หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง...

83
ชื่อ วุฒิ ตำแหน่ง หน่วยที ่ปรับปรุง หน่วยที่ 12 กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ ปิติยาศักดิผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ ปิติยาศักดิ์ น.บ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย LL.M. (University of Sydney) S.J.D (University of Hong Kong) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที ่ 12

Upload: others

Post on 24-Sep-2019

8 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-1

ชื่อ

วุฒิ

ตำแหน่ง

หน่วยที่ปรับปรุง

หน่วยที่12

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรม

ทางอิเล็กทรอนิกส์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สราวุธปิติยาศักดิ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ ปิติยาศักดิ์

น.บ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

LL.M. (University of Sydney)

S.J.D (University of Hong Kong)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

หน่วยที่ 12

Page 2: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-2 กฎหมายธุรกิจ

แผนการสอนประจำหน่วย

ชุดวิชา กฎหมาย ธุรกิจ

หน่วยที่12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์

ตอนที่12.1 ลักษณะ ทั่วไป ของ กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ

12.2 สาระ สำคัญ ของ สัญญา การ ค้า ระหว่าง ประเทศ

12.3 ลักษณะ ทั่วไป ของ กฎหมาย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์

12.4 สาระ สำคัญ ของ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์

แนวคิด1. กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ เป็น กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ กับ การ ประกอบ ธุรกิจ ข้าม พรมแดน ระหว่าง

ประเทศ อัน ประกอบ ด้วย การ ค้า ระหว่าง ประเทศ การ ลงทุน ระหว่าง ประเทศ และ การ เงิน ระหว่าง ประเทศ

มี ที่มา จาก กฎหมาย หลาย แหล่ง ทั้ง กฎหมาย ภายใน ประเทศ กฎหมาย ระหว่าง ประเทศ และ ประเพณี

ปฏิบัติ ทางการ ประกอบ ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ

2. สัญญา การ ค้า ระหว่าง ประเทศ ประกอบ ด้วย สัญญา ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ การ ชำระ

เงิน ตาม สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ การ ขนส่ง ระหว่าง ประเทศ การ ประกัน ภัย ระหว่าง ประเทศ และ

การ ระงับ ข้อ พิพาท ทางการ ค้า ระหว่าง ประเทศ

3. กฎหมาย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ เป็น กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ กับ การก ระ ทำ ใดๆ ที่ เกี่ยว กับ กิจกรรม ใน

ทาง แพ่ง และ พาณิชย์ หรือ ใน การ ดำเนิน งาน ของ รัฐ ที่ กระทำ ขึ้น โดย ใช้ วิธี การ ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งหมด

หรือ แต่ บาง ส่วน โดย ผ่าน ทาง เครือ ข่าย อินเทอร์เน็ต หรือ ผ่าน ทาง เครือ ข่าย อินทราเน็ต หรือ โดย อุปกรณ์

อิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ

4. สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ เกิด ขึ้น โดย ชอบ ด้วย กฎหมาย เมื่อ คำ เสนอ และ คำ สนอง ถูก ต้อง ตรง กัน ทั้งนี้

คู่ สัญญา ต้อง มี เจตนา ใน การ ทำ สัญญา ซึ่ง พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

บัญญัติ ขึ้น เพื่อ ยืนยัน ความ สมบูรณ์ แห่ง การ เกิด ขึ้น ของ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ตาม กฎหมาย นิติกรรม

สัญญา ของ ไทย อย่างไร ก็ตาม สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ต้อง อยู่ ภาย ใต้ บังคับ ของ กฎหมาย ต่างๆ เสมอ

เหมือน สัญญา ใน เอกสาร ธรรมดา

Page 3: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-3

วัตถุประสงค์เมื่อ ศึกษา หน่วย ที่ 12 จบ แล้ว นักศึกษา สามารถ

1. อธิบาย ระบุ และ วินิจฉัย ลักษณะ ทั่วไป ของ กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ ได้

2. อธิบาย ระบุ และ วินิจฉัย สาระ สำคัญ ของ สัญญา การ ค้า ระหว่าง ประเทศ ได้

3. อธิบาย ระบุ และ วินิจฉัย ลักษณะ ทั่วไป ของ กฎหมาย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ได้

4. อธิบาย ระบุ และ วินิจฉัย สาระ สำคัญ ของ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ได้

กิจกรรมระหว่างเรียน1. ทำ แบบ ประเมิน ผล ตนเอง ก่อน เรียน หน่วย ที่ 12

2. ศึกษา เอกสาร การ สอน ตอน ที่ 12.1-12.4

3. ปฏิบัติ กิจกรรม ตาม ที่ ได้ รับ มอบ หมาย ใน เอกสาร การ สอน แต่ละ ตอน

4. ฟัง รายการ วิทยุ กระจาย เสียง (ถ้า มี)

5. ชม รายการ วิทยุ โทรทัศน์ (ถ้า มี)

6. ทำ แบบ ประเมิน ผล ตนเอง หลัง เรียน หน่วย ที่ 12

สื่อการสอน1. เอกสาร การ สอน

2. แบบ ฝึก ปฏิบัติ

3. เทป เสียง ประกอบ ชุด วิชา (ถ้า มี)

4. รายการ สอน ทาง วิทยุ กระจาย เสียง (ถ้า มี)

5. รายการ สอน ทาง วิทยุ โทรทัศน์ (ถ้า มี)

การประเมินผล1. ประเมิน ผล จาก แบบ ประเมิน ผล ตนเอง ก่อน เรียน และ หลัง เรียน

2. ประเมิน ผล จาก การ ทำ กิจกรรม และ แนว ตอบ ท้าย เรื่อง

3. ประเมิน ผล จาก การ สอบไล่ ประจำ ภาค การ ศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้วขอให้ทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน

หน่วยที่12ในแบบฝึกปฏิบัติแล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป

Page 4: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-4 กฎหมายธุรกิจ

ตอนที่12.1

ลักษณะทั่วไปของกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ

โปรด อ่าน หัว เรื่อง แนวคิด และ วัตถุประสงค์ ของ ตอน ที่ 12.1 แล้ว ศึกษา ราย ละเอียด ต่อ ไป

หัวเรื่อง12.1.1 วิวัฒนาการ และ ความ หมาย ของ ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ

12.1.2 ความ หมาย และ โครงสร้าง ของ กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ

12.1.3 ที่มา ของ กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ

แนวคิด1. ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ เริ่ม จาก ยุค การ ค้า ระหว่าง ประเทศ วิวัฒนาการ สู่ ยุค การ ลงทุน ระหว่าง

ประเทศ ไป ถึง ยุค บรรษัท ข้าม ชาติ ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ หมาย ถึง การ ค้า และ การ พาณิชย์ ทั้ง ปวง

ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ หมุนเวียน หรือ เปลี่ยน มือ ของ สินค้า การ บริการ ทุน เงิน ตรา ตลอด จน

เทคโนโลยี ข้าม พรมแดน ระหว่าง ประเทศ

2. กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ เป็น กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ กับ การ ประกอบ ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ

ประกอบ ด้วย กฎหมาย เกี่ยว กับ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ การ ลงทุน ระหว่าง ประเทศ และ การ เงิน

ระหว่าง ประเทศ

3. กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ มี ที่มา จาก กฎหมาย ภายใน ประเทศ กฎหมาย ระหว่าง ประเทศ

และ ประเพณี ปฏิบัติ ต่างๆ ที่ เกี่ยว กับ การ ประกอบ ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ

วัตถุประสงค์เมื่อ ศึกษา ตอน ที่ 12.1 จบ แล้ว นักศึกษา สามารถ

1. อธิบาย และ วินิจฉัย วิวัฒนาการ และ ความ หมาย ของ ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ ได้

2. อธิบาย และ วินิจฉัย ความ หมาย และ โครงสร้าง ของ กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ ได้

3. อธิบาย และ วินิจฉัย ที่มา ของ กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ ได้

Page 5: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-5

เรื่องที่12.1.1

วิวัฒนาการและความหมายของธุรกิจระหว่างประเทศ

1.วิวัฒนาการของธุรกิจระหว่างประเทศความ สัมพันธ์ ทาง ด้าน การ ค้า และ การ พาณิชย์ ใน อดีต ของ มนุษย์ มี รากฐาน มา จาก การ แลก เปลี่ยน ผลผลิต

ใน ครัว เรือน หนึ่ง ที่ เหลือ ใช้ หรือ ไม่ ต้องการ กับ ผลผลิต อื่น ของ อีก ครัว เรือน หนึ่ง จาก นั้น มนุษย์ เริ่ม รู้จัก นำ สินค้า จาก

ดิน แดน ของ ตน ไป แลก เปลี่ยน สินค้า (barter system) ใน ดิน แดน อื่น โดย กอง คาราวาน (caravan) ต่อ มา ได้ มี การ

จัด งาน มหกรรม (festivals) หรือ สถาน แสดง สินค้า เพื่อ พ่อค้า จาก ต่าง แดน จะ ได้ นำ สินค้า ของ ตน ไป แลก เปลี่ยน

กับ สินค้า อื่น งาน มหกรรม นี้ ได้ รับ ความ นิยม มาก เพราะ เป็น ทั้ง สถาน ที่ ค้า หา กำไร ของ พ่อค้า และ ให้ ราย ได้ ใน รูป

ภาษี อากร แก่ รัฐ ที่ จัด งาน มหกรรม ขึ้น ฉะนั้น ลักษณะ ของ ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ ใน สมัย โบราณ ส่วน ใหญ่ จึง เป็นการ

ประกอบ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ1

ความ รุ่งเรือง ทาง ด้าน การ ค้า ระหว่าง ประเทศ ทำให้ พ่อค้า จาก ต่าง แดน ต้อง เดิน ทาง ไป ยัง สถาน ที่ จัด งาน

มหกรรม เป็น จำนวน มาก การ ให้ ความ คุ้มครอง แก่ พ่อค้า จาก ต่าง แดน ย่อม เป็น ปัจจัย สำคัญ และ จำเป็น ที่สุด สำหรับ

ความ สำเร็จ ของ งาน มหกรรม รัฐ อิสระ ต่างๆ จึง รวม ตัว กัน เข้า เป็น สันนิบาต ทางการ ค้า (league) เพื่อ ให้การ ปกป้อง

ผล ประโยชน์ แก่ พ่อค้า ใน รัฐ สมาชิก สันนิบาต ทางการ ค้า โดย ให้ ความ คุ้มครอง พ่อค้า เหล่า นี้ ใน กรณี ต่างๆ เช่น

เมื่อ มี ข้อ พิพาท เกิด ขึ้น จะ ได้ รับ การ วินิจฉัย ข้อ พิพาท โดย อนุญาโตตุลาการ การ ให้ เอกสิทธิ์ ทางการ ค้าขาย แก่ พ่อค้า

ต่าง แดน ใน รัฐ ต่าง ประเทศ และ ใน กรณี จำเป็น สันนิบาต ทางการ ค้า อาจ ประกาศ สงคราม เพื่อ ปกป้อง ผล ประโยชน์

ของ สมาชิก ได้ เป็นต้น2

ต่อ มา ใน ระหว่าง คริสต์ ศตวรรษ ที่ 16 และ 17 ได้ มี วิวัฒนาการ แนว ความ คิด ของ องค์กร ธุรกิจ ใน รูป แบบ หุ้น

ส่วน ตาม กฎหมาย โรมัน ไป สู่ การ ก่อ ตั้ง องค์กร ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ ใน รูป แบบ บริษัท จำกัด ตาม กฎหมาย ของ ประเทศ

อังกฤษ ซึ่ง การ ก่อ ตั้ง บริษัท ใน รูป ของ การ จำกัด ความ รับ ผิด ของ ผู้ ถือ หุ้น นี้ ได้ ขยาย ตัว ขึ้น ตาม ลำดับ จนถึง ค.ศ. 1820

บริษัท จำนวน ไม่ น้อย กว่า 100 บริษัท ได้ เสนอ ขาย หุ้น ผ่าน ตลาดหลักทรัพย์ ของ กรุง ลอนดอน ประเทศ อังกฤษ (London

Stock Exchange)3

รูป แบบ ของ การ ประกอบ ธุรกิจ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ ได้ เปลี่ยนแปลง ไป ตาม สภาพ การณ์ ทาง เศรษฐกิจ

และ การเมือง ตลอด จน ความ สัมพันธ์ ระหว่าง ประเทศ ใน ยุค ล่า อาณานิคม ได้ มี การ จัด ตั้ง สำนักงาน ทางการ ค้า เพื่อ

อำนวย ความ สะดวก ใน การ จัด ซื้อ สินค้า ซึ่ง ต่อ มา ได้ ถูก ใช้ เป็น สถาน ประกอบ ธุรกิจ ใน ด้าน การ ลงทุน ใน ต่าง ประเทศ ทั้ง

ใน รูป แบบ ของ การ ลงทุน โดยตรง (direct investment) และ การ ลงทุน โดย อ้อม (portfolio investment) ซึ่ง

ปรากฏการณ์ ทาง ด้าน การ ลงทุน ระหว่าง ประเทศ นี้ ได้ มี การ ขยาย ตัวอย่าง รวดเร็ว ภาย หลัง สงครามโลก ครั้ง ที่ 2

หลัง จาก ที่ สหรัฐอเมริกา ได้ เข้า มี บทบาท ทางการ ลงทุน ทั้ง ใน ภาค พื้น ยุโรป และ เอเชีย4

1 สุจินต์ ชัยมังคลานนท์ และโกศล ฉันธิกุล ใน เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ หน่วยที่ 1 สาขาวิชานิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2528 หน้า 62 เรื่องเดียวกัน หน้า 103 เรื่องเดียวกัน หน้า 114 เรื่องเดียวกัน หน้า 12

Page 6: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-6 กฎหมายธุรกิจ

การ ประกอบ ธุรกิจ ใน ต่าง ประเทศ ใน รูป แบบ ของ การ ลงทุน โดยตรง นั้น ส่วน ใหญ่ เป็นการ ลงทุน ใน รูป บริษัท

ต่าง ประเทศ ซึ่ง จัด ตั้ง บริษัท ใน เครือ หรือ บริษัท ลูก (affiliate or subsidiary) หรือ เข้า ร่วม ทุน กับ ผู้ ลงทุน ของ

ท้อง ถิ่น (joint venture) ใน ต่าง ประเทศ นั้น ส่วน การ ประกอบ ธุรกิจ ใน ต่าง ประเทศ ใน รูป แบบ ของ การ ลงทุน โดย

อ้อม นั้น เป็นการ ลงทุน เพื่อ หวัง ดอก ผล จาก การ เงิน ที่ ลง ไป เท่านั้น เช่น การ ลงทุน ใน รูปการ ให้ กู้ เงิน หรือ การ ลงทุน

ด้วย การ เป็น ผู้ ซื้อ หุ้น เพื่อ รับ ประโยชน์ ทาง ด้าน ดอกเบี้ย หรือ เงินปันผล โดย ไม่มี ความ ประสงค์ เข้าไป มี บทบาท ใน

การ จัดการ หรือ ควบคุม การ ดำเนิน การ ของ ธุรกิจ นั้น

ใน ต้น คริสต์ ศตวรรษ ที่ 20 ความ เจริญ ทาง ด้าน การ สื่อสาร คมนาคม และ เทคโนโลยี เป็น เหตุ ให้การ ลงทุน

ระหว่าง ประเทศ เติบโต ขึ้น อย่าง รวดเร็ว บรรษัท ข้าม ชาติ (transnational corporation) หลาย แห่ง เช่น บริษัท General

Motor และ บริษัท Singer เป็นต้น ถูก จัด ตั้ง ขึ้น เพื่อ ทำการ ลงทุน ใน ประเทศ ต่างๆ ใน ทวีป เอเชีย รวม ทั้ง ใน ประเทศ

สาธารณรัฐ ประชาชน จีน และ ประเทศ ญี่ปุ่น

2.ความหมายของธุรกิจระหว่างประเทศด้วย เหตุ ที่ กฎหมาย ไม่มี คำ จำกัด ความ คำ ว่า า ธุรกิจ ระหว่าง ประ เทศ ำ (international business หรือ

international business transactions) ไว้ โดย เฉพาะ ดัง นั้น การ พิจารณา ความ หมาย ของ คำ ว่า “ ธุรกิจ ระหว่าง

ประ เทศ ” จึง ควร ทำการ ศึกษา คำ ว่า “ ธุรกิจ ” (business) และ า ระหว่าง ประ เทศ ำ (international) ก่อน

คำ ว่า “ ธุรกิจ” หมาย ถึง การ ผลิต (production) การ จำหน่าย (distribution) และ การ ให้ บริการ (services)

หรือ อีก นัย หนึ่ง “ ธุรกิจ ” หมาย ถึง การ อุตสาหกรรม การ พาณิช ยกร รม และ การ บริการ

“ การ อุตสาห กร รม” หมาย ถึง การ ผลิต สินค้า และ สิ่งของ ต่างๆ เช่น การ ผลิต รถ จักรยานยนต์ การ ผลิต

เครื่องจักร เป็นต้น ส่วน า การ พาณิช ยกร รมำ หมาย ถึง การ ค้า หรือ การ จำหน่าย สินค้า และ สิ่งของ ต่างๆ ที่ ผลิต ขึ้น

มา แล้ว และ “ กา รบ ริกา ร” หมาย ถึง การ ให้ บริการ หลัง การ จำหน่าย สินค้า หรือ สิ่งของ ต่างๆ เช่น การ ให้ คำ แนะนำ

ใน การ ใช้ การ ซ่อมแซม รวม ถึง การ ให้ บริการ ทาง ด้าน วิชาชีพ เช่น กฎหมาย บัญชี ตลอด จน การขนส่ง การ

ประกัน ภัย เป็นต้น

ส่วน คำ ว่า “ ระหว่าง ประ เทศ ” หมาย ถึง ข้าม พรมแดน จาก ประเทศ หนึ่ง ไป ยัง อีก ประเทศ หนึ่ง การ ข้าม

พรมแดน ระหว่าง ประเทศ นี้ อาจ เป็นการ ข้าม พรมแดน ระหว่าง ประเทศ ทาง กายภาพ หรือ ทางการ เมือง ก็ได้5

ฉะนั้น คำ ว่า า ธุรกิจ ระหว่าง ประ เทศ ำ (international business หรือ international business

transactions) จึง หมาย ถึง กิจกรรม ทาง ด้าน การ ผลิต การ จำหน่าย และ การ ให้ บริการ ที่ มี การ ข้าม พรมแดน

ระหว่าง ประเทศ จาก ประเทศ หนึ่ง ไป ยัง อีก ประเทศ หนึ่ง หรือ อีก นัย หนึ่ง “ ธุรกิจ ระหว่าง ประ เทศ ” หมาย ถึง การ ค้า

และ การ พาณิชย์ ทั้ง ปวง ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ หมุนเวียน หรือ เปลี่ยน มือ ของ สินค้า การ บริการ ทุน เงิน ตรา ตลอด จน

เทคโนโลยี ข้าม พรมแดน ระหว่าง ประเทศ

ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ ตาม รูป แบบ ของ การ ประกอบ ธุรกิจ อาจ แบ่ง ได้ เป็น 3 กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ การ ค้า

ระหว่าง ประเทศ (การ ส่ง สินค้า ออก ไป ขาย ต่าง ประเทศ และ การนำ สินค้า เข้า มา จำหน่าย ใน ประเทศ) การ ลงทุน

ระหว่าง ประเทศ (การนำ เอา ทุน หรือ เงิน มา จัดการ ใน ต่าง ประเทศ เพื่อ ให้ เกิด มี ราย ได้ หรือ ผล กำไร จาก การ จัดการ นั้น

รวม ทั้ง การ ให้ สิทธิ ทั้ง ทาง ด้าน การ โอน เทคโนโลยี และ การ ให้ สิทธิ ใน การ ประกอบ การ ภาย ใต้ ชื่อ เครื่องหมายการค้า

หรือ สูตร ลับ ใน การ ผลิต สินค้า หรือ ให้ บริการ ใน ต่าง ประเทศ) และ การ เงิน ระหว่าง ประเทศ (การ จัดหา เงิน ทุน จาก

ต่าง ประเทศ เพื่อ ใช้ ใน โครงการ หรือ การ ค้า ต่างๆ ไม่ ว่า จะ เป็นการ กู้ ยืม จาก ธนาคาร หรือ ออก พันธบัตร เงิน กู้)

5 โกศล ฉนัธกิลุ กฎหมายและการปฏบิตัเิกีย่วกบัการคา้ระหวา่งประเทศ กรงุเทพมหานคร สำนกัพมิพว์ญิญชูน พมิพค์รัง้ที ่2 2548 หนา้ 19

Page 7: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-7

การ ประกอบ ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ มี ความ สลับ ซับ ซ้อน มากกว่า การ ประกอบ ธุรกิจ ภายใน ประเทศ เพราะ

คู่ ธุรกิจ อยู่ คนละ ประเทศ จึง มี ความ เกี่ยวข้อง กับ กฎหมาย ของ ประเทศ หลาย ประเทศ รวม ทั้ง กฎหมาย ระหว่าง

ประเทศ และ ประเพณี ปฏิบัติ ทาง ธุรกิจ ด้วย เช่น ใน กรณี การ ค้า ระหว่าง ประเทศ ซึ่ง ผู้ ซื้อ กับ ผู้ ขาย อยู่ กัน คนละ ประเทศ

กฎหมาย ที่ เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมาย ของ ประเทศ ผู้ ซื้อ กฎหมาย ของ ประเทศ ผู้ ขาย ความ ตกลง ระหว่าง ประเทศ ผู้ ซื้อ

และ ประเทศ ผู้ ขาย และ ประเพณี ปฏิบัติ ทางการ ค้า ระหว่าง ประเทศ ใน ขณะ ที่ การ ค้า ภายใน ประเทศ กฎหมาย ที่ เกี่ยวข้อง

ได้แก่ กฎหมาย ภายใน ของ ประเทศ ซึ่ง สัญญา ได้ ทำ ขึ้น

กิจกรรม12.1.1

จงอธิบายถึงความหมายของธุรกิจระหว่างประเทศ

แนวตอบกิจกรรม12.1.1

ธุรกิจระหว่างประเทศหมายถึงกิจกรรมทางด้านการผลิตการจำหน่ายและการให้บริการที่มีการข้าม

พรมแดนระหวา่งประเทศจากประเทศหนึง่ไปยงัอกีประเทศหนึง่หรอือกีนยัหนึง่หมายถงึการคา้และการพาณชิย์

ทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนหรือเปลี่ยนมือของสินค้าการบริการทุน เงินตราตลอดจนเทคโนโลยีข้าม

พรมแดนระหว่างประเทศ

เรื่องที่12.1.2

ความหมายและโครงสร้างของกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ

1.ความหมายของกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศใน การ ทำความ เข้าใจ คำ ว่า า กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประ เทศ ำ ควร ทำการ ศึกษา คำ ว่า “ กฎ หมาย ธุรกิจ ” และ

“ ระหว่าง ประ เทศ ” ก่อน

แม้ คำ ว่า “ กฎ หมาย ธุรกิจ ” ยัง ไม่มี การ ให้ คำ จำกัด ความ ที่ แน่นอน แต่ ผู้ เชี่ยวชาญ ทาง กฎหมาย ธุรกิจ

เห็น ว่า กฎหมาย ธุรกิจ เป็น กฎหมาย ที่ เกี่ยว กับ การ ดำเนิน การ ทาง ธุรกิจ อัน ได้แก่ การ ประกอบ ธุรกิจ ทั้ง ใน ด้าน การ

ค้า การ อุตสาหกรรม และ การ บริการ และ ยัง หมาย ถึง กฎหมาย ที่ เกี่ยว กับ การ จัด ตั้ง และ รูป แบบ ทาง ธุรกิจ ตลอด จน

การ จัด ระเบียบ หรือ ควบคุม ธุรกิจ6

ส่วน คำ ว่า “ ระหว่าง ประ เทศ ” หมาย ถึง ข้าม พรมแดน จาก ประเทศ หนึ่ง ไป ยัง อีก ประเทศ หนึ่ง การ ข้าม

พรมแดน ระหว่าง ประเทศ นี้ อาจ เป็นการ ข้าม พรมแดน ระหว่าง ประเทศ ทาง กายภาพ หรือ ทางการ เมือง ก็ได้

6 เรื่องเดียวกัน หน้า 17

Page 8: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-8 กฎหมายธุรกิจ

ฉะนั้น คำ ว่า “ กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประ เทศ ” (international business law หรือ legal aspects of

international business transactions) จึง หมาย ถึง กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ กับ การ ประกอบ ธุรกิจ ข้าม พรมแดน

ระหว่าง ประเทศ อัน ประกอบ ด้วย กฎหมาย ทางการ ค้า การขนส่ง การ ลงทุน การ เงิน และ การ ถ่ายทอด เทคโนโลยี

ระหว่าง ประเทศ หรือ อีก นัย หนึ่ง เป็น กฎหมาย ซึ่ง ใช้ บังคับ กับ การ ค้า และ การ พาณิชย์ ทั้ง ปวง ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ

หมุนเวียน หรือ เปลี่ยน มือ ของ สินค้า การ บริการ ทุน เงิน ตรา ตลอด จน เทคโนโลยี ข้าม พรมแดน ระหว่าง ประเทศ ฉะนั้น

กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ จึง เป็น กฎหมาย ที่ กว้าง และ ครอบคลุม ถึง กฎหมาย ภายใน สาขา ต่างๆ หลาย สาขา7

2.ขอบข่ายของกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศกฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ เป็น กฎหมาย ที่ ครอบคลุม ถึง กิจกรรม ทาง ธุรกิจ ที่ สำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ การ ค้า

ระหว่าง ประเทศ การ ลงทุน ระหว่าง ประเทศ และ การ เงิน ระหว่าง ประเทศ

2.1 การค้าระหว่างประเทศ หมาย ถึง การ ส่ง สินค้า ออก ไป ขาย ต่าง ประเทศ (exports) และ การนำ สินค้า

เข้า มา จำหน่าย ใน ประเทศ (imports) การ ค้า ระหว่าง ประเทศ มี ความ แตก ต่าง และ มี ความ สลับ ซับ ซ้อน มากกว่า การ

ค้า ภายใน ประเทศ ดัง นั้น การ ค้า ระหว่าง ประเทศ จึง อยู่ ภาย ใต้ พิธีการ ทางการ ค้า ที่ ยุ่ง ยาก มากกว่า การ ค้า ภายใน

ประเทศ เพราะ ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย อยู่ คนละ ประเทศกัน ต้อง มี การ เคลื่อน ย้าย สินค้า จาก ประเทศ หนึ่ง ไป สู่ อีก ประเทศ หนึ่ง

กฎหมาย ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ จึง เป็น กฎหมาย ทั้ง ที่ เป็น กฎหมาย ใน ประเทศ ผู้ ส่ง ออก สินค้า กฎหมาย

ภายใน ของ ประเทศ ผู้นำ เข้า สินค้า ตลอด จน ความ ตกลง ระหว่าง ประเทศ ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ ใน เรื่อง

ต่างๆ ได้แก่ การ ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ การ ชำระ เงิน ตาม สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ การ ขนส่ง ระหว่าง ประเทศ

การ ประกัน ภัย ทาง ทะเล และ การ ระงับ ข้อ พิพาท ทางการ ค้า ระหว่าง ประเทศ

2.2 การลงทุนระหว่างประเทศ วิวัฒนาการ มา จาก การ ค้า ระหว่าง ประเทศ เมื่อ ได้ มี การ จัด ตั้ง หน่วย การ

ผลิต หรือ บริการ ขึ้น ใน ต่าง ประเทศ การ ลงทุน ระหว่าง ประเทศ อยู่ ภาย ใต้ บังคับ ของ กฎหมาย ภายใน ของ ประเทศ ที่

เกี่ยวข้อง ความ ตกลง ระหว่าง รัฐ ที่ เกี่ยว กับ การ ลงทุน โดย เฉพาะ ใน เรื่อง สิทธิ ประโยชน์ และ ข้อ จำกัด เกี่ยว กับ การลงทุน

สัญญา การ ลงทุน ระหว่าง ประเทศ การ ถ่ายทอด เทคโนโลยี ระหว่าง ประเทศ และ การ ระงับ ข้อ พิพาท ทางการ ลงทุน8

2.3 การเงินระหว่างประเทศหมาย ถึง การ จัดหา เงิน ทุน (capital) จาก แหล่ง ทุน ต่าง ประเทศ เพื่อ ใช้ ใน

การ ค้า หรือ การ ลงทุน ภายใน ประเทศ โดย เฉพาะ การ กู้ ยืม เงิน ระหว่าง ประเทศ แหล่ง การ กู้ ยืม เงิน ระหว่าง ประเทศ

ที่ สำคัญ ได้แก่ ธนาคาร พาณิชย์ หรือ สถาบัน การ เงิน ใน ต่าง ประเทศ ธนาคาร หรือ สถาบัน เงิน กู้ ระหว่าง ประเทศ

