print iom training manual thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล...

90
คู่มือการอบรม การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย (Training Manual: Countering Human Trafficking in the Thai Fishing Industry)

Upload: others

Post on 03-Jul-2020

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

คู่มือการอบรมการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

(Training Manual: Countering Human Trafficking in the Thai Fishing Industry)

Page 2: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก
Page 3: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

คู่มือการอบรมการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

(Training Manual: Countering Human Trafficking in the Thai Fishing Industry)

Page 4: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก
Page 5: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

สารบัญบทนำ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการอบรม

กลุ่มเป้าหมายหลัก

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

เอกสารประกอบการอบรม

ภาพรวมหัวข้อการอบรม

บทที่ 1: การค้ามนุษย์และหลักการที่เกี่ยวข้อง

1.1 ความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการค้ามนุษย์

1.2. กรอบกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์

1.3. หลักการสำคัญในการทำความเข้าใจอาชญากรรมค้ามนุษย์

1.4. ความแตกต่างระหว่างการค้ามนุษย์และการลักลอบขนคนเข้าเมือง

1.5. ประเด็นสำคัญและคำถามเพื่อการทบทวนความรู้

บทที่ 2: การค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

2.1 เหตุปัจจัยและแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

2.2. การค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทยที่ได้รับความสนใจมากขึ้น

2.3. องค์ประกอบการค้ามนุษย์ในบริบทของอุตสาหกรรมประมง

2.4. ประเด็นสำคัญและคำถามเพื่อการทบทวนความรู้

บทที่ 3: การคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

3.1 หลักการ ความท้าทายและขั้นตอนในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

3.2. ขั้นที่ 1: การใช้ตัวชี้วัดจากการสัมภาษณ์เบื้องต้น

3.3. ขั้นที่ 2: การสัมภาษณ์เพื่อคัดแยกผู้เสียหายที่อาจตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์

3.4. ขั้นที่ 3: การวิเคราะห์พยานแวดล้อมและการลงความเห็น

3.5. ประเด็นสำคัญและคำถามเพื่อการทบทวนความรู้

บทที่ 4: การปฏิบัติต่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

4.1. มาตรฐานและหลักวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด

4.2. การให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ใน

อุตสาหกรรมประมง

4.3. ประเด็นสำคัญและคำถามเพื่อการทบทวนความรู้

เอกสารแนบท้าย: กฎหมายหลัก

ภาคผนวก: ผู้มีบทบาทสำคัญ

ภาคผนวก: เอกสารหลัก

1

1

1

1

2

2

4

4

7

11

16

18

22

22

26

33

38

42

42

44

49

58

60

64

64

69

72

75

78

83

Page 6: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

01การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

บทนำความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการอบรม

โครงการฝึกอบรมหลักสูตรนี้จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการ “พัฒนาศักยภาพด้านยุติธรรมทางอาญา ว่า

ด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย (Strengthening the Criminal Justice Response to Human

Trafficking in Thailand) ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization

for Migration-IOM) โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสำนักงานกิจการยาเสพติดและการบังคับใช้กฎหมาย

ระหว่างประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกา (Bureau of International Narcotics and Law Enforcement

Affairs-INL) ซึ่งเป็นโครงการนำร่องภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลไทย โดยมีสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็น

หน่วยงานหลักในการดำเนินงาน และได้ประสานความร่วมมือกับ โครงการออสเตรเลีย - เอเชีย เพื่อการต่อต้าน

การค้ามนุษย์ (Australia-Asia Program to Combat Trafficking in Persons – AAPTIP) ในการจัดอบรม

เชิงวิชาการ

โครงการได้ดำเนินการจัดหลักสูตรอบรมนำร่องในจังหวัดระนอง สมุทรสาคร และตรัง ในช่วงระหว่าง

เดือนกรกฎาคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะพัฒนาทักษะความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่

บังคับใช้กฎหมาย ให้สามารถคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง รวมถึงหลักการและ

วิธีการสัมภาษณ์ผู้ที่อาจตกเป็นผู้เสียหาย และพยาน ให้อยู่ภายใต้กรอบหลักการคุ้มครองจำเป็นที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเป้าหมายหลัก

กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการอบรมครั้งนี้ประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่มีหน้าที่

รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ ที่ต้องพบกับผู้ที่อาจตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ในอุตสาหกรรมประมง

ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย ทั้งจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบังคับการตำรวจน้ำ

และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และจากส่วนงานอื่นที่ีมีความเกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับความรู้ในประเด็นดังต่อไปนี้

สามารถอธิบายปรากฏการณ์การค้ามนุษย์ได้

สามารถอธิบายถึงกฎหมายสากลและกฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์

อธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดจึงดูเหมือนผู้เสียหายจึงยินยอมให้มีการแสวงหาประโยชน์

อธิบายรูปแบบต่างๆของการแสวงหาประโยชน์ที่พบได้จากการค้ามนุษย์

สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างการค้ามนุษย์กับการลักลอบเข้าเมือง

สามารถอธิบายถึงเหตุปัจจัยและแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

สามารถอธิบายถึงสาเหตุที่การค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทยจึงได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น

ในปัจจุบัน

Page 7: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

02การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

สามารถแยกองค์ประกอบการกระทำความผิดทางอาญาของการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงได้

ชี้แจงหลักการและขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง ในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

ไทยได้

รู้จักตัวชี้วัดต่างๆ ของการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

อธิบายความท้าทายที่เกิดขึ้นในการสัมภาษณ์เพื่อคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรม

ประมงและเสนอแนะมาตรการในการจัดการกับประเด็นข้อท้าทายเหล่านั้น

ยกตัวอย่างพยานหลักฐานแวดล้อมได้

อธิบายแนวคิด วิธีการที่ใช้ในการสันนิษฐานว่าบุคคลนั้นเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

อธิบายมาตรฐานและหลักการตามวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในการดูแลผู้เสียหาย

อธิบายหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการเร่งด่วนให้แก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

สามารถให้คำแนะนำองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ว่าพวกเขาควรส่งต่อผู้ที่อาจตกเป็นผู้เสียหาย

จากการค้ามนุษย์ไปที่ใด

เอกสารประกอบการอบรม

เอกสารประกอบการอบรมมีดังต่อไปนี้

คู่มือการอบรม

คู่มือวิทยากร

สไลด์การนำเสนอ

เอกสารประกอบ (รวมถึงแบบฝึกหัดกรณีศึกษา)

หมายเหตุ : เอกสาร และคู่มือดังกล่าว แปลจากเอกสารภาษาอังกฤษ

ภาพรวมหัวข้อการอบรม

การฝึกอบรมประกอบด้วยเนื้อหา 4 บท ได้แก่

บทที่ 1 : การค้ามนุษย์และหลักการที่เกี่ยวข้อง

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการค้ามนุษย์

กรอบกฎหมายต่อต้านอาชญากรรมการค้ามนุษย์

แนวคิดที่สำคัญในการทำความเข้าใจการค้ามนุษย์

ความแตกต่างระหว่างการค้ามนุษย์และการลักลอบขนคนเข้าเมือง

บทที่ 2 ทำความเข้าใจการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

วิวัฒนาการของการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

การค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทยที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน

องค์ประกอบการค้ามนุษย์ภายใต้บริบทของอุตสาหกรรมประมง

บทที่ 3 การคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

หลักการ ความท้าทาย และขั้นตอนในการคัดแยกผู้เสียหาย

ขั้นที่ 1 ตัวชี้วัดเบื้องต้นก่อนการสัมภาษณ์ เพื่อการคัดแยกผู้เสียหายการค้ามนุษย์ใน

อุตสาหกรรมประมง

Page 8: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

03การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์พยานแวดล้อมและลงความเห็น

บทที่ 4 การปฏิบัติต่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

หลักการและพื้นฐานที่สำคัญ

การให้ความช่วยเหลือและการส่งต่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

Page 9: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

04การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

บทที่ 1 – การค้ามนุษย์และหลักการที่เกี่ยวข้อง

1.1 ความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการค้ามนุษย์

การค้ามนุษย์ในระดับสากล

การค้ามนุษย์ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งทุกประเทศตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็น

ประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน หรือประเทศปลายทาง โดยบางประเทศอาจมีทั้งสามสถานะ นอกจากนี้

ในกระแสโลกาภิวัตน์ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนสิ่งของและแนวคิดระหว่างประเทศได้โดยง่าย

เกิดช่องทางเกิดการโยกย้ายถิ่นฐานทีเพิ่มมากขึ้น ทั้งในรูปแบบที่ถูกกฏหมาย รูปแบบผิดกฎหมายที่อันตราย

กล่าวได้ว่าเป็นการเพิ่ม ปัจจัยความเสี่ยงต่อการตกเป็นผู้เสียหายจากถูกแสวงหาประโยชน์อีกด้วย

สถานการณ์การค้ามนุษย์ มีวิวัฒนาการตามความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและปัจจัยผันแปรต่างๆ

อาทิเช่น ความขัดแย้งและความมั่นคงภายในประเทศ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้คนมองหาโอกาสที่จะมีชีวิต

ที่ดีและปลอดภัยมากกว่า ในขณะเดียวกัน การโยกย้ายถิ่นฐานก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของผู้ค้า

มนุษย์ หลายคนอาจหลีกหนีจากความรุนแรงและการถูกทำให้เป็นคนชายขอบจากรัฐบาลของตน นอกจากนี้

ประเทศใดก็ตามที่มีการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมการขยายตัวและเติบโตทางตลาดนั้นจะดึงดูด

อาชญากรต่างๆ ให้เข้ามาใช้ช่องทางและโอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์จากกลุ่มเสี่ยง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้

การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มีความท้ายทายอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อต้อง

ตื่นตัวและก้าวทันการแสวงหาประโยชน์ และรูปแบบอาชญากรรมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะใน

กรณีที่ผู้เสียหายเป็นกลุ่มคนต่างด้าว

จำนวนผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่ชัดเจนนั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เพราะในแต่ละประเทศใช้วิธีเก็บ

ข้อมูลที่แตกต่างกันไป ซึ่งในระดับโลกจำนวนสถิติค่อนข้างแตกต่างกันมาก และข้อมูลเชิงสถิติมักมีความ

วัตถุประสงค์:

เพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ผู้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และหลักการที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์การเรียนรู้:

เมื่อจบบทเรียน ผู้ร่วมอบรมจะสามารถ

อธิบายปรากฏการณ์ทั่วไปของการค้ามนุษย์ได้

อธิบายกฎหมายหลักๆทั้งภายในประเทศและกฎหมายสากลที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ได้

อธิบายได้ว่าเหตุใดจึงดูเหมือนว่าผู้เสียหายยินยอมให้ผู้ค้าแสวงหาประโยชน์

อธิบายรูปแบบต่างๆ ของการแสวงประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการค้ามนุษย์

อธิบายความแตกต่างระหว่างการค้ามนุษย์และการลักลอบขนคนเข้าเมือง

Page 10: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

05การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ขัดแย้งในข้อมูล1 แต่ที่ทราบอย่างแน่ชัดคือ จำนวนผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหาย ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย และเด็กนั้น

แท้จริงแล้วมีจำนวนที่มากกว่าสถิติที่ถูกค้นพบและรูปแบบการแสวงหาประโยชน์มีทั้งการบังคับใช้แรงงานและ

บังคับให้บริการร่วมอยู่กับการแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ

การค้ามนุษย์ในระดับภูมิภาค

ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นทั้งประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน และประเทศ

ปลายทางของการค้ามนุษย์ โดยส่วนใหญ่ประเทศในแถบนี้มีการค้ามนุษย์ภายในประเทศเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่

เดินทางจากชนบทเพื่อหาโอกาสในการทำงานที่ดีกว่าในเมืองใหญ่ ส่วนในระดับภูมิภาค การย้ายถิ่นฐาน

ของผู้คน และการเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดน ถือเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าผู้คนและสินค้าได้เดินทางและโยกย้ายข้ามจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง

มาเป็นเวลากว่าศตวรรษ และมีกรอบกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ส่งผลให้การตรวจสอบ

การโยกย้ายผิดกฎหมายของผู้คนระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเรื่องที่ท้าทายมากในปัจจุบัน

หลายคนตกเป็นเหยื่อของผู้ลักลอบขนคนเข้าเมืองและผู้ค้ามนุษย์ เกิดอาชญากรรมข้ามชาติ เมื่อมีการค้าและ

เส้นทางการเดินทางขยายไปทั่วโลก

ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้พัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจร่วมกัน หาช่องทางใหม่ใน

การขยายตลาด และบูรณาการเศรษฐกิจของประเทศ จากการบูรณาการระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นทำมีวิธีการ

ในการเคลื่อนย้ายผู้คน สินค้าและเงินตราข้ามพรมแดนได้อย่างรวดเร็ว แต่ในอีกด้านหนึ่ง การพัฒนาเหล่านี้

ก็เพิ่มภัยคุกคามด้านความปลอดภัยเนื่องจากเป็นการเพิ่มช่องทางใหม่ๆ ให้กลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติด้วย

เช่นกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ชุมชนและปัจเจกบุคคลที่ต้องพบกับการซื้อขายสินค้าเถื่อน รวมถึงเงินตรา

และการค้ามนุษย์ที่มีมากขึ้น2 มนุษย์ที่สามารถนำไปแสวงหาประโยชน์ได้หลากหลายวิธีและนำไปหากำไรได้

ยาวนาน ถือเป็นสินค้าที่สร้างกำไรได้มหาศาล

ในขณะที่ผู้คนบางประเทศในภูมิภาคหนึ่งตกเป็นผู้อพยพและต้องการแสวงหาโอกาสในการทำงาน

ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม จึงเป็นที่มาของตลาดสำหรับการลักลอบขนคนเข้าเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ที่

กฎหมายไม่เปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างปกติหรือในที่การเคลื่อนย้ายของแรงงานไม่สามารถทำ

ได้จริง แรงงานข้ามชาติที่ต้องพึ่งพาบริการของผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ลักลอบขนคนเข้าเมือง อาจตกอยู่ในภาวะ

ถูกละเมิด ทรมาน หรือแม้แต่ถูกฆาตกรรมในระหว่างเดินทาง หลายคนอยู่รอด แต่ต่อมาก็กลายเป็นเหยื่อของ

อาชญากรรมรวมถึงการค้ามนุษย์ทำให้พวกเขาถูกแสวงหาประโยชน์ในภาคส่วนที่ไม่ได้รับการควบคุมดูแล

อย่างเคร่งครัดจากทางภาครัฐ

1 ดู Jessie Brunner, Inaccurate Numbers, Inadequate Policies: Enhancing Data to Evaluate the Prevalence of

Human Trafficking in ASEAN (East-West Center, 2015). Brunner ประมาณการตัวเลขไว้ที่ 36 ล้านคนใน ‘modern

slavery’ โดย ILO ประมาณการไว้ที่ 20.9 ล้านคนที่เป็นเหยื่อการบังคับใช้แรงงาน2 Protecting peace and prosperity in Southeast Asia: synchronizing economic and security agendas (UNODC,

February 2016) การป้องกันสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การประสานวาระทาง

เศรษฐกิจและความมั่นคง (UNODC, กุมภาพันธ์ 2559)

Page 11: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

06การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การค้ามนุษย์ในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทางที่สำคัญของการค้ามนุษย์ใน

ทุกรูปแบบ ทั้งผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่นๆ นอกจากนี้

ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์ภายในประเทศด้วยเช่นกัน เช่น ประชากรในชนบทและชาวเขาตก

เป็นเหยื่อของการแสวงหาผลประโยชน์ในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมและพื้นที่ในเขตเมืองของประเทศไทย

ในฐานะที่เป็นประเทศต้นทางของการค้ามนุษย์ การแสวงหาผลประโยชน์จากการค้าประเวณีของหญิง

ไทยในต่างประเทศถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ประเทศที่หญิงไทยถูกแสวงหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

ทางเพศ ได้แก่ ออสเตรเลีย, บังคลาเทศ, เบลเยี่ยม, แคนาดา, ไซปรัส, สาธารณรัฐเช็ก, เดนมาร์ก, เยอรมนี,

ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, โคโซโว, มาเก๊า, เนเธอร์แลนด์, แอฟริกาใต้, สวิสเซอร์แลนด์, ไต้หวันและสหรัฐอเมริกา3

ปัญหาการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมการขายบริการทางเพศของไทย ถือเป็นประเด็นหนึ่งที่ได้รับความ

สนใจอย่างมีนัยสำคัญ มีจำนวนแรงงานที่ขายบริการทางเพศในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก (ประมาณการราว

140,000 - 250,000 คน โดย 90% เป็นเพศหญิง) ถึงแม้ว่า การค้าประเวณี4 จะถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายก็ตาม

จะพบว่าผู้ขายบริการทางเพศส่วนหนึ่งที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ รวมถึงแรงงานข้ามชาติที่ขายบริการ

ทางเพศที่มีความเสี่ยงในการถูกแสวงหาประโยชน์ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์รูปแบบนี้พบได้ในกรุงเทพฯ

พัทยา ภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย เช่นเดียวกับในพื้นที่ท่าเรือและศูนย์กลางการท่องเที่ยวต่างๆ

การท่องเที่ยวเพื่อซื้อบริการทางเพศเป็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดอุปสงค์ แต่ปัญหาหลักคือความต้องการในการซื้อ

บริการทางเพศของชายไทยก็มีมากด้วยเช่นกัน5 ประเทศไทยเป็นประเทศปลายทางที่สำคัญในการแสวงหา

ประโยชน์ทางเพศโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้หญิงที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน เมียนมาร์ และสปป. ลาว

รวมถึงประเทศอื่นๆ ได้แก่ อุซเบกิสถาน และรัสเซีย มีรายงานจำนวนมากเกี่ยวกับผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายและ

ถูกทำร้ายทางร่างกาย ถูกยึดเงินที่หามาได้ ตกอยู่ในสภาวะเป็นหนี้ แม้กระทั่งถูกบังคับให้บริการแก่ตำรวจ

ท้องที่และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ6

นอกเหนือจากการค้ามนุษย์เพื ่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ยังมีการค้ามนุษย์เพื ่อแสวงหา

ประโยชน์ด้านแรงงานที่เป็นข้อกังวลที่สำคัญของประเทศไทย หลายคนถูกบังคับให้ทำงานในโรงงาน ถูกบังคับ

ให้เป็นแม่บ้าน ถูกบังคับให้ขอทาน หรือถูกใช้ประโยชน์ในการประมงเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

กับการประมง ประเทศไทยถือเป็นประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการพัฒนามากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

อื่นๆ ในภูมิภาค ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศปลายทางที่น่าดึงดูดใจสำหรับผู้แสวงหางานทำจากที่อื่นๆ

3 ASEAN Training Program on Trafficking in Persons for Specialist Investigators - Reactive Investigation

หลักสูตรอาเซียนว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์สำหรับเจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญพิเศษ - การสืบสวนสอบสวนเชิงรับ,

(ASEAN, 2011), หน้า 32-33.4 Transnational Organized Crime in East Asia and the Pacific: A Threat Assessment (UNODC, 2013), หน้า 17.5 Transnational Organized Crime in East Asia and the Pacific: A Threat Assessment (UNODC, 2013), หน้า 18.6 ASEAN Training Program on Trafficking in Persons for Specialist Investigators - Reactive Investigation

หลักสูตรอาเซียนว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์สำหรับเจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญพิเศษ - การสืบสวนสอบสวนเชิงรับ

(ASEAN, 2011), หน้า 32-33.

Page 12: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

07การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

แรงงานข้ามชาติประมาณสามถึงสี่ล้านคน ที่อยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่มาจากประเทศเมียนมาร์ สปป.

ลาวและกัมพูชาเป็นหลัก7 หลายคนพึ่งพานายหน้าลักลอบขนคนเข้าเมืองเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดิน

ทางของตนเองเข้ามาในประเทศไทย จากข้อมูลที่พบ คาดว่าแรงงานข้ามชาติราวครึ่งล้านคนที่ลักลอบเข้า

มาในประเทศไทยเป็นประจำทุกปีมาจาก สปป. ลาว กัมพูชาและเมียนมาร์ สร้างเงินหมุนเวียนให้แก่ผู้ลักลอบ

ขนคนเข้าเมืองประมาณ 192 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี8

ความสัมพันธ์ระหว่างการลักลอบขนคนเข้าเมืองและการค้ามนุษย์ในบริบทนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง

เนื่องจากแรงงานข้ามชาติที่ลักลอบเข้ามาในประเทศแทบจะไม่มีสิทธิ์เรียกร้องสิทธิใดๆ และมักจะตกเข้าสู่

สถานะการถูกแสวงหาประโยชน์ในที่สุด สหประชาชาติสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรม (UNODC)

ประมาณการว่าประมาณ 5% ของผู้ที่ลักลอบเข้าประเทศไทยจากประเทศลาว กัมพูชาและเมียนมาร์

จะตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ทำรายได้ให้แก่ผู้แสวงหาประโยชน์ 33 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี9

แม้แรงงานข้ามชาติจำนวนมากจากประเทศเหล่านี้จะประสบความสำเร็จในการหางานทำ แต่พบว่าแรงงาน

จำนวนมากถูกบังคับให้ทำงานโดยไม่มีค่าแรง อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไร้มนุษยธรรมหรือตกอยู่ในสภาพที่อันตราย

และต้องประสบกับการกระทำทารุณและรุนแรงอย่างที่สุด แรงงานข้ามชาติจำนวนมากถูกฆาตกรรม การ

แสวงหาประโยชน์จากชาย หญิงและแม้กระทั่งเด็กที่มาจากประเทศเหล่านี้ที่อยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่า 'เสมือน

ทาส' พบในโรงงานต่างๆ ในประเทศไทย ภาคการเกษตร งานก่อสร้างและในอุตสาหกรรมประมง

และเนื่องจากเป็นประเทศปลายทาง จึงพบการค้ามนุษย์รูปแบบอื่นๆ ในประเทศไทยด้วย เด็กและ

คนหนุ่มสาวจากประเทศอื่นๆ ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมทั้ง จีน กัมพูชา เมียนมาร์และ สปป.

ลาว) ถูกแสวงหาประโยชน์จากการใช้แรงงานในประเทศไทย เด็กๆ รวมทั้งผู้ใหญ่ทั้งหญิงและชายจาก

บังคลาเทศ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ (รวมถึงเด็กจากภาคเหนือของไทย) ได้ถูกค้าและนำเข้ามาในตัวเมือง

ของไทยเพื่อขอทานและขายสินค้าบนท้องถนน แม้ผู้คนจะมีความเสี่ยงที่จะถูกแสวงหาประโยชน์จากงานทุก

รูปแบบในประเทศไทย แต่ประเด็นหลักของคู ่มือการอบรมนี ้จะมุ ่งเน้นที ่การแสวงหาผลประโยชน์ใน

อุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลแปรรูปที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา10

1.2. กรอบกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์

นิยามสากลของการค้ามนุษย์

การลักลอบค้ามนุษย์ หรือ การค้ามนุษย์ ได้มีการให้นิยามไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยพิธีสารเพื่อ

ป้องกันปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (Protocol to Prevent, Suppress and

Punish Trafficking in Persons, Especially Women and Children) แนบท้ายอนุสัญญาสหประชาชาติ

เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร (United Nations Convention against

Transnational Organized Crime) (พิธีสารการค้ามนุษย์ฯ) เมื่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรอง

7 รายงานการค้ามนุษย์ปี 2015, (United States, 2015).8 Transnational Organized Crime in East Asia and the Pacific: A Threat Assessment (UNODC, 2013), หน้า 5.9 Transnational Organized Crime in East Asia and the Pacific: A Threat Assessment (UNODC, 2013), หน้า 5.10 ข้อมูลเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทยจะนำเสนอในบทที่ 2

Page 13: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

08การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

พิธีสารต่อต้านการค้ามนุษย์ในปี 2543 ถือว่าการค้ามนุษย์มีนิยามสากลเป็นครั้งแรก พิธีสารค้ามนุษย์เป็น

สนธิสัญญาที่มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างรัฐภาคี ประเทศไทยได้ลงนามในพิธีสารเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ปี

2544 และได้ให้สัตยาบันในวันที่ 17 ตุลาคม 2556

มาตรา 3 ของพิธีสารต่อต้านการค้ามนุษย์ได้ให้นิยามการค้ามนุษย์ว่า

ก) “การค้ามนุษย์” หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัยหรือการรับไว้ซึ่งบุคคล

ด้วยวิธีการขู่เข็ญ หรือด้วยการใช้กำลัง หรือด้วยการบีบบังคับในรูปแบบอื่นใด ด้วยการลักพาตัว

ด้วยการฉ้อโกง ด้วยการหลอกลวง ด้วยการใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือด้วยการใช้สถานะความเสี่ยงภัย

จากการค้ามนุษย์โดยมิชอบ หรือมีการให้หรือรับเงินหรือผลประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของ

บุคคลผู้มีอำนาจควบคุมบุคคลอื่นเพื่อความมุ่งประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์ การแสวงหาประโยชน์

อย่างน้อยที่สุดให้รวมถึงการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของบุคคลอื่นหรือการแสวงหาประโย

ชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การเอาคนลงเป็นทาสหรือการกระทำอื่น

เสมือนการเอาคนลงเป็นทาส การทำให้ตกอยู่ใต้บังคับ หรือการตัดอวัยวะออกจากร่างกาย

ข) ความยินยอมของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่ให้กับการแสวงหาผลประโยชน์โดยเจตนาดังที่ระบุไว้

ในอนุวรรค (ก) ของมาตรานี้ ไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้างได้หากมีการใช้วิธีการใดๆ ที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ก)

ค) การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัยหรือรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อวัตถุประสงค์ในการแสวงหา

ประโยชน์ ไม่ว่าจะโดยการแสวงหาประโยชน์ใดๆ ถือเป็น “การค้ามนุษย์” แม้ว่าจะไม่มีการใช้วิธีการใดๆ

ดังที่ไว้ในอนุวรรค (ก) ของมาตรานี้

ง) เด็กหมายถึงบุคคลใดที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

โดยรวม อาชญากรรมการค้ามนุษย์ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ดังนี้

การกระทำ คือ จัดหา ขนส่ง ส่งต่อ จัดให้อยู่อาศัย รับไว้ซึ่งบุคคล

ด้วยวิธีการ คือ ขู่เข็ญหรือใช้กำลังบังคับ หรือด้วยการบีบบังคับในรูปแบบอื่นใด ด้วยการลักพาตัว

ฉ้อโกง หลอกลวง ใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือด้วยการใช้สถานะความเสี่ยงภัยจากการค้ามนุษย์โดยมิชอบ

หรือมีการให้หรือรับเงินหรือผลประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลที่มีอำนาจควบคุม

บุคคลอื่น

เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์ คือ ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการค้า

ประเวณีของบุคคลอื่นหรือการแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ

การเอา คนลงเป็นทาส การทำให้ตกอยู่ใต้บังคับ หรือการตัดอวัยวะออกจากร่างกาย

อาชญากรรมการค้ามนุษย์เกิดขึ้นเมื่อมีองค์ประกอบทั้งสามประการนี้ อย่างไรก็ดี ในกรณีของการค้า

มนุษย์ที่เป็นเด็ก บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่จำเป็นต้องพิจารณาองค์ประกอบ ด้าน “วิธีการ”

เมื่อมีการกระทำ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาประโยชน์ก็ถือว่าเพียงพอและถือเป็นอาชญากรรมการค้ามนุษย์

ตามนิยามที่ให้ไว้ในพิธีสารต่อต้านค้ามนุษย์ เมื่อมีการกระทำเพียงอย่างเดียวหรือใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง

1.

2.

3.

Page 14: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

09การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

และมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาประโยชน์เกิดขึ้น ก็จะถือว่าเข้าองค์ประกอบการค้ามนุษย์ แต่ใน

สถานการณ์ของการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นจริง ส่วนใหญ่จะพบว่ามีการกระทำมากมายเกิดขึ้นภายใต้องค์ประกอบ

แต่ละตัว

ประเด็นสำคัญในการทำความเข้าใจความหมายสากลของการค้ามนุษย์ ได้แก่

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เป็นได้ทั้ง ผู้ชาย ผู้หญิง เด็กชายและเด็กหญิง

การค้ามนุษย์ในทุกรูปแบบ รวมทั้งการบังคับใช้แรงงาน ถือเป็นการค้ามนุษย์ตามคำนิยาม

ตัวอย่างรูปแบบของการแสวงหาประโยชน์ที่ให้ไว้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น อาจมีการแสวงหาประโยชน์

ในรูปแบบอื่นด้วย

การค้ามนุษย์สามารถเกิดขึ้นภายในประเทศได้ ไม่จำต้องมีการข้ามพรมแดน

นิยามการค้ามนุษย์ในบริบทภูมิภาค

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)

ได ้กลายเป ็นภาค ีอน ุส ัญญาอาเซ ียนว ่าด ้วยการต ่อต ้านการค ้ามน ุษย ์ โดยเฉพาะสตร ีและเด ็ก

(อนุสัญญาอาเซียน) (ASEAN Convention against Trafficking in Persons, Especially Women and

Children – ASEAN Convention)11

การกระทํา วิธีการ วัตถุประสงคเพื่อการแสวงหาประโยชน

จัดหา การขมขู วาจะใชกําลังหรือใช

กําลัง

การขมขูวาจะใชกําลังหรือใชกําลัง

การแสวงหาประโยชนจากการคาประเวณี

ของผูอื่นหรือการแสวงหาประโยชนทาง

เพศในรูปแบบอื่น

พามาจาก การบังคับในรูปแบบตางๆ การบังคับใชแรงงานหรือบริการ

สงไปยัง การลักพาตัว การเอาคนลงเปนทาสหรือการกระทําอื่นเส

มือนการเอาคนลงเปนทาสหรือทําใหตกอยู

ใตบังคับ

จัดใหอยูอาศัย การฉอโกง การนําอวัยวะไปจําหนาย

รับไวซึ่งบุคคล การหลอกลวง

การใชอํานาจโดยมิชอบหรือใช

ประโยชนจากสถานะความ

เสี่ยงภัย

การใหหรือรับเงินหรือผลประ

โยชนเพ่ือใหไดมาซึ่งความยิน

ยอมของบุคคลผูมีอํานาจควบ

คุมบุคคลอื่น

การแสวงหาประโยชนชนิดอื่นๆ

11 ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

Page 15: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

10การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การประชุมอาเซียนยืนยันนิยามของการค้ามนุษย์ตามที่บัญญัติไว้ในพิธีสารต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหประชา

ชาติ ดังนี้

นิยามการค้ามนุษย์ในราชอาณาจักรไทย

ประเทศไทยได้ลงนามในพิธีสารต่อต้านการค้ามนุษย์เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และได้ให้

สัตยาบันในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556 การค้ามนุษย์ถือเป็นความผิดอาญาในประเทศไทยดังที่ได้

กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ที่มีการแก้ไข

เพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 โดยพระราชบัญญัติปี 2551

มีผลแทนที่พระราชบัญญัติฉบับก่อนหน้า พ.ศ. 2540

ตามพระราชบัญญัติ ได้มีการให้นิยามการค้ามนุษย์ไว้ในมาตรา 6 และมาตรา 4 ดังนี้

มาตรา ๖

ผู้ใดเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง

จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้

อำนาจโดยมิชอบ หรือโดยให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลบุคคลนั้น

เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระทำความผิดในการแสวงหาประโยชน์จาก

บุคคลที่ตนดูแล หรือ

เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้

อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งเด็ก ผู้นั้นกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์

บทบัญญัตินี้ชี ้ให้เห็นว่าความเข้าใจเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในประเทศไทยสอดคล้องกับความเข้าใจสากล

ที่ว่าไม่จำเป็นต้องมีการพิสูจน์ “วิธีการ” ในกรณีที่บุคคลเป็นเด็ก ให้พิสูจน์เฉพาะองค์ประกอบ “การกระทำ”

เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสวงหาผลประโยชน์เป็นสำคัญ

การแสวงหาประโยชน์ได้มีการอธิบายไว้ในกฎหมายไทยดังต่อไปนี้

มาตรา ๔

ในพระราชบัญญัตินี้

“แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีการ

ผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคน

ลงเป็นทาส การนำคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า

หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม

“การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ” หมายความว่า การข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดย

ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเอง

หรือของผู้อื่น โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ใน

ภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้

(1)

(2)

Page 16: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

11การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ความหมายของการค้ามนุษย์ในกฎหมายไทยครอบคลุมทุกรูปแบบของการแสวงหาประโยชน์ที่บัญญัติไว้ใน

พิธีสารขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์และเพิ่มเติมการขอทานให้ความหมายของ

การค้ามนุษย์ในกฎหมายไทยครอบคลุมทุกรูปแบบของการแสวงหาประโยชน์ที ่บัญญัติไว้ในพิธีสารของ

องค์การสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์และเพิ่มเติมการขอทานให้

นอกจากพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ยังมีเครื่องมือทาง

กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานของหน่วยงานที่ทำงานด้านการต่อต้านค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

(ข้อที่ 2.4)

1.3. หลักการสำคัญในการทำความเข้าใจอาชญากรรมค้ามนุษย์

ความยินยอมของผู้เสียหายไม่มีผล

มาตรา 3 (ข) ของพิธีสารต่อต้านการค้ามนุษย์ระบุว่าความยินยอมของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ให้มี

การแสวงหาประโยชน์ไม่อาจนำมาใช้เป็นข้ออ้างได้หากมีการใช้ 'วิธีการ' หรืออาจพูดได้ว่า เมื่อใดที่มีการใช้

กำลังบังคับหรือมีการข่มขู่ หรือบุคคลดังกล่าวถูกข่มขู่ ลักพาตัว หลอกลวง หรือฉ้อโกง ละเมิดซึ่งอำนาจหรือ

ได้มีการใช้ประโยชน์จากความเปราะบาง เมื่อ “การกระทำ” ต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น ก็ไม่สามารถอ้างได้ว่า

ผู้เสียหายให้ความยินยอม ในทำนองเดียวกัน หากบุคคลที่มีอำนาจควบคุมผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

ได้รับเงินหรือผลประโยชน์อื่นใด การยินยอมของผู้เสียหายก็ไม่อาจนำมาอ้างได้เช่นกัน

ในกรณีของการค้ามนุษย์ในเด็ก ไม่ว่าผู้เสียหายจะยินยอมให้มีการแสวงหาประโยชน์หรือไม่ จะถือ

เสมอว่าจะความยินยอมนั้นฟังไม่ได้และไม่ต้องนำมาพิจารณาไม่ว่าความยินยอมนั้นจะได้มาด้วยวิธีการใด

ให้พิสูจน์เพียงประเด็นที่ว่า เด็กถูกจัดหา นำมาจาก ส่งไปยังที่ใด จัดให้อยู่อาศัยหรือรับไว้ซึ่งบุคคล เพื่อ

วัตถุประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์

ในสถานการณ์ของการค้ามนุษย์ส่วนใหญ่ผู้เสียหายยินยอมให้ตนถูกแสวงหาประโยชน์ ประเด็นสำคัญ

ที่จะต้องทำความเข้าใจก็คือ แม้ว่าบุคคลจะดูเหมือนยอมรับสภาพของตนเองและเข้าสู่กระบวนการไปแล้ว

อย่างสมัครใจหรือยินยอมตามเงื่อนไขก็ตาม เช่น ยินยอมกับเงื่อนไขในการทำงานพวกเขาก็ยังคงเป็นผู้เสียหาย

จากการค้ามนุษย์ และแม้ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่าเดิมจากที่ตนเคยประสบ ก็ไม่สามารถ

นำความยินยอมมาเป็นข้ออ้างได้ แม้ว่าบุคคลดังกล่าวจะมีรายได้เพิ่มขึ้นหรือมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าตอนยังไม่ถูกค้า

มนุษย์ บุคคลนั้นก็ยังเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ตามเดิม

เพื่อทำความเข้าใจว่าเหตุใดผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จึงยินยอมให้ตนเองถูกแสวงหาประโยชน์หรือ

ดูเหมือนสมัครใจที่จะตกอยู่ในสถานการณ์ของการแสวงหาประโยชน์นั้นต้องพิจารณากลไกที่ผู ้ค้าใช้เพื่อ

ควบคุมเหยื่อเป็นสำคัญ การควบคุมอาจทำได้หลายวิธีร่วมกัน รวมไปถึง

ใช้กำลังบังคับหรือใช้ความรุนแรง หรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังหรือความรุนแรงกับผู้เสียหาย ผู้เสียหายอาจ

ถูกทุบตี ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ข่มขืน กักขังหน่วงเหนี่ยว ถูกให้อดอาหารหรือถูกทารุณเพื่อให้

เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง

Page 17: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

12การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การใช้กำลังหรือความรุนแรงหรือขู่ว่าจะใช้กำลังหรือความรุนแรงกับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้

ที่ตกเป็นผู้เสียหาย ผู้ค้ามนุษย์อาจหาข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัวของผู้เสียหายและใช้จุดอ่อนนี้

เพื่อคุกคามพวกเขาไม่ให้ต่อต้านหรือคิดหลบหนี

การขัดหนี้โดยกำหนดให้ผู้เสียหายต้องจ่ายเงินในอัตราเกินจริงบวกกับเงินเพิ่มที่อ้างว่าเกิดขึ้นจากการที่

ต้องพาผู้เสียหายไปยังจุดหมายปลายทางหรือพักอยู่ที่เดิม

ยึดเอกสารการเดินทางและ/หรือบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อทำให้ผู้เสียหายไปไหนไม่ได้ ไม่ให้มีสถานะ

ทางกฎหมายที่ถูกต้อง และทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกกักตัว การลงโทษ หรือส่งกลับ

ทำให้ผู้เสียหายโดดเดี่ยวไม่ได้ติดต่อกับสังคม ไม่ว่าจะเป็นการเก็บตัวไม่ให้พบเจอผู้คน หรือปัญหาด้าน

ภาษาเนื่องจากสื่อสารกับคนอื่นๆ ไม่ได้

ทำให้ผู้เสียหายกลัวด้วยการบอกว่าตำรวจจะส่งกลับหรือทำร้ายพวกเขา หรือบอกว่าตำรวจก็ทุจริตและ

อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ค้าเพื่อทำให้ผู้เสียหายไม่พยายามขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ทำให้ผู้เสียหายอับอายและตีตรา ใช้ความหวาดกลัวของผู้เสียหาย ในการข่มขู่ว่า เพื่อน ครอบครัว

หรือชุมชน อาจจะกลายมาเป็นผู้เสียหายเช่นเขา หรืออาจข่มขู่ว่าจะเปิดเผยเรื่องของผู้เสียหายให้กับ

ครอบครัว เพื่อนให้ทราบหากไม่ยอมทำตามคำสั่ง ผู้ค้าบางรายถึงกับบันทึกความรุนแรงต่างๆ ที่

ผู้เสียหายได้รับเอาไว้ข่มขู่ด้วย

ทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะต้องพึ่งพา เช่น ทำให้ติดยาเสพติดและ/หรือแอลกอฮอล์ เพื่อให้ผู้เสียหายต้อง

พึ่งพาสารเสพติดและผู้ค้าทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงได้รับ

แจกยาบ้าเพียงเพื่อให้พวกเขาสามารถทำงานได้ยาวนานขึ้น

สถานการณ์ที ่ผู ้เสียหายจากการค้ามนุษย์ต้องเผชิญมีหลากหลายรูปแบบและอาจเกี ่ยวพันกับ

หลายปัจจัย นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นที่ “ซ่อนเร้น” ว่าเหตุใดผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จึงไม่หลบหนีจาก

สถานการณ์ที่ตนต้องเผชิญรวมถึงความจริงที่ว่าการจะย้อนกลับไปตอนที่ยังไม่ถูกค้านั้นอาจเป็นโชคชะตา

ที่เลวร้ายยิ่งกว่าถูกค้ามนุษย์ ผู้เสียหายอาจคิดว่าพวกเขาไม่มีทางเลือกจึงต้องจำทนอยู่กับสถานการณ์ที่ตนถูก

แสวงหาประโยชน์ เพราะเกรงว่าจะไม่ได้รับค่าจ้างที่เชื่อว่าตนจะได้รับ

ในการทำความเข้าใจความหมายการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศนั้น ประเด็นสำคัญคือ แม้บุคคลจะ

ยินยอมให้มีการแสวงหาประโยชน์ ความยินยอมนั้นก็ไม่มีผลใดหากมีการใช้วิธีการ สำหรับกฎหมายไทย

ความยินยอมไม่ผูกกับวิธีการแต่ผูกกับการแสวงหาประโยชน์ การแสวงหาประโยชน์ถูกนิยามในทางที่ว่าไม่ว่า

จะใช้วิธีการใดก็ตามความยินยอมไม่มีผล หรือกล่าวโดยสรุปคือ เมื่อใดที่มีการแสวงหาประโยชน์เกิดขึ้นก็

ไม่ต้องนำเรื่องความยินยอมมาพิจารณาโดยสิ้นเชิง

การแสวงหาประโยชน์รูปแบบต่างๆ

ส่วนใหญ่เราจะพบผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในตอนที่พวกเขาแหล่านั้นถูกแสวงหาประโยชน์ ดังนั้น

จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจรูปแบบต่างๆ ของการแสวงหาประโยชน์ที่บัญญัติไว้ตามกฎหมายสากล

และกฎหมายภายในประเทศ พิธีสารว่าด้วยการค้ามนุษย์ได้ให้ตัวอย่างรูปแบบต่างๆ ของการแสวงหาประโยชน์

เช่น การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การแสวงหาประโยชน์ทางเพศรูปแบบอื่น การบังคับใช้

แรงงานหรือบริการ การเอาคนลงเป็นทาสหรือการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับทาสหรือการตัดอวัยวะ เป็นต้น แต่

Page 18: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

13การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

อย่างไรก็ตามพิธีสารการค้ามนุษย์ ไม่ได้กำหนดนิยามของการแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ไว้

แต่กฎหมายระหว่างประเทศก็ได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยให้เราทำความเข้าใจความหมายของรูปแบบการ

แสวงหาประโยชน์ที่แตกต่างกันเหล่านี้

การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ

พิธีสารค้ามนุษย์ได้รวม “การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของผู้อื่น” และ “การแสวงหา

ประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่นๆ” ไว้ภายใต้การแสวงหาประโยชน์ ผู้ร่างพิธีสารการค้ามนุษย์ตัดสินใจที่จะ

ไม่กำหนดนิยามให้แก่การแสวงหาประโยชน์ทั้งสองข้างต้น ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศต่างๆ จัดการกับการแสวงหา

ประโยชน์ทางเพศในรูปแบบต่างๆ ตามแต่กฎหมายภายในประเทศของตน การแสวงหาประโยชน์จากการค้า

ประเวณีของผู้อื่น โดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าเป็นการหาประโยชน์เพื่อให้ได้เงินหรือสิ่งของจากการค้าประเวณี ซึ่งแต่

ละประเทศต้องกำหนดโทษของบุคคลที่ได้ประโยชน์จากการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของผู้อื่นแท

นที่จะกำหนดโทษแก่ผู้ขายบริการ “การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ” มีการให้ความหมายไว้เพียงกว้างๆ ใน

ระดับนานาชาติ รูปแบบของการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ มีระบุไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม

การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งรวมถึง “การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี” การผลิตหรือการทำวัตถุ

ลามกอนาจาร และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่นๆ

การบังคับใช้แรงงาน

อนุสัญญาต่อต้านการบังคับใช้แรงงาน (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2473 ขององค์กรระหว่างประเทศเพื่อ

การย้ายถิ่น (ILO) ซึ่งไทยได้เป็นสมาชิกใน พ.ศ. 2512 ได้นิยามคำว่า ‘การบังคับใช้แรงงาน ดังนี้

" ... การทำงานทั้งหมดหรือการให้บริการบุคคลใด ๆ ภายใต้การคุกคามซึ่งเป็นการลงโทษและ

สำหรับบุคคลที่ยังไม่ได้เสนอตัวว่าจะทำงานด้วยความสมัครใจ"12

เพื่อทำความเข้าใจนิยาม ควรพิจารณาหลักการต่อไปนี้ประกอบด้วย

“การทำงานหรือบริการ” ทุกประเภทไม่ว่าจะถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมายก็ตาม

“บุคคลใด” หมายถึง คนทุกคนโดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ สัญชาติ หรือสถานะการย้ายถิ่นฐาน

“ข่มขู่จะลงโทษ” รวมถึงการบังคับข่มขู่ทางร่างกายหรือทางจิตใจโดยนายจ้าง ซึ่งอาจรวมถึงการปฏิเสธ

การเลื่อนตำแหน่งหรือการย้ายงานให้แก่ลูกจ้าง หรือปฏิเสธการจ้างงานหรือนุญาตให้มีที่พักอาศัย ไม่

ชำระเงินค่าจ้างหรือหักเงินค่าจ้าง ทำให้ตกเป็นหนี้ (เช่น ขึ้นราคาค่าจัดหาหรือค่านายหน้า) วิธีทดสอบ

ว่าสถานการณ์ใดถือเป็นการคุกคามว่าจะลงโทษหรือไม่คือ ดูว่าบุคคลดังนั้นมีอิสระที่จะลาออกโดยไม่

สูญเสียสิทธิ์หรือสิทธิพิเศษใดๆ หรือไม่

12 นิยามการบังคับใช้แรงงานของ ILO ได้รับการยืนยันในปี 2014 ด้วยการเห็นชอบของพิธีสารต่ออนุสัญญาบังคับใช้แรงงาน

การประชุมแรงงานระหว่างประเทศ, Text of the Protocol to the Forced Labour Convention, 1930, Provisional Record

9A, 103rd Session, Geneva, 2014, Art. 1(3).

