tu e-thesis (thammasat university) - การประยุกต์ใช้...

169
การประยุกต์ใช้ทฤษฏีพฤติกรรมปลอดภัย เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ของพนักงานขับรถยกและรถตักแร่ โดย นางสาวนาถนารี ใคร่ครวญกุล วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2557 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

Upload: others

Post on 14-Feb-2021

10 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • การประยุกต์ใช้ทฤษฏีพฤติกรรมปลอดภัย เพือ่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ของพนักงานขับรถยกและรถตักแร ่

    โดย

    นางสาวนาถนารี ใคร่ครวญกุล

    วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

    วิชาเอกการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ปีการศึกษา 2557 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • การประยุกต์ใช้ทฤษฏีพฤติกรรมปลอดภัย เพือ่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ของพนักงานขับรถยกและรถตักแร ่

    โดย

    นางสาวนาถนารี ใคร่ครวญกุล

    วิทยานิพนธ์นีเ้ป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

    วิชาเอกการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ปีการศึกษา 2557 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • THE IMPLEMENTATION OF BEHAVIOR BASED SAFETY THEORY TO CHANGE RISK BEHAVIOR IN FORKLIFT DRIVERS AND

    WHEEL LOADER DRIVERS

    BY

    MISS NATNAREE KHRAIKHRUANKUL

    A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF MASTER OF PUBLIC HEALTH

    ENVIRONMENTAL HEALTH AND SAFETY MANAGEMENT FACULTY OF PUBLIC HEALTH

    THAMMASAT UNIVERSITY ACADEMIC YEAR 2014

    COPYRIGHT OF THAMMASAT UNIVERSITY

  • (1)

    หัวข้อวิทยานิพนธ์ การประยุกต์ใช้ทฤษฏีพฤติกรรมปลอดภัย เพ่ือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานขับรถยกและรถตักแร่

    ชื่อผู้เขียน นางสาวนาถนารี ใคร่ครวญกุล ชื่อปริญญา สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา/คณะ/มหาวิทยาลัย สาขาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

    คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพ็ญภัทรา ศรีไพบูลย์กิจ ปีการศึกษา 2557

    บทคัดย่อ

    งานขับรถยกและรถตักแร่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุถึงร้อยละ 59.0 ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดของโรงงานผลิตปูนพลาสเตอร์ ซึ่งผลการวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุนั้นพบว่า เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงถึงร้อยละ 95.6 จึงมีการน าทฤษฎีพฤติกรรมปลอดภัยมาประยุกต์ใช้ เพ่ือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงให้เป็นพฤติกรรมปลอดภัย ซึ่งจะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะน าไปสู่การลดการเกิดอุบัติเหตุในองค์กร

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานที่ ขับรถยกและรถตักแร่ จากการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมปลอดภัย โดยศึกษาแบบกึ่งทดลอง ด าเนินการทดลองตามแบบ One Group Pretest - Posttest Design และน าหลักการของทฤษฎีพฤติกรรมปลอดภัยมาประยุกต์ใช้ในการสังเกตพฤติกรรมการท างานของพนักงานที่ขับรถยกและรถตักแร่ในโรงงาน ซึ่งขั้นตอนการด าเนินโปรแกรมจะประกอบด้วย 1) การก าหนดพฤติกรรมที่สังเกตซึ่งเป็นพฤติกรรมเปูาหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้น 2) การให้ค าแนะน าวิธีการท างานที่ถูกต้องและการส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมปลอดภัยที่ตรงตามพฤติกรรมที่สังเกต โดยการให้ค าชมเชย การให้รางวัล จากนั้น น าสถิติ Paired t – test มาทดสอบความแตกต่างของผลการสังเกตพฤติกรรมก่อนและหลังการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย

  • (2)

    จากผลการทดลองพบว่า ก่อนการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยพนักงานมีพฤติกรรมเสี่ยงร้อยละ 30.9 ซึ่งมากกว่าพฤติกรรมเสี่ยงหลังการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยที่มีค่าร้อยละ 15.4 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) แสดงถึง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงให้เป็นพฤติกรรมปลอดภัยจากวิธีการในเชิงบวก ทั้งการให้ค าแนะน าด้านความปลอดภัย การให้รางวัล และการสื่อสารระหว่างการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย อีกทั้ง ยังไม่มีอุบัติเหตุจากการขับรถยกและรถตักแร่ที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมที่สังเกตในการทดลองครั้งนี้

    การด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในการท างานของพนักงานให้เป็นพฤติกรรมปลอดภัยได้ แต่ควรด าเนินการอย่างต่อเนื่อง และในกรณีที่เป็นพนักงานใหม่ จะต้องมีมาตรการอ่ืนในการควบคุมพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การอบรมวิธีการขับขี่ปลอดภัยอย่างเข้มงวด และกฎระเบียบด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ สามารถน าหลักการตามทฤษฎีพฤติกรรมปลอดภัยไปประยุกต์ใช้กับงานอ่ืนที่มีความเสี่ยงอาจจะก่อให้เกิดอันตรายจากการท างานโดยมีสาเหตุจากพฤติกรรมเสี่ยง

    ค าส าคัญ: พฤติกรรมปลอดภัย พฤติกรรมเสี่ยง อุบัติเหตุรถยก รถยก BBS

  • (3)

    Thesis Title THE IMPLEMENTATION OF BEHAVIOR BASED SAFETY THEORY TO CHANGE RISK BEHAVIOR IN FORKLIFT DRIVERS AND WHEEL LOADER DRIVERS

    Author Miss Natnaree Khraikhruankul Degree Master of Public Health Department/Faculty/University Environmental Health and Safety Management

    Public Health Thammasat University

    Thesis Advisor Assist. Prof. Dr. Penpatra Sripaiboonkij Academic Year 2014

    ABSTRACT

    Forklift trucks and wheel loader is a cause of accident 59.0 percent of all accidents from a plaster manufacturing. Accident causation came from risk behaviors 95.6 percent. Behavior Based Safety (BBS) programme is one of the methods to use in industry to change risk behaviors which lead to reduce accident.

    The purpose of this study was to study the changes in risk behaviors of forklift drivers and wheel loader drivers after application of the BBS programme.

    This study was a quasi - experimental research. The intervention programme was applied as a one group pretest–posttest design. The processes included i) setting targets for desirable behaviors ii) providing instructions on good practice and adoption of safe behaviors, giving admiration or reward where appropriate. Data were analysed by Paired t-test. The study was approved by Thammasat University Ethics Committee.

  • (4)

    Risk behaviors on drivers before applied BBS were 30.9 percent and post-behaviors after applied BBS programme were 15.4 percent (P-value < 0.001). Risk behaviors were broken by positive applications including provides safety instruction, gives a reward and communicates throughout the programme. The incidence of risk behaviors were decreased after BBS programme applied.

