วิพากษ์บทวิเคราะห์โองการแช่งน้ำ

3
จิตร ภูมิศักดิ์ในฐานะนักชาตินิยม: ข้อพิจารณาเบื ้องต้นจากการศึกษา โองการแช่งน้ําฯยุกติ มุกดาวิจิตร บทคัดย่อ บทความนี้พิจารณาวิธีวิทยาในการศึกษาวรรณคดีของจิตร ภูมิศักดิ์ โดยให้ความสําคัญกับบท วิเคราะห์ โองการแช่งน้ําพระพัทธ์ 1 ในบทวิเคราะห์โองการแช่งน้ํา ดังกล่าวจิตรวิเคราะห์การใช้ภาษา แนวการประพันธ์ ประกอบกับประวัติศาสตร์สังคมไทยลุ่มน้ําเจ้าพระยา แล้วจึงสรุปว่า โองการแช่งน้ํา เป็นวรรณคดีที่ตกทอดมาจากราชสํานักอยุธยาก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อพิจารณาด้วยหลักการ ศึกษาภาษาศาสตร์และวรรณกรรมในแนวมานุษยวิทยา ผู้เขียนเสนอว่า จิตรเสนอวิธีวิทยาที่เรียกได้ว่า เป็น ภาษาศาสตร์ประชาชาตินิยม” (nationalist linguistics) แก่สังคมไทย ในแง่นี้ ไม่เพียงแต่จิตรจะชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างสังคมกับวรรณกรรม และเน้น บทบาทของประชาชนในฐานะชนชั้นล่างในประวัติศาสตร์ จิตรยังนําเอามิติทางประวัติศาสตร์ชาติพันธ์ุ ภาษาศาสตร์ชาติพันธ์ุ และคติชนเชิงชาติพันธ์ุวิทยา เข้ามาในการศึกษาวรรณคดี พร้อมๆกับการเป็น นักวัฒนธรรมศึกษาแนวมาร์กซิสต์ วิธีวิทยาดังกล่าวทําให้จิตรเป็น นักวัฒนธรรมศึกษาประชาชาติ นิยมอีกด้วย ดังนั้นจิตรจึงไม่ได้แตกต่างไปจากนักชาตินิยมร่วมสมัยเขามากนัก ในวิธีการที่เขาพิจารณาลักษณะร่วม กันของวัฒนธรรม ภาษา และวรรณคดีข้ามกลุ่มชน ว่าวางอยู่บนพื้นฐานของความเป็นชนชาติเดียวกัน อย่างไรก็ดี ชาตินิยมของจิตรก็มีลักษณะแตกต่างจากชาตินิยมทางการ ตรงที่เขายอมรับความหลาก หลายและให้ความสําคัญกับ วิถีประชา” (popular life way) มากกว่าวัฒนธรรมชนชั้นปกครอง เกริ่นนํา ตามปกติผมไม่เคยเกร็งที ่จะต้องวิจารณ์ใคร ไม่ว่าจะศาสตราจารย์ในประเทศหรือต่างประเทศ แต่กับ งานของจิตร ภูมิศักดิ์ ผมกลัวทุกครั้ง เมื่อสักหกปีที่แล้ว ผมวิจารณ์งานชิ้นเอกของจิตร ชื่อ ความเป็น มาของคําสยาม ไท ลาวฯนั่นก็เนื่องมาจากว่า เพดานความรู้ของจิตรนั ้นกว้างขวางเกินกว่าที ่ผมจะ จัดการได้รอบด้าน สิ่งที่ผมทําได้ก็เพียงมองจากแง่มุมตนเองเห็นต่างออกไป ซึ่งก็ยากเย็นมาก อย่าง บทวิเคราะห์โองการแช่งน้ําฯของจิตร นับได้ว่าเป็นงานชิ ้นสําคัญของจิตรที่หามุมวิจารณ์ หามุมที่เห็น ต่างออกไปยากมาก การอ่านโองการแช่งน้ําของจิตรนับได้ว่าเป็นผลการวิเคราะห์ทางภาษาและวรรณคดีที ่แหลมคมเป็น อย่างยิ ่ง ผมมองว่างานชิ้นนี้นับเป็นผลงานที ่คู ่กันกับ ความเป็นมาฯเนื่องจากอาศัยวิธีการศึกษาที่ คล้ายๆกัน และดังนั้นจึงวางอยู่บนคติ หรืออาจจะเรียกว่าอคติ ที่คล้ายๆกัน หลายคนเรียกจิตรจากการ ทํางานชิ้น ความเป็นมาฯว่าเขาเป็นนักนิรุกติศาสตร์ ที่เรียกอย่างนั้นผมคิดว่าหยาบเกินไป เนื่องจาก วิธีการที่จิตรใช้ในงานั ้ง ความเป็นมาฯซึ่งสืบหารากความหมายของถ้อยคํา กับ โองการแช่งน้ําฯมี ลักษณะเดียวกัน เป็นวิธีการที่คล้ายกับภาษาศาสตร์สมัยใหมและที่เกินไปจากภาษาศาสตร์สมัยใหมกล่าวคือหารากร่วมกันของคํา จากการสันนิษฐานการแปลงของเสียงอย่างเป็นระบบ ในคําร่วมที ่แม้จะ อยู่ในคนละภาษากัน นอกจากนั้น จิตรยังอาศัยวิธีการทางประวัติศาสตร์สังคม การเมือง การศึกษา 1 ขอกล่าวถึงเฉพาะบทวิเคราะห์โองการแช่งน้ํา จะไม่กล่าวถึง ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทลุ่มน้ําเจ้าพระยาเนื่องจาก เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

