อิทธ ิพลของขนาดหย อมป าต อส ังค...

12
Thai J. For. 28 (2) : 1-12 (2009) วารสารวนศาสตร 28 (2) : 1-12 (2552) อิทธิพลของขนาดหยอมปาตอสังคมนกบริเวณโดยรอบผืนปาตะวันตกของประเทศไทย Influence of Patch Size on Bird Assemblages Around the Western Forest Complex of Thailand อิงอร ไชยเยศ 1 Aingorn Chaiyes 1 ประทีป ด วงแค 1 Prateep Duengkae 1 อมรรัตน องไว 2 Amornrat Wongwai 2 โดม ประทุมทอง 1 Dom Pratumthong 1 1 คณะวนศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 Faculty of Forestry, Kasetsart University, Chatuchak, Bangkok 10900, Thailand E-mail: [email protected] 2 เขตรักษาพันธุสัตวปาหวยขาแขง อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี 61160 Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, Lansak, Uthaithani 61160, Thailand รับต นฉบับ 22 มกราคม 2552 รับลงพิมพ 21 เมษายน 2552 ABSTRACT The effects of patch size of disturbed (secondary) forests were examined on bird assemblages in buffer-zone areas of the Western Forest Complex in Thailand. A sample of 135 line transects (500 m each) was used to determine the occurrence of bird species in 63 forest patches, ranging in size from 4.14 to 9057.01 ha. The data set was analyzed using a simple regression and ordination method based on canonical correspondence analysis (CCA) to create bird assemblage-patch size bi-plots. Ten orders, comprising 23 families and 61 bird species were found, including a Thai endangered species, the Limestone Wren-Babbler Napothera crispifrons . The results of a simple linear regression showed that the diversity of birds increased as the size of habitat patch increased (R 2 =0.216; F=16.84; P<0.001). CCA indicated that a patch size of 960.37 ha was the minimum area required to maintain bird diversity. This result suggests that large secondary forest patches are very important in conserving bird assemblages in outer protected areas. Keywords: forest patches, bird diversity, conservation, buffer zone บทคัดยอ การศึกษาอิทธิผลของขนาดหยอมปาที่มีการรบกวนตอสังคมนกบริเวณพื้นที่แนวกันชนโดยรอบ ผืนปาตะวันตก โดยใชวิธีการวางแนวเสนสำรวจเสนตรง (line transect) โดยมีระยะทางเสนสำรวจละ 500 เมตร จำนวน 135 เสน ในพื้นที่ 63 หยอมปาที่มีขนาดพื้นที่อยูระหวาง 4.14 ถึง 9,057.01 เฮกแตร และวิเคราะหหาความสัมพันธระหวางสังคมนกกับขนาดหยอมปาโดยใชวิธีการวิเคราะหการถดถอยอยาง นิพนธตนฉบับ

Upload: others

Post on 19-Jan-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: อิทธ ิพลของขนาดหย อมป าต อส ังค ...frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/... · 2014-04-29 · Thai J. For. 28 (2)

Thai J. For. 28 (2) : 1-12 (2009) วารสารวนศาสตร์ 28 (2) : 1-12 (2552)

อิทธิพลของขนาดหยอมปาตอสังคมนกบริเวณโดยรอบผืนปาตะวันตกของประเทศไทย

Influence of Patch Size on Bird Assemblages Around the Western Forest Complex of Thailand

อิงอร ไชยเยศ1 Aingorn Chaiyes1

ประทีป ด้วงแค1 Prateep Duengkae1

อมรรัตน์ ว่องไว2 Amornrat Wongwai2

โดม ประทุมทอง1 Dom Pratumthong1

1 คณะวนศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร จตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Faculty of Forestry, Kasetsart University, Chatuchak, Bangkok 10900, Thailand

E-mail: [email protected] 2 เขตรักษาพันธุสัตวปาหวยขาแขง อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี 61160

Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, Lansak, Uthaithani 61160, Thailand

