การนําหลักสัปปุริสธรรมเพื่อเปนเครื่องมือในการวางแผนการบริหาร...

9

Click here to load reader

Upload: pentanino

Post on 28-May-2015

2.368 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: การนําหลักสัปปุริสธรรมเพื่อเปนเครื่องมือในการวางแผนการบริหาร

การนําหลักสัปปุริสธรรมเพื่อเปนเคร่ืองมือในการวางแผนการบริหาร

นายธงชัย สิงอุดม๑

รองผูอํานวยการวิทยาลัยสงฆเลย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๑. บทนํา

การบริหารงานหรือการจัดการองคการมีความจําเปนตองใชศาสตรและศิลปในการบริหารงาน

อยางหลีกเลี่ยงไมได เนื่องจากในยุคปจจุบันเปนระบบทุนนิยม หรือบริโภคนิยมที่แสวงหาผลกําไร และมี

การแขงขันกันสูงทั้งในเชิงการบริหารงานและการพัฒนาองคการ ใหบรรลุผลตามเปาประสงคขององคการ

เพื่อใหเหนือกวาองคการอื่น จึงไดมีหลักการบริหารสมัยใหมเขามาเปนแผนกลยุทธ หรือหลักการในการ

บริหารจัดการ ในสถานการณปจจุบันก็มีนักวิชาการทางซีกโลกตะวันตกใหความสนใจหลักการในทาง

พระพุทธศาสนามาผสมผสาน และประยุกตใชกับหลักการบริหารจัดการ ยกตัวอยางเชน สตีเวน พอล

จอบส (Steven Paul Jobs) หรือสตีฟจอบส เปนผูนําธุรกิจและนักประดิษฐชาวอเมริกัน ผูรวมกอตั้ง

ประธาน อดีตประธานกรรมการบริหารของแอปเปลคอมพิวเตอรไดเอาหลักการทางพระพุทธศาสนาแบบ

เซนมาประยุกตใชในการเปนซีอีโอของบริษัทแอปเปลคอมพิวเตอรเพราะเขาถือวา การที่จะใชหลักการ

วิธีการหรือเทคนิค ของนักวิชาการชาวตะวันตก ซึ่งพัฒนาการการบริหารจัดการมาไมเกิน ๑๐๐ป นั้นยัง

เปนหลักการที่ยังยึดกับวัตถุนิยม รวมทั้งมีผูแพผูชนะ เปนการบริหารจัดการที่มุงหวังกําไรและการแขงขัน

ดังนั้นเมื่อนักวิชาการทางตะวันตก ไดเขามาศึกษาพระพุทธศาสนา ทําใหเขารูวาศาสตรแหงการบริหาร

จัดการที่ยั่งยืนและดํารงความเปนมนุษยที่จะอยูรวมกันโดยสันติสุขนั่นคือ ศาสตรในการบริหารจัดการเชิง

พุทธศาสตร ซึ่งในที่นี้จะกลาวถึง การวางแผน ซึ่งการวางแผนมีความสําคัญมากทั้งแกบุคลและองคการ โดย

การผสมผสานเขากับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา น่ันคือหลักสัปปุริสธรรม๗ มาใชเปนเครื่องมือที่สําคัญ

สําหรับการวางแผน อีกทั้งเปนแนวทางที่มีความสอดคลองกับหลักการบริหารสมัยใหมไดอยางกลมกลืน

ถึงแมวาจะเปนหลักธรรมคําสอนขององคสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจากาวมาถึง ๒,๖๐๐ ปแลวก็ตาม

๒. การวางแผนการบริหารดวยหลักสัปปุริสธรรม ๗

การวางแผนการบริหารดวยสัปปุริสธรรม ๗ ธรรมที่ทําใหคนเปนสัตบุรุษหรือเปนคนดี มีคุณธรรม ประกอบดวย ความเปนผูรูจักเหตุ (เห็นเหตุแลวคาดการณถึงผลในอนาคต) รูจักผล (เห็นผลตอนนี้แลวหยั่งรูถึงสาเหตุไดในอดีต) รูจักตน (รูจักตนเอง สมรรถนะความรูความสามารถของตน) รูจักประมาณ (รูจักความพอเพียงพอดีของตนเองและสิ่งตางๆ) รูจักกาล (รูจักเวลาวาควรทําอยางไร จึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิผล) รูจักชุมชน (รูจักการประพฤติตนเอง เมื่ออยูในสังคมตางๆ ในเรื่องของการคิด การพูด และ