เช่น ธนาคารโลก บรรษัท เงิน ทุน ระหว่าง ประเทศ (International Finance Corporation: IFC) สิน เชื่อ เพื่อ การ

ส่ง ออก (export credit) ใน ต่าง ประเทศ และ การ กู้ ยืม เงิน จาก ตลาด เงิน ต่างๆ เช่น ตลาด เงิน ตรา ยุโรป (Euro-

currency market) และ ตลาด พันธบัตร ยุโรป (Euro-bond market) เป็นต้น ฉะนั้น การ ศึกษา กฎหมาย ที่

เกีย่วขอ้ง กบั การ เงนิ ระหวา่ง ประเทศ ไดแ้ก ่การ ศกึษา ถงึ ระเบยีบ และ การ ปฏบิตั ิตา่งๆ ที ่เกีย่วขอ้ง กบั การ เงนิ ขา้ม ประเทศ

ใน รูป แบบ ต่างๆ เช่น กฎหมาย ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ กู้ ยืม เงิน ระหว่าง ประเทศ (international loan) การ ออก พันธบัตร

เงิน กู้ (bond issues) ใน ต่าง ประเทศ การ กู้ ยืม เงิน จาก กลุ่ม ผู้ ให้ กู้ (syndication) การ กู้ ยืม เงิน ตาม โครงการ (project

finance) เป็นต้น9

7 เรื่องเดียวกัน หน้า 188 เรื่องเดียวกัน หน้า 42-469 เรื่องเดียวกัน หน้า 52

Page 9: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-9

กิจกรรม12.1.2

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศครอบคลุมถึงกิจกรรมทางธุรกิจกลุ่มใดบ้าง

แนวตอบกิจกรรม12.1.2

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมถึงกิจกรรมทางธุรกิจที่สำคัญ3กลุ่ม ได้แก่

การค้าระหว่างประเทศการลงทุนระหว่างประเทศและการเงินระหว่างประเทศ

เรื่องที่12.1.3

ที่มาของกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ

กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ มี ที่มา ทั้ง จาก กฎหมาย ภายใน กฎหมาย ระหว่าง ประเทศ และ ประเพณี ปฏิบัติ

ทาง ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ

1.กฎหมายภายในกฎหมาย ภายใน (domestic law) หมาย ถึง กฎหมาย ภายใน ของ ประเทศ ซึ่ง เป็น คู่ ธุรกิจ ทั้ง ที่ เป็น กฎหมาย

เอกชน และ กฎหมาย มหาชน ส่วน ที่ เป็น กฎหมาย เอกชน ได้แก่ กฎหมาย ที่ กำหนด ความ สัมพันธ์ ระหว่าง เอกชน ต่อ

เอกชน ด้วย กัน ใน ฐานะ ที่ เท่า เทียม กัน10 หรือ กฎหมาย ที่ กำหนด สิทธิ หน้าที่ ระหว่าง คู่ ธุรกิจ เช่น กฎหมาย ว่า ด้วย

นิติกรรม สัญญา กฎหมาย ลักษณะ หนี้ เอกเทศ สัญญา ว่า ด้วย ซื้อ ขาย ตัวแทน รับ ขน ประกัน ภัย พระ ราช บัญญัติ

อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 เป็นต้น ส่วน ที่ เป็น กฎหมาย มหาชน ได้แก่ กฎหมาย ที่ กำหนด ความ สัมพันธ์

ระหว่าง รัฐ หรือ หน่วย งาน ของ รัฐ กับ ราษฎร ใน ฐานะ ที่ รัฐ เป็น ฝ่าย ปกครอง ราษฎร11 เช่น พระ ราช บัญญัติ การ ส่ง ออก

ไป นอก และ การนำ เข้า มา ใน ราช อาณาจักร ซึ่ง สินค้า พ.ศ. 2522 พระ ราช บัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 พระ ราช บัญญัติ

ส่ง เสริม การ ลงทุน พ.ศ. 2520 พระ ราช บัญญัติ ควบคุม การ แลก เปลี่ยน เงิน พ.ศ. 2485 เป็นต้น

2.กฎหมายระหว่างประเทศกฎหมาย ระหว่าง ประเทศ (international law) ได้แก่ ความ ตกลง ระหว่าง ประเทศ ซึ่ง ประเทศ ของ คู่ สัญญา

ได้ ทำความ ตกลง ไว้ ซึ่ง แบ่ง เป็น ความ ตกลง แบบ ทวิภาคี และ ความ ตกลง แบบ พหุภาคี

2.1ความตกลงแบบทวิภาคี(bilateralagreement)หรือสนธิสัญญา(treaty) หมาย ถึง ความ ตกลง ระหว่าง

ประเทศ 2 ประเทศ เช่น ความ ตกลง เกี่ยว กับ ความ ร่วม มือ ทางการ ค้า (trade agreement) ความ ตกลง ว่า ด้วย

10 หยุด แสงอุทัย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ประกายพรึก พิมพ์ครั้งที่ 16 2548 หน้า 18511 เรื่องเดียวกัน

Page 10: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-10 กฎหมายธุรกิจ

การ ยกเว้น การ เก็บ ภาษี ซ้อน (agreement for avoidance of double taxation) ความ ตกลง เกี่ยว กับ การคุ้มครอง

การ ลงทุน (investment treaty) เป็นต้น

2.2ความตกลงแบบพหุภาคี (multilateralagreement)หรืออนุสัญญา(convention) หมาย ถึง ความ ตกลง

ที่ มี ประเทศ มากกว่า 2 ประเทศ ร่วม เป็น ภาคี เช่น ความ ตกลง ทั่วไป ว่า ด้วย พิกัด อัตรา ภาษี ศุลกากร และ การ ค้า

(The General Agreement on Tariff and Trade: GATT) อนุสัญญา สหประชาชาติ ว่า ด้วย สัญญา ซื้อ ขาย สินค้า

ระหว่าง ประเทศ (United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods 1980:

CISG) อนุสัญญา ว่า ด้วย การ ทำให้ เป็น อัน หนึ่ง อัน เดียวกัน ซึ่ง กฎ เกณฑ์ บาง อย่าง ที่ เกี่ยว กับ ใบตราส่ง (International

Convention for the Unification of Certain Rules on Laws relating to Bill of Lading) หรือ กฎ แห่ง

กรุง เฮก (Hague Rules) อนุสัญญา สหประชาชาติ ว่า ด้วย การ ขนส่ง ทาง ทะเล (The United Nations Convention on

the Carriage of Goods by Sea 1978) หรือ กฎ แห่ง กรุง เฮม เบิร์ก (Hamburg Rules) อนุสัญญา ว่า ด้วย การ ขนส่ง

ทาง อากาศ (The Convention for the Clarification of Certain Rules relating to International Air Carriage

หรือ Warsaw Convention) เป็นต้น

3.ประเพณีปฏิบัติทางธุรกิจระหว่างประเทศประเพณี ปฏิบัติ ทาง ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ หมาย ถึง แนว ปฏิบัติ ทาง ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ (practices) ขนบ-

ธรรมเนียม ทาง ธุรกิจ (usage) ที่ ได้ มี การ ปฏิบัติ จน ได้ รับ การ ยอมรับ รวม ตลอด ถึง มาตรฐาน ทาง ธุรกิจ (standard)

ที่ จัด ทำ ขึ้น โดย สถาบัน ระหว่าง ประเทศ หรือ สมาคม ทางการ ค้า ระหว่าง ประเทศ เช่น อิน โค เทอม (International

Commercial Terms: Incoterms) ซึ่ง จัด ทำ ขึ้น โดย สมาคม หอการค้า ระหว่าง ประเทศ (International Chamber

of Commerce: ICC)

อย่างไร ก็ตาม เฉพาะ บาง ประเทศ เท่านั้น ที่ ยอมรับ ว่า ความ ตกลง ระหว่าง ประเทศ เหล่า นี้ มี สถานะ ทาง

กฎหมาย เช่น ประเทศ อังกฤษ เป็นต้น ใน ขณะ ที่ ประเทศไทย ไม่ ยอมรับ ว่า ความ ตกลง ระหว่าง ประเทศ เหล่า นี้ มี สถานะ

ทาง กฎหมาย จึง ต้อง มี การ ตรา กฎหมาย อนุ วัติ การ เพื่อ ให้ เป็น ไป ตาม ความ ตกลง ระหว่าง ประเทศ ก่อน ความ ตกลง

ระหว่าง ประเทศ นั้น จึง จะ มี สถานะ เป็น กฎหมาย ส่วน ประเพณี ทาง ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ จะ นำ มา ใช้ บังคับ ได้ ต่อ เมื่อ คู่

สัญญา ระบุ ไว้ ใน สัญญา โดย ถือว่า ประเพณี ทาง ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ นี้ เป็น ข้อ ตกลง ส่วน หนึ่ง ของ สัญญา จึง ไม่ ถือว่า

มี สถานะ เป็น กฎหมาย และ ไม่ ถือ เป็น จารีต ประเพณี แห่ง ท้อง ถิ่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4

กิจกรรม12.1.3

จงอธิบายถึงที่มาของกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ

แนวตอบกิจกรรม12.1.3

กฎหมายธรุกจิระหวา่งประเทศมีทีม่าทัง้จากกฎหมายภายในของประเทศที่เปน็คู่ธรุกจิกฎหมายระหวา่ง

ประเทศและประเพณีปฏิบัติทางธุรกิจระหว่างประเทศ

Page 11: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-11

ตอนที่12.2

สาระสำคัญของสัญญาการค้าระหว่างประเทศ

โปรด อ่าน หัว เรื่อง แนวคิด และ วัตถุประสงค์ ของ ตอน ที่ 12.2 แล้ว จึง ศึกษา ราย ละเอียด ต่อ ไป

หัวเรื่อง12.2.1 สัญญา การ ค้า ระหว่าง ประเทศ

12.2.2 การ ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ

12.2.3 การ ชำระ เงิน ตาม สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ

12.2.4 การ ขนส่ง ระหว่าง ประเทศ

12.2.5 การ ประกัน ภัย ระหว่าง ประเทศ

12.2.6 การ ระงับ ข้อ พิพาท ทางการ ค้า ระหว่าง ประเทศ

แนวคิด1. สัญญา การ ค้า ระหว่าง ประเทศ เป็น สัญญา ที่ ประกอบ ด้วย สัญญา หลาย ประเภท เป็น สัญญา ที่ มี

การ ส่ง สินค้า จาก ประเทศ หนึ่ง ไป อีก ประเทศ หนึ่ง และ เป็น สัญญา ที่ อยู่ ภาย ใต้ บังคับ ของ กฎหมาย

มากกว่า สัญญา การ ค้า ภายใน ประเทศ

2. การ ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ หมาย ถึง การ ซื้อ ขาย สินค้า ที่ ผู้ ซื้อ สินค้า และ ผู้ ขาย สินค้า อยู่ คนละ

ประเทศกัน โดย ต้อง มี การ เคลื่อน ย้าย สินค้า จาก ประเทศ หนึ่ง ไป ยัง อีก ประเทศ หนึ่ง หรือ ต้อง มี

การ เคลื่อน ย้าย สินค้า ข้าม พรมแดน ระหว่าง ประเทศ

3. การ ชำระ เงิน ตาม สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ อาจ เป็นการ ชำระ เงิน โดย ไม่ ผ่าน ธนาคาร หรือ การ

ชำระ เงิน โดย ผ่าน ธนาคาร ก็ได้

4. การ ขนส่ง ระหว่าง ประเทศ หมาย ถึง การ เคลื่อน ย้าย สินค้า ข้าม พรมแดน จาก ประเทศ หนึ่ง ไป สู่ อีก

ประเทศ หนึ่ง ซึ่ง อาจ เป็นการ รับ ขน ของ ทาง ทะเล การ รับ ขน ของ ทาง อากาศ การ รับ ขน ของ

ทาง บก การ รับ ขน ของ แบบ ผสม หรือ การ รับ ขน ของ เป็น ตู้ คอนเทนเนอร์

5. การ ประกัน ภัย ระหว่าง ประเทศ หมาย ถึง การ ที่ บุคคล หนึ่ง ตกลง จะ ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน หรือ ใช้

เงิน จำนวน หนึ่ง ให้ แก่ อีก บุคคล หนึ่ง ใน กรณี เกิด วินาศภัย แก่ วัตถุ ที่ เอา ประกัน ภัย ที่ ขนส่ง จาก

ประเทศ หนึ่ง ไป ยัง อีก ประเทศ หนึ่ง

6. การ ระงับ ข้อ พิพาท ทางการ ค้า ระหว่าง ประเทศ อาจ เป็นการ ระงับ ข้อ พิพาท โดย ศาล หรือ โดย

อนุญาโตตุลาการ ก็ได้

Page 12: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-12 กฎหมายธุรกิจ

วัตถุประสงค์เมื่อ ศึกษา ตอน ที่ 12.2 จบ แล้ว นักศึกษา สามารถ

1. อธิบาย และ วินิจฉัย สัญญา การ ค้า ระหว่าง ประเทศ ได้

2. อธิบาย และ วินิจฉัย การ ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ ได้

3. อธิบาย และ วินิจฉัย การ ชำระ เงิน ตาม สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ ได้

4. อธิบาย และ วินิจฉัย การ ขนส่ง ระหว่าง ประเทศ ได้

5. อธิบาย และ วินิจฉัย การ ประกัน ภัย ระหว่าง ประเทศ ได้

6. อธิบาย และ วินิจฉัย การ ระงับ ข้อ พิพาท ทางการ ค้า ระหว่าง ประเทศ ได้

Page 13: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-13

เรื่องที่12.2.1

สัญญาการค้าระหว่างประเทศ

สัญญา การ ค้า ระหว่าง ประเทศ มี ลักษณะ แตก ต่าง จาก สัญญา การ ค้า ภายใน ประเทศ กล่าว คือ เป็น สัญญา

ที่ ประกอบ ด้วย สัญญา หลาย ประเภท เป็น สัญญา ที่ มี การ ส่ง สินค้า จาก ประเทศ หนึ่ง ไป อีก ประเทศ หนึ่ง และ เป็น สัญญา

ที่ อยู่ ภาย ใต้ บังคับ ของ กฎหมาย มากกว่า สัญญา การ ค้า ภายใน ประเทศ

1.สัญญาการค้าระหว่างประเทศเป็นสัญญาที่ประกอบด้วยสัญญาหลายประเภทสัญญา การ ค้า ระหว่าง ประเทศ เป็น สัญญา ที่ ประกอบ ด้วย สัญญา หลาย ประเภท โดย มี สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง

ประเทศ เป็น หลัก และ มี สัญญา ประ เภท อื่นๆ เป็น สัญญา รอง เช่น

1.1สัญญาเกี่ยวกับการชำระราคาสินค้าตามสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ การ ชำระ ราคา สินค้า เป็น เรื่อง

สำคัญ ประการ หนึ่ง ใน สัญญา ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ การ ชำระ ราคา สินค้า อาจ ตกลง ชำระ กัน โดยตรง ระหว่าง

ผู้ ซื้อ หรือ ผู้ ขาย หรือ ชำระ โดย การ ใช้ ธนาคาร เป็น สื่อ กลาง เช่น ผู้ ซื้อ ผู้ ขาย อาจ ตกลง กัน ให้ ผู้ ซื้อ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต

(letter of credit: L/C) เพื่อ ชำระ ราคา สินค้า ให้ แก่ ผู้ ขาย ซึ่ง ใน กรณี ดัง กล่าว ผู้ ซื้อ ต้อง ทำ สัญญา กับ ธนาคาร เพื่อ ขอ ให้

ธนาคาร ที่ ติดต่อ นั้น (opening bank) เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต ให้ แก่ ผู้ ขาย เป็นต้น

1.2สัญญาขนส่งระหว่างประเทศ เนื่องจาก สัญญา การ ค้า ระหว่าง ประเทศ ต้อง มี การ ขนส่ง สินค้า จาก ประเทศ

หนึ่ง ไป ยัง อีก ประเทศ หนึ่ง คู่ สัญญา จึง ต้อง มี การ ตกลง ใน เรื่อง การ ขนส่ง สินค้า ด้วย ว่า คู่ สัญญา ฝ่าย ใด มีหน้า ที่

ดำเนิน การ และ ฝ่าย ใด มีหน้า ที่ ต้อง รับ ผิด ชอบ เรื่อง ค่า ใช้ จ่าย ใน การขนส่ง ซึ่ง การ ขนส่ง นี้ อาจ เป็นการ ขนส่ง ทาง บก

ทาง เรือ ทาง อากาศ หรือ ทั้ง สาม ทาง ประกอบ กัน ก็ได้

1.3สัญญาประกันภัยระหว่างประเทศ ใน การ ขนส่ง สินค้า สินค้า ที่ อยู่ ใน ระหว่าง ขนส่ง อาจ ได้ รับ ความ เสีย หาย

เช่น ระหว่าง การ ขนส่ง ทาง ทะเล เรือ อาจ ประสบ ภัย พิบัติ จน สินค้า เกิด ความ เสีย หาย ซึ่ง ความ เสีย หาย บาง ครั้ง

อาจ หา ผู้รับ ผิด ชอบ ให้ ชดใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ได้ แต่ บาง ครั้ง ความ เสีย หาย อาจ เกิด ขึ้น โดย เหตุสุดวิสัย ไม่ อาจ หา

ผู้รับ ผิด ชอบ ชดใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ได้ ดัง นั้น เพื่อ จำกัด ความ เสี่ยง ภัย (risk) ใน ความ เสีย หาย อัน อาจ เกิด ขึ้น ได้

กับ สินค้า ระหว่าง ขนส่ง จึง เกิด การ ทำ ประกัน ภัย สินค้า ระหว่าง ขนส่ง ขึ้น ด้วย เหตุ นี้ สัญญา การ ค้า ระหว่าง ประเทศ

ส่วน ใหญ่ จึง มี การ ทำ สัญญา ประกัน ภัย เข้า มา เกี่ยวข้อง ด้วย

2.สัญญาการค้าระหว่างประเทศเป็นสัญญาที่มีการส่งสินค้าจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่งลักษณะ สำคัญ ประการ หนึ่ง ของ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ คือ ต้อง มี การ ขนส่ง สินค้า จาก ประเทศ หนึ่ง ไป ยัง

อีก ประเทศ หนึ่ง หาก เป็นการ ค้า หรือ การ ซื้อ ขาย ซึ่ง แม้ คู่ สัญญา เป็น คน ต่าง สัญชาติ แต่ ถ้า ไม่มี การ ขนส่ง สินค้า จาก

ประเทศ หนึ่ง ไป ยัง อีก ประเทศ หนึ่ง แล้ว ย่อม ถือว่า เป็นการ ค้า ภายใน ประเทศ กฎหมาย ที่ นำ มา ใช้ บังคับ แก่ สัญญา

การ ค้า ภายใน ประเทศ จึง ได้แก่ กฎหมาย ภายใน ของ ประเทศ ซึ่ง สัญญา ได้ ทำ ขึ้น สัญญา ภายใน ประเทศ ไม่มี ลักษณะ ของ

การ ค้า ระหว่าง ประเทศ เช่น นาย จอห์น คน สัญชาติ อเมริกัน เข้าไป ใน ห้าง สรรพ สินค้า ญี่ปุ่น ใน ประเทศไทย เพื่อ ซื้อ กางเกง

1 ตัว ชำระ ราคา ค่า กางเกง รับ สินค้า ไป แล้ว เดิน ทาง กลับ ประเทศ สหรัฐอเมริกา เช่น นี้ ถือว่า เป็นการ ค้า ภายใน ประเทศ

เนื่องจาก ไม่มี การ ขนส่ง สินค้า จาก ประเทศ หนึ่ง ไป อีก ประเทศ หนึ่ง แต่ อย่าง ใด แม้ นาย จอห์น ได้ นำ สินค้า จาก ประเทศไทย

ไป ยัง ประเทศ สหรัฐอเมริกา ก็ตาม

Page 14: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-14 กฎหมายธุรกิจ

3.สัญญาการค้าระหว่างประเทศเป็นสัญญาที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายมากกว่าสัญญาการค้าภายใน

ประเทศกฎหมาย ที่ อาจ มี ผล บังคับ ต่อ สัญญา การ ค้า ระหว่าง ประเทศ ได้แก่ กฎหมาย ภายใน ของ ประเทศ คู่ สัญญา

กฎหมาย ระหว่าง ประเทศ ตลอด จน ขนบธรรมเนียม ประเพณี การ ค้า ระหว่าง ประเทศ ส่วน กฎหมาย ที่ มี ผล บังคับ

แก่ สัญญา การ ค้า ภายใน ประเทศ ได้แก่ กฎหมาย ภายใน ของ ประ เทศ นั้นๆ เท่านั้น ดัง นั้น จึง เห็น ได้ ว่า กฎหมาย ที่ มี

ผล บังคับ ต่อ สัญญา การ ค้า ระหว่าง ประเทศ จึง มี มากกว่า กฎหมาย ที่ มี ผล บังคับ ต่อ สัญญา การ ค้า ภายใน ประเทศ

กิจกรรม12.2.1

จงอธิบายลักษณะของสัญญาการค้าระหว่างประเทศ

แนวตอบกิจกรรม12.2.1

สัญญาการค้าระหว่างประเทศมีลักษณะแตกต่างจากสัญญาการค้าภายในประเทศกล่าวคือเป็นสัญญา

ที่ประกอบด้วยสัญญาหลายประเภท เป็นสัญญาที่มีการส่งสินค้าจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง และเป็น

สัญญาที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายมากกว่าสัญญาการค้าภายในประเทศ

เรื่องที่12.2.2

การซื้อขายระหว่างประเทศ

ใน การ ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ มี สาระ สำคัญ ที่ ควร ศึกษา ดังนี้

1.ความหมายของสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศกฎหมาย ไทย ไม่ ได้ บัญญัติ คำ นิยาม คำ ว่า “ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประ เทศ ” ไว้ เป็นการ เฉพาะ แยก ออก ต่าง หาก

จาก สัญญา ซื้อ ขาย ภายใน ประเทศ โดย ทั่วไป เหมือน ดัง กฎหมาย ของ ประเทศ บาง ประเทศ เช่น ประเทศ อังกฤษ

เป็นต้น ซึ่ง ตาม กฎหมาย ไทย ถ้า เป็น กรณี ที่ บริษัท ที่ อยู่ ใน ประเทศไทย สั่ง ซื้อ สินค้า จาก บริษัท ที่ อยู่ ใน ต่าง ประเทศ และ

เกิด ข้อ พิพาท ขึ้น เช่น นี้ เป็น ที่ ประจักษ์ ชัด ว่า เป็น กรณี การ ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ แต่ ถ้า เป็น กรณี ที่ บริษัท ไทย สั่ง ซื้อ

รถยนต์ จาก บริษัท ญี่ปุ่น ใน ประเทศไทย โดย ชิ้น ส่วน ส่วน ใหญ่ นำ มา จาก ญี่ปุ่น แต่ มี บาง ส่วน ที่ ผลิต ใน ประเทศไทย แล้ว

มา ประกอบ เป็น รถยนต์ ส่ง มอบ ให้ แก่ บริษัท ไทย เช่น นี้ ไม่ ถือ เป็น สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ แต่ ถือว่า เป็น สัญญา ซื้อ

ขาย ภายใน ประเทศ เพราะ ไม่มี การ เคลื่อน ย้าย สินค้า ข้าม พรมแดน

ดัง นั้น สรุป ได้ ว่า สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ หมาย ถึง สัญญา ซื้อ ขาย สินค้า ที่ ผู้ ซื้อ สินค้า และ ผู้ ขาย สินค้า

อยู่ คนละ ประเทศกัน โดย ต้อง มี การ เคลื่อน ย้าย สินค้า จาก ประเทศ หนึ่ง ไป ยัง อีก ประเทศ หนึ่ง หรือ ต้อง มี การ เคลื่อน ย้าย

สินค้า ข้าม พรมแดน ระหว่าง ประเทศ (moving goods across national borders) ดัง นั้น สัญญา ซื้อ ขาย สินค้า

Page 15: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-15

ที่ ทำ ใน ประเทศ แม้ ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย เป็น คน ต่าง ประเทศ แต่ ถ้า ไม่มี การ ส่ง สินค้า ข้าม พรมแดน ระหว่าง ประเทศ แล้ว

ย่อม ถือว่า เป็นการ ซื้อ ขาย ภายใน ประเทศ เช่น นาย จอห์น คน อเมริกัน ตกลง ซื้อ รถยนต์ จำนวน 10 คัน จาก นาย หลิว

คน จีน ใน ประเทศไทย เช่น นี้ เป็นการ ซื้อ ขาย ภายใน ประเทศ สัญญา ซื้อ ขาย จึง อยู่ ภาย ใต้ บังคับ ของ กฎหมาย ลักษณะ

ซื้อ ขาย ของ ไทย

2.ความแตกต่างระหว่างการซื้อขายระหว่างประเทศกับการซื้อขายภายในประเทศ2.1 การ ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ เป็นการ ซื้อ ขาย ที่ ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย อยู่ กัน คนละ ประเทศ ดัง นั้น จึง ต้อง มี การ

ขนส่ง สินค้า ข้าม พรมแดน จาก ประเทศ หนึ่ง ไป ยัง อีก ประเทศ หนึ่ง แต่ การ ซื้อ ขาย ภายใน ประเทศ เป็นการ ซื้อ ขาย ที่

ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย อยู่ ใน ประเทศ เดียวกัน จึง ไม่ ต้อง มี การ ขนส่ง สินค้า ข้าม พรมแดน ระหว่าง ประเทศ แต่ อย่าง ใด

2.2 การ ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ มัก ตกลง ทำการ ชำระ ราคา สินค้า เป็น เงิน สกุล ที่ ใช้ กัน ระหว่าง ประเทศ เช่น

เงิน ดอลลาร์ สหรัฐ เงิน เยน ญี่ปุ่น เงิน มาร์ ก เยอรมัน หรือ เงิน ปอนด์ อังกฤษ เป็นต้น ดัง นั้น จึง อาจ เกิด ความ เสี่ยง

ต่อ การ ผันผวน ขึ้น ลง ของ ค่า เงิน ใน ขณะ ที่ การ ซื้อ ขาย ภายใน ประเทศ คู่ สัญญา มัก ตกลง ทำการ ชำระ ราคา สินค้า

เป็น เงิน สกุล บาท จึง ไม่มี ปัญหา เรื่อง ความ เสี่ยง ต่อ การ ผันผวน ของ ค่า เงิน

2.3 การ ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ ต้อง อยู่ ภาย ใต้ บังคับ ของ กฎหมาย เฉพาะ หลาย ฉบับ ซึ่ง การ ซื้อ ขาย ภายใน

ประเทศ ไม่ ได้ อยู่ ใน บังคับ เช่น พระ ราช บัญญัติ การ ประกอบ ธุรกิจ ของ คน ต่างด้าว พ.ศ. 2542 พระ ราช บัญญัติ

ควบคุม การ แลก เปลี่ยน เงิน พ.ศ. 2485 พระ ราช บัญญัติ การ ส่ง ออก ไป นอก และ การนำ เข้า มา ใน ราช อาณาจักรซึ่ง สินค้า

พ.ศ. 2522 พระ ราช บญัญตั ิศลุกากร พ.ศ. 2469 พระ ราช บญัญตั ิสง่ เสรมิ การ ลงทนุ พ.ศ. 2520 พระ ราช บญัญตั ิมาตรฐาน

สินค้า ขา ออก พ.ศ. 2503 เป็นต้น

2.4 สินค้า ที่ ผลิต เพื่อ การ ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ อาจ ต่าง กับ สินค้า ที่ ผลิต เพื่อ การ ซื้อ ขาย ภายใน ประเทศ เช่น

รถยนต์ ที่ ผลิต ใน ประเทศไทย เพื่อ ส่ง ออก ไป ยัง ประเทศ สหรัฐอเมริกา ต้อง ผลิต ชนิด พวง มาลัย ซ้าย แต่ รถยนต์ ที่ ผลิต

เพื่อ ขาย ใน ประเทศไทย ต้อง ผลิต ชนิด พวง มาลัย ขวา เป็นต้น

3.วิธีการซื้อขายระหว่างประเทศการ ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ อาจ จำแนก ได้ เป็น 2 วิธี คือ

3.1 วิธีซื้อขายกันเป็นครั้งคราว ได้แก่ การ ซื้อ ขาย เป็น ครั้งๆ ไป ไม่ ต่อ เนื่อง เช่น บริษัท ใน ไทย ต้องการ ซื้อ

เครื่องจักร จาก บริษัท ใน ประเทศ ญี่ปุ่น เพื่อ ใช้ ใน โรงงาน ผลิต จึง สั่ง ซื้อ เครื่องจักร มา 10 ตัว เมื่อ เครื่อง ชำรุด หรือ เก่า จน

