อ.วนิดา...

25
บทที6 การบริการและการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น การบริการและการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น เป็นการจัดบริการและส่งเสริมการใช้ เพื่ออานวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศท้องถิ่นตามความต้องการ โดยมีปัจจัยสนับสนุน ให้การจัดบริการสารสนเทศท้องถิ่นบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และมีการดาเนินการเผยแพร่สารสนเทศ ท้องถิ่นที่อยู่ในรูปสื่อต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่อดิจิทัล สื่อบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์การ เผยแพร่เพื่อช่วยให้เกิดการถ่ายทอดและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ทาให้มีสารสนเทศท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า วิจัย การประกอบอาชีพ การพัฒนาท้องถิ่น และการพัฒนาประเทศ แนวคิดเกี่ยวกับการบริการสารสนเทศท้องถิ่น การบริการสารสนเทศท้องถิ่นเป็นการจัดกิจกรรมบริการที่ถือว่าเป็นหัวใจสาคัญของการ ดาเนินงานด้านสารสนเทศท้องถิ่นจึงมีความสาคัญต่อผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการ และองค์กรสารสนเทศ ท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ 1. ความหมายของการบริการสารสนเทศท้องถิ่น การบริการสารสนเทศท้องถิ่น หมายถึง การจัดบริการเพื่ออานวยความสะดวกให้แกผู้ใช้ได้เข้าถึงและใช้สารสนเทศท้องถิ่นตามความต้องการ เพื่อความรูการศึกษาค้นคว้า วิจัย การ ประกอบอาชีพ การประกอบการตัดสินใจ และการพัฒนาสังคม เช่น องค์กรท้องถิ่นจัดให้มีบริการ ตอบคาถามช่วยการค้นคว้า บริการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูล บริการยืมคืน บริการส่งเสริม การใช้สารสนเทศ ฯลฯ สาหรับแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น หอศิลปวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นจัดกิจกรรมและบริการนาชมทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่นที่จัดแสดง โดยผู้ใช้ได้รับ สารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และตรงกับความต้องการ (มาลี ล้าสกุล. 2555 : 1-7 ; วรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ์. 2554 : 10-5)

Upload: -

Post on 06-Apr-2017

171 views

Category:

Business


2 download

TRANSCRIPT

Page 1: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

บทท่ี 6

การบริการและการเผยแพร่สารสนเทศท้องถ่ิน การบริการและการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น เป็นการจัดบริการและส่งเสริมการใช้

เพ่ืออ านวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศท้องถิ่นตามความต้องการ โดยมีปัจจัยสนับสนุน

ให้การจัดบริการสารสนเทศท้องถิ่นบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และมีการด าเนินการเผยแพร่สารสนเทศ

ท้องถิ่นท่ีอยู่ในรูปสื่อต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่อดิจิทัล สื่อบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์การ

เผยแพร่เพื่อช่วยให้เกิดการถ่ายทอดและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และประวัติศาสตร์

ท้องถิ่นจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ท าให้มีสารสนเทศท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า

วิจัย การประกอบอาชีพ การพัฒนาท้องถิ่น และการพัฒนาประเทศ

แนวคิดเกี่ยวกับการบริการสารสนเทศท้องถิ่น

การบริการสารสนเทศท้องถิ่นเป็นการจัดกิจกรรมบริการที่ถือว่าเป็นหัวใจส าคัญของการ

ด าเนินงานด้านสารสนเทศท้องถิ่นจึงมีความส าคัญต่อผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการ และองค์กรสารสนเทศ

ท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ 1. ความหมายของการบริการสารสนเทศท้องถิ่น

การบริการสารสนเทศท้องถิ่น หมายถึง การจัดบริการเพ่ืออ านวยความสะดวกให้แก่

ผู้ใช้ได้เข้าถึงและใช้สารสนเทศท้องถิ่นตามความต้องการ เพ่ือความรู้ การศึกษาค้นคว้า วิจัย การ

ประกอบอาชีพ การประกอบการตัดสินใจ และการพัฒนาสังคม เช่น องค์กรท้องถิ่นจัดให้มีบริการ

ตอบค าถามช่วยการค้นคว้า บริการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูล บริการยืมคืน บริการส่งเสริม

การใช้สารสนเทศ ฯลฯ ส าหรับแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นอ่ืน ๆ เช่น หอศิลปวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

ท้องถิ่นจัดกิจกรรมและบริการน าชมทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่นที่จัดแสดง โดยผู้ใช้ได้รับ

สารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และตรงกับความต้องการ (มาลี ล้ าสกุล. 2555 :

1-7 ; วรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ์. 2554 : 10-5)

Page 2: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

2. ความส าคัญของการบริการสารสนเทศท้องถิ่น

การบริการสารสนเทศเป็นกิจกรรมส าคัญของการด าเนินงานด้านสารสนเทศท้องถิ่น

เนื่องด้วยเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้ใช้ในการเข้าถึงและใช้สารสนเทศท้องถิ่น เพ่ือประกอบการศึกษา

ค้นคว้าและวิจัย ช่วยให้เกิดการถ่ายทอดและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากคนกลุ่มหนึ่งไปสู่คนอีกกลุ่มหนึ่ง หรือจากคนรุ่น

หนึ่งไปสู่คนรุ่นหนึ่ง ช่วยให้เกิดการถ่ายทอดความรู้เพ่ือพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ช่วยใช้ในการ

วางแผนเพ่ือพัฒนาประเทศ โดยผ่านกิจกรรม การกระท า หรือผลประโยชน์ที่องค์กรสารสนเทศ

เช่น ห้องสมุด และแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นอ่ืน ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น หอศิลปวัฒนธรรม

จัดให้แก่ผู้ใช้บริการ

ดังนั้น บริการสารสนเทศท้องถิ่นจึงมีความส าคัญต่อผู้ใช้ ผู้ให้บริการ และองค์กร

ในด้านต่าง ๆ (มาลี ล้ าสกุล. 2555 : 1-7 ; วรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ์. 2554 : 10-5) ดังนี้

2.1 ความส าคัญต่อผู้ใช้ องค์กรสารสนเทศท้องถิ่นต้องมุ่งเน้นผู้ใช้เป็นหลัก และ

จัดบริการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กรและความต้องการของผู้ใช้ จัดบริการต่าง ๆ ที่เอ้ือ

ประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัยแก่ผู้ใช้ เนื่องจากบริการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่นมี

ความส าคัญต่อผู้ใช้ ดังนี้

2.1.1 ช่วยอ านวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ได้เข้าถึงและใช้ทรัพยากรเพ่ือประกอบ

การศึกษาค้นคว้าวิจัย และการศึกษาตลอดชีวิต เช่น ผู้ใช้สามารถใช้บริการยืม-คืนทรัพยากร

สารสนเทศ บริการสืบค้นสารสนเทศท้องถิ่นจากฐานข้อมูล ใช้บริการตอบค าถามและช่วยการค้นคว้า

เพ่ือสอบถาม ขอค าแนะน า ค าปรึกษา และขอความช่วยเหลือในการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ

เป็นต้น

2.1.2 ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรยีนรู้และศึกษาค้นคว้าด้วยตนองได้ เช่น การใช้

บริการส่งเสริมการใช้สารสนเทศ ท าให้สามารถค้นหาสารสนเทศท้องถิ่นที่ต้องการด้วยตนเองได้

เป็นต้น

2.1.3 ช่วยผู้ใช้ในการน าความรู้ที่ได้จากสารสนเทศมาพัฒนาความรู้และพัฒนา

อาชีพ และมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ

2.1.4 ช่วยให้มีการถ่ายทอดสารสนเทศไปยังบุคคลอ่ืน กล่าวคือ ผู้ใช้เป็นผู้

Page 3: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

กระจายและถ่ายทอดสารสนเทศที่ได้จากการรับบริการในองค์กรสารสนเทศท้องถิ่นหรือแหล่ง

สารสนเทศท้องถิ่นออกไปยังบุคคลอ่ืน อาทิ ผู้ใช้ที่เป็นนักเขียนน าสารสนเทศท้องถิ่นมาเรียบเรียง

และสื่อสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออ่ืน ๆ ต่อไปยังผู้อ่าน บุคคลในท้องถิ่น

2.1.5 ท าให้ผู้ใช้เกิดภูมิปัญญาส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สอดคล้อง

กับสังคม และความภาคภูมิใจในความเป็นท้องถิ่นของตนเอง

2.2 ความส าคัญต่อผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการมีหน้าที่เป็นผู้น าส่งบริการสารสนเทศ

ขององค์กรสารสนเทศท้องถิ่นหรือแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นให้แก่ผู้ใช้ เป็นผู้ให้ข้อมูลให้ความรู้ ชี้แนะ

และค าปรึกษาแก่ผู้ใช้ จึงเป็นตัวกลางที่ท าให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศตรงกับความต้องการได้

ผู้ให้บริการต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในการให้บริการในงานที่รับผิดชอบ ทักษะในการใช้

เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ ในการจัดการและให้บริการสารสนเทศ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทักษะในการสื่อสารกับผู้ใช้ เนื่องจากในช่วงเวลาให้บริการจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ตลอดเวลา

จึงต้องมีบุคลิกภาพที่ดี เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้ใช้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้กับมาใช้บริการอีก และ

เป็นการสร้างภาพลักษณ์ท่ีดีขององค์กร

2.3 ความส าคัญต่อองค์กร สารสนเทศท้องถิ่นท่ีมีให้บริการในองค์กรสารสนเทศ

ท้องถิ่นและแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น เป็นบันทึกภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น และเป็นข้อมูล

สารสนเทศที่เก่ียวกับท้องถิ่นที่กลุ่มผู้ใช้ในองค์กรและประชาชนทั่วไปสามารถน าข้อมูลสารสนเทศไป

ใช้ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย และใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและ

ภาคเอกชนสารมารถน ามาใช้ในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นและประเทศได้ โดยผ่านการให้บริการ

ขององค์กรสารสนเทศต่าง ๆ ดังนั้น องค์กรสารสนเทศท้องถิ่นจะต้องมีการบริหารจัดการบริหารที่มี

การสารสนเทศท้องถิ่นขององค์การ เพื่อให้มีการบริการสารสนเทศท้องถิ่นท่ีมีคุณภาพที่ดี

องค์กรสารสนเทศท้องถิ่นจึงต้องก าหนดแนวทางการบริหารจัดการและการ

ให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นโดยอาจท าเป็นแผนพัฒนาระยะ 5 ปี ซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนา

ของหน่วยงานต้นสังกัด หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยก าหนดไว้พันธกิจ

วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ เป้าหมายในการให้บริการขององค์การไว้อย่างชัดเจนเพ่ือให้มีวิธีกา รและ

เป้าหมายของแต่ละกลยุทธ์ที่ท าให้องค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โดยวิธีที่ถูกต้อง โดยจะต้อง

ทบทวนทั้งพันธกิจ วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ทุกปีให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายในและ

Page 4: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

ภายนอกขององค์กร มีการก าหนดขอบเขตเนื้อหาของสารสนเทศท้องถิ่นที่จะจัดเก็บและให้บริการ

พร้อมทั้งแนวปฏิบัติในการด าเนินงานเพื่อใช้เป็นคู่มือ และแนวปฏิบัติในการด าเนินงานให้แก่ฝ่าย

ต่าง ๆ (มาลี ไชยเสนา. 2554 : 213) ได้อธิบายความส าคัญต่อองค์กร ดังนี้

2.3.1 การบริการสารสนเทศเป็นภารกิจหลักขององค์กร ทุกองค์กรต้องจัดให้มี

บริการสารสนเทศตามนโยบายขององค์กร

2.3.2 การบริการสารสนเทศเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารและการด าเนินงาน

ขององค์กรเพ่ือให้มีประสิทธิภาพและความส าเร็จ รวมถึงการพิจารณาจากความพึงพอใจของ

ผู้ใช้บริการสารสนเทศ

2.3.3 การได้รับการยอมรับและศรัทธาในองค์กร น าไปสู่ความร่วมมือและการ

ให้การสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร

สรุปได้ว่า บริการสารสนเทศท้องถิ่นมีความส าคัญต่อผู้ใช้การช่วยอ านวยความ

สะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศท้องถิ่น มีความส าคัญต่อผู้ให้บริการ และต่อองค์กรช่วยตอบสนอง

ความต้องการขององค์กร สนับสนุนและเสริมสร้างองค์ความรู้เพ่ือน าไปสู่การด าเนินงานอย่างมี

ประสิทธิภาพ

ประเภทและประเด็นส าคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริการสารสนเทศท้องถิ่น

องค์กรสารสนเทศท้องถิ่นจัดบริการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่นตามพันธกิจของ

หน่วยงาน บริการที่จัดอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป เช่น จัดให้มีทั้งบริการพ้ืนฐาน และบริการ

พิเศษ ส าหรับบริการสารสนเทศในแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นอื่น ๆ ซึ่งสามารถน าเสนอได้ดังนี้

1. ประเภทของบริการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น

บริการสารสนเทศในแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น มีบริการหลากหลายรูปแบบ ซึ่ง

สามารถน าเสนอได้ตามประเภทของแหล่งสารสนเทศ 2 ประเภท คือ บริการสารสนเทศในองค์กร

สารสนเทศท้องถิ่น และบริการสารสนเทศท้องถิ่นในแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นอ่ืน ๆ (วรารักษ์

พัฒนเกียรติพงศ์. 2554 : 10-7-10-16) ดังนี้

1.1 บริการสารสนเทศในองค์กรสารสนเทศท้องถิ่น เช่น ห้องสมุด ศูนย์ข้อมูล ศูนย์

เอกสาร เป็นต้น มีการจ าแนกบริการออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ

1.1.1 บริการพื้นฐาน ประกอบด้วย บริการตอบค าถามและช่วยการค้นคว้า

Page 5: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

บริการอ่าน บริการยืมคืน บริการน าส่งเอกสาร บริการยืมระหว่างห้องสมุด และบริการเพ่ือพัฒนา

ทักษะการรู้สารสนเทศโดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.1.1.1 บริการตอบค าถามและช่วยการค้นคว้า (Reference service)

เป็นบริการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหาข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่นตามค าขอ ทั้งภายในองค์กร

สารสนเทศและแหล่งข้อมูลอ่ืน รวมทั้งให้บริการแนะน าวิธีการค้นหาข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่น การ

ใช้หนังสืออ้างอิงเกี่ยวกับสารสนเทศท้องถิ่น และการเขียนรายการอ้างอิงและบรรณานุกรม การ

ให้บริการตอบค าถามนอกจากจะเป็นการบริการที่ช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ

แล้ว ยังช่วยให้ผู้ใช้ได้สารสนเทศตามที่ต้องการ ประหยัดเวลาในการตอบค าถาม ช่วยส่งเสริมให้มี

การใช้สารสนเทศมากขึ้นท าให้เกิดการสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการผ่านการ

ให้บริการ การที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรในฐานะเป็นแหล่งวิทยาการ และแหล่งเรียนรู้

ของชุมชน บริการตอบค าถามและช่วยการค้นคว้าสารสนเทศท้องถิ่นที่มีให้บริการในองค์กร

สารสนเทศแต่ละแห่งอาจมีขอบเขตหน้าที่ของงานแตกต่างกันตามประเภทและขนาดขององค์การ

สามารถจ าแนกงานออกเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหาข้อมูลสารสนเทศ และการสอน

ค้นหาสารสนเทศด้วยตนเอง

1.1.1.2 บริการการอ่าน (Reader’service) เป็นบริการที่จัดข้ึนเพื่อ

อ านวยความสะดวกในการใช้สถานที่ในการศึกษาค้นคว้าให้แก่ผู้ใช้ ได้แก่ การจัดที่นั่งอ่าน มีทั้งการ

จัดที่นั่งอ่านแบบเดี่ยวส าหรับผู้ใช้ที่ต้องการที่อ่านต้องมีสมาธิในการศึกษาค้นคว้า และที่นั่งอ่านแบบ

กลุ่มส าหรับผู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันการจัดห้องเฉพาะส่วนบุคคล

(Individual study room) ห้องค้นคว้ากลุ่ม (Group study room) นอกจากจะจัดที่นั่งอ่าน

ดังกล่าวแล้ว หากมีพ้ืนที่ให้บริการมาก อาจจัดพื้นที่ (Zoning) ให้เหมาะแก่การศึกษาค้นคว้า หรือ

เพ่ือแบ่งพ้ืนที่ให้เหมาะแก่วัตถุประสงค์ของการใช้ เช่น พ้ืนที่ศึกษาค้นคว้าที่ต้องการความเงียบ

(Silent zone) พ้ืนที่ศึกษาค้นคว้าแบบให้ผู้ใช้พูดคุยเสียงดังได้แต่ต้องเคารพสิทธิของผู้อ่ืน (Group

discussion zone) เป็นต้น

1.1.1.3 บริการยืม-คืน (Circulation service) เป็นบริการที่อ านวยความ

สะดวกให้ผู้ใช้สามารถยืมสารสนเทศออกนอกอาคารได้ งานบริการสารสนเทศท้องถิ่นของห้องสมุด

ในประเทศไทย มักจะจัดให้ยืมสารสนเทศท้องถิ่นไว้รวมกับบริการยืม-คืนของห้องสมุด เพ่ืออ านวย

Page 6: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

ความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการใช้บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ส าหรับสื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่อนุญาตให้ยืมออก

เช่น หนังสืออ้างอิง อาจจัดให้ผู้ใช้กรอกแบบฟอร์ม และต้องมีการลงชื่ออนุญาตจากบรรณารักษ์

หรือเจ้าหน้าที่ท่ีได้รับมอบหมาย นอกจากการให้บริการยืม-คืนในห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศแล้ว

ยังมีการจัดให้บริการยืม-คืนระหว่างห้องสมุดร่วมกัน (Reciprocal borrowing) ระหว่างห้องสมุด