Page 19: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

14การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

“ความสมัครใจ” หมายถึงความจริงที่ว่าคนงานไม่มีอิสระหรือไม่มีข้อมูลพอแก่การให้ความยินยอมที่จะ

ทำงานและ/หรือไม่มีอิสระที่จะเรียกคืนความยินยอมนั้น ความยินยอมก่อนหน้าที่ได้มาหรือถูกทำลายลง

โดยการหลอกลวงหรือบังคับข่มขู่โดยนายจ้างหรือนายหน้าและไม่สามารถเรียกได้ว่า “มีอิสระและมี

ข้อมูลเพียงพอ”

ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 “การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ”

หมายถึง

...บังคับให้บุคคลอื่นทำงานหรือให้บริการโดยการทำให้บุคคลดังกล่าวตกอยู่ในความกลัวว่า ตนหรือ

บุคคลอื่น อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต ขาดซึ่งเสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ด้วยวิธีการในการข่มขู่ หรือ

ใช้กำลังหรือใช้วิธีการที่ทำให้บุคคลดังกล่าวอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถปฏิเสธได้

ตามแบบการสัมภาษณ์เพื่อการคัดกรองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เบื้องต้นนั้น การบังคับใช้แรงงาน

และการให้บริการ หมายถึง

...การจ้างงานหรือบทบัญญัติของการให้บริการที่มีการตกลงกันบนพื้นฐานของความกลัวที่จะสูญเสีย

ชีวิต ได้รับบาดเจ็บ หรือถูกลิดรอนเสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกจ้าง หรือโดยความหวาดกลัว

ว่าเสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นจะถูกพรากไป อันเนื่องจาคำพูดข่มขู่ การทำร้ายร่างกาย

หรือการทำให้อยู่ในสภาพที่สามารถปฏิเสธได้

การเอาคนลงเป็นทาสและการปฏิบัติที่คล้ายกับการเป็นทาส

รูปแบบของการค้ามนุษย์ที่ร้ายแรงที่สุดคือ การเอาลงเป็นทาส มีการกำหนดนิยามการเป็นทาสใน

พ.ศ. 2469 ในอนุสัญญาปราบปรามการค้าทาสและการทำให้ตกเป็นทาส (อนุสัญญาทาส) ดังนี้

“...สถานะหรือเงื่อนไขของบุคคลที่มีอำนาจเหนือบุคคลอื่นใดโดยการใช้อำนาจในการควบคุมสิทธิ์ความ

เป็นเจ้าของ

ตามหลัก ทาส เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแสดงความเป็นเจ้าของ และเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง

ผู้กระทำความผิดและผู้เสียหายมากกว่าสภาพของการเป็นทาส และอาจเกี่ยวข้องกับอำนาจในการกำหนดชื่อ

บุคคล ศาสนา คู่นอนหรือแม้แต่ชะตาชีวิตควรเป็นเช่นไร การเป็นทาสอาจทำให้บุคคลมีศักยภาพทางจิตใจและ

ร่างกายในการดำเนินชีวิตถดถอย การเป็นทาสเป็นปัญหาร้ายแรงต่ออิสรภาพและประเด็นการเป็นทาสนั้นเป็น

หนึ่งในบรรทัดฐานของกฎหมายระหว่างประเทศที่รัฐไม่อาจบิดเบือนได้ หมายความว่า จะไม่มีเหตุการณ์ใดที่

รัฐจะยอมให้มีการเอาคนลงเป็นทาสเกิดขึ้น

การปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับการเอาคนลงเป็นทาส ยังหมายถึง ความสัมพันธ์ที่มีการแสวงหาประโยชน์

ระหว่างบุคคลที่เป็นเจ้าของและถูกเป็นเจ้าของ อนุสัญญาว่าด้วยเรื่องทาส ปี 1956 ที่เพิ่มเติมด้านการยกเลิก

ทาส การค้าทาส และสถาบันและการปฏิบัติที่คล้ายกับทาส ระบุถึงการปฏิบัติที่ใกล้เคียงกันกับการเอาคนลง

เป็นทาสดังนี้

Page 20: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

15การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

แรงงานขัดหนี้: “...สถานะหรือเงื่อนไขที่เกิดขึ้นจากการจำนำโดยลูกหนี้ โดยแลกกับการให้บริการ

ส่วนบุคคลแก่ผู้ที่ควบคุมเพื่อเป็นหลักประกันสำหรับหนี้ดังกล่าว หากว่าค่าของการให้บริการเหล่านั้นได้

มีการประเมินอย่างเหมาะสมแล้วว่าไม่สามารถนำไปหักลบกลบหนี้ได้หรือระยะเวลาหรือบริการดังกล่า

วนั้นไม่มีการระบุอย่างเหมาะสมและชัดเจน (มาตรา 1 (ก)) โดยสรุป แรงงานขัดหนี้ จึงหมายถึง

สถานการณ์ที่บุคคลที่ตกเป็นลูกหนี้ต้องให้บริการเพื่อเป็นชดใช้หนี้ที่ไม่มีวันชำระได้หมดหรือสภาพของ

หนี้ที่มีความไม่ชัดเจนหรือไม่เป็นธรรม

สภาพความเป็นทาส: “...สภาพหรือสถานะของผู้เช่าที่เป็นตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะโดยตามข้อ

ปฏิบัติหรือข้อตกลงที่จะมีชีวิตอยู่และมีภาระรับผิดชอบเป็นแรงงานรับใช้บุคคลอื่น หรือตอบแทนการให้

บริการแก่บุคคลดังกล่าว ไม่ว่าจะได้รับรางวัลตอบแทนหรือไม่ และไม่สามารถจะมีอิสระในการเปลี่ยน

แปลงสถานะของเขา.” (มาตรา 1(ข))

สถาบันใดๆ หรือการปฏิบัติใดๆ (ตามมาตรา 1 (ค)) ในสถานะ (1) ที่ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธข้อตกลง

ที่ได้ทำกับพ่อแม่ของเธอว่าจะให้มีการแต่งงานโดยมีการจ่ายเงินหรือสิ่งอื่นใดให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง

ครอบครัว เครือญาติ เพื่อสิทธิ์ในการถ่ายโปนไปยังบุคคลอื่นที่ให้สิ่งของที่มีค่าหรือสิ่งอื่นใดที่มากกว่า

(2) ผู้หญิงที่สามีเสียชิวิตอาจต้องรับผิดชอบหนี้สินแทนบุคคลอื่น”

การค้าเด็กเพื่อการแสวงหาประโยชน์โดยพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็กที่อนุญาตให้บุคคลที่สามใช้

ประโยชน์จากการใช้แรงงานเด็ก (มาตรา 1(ง))

การทำความเข้าใจเรื่องแรงงานเด็ก

อนุสัญญา ILO ปี ค.ศ. 1973 ว่าด้วยอายุขั้นต่ำที่ให้จ้างงานได้ ระบุว่า แรงงานเด็กคือ งานหรือบริการ

ที่กระทำโดยบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และเป็นงานที่มีอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย หรือเป็น

อุปสรรคต่อการศึกษา วิชาชีพและการฝึกอบรมต่างๆ

ในเรื่องการแสวงหาประโยชน์จากเด็ก อนุสัญญา ILO ปี ค.ศ. 1999 ว่าด้วยการขจัดรูปแบบที่เลวร้าย

ที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก ได้เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับหรือการจัดหาเด็กเพื่อใช้ในสงคราม

สื่อลามกอนาจาร กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การผลิตและการค้ายาเสพติดและ “งานหรือกิจกรรมใดที่มี

ลักษณะและมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัย หรือศีลธรรมของเด็ก “มาตรา 2(ก)

ของพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาปี ค.ศ. 2002 ว่าด้วยสิทธิเด็กเรื่องการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็กและ

สื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก ได้ให้คำนิยามกว้างๆ ว่า “การค้าเด็ก” เป็น “การกระทำหรือการทำธุรกรรมใดๆ

โดยมีการส่งเด็กไปยังบุคคลอื่นหรือกลุ่มคนอื่นเพื่อเป็นค่าตอบแทนหรือเพื่อการอื่นๆ”

“การบังคับใช้แรงงานเด็ก” ไม่เหมือนกับ “การทำงานของเด็ก” เนื่องจากการบังคับใช้แรงงานของเด็กไม่มี

การคำนึงถึงสุขภาพหรือความปลอดภัยของเด็กหรือโอกาสทางการศึกษาของพวกเขา

13 ตั้งแต่อนุสัญญาเพิ่มเติมเรื่องการค้าทาสมีผลบังคับใช้ ทำให้มีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นว่าเด็กชาย เด็กหญิง สามารถถูก

บังคับให้แต่งงานได้ และบทบัญญัตินี้ควรนำไปใช้กับสถานการณ์เหล่านั้น

Page 21: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

16การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การแสวงหาประโยชน์รูปแบบอื่นๆ

นอกเหนือจากรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ข้างต้นแล้ว พิธีสารการค้ามนุษย์ยังรวม“การตัดอวัยวะ”

เข้าไว้ในบทบัญญัติด้วย การค้ามนุษย์เพื่อวัตถุประสงค์ในการตัดอวัยวะอาจเกิดขึ้นจากการซื้อขายอวัยวะเพื่อ

ใช้ในการปลูกถ่าย หรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางพิธีกรรม บางกรณีอาจมีการตัดชิ้นส่วนอวัยวะด้วยนอกเหนือจาก

อวัยวะภายใน บางประเทศได้เพิ่มการตัดชิ้นส่วนของร่างกาย เซลล์และของเหลวในร่างกายให้ครอบคลุม

การรับจ้างตั้งครรภ์ผิดกฎหมายอีกด้วย กฎหมายไทยระบุ“การบังคับตัดอวัยวะเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า”

ไว้ในนิยามของการแสวงหาประโยชน์ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

พ.ศ. 2551

ตัวอย่างรูปแบบของการแสวงหาประโยชน์ที่ระบุไว้ในนิยามสากลของการค้ามนุษย์เป็นเพียงตัวอย่าง

เบื้องต้น ยังมีการแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ อีกมาก ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากนิยามที่กำหนดไว้ใน

กฏหมายภายในประเทศของแต่ละประเทศ

1.4. ความแตกต่างระหว่างการค้ามนุษย์และการลักลอบขนคนเข้าเมือง

ปรากฎการณ์ของการค้ามนุษย์มักจะสับสนกับการลักลอบขนคนเข้าเมือง ความสับสนนี้เกิดขึ้นจาก

หลายสาเหตุ รวมทั้งความจริงที่ว่าผู้ลักลอบเข้าเมืองนั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

และว่าเหยื่อการค้ามนุษย์หลายรายก็เริ่มต้นเข้าสู่วงจรจากการลักลอบขนคนเข้าเมือง ข้อเท็จจริงนี้เน้นย้ำความ

จำเป็นที่หน่วยงานเจ้าหน้าที่ควรปฎิบัติต่อกลุ่มแรงงานข้ามชาติในฐานะกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการถูกค้า

มนุษย์สูงพร้อมกับมองหาผู้เสียหายในกลุ่มแรงงานเหล่านี้

การลักลอบขนคนเข้าเมืองได้มีการนิยามไว้ในพิธีสารต่อต้านการลักลอบขนผู้ย้ายถิ่นโดยทางบกทาง

ทะเลและทางอากาศ เพิ่มเติม อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ (อนุสัญญา

การลักลอบขนคนเข้าเมือง) มาตรา 3 ของอนุสัญญาได้นิยามการลักลอบขนคนเข้าเมืองดังนี้

"การลักลอบขนคนเข้าเมือง หมายถึงการจัดหาแรงงาน เพื่อให้ได้มา จะโดยทาง

ตรงหรือทางอ้อม ซึ่งเงิน หรือผลประโยชน์ทางวัตถุอื่นๆ แลกกับการเดินทางเข้า

เมืองโดยผิดกฎหมายของบุคคล โดยปลายทางของการเดินทางมิใช่ประเทศที่

บุคคลดังกล่าวมีสัญชาติหรือมีถิ่นที่อยู่ถาวร"

นิยามของการลักลอบขนคนเข้าเมือง เน้นที่การกระทำของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ ไม่ได้

มุ่งเน้นที่ตัวของแรงงานข้ามชาติ นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ที่ว่าการลักลอบแรงงานเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าจ้าง

หรือผลประโยชน์นั้น เป็นการยืนยันว่าบุคคลที่นำพาบุคคลเข้าเมืองเพียงเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรมไม่เข้าข่าย

พิธีสารลักลอบขนคนเข้าเมือง ข้อแตกต่างระหว่างการลักลอบขนคนเข้าเมืองและการค้ามนุษย์ดังต่อไปนี้

Page 22: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

17การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การคามนุษย การลักลอบขนคนเขาเมือง

คำนิยาม การจัดหา การขนสง การสงตอ การจัดให

อยูอาศัยหรือการรับไวซึ่งบุคคลดวยวิธีการ

ขูเข็ญ หรือดวยการใชกําลัง หรือดวยการ

บีบบังคับในรูปแบบอื่นใด ดวยการลักพาตัว

ดวยการฉอโกง ดวยการหลอกลวงดวยการ

ใชอํานาจโดยมิชอบหรือดวยการใชสถานะ

ความเสี่ยงภัยจากการคามนุษยโดยมิชอบ

หรือมีการให หรือรับเงิน หรือผลประโยชน

เพื่อใหไดมาซึ่งความยินยอมของบุคคลผูมี

อํานาจควบคุมบุคคลอื่นเพื่อความมุง

ประสงคในการแสวงหาประโยชน

มาตรา 3 (ก) พระราชบัญญัติการคามนุษย

การจัดหาแรงงาน เพื่อใหไดมา จะโดย

ทางตรงหรือทางออม ซึ่งเงิน หรือผล

ประโยชนทางวัตถุอื่นๆ แลกกับการเดินทาง

เขาเมืองโดยผิดกฎหมายของบุคคล

โดยปลายทางของการเดินทางมิใชประเทศ

ที่บุคคลดังกลาวมีสัญชาติหรือมีถิ่นที่อยู

ถาวร" (มาตรา 3(ก) พิธีสารการลักลอบ

ขนคนเขาเมือง)

วัตถุประสงค์และที่มาของ

ผลกำไร

การแสวงหาประโยชนจากเหยื่อ เพื่อวัตถุประสงคทางการเงินและวัตถุสิ่งขอ

งที่ไดตอบแทนจากการลักลอบขนแรงงาน

จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

การแสวงหาประโยชน์ มีวัตถุประสงคในการแสวงหาประโยชนจาก

เหยื่อซึ่งถือเปนองคประกอบความผิดของ

การคามนุษย (มาตรา 3(ก) ของพิธีสารการ

ตอตานการคามนุษย)

ลักษณะและคุณภาพของ

ความยินยอม

ความยินยอมอาจเกิดขึ้นแตไมใชประเด็นที่

เกี่ยวของกัน โดยเฉพาะเมื่อผูขน ไดใช

“วิธีการ” เชน การใชกําลังบังคับ การขูเข็ญ

การทํารายโดยใชความเปราะบางของเหยื่อ

เปนปจจัยหลัก (มาตรา 3(ข) ของพิธีสาร

การตอตานการคามนุษย)

แรงงานโดยสวนใหญยินยอมหรือสมัครใจที่

จะถูกนําพาขามแดนมา อยางไรก็ตาม

ความยินยอมนั้นจะเปลี่ยนไปในระหวาง

กระบวนการขนยาย การมีหรือไมมีความ

ยินยอมจึงไมใชประเด็นที่นํามาพิจารณาใน

อาชญากรรมที่เกี่ยวของกับการลักลอบขน

คนเขาเมือง

ขอบเขตพื้นที่ องคประกอบของการกระทําผิดเกี่ยวกับการ

คามนุษยสามารถเกิดขึ้นไดทั้งภายใน

ประเทศและภายนอกพรมแดน

การลักลอบขนคนเขาเมืองมีความเกี่ยวของ

กับการขามพรมแดนระหวางประเทศที่ผิด

กฎหมาย

การแสวงหาประโยชนมิไดเปนวัตถุประสงค

หลักของการลักลอบขนคนเขาเมือง แตเปน

การแสวงหาประโยชนโดยผูลักลอบขนโดย

เปนการขยายขอบเขตของสถานการณการ

ลักลอบขนคนเขาเมือง (มาตรา 6(3)(ข),

พิธีสารตอตานการคามนุษย

Page 23: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

18การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การระบุตัวผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อาจเป็นเรื่องยากเนื่องจากหลายคนเริ่มต้นการเดินทางโดยการ

จ่ายเงินค่าจ้างให้ผู้ลักลอบขนคนเข้าเมืองให้ช่วยพาข้ามพรมแดนหรือพาเดินทางไปยังหรือผ่านประเทศไทยเพื่

อหลบหนีจากความรุนแรงและการตกเป็นบุคคลชายขอบในประเทศของตนเอง และในหลายกรณี ก็กลายเป็น

การค้ามนุษย์ในที่สุดหลายคนถูกทำร้ายทุบตี ข่มขืนและแม้กระทั่งถูกฆาตกรรมในระหว่างการเดินทาง

ในขณะที่คนอื่นๆ ท้ายสุดก็ถูกแสวงหาประโยชน์รวมถึงในภาคประมงและอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป

ความจริงที่ว่ามีอาชญากรรมอีกมากมายที่เกิดขึ้นเพิ่มเติมจากการลักลอบขนคนเข้าเมือง และ ผู้คนจำนวน

มากเริ่มต้นการเดินทางในฐานะผู้ลักลอบขนคนเข้าเมือง ทำให้ผู้บังคับใช้กฎหมายมีความยากลำบากในการ

คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ซึ่งบทต่อไปจะมุ่งประเด็นไปที่ประเด็นการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

ประเด็นสำคัญในการทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างการค้ามนุษย์และการลักลอบขนคน

เข้าเมืองคือทั้งผู้ที่ลักลอบเข้าเมืองและผู้ที่ถูกค้ามนุษย์ล้วนมีสิทธิ์และต้องการการคุ้มครอง หนึ่งในวัตถุประสงค์

ที่ระบุไว้ในทั้งพิธีสารการลักลอบขนคนเข้าเมืองและพิธีสารการค้ามนุษย์คือการคุ้มครองสิทธิ์ โดยมีบทบัญญัติ

ที่เป็นข้อบังคับในการให้ความคุ้มครองในทั้งสองพิธีสาร ดังนั้น ในทางปฏิบัติ จึงมีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติ

จะดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการคุ้มครองชีวิตและดูแลรักษาความปลอดภัยให้ทั้งแรงงานที่ลักลอบเข้าเมือง

และผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ รวมถึงหยิบยื่นความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนเมื่อมีความจำเป็น

1.5. ประเด็นสำคัญและคำถามเพื่อการทบทวนความรู้

ข้อมูลเบื้องต้นของการค้ามนุษย์

การค้ามนุษย์เป็นปรากฏการณ์ระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศทั่วโลกตั้งแต่ประเทศต้นทาง

ประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทาง

สถานการณ์ค้ามนุษย์และความเปราะบางของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในแต่ละประเทศจะเปลี่ยนแ

ปลงไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจและปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลให้คนอยากย้ายถิ่น

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ทั่วโลกมีจำนวนที่ไม่แน่ชัด แต่ชัดเจนว่าผู้เสียหายจริงมีจำนวนมากกว่า

ผู้เสียหายที่พบ

ผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กสามารถตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ได้ทั้งสิ้น รวมถึงผู้ที่อยู่ในวงจรของการ

บังคับใช้แรงงานหรือบริการ

ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประเทศต้นทาง ทางผ่าน และเป็นปลายทาง และมี

การค้ามนุษย์เกิดขึ้นภายในประเทศด้วย ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน

ภูมิภาคกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนย้ายผู้คนและสินค้าอย่างผิดกฎหมายและกลุ่มอาชญากรรมองค์กรก็ใช้

ประโยชน์จากสถานการณ์นี้

ผู้คนในบางประเทศโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อแสวงหาโอกาสในการทำงานและหันไปใช้บริการจากผู้ลักลอบ

ขนคนเข้าเมือง หลายคนถูกทำร้าย ทรมานหรือถูกฆ่าตายระหว่างการเดินทาง คนอื่นอาจจะตกเป็น

เหยื่อของอาชญากรรมประเภทต่างๆ รวมถึงการค้ามนุษย์ด้วย

ประเทศไทยเป็นประเทศต้นทาง ทางผ่านและปลายของการค้ามนุษย์ และเป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์

ในรูปแบบแรงงานในประเทศด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มคนจากชนบทที่เดินทางเข้าสู่ตัวเมืองเพื่อหาโอกาส

ในการทำงาน

Page 24: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

19การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จากประเทศไทยและที่อยู่ในประเทศไทยถูกแสวงหาประโยชน์ในหลาย

รูปแบบรวมถึงการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ หญิงไทยถูกค้ามนุษย์ไปยังต่างแดนเพื่อแสวงหาประโยชน์

ทางเพศ ในขณะเดียวกันผู้หญิงไทยและหญิงจากชาติอื่นๆ ก็ถูกค้ามนุษย์มาเพื่อแสวงหาประโยชน์

ทางเพศในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงานแบบที่ไม่ใช่บริการทางเพศเช่น ในโรงงาน

หรือการทำงานบริการในบ้าน หรือการบังคับให้ขอทานบนท้องถนน หรือแสวงประโยชน์ในอุตสาหกรรม

ประมงและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมง

ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาและน่าดึงดูดสำหรับผู้อพยพจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้ง เมียนมาร์

สปป. ลาวและกัมพูชา โดยประเทศไทยมีแรงงานจากเมียนมาร์มากที่สุด

แรงงานข้ามชาติหลายคนหันไปใช้บริการของผู้ลักลอบขนคนเข้าเมืองเพื่ออำนวยความสะดวกในการ

เดินทางผ่านประเทศ หรือเข้าสู่ประเทศไทย หลายคนอาจถูกทำร้ายและประสบกับความรุนแรงรูปแบบ

ต่างๆ จากผู้พาลักลอบขนคนเข้าเมือง บางคนตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

กรอบทางกฎหมายกับอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์

พิธีสารการค้ามนุษย์เป็นเครื่องมือที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีในปี 2544 พิธีสาร

การค้ามนุษย์กำหนดนิยามสากลของอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ไว้ใน มาตรา 3

อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ

การกระทำ

วิธีการ

วัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาประโยชน์

การค้ามนุษย์จะเกิดขึ้นเมื่อมีครบทั้งสามองค์ประกอบ ทั้งนี้ ในกรณีของเด็ก ให้พิจารณาเพียงสอง

องค์ประกอบเท่านั้น (องค์ประกอบ “การกระทำ” และ “วัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาประโยชน์”)

นิยามการค้ามนุษย์สากลครอบคลุมการแสวงหาประโยชน์ในทุกรูปแบบ รวมถึงรูปแบบที่ไม่ได้ระบุไว้

อย่างชัดเจนในคำนิยามด้วย

การค้ามนุษย์สามารถเกิดขึ้นภายในประเทศ ไม่จำเป็นต้องข้ามพรมแดนระหว่างประเทศเท่านั้น

อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (อนุสัญญาอาเซียน) ยืนยันตามนิยาม

การค้ามนุษย์ที่นำเสนอโดยพิธีสารการค้ามนุษย์

การค้ามนุษย์เป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม

การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 (2008) แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม

การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2558 โดยนิยามที่ให้ไว้ในพระราชบัญญัติสอดคล้องกับนิยามของกฎหมายสากล

หลักในการทำความเข้าใจการค้ามนุษย์

ในบริบทสากล ความยินยอมของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่ใม่มีผลหากมีการใช้“วิธีการ”

และความยินยอมของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่เป็นเด็กไม่มีผลเสมอไม่ว่าจะมีการใช้วิธีการหรือไม่ก็

ตาม

ตามกฎหมายไทย ความยินยอมให้แสวงหาประโยชน์ไม่มีผลไม่ว่าจะได้มาด้วยวิธีการใดก็ตาม เมื่อใด

ที่มีการแสวงหาประโยชน์ไม่สามารถอ้างเรื่องความยินยอมได้

Page 25: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

20การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อาจยินยอมที่จะถูกค้ามนุษย์ด้วยเหตุผลหลายประการ รวมทั้งเพราะคิดว่า

สถานการณ์ของพวกเขาจะดีขึ้นหรือเพราะถูกบังคับให้ยินยอมหรือถูกข่มขู่หรือกระทำด้วยวิธีการอื่น

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อาจลังเลที่จะออกจากสถานการณ์การค้ามนุษย์และขอความช่วยเหลือ

ด้วยเหตุผลหลายประการรวมทั้งความวิตกกังวลเกี่ยวกับตราบาป

บุคคลอาจถูกค้าและแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน รวมถึงการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ

การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การเอาลงเป็นทาสและการปฏิบัติที่คล้ายกับการเป็นทาสและการ

แสวงหาประโยชน์รูปแบบอื่นๆ

อนุสัญญา ILO ว่าด้วยการบังคับใช้แรงงานปี พ.ศ. 2473 (ฉบับที่ 29) ซึ่งประเทศไทยได้เป็นรัฐภาคี

ได้นิยามการบังคับใช้แรงงานว่า “...การทำงานทั้งหมดหรือการให้บริการที่ได้มาจากบุคคลใดๆ ก็ตาม

ภายใต้การคุกคามที่จะลงโทษและโดยที่บุคคลดังกล่าวยังไม่ได้เสนอว่าจะทำด้วยความสมัครใจ"

โดยการขู่ว่าจะลงโทษอาจรวมถึงการบีบบังคับจากนายจ้างในทุกรูปแบบ

กฎหมายไทยได้นิยาม 'การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ' ว่า "...การบังคับให้บุคคลอื่นทำงานหรือ

ให้บริการโดยทำให้บุคคลดังกล่าวตกอยู่ภายใต้ความกลัวของความอันตรายขั้นร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย

เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลอื่นโดยใช้วิธีการข่มขู่ ใช้กำลัง หรือวิธีการ

อื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถปฏิเสธได้”

แรงงานขัดหนี้คือบุคคลที่อยู่ในสถานะที่ต้องชำระหนี้คืน แต่เงื่อนไขของการชำระหนี้นั้นมิได้มีการ

กำหนดแน่ชัดหรือมีความไม่แน่นอน แรงงานขัดหนี้อาจเป็นได้ทั้งจุดประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์

หรือเป็นวิธีการที่ทำให้บุคคลต้องถูกค้ามนุษย์

แรงงานเด็กคืองานหรือบริการที่กระทำโดยเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี มาทำงานหรือ รูปแบบที่เลวร้าย

ที่สุดของแรงงานเด็ก รวมถึงงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัยและศีลธรรมของเด็ก

รูปแบบของการแสวงหาประโยชน์ที่ห้ามไว้ในพิธีสารการค้ามนุษย์นั้นไม่ใช่รูปแบบทั้งหมด อาจมีการ

แสวงหาประโยชน์รูปแบบอื่นที่อยู่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในพิธีสาร

ความแตกต่างระหว่างการค้ามนุษย์และการลักลอบขนคนเข้าเมือง:

มักมีความสับสนระหว่างการค้ามนุษย์และการลักลอบขนคนเข้าเมืองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

จำนวนมากเริ่มต้นจากการเป็นผู้ลักลอบขนคนเข้าเมือง และผู้ลักลอบเข้าเมืองเหล่านี้มักมีความเสี่ยงสูง

ที่จะตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบขนคนเข้าเมืองถือเป็นความผิดอาญาที่กำหนดไว้มาตรา 3 ของ

พิธีสารการลักลอบขนคนเข้าเมือง คือ การจัดให้บุคคลอื่นลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเพื่อ

วัตถุประสงค์ทางการเงินและประโยชน์อื่นๆ

พิธีสารลักลอบขนคนเข้าเมืองกำหนดให้การกระทำของผู้ลักลอบขนคนเข้าเมืองเป็นความผิดอาญา

ไม่ได้ให้ความสนใจกับผู้ลักลอบเข้าเมืองหรือบุคคลที่ลักลอบนำผู้อื่นเข้าเมืองเพื่อวัตถุประสงค์ทาง

ครอบครัวและมนุษยธรรม

ที่มาของรายได้จากการค้ามนุษย์และการลักลอบขนคนเข้าเมืองนั้นมีความแตกต่างกัน สำหรับการค้า

มนุษย์ รายได้มาจากการแสวงประโยชน์จากผู้เสียหาย ในขณะที่การลักลอบขนคนเข้าเมือง รายได้มา

จากเงินค่าจ้างในการลักลอบพาบุคคลข้ามพรมแดน

Page 26: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

21การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

วัตถุประสงค์ของการค้ามนุษย์คือการแสวงหาประโยชน์จากบุคคลแต่ในการลักลอบขนคนเข้าเมือง

เป็นการแสวงหาประโยชน์ในช่วงสถานการณ์ที่เลวร้าย ที่เกิดขึ้นขณะผู้คนเดินทางเข้าเมือง

บุคคลอาจยินยอมให้มีการค้ามนุษย์แต่ความยินยอมพวกเขาไม่มีผลในคดีค้ามนุษย์ แรงงานข้ามชาติ

ที่ลักลอบเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมายส่วนใหญ่ให้ความยินยอมในการพาตนข้ามพรมแดน แต่พวกเขา

อาจเปลี่ยนใจระหว่างการเดินทางได้ ดังนั้นการยินยอมหรือไม่ยินยอมไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญของ

การลักลอบขนคนเข้าเมือง

การลักลอบค้ามนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้ภายประเทศ ในขณะที่การลักลอบขนคนเข้าเมืองเกี่ยวพันกับ

การข้ามพรมแดน (หรือความพยายามในการข้ามพรมแดน)

ทั้งผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และผู้ลักลอบขนคนเข้าเมือง มีสิทธิ์และต้องการความคุ้มครองที่ต้อง

พิจารณาเป็นกรณีไป ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องคุ้มครองชีวิตและความปลอดภัยของทุกคนไม่ว่าจะเป็น

ผู้ลักลอบเข้าเมืองหรือเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ก็ตาม

คำถามเพื่อการทบทวน

การค้ามนุษย์รูปแบบใดที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

เหตุใดผู้ลักลอบเข้าเมืองจึงมีความเสี่ยงต่อการค้ามนุษย์

กฎหมายระหว่างประเทศที่ถือเป็นเครื่องมือหลักในการต่อต้านการค้ามนุษย์คืออะไรและประเทศไทย

เป็นรัฐภาคีหรือไม่

สำหรับผู้เสียหายที่เป็นผู้ใหญ่ องค์ประกอบ 3 ประการที่ใช้ลงความเห็นว่าเป็นการค้ามนุษย์คืออะไร

สำหรับเด็ก ต้องพิสูจน์องค์ประกอบใดบ้างเพื่อลงความเห็นว่าเป็นการค้ามนุษย์

การแสวงหาประโยชน์รูปแบบใดบ้างที่อยู่ภายใต้นิยามการค้ามนุษย์สากล

นิยามของการค้ามนุษย์ที่กำหนดโดยอนุสัญญาอาเซียนและนิยามสากลมีความแตกต่างกันอย่างไร

กฎหมายใดของไทยที่กำหนดให้การค้ามนุษย์เป็นความผิดอาญา

เหตุใดผู้เสียหายจึงยินยอมที่จะถูกค้ามนุษย์ ความยินยอมนั้นมีผลหรือไม่อย่างไรบ้าง

ท่านจะอธิบายความหมายของ “การบังคับใช้แรงงาน” อย่างไร

ท่านจะอธิบายความหมายของ “แรงงานขัดหนี้” อย่างไร

“แรงงานเด็ก” คืออะไร การทำงานในอุตสาหกรรมประมงถือเป็น “รูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้

แรงงานเด็กใช่หรือไม่” เพราะเหตุใด

การลักลอบขนคนเข้าเมืองมีความหมายอย่างไร

อะไรคือความแตกต่างระหว่างการลักลอบขนเข้าเมืองกับการค้ามนุษย์

Page 27: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

22การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

บทที่ 2: การค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

2.1 เหตุปัจจัยและแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

ภาคการประมงและการแปรรูปอาหารทะเลประกอบด้วยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำบ่อเลี้ยงปลา

การจับปลาหรือการลากอวนสัตว์ทะเลบนเรือประมง และกระบวนการผลิตอาหารทะเลไปจนถึงระดับอุปทาน

การแสวงหาประโยชน์จากบุคคลในอุตสาหกรรมประเภทนี้เป็นปัญหามายาวนานรวมไปถึงการแสวงหา

ประโยชน์จากเด็ก จากข้อมูลพบว่ามีมาตั้งแต่ช่วงปี 253314 ในปีที่ผ่านมา มีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้การ

ค้ามนุษย์เพื่อการบังคับใช้แรงงานในภาคธุรกิจนี้มีความรุนแรงยิ่งขึ้น15

ปลาและอาหารทะเลเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในหลายประเทศทั่วโลกและ

ถือเป็นแหล่งอาหารและแหล่งงานที่สำคัญ มีเรือประมงหาปลามากกว่า 4 ล้านลำทั่วโลก และเกือบ 3 ใน 4

ของจำนวนเรือทั้งหมดอยู่ในทวีปเอเชีย16 เรือหาปลาส่วนมากดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและมีสภาพการ

ทำงานที่เหมาะสมให้กับลูกจ้าง แต่ก็พบว่ามีผู้ประกอบการจำนวนมากที่กระทำผิดกฎหมายรวมถึงปฏิบัติกับ

ลูกจ้างด้วยความรุนแรง การจับปลามากเกินขีดจำกัดทำให้จำนวนปลาในทะเลลดจำนวนลง ก่อให้เกิดการ

แข่งขันกันหาปลาและเพิ่มการทำฟาร์มปลาและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวนสัตว์ทะเลที่ลดลงเป็นจำนวนมาก

เนื ่องจากการทำประมงที่ผิดกฎหมายพื้นที ่ที ่มักมีการจับปลาเกินขีดจำกัดคือพื้นที ่ชายฝั่งตะวันตกของ

แอฟริกาด้านตะวันตกของทะเลแปซิฟิคตอนกลางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลแปซิฟิคแอตแลนติคฝั่ง

ตะวันตกเฉียงใต้ของแอตแลนติค และคาบสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออก17

ความต้องการอาหารทะเลราคาถูกมีมากขึ้นและราคาน้ำมันก็เพิ่มขึ้นกุ้งราคาตกลงเกือบ 30% ตั้งแต่ช่วงปี

พ.ศ. 2523 และอาหารทะเลจำพวกกุ้งได้กลายเป็นภาคส่วนธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร

วัตถุประสงค์การอบรม

เพื่อแนะนำให้ผู้อบรมเข้าใจถึงปรากฏการณ์ของการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

วัตถุประสงค์การเรียนรู้:

เมื่อสิ้นสุดการเรียน ผู้เข้าร่วมอบรมจะสามารถ

อธิบายถึงเหตุปัจจัยและแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

อธิบายว่าเหตุใดการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทยจึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ

เร่งด่วน

ระบุว่าองค์ประกอบของการค้ามนุษย์ในบริบทของอุตสาหกรรมประมง

14 Revealed: how the Thai fishing industry trafficks, imprisons and enslaves, Guardian, 20 July 2015.15 Caught at Sea: Forced Labour and Trafficking in Fisheries (ILO, 2013), pp.7-9.16 Fishy business: Trafficking and labour exploitation in the global seafood industry (World Vision, 2013)17 Caught at Sea: Forced Labour and Trafficking in Fisheries (ILO, 2013), p.5.