รับต้นฉบับ 22 มกราคม 2552 รับลงพิมพ์ 21 เมษายน 2552

ABSTRACT

The effects of patch size of disturbed (secondary) forests were examined on bird assemblages in buffer-zone areas of the Western Forest Complex in Thailand. A sample of 135 line transects (500 m each) was used to determine the occurrence of bird species in 63 forest patches, ranging in size from 4.14 to 9057.01 ha. The data set was analyzed using a simple regression and ordination method based on canonical correspondence analysis (CCA) to create bird assemblage-patch size bi-plots. Ten orders, comprising 23 families and 61 bird species were found, including a Thai endangered species, the Limestone Wren-Babbler Napothera crispifrons. The results of a simple linear regression showed that the diversity of birds increased as the size of habitat patch increased (R2=0.216; F=16.84; P<0.001). CCA indicated that a patch size of 960.37 ha was the minimum area required to maintain bird diversity. This result suggests that large secondary forest patches are very important in conserving bird assemblages in outer protected areas. Keywords: forest patches, bird diversity, conservation, buffer zone

บทคัดยอ

การศึกษาอิทธิผลของขนาดหยอมปาที่มีการรบกวนตอสังคมนกบริเวณพื้นที่แนวกันชนโดยรอบผืนปาตะวันตก โดยใชวิธีการวางแนวเสนสำรวจเสนตรง (line transect) โดยมีระยะทางเสนสำรวจละ 500 เมตร จำนวน 135 เสน ในพื ้นที ่ 63 หยอมปาที ่มีขนาดพื้นที ่อยู ระหวาง 4.14 ถึง 9,057.01 เฮกแตร

และวิเคราะหหาความสัมพันธระหวางสังคมนกกับขนาดหยอมปาโดยใชวิธีการวิเคราะหการถดถอยอยาง

นิพนธตนฉบับ

Page 2: อิทธ ิพลของขนาดหย อมป าต อส ังค ...frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/... · 2014-04-29 · Thai J. For. 28 (2)

Thai J. For. 28 (2) : 1-12 (2009)2

คำนำ

การศึกษาความสัมพันธระหวางขนาดพ้ืนที่

กับจำนวนหรือความหลากหลายของชนิดส่ิงมีชีวิต

ไดมีการศึกษามาเปนระยะเวลานาน ดังเชน ทฤษฎีชีว

ภูมิศาสตรของเกาะ (Theory of Island Biogeography)

ของ MacArthur and Edward (1963) จากน้ันไดมีการ

นำมาประยุกตใชในการศึกษาพ้ืนที่ปาหรือหยอมปาที่

ถูกแบงแยกออกจากผืนปาขนาดใหญ (Ricklefs and

Lovette, 1999; Cook et al., 2002; Crews-Meyer,

2004) โดยเฉพาะในตางประเทศมีการศึกษาความ

สัมพันธระหวางขนาดพ้ืนที่กับนกกันอยางแพรหลาย

เชน Rotenberry and Wiens (1980) Drapeau et al.

(2000) Marini (2001) และ Marsden et al. (2001)

ในขณะที่ประเทศไทยมีการศึกษาความสัมพันธ

ระหวางขนาดพ้ืนที่กับความหลากหลายของสัตว

ปานอยมาก โดยพบการศึกษาในสัตวเล้ียงลูกดวยนม

ขนาดเล็กบริเวณเข่ือนรัชชประภา (Lynam and

Billick, 1999) นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาความ

สัมพันธระหวางสัตวปาและพ้ืนที่หยอมปาบริเวณ

ป า อ นุ รั ก ษ ท า ง ภ า ค เ ห นื อ ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ด ว ย

(Pattanavibool, 1999; Pattanavibool and Dearden, 2002)