ใช้ งาน ไม่ ได้ บริษัท ได้ สั่ง เพิ่ม อีก 3 ตัว แล้ว ไม่ สั่ง ต่อ อีก เป็นต้น

3.2 วิธีซื้อขายแบบต่อเนื่อง หมาย ถึง การ ตั้ง ตัวแทน จำหน่าย สินค้า ที่ นำ มา ขาย ใน ประเทศ ผู้ ซื้อ ตัวแทน

จำหน่าย แบ่ง ได้ เป็น 2 ประเภท คือ

3.2.1ตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียว(soledistributor) หมาย ถึง ตัวแทน จำหน่าย ที่ มี สิทธิ แต่ เพียง ผู้ เดียว

ใน ช่วง ระยะ เวลา หนึ่ง และ ใน อาณาเขต ใด อาณาเขต หนึ่ง ที่ จะ จำหน่าย สินค้า ประเภท นั้น

3.2.2ตัวแทนจำหน่ายธรรมดา หมาย ถึง ตัวแทน จำหน่าย สินค้า ประเภท หนึ่ง ของ ผู้ ผลิต ที่ อยู่ นอก

ประเทศ บาง ครั้ง ตัวแทน จำหน่าย ทำ หน้าที่ จัด ซื้อ สินค้า เพื่อ ส่ง ไป ขาย ใน ต่าง ประเทศ หรือ เป็น สำนักงาน ผู้ แทน ใน การ

ให้ บริการ แก่ สำนักงาน ใหญ่ ใน ต่าง ประเทศ ใน การ จัดหา สินค้า ควบคุม การ ตรวจ สอบ คุณภาพ และ จำนวน สินค้า

Page 16: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-16 กฎหมายธุรกิจ

4.กฎหมายและข้อตกลงที่ใช้บังคับแก่สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศกฎหมาย และ ข้อ ตกลง ที่ อาจ ใช้ บังคับ แก่ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ ได้แก่

4.1 กฎหมาย ภายใน ของ คู่ สัญญา

4.2 กฎหมาย ระหว่าง ประเทศ ได้แก่ อนุสัญญา ระหว่าง ประเทศ เช่น อนุสัญญา สหประชาชาติ ว่า ด้วย

การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ (United Nations Convention on Contracts for the International Sale of

Goods: CISG)

4.3 ประเพณี การ ค้า ระหว่าง ประเทศ เช่น อิน โค เทอม (International Commercial Terms: Incoterms)

5.หลกัการพจิารณากฎหมายและขอ้กำหนดในอนิโคเทอมเพือ่ใช้บงัคบัแก่สญัญาซือ้ขายระหวา่งประเทศหลัก การ พิจารณา กฎหมาย และ ข้อ กำหนด เพื่อ ใช้ บังคับ แก่ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ แบ่ง พิเคราะห์ ได้

เป็น 2 ประการ

5.1หลักการพิจารณากฎหมายเพื่อใช้บังคับแก่สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ

5.1.1 กรณี คู่ สัญญา ตกลง เลือก กฎหมาย ไทย หรือ มิได้ ตกลง เลือก กฎหมาย ภายใน ของ ประเทศ ใด

บังคับ แก่ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ

5.1.2 กรณี คู่ สัญญา ตกลง เลือก กฎหมาย ภายใน ของ ประเทศ อื่น หรือ อนุสัญญา สหประชาชาติ ว่า ด้วย

การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ เป็น กฎหมาย บังคับ แก่ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ

5.2หลักการพิจารณาข้อกำหนดในอินโคเทอมเพื่อใช้บังคับแก่สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ

5.2.1 กรณี คู่ สัญญา แสดง เจตนา โดย ชัด แจ้ง ให้ ใช้ ข้อ กำหนด ใน อิน โค เทอม

5.2.2 กรณี คู่ สัญญา มิได้ แสดง เจตนา โดย ชัด แจ้ง ให้ ใช้ ข้อ กำหนด ใน อิน โค เทอม

6.กรณีคู่สัญญาตกลงเลือกกฎหมายไทยหรือมิได้ตกลงเลือกกฎหมายภายในของประเทศใดบังคับแก่

สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศถ้า ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย ตกลง เลือก ใช้ กฎหมาย ไทย บังคับ แก่ สัญญา ซื้อ ขาย หรือ ถ้า คู่ สัญญา ไม่ ได้ ตกลง เลือก

กฎหมาย ภายใน ของ ประเทศ ใด บังคับ แก่ สัญญา เมื่อ คดี มา สู่ การ พิจารณา ของ ศาล ถ้า ปรากฏ ว่า มี ข้อ เท็จ จริง อัน

ทำให้ เกิด องค์ ประกอบ ระหว่าง ประเทศ กล่าว คือ คู่ สัญญา มี สัญชาติ หรือ ภูมิลำเนา กัน คนละ ประเทศ ศาล ต้อง พิจารณา

ก่อน ว่า จะ ใช้ กฎหมาย ใด บังคับ แก่ สัญญา นั้น ซึ่ง ภาย ใต้ หลัก กฎหมาย ระหว่าง ประเทศ แผนก คดี บุคคล ศาล ต้อง

พิจารณา ตาม หลัก เกณฑ์ ใน พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย การ ขัด กัน แห่ง กฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 ซึ่ง บัญญัติ ว่า

“ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัย

ตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้ง หรือปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน

กฎหมายที่ใช้บังคับก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สัญญาถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติเดียวกันก็ให้ใช้กฎหมาย

แห่งท้องถิ่นที่สัญญานั้นได้ทำขึ้น

ถ้าสัญญานั้นได้ทำขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางถิ่นที่ถือว่าสัญญานั้นได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นคือ

ถิ่นที่คำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอถ้าไม่อาจหยั่งทราบถิ่นที่ว่านั้นได้ ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่จะพึงปฏิบัติตาม

สัญญานั้น”

Page 17: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-17

โดย ผล ของ มาตรา 13 แห่ง พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย การ ขัด กัน แห่ง กฎหมาย พ.ศ. 2481 นี้ สิทธิ หน้าที่ และ

ความ รับ ผิด ของ คู่ สัญญา ตาม สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ ย่อม อยู่ ภาย ใต้ กฎหมาย ของ ประเทศ ใด ประเทศ หนึ่ง ตาม

ลำดับ ดัง ต่อ ไป นี้12

(1)กฎหมายตามเจตนาของคู่สัญญา ถ้า คู่ สัญญา แสดง เจตนา ชัด แจ้ง หรือ ปริยาย เลือก กฎหมาย ไว้ ก็ ให้ ใช้

กฎหมาย ตาม เจตนา ของ คู่ สัญญา

ตัวอย่าง คู่ สัญญา ตกลง ใช้ กฎหมาย ไทย บังคับ แก่ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ กฎหมาย ที่ จะ นำ มา ใช้ บังคับ

ได้แก่ กฎหมาย ไทย

(2)กฎหมายสญัชาติอนัรว่มกนัของคู่สญัญา ถ้า คู่ สัญญา มี สัญชาติ อัน เดียวกัน และ คู่ สัญญา ไม่ ได้ แสดง เจตนา

เลือก กฎหมาย ที่ มี ผล ต่อ สัญญา เอา ไว้ ก็ ให้ ใช้ กฎหมาย สัญชาติ อัน ร่วม กัน ของ คู่ สัญญา นั้น

ตัวอย่าง คู่ สัญญา มี สัญชาติ ไทย กฎหมาย ที่ นำ มา ใช้ บังคับ แก่ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ ได้แก่

กฎหมาย ไทย แต่ ถ้า คู่ สัญญา ทั้ง คู่ มี สัญชาติ ออสเตรเลีย กฎหมาย ที่ นำ มา ใช้ บังคับ ได้แก่ กฎหมาย ออสเตรเลีย

(3)กฎหมายแหง่ถิน่ที่สญัญานัน้ได้ทำขึน้ ถ้า คู่ สัญญา ไม่มี สัญชาติ อัน เดียวกัน และ คู่ สัญญา ไม่ ได้ แสดง เจตนา

เลือก กฎหมาย ที่ มี ผล ต่อ สัญญา ไว้ ก็ ให้ ใช้ กฎหมาย แห่ง ถิ่น ที่ สัญญา นั้น ได้ ทำ ขึ้น

ตัวอย่าง คู่ สัญญา ซึ่ง มี สัญชาติ ต่าง กัน ทำ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ ใน ประเทศไทย กฎหมาย ที่ นำ มา ใช้

บังคับ แก่ สัญญา ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ นี้ ได้แก่ กฎหมาย ไทย

(4)กฎหมายแห่งถิ่นที่จะพึงปฏิบัติตามสัญญานั้น ถ้า คู่ สัญญา ไม่มี สัญชาติ เดียวกัน และ คู่ สัญญา ไม่ ได้ แสดง

เจตนา เลือก กฎหมาย ที่ มี ผล ต่อ สัญญา เอา ไว้ และ ไม่ อาจ หยั่ง ทราบ ถิ่น ที่ สัญญา นั้น ได้ ทำ ขึ้น ก็ ให้ ใช้ กฎหมาย แห่ง ถิ่น

ที่ จะ พึง ปฏิบัติ ตาม สัญญา นั้น

ตัวอย่าง คู่ สัญญา มี สัญชาติ ต่าง กัน ทำ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ ใน ที่ ใด ไม่ ปรากฏ แต่ ตกลง ส่ง มอบ สินค้า

ที่ ประเทศไทย กฎหมาย ที่ นำ มา ใช้ บังคับ แก่ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ นี้ ได้แก่ กฎหมาย ไทย

ใน กรณี ที่ คู่ สัญญา เลือก ใช้ กฎหมาย ไทย หรือ ใน กรณี ที่ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย การ ขัด กัน แห่ง กฎหมาย

พ.ศ. 2481 กำหนด ให้ นำ กฎหมาย ไทย มา ใช้ บังคับ แก่ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ กฎหมาย ที่ นำ มา ใช้ บังคับ ได้แก่

ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ ซื้อ ขาย ซึ่ง พิจารณา ได้ ดังนี้

6.1ลักษณะสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศตามกฎหมายไทย

6.1.1 การก่อให้เกิดสัญญา สัญญา เกิด ขึ้น เมื่อ มี คำ เสนอ และ คำ สนอง ถูก ต้อง ตรง กัน “ คำ เสน อ”

หมาย ถึง การ แสดง เจตนา ผูกพัน ตน เข้า ทำ สัญญา ส่วน า คำ สน องำ เป็นการ แสดง เจตนา รับคำ เสนอ เมื่อ คำ เสนอ และ

คำ สนอง ถูก ต้อง ตรง กัน สัญญา จึง เกิด ขึ้น อย่างไร ก็ตาม สัญญา เกิด ขึ้น ต่อ เมื่อ มี การ ตกลง กัน ใน ประเด็น ที่ เป็น

สาระ สำคัญ ทั้งหมด แล้ว เช่น ข้อ ตกลง ใน เรื่อง ราคา หรือ ใน เรื่อง ข้อ สัญญา ใน การ ซื้อ ขาย แต่ ถ้า ไม่ใช่ เป็น ประเด็น ที่ เป็น

สาระ สำคัญ เช่น ข้อ ตกลง ใน การ ตรวจ สอบ คุณภาพ ของ สินค้า จะ ไม่มี ผล ต่อ การ เกิด ของ สัญญา

6.1.2แบบของสัญญา ป.พ.พ. มาตรา 456 บัญญัติ ว่า

“การซือ้ขายอสงัหารมิทรพัย์ถา้มไิด้ทำเปน็หนงัสอืและจดทะเบยีนตอ่พนกังานเจา้หนา้ที่เปน็โมฆะวธิีนี้

ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไปทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สญัญาจะขายหรอืจะซือ้คำมัน่ในการซือ้ขายทรพัยส์นิตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึง่ถา้มไิด้มีหลกัฐานเปน็

หนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้รับผิดเป็นสำคัญหรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะ

ฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่

12 อย่างไรก็ตาม ขอให้สังเกตว่าการที่ศาลจะพิจารณาหลักกฎหมายขัดกันนี้ ต้องปรากฏว่าคู่ความได้ยกประเด็นกฎหมายขัดกันขึ้นมาเ

ถียงกันในคดี มิฉะนั้นศาลไทยจะพิจารณาคดีโดยไม่คำนึงถึงองค์ประกอบระหว่างประเทศแต่อย่างใ¥

Page 18: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-18 กฎหมายธุรกิจ

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคา

สองหมื่นบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย”

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 การ ซื้อ ขาย อสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ พิเศษ เช่น เรือ บาง ชนิด และ

สัตว์ พาหนะ เท่านั้น ที่ ต้อง ทำ ตาม แบบ คือ ทำ เป็น หนังสือ และ จด ทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้า หน้าที่ มิ ฉะนั้น เป็น โมฆะ

ส่วน การ ซื้อ ขาย สังหาริมทรัพย์ อื่นๆ โดย ทั่วไป ไม่ ต้อง ทำ ตาม แบบ แต่ ตาม วรรค ท้าย ของ มาตรา 456 นี้ ถ้า เป็น

การ ซื้อ ขาย สังหาริมทรัพย์ ที่ ราคา 20,000 บาท ขึ้น ไป ต้อง มี หลัก ฐาน เป็น หนังสือ ลง ลายมือ ชื่อ ฝ่าย ที่ ต้อง รับ ผิด เป็น

สำคัญ หรือ มี การ วาง มัดจำ หรือ ชำระ หนี้ บาง ส่วน แล้ว จึง จะ ฟ้อง ร้อง บังคับ คดี ได้

การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ ปัจจุบัน นิยม ใช้ ติดต่อ กัน ทาง โทรพิมพ์ หรือ โทรสาร ซึ่ง แม้ จะ เป็น

หลัก ฐาน เป็น หนังสือ แต่ ต้อง มี การ ลง ลายมือ ชื่อ ฝ่าย ที่ ต้อง รับ ผิด ด้วย มิ ฉะนั้น จะ ฟ้อง ร้อง บังคับ คดี ไม่ ได้

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 3046/2537 โจทก์ และ จำเลย โทรพิมพ์ ติดต่อ ซื้อ ขาย ข้าว นึ่ง ต่อ กัน ดังนี้ สัญญา

ซื้อ ขาย ได้ เกิด ขึ้น แล้ว เมื่อ การ เจรจา ยุติ ลง ตาม โทรพิมพ์ ดัง กล่าว แต่ ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค สอง กำหนด ว่า

สัญญา ซื้อ ขาย สังหาริมทรัพย์ ซึ่ง ตกลง กัน มี ราคา ห้า ร้อย บาท (ปัจจุบัน แก้ไข เป็น สอง หมื่น บาท) หรือ กว่า นั้น ขึ้น ไป

สัญญา จะ ซื้อ จะ ขาย คำมั่น ใน การ ขาย ทรัพย์ ที่ มี ราคา ห้า ร้อย บาท (ปัจจุบัน แก้ไข เป็น สอง หมื่น บาท) หรือ กว่า นั้น ขึ้น ไป

ต้อง มี หลัก ฐาน เป็น หนังสือ ลง ลายมือ ชื่อ ฝ่าย ผู้ ต้อง รับ ผิด ด้วย หรือ ได้ วาง ประจำ ไว้ หรือ ได้ ชำระ หนี้ บาง ส่วน แล้ว จึง จะ

ฟ้อง ร้อง บังคับ คดี ได้ ฉะนั้น แม้ จำเลย จะ ไม่ สามารถ จัด ส่ง ข้าว นึ่ง ให้ โจทก์ ได้ แต่ เมื่อ ไม่ ปรากฏ หลัก ฐาน การ ชำระ หนี้

บาง ส่วน หรือ การ วาง มัดจำ หรือ ลายมือ ชื่อ ของ จำเลย ที่ ต้อง รับ ผิด แล้ว โจทก์ จึง ไม่ สามารถ ฟ้อง ร้อง ให้ บังคับ คดี ได้

6.2การโอนกรรมสิทธิ์และความเสี่ยงภัย ป.พ.พ. มาตรา 453 กำหนด ให้ ผู้ ขาย มีหน้า ที่ โอน กรรมสิทธิ์ และ

ส่ง มอบ ทรัพย์สิน ให้ แก่ ผู้ ซื้อ และ ผู้ ซื้อ มีหน้า ที่ ชำระ ราคา ให้ แก่ ผู้ ขาย ซึ่ง แยก พิจารณา ดังนี้

6.2.1 กรณีสินค้าเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง ป.พ.พ. มาตรา 458 กำหนด ให้ กรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์ เฉพาะ สิ่ง

หรือ ทรัพย์ ที่ มี การ ระบุ ตัว ทรัพย์ ไว้ แน่นอน แล้ว จะ โอน ไป ยัง ผู้ ซื้อ เมื่อ มี การ ทำ สัญญา ซื้อ ขาย เสร็จ เด็ด ขาด13 และ

มาตรา 370 กำหนด ว่า ถ้า สัญญา ต่าง ตอบแทน มี วัตถุ ที่ ประสงค์ เป็นการ ก่อ ให้ เกิด หรือ โอน ทรัพย สิทธิ ใน ทรัพย์ เฉพาะ

สิ่ง และ ทรัพย์ นั้น สูญหาย หรือ เสีย หาย ไป ด้วย เหตุ อย่าง ใด อย่าง หนึ่ง อัน จะ โทษ ลูก หนี้ หรือ ผู้ ขาย ไม่ ได้ การ สูญหาย หรือ

เสีย หาย ตก เป็น พับ แก่ เจ้า หนี้ หรือ ผู้ ซื้อ

บทบญัญตั ิทัง้ สอง มาตรา ขา้ง ตน้ หมายความ วา่ กรรมสทิธิ ์ใน ตวั สนิคา้ โอน จาก ผู ้ขาย ไป เปน็ ของ ผู ้ซือ้ ทนัท ี

เมื่อ ได้ ทำ สัญญา ซื้อ ขาย สินค้า ที่ มี การ ระบุ ตัว ทรัพย์ แน่นอน แล้ว แม้ ยัง ไม่มี การ ชำระ ราคา ก็ตาม หลัง จาก นั้น ถ้า มี ความ

สูญ เสีย หรือ เสีย หาย เกิด ขึ้น กับ ตัว สินค้า โดย ไม่ใช่ ความ ผิด ของ ผู้ ขาย ผู้ ซื้อ ซึ่ง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า ก็ ต้อง รับ

เคราะห์ ใน ความ สูญ เสีย หรือ ความ เสีย หาย ที่ เกิด ขึ้น กับ สินค้า นั้น โดย ยัง ต้อง ชำระ ราคา สินค้า ให้ กับ ผู้ ขาย แม้ สินค้า นั้น

ได้ สูญหาย หรือ เสีย หาย ไป แล้ว ก็ตาม

6.2.2กรณีสินค้ายังไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง ป.พ.พ. มาตรา 460 กำหนด ใน กรณี การ ซื้อ ขาย ทรัพย์สิน

ซึ่ง มิได้ กำหนด ลง ไว้ แน่นอน นั้น กรรมสิทธิ์ ยัง ไม่ โอน ไป จนกว่า จะ ได้ หมาย หรือ นับ ชั่ง ตวง วัด หรือ คัด เลือก หรือ

ทำ โดย วิธี อื่น เพื่อ ให้ บ่ง ตัว ทรัพย์สิน นั้น ออก เป็น แน่นอน แล้ว และ มาตรา 372 กำหนด ว่า ใน กรณี ซื้อ ขาย สินค้า

ซึ่ง มิได้ บ่ง ตัว ทรัพย์ ไว้ แน่นอน หาก การ ชำระ หนี้ ตก เป็น พ้น วิสัย เพราะ เหตุ อย่าง ใด อย่าง หนึ่ง อัน จะ โทษ ฝ่าย หนึ่ง

ฝ่าย ใด ไม่ ได้ ผู้ ขาย ก็ ไม่มี สิทธิ จะ ได้ รับ ชำระ หนี้ ตอบแทน

13 ป.พ.พ. มาตรา 458

Page 19: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-19

บทบัญญัติ ทั้ง สาม มาตรา ข้าง ต้น หมายความ ว่า หาก ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย ยัง ไม่ ได้ กำหนด ตัว สินค้า แน่นอน

ว่า ตกลง ซื้อ ขาย สินค้า ชิ้น ใด กรรมสิทธิ์ ใน ตัว สินค้า จะ ยัง ไม่ โอน ไป เป็น ของ ผู้ ซื้อ ผู้ ขาย ยัง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน

ตัว สินค้า อยู่ หาก สินค้า เกิด ความ สูญ เสีย หรือ เสีย หาย ใน ระหว่าง นั้น ผู้ ขาย ซึ่ง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ตัว สินค้า จึง ต้อง

รับ เคราะห์ ใน ความ สูญ เสีย หรือ เสีย หาย ที่ เกิด ขึ้น กับ สินค้า นั้น โดย ไม่มี สิทธิ เรียก ให้ ผู้ ซื้อ ชำระ ราคา แม้ รับ ชำระ ราคา

หรือ มัดจำ ไว้ แล้ว ก็ จำ ต้อง คืนให้ แก่ ผู้ ซื้อ

ดัง นั้น จึง สรุป ได้ ว่า ตาม กฎหมาย ไทย กรรมสิทธิ์ กับ ความ เสี่ยง ภัย ย่อม โอน ไป พร้อม กัน

6.3หน้าที่ของผู้ขายและผู้ซื้อ

6.3.1หน้าที่ของผู้ขาย ตาม ป.พ.พ. ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ต้อง ส่ง มอบ สินค้า ให้ แก่ ผู้ ซื้อ14 โดย การ ส่ง มอบ

นั้น ทำ อย่างไร ก็ได้ ให้ สินค้า นั้น ไป อยู่ ใน เงื้อม มือ ของ ผู้ ซื้อ15 โดย ถ้า สัญญา กำหนด ให้ ส่ง สินค้า นั้น ไป ยัง ที่ แห่ง หนึ่ง

ผู้ ขาย ต้อง ส่ง มอบ สินค้า นั้น ให้ กับ ผู้ ขนส่ง16

6.3.2หน้าที่ของผู้ซื้อ ตาม ป.พ.พ. ผู้ ซื้อ มีหน้า ที่ สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ หน้าที่ ใน การ รับ มอบ

สินค้า17และ หน้าที่ ใน การ ชำระ ราคา18

6.3.3กรณีผู้ซื้อผิดสัญญา

1) ถ้า ผู้ ซื้อ ไม่ ชำระ ราคา หรือ ไม่ ยอมรับ มอบ สินค้า โดย ไม่มี เหตุ อัน สมควร ถือว่า ผู้ ซื้อ ผิด สัญญา

ผู้ ขาย ย่อม มี สิทธิ ฟ้อง บังคับ ให้ ใช้ ราคา สินค้า หรือ ค่า สินไหม ทดแทน หรือ จะ บอก เลิก สัญญา และ ให้ ใช้ ค่า สินไหม

ทดแทน ก็ได้19

2) ผู้ ขาย มี สิทธิ ยึด หน่วง สินค้า ไว้ จนกว่า ผู้ ซื้อ จะ ได้ ชำระ ราคา20 แต่ สิทธิ ยึด หน่วง ของ ผู้ ขาย นี้ จะ

หมด ไป เมื่อ ผู้ ขายขาด การ ครอบ ครอง สินค้า แล้ว เช่น ผู้ ขาย ได้ ส่ง มอบ สินค้า ให้ แก่ ผู้ ซื้อ หรือ ผู้ ขนส่ง แล้ว สิทธิ ยึด หน่วง

ย่อม หมด ไป21

6.3.4กรณีผู้ขายผิดสัญญา

1) ถ้า ผู้ ขาย ไม่ ส่ง มอบ สินค้า โดย ไม่มี เหตุ อัน สมควร ถือว่า ผู้ ขาย ผิด สัญญา ผู้ ซื้อ ย่อม มี สิทธิ ฟ้อง

บังคับ ให้ ส่ง มอบ สินค้า และ เรียก ค่า สินไหม ทดแทน ได้22

2) ถ้า ผู้ ขายส่ง มอบ สินค้า ที่ ชำรุด บกพร่อง หรือ ผู้ ซื้อ ถูก บุคคล ภายนอก มา ก่อการ รบกวน ขัด สิทธิ

โดย ความ ผิด ของ ผู้ ขาย ผู้ ขาย จะ ต้อง รับ ผิด ใน ความ ชำรุด บกพร่อง และ การ รอน สิทธิ นั้น23 โดย ผู้ ซื้อ ชอบ ที่ จะ ยึด หน่วง

ราคา ที่ ยัง ไม่ ได้ ชำระ ไว้ ได้ ทั้งหมด หรือ บาง ส่วน เว้น แต่ ผู้ ขาย จะ หา ประกัน ที่ สมควร ให้24

14 ป.พ.พ. มาตรา 46115 ป.พ.พ. มาตรา 46216 ป.พ.พ. มาตรา 46317 ป.พ.พ. มาตรา 48618 ป.พ.พ. มาตรา 453 และ มาตรา 48619 ป.พ.พ. มาตรา 20720 ป.พ.พ. มาตรา 46821 กรณีมีปัญหาใน ป.พ.พ. มาตรา 626 ที่กำหนดให้ผู้ขายในกรณีผู้ขายเป็นผู้ส่งสั่งให้ผู้ขนส่งงดการส่งของนั้น หรือให้ส่งกลับคืนมาได

ซึ่งเมื่อสินค้ากลับคืนมายังผู้ขายแล้ว ผู้ขายจะใช้สิทธิอะไรในการครอบครองสินค้านั้น เพราะสิทธิยึดหน่วงหมดไป และกรรมสิทธิ์ในสินค้าได้โอน

ไปยังผู้ซื้อในขณะที่ทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 458 แล้ว22 ป.พ.พ. มาตรา 21323 ป.พ.พ. มาตรา 472 และมาตรา 475 24 ป.พ.พ. มาตรา 488

Page 20: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-20 กฎหมายธุรกิจ

7.กรณีคู่สญัญาตกลงเลอืกใช้กฎหมายภายในของประเทศอืน่หรอือนสุญัญาสหประชาชาติวา่ดว้ยการซือ้

ขายสินค้าระหว่างประเทศเป็นกฎหมายบังคับแก่สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศพระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย การ ขัด กัน ของ กฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 บัญญัติ ให้ การ ใช้ กฎหมาย บังคับ

แก่ สาระ สำคัญ และ ผล แห่ง สัญญา ให้ เป็น ไป ตาม เจตนา ของ คู่ กรณี ซึ่ง เห็น ได้ ว่า กฎหมาย ไทย ยอมรับ หลัก การ เลือก

กฎหมาย บังคับ แก่ สัญญา (choice of law) ดัง นั้น ถ้า คู่ สัญญา ตกลง เลือก ใช้ กฎหมาย ภายใน ของ ประเทศ อื่น

นอกจาก กฎหมาย ไทย มา ใช้ บังคับ แก่ สัญญา กฎหมาย ที่ นำ มา ใช้ ก็ ย่อม เป็น กฎหมาย ต่าง ประเทศ หรือ คู่ สัญญา อาจ

ตกลง เลือก ใช้ อนุสัญญา สหประชาชาติ ว่า ด้วย การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ มา ใช้ บังคับ แก่ สัญญา ก็ได้ ใน กรณี

ดัง กล่าว อาจ แบ่ง พิจารณา ได้ 2 ประการ ดังนี้

7.1 กรณีคู่สัญญาตกลงเลือกใช้กฎหมายภายในของประเทศอื่นนอกจากกฎหมายไทยบังคับแก่สัญญา

ซือ้ขายระหวา่งประเทศ ลักษณะ และ สาระ สำคัญ ของ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ การ โอน กรรมสิทธิ์ และ ความ เสี่ยง

ภัย ตลอด จน สิทธิ หน้าที่ ของ คู่ สัญญา ย่อม เป็น ไป ตาม หลัก แห่ง กฎหมาย ของ ประเทศ ที่ คู่ สัญญา ได้ ตกลง กัน แต่ คู่ สัญญา

ที่ กล่าว อ้าง ความ มี อยู่ ของ กฎหมาย นั้น จะ ต้อง นำสืบ กฎหมาย ต่าง ประเทศ นั้น ใน ฐาน เป็น ข้อ เท็จ จริง

7.2กรณีคู่สญัญาตกลงเลอืกใช้อนสุญัญาสหประชาชาติวา่ดว้ยการซือ้ขายสนิคา้ระหวา่งประเทศเปน็กฎหมาย

บังคับแก่สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ

7.2.1 ลักษณะสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการซื้อขายสินค้า

ระหว่างประเทศ

1)การก่อให้เกิดสัญญา อนุสัญญา สหประชาชาติ ว่า ด้วย การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ ได้

กำหนด เรื่อง คำ เสนอ และ คำ สนอง ไว้ ใน ข้อ ที่ 14 ถึง ข้อ ที่ 24 โดย ถือว่า คำ สนอง ใน กรณี ที่ คู่ สัญญา มิได้ อยู่ เฉพาะ หน้า มี

