ทัศนะวิพากษ์ : บันทึกของเคนเน็ธ...

10
บันทึกของเคนเน็ธ แลนดอน เกี่ยวกับกรณีสวรรคต และข่าวลือเรื่องแผนการใหญ่ของพี่น้องปราโมช สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

Upload: muzaxi

Post on 27-Jul-2015

3.171 views

Category:

Documents


11 download

DESCRIPTION

ต้นทศวรรษ 2490 เป็นช่วงเริ่มต้นแห่งการสร้างเรื่องใส่ร้ายปรีดี พนมยงค์เกี่ยวกับกรณีสวรรคต ซึ่งจะครอบงำการเมืองวัฒนธรรมของไทยในส่วนที่เกี่ยวกับปรีดีและกรณีสวรรคตเป็นเวลากว่า 30 ปี แต่ขณะเดียวกัน ช่วงต้นทศวรรษ 2490 นี้เอง ที่ในแวดวงการทูตต่างชาติในไทย โดยเฉพาะอังกฤษและอเมริกัน ได้มีบันทึกถึงกรณีนี้ที่มีเนื้อหาไปในทางตรงข้ามกับเรื่องใส่ร้ายปรีดีที่กำลังถูกสร้างขึ้นในสังคมไทยด้วย กรณีบันทึกการสนทนาระหว่างหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์กับเอกอัครราชทูตอเมริกัน เอ็ดวิน สแตนตัน เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2491 ที่ผมกล่าวถึงในอีกบทความหนี่ง (ดู “ข้อมูลใหม่กรณีสวรรคต:หลวงธำรงระบุชัด ผลการสอบสวน ใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง”) เป็นตัวอย่างหนี่ง

TRANSCRIPT

Page 1: ทัศนะวิพากษ์ : บันทึกของเคนเน็ธ แลนดอนเกี่ยวกับกรณีสวรรคตและข่าวลือเรื่องแผนการใหญ่ของพี่น้องปราโมช

บันทึกของเคนเน็ธ แลนดอน เกี่ยวกับกรณีสวรรคต

และข่าวลือเรื่องแผนการใหญ่ของพี่น้องปราโมช สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

Page 2: ทัศนะวิพากษ์ : บันทึกของเคนเน็ธ แลนดอนเกี่ยวกับกรณีสวรรคตและข่าวลือเรื่องแผนการใหญ่ของพี่น้องปราโมช

75

ต้นทศวรรษ 2490 เป็นช่วงเริ่มต้นแห่งการสร้างเรื่องใส่ร้ายปรีดี พนมยงค์เกี่ยวกับกรณีสวรรคต ซึ่งจะครอบงำการเมืองวัฒนธรรมของไทยในส่วนที่เกี่ยวกับปรีดีและกรณีสวรรคตเป็นเวลากว่า 30 ปี แต่ขณะเดียวกัน ช่วงต้นทศวรรษ 2490 นี้เอง ที่ในแวดวงการทูตต่างชาติในไทย โดยเฉพาะอังกฤษและอเมริกัน ได้มีบันทึกถึงกรณีนี้ที่มีเนื้อหาไปในทางตรงข้ามกับเรื่องใส่ร้ายปรีดีที่กำลังถูกสร้างขึ้นในสงัคมไทยด้วย กรณีบันทึกการสนทนาระหว่างหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์กับเอกอัครราชทูตอเมริกัน เอ็ดวิน สแตนตัน เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2491 ทีผ่มกลา่วถงึในอกีบทความหนีง่ (ด ู“ขอ้มลูใหมก่รณสีวรรคต: หลวงธำรงระบชุดั ผลการสอบสวน ใครคอืผูต้อ้งสงสยัทีแ่ทจ้รงิ”) เปน็ตัวอย่างหนี่ง

ในช่วงใกล้เคียงกัน (พฤษภาคม 2491) พระองค์เจ้าธานีนิวัต อภิรัฐมนตรี (ชื่อตำแหน่งที่ปรึกษากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ 2490 ต่อมาเปลี่ยนเป็นองคมนตรีในรัฐธรรมนูญ 2492) ได้เดินทางแวะอินเดียบนเส้นทางไปยุโรป (เพื่อเข้าเฝ้าในหลวงภูมิพลที่สวิสเซอร์แลนด์และจัดการเรื่องที่กำลังเล่านี้) และได้พบปะพูดคุยกับลอร์ดเมาท์แบตเตน ผู้แทนพระองค์กษัตริย์อังกฤษประจำอินเดีย เพื่อทาบทามขอให้ราช-สำนักอังกฤษสนับสนุนการที่ในหลวงภูมิพลจะเสด็จอังกฤษเพื่อศึกษาต่อและทำความรู้จักคุ้นเคยกับราชวงศ์อังกฤษ1 ในระหว่างการสนทนา ลอร์ดเมาท์แบตเตนได้หยิบยกกรณีสวรรคตขึ้นมา แม้พระองค์ เ จ้ าธานี จะทรงโต้ แย้ งอย่ า งหนักแน่น แต่ท่ าทีของเมาท์แบตเตนไม่เป็นไปในทางสนับสนุนเรื่องในหลวงจะเสด็จอังกฤษในขณะนั้น เมาท์แบตเตนบันทึกว่า (การเซ็นเซอร์ของผม–ทั้งในประโยคต่อไปนี้ และในส่วนอื่นของบทความนี้ทั้งหมด) “I said that I could not in any event recommend that the present King should visit England until the question of

was completely cleared up.” (“ผมกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ผมไม่สามารถสนับสนุนการที่พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันของไทยจะเสด็จเยือนอังกฤษจนกว่าปัญหา