ผืนปาตะวันตกเปนผืนปาที่มีขนาดใหญ

ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต มีการศึกษา

วิจัยด านสัตวป ามากมายและตอ เ น่ือง อาทิ เชน

รองลาภและคณะ (2543ก, ข) Duengkae et al. (2004,

2006) Simcharoen et al. (2007) เปนตน อยางไรก็ตาม

ยังไมปรากฏวามีการศึกษาวิจัยดานสัตวปาในพื้นที่

รอบนอกเขตอนุรักษ ซึ่งคือผืนปาตะวันตกเดิม ท่ีถูก

แ ผ ว ถ า ง ป า เ พ่ื อ นำ พ้ื น ที่ ไ ป ใ ช ป ร ะ โ ย ช น ด า น

เกษตรกรรม พื้นที่ปาขนาดใหญจึงเปล่ียนสภาพเปน

หยอมปาขนาดเล็กแยกออกจากกัน ดังน้ันผูวิจัยจึง

ทำการศึกษาหาความสัมพันธระหวางขนาดพ้ืนที่ของ

หยอมปาที่ เหลือน้ีกับจำนวนชนิดนกหรือความ

สามารถในการรองรับความหลากหลายชนิดนก

อุปกรณและวิธีการ

พื้นท่ีศึกษา

ผืนปาตะวันตกของประเทศไทยเปนพื้นที่

คุมครองผืนใหญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ครอบคลุมพื้นที่กวา 18,730 ตารางกิโลเมตร โดยมีเขต

รั ก ษ า พั น ธุ สั ต ว ป า ทุ ง ใ ห ญ น เ ร ศ ว ร - ห ว ย ข า แ ข ง

มรดกทางธรรมชาติของโลก แหงแรกในประเทศไทย

งาย (simple linear regression) และวิธีการจัดลำดับ (ordination) แบบ Canonical Correspondence Analysis

(CCA) ผลการศึกษาพบนกทั้งหมด 10 อันดับ 23 วงศ 61 ชนิด โดยหนึ่งในจำนวนนี้พบนกที่มีสถานภาพ

ใกลสูญพันธุ(endangered) ของประเทศไทย 1 ชนิด คือ นกจูเตนเขาหินปูน (Limestone Wren-Babbler,

Napothera crispifrons) และผลจาการวิเคราะหความสัมพันธพบวาคาความหลากหลายของจะนกเพิ่มขึ้น

ตามขนาดพื้นที่หยอมปาที่เพิ่มขึ้น (R2=0.216; F=16.84; P<0.001) และจากผลการวิเคราะหดวยวิธีการ CCA

พบวาขนาดของหยอมปานอกเขตพื้นที่อนุรักษ ที่มีขนาดเล็กที่สุดที่จะยังสามารถรักษาความหลากหลายของ

สังคมนกไวได นั้นตองมีขนาดพื้นที่ไมนอยกวา 960.37 เฮกแตร ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้แสดงใหเห็นวาถึง

แมพื้นที่นั้นจะอยูภายนอกปาอนุรักษ ขนาดพื้นที่ของหยอมปาขนาดใหญยังคงมีความสำคัญตอการรักษา

ความหลากหลายทางชีวภาพไดดีกวาพื้นท่ีขนาดเล็กไดดวยเชนกัน

คำสำคัญ: หยอมปา ความหลากหลายของนก การอนุรักษ พื้นที่กันชน

Page 3: อิทธ ิพลของขนาดหย อมป าต อส ังค ...frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/... · 2014-04-29 · Thai J. For. 28 (2)

วารสารวนศาสตร์ 28 (2) : 1-12 (2552) 3

เปนพื้นที่ใจกลาง ลอมรอบดวยพื้นที่อนุรักษ 17 แหง

ผืนปาตะวันตกต้ังอยูบริเวณรอยตอของเขตชีวภูมิศาสตร

ถึง 3 เขตยอย จึงสามารถพบสัตวปาที่มีถ่ินอาศัยในเขต

ซุนดา (Sundaic species) อาทิ สมเสร็จ นกเงือกหัวหงอก

และชนิดพันธุสัตวปาจากเขตไซโน-หิมาลัย (Sino-

Himalayan species) อาทิ คางแวนถ่ินเหนือ นกเงือก

คอแดง รวมถึงสัตวปาจากเขตอินโดไชนิส (Indochinese

species) อาทิ วัวแดง ปาตะวันตกยังเปนปาท่ีเก็บรักษา

สัตวประจำถ่ินไวไดเกือบท้ังหมด จึงกลาวไดวาผืนปา

ตะวันตกเปนศูนยรวมพันธุกรรมสัตวปาที่สำคัญยิ่ง

ความอุดมสมบูรณของสัตวปาในผืนปา

ตะวันตกจากการสำรวจชนิดพบสัตวเล้ียงลูกดวยนม

อยางนอย 153 ชนิด จาก285 ชนิดที่พบในประเทศ

ไทย นก 483 ชนิดจากทั้ งหมด 960 ชนิด สัตว

เลื้อยคลาน 89 ชนิดจาก 313 ชนิด สัตวสะเทินน้ำ

สะเทินบก 41 ชนิด จาก 106 ชนิด ปลาน้ำจืด 188

ชนิด จากประมาณ 500 ชนิด โดยจะเห็นไดวาสัตวปา

เกือบครึ่งหน่ึงที่พบในประเทศไทยพบ อาศัยอยูในผืน

ปาแหงน้ี (ฝายวิชาการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, 2544)

