูนย์อุบัติเหตุ (Trauma Centre service) องค์กรพยาบาล มีบุคลากรที่สามารถให้บริการพยาบาลดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ ดังนี้

- บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Service : EMS) โดยร่วมกับศูนย์ประสานงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่จัดรถกู้ชีพพร้อมทีมให้บริการ 24 ชั่วโมง

- ศูนย์ประสานการส่งต่อจังหวัดเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีโรงพยาบาลนครพิงค์เป็นแม่ข่ายในการประสานงาน ทำหน้าที่ประสานงานผู้ป่วยส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด รวมทั้งจัดให้มีบริการรับและส่งต่อ โดยมีเครือข่ายร่วมที่โรงพยาบาลฝาง โรงพยาบาลจอมทอง โรงพยาบาลสันทราย และโรงพยาบาลสันป่าตอง

- ห้องตรวจผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน (Emergency room service) องค์การพยาบาล จัดให้มีบริการตรวจคัดกรองผู้ป่วยเร่งด่วน ทั้งกรณีฉุกเฉินและอุบัติเหตุ รวมทั้งให้บริการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน และมีระบบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางในส่วนที่เกี่ยวข้อง

- หอผู้ป่วยอุบัติเหตุและหอผู้ป่วยหนัก (Traumatic ward & ICU trauma) องค์การพยาบาล จัดเตรียมสถานที่เฉพาะ เพื่อรองรับผู้ป่วยอุบัติเหตุ โดยให้บริการดูแลผู้ป่วยร่วมกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุบัติเหตุครบทุกสาขา และมีการเตรียมพร้อมรองรับอุบัติเหตุช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น สงกรานต์ ปีใหม่ รวมทั้งจัดให้มีระบบ Fast track (ในกลุ่มผู้ป่วย Major trauma) จากห้องตรวจผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ไปห้องผ่าตัด และ จากห้องตรวจผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ไปหอผู้ป่วยหนัก

4.ศูนย์ทารกแรกเกิด (New Born Center) องค์กรพยาบาลดำเนินการตรวจคัดกรอง และให้การดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะคุกคามของชีวิต รับการส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีภาวะคุกคามของชีวิตในเขตบริการสุขภาพล้านนา 1 และจัดให้มีระบบบริการแบบเครือข่ายสุขภาพ โดยพัฒนาศักยภาพและเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงพยาบาลเครือข่ายให้สามารถให้บริการทารกแรกเกิดที่มีภาวะคุกคามของชีวิตได้เช่นกัน

นอกจากนี้ องค์กรพยาบาลร่วมกับสภากาชาดไทย จัดเป็นศูนย์รับบริจาคอวัยวะทุกชนิด สำหรับผู้ป่วยที่อวัยวะยังมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดเพื่อนำไปใช้ในการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีอื่น ๆ อันจะช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ โดยองค์กรพยาบาลมีพยาบาลที่ทำหน้าที่ประสานงาน (nurse coordinator) ในการรับบริจาคอวัยวะ การจัดเตรียมผู้ป่วยที่ประสงค์บริจาคอวัยวะ ทีมเก็บอวัยวะ และทีมผู้รับอวัยวะ

เป้าหมายของการพัฒนาด้านบริการ มีดังนี้

1) พัฒนา Competency ของพยาบาลให้สอดรับกับความต้องการของแต่ละ Excellent

2) ส่งเสริม/สนับสนุน ให้มี APN ครอบคลุมทุกสาขา

3) ส่งเสริมการฝึกอบรม พัฒนาศักยภาพบุคลากรในองค์กรในหลักสูตรต่าง ๆ

· เป็นสถาบันฝึกอบรมวิสัญญีพยาบาล หลักสูตร 1 ปี

· ส่งเสริมการเข้ารับการพยาบาลเฉพาะทาง ตามสาขาพยาบาลที่เป็นหลักสูตรเฉพาะทาง

· การอบรมอ่านและแปลผล EKG สำหรับพยาบาล หลักสูตร 2 วัน

4) พัฒนาศักยภาพเครือข่ายบริการตาม Service Plan

5) ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการพยาบาลให้นำมีทักษะเชิงวิชาการต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาล

· การนำผลการวิจัยมาใช้ (Research Utilization) ในการพยาบาล

· การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาล

· การพัฒนางานประจำเป็นงานวิจัย (R2R)

6) จัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP) และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติงานในองค์กร

7) ส่งเสริมการทำนวัตกรรมทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยต่างๆ

ส่วนที่ 2 ส่วนสาระ

หมวด 1 การนำองค์กร

หมวดที่ 1. การนำองค์กร

การกำหนดทิศทางขององค์กรพยาบาล

หัวหน้าพยาบาล หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล และหัวหน้าหอผู้ป่วย/หัวหน้างาน และตัวแทนพยาบาลวิชาชีพในทุกหน่วยงาน ได้ร่วมกันวิเคราะห์จุดอ่อน-จุด แข็ง/โอกาส-ภาวะคุกคาม ที่เกิดขึ้นในองค์กรในช่วงปีที่ผ่านมาและกำหนด พันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยมเป้าหมาย ถ่ายทอดไปสู่คณะกรรมการประกันคุณภาพการพยาบาล และบุคลากรกลุ่มการพยาบาลทุกระดับ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเวทีการประชุมพัฒนาคุณภาพบริการ กลุ่มการพยาบาล หลังจากได้ข้อยุติแล้วจึงจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ กลุ่มการพยาบาลได้ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ตามการปรับเปลี่ยนของโรงพยาบาลในปี 2560 จากเดิม “กลุ่มงานการพยาบาลมีระบบการบริหารการพยาบาลที่มีคุณภาพ ให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ ผู้รับบริการพึงพอใจ บุคลากรมีความสุขในการทำงาน” เป็น “ศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาลที่มีคุณภาพและคุณธรรม ผู้รับบริการพึงพอใจ” ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล โดยสื่อสารกับบุคลากรพยาบาลในรูปการประชุมประจำหน่วยงาน ข่าวประกาศกลุ่มการพยาบาลและการสื่อสารทั่วองค์กร โดยการประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่มการพยาบาล, ประชุมคณะกรรมการประกันคุณภาพในโรงพยาบาล หลังจากได้ข้อยุติแล้วได้มีการสื่อสารให้บุคลากรทุกคนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบ โดยการประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ ทั้งหมดในเวทีประชุมประจำเดือนเจ้าหน้าที่กลุ่มการพยาบาล ปิดประกาศในบอร์ดของโรงพยาบาล, บอร์ดของกลุ่มการพยาบาลและของหน่วยงาน และประกาศผ่านเวปบอร์ดของกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล องค์กรพยาบาลใช้เวทีนี้ปรับแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรพยาบาลเพื่อให้สอดคล้องกับโรงพยาบาลปี 2560-2562 ใน 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง การพัฒนาคุณภาพบริการและบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาบริการปฐมภูมิและส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชน การร่วมพัฒนาการผลิตบัณฑิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ และการจัดระบบเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ และได้ประชุมเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ทุกคนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และมอบหมายให้ทุกหน่วยงานนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติและติดตามตัวชี้วัดทุกเดือน โดยกำหนดให้มีการติดตามประเมินแผนงานปีละ 2 ครั้ง เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานตามแผนให้มีประสิทธิภาพ

การกำกับดูแลตนเองที่ดี

องค์กรพยาบาลดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ใช้บริการและ ดำเนินการให้องค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยมอบหมายให้ทุกหน่วยงานวิเคราะห์ปัญหา กำหนดขอบเขตของการบริการพยาบาล และประเด็นตามหน้าที่หลักของพยาบาลวิชาชีพ (7 aspects of care) ประกาศเป็นนโยบายให้มีการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติและบันทึกทางการพยาบาลให้เป็นทิศทางเดียวกัน ระบุประเด็นสำคัญ และกำหนดมาตรฐาน แนวทางปฏิบัติ สนับสนุน/ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐาน/แนวทางที่กำหนด และมีการติดตาม ควบคุมการปฏิบัติการพยาบาลให้เป็นไปตามนโยบายโดยหัวหน้าตึก คณะทำงานและผู้ที่ได้รับมอบหมายนิเทศติดตามงาน และมีการปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ข้อมูลทั้งจากผู้รับบริการ ข้อเสนอแนะ สู่การประชุมสัมมนาปรึกษารวมถึงการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกลุ่มการพยาบาลได้จัดระดับการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาลดังนี้