ผล เมื่อ ไป ถึง ผู้ เสนอ

2)แบบของสัญญา อนุสัญญา สหประชาชาติ ว่า ด้วย การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ ข้อ ที่ 11

กำหนด ว่า สัญญา ซื้อ ขาย ไม่ จำเป็น ต้อง มี หลัก ฐาน เป็น หนังสือ ไม่มี แบบ อาจ พิสูจน์ โดย วิธี ใด ก็ได้ รวม ทั้ง พยาน บุคคล

ดัง นั้น ตาม อนุสัญญา สหประชาชาติ ว่า ด้วย การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ อาจ

ตกลง กัน ด้วย วาจา ก็ได้

7.2.2การโอนกรรมสิทธิ์และความเสี่ยงภัย อนุสัญญา สหประชาชาติ ว่า ด้วย การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง

ประเทศ ไม่ ได้ กล่าว ถึง การ โอน กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า แต่ ประการ ใด ดัง นั้น การ โอน กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า ย่อม อยู่

ภายใน บังคับ แห่ง บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ภายใน ที่ บังคับ แก่ สัญญา นั้น

สว่น ใน กรณ ีของ ความ เสีย่ง ภยั อนสุญัญา สหประชาชาติ วา่ ดว้ย การ ซือ้ ขาย สนิคา้ ระหวา่ง ประเทศ ยดึ หลกั

ความ เสี่ยง ภัย โอน จาก ผู้ ขาย ไป ยัง ผู้ ซื้อ เมื่อ ได้ มี การ ส่ง มอบ สินค้า เว้น แต่ ใน กรณี การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ทาง (goods

in transit) ถือว่า ความ เสี่ยง ภัย ใน สินค้า โอน เมื่อ มี การ ตกลง ทำ สัญญา

7.2.3หน้าที่ของผู้ขายและผู้ซื้อ

1)หน้าที่ของผู้ขาย ตาม อนุสัญญา สหประชาชาติ ว่า ด้วย การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ

ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ต้อง ส่ง มอบ สินค้า พร้อม ทั้ง เอกสาร ที่ เกี่ยวข้อง และ โอน กรรมสิทธิ์ ให้ แก่ ผู้ ซื้อ25 โดย ถ้า สัญญา กำหนด

ให้ ขนส่ง สินค้า นั้น ไป ยัง ที่ แห่ง หนึ่ง ผู้ ขาย ต้อง ส่ง มอบ สินค้า นั้น ให้ กับ ผู้ ขนส่ง ราย แรก (first carrier) เพื่อ ขนส่ง ไป ยัง

ผู้ ซื้อ แต่ ถ้า เป็น กรณี อื่น ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ส่ง มอบ สินค้า นั้น ไป อยู่ ใน เงื้อม มือ ของ ผู้ ซื้อ ณ สถาน ที่ ประกอบ ธุรกิจ ของ ผู้ ขาย

ใน เวลา ซึ่ง ตกลง ทำ สัญญา ซื้อ ขาย26

25 อนุสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ข้อ 3026 อนุสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ข้อ 31

Page 21: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-21

2)หน้าที่ของผู้ซื้อ ตาม อนุสัญญา สหประชาชาติ ว่า ด้วย การ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ ผู้ ซื้อ

มีหน้า ที่ ที่ สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ หน้าที่ ใน การ รับ มอบ สินค้า ตาม ข้อ ที่ 53 ถึง ข้อ ที่ 5927 และ หน้าที่ ใน การ ชำระ ราคา

ตาม ข้อ ที่ 6028

3)กรณีผู้ซื้อผิดสัญญา

ก. ถ้า ผู้ ซื้อ ไม่ ชำระ ราคา หรือ ไม่ ยอมรับ มอบ สินค้า โดย ไม่มี เหตุ อัน สมควร ถือว่า ผู้ ซื้อ

ผิด สัญญา ผู้ ขาย ย่อม มี สิทธิ ฟ้อง บังคับ ให้ ใช้ ราคา สินค้า หรือ ให้ ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน หรือ จะ บอก เลิก สัญญา และ ให้ ใช้

ค่า สินไหม ทดแทน ก็ได้

ข. ผู้ ขาย มี สิทธิ ยึด หน่วง สินค้า ไว้ จนกว่า ผู้ ซื้อ จะ ได้ ชำระ ราคา

4)กรณีผู้ขายผิดสัญญา

ก. ถ้า ผู้ ขาย ไม่ ส่ง มอบ สินค้า โดย ไม่มี เหตุ อัน สมควร ถือว่า ผู้ ขาย ผิด สัญญา ผู้ ซื้อ ย่อม มี สิทธ ิ

ฟ้อง บังคับ ให้ ส่ง มอบ สินค้า และ เรียก ค่า สินไหม ทดแทน ได้

ข. ถ้า ผู้ ขายส่ง มอบ สินค้า ที่ ชำรุด บกพร่อง หรือ ผู้ ซื้อ ถูก บุคคล ภายนอก มา ก่อการ รบกวน

ขัด สิทธิ โดย ความ ผิด ของ ผู้ ขาย ผู้ ขาย จะ ต้อง รับ ผิด ใน ความ ชำรุด บกพร่อง และ การ รอน สิทธิ นั้น โดย ผู้ ซื้อ ชอบ ที่ จะ ยึด

หน่วง ราคา ที่ ยัง ไม่ ได้ ชำระ ไว้ ได้ ทั้งหมด หรือ บาง ส่วน เว้น แต่ ผู้ ขาย จะ หา ประกัน ที่ สมควร ให้

8.กรณีคู่สัญญาแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งให้ใช้ข้อกำหนดในอินโคเทอม8.1 ความหมายของอินโคเทอม อิน โค เทอม เป็น กฎ ระเบียบ เกี่ยว กับ การ ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ ไม่ใช่

กฎหมาย จัด ทำ โดย หอการค้า นานาชาติ (International Chamber of Commerce: ICC) ซึ่ง เป็น องค์กร เอกชน ไม่ใช่

องค์กร หรือ หน่วย งาน ของ สหประชาชาติ

นอกจาก อิน โค เทอม แล้ว หอการค้า นานาชาติ ยัง ร่าง กฎ ระเบียบ อีก หลาย ฉบับ เช่น กฎ ระเบียบ ที่ ว่า ด้วย การ

เรียก เก็บ เงิน ตาม ตั๋ว แลก เงิน ของ ธนาคาร (Uniform Bill for Collection) และ กฎ ระเบียบ เกี่ยว กับ การ ชำระ เงิน โดย

เลต เตอร์ ออฟ เครดิต (Uniform Customs and Practice for Documentary Credits: UCP)

ปัจจุบัน อิน โค เทอม ค.ศ. 1990 มี อยู่ ทั้ง สิ้น 13 เทอม (term) ซึ่ง อาจ แบ่ง ได้ เป็น 4 หมวด ได้แก่

8.1.1 กลุ่มE เป็นก ลุ่ม ที่ ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ส่ง มอบ สินค้า ณ สถาน ที่ทำการ ของ ผู้ ขาย ซึ่ง มี อยู่ คำ เดียว

คือ ex works (EXW) ซึ่ง หมาย ถึง สัญญา ซื้อ ขาย ที่ ผู้ ซื้อ มีหน้า ที่มา รับ สินค้า ณ โรงงาน หรือ สถาน ประกอบ การ ค้า ของ

ผู้ ขาย โดย ผู้ ขาย มีหน้า ที่ จัด เตรียม สินค้า ให้ พร้อม เพื่อ ให้ ผู้ ซื้อ มา รับ มอบ ความ เสี่ยง ภัย หรือ บาป เคราะห์ ใน ตัว สินค้า

ย่อม โอน จาก ผู้ ขาย ไป ยัง ผู้ ซื้อ เมื่อ ผู้ ซื้อ รับ มอบ สินค้า ไป ดัง นั้น จึง เป็น สัญญา ซื้อ ขาย ที่ กำหนด ราคา สินค้า หน้า โรงงาน

หรือ ณ แหล่ง ผลิต

8.1.2กลุ่มF เป็นก ลุ่ม ที่ ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ต้อง นำ สินค้า ไป ส่ง ที่ จุด ใด จุด หนึ่ง หรือ ส่ง ลง เรือ คำ ใน กลุ่ม นี้ มี

ด้วย กัน 3 คำ ดังนี้

free carrier (FCA) หมาย ถึง สัญญา ซื้อ ขาย ที่ กำหนด ให้ ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ขน สินค้า ไป ส่ง ให้ อยู่ ใน ความ

ครอบ ครอง ของ ผู้ ขนส่ง ณ จุด ที่ กำหนด ความ เสี่ยง ภัย หรือ บาป เคราะห์ ใน ตัว สินค้า ย่อม โอน จาก ผู้ ขาย ไป ยัง ผู้ ซื้อ เมื่อ

ผู้ ขายส่ง มอบ สินค้า ให้ แก่ ผู้ ขนส่ง การ ซื้อ ขาย เทอม นี้ ใช้ บ่อย ที่สุด สำหรับ การ ขนส่ง ทาง คอนเทนเนอร์

27 อนุสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ข้อ 53-5928 อนุสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ข้อ 60

Page 22: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-22 กฎหมายธุรกิจ

free along side (FAS) หมาย ถึง สัญญา ซื้อ ขาย ที่ กำหนด ให้ ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ขน สินค้า ไป เทียบ ข้าง เรือ

เพื่อ ขน สินค้า ขึ้น เรือ ความ เสี่ยง ภัย หรือ บาป เคราะห์ ใน ตัว สินค้า ย่อม โอน จาก ผู้ ขาย ไป ยัง ผู้ ซื้อ เมื่อ ผู้ ขาย ขน สินค้า ไป

เทียบ ข้าง เรือ เพื่อ ขน สินค้า ขึ้น เรือ

free on board (FOB) หมาย ถึง สัญญา ซื้อ ขาย ที่ ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ขน สินค้า ขึ้น เรือ ที่ ผู้ ซื้อ กำหนด ณ ท่าเรือ

ที่ กำหนด ดัง นั้น จึง เป็น สัญญา ซื้อ ขาย ที่ กำหนด ราคา สินค้า รวม ทั้ง ค่า ใช้ จ่าย ต่างๆ ใน การ ขน สินค้า ขึ้น เรือ ความ เสี่ยง ภัย

หรือ บาป เคราะห์ ใน ตัว สินค้า ย่อม โอน จาก ผู้ ขาย ไป ยัง ผู้ ซื้อ เมื่อ ผู้ ขาย ขน สินค้า พ้น กราบ เรือ หรือ นำ สินค้า ขึ้น เรือ ที่

ผู้ ซื้อ กำหนด ณ ท่าเรือ ที่ กำหนด

8.1.3 กลุ่มC เป็นก ลุ่ม ที่ ผู้ ขาย นอกจาก จะ มีหน้า ที่ ต้อง นำ สินค้า ไป ส่ง ที่ จุด ใด จุด หนึ่ง หรือ ส่ง ลง เรือ

เหมือน กับ กลุ่ม F ผู้ ขาย ยัง มีหน้า ที่ อื่น เพิ่ม ขึ้น ด้วย เช่น ผู้ ขาย ต้อง ทำ สัญญา รับ ขน หรือ สัญญา ประกัน ภัย คำ ใน กลุ่ม C

มี ทั้ง สิ้น 4 คำ ดังนี้

cost, insurance and freight (CIF) หมาย ถึง สัญญา ซื้อ ขาย ที่ ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ขน สินค้า ลง เรือ

โดย ผู้ ขาย ต้อง ทำ สัญญา รับ ขน และ ทำ สัญญา ประกัน ภัย สินค้า ด้วย ดัง นั้น สัญญา ซื้อ ขาย ตาม เทอม นี้ จึง มี การ กำหนด

ราคา สินค้า รวม ค่า ระวาง ขนส่ง สินค้า (freight) และ ค่า ประกัน ภัย (marine insurance) ไว้ ด้วย

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 1463/2508 สัญญา แบบ ซี.ไอ.เอฟ. เป็น สัญญา ซื้อ ขาย ที่ ระบุ ราคา สินค้า

โดย คิด รวม ค่า ระวาง บรรทุก และ ค่า ประกัน ภัย ไว้ ด้วย เมื่อ โจทก์ ผู้ ขาย อ้าง ว่า มี ข้อ สัญญา กัน เป็น พิเศษ ให้ ผู้ ซื้อ เป็น

ผู้ เสีย ค่า ระวาง บรรทุก แต่ จำเลย ปฏิเสธ เช่น นี้ ถือว่า โจทก์ เป็น ผู้ กล่าว อ้าง จึง เป็น หน้าที่ ของ โจทก์ ที่ จะ ต้อง นำสืบ

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 2061/2520 ซื้อ กำมะถัน ซึ่ง ต้อง ขน จาก ต่าง ประเทศ มายัง ประเทศไทย

การ ส่ง มอบ สำเร็จ เมื่อ ส่ง มอบ แก่ ผู้ ขนส่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 463 สัญญา ซื้อ ขาย ที่ ว่า ซี.ไอ.เอฟ. บางกอก ฟรี เอ้ าท์

หมายความ ว่า ผู้ ขาย รับ ผิด จนถึง เวลา ที่ สินค้า ผ่าน พ้น กราบ เรือ ที่ ท่าเรือ ต้นทาง ไม่ใช่ ท่าเรือ ใน กรุงเทพ

carriage and insurance paid to (named point of destination) (CIP) หมาย ถึง สัญญา

ซื้อ ขาย ที่ ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ขนส่ง สินค้า จนถึง สถาน ที่ ที่ กำหนด ใน สัญญา โดย ผู้ ขาย ต้อง จัดหา พาหนะ และ ทำ สัญญา

ประกัน ภัย สินค้า ด้วย เป็น สัญญา ที่ มี รูป แบบ ตาม สัญญา CIF

cost and freight (CFR) หมาย ถึง สัญญา ซื้อ ขาย ที่ ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ขน สินค้า ลง เรือ โดย ผู้ ขาย ต้อง

ทำ สัญญา รับ ขน ด้วย แต่ ผู้ ขาย ไม่ ต้อง ทำ สัญญา ประกัน ภัย สินค้า ดัง นั้น สัญญา ซื้อ ขาย ตาม เทอม นี้ จึง มี การ กำหนด ราคา

สินค้า รวม เฉพาะ ค่า ระวาง ขนส่ง สินค้า จนถึง ปลาย ทาง แต่ ไม่ รวม การ ประกัน ภัย สินค้า

carriage paid to (named point of destination) (CPT) หมาย ถึง สัญญา ซื้อ ขาย ที่ ผู้ ขาย มีหน้า

ที่ ส่ง สินค้า ไป ยัง สถาน ที่ ที่ กำหนด แต่ ไม่ ต้อง ทำ สัญญา ประกัน ภัย เป็น สัญญา ซื้อ ขาย ที่ มี ลักษณะ เช่น เดียว กับ CFR

8.1.4กลุ่มD ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ต้อง นำ สินค้า ไป ส่ง จนถึง ปลาย ทาง จะ เป็น ท่าเรือ ปลาย ทาง ท่า รถ ปลาย

ทาง หรือ สถาน ที่ ใด ก็ แล้ว แต่ ตาม ที่ ได้ ระบุ ไว้ ใน สัญญา โดย ผู้ ขาย ต้อง รับ ภาระ ค่า ใช้ จ่าย และ ความ เสี่ยง ภัย ของ สินค้า

จนถึง ปลาย ทาง อิน โค เทอม ใน กลุ่ม D นี้ มี ทั้ง สิ้น 5 เทอม ดังนี้

delivered at frontier (DAF) หมาย ถึง สัญญา ซื้อ ขาย ที่ จัด ส่ง สินค้า ให้ แก่ ผู้ ซื้อ ณ ชายแดน ที่

กำหนด โดย รับ ภาระ ค่า ภาษี และ จัด ทำ ใบ อนุญาต ส่ง ออก มัก ใช้ กับ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ ที่ ขนส่ง ทาง บก

delivered ex ship (DES) หมาย ถึง สัญญา ซื้อ ขาย ที่ ผู้ ขาย มีหน้า ที่ จัด ส่ง สินค้า แก่ ผู้ ซื้อ ณ

ท่าเรือ ที่ ตาม ปกติ ใช้ สำหรับ การ ขนส่ง สินค้า

delivered ex quay (DEQ) หมาย ถึง สัญญา ซื้อ ขาย ที่ ผู้ ขาย มีหน้า ที่ จัด ส่ง สินค้า แก่ ผู้ ซื้อ ณ ท่าเรือ

ที่ ตาม ปกติ ใช้ สำหรับ การ ขนส่ง สินค้า และ รับ ภาระ ค่า ใช้ จ่าย เกี่ยว กับ การนำ สินค้า เข้า รวม ทั้ง ค่า ภาษี ขา เข้า

Page 23: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-23

delivered duty paid (DDP) หมาย ถึง สัญญา ซื้อ ขาย ที่ ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ขนส่ง สินค้า แล้ว ส่ง มอบ

ให้ แก่ ผู้ ซื้อ ณ ที่ อยู่ ของ ผู้ ซื้อ และ ต้อง รับ ภาระ ความ เสี่ยง ใน ตัว สินค้า รวม ทั้ง ค่า ใช้ จ่าย เกี่ยว กับ การขนส่ง ตลอด จน

ค่า ภาษี นำ เข้า ค่า ขนส่ง ทาง บก ใน ประเทศ ของ ผู้ ซื้อ และ การ จัดหา ใบ อนุญาต นำ เข้า ด้วย สัญญา ตาม เทอม นี้ จึง เป็น ที่

นิยม ของ ผู้ ซื้อ

delivered duty unpaid (DDU) หมาย ถึง สัญญา ซื้อ ขาย ที่ ผู้ ขาย มีหน้า ที่ เหมือน กับ ผู้ ขาย ตาม

สัญญา ซื้อ ขาย เทอม DDP ยกเว้น หน้าที่ ใน การ จัดการ นำ สินค้า เข้า เป็น ของ ผู้ ซื้อ

8.2 ผลแห่งข้อตกลงให้ใช้ข้อกำหนดในอินโคเทอม การ ที่ ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย แสดง เจตนา โดย ชัด แจ้ง ให้ ใช้

ข้อ กำหนด ใน อิน โค เทอม มี ผล ทำให้ ข้อ กำหนด ใน อิน โค เทอม เป็น ส่วน หนึ่ง ของ สัญญา ซื้อ ขาย ถือว่า เงื่อนไข การนำ

อิน โค เทอม มา ใช้ ใน สัญญา นั้น ใช้ได้ เพราะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 151 บัญญัติ ว่า

“ข้อตกลงที่ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายถ้ามิใช่กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและ

ศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วถือว่าใช้บังคับได้”

อิน โค เทอม ไม่ ได้ กำหนด ถึง คำ เสนอ และ คำ สนอง ใน การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ซื้อ ขาย แบบ ของ สัญญา และ ใน

เรื่อง การ โอน กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า แต่ อิน โค เทอม กำหนด เพียง หน้าที่ ของ ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย ตลอด จน ความ เสี่ยง ภัย ต่อ

ความ เสีย หาย ของ สินค้า ไว้ เท่านั้น เช่น สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ ตกลง ให้ ซื้อ ขาย กัน ใน เทอม FOB ของ หอการค้า

นานาชาติ ผู้ ขาย จะ ต้อง จัด เตรียม สินค้า แล้ว นำ สินค้า ไป ส่ง ที่ ท่าเรือ และ จ้าง ผู้ ขนส่ง สินค้า ขึ้น (stevedore)

ขน สินค้า ขึ้น เรือ ที่ ผู้ ซื้อ เป็น ผู้ จัดหา มา ป.พ.พ. มิได้ กำหนด ไว้ ว่า ความ เสี่ยง ภัย โอน จาก ผู้ ขาย ไป ยัง ผู้ ซื้อ เมื่อ ใด แต่

โดย หลัก เกณฑ์ ใน ป.พ.พ. มาตรา 370 ความ เสี่ยง ภัย โอน ไป พร้อม กับ กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า ซึ่ง กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า

จะ โอน ไป ต่อ เมื่อ ทรัพย์สิน นั้น เป็น ทรัพย์ เฉพาะ สิ่ง ใน เวลา ซื้อ ขาย ถ้า สินค้า หรือ ทรัพย์สิน ที่ ซื้อ ขาย กัน ยัง ไม่ เป็น

ทรัพย์ เฉพาะ สิ่ง ก็ ต้อง ทำให้ เป็น ทรัพย์ เฉพาะ สิ่ง เสีย ก่อน และ ถ้า เป็น ทรัพย์ เฉพาะ สิ่ง แล้ว หาก เกิด ความ เสีย หาย

กับ ทรัพย์สิน นั้น อัน จะ โทษ ลูก หนี้ ไม่ ได้ ไซร้ ความ เสีย หาย ตก แก่ เจ้า หนี้ หรือ ผู้ ซื้อ กล่าว คือ ผู้ ซื้อ จำ ต้อง ชำระ ค่า สินค้า

แม้ ตน จะ ไม่ ได้ สินค้า เพราะ สินค้า เสีย หาย ไป แล้ว ก็ตาม แต่ อิน โค เทอม กำหนด ถึง การ โอน ความ เสี่ยง ภัย ไว้ เช่น

เทอม FOB ของ หอการค้า นานาชาติ กำหนด ว่า ความ เสี่ยง ภัย ใน ตัว สินค้า โอน จาก ผู้ ขาย ไป ยัง ผู้ ซื้อ เมื่อ สินค้า ข้าม

กราบ เรือ หรือ มี การนำ สินค้า ขึ้น เรือ แล้ว

ดัง นั้น จึง เห็น ได้ ว่าการ ตกลง ใช้ เทอม FOB ความ เสี่ยง ภัย กับ กรรมสิทธิ์ จึง แยก จาก กัน เพราะ ความ เสี่ยง ภัย

โอน เมื่อ สินค้า พ้น กราบ เรือ แต่ กรรมสิทธิ์ โอน หรือ ไม่ ขึ้น อยู่ กับ สินค้า หรือ ทรัพย์สิน นั้น เป็น ทรัพย์ เฉพาะ สิ่ง แล้ว

หรือ ไม่

9.กรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายมิได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งให้ใช้ข้อกำหนดในอินโคเทอมกรณี ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย มิได้ แสดง เจตนา โดย ชัด แจ้ง ให้ ใช้ ข้อ กำหนด ใน อิน โค เทอม แต่ คู่ กรณี ฝ่าย หนึ่ง ประสงค์

ที่ จะ นำสืบ ข้อ กำหนด ใน อิน โค เทอม มา ใช้ ใน สัญญา นั้น ใน กรณี ดัง กล่าว มี ความ เห็น เป็น 2 ฝ่าย คือ

ฝ่ายแรกเห็นว่า กรณี ที่ ไม่ อาจ หยั่ง ทราบ ความ ประสงค์ ของ คู่ สัญญา ได้ ว่า จะ ให้ นำ อิน โค เทอม มา ใช้ หรือ

ไม่ ให้ ใช้ ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรค แรก ซึ่ง บัญญัติ ว่า าอันกฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติ

ใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆำซึ่ง ตาม บทบัญญัติ ที่ มี อยู่ ได้แก่

กฎหมาย ลักษณะ นิติกรรม สัญญา หนี้ ซื้อ ขาย และ ทรัพย์ และ ต้อง อาศัย ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรค สอง ซึ่ง บัญญัติ ว่า

“เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่น

ว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตาม

หลักกฎหมายทั่วไป”ใน การ อุด ช่อง ว่าง

Page 24: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-24 กฎหมายธุรกิจ

การ ตีความ ตาม ความ เห็น นี้ อาจ เกิด ปัญหา เพราะ อิน โค เทอม เป็น เพียง จารีต ประเพณี การ ค้า ระหว่าง ประเทศ

มิใช่ จารีต ประเพณี แห่ง ท้อง ถิ่น และ ไม่ใช่ หลัก กฎหมาย ทั่วไป จึง ไม่ อาจ นำ มาตรา 4 วรรค สอง มา ใช้ บังคับ ได้

ฝ่ายหลังเห็นว่า ให้ ใช้ ป.พ.พ. มาตรา 368 ซึ่ง บัญญัติ ว่า าสัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์

ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยำดัง นั้น คู่ กรณี จึง สามารถ นำสืบ ถึง เจตนา ของ คู่ สัญญา ใน ทาง สุจริต

ว่า เขา ต้องการ จะ ผูกพัน กัน ตาม สัญญา โดย มี เงื่อนไข อย่างไร เพื่อ ให้ ศาล เห็น ว่า ปกติ ประเพณี ใน การ ซื้อ ขาย

ระหว่าง ประเทศ สัญญา ซื้อ ขาย ที่ มี ข้อ กำหนด อิน โค เท อม นั้นๆ เช่น FOB เป็นต้น นานาชาติ เขา ปฏิบัติ กัน อย่างไร

ฉะนั้น การ อ้าง มาตรา 368 จึง เป็น แนวทาง ที่ แก้ ปัญหา ได้

อย่างไร ก็ตาม ดัง ได้ กล่าว แล้ว ว่า อิน โค เทอม กำหนด ไว้ แต่ เฉพาะ สิทธิ และ หน้าที่ ของ ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย อัน เกี่ยว กับ

ความ เสี่ยง ภัย ใน สินค้า ฉะนั้น ไม่ ว่า จะ ใน กรณี ที่ ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย แสดง เจตนา โดย ชัด แจ้ง ให้ ใช้ ข้อ กำหนด ใน อิน โค เทอม

หรือ ใน กรณี ที่ ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย มิได้ แสดง เจตนา โดย ชัด แจ้ง ให้ ใช้ ข้อ กำหนด ใน อิน โค เทอม บทบัญญัติ ใน ป.พ.พ. ว่า

ด้วย การ ซื้อ ขาย เกี่ยว กับ ลักษณะ และ สาระ สำคัญ ของ สัญญา ซื้อ ขาย กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า ตลอด จน สิทธิ หน้าที่ ของ

ผู้ ขาย และ ผู้ ซื้อ หรือ กฎหมาย ต่าง ประเทศ ว่า ด้วย เรื่อง ซื้อ ขาย (ใน กรณี คู่ สัญญา เลือก ใช้ กฎหมาย ต่าง ประเทศ มา ใช้

บังคับ แก่ สัญญา) ย่อม นำ มา ใช้ บังคับ แก่ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ เท่า ที่ ไม่ ขัด หรือ แย้ง กับ ข้อ ตกลง อิน โค เทอม

ซึ่ง ถือ เป็น ส่วน หนึ่ง ของ สัญญา

กิจกรรม12.2.2

กฎหมายและข้อตกลงที่อาจใช้บังคับแก่สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศได้แก่อะไรบ้าง

แนวตอบกิจกรรม12.2.2

กฎหมายและข้อตกลงที่อาจใช้บังคับแก่สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศได้แก่

1.กฎหมายภายในของประเทศคู่สัญญา

2.กฎหมายระหวา่งประเทศไดแ้ก่อนสุญัญาระหวา่งประเทศเชน่อนสุญัญาสหประชาชาติวา่ดว้ยการ

ซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ(UnitedNationsConventiononContractsfortheInternationalSaleofGoods:

CISG)

3.ประเพณีการค้าระหว่างประเทศเช่นอินโคเทอม(InternationalCommercialTerms:Incoterms)

Page 25: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-25

เรื่องที่12.2.3

การชำระเงินตามสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ

คู่ สัญญา ของ สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ อาจ ตกลง ชำระ เงิน ตาม สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ ได้ หลาย

วิธี เช่น

1.การชำระเงินสดเมื่อสั่งสินค้าการ ชำระ เงินสด เมื่อ สั่ง สินค้า (cash with order) เป็น วิธี ที่ ผู้ ซื้อ สินค้า จะ จ่าย เงิน เมื่อ สั่ง ซื้อ สินค้า เป็นการ

จ่าย เงินสด ล่วง หน้า ผู้ ขาย เป็น ฝ่าย ได้ เปรียบ เพราะ ไม่ ต้อง เสี่ยง กับ การ ไม่ ได้ รับ ชำระ เงิน แต่ ผู้ ซื้อ เสีย เปรียบ เพราะ ต้อง

เสี่ยง กับ การ ได้ สินค้า ไม่ ครบ จำนวน คุณภาพ และ ภายใน กำหนด เวลา

2.การชำระเงินสดเมื่อรับมอบเอกสารการ ชำระ เงินสด เมื่อ รับ มอบ เอกสาร (sight payment) เป็น วิธี ที่ ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย คุ้น เคย กัน เมื่อ ผู้ ขายส่ง

เอกสาร แสดง กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า ไป ยัง ผู้ ซื้อ ผู้ ซื้อ ก็ จะ ชำระ ค่า สินค้า โดย นำ เงิน ค่า สินค้า ไป ให้ ธนาคาร โอน เงิน ดัง กล่าว

โดย ออก คำ สั่ง จ่าย เงิน ทาง โทรเลข หรือ โทรพิมพ์ (telegraphic transfer หรือ telex transfer: T/T) หรือ ทาง ไปรษณีย ์