Upload: yukti-mukdawijitra

Post on 02-Dec-2015

548 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

วิพากษ์บทวิเคราะห์โองการแช่งน้ำ

TRANSCRIPT

Page 1: วิพากษ์บทวิเคราะห์โองการแช่งน้ำ

จิตร ภูมิศักดิ์ในฐานะนักชาตินิยม: ข้อพิจารณาเบื้องต้นจากการศึกษา “โองการแช่งน้ําฯ”

ยุกติ มุกดาวิจิตร

บทคัดย่อ

บทความนี้พิจารณาวิธีวิทยาในการศึกษาวรรณคดีของจิตร ภูมิศักดิ์ โดยให้ความสําคัญกับบทวิเคราะห์ “โองการแช่งน้ําพระพัทธ์”1 ในบทวิเคราะห์โองการแช่งน้ํา ดังกล่าวจิตรวิเคราะห์การใช้ภาษา แนวการประพันธ์ ประกอบกับประวัติศาสตร์สังคมไทยลุ่มน้ําเจ้าพระยา แล้วจึงสรุปว่า โองการแช่งน้ําเป็นวรรณคดีที่ตกทอดมาจากราชสํานักอยุธยาก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อพิจารณาด้วยหลักการศึกษาภาษาศาสตร์และวรรณกรรมในแนวมานุษยวิทยา ผู้เขียนเสนอว่า จิตรเสนอวิธีวิทยาที่เรียกได้ว่าเป็น “ภาษาศาสตร์ประชาชาตินิยม” (nationalist linguistics) แก่สังคมไทย

ในแง่นี ้ไม่เพียงแต่จิตรจะชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างสังคมกับวรรณกรรม และเน้นบทบาทของประชาชนในฐานะชนชั้นล่างในประวัติศาสตร์ จิตรยังนําเอามิติทางประวัติศาสตร์ชาติพันธ์ ุภาษาศาสตร์ชาติพันธ์ ุและคติชนเชิงชาติพันธุ์วิทยา เข้ามาในการศึกษาวรรณคดี พร้อมๆกับการเป็นนักวัฒนธรรมศึกษาแนวมาร์กซิสต์ วิธีวิทยาดังกล่าวทําให้จิตรเป็น “นักวัฒนธรรมศึกษาประชาชาตินิยม” อีกด้วย

ดังนั้นจิตรจึงไม่ได้แตกต่างไปจากนักชาตินิยมร่วมสมัยเขามากนัก ในวิธีการที่เขาพิจารณาลักษณะร่วมกันของวัฒนธรรม ภาษา และวรรณคดีข้ามกลุ่มชน ว่าวางอยู่บนพื้นฐานของความเป็นชนชาติเดียวกัน อย่างไรก็ดี ชาตินิยมของจิตรก็มีลักษณะแตกต่างจากชาตินิยมทางการ ตรงที่เขายอมรับความหลากหลายและให้ความสําคัญกับ “วิถีประชา” (popular life way) มากกว่าวัฒนธรรมชนชั้นปกครอง