การศึกษาคร้ังนี้ไดกำหนดจุดเก็บขอมูลภาคสนาม

นอกเขตพื้นที่ปาอนุรักษโดยรอบไปทางทิศตะวันออก

ของเขตรักษาพันธุสัตวปาหวยขาแขง อุทยานแหงชาติ

แมวงก อุทยานแหงชาติคลองลาน อุทยานแหงชาติ

คลองวังเจา และโดยรอบบริเวณเขตรักษาพันธุสัตวปา

เขาสนามเพียง (Figure 1)

1. ทำการเลือกพื้นที่ เ พ่ือวางแนวสำรวจ

โดยเลือกพื้นที่ที่มีลักษณะเปนหยอมปา (forest patch)

รอบนอกเขตผืนปาตะวันตก

2. ทำการสำรวจนกโดยการวางแนวเสน

สำรวจ (line transect) เปนการสุมเลือกพื้นที่เพื่อวางแนว

สำรวจโดยกำหนดจุดเริ่มตนของเสนสำรวจและกำหนด

ทิศทางสำรวจ โดยมีระยะทางเสนสำรวจ 500 เมตร

ในแตละเสนสำรวจจะใชเทคนิคการสำรวจโดยตรง

(direct method) ดวยการพบเห็นตัว และการจำแนกเสียง

รอง (song and call Identification) ภายในบริเวณความ

กวางขางละ 50 เมตร ระยะเวลาที่ทำการสำรวจนกอยู

ระหวางเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551

3. เก็บขอมูลเก่ียวกับชนิดนกโดยอาศัยคูมือ

ของ Lekagul and Round (1991) โดยใชกลองสองตา

กำลังขยายขนาด 8X35 รวมท้ัง บันทึก จำนวน

พฤติกรรม และระดับความสูงของนกจากพื้นดิน

4. บันทึกตำแหนงจุดสำรวจนก ดวยเคร่ือง

ระบุพิกัดทางภูมิศาสตร(GPS) คาพิกัดระบบ UTM

พื้นหลักฐานทางราบ (datum) WGS 84

5. ทำการจำแนกการใชประโยชนที่ดินจาก

ภาพถายดาวเทียม Landsat - 5 TM ป พ.ศ. 2549

โดยใชวิธีการ hybrid classification ซึ่งเปนการจำแนก

ภาพถายดาวเทียมโดยใชสายตา (visual classification)

รวมกับการจำแนกภาพถายดาวเทียมดวยวิธีกำกับดูแล

(supervised classification)

การวิเคราะหขอมูล

คำนวณหาขนาดพ้ืนที่ในแตละหยอมปา

ที่ทำการสำรวจนกดวยการวางแนวเสนสำรวจโดยใช

โปรแกรม ArcView 3.2

การวิเคราะหดัชนีความหลากหลายทางชนิด

นกในแตละหยอมปา โดยใชคาดัชนีของแชนนอน

(H’) (Krebs, 1989)

การวิเคราะหหาความสัมพันธระหวางคา

ดัชนีแชนนอนกับขนาดพ้ืนที่ของหยอมปา โดยใชวิธี

การวิเคราะหการถดถอยอยางงาย (simple linear

regression)

การวิเคราะหความสัมพันธระหวางนกกับ

ขนาดพ้ืนท่ีของหยอมปาในแตละหยอม โดยใชวิธี

ก า ร จั ด ลำ ดั บ ( o r d i n a t i o n ) แ บ บ C a n o n i c a l

Correspondence Analysis (CCA) (McCune and

Mefford, 1999; McGarical et al., 2000; MacFaden

and Capen , 2002) ในการวิเคราะหครั้งน้ี

Page 4: อิทธ ิพลของขนาดหย อมป าต อส ังค ...frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/... · 2014-04-29 · Thai J. For. 28 (2)

Thai J. For. 28 (2) : 1-12 (2009)4

Figure 1 Geographical location of the Western Forest Complex and fragments sampled. HKK_W= Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary; MW_N = Mae Wong National Park; KLN_N = Klong Lan National Park; KWC_N = Klong Wang Chao National Park; KSP_W = Khao Sanampriang Wildlife Sanctuary.