จะไดร้บัการทำใหก้ระจา่งโดยสิน้เชงิ”)2 สองเดอืนต่อมา เมื่อพระองค์เจ้าธานีเสด็จอังกฤษและได้พบสนทนากับเมเบอรี เดนนิ่ง ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้ทรงล้มเลิกแผนการที่จะให้ในหลวงเสด็จอังกฤษเพื่อทรงศึกษาและเสด็จเยือนอย่างเป็นทางการ แต่ได้สอบถามความเป็นไปได้ที่ในหลวงจะเสด็จอังกฤษในลกัษณะสว่นพระองค ์ (incognito)3 ในการพบกนัครั้งนั้น ได้มีการหยิบยกกรณีสวรรคตขึ้นมาสนทนาด้วย4

1 “รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 8/2491 วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พุทธศักราช 2491 (จอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัย 3), วาระที่ 1 เรื่องพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เสด็จอินเดียและยุโรป: “นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีทราบในหลักการเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปประเทศอังกฤษเพื่อจะได้ทรงคุ้นเคยกับราชสำนักนั้น ทั้งจะได้ทรงศึกษาด้วย”

2 “Note on an inter-view between Lord Mount-batten and His Highness Prince Dhani Niwas of Siam at 4.16 p.m. on Thursday 27th May 1948” (ข้อ 12) ใน The National Archives of the UK (TNA): Public Record

Office (PRO) FO 371/70015/F8833/843/40 “Report on the Meeting between Lord Mountba t ten and Pr ince Dhani Nivat” ผมจะเขียน ถึงบันทึกนี้ต่างหากในโอกาสอื่น (ขอบคุณกองบรรณาธิการ ฟ้าเดียวกัน ที่กรุณาเอื้อเฟื้อสำเนาบันทึกนี้)

3 ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2491 ม.จ. ปรีดีเทพพงศ์ เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ เสนอเรื่องขอคณะรัฐมนตรีว่ า กระทรวงการต่ างประเทศจะมีคำสั่งไปยังทูตไทยในอั งกฤษ ฝรั่ ง เศส และสวิส- เซอร์แลนด์ว่า “ในระหว่างที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ในประเทศ

Page 3: ทัศนะวิพากษ์ : บันทึกของเคนเน็ธ แลนดอนเกี่ยวกับกรณีสวรรคตและข่าวลือเรื่องแผนการใหญ่ของพี่น้องปราโมช

76

ผมเข้าใจว่า ปรีดี พนมยงค์เป็นคนแรกที่ชี้ให้เห็นว่า มีเอกสารบนัทึกการสนทนาระหวา่งพระองคเ์จา้ธานกีบัเมาท์แบตเตนและเดนนิง่ โดยปรดีอีาศยับรบิทของการประณามผูท้ีส่รา้งเรือ่งใสร่า้ยเขากรณสีวรรคตในปี 2525 มาบอกเรื่องนี้ต่อสาธารณะอย่างฉลาด เขากล่าวว่า “เมื่อสำนักงานเอกสารสาธารณะ (Public Records Office) ของรัฐบาลอังกฤษได้เปิดเผยให้มหาชนพิจารณาเอกสารทางราชการที่มีอายุเกินกว่า 30 ปีแล้วนั้น ก็มีผู้สนใจกรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ได้ไปขอพิจารณาเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนั้น ณ สำนักงานเอกสารดังกล่าวที่มีอยู่ 2 ฉบับ ซึ่งมีผู้ขอคัดสำเนาคือ (ก) บันทึกการสนทนาระหว่างลอร์ดเมานท์แบทเตนกับพระองค์เจ้าธานีนิวัตเมื่อ วันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1948... (ข) บันทึกการสนทนาระหว่างนาย (ภายหลังเป็น “เซอร์”) เมเบอร์ลี เดนนิง... กับพระองค์เจ้าธานีนิวัตฉบับลงวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1948...” และในเมื่อศัตรูของเขาได้ “สร้างข่าวขึ้นว่าปรีดีฯ เป็นผู้บอกลอร์ดเมานท์แบทเตนและนายเดนนิงให้เข้าใจผิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ฉะนั้นเมื่อถึงโอกาสสมควรที่ปรีดีฯ จะฟ้องต่อศาลยุติธรรมให้พิจารณา ผู้ใส่ความ ปรีดีฯ ก็จะอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานเอกสาร... อนึ่ง ปรดีฯี สามารถพสิจูนไ์ดว้า่ ปรดีฯี ไมเ่คยใสค่วามสมเดจ็พระเจา้อยูห่วั รัชกาลที่ 9 ต่อลอร์ดเมานท์แบทเตนหรือต่อนายเดนนิงเลย”5