1 Patient Round โดยหัวหน้าตึก/ผู้ตรวจการ ซึ่งจะทำหน้าที่เยี่ยมตรวจและติดตามปัญหาหรือการเกิดอุบัติการณ์ในหอผู้ป่วย/หน่วยงาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ ทางด้านความเสี่ยงทางคลินิก รวมถึงพฤติกรรมการบริการของเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลที่จะส่งผลต่อผู้รับบริการ โดยมีระยะเวลากำหนดให้รายงานผลการเยี่ยมตรวจภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน

2. Field Round/Quality Round โดยหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลร่วมกับหัวหน้าตึก/หัวหน้างานมีการติดตามการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล ให้ครอบคลุมถึงกิจกรรม QA, 5ส, IC, TPM, สุขศึกษา, มอก.18001 และด้านจริยธรรม โดยมีระยะเวลากำหนดให้เยี่ยมตรวจและรายงานผลทุก 3 เดือน

3. Grand Round โดยหัวหน้าพยาบาลร่วมกับหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล ตรวจเยี่ยมบุคลากรในกลุ่มการพยาบาลเพื่อให้กำลังใจและรับทราบปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน รวมถึงความต้องการสนับสนุนจากกลุ่มการพยาบาล และนิเทศติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของโรงพยาบาลและกลุ่มการพยาบาล ตรวจตราสิ่งแวดล้อมและสถานที่ทำงานเพื่อพัฒนาปรับปรุงแก้ไข ประเมินการสื่อสารภายในองค์กรและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ

ผลการนิเทศในแต่ละระดับคณะกรรมการบริหารกลุ่มการพยาบาลได้นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล โดยมีวาระการประชุมเดือนละ 1 ครั้งในวันพุธที่ 4 ของเดือน การปรับปรุงที่ได้ดำเนินการให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ได้แก่ โครงการเตียง 5 สี การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย stroke fast tract, การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล, การนำรูปแบบบันทึกการพยาบาล focus charting มาใช้ทุกหน่วยงานในกลุ่มการพยาบาล นอกจากนี้คณะกรรมการบริหารกลุ่มการพยาบาลกำหนดให้ทุกหน่วยงานมีการทบทวนผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ โดยมีการทบทวน 12 กิจกรรมทุกครั้งที่เกิดอุบัติการณ์หรือเหตุการณ์สำคัญ การเฝ้าระวังความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร และการทบทวนตัวชี้วัดหน่วยงานทุกเดือน คณะกรรมการบริหารกลุ่มการพยาบาล ใช้ระบบธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรเน้นความเป็นธรรมและความเสมอภาค ทั้งในด้านบุคลากรและผู้ใช้บริการ มีการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วย ควบคุมกำกับให้บุคลากรมีพฤติกรรมที่ดีด้านจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพด้วย

หมวดที่ 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์

กระบวนการจัดทำกลยุทธ์

องค์กรพยาบาลใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางนโยบายขององค์กร โดยคณะกรรมการบริหารองค์กรพยาบาลและคณะกรรมการประกันคุณ คุณภาพการพยาบาลซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าพยาบาล/หัวหน้างาน และตัวแทนจากผู้ปฏิบัติ เข้าร่วมจัดทำแผนกลยุทธ์ มีการทำแผนกลยุทธ์ ทุก 5 ปี และทบทวนเพื่อปรับแผนทุกปีโดยมีการทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ของทุกปี จัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข นโยบายของสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล ปัญหาสาธารณะสุขของพื้นที่ และความต้องการความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่และผู้รับบริการ

แผนภูมิที่ 19. กระบวนการวางแผนกลยุทธ์

ข้อมูลป้อนเข้า

กระบวนการ

ผู้เกี่ยวข้อง

จากแบบแผนการดำเนินชีวิต (Life Style) ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวน โรคที่พบคือ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และยังพบว่ามีการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด

มีการวิเคราะห์และกำหนดความท้าทายเชิงกลยุทธ์ คือ ขาดอัตรากำลัง ได้รับการจัดสรรนักเรียนทุนจากจังหวัดน้อย ในส่วนของโรงพยาบาลมีผู้มารับสมัครน้อย เนื่องจากภาระงานในโรงพยาบาลมีมาก ความก้าวหน้าในวิชาชีพมีน้อย การบรรจุเข้ารับราชการมีจำนวนน้อย ทำให้พยาบาลไม่มาอยู่ในระบบ จำนวนผู้รับบริการเพิ่มขึ้นมาก และส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเกิดอุบัติเหตุหมู่บ่อย

ข้อได้เปรียบขององค์กร คือ ความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพ ถึงแม้ว่าภาระงานจะมาก ประชาชนมีความศรัทธาต่อโรงพยาบาล สภาพคล่องทางการเงินของโรงพยาบาลยังดีอยู่

องค์กรพยาบาล มอบหมายให้หน่วยงานจัดทำแผนระยะสั้น 1 ปี มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีวัตถุประสงค์ที่เป็นไปได้และวัดได้ มีการปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กำหนด และมีระบบการติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัดทุกเดือน และติดตามการปฏิบัติตามโครงการอย่างน้อยทุก 6 เดือน สามารถนำผลการประเมินไปปรับปรุงงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

องค์กรพยาบาลประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ มีการมอบหมายงานให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ จัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลโดยการประเมิน Training Need ตามภาระงานที่มอบหมายให้ทั้งภาระงานประจำและภาระงานตามแผนงานโครงการ

แผนภูมิที่ 20. แสดงยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์

โอกาสความท้าทาย

เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

1. พัฒนาระบบบริการพยาบาลให้ได้มาตรฐานสู่ความเป็นเลิศ เน้นการใช้ความรู้เป็นฐานในการตัดสินใจ

1. ผ่านการรับรองความเป็นเลิศ

2. ผู้ใช้บริการปลอดภัย

3. ผู้ใช้บริการพึงพอใจเชื่อมั่นและศรัทธาในบริการ

1. เพื่อให้บริการพยาบาลมีคุณภาพและเป็นที่เชื่อถือแก่ประชาชน

2. เพื่อความเป็นเลิศของบริการพยาบาล

3. เพื่อให้ผู้ใช้บริการปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้

2. บริหารจัดการกำลังคนที่สนับสนุนระบบบริการพยาบาลสู่ความเป็นเลิศ บุคลากรทางการพยาบาลมีความสุข

1. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

2. จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมบริการ

3. ความพึงพอใจของบุคลากร

4. สมรรถนะบุคลากร

5. พฤติกรรมสุขภาพบุคลากรที่พึงประสงค์

1. กำลังคนด้านการพยาบาลของโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการสุขภาพมีปริมาณและคุณภาพเหมาะสม เพียงพอ

2. บุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุขและยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร

3. บุคลากรเป็นผู้นำด้านสุขภาพ

3. สร้างเสริมสุขภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดระบบสุขภาพ

1. โรคที่ป้องกันได้ลดลง

2. เพื่อลดความเจ็บป่วยของกลุ่ม

1. ประชาชนมีวัฒนธรรมสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

4. เสริมสร้างเอกภาพและธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรพยาบาล

1. การมีส่วนร่วมของบุคลากรทางการพยาบาล

2. ผู้นำ ผู้บริหาร มีสมรรถนะตามเกณฑ์

1. องค์กรพยาบาลมีเอกภาพ

2. องค์กรพยาบาล ยึดหลักธรรมาภิบาลและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

5. บริหารทรัพยากรและพัฒนาสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย

1. ลดจำนวนอุบัติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม

2. อัตราการเจ็บป่วยของบุคลากรเนื่องจากการทำงาน

3. ข้อร้องเรียนจากชุมชน

1. สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ปลอดภัยและเอื้อต่อสุขภาพ

2. มีการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม

6. พัฒนาและปรับปรุงระบบข้อมูลสารสนเทศ

1. มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ถูกต้อง ทันเวลา

2. งานวิจัยและนวัตกรรม

1. เพื่อให้องค์กรพยาบาลมีฐานข้อมูลที่จำเป็นทางการพยาบาลทั้งด้านการบริหาร บริการ และผลลัพธ์การบริการพยาบาล