Page 28: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

23การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ทะเล โดยมีการเพิ่มจำนวนการผลิตและการบริโภคอย่างก้าวกระโดด18 การจับปลาในอ่าวไทยและทะเล

อันดามันลดลง 86% ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 ส่งผลให้เกิดเรือจับปลาที่ไม่ได้จดทะเบียนในท้องทะเลประเทศอื่นๆ19

ปัจจุบันเรือประมงไทยไม่ได้หาปลาแค่ในพื้นที่อ่าวไทยเท่านั้น แต่ยังเดินทางไปหาปลาทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งในประเทศอินโดนีเซียและปาปัวนิวกินี และยังคงหาปลาอยู่ในประเทศอินเดีย และ

ไปไกลถึงโซมาเลียและแอฟริกาตะวันออก

รูปแบบการควบคุมดูแลที่เป็นมาตรฐาน ที่ใช้เพื่อเฝ้าติดตามเรือประมงและคุ้มครองสิทธิ์ของแรงงาน

บนเรือไม่ได้ถูกนำมาบังคับใช้จริง จะพบว่าบนชายฝั่งส่วนใหญ่จะมีทรัพยากรจำกัดสำหรับการเฝ้าติดตาม

โรงงานอาหารทะเลแปรรูปจดทะเบียน ยังไม่นับเรือที่ไม่ได้จดทะเบียนที่เป็นแหล่งแสวงหาประโยชน์จาก

แรงงาน ในทะเลที่ห่างไกลออกไป แรงงานต้องทำงานกลางทะเลเป็นระยะเวลายาวนาน การสื่อสารจำกัดหรือ

ไม่มีช่องทางติดต่อสื่อสารเลยด้วยสภาพเหล่านี้ การเฝ้าติดตามสภาพการทำงานของแรงงานและระบุผู้เสียหาย

จากการค้ามนุษย์จึงมีความท้าทายอย่างยิ่ง ทรัพยากรที่มีจำกัดถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่แม้แต่ในการตรวจสอบ

เรือประมงที่ถูกกฎหมาย และ “เรือผี” จำนวนมากที่หลุดรอดจากการกำกับดูแลของภาครัฐหากเรือประมง

จดทะเบียนในเขตอำนาจศาลใด รัฐนั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบในการคุ้มครองคนงานที่ทำงานบนเรือ แต่อย่างไร

ก็ตามจะพบว่าบ่อยครั้งรัฐที่ปัก “ธงสัญชาติ” นั้นแสดงออกว่าไม่เต็มใจหรือไม่สามารถทำได้ โดยเฉพาะ

เมื่อมีกลุ่มอาชญากรมาจดทะเบียนเรือของตัวเองในเขตอำนาจศาลที่ไม่ค่อยมีระเบียบข้อบังคับและมีศักยภาพ

ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจำกัด ในบางกรณีการกระทำดังกล่าวทำให้จำนวนการค้ามนุษย์เพื่อบังคับ

ใช้แรงงานเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาเปิดเผยว่ามีการแสวงหาประโยชน์จากบุคคลในอุตสาหกรรมประมงใน

ประเทศที่มีความหลากหลาย เช่นในบังคลาเทศ เบลารุส โกตดิวัว เอกวาดอร์ อียิปต์ เอลซัลวาดอร์ กาบอง

กานา อินเดีย อินโดนีเซีย ไอซ์แลนด์ นิวซีแลนด์ รัสเซีย สก็อตแลนด์ เกาหลีใต้ ไทย ตุรกี และยูเครน

รวมถึงเวียดนามจากกลุ่มประเทศทั้งหมด20

การเปลี่ยนแปลงลักษณะของการทำงาน

ผลกระทบจากการตกปลาเกินขนาดและความไม่ชอบด้วยกฎหมายสร้างผลกระทบให้แรงงานที่

ทำงานในอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างมากทั้งยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของการแสวงหาประโยชน์และการค้ามนุษย์

เพื่อตอบสนองความต้องการแรงงานในวงจรนี้

การแข่งขันหาปลาในขณะที่ปลามีจำนวนน้อยลงหมายถึงชาวประมงจะต้องออกเรือไปให้ไกลขึ้นและ

ใช้เวลาอยู่ในพื้นที่นั้นๆ นานขึ้น โดยสภาวะบนเรือประมงก็เลวร้ายลงและมาตรฐานความปลอดภัยลดต่ำลง

เนื่องจากมีความเสี่ยงจากหลายปัจจัย ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมประมงเริ่มมีความกดดัน กลุ่มแรงงาน

ได้ไหลเข้าไปทำงานในประเทศที่กำลังพัฒนามากขึ้น ในศตวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมประมงไทยหาปลาอยู่

ในเฉพาะเขตพื้นที่อ่าวไทยและทะเลอันดามัน และมักจะมีแต่ลูกเรือชาวไทยต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ไต้ฝุ่นเกย์ได้

18 The Hidden Cost: Human Rights Abuses in Thailand’s Shrimp Industry (Environmental Justice Foundation,

2013), p.10.19 EU threatens Thailand with trade ban over illegal fishing, Guardian, 22 April 2015.20 Caught at Sea: Forced Labour and Trafficking in Fisheries (ILO, 2013), pp.9-13; Fishy business: Trafficking and

labour exploitation in the global seafood industry (World Vision, 2013).

Page 29: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

24การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ทำลายเรือประมงกว่า 200 ลำมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน ซึ่งหลายคนยังไม่พบศพ และส่วนใหญ่เป็นลูกเรือ

ประมงไทยที่มาจากาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ การเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นของไทยตั้งแต่ต้นปี 2530

ทำให้อัตราการว่างงานลดลงและส่งผลให้แรงงานไทยหันจากการทำงานที่อันตรายในอุตสาหกรรมประมงและ

อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลไปทำงานที่มีสภาพการทำงานที่ดีกว่าและมีรายได้มากกว่า

ความเปลี่ยนแปลงและความเจริญทางเศรษฐกิจในภาคธุรกิจนี ้ทำให้ผู ้ประกอบการประมงและ

ผู้ผลิตอาหารทะเลขาดแคลนแรงงานและจำเป็นต้องหาแรงงานทางเลือก ซึ่งก็คือแรงงานข้ามชาติจากประเทศ

เพื่อนบ้านที่มีทางเลือกน้อยกว่า21 เนื่องจากชาวประมงไทยเบนความสนใจจากการทำงานในอุตสาหกรรม

ประมง จึงทำให้แรงงานข้ามชาติและผู้อพยพเข้ามาทำงานแทนที่แรงงานไทยเพิ่มขึ้น

ลูกเร ือบนเรือประมงไทยและแรงงานในโรงงานแปรรูปอาหารทะเลในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็น

แรงงานข้ามชาติ จากเมียนมาร์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และ สปป.ลาว ซึ่งการดูแลจากภาครัฐและ

มาตรการในการตรวจสอบป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการค้ามนุษย์เพื่อบังคับใช้แรงงานในด้านนี้ก็ยังไม่

เพียงพอ

ผู้อพยพลี้ภัยและแรงงานข้ามชาติที่เดินทางเข้าประเทศเพิ่มขึ้นหมายถึงจำนวนผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการ

ตกเป็นผู ้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที ่จะมีมากขึ ้นทั ้งจากกลุ ่มอาชญากรรมองค์กรและอุตสาหกรรมที ่

ผิดกฎหมาย22 อาชญากรในวงจรได้กำไรมากขึ้นจากอุตสาหกรรมนี้ รวมทั้งเจ้าของเรือ ผู้คุมเรือ ตำรวจที่ทุจริต

เจ้าหน้าที่ชายแดน รวมไปถึงนายหน้าที่เป็นธุระจัดหาเหยื่อเพื่อนำมาแสวงหาประโยชน์ในอุตสาหกรรมประมง

ผู้เสียหายถูกค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงได้อย่างไร

นายหน้าและหน่วยงานจัดหางานที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอาชญากรรมค้ามนุษย์จะเป็นธุระจัดหา

บุคคลจากหมู่บ้านหรือในเมืองท่าใกล้เคียงกัน รวมถึงจัดหาบุคคลตามเส้นทางการโยกย้ายถิ่นฐาน โดยช่องทาง

การเข้าถึงมีทั้งการไปรับที่ศูนย์กลางการขนส่งหรือมีการเชื่อมต่อกับกลุ่มลักลอบนำเข้าแรงงานที่ช่วยอำนวย

ความสะดวกในการเดินทางเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย

แรงงานข้ามชาติมักถูกหลอก โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยอย่าง ผิด

กฎหมาย พวกเขาอาจถูกนายหน้าค้ามนุษย์บังคับให้ทำงานกับนายจ้างคนหนึ่งและถูกทำให้ตกอยู่ในภาวะที่

เป็นหนี้ และต้องหาเงินมาชำระโดยใช้เวลานานหลายเดือนหรือหลายปี23 นายหน้าบางคนอาจคิดค่าธรรมเนียม

ในการหางานทำและเสนอเงื่อนไข “เดินทางก่อน จ่ายทีหลัง” และชำระคืนเมื่อมีเงินในอนาคต บางครั้งเงิน

จำนวนนี้ก็ทำให้แรงงานเหล่านี้ตกอยู่ในสภาวะแรงงานขัดหนี้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อแรงงาน ต้องชำระ ค่า

ธรรมเนียมในการจัดหางานให้อัตราหนี้ดังกล่าวกลับถูกทำให้เพิ่มขึ้นโดยรู้เห็นกัน ระหว่างนายจ้างและนายหน้า

21 See for instance, reports mentioned at Annex. Mekong challenge: underpaid, overworked and overlooked (ILO,

2006) and Out of Sight, Out of Mind: Human Trafficking & Exploitation of Migrant Fishing Boat Workers in

Thailand (Solidarity Centre, 2009), Trafficking of Fishermen in Thailand (IOM, 2011).22 Caught at Sea: Forced Labour and Trafficking in Fisheries (ILO, 2013), pp.5-623 Exploitative Labour Practices in the Global Shrimp Industry (Accenture, 2013), p.48.

Page 30: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

25การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

หรือถูกเรียกเก็บเงินสำหรับความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น อาหารและที่พักอาศัย บางคน อาจขอให้มีการจ่าย

เงินล่วงหน้า ยกตัวอย่างเช่นนำเงินล่วงหน้านั้นส่งไปให้ครอบครัวที่อยู่บนฝั่ง ซึ่งแรงงาน ดังกล่าวจะต้องทำงาน

เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปีโดยไม่ได้รับเงินเดือน นอกจากนี้ยังมีรายงานของผู้ที่ถูกหลอก ถูกวางยาหรือ

แม้กระทั่งถูกลักพาตัวและนำขึ้นไปบนเรือประมงเพื่อให้ทำงาน ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะมีค่าจ้างที่ถูกกว่าให้

นายหน้าจัดหาแรงงานในขณะที่นายหน้าทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเข้าเมืองให้แก่แรงงานข้ามชาติ

เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์ในอุตสาหกรรมประมง อย่างไรก็ดี พบว่ายังมี ความสับสนระหว่าง

การลักลอบขนคนเข้าเมืองและการค้ามนุษย์24 หลายคนที่ตกเป็นผู้เสียหายในสถานการณ์นี้ อาทิ ชาวโรฮิงญา

กลุ่มใหญ่ซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยจากเมียนมาร์และบังคลาเทศ ซึ่งถูกกดดันให้ต้องหลบหนีจากความรุนแรงและการถูก

เหยียดหยามทางชนชาติพวกเขาลักลอบขนคนเข้ามาทางทะเลจากบังคลาเทศและ เมียนมาร์โดยมีวัตถุ

ประสงค์เพื่อเดินทางมาหาญาติในมาเลเซียและอินโดนีเซียแต่กลับตกเป็นเหยื่อของการแสวงหาประโยชน์ใน

ประเทศไทยแทน25 ในปี พ.ศ. 2558 การทะลักเข้ามาของกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวบังคลาเทศและ เมียนมาร์ข้าม

อ่าวเบงกอลมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้จำนวนผู้อพยพเข้ามีมีจำนวนมากขึ้น และทำให้มีผู้ที่มี

ความเสี่ยงต่อการตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เพิ่มมากขึ้น26 เครือข่ายของผู้ลักลอบขน คนเข้าเมืองได้

เติบโตขึ้นแบบทวีคูณเครือข่ายดังกล่าวทำงานทั้งในบังคลาเทศ ประเทศไทยและมาเลเซีย ดำเนินการขนคนนับ

หมื่นจากประเทศเมียนมาร์และบังคลาเทศมายังประเทศไทยและมาเลเซีย ก่อให้เกิดเงิน รายได้จำนวน

มหาศาลสำหรับผู้ลักลอบขนคนเข้าเมือง27

Thailand

Cambodia

Gulf ofThailand

Tak

Kanchanaburi

BangkokMalai

Poipet

Koh Kong

Fishing ports where workersare put on boats

Border crossing wherehuman trafficking occurs

24 Caught at Sea: Forced Labour and Trafficking in Fisheries (ILO, 2013), pp.18-19.25 Transnational Organized Crime in East Asia and the Pacific: A Threat Assessment (UNODC, 2013), pp.9-10;

Revealed: how the Thai fishing industry trafficks, imprisons and enslaves, Guardian, 20 July 2015; Protecting

peace and prosperity in Southeast Asia: synchronizing economic and security agendas (UNODC, February

2016), p.42.26 Protecting peace and prosperity in Southeast Asia: synchronizing economic and security agendas (UNODC,

February 2016), pp.39-4027 Ellen Barry,“A Bangladeshi town in Human Trafficking’s Grip”, New York Times, July 2015.

Page 31: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

26การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ตลาดแรงงานข้ามชาติและผู้ลี ้ภัยขนาดใหญ่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผู้ลักลอบขนคนเข้าเมือง

และการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายเป็นโอกาสของกลุ่มอาชญากรที่จะสร้างรายได้ผ่านการลักลอบขน

คนและขายแรงงานเหล่านี้ในวงจรการค้ามนุษย์ การค้ามนุษย์สามารถสร้างรายได้และผลกำไรมากมาย จึงทำ

ให้คนในพื้นที่ ที่เป็นชาวประมงเริ่มหันมาทำอาชีพลักลอบขนคนเข้าเมืองและค้ามนุษย์มากขึ้น เนื่องจาก

รายได้จากการประมงลดลง ชาวประมงในจังหวัดระนองได้รายงานว่าการปฏิรูปกระบวนการต่างๆ ใน

อุตสาหกรรมประมงโดยรัฐบาลไทย ประกอบกับการตกปลาเกินเณฑ์และการลดจำนวนของการกักตุนสินค้า

ประเภทปลา หมายความว่าพวกเขาจะไม่สามารถมีเงินหรือหารายได้จากการทำประมงได้อีกแล้ว การลักลอบ

ค้ามนุษย์จึงเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้พวกเขาได้มากขึ้น28

ชาวประมงไทยหลายคนแปลงเรือของพวกเขาให้สามารถขนแรงงานข้ามชาติแทนที่จะขนปลา รายได้

จำนวนมากได้มาจากการจับคนเรียกค่าไถ่ การรีดไถเงินจากครอบครัวของคนเหล่านั้น มีการกระทำที่ป่าเถื่อน

เช่น ข่มขืนและทรมานแรงงานจำนวนนับพันคน ฆาตกรรมชาวโรฮิงญาจำนวนนับร้อยคนในค่ายที่อยู่ในป่า

ห่างไกลจากพื้นที่ประเทศไทย หลายคนที่ยังมีชีวิตรอดจากการถูกทรมานและทำร้ายร่างกาย ได้ถูกนำมาขาย

ต่อในอุตสาหกรรมประมงไทย29

รูปแบบและโครงสร้างอาชญากรรมมีความซับซ้อนและเข้าถึงยาก โครงสร้างดังกล่าว หมายถึงผู้ที่มี

บทบาทในระดับต่างๆ ตั้งแต่นายหน้าไปถึงนายจ้าง เจ้าของเรือและหน่วยงานที่ทุจริตที่ได้รับผลกำไรจากการ

แสวงหาผลประโยชน์ ในความเป็นจริงการทุจริตมีบทบาทอย่างมากในการเร่งเชื้อไฟของการค้ามนุษย์30 ยกตัว

อย่างเช่น มีกรณีของเจ้าหน้าที่ที่บังคับข่มขู่แรงงานข้ามชาติ รับสินบนเพื่อแลกกับการอำนวยความสะดวกใน

การขนส่งหรือนำพาผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ให้กับผู้แสวงหาประโยชน์ หรือแม้แต่ขายแรงงาน

ข้ามชาติให้กับศูนย์กักขังแรงงานที่มีเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าของและนำพาและส่งต่อพวกเขาเข้าสู่สภาพของการตก

เป็นเหยื่อการแสวงหาประโยชน์ต่างๆ รวมถึงในอุตสาหกรรมประมง31

2.2. การค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทยที่ได้รับความสนใจมากขึ้น

ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลแปรรูปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยส่งออกอาหารทะเล

แปรรูปราว 7 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี32 การเติบโตของอุตสาหกรรมกุ้งแช่แข็งมีการเติบโตอย่างเด่นชัดใน

ประเทศไทย และปัจจุบัน ไทยได้กลายเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ที่สุดของโลก33 มีการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรม

28 Revealed: how the Thai fishing industry trafficks, imprisons and enslaves, Guardian, 20 July 2015.29 Revealed: how the Thai fishing industry trafficks, imprisons and enslaves, Guardian, 20 July 2015.30 The Hidden Cost: Human Rights Abuses in Thailand’s Shrimp Industry (Environmental Justice Foundation,

2013), pp.17-18.31 2015 Trafficking in Persons Report (US Office to Monitor and Combat Trafficking in Persons, 2014); Exploitative

Labour Practices in the Global Shrimp Industry (Accenture, 2013), p.49.32 Sarah Murray, Case Study: Casting a Tight Net, Stanford Social Innovation Review, Fall 201533 For instance, Thailand exported 392,000 tonnes in 2011, primarily to the US, European and Japanese markets.

See The Hidden Cost: Human Rights Abuses in Thailand’s Shrimp Industry (Environmental Justice Foundation,

2013), p.5

Page 32: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

27การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

กุ้งแช่แข็งในหลากหลายช่องทาง ประชาชนและชุมชนมีความเสี่ยง และเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยยะ

สำคัญ ในปี พ.ศ. 2557 รัฐบาลไทยจึงได้วางเป้าหมายหลักในการดำเนินงานด้านการป้องกัน และการ

คุ้มครองผู้เสียหายให้ได้รับความยุติธรรม และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จัดอันดับประเทศไทยอยู่ใน

ระดับ 3 (Tier 3 Watch list) ในรายงาน Trafficking in person report 2014 (พ.ศ. 2557) และจัดให้อยู่ใน

ลำดับเดียวกันในปี 2558 อย่างไรก็ตาม ในรายงานฉบับปี พ.ศ. 2559 ได้มีการจัดอันดับให้ไทยอยู่ในระดับ 2

(Tier 2 Watch list)34

มีสื่อชั้นนำหลายแห่งที่ได้นำเสนอรายงานว่ามีการค้ามนุษย์และการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานใน

อุตสาหกรรมผลิตกุ้งของไทย ในปี 255835 หนังสือพิมพ์ “The Guardian” โดยการสนับสนุนจากสมาคม

มนุษยธรรม (Human United-HU) นำเสนอรายงานความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปของ

ไทยกับการค้ามนุษย์ที่ดำเนินในรูปแบบของ “แรงงานทาสยุคใหม่”

ผลที่ได้จากการรายงานดังกล่าว ทำให้สำนักข่าวหลายสำนักรวมถึง บางกอกโพสต์ วอลล์ สตรีท

เจอร์นัล ยูเอสเอ ทูเดย์ นิว ยอร์ก ไทมส์ และบีบีซี และสื่ออื่นๆ เริ่มติดตามและรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์

การค้ามนุษย์มากขึ้น ในปีพ.ศ. 2558 สำนักข่าวเอพี (AP) ตีพิมพ์ผลการสืบสวนการแสวงหาประโยชน์ใน

โรงงานอาหารทะเลจนทำให้สำนักข่าวเอพี AP ได้รับรางวัล Pulitzer Prize ในปี พ.ศ. 2559 โดยรายงาน

ได้นำเสนอความโหดร้ายในอุตสาหกรรมที่แสวงหาประโยชน์จากคนที่อ่อนแอ และสร้างความเสียหายให้แก่

อุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลแปรรูปของไทย

สภาพของการแสวงหาประโยชน์ของแรงงานในอุตสาหกรรมประมง รายงานหลายฉบับได้ระบุถึงการปฏิบัติต่อเหยื่อบนเรือประมงไทย ลูกเรือส่วนใหญ่มักจะถูกขังอยู่บน

เรือในทะเลในพื้นที่ที่ห่างไกลจากฝั่งเป็นเวลานานแรมเดือนแรมปี โดยคอยรับอาหารและของจำเป็นจากเรือ

ใหญ่ หรือ “เรือแม่) โดยมีการลำเลียงอาหาร เครื่องมือเครื่องใช้ และสาธารณูปโภคต่างๆ รวมถึงมีแรงงาน

หน้าใหม่ที่ถูกส่งมาบังคับใช้แรงงานบนเรือด้วย ทั้งหมดก็เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานเหล่านี้หลบหนีขึ้นฝั่ง36

การทำร้ายร่างกายเป็นการกระทำที่เลวร้ายที่สุดที่เกิดขึ้นบนเรือประมง โดยเฉพาะเมื่อมีการให้ลูกเรือ

กินเศษปลาที่ไม่มีคุณภาพหรือที่เรียกกันว่า “ปลาเป็ด” (เศษปลาที่แทบจะกินไม่ได้ ที่มักเอาไปทำอาหารสัตว์

หรือเอาไว้เลี้ยงในฟาร์มกุ้ง) บนเรือประมงที่ลอยคออยู่นอกน่านน้ำไทย เมื่อเรือต้องลอยลำอยู่เป็นเวลานาน

บางครั้งเป็นเวลาหลายปี อาชญากรรมที่เกิดขึ้นบนเรือจึงยากที่จะพบเห็น เหยื่อส่วนใหญ่เป็นผู้ชายและเด็ก

เหตุผลเพราะมีร่างกายที่แข็งแรงจึงทำให้พวกเขามักถูกล่อลวงให้มาทำงนประเภทนี้

สัปดาห์ และพบว่าบางครั้งพวกเขาได้รับแจกยาบ้าเพื่อให้มีแรงทำงานต่อไป37 นอกจากนี้ห้องนอนหลับพักผ่อน

และสุขอนามัยในเรือยังไม่เพียงพอ มีความสะอาดที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยและ

34 2016 Trafficking in Persons Report (United States, 2016)35 See: http://www.pulitzer.org/winners/associated-press36 Fishy business: Trafficking and labour exploitation in the global seafood industry (World Vision, 2013); Ian

Urbina, ‘Sea Slaves’: The Human Misery That Feeds Pets and Livestock’, New York Times, 27 July 201537 Fishy business: Trafficking and labour exploitation in the global seafood industry (World Vision, 2013)

Page 33: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

28การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ติดเชื้อโรค อาหารที่แจกจ่ายไม่มีคุณภาพและน้ำสะอาดไม่เพียงพอส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ ขาด

อาหารและขาดน้ำ การบาดเจ็บจากงานมีความรุนแรงและมักไม่ได้รับการรักษาโดยแพทย์ กัปตันเรือและคนคุม

เรือมักจะโหดร้าย ใช้บทลงโทษทางร่างกายที่รุนแรงกับแรงงานที่อาจจะเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากการทำงาน

คนที่นอนหลับหรือไม่ทำตามคำสั่ง หลายรายรวมถึงรายที่ป่วยจนไม่สามารถทำงานได้ ถูกฆาตกรรมและ

โยนทิ้งลงทะเล ซึ่งแรงงานคนอื่นภายในเรือมีความเข้าใจว่านี่คือคำกล่าวเตือนหากไม่ทำงาน38 นอกจากนี้

เงินค่าจ้างที่ได้เพียงน้อยนิดหรือบางรายไม่ได้รับเงินค่าจ้าง ในบางกรณี แรงงานจะได้รับเงินค่าจ้างเป็น

ส่วนแบ่งจากการจับปลาหลังจากที่จับปลาเสร็จ ซึ่งหากมีการหลบหนีก่อนเสร็จงานนายจ้างจะริบเงินส่วนนั้นไว้

เป็นเหตุให้แรงงานไม่อยากหลบหนีโดยเฉพาะเมื่อเขามีครอบครัวที่ต้องดูแล เงินรายได้มักจะถูกตัดทอนลงไป

เมื่อผู้เสียหายถูกหักเงินเป็นค่าอาหารและรายการอื่นๆ ที่ใช้บนเรือ นอกจากนี้ยังพบรายงานลูกเรือฆ่าตัวตาย39

และบางรายมีความพยายามที่จะหนีแบบเสี่ยงอันตราย เช่น ผู้เสียหายบางคนกระโดดลงจากเรือและพยายาม

ว่ายข้ามฝั่งไปหาเรืออีกลำ ทำให้กัปตันเรือใช้มาตรการป้องกันไม่ให้แรงงานหลบหนี โดยขังแรงงานไว้บนเรือ

เมื่อเรือต้องเทียบท่าหรือเข้าใกล้ชายฝั่ง หรือล่ามโซ่เอาไว้เมื่อมีเรือลำอื่นเข้ามาใกล้

นอกเหนือจากถูกแสวงประโยชน์บนเรือประมงแล้ว หลายคนตกเป็นเหยื่อของการบังคับค้าแรงงานใน

โรงงานอาหารทะเลแปรรูป เช่น การปอกเปลือกกุ้ง ส่วนใหญ่พบผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และรวมถึงเด็กที่ถูก

บังคับใช้แรงงานเพื่อแสวงหาประโยชน์ในโรงงานเหล่านี้ งาน “แกะกุ้ง” ต้องแกะส่วนหัวของกุ้ง เปลือกและ

เส้นเลือดของกุ้ง ซึ่งเป็นงานที่มีขั้นตอนเยอะและโรงงานเหล่านี้ไม่ได้ถูกติดตาม นอกจากนี้ยังพบการล่วงละเมิด

การใช้แรงงานเด็ก และการค้ามนุษย์ด้านแรงงานด้วย มีรายงานว่าผู้เสียหายถูกทุบตีและทำให้อับอายและ

ถูกขังอยู่ในโรงงานเป็นเวลาหลายเดือนหรือนานเป็นปี และถูกบังคับให้ทำงานติดต่อกันถึง 16 ชั่วโมงต่อวัน

โดยแลกกับเงินค่าจ้างเพียงน้อยนิดหรือไม่ได้ค่าจ้างเลย40 จากข้อมูล พบว่ามีโรงแกะกุ้งขนาดเล็กที่ไม่ได้

จดทะเบียนในประเทศไทยราว 400-2000 แห่ง41 กรมประมงได้จดทะเบียนโรงงานแกะกุ้งจำนวน 203 แห่ง42

มีจำนวน 81 แห่งที่ได้รับการรับรองเป็นสถานที่ทำงานที่ดีในปี พ.ศ. 2556 โดย 77 แห่งอยู่ในจังหวัด

สมุทรสาคร43

38 Trafficking of Fishermen in Thailand (IOM, 2011), pp.7-9, pp.27-29. Fishy business: Trafficking and labour

exploitation in the global seafood industry (World Vision, 2013); Sarah Murray, Case Study: Casting a Tight Net,

Stanford Social Innovation Review, Fall 2015.39 Robin McDowell, Margie Mason and Martha Mendoza, ‘AP Investigation: Slaves may have caught the fish you

bought’, Associated Press, 25 March 2015.40 Martha Mendoza, ‘AP report on slave-peeled shrimp spurs calls for boycott’, Associated Press, 14 December

201541 The Hidden Cost: Human Rights Abuses in Thailand’s Shrimp Industry (Environmental Justice Foundation,

2013), pp.4-5, 14-15; Margie Mason, Robin McDowell, Martha Mendoza and Esther Htusan, ‘Global

supermarkets selling shrimp peeled by slaves’, Associated Press, 14 December 2015. 42 Action Plan and Implementation by the Department of Fisheries in Addressing Labour Issues and Promoting

Better Working Conditions in Thai Fisheries Industry, (Department of Fisheries, Ministry of Agriculture and

Cooperatives Thailand, April 2014), p.7.43 See: http://www.fisheries.go.th/thgflp/

Page 34: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

29การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

จังหวัดสมุทรสาครเป็นแหล่งแปรรูปอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเป็นแหล่งที่มาของกุ้งสาม

ในสี่ของประเทศ ในปี พ.ศ. 2556 มีการคาดการณ์ว่ามีแรงงานจำนวน 700,000 คนทำงานในโรงงาน

แปรรูปอาหารทะเล และแรงงานส่วนใหญ่มักเป็นผู้หญิง ซึ่งมีจำนวนประมาณ 400,000 คน ที่เป็น

แรงงานข้ามชาติจากประเทศเมียนมาร์44

ในสภาวการณ์ที่คนงานประมาณ 90% ของผู้ที่เป็นแรงงานข้ามชาติ ทำงานในชั่วโมงทำงานที่

ยาวนานและอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ มีเวลาพักผ่อนเพียงน้อยนิด แรงงานเด็กส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติ แต่ก็

พบว่ามีเด็กไทยที่ถูกบังคับให้ทำงานรูปแบบนี้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างของงานที่พบ เช่น ให้จัดเตรียมกุ้งหรือ

บ่อปลา เป็นผู้ให้อาหารสัตว์น้ำ งานดูแลสินค้า จัดสินค้า รวมไปถึงงานทำความสะอาดหัวกุ้งและหัวปลา งาน

ปอกกุ้งตามสายพานโรงงาน ทำหน้าที่แช่แข็ง ชั่งน้ำหนัก บรรจุกุ้งและปลาแปรรูป แรงงานไทยที่ปอกกุ้งมีความ

เสี่ยงที่จะสัมผัสกับสารเคมีร้ายแรงและประสบอันตรายจากการบาดเจ็บจากที่ทำงานและอาจติดเชื้อโรคได้

ผู้หญิงและเด็กที่อยู่ในสถานการณ์เหล่านี้ บางรายถูกทารุณกรรม ทั้งทางร่างกาย ทางเพศและและทางอารมณ์

ซึ่งทำให้รู้สึกไร้คุณค่าได้45 การแสวงหาประโยชน์ถูกพบในกระบวนการแปรรูประยะที่ 2 ในโรงงานที่มีการ

แปรรูปปลาและกุ้ง เพื่อบรรจุและส่งออกทั่วโลก

ความสัมพันธ์ระหว่าง IUU และการค้ามนุษย์ อุตสาหกรรมปลาและอาหารทะเลแปรรูปของไทยนั้นมีความซับซ้อน ปลาและหอยจะถูกจับในทะเล

และนำมารวมในบ่อพักสัตว์น้ำ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการแปรรูป และในการซื้อขายอาจไม่ได้พึ่งพาบริษัทใหญ่

และมีชื่อเสียง หลังจากนั้นอาหารทะเลแปรรูปจะส่งถูกส่งออกไปในระดับสากล ด้วยเหตุนี้เอง จึงพบว่าเป็น

การยากอย่างยิ่งที่จะพบว่า กระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการที่เคลือบแฝงไว้ด้วยการแสวงหาประโยชน์จาก

แรงงานหรือการค้ามนุษย์หรือไม่

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้บริโภค หรือผู้ค้าปลีกชั้นนำระดับโลก เริ่มตระหนักถึงปัญหาการแสวงหา

ประโยชน์และการล่วงละเมิดที่เกิดขึ้นในระบบการผลิตในประเทศไทย เป็นเหตุให้มีแรงจูงใจเพิ่มขึ้นที่จะหยุด

การนำเข้าอาหารจากประเทศไทย

ผู้สั ่งซื ้อจากบริษัทต่างประเทศเริ่มตระหนักและหลีกเลี่ยงที่จะสั่งสินค้าจากโรงงานที่พบว่ามีการ

แสวงหาประโยชน์จากแรงงาน นำโดยสหประชาชาติเพื่อมนุษยธรรม ที่ได้มีการหารือเพื่อเปลี่ยนแปลงแนวทาง

ปฏิบัติของผู้บริโภครายใหญ่ที่มีความเกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย นอกเหนือจากนี้ กฎหมายที่

รวมถึงอเมริกาเหนือและยุโรปยังมีการบัญญัติมาตราที่ป้องกันการซื้อขายสินค้าที่มีการผลิตโดยผู้ที่ถูกบังคับใช้

แรงงาน และยังมีการปฏิบัติการในระดับโลกเพื่อหยุดการประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งไม่มีการรายงานและไม่

ปฏิบัติตามข้อบังคับด้วย ถือว่าเป็นปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

44 Exploitative Labour Practices in the Global Shrimp Industry (Accenture, 2013), p.28; The Hidden Cost: Human

Rights Abuses in Thailand’s Shrimp Industry (Environmental Justice Foundation, 2013), p.5.45 Worst Forms Child Labour Thailand (US Department of Labour, 2014); Fishy business: Trafficking and labour

exploitation in the global seafood industry (World Vision, 2013)

Page 35: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

30การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ในระดับโลก พบว่า จำนวน 11-26 ล้านตันของปลา คิดเป็นอย่างน้อย 15% ของการจับปลาของ

โลกทั้งหมด เป็นการจับปลาอย่างผิดกฎหมายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและไม่มีการควบคุมดูแลที่เพียงพอ จึงทำให้เกิด

ปัญหาค้ามนุษย์ที่ตามมาเป็นจำนวนมาก การประมงที่ผิดกฏหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU)

อาจแตกต่างจากการค้ามนุษย์ แต่มีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการทำประมงที่ผิดกฎหมายซึ่งอาจจะเกี่ยว

หรือไม่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เลยก็เป็นได้ และด้วยสาเหตุนี้อาจจะมีการเลือกให้ความสนใจเฉพาะประเด็น

ที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของการเกิดการประมงที่ผิดกฏหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และ

การค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการต่อต้านการปฏิบัติทั้งสองรูปแบบ

ในปี พ.ศ. 2553 กฎระเบียบของ การประมงที่ผิดกฏหมาย การขาดการรายงาน และไร้การควบคุม

(IUU) เริ่มมีผลบังคับใช้และเรียกร้องให้สหภาพยุโรปอนุญาตให้เฉพาะปลาที่มีการจับอย่างถูกกฎหมาย

สามารถนำเข้ามาขายในตลาดได้ กระบวนการในการพิสูจน์ว่าปลามีกระบวนการที่ถูกกฎหมายหรือไม่จะต้อง

ได้รับใบอนุญาต หากการตรวจสอบนั้นเพียงพอแล้วจะได้รับ “ใบเขียว” สำหรับใบเตือนจะเป็น “ใบเหลือง” และ

“ใบแดง” หากประเด็นปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไข

สำหรับประเทศไทย คณะกรรมาธิการยุโรปได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในความสนใจ

ว่ายังไม่มีมาตรการที่เพียงพอในการต่อสู้กับปัญหาการประมงที่ผิดกฏหมาย ขาดการรายงาน และไร้การ

ควบคุม (IUU) ส่งผลให้ได้รับใบเตือนสีเหลือง46 เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 หลังจากนั้น รัฐบาลไทย

จึงได้ออกมาตรการจำนวนมากเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หนึ่งในนั้นคือการรวมพระราชกำหนดการประมง

พ.ศ. 2558 (2015) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างการออกใบอนุญาตและการตรวจสอบเรือประมงผ่านระบบ

การควบคุมแจ้งเตือนการเข้า-การออกของเรือใน 28 ท่าเรือ (PIPO) การจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวัง ตรวจสอบและ

ควบคุม ณ ศูนย์สั่งการเพื่อการต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมาย (CCCIF) และกรมประมง มาตรการการบังคับ

ใช้กฎหมายยังได้รับการดำเนินการในรูปแบบของหน่วยงานปฏิบัติการพิเศษและมีการปรับแก้ไขกฎหมายขึ้น

เพื่อเสริมสร้างมาตรฐานแรงงาน

ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 คณะกรรมมาธิการยุโรปขยายระยะเวลาใบเตือนสีเหลืองเป็นระยะ

เวลา 6 เดือน และจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะต้องออกใบแดงให้หรือไม่ ในการพิจารณานี้มีองค์กรสิทธิมนุษยชน

รวม 27 องค์กร องค์กรด้านแรงงานและองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมได้ติดตามระบบการประมงของไทยและโรงงาน

แปรรูปอย่างใกล้ชิด และได้มีการเรียกร้องความสนใจจากคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปให้สนใจประเด็นการ

บังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรม เรียกร้องให้มีการต่อต้านการค้ามนุษย์ การผูกมัดและการ

บังคับใช้แรงงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปของไทย จดหมายดังกล่าวยังอธิบายถึงความสัมพันธ์

ระหว่างการประมงที่ผิดกฏหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และการบังคับใช้แรงงานใน

อุตสาหกรรมประมง ดังนี้

“การเก็บสต๊อคปลาถูกพิจารณาว่าเป็นการเก็บที่มากเกินจำเป็น เรือประมงต้อง

เดินทางออกไปไกลและต้องอยู่ที่ทะเลเป็นเวลานาน และมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มขึ้น เพื่อให้ยังคงได้ผลกำไร แรงงานประมงจะต้องทำงานเพิ่มขึ้นและออกหา

46 IUU Press Release, Brussels 21 April 2015

Page 36: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

31การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ปลาในพื้นที่ห่างไกลและขึ้นเทียบท่าในจำนวนที่จำกัดเท่านั้น ก่อให้เกิดความเสี่ยง

ต่อการถูกแสวงหาประโยชน์และล่วงละเมิดต่างๆ ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้แรงงาน

ประเทศไทยควรได้รับความกดดันให้สืบสวนและดำเนินคดีกับเจ้าของเรือที่กระทำ

ความผิด และกัปตันเรือที่พร้อมจะละเมิดกฎหมายเพื่อให้สามารถมีผลกำไรที่มาก

ขึ้น หลักฐานได้แนะนำว่า รัฐบาลควรตระหนักว่าเรือประมงไทยนั้นมีขีดความ

สามารถที่สุดในการทำลายจำนวนปลาในน่านน้ำเนื่องจากการตกปลาเกินเกณฑ์

มาตรฐานซึ่งนำไปสู่การตอบสนอง และการปฏิเสธความพยายามในการตกปลา

แต่ละครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ได้มีเรือประมงบางลำที่รู้สึกว่าการ

ปฏิบัติดังกล่าวนั้นไม่สามารถทำให้เกิดผลกำไรหากไม่ใช้แรงงานที่มีราคาถูก”47

ผู้เขียนหนังสือถึงคณะกรรมาธิการยุโรปได้ร้องขอให้พิจารณาถึงการออกใบแดงให้กับประเทศไทย

เว้นแต่ว่าไทยจะได้มีการแสดงให้เห็นว่าได้มีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในการ

ประมงและภาคส่วนการผลิตอาหารทะเล และดำเนินการเพื่อบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อป้องกันการค้า

มนุษย์ในผู้ชายและเด็กชายจากประเทศเมียนมาร์ กัมพูชา ไทยและสปป. ลาวในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร

ทะเล48 เว้นแต่ว่าไทยได้ดำเนินการต่อสู้กับการประมงที่ผิดกฎหมาย ไทยยังอาจได้รับใบแดงแต่สามารถส่งออก

มายังตลาดยุโรปได้

การต่อสู้กับการการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงจึงเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้เกิดผลที่ยั่งยืน

ในระยะยาวทั้งในด้านสุขภาพ ด้านผลกำไรในอุตสาหกรรมการประมง การต่อสู้กับการค้ามนุษย์ใน

อุตสาหกรรมอาหารทะเลและการประมงถือเป็นพันธกิจหลักของรัฐบาลไทย เพื่อที่จะทำให้เกิดการปรับปรุง