ควรกลา่วดว้ยวา่ นา่จะเพราะการพบปะสนทนาระหวา่งพระองค-์เจ้าธานีกับเมาท์แบตเตนครั้งนั้นเองและการที่เมาท์แบตเตนยกปัญหากรณีสวรรคตขึ้นมา ทั้งยังไม่สนับสนุนการเสด็จเยือนอังกฤษของในหลวงองค์ปัจจุบัน ที่เป็นเหตุให้ในหลวงทรงกริ้ว ม.จ. ศุภสวัสดิ์-วงศส์นทิ สวสัดวิตัน ์หรอื “ทา่นชิน้” พีช่ายตา่งมารดาของพระนาง- เจ้ารำไพพรรณี ตามการบอกเล่าของลูกสาว “ท่านชิ้น” ในเวลาต่อมา (การเซ็นเซอร์ของผม)

กลางปี 2492 พ่อต้องปวดหัวใจอย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง... [พระ-

เจ้าอยู่หัว] กำลังกริ้วพ่อมาก ด้วยทรงเข้าพระทัยและทรงเชื่อว่า

ต้องเป็น “ท่านชิ้น” แล้ว ไม่ใช่ใครอื่นแน่ ที่ไปรายงานลอร์ดหลุยส์

เมานท์แบทเทนว่า กรณีสวรรคตเป็น

ที่ทรงปักพระทัยว่าเป็นพ่อก็เพราะพ่อรู้จักคุ้นเคยกับ

ลอร์ดหลุยส์ ทำงานเสรีไทยใต้บังคับบัญชาของลอร์ดหลุยส์ระหว่าง

สงคราม6

สวิสเซอร์แลนด์ ถ้าท่านได้ทราบว่า

มีพระราชประสงค์จะเสด็จประพาส

ประเทศอังกฤษก็ดี ฝรั่งเศสก็ดี

หรือประเทศหนี่ งประเทศใดก็ดี

โดยเป็นทางส่วนพระองค์แท้ๆ

(s t r ic t ly incogni to) และ

โปรดเกล้าฯ ให้ท่านตระเตรียม

จัดการเสด็จ ก็ให้ท่านจัดถวายตาม

พระราชประสงค์ทุกประการ และ

ทุกๆ โอกาสที่ท่านจะจัดถวายนั้น

ขอให้จัดถวายความสะดวกอย่าง

ดีที่สุดที่ท่านจะปฏิบัติได้ และให้

รายงานมาด้วย” แต่คณะรัฐมนตรี

“อภิปรายกันแล้ว... เห็นว่าการ

เสด็จประพาสทุกกรณีเป็นหน้าที่

ของรัฐบาล -- ควรที่ทูตจะต้อง

รายงานมา เพื่ อรั ฐบาลจะได้จัด

ถวาย” นั่นคือ แม้แต่การเสด็จ

เป็นส่วนพระองค์ ทูตก็ต้องแจ้ง

รัฐบาลมาก่อน ให้รัฐบาลเป็นผู้จัด

ให้ (ไม่ใช่ทูตจัดถวายไปเองแล้ว

จึงรายงานมาตามที่กระทรวงต่าง

ประเทศเสนอ) ดู “รายงานการ

ประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 23

/2491 วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม

พุทธศักราช 2491 (จอมพล ป.

พิบูลสงคราม สมัย 3)” 4 TNA: PRO FO 371/

70023/F10301/1247/40 “Visit

of the King of Siam to

England. Difficulty regarding

the trial in connexion with

the death of the late King”

เ ช่ น เ ดี ย ว กั บ ก รณี บั น ทึ ก ข อ ง

เมาท์แบตเตน (ดูเชิงอรรถที่ 2

ข้างต้น) ผมจะเขียนถึงบันทึก

เดนนิ่ งนี้ ต่ า งหากในโอกาสอื่ น

(ขอบคุณกองบรรณาธิการ ฟ้า

เดียวกัน ที่กรุณาเอื้อเฟื้อสำเนา

บันทึกนี้)

Page 4: ทัศนะวิพากษ์ : บันทึกของเคนเน็ธ แลนดอนเกี่ยวกับกรณีสวรรคตและข่าวลือเรื่องแผนการใหญ่ของพี่น้องปราโมช

77

ความบาดหมางระหว่างราชสำนักอังกฤษกับไทยอันเนื่องมาจากกรณีสวรรคตนี้ แม้แต่หนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติในหลวง The Revolutionary King ของวิลเลี่ยม สตีเวนสัน (William Stevenson) ผู้เขียน A Man Called Intrepid ที่ในหลวงทรงแปลเป็น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ซึ่งได้รับพระบรม-ราชานุญาตให้ทำการค้นคว้าข้อมูลอย่างใกล้ชิดในแวดวงราชสำนักไทย ได้สัมภาษณ์ตั้งแต่สมาชิกพระราชวงศ์ถึงข้าราชบริพาร ยังกล่าวถึงไว้ อันที่จริง ด้วยถ้อยคำรุนแรงที่ (โดยไม่ตั้งใจ) ไม่เป็นผลดีต่อราชสำนักไทยเอง7