    In summary, BBS programme can change risk behavior and it should be carried out continuously. For new drivers, we might apply other measures to control risk behavior e.g. coaching on safety driving strictly, safe driving regulation. Additionally, BBS can be applied to other risk works.

    Keywords: Behavior Based Safety, Risk Behavior, Forklift Accident, Forklift, BBS

  • (5)

    กิตติกรรมประกาศ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เนื่องจากได้รับความกรุณา และการชี้แนะที่เป็นประโยชน์จากกรรมาธิการวิทยานิพนธ์ทุกท่าน ขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกษร ส าเภาทอง ประธานกรรมการวิทยานิพนธ์ นายแพทย์อดุลย์ บัณฑุกุล กรรมการสอบ ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญภัทรา ศรีไพบูลย์กิจ ที่ให้ความกรุณาสละเวลามาเป็นกรรมการและที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ที่คอยให้ค าแนะน า แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ และชี้แนะให้ค าปรึกษา ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

    ขอขอบพระคุณคุณสุรชัย คุณวุฒิคุณากร ผู้ จัดการโรงงานที่ให้ความอนุเคราะห์ สถานประกอบกิจการในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ รวมถึงวิศวกร และหัวหน้างาน ที่ให้ความร่วมมือในการด าเนินงานวิจัย อีกทั้ง พนักงานทุกท่านที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ดีในการวิจัย คุณนภวรรณ ภูเก้าล้วน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ที่ให้ความช่วยเหลือในการสนับสนุนข้อมูลเพ่ิมเติมประกอบการท าวิทยานิพนธ์อย่างครบถ้วน

    ขอขอบคุณคณาจารย์ทุกท่าน และเพ่ือนร่วมรุ่น ในความรู้ มิตรภาพ ความช่วยเหลือ และเจ้าหน้าที่โครงการที่ให้ค าแนะน า แจ้งข่าวสารต่างๆ ตลอดระยะเวลาของการศึกษา

    สุดท้าย ขอขอบพระคุณพ่อ แม่ พ่ี น้อง และญาติ ที่ให้ก าลังใจ และส่งเสริมด้านการศึกษาตลอดมา

    นางสาวนาถนารี ใคร่ครวญกุล

  • (6)

    สารบัญ

    หน้า บทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ

    (1)

    (3)

    (5)

    (6)

    (9)

    (11)

    บทที่ 1 บทน า

    1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา 1.2 ค าถามของการวิจัย 1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.4 สมมติฐานของการวิจัย 1.5 ขอบเขตของการวิจัย 1.6 นิยามศัพท ์

    1

    1 10 11 11 11 11

    บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม แนวคิด และงานวิจัยที่เก่ียวข้อง

    2.1 ทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมและการจูงใจ 2.2 ทฤษฎีพฤติกรรมปลอดภัย (Behavior Based Safety Theory : BBS) 2.3 ทฤษฎีการเกิดอุบัติเหตุ 2.4 ผลการวิจัยที่เก่ียวข้อง

    13

    13 16 23 27

  • (7)

    2.5 กรอบแนวคิดการวิจัย

    59

    บทที่ 3 วิธีการวิจัย

    3.1 รูปแบบการวิจัย 3.2 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย 3.3 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่วิจัย 3.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.5 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ 3.6 ขั้นตอนการน าเครื่องมือไปใช้งาน 3.7 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย 3.8 การส่งเสริมการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย 3.9 การควบคุมคุณภาพของข้อมูล 3.10 การพิทักษ์สิทธิ์ของผู้เข้าร่วมโครงการ 3.11 จริยธรรมการวิจัยในคน

    61

    61 62 62 63 65 67 72 73 74 75 75

    บทที่ 4 ผลการวิจัยและอภิปรายผล

    4.1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 4.2 ข้อมูลลักษณะการท างานของกลุ่มตัวอย่าง 4.3 ผลการสังเกตพฤติกรรม

    4.3.1 รายการพฤติกรรมที่สังเกตส าหรับงานขับรถยกและรถตักแร่ 4.3.2 ผลการสังเกตพฤติกรรมก่อนการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย 4.3.3 ผลการสังเกตพฤติกรรมหลังการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย 4.3.4 ผลการสังเกตพฤติกรรมเปรียบเทียบก่อนและหลังการด าเนิน

    โปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย 4.4 วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงและส่งเสริมพฤติกรรมปลอดภัย 4.5 การเกิดอุบัติเหตุจากการท างาน

    76

    76 77

    80 82 87 93

    96 98

  • (8)

    4.6 ผลการวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐาน 4.6.1 ร้อยละผลการสังเกตพฤติกรรมเสี่ยงก่อนและหลังการด าเนินโปรแกรม

    พฤติกรรมปลอดภัย 4.6.2 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มตัวอย่างที่ขับรถยกและ

    รถตักแร่หลังการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยกับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง

    4.7 การอภิปรายผล

    100

    101

    102

    บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ รายการอ้างอิง ภาคผนวก ภาคผนวก ก แบบประเมินเพื่อคัดเลือกพฤติกรรมเสี่ยง ภาคผนวก ข แบบสังเกตพฤติกรรมปลอดภัย ภาคผนวก ค แบบสรุปการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย ภาคผนวก ง ผลการสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างจ าแนกตามรายบุคคล หลังการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยระหว่าง เดือนพฤษภาคม-เดือนสิงหาคม 2557 ภาคผนวก จ ผลการสังเกตพฤติกรรมจ าแนกตามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง หลังการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยระหว่าง เดือนพฤษภาคม-เดือนสิงหาคม 2557 ภาคผนวก ฉ หนังสืออนุมติด้านจริยธรรมการท าวิจัยในคน ประวัติผู้วิจัย

    104

    111

    116 117 122 146

    149

    151

    152

  • (9)

    สารบัญตาราง

    ตารางที่ หน้า 1.1 รายการการกระท าที่ไม่ปลอดภัยที่เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่าง

    เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 1.2 ข้อมูลการใช้งานรถยกและรถตักแร่

    7

    10 2.1 แสดงข้อดี ข้อจ ากัด และโอกาสในการเรียนรู้จากการด าเนินโปรแกรม พฤติกรรมปลอดภัย

    2.2 แสดงระยะและการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย 2.3 ทฤษฎีการเกิดอุบัติเหตุที่มีผู้ศึกษาไว้ในแต่ละช่วง 2.4 ผลการวิจัยที่ศึกษาทางด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานให้เป็น พฤติกรรมปลอดภัย