สมาชิกที่มีความร่วมมือกันเช่น ให้บริการยืม-คืนระหว่างห้องสมุดร่วมกันของห้องสมุดสมาชิก

ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Provincial University Library Network : PULINET)

บ ริ ก า ร ยื ม -คื น ร ะหว่ า งห้ อ ง ส มุ ด ร่ ว ม กั น ( Reciprocal

borrowing) หมายถึง การที่สมาชิกของห้องสมุดหนึ่งไปยืมสิ่งพิมพ์จากอีกห้องสมุดหนึ่งในข่ายงานฯ

ด้วยตนเองโดยใช้บัตรสมาชิกข่ายงานโดยห้องสมุดในข่ายงานมีการจัดท าข้อตกลงร่วมกันในการ

ให้ยืม

สารสนเทศท้องถิ่นบางประเภท เช่น เอกสารมรดก (Heritage

manuscripts) ส่วนใหญ่ไม่จัดให้มีการยืมออกไปใช้นอกสถานที่ โดยจัดให้ใช้บริเวณที่จัดให้

เนื่องจากเป็นเอกสารต้นฉบับตัวเขียนที่มีคุณค่าและหาได้ยาก จึงต้องบ ารุงรักษา เพ่ือป้องกันให้

เสื่อมสภาพ จึงควรจัดให้มีถุงมือไว้ให้แก่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ เนื่องจากมือมีน้ ามันที่อาจท าให้

เอกสารมรดกเสื่อมสภาพเร็วขึ้น และผู้ให้บริการต้องให้ค าแนะน าในการใช้เอกสารด้วย ในปัจจุบัน

มีการน าเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดเก็บและให้บริการเอกสารมรดกในรูปดิจิทัล โดยการแปลงผัน

(Digitization) ให้อยู่ในรูปดิจิทัล จัดสร้างฐานข้อมูล โดยมีการก าหนดเมตาดาตา (Metadata) เพ่ือ

บอกรายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นมาตรฐานสากลและให้บริการในรูปแบบสารสนเทศ

ดิจิทัลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันเป็นการอนุรักษ์อกสารต้นฉบับและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น

อย่างกว้างขวางต่อไป เช่น ฐานข้อมูล CMUL Digital Heritage Collection ของส านักหอสมุด

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

1.1.1.4 บริการสืบค้นสารสนเทศฐานข้อมูลและบริการอินเทอร์เน็ต

บริการสืบค้นสารสนเทศฐานข้อมูล (Information retrieval service) เป็นบริการระบบออนไลน์ที่

จัดให้มีเทอร์มินัลหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลที่ได้จากการ

จัดหาและสร้างข้ึนเอง ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลฉบับเต็ม และฐานข้อมูลรายชื่อ

ทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC)

Page 7: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

ในปัจจุบัน การให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นในหลายแห่งของ

ประเทศไทย มีการน าเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นในรูปแบบ

ดิจิทัล ทั้งด าเนินการในรูปแบบของการแปลงผัน (Digitization) เอกสารสิ่งพิมพ์ให้อยู่ในรูปดิจิทัล

โดยน ามาเผยแพร่ในรูปของฐานข้อมูลและการสร้างเนื้อหาด้านสารสนเทศท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ เพ่ือให้

สามารถเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น เช่น ในรูปแบบของฐานข้อมูล สื่อมัลติมีเดีย เป็นต้น

มีการสร้างฐานข้อมูลฉบับต้นขึ้น เช่น ฐานข้อมูลนนทบุรีศึกษา ของส านักบรรณสารสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยสุ โขทัยธรรมาธิราช ฐานข้อมูลอีสานสนเทศของศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร

มหาวิทยาลัยสารคาม ฐานข้อมูลเอกสารมรดก (CMUL Digital Heritage Collection) ภาพล้านนา

ในอดีตของส านักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

1.1.1.5 บริการน าส่งเอกสาร (Document delivery service) เป็น

บริการจัดส่งเอกสารจากแบบค าขอของผู้ใช้บริการที่ เป็นสมาชิกผ่านเว็บไซต์ขององค์กรสารสนเทศ

หรือแบบฟอร์มการขอใช้โดยไม่ต้องติดต่อขอยืมเอกสารจากห้องสมุด องค์กรสารสนเทศที่มีเอกสาร

จะเป็นผู้น าส่งข่าวสารให้ผู้ใช้บริการ ณ สถาบันปลายทาง เช่น ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่มี

ห้องสมุดกลางและห้องสมุด คณะสถาบันศูนย์สังกัดสถาบันนั้น ๆ หรือมีห้องสมุดวิทยาเขต

1.1.1.6 บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary loan) เป็นบริการที ่

เกิดจากความร่วมมือระหว่างองค์กรสารสนเทศเพ่ือยืมหรือของถ่ายส าเนาเอกสารสิ่งพิมพ์จาก

ห้องสมุดและน ามาให้บริการแก่ผู้ใช้ถึงห้องสมุดที่ผู้ใช้ขอใช้บริการ โดยส่วนใหญ่จะให้ผู้ใช้เป็นผู้ออก

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ได้แก่ ค่าถ่ายเอกสารและค่าส่ง องค์การสารสนเทศท่ีร่วมมือกันจะออกประกาศ

เกี่ยวกับอัตราค่าบริการเพ่ือใช้มาตรฐานในการให้บริการร่วมกัน

1.1.1.7 บริการเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ (Information

literacy) เป็นการจัดกิจกรรมแนะน าเป็นการใช้สารสนเทศแนะน า อบรม การใช้ข้อมูลทาง

อิเล็กทรอนิกส์ การจัดท าคู่มือการใช้บริการตลอดจนการจัดบริการแนะน าวิธีการใช้เอกสารประเภท

ต่าง ๆ การแนะน าวิธีการศึกษาค้นคว้าให้แก่ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในองค์กรสารสนเทศ

เช่น ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา มักจะให้ส าหรับนักศึกษาเฉพาะสาขาตามค าขอของอาจารย์แต่ละ

กระบวนวิชาโดยจัดฝึกอบรมแก่ผู้ใช้ตามหัวข้อที่เหมาะสมและน่าสนใจ เช่น การปฐมนิเทศ การ

Page 8: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

แนะน าการสืบค้นสิ่งพิมพ์การรู้สารสนเทศด้วยตัวเองส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยการ

ฝึกอบรมและสัญจรไปฝึกอบรมที่คณะต่าง ๆ เป็นต้น

1.1.2 บริการพิเศษ เป็นบริการพิเศษท่ีนิยมจัดให้บริการในองค์การสารสนเทศ

ที่ให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นในประเทศ ประกอบด้วย บริการสารสนเทศทันสมัย บริการรวบรวม

บรรณานุกรม บริการแฟ้มสารสนเทศ บริการแปล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.1.2.1 บริการสารสนเทศทันสมัย (Current awateness service)

เป็นบริการที่องค์กรสารสนเทศแจ้งใช้ทราบถึงความรู้หรือสารสนเทศใหม่ ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้

ทันทีท่ีองค์กรสารสนเทศได้รับสารสนเทศหรือทราบข่าวสาร เพ่ือให้ผู้ใช้ทราบว่ามีสารสนเทศนั้นผลิต

และเผยแพร่ขึ้นใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนองความต้องการของผู้ใช้ให้สามารถติดตาม

สารสนเทศในเรื่องที่ตนสนใจได้อย่างรวดเร็ว

การจัดบริการสารสนเทศทันสมัยสามารถด าเนินการทั้งอย่าง

เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยจัดให้แก่ผู้ ใช้เป็นรายบุคคลหริอกลุ่มบุคคล ในปัจจุบันองค์กร

สารสนเทศมุ่งเน้นการให้บริการสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เพ่ือเป็นการประหยัดเวลา สามารถ

เผยแพร่ถึงผู้ใช้กลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อความต้องการและสามารถท ารูปแบบการ

น าเสนอได้อย่างสวยงามและน่าสนใจ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณเมื่อ

เทียบกับการจัดพิมพ์ออกมาในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ จึงได้บริการสารสนเทศทันสมัยผ่านเว็บไซต์ของ

หน่วยงาน เช่น การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การจัดท ารายการทรัพยากรสารสนเทศใหม่ การ

ท าส าเนาหน้าสารบัญวารสาร หรือที่เรียกว่า บริการ Journals and current content หรือเรียก

สั้น ๆ ว่า Current content บริการเวียนเอกสาร การจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศใหม่ และ

บริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะส่วนบุคคล

1.1.2.2 บริการรวบรวมบรรณานุกรม (Bibliograghy service) เป็นการ

รวบรวมรายชื่อสารสนเทศมาเรียงล าดับไว้อย่างมีระเบียบแบบแผนตามหลักเกณฑ์การลงรายการ

สารสนเทศโดยอาจระบุ เลขเรียกหนังสือไว้ด้วย เพ่ือใช้เป็นคู่มือในการให้บริการหรือใช้ในการ

ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ ในปัจจุบัน ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการมีความสะดวกในการค้นหา