ในเวลาใกล้เคียงกับที่มีการสนทนาและบันทึกการสนทนาเกี่ยวกับกรณีสวรรคตระหว่างพระองค์เจ้าธานีกับเมาท์แบตเตนและเดนนิ่ง และหลวงธำรงกับสแตนตันนั้น เคนเน็ธ พี. แลนดอน (Kenneth P. Landon) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไทยและรองหัวหน้ากองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ8 ได้ทำบันทึกช่วยจำฉบับหนี่ง ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1948 ถึงผู้บังคับบัญชาของเขา ดับเบิลยู. วอลตัน บัตเตอร์เวิร์ธ (W. Walton Butterworth) ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการตะวันออกไกล สรุปวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทยขณะนั้น ซึ่งรัฐบาลนิยมเจ้าของควง อภัยวงศ์ ที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 เพิ่งจัดเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกำลังรอการเปิดประชุมสภาเพื่อรับรองรัฐบาล แต่ประเด็นใหญ่ของบันทึกช่วยจำคือเรื่องที่เกี่ยวกับกรณีสวรรคต

แลนดอนเขียนบันทึกช่วยจำดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ข่าวสารที่ได้รับจากสถานทูตอเมริกันประจำไทยในเอกสาร “Fortnightly Summary of Political Events in Siam” (บทสรุปรายปักษ์เหตุการณ์ทางการเมืองในสยาม) ฉบับล่าสุด ของช่วงวันที่ 16 ถึง 31 มกราคม 19489 ในเอกสารนี้ซึ่งแบ่งการสรุปเหตุการณ์ทาง การเมืองในไทยออกเป็นหัวข้อย่อยหลายหัวข้อ (เช่น การเลือกตั้งทั่วไป การเคลื่อนไหวเพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสม ความสัมพันธ์กับจีน ฯลฯ) ภายใต้หัวข้อ “Politics regarding the King’s Death” (การเมืองเกี่ยวกับการสวรรคตของในหลวง) สถานทูตอเมริกันในกรุงเทพรายงานตอนหนี่งว่า

5 ปรดี ีพนมยงค,์ ชวีประวตัิ

ย่อของนายปรีดี พนมยงค์ (จน

ถึง 24 กรกฎาคม 2525); สกุล

พนมยงค์ และสกุล ณ ป้อมเพชร,

พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ; มูลนิธิ

ปรีดี พนมยงค์กับสั งคมไทย,

2535), หน้า 84-86 6 1 ศตวรรษศภุสวสัดิ ์ (กรงุ-

เทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2543),

หน้า 27; ดูการอภิปรายเรื่องนี้ของ

ผมใน “คำอธิบายกรณีสวรรคต

ของท่านชิ้น,” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 3

ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน

2548), หน้า 84-85 7 William Stevenson,

The Revolutionary King:

the True-Life Sequel to

The King and I (London:

Cons tab le & Robinson,

2001), pp. 63-64, 95, 144

-147, 155; สตีเวนสันอ้างถึง

2 ครั้ง ประโยคที่เขากล่าวว่าเป็น

ของพระเจ้าจอร์จที่ 6 กษัตริย์

อังกฤษในขณะนั้น อธิบายเหตุผล

ที่ ไ ม่ สนั บสนุ นกา ร เสด็ จ เ ยื อน

อังกฤษของในหลวง สตีเวนสัน

ยังกล่าวว่า (การเซ็นเซอร์ของผม)

“Admiral Lord Mount-batten,

who never began to under-

stand the world of Nan [King

Ananda] and Lek [King

Bhumibol], was said to have

wr i t t en to King George

VI that ‘King Bhumibol

’.” (p. 63-64) 8 เคนเน็ธ พี. แลนดอน เป็น

ที่รู้จักในวงการศึกษาเรื่องไทยใน

ฐานะผูเ้ขยีน Siam in Transition:

A Brief Survey of Cultural

Page 5: ทัศนะวิพากษ์ : บันทึกของเคนเน็ธ แลนดอนเกี่ยวกับกรณีสวรรคตและข่าวลือเรื่องแผนการใหญ่ของพี่น้องปราโมช

78

ไม่เป็นที่สงสัยว่า ประเด็นการสวรรคตของในหลวงยังคงเป็น

ประเด็นทางการเมืองที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่ง และกำลังมีข่าวลือ

ว่า การสืบสวนคดีในขณะนี้โน้มเอียงไปทางทฤษฎีที่ว่า

. เปน็ทีล่อืกนัวา่ รฐับาลควงจะพยายาม

ดว้ยการประกาศทฤษฎนีีต้อ่สาธารณะในลกัษณะเปน็คำตอบ

(solution) ของปรศินาทีล่อ้มรอบการสวรรคตของในหลวง, และการ

ประกาศเช่นนี้จะ แล้วพวกนิยมเจ้าจะ

พระองค์เจ้าจุมภฏ, ,

ซึง่เปน็จงัหวะกา้วทีน่า่จะสรา้งความเปน็ปกึแผน่ใหก้บัอำนาจของพวก

นยิมเจา้มากขึน้. ถา้เปน็จรงิขึน้มาวา่แผนการของพวกนยิมเจา้เชน่นี้

ไดถ้กูซอ้นทบั (superimposed) บนการรฐัประหาร 8 พฤศจกิายน

และถ้าหลวงกาจเคยเป็นและยังเป็นกำลังสำคัญในมือพวกนิยมเจ้า,

ข้ออ้างที่เป็นไปได้มากที่สุดที่ทหารจะใช้ในการโยนรัฐบาลควงทิ้ง ก็

คงจะเป็นประเด็นเรื่องการสวรรคตของในหลวงในพระบรมโกศนี้

เอง. เป็นการยากที่จะนึกถึงวิธีการอื่นที่พิบูลหรืออดุลจะใช้ในการ

สถาปนารัฐบาลผสมใหม่ที่จะรวมเอาธำรง และอาจเป็นไปได้ว่าปรีดี

เข้าไว้ด้วย ยกเว้นแต่จะอาศัยประเด็นนี้, เพราะขณะนี้ควงคุมเสียง

ข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภา.