    2.5 ผลการวิจัยที่ศึกษาทางด้านการปูองกันอุบัติเหตุและการลดลงของอัตรา การเกิดอุบัติเหตุ

    2.6 ผลการวิจัยที่ศึกษาทางด้านปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัย 2.7 ผลการวิจัยที่ศึกษาทางด้านปัญหาจากการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยและ แนวทางการแก้ไข

    20

    21 25 28

    38

    45 56

    3.1 แสดงจ านวนพนักงานที่เป็นกลุ่มตัวอย่างและลักษณะการใช้งานรถยกและรถตักแร่ 3.2 แบบประเมินเพื่อคัดเลือกพฤติกรรมเสี่ยง 3.3 เกณฑ์การประเมินเพ่ือคัดเลือกพฤติกรรมเสียง 3.4 ตัวอย่างการบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรม

    63 66 67 71

    4.1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จ าแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และอายุงาน 4.2 ลักษณะงานของการใช้รถยกและรักตักแร่ 4.3 พฤติกรรมที่สังเกตส าหรับงานขับรถยกและรถตักแร่ 4.4 ผลการสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างจ าแนกตามรายบุคคล ก่อนการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย

    4.5 ผลการสังเกตพฤติกรรมจ าแนกตามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย

    4.6 จ านวนครั้งของพฤติกรรมและค่าร้อยละของพฤติกรรมที่สังเกต ก่อนการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย

    77 78 80 83

    85

    87

  • (10)

    4.7 จ านวนครั้งของพฤติกรรมและค่าร้อยละของพฤติกรรมที่สังเกต หลังการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย

    4.8 เปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงจากผลการสังเกพฤติกรรมก่อนและหลังการด าเนิน โปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยจ าแนกตามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง

    4.9 รายละเอียดการเกิดอุบัติเหตุจากการท างานในช่วงระหว่าง 1 มกราคม - 31 สิงหาคม 2557

    4.10 ผลการวิเคราะห์ค่าร้อยละของพฤติกรรมเสี่ยงก่อนและหลังการด าเนินโปรแกรม พฤติกรรมปลอดภัย

    4.11 การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มตัวอย่างที่ขับรถยกและ รถตักแร่หลังการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยกับข้อมูลทั่วไปของกลุ่ม ตัวอย่าง

    92

    94

    98

    100

    104

    5.1 ลักษณะการใช้งานเครน 109 5.2 รายการพฤติกรรมที่สังเกตส าหรับการใช้งานเครน 110

  • (11)

    สารบัญภาพ

    ภาพที่ หน้า 1.3 แสดงอัตราการประสบอันตรายจากการท างาน และจ านวนเงินทดแทน

    ระหว่างปี พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2554 1.4 แสดงอัตราการประสบอันตรายจากการท างาน แยกตามระดับความรุนแรง

    ระหว่างปี พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2554 1.5 แสดงการคาดการณ์สิ่งที่ท าให้เกิดอุบัติเหตุ จากการประเมินความเสี่ยง 1.6 แสดงจ านวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุแยกตามรายปี ระหว่างเดือนมกราคม

    พ.ศ. 2553 – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 1.7 อัตราความถี่ของอุบัติเหตุแยกตามรายปี ระหว่างเดือนมกราคมพ.ศ. 2553 –

    เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 1.8 เปรียบเทียบร้อยละของการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดข้ึนจากรถยกและรถตักแร่

    กับอุบัติเหตุที่เกิดข้ึนจากงานอ่ืนๆในแต่ละปี ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556

    1.9 เปรียบเทียบสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดข้ึนระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556

    1.10 แสดงกระบวนการผลิตของสถานประกอบการ

    1

    2

    3 4

    5

    5

    6

    9 2.1 แสดงกระบวนการจูงใจ ตามทฤษฎีสิ่งเร้า 2.2 แสดงกระบวนการเกิดพฤติกรรม 2.3 แสดงกระบวนการจูงใจตามทฤษฎีภาวะทางอารมณ์ 2.4 โมเดลการปูองกันอุบัติเหตุ 2.5 แสดงกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 2.6 ทฤษฎีโดมิโนของการเกิดอุบัติเหตุ H.W. Heinrich, 1959 2.7 พีระมิดอุบัติเหตุ 2.8 แสดงแบบจ าลองสาเหตุของอุบัติเหตุและความสูญเสีย

    (Loss Causation Model) 2.9 แสดงกรอบแนวคิดการวิจัย

    13 14 15 19 22 24 24 25

    60

    3.1 แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว (One Group Pretest - Posttest Design) 3.2 แสดงขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

    61 65

  • (12)

    4.1 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมปลอดภัยและพฤติกรรมเสี่ยง ระหว่างเดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม 2557

    4.2 พฤติกรรมเสี่ยงระหว่างเดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม 2557 จ าแนกตามอายุ 4.3 พฤติกรรมเสี่ยงระหว่างเดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม 2557 จ าแนกตาม

    ระดับการศึกษา 4.4 พฤติกรรมเสี่ยงระหว่างเดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม 2557 จ าแนกตามอายุงาน 4.5 แสดงตัวอย่างการสังเกตพฤติกรรม 4.6 แสดงการประชุมชี้แจงผลการสังเกตพฤติกรรม 4.7 แสดงการมอบรางวัลให้กับกลุ่มตัวอย่าง 4.8 อัตราความถี่ของอุบัติเหตุแยกตามรายเดือน ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนสิงหาคม

    พ.ศ. 2557

    88

    89 90

    90 96 97 97 99

    5.1 การฝึกอบรมการสังเกตพฤติกรรมในการใช้งานเครน 110

  • 1

  • 2

  • 3

    3

    ไฟฟ้า, 40%

    เครื่องจกัร, 14% รถยก, 12%

    เพลงิไหม,้ 8%

    ทีส่งู, 8% สารเคม,ี 4%

    เครื่องมอื, 4%

    ยานพาหนะ, 3% เครน และการยก, 3%

    สภาพพืน้ทีไ่ม่ปลอดภยั, 2% อื่นๆ, 2%

    Larsson, T. J. and Rechnitzer, G. (1994) ได้ศึกษาการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจาก รถยก ในรัฐวิคตอเรีย ของออสเตรเลียระหว่างปี 1987 – 1990 พบว่า มีผู้เสียชีวิต 15 ราย และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ประมาณ 700 รายต่อปี กรณีที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรง และเสียชีวิต ส่วนใหญ่เกิดขึ้น จากการเฉี่ยวชนของรถยกกับผู้ที่ท างานอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