๑นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Page 2: การนําหลักสัปปุริสธรรมเพื่อเปนเครื่องมือในการวางแผนการบริหาร

การทํา) และรูจักบุคคล (รูวิธีการเลือกคบแตคนดี หรือกัลยาณมิตร และหลีกเลี่ยงการคบคนพาล ตลอดจนการรูจักการมอบหมายงานแกบุคคลที่เหมาะสม)

ทานพุทธทาสไดบรรยาย “การบริหารธุรกิจแบบพุทธ” ซึ่งไดกลาวถึงสัปปุริสธรรมอยูเหมือนกันในการใชสัปปุริสธรรมในการบรหิารตามหลกัการบริหาร มี ๔M ที่สําคัญคือ Man (คน) Machine (เครื่องจักร) Money (เงินทุน) และ Material (วัสดุ)และเชื่อวา M ที่สําคัญที่สุดคือ Man (คน)เพราะคนสามารถหาเครื่องจักรหาเงินและหาวัสดุมาใหไดหากเราทําใหคนนั้นเปนคนดีที่ถูกตองแลวเชื่อแนวาจะบริหารงานไดสําเร็จสมประสงคคนดีที่ถูกตองนี้ คือตองเปนทั้งคนดีและคนเกงดวย เมื่อพิจารณาอยางผิวเผินแลวสัปปุริสธรรม ๗คือ เหตุ – ผล – ตน – ประมาณ – กาล – ชุมชน – บุคคลจะไปเกี่ยวของกับการวางแผนการบริหารไดอยางไรเพราะยังเปนการรูจักยังไมรูจริงและยังไมรูแจงและเปนเพียงแคความรู (ปริยัติ)ยังไมไดนําไปปฏิบัติ (ปฏิบัติ)และยังไมกอใหเกิดประโยชน (ปฏิเวธ)แนวคิดในเรื่องการบริหารหากรูจัก “บริหารตน” แลวหลักการบริหารนี้ยอมสามารถประยุกตใชกับ “การวางแผนการบริหารชีวิตประจําวันการวางแผนการบริหารครอบครัวการวางแผนการบริหารงานของตนเองการวางแผนการบริหารธุรกิจระดับผูจัดการการวางแผนระดับองคการและการวางแผนการบริหารประเทศชาติได

หลักสัปปุริสธรรม ที่พระพุทธเจาทรงแสดง ไวในสัปปุริสสูตร (พระไตรปฎกเลมที่ ๒๓)๒อันเปนแนวทางในการบริหารจัดการเชิงพุทธศาสตรเพียงหลักธรรมหนึ่ง เพื่อประกอบการพิจารณาวาหลักการบริหารเชิงพุทธศาสตรมิไดมุงหวังกําไร หรือการแขงขันเพียงอยางเดียว แตไดบรรจุหลักการที่สรางความยั่งยืน การไมเบียดเบียนการอยูรวมกันอยางสงบสันติ มีความเมตตาตอกัน และรูเทาทันโลกโดยมิไดปฎิเสธกระแสโลกาภิวัตน หรือระบบทุนนิยมในปจจุบันแตใหยึดหลักการอยูรวมกันและรูเทาทันโลก หลักสัปปุริสธรรมที่เกี่ยวของกับการบริหารจัดการ มี ๗ประการ คือ

๑. ธัมมัญุตา (Knowing the Law, Knowing the Cause)หมายถึง “ความเปนผูรูจักเหตุ” เชนรูจักวาสิ่งนี้เปนเหตุแหงสุขสิ่งนี้เปนเหตุแหงทุกข คือ เห็นเหตุหรือการกระทําเกิดข้ึนในปจจุบันแลวรูวา จะสงผลในอนาคตอยางไรเพื่อเปนขอมูลเตือนภัยในการวางแผนปองกันตอไป