บันทึกช่วยจำของแลนดอนถึงบัตเตอร์เวิร์ธ ลงวันที่ 20

กุมภาพันธ์ 1948 ซึ่งหยิบเอาข่าวสารนี้มาวิเคราะห์ มีข้อความทั้งหมด ดังนี้10

Trends in the Five Years

since the Revolution of 1932

(1939) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็น

งานวิ เคราะห์การปฏิวัติ 2475

เชิงวิชาการชิ้นแรกไม่ว่าในภาษาใด

ภรรยาของ เขาคือ มาร์กา เ ร็ต

แลนดอน ผู้เขียนหนังสือ Anna

and the King of Siam (1944)

ที่ถูกนำไปสร้างเป็น “The King

and I” ละครบรอดเวย์และหนัง

ที่มีชื่อเสียง ทั้งคู่มาใช้ชีวิตอยู่ใน

สยามในฐานะมิชชันนารี ในช่วง

2470-2480 หลังจากกลับอเมริกา

เคนเน็ธได้งานอาจารย์มหาวิทยาลัย

แต่เมื่อเกิดสงครามโลก เขาถูก

ขอร้องให้ไปช่วยงานหน่วยข่าว

กรองและกระทรวงการต่างประเทศ

สำหรับบทบาทของเขาในฐานะผู้

ดูแลนโยบายเรื่องไทยในกระทรวง

ต่ า งประ เทศสหรั ฐที่ มี อยู่ เพี ย ง

2 คน ในช่วงต้นทศวรรษ 2490

(อีกคนหนึ่งคือทูตประจำกรุงเทพ

เอ็ดวิน สแตนตัน) ดู Daniel

Fineman, A Special Relation-

ship: the United States and

Mil i ta ry Government in

Thailand, 1947-1958 (Hono-

lulu: University of Hawaii

Press, 1997), pp. 40-41. 9 USNA, “Fortnightly

Summary of Political Events

in Siam for the Per iod

January 16-January 31,

1948”, CDF 892.00/2-1148

RG 59 box 7251. 10 USNA, Landon to

Butterworth, February 20,

1948, CDF 892.00/2-2048

RG 59 box 7251.

Page 6: ทัศนะวิพากษ์ : บันทึกของเคนเน็ธ แลนดอนเกี่ยวกับกรณีสวรรคตและข่าวลือเรื่องแผนการใหญ่ของพี่น้องปราโมช

79

Page 7: ทัศนะวิพากษ์ : บันทึกของเคนเน็ธ แลนดอนเกี่ยวกับกรณีสวรรคตและข่าวลือเรื่องแผนการใหญ่ของพี่น้องปราโมช

80

ขณะนี้รัฐบาลสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีนได้

ตกลงเห็นชอบร่วมกันว่า หากควง อภัยวงศ์ได้รับการเสนอชื่อให้

เป็นนายกรัฐมนตรี และหากรัฐบาลของเขาได้รับเสียงสนับสนุนจาก

รัฐสภา ตัวแทนของรัฐบาลแต่ละประเทศดังกล่าวที่กรุงเทพก็จะ

ให้การรับรองแก่รัฐบาลควงอย่างเป็นทางการ และความสัมพันธ์กับ

รัฐบาลสยามก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติต่อไป [ความสัมพันธ์ปกติถูก

พักไว้หลังรัฐประหาร 2490–สมศักดิ์]. รัฐบาลของทั้งสี่ประเทศ

ยังตกลงร่วมกันว่า หากคนอื่นที่ไม่ใช่ควงได้รับการเสนอชื่อเป็น

นายกรัฐมนตรี รัฐบาลของสี่ประเทศก็จะปรึกษาหารือกัน ก่อนจะ

ดำเนินการเพื่อฟื้นความสัมพันธ์ที่เป็นทางการกับสยามต่อไป.

รายงานล่าสุดเกี่ยวกับการลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันท ์

ทีว่า่ ควงกำลงัเตรยีมตวัทีจ่ะประกาศวา่ ในหลวงภมูพิล

; ว่าในหลวงภูมิพล

และว่าพระองค์เจ้าจุมภฏ ได้ทำให้เกิดเป็น

ปัจจัยใหม่ขึ้นมาในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งอาจสร้างความปั่นป่วน

อย่างถึงรากให้แก่การแบ่งขั้วการเมืองในขณะนี้.