อากาศ (mail transfer: M/T) ถึง ธนาคาร ใน เมือง ของ ผู้ ขาย ให้ จ่าย เงิน ให้ แก่ ผู้ ขาย

3.การชำระเงินสดแบบยื่นหมูยื่นแมวการ ชำระ เงินสด แบบ ยื่น หมู ยื่น แมว (cash on delivery) เป็น วิธี ที่ ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย ไม่ คุ้น เคย กัน เมื่อ ผู้ ขายส่ง

มอบ สินค้า ให้ แก่ ผู้ ซื้อ ผู้ ซื้อ ก็ จะ ชำระ ค่า สินค้า ให้ ข้อ ตกลง นี้ เหมาะ กับ ข้อ ตกลง แบบ EXW หรือ FOB ซึ่ง ผู้ ซื้อ มีหน้า ที ่

มา รับ สินค้า ที่ หน้า โรงงาน หรือ เป็น ผู้ ขนส่ง สินค้า เอง

4.การชำระเงินแบบเปิดบัญชีการ ชำระ เงิน แบบ เปิด บัญชี (open account) เป็น วิธี การ ที่ ผู้ ขายส่ง สินค้า ให้ ผู้ ซื้อ ก่อน และ ลง บัญชี ค่า สินค้า ไว ้

แล้ว ผู้ ซื้อ จะ ชำระ ค่า สินค้า ให้ ผู้ ขาย ใน เวลา ที่ ตกลง กัน เช่น ภายใน หนึ่ง เดือน หรือ สาม เดือน เป็นต้น วิธี นี้ ผู้ ซื้อ ได้ เปรียบ

เพราะ มี โอกาส ตรวจ ดู สินค้า ก่อน ส่วน ผู้ ขาย เสีย เปรียบ เพราะ มี โอกาส ที่ จะ ไม่ ได้ รับ การ ชำระ ราคา สินค้า

5.การชำระเงินโดยตั๋วแลกเงินเรียกเก็บการ ชำระ เงิน โดย วิธี ตั๋ว แลก เงิน เรียก เก็บ (bill for collection) มี หลัก ปฏิบัติ เริ่ม จาก ผู้ ขาย มีหน้า ที่ ต้อง ส่ง

สินค้า ให้ ผู้ ซื้อ ก่อน แล้ว รวบรวม เอกสาร เกี่ยว กับ การ ส่ง สินค้า มา ที่ ธนาคาร ใน ประเทศ ของ ผู้ ขาย เรียก ว่า remitting

bank ช่วย ดำเนิน การ ติดต่อ มายัง ธนาคาร ใน ประเทศ ผู้ ซื้อ เรียก ว่า collecting bank ให้ ช่วย เรียก เก็บ เงิน ตาม

ตั๋ว แลก เงิน แต่ บาง กรณี ผู้ ซื้อ ไม่ใช่ ลูกค้า ของ collecting bank ดัง นั้น collecting bank จึง ทำ หน้าที่ ติดต่อ

ธนาคาร ที่ ผู้ ซื้อ เป็น ลูกค้า เรียก ว่า presenting bank ซึ่ง เมื่อ collecting bank หรือ presenting bank ได้ รับ

ตั๋ว แลก เงิน พร้อม เอกสาร ก็ จะ ติดต่อ ผู้ ซื้อ ให้ มา ตรวจ สอบ เอกสาร และ ชำระ เงิน ตาม ตั๋ว แลก เงิน

Page 26: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-26 กฎหมายธุรกิจ

6.การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตการ ชำระ เงิน โดย เลต เตอร์ ออฟ เครดิต หรือ แอล ซี (letter of credit: L/C) เป็น วิธี การ ชำระ ค่า สินค้า ตาม

สัญญา ซื้อ ขาย ระหว่าง ประเทศ ที่ นิยม มาก ที่สุด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต เป็น ตราสาร ซึ่ง ธนาคาร เป็น ผู้ ออก ตาม คำ สั่ง ของ

ผู้ ซื้อ ซึ่ง เป็น ลูกค้า ของ ธนาคาร เพื่อ แสดง ว่า ธนาคาร ตกลง จะ ชำระ เงิน ให้ แก่ ผู้ ขาย หรือ ผู้รับ ประโยชน์ เมื่อ ผู้ ขาย หรือ

ผู้รับ ประโยชน์ ได้ ปฏิบัติ ถูก ต้อง ตรง ตาม เงื่อนไข ใน เลต เตอร์ ออฟ เครดิต

อัมพร ณ ตะกั่วทุ่ง ได้ ให้ ความ หมาย ของ สัญญา เลต เตอร์ ออฟ เครดิต ไว้ ใน หมายเหตุ ท้าย คำ พิพากษา ศาล

ฎีกา ที่ 775/2525 ว่า สัญญา เลต เตอร์ ออฟ เครดิต เป็น สัญญา ต่าง ตอบแทน ประเภท หนึ่ง ที่ ไม่ ได้ เข้า เป็น สัญญา ลักษณะ

เอกเทศ สัญญา อย่าง หนึ่ง อย่าง ใด และ ไม่ใช่ เป็น สัญญา ตัวแทน เป็น สัญญา ต่าง ตอบแทน ไม่มี ชื่อ ฉะนั้น จึง ถือว่า ระหว่าง

ผู้ ขอ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต กับ ธนาคาร ผู้ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต มี สัญญา อยู่ ต่อ กัน ซึ่ง เป็น สัญญา ต่าง ตอบแทน

เพราะ ธนาคาร ก็ มีหน้า ที่ ใน การ ที่ จะ ต้อง เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต ให้ ผู้ ขาย สินค้า เป็น ผู้รับ ประโยชน์ และ ชำระ ค่า

สินค้า ตาม เลต เตอร์ ออฟ เครดิต ไป และ สิ่ง ที่ ธนาคาร ได้ ตอบแทน มา ได้แก่ ค่า ธรรมเนียม โดย เงิน ที่ ธนาคาร จ่าย ให้ ผู้รับ

ประโยชน์ ไป นั้น ผู้ ขอ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต จะ ต้อง คืน ธนาคาร ส่วน ผู้ ขอ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต ได้ รับ ประโยชน์

คือ ได้ รับ บริการ ของ ธนาคาร โดย มีหน้า ที่ ใน การ ที่ จะ ต้อง จ่าย ค่า ธรรมเนียม ธนาคาร คือ ค่า บริการ และ ต้อง นำ เงิน ไป คืน

ให้ ธนาคาร เมื่อ ได้ รับ เอกสาร เกี่ยว กับ การ ส่ง สินค้า จาก ธนาคาร มา แล้ว ดังนี้ เป็น สัญญา ต่าง ตอบแทน

ดัง นั้น เห็น ได้ ว่า สัญญา เลต เตอร์ ออฟ เครดิต เป็น สัญญา ระหว่าง ผู้ ขอ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต หรือ ผู้ ซื้อ กับ

ธนาคาร ผู้ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต หรือ ธนาคาร ประเทศ ผู้ ซื้อ ตัวแทน ของ ธนาคาร ผู้ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต หรือ

ธนาคาร ผู้ แจ้ง การ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต หรือ ธนาคาร ประเทศ ผู้ ขาย ไม่มี นิติ สัมพันธ์ กับ ผู้ ขอ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต

ผู้ ขอ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต จึง หา อาจ ฟ้อง ร้อง ธนาคาร ผู้ แจ้ง การ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต หรือ ธนาคาร ประเทศ ผู้ ขาย

ตาม สัญญา เลต เตอร์ ออฟ เครดิต ได้ ไม่ ถ้า จะ ฟ้อง ก็ ต้อง ฟ้อง ตาม มูล ละเมิด ซึ่ง มีอายุ ความ 1 ปี มิใช่ 10 ปี ตาม อายุ ความ

ของ สัญญา เลต เตอร์ ออฟ เครดิต ซึ่ง มิได้ กำหนด อายุ ความ ไว้ เฉพาะ

ตัวอย่าง บริษัท สตูล (บริษัท ผู้ ซื้อ ใน ประเทศ อิตาลี) สั่ง ซื้อ สินค้า จาก บริษัท สุโขทัย (บริษัท ผู้ ขาย ใน ประเทศ

ไทย) โดย ตกลง ชำระ เงิน โดย วิธี เลต เตอร์ ออฟ เครดิต และ ต้อง จ่าย เงิน ค่า สินค้า ล่วง หน้า ร้อย ละ 30 ผู้ ซื้อ ได้ เปิด

เลต เตอร์ ออฟ เครดิต กับ ธนาคาร อิตาลี ให้ ผู้ ขาย เป็น ผู้รับ ประโยชน์ โดย มี เงื่อนไข จะ ต้อง จ่าย เงิน ล่วง หน้า ร้อย ละ 30

ธนาคาร อิตาลี แจ้ง ธนาคาร ไทย ให้ แจ้ง การ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต กับ ผู้ ขาย และ ให้ จ่าย เงิน จำนวน ร้อย ละ 30 ที่

ธนาคาร อิตาลี ส่ง มา ให้ แต่ ขอ ให้ ธนาคาร ใน ไทย ออก หนังสือ ค้ำ ประกัน การ ชำระ เงิน คืน ร้อย ละ 30 ใน กรณี ผู้ ขาย

ผิด สัญญา เลต เตอร์ ออฟ เครดิต ธนาคาร ไทย ได้ จ่าย เงิน ให้ ผู้ ขาย แล้ว ต่อ มา ผู้ ขาย ผิด สัญญา ไม่ ส่ง สินค้า ให้ ผู้ ซื้อ บริษัท

สตูล ผู้ ซื้อ ไม่มี นิติ สัมพันธ์ กับ ธนาคาร ไทย ตาม สัญญา เลต เตอร์ ออฟ เครดิต จึง ไม่ อาจ ฟ้อง ธนาคาร ไทย ได้

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 7929/2540 อัตรา แลก เปลี่ยน เงิน ตรา ต่าง ประเทศ เป็น เงิน ไทย ตาม ป.พ.พ. มาตรา

196 วรรค สอง หมาย ถึง อัตรา ที่ จะ แลก เปลี่ยน กัน ได้ โดย เสรี ใน เวลา ที่ ได้ ใช้ เงิน จริง ซึ่ง ตาม ปกติ จะ คิด อัตรา แลก เปลี่ยน

เงิน โดย เฉลี่ย ที่ ธนาคาร พาณิชย์ ซึ่ง ขาย เงิน ตรา ต่าง ประเทศ ใน กรุงเทพมหานคร เป็น เกณฑ์ แต่ เพื่อ ความ สะดวก ใน

การ บังคับ คดี จึง ให้ คิด อัตรา แลก เปลี่ยน ของ ธนาคาร พาณิชย์ ใน วัน ที่ มี การ อ่าน คำ พิพากษา ศาล ฎีกา แต่ ถ้า ไม่มี อัตรา

แลก เปลี่ยน ใน วัน ดัง กล่าว นั้น ก็ ให้ ถือ เอา วัน สุดท้าย ที่ มี อัตรา แลก เปลี่ยน เช่น ว่า นั้น ก่อน วัน อ่าน คำ พิพากษา ศาล ฎีกา

หา ใช่ วัน ที่ ระบุ ว่า เป็น วัน ครบ กำหนด ชำระ หนี้ ดัง ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา หรือ วัน ที่ จำเลย ทั้ง สาม ค้าง ชำระ หนี้ ดัง ที่ โจทก์

แก้ ฎีกา ไม่ ที่ ศาล อุทธรณ์ กำหนด ให้ คิด อัตรา แลก เปลี่ยน เงิน สกุล เยน เป็น เงิน บาท ใน วัน ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2529

โดย วินิจฉัย ว่า โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ได้ ตกลง กัน ให้ ถือ เอา อัตรา แลก เปลี่ยน ณ วัน ดัง กล่าว เป็น เกณฑ์ ใน การ

คำนวณ นั้น ศาล ฎีกา ไม่ เห็น พ้อง ด้วย

Page 27: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-27

หลัก การ ใน เรื่อง การ ชำระ เงิน โดย เลต เตอร์ ออฟ เครดิต ธนาคาร ไม่มี ส่วน เกี่ยวข้อง กับ กรรมสิทธิ์ ใน ตัว สินค้า

ธนาคาร จะ เกี่ยวข้อง เฉพาะ เอกสาร เท่านั้น ถ้า เอกสาร ถูก ต้อง ครบ ถ้วน ธนาคาร มีหน้า ที่ ใน การ ชำระ เงิน ตาม เลต เตอร์

ออฟ เครดิต ดัง นั้น แม้ ตัว สินค้า จะ สูญหาย หรือ เสีย หาย ไป ธนาคาร ก็ ยัง มีหน้า ที่ ที่ จะ ชำระ หนี้ ให้ ตาม เลต เตอร์

ออฟ เครดิต

แต่ ถ้า ผู้ ซื้อ สินค้า หรือ ผู้ ขอ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต ยัง ไม่มี เงิน ชำระ แต่ อยาก รับ เอกสาร ไป ออก สินค้า ก่อน

ธนาคาร อาจ ให้ ผู้ ขอ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต ทำ สัญญา ทรัสต์ รี ซีท (trust receipt)29 ซึ่ง เป็น สัญญา ที่ ไม่มี บัญญัติ ไว้

ใน ป.พ.พ. แต่ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย ไทย โดย ถือว่า ผู้ ซื้อ ยอม โอน กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า ให้ แก่ ธนาคาร

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 6/2517 เอกสาร ทรัสต์ รี ซีท ที่ ลูกค้า ทำ ไว้ กับ ธนาคาร เป็น สัญญา ต่าง ตอบแทน ทาง

ประเพณี การ ค้า ซึ่ง นอกจาก จะ ก่อ ให้ เกิด สิทธิ แก่ ธนาคาร ที่ จะ เรียก ร้อง เอา ชดใช้ ราคา สินค้า เป็น พิเศษ แล้ว ยัง เป็นการ

โอน กรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์ เฉพาะ สิ่ง ให้ แก่ ธนาคาร ไป จนกว่า จะ มี การ ชำระ ราคา ตอบแทน เมื่อ ลูกค้า ยัง ไม่ ชำระ ราคา

ก็ ยัง ถือว่า ธนาคาร เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์ นั้นๆ อยู่ เจ้า หนี้ ของ ลูกค้า จะ บังคับ คดี ยึด ทรัพย์สิน ของ ลูกค้า

ไม่ ได้

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 1150/2524 ธนาคาร ผู้ ร้อง ครอบ ครอง เครื่องจักร อยู่ แล้ว โดย การ จำนำ เลต เตอร์

ออฟ เครดิต จำเลย ทำ สัญญา ทรัสต์ รี ซี ท ไว้ กับ ธนาคาร ผู้ ร้อง กรรมสิทธิ์ ใน เครื่องจักร โอน ไป ยัง ผู้ ร้อง ด้วย การ แสดง

เจตนา

ทั้งนี้ ธนาคาร ผู้ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต มี นิติ สัมพันธ์ กับ ผู้รับ ประโยชน์ หรือ ผู้ ขาย ตาม นัย คำ พิพากษา

ศาล ฎีกา ที่ 1770/2499 การ แจ้ง การ เปิด เลต เตอร์ ออฟ เครดิต (ประเภท เพิก ถอน ไม่ ได้) ไป ถึง ผู้รับ ประโยชน์ ถือ เป็น

คำ เสนอ การ ที่ ผู้รับ ประโยชน์ ดำเนิน การ ส่ง สินค้า ให้ กับ ผู้ ซื้อ ถือ เป็น คำ สนอง ตอบ รับคำ เสนอ ตาม สัญญา เลต เตอร์

ออฟ เครดิต

กิจกรรม12.2.3

การชำระเงินตามสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศสามารถชำระได้โดยวิธีใดบ้าง

แนวตอบกิจกรรม12.2.3

คู่สญัญาในสญัญาซือ้ขายระหวา่งประเทศอาจตกลงชำระเงนิตามสญัญาซือ้ขายระหวา่งประเทศได้หลาย

วิธีดังนี้

1.การชำระเงินสดเมื่อสั่งสินค้า

2.การชำระเงินสดเมื่อรับมอบเอกสาร

3.การชำระเงินสดแบบยื่นหมูยื่นแมว

4.การชำระเงินแบบเปิดบัญชี

5.การชำระเงินโดยตั๋วแลกเงินเรียกเก็บ

6.การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิต

29 สัญญาทรัสต์รีซีท เป็นสัญญาที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าสินค้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อรับเอกสารไปออกสินค้า และ

จำหน่ายเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร

Page 28: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-28 กฎหมายธุรกิจ

เรื่องที่12.2.4

การขนส่งระหว่างประเทศ

การ ขนส่ง ระหว่าง ประเทศ หมาย ถึง การ เคลื่อน ย้าย สินค้า ข้าม พรมแดน จาก ประเทศ หนึ่ง ไป สู่ อีก ประเทศ

หนึ่ง ซึ่ง อาจ เป็นการ รับ ขน ของ ทาง ทะเล (carriage of goods by sea) การ รับ ขน ของ ทาง อากาศ (carriage of goods

by air) การ รับ ขน ของ ทาง บก (carriage of goods by road) การ รับ ขน ของ แบบ ผสม (combined transport) หรือ

การ รับ ขน ของ เป็น ตู้ คอนเทนเนอร์ ก็ได้

1.การรับขนของทางทะเลเมื่อ ผู้ ซื้อ และ ผู้ ขาย ได้ ตกลง ทำ สัญญา ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ประเทศ แล้ว ผู้ ขาย หรือ ผู้ ซื้อ ซึ่ง ตาม สัญญา เป็น ผู้ ส่ง

สินค้า จะ ไป ติดต่อ กับ ตัวแทน เรือ (shipping agent) เพื่อ ว่า จ้าง ให้ ขนส่ง สินค้า ไป ยัง ต่าง ประเทศ โดย จะแจ้ง ให้ ทราบ

ถึง จำนวน ลักษณะ ปริมาณ หรือ น้ำ หนัก ของ สินค้า ใน แบบ ฟอร์ม ที่ เรียก ว่า booking แล้ว ตัวแทน เรือ จะ นัด ส่ง มอบ

สินค้า เมื่อ ถึง วัน นัด ส่ง มอบ สินค้า ตัวแทน เรือ หรือ นาย เรือ (master) จะ ตรวจ ดู สภาพ ภายนอก สินค้า แล้ว จด แจ้ง ลง ใน

ใบตราส่ง (bill of lading) พร้อม ทั้ง ลง ลายมือ ชื่อ และ มอบ ให้ แก่ ผู้ ส่ง เป็น หลัก ฐาน เพื่อ ผู้ ส่ง จะ ได้ จัด ส่ง ใบตราส่ง ให้ แก่

ผู้รับ ตรา ส่ง (consignee) ซึ่ง เป็น ผู้รับ สินค้า ปลาย ทาง เมื่อ สินค้า ถึง ปลาย ทาง แล้ว ตัวแทน เรือ อีก บริษัท หนึ่ง ใน ประเทศ

ปลาย ทาง จะแจง้ ให ้ผูร้บั ตรา สง่ มา รบั สนิคา้ โดย ผูร้บั ตรา สง่ จะ ตอ้ง นำ ใบตราสง่ มา แลก เอา ใบรบั สนิคา้ หรอื ใบ ปลอ่ย สนิคา้

(delivery order) ไป เรียก ร้อง ให้การ ท่าเรือ หรือ นาย คลัง สินค้า ที่ เก็บ รักษา สินค้า ไว้ ส่ง มอบ สินค้า ให้ แก่ ตน

นอกจาก นี้ ใน ระหว่าง ขนส่ง สินค้า ผู้รับ ตรา ส่ง อาจ ขาย สินค้า นั้น ให้ แก่ บุคคล อื่น (goods in transit) โดย วิธี

สลัก หลัง โอน ส่ง มอบ ใบตราส่ง ให้ แก่ บุคคล ภายนอก เรียก ว่า ผู้รับ สลัก หลัง (endorsee)

การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล มี สาระ สำคัญ ที่ ควร ศึกษา ดังนี้

1.ที่มาแห่งกฎเกณฑ์การรับขนของทางทะเล จารีต ประเพณี ทางการ ค้า และ การ ขนส่ง ทาง ทะเล (usage)

เป็น ที่มา ของ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ การ ขนส่ง ทาง ทะเล ดัง นั้น หลัก กฎหมาย และ จารีต ประเพณี เกี่ยว กับ การ ขนส่ง

ทาง ทะเล ที่ บังคับ ใช้ ใน แต่ละ ประเทศ จึง มี ความ คล้ายคลึง กัน และ พัฒนา จน เป็น ประเพณี สากล (uniform customs)

อย่างไร ก็ตาม บาง กรณี ยัง เป็น ที่ แตก ต่าง กัน เช่น กรณี ความ รับ ผิด ของ ผู้ ขนส่ง การ ยกเว้น หรือ จำกัด ความ รับ ผิด

ของ ผู้ ขนส่ง อายุ ความ ฟ้อง ร้อง ผู้ ขนส่ง เป็นต้น ดัง นั้น จึง มี ความ พยายาม จัด ทำ ประเพณี สากล นี้ ให้ มี ลักษณะ เป็น

อัน หนึ่ง อัน เดียวกัน อย่าง แท้จริง สมาคม กฎหมาย ระหว่าง ประเทศ (International Law Association) จึง ได้ จัด

ทำ อนุสัญญา ว่า ด้วย การ ทำให้ เป็น อัน หนึ่ง อัน เดียวกัน ซึ่ง หลัก เกณฑ์ บาง อย่าง ที่ เกี่ยว กับ ใบตราส่ง (International

Convention for the Unification of Certain Rules on Laws relating to Bill of Lading) หรือ กฎ แห่ง

กรุง เฮก (Hague Rules) ณ กรุง บัส เซลส์ เมื่อ วัน ที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1924 ซึ่ง ต่อ มา ได้ มี การ แก้ไข เพิ่ม เติม โดย

พิธีสาร เมื่อ วัน ที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1968 ซึ่ง เรียก ว่า Protocol to amend the International Convention for the

Unification of Certain Rules of Law relating to Bills of Lading หรือ เฮ ก วิ สบี้ รูลส์ (Hague Visby Rules)

โดย มี ประเทศ ภาคี จนถึง พ.ศ. 2540 รวม 21 ประเทศ แต่ ประเทศไทย ยัง ไม่ ได้ เข้า เป็น ภาคี

กฎ แห่ง กรุง เฮก เป็น หลัก กฎหมาย สากล เกี่ยว กับ การ ขนส่ง ทาง ทะเล ที่ ได้ รับ การ ยอมรับ อย่าง กว้าง ขวาง

โดย ประเทศ ต่างๆ ได้ นำ ไป บัญญัติ เป็น กฎหมาย ภายใน เช่น Carriage of Goods by Sea Act 1936 ของ ประเทศ

Page 29: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-29

สหรัฐอเมริกา Carriage of Goods by Sea Act 1971 ของ อังกฤษ เป็นต้น อย่างไร ก็ตาม กฎ แห่ง กรุง เฮ กนี้

เป็น คุณ แก่ เจ้าของ เรือ หรือ ผู้ ขนส่ง (carrier and ship owner) มากกว่า ผู้ ส่ง ดัง นั้น สหประชาชาติ จึง ได้ จัด ทำ

อนุสัญญา สหประชาชาติ ว่า ด้วย การ ขนส่ง ของ ทาง ทะเล ค.ศ. 1978 (United Nations Convention on Carriage

of Goods by Sea 1978) หรือ กฎ แห่ง เมือง แฮม เบอร์ ก30 โดย มี ประเทศ ภาคี จนถึง พ.ศ. 2541 รวม 22 ประเทศ แต่

ประเทศไทย ยัง ไม่ ได้ เข้า เป็น ภาคี

2.ความหมายของการรับขนของทางทะเล กฎ ที่ 10 ของ กฎ แห่ง กรุง เฮ กกำ หนด ให้ บทบัญญัติ ของ อนุสัญญา

ใช้ได้ กับ ใบตราส่ง ทุก ฉบับ ที่ เกี่ยว เนื่อง กับ การ ขนส่ง ของ ระหว่าง ท่าเรือ ใน รัฐ 2 รัฐ ต่าง กัน ถ้า

1) ใบตราส่ง ได้ ออก ให้ ใน รัฐ ภาคี หรือ

2) ขนส่ง จาก ท่าเรือ ใน รัฐ ภาคี หรือ

3) สัญญา ขนส่ง ทาง ทะเล ซึ่ง ทำ ใน หรือ ปรากฏ หลัก ฐาน ตาม ใบตราส่ง ระบุ ว่า กฎ เกณฑ์ ของ อนุสัญญา นี้ หรือ

กฎหมาย ของ รัฐ ใด ซึ่ง ได้ อนุ วัติ การ ตาม กฎ เกณฑ์ ของ อนุสัญญา นี้ ให้ ใช้ บังคับ แก่ สัญญา นั้น ไม่ ว่า เรือ ผู้ ขนส่ง

ผู้ ส่ง ผู้รับ ตรา ส่ง หรือ บุคคล อื่น ที่ มี ส่วน เกี่ยวข้อง จะ มี สัญชาติ ใด ก็ตาม

นอกจาก นี้ กฎ ที่ 2 ของ กฎ แห่ง เมือง แฮม เบอร์ ก ก็ มี หลัก เดียวกัน โดย กำหนด ว่า

1) บทบัญญัติ ของ อนุสัญญา นี้ ใช้ บังคับ แก่ สัญญา ขนส่ง ของ ทาง ทะเล ทั้ง ปวง ระหว่าง รัฐ 2 รัฐ ถ้า

1.1) ท่าเรือ ที่ บรรทุก ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล อยู่ ใน รัฐ ภาคี หรือ

1.2) ท่าเรือ ที่ ขน ถ่าย สินค้า ลง จาก เรือ ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล อยู่ ใน รัฐ ภาคี หรือ

1.3) ท่าเรือ ที่ ขน ถ่าย สินค้า ลง จาก เรือ ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล มี มากกว่า หนึ่ง ท่า

และ ท่า ที่ ขน ถ่าย สินค้า ที่แท้ จริง ตั้ง อยู่ ใน รัฐ ภาคี หรือ

1.4) ใบตราสง่ หรอื เอกสาร อยา่ง อืน่ ซึง่ เปน็ หลกั ฐาน ของ สญัญา รบั ขน ของ ทาง ทะเล ได ้ออก ใน รฐั ภาค ีหรอื

1.5) ใบตราส่ง หรือ เอกสาร อย่าง อื่น ซึ่ง เป็น หลัก ฐาน ของ สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล บัญญัติ ว่า

กฎ เกณฑ์ ของ อนุสัญญา นี้ หรือ กฎหมาย ของ รัฐ ใด ซึ่ง อนุ วัติ การ ตาม กฎ เกณฑ์ ของ อนุสัญญา นี้ ให้ ใช้ บังคับ แก่ สัญญา รับ

ขน ของ ทาง ทะเล นั้น

2) อนุสัญญา แห่ง เมือง แฮม เบอร์ ก ใช้ บังคับ โดย ไม่ คำนึง ถึง สัญชาติ ของ เรือ ของ ผู้ ขนส่ง ผู้ ขนส่ง ผู้ ส่ง ผู้รับ ตรา

ส่ง หรือ บุคคล ที่ มี ส่วน เกี่ยวข้อง

3.ผู้ขนส่งทางทะเล กฎ แห่ง กรุง เฮ กนิ ยาม คำ ว่า า ผู้ ขน ส่ง ำ ไว้ ว่า ให้ รวม ถึง เจ้าของ เรือ หรือ ผู้ เช่า เรือ ผู้ ซึ่ง ทำ

สัญญา ขนส่ง กับ ผู้ ส่ง

ส่วน กฎ แห่ง เมือง แฮม เบอร์ กนิ ยาม คำ ว่า า ผู้ ขน ส่ง ำ ว่า หมาย ถึง บุคคล โดย ตัว ของ เขา หรือ ใน นาม ของ เขา ทำ

สัญญา ขนส่ง ของ ทาง ทะเล กับ ผู้ ส่ง

ดัง นั้น สรุป ได้ ว่า ผู้ ขนส่ง ทาง ทะเล ได้แก่ บุคคล 2 ประเภท คือ

3.1 เจ้าของ เรือ (ship owner) ตาม สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล ตาม ใบตราส่ง (contract by bill of

lading) และ

3.2 ผู้ เช่า เรือ หรือ ผู้ เช่า เหมา เรือ (charter) ตาม สัญญา เช่า เรือ (charter-parties)

30 อนุสัญญาฉบับนี้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992

Page 30: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-30 กฎหมายธุรกิจ

ข้อสังเกต

1) สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล ตาม ใบตราส่ง (contract by bill of lading) และ สัญญา เช่า เรือ (charter-

parties) ต่าง เป็น สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล แต่ มี ข้อ แตก ต่าง กัน คือ