๒. อัตถัญุตา (Knowing the Meaning, Knowing the Purpose)หมายถึง “ความเปนผูรูจักผล” เชน รูจักวาสุขเปนผลแหงเหตุอันนี้ทุกขเปนผลแหงเหตุอันนี้คือ เห็นผลที่เกิดขึ้นในปจจุบันแลวรูวาเกิดจากสาเหตุอะไรในอดีตเพื่อเปนขอมลูในการแกไขปญหาหรอืใชประโยชนในปจจุบันและอนาคตโดยการขจัดสาเหตุรากเหงาหรือปฏิบัติตามวิธีการที่ไดผลดีมาแลว

๓. อัตตัญุตา (Knowing Oneself)หมายถึง “ความเปนผูรูจักตน” วาโดยชาติตระกูลยศศักดิ์สมบัติบริวารความรูและคุณธรรมเพียงเทานี้ๆแลวประพฤติตนใหสมควรแกที่เปนอยูอยางไรคือมองตัวเองหรือองคการแลวทบทวนดูวาสถานะที่ตัวเองเปนและฐานะที่ตัวเองมีเปนอยางไรเพื่อเปนขอมูลในการบริหารตนบริหารงานอยางมีประสิทธิภาพตอไป

๔. มัตตัญุตา (Moderation, Knowing how to be temperate) “ความเปนผูรูจักประมาณ” ในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแตโดยทางที่ชอบและรูจักประมาณในการบริโภคแตพอควรคือ มองงานที่ตนเองทําอยูแลวพิจารณาวิเคราะหดวยปญญาวาความพอเหมาะความพอดีความพอเพียงอยูที่ไหนเทาไรเพื่อจะไดกําหนดแผนการปฏิบัติไดเหมาะสมอันมุงไปสูผลลัพธอยางดีเลิศ

๒ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๑๐๕/๑๒๕-๑๓๕.

Page 3: การนําหลักสัปปุริสธรรมเพื่อเปนเครื่องมือในการวางแผนการบริหาร

๕. กาลัญุตา (Knowing the Propertime)หมายถึง “ความเปนผูรูจักกาลเวลา” เชน รูวาเวลานี้เปนเวลาอันสมควรในอันประกอบกิจนั้นๆ คือ มองงานที่จะทําแลวพิจารณาบริหารเวลาโดยดําเนินการปฏิบัติวาควรจะทําใหทันเวลากําหนดทําใหถูกเวลาที่ตองทําทําตามเวลาที่กําหนดและทําใหเริ่มและเสร็จตามเวลาที่วางแผนโดยคํานึงถึงวิธีที่กอใหเกิดประโยชนสูงสุด

๖. ปริสัญุตา (Knowing the Assembly, Knowing the Society)หมายถึง “ความเปนผูรูจักชุมชน” โดยกิริยาที่จะตองประพฤติตอชุมชนนั้นๆวาชุมชนหมูนี้เมื่อเขาไปหาจะตองประพฤติตอชุมชนนั้นๆวาชุมชนหมูนี้เมื่อเขาไปหาจะตองทํากริยาอยางนี้จะตองพูดอยางนี้ คือ มองงานของตัวเองวาตองเกี่ยวของกับชุมชนอะไรบางในเชิงธุรกิจและมีผลกระทบสิ่งแวดลอมอยางไรแลวชุมชนนั้นคิดอยางไรเดือดรอนอยางไรเชื่ออยางไรเพื่อเราจะไดปฏิบัติเขากับสังคมไดอยางถูกตอง

๗. ปุคคลัญุตา (Knowing the individual, Knowing the different individuals)หมายถึง “ความเปนผูรูจักบุคคล” ควรรูวิธีเลือกบุคคลวาผูนี้เปนคนดี ควรคบผูนี้เปนคนไมดีไมควรคบ คือ การวางแผนการบริหารงานตองใชคนทํางานและจําเปนตองติดตอกับบุคคลในชุมชนการจัดหาคนเขาทํางานตองสอบสัมภาษณคนเขาเปนพนักงานตองเลือกใหถูกตองกับความรูความสามารถและตองเปนคนดีดวยงานจึงจะบรรลุความสําเร็จ