ในปี 1945 [ที่ถูกควรเป็นปี 1944–สมศักดิ์] ควงได้รับการ

ดันขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองโดยปรีดี พนมยงค์ ซึ่งตอนนี้กำลังลี้ภัย

ในต่างประเทศ. ความทะเยอทะยานของควงทำให้เกิดการแตกหัก

กับปรีดีภายในเวลา 9 เดือน. ในเดือนพฤศจิกายน 1947 ควงได้

รบัการดนัขึน้สูอ่ำนาจทางการเมอืงอกี คราวนีโ้ดยพบิลูหลงัจากพบิลู

ยึดอำนาจรัฐบาลจากปรีดีด้วยการรัฐประหาร. เช่นเดียวกับปรีดี,

พิบูลคิดว่าควงจะเป็นเบี้ยที่เต็มใจและผู้ติดตามที่ว่านอนสอนง่าย.

แต่ดูเหมือนว่า อีกครั้งที่ควงเองกำลังเดินหมากการเมืองด้วยความ

ทะเยอทะยานของตัวเอง ซึ่งอาจนำไปสู่การแตกหักกับพิบูล.

พิบูลขัดแย้งอย่างมากกับข้อเสนอของควงที่ว่าในหลวงภูมิพล

และทีใ่หพ้ระองคเ์จา้จมุภฏ

. อาจจะเปน็ความจรงิทีว่า่ ในหลวงภมูพิล

.

ผมเองได้เสนอความเป็นไปได้เช่นนี้ในบันทึกช่วยจำฉบับหนึ่งเกี่ยว

กับเรื่องนี้ก่อนหน้านี้. กล่าวในทางการเมือง, ไม่เป็นสิ่งสำคัญว่า

ในหลวงภูมิพล หรือไม่, หาก

จุดมุ่งหมายเบื้องหลังการ นี้ คือการจัดการ

ให้พระองค์เจ้าจุมภฏ . เพราะเรื่องนี้ก็จะเป็นเพียง

ความพยายามอย่างจงใจของควงที่จะฟื้นฟูอำนาจที่เคยมีอยู่ก่อน

Page 8: ทัศนะวิพากษ์ : บันทึกของเคนเน็ธ แลนดอนเกี่ยวกับกรณีสวรรคตและข่าวลือเรื่องแผนการใหญ่ของพี่น้องปราโมช

81

[2475] ของสถาบันกษัตริย์ และสถาปนาให้ควงเองและพี่น้อง

ปราโมชเปน็ผูน้ำของคณะนยิมเจา้และของประเทศสยาม. ดเูหมอืน

ควงและพีน่อ้งปราโมชหวงัวา่ พวกเขาจะสามารถรกัษาอำนาจตวัเอง

ไว้ได้หากพระองค์เจ้าจุมภฏทรง เพราะพระ-

องค์เจ้าจุมภฏเป็นบุคคลผู้มีวุฒิภาวะ [ประสูติ 2447–สมศักดิ์]

และมีทรัพย์สมบัติไม่น้อย ทรงมีประสบการณ์เกี่ยวกับการเมืองใน

ราชสำนักเป็นเวลานาน, มีผู้สนับสนุนพระองค์จำนวนมากในหมู่

ชาวสยามและจีนในประเทศสยาม, และทรงได้รับการผลักดันจาก

พระชายาผู้มีความทะเยอทะยาน ซึ่งในฐานะธิดาผู้หลักแหลมของ

อดีตเสนาบดีต่างประเทศของสยามผู้ชาญฉลาดที่สุดคนหนึ่ง

[หมายถึง ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ธิดาคนแรกของพระองค์เจ้า

ไตรทศประพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย–สมศักดิ์] ทรงมีความ

คุ้นเคยเป็นอย่างดีกับเกมการเมืองทั้งภายในประเทศและต่าง

ประเทศ.

สถานการณ์ปัจจุบันถูกทำให้ปั่นป่วนทางการเมืองเพิ่มขึ้นอีก

จากการคอร์รัปชั่นของหลวงกาจสงครามผู้ให้การสนับสนุนควงและ

ผู้ควบคุม, ภายใต้พิบูล, กำลังทหารบางส่วนสำคัญไว้ด้วย. การ

ปฏิบัติแบบคอร์รัปชั่นของหลวงกาจสร้างความไม่พอใจให้กับพิบูล

ซึ่งถือว่าการคอร์รัปชั่นเช่นนี้เป็นอภิสิทธิ์ของเขาเองและต้องการ

ให้ลูกน้องอย่างหลวงกาจได้รับส่วนแบ่งในการโกงกินน้อยกว่าเขา.

ยิง่กวา่นัน้, เนือ่งจากพบิลูเองคอรร์ปัชัน่จนรวยแลว้, เขาจงึสามารถ

แสดงท่าทีเป็นผู้มีคุณธรรมต่อกรณีคอร์รัปชั่นของหลวงกาจได้ เพื่อ

สร้างชื่อเสียงให้แก่ตัวเองทั้งในประเทศและต่อต่างชาติ.

พิบูลกับปรีดีเป็นคู่ปฏิปักษ์ทางการเมืองภายในคณะพรรค

เดยีวกนั. ทัง้คูค่ดัคา้นการรือ้ฟืน้อำนาจใหส้ถาบนักษตัรยิพ์อๆ กนั.