    Wiegand-S, N. (1987) ได้รวบรวมข้อมูลการได้รับบาดเจ็บจากการท างานเนื่องจากอุบัติเหตุจากรถยกในสหรัฐอเมริกา พบว่าในปี 1985 มีพนักงานได้รับบาดเจ็บประมาณ 34,000 ราย ซึ่งผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่าส่วนใหญ่การได้รับบาดเจ็บนั้นเกิดจากการขับรถยกบนทางเดินเท้า และยังเสนอแนะว่าการปูองกันอุบัติเหตุ ไม่ควรมุ่งเน้นไปเฉพาะที่ผู้ขับรถยกเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงพนักงานที่ต้องมีการท างานในพ้ืนที่ที่มีการใช้งานรถยกด้วย

    นอกจากนี้ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลของการประเมินความเสี่ยงภายในกลุ่มบริษัทผลิตผลิตภัณฑ์ก่อสร้างทั้งหมด 17 บริษัท พบว่า จากการคาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุด้วยวิธีการประเมินความเสี่ยง รถยกเป็นสิ่งที่ท าให้เกิดอุบัติเหตุมากเป็นล าดับ 3 ซึ่งควรน ามาปรับปรุงแก้ไขเพ่ือปูองกันความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น ตามภาพท่ี 1.3

    ภาพที่ 1.3 แสดงการคาดการณ์สิ่งที่ท าให้เกิดอุบัติเหตุ จากการประเมินความเสี่ยง ที่มา: รายงานการประชุมคณะท างานกลุ่มบริษัทที่วิจัย ประจ าไตรมาสที่ 2 ปี พ.ศ. 2556

    นอกจากความสูญเสียทางด้านร่างกายแล้ว ในการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งยังมีทรัพย์สิน

    เสียหาย รวมถึงผลกระทบต่อเนื่องที่เกิดขึ้นตามมากับครอบครัว เศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติ ซึ่งหากคิดเป็นจ านวนเงินแล้วมีมูลค่ามหาศาล

  • 4

  • 5

  • 6

    6

    เมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะที่มีการใช้งานรถยกและรถตักแร่ โดยแยกเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระท าที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Action) และสาเหตุที่เกิดขึ้นจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe condition) พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการกระท าที่ไม่ปลอดภัยของพนักงานที่ขับรถยกและรถตักแร่ ร้อยละ 95.6 และสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยร้อยละ 4.4 ตามภาพท่ี 1.7

    ภาพที่ 1.7 เปรียบเทียบสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 ที่มา: รายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุประจ าปีของบริษัทที่วิจัย

    จากภาพที่ 1.7 เมื่อน าข้อมูลของการกระท าที่ไม่ปลอดภัยร้อยละ 95.6 มาแจกแจง

    พบว่ามีการกระท าท่ีไม่ปลอดภัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในขณะนั้น ทั้งหมด 21 ครั้ง ซึ่งเป็นการกระท าที่ไม่ปลอดภัย 11 รายการ ตามตารางที่ 1.1

  • 7

    7

    ตารางที่ 1.1 รายการการกระท าที่ไม่ปลอดภัยที่เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556

    ล าดับที ่

    การกระท าท่ีไม่ปลอดภัย ความถี่ท่ีเกิดข้ึน

    (ครั้ง) 1 ไม่ได้มองบริเวณรอบๆตัวรถก่อนที่จะถอยรถ 8 2 วางซ้อนถุงปูนในขณะที่ปูนยังไม่อยู่ตัว (Settle) 2 3 ใช้งารถยกส าหรับแขวนถุงปูนขณะถ่ายเทปูน 1 4 ยืนแกะถุงปูนบนงารถยก 1 5 วางซ้อนถุงปูนเกินจ านวนชั้นที่ก าหนด 1 6 วางซ้อนถุงปูนไม่ตรงตามแนวตั้ง 2 7 ดึงงารถยกออกจากพาเลทในขณะที่ยังจัดวางไม่เรียบร้อย 1 8 ขับรถยกโดยไม่มีหน้าที่ 1 9 ไม่ยกกระบะตักแร่ให้ได้ระยะก่อนที่จะเทแร่ลง Hopper 1 10 ตักแร่จนล้นขอบปากของกระบะ 2 11 ใช้รถตักแร่ดันแร่บริเวณก าแพงที่ห้ามไว้ 1

    รวม 21 ที่มา: รายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุประจ าปีของบริษัทที่วิจัย

    อุบัติเหตุที่เกิดข้ึน ทางผู้บริหารได้เล็งเห็นถึงความส าคัญของการปูองกันและลดการเกิดอุบัติเหตุจึงได้มีการน ามาตรการต่างๆเข้ามาใช้ในสถานประกอบการ โดยมีการน าแนวทางการจัดการด้านความปลอดภัย มาใช้ในการด าเนินงานด้านความปลอดภัย แต่พบว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุยังไม่มีแนวโน้มลดลง และจากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ แยกตามสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุจะเห็นว่าการกระท าที่ไม่ปลอดภัยซึ่งเป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลเป็นสาเหตุที่ท าให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่าสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งมาตรการที่ใช้ในการค้นหาและปรับปรุงสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยได้มีการด าเนินการอย่างต่อเนื่อง ในหลายช่องทาง ทั้งการตรวจสอบโดยบุคคลภายในบริษัทฯ และการตรวจสอบโดยหน่วยงานภายนอก เช่น

  • 8

    8

    - การตรวจสอบด้านความปลอดภัยในพ้ืนที่ปฏิบัติงาน มีการตรวจโดยคณะกรรมการความปลอดภัยฯเป็นประจ าทุกเดือน การตรวจประจ าวันโดยหัวหน้างาน การตรวจโดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการท างาน

    - การตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ เครื่องจักรก่อนการใช้งานประจ าวัน ตามแบบ ตรวจสอบ

    - การตรวจสอบความปลอดภัยโดยผู้ช านาญการภายนอกเกี่ยวกับอาคาร ระบบอุปกรณ์ไฟฟูา และเครื่องจักรตามกฎหมาย เช่น หม้อน้ า เครน ถังเก็บน้ ามัน

    - กิจกรรมการเขียนข้อเสนอแนะปรับปรุงแก้ไขสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยในพ้ืนที่ปฏิบัติงาน

    จากตัวอย่างกิจกรรมและมาตรการข้างต้น ท าให้สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุมีจ านวนลดลง ประกอบกับมาตรการทางกฎหมายด้านความปลอดภัยที่ประกาศบังคับใช้กับสถานประกอบการที่ต้องน าไปปฏิบัตินั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นไปทางด้านการก าหนด ควบคุมและตรวจสอบเกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร อาคาร การออกแบบทางวิศวกรรม และการบ ารุงรักษา