การวางแผนการบริหารงานตามสถานการณเชิงพุทธนี้แทจริงแลวก็เปนการบริหารงานที่ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณทั้งภายนอกและภายในตัวเรา ในแตละเหตุการณ แตละปญหามันก็มีวิธีการแกปญหาแตกตางกันไป ตามวัฒนธรรมองคการ สถานที่เกิดเหตุปจจัยอื่น ๆ ความถนัดของผูวางแผน เพราะฉะนั้นตองเลือกใชธรรมะใหถูกฝา ถูกตอง ภาษาพระเรียกวาธรรมานุธรรมะปฏิบัติ คือ ปฏิบัติธรรมนอยใหคลอยธรรมใหญ เลือกธรรมะยอยๆมาปฏิบัติใหสอดคลองกับเปาหมายที่ตองการการเลือกใชธรรมะใหถูกตองนี่แหละคือการวางแผนการบริหารเชิงพุทธ

๓. ความสําคัญของการวางแผนงาน (Planing)

การวางแผนงานในการบริหารจัดการขององคการทุกระดับจะมีแนวคิดวาการวางแผน

เปรียบเสมือนเข็มทิศช้ีทางเดินใหแกองคการนั้นๆ การวางแผนงานนับวาเปนองคประกอบที่สําคัญตอการ

บริหารจัดการองคการทุกประเภททั้งภาครัฐและเอกชน ถาปราศจากการวางแผนแลวก็จะเหมือนเรือที่ไร

หางเสือ องคการก็จะถูกพัดพาไปตามกระแสลมของการเปลี่ยนแปลงซึ่งมาจากสิ่งแวดลอมทางสังคม

เศรษฐกิจ เทคโนโลยีและการเมืองโดยไมมีทิศทางที่แนนอน

“การวางแผน” (Planning) มาจากคําในภาษาละตินวา “แพลนัม” (Planum) หมายถึงพื้นที่

ราบหรือพิมพเขียวคําภาษาอังกฤษใช “Planning”ซึ่งหมายถึงขั้นตอนการกําหนดและการดําเนินการเพื่อ

บรรลุเปาหมาย หรือทําใหเปาหมายเปนจริง๓กระบวนการวิเคราะหและการตัดสินใจของผูบริหารที่จะ

กําหนดวิธีการไวลวงหนาอยางเปนระบบเพื่อใชเปนแนวทางปฏิบัติใหบรรลุผลตามเปาหมายและ

วัตถุประสงคที่กําหนดไวอยางมีประสิทธิภาพโดยนําเอาขอมูลขาวสาร (Information) ในอดีตมากําหนด

หรือพยากรณอนาคตดังนั้นแนวคิดของการวางแผนจงึมีลกัษณะเปน “ศาสตร” ที่ตองใชขอมูลเชิงประจักษ

๓วันชัย มีชาติ. อางอิงใน Judith R. Gordon and associates, Menagement and Organization Behevior, (Massachusetts :Allyn& Bacon, 1990), p. 107.

Page 4: การนําหลักสัปปุริสธรรมเพื่อเปนเครื่องมือในการวางแผนการบริหาร

(Empirical Information) ที่มีความแมนตรงและเชื่อถือไดและจะตองประกอบดวยองคประกอบที่ชัดเจน

และมีความตอเนื่องกันตามลําดับ ทั้งนี้เพื่อใหผูใชแผนมีความรูและความเขาใจที่จะสามารถนําแผนไป

ปฏิบัติใหบรรลุผลสําเร็จได การวางแผนงานประกอบดวยการวางแผน ๓ ประการ ดังนี้

๑. การวางแผนการบริหาร ประกอบดวย การวางแผนยุทธศาสตรการวางแผนกลยุทธและการ

วางแผนปฏิบัติการ

๒. การวางแผนการจัดการความเสี่ยง

๓. การวางแผนการจัดการความรู

ซึ่งสามารถสรุปเปนแผนภาพได ดังนี้

แผนภาพที่ ๑ แสดงกระบวนการวางแผน

จากแผนภาพแสดงกระบวนการวางแผนนั้นมีองคประกอบในการวางแผนที่สําคัญอยู ๓ อยาง คือ

คน (Man) เงิน (Money) และงาน (Work) ในการกระบวนการการบริหารจัดการระหวางคนและเงินนั้นจะ

มีการวางแผนการบริหารงานที่สําคัญอยู ๓ แผนงาน คือ การวางแผนยุทธศาสตร(Strategy planning)

การวางแผนกลยุทธ (Gold planning) และการวางแผนปฏิบัติการ (Action planning) ในกระบวนการ