พวกเขาไมม่ปีญัหากบักษตัรยิอ์งคป์จัจบุนั เพราะยงัทรงพระเยาวแ์ละ

ไมม่บีรวิารสว่นพระองค.์ หมากครัง้นีข้องควงอาจทำใหพ้บิลูกบัปรดีี

หนัมาคนืดกีนัเพราะกลวัตอ่ความเปน็ไปได ้(specter) ทีพ่ระองค-์

เจา้จมุภฏจะได ้ . ควงกบัพวกกำลงัพยายามสรา้ง

คณะการเมอืงอกีคณะหนึง่ทีต่า่งออกไปจากคณะทีแ่ตกออกเปน็พวก

ปรีดีและพวกพิบูล [หมายถึงคณะราษฎร–สมศักดิ์]. ควงไม่มีทาง

ประสบความสำเร็จหากเขาได้รับการสนับสนุนเพียงจากหลวงกาจ

กับกำลังทหารที่หลวงกาจคุม และจากพระองค์เจ้าจุมภฏกับบริวาร

พวกนิยมเจ้าของพระองค์. การสนับสนุนจากพิบูลเป็นสิ่งจำเป็น

หากควงอยากจะมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ.

Page 9: ทัศนะวิพากษ์ : บันทึกของเคนเน็ธ แลนดอนเกี่ยวกับกรณีสวรรคตและข่าวลือเรื่องแผนการใหญ่ของพี่น้องปราโมช

82

หากเค้าลางในขณะนี้ของการหันมาคืนดีกันระหว่างพิบูลกับ

ปรีดียังคงมีต่อไป, เราก็อาจจะได้เห็นสถานการณ์พัฒนาไปเป็นแบบ

เดียวกับเดือนธันวาคม 1938 เมื่อพิบูลกับปรีดีรู้สึกว่า ต้องการอีก

ฝ่ายหนึ่ง และร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นมา.

หลักฐานเหล่านี้บอกอะไรเราได้บ้าง? จากบันทึกการสนทนาระหว่าง สแตนตันกับหลวงธำรง (31 มีนาคม 2491) ถึงบันทึกการสนทนาระหว่างเมาต์แบตเตนและเดนนิ่งกับพระองค์เจ้าธานี (27 พฤษภาคม และ 12 กรกฎาคม 2491) ถึงเอกสารสรุปเหตุการณ์รายปักษ์ของสถานทูตอเมริกันในกรุงเทพ (ต้นกุมภาพันธ์ 2491) และการวิเคราะห์ของแลนดอน (20 กุมภาพันธ์ 2491) ผมคิดว่าเราสามารถกล่าวได้ว่า ในต้นทศวรรษ 2490 แวดวงการทูตอังกฤษและอเมริกันที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมองหรือมีคำอธิบายกรณีสวรรคตไปในทิศทางเดียวกัน และนี่คือสาเหตุที่อธิบายว่า ทำไมสถานทูตอเมริกันในกรุงเทพ และเคนเน็ธ แลนดอนในวอชิงตัน จึงให้น้ำหนักความสำคัญกับข่าวลือเรื่องแผนการใหญ่ของควงและพี่น้องปราโมช อันที่จริง ลำพังเนื้อหาของข่าวลือนั้น เมื่อมองจากการแสดงออกและบทบาทภายนอกของนักการเมืองนิยมเจ้าทั้งสามที่เรารับรู้กันทั่วไป (เช่น ความพยายามเล่นงานปรีดีกรณีสวรรคต ฯลฯ) แทบจะไม่น่าเชื่อว่า พวกเขาจะคิดถึงแผนการอะไรในลักษณะที่ว่าได้เลย (และโดยส่วนตัว ผมเองก็ยังสงสัยอยู่มากในความเป็นไปได้เรื่องนี้) แต่ผมคิดว่า เนื่องจากสถานท ูตและแลนดอนเอง มองกรณีสวรรคตในลักษณะนั้นอยู่แล้ว (ดูที่แลนดอนเขียนว่า “ผมเองได้เสนอความเป็นไปได้เช่นนี้ในบันทึกช่วยจำฉบับหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อนหน้านี้”) ทำให้เมื่อได้รับข่าวลือเรื่องควงจะประกาศทฤษฎีอธิบายกรณีสวรรคตเช่นนั้น จึงให้ความสำคัญเพราะสอดคล้องกับที่พวกเขาเองคิดในเรื่องนั้น

อันที่จริง การที่วงการทูตอเมริกันและอังกฤษจะคิดไปในทิศทางเดียวกันในกรณีสวรรคตเช่นนั้นก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะใครที่ศึกษากรณีนี้อย่างจริงจัง ย่อมไม่สามารถตัดขาดคำอธิบายลักษณะนั้นออกไปได้ อย่างน้อยก็ในแง่ความเป็นไปได ้ (และถ้าเชื่อตามที่หลวงธำรงบอกสแตนตัน ไม่เพียงเป็นเรื่องเป็นไปได้ แต่เป็นข้อสรุปจากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ในสมัยรัฐบาลของเขา) ที่สำคัญ ถ้าพิจารณาดว้ยเหตผุล ไมใ่ชด่ว้ยความตอ้งการเลน่งานศตัรทูางการเมอืง อกีหนึง่คำอธบิายสำคญัทีเ่หลอื (ในกรณตีดัเรือ่งในหลวงอานนัทย์งิพระองคเ์อง