กฎหมาย ซึ่งรวมถึง มาตรการต่างๆ และนำมาซึ่งการแก้ไขกฎหมาย เช่นกฎกระทรวงว่าด้วยการประมง

พ.ศ. 2558 เพื่อต่อสู้กับการประมงที่ผิดกฏหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และการค้ามนุษย์

ในอุตสาหกรรมประมง และในปีพ.ศ. 2559 จึงได้มีการกำหนดแผนปฏิบัติงานเพื่อต่อสู้กับการค้ามนุษย์ใน

ภาคส่วนประมง ดังนั้นเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายในระดับจังหวัดจึงเป็นผู้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการ

นำแนวทางดังกล่าวนี้ไปปฏิบัติ

การตอบสนองด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทยต่อปัญหาการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง รัฐบาลไทยได้ดำเนินการหลากหลายมาตรการในการประสานงานและตอบสนองต่อปัญหาการ

ค้ามนุษย์ในปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการรวมถึงการแก้ไขบทบัญญัติทางนิติบัญญัติหลายตัวบท (โปรดดูเอกสารแนบ:

กฎหมายหลัก)

การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์และการแสวงหาประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่พระราช

บัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม

การค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขให้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

มีบทลงโทษผู้กระทำความผิดที่รุนแรงมากขึ้น

47 Joint letter to EU Commissioner Vella, 17 February 2016.48 Joint letter to EU Commissioner Vella, 17 February 2016.

Page 37: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

32การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานและสภาพการทำงานของแรงงานนั้น ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครอง

แรงงาน พ.ศ. 2541 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2541 ที่ล่าสุดได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อ

ขยายขอบเขตของการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในอุตสาหกรรมประมงและห้ามผู้ที่

มีอายุต่ำกว่า 18 ปีทำงานในอุตสาหกรรมประมง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงรวมถึงพระราชบัญญัติการประมง

และพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 เพื่อบังคับใช้และดำเนินการกับโรงงานต่างๆ ที่ละเมิด

กฎหมายแรงงานและเพิ่มขั้นตอนของระบบควบคุมการแจ้งเข้า-แจ้งออกของเรือประมง

ผู้ที่มีบทบาทสำคัญหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการต่อสู้กับปัญหาการค้ามนุษย์ ได้แก่

กองบังคับการตำรวจน้ำ มีอำนาจในการเทียบท่าเรือและตรวจค้นเรือในน่านน้ำ (พื้นที่ตั้งแต่ 12

กิโลเมตรจากฝั่ง) กองทัพเรือ มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายที่เกินกว่า 12 กิโลเมตร จาก น่านน้ำ

ชายฝั่ง และตำรวจท้องที่และตำรวจภูธรยังมีอำนาจในการตรวจสอบคดีและดำเนินคดีกับผู้กระทำ

ความผิด

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ภายใต้กระทรวงแรงงานมีอำนาจใช้กฎหมายในการคุ้มครองแรงงาน

และตรวจสอบสภาพเงื่อนไขในการทำงานของแรงงานและดำเนินการตรวจสอบเรือประมงได้

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานสำคัญที่รับผิดชอบในการให้ความ

ช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือและแนะนำผู้ที่ตกเป็น

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ รวมถึงรับเรื่องส่งต่อหากมีข้อสงสัยว่าแรงงานดังกล่าวตกเป็นผู้เสียหายจาก

การค้ามนุษย์ ทีมสหวิชาชีพที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ภาครัฐจากหลากหลายกระทรวง ที่ประจำอยู่ทุก

จังหวัดจะดำเนินการจัดเรือลาดตระเวณเพื่อตรวจค้นและระบุหาตัวผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายรวมถึงคุ้มครอง

ผู้ที่เป็นผู้เสียหายด้วย

รัฐบาลไทยได้ดำเนินกลไกความร่วมมือต่อต้านการค้ามนุษย์ ดังนี้

ในเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2558 ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งประกอบ

ด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง

ของมนุษย์ และด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ

การตรวจสอบที่สอดประสานกันนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการบังคับใช้แรงงานบนบก (ในเพิงปอกกุ้ง)

หรือบนเรือประมงในน่านน้ำไทย

ศูนย์บัญชาการเพื่อการต่อสู้กับการประมงที่ผิดกฎหมาย (CCCIF) นำโดยกองทัพเรือภายใต้การกำกับ

ดูแลของไทยเดินเรือบังคับใช้ประสานงานศูนย์ (THAI-MECC) CCCIF จะได้รับคำสั่งในการตรวจสอบ

เรือประมงที่ผิดกฏหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(IUU) และตรวจสอบว่ามีการบังคับใช้

แรงงาน แรงงานเด็กและการลักลอบค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงหรือไม่ CCCIF ก่อตั้งขึ้นในเดือน

พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นองค์กรหลักในการตรวจสอบองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย

เจ้าหน้าที่ของกระทรวงสำคัญๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า CCCIF มีบทบาทสำคัญในการ

ต่อสู้กับการค้ามนุษย์โดยการดำเนินการตรวจสอบใน 4 วิธี คือ

Page 38: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

33การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

บนชายฝั่ง

ศูนย์ระบบแจ้งเตือนการควบคุมการเข้า-การออกของเรือ (PIPO) เป็นศูนย์บริการบน

ชายฝั่งของเรือประมงและแรงงานประมง ในปี 2558 ศูนย์ PIPO จำนวน 28

แห่งได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2558 โดยกรมประมงเพื่อดำเนินการบันทึกและตรวจสอบ

การเคลื่อนไหวของเรือประมงและลูกเรือของพวกเขาใน 22 จังหวัด รวมไปถึง

จังหวัดระนอง จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดตรัง

การตรวจสอบมีความเกี่ยวข้องกับการทำประมงและอาหารทะเลแปรรูป ซึ่งรวมถึงกุ้งแกะ

เปลือกสำเร็จ

ในทะเล:

เรือประมงไทยในน่านน้ำไทย

ในเรือประมงไทยที่มีใบอนุญาตให้ทำงานนอกน่านน้ำไทย โดยทั่วไป มักเป็นเรือที่แล่น

กลับมาจากน่านน้ำนอกดินแดนไทย (เช่นทะเลสูงหรือน่านน้ำต่างประเทศ)

ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 CCCIF ได้ลงนามใน MOU ร่วมกับ 36 องค์กร ได้แก่ กรมเจ้าท่า

กรมประมงและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาคเอกชนอีกจำนวน 21 แห่ง รวมถึงสมาคมอุตสาหกรรมปลาทูน่าและ

สมาคมอาหารทะเลแช่แข็ง เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ

ในการต่อสู้กับการการประมงที่ผิดกฏหมาย (IUU) และการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

เพื่อการเสริมสร้างมาตรฐานแรงงานและสภาพการทำงานที่เหมาะสม กลไกดังต่อไปนี้ได้มีการนำมา

ใช้ดังนี้

ศูนย์ประสานงานสำหรับลูกเรือประมง กระทรวงแรงงานได้สร้างพันธมิตรความร่วมมือกับกรมการจัด

หางานและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และได้ริเริ่มนำร่องศูนย์ประสานงาน

เพื่อลูกเรือประมงในจังหวัดต่างๆ ใน 7 จังหวัดชายฝั่ง ได้แก่ สมุทรสาคร ระยองตราด ชุมพร สงขลา

ระนอง สตูล และมีแผนจะขยายโครงการไปยังจังหวัดอื่น ๆ บริเวณชายฝั่ง

ศูนย์บริหารจัดการลูกเรือประมง จัดตั้งขึ้นใน 22 จังหวัดชายฝั่ง เพื่อให้การสนับสนุนการปฏิบัติต่อ

แรงงานที่ดี (GLP) และดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึง

มาตรฐานสากล

2.3. องค์ประกอบการค้ามนุษย์ในบริบทของอุตสาหกรรมประมง

ในบทบัญญัติที่ 3 ของพระราชบัญญัติค้ามนุษย์ ได้ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง (ตามที่

นิยามไว้ในประมวลกฎหมายอาญา) โดยมอบหมายอำนาจและหน้าที่บางประการในการป้องกันและ

ปราบปรามการค้ามนุษย์ ตามมาตรา 27 คือ

มีหนังสือเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหรือพยานหลักฐาน

ตัวบุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์เมื่อผู้นั้นยิน

ยอม แต่ถ้าผู้นั้นเป็นหญิงจะต้องให้หญิงอื่นเป็นผู้ตรวจ

(1)

(2)

Page 39: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

34การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ตรวจค้นยานพาหนะใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่ามีพยานหลักฐานหรือบุคคลที่ตก

เป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์อยู่ในยานพาหนะนั้น

เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น ยึด หรืออายัด เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามี

พยานหลักฐานในการค้ามนุษย์ หรือเพื่อพบและช่วยบุคคลที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการกระทำ

ความผิดฐานค้ามนุษย์ และหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ พยานหลักฐานนั้นอาจถูก

โยกย้าย ซ่อนเร้น หรือทำลายไปเสียก่อน หรือบุคคลนั้นอาจถูกประทุษร้าย โยกย้าย หรือซ่อนเร้น

มาตรา 27 ให้รายละเอียดเพิ่มเติมถึงการบริหารอำนาจเหล่านี้ และการมอบหมายอำนาจให้

เจ้าหน้าที่และผู้ใต้บังคับบัญชา โดยสรุป พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการเข้าตรวจค้นสถานที่เมื่อมีความ

สงสัยว่ามีการค้ามนุษย์เกิดขึ้นในสถานที่ดังกล่าวและหาองค์ประกอบของการค้ามนุษย์ และเพื่อดำเนินการให้

สอดคล้องกับการปฏิบัติ พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องหาองค์ประกอบ 3 ส่วนตามที่มีการพูดถึงในบทเรียนที่ 1

ซึ่งได้แก่ 1)การกระทำ 2)วิธีการ และ 3)วัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาประโยชน์ และเมื่อพบว่ามีองค์ประกอบใด

องค์ประกอบหนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ แสดงว่ามีการค้ามนุษย์เกิดขึ้น ซึ่งการระบุองค์ประกอบดังกล่าวใน

อุตสาหกรรมประมงค่อนข้างมีความท้าทายอย่างมาก ตารางดังต่อไปนี้นำเสนอตัวอย่างขององค์ประกอบใน

อุตสาหกรรมประมง

องค์ประกอบด้าน “การกระทำ”

“การกระทำ” ในหลายรูปแบบอาจถือเป็นการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง โดยรวมแล้ว

สถานการณ์การค้ามนุษย์จะประกอบด้วยการกระทำที่หลากหลาย แต่ทั้งนี้ในความผิดฐานค้ามนุษย์ จำเป็น

ต้องพิสูจน์ว่ามี “การกระทำ” อย่างน้อย 1 การกระทำ

(3)

(4)

‘การกระทำ’

ที่เป็นการค้ามนุษย์ตัวอย่างในอุตสาหกรรมประมง

การจัดหา นายหนามีสวนรวมในการเปนธุระจัดหาลูกเรือหรือชาวประมงดวยวิธีการท่ีแตกตางกันจะมีการ

กําหนดราคาท่ีแตกตางกันไปตามแตกระบวนการโยกยายถิ่นฐานและการนําพามายัง

อุตสาหกรรมประมง

ในหลายสถานการณ “นายหนาคาแรงงาน” หลอกลวงผูชายวัยหนุมเพื่อดึงดูดใหมาทํางานที่

อางวามีอนาคตไกล เชนในไซตงานกอสราง และโรงงาน (อุตสาหกรรมทอผา ผลิตผา อาหารและ

การแปรรูปอาหารจําพวกปลา) หรือการเกษตร โดยบุคคลดังกลาวยินยอมที่จะจายเงินใหแก

นายหนาเปนคาเดินทางขามพรมแดน

ในสถานการณอื่นๆ ที่นายหนาแสวงหาแรงงานมักจะพยายามแสวงหาในบริเวณที่เปนจุดขนสง

รถในตัวเมือง (เชน ในสถานีรถเมลและสถานีรถไฟในกรุงเทพฯและที่อื่นๆ)

การขนส่ง ในบางกรณี นายหนาเพียงคนเดียวอาจดําเนินการจัดการเดินทางจากประเทศตนทางไปยัง

ประเทศปลายทาง หรือในบางกรณี นายหนาหลายคนอาจมีสวนรวมในการเปนตัวกลางในการ

เชื่อมโยงผูมีบทบาทแตละตัวเขาดวยกัน เชน มีเครือขายรวมทํางานตั้งแตจุดตั้งตนของการ

เดินทางไปจนจุดปลายทางของเสนทาง

Page 40: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

35การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

องค์ประกอบด้าน “วิธีการ”

ในประเด็นการค้ามนุษย์นอกจาก ‘การกระทำ’ ดังที่กล่าวไปแล้ว ผู้ค้ามนุษย์อาจใช้ “วิธีการ”

ที่มีความหลากหลายในการค้าผู้เสียหายให้กับอุตสาหกรรมประมง วิธีการบางอย่างอาจไม่รุนแรงมากนัก

(เช่น การใช้จุดอ่อนของเหยื่อ หรือการหลอกลวง) ในขณะที่บางวิธีการกลับมีความรุนแรง (เช่น การใช้กำลังหรือ

การลักพาตัว) ซึ่งวิธีการที่ไม่รุนแรงนั้นค่อนข้างสร้างความยากลำบากให้แก่ผู้บังคับใช้กฎหมายในการระบุและ

คัดแยกผู้เสียหาย

ส่งต่อ นายหนาจะนําพาผูเสียหายมายังชายแดนไทยและสงตอใหกับนายหนาคนอื่นซึ่งจะทําหนาที่ขาย

ผูเสียหายเหลานั้นใหแกเจาของเรือหรือกัปตันเรือ

ผูเสียหายถูกเคลื่อนยายไปยังเรือประมง โดยสวนใหญจะเคลื่อนยายไปยังเรือที่อยูในประเภท

เดียวกันหรือเรือที่เปนเจาของโดยบุคคลเดียวกัน ซึ่งมักจะกระทําการเคลื่อนยายเมื่อเรือกําลังจะ

เขาฝง เพื่อหลีกเลี่ยงไมใหผูเสียหายพยายามหลบหนี

จัดให้อยู่อาศัย ตลอดเสนทางการคามนุษย ผูเสียหายอาจถูกนําไปพักในสถานที่ตางๆ ซึ่งผูเสียหายไมมีทาง

ทราบวาเปนที่ไหน เชน ผูเสียหายอาจถูกกักตัวไวที่บานของผูคามนุษย หรือที่พักที่อยูภายใต

การดูแลของ บุคคลที่มีอาวุธในครอบครอง ซึ่งสถานที่เหลานั้นถือวาเปนสถานที่ “คัดแยก”

ประเภทของแรงงานไปยังปลายทางที่แตกตางกัน มีการรายงานวาผูเสียหายจากการคามนุษย

ถูกกักขังไวในหอง ไมสามารถออกไปไหนได ซึ่งอาจจะเปน รานบารคาราโอเกะในระหวาง

อยูบนฝง

ลูกเรือประมงอาจถูกกักตัวไวบนเรือหาปลาเพ่ือหลีกเลี่ยงการเปดโอกาสใหผูเสียหายสามารถ

หลบหนีขึ้นฝงไดเพื่อไปติดตอเจาหนาที่ หรืออาจถูกกักไวในเรือ หรือแมแตในหองขังหรือเกาะที่ไม

มีผูคนเมื่อเรือตองขึ้นฝง49

รับไว้ซึ่งบุคคล เจาของเรือจะรับตัวผูเสียหายที่สงมอบจากนายหนาที่ทาเรือ หรือรับผานเรือดวนที่จะแรงงาน

แยกตัวออกมาจากเรือแมในทะเล

43 For instance, on Indonesian islands including Benjina and Ambon. See Robin McDowell and Marie Mason, Over

300 slaves rescued from Indonesia island after AP investigation into forced labor, Associated Press, 4 April

2015; Esther Htuson and Margie Mason, ‘More than 2000 enslaved fishermen rescued in 6 months’, Associated

Press, 17 September 2015. Also see: Ian Urbina, ‘Sea Slaves’: The Human Misery That Feeds Pets and

Livestock’, New York Times, 27 July 2015.

Page 41: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

36การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

“วิธีการ”

ที่เป็นการค้ามนุษย์ตัวอย่างในอุตสาหกรรมประมง

ข่มขู่หรือใช้กำลัง

บังคับ

นายหนาหลายคนและกัปตันเรือมักขมขูหรือใชกําลังบังคับแรงงานขามชาติใ หพวกเขายอมรับ

และปฏิบัติตามในสิ่งที่สั่ง ซึ่งหมายความวาแรงงานขามชาติสวนใหญถูกทํารายรางกายบนเรือ

มีรายงานวาชาวประมงถูกตีและถูกทํารายโดยเฉพาะเมื่อพวกเขาไรเรี่ยวแรงท่ีจะทํางานหรือ

เจ็บปวย ในขณะเดียวกันผูเสียหายคนอื่นๆในเรือเห็นการกระทําที่รุนแรง หรือแมกระทั่งการ

ฆาตกรรม ทําใหผูเสียหายตางเขาใจวานี่คือการขมขู เปรียบไดกับการเชือดไกใหลิงดู

บังคับ การบังคับขูเข็ญอาจมีหลากหลายรูปแบบ เชน

แรงงานขัดนี้ อาจจะเปน “วัตถุประสงค” ในการคามนุษยเนื่องจากเปนการแสวงประโยชน

แตก็สามารถระบุวาเปน “วิธีการ” ไดเชนเดียวกัน เนื่องจากเปนการบังคับคนใหเขาสูกระบวน

การคามนุษยหรือเก็บเขาไวในวงจรดังกลาว เชนชาวประมงจํานวนมากจะไดรับเงิน ที่เรียกกัน

วา'คาเย็บเรือ” หรือไดรับการชําระเงินลวงหนาจากเจาของหรือกัปตันของเรือประมงที่พวกเขา

จะตองทํางานทดแทน ในบางกรณีที่พวกเขาหาเงินไดเทากับยอดก็จะไดรับการหักยอดออกไป

ในขณะที่บางกรณีก็ไมสามารถทําได และในบางกรณี ลูกคาที่ไปเที่ยวบารคารราโอเกะและได

สั่งอาหารหรือเครื่องด่ืมหรือใชบริการทางเพศจากผูขายบริการก็อาจจะตองพบเจอกับบิลที่มี

คาใชจายสูงเกินจริง ซึ่งพวกเขามักไดรับแจงวาจะตองไปทํางานใชหนี้เหลานี้บนเรือประมง

เปนตน

ผูคามนุษยอาจบีบบังคับและขมขูแรงงานขามชาติที่ไมมีเอกสาร โดยอางวาอาจจะถูกเนรเทศ

หรืออาจจะถูกนายหนาและผูขับเรือยึดเอกสารตางๆ ทั้งหนังสือเดินทางหรือเอกสารอื่นๆ เชน

หนังสือคนเรือ มีรายงานวาผูขับเรือบางคนยึดเอกสารแรงงานเอาไวเพื่อปองกันการหลบหนี

ฉ้อโกงหลอกลวง ลูกเรือประมงโดยทั่วไปไมไดทําสัญญาอยางเปนลายลักษณอักษรกับนายจาง เพราะไมเขาใจ

เงื่อนไขในการจางงานและบางรายพบวาเปนการหลอกลวง และพบกับสภาพการทํางานและ

เงินคาจางที่ไมเปนธรรมและโปรงใส

นายหนาอาจสัญญากับลูกจางวาจะมีเงื่อนไขการทํางานบางอยาง เชน ทํางานในโรงงาน

ไซตงานกอสรางหรือสวนผัก มีเงินเดือนสูงๆใหเพื่อใหแรงงานยินยอมที่จะทํางาน หลายคนๆ

แจงวาพวกเขาไมทราบมากอนวาจะตองทํางานบนเรือจนกระทั่งถูกพาไปยังทาเรือ

ใช้อำนาจโดยมิชอบ/

อาศัยความเปราะบาง

ในขณะเดินทางมาถึงประเทศปลายทางหรือในพื้นที่ แรงงานขามชาติมีความเปราะบางและ

ความเสี่ยงเนื่องจากไมสามารถพูดภาษาทองถิ่นนั้นได ไมเขาใจสภาวะแวดลอมรอบตัว ไมมี

ครอบครัวหรือเครือขายของเพื่อน และมีความหวาดกลัวเจาหนาที่รัฐไทยหรือนายหนา จําตอง

ยอมรับสภาพในสิ่งที่ตนกําลังประสบ

ชาวประมงสวนใหญท่ีอยูบนเรือประมงไทยเปนแรงงานท่ีไมมีเอกสารและเดินทางเขาเมือง

แบบผิดกฎหมายไมไดมีการจดทะเบียนกับกรมการจัดหางาน การอยูในภาวะที่ไมมีเอกสาร

สําคัญเหลานี้ทําใหพวกเขามีความเสี่ยงในการตกเปนเหยื่อ

ในสวนของการละเมิดอํานาจ มักมีการรายงานผลของคดีโดยเจาหนาที่ตํารวจภูธรซึ่งอยูใน

ทองที่วาไดมีการจับกุมและสงเหยื่อใหกลับคืนไปหานายหนา ซี่งผูมีบทบาทเหลานี้เปนผู

ลักพาตัว มีรายงานวาลูกคารานคาราโอเกะถูกวางยาและ/หรือถูกกักขังและขายใหกับเรือประมง

เหตการณนี้เกิดขึ้นที่จังหวัดสงขลา

Page 42: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

37การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

องค์ประกอบด้าน “วัตถุประสงค์”

วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงนั้นคือการบังคับใช้แรงงาน อย่างไรก็

ตามอาจมีการแสวงหาประโยชน์รูปแบบอื่นเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน

“วัตถุประสงค์”

เพื่อการแสวงหาประโยชน์ที่นำมาใช้กับอุตสาหกรรมประมง

การแสวงหา

ประโยชน์จากการค้า

ประเวณีของผู้อื่นและ

การแสวงหาประโยชน์

ทางเพศในรูปแบบ อื่นๆ

การแสวงหาประโยชนทางเพศสามารถเกิดขึ้นไดกับผูเสียหายที่เปนผูชาย ผูหญิง และเด็ก

และยังมีกรณีของผูท่ีถูกคามนุษยบนเรือประมงเพ่ือวัตถุประสงคในการแสวงหาประโยชนทาง

เพศดวยเชนกัน

การบังคับใช้แรงงานหรือ

บริการ

" ... การทำงานทั้งหมดหรือ

การให้บริการโดยบุคคล

ใด ๆ ภายใต้การคุกคามซึ่ง

เป็นการลงโทษและสำหรับ

บุคคลที่ยังไม่ได้เสนอตัวว่า

จะทำงานด้วยความสมัคร

ใจ" (องค์การแรงงาน

ระหว่างประเทศ ปี 2473

อนุสัญญาการบังคับใช้แรง

งาน)

ในหลาย ๆ ประเทศและบริบทผูปฏิบัติงานยังประสบกับปญหาในการทําความเขาใจถึงความ

แตกตางระหวางการละเมิดกฎหมายแรงงานและองคประกอบของการบังคับใชแรงงาน

ตามแบบฟอรมของใบคัดแยกผูเสียหาย การบังคับใชแรงงานและการใหบริการถือเปนการ

แสวงหาประโยชนบุคคลโดยการบังคับใหบุคคลตองทํางานหรือใหบริการ การบังคับใชแรงงาน

และ/หรือการใหบริการท่ีหมายถึงการจางงานหรือการยินยอมใหบริการเน่ืองจากลูกจางมี

ความกลัววาจะเสียชีวิต บาดเจ็บหรือถูกพากอิสรเสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย เนื่องจาก

ความกลัววาอิสรภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพยสินของบุคคลอื่นอาจจะถูกพรากไป เนื่องจากความ

กลัวคําพูดที่ขมขูเหลานั้น กลัวการทํารายรางกายจึงทําใหไมกลาที่จะขัดขืน

การจางงานหมายถึงสัญญาที่ทําขึ้นระหวาง 'ลูกจางและบุคคลอื่นที่เรียกวา' นายจาง 'ท่ี'

ลูกจาง 'ตกลงที่จะทํางานใหกับนายจาง' และ 'นายจางตกลงจะจายคาจางในชวงระยะเวลา

ของการทํางาน (มาตรา 575, ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย)

ลักลอบขนคนเขาประเทศ และจําตองรับโทษที่รุนแรง ในมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติการ

ตอตานการคามนุษย พ.ศ. 2551 ไดกําหนดบทลงโทษเปน 2 เทาในกรณีที่ผูลักลอบขนแรงงาน

ขามชาติเปนเจาหนาที่ของรัฐเสียเอง

ให้หรือรับเงินหรือผล

ประโยชน์เพื่อให้ได้รั

บความยินยอมจาก

บุคคลที่มีอำนาจควบ

คุมบุคคลอื่น

ผูเสียหายจากการคามนุษยบางรายไดถูกขายใหแกชาวประมงหรือตัวแทนเรือประมงซึ่งเปน

คนที่จายเงินใหกับพวกเขาในราคาที่กําหนดไวตอหัว ราคาดังกลาวเรียกวา'คาหัว

ลูกเรือประมงอาจจะถูกบอกวาพวกเขาตองทํางานเพ่ือปดหน้ีจากราคาท่ีซื้อตัวพวกเขามา

(รูปแบบของการเปนแรงงานขัดหนี้) ในป พ.ศ. 2554 มีรายงานวาเจาของเรือหรือตัวแทน

โบรกเกอรจะจายเงินราวๆ 10,000 – 30,000 บาท ตอแรงงาน 1 คน ซึ่งราคานี้อาจเปลี่ยนแปลง

ไดขึ้นอยูกับอุปสงคและอุปทาน

มีกรณีที่โบรกเกอรจายเงินคาประกันตัวใหแกแรงงานขามชาติที่อยูในเรือนจํา และขายแรงงาน

กลุมนี้ตอไปยังเรือประมงตางชาติ แรงงานขามชาติมักไมมีทางเลือก ทําไดเพียงแคไววางใจ

นายหนาเพื่อใหพวกเขางานมีงานทํา และไมมีทางเลือกอื่นใดแทนที่การจายเงินคาประกันเพื่อ

ใหไดรับการปลอยตัว

Page 43: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

38การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

2.4. ประเด็นสำคัญและคำถามเพื่อการทบทวนความรู้

สรุปประเด็นสำคัญ

วิวัฒนาการของการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ในโลกที่มีการส่งออกอาหารทะเลสร้างรายได้ราว 7

พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นประจำทุกปี ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ที่สุดของโลก

การแสวงหาประโยชน์ถือเป็นประเด็นที่ได้รับความวิตกกังวลในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเล

แปรรูป เหตุการณ์ล่าสุดยิ่งทำให้สถานการณ์ดูแย่ลง

ขณะที่ส่วนใหญ่ของเรือประมงดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและปฏิบัติเป็นไปตามเงื่อนไขและ

มาตรฐานที่เหมาะสม แต่มีอีกหลายคนที่มีส่วนร่วมในการกระทำที่ผิดกฎหมายรวมทั้งการปฏิบัติที่ไม่

เหมาะสมกับลูกจ้างของพวกเขา หรือแม้แต่บางคนได้มีส่วนร่วมในการค้ามนุษย์

การตกปลาที่มากเกินไปทำให้อุปทานของปลาธรรมชาติลดลง การแข่งขันหาปลาที่มากขึ้นและการ

เพิ่มขึ้นของการทำฟาร์มเลี้ยงปลาและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และจำนวนปลาธรรมชาตินั้นได้รับความ

เสียหายจากการประมงที่ผิดกฎหมาย

กฎระเบียบไม่เพียงพอในการตรวจสอบเรือประมงที่จดทะเบียนและมี “เรือผี” หลากหลายลำ ที่ลอย

อยู่เหนือน่านน้ำและหาปลาอย่างผิดกฎหมายในทะเลที่ไกลออกไป ซึ่งสภาพการทำงานของแรงงานนั้น

เลวร้ายลงเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดการค้ามนุษย์เพื่อรองรับความต้องการของแรงงาน

การปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับ

การเป็นทาสแรงงานขัดหนี้ มีการปฏิบัติที่คลายคลึงกับการตกเปนทาส ในอุตสาหกรรมประมงหลายคน

อาจมีภาวะหนี้ที่ตองชดใช ยกตัวอยางเชน เมื่อพวกเขาไดเขาทําขอตกลงกับนายหนา พวกเขา

จะตองจายเงินคาจางชดเชยภาวะหนี้ดังกลาว

คาใชจายลวงหนา (เปนคาใชจายที่หักออกจากเงินเดือนลวงหนาของแรงงาน) โดยจะจายให

กับผูเสียหายกอนขึ้นเรือประมงและมุงหนาไปยังทะเล เรียกวา “คาเย็บเรือ” และมักจะใชเงิน

ดังกลาวเพื่อเปนคาใชจายในการออกทะเลและนําฝากเงินใหกับครอบครัวของผูเสียหายบนฝง

บางครั้งผูเสียหายจะตองทํางานชดเชยเงินดังกลาวเปนเวลาหลายเดือนกอนท่ีจะไดรับคาจาง

ที่เหลือ ในบางกรณีอาจจะตองทํางานเปนเวลานานหลายปโดยไมไดรับเงินเดือน

การเอาลงเป็นทาสหรือ

การกระทำเสมือนทาส

หรือบังคับให้บริการ

“... สถานะหรือเงื่อนไขของ

บุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า

หรือพยายามใช้อำนาจในก

ารเป็นเจ้าของเหนือบุคคล

อื่น"

อนุสัญญาว่าด้วยเรื่องทาส

ค.ศ. 1926 แก้ไขเพิ่มเติม

ค.ศ. 1955

การตกเปนทาสสามารถเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมประมง โดยเฉพาะเมื่อมีนายหนา ผูเปนธุระ

จัดหาหรือเจาหนาที่รัฐที่คอรรัปชั่น ที่เกี่ยวของในการ “ซื้อ” หรือ “ขาย” บุคคล

หรือมีการขมขูบุคคลเพื่อแสดงความเปนเจาของ การตกเปนทาสมีความเกี่ยวพันในความ

สัมพันธระหวางผูเสียหายและผูกระทําความผิด และมีผลอยางมากกับสภาพการทํางานของ

บุคคลนั้นๆ

Page 44: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

39การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การลดแรงงานไทยในอุตสาหกรรมประมงได้เพิ่มอุปทานของแรงงานข้ามชาติที่มีความเสี่ยงจากประเทศ

เพื่อนบ้าน ลูกเรือประมงส่วนใหญ่มักเป็นชาวเมียนมาร์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และสปป. ลาว

การเคลื่อนย้ายไปมาของผู้ขอลี้ภัยในปี 2558 ส่งผลให้พวกเขาตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

จำนวนมาก ประกอบกับมีเครือข่ายอาชญากรรมองค์กรที่เจริญเติบโตมากขึ้น

หลายคนอาจตกเป็นผู้เสียหายของการถูกค้ามนุษย์และถูกนำเข้ามาบังคับใช้แรงงานในอุตสาหกรรม

ประมงด้วยวิธีการที่หลากหลาย นายหน้าเป็นธุระจัดหาผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายในอุตสาหกรรมประมงโดย

การหลอกลวงพวกเขาให้เดินทางจากบ้านมาเพื่อโยกย้ายถิ่นฐานหางานทำ และพวกเขาอาจมีหนี้ที่

เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นเพื่อผูกมัดไว้ให้ทำงาน และยังอาจถูกลักพาตัวและบังคับให้ทำงานอีกด้วย

หลายคน - รวมทั้งผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา - ถูกขายให้กับอุตสาหกรรมประมงโดยเครือข่ายของพวกลักลอบ

ค้ามนุษย์และองค์กรอาชญากรรมอื่นๆ ซึ่งรวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ทุจริต หลายคนถูกทรมานและถูกเรียกค่า

ไถ่ในค่ายกักกันในป่าก่อนที่จะถูกขายให้กับอุตสาหกรรมประมง

ผู้มีบทบาทหรือาชญากรหลายคนมีส่วนรวมในการกระทำความอาชญากรรมดังกล่าว การทุจริต

คอร์รัปชั่นมีบทบาทสำคัญในปัญหาดังกล่าวนี้

การให้ความสนใจด้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

การค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทยส่งผลเสียต่อประเทศในหลายๆ ด้าน รวมถึงการแพร่กระจาย

ของอาชญากรรมและการทุจริตคอร์รัปชั่นและส่งผลต่อความเสียหายของชื่อเสียงในระดับนานาชาติ

ของเศรษฐกิจไทยและความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาว

ได้มีความสนใจในประเด็นปัญหานี้ในบริบทระหว่างประเทศเกี่ยวกับการตอบสนองของไทยในการแก้ไข

ปัญหาการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงซึ่งเป็นผลมาจากรายงานของสื่อชื่อดังในหลายปีที่ผ่านมา

เจาะลึกในสภาพการทำงานในอุตสาหกรรมประมงและอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป ชี้ชัดว่าการค้า

มนุษย์เพื่อบังคับใช้แรงงานได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สภาพการทำงานเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยาก มีความ

อันตรายและผู้ที่ถูกบังคับให้ทำงานนั้นไม่มีโอกาสได้พักผ่อน มีอาหารระบบการสุขาภิบาลที่ไม่เพียงพอ

การโจมตีและการฆาตกรรมแรงงานหลายคนได้กระทำขึ้นในทะเลและหลายกรณีก็ยังไม่ได้รับการ

ดำเนินคดีตามกฎหมาย

การค้ามนุษย์เพื่อการบังคับใช้แรงงานปรากฏในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล อาชญากรรมดังกล่าว

นี้มักมีผู้เสียหายเป็นผู้หญิง แต่มีผู้ชายและเด็กด้วย

ผู ้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลมักเป็นแรงงานต่างชาติ

แต่คนไทยก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

ผู้บริโภคต่างประเทศเริ่มให้ความสนใจที่จะพิสูจน์ว่าห่วงโซ่อุปทานของตนได้หลีกเลี่ยงที่จะใช้ผลิตภัณฑ์

ที่มีการแสวงหาประโยชน์จากคนหรือไม่ ได้มีกฎหมายในหลายประเทศที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันการ

นำเข้าอาหารทะเลจากประเทศที่มีการแสวงหาประโยชน์จากแรงงาน

การประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่มีการรายงานและไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อกฎหมาย (IUU) จะไม่เหมือน

กับการค้ามนุษย์ แต่ทั้งสองอย่างมีความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน การค้ามนุษย์อาจอยู่ในบริบทของ

การจับปลาแบบ IUU ก็ได้

Page 45: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

40การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกใบเตือนสีเหลืองในไทยและกำลังพิจารณาจะให้ใบแดง ในขณะที่องค์การ

ต่างๆ หลายแห่งกำลังรณรงค์ให้ไทยถูกออกใบแดง ซึ่งนั่นหมายถึงจุดจบของการส่งออกอาหารทะเล

แปรรูปของไทย

การลักลอบค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทยถือเป็นประเด็นปัญหาที่ได้รับความสนใจเป็นลำดับแรก

จากรัฐบาล และเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในภาคส่วนจังหวัดก็มีความสำคัญในความพยายามนี้

องค์ประกอบของการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง:

หลากหลาย “การกระทำ” อาจก่อให้เกิดการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง โดยรวม สถานการณ์

การค้ามนุษย์ประกอบด้วยการกระทำที่ผสมผสานกันหลายประการ แม้จะไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์การ

กระทำใดการกระทำหนึ่งเพื่อระบุความผิดในการค้ามนุษย์ก็ตาม

ผู้เสียหายอาจถูกจัดหาระหว่างอยู่ในประเทศหรือที่ตั้งต้น หรือระหว่างการเคลื่อนที่เพื่อโยกย้าย

ถิ่นฐานหรือระหว่างขนส่งเดินทางตลอดเส้นทาง

นายหน้าอาจเกี่ยวข้องในการขนผู้เสียหายทั้งตลอดเส้นทางหรือบางช่วงของเส้นทาง

นายหน้าอาจนำพาผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไปยังนายหน้าอีกคนหนึ่งหรือพาขึ้นเรือประมง

และกัปตันเรืออาจเป็นผู้นำพาผู้เสียหายข้ามไปยังเรืออีกลำหนึ่งก็ได้

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อาจถูกนำพาไปพักอาศัยระหว่างสถานที่ต่างๆ ในเส้นทาง เช่นบ้าน

ของผู้ลักลอบขนแรงงาน ในโกดังแวร์เฮาส์ ในคาราโอเกะหรือบนเรือ บางครั้งผู้เสียหายอาจ

ถูกขับหรือถูกคุมตัวหรือกักตัวภายใต้การควบคุมของยามที่มีอาวุธครบมือ

เจ้าของเรืออาจรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์มาจากท่าเรือก็ได้

ผู้ค้ามนุษย์ได้ใช้ความหลากหลายของ “วิธีการ” ในการดึงผู้เสียหายเข้าสู่อุตสาหกรรมประมง บางวิธี

ไม่แข็งกร้าว (เช่น การล่วงละเมิดผู้ที่มีความเปราะบางหรือการหลอกลวง) ในขณะที่บางวิธีมีความ

รุนแรง (เช่น การใช้กำลังหรือการลักพาตัว) อย่างไรก็ตาม วิธีการที่ไม่แข็งกร้าวอาจมีความยากลำบาก

กว่าในการระบุและพิสูจน์ความผิด

นายหน้าที่เป็นธุระจัดหา กัปตันเรือและคนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ อาจข่มขู่หรือใช้

กำลังกับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เพื่อให้ปฏิบัติตามคำสั่ง

การข่มขู่บังคับหลากหลายรูปแบบอาจนำมาใช้กับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ซึ่งรวมถึงการ

เป็นแรงงานขัดหนี้ หรือการยึดหนังสือเดินทางหรือเอกสารแสดงตนของผู้เสียหาย

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อาจถูกลักพาตัว ตัวอย่างเช่น การถูกวางยาและการถูกพาไปที่

เรือประมง

การหลอกลวงเป็นรูปแบบการจัดหาแรงงานตามปกติ เมื่อใดที่ผู้เสียหายได้รับการเสนองาน

ประเภทหนึ่ง แต่กลับต้องทำงานจริงๆ ในอีกสภาวะหนึ่งหรือเงื่อนไขในการทำงานที่สัญญาไว้

กลับไม่เป็นไปตามตกลง

แรงงานในสถานการณ์ที่ไม่ปกติจะมีความเสี่ยงสูงในการตกเป็นผู้เสียหาย ความเปราะบาง

ดังกล่าวถูกละเมิดโดยผู ้ค้ามนุษย์ที ่จะนำพาผู ้เสียหายไปยังสถานการณ์ของการแสวงหา

ประโยชน์หรือการกักขังผู้เสียหายเอาไว้ และยังมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น และ

เจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ได้ใช้อำนาจของตัวเองในการสร้างผลกำไรจากการแสวงหาประโยชน์ของ

ผู้เสียหายในการค้ามนุษย์

Page 46: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

41การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การขายหรือการซื้อคนในธุรกิจค้ามนุษย์เกิดขึ้นเมื่อเงินได้เปลี่ยนมือไปเมื่อมีการนำพาคนเข้าสู่

อุตสาหกรรม เมื่อบุคคลจำต้องชำระ “ราคาที่ตั้ง” ของตัวเองเอาไว้ เขาอาจต้องอยู่ใน

สถานการณ์ที่ตกเป็นแรงงานขัดหนี้

วัตถุประสงค์หลักของการค้ามนุษย์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมประมงคือการบังคับค้าแรงงานหรือการให้

บริการ อย่างไรก็ตาม บางรูปแบบของการแสวงหาประโยชน์อาจเกิดขึ้น

มีหลายกรณีที่แรงงานตกอยู่ในสถานการณ์ของการแสวงหาประโยชน์ทางเพศบนเรือประมงไทย

การบังคับใช้แรงงานถือเป็นรูปแบบหลักของการแสวงหาประโยชน์ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม

ประมงไทย

การตกเป็นทาสหรือการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันอาจพบเจอในอุตสาหกรรมประมงไทย ตัวอย่างเช่น

ผู้เสียหายที่อยู่ในสถานการณ์เป็นแรงงานขัดหนี้อาจทำให้ผู้แสวงประโยชน์ได้รับผลกำไรจำนวน

มาก

การต่อสู้กับการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทยถือเป็นความสำคัญลำดับต้นๆ ของรัฐบาลไทย

คำถามเพื่อการทบทวน

อธิบายเหตุผลว่าเหตุใดการค้ามนุษย์สำหรับการบังคับใช้แรงงานจึงเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมประมง

ใครเป็นผู้ถูกแสวงประโยชน์ในอุตสาหกรรมประมง? และเหตุใดบุคคลเหล่านี้จึงมีโอกาสในการตกเป็น

เหยื่อ?