การบริหารจัดการระหวางเงินและงานนั้นจะมีการวางแผนการบริหารความเสี่ยง (Risk Planning) และใน

กระบวนการการบริหารจัดการระหวางคนและงานนั้นจะมีการวางแผนการบริหารจัดการความรู

(Knowledge Planning)

คน(Man)

เงิน(Money) งาน(Work)

การวางแผนการจัดการความรู

Knowledge Planning

การวางแผนการบริหาร

Manegement Planning

การวางแผนยุทธศาสตร strategy planning

การวางแผนกลยุทธgold planning

การวางแผนปฏิบัติการaction planning

การวางแผนความเส่ียง

Risk Planning

การวางแผน

Planning

Page 5: การนําหลักสัปปุริสธรรมเพื่อเปนเครื่องมือในการวางแผนการบริหาร

ฉะนั้นการวางแผนทุกระดับจะมีประโยชนทั้งตอผูบริหารและผูปฏิบัติคือ ปองกันมิใหเกิดปญหา

และความผิดพลาด หรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดข้ึนในการปฏิบัติงานในอนาคตทําใหองคการมีกรอบหรือ

ทิศทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนวาจะทําอะไร ที่ไหนเมื่อไร อยางไร และใครทําทําใหนักบริหารมีความ

มั่นใจในการปฏิบัติงานใหบรรลุผลสําเร็จไดงายชวยใหเกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร เชนคน

เงิน วัสดุอุปกรณเวลาฯลฯชวยใหการปฏิบัติงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพราะมีแผนเปนแนวทาง

“เปรียบเสมือนเรือที่มีหางเสือ” ชวยใหการปฏิบัติงานเปนระบบนักบริหารสามารถควบคุมติดตามการ

ปฏิบัติงานไดงาย

ถาจะแบงระดับของการวางแผนตามลกัษณะของการบริหารงานในองคการสามารถแบงออกเปน๓

ระดับ๔ คือ

๑. การวางแผนระดับนโยบาย (Policy Planning) เปนแผนระดับสูงสุดขององคการ

มักจะระบุแนวทางอยางกวางๆซึ่งเปนพื้นฐานที่จะกอใหเกิดแผนชนิดอื่นๆสวนใหญจะเปนแผนระยะยาว

(Long - Range Plan) เชนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่๑๐

๒. การวางแผนกลยุทธ (Strategic Planning) เปนการวางแผนหลอมรวมครอบคลุม

กิจกรรมทั้งหมดขององคการหรอืแผนงานใหญขององคการโดยจะระบุไว “อยางกวาง” และ “มองไกล” ไป

พรอมๆกันซึ่งมักจะเปนแผนระยะยาว๕–๑๐ปซึ่งจะตองสอดคลองกับแผนระดับนโยบาย

๓. แผนปฏิบัติการหรือแผนดําเนินงาน (Operation Plan) เปนการวางแผนที่กําหนด

จุดมุงหมายระยะสั้น ระยะเวลาไมเกิน๑ป ซึ่งถายทอดมาจากแผนกลยุทธองคประกอบของแผนปฏิบัติการ

จะประกอบดวยวัตถุประสงคเปาหมาย กิจกรรมขั้นตอนการปฏิบัติงบประมาณผูรับผิดชอบในการ

ดําเนินงานแผนปฏิบัติการแบงออกเปน๒ประเภท คือแผนใชประจํา (Standing Plans) และแผนใช

เฉพาะครั้ง (Single - use Plans)

การวางแผนยุทธศาสตร หรือ การวางแผนกลยุทธ (Strategic Planning) เปนกระบวนการ

ตัดสินใจเพื่อกําหนดทิศทางในอนาคตขององคการ โดยกําหนดสภาพการณในอนาคตที่ตองบรรลุและ

กําหนดแนวทางในการบรรลุสภาพการณที่กําหนดบนพื้นฐานขอมูลที่รอบดานอยางเปนระบบการกําหนด

แนวทางที่จะบรรลุสภาพการณในอนาคตที่ตองการใหเกิด จะตองตั้งอยูบนพื้นฐานของขอมูลที่รอบดาน

คือ จะตองคํานึงถึงสภาพการณที่ตองการใหเกิดศักยภาพหรือขีดความสามารถขององคการ และการ

เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดลอมตาง ๆ ทั้งดานเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดลอมการกําหนด

แนวทางที่จะบรรลุสภาพการณในอนาคตที่ตองการใหเกิดจะตองเปนระบบ คือ แนวทางที่กําหนดขึ้น

จะตองดําเนินไปอยางเปนขั้นเปนตอน การวางแผนยุทธศาสตรจะตองตอบคําถามหลัก ๓ ประการ

คือ

๔วันชัย มีชาติ. การบริหารองคการ. พิมพครั้งที่ ๔ (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย)

๒๕๕๔, หนา ๑๕๕-๑๕๖

Page 6: การนําหลักสัปปุริสธรรมเพื่อเปนเครื่องมือในการวางแผนการบริหาร

๑. องคการกําลังจะกาวไปทางไหน (Where are you going?)

๒. สภาพแวดลอมเปนอยางไร (What is the environment?)

๓. องคการจะไปถึงจุดหมายไดอยางไร (How do you get there?)

กระบวนการการวางแผนยุทธศาสตร (Strategic Planning Processes) มีขั้นตอนดังตอไปนี้

๑) กําหนดวิสัยทัศน (Vision)

๒) กําหนดภารกิจหรือพันธกิจ (Mission)

๓) กําหนดเปาประสงคหรือจุดมุงหมายเพื่อการพัฒนา (Goal)

๔) กําหนดประเด็นยุทธศาสตรหรือยุทธศาสตร (Strategy)

๕) กําหนดกลยุทธหรือแนวทางการพัฒนา

นามธรรม วิสัยทัศน (Vision) ตองการเปนอะไร

พันธกิจ (Mission) ตองทําอะไร

จุดมุงหมายเพื่อการพัฒนา ทําเพื่ออะไร

ยุทธศาสตร ทําอยางไร

แนวทางการ

พัฒนา

ทําโดยวธิีการใด

รูปธรรม เปาหมาย ทําแคไหน/เทาใด/กับใคร/เมื่อใด

แผนภาพที่ ๒ แสดงกระบวนการการวางแผนยุทธศาสตร (Strategic Planning Processes)

คําวา “ยุทธศาสตร” (Strategy)” มีความหมายรวมถึง “จุดหมายปลายทาง (End)” และ

“วิธีการสูจุดหมายปลายทาง (Means) เชิงนโยบาย” ซึ่งใชในการกําหนดนโยบายจากการวิเคราะห

สภาพแวดลอมภายในและภายนอกองคการ (SWOT) ตามหลักวิชาการ สวนคําวา “กลยุทธ”

(Strategies)” หมายถึง “วิธีการสูจุดหมายปลายทาง (Means) ระดับปฏิบัติการและเปนแนวทางเพื่อ

ตอบสนองวิธีการสูจุดหมายปลายทางระดับนโยบาย”

Page 7: การนําหลักสัปปุริสธรรมเพื่อเปนเครื่องมือในการวางแผนการบริหาร

๔.ประโยชนการใชหลักสัปปุริสสธรรม ๗ มาใชในการวางแผนการบริหาร

เมื่อสัปปุริสธรรม ๗หมายถึงธรรมที่ทําใหคนเปนสตับุรษุหรอื เปนคนดี มีคุณธรรม เปนคนเกง หาก

นํามาใชกับการวางแผนการ ยอมทําใหเกิดประโยชนในการวางแผนการบริหาร ดังนี้๕

๑.ธัมมัญูรูจักเหตุคือ รูจักเหตุ คือรูหลักความจริง รูหลักการ รูหลักเกณฑ รูกฎเกณฑแหงเหตุผลและรูหลักการที่จะทําใหเกิดผล เชนเห็นเหตุการณอะไรก็ตามแตก็จะรูไดวาเกิดจากเหตุอะไรเชน ทําไมฝนจึงตกสาเหตุมาจากอะไร และผลจะเปนอยางไร รูวาจะตองกระทําเหตุแบบนี้จึงจะใหเกดิผลที่ตองการนั้นๆ เปนตน

๒.อัตถัญูรูจักผลรูความหมายรูความมุงหมาย รูประโยชนที่ประสงคคือรูจักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทํา ซึ่งสามารถกอใหเกิดประโยชนเกิดผลไดจริง