เกริ่นนํา

ตามปกติผมไม่เคยเกร็งที่จะต้องวิจารณ์ใคร ไม่ว่าจะศาสตราจารย์ในประเทศหรือต่างประเทศ แต่กับงานของจิตร ภูมิศักดิ์ ผมกลัวทุกครั้ง เมื่อสักหกปีที่แล้ว ผมวิจารณ์งานชิ้นเอกของจิตร ชื่อ “ความเป็นมาของคําสยาม ไท ลาวฯ” นั่นก็เนื่องมาจากว่า เพดานความรู้ของจิตรนั้นกว้างขวางเกินกว่าที่ผมจะจัดการได้รอบด้าน สิ่งที่ผมทําได้ก็เพียงมองจากแง่มุมตนเองเห็นต่างออกไป ซึ่งก็ยากเย็นมาก อย่างบทวิเคราะห์โองการแช่งน้ําฯของจิตร นับได้ว่าเป็นงานชิ้นสําคัญของจิตรที่หามุมวิจารณ์ หามุมที่เห็นต่างออกไปยากมาก

การอ่านโองการแช่งน้ําของจิตรนับได้ว่าเป็นผลการวิเคราะห์ทางภาษาและวรรณคดีที่แหลมคมเป็นอย่างยิ่ง ผมมองว่างานชิ้นนี้นับเป็นผลงานที่คู่กันกับ “ความเป็นมาฯ” เนื่องจากอาศัยวิธีการศึกษาที่คล้ายๆกัน และดังนั้นจึงวางอยู่บนคติ หรืออาจจะเรียกว่าอคติ ที่คล้ายๆกัน หลายคนเรียกจิตรจากการทํางานชิ้น “ความเป็นมาฯ” ว่าเขาเป็นนักนิรุกติศาสตร์ ที่เรียกอย่างนั้นผมคิดว่าหยาบเกินไป เนื่องจากวิธีการที่จิตรใช้ในงานั้ง “ความเป็นมาฯ” ซึ่งสืบหารากความหมายของถ้อยคํา กับ “โองการแช่งน้ําฯ” มีลักษณะเดียวกัน เป็นวิธีการที่คล้ายกับภาษาศาสตร์สมัยใหม่ และที่เกินไปจากภาษาศาสตร์สมัยใหม่ กล่าวคือหารากร่วมกันของคํา จากการสันนิษฐานการแปลงของเสียงอย่างเป็นระบบ ในคําร่วมที่แม้จะอยู่ในคนละภาษากัน นอกจากนั้น จิตรยังอาศัยวิธีการทางประวัติศาสตร์สังคม การเมือง การศึกษา

1 ขอกล่าวถึงเฉพาะบทวิเคราะห์โองการแช่งน้ํา จะไม่กล่าวถึง “ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทลุ่มน้ําเจ้าพระยา” เนื่องจากเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

Page 2: วิพากษ์บทวิเคราะห์โองการแช่งน้ำ

วรรณคดีเปรียบเทียบ และการศึกษาทางชาติพันธ์ุวิทยา ประกอบกันหลากหลายศาสตร์อย่างยิ่ง วิธีการการศึกษาของจิตรจึงเกินเลยไปกว่าเพียงแค่การสืบรากคําแบบนิรุกติศาสตร์ เกินไปกว่าการศึกษาแบบภาษาศาสตร์ ทําในสิ่งที่นัก๓าษาศาสตร์ปัจจุบันจะไม่มีวันทําเป็น คือสหวิทยาการของการศึกษาภาษาและวรรณคดี

วิธีการทางวรรณคดีและภาษาศาสตร์ที่จิตรใช้นี่เอง ที่ทําให้งานเขาโดดเด่น สร้างคําอธิบายใหม่ๆให้ปรากฏการณ์ที่ได้รับการอธิบายมาอย่างหนึ่ง เช่นการสืบหาความเป็นมาของคําว่า “สยาม” หรือแม้กระทั่งอธิบายปรากฏการณ์ที่ยังไม่ได้รับการอธิบายมาก่อนเลย เช่นการอธิบาย “โองการแช่งน้ํา” อย่างเป็นระบบ

เพื่อที่จะอ่านงานชิ้นนี้ของจิตร ผมอาศัยการศึกษาอุดมการณ์ของภาษา (ideologies of language) ซึ่งหมายถึง “ชุดความเชื่อเกี่ยวกับภาษา ที่ผู้ใช้ภาษานํามาใช้ให้ความชอบธรรมต่อโครงสร้างและการใช้ภาษา ในขณะเดียวกันแนวทางการศึกษานี้ยังระบุถึงความสําคัญของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความสัมพันธ์เชิงอํานาจ ที่สอดแทรกอยู่ในกระบวนการใช้ภาษา” (Woolard and Schieffelin 1994:57-58) การศึกษาแนวนี้ให้ความสําคัญกับวิธีคิดเกี่ยวกับภาษา กล่าวคือ การศึกษาหรือการกล่าวถึงภาษานั้น ไม่ได้เป็นเพียงการกล่าวถึง “สิ่ง” ใดสิ่งหนึ่งอย่างปราศจากอคติหรืออุดมการณ์ใดๆ แต่การศึกษาภาษาหรือการกล่าวถึงภาษานั้นบรรจุไปด้วยอุดมการณ์ที่ผู้ที่กล่าวถึงภาษามีอยู ่