1.1) เรือ ที่ ถูก ใช้ ใน การ รับ ขน ตาม สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล ตาม ใบตราส่ง จะ ทำการ รับ ขน สินค้า

ทั่วไป และ ทำการ เดิน เรือ ใน เส้น ทาง เดิน ทาง ประจำ (line trade) และ เรือ จะ เข้า เมือง ท่า เพื่อ ทำการ บรรทุก ขน ถ่าย สินค้า

ตาม กำหนดการ เดิน เรือ ที่ ได้ มี การ ประกาศ ไว้ ล่วง หน้า ส่วน เรือ ที่ทำการ รับ ขน สินค้า ตาม สัญญา เช่า เรือ จะ ทำการ บรรทุก

สินค้า ขึ้น เรือ และ นำ สินค้า ไป ส่ง ให้ แก่ ผู้รับ ที่ เมือง ท่า หรือ สถาน ที่ ตาม ที่ ได้ กำหนด ไว้ ใน สัญญา เช่า เท่านั้น

1.2) ค่า ระวาง ตาม สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล ตาม ใบตราส่ง เจ้าของ เรือ หรือ ผู้ ขนส่ง จะ เรียก เก็บ

ค่า ระวาง บรรทุก จาก เจ้าของ สินค้า ตาม น้ำ หนัก หรือ ปริมาตร ของ สินค้า ที่ รับ ขน ส่วน การ คิด ค่า ระวาง บรรทุก ตาม สัญญา

เช่า เรือ จะ เรียก จาก เจ้าของ สินค้า หรือ ผู้ ส่ง ตาม ขนาด ระวาง บรรทุก ของ เรือ หรือ ตาม ส่วน แห่ง ขนาด ระวาง บรรทุก ที่ ได้

ตกลง ทำการ เช่า

1.3) สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล ตาม ใบตราส่ง (contract by bill of lading) เป็น สัญญา รับ ขน ที่ ใช้

ใบ ตรา ส่ง เป็น สำคัญ ส่วน สัญญา เช่า เรือ (charter-parties) เป็น สัญญา รับ ขน ของ ชนิด หนึ่ง เช่น กัน แต่ เป็น สัญญา

รับ ขน ที่ ไม่ ใช้ใบ ตรา ส่ง เป็น สำคัญ นิติ สัมพันธ์ ระหว่าง เจ้าของ เรือ และ ผู้ เช่า เรือ เป็น ไป ตาม ข้อ กำหนด ใน สัญญา เช่า โดย

อาจ มี ข้อ กำหนด ต่างๆ เช่น ข้อ กำหนด ให้ ผู้ เช่า พ้น จาก ความ รับ ผิด ตาม สัญญา นั้น ได้ เมื่อ ได้ บรรทุก สินค้า ลง เรือ แล้ว

(cesser clause) ข้อ กำหนด ให้ เจ้าของ เรือ มี สิทธิ ยึด หน่วง สินค้า เพื่อ ค่า เช่า และ ค่า ทดแทน ได้ (lien clause) ข้อ กำหนด

เวลา ชำระ ค่า เช่า หรือ ค่า ระวาง และ ข้อ กำหนด เวลา ขน สินค้า ขึ้น และ ลง เรือ (lay days หรือ running days) หรือ ข้อ

กำหนด ความ รับ ผิด ที่ ผู้ เช่า ทำให้ เรือ ต้อง เสีย เวลา เกิน กว่า ที่ ตกลง ไว้ (demurrage)

2) สัญญา เช่า เรือ (charter-parties) คือ สัญญา ระหว่าง เจ้าของ เรือ กับ ผู้ เช่า เรือ โดย เจ้าของ เรือ ตกลง ให้

ผู้ เช่า เช่า เรือ ทั้ง ลำ หรือ เพียง บาง ส่วน ของ เรือ โดย แบ่ง ได้ เป็น 3 ประเภท คือ

2.1) สัญญา เช่า เฉพาะ เที่ยว (voyage charter) เป็น สัญญา เช่า เรือ ที่ เจ้าของ เรือ ตกลง ให้ ผู้ เช่า เช่า เรือ

ทั้ง ลำ หรือ เพียง บาง ส่วน ของ เรือ เพื่อ ให้ ขน สินค้า ไป ยัง ที่ ใด ที่ หนึ่ง (voyage charter) และ ผู้ เช่า ตกลง จะ ชำระ ค่า เช่า หรือ

ค่า ระวาง (freight)

2.2) สัญญา เช่า มี กำหนด เวลา (time charter) เป็น สัญญา เช่า เรือ ที่ เจ้าของ เรือ ตกลง ให้ ผู้ เช่า เช่า เรือ

ทั้ง ลำ หรือ เพียง บาง ส่วน ของ เรือ เพื่อ ให้ ขน สินค้า ชั่ว ระยะ เวลา หนึ่ง (time charter) และ ผู้ เช่า ตกลง จะ ชำระ ค่า เช่า หรือ

ค่า ระวาง (freight)

2.3) สัญญา เช่า ประเภท เสมือน หนึ่ง ผู้ เช่า เป็น เจ้าของ เรือ (charter-party by demise) เป็น สัญญา เช่า

เรือ ที่ เจ้าของ เรือ ตกลง ให้ ผู้ เช่า เช่า เรือ ทั้ง ลำ โดย เจ้าของ เรือ ได้ โอน การ ครอบ ครอง และ การ ควบคุม ตลอด จน อำนาจ สั่ง

การ เรือ ให้ แก่ ผู้ เช่า

3) สัญญา เช่า เฉพาะ เที่ยว (voyage charter) และ สัญญา เช่า มี กำหนด เวลา (time charter) เป็นการ เช่า

เพียง เพื่อ ใช้ เรือ เท่านั้น ผู้ เช่า เรือ มี สิทธิ เพียง ที่ จะ ขนส่ง สินค้า โดย ใช้ เรือ ที่ ตน เช่า มา เป็นการ เฉพาะ สำหรับ เที่ยว เดิน เรือ

หรือ กำหนด ระยะ เวลา แน่นอน อย่าง ใด อย่าง หนึ่ง เท่านั้น การ เช่า เรือ ทั้ง สอง กรณี นี้ การ ครอบ ครอง เรือ การ เดิน เรือ

ตลอด จน การ บังคับ บัญชา ลูก เรือ ยัง เป็น ของ เจ้าของ เรือ (ship owner) นาย เรือ (master) หรือ กัปตัน และ ลูก เรือ

(crew) ถือว่า เป็น ลูกจ้าง และ อยู่ ใน อำนาจ สั่ง การ ของ เจ้าของ เรือ แต่ ถ้า เป็น สัญญา เช่า ประเภท เสมือน หนึ่ง ผู้ เช่า

เป็น เจ้าของ เรือ (charter-party by demise) เจ้าของ เรือ จะ โอน การ ครอบ ครอง และ การ ควบคุม ตลอด จน อำนาจ

สั่ง การ ให้ แก่ ผู้ เช่า โดย ถือว่า นาย เรือ และ ลูก เรือ เป็น ลูกจ้าง ของ ผู้ เช่า เรือ

Page 31: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-31

ดัง นั้น ใน กรณี สัญญา เช่า เฉพาะ เที่ยว (voyage charter) และ สัญญา เช่า มี กำหนด เวลา (time charter) ถือว่า

เจ้าของ เรือ เป็น ผู้ ขนส่ง แต่ ใน กรณี สัญญา เช่า ประเภท เสมือน หนึ่ง ผู้ เช่า เป็น เจ้าของ เรือ (charter-party by demise)

ถือว่า ผู้ เช่า เรือ เป็น ผู้ ขนส่ง มิใช่ เจ้าของ เรือ

4.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางทะเล

4.1ใบตราส่ง “ ใบ ตรา ส่ง ” เป็น เอกสาร ใน การ รับ ขน (transport document) ใน การ ค้า ระหว่าง

ประเทศ ซึ่ง ออก โดย ผู้ ขนส่ง ตัวแทน ของ ผู้ ขนส่ง หรือ นาย เรือ ตรง กับ คำ ใน ภาษา อังกฤษ ว่า “consigning note” or

“airway bill” or “bill of lading” โดย ใช้ คำ ว่า “consigning note” กับ การ ขนส่ง ทาง บก ส่วน คำ ว่า “airway bill”

ใช้ กับ การ ขนส่ง ทาง อากาศ แต่ ถ้า เป็นการ ขนส่ง ทาง ทะเล จะ ใช้ คำ ว่า “bill of lading”

ใบตราส่ง มี ลักษณะ ที่ สำคัญ อยู่ 4 ประการ ดังนี้

4.1.1 ใบตราส่งเป็นใบรับสินค้า (receipt) เมื่อ ออก ใบตราส่ง แล้ว ใบตราส่ง นั้น ถือ เป็น หลัก ฐาน

เบื้อง ต้น (prima facie evidence) แสดง ว่า มี การ รับ สินค้า ไว้ ตาม รายการ (identity) จำนวน หีบห่อ นำ้ หนัก หรือ

ปริมาณ และ สภาพ ที่ ปรากฏ ภายนอก (apparent order and condition) แต่ อย่างไร ก็ตาม ผู้ ขนส่ง สามารถ นำสืบ

พิสูจน์ หัก ล้าง ข้อความ อัน เป็น หลัก ฐาน เบื้อง ต้น ใน ใบตราส่ง ได้ แต่ ถ้า ใบตราส่ง ได้ โอน ไป ยัง บุคคล ภายนอก หรือ

ผู้รับ ตรา ส่ง ผู้ ทำการ โดย สุจริต แล้ว (in good faith) ผู้ ขนส่ง จะ นำสืบ หัก ล้าง การ รับ มอบ สินค้า ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน

ใบตราส่ง ไม่ ได้31 ใบตราส่ง แบ่ง ได้ เป็น 2 ประเภท คือ

1) ใบตราส่ง ประเภท ที่ สาย การ เดิน เรือ แสดง ว่า ได้ รับ สินค้า นั้น ไว้ อยู่ ใน ความ ครอบ ครอง

เพื่อ ส่ง ลง เรือ (receipt for shipment bill of lading: reciept B/L) ซึ่ง ถือว่า เป็น เพียง หลัก ฐาน ว่า ได้ รับ สินค้า

เพื่อ ส่ง ลง เรือ เท่านั้น แต่ ยัง ไม่ ได้ ยืนยัน ว่า ส่ง ของ ลง เรือ เพื่อ รับ แล้ว ใบตราส่ง ชนิด นี้ เป็น ใบตราส่ง ที่ ไม่ ค่อย ได้ รับ

ความ นิยม เพราะ ถือว่า ยัง ไม่มี การ บรรทุก สินค้า ลง เรือ สินค้า อาจ เก็บ ไว้ ใน โกดัง ใน ขณะ ที่ ผู้ ขนส่ง รอ ให้ เรือ ว่าง ซึ่ง ใน

ระหว่าง นั้น สินค้า อาจ ถูก ลักลอบ เปลี่ยน ได้

2) ใบตราส่ง ประเภท ที่ สาย การ เดิน เรือ ได้ แสดง ว่า ได้ มี การนำ สินค้า ลง เรือ แล้ว (shipped

bill of lading หรือ on-board bill of lading) ซึ่ง ถือว่า เป็น ใบรับ สินค้า ใน ทางการ ค้า ระหว่าง ประเทศ ใบตราส่ง

ชนดิ นี ้เปน็ ใบตราสง่ ที ่ได ้รบั ความ นยิม เพราะ วนั เดอืน และ ป ีใน การนำ สนิคา้ ลง เรอื จน ครบ ถว้น จะ ปรากฏ อยู ่ใน ชอ่ง date

of shipment ของ ใบตราส่ง ข้อความ ที่ สำคัญ ที่ ระบุ ใน ใบตราส่ง ชนิด นี้ คือ ข้อความ ว่า ของ อยู่ ใน สภาพ ดี (shipped and

received in apparent good condition) ซึ่ง หมายความ ว่า ได้ ตรวจ ดู สภาพ ภายนอก ของ แล้ว หีบห่อ อยู่ ใน สภาพ ดี

4.1.2ใบตราส่งเป็นเอกสารแสดงข้อตกลงและเป็นหลักฐานของสัญญารับขนของทางทะเล โดย

หลัก แล้ว ใบตราส่ง มิใช่ หนังสือ สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล เป็น อีก ส่วน หนึ่ง ต่าง หาก จาก

ใบตราส่ง โดย กฎหมาย มิได้ บังคับ ว่า สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล จะ ต้อง ทำ เป็น หนังสือ หรือ ต้อง มี หลัก ฐาน เป็น หนังสือ

ดัง นั้น สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล จึง อาจ ทำ ด้วย วาจา ได้ แต่ ข้อ ตกลง ใน สัญญา รับ ขน ส่วน ใหญ่ จะ แสดง อยู่ ใน ใบตราส่ง

ใบตราส่ง จงึ เปน็ เพยีง หลกั ฐาน ของ สญัญา รบั ขน ของ ทาง ทะเล ดงั นัน้ ขอ้ ตกลง ที ่ระบ ุใน ใบตราส่ง ที ่ขดั หรอื แยง้ กบั สญัญา

รับ ขน ของ ทาง ทะเล จะ ใช้ บังคับ ไม่ ได้ เพราะ ไม่ใช่ สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล เว้น แต่ ใน สัญญา รับ ขน จะ ระบุ ว่า ให้ ถือ

ข้อ ตกลง ที่ ปรากฏ ไว้ ใน ใบตราส่ง เป็น หลัก ก็ ให้ เป็น ไป ตาม เจตนา ของ คู่ กรณี

31 กฎที่ 3 และ 4 ของกฎแห่งกรุงเฮก และกฎที่ 16 ข้อ 3 ของกฎแห่งเมืองเฮมเบอร์°

Page 32: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-32 กฎหมายธุรกิจ

4.1.3ใบตราส่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิ (document of title) ก่อน ทำ สัญญา ซื้อ ขาย ผู้ ขาย เป็น

เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า เมื่อ ทำ สัญญา ซื้อ ขาย เสร็จ เด็ด ขาด กรรมสิทธิ์ ย่อม โอน จาก ผู้ ขาย ไป ยัง ผู้ ซื้อ ตาม ความ

ใน ป.พ.พ. มาตรา 458 ใบตราส่ง จึง เป็น เพียง หลัก ฐาน แสดง สิทธิ ที่ จะ ไป รับ สินค้า จาก ท่าเรือ ใบตราส่ง ไม่ ได้ แสดง ว่า

ผู้ทรง ใบตราส่ง จะ เป็น ผู้ มี กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า นั้น

4.1.4ใบตราส่งเป็นเอกสารที่เปลี่ยนมือได้ (negotiable instrument) ใบตราส่ง สามารถ โอน

สลัก หลัง ได้ และ อยู่ ภาย ใต้ หลัก ผู้รับ โอน ไม่มี สิทธิ ดี กว่า ผู้ โอน หมายความ ว่า ผู้ โอน มี สิทธิ อย่างไร ผู้รับ โอน ก็ มี สิทธิ เพียง

นั้น ดัง นั้น คำ ว่า า ผู้ทรง ใบ ตรา ส่ง ำ (holder of bill of lading) จึง มี ความ หมาย ว่า นอกจาก บุคคล ที่ ระบุ ชื่อ ใน ใบตราส่ง

ให้ เป็น ผู้รับ ตรา ส่ง แล้ว ยัง หมาย ถึง บุคคล ผู้รับ สลัก หลัง ใบตราส่ง (endorsee) ด้วย

4.2 ใบกำกบัสนิคา้(invoice) เปน็ เอกสาร ที ่ผู ้ขาย จดั ทำ ขึน้ ให ้แก ่ผู ้ซือ้ และ ใช ้ประกอบ ใน พธิกีาร สง่ สนิคา้

ออก โดย ใบ กำกับ สินค้า จะ ระบุ ประเภท ชนิด ปริมาณ และ ราคา ของ สินค้า

4.3 ใบรับรองแหล่งผลิต(certificateoforigin)เป็น หนังสือ รับรอง ถิ่น กำเนิด ของ สินค้า หอการค้าไทย

มี อำนาจ ตาม มาตรา 28 แห่ง พระ ราช บัญญัติ หอการค้า พ.ศ. 2509 ใน การ ออก ใบรับ รอง แหล่ง ผลิต

4.4 บัญชีแสดงรายการสินค้า(packinglist) เป็น เอกสาร ที่ ผู้ ขาย จัด ทำ ขึ้น เช่น เดียว กับ ใบ กำกับ สินค้า

บัญชี แสดง รายการ สินค้า จะ ถูก บรรจุ ไว้ ใน หีบห่อ สินค้า เพื่อ แสดง ประเภท ชนิด ปริมาณ และ ราคา ของ สินค้า

4.5 หนังสือรับรองคุณภาพ (certificate of quality) เป็น หนังสือ รับรอง ถึง คุณภาพ ของ สินค้า ว่า ได้

มาตรฐาน หรือ ผ่าน การ ตรวจ สอบ แล้ว เช่น สินค้า จำพวก อาหาร สัตว์ หรือ เนื้อ สัตว์ แช่ แข็ง ที่ ส่ง ไป ประเทศ ญี่ปุ่น จะ ต้อง

มี หนังสือ รับรอง จาก สัตวแพทย์ ว่า อาหาร สัตว์ หรือ เนื้อ สัตว์ แช่ แข็ง ที่ ส่ง ไป ปราศจาก โรค หรือ สินค้า จำพวก ผ้า ไหม ไทย

ก็ ต้อง มี หนังสือ รับรอง แสดง ว่า เป็น ผ้า ไหม ที่ ผ่าน การ ตรวจ สอบ มาตรฐาน สินค้า

4.6 กรมธรรม์ประกันภัย (insurancepolicy) เป็น เอกสาร แสดง ภาระ ผูกพัน ที่ บริษัท รับ ประกัน ภัย

หรือ ผู้รับ ประกัน ภัย ตกลง จะ ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน หรือ ใช้ เงิน จำนวน หนึ่ง ให้ แก่ อีก บุคคล ที่ ระบุ ไว้ หรือ ผู้ เอา ประกัน ภัย

ใน กรณี เกิด วินาศภัย หรือ ความ เสีย หาย แก่ สินค้า ที่ ขนส่ง นั้น

5. การรับขนของทางทะเลตามกฎหมายไทย ป.พ.พ. ลักษณะ รับ ขน ซึ่ง บัญญัติ ใน บรรพ 3 ลักษณะ 8

มาตรา 608 บัญญัติ ใน เรื่อง รับ ขน ไว้ ว่า

“อนัวา่ผู้ขนสง่ภายในความหมายแหง่กฎหมายลกัษณะนี้คอืบคุคลผูร้บัขนสง่ของหรอืคนโดยสารเพือ่บำเหนจ็

เป็นทางค้าปกติของตน”

จะ เห็น ได้ ว่า ป.พ.พ. มาตรา 608 มิได้ ให้ ความ หมาย สัญญา รับ ขน โดย ชัด แจ้ง แต่ พิเคราะห์ ได้ ว่า สัญญา รับ ขน

คือ สัญญา ที่ บุคคล คน หนึ่ง เรียก ว่า า ผู้ ขน ส่ง ำ ทำ กับ บุคคล อีก คน หนึ่ง เรียก ว่า า ผู้ ส่ง ำ หรือ า ผู้ ตรา ส่ง (ใน กรณี มี การ

ออก ใบตราส่ง)ำ หรือ า ผู้ โดย สา รำ โดย ผู้ ขนส่ง ตกลง ขนส่ง ของ หรือ คน โดยสาร จาก ที่ แห่ง หนึ่ง ไป ยัง ที่ อีก แห่ง หนึ่ง เพื่อ

บำเหน็จ (ค่า ระวาง พาหนะ ใน การ ขนส่ง ของ หรือ ค่า โดยสาร ใน การขนส่ง) โดย ผู้ ขนส่ง จะ ต้อง กระทำ การ ขนส่ง เป็น ทาง ค้า

ปกติ ของ ตน คือ ผู้ ขนส่ง จะ ต้อง ประกอบ อาชีพ ทางการ ขนส่ง ดัง นั้น ตาม ป.พ.พ.สัญญา รับ ขน จึง มี สาระ สำคัญ ดังนี้

1) เป็น สัญญา ต่าง ตอบแทน กล่าว คือ คู่ สัญญา มี หนี้ ที่ จะ ต้อง ชำระ ซึ่ง กัน และ กัน โดย ผู้ ขนส่ง มีหน้า ที่ จะ

ต้อง ขนส่ง ของ หรือ คน โดยสาร จาก ที่ แห่ง หนึ่ง ไป ยัง ที่ อีก แห่ง หนึ่ง ใน ขณะ เดียวกัน ผู้ ส่ง หรือ ผู้ โดยสาร มีหน้า ที่ จะ ต้อง

ชำระ ค่า ระวาง พาหนะ ใน กรณี ขนส่ง ของ หรือ ค่า โดยสาร ใน กรณี ขนส่ง คน โดยสาร

2) เปน็ สญัญา ที ่ตอ้งการ ผล สำเรจ็ ของ งาน คอื ผู ้ขนสง่ มหีนา้ ที ่จะ ตอ้ง ขนสง่ ของ หรอื คน โดยสาร จาก ที ่แหง่

หนึ่ง ไป ยัง ที่ อีก แห่ง หนึ่ง ให้ สำเร็จ ซึ่ง ลักษณะ ประการ นี้ คล้าย กับ สัญญา จ้าง ทำ ของ ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ป.พ.พ. มาตรา 587

3) ผู้ ขนส่ง ต้อง ประกอบ การ ขนส่ง เป็นการ ค้า ปกติ คือ ผู้ ขนส่ง ต้อง มี อาชีพ ทางการ ขนส่ง ถ้า ผู้ ขนส่ง ไม่มี

อาชีพ ทางการ ขนส่ง เป็น ปกติ แล้ว ก็ ไม่ นำ บทบัญญัติ เรื่อง รับ ขน มา ใช้ บังคับ แต่ เป็น กรณี เรื่อง สัญญา จ้าง ทำ ของ

Page 33: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-33

4) สัญญา รับ ขน เป็น สัญญา ที่ ไม่ ต้อง ทำ ตาม แบบ หรือ ไม่ ต้อง มี หลัก ฐาน เป็น หนังสือ เพียง แต่ คู่ สัญญา

แสดง เจตนา ด้วย วาจา สัญญา รับ ขน ก็ สมบูรณ์

5) การ ขนส่ง ของ การ รถไฟ ไปรษณียภัณฑ์ และ ทาง ทะเล ไม่ อยู่ ใน บังคับ ของ ป.พ.พ. ว่า ด้วย เรื่อง

รับ ขน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจ

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 825/2508 โจทก์ บรรยาย ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น เจ้าของ รถ และ จัด รถยนต์ ดัง กล่าว รับ

คน โดยสาร ไป เที่ยว พระพุทธบาท เก็บ ค่า โดยสาร คนละ 55 บาท โดย โจทก์ โดยสาร มา ใน รถ คัน นี้ เช่น นี้ เป็นการ แสดง

ข้อ อ้าง ให้ เห็น ว่า จำเลย มีหน้า ที่ เป็น ผู้รับ ขน คน โดยสาร ด้วย เมื่อ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้ โดยสาร เกิด ความ เสีย หาย ก็ ย่อม ฟ้อง

จำเลย ใน ฐานะ ผู้รับ ขน คน โดยสาร ได้

ข้อสังเกต เรื่อง นี้ ศาล ฎีกา วินิจฉัย เพียง ว่า คำ บรรยาย ฟ้อง มี ประเด็น เรื่อง รับ ขน แต่ ศาล ฎีกา ไม่ ได้

วินิจฉัย ว่า จำเลย ประกอบ การ ขนส่ง ทางการ ค้า เป็น ปกติ หรือ ไม่

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 431/2509 จำเลย เป็น บริษัท ทำ กิจการ รับ ขน คน โดยสาร ต้อง รับ ผิด ต่อ ความ

เสีย หาย ที่ เกิด แก่ โจทก์ ซึ่ง เป็น คน โดยสาร เว้น แต่ การ เสีย หาย นั้น เกิด แต่ เหตุสุดวิสัย หรือ เกิด แต่ ความ ผิด ของ

โจทก์ แม้ รถ คัน เกิด เหตุ จะ ไม่ เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย และ คน ขับ ไม่ใช่ ลูกจ้าง ของ จำเลย ก็ตาม แต่ ถ้า อยู่ ใน ความ

ควบคุม ของ จำเลย และ รับ ส่ง คน โดยสาร ใน ปกติ ธุระ ของ จำเลย โดยตรง เมื่อ คน ขับ ประจำ รถ ได้ ขับ รถ โดย ประมาท ทำให ้

โจทก์ ได้ รับ ความ เสีย หาย แล้ว จำเลย ก็ ต้อง รับ ผิด

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 3483/2529 โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าของ รถยนต์ นำ รถยนต์ ไป รับ คน โดยสาร หรือ

นัก ท่อง เที่ยว ไป ยัง สถาน ที่ ต่างๆ ตาม ที่ ตกลง กับ บริษัท ท่อง เที่ยว หรือ ร้าน ค้า โดย ให้ คน ขับ รถ และ คน ประจำ รถ ไป

กับ รถ แสดง ว่า ให้ คน ของ โจทก์ ควบคุม รถ ไป ด้วย มิได้ มอบ การ ครอบ ครอง รถ ให้ คู่ สัญญา นำ รถ ไป ใช้ ตาม ลำพัง

และ จะ นำ รถ ไป สถาน ที่ อื่น ก็ ไม่ ได้ ดังนี้ มิใช่ สัญญา เช่า หาก แต่ เป็น เรื่อง ที่ โจทก์ ให้ บริษัท ท่อง เที่ยว หรือ ร้าน ค้า ได้ ใช้

บริการ ใน การ ขนส่ง ของ โจทก์ โดย โจทก์ ได้ ค่า ตอบแทน เป็น ค่า เช่า หรือ โจทก์ ยอมรับ กับ เจ้า พนักงาน ประเมิน ของ

กรม สรรพากร จำเลย ว่า เป็น สัญญา เช่า ก็ หา มี ผล ให้ โจทก์ ต้อง เสีย ภาษี อากร การ ค้า เพราะ ประกอบ การ ค้า ประเภท การ

ให้ เช่า แต่ อย่าง ใด

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 2570/2533 จำเลย ที่ 1 ดำเนิน กิจการ ขนส่ง ทาง ทะเล โดย เรือ เดิน ทะเล ของ

จำเลย มา รับ ตู้ ลำเลียง การ บรรจุ สินค้า แล้ว ณ ท่าเรือ สัตหีบ แต่ องค์การ รสพ. จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ ผูกขาด การ ขน

สินค้า เข้าไป ใน บริเวณ ท่าเรือ ตลอด จน ให้ บริการ ด้าน การ ท่าเรือ จำเลย ที่ 1 จึง จ้าง จำเลย ที่ 2 ให้ จัดการ ลาก จูง

ตู้ ลำเลียง ของ จำเลย ที่ 1 ไป บรรทุก สินค้า แล้ว ก็ ลาก จูง ไป ยัง ท่าเรือ สัตหีบ แต่ การ ตกลง รับ ขน ของ ทั้ง ใน ช่วง ทาง บก และ

ทาง ทะเล จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้รับ ติดต่อ และ ตกลง กับ เจ้าของ สินค้า ผู้ ส่ง แสดง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ ขนส่ง สินค้า ราย พิพาท

จาก กรุงเทพมหานคร ผ่าน ท่าเรือ สัตหีบ ไป ให้ แก่ บริษัท ท.ที่ ท่าเรือ ฮ่องกง ดังนี้ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ ขนส่ง ทาง บก ด้วย

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 4812/2533 พฤติการณ์ ระหว่าง โจทก์ จำเลย ที่ โจทก์ เป็น ผู้ จัด ส่ง สินค้า ให้

จำเลย โดย เป็น ผู้ ติดต่อ สาย การ บิน ทำการ ขนส่ง ให้ ติดต่อ เกี่ยว กับ พิธีการ ศุลกากร เป็นการ กระทำ แทน จำเลย ทั้ง สิ้น

มิใช่ กระทำ ใน นาม ของ โจทก์ เอง โดยตรง ใบตราส่ง ซึ่ง เป็น ของ สาย การ บิน ก็ ระบุ ว่า จำเลย ใน นาม โจทก์ เป็น ผู้ ส่ง ของ

รายการ ใน ใบ เสร็จ รับ เงิน ที่ โจทก์ เรียก เก็บ เงิน จาก จำเลย ก็ได้ ระบุ ค่า ใช้ จ่าย ต่างๆ ที่ จ่าย แทน จำเลย ไว้ ว่า มี ค่าระวาง

สินค้า ทาง อากาศ ค่า ล่วง เวลา ศุลกากร ค่า อากร ค่า นาย ตรวจ ค่า ใช้ จ่า ยอื่นๆ ค่า ธรรมเนียม คลัง สินค้า ค่า รถ บรรทุก

และ อื่นๆ แยก ต่าง หาก จาก ค่า บริการ ของ โจทก์ ยิ่ง แสดง ให้ เห็น ชัด ว่า โจทก์ คิด แต่ เพียง ค่า บริการ ใน การ จัด ส่ง สินค้า

ให้ จำเลย เท่านั้น มิได้ คิด ค่า ระวาง พาหนะ ใน ฐานะ เป็น ผู้ ขนส่ง แต่ อย่าง ใด ลักษณะ การ ประกอบ กิจการ ของ โจทก์ ดัง

กล่าว เป็นการ ให้ บริการ ใน การ จัด ส่ง สินค้า ยิ่ง กว่า เป็น ผู้ ขนส่ง เสีย เอง เพราะ ไม่มี การก ระ ทำ อัน แสดง ว่า โจทก์ ตกลง

Page 34: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-34 กฎหมายธุรกิจ

ขน ของ หรือ สินค้า ไป ส่ง ให้ แก่ ผู้รับ ตรา ส่ง เพื่อ บำเหน็จ ซึ่ง ได้แก่ ค่า ระวาง พาหนะ และ โจทก์ ได้ ออก ใบตราส่ง เอง

แต่ อย่าง ใด ความ สัมพันธ์ ระหว่าง โจทก์ จำเลย มี ลักษณะ เป็น สัญญา ตัวแทน มิใช่ รับ ขน ทั้ง โจทก์ ไม่ ได้ ทำการ ชี้ ช่อง

ให้ แก่ จำเลย เข้า ทำ สัญญา กับ ผู้ ใด และ ไม่ ได้ จัดการ ให้ จำเลย ได้ ทำ สัญญา กับ ผู้ ใด ด้วย การก ระ ทำ ของ โจทก์ จึง

ไม่ เข้า ลักษณะ นาย หน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 การ ที่ สินค้า ของ จำเลย สูญหาย เสีย หาย หรือ ถึงที่ หมาย ล่าช้า

เนื่องจาก การ ขนส่ง ของ สาย การ บิน โดย ไม่ ได้ เกิด ขึ้น เพราะ ความ ประมาท เลินเล่อ ของ โจทก์ โจทก์ จึง ไม่ ต้อง รับ ผิด ชอบ

จำเลย ต้อง ใช้ เงิน ทดรอง และ ค่า ใช้ จ่าย ที่ โจทก์ ได้ ออก ไป เนื่อง ใน การ จัด ทำ กิจการ แก่ โจทก์ พร้อม ทั้ง บำเหน็จ ตาม

สัญญา

คำ พพิากษา ศาล ฎกีา ที ่6007/2533 หนงัสอื รบัรอง ของ สำนกังาน ทะเบยีน หุน้ สว่น บรษิทั กรงุเทพมหานคร

ระบุ ว่า จำเลย ที่ 2 มี วัตถุประสงค์ รับจ้าง ขนส่ง สินค้า โดย ทาง บก และ ทาง น้ำ ผู้ ตรา ส่ง เป็น ผู้ ว่า จ้าง ให้ จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้

บรรทุก สินค้า จาก โกดัง สินค้า ของ ผู้ ตรา ส่ง ไป ยัง การ ท่าเรือ แห่ง ประเทศไทย และ ชำระ เงิน ค่า จ้าง ขนส่ง ให้ จำเลย ที่ 2

ถือว่า จำเลย ที่ 2 ทำการ รับ ขน ของ เพื่อ บำเหน็จ ใน ทางการ ค้า ปกติ ของ ตน ย่อม เป็น ผู้ ขนส่ง ตาม ความ หมาย ของ ป.พ.พ.