สารสนเทศที่ต้องการหรือเพ่ือรวบรวมบรรณานุกรมในหัวข้อที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ใช้

Page 9: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

สามารถค้นหารายชื่อสารสนเทศจากฐานข้อมูลรายชื่อสารสนเทศ (OPAC) ฐานข้อมูลดรรชนีวารสาร

ฐานข้อมูลเฉพาะ เช่น ฐานข้อมูลท้องถิ่นของภาคต่าง ๆ ที่ให้บริการฟรีผ่านเว็บไซต์ ฐานข้อมูล

บทความหนังสือพิมพ์ เช่น Matichon e-library การสืบค้นสารสนเทศได้โดยง่ายด้วยโปรแกรม

ค้นหา (Search engine) เช่น Google อีกทั้งมีการจัดท าบริการสารสนเทศทันสมัยผ่านเว็บไซต์

เช่น การแนะน าสารสนเทศใหม่ เป็นต้น ซึ่งมีผลท าให้การใช้บริการนี้ในงานบริการข้อมูลท้องถิ่นใน

หลายห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศมีปริมาณลดลง ในบางแห่งไม่ได้จัดบริการนี้ส าหรับให้บริการ

แล้ว โดยหันไปมุ่งเน้นการสร้างเนื้อหา (Content) และการสอนใช้สารสนเทศเพ่ือให้ผู้ใช้สามารถ

ค้นหาสารสนเทศได้ด้วยตนเอง

1.1.2.3 บริการแฟ้มสารสนเทศ (Informtion files) เป็นการให้บริการ

สารสนเทศใหม่ ๆ ที่อยู่ในความสนใจ หรือเป็นเรื่องท่ีมีผู้ใช้ร้องขอเป็นจ านวนมาก สารสนเทศที่น ามา

จัดท าแฟ้มอาจรวบรวมมาจากบทความจากวารสาร/นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ จุลสาร เป็นต้น องค์กร

สารสนเทศที่ให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นหลายแห่งนิยมจัดท าแฟ้มสารสนเทศ โดยจัดท าในรูปของ

ข่าว บทความตัดแปะ (Clipping) และรวบรวมบทความจากวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์

ข่าวสาร/จุลสารท้องถิ่น แล้วน ามารวมเป็นแฟ้มสารสนเทศในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง ซึ่งช่วยให้มี

สารสนเทศท้องถิ่นที่ทันสมัยและไม่สามารถค้นหาจากที่อ่ืน ๆ ได้ หากต้องการให้ความสะดวก

รวดเร็วในการให้บริการแก่ผู้ ใช้ และประหยัดที่จัดเก็บแฟ้มสารสนเทศ อาจใช้วิธีแปลงผัน

(Digitization) ให้อยู่ในรูปสารสนเทศดิจิทัล แต่ส าหรับการให้บริการและเผยแพร่สารสนเทศประเภท

นี้ จะต้องศึกษาและระมัดระวังในเรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ด้วย ซึ่งอาจะใช้วิธีให้บริการบนเครื่อง

คอมพิวเตอร์แบบ Stand alone คือ จัดให้บริการโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้การเชื่อมต่อกับ

เครื่องอ่ืน ๆ ในลักษณะเครือข่าย

1.1.2.4 บริการแปล สารสนเทศท้องถิ่นอาจผลิตออกมาในหลากหลาย

ภาษา เช่น เขียนด้วยภาษาท้องถิ่น ภาษาต่างประเทศ ผู้ใช้อาจมีความจ าเป็นต้องใช้สารสนเทศที่เป็น

ภาษาท่ีตนเองไม่สามารถอ่านออกได้ องค์การสารสนเทศอาจจัดบริการแปล หรือติดต่อหรือแนะน า

ผู้แปลที่มีความเชี่ยวชาญและเชื่อถือได้ให้แก่ผู้ใช้ หรือแนะน าผู้ใช้ให้ไปใช้บริการจากหน่วยงานที่รับ

แปลเอกสาร

Page 10: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

1.2 บริการสารสนเทศท้องถิ่นในแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นอ่ืน ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์

ท้องถิ่น หอศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น นับเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตประเภทหนึ่ง พิพิธภัณฑ์

ท้องถิ่นในประเทศไทยเท่าท่ีปรากฏในฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศ บริการของพิพิธภัณฑ์

เป็นการให้ข้อมูลสารสนเทศ ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม

โบราณสถาน โบราณวัตถทุี่ส าคัญของท้องถิ่นนั้น ๆ

หอศิลปวัฒนธรรม เป็นแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นที่ให้บริการสารสนเทศเกี่ยวกับ

ประวัติศาสตร์วิถีชีวิตของผู้คน ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีในท้องถิ่น และท าหน้าที่เป็นศูนย์กลาง

ของการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ในจังหวัดหรือท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองขอนแก่น (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ส านักศิลปวัฒนธรรม)

บริการต่าง ๆ ที่จัดให้มีในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และหอศิลปวัฒนธรรม มีดังนี้

1.2.1 บริการให้การศึกษาหรือบริการงานชม เป็นบริการหลักของพิพิธภัณฑ์

และหอศิลปวัฒนธรรมจัดบริการน าชมโดยก าหนดวันเวลาเปิดให้ชมที่แน่นอน มีผู้ให้บริการน าชมที ่

มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่น าชม มีความสามารถในการสื่อสารความรู้ และแนะน าเรื่องราวและให้

ความรู้เกี่ยวกับวัตถุที่จัดแสดง ส่วนใหญ่ไม่คิดค่าเข้าชม แต่มีบางแห่งคิดค่าเข้าชม เพ่ือน าไปใช้ใน

กิจการของหน่วยงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของหน่วยงาน เช่น หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

1.2.2 การจัดแสดงนิทรรศการ เป็นบริการหลักของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและ

หอศิลปวัฒนธรรม จัดใน 2 รูปแบบ คือ 1) นิทรรศการถาวร เป็นนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์

ความเป็นมาและวิถีชีวิตของชุมชนศิลปวัฒนธรรมของทองถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น บุคคลส าคัญใน

ท้องถิ่น การสะท้อนภาพปัญหาของท้องถิ่น เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในห้องแสดงนิทรรศการ

มีการน าเทคโนโลยีและสื่อสมัยใหม่มาใช้ประกอบเพ่ือให้นิทรรศการมีความสนใจและสวยงาม และ

2) นิทรรศการหมุนเวียน เป็นบริการที่เปิดให้หน่วยงาน/ประชาชนทั่วไปมาใช้สถานที่แสดงผลงาน

หรือเผยแพรศ่ิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น เช่น บริการของหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

1.2.3 การจัดแสดงวัตถุท่ีมีอยู่ในท้องถิน่ วัตถุท่ีจัดแสดง เป็นวัตถุหรือสิ่งของที่มี

อยู่ ในชุมชนหรือท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งเป็นวัตถุที่บอกถึงประวัติความเป็นมา วิถีชีวิตของชุมชน

ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่น อาจเป็นทั้งของมีค่า และไม่ใช่ของมีค่า แต่มีความหมายต่อ

Page 11: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

ท้องถิ่น เช่น วัตถุท่ีเป็นสมบัติของวัดในท้องถิ่นนั้น มาแต่โบราณ เช่น ธรรมาสน์ เครื่องมือเครื่องใช้

ในการจารใบลาน ผ้าหอใบลาน ต้นฉบับหนังสือและต าราต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้ เช่น

ขวานหิน ขวานส าริด ก าไล ลูกปัด เครื่องปั้นและเครื่องเคลือบดินเผา เป็นต้น มีการจัดท า

ค าอธิบายประกอบวัตถุอย่างเพียงพอที่จะให้ผู้ชมเข้าใจสาระวัตถุชิ้นนั้น เพ่ือให้ผู้เข้าชมได้รักและ

เข้าใจท้องถิ่นได้อย่างรอบด้าน เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเรียก วัสดุที่ใช้ในการท า

ประโยชน์ใช้สอย ผู้ประดิษฐ์ เป็นต้น

1.2.4 บริการให้ยืมนิทรรศการ เป็นบริการให้ยืมสื่อนิทรรศการ และอาจให้ยืม

ภาพถ่าย ภาพถ่าย สไลด์ วิดีทัศน์ หรือสื่ออ่ืน ๆ ที่พิพิธภัณฑ์และหอศิลปวัฒนธรรมจัดท าขึ้น

เพ่ือเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่นออกสู่ชุมชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น บริการของหอศิลปวัฒนธรรม

จัดท าขึ้น เพ่ือเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่นออกสู่ชุมชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น บริการของหอ

ศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

1.2.5 การจัดกิจกรรม เป็นการจัดกิจกรรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น เพ่ือ

ให้บริการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับท้องถิ่น การพัฒนาท้องถิ่น การท านุบ ารุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

และเพ่ือกิจกรรมส่งเสริมการใช้บริการให้แก่หน่วยงานด้วย เช่น การจัดเสวนาเกี่ยวกับปัญหาของ