2. สารสนเทศขององค์กรพยาบาลมีความครอบคลุม ถูกต้อง รวดเร็ว ทันสมัย น่าเชื่อถือ

3. มีองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมทางการพยาบาล

เป้าประสงค์ และตัวชี้วัด ผู้รับผิดชอบ

เป้าประสงค์

ดัชนีชี้วัด

ผู้รับผิดชอบ

1. เพื่อให้บริการพยาบาลมีคุณภาพและเป็นที่เชื่อถือแก่ประชาชน

1. ความพึงพอใจผู้ใช้บริการ

2. ความพึงพอใจของผู้ป่วยใน

3. จำนวนข้อร้องเรียนผู้ใช้บริการ

4. จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ์ของผู้ใช้บริการ

5. จำนนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมบริการของบุคลากร

6. ร้อยละของการแก้ไข/ตอบกลับ ข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการ

7. ร้อยละความพึงพอใจผู้มีส่วนได้ต่อบริการพยาบาลในภาพรวม

8. ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนต่อการสนับสนุนขององค์กรพยาบาล

หัวหน้าพยาบาล

หัวหน้างานทุกงาน

2. เพื่อความเป็นเลิศของบริการพยาบาล

1. องค์กรพยาบาลผ่านการประเมินคุณภาพการพยาบาล

กรรมการบริหารกลุ่มการพยาบาล

3. เพื่อให้ผู้ใช้บริการปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้

1. อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล

2. จำนวนอุบัติการณ์การเกิดพลัดตกหกล้มของผู้ป่วย

3. ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล

4. อัตราการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยที่นอนรักษาในโรงพยาบาล

5. อัตราการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ

6. จำนวนอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการให้เลือด และ/หรือ ส่วนประกอบของเลือด

7. จำนวนอุบัติการณ์การรักษาพยาบาลผิดคน

8. อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำภายใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผน

9. ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่าย ACS ได้รับการตรวจ EKG ภายใน 10 นาที

10. ผู้ป่วยวิกฤตได้รับการช่วยเหลือภายใน 4 นาที

11. จำนวนอุบัติการณ์การระบุตัวผู้ใช้บริการผิดคน

12. จำนวนอุบัติการณ์การรักษาพยาบาลผู้ป่วยผิดคน

13. ความคลาดเคลื่อนจากการบริหารยา

หัวหน้างานทุกงาน

ICN, ICWN

4. กำลังคนด้านการพยาบาลของโรงพยาบาล และเครือข่ายบริการสุขภาพ มีปริมาณและคุณภาพเหมาะสม เพียงพอ

1. ร้อยละของหน่วยบริการพยาบาลมีผลิตภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

2. ร้อยละบุคลากรทางการพยาบาลมีสมรรถนะตามเกณฑ์

3. ร้อยละบุคลากรทางการพยาบาลได้รับการอบรมที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบอย่างน้อย 10 วัน/คน/ปี

4. ร้อยละบุคลากรทางการพยาบาลผ่านการฟื้นฟูทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงอย่างน้อย 1 ครั้ง/คน/ปี

หัวหน้างานทุกงาน

5. บุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ มีความสุขและยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร

1. ร้อยละความพึงพอใจในงานของบุคลากรทางการพยาบาล

2. อัตราการลาออกโอนย้ายของบุคลากรทางการพยาบาล

3. บุคลากรทางการพยาบาลมีความสุขในระดับปกติ

4. บุคลากรมีความเครียดระดับสูงและระดับรุนแรง

หัวหน้างานทุกงาน

6. บุคลากรเป็นผู้นำด้านสุขภาพ

1. ร้อยละบุคลากรทางการพยาบาลล้างมือถูกต้อง

2. ร้อยละบุคลากรทางการพยาบาลล้างมือก่อนให้การพยาบาล

3. บุคลากรทางการพยาบาลสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์

4. บุคลากรทางการพยาบาลคาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับขี่รถยนต์