    ในขณะที่มาตรการที่จะน ามาควบคุมทางด้านพฤติกรรมของพนักงานนั้น ยังไม่มีการก าหนดและด าเนินการอย่างชัดเจน ซึ่งหากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานให้เป็นพฤติกรรมปลอดภัยได้ จะมีส่วนท าให้สถิติของการเกิดอุบัติเหตุลดลง ผู้วิจัยจึงน าวิธีการของ Behavior Based Safety (BBS) ตามแนวทางของ Geller, E. S. (2005) ที่มีหลักการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยเทคนิคทางจิตวิทยาโดยการจูงใจเชิงบวกมาประยุกต์ใช้ เพ่ือเป็ นการส่งเสริมให้พนักงานมีพฤติกรรมปลอดภัย อันเป็นการปูองกันการเกิดอุบัติเหตุเชิงรุก ลดความสูญเสียทางด้านร่างกายและทรัพย์สินทั้งของพนักงานและโรงงาน

    สถานประกอบการที่ท าการศึกษาวิจัยก่อตั้งขึ้นเม่ือ วันที่ 19 พฤษภาคม 2535 ตั้งอยู่ในเขตประกอบการอุตสาหกรรมเหมราชสระบุรี ประกอบกิจการผลิตปูนพลาสเตอร์ ส าหรับเป็นวัตถุดิบใช้ในการผลิตสินค้าในกลุ่ม Molding (สุขภัณฑ์ ถ้วยชาม และแบบหล่อฟัน) และ Construction (กาวยาแนว และกาวติดกระเบื้อง) ก าลังเครื่องจักร 5,248.73 แรงม้า ปัจจุบันมีพนักงานและผู้รับเหมารวมทั้งสิ้น 179 คน เป็นพนักงานระดับบริหาร 3 คน พนักงานระดับบังคับบัญชา 24 คน และพนักงานระดับปฏิบัติการ 152 คน (ผู้รับเหมาทุกคนจะมีหน้าที่งานเช่นเดียวกับพนักงานในระดับปฏิบัติการ) วัตถุดิบหลักที่ใช้ในกระบวนการผลิตคือ แร่ยิปซัม โดยมีกระบวนการผลิตตามภาพที่ 1.8

  • 9

  • 10

    10

    ตารางที่ 1.2 ข้อมูลการใช้งานรถยกและรถตักแร่

    ประเภทรถ จ านวนรถ

    (คัน) จ านวนผู้ทีไ่ด้รับอนุญาตให้ขับรถยก/รถตักแร่ (คน)

    กิจกรรมที่มีการใช้งานรถยก/รถตักแร่

    ลักษณะการใช้งาน รถยก/รถตักแร่

    รถตักแร่ 1 6 (พนักงาน) งานบดแร ่ ตักก้อนแร่จากบริเวณที่กองเก็บไปเทใส่เครื่องบดแร่

    รถยก 8 22 (พนักงาน) 12 (ผู้รับเหมา)

    กิจกรรมในงานผลิต ยก เคลื่อนย้ายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ ์

    งานคลงัสนิค้าและงานซ่อมบ ารุง

    ยก เคลื่อนย้ายวัสดุ สิ่งของ

    1.2 ค าถามของการวิจัย

    1.2.1 การประยุกต์ใช้ทฤษฏีพฤติกรรมปลอดภัยมีผลอย่างไรต่อการปรับเปลี่ยน

    พฤติกรรมเสี่ยงเป็นพฤติกรรมปลอดภัยของพนักงานที่ขับรถยกและรถตักแร่ 1.2.2 การด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยจะมีผลอย่างไรต่อการเกิดอุบัติเหตุ

    ที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานที่ขับรถยกและรถตักแร่

  • 11

    11

    1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

    1.3.1 เพ่ือศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานที่ขับรถยกและรถตักแร่จากการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมปลอดภัย

    1.3.2 เพ่ือศึกษาถึงการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานที่ขับรถยกและรถตักแร่จากการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมปลอดภัย

    1.4 สมมติฐานการวิจัย

    1.4.1 พฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานที่ขับรถยกและรถตักแร่ ลดลงหลังการด าเนิน

    โปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย 1.4.2 อัตราการเกิดอุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานที่ขับรถยก

    และรถตักแร่ ลดลงหลังการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย

    1.5 ขอบเขตการวิจัย

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) ด าเนินการทดลองตามแบบ One Group Pretest - Posttest Design โดยการน าหลักการของ Behavior Based Safety Theory มาประยุกต์ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ขับรถยกและรถตักแร่ในโรงงาน ซึ่งมีจ านวนทั้งหมด 32 คน จากจ านวนประชากร 40 คน โดยด าเนินการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของพนักงานก่อนและหลังการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย ซึ่งใช้ระยะเวลาในการศึกษานาน 5 เดือน

    1.6 นิยามศัพท์

    การสังเกต หมายถึง การมองดูที่มากกว่าขบวนการทางสรีระวิทยาของร่างกาย

    ซึ่งหมายถึงการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยความตั้งใจ เพ่ือที่จะเรียนรู้บางสิ่ง และ/หรือให้ความสนใจต่อสภาพการณ์และพฤติกรรม การสังเกตไม่ได้จ ากัดที่ความรู้สึกจากการมองเห็น แต่ยังรวมถึงการรับรู้ การแยกแยะผ่านระบบสัมผัสทั้งหลาย ได้แก่ การมอง การฟัง การรับรสการดมกลิ่น การสัมผัส ซึ่งยังรวมถึงการจดบันทึกความเข้าใจในจุดส าคัญของการสังเกต (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ม.ป.ป.)

  • 12

    12

    แรงจูงใจ หมายถึง สภาวะที่อินทรีย์ถูกกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมเพ่ือไปยังจุดหมายปลายทาง มนุษย์หรือสัตว์เมื่ออยู่ในสภาวะที่ได้รับการจูงใจจะต้องมีความกระตือรือร้น และขวนขวายในการท ากิจกรรม หรือแสดงพฤติกรรมเพ่ือให้เกิดความส าเร็จซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางที่ต้องการ(สมศักดิ์ ประเสริฐสุข, 2554)

    ความต้องการ หมายถึง สภาพขาดแคลนซึ่งเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตามที่มีความไม่สมดุลทางสรีระหรือทางใจ เช่น เวลาที่เราคอแห้งเนื่องจากพูดมาก เราก็จะรู้สึกกระหายน้ าขึ้นมาทันที (สมศักดิ์ ประเสริฐสุข, 2554)