Page 5: อิทธ ิพลของขนาดหย อมป าต อส ังค ...frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/... · 2014-04-29 · Thai J. For. 28 (2)

วารสารวนศาสตร์ 28 (2) : 1-12 (2552) 5

ผลและวิจารณ

จากการสำรวจนกในหยอมปาท้ังส้ิน 63 แหง

บริเวณรอบนอกเขตพืน้ทีอ่นุรกัษในคร้ังนีพ้บนกทัง้หมด

10 อันดับ 23 วงศ 61 ชนิด (Table 1) สามารถดูราย

ละเอียดเพิ่ม เติมไดจากสำนักงานปลัดกระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม (2551) โดยใน

จำนวนน้ีพบนกท่ีมีสถานภาพตามการจัดของสำนัก

นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม

พ.ศ. 2548 เปนสัตวปาที่ใกลสูญพันธุ (endangered-EN)

1 ชนิด คือ นกจูเตนเขาหินปูน (Napothera crispifrons

(Blyth) 1855) ทั้งน้ีสำหรับการวิเคราะหขอมูลในขั้นตอ

ไป ไดตัดชนิดนกท่ีมีพฤติกรรมออกหากินเปนฝูงขนาด

ใหญ จำนวน 3 ชนิดคือ นกกระติ๊ดขี้หมู นกกระต๊ิด

ตะโพกขาว และนกกะรางหัวหงอก เน่ืองจากเปนขอ

จำกดัของการคำนวณในการจัดลำดับ (Ter Braak, 1995)

ผลการวิเคราะหหาคาสหสัมพันธระหวาง

คาดัชนีของ H’ ของนกท่ีสำรวจพบกับขนาดพ้ืนที่

ของหยอมปา (Table 2) โดยใชวิธีการวิเคราะหการ

ถดถอยอยางงาย (Simple Linear Regression) พบวา

มีคา rs = 0.465 (P<0.001) จากน้ันนำไปหาสมการ

เชิงเสนอยางงายไดดังตอไปนี้

H’ = 2.15 + (0.24) (Log_Area)

(R2 = 0.216; F=16.84; P<0.001)

จากสมการเชิงเสนอยางงายดังท่ีกลาวมาขาง

ตน พบวามีความสัมพันธอยางมีนัยสำคัญย่ิงทางสถิติ

(P<0.001) (Figure 2) โดยขนาดพื้นที่ของหยอมปา

สามารถอธิบายคาดัชนี H’ ของนกไดรอยละ 21.60

ซึ่งคา R2 ที่ไดมีคาคอนขางต่ำนั้น นาจะเปนเพราะใช

ตัวแปรอิสระ คือขนาดพื้นที่ของหยอมปาเพียงปจจัย

เดียวเพื่ออธิบายตัวแปรตาม คือคาดัชนี H’ ของนก

ซึ่งยังมีตัวแปรอิสระอีกหลายปจจัยที่มีอิทธิพลสำคัญ

ตอการดำรงชีวิตของนก เชน ประเภทปาไม ชนิดของ

พืชอาหาร การปกคลุมเรือนยอด ปริมาณความเขมแสง

ความเร็วลม อุณหภูมิ (Winkler and Preleuthner, 2001)

ระยะหางจากพ้ืนที่อนุรักษ (Marsden et al., 2001)