ท้องถิ่น การจัดแสดงเก่ียวกับศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นการสอนวิธีการประดิษฐ์ศิลปหัตถกรรมของ

ท้องถิ่นตามช่วงที่มีเทศกาลหรือประเพณีที่เก่ียวข้อง เป็นต้น

1.2.6 บริการสารสนเทศดิจิทัล ปัจจุบันหลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ

นิยมเผยแพร่สารสนเทศเกี่ยวกับวัฒนธรรมของท้องถิ่นหรือชุมชนในรูปสารสนเทศดิจิทัล เนื่องด้วย

สามารถน าเสนอได้อย่างกว้างขวาง ในรูปแบบที่สวยงาม หลากหลายรูปแบบ ทั้งในรูปข้อความ

ภาพประกอบทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว มีความน่าสนใจและประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่จ าเป็นต้อง

มีสถานที่ให้บริการ ตัวอย่างเช่น การจัดท าพิพิธภัณฑ์ออนไลน์ การจัดท าฐานข้อมูลของหน่วยงาน

วัฒนธรรม

Page 12: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า งานบริการสารสนเทศท้องถิ่นสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริม

การใช้สารสนเทศท้องถิน่ได้อย่างหลากหลาย เช่น การจัดการนิทรรศการเกี่ยวกับสารสนเทศท้องถิ่น

ในสถานที่และนอกสถานที่ เช่น ศูนย์การค้า เพ่ือเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

การการเยี่ยมชม/ดูงาน บุคลากรในสังกัดรับเชิญเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดและการให้บริการ

สารสนเทศท้องถิ่นแก่หน่วยงานอ่ืน การเป็นวิทยากร/อาจารย์พิเศษ เพ่ือเป็นให้บริการวิชาการแก่

ชุมชน และส่งเสริมการใช้บริการสารสนเทศท้องถิ่น ทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์และท าการตลาด

ให้แก่งานบริการสารสนเทศท้องถิ่นอีกด้วย

2. ประเด็นส าคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริการสารสนเทศท้องถิ่น

ประเด็นส าคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริการสารสนเทศท้องถิ่นที่เป็นปัจจัยส่งเสริม

สนับสนุนให้งานบริการสารสนเทศท้องถิ่นบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ องค์กรสารสนเทศท้องถิ่นต้อง

มีการบริหารจัดการที่ดีในการให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นขององค์กร เพ่ือให้มีบริการทรัพยากร

สารสนเทศที่มีคุณภาพ (วรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ์. 2554 : 10-20-10-28) ประกอบด้วย

2.1 การก าหนดนโยบายการให้บริการ นโยบายคือ หลักและวิธีการปฏิบัติซึ่งถือเป็น

แนวทางด าเนินการด้านบริการสารสนเทศท้องถิ่น จึงควรมีการก าหนดนโยบายจากฝ่ายบริหารของ

องค์กรไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ

องค์กร เพื่อเป็นกอบแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากร นโยบายที่ก าหนดไว้มีขอบเขตเกี่ยวกับ

บุคลากร ภาระหน้าที่ และการจ้างงาน แนวทางการใช้บริการและประเภทของการบริการหรือ

กิจกรรม การจัดหาสาสนเทศ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการด าเนินงาน โดยมี 3

องค์ประกอบจ าแนกได้เป็น 1) เป้าหมายของสิ่งที่ต้องการกระท าที่มีความชัดเจน 2) วิถีทางในการ

ด าเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย ซ่ึงเป็นแนวทางท่ีท าให้ส าเร็จได้ และ 3) ปัจจัยสนับสนุนการด าเนินงาน

ซึ่งมีทั้งปัจจัยภายใน เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น และปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแวดล้อม

ทางการเมือง เศรษฐกิจทางสังคม วิทยาการ และเทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่อยู่ ในวิสัยที่สามารถ

จัดหามาด าเนินและน่าจะเป็นไปได้เพ่ือเป็นหลักและวิธีการปฏิบัติส าหรับใช้เป็นแนวทางในการ

ด าเนินกิจกรรมของการให้บริการ ช่วยให้การด าเนินกิจกรรมการให้บริการสอดคล้องและเป็นไปตาม

เป้าหมายในการด าเนินงานที่องค์กรก าหนดไว้

Page 13: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

การจ าแนกประเภทนโยบาย จ าแนกได้หลายวิธี โดยทั่วไปการแบ่งตาม

ระดับชั้นของการบริหาร แบ่งเป็น 3 ระดับ 1) นโยบายขั้นพ้ืนฐาน เป็นนโยบายที่ใช้เป็นฐานของ

นโยบายประเภทอ่ืน ๆ 2) นโยบายทั่วไป เป็นนโยบายที่ก าหนดขึ้นตามนโยบายขั้นพ้ืนฐานเพ่ือความ

เข้าใจของผู้ปฎิบัติมากยิ่งขึ้น 3) นโยบายเฉพาะแผนกงาน เป็นนโยบายระดับล่างก าหนดขึ้น

เฉพาะงานขององค์กรของตนเองตามนโยบายขั้นพ้ืนฐานและนโยบายทั่วไป เพ่ือให้มี รายละเอียด

ชัดเจนยิ่งขึ้น

การก าหนดนโยบายขั้นพ้ืนฐาน องค์กรสารสนเทศ เช่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัย

ควรก าหนดนโยบายขั้นพ้ืนฐานในการจัดบริการแต่ละประเภท เช่น ก าหนดว่า “ให้บริการแก่

นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยตลอดจนบุคคลทั่วไป”

นโยบายทั่วไปในการบริการประเภทต่าง ๆ เช่น ก าหนดว่า “พัฒนาระบบการ

บริการ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่”

นโยบายเฉพาะ ควรมีก าหนดนโยบายในการด าเนินการเฉพาะบริการแต่ละ

ประเภท ตัวอย่างการก าหนดนโยบายในการสร้างเนื้อหา และการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น เช่น

ก าหนดว่า “จัดท าและเผยแพร่ข้อมูลท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ แก่ชุมชน รวมถึงการสนับสนุนข้อมูล

ทางศิลปวัฒนธรรมภายใต้ขอบเขตและพันธกิจของห้องสมุด”

2.2 การจัดท าแผนพัฒนาองค์กร องค์กรสารสนเทศท้องถิ่นจะต้องก าหนดเกี่ยวกับ

การบริหารการจัดการและการให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นไว้ในแผนพัฒนา โดยอาจท าเป็น

แผนพัฒนาระยะ 5 ปี ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาของหน่วยงานต้นสังกัด หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติ โดยควรก าหนดพันธกิจ วัตถุประสงค์นโยบายในการให้บริการอย่างเป็นลาย

ลักษณ์และมีความชัดเจน เพ่ือให้มีบริการสารสนเทศท้องถิ่นเป็นกิจกรรมหรือสิ่งที่องค์กรต้ อง

ด าเนินการ มีการก าหนดกลยุทธ์และเป้าหมายในการให้บริการขององค์กร เพ่ือให้มีวิธีการและ

เป้าหมายของแต่ละกลยุทธ์ด้านการให้บริการที่ท าให้องค์บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ด้วยวิธีที่

ถูกต้องโดยจะต้องมีการทบทวนทั้งพันธกิจ วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ

สารสนเทศท้องถิ่นทุกปี โดยน าการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT analysis) มาใช้เป็นเครื่องมือ

ในการวิเคราะห์จุดแข็ง (Stength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunities) และภาวะ

คุกคาม (Threats) ของการให้บริการสารนเทศท้องถิ่น และน าผลที่ได้มาก าหนดแนวทางการ

Page 14: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

พัฒนาการให้บริการในแต่ละด้านประจ าปีด้วย เพ่ือเป็นแนวทางในการด าเนินงานให้ทันกับความ

เปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายในและภายนอกองค์การ และจัดท าโครงการ/กิจกรรมในปีต่อไปเพ่ือ

รองรับแนวทางการพัฒนาที่ก าหนดไว้

2.3 การก าหนดขอบเขตเนื้อหาของสารสนเทศท้องถิ่นที่จะจัดเก็บและให้บริการ

ขอบเขตเนื้อหาของสารสนเทศท้องถิ่นท่ีองค์กรสารสนเทศจัดเก็บและให้บริการ สามารถใช้เป็นคู่มือ

และแนวทางในการด าเนินงานเกี่ยวกับงานสารสนเทศท้องถิ่นแก่ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการ

ก าหนดขอบเขตเนื้อหาของสารสนเทศที่จะจัดเก็บจะต้องจัดท าขอบเขตและแนวปฏิบัติครอบคลุมถึง

การให้บริการด้วย เพื่อให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นการปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ

และเกิดประสิทธิผลแก่องค์กร ให้ส่วนขอบเขตเนื้อหานี้ ควรก าหนด ดังนี้

ขอบเขตเนื้อหาที่จัดเก็บและให้บริการ ครอบคลุมสาขาและเนื้อหาในด้าน

ใดบ้าง ก าหนดขอบเขตภูมิศาสตร์ และขอบเขตด้านวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศที่จะจัดเก็บ