11 วันที่ 15 มกราคม 2491

คือช่วงใกล้กับที่สถานทูตอเมริกัน

ได้รับข่าวลือเรื่องแผนการของควง

กับพี่น้องปราโมชและรายงานไปยัง

วอชิงตัน รัฐบาลควงได้เสนอ “ร่าง

พระราชบัญญัติขยายกำหนดเวลา

ขั งผู้ต้องหาในกรณีที่ต้องหาว่ า

ปลงพระชนม์พ ระบาทสม เด็ จ

พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

พ.ศ. 2491” ต่อวุฒิสภา (แต่งตั้ง

โดยคณะรัฐประหาร ทำหน้าที่

รัฐสภา) ขยายอำนาจในการควบคุม

ผู้ต้องหาเฉพาะคดีนี้ของพนักงาน

สอบสวนก่อนส่งฟ้องศาลออกไป

อีก 180 วัน (6 เดือน) นับจาก

วันที่จะประกาศพระราชบัญญัติ

ดังกล่าว (“นับแต่วันแรกที่ได้ขัง

ตามอำนาจในพระราชบัญญัตินี้”)

คือเพิ่มขึ้นจากเวลาที่ได้ควบคุมตัว

อยู่ แล้วตามกำหนดในประมวล

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ที่ให้ไว้ 45 วัน (ดู รายงานการ

ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 2/2491

(วิสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ 15

มกราคม พุทธศักราช 2491

หน้า 146-163) ที่ประชุมผ่าน

พ.ร.บ. นี้ด้วยคะแนนเอกฉันท์

Page 10: ทัศนะวิพากษ์ : บันทึกของเคนเน็ธ แลนดอนเกี่ยวกับกรณีสวรรคตและข่าวลือเรื่องแผนการใหญ่ของพี่น้องปราโมช

83

3 วาระรวด (ชิต บุศย์ และเฉลียว

ถูกจับเมื่อ 15 ธันวาคม 2490 ถ้า

ตามกฎหมายที่มีอยู่ก็ต้องปล่อยตัว

หรือส่งฟ้องศาลภายในสิ้นเดือน

มกราคม 2491) ถา้ไมค่ดิวา่เรือ่งนี้

เกี่ยวกับประเด็นที่สำคัญอย่างมาก

แล้ว การเสนอร่าง พ.ร.บ. นี้มีด้าน

ที ่“ชวนหวัเราะ” (laughable) อยู ่

คือ ทั้งตัวร่าง พ.ร.บ. และเอกสาร

“บั น ทึ กหลั ก ก า ร แ ล ะ เ หตุ ผ ล

ประกอบ” ที่ยื่นเสนอต่อสภา ใช้

คำว่า “ขยายกำหนดเวลาขัง” โดย

ตลอด ซี่งก็ตรงกับความจริงแล้ว

แต่ในการอภิปรายนำเสนอต่อสภา

หลวงสินาดโยธารักษ์ รัฐมนตรี

มหาดไทย ได้ขอให้ตัดคำว่ า

“ขยาย” และ “ออกไปอีก” ทั้งใน

ตัวร่ า ง พ.ร .บ . และ เอกสาร

ประกอบออกให้หมด โดยอ้างว่า

“รั ฐบาล . . . พลาดพลั้ งที่ เ ขี ยน

หนังสือเกินเลยมาบ้าง คือความ

หมายอยากจะให้เป็นว่ากำหนดเวลา

แต่การเขียนเขียนเป็นว่าขยายเวลา

ไป” ความจริง นี่คือการ “ขยาย

เวลาออกไปอีก” นั่นแหละ แต่

รัฐบาลเปลี่ยนใจไม่เรียกตรงๆ

ไม่ว่าโดยอุบัติเหตุหรือตั้งพระทัยออกไป) คือข้อกล่าวหาว่าปรีดีทำ ยิ่งไม่น่าเป็นไปได้ (ปรีดีจะได้อะไรขึ้นมาจากการปลงพระชนม์ ยิ่งถ้าทำให้ออกมาในรูป “อุบัติเหตุ” แบบที่แถลง? และจะทำได้อย่างไรในพระราชฐานที่เต็มไปด้วยคนของราชสำนักเองตลอดเวลา? มหาดเล็กที่เป็นคนของราชสำนักมาหลายชั่วคนและใกล้ชิดเลี้ยงดูในหลวงมา แต่ทรงพระเยาว์อย่างชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน จะให้ความ ร่วมมือปลงพระชนม์ได้อย่างไร? เป็นต้น) ปัญหาอยู่ที่ว่า แม้แต่พวกนิยมเจ้า (ควงและพี่น้องปราโมช) โดยส่วนลึกก็ถึงกับหันมายอมรับความเป็นไปได้ของคำอธิบายแบบนี้ด้วย ถึงขั้นที่จะดำเนินการบางอย่างตามข่าวลือ หรือไม่?

แน่นอน เนื้อหาการแลกเปลี่ยนภายในระดับวงการทูตเกี่ยวกับกรณีสวรรคตเหล่านี้ ไม่เป็นที่รู้กันในหมู่คนไทยทั่วไป ตรงกันข้าม ในทางสาธารณะในเมืองไทยขณะนั้น กระบวนการหาแพะรับบาปกรณีสวรรคตได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง ด้วยการจับตัวชิต บุศย์ และเฉลียว ปทุมรส ซึ่งจะนำไปสู่การประหารชีวิตแพะรับบาปทั้งสามในที่สุด11