มาตรา 608

5.1การรับขนที่อยู่ในบังคับของป.พ.พ.ว่าด้วยเรื่องรับขน

ป.พ.พ. มาตรา 609 บัญญัติ ว่า

“การรบัขนของหรอืคนโดยสารในหนา้ที่ของกรมรถไฟหลวงแหง่กรงุสยามและการขนไปรษณยีภณัฑ์

ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขนั้นท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้นๆ

รับขนของทางทะเลท่านใช้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น”

ดัง นั้น จึง เห็น ได้ ว่า ำ ป.พ.พ. เรื่อง รับ ขน ใช้ บังคับ แก่ การ ขนส่ง ของ และ คน โดยสาร 3 ประเภท คือ

5.1.1 การ ขนส่ง ของ หรือ คน โดยสาร ทาง บก เฉพาะ ทาง รถยนต์

5.1.2 การ ขนส่ง ของ หรือ คน โดยสาร ทาง เรือ หรือ ทาง น้ำ ภายใน ประเทศ

5.1.3 การ ขนส่ง ของ หรือ คน โดยสาร ทาง อากาศ

5.2 การรับขนที่ไม่อยู่ในบังคับของป.พ.พ. ว่าด้วยเรื่องรับขน ตาม ความ ใน มาตรา 609 บัญญัติ

ยกเว้น ไม่ นำ บทบัญญัติ ใน ป.พ.พ. ว่า ด้วย รับ ขน มา ใช้ บังคับ แก่ การขนส่ง 3 ประเภท ดังนี้

5.2.1 การรับขนของหรือคนโดยสารในหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยการ รับ ขน ของ

หรือ คน โดยสาร ใน หน้าที่ ของ การ รถไฟ แห่ง ประเทศไทย อยู่ ใน บังคับ ของ พระ ราช บัญญัติ จัด วาง ราง รถไฟ และ ทางหลวง

พ.ศ. 2464 และ ฉบับ แก้ไข เพิ่ม เติม ซึ่ง บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 50 ถึง มาตรา 70 โดย มาตรา 50 บัญญัติ ไว้ ว่า

“ข้อที่กรมรถไฟแผ่นดินจะต้องรับผิดชอบในการที่ผู้โดยสารต้องบาดเจ็บเสียหายก็ดี ฤาว่า

ครุภาระห่อวัตถุฤาสินค้าซึ่งรับบรรทุกนั้นแตกหักสูญหายก็ดี ฤาว่าการบรรทุกสิ่งนั้นช้าไปก็ดี ท่านให้ใช้บังคับ

ตามพระราชกำหนดกฎหมายส่วนแพ่งว่าด้วยการบรรทุกส่ง เว้นไว้แต่จะต้องด้วยบทมาตราดังจะกล่าวต่อไปใน

พระราชบัญญัตินี้จึงให้ใช้บทมาตรานั้นๆบังคับ”

มาตรา 50 แห่ง พระ ราช บัญญัติ จัด วาง การ รถไฟ และ ทางหลวง พ.ศ. 2464 ฉบับ แก้ไข เพิ่ม นี้

กำหนด ให้ นำ ป.พ.พ. ว่า ด้วย เรื่อง ขนส่ง ของ หรือ คน โดยสาร แล้ว แต่ กรณี มา ใช้ บังคับ แก่ ความ เสีย หาย ที่ เกิด ขึ้น

กับ สิ่งของ หรือ คน โดยสาร ใน หน้าที่ ของ การ รถไฟ แห่ง ประเทศไทย เว้น แต่ พระ ราช บัญญัติ ดัง กล่าว จะ ได้ บัญญัติ ยกเว้น

ไว้ เป็น พิเศษ ใน มาตรา 50 ถึง มาตรา 70 ก็ ให้ เป็น เป็น ตาม บทบัญญัติ พิเศษ นั้น

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 21945/2520 การ ขนส่ง รถ แทรกเตอร์ ทาง รถไฟ ของ การ รถไฟ

แห่ง ประเทศไทย ไม่ ใช้ ป.พ.พ. มาตรา 609 ใน ส่วน ที่ บัญญัติ ไว้ ใน พระ ราช บัญญัติ จัด วาง การ รถไฟ และ ทางหลวง

Page 35: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-35

พ.ศ. 2464 ซึ่ง มาตรา 51 บัญญัติ ว่าการ รถไฟ ไม่ รับ ผิด เว้น แต่ ได้ ส่ง โดย ประกัน จำเลย ได้ รับ ความ คุ้มครอง เฉพาะ

ความ รับ ผิด ทาง สัญญา แต่ โจทก์ ฟ้อง การ รถไฟ แห่ง ประเทศไทย เรียก ค่า เสีย หาย ฐาน ละเมิด ได้

5.2.2การรับขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลข

ป.พ.พ. มาตรา 609 บัญญัติ ว่า

“การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขนั้นท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎ

ข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้นๆ”

การ รับ ขน ไปรษณียภัณฑ์ ใน หน้าที่ ของ กรม ไปรษณีย์ โทรเลข อยู่ ใน บังคับ ของ พระ ราช บัญญัติ

ไปรษณีย์ โทรเลข พ.ศ. 2477 ซึ่ง ต่อ มา ใน พ.ศ. 2519 ได้ มี พระ ราช บัญญัติ การ สื่อสาร แห่ง ประเทศไทย พ.ศ.

2519 จัด ตั้ง การ สื่อสาร แห่ง ประเทศไทย ขึ้น โดย ให้ นำ กิจการ ของ กรม ไปรษณีย์ โทรเลข ใน ส่วน ที่ เกี่ยว กับ การ

ไปรษณีย์ โทรเลข และ การ โทรคมนาคม โอน ไป อยู่ กับ การ สื่อสาร แห่ง ประเทศไทย ส่วน กรม ไปรษณีย์ โทรเลข ยัง คง รับ ผิด

ชอบ เกี่ยว กับ การ สื่อสาร ระหว่าง ประเทศ และ งาน บริหาร งาน ความถี่วิทยุ เป็นต้น ดัง นั้น หลัง จาก พ.ศ. 2519 การ ฟ้อง

ร้อง เกี่ยว กับ การ ขนส่ง ไปรษณียภัณฑ์ ต้อง ฟ้อง การ สื่อสาร แห่ง ประเทศไทย เป็น จำเลย มิใช่ กรม ไปรษณีย์ โทรเลข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจ

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 1087/2517 โจทก์ ส่ง ตั๋ว แลก เงิน พร้อม จดหมาย ไป ให้ ท. ทาง ไปรษณีย์

ลง ทะเบียน แต่ มิได้ แจ้ง การ ส่ง ตั๋ว แลก เงิน ให้ จำเลย ที่ 5 ซึ่ง เป็น นาย ไปรษณีย์ ทราบ จำเลย ที่ 5 มีหน้า ที่ รับ ผิด ชอบ

แต่ เฉพาะ ไปรษณียภัณฑ์ ที่ ส่ง ไป หาย เท่านั้น ซึ่ง ตาม ระเบียบ ของ กรม ไปรษณีย์ โทรเลข รับ ผิด ชอบ ใช้ ค่า เสีย หาย

ให้ ฉบับ ละ 40 บาท แต่ โจทก์ มิได้ ฟ้อง เรียก ค่า ไปรษณียภัณฑ์ ที่ สูญหาย หาก แต่ เรียก ร้อง เงิน ตาม ตั๋ว แลก เงิน ที่

สูญหาย ซึ่ง จำเลย ที่ 5 ไม่มี หน้าที่ จะ ต้อง รู้ และ รับ ผิด ใน วัตถุ อัน มี ค่าที่ บรรจุ อยู่ ใน ไปรษณียภัณฑ์ นั้น การ ที่ ตั๋ว แลก เงิน

ของ โจทก์ สูญหาย ไป เป็น ความ เสีย หาย ที่ จำเลย ที่ 5 ไม่ สามารถ จะ คาด เห็น ได้ จำเลย ที่ 5 จึง ไม่ ต้อง รับ ผิด อัน เป็น ผล ถึง

กรม ไปรษณีย์ โทรเลข จำเลย ที่ 4 ด้วย

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 1211/2510 (ประชุม ใหญ่) จำเลย ที่ 2 เป็น บุรุษ ไปรษณีย์ ทำ ใบรับ

ไปรษณีย์ ปลอม แล้ว นำ ตั๋ว แลก เงิน ที่ ส่ง ไปรษณีย์ ถึง โจทก์ ไป รับ เงิน จาก ธนาคาร เป็นการ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์

ไม่ใช่ เป็น เรื่อง ผิด สัญญา รับ ขน พระ ราช บัญญัติ ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 ไม่ เป็น ประโยชน์ แก่ กรม ไปรษณีย์ โทรเลข

ซึ่ง เป็น จำเลย ที่ 3 ดัง นั้น จำเลย ที่ 3 ต้อง ร่วม รับ ผิด กับ จำเลย ที่ 2 ชดใช้ เงิน ให้ โจทก์ ตาม ตั๋ว แลก เงิน 40,000 บาท ซึ่ง เป็น

ความ เสีย หาย โดยตรง จาก การ ละเมิด ของ จำเลย ที่ 2

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 3976/2528 การ สื่อสาร แห่ง ประเทศไทย จำเลย ที่ 1 รับ ฝาก สินค้า คือ

ทับทิม เจียระไน และ ไพลิน เจียระไน จาก โจทก์ แล้ว ให้ บริษัท การ บิน จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ ส่ง ถุง ไปรษณีย์ บรรจุ สินค้า

นั้น 2 ห่อ ราคา 40,000 บาท เศษ จนถึง เมือง ปลาย ทางใน ต่าง ประเทศ ปรากฏ ว่า สินค้า สูญหาย เมื่อ การ ฝาก ส่ง สินค้า

ของ โจทก์ เป็น ลักษณะ ไปรษณียภัณฑ์ ลง ทะเบียน คิด ค่า ธรรมเนียม ตาม น้ำ หนัก ไม่ คำนึง ถึง มูลค่า ไม่มี การประกัน

แต่ อย่าง ใด เมื่อ ไปรษณียภัณฑ์ สูญหาย ตามพ ระ ราช บัญญัติ การ ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 29 คือ ตาม

ข้อ บังคับ ที่ ใช้ อยู่ ใน เวลา นั้น ซึ่ง พระ ราช บัญญัติ การ สื่อสาร แห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2519 มาตรา 4 ให้ คง ใช้ บังคับ

ต่อ ไป ได้ ตาม ข้อ บังคับ นั้น จำเลย ที่ 1 ต้อง รับ ผิด ห่อ ละ ไม่ เกิน 40 แฟ รงก์ ทอง คิด เป็น เงิน ไทย เท่ากับ 316 บาท

จำเลย ไม่ ต้อง รับ ผิด ตามพ ระ ราช บัญญัติ ไปรษณียภัณฑ์ มาตรา 30 ซึ่ง เป็น ไปรษณียภัณฑ์ ที่ ผู้ ฝาก ได้ ระบุ แจ้ง

ราคา ไว้ แล้ว เท่านั้น การ ที่ พนักงาน ของ จำเลย ที่ 1 ลงชื่อ และ ประทับ ตรา ลง ใน ใบขน สินค้า ขา ออก ซึ่ง แจ้ง ราคา สินค้า

ไว้ ด้วย โดย ผ่าน พิธีการ ศุลกากร มา แล้ว และ มิ ต้อง เปิด ตรวจ ให้ ตรง กัน ก่อน ประกอบ กับ โจทก์ ไม่ ได้ ส่ง เอกสาร

ใบขน สินค้า นั้น ไว้ แก่ จำเลย ที่ 1 ให้ เป็น กิจจะลักษณะ จึง ถือว่า เป็นการ แจ้ง ราคา ไว้ แก่ จำเลย ที่ 1 แล้ว หา ได้ ไม่

Page 36: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-36 กฎหมายธุรกิจ

การ สื่อสาร แห่ง ประเทศไทย จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ ขนส่ง พิเศษ ที่ จะ ต้อง แยก ไป ปฏิบัติ และ บังคับ ตาม

กฎหมาย และ กฎ ข้อ บังคับ สำหรับ การ ไปรษณีย์ โดย เฉพาะ ตาม ที่ ป.พ.พ. มาตรา 609 ประกอบ ด้วย พระ ราช บัญญัติ

การ สื่อสาร แห่ง ประเทศไทย มาตรา 13 และ มาตรา 16 บัญญัติ ไว้ จึง นำ บทบัญญัติ เรื่อง รับ ขน ของ ใน ป.พ.พ. ลักษณะ

8 หมวด 1 มา ใช้ บังคับ แก่ จำเลย ที่ 1 ไม่ ได้ และ จะ ถือว่า บริษัท การ บิน จำเลย ที่ 2 ซึ่ง มี นิติ สัมพันธ์ กับ จำเลย ที่ 1 เท่านั้น

เป็น ผู้ ขนส่ง หลาย คน หลาย ทอด ตาม มาตรา 618 ไม่ ได้ โจทก์ ซึ่ง ไม่มี นิติ สัมพันธ์ กับ จำเลย ที่ 2 จึง หา มี สิทธิ ที่ จะ เรียก ร้อง

ให้ จำเลย รับ ผิด อย่าง ใด ไม่

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 5928/2531 การ สื่อสาร แห่ง ประเทศไทย จำเลย ที่ 1 รับ ฝาก สินค้า อัญมณี

จำพวก ทับทิม และ ไพลิน เจียระไน จาก ส. เพื่อ ส่ง ไป ยัง ผู้รับ ปลาย ทาง ที่ สหรัฐอเมริกา ป.พ.พ. มาตรา 609 วรรค

แรก บัญญัติ ให้ ต้อง บังคับ ตามพ ระ ราช บัญญัติ การ สื่อสาร แห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2519 พระ ราช บัญญัติ ไปรษณีย์

พ.ศ. 2477 และ ไปรษณีย์ นิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่ง เป็น กฎหมาย และ ข้อ บังคับ ที่ ใช้ อยู่ ใน ขณะ ที่ มี การ ฝาก ส่ง ไปรษณีย์ ส. มิได ้

จัด ส่ง ใน ประเภท พัสดุไปรษณีย์ รับ ประกัน เป็น จำนวน เงิน ตาม ราคา สิ่งของ ที่ บรรจุ อยู่ ภายใน และ ต่อ มา พัสดุไปรษณีย์

ดัง กล่าว สูญหาย ไป ส. จึง มี สิทธิ เพียง ได้ รับ ชดใช้ ค่า เสีย หาย ตาม อัตรา การ ชดใช้ ค่า เสีย หาย ใน ประเภท พัสดุไปรษณีย์

ธรรมดา ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน ภาค ผนวก ของ ไปรษณีย์ นิเทศ พ.ศ. 2524 จำเลย ที่ 1 จะ อ้าง ว่า ไม่ ต้อง รับ ผิด ไม่ ได้ เมื่อ ไม่

ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ แจ้ง ให้ ส. ทราบ ว่า พัสดุไปรษณีย์ ถึง สหรัฐอเมริกา ชิ้น นี้ หาก สูญหาย จะ ไม่ ได้ รับ ชดใช้ ค่า เสีย

หาย

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 1925/2534 เมื่อ ปรากฏ ว่า เหตุ ที่ ไปรษณียภัณฑ์ สูญหาย ไป ใน ระหว่าง

การ ขนส่ง ของ จำเลย มิได้ เกิด จาก การ ทุจริต ของ พนักงาน จำเลย จำเลย จึง ต้อง รับ ผิด ชดใช้ ค่า เสีย หาย เฉพาะ ที่ ไปรษณีย ์

นิเทศ กำหนด ไว้ เท่านั้น

5.3พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ประกาศ ใน ราช กิจ จา นุเบกษา เมื่อ วัน ที่ 22

พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ซึ่ง ตาม มาตรา 2 บัญญัติ ให้ พระ ราช บัญญัติ ฉบับ นี้ ใช้ บังคับ เมื่อ พ้น กำหนด 90 วัน นับ แต่ วัน ที่

ประกาศ ใน ราช กิจ จา นุเบกษา เป็นต้น ไป ดัง นั้น จึง มี ผล บังคับ ใช้ ตั้งแต่ วัน ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535

5.3.1ขอบเขตการใช้บังคับ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล หมาย ถึง การ ขนส่ง ของ ทาง ทะเล ระหว่าง

ประเทศ กล่าว คือ เป็นการ ขนส่ง ทาง ทะเล จาก ประเทศไทย ไป ยัง ต่าง ประเทศ หรือ จาก ต่าง ประเทศ มายัง ประเทศไทย

ถ้า เป็นการ ขนส่ง ของ ทาง ทะเล บริเวณ ชายฝั่ง ของ ประเทศ ซึ่ง ถือว่า เป็นการ รับ ขน ของ ทาง ทะเลภายใน ประเทศ ต้อง อยู่

ใน บังคับ ของ ป.พ.พ. ลักษณะ รับ ขน เพราะ ไม่ใช่ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 828/2498 การ รับ ขน ของ ทาง เรือ จาก กรุงเทพ ไป ยัง จังหวัด สุราษฎร์ธานี

เป็นการ รับ ขน ของ ตาม ชายฝั่ง ของ อ่าว ไทย ใน น่าน น้ำไทย ไม่ เป็นการ รับ ขน ของ ทาง ทะเล จึง อยู่ ภายใน บังคับ ของ ป.พ.พ.

ว่า ด้วย การ รับ ขน

ตาม มาตรา 3 แห่ง พระ ราช บัญญัติ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล พ.ศ. 2534 กำหนด ให้ พระ ราช บัญญัต ิ

นี้ ใช้ เฉพาะ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล ระหว่าง ประเทศ โดย บัญญัติ ว่า

“สัญญารับขนของทางทะเลหมายความว่าสัญญาที่ผู้ขนส่งรับขนของทางทะเลจากท่าเรือที่ใน

ประเทศหนึ่งไปยังท่าเรือหรือที่ในอีกประเทศหนึ่งโดยคิดค่าระวาง”

จาก คำ นิยาม ตาม มาตรา 3 นี้ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล ตามพ ระ ราช บัญญัติ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล

พ.ศ. 2534 จึง มี ความ หมาย ตรง กับ แนว คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 828/2498

นอกจาก นี้ มาตรา 4 ยัง ได้ บัญญัติ ต่อ ไป ว่า

“พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่การขนส่งทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งในราชอาณาจักรไปยังที่อีก

แห่งหนึ่งนอกราชอาณาจักรหรือจากที่แห่งหนึ่งนอกราชอาณาจักรมายังที่อีกแห่งหนึ่งในราชอาณาจักร”

Page 37: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-37

ดัง นั้น ความ หมาย ของ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล ตามพ ระ ราช บัญญัติ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล พ.ศ.

2534 สอดคล้อง กับ กฎ แห่ง กรุง เฮก และ กฎ แห่ง เมือง แฮม เบอร์ ก

ข้อสังเกต

พระ ราช บัญญัติ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล พ.ศ. 2534 ยอมรับ หลัก ของ การ เลือก นำ กฎหมาย

ต่าง ประเทศ มา ใช้ (choice of law) โดย ตอน ท้าย ของ มาตรา 4 บัญญัติ ว่า “เว้นแต่กรณีที่ได้ระบุในใบตราส่งว่าให้

ใช้กฎหมายของประเทศอื่นหรือกฎหมายระหว่างประเทศบังคับก็ให้เป็นไปตามนั้น” อย่างไร ก็ตาม พระ ราช บัญญัติ

การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล พ.ศ. 2534 ได้ บัญญัติ ข้อ ยกเว้น ซ้อน ข้อ ยกเว้น ต่อ ไป อีก ว่า “แต่แม้ว่าจะระบุไว้เช่นนั้น

ก็ตามถ้าปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยก็ให้ใช้

พระราชบัญญัตินี้บังคับ”

ตัวอย่าง นาย เอก คน สัญชาติ ไทย ได้ ว่า จ้าง บริษัท สตูล การ เดิน เรือ จำกัด ซึ่ง เป็น บริษัท สัญชาติ

อิตาลี ขนส่ง สินค้า จาก กรุงเทพ ไป เขต ปกครอง พิเศษ ฮ่องกง โดย มี ข้อ ตกลง ใน ใบตราส่ง ว่า ให้ ใช้ กฎหมาย จีน บังคับ แก่

สัญญา ขนส่ง ทาง ทะเล ฉบับ นี้ แม้ พระ ราช บัญญัติ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล พ.ศ. 2534 จะ ยอม ให้ คู่ สัญญา เลือก กฎหมาย ที ่

จะ ใช้ บังคับ แก่ สัญญา ขนส่ง ทาง ทะเล แต่ เนื่องจาก คู่ สัญญา ฝ่าย หนึ่ง คือ นาย เอก มี สัญชาติ ไทย จึง ต้อง นำ พระ ราช บัญญัต ิ

การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล พ.ศ. 2534 ใช้ บังคับ แก่ สัญญา ขนส่ง ทาง ทะเล ฉบับ นี้

1) ถ้า คู่ กรณี ได้ ตกลง กัน เป็น หนังสือ ว่า ให้ ใช้ บังคับ แก่ การ ขนส่ง ทาง ทะเลภายใน ราช อาณาจักร ก็

ให้ ใช้ พระ ราช บัญญัติ นี้ บังคับ ได้ ดัง ที่มา ตรา 4 วรรค 2 บัญญัติ ว่า “การรับขนของทางทะเลภายในราชอาณาจักรถ้าได้

ตกลงกันเป็นหนังสือว่าให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับก็ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับโดยอนุโลม”

2) ใน กรณี การ ขนส่ง ที่ ไม่ คิด ค่า ระวาง ผู้ ขนส่ง ไม่ ต้อง รับ ผิด ตามพ ระ ราช บัญญัติ นี้32 ทั้งนี้

สอดคล้อง กับ ป.พ.พ. มาตรา 608 ซึ่ง กำหนด ว่า ผู้ ขนส่ง จะ ต้อง ทำการ ขนส่ง เพื่อ บำเหน็จ ถ้า ไม่มี บำเหน็จ แล้ว ย่อม ไม่ใช ่

การ รับ ขน

อย่างไร ก็ตาม มาตรา 4 วรรค สาม บัญญัติ ข้อ ยกเว้น เพื่อ คุ้มครอง บุคคล ภายนอก ที่ ไม่ใช่

คู่ สัญญา รับ ขน ต่อ ไป ว่า “แต่ถ้าได้มีการออกใบตราส่งใบรับของหรือเอกสารอื่นทำนองเดียวกันผู้ขนส่งต้องจดแจ้งไว้

ในใบตราส่งใบรับของหรือเอกสารอื่นทำนองเดียวกันว่าผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดมิฉะนั้นจะยกขึ้นใช้ยันบุคคลภายนอก

ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งหรือผู้รับโอนสิทธิตามใบตราส่งใบรับขนหรือเอกสารดังกล่าวมิได้”

3) พระ ราช บัญญัติ นี้ ไม่ ใช้ บังคับ แก่ การ ขนส่ง ของ ทาง ทะเล ตาม สัญญา จ้าง เหมา ระวาง บรรทุก

ของ เรือ ไม่ ว่า ทั้ง ลำ หรือ บาง ส่วน ตาม สัญญา เช่า เรือ (charter parties) เว้น แต่ มี การ ออก ใบตราส่ง สำหรับ ของ ที่

ขนส่ง ตาม สัญญา จ้าง เหมา นั้น ด้วย สิทธิ และ หน้าที่ ของ ผู้ ขนส่ง และ ผู้รับ ตรา ส่ง ซึ่ง ไม่ใช่ ผู้ จ้าง เหมา ให้ เป็น ไป ตาม

พระ ราช บัญญัติ นี้33

4) ใน กรณี การ รับ ขน ของ มี การ ขนส่ง ทาง ทะเล และ ทาง อื่น เช่น ทาง บก หรือ ทาง อากาศ รวม อยู่ ด้วย

ใน ส่วน ที่ เกี่ยว กับ การ ขนส่ง ทาง ทะเล เท่านั้น ที่ อยู่ ใน บังคับ ของ พระ ราช บัญญัติ นี้34

5.3.2ความหมายของผู้ขนส่ง ตามพ ระ ราช บัญญัติ นี้ า ผู้ ขน ส่ง ำ หมาย ถึง บุคคล ซึ่ง ประกอบ การ

รับ ขน ของ ทาง ทะเล เพื่อ บำเหน็จ เป็น ทางการ ค้า ปกติ โดย ทำ สัญญา รับ ขน ทาง ทะเล กับ ผู้ ส่ง ของ35

32 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 4 วรรคสาม33 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 534 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 635 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3

Page 38: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-38 กฎหมายธุรกิจ

ส่วน “ผู้ ขน ส่ง อื่น ”หมาย ถึง บุคคล ซึ่ง มิได้ เป็น คู่ สัญญา กับ ผู้ ส่ง ของ ใน สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล

แต่ ได้ รับ มอบ หมาย จาก ผู้ ขนส่ง ให้ ทำการ ขนส่ง ของ ตาม สัญญา นั้น แม้ เพียง ช่วง ระยะ ทาง ช่วง ใด ช่วง หนึ่ง และ

หมายความ รวม ถึง บุคคล อื่น ใด ซึ่ง ผู้ ขนส่ง อื่น ได้ มอบ หมาย ช่วง ต่อ ไป ให้ ทำการ ขนส่ง ของ นั้น ด้วย ไม่ ว่า จะ มี การ มอบ