๓.อัตตัญูรูจักตนเปนผูรูจักตนคือรูจักตัวตนของเราเอง วาโดยฐานะ ภาวะ เพศ กําลังความรู

ความสามารถ ความถนัดและคุณธรรม สามารถประเมินตนเองไดในหลักธรรม ดังนี้ศรัทธา (ชอบ รักในงาน

อะไร)ศีล (วินัย)สุตะ(ความรู)จาคะ (ความเสียสละ)ปญญา (กระบวนการในการพัฒนาความรูที่มีอยู)เปนตน

แลวประพฤติใหเหมาะสมและรูที่จะแกไขปรับปรุงตอไป

ตัวอยางของผูที่รูจักตน สตีเฟนพอลจอบส (Steven Paul Jobs) (เกิดเมื่อวันที่ ๒๔กุมภาพันธ

ค.ศ. ๑๙๕๕) ผูบริหารระดับสูงของแอปเปล คอมพิวเตอร และ พิกซารแอนิเมชันสตูดิโอสและเปนบุคคลชั้น

นําในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร ในฐานะผูรวมกอตั้งแอปเปลคอมพิวเตอร รวมกับสตีฟ วอซเนียก ใน

ปค.ศ. ๑๙๗๖เขาไดชวยทําใหแนวความคิดเรื่องคอมพิวเตอรสวนบุคคลเปนที่นิยมขึ้นมาดวยเครื่องApple II

ตอมาเขาไดเปนผูแรกที่มองเห็นศักยภาพทางการคาของสวนประสานงานผูใชแบบกราฟกสและเมาส ที่ถูก

พัฒนาขึ้นในศูนยวิจัยซีร็อกซพารค ของบริษัทซีร็อกซและไดมีการผนวกเทคโนโลยีเหลานี้เขาไวในเครื่อง

แอปเปล แมคอินทอชสตีฟยังเปนประธานกรรมการบริหาร และผูบริหารระดับสูงของ พิกซารแอนิเมชัน

สตูดิโอสผูนําดานการผลิตภาพยนตรแอนิเมชันดวยคอมพิวเตอรกราฟกส

๔.มัตตัญูรูจักประมาณเปนผูรูจักประมาณคือ ความพอดี ความเหมาะสม สอดคลองกับ

สภาพการณ

๕.กาลัญูรูจักกาลเปนผูรูจักกาลคือรูกาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะตองใชในการประกอบกิจ กระทําหนาที่การงานเชน แบงเวลา ทําใหถูกจังหวะ ใหตรงเวลา ใหเปนเวลา ใหทันเวลา ใหพอเวลาใหเหมาะเวลา เปนตน

๖.ปริสัญูรูจักบริษัทเปนผูรูจักบริษัทคือ รูจักชุมชน และรูจักที่ประชุม รูกิริยาที่จะประพฤติตอชุมชนนั้นๆ วาชุมชนนี้เมื่อเขาไปหา จะตองทํากิริยาอยางนี้ จะตองพูดอยางนี้ชุมชนนี้ควรสงเคราะหอยางนี้ เปนตน

๕ม.อุ. ๑๔/๑๔๓/๑๑๒., พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม,

พิมพครั้งที่ ๑๖, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส. อาร. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส จํากัด, ๒๕๕๑), หนา ๒๑๙-๒๒๐.

Page 8: การนําหลักสัปปุริสธรรมเพื่อเปนเครื่องมือในการวางแผนการบริหาร

๗.ปุคคลปโรปรัญู รูจักเลือกคบคนปุคคลัญุตา หรือปุคคลปโรปรัญุตา เปนผูรูจักบุคคล คือ ความแตกตางแหงบุคคลวา โดยอัธยาศัยความสามารถ และคุณธรรม เปนตน ใครๆ ยิ่งหรือหยอนอยางไรและรูที่จะปฏิบัติตอบุคคลนั้นๆ ดวยดี วาควรจะคบหรือไม จะใชจะตําหนิ ยกยองและแนะนําสั่งสอนอยางไร เปนตน

ดวยการนําหลักสัปปุริสธรรม ๗ มาใชในการวางแผนนี้เอง ทําใหผูวางแผนสามารถพิจารณาถึง

องคประกอบที่สําคัญสําหรับการวางแผนทั้ง ๓ อยาง คือ คน(Man) เงิน(Money) และงาน(Work) ไดอยาง