การศึกษาแนวนี้ครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาค่านิยมเกี่ยวกับการใช้ภาษาลักษณะต่างๆ ฐานะสูง-ต่ําของภาษาต่างๆ ไปจนถึงอิทธิพลของแนวคิดภาษาแบบอาณานิคมต่อการจัดการภาษาในประเทศใต้อาณานิคม แนวคิดเกี่ยวกับการใช้อักษรและการเขียน (Schieffelin, Woolard, and Kroskrity 1998; Street 1993; Errington 2008) ตลอดจนการศึกษาอุดมการณ์ภาษาในประวัติศาสตร์การศึกษาภาษาศาสตร์ในโลกตะวันตก (Kroskrity 2000) เช่นการศึกษาของ Richard Bauman and Charles Briggs (2003) ที่ศึกษางานของนักคิดและนักภาษาศาสตร์สมัยใหม่อย่าง John Locke, Johann G. Herder, Wilhelm and Jacob Grimm, Henry Rowe Schoolcraft และ Boas โดย Bauman and Briggs ชี้ให้เห็นว่า นักคิดเหล่านี้คิดถึงภาษาแตกต่างกัน และแต่ละแนวคิดมีส่วนสําคัญต่อพัฒนาการของการศึกษาภาษาและวรรณคดีในสมัยต่อๆมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

งานของจิตรเองก็มีอุดมการณ์ภาษาแบบหนึ่ง ในเบื้องต้น หากจะประเมินวิธีการทางภาษาศาสร์ของจิตร ก็กล่าวได้ว่า งานของเขาจะไปด้วยกันได้ดีกับการศึกษาภาษาในแนวมาร์กซิสต์ ที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษหลังเขาเสียชีวิตไปหลายปีและจนปัจจุบันนี้งานเหล่านี้ก็ยังนับว่าเป็นงานชั้นแนวหน้าของการศึกษาภาษาศาสตร์เชิงสังคมอยู่ เช่นงานของ Valentin Voloshinov (1973)และ Raymond Williams (1977) งานเหล่านี้ท้าทายภาษาศาสตร์ที่แยกภาษาออกจากสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองแบบพวกโครงสร้างนิยม (Ferdinand de Saussure) และภาษาศาสตร์สัมพัทธ์ (Franz Boas, Edward Sapir, Benjamin Lee Whorf)

อย่างไรก็ดี งานของจิตรยังคงแสดงร่องรอยของวิธีคิดต่อภาษาในลักษณะหนึ่ง ที่คล้ายคลึงกับนักคิดเยอรมันในศตวรรษที ่๑๘ อย่าง Johann Gottfried Herder (ฺBauman and Briggs 2003:163-198) กล่าวคือ มองว่าภาษาเป็นลักษณะเฉพาะ “ประจําชาติ” (nation) ของกลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่ง เป็นสิ่งที่แสดงวัฒธรรมของชนกลุ่มนั้น นอกจากนั้น การที่เขาเชื่อมโยงภาษา อารมณ์ (ความกลัว) สังคม การเมือง และประวัติศาสตร์เข้าด้วยกัน ยังแสดงถึงความเชื่อมโยงของงานเขากับแนวคิดภาษาแบบ Herder ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากจิตรไม่ได้เพียงเสนองานโดยมิได้มีคู่สนทนาด้วย การที่จิตรเสนอแนวคิดภาษาดังกล่าวยังแสดงให้เห็นแนวคิดภาษาศาสตร์ที่เขาโจมต ีปะทะด้วย

Page 3: วิพากษ์บทวิเคราะห์โองการแช่งน้ำ

ผมจะแบ่งการอภิปรายออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกคือการอภิปรายประเด็นย่อยๆ ของการวิเคราะห์ของจิตร เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวความคิดเกี่ยวกับภาษาและวรรณคดีของเขา ได้แก่คําศัพท์และการใช้ภาษา ลัทธิธรรมเนียม แนวการประพันธ์ และประวัติศาสตร์ ส่วนที่สองคือส่วนสรุปและวิเคราะห์เพิ่มเติม