    พฤติกรรม หมายถึง กิจกรรมหรือการกระท าของบุคคลที่มาจากความรู้สึก ทัศนคติ การรับรู้ ทักษะ การตัดสินใจ หรือการกระตุ้น ซึ่งสามารถจ าแนกพฤติกรรมออกเป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้ (พฤติกรรมภายนอก) และพฤติกรรมที่มองไม่เห็น (พฤติกรรมภายใน) ซึ่งต้องใช้เครื่องมือในการกระตุ้นให้มีการแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้ (ธิติพันธ์ วงศ์อารีย์สวัสดิ์, 2549)

    พฤติกรรมปลอดภัย หมายถึง การกระท าหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึก ที่บ่งบอกถึงสภาวะการปราศจากภัยหรือพ้นภัย ปราศจากอันตราย การบาดเจ็บ การเสี่ยงภัยหรือการสูญเสีย เมื่อมีสิ่งมากระตุ้น เช่น การเก็บสิ่งของเป็นระเบียบ การไม่สูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบ การตัดระบบไฟฟูา ใช้ปูายเตือนและล็อคกุญแจก่อนท าการซ่อมเครื่องจักร (ปฐมาภรณ์ ทศพล, 2551)

    พฤติกรรมเสี่ยง หมายถึง พฤติกรรมของคนงานที่กระท าในขณะท างาน แล้วพฤติกรรมนั้นมีแนวโน้มก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือท าให้มีผลเสียต่อสุขภาพ ได้แก่ การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการท างาน การท างานผิดวิธีหรือลดขั้นตอนการท างาน การหยอกล้อเล่นกันระหว่างท างาน และท่าทางการท างานที่ผิด เป็นต้น (พีรดา พ่ึงพิงพัก, 2542)

    อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ทีม่ิได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือตาย และ/หรือท าให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ความหมายในเชิงวิศวกรรมความปลอดภัยนั้น อุบัติเหตุยังมีความหมายครอบคลุมถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว มีผลกระทบกระเทือนต่อกระบวนการผลิตปกติ ท าให้เกิดความล่าช้า หยุดชะงัก หรือเสียเวลา แม้จะไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือพิการ ก็ตาม (วิฑูรย์ สิมะโชคดี และ วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์, 2543)

    ทะเบียนการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง หมายถึง ข้อมูลการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยในการท างานที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในโรงงาน

  • 13

  • 14

  • 15

  • 16

    16

    2.2 ทฤษฎีพฤติกรรมปลอดภัย (Behavior Based Safety Theory : BBS)

    Lotlikar, H. S. (2009) กล่าวว่า BBS เป็นวิธีการที่มีจุดมุ่งหมายในการปรับปรุงความปลอดภัยโดยการบูรณาการหลักการของพฤติกรรมศาสตร์ คุณภาพ และการพัฒนาองค์กร เข้ากับการบริหารจัดการความปลอดภัย เพ่ือลดการบาดเจ็บ อาจกล่าวได้ว่า เป็นการมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมของพนักงานทุกคนเพ่ือปรับปรุงตลอดทั้งกระบวนการ โดยใช้หลักการของพฤติกรรมศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม เมื่อด าเนินการร่วมกับการบริหารจัดการและด้านวิศวกรรมแล้ว BBS จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบรรลุและรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ดี Mettert, T. A. (2006) กล่าวว่า BBS คือการพัฒนาพฤติกรรมปลอดภัยอย่างเป็นระบบ โดยใช้จิตวิทยาพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของพนักงาน กระบวนการประกอบด้วย การอบรมผู้สังเกต การแต่งตั้งคณะกรรมการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดท ารายการส าหรับสังเกตการณ์ การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และมุ่งเน้นการแก้ไขไปที่พฤติกรรมเสี่ยงที่มีความถ่ีในการเกิดข้ึนบ่อยครั้ง Asten, C. V. (2011) กล่าวว่า BBS เป็นวิทยาศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นปัญหา โดยมุ่งเน้นไปที่การกระท าของคน จากนั้นจึงวิเคราะห์ว่าท าไมจึงท าเช่นนั้น และประยุกต์ใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพ่ือปรับปรุงพฤติกรรมนั้น Xiongjun, Y. andKaiquan, W. (2012) กล่าวว่า BBS เป็นวิธีการสังเกตพฤติกรรม โดยมีพฤติกรรมปลอดภัยเป็นตัวชี้วัด มีการนิยามความหมายที่แตกต่างกันระหว่างพฤติกรรมเสี่ยงกับพฤติกรรมปลอดภัย โดยมากใช้ในการสังเกตพฤติกรรมในกระบวนการท างาน และเฝูาดูพฤติกรรมของพนักงาน ทั้งยังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารจัดการที่เสริมสร้างทักษะของพนักงาน พัฒนาการท างานปกติที่เป็นพฤติกรรมปลอดภัยของพนักงาน แก้ไขพฤติกรรมเสี่ยง ส่งเสริมพฤติกรรมปลอดภัย สนับสนุนการท าให้เกิดบรรยากาศที่ปลอดภัย และปรับปรุงการด าเนินงานด้านความปลอดภัย Geller, E. S. (2005) กล่าวว่า หลัก 7 ประการที่ส าคัญในการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยให้ประสบความส าเร็จ คือ

    (1) ให้ความสนใจการปรับเปลี่ยน (Intervention) ไปยังพฤติกรรมที่สังเกต เพราะกระบวนการ BBS จะมุ่งเน้นไปที่บุคคลนั้นท าอะไร วิเคราะห์ว่าท าไมถึงท าเช่นนั้น และจากนั้นจึงใช้เทคนิคเพ่ือเข้าสู่ขั้นตอนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

    (2) ศึกษาถึงปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรม ซึ่งจะท าให้มีความเข้าใจและ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

  • 17

    17

    (3) การให้สิ่งเร้าและการจูงใจเพ่ือให้เกิดผลที่ตามมาอย่างที่ต้องการ เป็นวิธีการประยุกต์ใช้ตามหลักของทฤษฎี ABC Model ในศึกษาพฤติกรรมของคนเพ่ือพิจารณาให้เข้าใจว่าท าไมบุคคลจึงแสดงออกเช่นนั้นประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ A (Antecedents) คือสิ่งกระตุ้น หรือ เหตุการณ์ที่เกิดก่อนที่จะแสดงพฤติกรรม B (Behaviors) คือ พฤติกรรมหรือการแสดงออก และ C (Consequences) คือ ผลลัพธ์ หรือผลที่ตามมาหลังจากแสดงพฤติกรรมแล้ว

    (4) ให้ความสนใจกับผลลัพธ์เชิงบวกที่เกิดขึ้น โดยการแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรม ซึ่ง BBS เป็นมาตรการในเชิงรุกท่ีจะท าให้บรรลุเปูาหมายในการลดความเสี่ยงและปูองกันการบาดเจ็บ