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ได้เข้าสู่กระบวนการเป็นธุระจัดหาหรือเข้ามาสู่อุตสาหกรรมประมงได้

อย่างไร?

อธิบายถึงสถานการณ์ที่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ต้องประสบในอุตสาหกรรมประมง

ให้อธิบายถึงผู้มีบทบาทที่เป็นอาชญากรและเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างการจับปลาแบบ IUU และการค้ามนุษย์?

เหตุใดองค์กรสิทธิมนุษยชนและกลุ่มทางสังคมต่างๆ จึงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการตอบสนองต่อ

อุตสาหกรรมประมงแบบ IUU ของไทย?

เหตุใดการจับปลาแบบ IUU และการค้ามนุษย์เพื่อบังคับแรงงานในอุตสาหกรรมประมงจึงส่งผล

กระทบในทางลบต่อไทย?

ให้อธิบายถึงองค์ประกอบที่จะต้องนำมาพิจารณาในกรณีที่บุคคลมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

ประมงหรือไม่.

ให้นำเสนอตัวอย่างของ “การกระทำ” สำคัญที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการค้ามนุษย์.

ให้นำเสนอตัวอย่างของ “วิธีการ” ที่ได้มีการใช้ในการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

อธิบายถึงประเภทของการแสวงหาประโยชน์ของผู้เสียหายการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงที่

เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติค้ามนุษย์ให้อำนาจใดแก่เจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ เมื่อมีความสงสัยได้

ว่าอาจเกิดการค้ามนุษย์ขึ้น?

Page 47: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

42การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การดำเนินคดี

การป้องกัน

การคุ้มครอง

บทที่ 3 : การคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

การคุ้มครอง ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่ได้รับการคุ้มครอง

ช่วยเหลืออย่างพอเพียงจะอยู่ในสถานะที่สามารถขอรับความช่วย

เหลือได้ดีที่สุดในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การดำเนินคดี

กับผู้ค้ามนุษย์และการป้องกันการค้ามนุษย์ในอนาคต

การดำเนินคดี การสืบสวนและการดำเนินคดีการค้ามนุษย์จะได้

รับการสร้างเสริมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อผู้ปฏิบัติสามารถ

ระบุถึงตัวอย่างที่สามารถเป็นพยานในคดีได้ มีข้อมูลและหลักฐาน

ในการดำเนิน คดีผู้ค้ามนุษย์อย่างเพียงพอ การป้องกัน การคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์มีความจำเป็นในการป้องกันและปราบปรามการ

ค้ามนุษย์ ในป้องกันการค้ามนุษย์นั้น จะต้องหาเหตุหลักของปัญหา กลุ่มคนที่ตกอยู่ในความเสี่ยง

เพื่อดำเนินการป้องกันการค้ามนุษย์ต่อไป

โอกาสและความท้าทายในคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

เจ้าหน้าที ่บังคับใช้กฎหมายอาจจะต้องพบเจอผู ้เสียหายจากการค้ามนุษย์ตั ้งแต่ขั ้นตอนแรกๆ

ซึ่งถูกล่วงละเมิดในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป อาจจะมีบางคนที่กล้าจะบอกว่าตนเองคือ ผู้เสียหายจาก

วัตถุประสงค์ของบทเรียน:

เพื ่อแนะนำให้ผ ู ้อบรมเข้าใจถึงหลักการและขั ้นตอนในการคัดแยกผู ้ เส ียหายจากการค้ามนุษย์

ในอุตสาหกรรมประมง

วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้:

เมื่อเสร็จสิ้นบทเรียน ผู้อบรมจะสามารถ:

ระบุถึงหลักการสำคัญและขั้นตอนในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ในอุตสาหกรรมประมง

ไทย

ระบุถึงตัวบ่งชี้หลักของการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

อธิบายถึงความท้าทายในการดำเนินการสัมภาษณ์เหยื่อการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงและ

แนะนำมาตรการในการดำเนินการ

นำเสนอตัวอย่างของหลักฐานและการประยุกต์ใช้ข้อสันนิษฐานที่ว่าคนเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์

3.1 หลักการ ความท้าทายและขั้นตอนในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

หลักการในการคัดแยกผู้เสียหาย

การคัดแยกผู้เสียหายถือเป็นรากฐานที่สำคัญในการตอบสนองกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ เพื่อให้

บรรลุเป้าหมายในการคุ้มครอง การดำเนินคดี และการป้องกันการค้ามนุษย์

Page 48: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

43การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การค้ามนุษย์ ซึ่งพบได้น้อยมาก พบว่าบ่อยครั้งที่มักจะมีผู้แจ้งหรือนำผู้เสียหายมาส่งให้ตำรวจ และบ่อยครั้ง

เช่นกันที่ตำรวจเข้าบุกจับเนื่องจากพบเหตุการณ์ที่ต้องสงสัยว่าอาจจะมีการแสวงหาประโยชน์หรือการค้า

มนุษย์เกิดขึ้น หรืออาจจะพบว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ แต่เป็นการประมงที่ผิดกฏหมาย ในสถานที่

ดังต่อไปนี้

ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-เรือออก บนฝั่ง หรือบนเรือประมงหรือแรงงานประมง

บนเรือประมงไทยในน่านน้ำไทย(ดูแลจัดการโดยศูนย์ PIPO)

บนเรือประมงไทยที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในน่านน้ำไทยโดยทีมสหวิชาชีพของศูนย์สั่งการต่อต้านการ

ประมงผิดกฎหมาย (CCCIF) ของกองทัพเรือ

การตรวจค้นการจัดตั้งโรงงานในการผลิตอาหารทะเลแปรรูปเช่น โรงงานปอกกุ้ง

การคัดแยกผู้เสียหายมีความท้าทายอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้เสียหายไม่ให้ความร่วมมือ และมีความ

แตกต่างทางภาษาที่จำเป็นต้องใช้ล่ามในการสัมภาษณ์ บางรายหลักฐานอาจสูญหาย ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้

เอง จึงไม่สามารถระบุตัวผู้เสียหายได้ทั้งหมด ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างเสริมความสามารถในการคัดแยก

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายจะต้องเข้าใจว่าเหตุใดผู้เสียหายจึงไม่แสดงตนว่า

ตัวเองเป็นผู้เสียหายหรือเข้าใจว่าตัวเองตกเป็นผู้เสียหาย ซึ่งอาจจะมีปัจจัยดังต่อไปนี้เป็นเหตุผลร่วม ได้แก่

ความสัมพันธ์กับผู้ค้ามนุษย์ ผู้เสียหายอาจมีความเกี่ยวพันกันกับผู้ค้ามนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกใน

ครอบครัวเพราะผู้ค้าได้สร้างความสัมพันธ์แบบมีอำนาจควบคุมเหนือตัวผู้เสียหาย ผู้เสียหายอาจจะเชื่อ

คำพูดในทางลบที่ผู้ค้ามนุษย์ได้พูดให้ฟังเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ

ความรู้สึกกลัวว่าจะถูกคุกคามและแก้แค้นจากผู้ค้ามนุษย ์ ผู้เสียหายอาจกลัวว่าผู้ค้ามนุษย์จะทำร้าย

ตนและครอบครัวหากตนถูกระบุว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และยังขาดความเชื่อมั่นว่ากระบวน

การยุติธรรมทางอาญาจะปกป้องพวกเขาได้หากแสดงตัวออกมาว่าเป็นผู้เสียหาย

การขาดแรงจูงใจ ผู้เสียหายโดยเฉพาะที่เดินทางเข้าเมืองแบบไม่ปกติ มักจะมีความหวาดกลัวว่า

การระบุตัวตนของตัวเองอาจจะทำให้ถูกกักกัน หรือส่งกลับเนื่องจากตนเองไม่มีสถานะในประเทศนั้น

หากขอรับการช่วยเหลือและคุ้มครองจากรัฐ อาจจะทำให้ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ บางคนอาจมี

แรงจูงใจเพียงเล็กน้อยในการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ หรือบางคนอาจจะพิจารณาว่าการทนอยู่ในกระบวน

การแสวงหาประโยชน์เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในขณะนั้น

ความอับอายและตราบาปในชีวิต ผู้เสียหายโดยเฉพาะที่เดินทางเข้าเมืองแบบไม่ปกติ มักจะมีความ

หวาดกลัวว่า การระบุตัวตนของตัวเองอาจจะทำให้ถูกกักกัน หรือส่งกลับเนื่องจากตนเองไม่มีสถานะ

ในประเทศนั้น หากขอรับการช่วยเหลือและคุ้มครองจากรัฐ อาจจะทำให้ไม่สามารถทำงานต่อไปได้

บางคนอาจมี แรงจูงใจเพียงเล็กน้อยในการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ หรือบางคนอาจจะพิจารณาว่าการทน

อยู่ในกระบวน การแสวงหาประโยชน์เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในขณะนั้น

ในบริบทของอุตสาหกรรมการประมง ผู้เสียหายบางรายอาจจะดูเหมือนแรงงานทั่วไป ไม่เหลือผู้ที่ถูก

แสวงหาประโยชน์ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้พบผู้เสียหายเป็นคนแรกจะต้องทำความเข้าใจ สังเกตุเพื่อส่งข้อมูล

ต่อให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายที่จะพิจารณาเป็นรายกรณีให้ละเอียดยิ่งขึ้น

Page 49: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

44การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ขั้นตอนในการคัดแยกผู้เสียหาย

แรงงานที่เข้ามาสู่กระบวนการคัดแยก อาจจะไม่ใช่ผู้เสียหายทั้งหมด และพบว่ามีบางส่วนที่ยังไม่

สามารถคัดแยกตัวได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฏหมายนั้นไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ หรือข้อมูลบางส่วนมีผล

ให้เกิดการคัดแยกผิดพลาด และระบุได้ว่าเป็นแรงงานที่ลักลอบเข้าเมืองเท่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการคัดแยก

ผู้เสียหายเช่น ตัวชี้วัด หรือแบบคัดกรองผู้เสียหาย มีความสำคัญอย่างมากต่อการคัดแยกผู้เสียหาย แต่ทักษะ

และความเป็นมืออาชีพของเจ้าหน้าที่ จะทำให้การคัดแยกผู้เสียหายนั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง ขั้นตอนหลักที่

สำคัญในการคัดแยกผู้เสียหาย ได้แก่

ขั้นตอน 1: การคัดกรองโดยการสัมภาษณ์แบบใช้ตัวชี้วัด

การสัมภาษณ์นี้เป็นขั้นตอนแรกของการคัดแยกผู้เสียหาย จะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ได้พูดคุยกับผู้ที่

คาดว่าจะเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ได้มีการส่งตัวผู้เสียหายมาให้ตำรวจ ในขั้น

ตอนนี้อาจจะคัดแยกผู้เสียหายได้โดยการประเมินเบื้องต้นโดยใช้ ตัวชี้วัด

ขั้นตอนที่ 2: การสัมภาษณ์โดยใช้การคัดแยกผู้เสียหายในขั้นตอนแรก

ขั้นตอนที่ 2 ต่อเนื่องจากการสัมภาษณ์ขั้นตอนแรก โดยเจ้าหน้าที่คัดแยกอาจมีข้อสงสัยว่าบุคคล

ที่ให้สัมภาษณ์มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นผู้เสียหายเมื่อประเมินเบื้องต้นโดยใช้ตัวชี้วัดแล้ว ในขั้นตอนนี้อาจจะ

มีข้อจำกัดในส่วนของสถานที่ เวลาที่สามารถใช้ได้ และความร่วมมือของผู้ถูกสัมภาษณ์

ขั้นตอน 3: วัตถุพยานและการตัดสินใจขั้นตอนสุดท้าย

ในขั้นตอนสุดท้ายของการคัดแยกผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่จะต้องรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

ทั้งหมดที่มี เพื่อนำมาพิจารณาในการตัดสินใจ วัตถุพยานดังกล่าวอาจเป็นบันทึกต่างๆ ของรายได้และ

หลักฐานของสภาพการทำงานและการถูกปฏิบัติของผู้เสียหาย เป็นต้น

3.2. ขั้นที่ 1: การใช้ตัวชี้วัดจากการสัมภาษณ์เบื้องต้น

เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายมีหน้าที่ที่จะพิจารณาสถานการณ์แวดล้อมต่างๆ ของบุคคล และนำมา

พิจารณา ชั่งน้ำหนักว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์หรือไม่ ขั้นตอนแรกในการคัดแยกต้อง

เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการถามคำถามเฉพาะใดๆ

ในขั้นตอนนี้ ผู้บังคับใช้กฎหมายจะดำเนินการคัดกรองขั้นแรกโดยการใช้ “ตัวชี้วัด” การคัดแยก

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และสถานการณ์ค้ามนุษย์จะได้รับการช่วยเหลือโดยการใช้ “ตัวชี้วัด” ตั้งแต่เริ่มแรก

ของการสัมภาษณ์ ในขั้นนี้ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จะถูกคัดแยกว่าอยู่ในขั้นตอนการแสวงหาประโยชน์

หรือไม่ ดังนั้น ตัวชี้วัดเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากในขั้นตอนนี้

ตัวชี้วัดมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากผู้เสียหายไม่กี่คนที่จะเดินก้าวออกมาและบอกว่าพวกเขา

เป็นผู้เสียหาย บางคนไม่อยากให้เจ้าหน้าที่ระบุว่าตนเป็นผู้เสียหาย และไม่ยอมที่จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่

ดังนั้นตัวชี้วัดถือเป็น แนวทางและวิธีการแก่เจ้าหน้าที่ในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไม่ว่าเขาจะ

Page 50: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

45การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ไม่ใช้ความร่วมมือในระหว่างการสัมภาษณ์ก็ตาม การทำความเข้าใจกับข้อจำกัดของตัวชี้วัดจึงมีความสำคัญ

บางตัวชี้วัดสามารถใช้ระบุเจาะจงได้อย่างชัดเจน แต่บางตัวก็ไม่ชัดเจนและไม่เกี่ยวพันกับบริบทนั้นๆ ดังนั้นจะ

ต้องใช้ตัวชี้วัดหลายตัวเพื่อนำมาพิจารณาประกอบกัน ว่าเป็นการค้ามนุษย์หรือไม่ กล่าวไดว่า ตัวชี้วัดนั้น

เป็นเพียงแนวทางในการพิจารณาเบื้องต้นเพื่อที่จะสอบสวนให้ละเอียดลึกต่อไป

อายุ บุคคลที่อยู่ในอายุระหว่างที่ระบุในวิธีการล่าสุดที่ใช้โดยผู้ค้ามนุษย์

การลักลอบค้ามนุษย์เพื่อแสวงประโยชน์ทางเพศจะมีผู้เสียหายที่อายุน้อยเพื่อตอบสนอง

ความต้องการของผู้ซื้อบริการ

การลักลอบค้ามนุษย์เพื่อบังคับใช้แรงงานและนำคนตกลงเป็นทาสและการปฏิบัติที่ใกล้

เคียงกันนั้นจะเกี่ยวข้องกับผู้เสียหายที่มีอายุน้อย และการคัดเลือกบุคคลที่สามารถ

ทำงานแบบอดทนและทำตามความต้องการ

การลักลอบค้ามนุษย์เพื่อบังคับใช้แรงงานในโรงงานนรก ทำงานเป็นแม่บ้านและขอทาน

ซึ่งรวมถึงผู้เสียหายที่เป็นเด็ก ผู้สูงอายุและผู้เสียหายที่พิการ

เพศ ความเกี่ยวพันของเพศผู้เสียหายขึ้นอยู่กับประเภทของการแสวงหาประโยชน์

ในการแสวงหาประโยชน์จากการค้าแรงงาน งานที่ต้องใช้แรงงานและความแข็งแรงทาง

ร่างกาย เช่น ในอุตสาหกรรมประมงมักจะส่งผลกระทบกับเพศชายมักกว่าเพศหญิง

ในทางกลับกัน งานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการแปรรูปอาหารทะเลอาจเกี่ยวพันกับ

เพศหญิงมากกว่าเพศชาย

การแสวงหาประโยชน์ทางเพศมักเกี่ยวพันกับเพศหญิงเนื่องจากต้องใช้ผู้หญิงเพื่อตอบ

สนองและบริการความต้องการของผู้ชาย ถึงแม้การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในกลุ่ม

วัยรุ่นและเด็กชายที่เด็กลงจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นก็ตาม การที่พบเจอผู้หญิงหรือเด็กหญิงบน

เรือประมงอาจเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่ามีการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเกิดขึ้น

สัญชาติและภาษา ผู้เสียหายอาจจะมาจากเมืองที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศต้นทางของการ

กระทำความผิด

โรฮิงยามาจากเมียนมาร์และบังคลาเทศ รวมถึงจากกัมพูชาอินโดนีเซียและประเทศ

ไทยที่ได้ตกเป็นผู้เสียหายของอุตสาหกรรมประมงไทย

ห่วงโซ่อุปทานของผู้เสียหายขึ้นอยู่กับการแสวงหาประโยชน์จากปัจจัยหลายประการที่

ผสมผสานกัน เช่น ความยากจน การถูกเหยียดหยามหรือความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

และการขาดซึ่งโอกาสทางสังคม

โรฮิงยามักถูกเหยียดหยามจากคนในประเทศของตน ซึ่งรวมถึงในประเทศที่ตนเดินทางไป

ด้วย และมักตกเป็นผู้เสียหายของการแสวงหาประโยชน์

ผู้เสียหายอาจไม่สามารถพูดภาษาของประเทศที่ตนเดินทางมาทำงาน แต่จะพูดภาษา

ของประเทศตนเอง

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จำนวนมากในอุตสาหกรรมประมงไม่สามารถพูดภาษาไทยได้

แต่พูดภาษาพม่า โรฮิงยา เขมรและบาฮาซาอินโดนีเซีย

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผู้เสียหายบางคนอาจครอบครองเอกสารบัตรประชาชนและหรือเอกสารเดินทางจาก

ประเทศที่มีการกระทำความผิด

Page 51: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

46การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ผู้เสียหายอาจขาดบัตรประจำตัวประชาชน และ/หรือเอกสารที่ใช้ในการเดินทาง เนื่องจาก

เอกสารดังกล่าวอาจถูกยึดหรือถูกเก็บโดยผู ้ค้ามนุษย์เพื ่อเป็นกลไกในการควบคุม

ผู้เสียหาย

กัปตันเรืออาจจะเป็นผู้ครอบครองเอกสารที่ระบุตัวตน เอกสารรับรองทำงานและเอกสาร

ในการเดินทางของผู้เสียหายค้ามนุษย์

บุคคลอาจมีเอกสารปลอม ทั้งบัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตทำงานและเอกสาร

เดินทาง

เอกสารของชาวประมงอาจถูกทำขึ ้นปลอมหรือมีการปลอมแปลงเอกสารขึ ้นมา

เพื่อทำให้แรงงานข้ามชาติสามารถทำงานได้อย่าง “ถูกกฎหมาย” ของชาวประมงบนเรือ

ประมง

บุคคลอาจอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นแรงงานไม่ปกติ/อยู่ในสถานะมีที่พำนักอาศัย

การเคลื่อนย้าย ในกรณีที่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ถูกล่วงละเมิดในระหว่างเดินทางมากกว่า

ในระว่างการแสวงหาประโยชน์ ตัวชี้วัดเหล่านี้อาจมีความเกี่ยวข้อง

บุคคลอาจเผชิญหน้ากับสถานการณ์ค้ามนุษย์ระหว่างเส้นทางการเดินทาง

บุคคลอาจใช้ผู้ลักลอบขนหรือจ้างบริษัทขนที่คาดว่ามักมีการกระทำความผิดในการค้า

มนุษย์

บุคคลอาจเดินทางไปกับบริษัทของบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายคนอื่นๆ ผู้ค้า

มนุษย์หรือลักลอบขนแรงงานข้ามชาติในลักษณะที่เป็นความผิดในการค้ามนุษย์

บุคคลดังกล่าวอาจจะไม่รู้จักบุคคลที่เขาและเธอเดินทางมาด้วย

บุคคลอาจดูเสมือนว่าตกอยู่ภายใต้การควบคุมของคนที่เขาอยู่ด้วย

กระเป๋าของบุคคลดังกล่าวและสิ่งที่ครอบครองไม่สอดคล้องกับคำให้การของพวกเขา

บุคคลดังกล่าวมีความสับสนเกี่ยวกับเส้นทางการเดินทางของเขา รวมถึงจุดหมาย

ปลายทางและวัตถุประสงค์ในการเดินทาง

สถานที่ที่ผู้เสียหายให้การถึงมีความสอดคล้องกับสถานที่ที่เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย

มีอยู่แล้ว

พฤติกรรม

บุคคลอาจมีความก้าวร้าวเวลาตอบคำถามหรืออีกกรณีหนึ่งคือทำตัวต้องสงสัย

บุคคลอาจดูมีความหวาดกลัว โกรธ น่าสงสัยและมีความซึมเศร้า

บุคคลอาจรู้เหมือนมีการเตรียมคำตอบมาเป็นอย่างดีหรือมีบุคลิกที่เหมือนท่องจำ

ร่องรอยของการถูกล่วงละเมิด:

อาจมีร่อยรอยการถูกล่วงละเมิด รวมถึงการทำร้ายร่างกาย การขาดอาหาร การขาด

การรักษาทางการแพทย์และการได้รับการดูแลสุขภาพหรือมีความบอบช้ำทางจิตใจ

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์บนเรือประมงอาจจะถูกปฏิบัติอย่างโหดร้ายทารุณและอาจจะ

มีรอยแผลเป็นตามร่างกายหรือบาดเจ็บ

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อาจมีความเจ็บป่วยและบาดเจ็บและยังมิได้รับการรักษา

บุคคลอาจรู้สึกขัดขืนที่จะเล่าให้ฟังถึงบาดแผลหรืออาการบาดเจ็บดังกล่าว

Page 52: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

47การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

บุคคลอาจรู้สึกวิตกกังวล ซึมเศร้า ก้าวร้าว หวาดกลัว ตึงเครียด ตื่นเต้น และกังวล

ตลอดเวลา

บุคคลอาจแสดงสัญญาณของการดื่มหรือติดสุรา มีการพึ่งพาแอลกอฮอลล์หรือมีการดื่ม

เป็นปกติ

มีกรณีที่การค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงที่ผู้เสียหายได้รับยาเสพติดเพื่อให้เสพจน

สามารถทำงานในระยะเวลาที่ยาวนานได้

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในเรือประมงอาจประสบกับภาวะทุพโภชนาการ มีสุขอนามัย

ที่ไม่ดี อันเนื่องมาจากความขาดแคลนเมื่อต้องอาศัยอยู่ในเรือ

ตัวชี้วัดดังกล่าวสามารถทำความเข้าใจได้เพิ่มเติมโดยได้รับข้อมูลเพิ่มจากองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือผู้มี

บทบาทที่ได้มีการส่งต่อผู้เสียหายให้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ สถานการณ์ดังกลาวจะต้องมี การพิจารณาในบริบท

ของความรู้ท้องถิ่นและการมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของกลุ่มค้ามนุษย์

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ 'วิธีการ' ของผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ค้ามนุษย์

ความหมายที่ระบุในพิธีสารการต่อต้านการค้ามนุษย์ เป็นตัวบ่งชี้ถึงการค้ามนุษย์ แม้ว่า “วิธีการ”

จะไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญในความผิดฐานค้ามนุษย์ในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นเด็ก แต่ความหมายอาจเป็นตัว

ชี้ชัดได้ว่าเป็นการค้ามนุษย์หรือมีความเกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์หรือไม่

การข่มขู่หรือการใช้กำลัง

บุคคล (หรือครอบครัวของเขา) อาจถูกข่มขู่ว่าจะใช้กำลังหรือใช้ความรุนแรง

บุคคลที่ถูกคุกคามด้วยสภาวะการใช้ชีวิตที่ย่ำแย่หรือสภาพการทำงานที่เสื่อมโทรมหรือ

ถูกส่งตัวไปยังเจ้าหน้าที่

บุคคลดังกล่าวแสดงอาการทางร่างกายและจิตใจ หรือบาดแผลทางจิตใจ หรือการถูก

คุกคามทางเพศ/ถูกข่มขืน

การบังคับ

บุคคลดังกล่าวมีปัญหาทางครอบครัวหรือความยากลำบากทางเศรษฐกิจ

บุคคลดังกล่าวอาจมีสถานะของแรงงานชั่วคราว หรือเป็นแรงงานที่ไม่มีเอกสารรับรอง

เอกสารของบุคคล เงินหรือสิ่งที่ได้ครอบครองเป็นเจ้าของจะถูกยึด

บุคคลอาจเข้าสู่ภาวะหนี้สินที่ไม่ยุติธรรม

บุคคลถูกแยกเดี่ยว กักกัน และ/หรือ อยู่ภายใต้การเฝ้าดูและกำกับดูแล

วัฒนธรรมส่วนบุคคลและความเชื่อทางศาสนาถูกขัดขวาง

การฉ้อโกง/การหลอกลวง:

บุคคลอาจได้รับข้อมูลเท็จหรือข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวข้องกับประเด็นดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองหรือกลุ่มเป้าหมาย

เงื่อนไขการเดินทางหรือการจัดหาแรงงาน

Page 53: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

48การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

เงื่อนไขการจ้างงานรวมทั้งประเภท การจ่ายเงิน สภาพการทำงาน ค่าจ้าง รายได้

หรือกำไรที่ได้รับ

การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ที่อยู่อาศัย และสถานที่หรือสภาพความเป็นอยู่

เอกสารของบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมาย สถานการณ์ย้ายงาน หรือการทำสัญญา

กฎหมาย ทัศนคติหรือการดำเนินการของหน่วยงานกับตัวแรงงานเอง

อนาคตในการสนับสนุนและ / หรือการเป็นหนึ่งเดียวกันกับสมาชิกในครอบครัว

การละเมิดอันเนื่องมาจากความเปราะบาง

บุคคลจะถูกละเมิดได้จากประเด็นดังต่อไปนี้

ปัญหาเศรษฐกิจ สภาพจิตใจ สภาพทางอารมณ์ และความสัมพันธ์ส่วนบุคคล

ด้านเอกสารการย้ายถิ่นฐานของแต่ละบุคคลและหรือสถานะที่เกี่ยวข้อง

ด้านสังคม วัฒนธรรมหรือการแตกต่างทางภาษาของแต่ละคน

การว่างงานของแต่ละบุคคลหรือความยากจน อดอยากทางเศรษฐกิจ

บุคคลที่มีความบกพร่องทางจิตหรือมีความพิการ

อายุของแต่ละบุคคล (หนุ่มสาวหรือผู้สูงอายุ) เพศ รสนิยมทางเพศ สัญชาติ เชื้อชาติ

หรือชาติกำเนิดและความพิการ

อายุของบุคคล (หนุ่มสาวหรือผู้สูงอายุ) เพศ รสนิยมทางเพศ สัญชาติ เชื้อชาติ

หรือชาติกำเนิดและความพิการ

ความเชื่อทางวัฒนธรรมหรือศาสนา พิธีกรรมหรือการปฏิบัติต่างๆ

การใช้ยาเสพติดหรือการพึ่งพาแอลกอฮอล์หรือการติดแอลกอฮออล์

การละเมิดอันเนื่องมาจากความเปราะบาง

บุคคลอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมหรือให้หรือรับของขวัญแก่บุคคล

ที่สาม

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับสภาพของสถานที่ที่พบบุคคล

เงื่อนไขของสถานที่หรือทำงานได้ เช่น บนเรือประมงหรือโรงงานแปรรูปอาหารทะเล และการเตรียมการ

ไม่ว่าจะพร้อมใช้งานหรือไม่ จะเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการค้ามนุษย์

การชำระเงินและสัญญา:

บุคคลดังกล่าวจะถูกห้ามมิให้ครอบครองเงินหรือฝากเงิน

บุคคลดังกล่าวได้รับค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้รับค่าจ้างเลย

บุคคลได้รับเงินตอบแทนน้อยกว่าที่ได้มีการสัญญาหรือต่ำกว่ามาตรฐานเงินเดือนขั้นต่ำ

การหักเงินที่มากเกินกว่าเงินเดือนส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงเงินที่ต้องชำระหนี้สิน

การถูกปฏิเสธผลประโยชน์และการคุ้มครองทางสังคมที่เขาหรือเธอมีสิทธิตามกฎหมายที่

จะได้รับ

บุคคลไม่ได้ลงนามในสัญญาเมื่อมาถึงในประเทศที่ตั้งใจเดินทางมา/ หรือมิได้มีการลง

นามตั้งแต่เริ่มการจ้างงาน

Page 54: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

49การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

นายจ้างไม่สามารถแสดงหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้างให้กับพนักงาน

บุคคลดังกล่าวถูกปลดออกโดยไม่มีเหตุแจ้งให้ทราบล่วงหน้าและ / หรือไม่มีเงินชดเชย

ตอบแทน

สุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน

บุคคลไม่ได้รับการจัดหาความปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ในการป้องกัน

ภัยอื่น ๆ เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์หรือการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยที่กำหนด

บุคคลดังกล่าวได้รับอาหารที่ไม่มีคุณภาพ อาหารต่ำกว่ามาตรฐานและแสดงให้เห็น

สัญญาณของการขาดสารอาหาร

บุคคลดังกล่าวถูกปฏิเสธการเข้าถึงการรักษาพยาบาลหรือได้รับการดูแลทางการแพทย์ที่

ต่ำกว่ามาตรฐาน

บุคคลดังกล่าวทำงานเป็นเวลานานมากเกินไป/ ทำงานในเวลาที่เกินกว่าปกติ

บุคคลดังกล่าวมีเวลาพักผ่อนน้อยหรือมีเวลาว่างน้อย

บุคคลดังกล่าวถูกลงโทษ/ ถูกค่าปรับสำหรับความล้มเหลวที่ไม่สามารถทำตามเกณฑ์

โควต้าได้

ข้อจำกัดในการเดินทางและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต่ำกว่ามาตรฐาน

มีสัญญาณว่ามีการถูกคุมขังในสถานที่ทำงานหรือสถานที่อื่น ๆ

บุคคลดังกล่าวไม่มีพื้นที่ส่วนตัวหรือมีแต่ไม่เพียงพอ

บุคคลถูกกักขังหรือถูกปฏิเสธการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

บุคคลต้องหลับพักผ่อนที่ทำงาน

บุคคลดังกล่าวถูกปฏิเสธการเข้าถึงการสื่อสารต่างๆ

บุคคลดังกล่าวไม่สามารถความครอบครองหนังสือเดินทาง ใบอนุญาตทำงาน หรือ

เอกสารแสดงตนและ/หรือเอกสารที่ถูกยึดโดยนายจ้างหรือบุคคลอื่น

3.3. ขั้นที่ 2: การสัมภาษณ์เพื่อคัดแยกผู้เสียหายที่อาจตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์

ขั้นตอนที่สองในการพิสูจน์ตัวตนมีความเกี่ยวพันกับการให้สัมภาษณ์ครั้งแรกกับเจ้าหน้าที่บังคับใช ้

กฎหมายที่สงสัยว่าผู้ให้สัมภาษณ์อาจเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ในการนี้ผู้ที่สัมภาษณ์จะต้องใช้แบบ

ฟอร์มในการคัดแยกผู้เสียหายของไทย (แบบสัมภาษณ์เบื้องต้นเพื่อคัดแยกผู้เสียหายค้ามนุษย์) โดยสรุป

แบบฟอร์ม นี้มีขั้นตอนดังนี้

Page 55: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

50การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

แบบสัมภาษณ์เบื้องต้นสำหรับคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

ข้อมูลผู้ถูกสัมภาษณ์

ข้อมูลของผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่น ชื่อ รูปพรรณ ชื่อสกุลบิดามารดา หมายเลขเอกสารเดินทางและบัตรประจำตัว

วิธีการหรือช่องทางที่ใช้เดินทางเข้าออกประเทศไทย และอื่นๆ

ข้อเท็จจริงจากการสัมภาษณ์

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเดินทาง และการชักชวนผู้เสียหาย เช่น เหตุผลในการเดินทาง วิธีการเดินทาง

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และอื่นๆ

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพของผู้ถูกสัมภาษณ์ และการปฏิบัติที่ได้รับระหว่างการเดินทางหรือ ณ สถานที่

ที่พบผู้เสียหาย (เช่น สถานที่ทำงาน)

ข้อเท็จจริงอื่นที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ให้

การตีความข้อเท็จจริงทางพฤติการณ์

“การกระทำ” ผู้ถูกสัมภาษณ์ถูกกระทำในลักษณะใด ถูกจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก ส่งไปยังที่ใด

หน่วงเหนี่ยว กักขัง จัดให้อยู่อาศัย รับไว้

“วิธีการ” ผู้ถูกสัมภาษณ์ถูกกระทำในลักษณะใด ข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง

หรือใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือมีการให้เงินหรือผลประโยชน์แก่ผู้ดูแล

จุดประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์ จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่สื่อลามก การแสวงหา

ประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาลงเป็นทาส นำมาขอทาน บังคับใช้แรงงานหรือบริการ บังคับ

ตัดอวัยวะเพื่อการค้า หรือการขูดรีดรูปแบบอื่น

จากพฤติการณ์ข้างต้น แบบสัมภาษณ์นี้จะช่วยให้ผู้สัมภาษณ์เลือกลงความเห็นว่า

ผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่ใช่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

ผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

ผู้ถูกสัมภาษณ์อาจเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ควรจัดให้มีการคุ้มครองเบื้องต้นและตรวจสอบอีกครั้ง

ผู้ถูกสัมภาษณ์ให้ความยินยอมที่จะรับความคุ้มครองและ/หรือให้ข้อมูลเพิ่มเติม

ผู้ถูกสัมภาษณ์ปฏิเสธที่จะรับความคุ้มครองและ/หรือให้ข้อมูลเพิ่มเติม ให้เจ้าหน้าที่ใช้มาตรา 29 ของ

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551

ข้อเสนอแนะและข้อสังเกตอื่นๆ

ข้อเสนอแนะในการให้ความคุ้มครอง และข้อสังเกตอื่นๆ

1.

2.

3.

4.