5. บุคลากรทางการพยาบาลไม่สูบบุหรี่

6. บุคลากรทางการพยาบาลออกกำลังภายใน 30 นาที 3 ครั้ง/สัปดาห์

7. ร้อยละบุคลากรทางการพยาบาลได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี

8. ร้อยละบุคลากรทางการพยาบาลมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ

หัวหน้างานทุกงาน

ICN, ICWN

7. ประชาชนมีวัฒนธรรม สุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

1. อัตราการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง

2. ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้

3. อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจรายใหม่ลดลง

4. อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจรายใหม่ลดลง

5. ร้อยละผู้ป่วย ACS ดูแลตนเองได้ในระดับดี

6. อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

หัวหน้างานผู้ป่วยนอก

8. ชุมชนเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสุขภาพ

1. จำนวน อปท. จัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

2. จำนวน อปท. ร่วมซ้อมแผนรับสาธารณภัย

3. มีอาสาสมัครในชุมชน

4. จำนวนหมู่บ้านจัดการสุขภาพ

หัวหน้าพยาบาล

หัวหน้างานทุกงาน

หัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

9. ระบบบริการพยาบาลมีความพร้อมรองรับผลกระทบจากโรค ภัยคุกคามสุขภาพ และภัยพิบัติต่างๆ ได้อย่างทันการณ์

1. องค์กรพยาบาลผ่านการประเมินความพร้อมรับมือสาธารณภัย โรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ

หัวหน้าพยาบาล

หัวหน้างานทุกงาน

10. องค์กรพยาบาลมีเอกภาพ

1. การมีส่วนร่วมของบุคลากรทางการพยาบาล

2. ผู้นำบริหารมีสมรรถนะตามเกณฑ์

หัวหน้าพยาบาล

หัวหน้างานทุกคน

11. องค์กรพยาบาลยึดหลักธรรมาภิบาลและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

1. ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลทุกระดับ

2. ความพึงพอใจในงานของบุคลากรพยาบาล

หัวหน้าพยาบาล

หัวหน้างานทุกงาน

12. สิ่งแวดล้อมเหมาะสม ปลอดภัย และเอื้อต่อสุขภาพ

1. จำนวนอุบัติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม

2. อัตราการเจ็บป่วยของบุคลากรเนื่องจากการทำงาน

3. ข้อร้องเรียนจากชุมชน

หัวหน้าพยาบาล

หัวหน้างานทุกงาน

13. มีการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม

1. ร้อยละของหน่วยบริการพยาบาลดำเนินการคิดต้นทุนการบริการพยาบาล

2. ร้อยละของหน่วยบริการพยาบาลที่มียา/เวชภัณฑ์/อุปกรณ์การแพทย์หมดอายะ

หัวหน้าพยาบาล

หัวหน้างานทุกงาน

14. เพื่อให้องค์กรพยาบาลมีฐานข้อมูลที่จำเป็นทางการพยาบาลทั้งด้านการบริหาร บริการ และผลลัพธ์การบริการพยาบาล

1. องค์กรพยาบาลมีฐานข้อมูลจำเป็นตามมาตรฐานเป็นปัจจุบัน

หัวหน้าพยาบาล

หัวหน้างานทุกงาน

15. สารสนเทศขององค์กรพยาบาลมีความครอบคลุม ถูกต้อง รวดเร็ว ทันสมัย น่าเชื่อถือ

1. ร้อยละของหน่วยบริการพยาบาลมีฐานข้อมูลจำเป็นตามมาตรฐานเป็นปัจจุบัน

หัวหน้าพยาบาล

หัวหน้างานทุกงาน

16. มีองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมทางการพยาบาล

1. ร้อยละของหน่วยบริการพยาบาลที่นำองค์ความรู้/วิจัย/เทคโนโลยีทางการพยาบาลมาประยุกต์ใช้ในการบริการ

2. จำนวนเรื่องเล่าดีๆ ในการดูแลผู้ป่วย

3. จำนวนผลงานวิจัยในองค์กร

หัวหน้าพยาบาล

หัวหน้างานทุกงาน

หมวดที่ 3. การมุ่งเน้นผู้ใช้บริการ

3.1.ความรู้เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ

3.1.1 องค์กรพยาบาล ได้จำแนก