และคาดัชนีความแตกตางของพืช (NDVI) (Koh et al.,

2006) เปนตน และจาก Figure 1 ยังแสดงใหเห็นวา

ขนาดพื้นท่ีของหยอมปาที่มีขนาดใหญมากขึ้นสงผลให

ความหลากหลายของชนิดนกมีแนวโนมสูงข้ึนดวย

อยางไรก็ตามผลจากการศึกษาขางตน แสดงใหเห็นวา

ขนาดพื้นที่ของหยอมปามีความสัมพันธตอความ

หลากหลายของนก ดังนั้นในการศึกษาคร้ังตอไปจึง

ควรนำขนาดพ้ืนที่ของหยอมปามาพิจารณาเปนอีกหนึ่ง

ปจจัยที่มีอิทธิพลตอความหลากหลายของชนิดนก

จากการหาความสัมพันธระหวางนกกับขนาด

พื้น ท่ีของหยอมป า โดยใช วิธี การ จัดลำ ดับแบบ

Canonical Correspondence Analysis (CCA) ผลท่ีไดดัง

Figure 3 แสดงใหเห็นวาหยอมปาที่ P1 P2 P3 P4 P5 P6

และ P7 (ขนาดพ้ืนที่ 9 ,057.01-981.74 เฮกแตร )

เปนหยอมปาขนาดใหญมีสังคมนกท่ีมีความคลายคลึง

กัน และแสดงใหเห็นวาขนาดพ้ืนที่ของหยอมปานอก

เขตพื้นที่อนุรักษ (protected area) ขนาดเล็กที่สุด ท่ียัง

สามารถรักษาความหลากหลายของชนิดนกปาไว

โดยไมทำใหความหลากหลายสูญเสียไปน้ัน ตองมี

ขนาดพ้ืนท่ีไมนอยกวา 960.37 เฮกแตร ผลที่ไดดัง

Figure 4 แสดงใหเห็นวาชนิดนกท่ีปรากฏบนแกน A1

เปนชนิดนกที่พบไดเฉพาะหยอมปาท่ีมีพื้นที่ขนาดใหญ

โดยพบทั้งหมด 22 ชนิด เชน นกกระจิบหญาสีเรียบ

(B6) ไกปา (B22) นกแซงแซวสีเทา (B43) และนก

โพระดกหูเขียว (B50) เปนตน สวนชนิดนกที่ปรากฏ

บนแกน A3 เปนชนิดนกท่ีสามารถพบไดในพ้ืนที่ขนาด

เล็ก พบท้ังหมด 16 ชนิด เชน นกกาเหวา (B23) นกเขา

ชวา (B31) นกแซงแซวหงอนขน (B46) และนกจับ

แมลงคอแดง (B49) เปนตน และสำหรับชนิดนกท่ี

ปรากฏบนแกน A2 และ A4 เปนชนิดนกที่สามารถพบ

ไดในพื้นที่หยอมปาขนาดเล็กและหยอมปาขนาดใหญ

Page 6: อิทธ ิพลของขนาดหย อมป าต อส ังค ...frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/... · 2014-04-29 · Thai J. For. 28 (2)

Thai J. For. 28 (2) : 1-12 (2009)6

Table 1 Patch areas (ha) and Shannon index of forest fragmented samples surrounding the Western Forest Complex of Thailand.

Page 7: อิทธ ิพลของขนาดหย อมป าต อส ังค ...frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/... · 2014-04-29 · Thai J. For. 28 (2)

วารสารวนศาสตร์ 28 (2) : 1-12 (2552) 7

Table 2 Species list of birds observed in forest fragmented areas surrounding the Western Forest Complex of Thailand.

Page 8: อิทธ ิพลของขนาดหย อมป าต อส ังค ...frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/... · 2014-04-29 · Thai J. For. 28 (2)

Thai J. For. 28 (2) : 1-12 (2009)8

Table 2 Cont.

Page 9: อิทธ ิพลของขนาดหย อมป าต อส ังค ...frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/... · 2014-04-29 · Thai J. For. 28 (2)

วารสารวนศาสตร์ 28 (2) : 1-12 (2552) 9

Figure 2 Correlation between species diversity index of birds and fragment area (log area) in areas surrounding the Western Forest Complex of Thailand.

Figure 3 Canonical correspondence analysis of patch area around the Western Forest Complex of Thailand.