2.1

2.2

2.3

3.1

3.2

3.3

รูปแบบการคัดกรองผู้เสียหายของประเทศไทยสามารถนำมาใช้ในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้า

มนุษย์เครื่องมือนี้เหมาะสำหรับการใช้งานในการสัมภาษณ์เพื่อคัดกรองเบื้องต้น จากนั้นจะเป็นกระบวนการ

สัมภาษณ์เชิงลึกและการสืบสวนเพิ่มเติม เพื่อนำไปสู่กระบวนการในชั้นศาล แบบฟอร์มการคัดกรองได้ลงมติ

รับรองโดยคณะกรรมการประสานงานและตรวจสอบการทำงานในการต่อต้านการค้ามนุษย์ (คณะกรรมการ

CMP) ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และได้มีการส่งมอบให้กับผู้มีบทบาททั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อ

จัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ ในทุกจังหวัดของประเทศไทย

Page 56: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

51การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ความบอบช้ำคืออะไร

ความบอบช้ำเป็นสภาพที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งต้องประสบกับประสบการณ์ที่เลวร้าย ผู้เสียหาย

อาจจะไม่เข้าใจ ไม่มีเหตุผลและไม่ยอมรับ ประสบการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อตัวผู้เสียหายทำให้ปฏิเสธ

สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง และแม้แต่คิดว่าอาจจะเกิดขึ้นกับคนอื่นแทนที่ ความบอบช้ำอาจส่งผลที่แตกต่างกัน

ต่อความจำของบุคคลดังกล่าว

ผู้เสียหายอาจจะรอดพ้นจากประสบการณ์บอบช้ำดังกล่าวในหลากหลายแนวทาง ซึ่งรวมถึงการทำ

ทุกสิ่งอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทำร้ายหรือความรุนแรง (ยกตัวอย่างเช่น ยอมทำตามคำสั่งที่นายจ้างสั่ง

ทุกประการ) และมีความเคยชินที่จะต้องขออนุญาตจากผู้ค้ามนุษย์ก่อนจะทำอะไรก็ตาม รวมถึงการปฏิเสธ

การให้ข้อมูลต่างๆด้วย หรือบางคนอาจจะ แสดงอาการเฉยชา เมื่อต้องพูดถึงประสบการณ์เดิมๆ ซึ่งทำให้

พวกเขารู้สึกราวกับกำลังกลับมามีประสบการณ์แบบเดิมๆ อีกครั้ง ผลกระทบของความบอบช้ำอาจคงอยู่

กับบุคคลนั้นตลอดชั่วชีวิตของเขา

ความบอบช้ำดังกล่าวสร้างความท้าทายแก่เจ้าหน้าที่ในการพยายามคัดแยกผู้เสียหายที่มีความ

บอบช้ำ ผู้เสียหายอาจปฏิเสธที่จะร่วมมือ ปฏิเสธว่าตนเองเป็นผู้เสียหายหรือแม้แต่หลีกเลี่ยงที่จะจดจำ

ประสบการณ์นั้น ผู้สัมภาษณ์จะต้องสร้างความมั่นคงทางจริงจังให้แก่ผู้เสียหายและให้ความช่วยเหลือเขา

และเธอก่อนการสัมภาษณ์ทุกครั้ง

แบบคัดกรอง จะเป็นแนวทางให้แก่เจ้าหน้าที่ ในเรื่องของ ประเภทของข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการคัดแยก

ได้อย่างถูกต้อง แบบคัดกรองนี้มีความยาว 6 หน้า เจ้าหน้าที่จะต้องใช้ทักษะอย่างมากในการสอบถามตาม

ประเด็นดังกล่าว และจะมีความท้าทายอย่างมากหากนำไปใช้คัดกรองบนเรือประมง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ที่ผู้นำไปใช้จะต้องมีความคุ้นเคยกับแบบคัดกรองนี้อย่างดี เพื่อการนำไปใช้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เนื่องจากเมื่อมีการคัดกรองและคัดแยกแล้ว จะต้องมีการประสานงานส่งต่อ สิ่งที่สำคัญสูงสุดคือ การมี

ข้อมูลที่เพียงพอและมากที่สุดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เสียหาย และผู้เสียหายจะได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่าง

เหมาะสม

ปัจจัยท้าทายสำคัญในการสัมภาษณ์เพื่อคัดแยกผู้เสียหาย

ในการดำเนินการสัมภาษณ์ผู้สัมภาษณ์จะมีปัจจัยหลายอย่างที่ก่อให้เกิดความท้าทาย นอกจากข้อ

จำกัดด้านเวลา ภาษาและปฏิกิริยาของผู้เสียหายแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น

อุปสรรคทางภาษาและวัฒนธรรม ยกตัวอย่างในกรณีที่เจ้าหน้าที่ที่สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ได้

พูดภาษาเดียวกันและไม่เข้าใจวัฒนธรรมของกันและกัน

ประเด็นปัญหาทางเพศ เช่น ผู้หญิงอาจรู้สึกไม่สบายใจที่คนสัมภาษณ์จะเป็นผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

เมื่อมีความอ่อนไหวจากการถูกทำร้ายทางเพศและอาจจะรู้สึกหวาดกลัวในสถานการณ์ดังกล่าว

บุคคลที่ถูกสัมภาษณ์อาจจะไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่สัมภาษณ์ อาจจะทำตัวเป็นศัตรูกับเจ้า

หน้าที่ ทำตัวน่าสงสัยและไม่ไว้วางใจเจ้าหน้าที่หรืออาจจะรู้สึกหวาดกลัวเกินไปหรือบอบช้ำเกินไปที่จะ

สื่อสาร ความรู้สึกเหล่านี้อาจจะเป็นผลมาจากประสบการณ์ในแง่ลบในอดีตของพวกเขากับตำรวจหรือ

เพราะสิ่งที่ผู้ค้ามนุษย์ได้บอกพวกเขาเกี่ยวกับตำรวจ

Page 57: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

52การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

นอกจากนี้ อาจจะมีความท้าทายกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มากขึ้น เช่น :

ผู้สัมภาษณ์อาจจะไม่ได้มีข้อมูลเพียงพอในการตั้งคำถามการสัมภาษณ์

อาจจะมีสิ ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอในการที ่จะดำเนินการสัมภาษณ์โดยเฉพาะอย่างยิ ่ง

ในกรณีที่การสัมภาษณ์จะเกิดขึ้นบนเรือประมง

แรงกดดันด้านเวลาอาจเกิดขึ้น หมายความว่าผู้สัมภาษณ์ไม่ได้มีเวลาเพียงพอที่จะดำเนินการสัมภาษณ์

อย่างถูกต้องหรือสร้างความไว้วางใจและสานสัมพันธ์กับผู้ให้สัมภาษณ์

พื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการสัมภาษณ์อาจจะก่อให้ได้รับข้อมูลการสัมภาษณ์ที่ไม่มีประโยชน์ ตัวอย่างเช่น

การสัมภาษณ์ที่เกิดขึ้นในที่ที่กัปตันเรือหรือคนอื่นที่อยู่บนเรือจะสามารถเห็นได้ชัดเจนบนเรือประมงอาจ

ทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์ถูกตอบโตหรือแก้แค้นได้

ความท้าทายในการสัมภาษณ์เพื่อคัดแยกผู้เสียหาย

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ที่ทำการสัมภาษณ์จะต้อง ไม่ทำร้าย ผู้ให้สัมภาษณ์ จะต้องไม่ทำร้าย

ผู้ให้สัมภาษณ์หรือทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์รู้สึกว่าตนถูกคุกคามและจะต้องมีทัศนคติที่ถูกต้องและแนวทางการ

สัมภาษณ์ที่เหมาะสมในระหว่างกระบวนการสัมภาษณ์ต่างๆ ตลอดการสัมภาษณ์

ในขั้นต้น ผู้สัมภาษณ์จะต้องสร้างความมั่นใจ และให้คนที่ให้สัมภาษณ์เชื่อใจและเคารพ และจะต้อง

ไม่มีการตัดสินบุคคลดังกล่าวจากการตอบสนองของเขา จะต้องมั่นใจได้ว่าความเชื่อและความไว้วางใจนั้นได้

ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา แม้จะมีเวลาเพียงจำกัด ผู้สัมภาษณ์จะต้องใช้เวลาที่มีอยู่น้อยนิดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เพื่อทำความเข้าใจผู้ที่มีโอกาสตกเป็นผู้เสียหายและสร้างเสริมความเชื่อใจ ยิ่งสร้างความเชื่อใจได้มากเท่าไหร่

บุคคลที่ให้สัมภาษณ์จะยิ่งตอบคำถามมากที่สุด สิ่งที่สำคัญที่ผู้สัมภาษณ์จะต้องจำไว้คือ ผลกระทบของความ

บอบช้ำและความจริงที่ผู้เสียหายต้องประสบและผู้เสียหายจะระบุถึงผู้ลค้ามนุษย์เพื่อให้สามารถรอดพ้นจาก

ปัญหาดังกล่าวและปฏิเสธว่าพวกเขามิใช่ผู้เสียหาย ในสถานการ์ณ์นั้นๆ ผู้สัมภาษณ์ควรจะทำให้แน่ใจได้ว่า

การปฏิเสธจะไม่กระทบต่อการระบุตัวตนเชิงบวกของผู้เสียหายเอง

ดังนั้น การเตรียมบุคลากรที่จะเป็นผู้ติดต่อกับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

บุคคลนั้นจะต้องมีทักษะทางภาษาและวัฒนธรรมเดียวกับผู้เสียหาย เพื่อให้สามารถพร้อมสัมภาษณ์ในตั้งแต่

ต้นของการพบเจอ และเมื่อเป็นไปได้ ควรจะมีคู่หูที่สามารถให้การสนับสนุนผู้เสียหายในระหว่างขั้นตอนการ

คัดแยกผู้เสียหายโดยคู่หูดังกล่าวจะต้องรวมถึง

ล่าม ในกรณีที่บุคคลถูกสัมภาษณ์ไม่สามารถพูดภาษาไทย จะต้องมีการจัดเตรียมล่ามไว้

ที่ปรึกษา ในกรณีที่อาจมีหลายคนที่ถูกสัมภาษณ์รู้สึกบอบช้ำ ควรมีการจัดที่ปรึกษาซึ่งเป็นนักจิตวิทยา

ที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นอย่างดีไว้

ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย หน่วยงานที่สนับสนุนผู้เสียหายอาจจัดเตรียมที่ปรึกษาด้านกฎหมายเพื่อ

สนับสนุน ผู้เสียหาย เพื่อทำความเข้าใจและอธิบายให้ทราบถึงโอกาสและทางเลือก

ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก ควรมีบุคคลที่ 3 เช่น ญาติหรือครู ตามบทที่ 3 ในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก

(2546) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการป้องกันและการให้ความช่วยเหลือเด็ก ตามมาตรา 32 เด็กที่ควร

ได้รับความช่วยเหลือด้านสวัสดิภาพสังคมนั้นรวมถึงเด็กที่ถูกแสวงประโยชน์ เด็กที่ถูกล่วงละเมิด หรืออยู่

ภายใต้เงื่อนไขที่อาจทำร้ายเด็กได้

Page 58: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

53การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

หากการสัมภาษณ์ได้ยึดตามคำแนะนำข้างต้น มีความเป็นไปได้สูงที่ว่าผู้ให้สัมภาษณ์จะให้ข้อมูลที่

สำคัญที่เป็นประโยชน์ในการคัดแยกผู้เสียหาย

การจัดเตรียมการสัมภาษณ์

การจะเริ่มต้นกระบวนการสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่จะต้องจัดเตรียมสิ่งเหล่านี้

1. สภาพแวดล้อม:

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นที่ดำเนินการสัมภาษณ์จะต้องเป็นพื้นที่ปิดและมีความเป็นส่วนตัว ซึ่งจะไม่มี

ผู้ใดสามารถเข้ามารบกวนหรือได้ยินการสัมภาษณ์ได้ ประตูควรมีการติดป้ายว่า ห้ามรบกวนหรือ

มีมาตรการใดๆ เพื่อให้สามารถป้องกันการรบกวนได้ และต้องมิให้กัปตันเรือหรือคนที่อยู่บนเรือ

เจ้าหน้าที่เรือหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระดับสูง ของโรงงานอาหารทะเลแปรรูปสามารถเข้ามาสังเกตการ

สัมภาษณ์ได้

จัดหาล่ามแปลในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่เข้าใจภาษาไทย หากล่ามมืออาชีพไม่มีหรือไม่สามารถหาได้

ให้หาบุคคลอื่นที่สามารถพูดภาษาที่เหมาะสมได้ แต่บุคคลดังกล่าวไม่ควรจะเป็นบุคคลต้องสงสัยว่า

เป็นฝ่ายลักลอบค้ามนุษย์

ตรวจสอบให้มีบุคคลที่จำเป็นในการสัมภาษณ์อยู่ในห้องเท่านั้น โดยให้มีบุคคลอื่นที่จำเป็นร่วมการ

สัมภาษณ์ด้วย เช่น ล่าม บุคคลที่มีคุณสมบัติในการสนับสนุนด้านกฎหมายและที่ปรึกษาด้านจิตวิทยา

2. การแนะนำตัว:

ผู้นำการสัมภาษณ์ควรแนะนำตัวเองให้กับผู้ให้สัมภาษณ์และอธิบายบทบาทอย่างชัดเจน

ผู้ทำการสัมภาษณ์ควรแนะนำบุคคลอื่นที่อยู่ในสถานที่นั้นด้วย

3. การให้ความช่วยเหลือ

ผู้สัมภาษณ์ควรตรวจสอบอารมณ์ของผู้ถูกสัมภาษณ์อยู่เสมอ ว่าบุคคลดังกล่าวรู้สึกปลอดภัยหรือไม่

ต้องการน้ำ อาหาร หรือสิ่งอื่นหรือไม่

หากผู้ให้สัมภาษณ์รู้สึกมีความเจ็บป่วย หรือต้องการความช่วยเหลือจากแพทย์ แพทย์วิชาชีพควรดำเนิน

การตรวจบุคคลดังกล่าวและให้การรักษาก่อนจะสัมภาษณ์

หากมีข้อบ่งชี้ว่าผู้เสียหายอาจมีความเจ็บปวดจากความบอบช้ำ ผู้เสียหายควรจะถูกสัมภาษณ์โดย

นักจิตวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกาษา

4. การให้คำอธิบาย

การสัมภาษณ์ควรจะครอบคลุมประเด็นที่สำคัญดังนี้

วัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์คืออะไร

ผู้ให้สัมภาษณ์สามารถมีเวลาในการคิดและตอบคำถามและสามารถขอหยุดพักหากต้องการได้

บุคคลดังกล่าวสามารถถามคำถามเวลาใดก็ได้หรือขอความกระจ่างในทุกคำถามหรือขอคำถามให้ถาม

คำถามใหม่ได้

ผู้สัมภาษณ์ควรตรวจสอบว่าบุคคลดังกล่าวมีความเข้าใจคำอธิบายและถามข้อสงสัยได้หากเขาหรือ

เธอมีคำถาม ณ ขั้นตอนนี้ แต่อย่างไรให้ดำเนินการก่อนเริ่มสัมภาษณ์

Page 59: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

54การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติมเมื่อสัมภาษณ์เด็ก

ผู้สัมภาษณ์เด็กควรเป็นผู้ที่มีทักษะ หรือดำเนินการเมื่อมีนักจิตวิทยาเด็กหรือนักสังคมสงเคราะห์

เท่านั้น เด็กอาจมีความบอบช้ำโดยเฉพาะเมื่อถามคำถามที่ไม่เหมาะสม

คำถามจะอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดโดยการตั้งคำถามควรตั้งอยู ่บนความเชื ่อพื ้นฐาน

ที่ว่าบุคคลที่ถูกกระทำอาจเป็นเด็กและเด็กอาจจะเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ไม่ควรมีคำถามใดๆ เพิ่มเติม

จากที่นอกเหนือจากที่จำเป็น และคำถามที่กำหนดมาจากสมมุติฐานสองประการจะถามก็ต่อเมื่อมีความ

ช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่มีสองข้อหลักจะต้องถามในกรณีที่ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องการระบุว่าเด็ก

เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์หรือไม่

อายุ ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าเป็นเด็กหรือไม่ (ตัวอย่างเช่น กรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นวัยรุ่นตอนกลางถึง

ตอนปลาย และเป็นผู้ที่ไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะให้ชื่อและอายุ) ควรสันนิษฐานว่าบุคคลนั้นเป็นเด็กและ

ให้ปฏิบัติเฉกเช่นเด็กจนกว่า จะทราบอายุ และเจ้าหน้าที่ควรจะจำกัดคำถามของตัวเองเพื่อให้ได้มาซึ่ง

ข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอตามอายุของเด็กที่กำหนดให้ดำเนินการปฏิบัติการ

สถานะของผู้เสียหาย ในทุกกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นเด็กและเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ หรือ

บุคคลดังกล่าวถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เจ้าหน้าที่ควรจะจำกัดคำถามของ

ตัวเองและลงรายละเอียดสั้นแต่กระชับว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อระบุถึงสถานการณ์

เฉพาะที่เกิดขึ้นกับเด็ก

หากเจ้าหน้าที่สงสัยว่า บุคคลดังกล่าวเป็นเด็กที่ถูกค้ามนุษย์ ขั้นตอนที่ต้องทำ คือ

ทำให้มั่นใจว่าเด็กมีความปลอดภัยโดยนำออกมาจากสถานที่ที่อาจเป็นอันตราย

ดำเนินการเคลื่อนย้ายเด็กที่ตกเป็นผู้เสียหายไปยังที่ที่ปลอดภัยและมีความเหมาะสม

ดำเนินการแจ้งปลัดกระทรวงและผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อจะได้ดำเนินการประสานความร่วมมือด้าน

สวัสดิการเด็กกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง โดยรวมการปกป้องและดูแลความปลอดภัยของเด็กตามมาตรา

5 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

ตัวอย่างคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์

ตารางต่อไปนี้ เป็นกลุ่มคำถามตัวอย่าง ซึ่งเป็นคำถามทั่วไปสามารถปรับใช้ได้ตามบริบท คำตอบ

ทั้งหมดจะต้องนำมารวมและประกอบกัน โดยนำมาพิจารณาร่วมกับตัวชี้วัดในขั้นตอนที่ 1 เพื่อดำเนินกรอก

แบบฟอร์มคัดกรองให้เสร็จสิ้น ผู้สัมภาษณ์จะต้องทำความเข้าใจกับประเภทของคำถามที่มีประโยชน์ในการ

คัดกรองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และปรับคำถามให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์เฉพาะและผู้ให้

สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล

คำถามต่อไปนี้จะถูกนำเสนอเป็นตัวอย่างของคำถามหลักที ่ใช้ในขั ้นตอนที่แตกต่างกันของการ

ค้ามนุษย์และสามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของการสัมภาษณ์

Page 60: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

55การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

คำถาม รายละเอียดขยายความคำตอบ

การจัดหา:

เหตุใดท่านจึงเดินทางจากบ้านมาที่นี่

ท่านถูกบังคับให้ออกจากประเทศหรือไม่ หากใช่ ใคร

เป็นคนบังคับท่านและเพราะเหตุใด

หากท่านไม่ได้ถูกบังคับให้มา ใครเป็นคนชักชวนให้มา

ที่นี่

ท่านได้บอกใครว่าท่านจะเดินทางไปที่ไหน และท่านจะ

มาทำอะไรที่นี่หรือไม่

ท่านได้บอกใครเกี่ยวกับเงินเดือนของท่าน สภาพชีวิต

และสภาพการทำงานให้คนอื่นทราบหรือไม่ หากบอก

ท่านได้บอกอะไรบ้าง

ท่านได้เซ็นชื่อในสัญญาใดๆ หรือไม่

ผูเสียหายจากการคามนุษยหลายคนในอุตสาหกรรม

ประมงกลายเปนถูกละท้ิงในประเทศไทยระหวาง

เดินทางจะไปมาเลเซีย

ในคดีลักลอบขนคนเขาเมือง แรงงานขามชาติมักเสาะ

หาผูลักลอบขนคนเขาเมือง ในขณะที่คดีคามนุษย ผูคา

มักเปนผูเริ่มดําเนินการติดตอโดยตรงหรือกระทําผาน

เครือขายสวนบุคคลหรือครอบครัวหรือผานผูเสียหาย

โดยการตอบรับผานทางแบบฟอรมการสมัครงานท่ี

โฆษณาโดยผูลักลอบคา

ในกรณีของการแสวงหาประโยชนในอุตสาหกรรม

ประมง บุคคลอาจไดรับการคัดเลือกที่สถานีขนสงรถ

หรืออาจสงผานจากผูลักลอบโดยตรงไปยังนายหนาคา

มนุษย

ถึงแมวาการบังคับจะเปนรูปแบบหน่ึงใชการแสวงหา

เหยื่อในเฉพาะบางกรณีเทานั้น แตบางกรณีผูเสียหาย

จากการคามนุษยอาจถูกลักพาตัว การลักพาตัวถือเปน

ตัวชี้วัดการคามนุษยที่มีความชัดเจน

เอกสารที่ใช้ในการเดินทางและการระบุตัวตน:

ท่านได้ใช้เอกสารแสดงตนหรือเอกสารเดินทางระหว่าง

การเดินทางหรือไม่่

ท่านได้เอกสารเหล่านี้มาได้อย่างไร มีคนอื่นดำเนินการ

ให้หรือมีคนช่วยท่านหรือไม่

ท่านได้รับวีซ่าเพื่อเดินทางมาที่นี่หรือไม่ หากใช่ มีคน

ช่วยเหลือท่านหรือไม่

ท่านต้องจ่ายเงินเพื่อค่าเอกสารใดๆ หรือไม่ หากใช่ใคร

เป็นผู้บอกให้ท่านต้องจ่าย

ท่านมีเอกสารเดินทางหรือเอกสารบัตรประชาชนหรือไม่

หากไม่ ใครมี และเพราะเหตุใด

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต การขนสงผูเสียหายที่ถูก

ลักลอบมามักเก่ียวของกับการขามแดนแบบแอบแฝง

และอาจตองใชท้ังเอกสารจริงหรือมีการใชเอกสารเท็จ

หรือแมแตปลอมเอกสารขึ้นมา

มีเอกสารตัวอยางของชาวประมงท่ีไดมีการนํามาใช

อยางไมเหมาะสมเปนเอกสารเดินทางและเอกสาร

แสดงตน

การใชงานจุดขามพรมแดนท่ีเปนเสนทางลับและการใช

เอกสารเท็จหรือเอกสารทําปลอมถือเปนตัวชี้วัดของการ

คามนุษย หากเอกสารรวมถึงการขอวีซา จะเปน

ประโยชนท่ีจะรูวาบุคคลท่ีไดรับวีซาน้ันเปนเพราะพวก

เขาไดทําเองหรือมีคนอื่นทําให หากบุคคลดังกลาวได

จายเงินคาวีซาในราคาที่สูงกวาราคาจริง อาจเปนขอ

บงชี้ไดวาบุคคลดังกลาวถูกแสวงหาประโยชน

โปรดจําไววาผูเสียหายทุกคนไมไดเปนแรงงานขามชาติ

จากประเทศอื่นทั้งหมด แตผูเสียหายอาจเปนคนไทยที่

เดินทางมาจากภาคอื่นๆ ในประเทศไทย

การลักลอบคามักจะเก่ียวของกับการทําใหตกเปน

แรงงานขัดหนี้ ตัวอยางเชน บุคคลหนึ่งมักจะมีหนี้ที่เกิด

ข้ึนจากการเดินทางเขามาจากประเทศหน่ึงมาสูประเทศ

หนึ่งและจะตองชําระเงินระหวางเสนทางหรือเมื่อเดิน

ทางถึงประเทศจุดหมายปลายทาง

Page 61: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

56การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ในอุตสาหกรรมประมง ผูเสียหายจากการคามนุษยบาง

คนไดรับคาจางลวงหนาเพ่ือเอาไวสนับสนุนครอบครัวท่ี

อยู บนฝ งในขณะที่ตนเองจะตองเปนคนทํางานเพ่ือ

ชําระหนี้ดังกลาว ผูเสียหายอาจจะติดหนี้โดยการจาง

นายหนาเพื่อหางานใหตัวเองทํา การเกิดขึ้นของสัญญา

แรงงานขัดหน้ีถือเปนสัญญาณของการคามนุษยท่ี

เดนชัด

หากบุคคลดังกลาวไมมีเอกสารเปนของตัวเอง ควรให

อธิบายและสอบถามวาใครเปนผูท่ีมีเอกสารดังกลาว

และเพราะเหตุใด ผูเสียหายจากการคามนุษยมักจะไม

สามารถเก็บเอกสารเปนของตัวเองได กัปตันเรือประมง

มักจะยึดเอกสารของผูเสียหายเพ่ือควบคุมตัวผูเสียหาย

และลดโอกาสในการหลบหนี

การแสวงหาประโยชน์

ท่านต้องทำงานอะไรบ้างเมื่ออยู่ที่นี่

งานที่ทำอยู่แตกต่างจากงานที่ถูกแจ้งไว้ก่อนเดินทาง

มาหรือไม่

ท่านถูกบังคับให้ทำงานนี้หรืองานประเภทอื่นๆ

ที่แตกต่างกันออกไปหรือไม่ หากใช่ ใครบังคับ

ให้ท่านทำ

ท่านเริ่มทำงานนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่

การแสวงหาประโยชนคือวัตถุประสงคในการลักลอบคา

มนุษยและเปนตัวบงชี้หลัก แต การลักลอบขนคนขาม

ประเทศนั้นจะไมมีการแสวงหาประโยชนเกิดขึ้นใน

ประเทศปลายทางเนื่องจากผูลักลอบคนตองการไดรับ

ผลกําไรจากคาจางในการขน

การลักลอบคามนุษยมักเก่ียวของกับการหลอกลวงจาก

ฝงผูลักลอบคา ซึ่งอาจจะเปนการหลอกลวงแบบเต็มรูป

แบบ ตัวอยางเชน ตามลักษณะของการจางงานหรือ

เปนการหลวงลวงเพียงบางสวน เชน ตามสภาพการ

ทํางาน ผูเสียหายบางคนอาจรูวาตัวเองจะตองไปงาน

อะไรที่จะถูกแสวงหาประโยชน (ยกตัวอยางเชน ใน

อุตสาหกรรมประมง) แตอาจถูกหลอกลวงสภาพของ

งานหรือเงินที่จะไดรับ

ลําดับเหตุการณที่เกิดขึ้นเปนตัวบงชี้ว ามีการแสวง

หาประโยชน ในกรณีของการคามนุษยการแสวงหา

ประโยชนโดยทั่วไปจะเริ่มขึ้นอยางทันทีหรือโดยเร็วภาย

หลังจากที่เขาประเทศเพราะโดยเนื้อแทผูลักลอบคาตอง

การที่จะทํากําไรจากผู เสียหายโดยเร็วที่สุดเทาท่ีจะ

ทําได ถามีชองวางที่สําคัญของเวลาระหวางการเดิน

ทางเขาเมืองและการแสวงหาประโยชน อาจเปนไปได

ว าบุคคลดังกลาวไดเข าเมืองมาและนําพาไปกอน

จะไปสงยังงานที่มีการแสวงหาประโยชน ขึ้นอยูกับ

สถานการณ สถานการณดังกลาวอาจเปนคามนุษย

ภายใน

ค่าจ้างและการจ่ายเงิน

ท่านได้รับค่าจ้างสำหรับงานที่ทำอยู่หรือไม่

ผูเสียหายที่ถูกลักลอบคามนุษยมักจะไมมีโอกาสถือเงิน

ตัวเอง เงินดังกลาวอาจตองมาหักคาใชจายภายในหรือ

ถูกสงกลับไปยังครอบครัวในประเทศหรือประเทศตั้งตน •

Page 62: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

57การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

โดยสวนใหญแลว คนที่ลักลอบคามักจะครอบครองเงิน

ไดโดยรวมของผูเสียหายและอาจแบงใหผูเสียหายเปน

จํานวนเล็กนอยเพ่ือดํารงชีพหรือวัตถุประสงคเพ่ือสง

กลับบาน

ผูเสียหายบางคนอาจไมไดรับคาจาง หรือในกรณีที่ผู

เสียหายสามารถสงเงินกลับบาน อาจเกิดเหตุการณที่วา

ผูคามนุษยอาจตั้งบัญชีธนาคารปลอมๆขึ้นเพ่ือดึงเงิน

ดังกลาวเองแทนท่ีจะสงใหครอบครัวผูเสียหายและอาจ

นําเงินไปเพื่อวัตถุประสงคในการฟอกเงิน

สภาพการทำงาน

สภาพการดำรงชีวิตและสภาพทำงานของท่านเป็น

อย่างไร

ท่านสามารถเดินทางไปทุกที่ที่ต้องการไปหรือไม่

ท่านนอนหลับและทานข้าวที่ไหน

ท่านจะต้องขออนุญาตก่อนกิน

นอนหรือออกจากที่ทำงานท่านจากใครหรือไม่

ท่านเคยต้องอยู่โดยปราศจากอาหาร น้ำ

การนอนหลับหรือการดูแลรักษาจากแพทย์หรือไม่

ท่านต้องขออนุญาตจากใครก่อนกิน นอน

หรือออกจากที่ทำงานหรือไม่

ค่าจ้างและการจ่ายเงิน

ท่านได้รับค่าจ้างสำหรับงานที่ทำอยู่หรือไม่

ท่านได้รับค่าจ้างดังกล่าวไหม หากไม่เพราะเหตุใด

หรือหากถูกยึด ใครเป็นผู้ยึดเงิน

ท่านได้รับแจ้งว่าท่านติดหนี้หรือไม่ หากใช่ ท่านเคย

ได้รับแจ้งว่าจะไม่ได้รับการจ่ายค่าจ้างจนกว่าหนี้สิน

จะหมดหรือไม่

ในสภาพการทํางานท่ีไมมีมนุษยธรรมและมีขอจํากัด

เปนขอบงชี้วาสถานการณแบบน้ีมีความเปนไปไดสูง

วาเปนการคามนุษย

การควบคุมอยางตอเนื่องและการละเมิดผูเสียหายเปน

ตัวบงชี้ที่ชัดเจนวามีการคามนุษย ผูเสียหายจากการ

คามนุษยมักจะทํางานหนักเกินไป มีเสรีภาพในการ

เลือกเพียงนอยนิดหรือแทบไมมีเลยเมื่อพิจารณาจึง

ลักษณะของงานหรือบริการ

มักถูกลิดรอนเสรีภาพในการเดินทางและอาจถูกลงโทษ

อยางไมมีเหตุผล

ในโรงงานแปรรูปอาหารทะเล มีการรายงานวาสภาพ

ความเปนอยูคอนขางจะมีความยากลําบาก มีการ

รายงานวาแรงงานตองทํางานถึง 24 ชั่วโมงตอวัน

พักผอนนอยหรือบางรายไมไดพักเลย กินอาหารที่ไม

เพียงพอและไมมีนํ้าดื่มที่สะอาด มีรายงานวามีผูที่ปวย

บาดเจ็บท่ีไมไดรับการรักษาพยาบาลหรือถูกบังคับให

ยังคงทํางานอยู

• •

การได้รับการปฏิบัติ

ท่านเคยถูกข่มขู่หากท่านพยายามที่จะหนีหรือไม่

ท่านเคยได้รับบาดเจ็บทางกายในทางใดหรือไม่

ท่านหรือคนในครอบครัวท่านเคยถูกข่มขู่จะทำร้าย

หรือไม่

มีคนที่บังคับให้ท่านทำอะไรที่ท่านไม่ต้องการที่จะ

ทำหรือไม่

ผูที่ตกเปนผูเสียหายจากการคามนุษยอาจกลัวการตอบ

โตที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเองหรือครอบครัวของพวกเขาหาก

พยายามท่ีจะหลบหนีออกจากสถานการณดังกลาว

การคามนุษยอาจปลูกฝงความกลัวท่ีวาอาจมีอะไรเกิด

ขึ้นหากพวกเขาคิดจะไป เชน ถูกจับกุมและคุมขังหรือ

การกระทําอื่นๆที่กระทําโดยเจาหนาที่รัฐ ผูเสียหายบาง

คนอาจพยายามที่จะหลบหนีจากเรือประมงเพราะถูก

ทุบตี ทารุณกรรมหรือแมแตฆาตกรรม ลักษณะเฉพาะ

ดังกลาวนี้ เป นตัวชี้ วัดท่ีชัดเจนวาเปนสถานการณ

การคามนุษย

Page 63: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

58การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ท่านสามารถเข้าควบคุมที่เกิดเหตุ

ได้อย่างไร

ท่านจะดำเนินการอย่างไรเพื่อ

ควบคุมสถานที่เกิดเหตุ

ท่านต้องใช้ทรัพยากรอะไรใน

การควบคุมพื้นที่เกิดเหตุ

บางคนอาจไดรับการแตงตั้งใหดําเนินการควบคุมสถานท่ีเกิดเหตุโดยรวมที่รั

บผิดชอบในการบริหารจัดการและการบันทึกหลักฐานและปองกันการแทรก

แซงหรือ การหยุดชะงักลงของการดําเนินงาน บุคคลดังกลาวจะดําเนินการ

เพื่อใหแนใจวา บุคคลอื่นๆ จะไมเดินผานพื้นที่หรือเขามายุงเกี่ยวกับ

หลักฐาน

ในความเปนจริง สภาพของสถานที่ (เชน ที่ทาเรือและเรือประมง) อาจเปน

หลักฐานที่สามารถสูญหายไปโดยงาย อยางไรก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยง

ดังกลาว มีความจําเปนอยางยิ่งที่จะตองใหประชาชนตระหนักถึงความ

สําคัญของการใช หลักฐาน เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได ในการ

สืบสวนการคามนุษย สิ่งที่จําเปนคือ เพื่อรักษาความปลอดภัยของสถานที่

3.4. ขั้นที่ 3: การวิเคราะห์พยานแวดล้อมและการลงความเห็น

ในขั้นตอนสุดท้ายของการคัดแยกผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายได้เก็บรวบรวมข้อมูลหรือ

หลักฐานในการประสานเข้ากับข้อมูลบัญชีของผู้เสียหายเพื่อใช้ในการพิจารณาว่าจะช่วยเหลือหรือตัดสินใจ

อย่างไร วัตถุที่ใช้ในการรวบรวมหรือ “หลักฐาน” อาจรวมถึง

เอกสารที่ใช้ในการระบุตัวตน/เอกสารเดินทาง ตัวอย่างเช่น เอกสารอาจถูกผลิตมาปลอมหรือใช้ของ

ปลอมเพื่อให้แรงงานข้ามชาติ เสมือนเป็นลูกเรือ “ถูกกฎหมาย” บนเรือประมงไทยที่อยู่น่านน้ำต่างชาติ

หรือบุคคลดังกล่าวอาจจะมีการได้รับการช่วยเหลือจัดทำเป็นเอกสารต่างๆ ที่เป็นการยืนยันว่าบุคคล

ดังกล่าวมีสัญชาติไทยเพื่อให้ดูเป็นคนไทย

ใบอนุญาต ตัวอย่างเช่น ใบอนุญาตเรือประมงในประเทศอาจถูกปลอมแปลงเป็นเรือลำอื่น

ใบรับรองแพทย์ ใบรับรองแพทย์ที่รับรองการตรวจสุขภาพอันเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บหรือการส่งต่อ

การรักษา

สำเนาการจ้างงานและใบเสนอสมัครงาน เช่น สำเนาการจ้างงานแบบปลอมๆ หรือเอกสารการโฆษณา

ที่ใช้ในการรับสมัคร

สลิปบันทึกรายได้/ค่าจ้างหรือหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ เช่น การบันทึกชื่อผู้เสียหายไว้โดยผู้ค้ามนุษย์

หลักฐานหรือสภาพการทำงานหรือการปฏิบัติในการทำงาน เช่น มีการใช้ตัวล็อกกุญแจ โซ่หรือาวุธ

บนเรือประมงและสอดคล้องกับที่ผู้ให้สัมภาษณ์ได้ระบุไว้เมื่อตอนสัมภาษณ์หรือไม่

เอกสารที่เกี่ยวข้องหรือตั๋วเดินทาง อาจจะทำปลอมแปลงขึ้นมา (เอกสารต้นฉบับเดิมมีการเปลี่ยน

แปลง) หรือทำปลอมขึ้นมา

การค้ามนุษย์เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์ในอุตสาหกรรมประมงเป็นอาชญากรรมที่

มุ่งมั่นเพื่อผลกำไร การบังคับใช้กฎหมายควรพิจารณาถึงหลักฐานที่แสดงว่าพวกเขาแสวงหาประโยชน์จาก

ผู้เสียหาย ในการรวบรวมหลักฐานเพื่อวัตถุประสงค์ในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์โดยยืนยันบัญชี

ของผู้เสียหายว่าเกิดอะไรขึ้น โดยพิจารณาความเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

Page 64: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

59การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ท่านจะดำเนินการบันทึกหลักฐาน

ที่เกิดเหตุอย่างไร?

หลักฐานอะไรบ้างที่ท่านต้อง

ดำเนินการจัดเก็บ

ทรัพยากรอะไรที่ท่านจะต้อง

ดำเนินการจัดเก็บ บันทึก

ในที่เกิดเหตุ

ควรมีการแตงต้ังบุคคลขึ้นมาเพื่อดําเนินการบันทึกส่ิงท่ีเก่ียวของกับสถาน

ที่ทั้งหมดและเอกสารหลักฐานที่ไดมีการยึด บุคคลดังกลาวสามารถบันทึกวา

มีใครเขามาในที่เกิดเหตุบาง และออกจากที่เกิดเหตุเมื่อใด และดําเนินการ

ถายรูปและวีดีโอที่เกี่ยวของกับหลักฐาน เกิดอะไรขึ้นตั้งแตจุดแรกที่เดินทาง

มายังที่เกิดเหตุ

บันทึกดังกลาวจะตองมีรายการหลักฐานทุกรายการ (“หลักฐานแสดง”) ที่ถูก

ยึด หลักฐานดังกลาวมาจากที่ใด ใครเปนคนเก็บไว เก็บไวที่ใดและเพื่อ

วัตถุประสงคใด

การตรวจสอบพื้นที่

สถานที ่ที ่อาจพบหลักฐานเกี ่ยวกับการค้ามนุษย์เพื ่อวัตถุประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์ใน

อุตสาหกรรมประมง เช่น เรือประมง ท่าเรือ

การจัดตั้งอันเกี่ยวข้องกับการประมงและโรงงานผลิตอาหารทะเลแปรรูป เช่น โรงปอกกุ้ง เพื่อดำเนิน

การจัดเก็บหลักฐานเพื่อตรวจความสอดคล้องกับข้อมูลที่ผู้เสียหายให้ว่าเกิดอะไรขึ้นและการพิจารณาดังกล่าว

มีความเกี่ยวข้องอย่างไร

บันทึกว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้องในที่เกิดเหตุ

บันทึกสภาพของสถานที่ สภาพของเครื่องมือและเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ

หลักฐานว่าแรงงานอยู่กินอย่างไรทำงานที่ใดควรจะมีการบันทึกไว้

ขอเอกสารการจ้างงานแยกตามประเภท รวมถึงบัญชีรายชื่อการจ้างงาน

ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมประมงจะเป็นผู้บอกได้ว่าเอกสารใด หลักฐานใดที่จะต้องเรียกตรวจสสบอ

การตรวจสอบผู้ที่อาจตกเป็นผู้เสียหาย

เมื่อต้องเผชิญหน้ากับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ อาจพบความยากลำบากในการแยกแยะความ

แตกต่างระหว่างผู้เสียหายและผู้ต้องสงสัย ยกเว้นคนที่ถูกทำร้ายหรือได้รับบาดเจ็บถึงจะสามารถระบุได้ชัดเจน

ขึ้น แต่ในสถานการณ์อื่นๆ จะต้องมีการหาหลักฐานการยืนยันกับสิ่งที่ผู้เสียหายได้ให้สัมภาษณ์ เช่น เกิดอะไร

ขึ้น และการถูกแสวงประโยชน์เกิดขึ้นนานเท่าใด และนำมาระบุถึงความบาดเจ็บใดๆที่เกิดขึ้น ดูอายุของ

ผู้เสียหายและเชื่อมโยงหรือนำพาให้เขาไปยังสถานที่เฉพาะ หรือในกรณีของการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรม

ประมง อาจให้ผู้เสียหายระบุถึงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ตนเคยใช้ ดังนั้นจะต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ร่วมด้วย

จัดทำบันทึกรายละเอียดการแสวงประโยชน์ของผู้เสียหายตั้งแต่ช่วงแรก ที่ผู้เสียหายได้กล่าวถึง

หากได้รับการตรวจจากแพทย์จะเป็นประโยชน์ในการระบุการบาดเจ็บหรือผลกระทบทางกายภาพใน

ร่างกายจากการกระทำบางอย่าง

เจ้าหน้าที่สามารถจดบันทึก วาดภาพ หรือถ่ายภาพ สภาพร่างกายที่พบ โดยความยินยอมของผู้เสียหาย

แต่ต้องตระหนักว่ารูปภาพดังกล่าวจะต้องไม่แสดงภาพหน้าผู้เสียหาย เนื่องจากอาจส่งผลต่อความ

ปลอดภัยและลดแรงจูงใจที่จะร่วมมือของผู้เสียหาย และลดความสำเร็จของการสืบสวนคดีได้

การตรวจสอบเสื้อผ้าอาจเป็นประโยชน์ในการแสดงให้เห็นถึงความบาดเจ็บของผู้เสียหายโดยเทียบเคียง

กับที่ผู้เสียหายให้สัมภาษณ์ รวมถึงหลักฐานที่พบด้วยเช่นกัน

Page 65: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

60การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

เพื่อระบุตัวตนและอายุของบุคคลที่เชื่อว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เฉพาะบุคลากรสายการ

แพทย์ที่มีการอบรมมาอย่างดีจะเป็นผู้ดำเนินการตรวจร่างกาย (เช่น ตรวจฟัน) ผู้บังคับใช้กฎหมายควรจะเป็น

ผู้ดำเนินการประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของบุคคลและการตอบสนองต่อคำถามและเมื่อใด

ที่มีความสงสัยจะมีข้อสันนิษฐานว่าเด็กควรจะได้รับการปฏิบัติในทางใดที่สอดคล้องกับข้อกำหนด อย่างน้อย

จะต้องดำเนินการก่อนการพิจารณาชี้ชัดเชิงลึก

การลงความเห็นขั้นสุดท้าย–การตั้งสมมุติฐานว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

บนพื้นฐานของตัวชี้วัด การตอบคำถามในการสัมภาษณ์และหลักฐานที่ประกอบจะนำมารวบรวมกัน

ผู้สัมภาษณ์ควรจะนำข้อมูลที่รวบรวมทั้งหมดมาประเมินร่วมกับข้อมูลที่หามาได้เพื่อระบุว่าบุคคลดังกล่าวเป็น

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์หรือไม่

ในบริบทของการทำงานที่มีความท้าทาย ทั้งงานที่อยู่บนเรือประมงในทะเล ท่าเรือหรือที่โรงงาน

แปรรูปอาหารทะเล อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะระบุแบบสรุปว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเจ้าหน้าที่มีเวลาจำกัดในการสร้างความเชื่อใจกับบุคคลที่ให้สัมภาษณ์ เกณฑ์

ขั้นต่อควรมีการนำมาปรับใช้หากเชื่อได้ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ หรือควรตั้ง

สมมุติฐานว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้เสียหาย เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือและการคุ้มครองเบื้องต้น

หากข้อสันนิษฐานในภายหลังพิสูจน์แล้วว่าไม่มีมูลความจริง ดังนั้นความช่วยเหลือและการป้องกันต่างๆ จะ

ต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในทำนองเดียวกัน หากเด็กมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นผู้เสียหายจาก

การค้ามนุษย์ ควรมีการปฏิบัติกับเด็กเฉกเช่นเด็กและดำเนินการให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

บุคคลที ่ไม่ได้เป็นผู ้เสียหายจากการค้ามนุษย์อาจเป็นผู ้เสียหายของอาชญากรรมรูปแบบอื ่นๆ

ที่ไม่สามารถละเลยได้ เจ้าหน้าที่ทุกคนอาจประสบกับผู้ที่บาดเจ็บและอยู่ในอันตรายและอาจต้องการความ

ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน บางคนอาจจะต้องได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์โดยทันที ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะอะไร

(ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์หรือไม่ และไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่มีเอกสารหรือไม่มีเอกสารก็ตาม)

ผู้บังคับใช้กฎหมายมีภาระผูกพันที่จะให้ความปลอดภัยทันทีที่พบว่าบุคคลดังกล่าวต้องการความปลอดภัย

อย่างเร่งด่วน ผู้ที่สันนิษฐานว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และทุกๆ คน ที่ต้องการความช่วยเหลืออาจได้รับ

การส่งต่อไปยังผู้ให้บริการพิเศษทางการแพทย์ ทางสังคมจิตวิทยาและจัดให้มีที่พักที่ปลอดภัยเพื่อให้มั่นใจได้

ว่าพวกเขาจะไม่มีอันตรายต่อไป

3.5. ประเด็นสำคัญและคำถามเพื่อการทบทวนความรู้

สรุปประเด็นสำคัญ

หลักการ ความท้าทายและขั้นตอนในการคัดแยกผู้เสียหาย

การคัดแยกผู้เสียหายมีความจำเป็นสำหรับการปกป้องคุ้มครองผู้เสียหาย และการดำเนินคดีกับผู้กระทำ

ความผิดรวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

ผู้เสียหายมักจะไม่บอกว่าตัวเองเป็นผู้เสียหาย

Page 66: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

61การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ผู้บังคับใช้กฎหมายมีโอกาสที่จะคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เมื่อมีการตรวจสอบกิจกรรมที่ไม่

เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ซึ่งรวมถึงบริเวณท่าเรือ เรือประมงไทยในน่านน้ำไทยหรือพื้นที่อื่น หรือ

โรงงานทำกิจการประมงและอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปบนฝั่ง

มีความท้าทายที่หลากหลายในการคัดแยกผู้เสียหาย ซึ่งรวมถึงความไม่ยอมร่วมมือของผู้เสียหายและ