ถูกตองและรอบคอบชัดเจนยิ่งขึ้นนําสิ่งตางๆที่มีความเกี่ยวของ เชน กําหนดวัตถุประสงคและทิศทางการ

ดําเนินงานตางๆ อีกทั้งยังสามารถตอบคําถามหลักสามประการในการวางแผนยุทธศาสตร คือ องคการ

กําลังจะกาวไปทางไหน สภาพแวดลอมเปนอยางไร องคการจะไปถึงจุดหมายไดอยางไรเกิดกระบวนการ

วางแผนที่มีประสิทธิภาพทุกระดับการวางแผน เชน แผนระดับนโยบาย แผนระดับกลยุทธ แผนปฏิบัติการ

๕. บทสรุป

หลักพุทธธรรม มิไดมีจุดหมายเพื่อพัฒนาองคการหรือหนวยงาน และเปนทฤษฎีขององคการใน

การบริหาร แตหลักพุทธธรรมไดใหความสําคัญสําหรับคน ในสังคมที่อยูรวมกัน หมายความวา พุทธธรรม

นั้นตองการใหมนุษย ไมวาจะอยูในฐานะใดก็ตาม สามารถพัฒนาตนในทางคุณธรรมไดแสดงออกมาโดย

ธรรมที่ควรประพฤติ ทั้งองคความรู ความสามารถ หลักสัปปุริสธรรมเปนหลักหลักคนดีที่ถูกตอง

ประกอบดวย ความเปนคนรูจักเหตุ รูจักผล รูจักตน รูจักประมาณ รูจักกาล รูจักชุมชน และรูจักบุคคล

“การวางแผน” (Planning) คือ กระบวนการวิเคราะหและการตัดสินใจของผูบริหารที่จะกําหนดวิธีการไว

ลวงหนาอยางเปนระบบเพื่อใชเปนแนวทางปฏิบัติใหบรรลุผลตามเปาหมายและวัตถุประสงคที่กําหนดไว

อยางมีประสิทธิภาพการวางแผนการบริหารงานตามสถานการณเชิงพุทธนี้แทจริงแลวก็เปนการวาง

แผนการบริหารงานที่ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณทั้งภายนอกและภายในตัวเรา ในแตละเหตุการณ แต

ละปญหามันก็มีวิธีการการวางแผนแตกตางกันไป ตามวัฒนธรรมองคการ สถานที่เกิดเหตุปจจยัอื่น ๆ ความ

ถนัดของผูแกปญหาวาจะเลือกอาวุธอะไรมาใชงานธรรมะอื่น ๆ ที่เนนตามสถานการณก็ยังมีอีกมาก

Page 9: การนําหลักสัปปุริสธรรมเพื่อเปนเครื่องมือในการวางแผนการบริหาร

๖. บรรณานุกรม

๑. ภาษาไทย

ก. ขอมูลปฐมภูมิ

พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม. พิมพครั้งที่ ๑๖.

กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส. อาร. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส จํากัด, ๒๕๕๑. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

ข. ขอมูลทุติยภูมิ

(๑).หนังสือ

ณัฎฐพันธ เขจรนันทน, ผศ.ดร.. การจัดการเชิงกลยุทธ (ฉบับปรับปรุงใหม). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,

๒๕๕๒.

วันชัย มีชาติ. การบริหารองคการ. พิมพครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพแหงจุฬาลงกรณ

มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔.

(๒). บทความ

ปฐมพงษ ทินบรรเจิดฤทธิ์, ผศ. “พุทธจริยศาสตรกับรัฐศาสตร”, พระพุทธศาสนากับจริยศาสตร.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (กันยายน ๒๕๕๑) : ๓๕๓-๓๖๕

๒. ภาษาอังกฤษ

๓. สื่ออิเล็กทรอนิคส

พระมหาทวี มหาปฺโญ (ละลง).การบริหารแบบ “POSDCORB” เชิงพุทธ.

http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/303/204/original_Acr28.doc?12865

38512 สืบคนเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๕.

สมหวงัวิทยาปญญานนท. บริหารดวยสัปปุริส

ธรรม.http://www.budmgt.com/budman/bm01/goodman.html สืบคนเมื่อวันที่ ๒๐

มีนาคม ๒๕๕๕.