Page 10: อิทธ ิพลของขนาดหย อมป าต อส ังค ...frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/... · 2014-04-29 · Thai J. For. 28 (2)

Thai J. For. 28 (2) : 1-12 (2009)10

Figure 4 Canonical correspondence analysis of patch area around the Western Forest Complex of Thailand.

สรุปและขอเสนอแนะ

1. การศึกษาคร้ังนี้พบวาบริเวณโดยรอบ

ผืนปาตะวันตกมีความหลากหลายของนกทั้งหมด

10 อันดับ 23 วงศ 61 ชนิด

2. ความหลากชนิดของนกมีความสัมพันธ

กันในเชิงบวกกับขนาดพื้นที่ของหยอมปา

3. ขนาดพ้ืนที่ของหยอมปานอกเขตพ้ืนที่

อนุรักษขนาดเล็กที่สุดท่ีสามารถรักษาความหลากหลาย

ของชนิดนกไว โดยไมทำใหความหลากหลายสูญเสีย

ไปน้ัน ตองมีขนาดพื้นที่ไมนอยกวา 960.37 เฮกแตร

4. ในการกำหนดจุดหรือเสนสำรวจในครั้ง

ตอไปควรกำหนดใหหางจากขอบปาอยางนอย 100 เมตร

เพือ่ลด Edge Effect ซึง่สงผลกระทบตอผลการศึกษา

5. ควรนำปจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลตอการ

ดำรงชีวิตของนกมาศึกษารวมดวย เชน ประเภทปา

ชนิดของพืชอาหาร การปกคลุมเรือนยอด ปริมาณ

ความเขมแสง เปนตน

เอกสารและสิ่งอางอิง

ฝายวิชาการ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. 2544. มหัศจรรย

แหงผืนปาตะวันตก, น 6-12. ใน ปาตะวันตก.

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, กรุงเทพฯ.

รองลาภ สุขมาสรวง, วัลยา ชนิตตาวงศ, สมโภชน

ดวงจันทราศิริ, มงคล ไชยภักดี, เบญจรัตน

จิบหนองแวง, ออด เกิดสมบูรณ และหมึก

ไวทันยการ. 2543ก. การเลือกใชพื้นที่ของ

สัตวเลี้ยงลูกดวยนมบางชนิด ในเขตรักษา

พันธุสัตวปาหวยขาแขง. วารสารสัตวปา

เมืองไทย 8 (1): 8-15.

รองลาภ สุขมาสรวง, วัลยา ชนิตตาวงศ, สมโภชน

Page 11: อิทธ ิพลของขนาดหย อมป าต อส ังค ...frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/... · 2014-04-29 · Thai J. For. 28 (2)

วารสารวนศาสตร์ 28 (2) : 1-12 (2552) 11

a s semblages r e l a t ed t o vege t a t i on

succession following abandoned human

settlement areas in Thung Yai Naresuan

Wildlife Sanctuary, Thailand. Tigerpaper

33(1): 10-16.

Koh, C. N, P.F. Lee and R. S. Lin. 2006. Bird

species richness patterns of northern

Taiwan: primary productivity, human

p o p u l a t i o n d e n s i t y , a n d h a b i t a t

heterogeneity. Diversity and Distributions

DOI: 10.1111/j.1366-9516.2006.00238.x.

Krebs, C. J. 1989. Ecological Methodology. Herper

Collins Publishers, Newyork.

Lekagul, B. and P. D. Round. 1991. A Guide to the

Birds of Thailand. Darnsutha Press, Bangkok.

Lynam, A.J. and I. Billick. 1999. Differential

r e s p o n s e s o f s m a l l m a m m a l s t o

fragmentation in a Thailand tropical forest.

Biological Conservation 91(2-3): 191-200.

MacArthur, R.H. and O.W. Edward. 1963. An

equilibrium theory of insular zoogeography.

Evolution 17(4): 373-387.

MacFaden, S. W. and D. E. Capen. 2002. Avian

Habitat relationships at multiple scales in a

New England forest. For. Sci. 48(2): 243-253.

Marsden, S.J., M. Whiffen and M. Galetti. 2001.

Bird diversity and abundance in forest

fragments and Eucalyptus plantation

around an Atlantic forest reserve, Brazil.

Biodiversity and Conservation 10(5): 737-751.