    (5) ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เพ่ือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้ขั้นตอนตามวิธี DO IT นั่นคือ D (Define) ระบุพฤติกรรมเปูาหมาย หรือพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้น O (Observe) สังเกตเพ่ือรวบรวมข้อมูล I (Intervene) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพ่ือจูงใจให้เกิดพฤติกรรมเปูาหมาย และ T (Test) ทดสอบผลที่เกิดข้ึนจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

    (6) ใช้หลักการทางทฤษฎีในการบูรณาการข้อมูลแบบไม่มีขีดจ ากัด โดยการสรุปความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสถานการณ์เฉพาะ หรือ ลักษณะภายในส่วนบุคคล ที่สามารถน าไปสู่การพัฒนางานวิจัยบนพ้ืนฐานทางทฤษฎีว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบใดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ภายใต้สถานการณ์นั้นๆ ทฤษฎีมักใช้เพ่ือบูรณาการข้อมูลที่มาจากการสังเกตพฤติกรรมอย่างเป็นระบบ

    (7) ก าหนดวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยพิจารณาถึงความรู้สึกภายในและทัศนคติ เนื่องจากความรู้สึกภายในหรือทัศนคติมีผลกระทบโดยตรงจากวิธีการที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม Cooper, M. D. (2009) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่ส าคัญของโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย ไว้ดังนี้

    (1) การบ่งชี้พฤติกรรมเสี่ยง (แหล่งข้อมูลจากบันทึกการบาดเจ็บและเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ)

    (2) การพัฒนารายการสังเกตท่ีเหมาะสม (ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่น าไปสู่การบาดเจ็บ) (3) การฝึกอบรมครอบคลุมทุกคน ทั้งผู้สังเกต ผู้ให้การสนันสนุน และ ผู้เข้าร่วม

    กิจกรรม (4) การประเมินพฤติกรรมปลอดภัยอย่างต่อเนื่องโดยการสังเกตพฤติกรรม (5) การให้มีการสื่อสารเพ่ือสะท้อนผลลัพธ์อย่างไม่จ ากัดช่องทาง ทั้งวิธีทางวาจา

    กราฟ และการเขียน

  • 18

    18

    The Keil Centre (2000) ได้กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ดีที่มีการก าหนดพฤติกรรมปลอดภัยให้เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย เนื่องจากเปอร์เซ็นต์ของการเกิดอุบัติ เหตุเกี่ยวข้องโดยตรงกับพฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น พนักงานถูกเศษเหล็กกระเด็นเข้าตา เนื่องจากเขาไม่ได้สวมแว่นตานิรภัยขณะท างานเจียร และปัจจัยที่จะท าให้การด าเนินโปรแกรมประสบความส าเร็จ 3 ประการ คือ

    (1) การเริ่มต้นและด าเนินโปรแกรม โดยให้ทั้งระดับผู้บริหารและพนักงานได้มีส่วนร่วม ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มกระบวนการ รวมทั้งการปรึกษาหารือร่วมกันเกี่ยวกับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้มีการก าหนดและพัฒนาโปรแกรมในรูปแบบที่เหมาะสมกับสิ่งที่องค์กรต้องการวัฒนธรรมและระบบการจัดการความปลอดภัยที่มีอยู่

    (2) การรักษาไว้ซึ่งโปรแกรม โดยต้องมีการจัดการอย่างยั่งยืนและผู้เชี่ยวชาญให้การสนับสนุนในการแก้ปัญหา มีการใช้หลายช่องทางการสื่อสารที่เป็นไปได้ ในการ สะท้อนผลลัพธ์ไปยังพนักงาน และระดับบริหารให้ค ามั่นสัญญาที่จะให้ผู้เกี่ยวข้องได้ใช้ช่วงเวลางานในการสังเกตพฤติกรรม

    (3) การจัดการในระดับโครงสร้างองค์กร โดยผู้บริหารต้องมีความหนักแน่นและมีการบริหารตามมาตรฐานความปลอดภัยเป็นอย่างดีโดยการคัดเลือกพฤติกรรมต้องสอดคล้องตามเปูาหมายด้านการจัดการผลิต และเป็นเรื่องที่พนักงานต้องการปรับปรุงและให้มีการตัดสินใจตั้งแต่ช่วงแรกของการด าเนินโปรแกรมเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติในการสังเกต ซึ่งเป็นระเบียบวินัยที่ทุกคนรับรู้ Lund, J. andAaro, L. E. (2004) ได้แบ่งมาตรการในการปูองกันการเกิดอุบัติเหตุออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

    (1) การปรับเปลี่ยนทัศนคติ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผ่านข้อความโน้มน้าวทางสื่อสารมวลชล เช่น แผ่นผับ หนังสือ ภาพยนตร์ โปสเตอร์ หรืออีเมล นอกจากนี้ยังรวมถึงการให้ค าปรึกษาแบบทางเดียว เช่น การให้ค าปรึกษาเรื่องความปลอดภัยของรถยนต์ให้กับมารดาของเด็กแรกเกิด

    (2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยวิธีการมากมาย โดยไม่ต้องใช้ตัวกลางอย่างทัศนคติ เช่น การฝึกอบรมทักษะการท างานร่วมกับการให้รางวัล

    (3) การปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่เป็นปัจจัยแวดล้อม อาจถูกเปลี่ยนแปลงโดยกฎหมาย ข้อก าหนด โครงสร้าง และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การปรับเปลี่ยนและความพร้อมของสินค้า เมื่อน ามาก าหนดเป็นโมเดลของการปูองกันอุบัติเหตุจะได้ตามภาพที่ 2.4 ดังนี้

  • 19

  • 20

    20

    ตารางที่ 2.1 แสดงข้อดี ข้อจ ากัด และโอกาสในการเรียนรู้จากการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย

    ข้อดี ขัดจ ากัด โอกาสในการเรียนรู้

    เพ่ิมความตระหนักทางด้านความปลอดภัย

    ส่งเสริมด้านการสื่อสาร เกิดความร่วมมือระหว่างผู้จัดการ

    สหภาพ และพนักงาน เพ่ิมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง

    พนักงานและหัวหน้างาน เกิดการแบ่งปันความรู้และเรียนรู้

    ร่วมกันจากความผิดพลาด เน้นการเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรม

    และผลที่เกิดขึ้นตามมา มุ่งเน้นไปที่พนักงานทุกระดับ พัฒนาทักษะของพนักงาน สร้างให้ความปลอดภยัไปสู่