และให้บริการ เช่น ศูนย์สารสนเทศอีสานสิรินธร ส านักวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ก าหนดขอบเขตเนื้อหาของสารสนเทศท้องถิ่นที่ให้บริการว่าศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร เป็นแหล่ง

จัดหา รวบรวม และให้บริการสารสนเทศท่ีมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือในทุก ๆ ด้าน

และทุกรูปแบบ ครอบคลุมพ้ืนที่ 20 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม

นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีษะเกษ สกลนคร สุรินทร์

หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวล าภู อ านาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี ท าหน้าที่เป็นศูนย์กลาง

การสนับสนุน การศึกษา ค้นคว้า วิจัย ของภูมิภาคอีสาน อีกทั้งเป็นหน่วยประสานงานเรือข่าย

สารสนเทศท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพ่ือมุ่งที่จะด ารง รักษา อนุรักษ์ส่งเสริม

เผยแพร่ และสืบทอดเรื่องราววัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นอีสานของชาวอีสานไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้

ศึกษาต่อไป (คู่มือการให้บริการของศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร ส านักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม. 2553)

2.4 ด้านระเบียบการใช้บริการ องค์กรสารสนเทศท้องถิ่นต้องก าหนดระเบียบการใช้

บริการ เพ่ือให้เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติในการใช้บริการที่สอดคล้องกับนโยบายในการ

ให้บริการและความเหมาะสมของการให้บริการ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานให้บริการ

ส าหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน องค์กรสารสนเทศท้องถิ่น ควรจัดระเบียบการใช้บริการให้ครอบคลุม

Page 15: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

ทุกด้าน ได้แก่ ระเบียบเกี่ยวกับบริการของสถาบัน การเป็นสมาชิกของผู้ใช้ การให้ยืมทรัพยากร

สารสนเทศ และก าหนดรายรับ รายการ และเงื่อนไข การรับเงินรายได้ขององค์การ ประกอบด้วย

อัตราค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และค่าปรับขององค์การ ข้อปฏิบัติเมื่อเข้าใช้บริการขององค์การ

และอ่ืน ๆ ที่เก่ียวข้อง

2.5 ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ บุคลากรผู้ให้บริการเป็นตัวกลางในการน าส่งบริการ

ขององค์กรสารสนเทศให้แก่ผู้ให้บริการ องค์กรจะต้องจัดให้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถของ

บุคคลากรอย่างสม่ าเสมอและต่อเนื่อง เพ่ือให้บุคลากรมีความรู้ ความช านาญในการให้บริการที่ทัน

ต่อวิทยาการสมัยใหม่ นอกจากความรู้เชิงวิชาการแล้ว ควรต้องมีการฝึกอบรมเรื่องการพัฒนา

บุคลิกภาพและจิตบริการ (Service mind) ให้แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี ้ ควรน าหลักของการจัดการความรู้ (Knowledge Management :

KM) มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรด้วย เช่น จัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงาน

ด้านบริการ การตั้งชุมชนแนวปฏิบัติ COP (Community of Practice) เป็นต้น ด้านการให้บริการ

ข้อมูลท้องถิ่น อาจจัดให้มีชุมชนแนวปฏิบัติบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการด าเนินงานด้านสารสนเทศ

ท้องถิ่นขององค์กร เพื่อให้บุคลากรมีเวทีในการรวมกลุ่ม เพ่ือแลกเปลี่ยนเรียนรู้เติมเต็มความรู้ให้กัน

เพ่ือประโยชน์ในการพัฒนาการให้บริการสารสนเทศต่อไป

2.6 ด้านสถานที่บริการ สถานที่ให้บริการสารสนเทศท้องถิ่น เป็นบริเวณที่จัดให้ผู้ใช้

ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้า ควรจัดบริเวณให้บริการให้มีพ้ืนที่อย่างน้อย ดังนี้

2.6.1 พ้ืนทีส่ าหรับการจัดชั้นวางและตู้เก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ

2.6.2 พ้ืนที่ ส าหรับการจัดวางอุปกรณ์ช่ วยในการค้นคว้า เช่น เครื่ อง

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ต่อพ่วง เครื่องอ่านไมโครฟิล์ม เป็นต้น

2.6.3 พ้ืนที่นั่งอ่าน ซึ่งจะต้องมีการออกแบบ และจัดวางอย่างเหมาะสม

รวมถึงการจัดท าเว็บไซต์เป็นช่องทางในการเผยแพร่บริการ ต้องค านึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

2.7 ด้านเครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศท้องถิ่น เพ่ือให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศท้องถิ่น

ที่องค์กรสารสนเทศจัดเก็บและให้บริการ ควรจัดสร้างฐานข้อมูลเพ่ือใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น

และอ านวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้การสืบค้นเพ่ือการศึกษาค้นคว้าอย่างรวดเร็ว และสามารถสืบค้น

ได้อย่างกว้างขวางทุกที่ทุกเวลาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฐานข้อมูลที่จัดท าขึ้น เพ่ือใช้เป็นเครื่องมือ

Page 16: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

เข้าถึงสารสนเทศท้องถิ่น อาจท ารวมเข้าไว้ใน ฐานข้อมูลรายชื่อสารสนเทศของทั้งองค์กร เพ่ือใช้

สืบค้นรายชื่อสารสนเทศทั้งหมดขององค์กรสารสนเทศที่จัดให้บริการ และในรูปของฐานข้อมูล

เฉพาะ ซึ่งควรให้ข้อมูลฉบับเต็มด้วย เช่น ฐานข้อมูลกฤตภาคอีสานอิเล็กทรอนิกส์ ของศูนย์

ส า ร นิ เ ท ศ อี ส านสิ ริ น ธ ร ฐ านข้ อมู ล เ ชิ ด ชู ผู้ รู้ น นท บุ รี ข อ ง ส า นั กบ ร รณส า รส น เท ศ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ฐานข้อมูลภาพเก่า เรื่องเล่าชาวอุบล ของส านักวิทยบริการ

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นต้น การจัดสร้างฐานข้อมูลด้องเป็นตามมาตรฐานสากล คือมีการใช้

มาตรฐานการบันทึก รายการทางบรรณานุกรม เช่น MARC (Machine-Readable Cataloging)

Metadata เพ่ือการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์มีความสะดวกและง่ายต่อการ

ใช้ ในการให้บริการเกี่ยวกับเครื่องมือในการสืบค้น ควรจัดเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง

ให้แก่ผู้ใช้ส าหรับสืบค้นสารสนเทศตามความเหมาะสมและมีจ านวนเพียงพอกับการใช้

2.8 ด้านความร่วมมือในการบริการ การให้บริการสารสนเทศ ควรมุ่งเน้นการบริการ

ให้แก่ผู้ใช้เป็นส าคัญ จะต้องให้บริการผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างกว้างขวาง การให้บริการควร

เน้นในเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ ถึงแม้ผู้ใช้จะพอใจกับสารสนเทศที่มีอยู่ในองค์การของตนเองก็ตาม

หากมีแหล่งสารสนเทศอ่ืนที่มีอยู่ในองค์กรสารสนเทศอ่ืน ผู้ให้บริการควรเสนอให้ผู้ใช้ได้ตัดสินใจ

เลือกใช้ เพ่ือให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่กว้างและตรงกับความต้องการมากที่สุด ดังนั้น องค์กร

สารสนเทศท้องถิ่นควรมีความร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ เพ่ือให้การบริการเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้

ในด้านบริการสารสนเทศท้องถิ่นในปัจจุบัน ที่อาจร่วมมือกันระหว่างองค์การสารสนเทศได้ เช่น

บริการยืมระหว่างองค์กรสารสนเทศ บริการยืม-คืน ระหว่างองค์กรสารสนเทศร่วมกัน (Reciprocal

borrowing) ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการให้บริการ เป็นต้น

2.9 ด้านการส ารวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ องค์กรสารสนเทศท้องถิ่น ควรจัด

ให้มีการส ารวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เพ่ือน าผลมาปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการให้มี

คุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งอาจส ารวจความพึงพอใจในการให้บริการในภาพรวม หรืออาจส ารวจในเชิงลึก

แยกเฉพาะบริการก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมและนโยบายขององค์กร การด าเนินการส ารวจอาจ

จัดท าใน 2 รูปแบบ

2.9.1 การส ารวจความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ เพ่ือให้ทราบความ

พึงพอของผู้ใช้และได้ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นที่มีต่อการให้บริการเป็นประจ าทุกวัน โดยให้ผู้ใช้ตอบ

Page 17: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

แบบสอบถามผ่านเว็บไซต์หน่วยงาน ควรจัดท าระบบการส ารวจให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้และผู้ใช้

ให้บริการด้วย เพ่ืออ านวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ในการตอบแบบสอบถาม ให้ข้อคิดเห็นและข้อ

ชี้แนะเกี่ยวกับการให้บริการแก่องค์กร

2.9.2 การส ารวจความพึงพอใจของผู้รับบริการในแต่ละปี โดยใช้แบบสอบถาม

เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพ่ือให้ผลการส ารวจตามหลักการวิจัยที่ถูกต้อง ซึ่งจะต้อง