Marini M.A. 2001. Effects of forest fragmentation

on bird of the Cerrado region, Brazil. Bird

conservation international 11(1): 13-25.

McCune, B. and M.J. Mefford. 1999. PC-ORD.

ดวงจันทราศิริ, มงคล ไชยภักดี, เบญจรัตน

จิบหนองแวง, ออด เกิดสมบูรณ และหมึก

ไวทันยการ. 2543ข. ความหนาแนนประชากร

สัตวกีบคูบางชนิดในเขตรักษาพันธุสัตวปา

หวยขาแขง. วารสารสัตวปาเมืองไทย 8 (1):

16-21.

สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดลอม. 2551. รายงานฉบับสมบูรณ

โครงการสำรวจรวบรวมขอมูลความหลาก

หลายทางชีวภาพระดับทองถิ่น ปงบประมาณ

2551 (พื้นที่ปาตะวันตก), การสำรวจความ

หลากหลายทางชีวภาพ เลม3: 1188 หนา.

Cook, W.M., K. T. Lane, B. L. Foster and R. D. Holt.

2002. Island theory, matrix effects and

species richness patterns in habitat fragments.

Ecology Letters 5(5): 619–623.

Crews-Meyer, K. A. 2004. Agricultural landscape

change and stability in northeast Thailand:

historical patch-level analysis. Agriculture,

Ecosystems and Environment 101(2-3):

155–169.

Drapeau, P., A. Leduc, J. Giroux, J.L. Savard, Y.

Bergeron and W. L. Vickery. 2000.

Landscape scale disturbances and changes

in bird communities of boreal mixed wood

forests. Ecological Monographs 70(3):

423-444.

Duengkae,P, S. Maneerat, P. Kanidthachad and S.

K a r a p a n . 2 0 0 4 . R e c o v e r y o f t h e

mammalian fauna in abandoned human

settlement areas in Thung Yai Naresuan

Wildlife Sanctuary, Thailand. Tigerpaper

31(4):17-20.

Duengkae, P, S. Maneerat, P. Kanidthachad and S.

K a r a p a n . 2 0 0 6 . R e c o v e r y o f b i r d

Page 12: อิทธ ิพลของขนาดหย อมป าต อส ังค ...frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/... · 2014-04-29 · Thai J. For. 28 (2)

Thai J. For. 28 (2) : 1-12 (2009)12

Multivariate Analysis of Ecological Data

Version 3.2. MjM Software Design, Gleneden.

McGarical, K., S. Cusham and S. Stafford. 2000.

Multivariate Statistics for Wildlife and

Ecology Research. Springer-Verlag New York

Inc, New York.

Pattanavibool, A. 1999. Wildlife response to habitat

fragmentation and other human influences

in tropical montane evergreen forests,

Northern Thailand. Unpublished Ph.D.

dissertation, University of Victoria, Victoria.

Pattanavibool, A. and P. Dearden. 2002. Fragmentation

and wildlife in montane evergreen forests,

northern Thailand. Biological Conservation

107(2): 155–164.

Ricklefs, R.E. and I. J. Lovette. 1999. The roles of

island area per se and habitat diversity in

the species-area relationships of four

Lesser Antillean faunal groups. Animal

Ecology 68(6): 1142-1160.

Rotenberry, J.T. and J.A. Wiens. 1980. Habitat

s t r u c t u r e , p a t c h i n e s s a n d a v i a n

communities in North American steppe

vegetat ion: a mult ivariate analysis .

Ecology 61(5): 1228-1250.

Simcharoen, S., A. Pattanavibool1, K.U. Karanth,

J.D. Nichols and N.S. Kumar. 2007. How

many tigers Panthera tigris are there in

Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary,

Thailand an estimate using photographic

capture-recapture sampling. Oryx 41(4):

447-453.

Ter Braak, C.J.F. 1995. Ordination. pp. 91-173 in

R.H.G Jongman, C.J.F. Ter Braak and

O.F.R. van Tongeren, eds. Data Analysis

in Community and Landscape Ecology.

Cambridge University Press, Cambridge.

Winkler, H. and M. Preleuthner. 2001. Behaviour

and ecology of birds in tropical rain forest

canopies. Plant Ecology 153(1-2):193-202.