    วฒันธรรม เกิดความรู้สกึถึงความเป็นเจ้าของ

    ในการแก้ไขปัญหา เพิ่มประวตัทิางด้านความปลอดภยั เพิ่มความปลอดภยัในสถานท่ี

    ท างาน ทกุคนมีสว่นร่วมในการรับผิดชอง

    ด้านความปลอดภยั เกิดการถ่ายทอดด้านความ

    ปลอดภยั

    ต้องการผู้น าที่มีประสิทธิภาพ ความคาดหวังที่ไม่อาจเป็นความ

    จริงได้ ต้องการความเชื่อมั่นเป็นพื้นฐาน ต้องการผลสะท้อนกลับอย่างมาก ความไม่เต็มใจจากการถูกสังเกต ทีมงานที่มีความรอบคอบกรณีท่ี

    อาจมีการจงใจท าลายโปรแกรม ยากแก่การคงไว้ซึ่งความสนใจ ท าให้งานอย่างอ่ืนเกิดความล่าช้า ไม่มีการด าเนินการปรับปรุง

    โอกาสในการสื่อสารและแบ่งปันความรู้

    แหล่งความรู้ที่มีคุณค่าส าหรับการเรียนรู้ภายใน

    สร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย

    เกิดการเรียนรู้จากการกระท าที่ผิดพลาด

    ความเชื่อมโยงที่เกิดข้ึนโดยตรงระหว่างพฤติกรรมกับผลที่เกิดขึ้นตามมา

    ผลท่ีเกิดขึน้กระทบไปยงับคุคลอ่ืน

    ปัญหาถกูบง่ชีแ้ละพนกังานขบัเคล่ือนไปสูก่ารแก้ไข

    เกิดความท้าทาย ชว่ยเสริมในด้าน

    ผลประโยชน์ท่ีเกิดขึน้ท่ีมองเห็นได้

    พฤตกิรรมท่ีปลอดภยัได้รับการยกยอ่ง

    ที่มา: Cox, S. and Jones, B., 2006

  • 21

    21

    นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงขั้นตอนในการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยไว้ 4 ระยะ ตามตารางท่ี 2.2 ตารางที่ 2.2 แสดงระยะและการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย

    ที่มา: Cox, S. and Jones, B., 2006

    Geller, E. S. (2001) ได้กล่าวถึงกลยุทธ์ของการแทรกแซง ( Intervention) เพ่ือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไว้ 3 วิธี คือ

    (1) การให้ค าแนะน า (Instructional intervention) มีจุดมุ่งหมายที่จะได้รับความสนใจจากผู้ปฏิบัติและให้ค าแนะน าเพ่ือให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากความไม่รู้ในเรื่องพฤติกรรมเสี่ยง เป็นความรอบรู้ในด้านความปลอดภัย ซึ่งเป็นการสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน ดังนั้น จึงไม่มีความจ าเป็นที่จะต้องมีสิ่งเร้าจากภายนอก

    ระยะ การด าเนินการ

    ระยะท่ี 1 การเตรียมการ

    ปรึกษาหารือในหลกัการระหว่างหน่วยงาน รวมทัง้ผู้ จัดการ ตวัแทนความปลอดภยั และทีมงาน

    ก าหนดแผนการด าเนินงาน สื่อสารแผนงาน ก าหนดมาตรการและกระบวนการสะท้อนผลกลบั

    ระยะท่ี 2 การอบรมและเทคนิคตา่งๆ

    รับสมคัรผู้ประสานงานภายใน เตรียมสื่อการอบรม อบรมผู้ประสานงานภายใน ก าหนดองค์ประกอบของทีมงาน อบรมทีมงาน

    ระยะท่ี 3 การออกแบบแบบตรวจสอบและ

    การสงัเกตพฤติกรรม

    บ่งชีพ้ฤติกรรมปลอดภยั พฒันาและตรวจสอบแบบตรวจ

    ระยะท่ี 4 การจดัการและรักษากระบวนการ

    ให้คงไว้

    ก าหนดเป้าหมายของการสงัเกต ก าหนดกฎระเบียบและหน้าท่ีรับผิดชอบ ระบสุว่นท่ีเก่ียวข้องกบัระบบการจดัการที่มีอยู่ ทบทวนผลการด าเนินงานด้านความปลอดภยั

  • 22

  • 23

    23

    U.S. Department of Energy (2002) ได้กล่าวถึงข้อดีของการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยประการแรกว่าเป็นกระบวนการที่ช่วยให้องค์กรมีโอกาสที่จะยกระดับด้านความปลอดภัยให้สูงขึ้นด้วยการส่งเสริม และด าเนินการเชิงรุก ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่มีความถูกต้องทางสถิติ สร้างความเป็นเจ้าของ ความเชื่อถือ และความสามัคคีระหว่างทีม และพัฒนาโอกาสด้านความปลอดภัยของพนักงาน ประการที่สอง มีความส าคัญต่อวัฒนธรรมขององค์กร โดยที่โปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัยจะช่วยให้ระดับผู้บริหารได้มีโอกาสในการพิสูจน์และแสดงให้เห็นถึงค่านิยมหลักขององค์กร Ocon, R. and McFarlane, O. (2007) ได้ศึกษาถึงประโยชน์และส่วนประกอบที่ส าคัญทางด้านเทคนิคในเชิงวิศวกรรมศาสตร์เพ่ือเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในการมีภาวะผู้น าและการจัดการด้านความปลอดภัย โดยได้มีการกล่าวถึงผลในเชิงบวกของการด าเนินโปรแกรมพฤติกรรมปลอดภัย ตอนหนึ่งไว้ดังนี้

    (1) ลดต้นทุนที่เก่ียวข้องทางการแพทย์ รวมถึงการฟ้ืนฟู (2) ให้พนักงานได้มีความรับผิดชอบหลักด้านความปลอดภัย (3) มุ่งเสริมแรงในเชิงบวก ที่เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบถาวร (4) การลดลงของการบาดเจ็บเนื่องจากการท างาน (5) การลดลงของการสอบสวนอุบัติเหตุในองค์กรและภาครัฐ (6) เพ่ิมผลผลิตอันเนื่องมาจากการลดลงของการบาดเจ็บ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขาดงาน

    จากการเจ็บปุวย

    2.3 ทฤษฎีการเกิดอุบัติเหตุ

    Heinrich, H.W. (1959) กล่าวว่า อุบัติเหตุจากการท างานที่เกิดขึ้นร้อยละ 88 เกิดจากการกระท าที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe acts) ร้อยละ 10 เกิดจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) และร้อยละ 2 เกิดขึ้นจากสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จากภาพที่ 2.6 เป็นโดมิโนของการเกิดอุบัติเหตุซึ่งมีทั้งหมด 5 ตัว ได้แก่

    (1) ภูมิหลังหรือสภาพแวดล้อมทางสังคมของบุคคล (Social Environment or Background)

    (2) ความบกพร่องของบุ