อุปสรรคทางภาษา

ผู้ค้ามนุษย์อาจมีความสัมพันธ์แบบมีการควบคุมผู้เสียหาย อาจบอกเล่าถึงเจ้าหน้าที่ในทางลบให้ผู้

เสียหายฟังเพื่อชัดขวางไม่ให้ผู้เสียหายร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ผู้เสียหายอาจกลัวการถูกแก้แค้นจากผู้ค้า

มนุษย์

ผู้เสียหายอาจขาดแรงจูงใจที่จะทำให้ระบุตัวผู้เสียหายได้ เนื่องจากมีความกลัวว่าการระบุตัวตนของ

ตัวเองอาจส่งผลให้ต้องถูกส่งกลับหรือกักขัง และสูญเสียรายได้ในการส่งให้ครอบครัว

ผู้เสียหายอาจกลัวการถูกตีตราในการตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และกลัวว่าเจ้าหน้าที่จะไม่

สามารถรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของตัวเองได้

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์หลายๆ คนไม่มีการคัดแยกและหลายๆ คนก็ถูกระบุผิดว่าเป็นผู้ลักลอบ

เข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย

ความสำเร็จในการคัดแยกผู้เสียหายขึ้นอยู่กับความเข้าใจผลกระทบต่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

ของผู้บังคับใช้กฎหมายและทักษะของเจ้าหน้าที่ในการปฏิสัมพันธ์กับเหยื่อ

มีขั้นตอนในการคัดแยกผู้เสียหาย 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย: (1) การคัดกรองก่อนสัมภาษณ์โดย

ใช้ตัวชี้วัด, (2) การสัมภาษณ์เพื่อคัดแยกผู้เสียหายเบื้องต้น และ (3) การใช้หลักฐานแวดล้อมเพื่อ

สนับสนุนการตัดสินใจขั้นสุดท้าย

(1) การคัดกรองก่อนสัมภาษณ์โดยใช้ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดเป็นแนวคิดโดยทั่วไปที่มีพื้นฐานอยู่บนความรู้เกี่ยวกับวิธีการกระทำความผิดของผู้ค้ามนุษย์ใน

ปัจจุบัน หรืออะไรคือสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของผู้เสียหายในบริบทเฉพาะ หรืออาจเกี่ยวพันกับ

ประเภทของการแสวงหาประโยชน์ที่มีความเฉพาะทาง

มีข้อจำกัดเกี่ยวกับตัวชี้วัดหลายตัวด้วยกัน เป็นความรู้ทั่วไปเท่านั้น และทุกตัวชี้วัดก็มีข้อยกเว้นเสมอ

ตัวชี้วัดแต่ละตัวจึงไม่สามารถจะใช้เป็นข้อพิสูจน์หรือข้อชี้ชัดของการค้ามนุษย์ แต่โดยรวม ตัวชี้วัด

ดังกล่าวจะทำให้เห็นภาพรวมของสถานการณ์และบ่งชี้ให้มีจุดสนใจสอบถามเพิ่มเติมได้

ตัวชี้วัดอาจเกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้เสียหายคนนั้นๆ ทั้งในปัจจัยด้านอายุ เพศ สัญชาติ และภาษาของ

ผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหาย การมีเอกสาร การเดินทางอย่างอิสระ พฤติกรรม หรือสัญญาณของการถูก

ล่วงละเมิด

ตัวชี้วัดอาจเกี่ยวข้องกับวิธีการที่ผู้ค้ามนุษย์ได้ใช้ในสถานการณ์ การแสวงหาประโยชน์และสภาพการณ์

ที่อาจพบเจออยู่

(2) การสัมภาษณ์เพื่อคัดแยกผู้ที่อาจตกเป็นผู้เสียหาย

ผู้บังคับใช้กฎหมายอาจใช้การสัมภาษณ์เบื้องต้นกับบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

โดยหากจะดำเนินการดังกล่าว จะต้องใช้ “แบบตารางการสัมภาษณ์เพื่อคัดกรองผู้เสียหายจากการค้า

มนุษย์เบื้องต้น” เพื่อคัดกรอกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

Page 67: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

62การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

แบบฟอร์มการคัดกรองมีรายละเอียดและมีความซับซ้อน ผู้สัมภาษณ์จะต้องทำความคุ้นเคยกับแบบ

ฟอร์มดังกล่าวก่อนจะใช้งาน จะได้ดำเนินการสัมภาษณ์อย่างมีประสิทธิภาพ

ความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์ผู้ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

นั้นรวมถึง ภาษาและความแตกต่างทางวัฒนธรรม ประเด็นด้านเพศ ข้อจำกัดทางเวลาและทรัพยากร

พื้นที่ที่ไม่เพียงพอ และความไม่ร่วมมือของผู้ให้สัมภาษณ์

ความท้าทายหลักในการสัมภาษณ์คือความบอบช้ำของผู้เสียหาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบร้ายแรงในการ

ปฏิสัมพันธ์ของผู้เสียหายกับผู้สัมภาษณ์

ลำดับความสำคัญหลักที่ผู้สัมภาษณ์ควรให้ความสนใจคือ ต้องไม่สร้างผลเสีย แก่ผู้ให้สัมภาษณ์

ระหว่างดำเนินการสัมภาษณ์

การตอบสนองความท้าทาย รวมถึงการทำให้มั่นใจได้ว่าบุคคลที่รับผิดชอบในการสัมภาษณ์ผู้เสียหาย

นั้นจะต้องมีพื้นฐานและทักษะที่เหมาะสมเพียงพอ และสามารถเข้าถึงบุคคลอื่นๆ ที่ต้องมีการประสาน

ความร่วมมือกัน โดยพันธมิตรอาจรวมถึง ล่าม ที่ปรึกษา ที่ปรึกษากฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญ

เฉพาะทางด้านเด็ก

การเตรียมความพร้อมในการสัมภาษณ์รวมถึงการที่ผู้สัมภาษณ์จะดำเนินการ

จัดหาสถานที่ ที่จะสัมภาษณ์ให้เหมาะสม (รวมถึงจัดหาพื้นที่ส่วนตัวซึ่งเป็นพื้นที่ปิดลับ

สำหรับการสัมภาษณ์และต้องให้มั่นใจได้ว่าการสัมภาษณ์นั้นจะไม่ถูกแอบฟังโดยผู้อื่น) และควร

ดำเนินการให้แน่ใจว่า บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ล่าม ได้เข้าร่วมในกระบวนการสัมภาษณ์ด้วย

แนะนำ ตัวเองและบุคคลอื่นๆ ที่อยู่ในที่สัมภาษณ์

ดำเนินการให้การสนับสนุนผู้ให้สัมภาษณ์ให้รู้สึกสบายใจและสะดวกสบาย

การอธิบายถึงวัตถุประสงค์และกระบวนการของการสัมภาษณ์

ในกรณีที่ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นเด็กหรืออาจเป็นเด็ก ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องดำเนินการให้แน่ใจได้ว่าได้

ถามคำถามที่เหมาะสมและจำเป็นสำหรับบุคคลที่คาดว่าอาจเป็นเด็กและอาจเป็นผู้เสียหายจากการ

ค้ามนุษย์

ผู้สัมภาษณ์ควรทำให้ตัวเองมีความคุ้นเคยกับประเภทของคำถามที่อาจเป็นประโยชน์ในการคัดกรอง

ผู้ที่มีความเป็นไปได้ว่าเป็นผู้เสียหายและปรับข้อคำถามตามเห็นสมควรและเหมาะสม

(3) ขั้นตอนที่ 3: การรวบรวมพยานหลักฐานและตัดสินใจขั้นสุดท้าย

หลักฐานที่รวบรวมจากทุกส่วนสามารถนำมารวมกันและพิจารณาให้การสนับสนุนตามข้อมูลที่ได้ให้

ไว้ในขั้นตอนของการสัมภาษณ์

หลักฐานที่รวบรวมจากทุกส่วนรวมถึงจากตำรวจหรือรายงาน เอกสาร บันทึกค่าจ้าง และหลักฐาน

ในการปฏิบัติต่อแรงงานหรือสภาพในการทำงาน

หลักฐานที่รวบรวมทั้งหมดจะสามารถรวบรวมได้อย่างสำเร็จมากขึ้นหากได้รวมหลักฐานจากที่เกิดเหตุ

และหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีการพิจารณาถึงทรัพยากรที่มีอยู่และยุทธศาสตร์ที่สามารถนำมาประยุกต์

ใช้ได้

เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายควรเตรียมการทั้งในส่วนของเอกสาร บันทึก และหลักฐานต่างๆ ที่คาดว่า

จะเป็นประโยชน์และพบในสถานที่เช่น เรือประมง ท่าเรือหรือโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล

Page 68: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

63การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การตรวจสอบบุคคลที่พบ ณ สถานที่สำคัญๆ จะต้องมีการตรวจสอบอย่างระมัดระวังและมีบันทึก

ความยินยอมของบุคคลดังกล่าว โดยมีผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ร่วมด้วย

การตรวจสอบอายุควรดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรมทางการแพทย์เพื่อดำเนินการประเมิน

เบื้องต้นและนำข้อสันนิษฐานมาสรุปว่าบุคคลดังกล่าวเป็นเด็กหรือไม่

เกณฑ์ขั้นต่ำควรจะนำมาใช้กับบุคคลที่เชื่อว่าเป็นผู้เสียหายและสันนิษฐานว่าควรได้รับการช่วยเหลือ

หรือการคุ้มครองเบื้องต้น

คำถามเพื่อการทบทวน

เหตุใดการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จึงมีความจำเป็นต่อการต่อต้านการค้ามนุษย์

อะไรคือปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์กระทำได้ยาก

เหตุใดผู้เสียหายบางคนจึงหวาดกลัวการถูกคัดแยกให้เป็นผู้เสียหาย

ขั้นตอนในการคัดแยกผู้เสียหาย 3 ขั้นตอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

อะไรคือตัวชี้วัด และสามารถนำมาใช้ในกระบวนการคัดแยกผู้เสียหายได้อย่างไร และอะไรคือข้อจำกัด

เหล่านั้น

การมีเอกสารของผู้เสียหายหรือการไม่มีเอกสารจะเป็นข้อบ่งชี้ถึงการค้ามนุษย์ได้อย่างไร

ตัวบ่งชี้ทางกายภาพตัวใดที่สามารถระบุได้ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

ให้อธิบายถึงตัวชี้วัดที่มีความเกี่ยวข้องกับสภาพของสถานที่

อะไรคือแบบสัมภาษณ์เพื่อคัดกรองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เบื้องต้น และแบบสัมภาษณ์ดังกล่าว

จะใช้เมื่อใด

วิธีการที่ว่า ผู้ขอสัมภาษณ์ จะไม่ “ทำร้าย” ผู้ให้สัมภาษณ์ในระหว่างการสัมภาษณ์หมายถึงอะไร

และจะไม่เป็นการทำร้ายได้อย่างไร

อะไรคือความท้าทายหลักในการดำเนินการสัมภาษณ์เพื่อคัดแยกผู้ที่อาจเป็นผู้เสียหาย

อะไรคือความบอบช้ำและความบอบช้ำดังกล่าวสามารถส่งผลกระทบต่อการสัมภาษณ์เพื่อคัดแยก

ผู้เสียหายได้อย่างไรบ้าง

อะไรคือแนวทางหลักในการเอาชนะอุปสรรคของการคัดแยกผู้เสียหาย

ขั้นตอนอะไรที่จะต้องมีการเตรียมการก่อนสัมภาษณ์

อะไรคือข้อพิจารณาเพิ่มเติมของผู้ขอสัมภาษณ์เมื่อผู้ให้สัมภาษณ์เป็นเด็ก

อะไรคือหลักฐานประกอบในบริบทของการคัดแยกผู้เสียหาย

ให้ยกตัวอย่างหลักฐานประกอบที่อาจพบบนเรือประมงหรือในโรงงานอาหารทะเลแปรรูป

การใช้เกณฑ์ขั้นต่ำในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์หมายถึงอะไร

Page 69: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

64การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

บทที่ 4: การปฏิบัติต่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

วัตถุประสงค์

เพื่อแนะนำให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงภาวะหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้ที่อาจตกเป็นผู้เสียหายจากการ

ค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้:

เมื่อสิ้นสุดบทเรียนนี้ ผู้เข้าอบรมจะต้องสามารถ:

ระบุถึงมาตรฐานหลักและหลักการปฏิบัติที่ดีที่สุดต่อผู้เสียหายได้

อธิบายถึงภาระหน้าที่ในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้เสียหายในทันที

ให้คำแนะนำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าควรจะส่งต่อผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นให้กับใคร

4.1. มาตรฐานและหลักวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด

ความต้องการการช่วยเหลือและการได้รับความคุ้มครองของผู้เสียหายนั้นแตกต่างกันไปตามความ

ต้องการรายบุคคล ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยงานที่สนับสนุน

ผู้เสียหายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 2 ส่วนนี้มีความพึ่งพาระหว่างกันและกันและสามารถ

ทำงานหลักในความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อประสานความร่วมมือระหว่างกัน

สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย หน่วยบังคับใช้กฎหมายมีความสำคัญในคัดแยกผู้เสียหาย ช่วยเหลือ

ผู้เสียหายและส่งต่อผู้เสียหาย หน่วยงานที่มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้เสียหายจึงมีความจำเป็นในการส่งต่อมาตรการ

ความช่วยเหลือให้แก่ผู้เสียหายซึ่งอาจเป็นพยานในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด

หน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนอาจจะใช้มาตรการสนับสนุนในการคัดแยกผู้เสียหายจาก

การค้ามนุษย์ ในกรณีต่อไปนี้

การจัดหาศูนย์พักพิงหรือที่พักอาศัยให้แก่ผู้เสียหาย

จัดบริการด้านการแพทย์ สุขภาพและให้คำปรึกษา

บริการจัดหาล่าม

ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและการสนับสนุนต่างๆ

การปฏิบัติต่อผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานและหลักการปฏิบัติที่

ดีที่สุดขึ้นอยู่กับขั้นตอนแรกที่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถูกคัดแยกอย่างเหมาะสม การเข้ามาติดต่อกับผู้ปฏิบัติงานด้าน

กระบวนการยุติธรรมทางอาญาจะส่งผลให้มีการปรับปรุงสถานการณ์ของผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้า

มนุษย์ ดังนั้นหลักการสำคัญสำหรับการบังคับใช้กฎหมาย มีดังนี้

การไม่ดำเนินคดี: สำหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ไม่ควรกำหนดให้การลักลอบเข้าเมืองหรือการ

กระทำความผิดที่มีความเกี่ยวข้องกับการเข้าเมืองเป็นความผิดของการค้ามนุษย์

Page 70: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

65การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ความหมายที่รัฐสมาชิกและผู้มีส่วนได้เสียกำหนด:

ความสำคัญของสิทธิ

มนุษยชน

หลักการ

การทําใหสิทธิมนุษยชนของผูท่ีตกเปนผูเสียหายเปนศูนยกลางของความ

พยายามในการตอตานการคามนุษยและทําใหแนใจวามีความพยายามใน

การตอตานการคามนุษยไมไดสงผลกระทบตอสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรี

ความเปนมนุษยของบุคคล

การป้องกันการลักลอบค้า

มนุษย์

การใหความสนใจรากฐานของสาเหตุการคามนุษยและปจจัยท่ีเพ่ิมความ

เสี่ยงตอการคามนุษย (เชน ความไมเสมอภาค ความยากจน และการเลือก

ปฏิบัติ) และการใชการตรวจสอบการคัดแยกผูเสียหายและกําจัดการมีสวน

รวมในการกระทําความผิดคามนุษยของเจาหนาที่ภาครัฐ

การคุ้มครองและความช่วย

เหลือ

การไมกักขัง ปรับหรือดําเนินคดีกับผูลักลอบเขาเมืองผิดกฎหมายที่เดินทาง

มายังหรือไปยังที่พักพิงในประเทศหรือทางผานหรือปลายทาง หรือการเขา

รวมในกิจกรรมท่ีผิดกฎหมายตางในขอบเขตที่การเขารวมน้ันอาจมีความ

เกี่ยวของโดยตรงอันเปนผลจากการที่พวกเขาถูกลักลอบคามนุษย

การปกปองคุ มครองผูเสียหายจากอันตรายท่ีอาจเกิดข้ึนในอนาคตและ

การทําใหพวกเขาสามารถเขาถึงการไดรับการดูแลดานรางกายและจิตใจ

อยางเพียงพอโดยไมคํานึงถึงวาพวกเขาจะใหความรวมมือกับเจาหนาท่ี

หรือไม

การใหความชวยเหลือดานกฎหมายและความชวยเหลืออื่นๆ ซึ่งรวมถึงการ

ปองกันและใหใบอนุญาตพักอาศัยชั่วคราวแกผู ประสบภัยตลอดทั้งการ

ดําเนินการทางอาญา ทางแพงหรือการกระทําอื่นใด

การคัดแยกวาเด็กคนใดท่ีตกเปนผู เสียหายจากการคามนุษยและการ

พิจารณาถึงประโยชนอันสูงสุดของเด็ก

ใหความชวยเหลือและการคุมครองเด็กท่ีตกเปนผูเสียหายโดยเหมาะสม

และใหความสนใจในประเด็นความเส่ียงในการตกเปนผูเสียหายเปนพิเศษ

รวมถึงสิทธิตางๆและความตองการของเด็ก

การรับประกันความปลอดภัยเทาที่จะเปนไปไดในการสงกลับผูท่ีสมัครใจ

จะกลับประเทศ การเสนอใหผูที่เสียหายมีแนวทางทางเลือกตามกฎหมาย

หากการสงกลับอาจกอใหเกิดความเสี่ยงอยางรายแรงตอความปลอดภัยของ

พวกเขาและ / หรือเพื่อความปลอดภัยของครอบครัวของพวกเขา

การไม่ทำให้ตกเป็นเหยื่อซ้ำ: ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไม่ควรตกเป็นผู้เสียหายซ้ำอีกครั้งโดยการ

กระทำหรือการละเว ้นการกระทำหรือโดยการกระทำของเจ้าหน้าที ่ความยุต ิธรรมทางอาญา

รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ

มาตรฐานสากลและหลักการปฏิบัติที่ดีที่สุด

มาตรฐานอื่นๆ และการปฏิบัติที่ดีที่สุดสามารถพบได้ในหลักการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิ

มนุษยชนและการค้ามนุษย์ของสหประชาชาติ (UN OHCHR) ที่อยู่บนพื้นฐานของพิธีสารการค้ามนุษย์และ

กฎหมายระหว่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ รวมทั้งสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกฎหมายด้านมนุษยธรรม

หลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชนที่กำหนดไว้ในหลักการและแนวทางมีความเกี่ยวกับต่อไปนี้

Page 71: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

66การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การกำหนดให้เป็นความผิด

ทางอาญา การลงโทษ

และการให้ความสนใจใน

ประเด็นปัญหา

การนํามาตรการทางกฎหมายและมาตรการอื่น ๆ ที่เหมาะสมมากําหนด

ความผิดที่เหมาะสมกับการคามนุษยและการกระทําผิดอื่นที่เกี่ยวของ

ดําเนินการสืบสวน ดําเนินคดีและพิจารณาตัดสินความผิดการคามนุษยและ

ความผิดอื่นๆ ที่เกี่ยวของ

ทําใหแนใจไดวาการตรวจสอบการคามนุษยและความผิดที่เก่ียวของกัน

อนุญาตใหมีการสงผูรายขามแดนภายใตกฎหมายในประเทศและสนธิสัญญา

สงผูรายขามแดน และใหความรวมมือเพื่อใหแนใจวาขั้นตอนการสงผูรายขาม

แดนสามารถมีการปฏิบัติตามอยางเหมาะสม

ใชการลงโทษท่ีมีประสิทธิภาพและมีสัดสวนท่ีเหมาะสมกับผูกระทําความ

ผิดรายบุคคลและนิติบุคคลท่ีพบวาไดมีการกระทําความผิดคามนุษยและ

ความผิดที่เกี่ยวของ

การอายัดและยึดทรัพยสินบุคคลหรือนิติบุคคลท่ีเก่ียวของในการคามนุษย

การสนับสนุนใหชดเชยผูที่ตกเปนผูเสียหายจากการคามนุษย

การทําใหแนใจไดวาบุคคลท่ีถูกคามนุษยไดรับการเขาถึงการรักษาและ

ฟนฟูทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม

แนวทางที่ 6 ของหลักการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและการค้ามนุษย์ของ

สหประชาชาติ UN OHCHR ได้แนะนำให้รัฐต่างๆ และองค์กรภาครัฐระหว่างและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง

พิจารณาดังนี้

เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจะไม่ถูกกักขังในรูปแบบของการตรวจคนเข้าเมืองหรือถูกกักใน

สถานที่กักกันอื่นๆ

เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจะไม่จำต้องยอมรับการปกป้องหรือการขอรับความช่วยเหลือหรือ

บริการใดๆ ที่พวกเขาไม่ยินยอมที่จะรับ

ได้รับแจ้งสิทธิของผู้เสียหายของสิทธิในการเข้าถึงผู้แทนทางการทูตและกงสุลจากประเทศสัญชาติเขา

ผู้ที ่ตกเป็นผู้เสียหายจะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากภัยคุกคามที่เป็นอันตรายหรือการตอบโต้คืน

จากผู้ค้ามนุษย์ รวมถึงการได้รับความเคารพสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของพวกเขาและการไม่เปิดเผยตัวตน

ของพวกเขา

มาตรฐานระดับภูมิภาคและหลักการปฏิบัติที่ดีที่สุด

หลักการป้องกันที่สำคัญได้สะท้อนให้เห็นในการประชุมอาเซียนว่าด้วยการค้ามนุษย์โดยเฉพาะ

สตรีและเด็ก พ.ศ.2558 มาตรา 14 ของกฎหมายนี้ ได้ให้ความสนใจถึงการปกป้องคุ้มครองผู้เสียหาย

การค้ามนุษย์ ซึงได้ตอกย้ำความเชื่อมโยงระหว่างการคัดแยกผู้เสียหายและการปกป้องคุ้มครองผู้เสียหาย

เหนือสิ่งอื่นใดก็หมายถึงการแนะนำของแนวทางแห่งชาติหรือวิธีการในการคัดแยกผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการ

ค้ามนุษย์และการทำงานร่วมกับองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยคุกคามดังกล่าว ความปลอดภัย

ทางร่างกายของผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหาย การดูแลและการสนับสนุนของพวกเขาโดยความร่วมมือกับองค์กรพัฒนา

เอกชนและการไม่กำหนดให้ผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายมีความผิดทางอาญา

นอกจากนี้ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก พ.ศ. 2547

สรุปมาตรฐานที่สำคัญที่รัฐสมาชิกจะยึดตามในการปฏิบัติต่อผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ไว้ดังนี้

Page 72: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

67การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ประเด็นที่ 5 การตรวจสอบใหแนใจวาผูท่ีตกเปนผูเสียหายไดรับการปฏิบัติอยางมีมนุษยธรรมและ

การใหการดูแลรักษาทางการแพทยและรูปแบบการชวยเหลืออื่น ๆ ตามความ

เหมาะสม

ประเด็น 6 กระทําการที่จะเคารพและปกปองศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของผูที่ตกเปนผูเสียหายที่

แทจริงของการคามนุษย

แนวทาง C.2 ผูที่ตกเปนผูเสียหายจากการคามนุษยไมควรจะตองชําระเงิน เสียคาปรับ หรือถูก

ดําเนินคดีในความผิดท่ีเก่ียวกับการคามนุษยแมวาจะมีความเก่ียวของโดยตรงอันเปน

ของการกระทําการคามนุษย

แนวทาง C.3 ผูเสียหายจากการคามนุษยควรจะ ไดรับการชวยเหลือและจัดหาที่พักโดยเรงดวนหาก

อนุญาตใหกระทําไดตามกฎหมายภายใน

ความปลอดภัย ควรมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของผูเสียหายและครอบครัวผูเสียหายตลอดเวลา

การรักษาความลับ การละเมิดหลักการรักษาความลับ สามารถประนีประนอมความปลอดภัยของผูที่ตก

เปนผูเสียหายและครอบครัวของผูเสียหายและในกรณีท่ีผูเสียหายมีความหวาดกลัว

ตราบาป ดังนั้น ขอมูลควรจะมีการแบงปนเทาที่พอจะกระทําไดและกระทําก็ตอเมื่อ

ไดรับความยินยอมจากผูเสียหายและแบงปนเฉพาะบุคคลท่ีเก่ียวของเทานั้นเพ่ือ

รักษาความลับของขอมูลผูเสียหาย เมื่อใดที่ผูเสียหายใหความยินยอมที่จะแบงปน

ขอมูลกับบุคคลอื่นๆ (ไมวาจะเปนรัฐหรือผูมีบทบาทที่ไมใชภาครัฐ หรือสื่อก็ตาม)

ควรจะมีการตระหนักถึงหลักการรักษาความลับของขอมูล

การไม่เลือกปฏิบัติ หลักการปองกันและปกปองผูท่ีตกเปนผูเสียหายจากการคามนุษยควรนําไปใชกับผูที่

ตกเปนผูเสียหายทั้งหมดโดยไมมีการเลือกปฏิบัติใดๆ (เชน บนพื้นฐานของอายุ เพศ

เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา สถานะทางทรัพยสิน สถานที่เกิด, เศรษฐกิจ, การอพยพ

ยายถิ่น, การศึกษา, ครอบครัวหรือสถานะอื่น ๆ รัฐไมควรละเวนการเลือกปฏิบัติตอผู

ที่ตกเปนผูเสียหาย แตยังควรดําเนินการในเชิงบวกใหผูมีบทบาททั้งภาครัฐและเอกชน

รวมกันตอสูทุกรูปแบบของการเลือกปฏิบัติตอตัวผูเสียหาย

การตอบสนองตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ แนวทางปฏิบัติของ

อาเซียน (2007) ได้กำหนดหลักการของการไม่กำหนดให้เป็นอาชญากรรม

หลักการเหล่านี ้จะนำไปใช้โดยไม่คำนึงถึงว่าผู ้เสียหายจากการค้ามนุษย์จะให้ความร่วมมือกับ

เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายหรือเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการความยุติธรรมทางอาญาหรือไม่

จากมุมมองของผู้ปฎิบัติ การใช้มาตรการดังกล่าวยังมีส่วนสำคัญต่อการสร้างความไว้วางใจและการ

สร้างสายสัมพันธ์อันดีกับผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายที่มีแนวโน้มที่จะให้ความร่วมมือกับผู้บังคับใช้กฎหมายหาก

พวกเขาได้รับการช่วยเหลือ

คู่มือแนะนำตามกระบวนการบาหลีในการให้การปกป้องคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (2558)

ที่ระบุว่าแนวทางที่ผู้เสียหายเป็นศูนย์กลางควรจะมีหลักการสำคัญที่เป็นพื้นฐาน ดังนี้

Page 73: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

68การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

มาตรฐานกฎหมายไทยและหลักการปฏิบัติที่ดีที่สุด

มาตรา 29 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551

มาตรา 29

ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และเพื่อคุ้มครอง

ป้องกันภัยแก่บุคคลที่มีเหตุอันควรเชื ่อได้ว่าเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย ์

พนักงานเจ้าหน้าที่อาจจัดให้บุคคลดังกล่าวอยู่ในความคุ้มครองเป็นการชั่วคราวได้แต่ต้องไม่เกินยี่สิบสี่

ชั่วโมง ทั้งนี้ ให้รายงานให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อธิบดีกรมพัฒนา

สังคมและสวัสดิการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ทราบโดยไม่ชักช้า

ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องให้การคุ้มครองบุคคลซึ่งอาจจะเป็นผู้เสียหายเกินกว่ากำหนดเวลาในวรรค

หนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำสั่งอนุญาต ทั้งนี้ ศาลจะอนุญาตได้ไม่เกินเจ็ดวัน

โดยจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ไว้ด้วยก็ได้

การจัดให้บุคคลซึ่งอาจจะเป็นผู้เสียหายอยู่ในความคุ้มครองเป็นการชั่วคราวตามมาตรานี้ต้องจัดให ้

บุคคลดังกล่าวอยู่ในสถานที่อันสมควรซึ่งมิใช่ห้องขังหรือสถานคุมขัง ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรี

กำหนด

การปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ให้คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนโดยเคร่งครัด

มาตรา 4 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้ความ

ช่วยเหลือและการให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

มาตรา 33

ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลซึ่งเป็นผู้เสี

ยหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์อย่างเหมาะสมในเรื่องอาหาร ที่พักการรักษาพยาบาล การ

บำบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ การให้การศึกษา การฝึกอบรม การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย

การส่งกลับไปยังประเทศเดิมหรือภูมิลำเนาของผู้นั้น การดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้

ผู้เสียหายตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยให้คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความแตกต่างทาง

เพศ อายุ สัญชาติ เชื้อชาติ ประเพณีวัฒนธรรมของผู้เสียหาย การแจ้งสิทธิ์ของผู้เสียหายที่พึงได้รับการ

คุ้มครองในแต่ละขั้นตอนทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการช่วยเหลือ ตลอดจนขอบเขตระยะเวลาในการ

ดำเนินการช่วยเหลือในแต่ละขั้นตอน และต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้เสียหายก่อนด้วย

การให้ความช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง อาจจัดให้บุคคลซึ่งเป็นผู้เสียหายได้รับการดูแลในสถานแรกรับ

ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี สถานแรกรับตามกฎหมายว่าด้วยการ

คุ้มครองเด็ก หรือสถานสงเคราะห์อื่นของรัฐหรือเอกชนก็ได้

Page 74: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

69การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

4.2. การให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ใน

อุตสาหกรรมประมง

การยึดมั่นในมาตรฐานและหลักการปฏิบัติที่ดีที่สุดกำหนดให้ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องปฏิบัติกับผู้ที่

ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เสมือนเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และทำให้มั่นใจได้ว่า

พวกเขาสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือและการคุ้มครองที่เหมาะสม การตัดสินใจอาจเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะ

อย่างยิ่งในบริบทที่ท้าทาย เช่น ความท้าทายในการแสวงหาประโยชน์ในอุตสาหกรรมประมง และเมื่อมีความ

สงสัยเกิดขึ้น การปฏิบัติที่ดีที่สุดควรพิจารณาถึงหลักมนุษยธรรมเป็นหลักและการปฏิบัติกับผู้ที่เป็นผู้เสียหาย

โดยไม่กำหนดให้เป็นความผิดทางอาญาหรือการไม่ทำให้ตกเป็นเหยื่อซ้ำ พวกเขาไม่ควรจะต้องถูกกักขังหรือ

ดำเนินคดี

ความเสี่ยงในกรณีนี้คือ อาชญากรบางคนซึ่งรวมถึงผู้ค้ามนุษย์อาจถูกตีความผิดว่าเป็น “ผู้เสียหายจาก

การค้ามนุษย์” ด้วย อาจมีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดความผิดพลาดในการคัดแยกผู้เสียหายที่แท้จริง ที่ต้องการ

ความช่วยเหลือและสนับสนุนและอาชญากรที่ถูกระบุผิดพลาดว่าเป็นผู้เสียหาย อาจถูกดำเนินคดีภายหลังจาก

ที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอาจนำไปสู่ข้อสรุปทางเลือกอื่นของสถานการณ์

ดำเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้บังคับใช้กฎหมายจะปฏิบัติตามพันธกรณี และหลักการที่ดีที่จะนำไปใช้

ในทางปฏิบัติตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการติดต่อประสานงานไปจนสิ้นสุดกระบวนการ โดยจะต้องรวมรายละเอียด

ดังกล่าวนี้

การปฏิบัติและให้ความช่วยเหลือผู ้ที ่ตกเป็นผู ้เสียหายของอาชญากรรมโดยไม่คำนึงถึงว่าพวก

เขาจะให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่หรือไม่ ผู้เสียหายจะต้องได้รับการรับประกันว่าจะได้รับสิทธิระหว่าง

ประเทศ โดยไม่คำนึงว่าพวกเขาจะให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่หรือไม่ นอกจากนี้ การปฏิบัติให้

สอดคล้องกับสิทธิและหลักการนั้นเป็นประโยชน์ในการสร้างเสริมความไว้วางใจและความสามัคค ี

ระหว่างกันและจะช่วยเพิ่มพูนโอกาสให้ผู้เสียหายเต็มใจที่จะร่วมมือเป็นพยาน

ทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีการพิจารณาถึงความปลอดภัยของผู้เสียหายเป็นสำคัญ การคัดแยกผู้เสียหาย

และครอบครัวเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและการดำเนินการให้สอดค

ล้องกับวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กฎหมาย

เปิดกว้างและซื่อสัตย์ ผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายมักจะถูกหลอกลวงให้เชื่อหรือทำให้เข้าใจผิดโดยกลุ่มผู้ค้า

มนุษย์ แต่ไม่ควรทำให้เขารู้สึกเช่นเดียวกันกับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่ที่ชัดเจน

ในการเปิดรับและซื่อสัตย์กับผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหาย และทำให้พวกเขาตระหนักถึงความสำคัญในภาษาที่

พวกเขาจะเข้าใจได้ (โดยใช้ภาษาประจำชาติของผู้เสียหายเป็นหลัก) เมื่อพิจารณาถึงทางเลือกและ

ความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้พวกเขาสามารถตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด

Page 75: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

70การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ผลกระทบที่ได้รับจากการถูกทำร้าย

การทำร้ายทางร่างกาย

ฆาตกรรม

การทํารายรางกาย

ทารุณกรรม

ไมไดพักผอน ไมไดรับอาหาร นํ้าที่เพียงพอ

ไมไดรับการรักษาพยาบาล

การขมขืน

การบังคับใหใชสารเสพติด

ประเภทของการทำร้าย

การทำร้ายทางร่างกาย

เสียชีวิต

บาดเจ็บทางกายอยางรุนแรง / มีบาดแผลในจิตใจ

บาดเจ็บทางกายอยางรุนแรง / มีบาดแผลในจิตใจ

เปนโรคขาดสารอาหาร

มีความเจ็บปวยที่รุนแรงขึ้นหรือมีการบาดเจ็บ

การบาดเจ็บทางเพศ / การติดเชื้อ

การติดสารเสพติด/การพึ่งพาสารเสพติด

การทำร้ายทางจิตใจ

การทําใหรูสึกโดดเดี่ยว (ภาษา สังคม)

การทําใหหวาดกลัวเจาหนาที่

การลิดรอนเสรีภาพ

ภัยคุกคามของความรุนแรงและการขมขูอื่นๆ

การพึ่งพายาเสพติด

การจัดการดานอารมณ

การทำร้ายทางจิตใจ

ความบอบชํ้า การสูญเสียความทรงจํา

การนอนไมหลับ

ซึมเศรา/ ไมเชื่อใจ

ความรูสึกโดดเดี่ยว/การไมไวเนื้อเชื่อใจ

ความหวาดกลัว/ความบอบชํ้า

การติดยาเสพติด

ความรูสึกผิด อับอาย และไรศีลธรรม

ความปลอดภัย อย่าจับกุมผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหาย แต่ให้นำพวกเขาออกจากพื้นที่ที่มีความอันตราย และ

เคลื่อนย้ายไปยังที่ปลอดภัย (เช่น ที่พักของตำรวจ ที่พักพิงของผู้เสียหายหรือโรงพยาบาล)

โดยต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะให้การสนับสนุนในการช่วยเหลือด้านกายภาพ และคงความ

เป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้เสียหายเอาไว้ และการรักษาความปลอดภัยของผู้ที่ตก

เป็นผู้เสียหาย

สุขภาพ การจัดให้มีความดูแลทางการแพทย์อย่างเร่งด่วนและขอความช่วยเหลือจากแพทย์เพื่อดำเนิน

การตรวจสอบและรักษาอาการบาดเจ็บทางร่างกาย อาการเจ็บป่วยหรือขาดสารอาหารและ

การตรวจคัดกรองสุขภาพทางเพศ

ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้เสียหายสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือที่มีอยู ่ แม้จะไม่ใช่บทบาทของผู้บังคับใช้

กฎหมายในการให้บริการ แต่ความรับผิดชอบของพวกเขาคือทำให้แน่ใจได้ว่าผู้เสียหายนั้นได้รับทราบ

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว ในภาษาที่พวกเขาสามารถเข้าใจได้ ข้อมูลทั้งด้านกฎหมาย การดูแลรักษา

ทางการแพทย์ ความช่วยเหลือทางจิตวิทยาและการแพทย์ที่พร้อมจัดหาให้ผู้เสียหายและดำเนินการ

ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้กับผู้เสียหาย

รูปแบบความรุนแรงที่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ได้รับ

การตอบสนองต่อความต้องการของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์แบบทันที กำหนดให้ผู้บังคับใช้

กฎหมายเข้าใจประเภทของการทำร้ายผู้เสียหายที่อาจมีความเกี่ยวข้อง โดยตารางด้านล่างนี้มีตัวอย่างที่

เกี่ยวข้อง ดังนี้

การตอบสนองความต้องการเร่งด่วน ซึ่งอาจรวมถึงการพิจารณาดังต่อไปนี้

Page 76: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

71การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การติดต่อสื่อสาร การสื่อสารกับครอบครัวและการติดตามความเคลื่อนไหวของครอบครัว (ในกรณีที่ไม่มีเหตุอัน

ควรสงสัยว่าครอบครัวมีส่วนร่วมในการค้ามนุษย์และเมื่อการสื่อสารดังกล่าวมีความปลอดภัย

สำหรับผู้เสียหายและครอบครัวของเขา)

การให้คำปรึกษา จัดให้มีการประเมินเบื้องต้นความบาดเจ็บเบื้องต้นเพื่อที่จะดำเนินการให้ความช่วยเหลือทาง

ด้านจิตใจและให้คำปรึกษา

ข้อมูล การดำเนินการให้สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเป็นอิสระ การอพยพและ

คำแนะนำในการจัดสวัสดิการสังคม รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือและการป้องกันตัวผู้เสียหาย

และภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่การให้บริการดังกล่าวมีความเกี่ยวโยงกัน อธิบายทาง

เลือกตามกฎหมายและความรับผิดชอบและสิทธิ์ในการเข้าถึงการขอวีซ่าอยู่อาศัยชั่วคราวและ

การสนับสนุนการส่งกลับต่างๆ ล่ามและนักแปลอาจมีความสำคัญในขั้นตอนนี้เพื่อให้แน่ใจว่า

บุคคลดังกล่าวจะมีความสะดวกสบายและสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จัดให้ไว้ได้อย่างเต็มที่

ไม่ว่าเขาจะเข้าร่วมในกระบวนการความยุติธรรมทางอาญาหรือไม่ก็ตาม

การส่งต่อผู้เสียหายอย่างเหมาะสม

การส่งต่อผู้เสียหายค้ามนุษย์ที่มีความเหมาะสมจะต้องสนับสนุนหลักการคุ้มครองป้องกันดังที่ได ้

อธิบายข้างต้น (ข้อ 3.1) ที่กล่าวว่าการคัดแยกผู้เสียหายเป็นรากฐานที่สำคัญในการคุ้มครองสิทธิ์ของ

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์นั้น ทุกคนในประเทศไทยมีสิทธิ์ตามหลักมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นภูมิหลัง สัญชาติ

สถานการณ์เคลื่อนย้าย หรือกิจกรรมใดๆที่ได้ดำเนินอยู่ในประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า พวกเขานั้น

สามารถเข้าถึงสิทธิดังกล่าว ผู้บังคับใช้กฎหมายสามารถส่งต่อบุคคลที่ถูกระบุว่าเป็นผู้เสียหายจากการ

ค้ามนุษย์ให้กับหน่วยงานเฉพาะ โดยหน่วยงานดังกล่าวอาจมีพันธกิจรวมถึง

การให้ที่พักพิงและการคุ้มครองปกป้องทางกายภาพและจิตใจให้แก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

ให้การสนับสนุนทางการแพทย์ สังคมและจิตวิทยาตามที่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อาจต้องการ

การให้บริการทางกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับสถานของแรงงานและใบอนุญาต

ในการพำนักอาศัย

การส่งกลับหากผู้เสียหายมีความสมัครใจหรือการให้บริการจัดหาที่พักพิงใหม่แก่ผู้เสียหาย

เจ้าหน้าที่สามารถประเมินอายุของผู้เสียหาย แต่งตั้งผู้ดูแลทางกฎหมายให้ผู้เสียหาย และชี้แนะ