ก าหนดกลุ่มประชาชนและกลุ่มตัวอย่างและต้องการส ารวจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการ

หลักการวิจัย ส าหรับข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นที่ได้รับ

แนวคิดเกี่ยวกับการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น

การเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น มีความหมายและความส าคัญ ดังนี้

1. ความหมายของการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น

การเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการท าเพ่ือให้

กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ข้อมูลเผยแพร่ โดยองค์การสารสนเทศท้องถิ่น หรือผู้เขียน หรือโดยผู้ผลิต จัด

หรือขึ้น เพ่ือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศเก่ียวกับท้องถิ่น และองค์ความรู้ของชุมชนในท้องถิ่น

จากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่ง เช่น สื่อดิจิทัล และสื่อบุคคล ท าให้เกิดการเผยแพร่สารสนเทศ

ท้องถิ่นจากผู้เขียนไปยังผู้อ่าน ผู้ผลิตไปยังผู้ใช้ จากผู้พูดไปยังผู้ฟัง จากผู้จัดไปยังผู้อ่าน หรือผู้เข้าร่วม

กิจกรรม เป็นต้น (วรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ์. 2554 : 10-30)

ดังนั้น การเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น จึงเป็นไปตามรูปแบบของการสื่อสารเพ่ือให้

ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายไปยังกลุ่มเป้าหมาย รูปแบบของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจึงท าได้หลาย

วิธีตามสภาพของสังคม

2. ความส าคัญของการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น

สารสนเทศท้องถิ่นเป็นการบันทึกองค์ความรู้ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น

เป็นการบันทึกเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา วิธีชีวิตของท้องถิ่น ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ที่

เกี่ยวกับท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ ที่มีการเผยแพร่ออกมาในรูปสื่อต่าง ๆ เช่น สื่อตีพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่อ

ดิจิทัล และสื่อบุคคล ท าให้เกิดการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อการถ่ายทอด

ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งให้คงอยู่คู่กับท้องถิ่น เป็นประโยชน์

Page 18: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

ต่อการประกอบอาชีพและการด ารงชีวิตของคนในท้องถิ่น และการศึกษาค้นคว้า และวิจัยเกี่ยวกับ

ท้องถิ่น เพื่อการต่อยอดองค์ความรู้ ที่น าไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นและพัฒนาประเทศ

วัตถุประสงค์ส าคัญของการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น คือ การให้ความรู้แก่

กลุ่มเป้าหมายการสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กรและชุมชนท้องถิ่น และการสร้างความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้

ความส าคัญของการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น ประกอบด้วย 5 ด้านดังนี้

2.1 ด้านการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เป็นตัวกลางในการน าสารสนเทศท้องถิ่นออก

เผยแพร่แก่ผู้สนใจและผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เพ่ือสร้างองค์

ความรู้ใหม่และการต่อยอดองคค์วามรู้ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

2.2 ด้านการท านุบ ารุงศิลปวัฒนธรรม เป็นตัวกลางในการน าสารสนเทศท้องถิ่นออก

เผยแพร่สู่ชุมชน ท าให้เกิดการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นหนึ่งไปสู่

อีกรุ่นให้คงอยู่คู่กับท้องถิ่น

2.3 ด้านการสื่อสาร เป็นตัวกลางในการน าสารสนเทศท้องถิ่นออกเผยแพร่สู่

ประชาชน ท าให้เกิดการสื่อสารทั้งในสังคมเมืองและสังคมท้องถิ่น เพื่อเป็นประโยชน์ในการประกอบ

อาชีพและการด าเนินชีวิต

2.4 ด้านความรู้ความเข้าใจ ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่กลุ่มเป้าหมายอย่าง

ถูกต้องจากการเผยแพร่ข้อมูลนโยบาย การด าเนินงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร

2.5 ด้านภาพลักษณ์ขององค์กร เพ่ือให้มีทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีแก่ชุมชนท้องถิ่น

Page 19: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

วิธีการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น

วิธีการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่นมีการเผยแพร่เชิงรุก และการเผยแพร่เชิงรับ โดยมี

เครื่องมือที่ใช้ในการเผยแพร่ ได้แก่ การให้ข่าว การสัมภาษณ์ การจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์

การใช้สื่อและเทคโนโลยี วิธีการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้

เผยแพร่จะต้องใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการดัดแปลงวิธีการเผยแพร่ให้เหมาะกับผู้ใช้ โดย

ค านึงถึงความแตกต่างทางด้านภาษาวัฒนธรรม และปัจจัยทางด้านสังคมของแต่ละท้องถิ่น เช่น ใน

ชนบทที่ประชาชนไม่รู้หนังสือ เช่น ชาวเขา อาจใช้การบรรยาย การใช้สื่ออ่ืนแทน เช่น ภาพยนตร์

วีซีดี/ดีวีดีภาพยนตร์ หรือใช้การสื่อสารโดยการพูด การบรรยายแทน เป็นต้น

วิธีการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่นมี 4 วิธีการ ได้แก่ 1) วิธีการเผยแพร่เชิงวิชาการ เช่น

การประชุมการสัมมนาเชิงวิชาการ 2) วิธีการเผยแพร่ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ละคร บทเพลง การ

เล่านิทาน การแสดง 3) วิธีการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ 4) วิธีการเผยแพร่

ผ่านสื่อต่าง ๆ จะเน้นวิธีการเผยแพร่ในรูปสื่อต่าง ๆ เช่น วิธีการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่นมีทั้งการ

เผยแพร่เชิงรุก และการเผยแพร่เชิงรับ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเผยแพร่ ได้แก่ การให้ข่าว การให้

สัมภาษณ์ สื่อมวลชนสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ การประชาสัมพันธ์ภายใน และ

การมีสิ่งสร้างเอกลักษณ์องค์การ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่อดิจิทัล สื่อบุคคล ดังนี้

1. สื่อสิ่งพิมพ์

สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง สื่อที่ใช้เอกสารการตีพิมพ์ และองค์กรตีพิมพ์ และองค์กรใช้

เป็นสื่อหรือช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูล สารสนเทศไปยังประชาชนกลุ่มเป้าหมาย สารสนเทศ

ท้องถิ่นท่ีเผยแพร่รูปสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น รายงานการวิจัย รายงานการสัมมนา/การประชุมวิชาการ

วิทยานิพนธ์ วารสารวิชาการ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ต าราวิชาการ หนังสือ ทั่วไป หนังสืออ้างอิง

จดหมายข่าว แผ่นพับ จุลสาร แผ่นปลิว สูจิบัตร เป็นต้น

2. ส่ือโสตทัศน์

สื่อโสตทัศน์ หมายถึง สารสนเทศท้องถิ่นที่ผลิตออกมาในรูปซีดีรอม แผนที่

โปสเตอร์ เป็นต้น

Page 20: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

3. สื่อดิจิทัล

สื่อดิจิทัล เป็นสื่อที่เผยแพร่สารสนเทศในรูปไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ไฟล์ภาพ ไฟล์เสียง

เคลื่อนไหว เว็บไซต์ ฐานข้อมูล หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์ เป็นสื่อที่

นิยมจัดท าหรือผลิตออกมาจ านวนมาก เนื่องจากสามารถเผยแพร่ได้อย่างกว้างขว้างได้บนเครือข่าย

อินเทอร์เน็ต

4. สื่อบุคคล

สื่อบุคคล เป็นสื่อเผยแพร่ที่บุคคลที่ท าหน้าที่ที่เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร

ข้อมูล สารสนเทศไปยังประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยตรง เป็นการเผยแพร่จากบุคคลที่มีความรู้

ความเชี่ยวชาญและได้รับการยอมรับให้เป็นผู้น าชุมชนในแต่ละท้องถิ่น เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน คร ู

ภูมิปัญญาไทย และบุคคลที่ได้รับการยอมรับนับถือในท้องถิ่น เป็นต้น การใช้สื่อบุคคลในการ

เผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น

นอกจากนี้สื่อมวลชน เช่น รายการวิทยุและโทรทัศน์ ยังเป็นเครื่องมือส าคัญในการ

เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสารสนเทศท้องถิ่นได้กว้างขวางยิ่งขึ้น รวมถึงแนวโน้มของการเผยแพร่ความรู้

เกี่ยวกับสารสนเทศท้องถิ่นได้กว้างขวางยิ่งขึ้น รวมถึงแนวโน้มของการเผยแพร่สื่อต่าง ๆ ผ่าน

อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย

กรณีศึกษาการบริการและการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น

ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร ส านักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงาน

ที่พัฒนาทรัพยากรและให้บริการสารสนเทศเกี่ยวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งที่เป็นองค์ความรู้

และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถเชื่อมโยงกับสถาบันระดับภูมิภาคและ

นานาชาติ (ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร. ออนไลน์. 2557) โดยมีพันธกิจ นโยบาย และวัตถุประสงค์

ในการบริการและเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น ดังนี้

Page 21: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

ภาพที่ 6.1 ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร

ที่มา : ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร. ออนไลน์. 2557

1. พันธกิจ

ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร มีพันธกิจในการด าเนินงานดังนี้

1.1 เป็นแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น (Local information center) ภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ

1.2 เป็นแหล่งสนับสนุนการศึกษาค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1.3 เป็นแหล่งจัดหา จัดเก็บ สร้างสม อนุรักษ์ และให้บริการสารสนเทศภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือทุกรูปแบบด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม

2. นโยบาย

ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร มีนโยบายในการด าเนินงานดังนี้

2.1 เป็นแหล่งจัดหาและพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพ่ือ

สนับสนุนการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และด ารงรักษา

เรื่องราวและวัฒนธรรมของชาวอีสานไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป

2.2 จัดสถานที่ มวลทรัพยากร และบรรยากาศการเรียนรู้ที่บ่งบอกถึงการท านุบ ารุง

ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน

2.3 ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดการสารสนเทศ และชุดองค์

ความรู้ท้องถิ่นภายในประเทศและต่างประเทศ

Page 22: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

2.4 ส่งเสริม เผยแพร่การใช้สารสนเทศอีสาน และอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรม

ร่วมกับชุมชน

3. วัตถุประสงค์

ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร มีวัตถุประสงค์ในการด าเนินงานดังต่อไปนี้

3.1 เพ่ือจัดหา รวบรวม และให้บริการสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกประเภททั้งวัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์ โดยรวบรวมเนื้อหาอีสานทุกด้าน

ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมพื้นบ้าน ความเป็นอยู่และประเพณี การศึกษา ความเชื่อ วรรณกรรม ภาษา

ศิลปะ การละเล่นพื้นบ้าน การพัฒนาชนบท และการเมืองการปกครอง ฯลฯ

3.2 เพ่ือจัดระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ โดยให้ผู้ใช้บริการสามารถค้นหา

สารสนเทศที่เก่ียวกับอีสานได้ตรงตามความต้องการอย่างสะดวกและรวดเร็ว

3.3 เพ่ือเป็นแหล่งสารสนเทศให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และ

ประชาชน ผู้สนใจทั่วไป ได้ศึกษาเรื่องราวของภาคอีสาน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา

ค้นคว้า

3.4 เป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับภาคอีสานในทุก ๆ ด้าน

3.5 เพ่ือด ารงรักษาเรื่องราวของชาวอีสานไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป

3.6 เพ่ือเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างภาคอีสานกับภาคอ่ืน ๆ ทั้งใน

ประเทศไทย และต่างประเทศ

4. วัสดุสารสนเทศที่ให้บริการ

ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร ได้จัดให้บริการศึกษาค้นคว้ามีหลากหลายประเภทโดย

แต่ละประเภทมีการก าหนดสัญลักษณ์ไว้ดังนี้

4.1 หนังสืออีสาน (ส/S)

4.2 งานวิจัยอีสาน วิทยานิพนธ์อีสาน ปริญญานิพนธ์อีสาน (ส/S)

4.3 บทความอีสาน (ARS)

4.4 กฤตภาคอีสาน (CPS)

4.5 จุลสารอีสาน (PPS)

4.6 ภาคนิพนธ์อีสาน (TPS)

Page 23: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

4.7 แผนที่อีสาน (MAPS)

4.8 รูปภาพอีสาน (PICS)

4.9 แถบบันทึกเสียงอีสาน (TCS)

4.10 แถบบันทึกภาพอีสาน (VCS)

4.11 ซีดีเพลง (CDAS)

5. วิธีการสืบค้นสารสนเทศอีสาน

ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร ให้บริการสืบค้นจากฐานข้อมูล ดังนี้

5.1 สืบค้นจากฐานข้อมูลห้องสมุด (Web OPAC) ของส านักวิทยบริการ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามลิงค์ดังนี้ (http://202.28.32.94)

5.2 สืบค้นจากฐานข้อมูลกฤตภาคอีสานอิเล็กทรอนิกส์ (Isan e-Clipping) ตามลิงค ์

ดังนี้ (http://202.28.32.98/marc_clipping/)

5.3 สืบค้นจากฐานข้อมูลระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศอีสานบนอินเทอร์เน็ต

ตามลิงค์ดังนี้ (http://202.28.32.124/lisan )

6. ระบบการจัดเก็บและจัดเรียงสารสนเทศอีสาน

ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร มีระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น ดังนี้

6.1 หนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ จัดบริการที่ชั้นเปิดเรียงตามเลขเรียกหนังสือ โดย

จัดหมวดหมู่ตามระบบทศนิยมของดิวอี้ ผู้ใช้บริการสามารถศึกษาค้นคว้าได้ที่ชั้นหนังสือห้องศูนย์

6.2 บทความ (ARS) กฤตภาค (CPS) จุลสาร (PPS) รูปภาพ (PICS) และแผนที่

(MAPS) จัดเก็บเอกสารแยกแต่ละประเภท โดยจัดเรียงไว้ตามล าดับเลขทะเบียนจากน้อยไปมาก เมื่อ

ผู้ใช้บริการต้องการใช้เอกสารให้จดสัญลักษณ์และเลขทะเบียน ติดต่อที่เจ้าหน้าที่ห้องศูนย์ฯ

6.3 ภาคนิพนธ์ สารนิพนธ์ ศิลปะนิพนธ์ ปัญหาพิเศษ (TPS) จัดบริการที่ชั้นเปิด

โดยเรียงตามล าดับเลขทะเบียนจากน้อยไปมาก ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการที่ชั้นภาคนิพนธ์ที่ห้อง

ศูนย์ฯ

6.4 หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จัดเรียงที่ชั้นตามตัวอักษรของชื่อหนังสือพิมพ์ ก-ฮ

6.5 ซีดีรอม (CDS) แถบบันทึกเสียง (TCS) แถบบันทึกภาพ (VCS) ไมโครฟิล์ม

Page 24: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

และสไลด์ (SLS) จัดเก็บตามเลขทะเบียนแยกวัสดุแต่ละประเภท เมื่อผู้ใช้บริการต้องการใช้ให้ติดต่อ

ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อโสตและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ชั้น 4

6.6 วัสดุจ าลองและของตัวอย่าง เป็นการจัดแสดงไว้ พร้อมค าบรรยาย เพ่ือส่งเสริม

อนุรักษ์ภูมิปัญญาพ้ืนบ้านอีสาน

7. แนวปฏิบัติในการใช้บริการ

ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร มีแนวปฏิบัติในการใช้บริการ ดังนี้

7.1 ดูแผนผังแสดงแหล่งที่ตั้งทรัพยากรสารสนเทศ เพ่ือความรวดเร็วในการค้นหา

เอกสารชั้นเปิดทุกชนิด

7.2 เมื่อยืมเอกสารออกนอกบริเวณศูนย์สารนิเทศอีสาน กรุณาลงชื่อที่สมุดยืม-คืน

ที่เคาน์เตอร์บริการห้องศูนย์

7.3 เอกสารประเภทหนังสือ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ การศึกษา

ค้นคว้าอิสระ สิ่งพิมพ์รัฐบาล หากมีหลายฉบับ จะมีให้บริการยืมออกนอกห้องสมุด

7.4 โปรดแสดงบัตรประจ าตัวทุกครั้ง เมื่อต้องการใช้บริการเอกสารชั้นเปิดทุก

ประเภท เช่น บทความ กฤตภาค จุลสาร รูปภาพ แผนที่ เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ค้นหาและหยิบเอกสาร

ให้ เมื่อผู้ใช้บริการใช้เสร็จแล้วกรุณาส่งเอกสารคืนเจ้าหน้าที่และรับบัตรคืน

7.5 สื่อโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ ของศูนย์ ผู้ใช้บริการยืมใช้บริการได้ตามระเบียบ โดย

ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายโสตทัศน์ฯ

Page 25: อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57

สรุป

การบริการและการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น เป็นการจัดบริการเพ่ืออ านวยความ

สะดวกให้แก่ผู้ใช้ได้เข้าถึงและใช้สารสนเทศท้องถิ่นตามความต้องการ เพ่ือความรู้ การศึกษา

ค้นคว้าวิจัย การประกอบอาชีพ และการพัฒนาสังคม โดยมีความส าคัญต่อผู้ใช้ ผู้ให้บริการ และ

องค์กร การบริการสารสนเทศท้องถิ่นมีทั้งบริการพื้นฐาน และบริการพิเศษ งานบริการสารสนเทศ

ท้องถิ่นสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้สารสนเทศท้องถิ่น เพ่ือเป็นการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน

และส่งเสริมการใช้บริการสารสนเทศท้องถิ่น รวมทั้งมีประเด็นส าคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริการ

สารสนเทศท้องถิ่นท่ีเป็นปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนให้งานบริการสารสนเทศท้องถิ่นบรรลุตามเป้าหมาย

ที่วางไว้ การเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น มีรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เชิงวิชาการ วิธีการ

เผยแพร่ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ วิธีการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน และวิธีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