ประโยชน์ให้แก่ผู้เสียหายและดำเนินการดูแลผู้เสียหายที่เป็นเด็กตามที่เห็นเหมาะสม

การตอบสนองความต้องการพิเศษของเด็ก

ตามกฎหมายระหว่างประเทศและพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เด็กหรือผู้ที่ตกเป็น

ผู้เสียหายที่ถูกสันนิษฐานว่าเป็นเด็ก จะได้รับการส่งต่อทันทีไปยังหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่ให้การคุ้มครองดูแล

เด็กเพื่อดำเนินการประเมินอายุของเด็ก แต่งตั้งที่ปรึกษาทางกฎหมายและดำเนินการเพื่อประโยชน์ของเด็กและ

ให้การดูแลเด็กตามที่เห็นเหมาะสม

ในกรณีที่เด็กไม่มีคนมาเป็นเพื่อนหรือไม่มีผู้ปกครอง จะต้องมีการแต่งตั้งผู้พิทักษ์สิทธิเด็ก โดยจะต้อง

เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบในการทำให้มั่นใจได้ว่าเด็กจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม มีที่พักอาศัยและได้รับ

Page 77: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

72การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การสนับสนุนและเด็กได้รับแจ้งสิทธิ์ของตน ในกรณีที่เด็กมีผู้ปกครอง การตัดสินใจจะต้องพิจารณาว่า

ผู้ปกครองของเด็กสามารถดำเนินการเพื่อสิทธิประโยชน์ของเด็กได้หรือไม่ เช่น หากมีความสงสัยว่าผู้ปกครอง

ของเด็กมีความเกี่ยวพันกับการค้ามนุษย์หรือมีการแสวงหาประโยชน์จากเด็ก จะเห็นได้ชัดว่า บุคคลดังกล่าว

ไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองเด็ก และหมายถึงว่าต้องมีการแต่งตั้งผู้พิทักษ์สิทธิเด็กต่อไป

ประเด็นการปฏิบัติที่สำคัญ

ผู้มีบทบาทที่มีความเกี่ยวข้องในการอ้างอิงถึงผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อาจเป็นหน่วยงาน

ภาครัฐหรือหน่วยงานเอกชน ซึ่งรวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศและภาคประชาสังคม ผู้บังคับใช้กฎหมายที่

คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงและอื่นๆ ที่อาจต้องการขอความช่วยเหลือและการ

ปกป้องคุ้มครองจะต้องถูกส่งตัวไปยังหน่วยงานที่มีความเหมาะสม (ดูเอกสารแนบ: ผู้มีบทบาทหลัก)

ผู้บังคับใช้กฎหมายในระดับจังหวัดควรจะตระหนักถึงบุคคลที่ตนสามารถติดต่อได้ทันทีเพื่อการส่งต่อ

บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนต่างๆ ดังนั้น ในการดำเนินงานที่คาดว่าจะมีความเกี่ยว

ข้องกับผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เจ้าหน้าที่จะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอและรวมถึงข้อมูล

ในการติดต่อผู้ให้บริการอื่นๆ (เช่น มือถือ เป็นต้น)

4.3. ประเด็นสำคัญและคำถามเพื่อการทบทวนความรู้

ประเด็นสำคัญ

มาตรฐานหลักและหลักการปฏิบัติที่ดีที่สุด

หลักการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและการค้ามนุษย์ของสหประชาชาติ UN OHCHR

(2555) แนะนำร่างหลักการที่สำคัญบางอย่างในการคัดแยกผู้เสียหาย ซึ่งรวมถึงความจำเป็นที่ใช้

กำหนดแนวทางและขั้นตอน ความร่วมมือระหว่างผู้มีบทบาทภาครัฐและเอกสารในบทบัญญัติของการ

ให้ความช่วยเหลือและการไม่คุมขังและไม่ดำเนินคดีกับผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

อนุสัญญาต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็กอาเซียน (2558) ปฏิญญาอาเซียนต่อต้าน

การค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (2547) และการตอบสนองตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อ

การค้ามนุษย์ของอาเซียน (2550) เน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือและการคุ้มครอง

โดยด่วน

พระราชบัญญัติต่อต้านการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 กำหนดหลักการและมาตรฐานสำหรับการปกป้อง

ผู้ที่ถูกระบุว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ มาตรา 33 กำหนดให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองความ

ปลอดภัยให้แก่ผู้ที่ถูกค้ามนุษย์ และส่งมอบความรับผิดชอบให้แก่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ

มั่นคงของมนุษย์ที่ดำเนินการให้ความช่วยเหลือและให้ความคุ้มครองผู้เสียหาย

• การพิจารณาถึงแนวทางในการปฏิบัติที่ดี ได้แก่ การสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เสียหายว่าจะได้รับความ

ช่วยเหลือและการคุ้มครอง ไม่ว่าจะให้ความช่วยเหลือกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐหรือไม่ ปกป้องคุ้มครองตาม

ลำดับความสำคัญ เปิดรับและซื่อสัตย์กับผู้เสียหายรวมทั้งให้ทางเลือกแก่ผู้เสียหายและความเสี่ยงอื่นๆ

ที่เกี่ยวข้องและทำให้มั่นใจว่าผู้เสียหายจะสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือ

Page 78: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

73การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

การให้ความช่วยเหลือผู้ที่อาจตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

การตอบสนองความต้องการเร่งด่วนของผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจะต้องไม่อยู่บนพื้นฐานที่ว่าช่วยเหลือ

เพราะผู้เสียหายให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เท่านั้น

ความต้องการเร่งด่วนรวมถึงการให้การดูแลด้านความปลอดภัยแก่ผู้เสียหาย ทั้งด้านสุขภาพ (ซึ่งรวม

ถึงการบริหารจัดการการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน) การเข้าถึงอาหาร น้ำและเสื้อผ้า

การจัดหาให้ผู้เสียหายได้มีการติดต่อสื่อสารกับครอบครัว ผู้ซึ่งไม่รู้ว่าผู้เสียหายยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ การ

ให้คำปรึกษาผู้เสียหาย (โดยเฉพาะเมื่อผู้เสียหายมีความบอบช้ำบางประการ) และการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ

ผู้บังคับใช้กฎหมายควรจะเข้าใจว่าผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อาจเคยประสบกับการถูก

ละเมิดทั้งทางร่างกายและจิตใจ

นอกเหนือจากความต้องการที่ต้องได้รับการตอบสนองในทันที ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับใช้

กฎหมายที่จะให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้เสียหายโดยการส่งตัวให้หน่วยงานที่เหมาะสมต่อไป

การให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจะมีประสิทธิภาพได้ต่อเมื่อผู้บังคับใช้กฎหมายได้ให้

ความร่วมมือกับผู้ให้บริการพิเศษ ซึ่งรวมถึงผู้มีบทบาทภาครัฐและเอกชน พันธมิตรอาจรวมถึงผู้ให้

ที่พักพิงและที่พักอาศัย การให้บริการทางสุขภาพและการให้คำปรึกษา การให้บริการล่ามแปลและการ

ให้การสนับสนุนและคำปรึกษาทางกฎหมาย

ในกรณีที่ผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เป็นเด็ก การตอบสนองความต้องการของเด็กจะต้องมี

การนำมาพิจารณาและจะต้องดำเนินการส่งต่อโดยเร่งด่วนให้แก่ผู้ให้บริการในการคุ้มครองเด็ก

ผู้บังคับใช้กฎหมายมีความรับผิดชอบในการส่งต่อผู้ที่ถูกระบุว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์หรือ

ผู้ที่มีแนวโน้มว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ให้กับผู้ให้บริการทางสังคมอื่นๆ

ผู ้ให้บริการทางสังคมที ่ผ ู ้บังคับใช้กฎหมายจะส่งต่อผู ้เสียหายไปให้อยู ่ในความรับผิดชอบนั ้น

รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่สามารถให้การดูแลเฉพาะทางแก่เด็ก ซึ่งรวมถึงจัดที่พักพิงและการปกป้องคุ้มครอง

ทางกายภาพและทางจิตใจ การให้การดูแลรักษาทางการแพทย์และการให้คำปรึกษาทางจิตใจ การให้

บริการทางกฎหมายซึ่งรวมถึงการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานและถิ่นที่อยู่

ผู้ให้บริการอาจรวมถึงผู้มีบทบาทภาครัฐเช่นเดียวกับองค์กรระหว่างประเทศและองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ

เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่ประสบกับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ควรมีรายละเอียดและช่องทาง

การติดต่อของผู้มีบทบาทหรืองค์กรที่มีความเหมาะสมในการส่งต่อผู้เสียหายค้ามนุษย์

คำถามเพื่อการทบทวน

สรุปหลักการที่สำคัญบางประการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและปฏิบัติต่อตัวผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจาก

การค้ามนุษย์

ตามพระราชบัญญัติค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 กระทรวงใดมีความรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือและ

ปกป้องคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

เหตุใดจึงไม่ควรกักตัวผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์หรือดำเนินคดีกับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

อะไรคือหลักการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จะได้รับ

การปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคและกฎหมายไทย

ประเภทการทำร้ายแบบใดที่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์มักจะถูกกระทำ?

อธิบายความต้องการเร่งด่วนของผู้เสียหาย

Page 79: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

74การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ประเภทของผู้มีบทบาทที่อาจเกี่ยวข้องและเป็นพันธมิตรในบทบัญญัติของการปกป้องคุ้มครองและ

การบริหารให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

เหตุใดผู้บังคับใช้กฎหมายจึงส่งต่อผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที ่พวกเขาได้ระบุว่าเป็นผู้เสียหาย

และหน่วยงานใดที่จะได้รับการส่งต่อ

ผู้บังคับใช้กฎหมายจะใช้เครื่องมือทางกฎหมายใดเพื่อดำเนินการส่งต่อผู้เสียหายให้มีความเหมาะสม

Page 80: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

75การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

เอกสารแนบท้าย: กฎหมายหลัก

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม

การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และ

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม

การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2558

กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

มาตรา 6 และ มาตรา 4 กำหนดให้การค้ามนุษย์เป็นความผิดทางอาญา

โดยมีบทลงโทษที่รุนแรงและมีผลบังคับใช้สำหรับทุกรูปแบบของการค้ามนุษย์

รวมทั้งการบังคับใช้แรงงานบนเรือประมง

การปรับแก้ไขพระราชบัญญัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2558 โดย

กำหนดค่าปรับที่สูงและเข้มงวดขึ้น (ประมาณ 8-20 ปี) ต้องระวางโทษจำคุก

ในกรณีของการค้ามนุษย์ที่เป็นเหตุให้มีคนได้รับบาดเจ็บทางร่างกายอย่างรุน

แรง บทลงโทษคือจำคุกตลอดชีวิตหรือการประหารชีวิตหากผู้เสียหายเสียชีวิต

มาตรา 10 มีการกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับบุคคลที่เป็นสมาชิกของ

กลุ่มอาชญากรรมองค์กร (เช่น ผู้กระทำความผิดรายบุคคลจะต้องโทษจำคุก

4 ปี ในขณะที่สมาชิกกลุ่มองค์กรอาชญากรรมจะต้องโทษ 6 ปี) มาตรา 5

แห่งพระราชบัญญัติฯ นิยามว่า กลุ่มอาชญากรองค์กรเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วย

คนจำนวน 3 คน หรือมากกว่า โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดบทบาทอย่าง

เป็นทางการ การค้ามนุษย์นอกประเทศไทยยังคงมีบทลงโทษที่รุนแรงมาก

มาตรา 13 ของ พระราชบัญญัติ กำหนดบทลงโทษสำหรับเจ้าหน้าที่ของ

รัฐที่กระทำการค้ามนุษย์อย่างรุนแรง

ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติค้ามนุษย์ ปี 2558 สถานประกอบการ

ธุรกิจและโรงงานจะถูกสั่งปิดทันทีหากพบหลักฐานของการค้ามนุษย์

ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2498

และ ที่ปรับแก้ไขเพิ่มเติม

มาตรา 312 และ 312 ทวิ ของประมวลกฎหมายอาญากำหนดห้าม

การค้าแรงงานแบบบังคับ

มาตรา 282 และ 283 ของประมวลกฎหมายอาญากำหนดห้ามการค้าเด็ก

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

พ.ศ. 2541

กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับค่าจ้างและสภาพการทำงาน อย่างไรก็ตาม

จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (ตามกฎ

กระทรวงข้อ 10)

มาตรา 4, มาตรา 44 กำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับทำงานที่ 15 ปี;

มาตรา 4, มาตรา 49 และ 50 กำหนดให้มีอายุ 18 ปี เป็นอายุขั้นต่ำ

ของการทำงานที่มีความอันตราย

มาตรา 4 มาตรา 49 และ 50 กำหนดมิให้เด็กทำงานหรือทำ

กิจกรรมที่มีความอันตราย

กฎกระทรวง ข้อ 10 พ.ศ. 2541 รัฐบาลได้แก้ไขกฎกระทรวงข้อ 10 พ.ศ. 2541 ในปี 2558 ภายใต้

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ห้ามมิให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี

ทำงานในภาคส่วนอุตสาหกรรมประมงและแปรรูปอาหารทะเล

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์และการแสวงหาประโยชน์

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน

Page 81: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

76การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

กฎกระทรวงได้กำหนดให้อุตสาหกรรมประมงอยู่นอกขอบเขตของพระราชบัญ

ญัติคุ้มครองแรงงาน นอกจากนี้ เรือประมงขนาดเล็ก (มีลูกจ้างน้อยกว่า 20

คน) ที่ปฏิบัติการอยู่นอกน่านน้ำไทยเป็นเวลาน้อยกว่า 1 ปี จะไม่รวมอยู่

ในข้อกำหนดนี้ ซึ่งข้อกำหนดนี้ได้รับการปรับปรุงเพื่อขยายขอบเขตของการ

คุ้มครองแรงงานบนเรือประมงที่มีแรงงานมากกว่า 1 คน ทั้งที่อยู่ในไทยและ

นอกประเทศไทย และเพื่อป้องกันบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ในการ

ทำงานบนเรือประมง

นอกเหนือจากนี้ กฎกระทรวงข้อ 10 ยังกำหนดให้บันทึกชื่อลูกเรือ ค่าจ้าง

แรงงาน ค่าจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดพักผ่อน โดยมีการเซ็นชื่อรับทราบ

ว่ามีการจ่ายเงินจริง

พระราชบัญญัติประมง พ.ศ. 2558

แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประมง

พ.ศ. 2490

กำหนดข้อบังคับให้มีการจดทะเบียนและขอใบอนุญาตสำหรับเรือประมง

และอุปกรณ์เรือประมง และการออกใบอนุญาตสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับ

อุตสาหกรรมประมงเพื่อการพาณิชย์

ต่อเนื่องจากการปรับปรุงพระราชบัญญัติ; มาตรา 56 กำหนดให้เจ้าหน้าที่

ของรัฐได้รับอนุญาตให้ขึ ้นเรือเพื่อปฏิบัติหน้าที ่และตรวจสอบเรือประมง

แต่ดำเนินการเพียงเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างที่ไม่ได้รวมถึงการตรวจสอบชาว

ประมง มาตรา 57 และ 58 กำหนดให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่

ที่ได้รับอนุญาตให้สามารถดำเนินการยึดเรือประมง อุปกรณ์และอุปกรณ์ใน

การจับปลาได้ในบางกรณี

พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558

แก้ไขปรับปรุง พระราชบัญญัติประมง

พ.ศ. 2558

การตรากฎหมายและบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน 2558 โดยมีวัตถุประสงค์

เพื่อจัดระเบียบกระบวนการประมงในประเทศไทยให้สอดคล้องกับการปฏิบัติ

ตามมาตรการและระเบียบระหว่างประเทศเกี่ยวกับการประมง IUU ระหว่าง

ประเทศและในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

มาตรา 11 ห้ามมิให้ผู้ประกอบการโรงงานมีส่วนร่วมในการใช้งานบุคคลหรือ

แรงงานในทางที่เป็นการละเมิดกฎหมายแรงงาน ในกรณีที่พบว่ามีการละเมิด

เกิดขึ้น โรงงานหรือสถานประกอบการณ์จะถูกสั่งระงับเป็นเวลา 10-30 วัน

และหากมีการว่าจ้างแรงงานผิดกฎหมายเกินกว่าห้าคน โรงงานอาจถูกสั่งปิด

ได้ และถูกปรับเป็นจำนวนประมาณ 400,000-800,000 บาทใช้สำหรับการ

จ้างแรงงานผิดกฎหมายหรือในกรณีที่มีแรงงานเกินกว่า 5 คน อาจถูกจำคุก

หรือปรับเป็นเงินจำนวน 200,000 ถึง 2,000,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับและ

มีค่าปรับรายวันประมาณ 100,000 ถึง 500,000 บาทต่อวันตลอดช่วง

เวลาที่มีการละเมิดแรงงานเกิดขึ้น

ขั้นตอนการแจ้งการเข้า-ออกท่าเรือ: มาตรา 82 กำหนดให้เจ้าของ /

ผู้ครอบครองเรือประมงดำเนินการรายงานเกี่ยวกับการจดทะเบียนเรือ การขอ

ใบอนุญาต ใบอนุญาตจับปลารายละเอียดของจำนวนลูกเรือประมงบนเรือ

ใบอนุญาตและใบประกอบอาชีพต่างๆ ความปลอดภัยทางอาชีพ อาชีว

อนามัยและความเป็นอยู่ของลูกเรือประมง ซึ่งอาจต้องชำระค่าปรับเป็นเงิน

จำนวน 400,000 บาทต่อลูกเรือหนึ่งคน

ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมง

Page 82: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

77การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

พระราชบัญญัติเกี่ยวข้องสิทธิใน

การจับปลาในน่านน้ำ พ.ศ. 2482

ควบคุมการประมงในน่านน้ำไทย มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัตินี้ห้ามมิให้

มีการจ้างลูกเรือหรือ 'แรงงานต่างด้าว' แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นบางส่วน

และอธิบายว่าลูกเรือประมงไม่สามารถประกอบด้วยชาวต่างชาติมากกว่า

25%

มาตรา 8 กำหนดให้ต้องมีใบอนุญาตพร้อมตรวจสอบทุกครั้ง มาตรา 9

อนุญาตให้สามารถขึ้นบนเรือประมงและตรวจสอบเรือประมง และมาตรา 10

ให้ยึดดำเนินการยึดเรือประมงและดำเนินการตามกฎหมาย

กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครอง

แรงงานในอุตสาหกรรมประมง

มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 และพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับ

อนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ILO เลขที่ 188 (2550) ในการทำงาน

ด้านประมง (ซึ่งประเทศไทยยังไม่ได้มีการให้สัตยาบัน)

กฎได้เพิ่มอายุของแรงงานจากอายุขั้นต่ำตั้งแต่ 16 ปี เป็น 18 ปี โดยรับ

ประกันให้มีการได้รับการอนุญาตให้พักตามมาตรฐานขั้นต่ำ มีวันหยุดงาน

และมีการบังคับทำสัญญาและการเข้ารับการอบรมด้านความปลอดภัยภาค

บังคับ

อื่นๆ

ระเบียบกรมเจ้าท่าว่าด้วยการจด

ทะเบียนเรือ

กำหนดให้เรือประมงทั้งหมดที่มีน้ำหนัก 30 ตันหรือมีขนาดใหญ่กว่าจะต้อง

ดำเนินการจดทะเบียนกับกรมเจ้าท่าและสำหรับนายจ้างที่จะนำเสนอเอกสาร

สำหรับแรงงานแต่ละรายบุคคลไปยังกรมเจ้าท่าสำหรับการตรวจสอบแรงงาน

แต่ละราย

พระราชบัญญัติการเดินเรือใน

น่านน้ำไทย พ.ศ. 2456เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการในทะเล

พระราชบัญญัติเรือไทยพ.ศ.2481 เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการในทะเล

พระราชบัญญัติตรวจคนเข้าเมือง

พ.ศ.2522 เกี่ยวข้องกับการตรวจคนเข้าเมืองและแรงงานข้ามชาติ

พระราชบัญญัติแรงงานข้ามชาติ

พ.ศ. 2551เกี่ยวข้องกับการตรวจคนเข้าเมืองและแรงงานข้ามชาติ

ประกาศ คสช. เลขที่ 10/2558

ประกาศ คสช. เลขที่ 10/2558

ประกาศศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหากา

รทำประมงผิดกฎหมาย เลขที่.15/2558

Page 83: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

78การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ภาคผนวก: ผู้มีบทบาทสำคัญ

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ

มั่นคงของมนุษย์

กองต่อต้านการค้ามนุษย์ พม. (DATIP)

สำนักงานต่อต้านการค้าหญิงและเด็ก

(BATWC)

หน่วยงาน บทบาทในการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

หน่วยงานหลักในการตอบสนองการต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย

ได้รับการส่งต่อเคสของบุคคลที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้เสียหายจากการค้า

มนุษย์ ตามมาตรา 33 พระราชบัญญัติต่อต้านการค้ามนุษย์ระบุว่า พม.

จะเป็นหน่วยที่ต้องพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ที่เป็นผู้เสียหายจากการค้า

มนุษย์ ซึ่งรวมถึงการจัดอาหาร ที่พักพิง การให้การดูแลทางการแพทย์

และการปฏิบัติต่อผู้เสียหายในรูปแบบต่างๆ เช่น การฟื้นดูทางร่างกายและ

การบำบัดจิตใจ การให้การศึกษา การให้การฝึกอบรมรวมถึงการให้คำปรึษา

ทางกฎหมายในการช่วยเหลือให้ผู้เสียหายสามารถกลับประเทศของตนและ

ได้รับเงินชดเชย

ดำเนินการจัดหาที่พักพิงในไทยสำหรับชายไทยที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว (เชียงราย

ปทุมธานี ระนองและสงขลา)

ดำเนินการรับผิดชอบโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์และโปรแกรมชั ้น

นำของพม. และประสานงานคณะกรรมการต่อต้านการค้ามนุษย์และคณะ

อนุกรรมการ ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้ พระราชบัญญัติต่อต้านการค้ามนุษย์และ

ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหาย

พัฒนาสังคมประจำจังหวัด

ทีมสหวิทยาการ

ศูนย์บริการครบวงจรในภาวะวิกฤติ

(OSCC)

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ระดับจังหวัดมีความรับ

ผิดชอบในการส่งนักสังคมสงเคราะห์เข้าไปตรวจสอบ คัดกรองและคัดแยก

ผู้เสียหาย

ทีมสหวิชาชีพ ร่วมกับ พม.ทุกจังหวัด รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐจากหลากหลาย

กระทรวง รวมถึง สตช. และตัวแทนจาก ตม. ตำรวจภูธร พม. โดยเฉพาะ

นักสังคมสงเคราะห์ ทีมสหวิชาชีพทำหน้าที่รับผิดชอบในการคัดกรอง

ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (รวมถึงการตรวจสอบเรือประมงโดยเรือ

ลาดตระเวณในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์) และรับผิดชอบในการ

ปกป้องคุ้มครองผู้เสียหายตั้งแต่ขั้นตอนการทำสัญญาและการดำเนินคดีทาง

กฎหมายแรงงานข้ามชาติที ่จดทะเบียนจะได้รับสิทธิ ์ในการเข้าถึงการรับ

บริการด้านสุขภาพและการรักษาโรคทางการแพทย์ (ขับเคลื่อนให้มีการ

จดทะเบียนแรงงานในจังหวัดชายฝั่งทะเลและในกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย.

2558 – 22 ก.พ. 2559 ตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 2559 มีแรงงานจำนวน 25730

คนที่เป็นอยู่ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลดำเนินการจดทะเบียนถูกต้อง

ตามกฎหมาย และมีแรงงานจากเมียนมาร์จำนวน 21135 คน ชาวลาว 469

คน และกัมพูชา 1426 คน)

ด้านต่อต้านการค้ามนุษย์

Page 84: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

79การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ศูนย์ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลในการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีเอกสาร

จากเมียนมาร์ สปป. ลาวและกัมพูชาและผู้ที่เดินทางมากับคระ การขออยู่

พำนักแบบชั่วคราวและใบอนุญาตทำงานชั่วคราวเพื่อจดทะเบียนแรงงาน

ให้การตรวจสอบด้านสุขภาพ สนับสนุนให้แรงงานซื้อใบประกันสุขภาพ

สำหรับตัวเองและบุตรของตนและบันทึกในระบบฐานข้อมูลของกระทรวง

มหาดไทยทั่วประเทศผ่านระบบออนไลน์ ร่วมกับประชาชนคนไทย

ดำเนินการจัดตั้ง สายด่วน 1300 ซึ่งเป็นโปรแกรมของ พม. ที่ให้ความ

สนใจกับประเด็นด้านการค้ามนุษย์และแรงงานเด็ก มีการจัดหาล่ามสำหรับผู้

ที่โทรติดต่อเข้ามาที่ต้องการพูดภาษาอังกฤษ เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม

สาธารณรัฐประชาชนจีนและไทใหญ่ (เผ่าชาน)

กรมสอบสวนคดีพิเศษ

ศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์

ภายใต้กรมสอบสวนคดีพิเศษ

กระทรวงยุติธรรม

กรมสอบสวนคดีพิเศษมีพันธกิจในการสืบสวนคดีที่มีความซับซ้อน ซึ่งรวมถึง

คดีการค้ามนุษย์และเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2554 การสืบสวนของกรมสอบ

สวนคดีพิเศษเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมการค้ามนุษย์ที่มีความซับซ้อนและมีค

วามเกี่ยวข้องกับการร่วมกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ภาครัฐและองค์กร

อาชญากรรมข้ามชาติ การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานตำรวจ

แห่งชาติและกรมสอบสวนคดีพิเศษระบุว่า NGO หรือนักสังคมสงเคราะห์

สามารถเลือกหน่วยงานให้ดำเนินการสืบสวนและประสานทางคดีตั้งแต่ต้นจน

จบ ซึ่งรวมถึงการบุกค้นสถานที่ด้วย

สถาบันด้านการเดินเรือ

กองบังคับการปราบปรามความผิด

เกี่ยวกับการค้ามนุษย์

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

มีความเกี ่ยวข้องกับการสืบสวนคดีพิเศษที ่เกี ่ยวข้องกับการค้ามนุษย์

สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหลักในการสืบสวนคดีการ

ค้ามนุษย์ในประเทศไทย และสามารถใช้แบบฟอร์มคัดกรองผู้เสียหายและ

ส่งต่อให้กับทาง พม. หากพบว่ามีหลักฐานที่ชัดเจนและบ่งชี้ได้ว่ามีการค้า

มนุษย์เกิดขึ้นจริง

บังคับใช้กฎหมายเฉพาะที่มีความเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงาน การค้า

มนุษย์และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์ของผู้หญิงและเด็ก'สาย

ด่วน 1191' ดำเนินการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และการใช้

ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

กองบังคับการตำรวจน้ำ ภายใต้สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยบังคับใช้กฎหมายชั้นนำที่มี

อำนาจในการขึ้นเรือและตรวจค้นเรือประมงบริเวณชายฝั่ง (พื้นที่ตั้งแต่ 12

กม.จากชายฝั่ง) อาจดำเนินการตรวจสอบเรือก่อนเดินทางล่วงหน้ากับเรือลำ

อื่นๆ และสัมภาษณ์รวมถึงสอบถามลูกเรือปรางด้วยความร่วมมือของสมาคม

ประมงแห่งประเทศไทย

ไม่ได้มีอำนาจตามกฎหมายในการตรวจสอบอย่างเป็นทางการหรือดำเนินการ

รับเรื่องต่อเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด; อำนาจของตำรวจน้ำอยู่กับ

ตำรวจท้องถิ่น (ตำรวจภูธร) อย่างไรก็ตาม ตำรวจน้ำสามารถดำเนินการ

ได้ทันทีกับเรือประมงที่จ้างคนงานที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและส่งเรื่องต่อให้ทาง

พม.ดำเนินการต่อไป

Page 85: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

80การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

กองทัพเรือ มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่น่านน้ำที่เกิน 12 กม. จากชายฝั่ง

ทะเล

ศูนย์ความร่วมมือในการบังคับด้านพาณิชย์นาวีแห่งชาติ (MECC) ดำเนินงาน

ภายใต้คำสั่งของกองทัพเรือ ซึ่งรวมทั้งหน่วยงานที่สำคัญทั้งหมดในประเด็นที่

เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ (ดำเนินการรายงานกลไกลการแบ่งปันข้อมูลมากกว่า

การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจขึ้นมา)

กองทัพเรือเป็นผู้นำของศูนย์สั่งการเพื่อต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมายภาย

ใต้การกำกับดูแลของศูนย์ประสานงานหน่วยบังคับใช้กฎหมายพาณิชย์นาวี

(THAI-MECC)

กรมประมง ภายใต้กระทรวง

เกษตร และสหกรณ์

รับผิดชอบในการออกใบอนุญาตจับปลา มุ่งเน้นการขยายผลิตภัณฑ์ด้าน

ประมง มีเรือสำหรับดำเนินการตรวจสอบ แต่ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบ

อย่างมีนัยสำคัญทางทะเล

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบการตรวจสอบ

แรงงานประมงที่เดินทางเข้าออกประเทศไทยและดำเนินการตรวจสอบรวมถึง

มีอำนาจในการตรวจสอบบนเรือประมง

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการ

สังคม ภายใต้กระทรวงแรงงาน

มีความเกี่ยวข้องในกรณีที่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการละเมิดประมวลกฎหมา

ยแรงงาน กฎหมายแรงงานต่างๆ ที่บังคับใช้ รวมทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครอง

แรงงานและความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ผ่านการตรวจสอบ

การตรวจคนเข้าเมืองและแรงงาน

กรมเจ้าท่า

ภายใต้กระทรวงคมนาคม

การจดทะเบียนเรือและผู้ประกอบการเรือและประเด็นเอกสารของแรงงานเรือ

ประมงไทย ข้อกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของชาวประมง ในกรณีระยะ

เวลาที่ลูกเรือต้องอยู่บนเรือประมง แต่การค้ามนุษย์ไม่เกี่ยวข้องกับความ

รับผิดชอบในหน้าที่ของงาน

กรมเจ้าท่ามีอำนาจให้คณะกรรมการตรวจสอบเรือเดินทะเลและอาจมอบ

อำนาจนี้ให้หน่วยอื่นทำการแทน แต่จะดำเนินการตรวจสอบบ้างเป็นจำนวน

ครั้ง โดยมุ่งเน้นการตรวจสอบเอกสาร ภายใต้ข้อบังคับตามกฎกระทรวงเพื่อ

ปกป้องแรงงานในทะเล พ.ศ. 2557 กรมเจ้าท่าจะดำเนินการตรวจสอบหนังสือ

และเอกสารต่างๆ ของลูกเรือประมงและตรวจใบอนุญาตในการทำงานบนเรือ

ตามปฏิบัติการของทีมงาน

กรมเจ้าท่ามีอำนาจให้คณะกรรมการตรวจสอบเรือเดินทะเลและอาจมอบ

อำนาจให้ทำการแทน อาจมีการตรวจสอบบางครั้ง โดยขอบข่ายงานหลัก

จะเน้นการตรวจสอบเอกสาร; ตามกฎกระทรวงเพื่อปกป้องแรงงานใน

อุตสาหกรรมประมง พ.ศ. 2557 อุตสาหกรรมประมงกรมเจ้าท่าตรวจสอบ

หนังสือนาวินและได้รับอนุญาตสำหรับชาวประมงในการทำงานกับคณะกรรม

การที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน

ในระดับจังหวัด ส่วนใหญ่ของเจ้าของเรือมักจะไม่ยอมจดทะเบียนเรือตามที่

กฎหมายกำหนดตามกฎหมาย ส่งผลให้มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการ

ควบคุมในระดับต่ำ

Page 86: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

81การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ศูนย์ประสานงานแรงงาน

ดำเนินงานร่วมโดยกรมการจัดหางาน

และกองบังคับการตำรวจน้ำ)

สถานที่ทำงาน สายด่วนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 'สายด่วน 1546'

ตอบคำถามที ่ เก ี ่ยวข้องกับสภาพการทำงานและรับการร้องเร ียนจาก

ประชาชนเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก

ตรวจสอบและตรวจดูสภาพการทำงานของลูกเรือบนเรือประมง สามารถ

ดำเนินการตรวจสอบบนเรือประมงในขณะอยู่บนน่านน้ำ ตรวจสอบสัญญา

การจ้างงานและรายชื่อลูกเรือซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีมปฏิบัติการตามการ

สั่งการของกฎกระทรวงเพื่อปกป้องคุ้มครองแรงงานใน พ.ศ.2557 สนับสนุน

และช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติในขั้นตอนการจดทะเบียน

กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับมาตรฐานการ

คุ้มครองแรงงานใน (ภายใต้พระราชกำหนด พระราชบัญญัติประมง พ.ศ.

2557) โดยมีนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการใน 22 จังหวัดชายฝั่ง

ซึ่งรวมทั้งจังหวัดระนอง ตรังและจังหวัดสมุทรสาคร

องค์กรระหว่างประเทศ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ IOM อาจให้ความช่วยเหลือในการจัด

ที่พักฉุกเฉิน ส่งตัวกลับ ซึ่งอาจต้องมีการจัดหาล่าม (ภาษาเมียนมาร์/โรฮิงยา)

UNHCR มีความเกี่ยวข้องในกรณีที่ผู้เสียหายมีความหวาดกลัวการถูกส่งตัว

กลับบ้าน

ระนอง ศูนย์ประสานงานสำหรับแรงงานประมงประจำจังหวัด

ศูนย์บริหารแรงงานประมง

บ้านพักที่ไม่ใช่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์: ใน

ระนอง ผู้หญิงจะถูกส่งไปบ้านพักศรีสุราษฎร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ใช้เวลา

องค์กรพัฒนาเอกชน มูลนิธิรักษ์ไทย Stella Maris มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย มูลนิธิเครือข่าย

ส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน และมูลนิธิสิทธิด้านเอดส์ สนันสนุนการแปล

เอกสารจัดหาล่ามให้กับเจ้าหน้าที่รัฐไทย งานรับผิดชอบด้านการบูรณาการ

ของการส่งต่อคดี มีการส่งต่อการดำเนินการช่วยเหลือและให้ความช่วยเหลือ

ตามร้องขอ มูลนิธิกระจกเงา พันธมิตรร่วมกับองค์กรเอกชนต่างๆ ให้ความ

ช่วยเหลือแก่แรงงานประมง

ผู้มีบทบาทอื่นๆ

ผู้มีบทบาทอื่นๆ ในระดับจังหวัด

กรมการจัดหางาน ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน ควบคุมและตรวจสอบสถานการณ์ของแรงงาน

ข้ามชาติในประเทศไทย ตามกฎกระทรวงปกป้องคุ้มครองแรงงานใน

อุตสาหกรรมประมง

กรมการจัดหางานจะต้องกำหนดให้ม ีการยืนยันการจดทะเบียนของ

แรงงานข้ามชาติ

สมาคม สมาคมประมงไทยและสมาคมประมงไทย ต่างประเทศ ที่ดำเนินการใน

ระดับจังหวัด

สมาพันธ์แรงงานกะเหรี่ยง สมาคมประมงสหภาพเมียนมาร์ สมาพันธ์การ

ค้าเมียนมาร์)

Page 87: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

82การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

เดินทาง 4 ชั่วโมงโดยรถ) ครอบครัวและเด็กจะถูกส่งไปยังบ้านพักฉุกเฉิน

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประจำจังหวัด ประชุม

ร่วมรายเดือนกับหน่วยงานภาครัฐ 16 หน่วยงาน และมีองค์กรระหว่าง

ประเทศและ NGO ร่วมด้วย เพื่อร่วมกันหารือและรายงานผลความคืบหน้า

การต่อต้านการค้ามนุษย์ในจังหวัดระนอง

ตรัง ศูนย์ประสานงานสำหรับแรงงานประมงประจำจังหวัด

ศูนย์บริหารจัดการแรงงานประมง

ศูนย์ประชาบดี บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตรัง: ให้การสนับสนุนในกรณี

ฉุกเฉินและจัดหาที่พักพิงสำหรับผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และให้

การช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนที่จะโอนไปให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงการ

พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

มูลนิธิรักษ์ไทย

สมุทรสาคร ศูนย์ประสานงานสำหรับแรงงานประมงประจำจังหวัด

ศูนย์บริหารแรงงานประมง

Stella Maris สงขลา: องค์กรพัฒนาเอกชนที่อยู่ในจังหวัดสมุทรสาครและ

ดูแลจัดหาที่พักให้แก่ผู้เสียหาย

มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชนที่อยู่ใน

จังหวัดสมุทรสาครที่มักส่งต่อคดีไปยัง กรมสอบสวนคดีพิเศษและกองบังคับ

การปราบปรามการกระทำผิดเกี ่ยวกับการค้ามนุษย์และอาจให้ความ

ช่วยเหลือในการจัดหาล่าม

มูลนิธิรักษ์ไทย

Page 88: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

83การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

ภาคผนวก: เอกสารหลักเอกสารต่อไปนี้ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม

รายงานที่สำคัญและบทความที่เกี ่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารทะเล

แปรรูปและกุ้งของไทย

Protecting peace and prosperity in Southeast Asia: synchronizing economic and security

agendas (UNODC, 2016)The Royal Thai Government’s Response to the Trafficking in Persons Report (January 1

- December 31, 2015)Provincial Assessment Finding Reports: Ranong, Trang and Songkla (Unpublished, IOM,

2015)Sarah Murray, Case Study: Casting a Tight Net, Stanford Social Innovation Review, Fall

2015.The Hidden Cost: Human Rights Abuses in Thailand’s Shrimp Industry (Environment

Justice Foundation, 2013)Transnational Organized Crime in East Asia and the Pacific: A Threat Assessment

(UNODC, 2013)Exploitative Labour Practices in the Global Shrimp Industry (Accenture, 2013)Caught at Sea: Forced Labour and trafficking in fisheries (ILO, 2013)Fishy business: Trafficking and labour exploitation in the global seafood industry (World

Vision, 2013) Trafficking of Fishermen in Thailand (IOM, 2011)Mekong Challenge: underpaid, overworked and overlooked (ILO, 2006)Out of Sight, Out of Mind: Human Trafficking & Exploitation of Migrant Fishing Boat

Workers in Thailand (Solidarity Centre, 2009)

คู่มือและเอกสารอื ่นๆด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเจ้าหน้าที ่ด้านกระบวนการ

ยุติธรรม

Bali Process Policy Guide on Victim Identification (Bali Process, 2015) Bali Process Policy Guide on Victim Protection (Bali Process, 2015) Genevieve LeBaron and Neil Howard (eds), Forced Labour in the Global Economy,

Volume 2 (2015)

Page 89: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

84การต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย

คู่มือการอบรม

Participant Manual: ASEAN Training Program on Trafficking in Persons for Specialist

Investigators - Reactive Investigation (ASEAN, 2011)Trainer’s Guide: ASEAN Training Program on Trafficking in Persons for Specialist

Investigators - Reactive Investigation (ASEAN, 2011)Anti-Human Trafficking Training for Criminal Justice Practitioners (UNODC, 2009)IOM Handbook on Direct Assistance for Victims of Trafficking (IOM, 2007) Recommended Principles and Guidelines on Human Rights and Human Trafficking,

(OHCHR, 2002)

เครื่องมือทางกฎหมาย

Protocol to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Persons, Especially Women and

Children, Supplementing the United Nations Convention against Transnational Orga-

nized Crime (Trafficking in Persons Protocol), 15 November 2000.

The Royal Thai Government, Anti-Trafficking Act B.E. 2551 (2008)

The Royal Thai Government, Royal Ordinance on Fisheries B.E. 2558 (2015)

The Royal Thai Government, Ministerial Regulations

Preliminary Interview Schedule for Screening Victims of Trafficking

Page 90: Print IOM Training Manual Thai...บทท 1: การค ามน ษย และหล กการท เก ยวข อง 1.1 ความร พ นฐานท วไปเก

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน สำนักงานกรุงเทพฯ ประเทศไทย

ชั้น 18 อาคารรัจนาการ 3 ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 ประเทศไทย

โทร: +66 2 343 9300 โทรสาร: +66 2 343 9399

อีเมล: [email protected]

เว็บไซต์: http://th.iom.int/