หมาย ช่วง กัน ไป กี่ ทอด ก็ตาม แต่ ทั้งนี้ ไม่ รวม ถึง บุคคล ซึ่ง ได้ รับ มอบ อำนาจ โดย ชัด แจ้ง หรือ โดย ปริยาย ตาม ประเพณี

ใน ธุรกิจ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล ให้ เป็น ตัวแทน ผู้ ขนส่ง หรือ ผู้ ขนส่ง อื่น ใน การ ดำเนิน งาน อัน เกี่ยว กับ ธุรกิจ เนื่องจาก

การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล เช่น พิธีการ เข้า เมือง พิธีการ ศุลกากร การนำ ร่อง การ เข้า ท่า การ ออก จาก ท่า การ บรรทุก ของ

ลง เรือ การ ขน ถ่าย สินค้า ขึ้น จาก เรือ หรือ การ ส่ง มอบ ของ แก่ ผู้รับ ตรา ส่ง เป็นต้น36

5.3.3หน้าที่และสิทธิของผู้ขนส่ง

1)หน้าที่จัดหาเรือที่เหมาะสม ใน ช่วง เวลา ก่อน บรรทุก ของ ลง เรือ หรือ ก่อน ที่ เรือ จะ ออก เดิน ทาง

ผู้ ขนส่ง มีหน้า ที่ จัดหา เรือ ที่ เหมาะ สมใน การ ขนส่ง ทาง ทะเล (sea worthiness) โดย มีหน้า ที่ จะ ต้อง ทำการ ทั้ง ปวง เท่า ที่

เป็น ธรรมดา และ สมควร จะ ต้อง กระทำ สำหรับ ผู้ ประกอบ อาชีพ รับ ขน ของ ทาง ทะเลใน เรื่อง ดัง ต่อ ไป นี้

1.1) ทำให้ เรือ อยู่ ใน สภาพ ที่ สามารถ เดิน ทะเล ได้ อย่าง ปลอดภัย ใน เส้น ทาง เดิน เรือ นั้น

1.2) จัด ให้ มี คน ประจำ เรือ เครื่อง มือ เครื่อง ใช้ เครื่อง อุปกรณ์ และ สิ่ง ที่ จำเป็น ให้ เหมาะ สม

แก่ ความ ต้องการ สำหรับ เรือ นั้น และ

1.3) จัด ระวาง บรรทุก และ ส่วน อื่นๆ ที่ ใช้ บรรทุก ของ ให้ เหมาะ สม และ ปลอดภัย ตาม สภาพ

แห่ง ของ ที่ จะ รับ ขนส่ง และ รักษา เช่น เครื่อง ปรับ อากาศ ห้อง เย็น เป็นต้น37

ถ้า มี ความ บกพร่อง อย่าง ใด อย่าง หนึ่ง ดัง กล่าว ข้าง ต้น เกิด ขึ้น หลัง จาก บรรทุก ของ ลง เรือ

หรือ เมื่อ เรือ นั้น ออก เดิน ทาง แล้ว ผู้ ขนส่ง มีหน้า ที่ จะ ต้อง จัดการ แก้ไข ความ บกพร่อง นั้น โดย เร็ว ที่สุด เท่า ที่ อยู่ ใน วิสัย ที ่

ผู้ ประกอบ อาชีพ รับ ขน ของ ทาง ทะเล จะ ทำได้ ใน ภาวะ เช่น นั้น38

ข้อสังเกต

ก. หน้าที่ ของ ผู้ ขนส่ง ข้าง ต้น นี้ มิใช่ หน้าที่ ที่ จะ ต้อง ปฏิบัติ โดย เคร่งครัด (absolute duty) แต ่

เป็น หน้าที่ ที่ ผู้ ขนส่ง จะ ต้อง ใช้ ความ ระมัดระวัง อย่าง เพียง พอที่ ผู้ ประกอบ อาชีพ ขนส่ง จะ ต้อง กระทำ (due deligence)

ข. ถ้า ผู้ ขนส่ง ไม่ ปฏิบัติ ตาม หน้าที่ ดัง กล่าว ข้าง ต้น ผู้ ขนส่ง ย่อม ต้อง รับ ผิด เพื่อ การ สูญหาย

เสีย หาย หรือ ส่ง มอบ ชักช้า อัน เกิด จาก การ ไม่ ปฏิบัติ หน้าที่ ให้ ถูก ต้อง สมควร

ค. ถา้ ผู ้ขนสง่ ได ้กระทำ การ ทัง้ ปวง ที ่เปน็ ธรรมดา และ สมควร จะ ตอ้ง กระทำ สำหรบั ผู ้ประกอบ

อาชีพ รับ ขน ของ ทาง ทะเล ตาม มาตรา 8 วรรค สอง หรือ ได้ แก้ไข ความ บกพร่อง โดย เร็ว ที่สุด เท่า ที่ อยู่ ใน วิสัย ที่ ผู้ ประกอบ

อาชีพ รับ ขน ของ ทาง ทะเล จะ ทำได้ ใน ภาวะ เช่น นั้น ตาม มาตรา 9 แล้ว ผู้ ขนส่ง ไม่ ต้อง รับ ผิด เพื่อ การ สูญหาย เสีย หาย หรือ

ส่ง มอบ ชักช้า อัน เกิด ขึ้น จาก การ จัดหา เรือ ที่ ไม่ เหมาะ สม

ง. ผู้ ขนส่ง มี ภาระ การ พิสูจน์ ว่า ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ถูก ต้อง และ สมควร สำหรับ ผู้ ประกอบ อาชีพ

รับ ขน ทาง ทะเล ตาม มาตรา 8 วรรค สอง หรือ ได้ แก้ไข ความ บกพร่อง โดย เร็ว ที่สุด เท่า ที่ อยู่ ใน วิสัย ที่ ผู้ ประกอบ อาชีพ รับ

ขน ของ ทาง ทะเล จะ ทำได้ ใน ภาวะ เช่น นั้น ตาม มาตรา 9 แล้ว

36 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 8 ตรงกับกฎแห่งกรุงเฮก กฎที่ 3 ข้อ 1

กฎแห่งเมืองแฮมเบอร์กใช้คำว่า ผู้ขนส่งที่แท้จริง (actual carrier) ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งของทั้งหมดหรือช่วงใดช่วงหนึ่ง

และให้หมายความรวมถึงบุคคลอื่นใดที่ได้รับมอบหมายให้ทำการขนส่งของนั้นด้วย37 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 8 ตรงกับกฎแห่งกรุงเฮก กฎที่ 3 ข้อ 138 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 9

Page 39: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-39

2)หน้าที่ที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการควบคุมดูแลของ ผู้ ขนส่ง มีหน้า ที่ ต้อง ใช้ ความ

ระมัดระวัง และ ปฏิบัติ การ ให้ เหมาะ สมใน การ บรรทุก ลง เรือ การ ยก ขึ้น การ เคลื่อน ย้าย การ เก็บ รักษา การ ดูแล และ

การ ขน ถ่าย ของ ซึ่ง ตน ทำการ ขนส่ง39

โดย ทั่วไป ผู้ ส่ง ของ มีหน้า ที่ ที่ จะ ต้อง นำ ของ มา จัด วาง ไว้ ข้าง เรือ (along side the vessel) จาก

นั้น เป็น หน้าที่ ของ ผู้ ขนส่ง ที่ จะ จัดการ บรรทุก (load) ลง เรือ เว้น แต่ จะ มี ข้อ ตกลง เป็น อย่าง อื่น ส่วน การ ขน ของ ขึ้น

(discharge) จาก เรือ ก็ เป็น หน้าที่ ของ ผู้ ขนส่ง เช่น เดียวกัน แต่ ใน ทาง ปฏิบัติ ตัวแทน เรือ (shipping agent) จะ

ทำการ แทน ผู้ ขนส่ง โดย จะ จัดหา ผู้ ขน ถ่าย ของ (stevedores) มา แบก หาม ของ ลง และ ขึ้น จาก เรือ ดัง นั้น ตลอด

ระยะ เวลา ตั้งแต่ ขน ของ ลง เรือ จนถึง ขน ของ ขึ้น จาก เรือ ผู้ ขนส่ง จะ ต้อง ใช้ ความ ระมัดระวัง เสมอ ถ้า เกิด ความ

สูญหาย หรือ เสีย หาย ใน ช่วง ระยะ เวลา นี้ ผู้ ขนส่ง ย่อม ต้อง รับ ผิด40

3)หน้าที่ที่จะต้องออกใบตราส่ง เมื่อ ผู้ ขนส่ง ได้ รับ ของ ไว้ ใน ความ ดูแล แล้ว และ ผู้ ส่ง ของ เรียก

เอา ใบตราส่ง ผู้ ขนส่ง ต้อง ออก ให้41 แต่ ถ้า ผู้ ส่ง ของ ไม่ เรียก เอา ใบตราส่ง ผู้ ขนส่ง ก็ ไม่ ต้อง ออก ให้ ก็ได้

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 2570/2523 ใบตราส่ง นั้น กฎหมาย ไม่ ได้ บังคับ ว่า จะ ต้อง ทำให้ แก่ กัน

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 3077/2531 โจทก์ ขน สินค้า ขึ้น เรือ ของ จำเลย เพื่อ ส่ง ไป ให้ แก่ ผู้ ซื้อ ที่ ประเทศ

ญี่ปุ่น โจทก์ ไม่ เสีย ภาษี ศุลกากร อัน เป็นการ กระทำ ผิด พระ ราช บัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 จำเลย จึง ไม่ ออก

ใบตราส่ง ให้ โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ไม่ ออก ใบตราส่ง ทำให้ โจทก์ เสีย หาย ศาล ฎีกา วินิจฉัย ว่าการ ที่ โจทก์ ฟ้อง เรียก ค่า เสีย

หาย เนื่องจาก จำเลย ไม่ ยอม ออก ใบตราส่ง ให้ เช่น นั้น เป็นการ ใช้ สิทธิ โดย ไม่ สุจริต

4)หน้าที่บอกกล่าวแก่ผู้รับตราส่ง เมื่อ ของ ที่ ขนส่ง ไป ถึง ท่า ปลาย ทาง หรือ ที่ หมาย ปลาย ทาง ตาม

ที่ ตกลง กัน ไว้ แล้ว ผู้ ขนส่ง ต้อง บอก กล่าว ต่อ ผู้รับ ตรา ส่ง โดย ไม่ ชักช้า42 ถ้า ผู้ ขนส่ง ไม่ บอก กล่าว แล้ว ของ เกิด ความ เสีย

หาย หรือ อาจ ทำให้ ผู้ มา รับ ล่าช้า ผู้ ขนส่ง ต้อง รับ ผิด ชอบ

5)หน้าที่ส่งมอบของ ถ้า มิได้ ตกลง กัน เป็น อย่าง อื่น ผู้ ขนส่ง ของ ทาง ทะเล มีหน้า ที่ ต้อง ส่ง มอบ

ของ ข้าง เรือ (along side) แก่ ผู้รับ ตรา ส่ง ตาม ที่ ระบุ ชื่อ ใน ใบตราส่ง หรือ ผู้รับ สลัก หลัง โดย แสดง ใบตราส่ง นั้น แก่

ผู้ ขนส่ง และ ผู้รับ ตรา ส่ง หรือ ผู้รับ สลัก หลัง จะ ต้อง ดำเนิน การ รับ มอบ ของ ให้ แล้ว เสร็จ ภายใน เวลา ที่ กำหนด มิ ฉะนั้น จะ

ต้อง รับ ผิด ใน ความ เสีย หาย ที่ รับ มอบ ล่าช้า

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 216/2538 จำเลย สั่ง ซื้อ สินค้า พิพาท จาก บริษัท ก. ใน ประเทศ สหรัฐอเมริกา

แลว้ วา่ จา้ง โจทก ์ขนสง่ สนิคา้ ทาง ทะเล แบบ CY/CY โดย บรษิทั ก. เปน็ ฝา่ย นำ ตู ้คอนเทนเนอร ์บรรจ ุสนิคา้ มา มอบ ให ้โจทก ์

บรรทุก ลง เรือ เมื่อ มา ถึง ท่าเรือ กรุงเทพ ซึ่ง เป็น ท่าเรือ ปลาย ทาง จำเลย มีหน้า ที่ ไป ขน ถ่าย สินค้า ออก จาก ตู้ คอนเทนเนอร์

ภายใน 7 วัน แล้ว ส่ง ตู้ คอนเทนเนอร์ คืน โจทก์ จำเลย จะ ชำระ ราคา สินค้า ให้ บริษัท ก. โดย ผ่าน ทาง ธนาคาร แล้ว จำเลย

จะ รับ ใบตราส่ง จาก ธนาคาร ไป แลก ใบสั่ง ปล่อย สินค้า จาก โจทก์ เพื่อ ไป รับ สินค้า จาก การ ท่าเรือ แห่ง ประเทศไทย ต่อ มา

โจทก์ ขนส่ง สินค้า พิพาท ไป ถึง ท่าเรือ ปลาย ทาง และ พร้อม ที่ จะ ส่ง มอบ สินค้า โดย ยก ตู้ คอนเทนเนอร์ ออก จาก เรือ ทั้ง

ได้ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ แล้ว โจทก์ ย่อม มี สิทธิ ได้ รับ ค่า ระวาง และ ค่า เสีย หาย อัน เกิด จาก การ ที่ จำเลย ไม่ ไป รับ สินค้า ตาม

ข้อ ตกลง การ ที่ จำเลย จะ เรียก ให้ โจทก์ ส่ง มอบ สินค้า หรือ ไม่ หา มี ผล ต่อ ความ รับ ผิด ที่ จำเลย มี ตาม ข้อ ตกลง ไม่

39 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ตรงกับกฎแห่งกรุงเฮก กฎที่ 3 ข้อ 240 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3941 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 12 ตรงกับ ป.พ.พ. มาตรา 13 กฎแห่งกรุงเฮก กฎที่ 3 ข้อ 3

และกฎแห่งเมืองแฮมเบอร์ก กฎที่ 14 ข้อ 142 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 16 ตรงกับ ป.พ.พ. มาตรา 622

Page 40: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-40 กฎหมายธุรกิจ

ผู้ ขนส่ง มีหน้า ที่ ส่ง มอบ ของ ที่ ขนส่ง ให้ แก่ ผู้รับ ตรา ส่ง หรือ ตัวแทน โดยตรง โดย ถือว่า ผู้ ขนส่ง ได้ ส่ง

มอบ ของ ซึ่ง ตน ได้ รับ ไว้ แล้ว ดังนี้

5.1) ผู้ ขนส่ง ได้ มอบ ของ ให้ แก่ ผู้รับ ตรา ส่ง แล้ว

5.2) ใน กรณี ที่ ผู้รับ ตรา ส่ง ไม่ มา รับ ของ จาก ผู้ ส่ง ผู้ ขนส่ง ได้ จัดการ อย่าง หนึ่ง อย่าง ใด แก่ ของ

นั้น ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล หรือ ตาม กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ หรือ ประเพณี ทางการ ค้า ที่ ถือ ปฏิบัติ อยู่ ณ

ท่า ปลาย ทาง แล้ว หรือ

5.3) ผู้ ขนส่ง ได้ มอบ ของ ไว้ กับ เจ้า หน้าที่ หรือ บุคคล ใดๆ ซึ่ง กฎหมาย หรือ กฎ ข้อ บังคับ ที่ ใช้

อยู่ ณ ท่า ปลาย ทาง กำหนด ให้ ผู้ ขนส่ง ต้อง มอบ ของ ที่ ขน ถ่าย ขึ้น จาก เรือ ไว้ กับ เจ้า หน้าที่ หรือ บุคคล ดัง กล่าว43

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 1496/2530 การ ขนส่ง ทาง ทะเล ซึ่ง มี ลักษณะ การ ส่ง ของ เป็น ตู้

คอนเทนเนอร์ และ ภายใน บรรจุ สินค้า ไว้ และ ใบตราส่ง ระบุ ข้อความ ว่า ผู้ ส่ง เป็น ผู้ บรรจุ และ นับ (shipperีs load

and count) หากว่า ตู้ คอนเทนเนอร์ มา ถึง จุด หมาย ปลาย ทางใน สภาพ เรียบร้อย โดย ไม่ ปรากฏ ว่า มี การ เปิด ใน

ระหว่าง ทาง มา ก่อน แม้ สินค้า จะ ขาด หาย ไป ผู้ ขนส่ง ก็ ไม่ ต้อง รับ ผิด เนื่องจาก สินค้า มิได้ สูญหาย ไป ใน ระหว่าง การ

ขนส่ง ของ ผู้ ขนส่ง

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 79/2540 ไม่ ว่า ความ รับ ผิด ของ ผู้ ขนส่ง จะ สิ้น สุด ลง เมื่อ มี การ

ส่ง มอบ ตู้ คอนเทนเนอร์ ที่ บรรจุ สินค้า ให้ แก่ การ ท่าเรือ แห่ง ประเทศไทย หรือ ไม่ แต่ เมื่อ ความ ชำรุด บกพร่อง ของ ตู้

คอนเทนเนอร์ มี มา นาน แล้ว เป็น เหตุ ให้ น้ำ รั่ว เข้าไป จน สินค้า เสีย หาย ระหว่าง ขนส่ง ผู้ ขนส่ง จึง ต้อง รับ ผิด ใน ความ

เสีย หาย ที่ เกิด ขึ้น

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 1912/2540 ผู้ ขนส่ง ซึ่ง มีหน้า ที่ ขนส่ง ตู้ คอนเทนเนอร์ มายัง ท่าเรือ

กรุงเทพ ได้ ส่ง มอบ ตู้ คอนเทนเนอร์ ให้ แก่ การ ท่าเรือ แห่ง ประเทศไทย เพื่อ ให้ โจทก์ ผู้นำ เข้า ทำ พิธีการ ทาง ศุลกากร และ

ดำเนิน พิธีการ ออก สินค้า ถือว่า ผู้ ขนส่ง ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม สัญญา ครบ ถ้วน แล้ว หน้าที่ การ ขนส่ง สินค้า สิ้น สุด ลง

ผู้ ขนส่ง ไม่ ต้อง รับ ผิด ชอบ ใน ความ เสีย หาย ที่ เกิด ขึ้น ภาย หลัง

6)สิทธิที่จะบรรทุกของบนปากระวาง โดย หลัก ผู้ ขนส่ง ไม่มี สิทธิ บรรทุก ของ บน ปาก ระวาง

(on deck) เพราะ ว่า สินค้า ที่ บรรทุก บน ปาก ระวาง มี โอกาส ที่ จะ สูญหาย หรือ เสีย หาย ได้ ง่าย กว่า สินค้า ที่ บรรทุก ใน ระวาง

เรอื ผู ้ขนสง่ จะ ม ีสทิธ ิบรรทกุ ของ บน ปาก ระวาง ได ้เฉพาะ ใน กรณ ีที ่ได ้ตกลง กบั ผู ้สง่ ของ หรอื เปน็การ กระทำ ตาม ที ่กฎหมาย

บัญญัติ หรือ เป็นการ ปฏิบัติ ตาม ประเพณี ทางการ ค้า เกี่ยว กับ การ บรรทุก ของ เช่น นั้น

ถ้า ผู้ ขนส่ง ฝ่าฝืน โดย บรรทุก ของ บน ปาก ระวาง โดย ไม่มี สิทธิ หรือ ใน กรณี ที่ ไม่ ได้ จด แจ้ง

ข้อ ตกลง ไว้ ใน ใบตราส่ง หรือ เอกสาร อื่น และ ต่อ มา ของ ได้ สูญหาย หรือ เสีย หาย ไป ผู้ ขนส่ง จะ ต้อง รับ ผิด โดย จะ อ้าง ข้อ

ยกเว้น ความ รับ ผิด ใน หมวด 5 มาตรา 51 ถึง มาตรา 56 ไม่ ได้

7)สิทธิที่จะได้รับค่าระวาง สัญญา รับ ขน เป็น สัญญา ต่าง ตอบแทน ผู้ ส่ง จึง มีหน้า ที่ ต้อง ชำระ

ค่า ระวาง (freight) และ ค่า อุปกรณ์ แห่ง ระวาง แก่ ผู้ ขนส่ง และ ผู้ ขนส่ง มี สิทธิ ที่ จะ ได้ รับ ค่า ระวาง และ ค่า อุปกรณ์ แห่ง

ระวาง นั้น ส่วน จะ ชำระ กัน ก่อน หรือ เมื่อ ของ มา ถึง แล้ว แต่ จะ ตกลง กัน ถ้า ตกลง กัน ชำระ ที่ ปลาย ทาง เมื่อ ผู้ ขนส่ง ได้

ขน ของ ไป ถึง ท่า ปลาย ทาง หรือ ที่ หมาย ปลาย ทาง และ พร้อม ที่ จะ ส่ง มอบ ของ นั้น แล้ว ผู้ ขนส่ง มี สิทธิ ได้ รับ ค่า ระวาง

และ อุปกรณ์ แห่ง ค่า ระวาง เว้น แต่ จะ มี ข้อ กำหนด ใน ใบตราส่ง หรือ ได้ ตกลง กัน ไว้ เป็น อย่าง อื่น ใน สัญญา รับ ขน ของ ทาง

ทะเล44

43 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 4044 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 14

Page 41: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-41

8)สิทธิยึดหน่วง ใน กรณี ตกลง ชำระ ค่า ระวาง และ ค่า อุปกรณ์ แห่ง การ ขนส่ง ที่ ปลาย ทาง ผู้ ขนส่ง

ย่อม มี สิทธิ ที่ จะ ยึด หน่วง ของ ไว้ จนกว่า จะ ได้ รับ ชำระ ค่า ระวาง และ อุปกรณ์ แห่ง ค่า ระวาง หรือ จนกว่า ผู้รับ ตรา ส่ง จะ ได้

จัด ให้ มี ประกัน ตาม สมควร45

9)บุริมสิทธิ ผู้ ขนส่ง ย่อม มี สิทธิ ได้ รับ ชำระ หนี้ จาก ของ ที่ ขนส่ง ก่อน เจ้า หนี้ ธรรมดา และ เจ้า หนี้

ที่ มี บุริมสิทธิ ต่ำ กว่า เพราะ หนี้ ค่า ระวาง พาหนะ นี้ เป็น หนี้ บุริมสิทธิ เหนือ ของ ที่ อยู่ ใน ความ ครอบ ครอง ของ ผู้ ขนส่ง46

และ แม้ ของ นั้น จะ เป็น ของ บุคคล ภายนอก ไม่ใช่ เป็น ของ ผู้ ส่ง ผู้ ขนส่ง ก็ อาจ ใช้ บุริมสิทธิ เหนือ ของ นั้น ได้ เว้น แต่ ผู้ ขนส่ง

จะ รู้ หรือ ควร รู้ ว่า ของ นั้น เป็น ของ บุคคล ภายนอก47

5.3.4ความรับผิดของผู้ขนส่ง ผู้ ขนส่ง จะ ต้อง รับ ผิด ชอบ ต่อ สินค้า ที่ ขนส่ง นับ แต่ เวลา รับ มอบ

จนถึง เวลา ที่ การ ขนส่ง สิ้น สุด ลง โดย ถือว่า การ ขนส่ง สิ้น สุด ลง เมื่อ ผู้ ขนส่ง ได้ มอบ ของ ให้ แก่ ผู้รับ ตรา ส่ง แล้ว หรือ

ใน กรณี ที่ ผู้รับ ตรา ส่ง ไม่ มา รับ ของ จาก ผู้ ขนส่ง ผู้ ขนส่ง ได้ จัดการ ตาม สัญญา หรือ กฎหมาย หรือ ประเพณี แล้ว หรือ ได้

มอบ ของ แก่ ผู้ มี อำนาจ ตาม กฎหมาย

นอกจาก นี้ พระ ราช บัญญัติ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล ได้ กำหนด หลัก การ ห้าม โดย เด็ด ขาด มิ ให้

ผู้ ขนส่ง ปลดเปลื้อง หรือ กำหนด หน้าที่ หรือ ความ รับ ผิด ใดๆ ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน พระ ราช บัญญัติ ฉบับ นี้ ให้ น้อย ลง

หรือ ปัด ภาระ การ พิสูจน์ หรือ เป็น ผู้รับ ประโยชน์ จาก สัญญา ประกัน ภัย ถ้า มี ข้อ ตกลง เช่น ว่า นี้ ถือว่า เป็น โมฆะ48 ซึ่ง

หลัก การ นี้ แตก ต่าง กับ หลัก การ ที่ ปรากฏ ใน ป.พ.พ. ซึ่ง อนุญาต ให้ ผู้ ขนส่ง ยกเว้น หรือ จำกัด ความ รับ ผิด ได้ หาก

ผู้ ส่ง แสดง ความ ตกลง ด้วย โดย ชัด แจ้ง49

5.3.5หน้าที่ ความรับผิดและสิทธิของผู้ส่งของ ผู้ ส่ง ของ หมาย ถึง บุคคล ซึ่ง เป็น คู่ สัญญา กับ

ผู้ ขนส่ง ใน สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล ผู้ ส่ง ของ มีหน้า ที่ ความ รับ ผิด และ สิทธิ หลาย ประการ ได้แก่ หน้าที่ แจ้ง ให้

ทราบ ถึง ของ ที่ มี สภาพ อัน ก่อ ให้ เกิด อันตราย หน้าที่ ชำระ ค่า ใช้ จ่าย50 ความ รับ ผิด อัน เกิด จาก ความ ประมาท หรือ ความ

ผิด ของ ผู้ ส่ง ของ51 ความ รับ ผิด เนื่องจาก ผู้ ส่ง ของ ได้ แจ้ง ข้อความ ไม่ ถูก ต้อง52 ความ รับ ผิด อัน เกิด จาก การ ที่ ผู้ ขนส่ง จำ

ต้อง ขน ถ่าย ของ ที่ มี สภาพ อันตราย ขึ้น จาก เรือ หรือ ทำลาย ของ นั้น53 ความ รับ ผิด เนื่องจาก ผู้ ส่ง ของ ไม่ ปฏิบัติ ตาม หน้าที่54

และ สิทธิ ที่ จะ สั่ง การ ให้ ผู้ ขนส่ง งด การ ขนส่ง หรือ จัดการ แก่ ของ ที่ ขนส่ง เป็น ประการ อื่น55

45 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3า 3546 ป.พ.พ. มาตรา 26747 ป.พ.พ. มาตรา 26848 พระราชบญัญตักิารรบัขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 17 ตรงกบักฎแหง่กรงุเฮก กฎที ่3 ขอ้ 8 และกฎแหง่เมอืงแฮมเบอรก์ กฎที ่2349 ป.พ.พ. มาตรา 62550 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3651 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3152 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3253 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3454 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 35 ถึงมาตรา 3855 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 35 ถึงมาตรา 38

Page 42: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-42 กฎหมายธุรกิจ

5.3.6ใบตราส่ง

1) ใบตราส่ง ตาม ป.พ.พ. ว่า ด้วย เรื่อง รับ ขน มี ลักษณะ 3 ประการ คือ

1.1) ใบตราส่ง เป็น พยาน หลัก ฐาน ที่ แสดง ว่า คู่ สัญญา ได้ มี การ ทำ สัญญา รับ ขน ของ และ เป็น

พยาน หลัก ฐาน ที่ แสดง ว่า ผู้ ขนส่ง ได้ รับ มอบ สินค้า ตาม จำนวน หีบห่อ น้ำ หนัก หรือ ปริมาณ และ สภาพ ที่ ปรากฏ ภายนอก

ตาม ที ่ระบ ุไว ้ใน ใบตราสง่56 แต ่ใบตราสง่ มใิช่ สญัญา รบั ขน และ สญัญา รบั ขน ไม่ ตอ้ง ทำ เปน็ หนงัสอื หรอื ไม่ ตอ้ง ม ีหลกั ฐาน

เป็น หนังสือ ฉะนั้น แม้ จะ มี การ ออก ใบตราส่ง คู่ กรณี ก็ อาจ จะ นำสืบ เปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อความ ใน ใบตราส่ง ได้57

1.2) ใบตราส่ง เป็น เอกสาร สิทธิ และ เป็น ตราสาร ที่ สามารถ โอน ได้ โดย การ สลัก หลัง แม้

ใบตราส่ง จะ ได้ ออก ให้ แก่ บุคคล ใด โดย นาม ก็ตาม เว้น แต่ จะ มี ข้อ ห้าม การ สลัก หลัง ไว้ โดย ให้ สิทธิ แก่ ผู้ทรง ใบตราส่ง นั้น

ที่ จะ รับ มอบ ของ โดย มี เงื่อนไข ว่า จะ ต้อง เวนคืน ใบตราส่ง นั้น ให้ กับ ผู้ ขนส่ง58

1.3) ใบตราส่ง เป็น ตราสาร ที่ ให้ สิทธิ กับ ผู้ทรง ใบตราส่ง ที่ จะ รับ มอบ ของ ไป ได้ โดย มี

เงื่อนไข ว่า จะ ต้อง เวนคืน ใบตราส่ง ให้ กับ ผู้ ขนส่ง59

มาตรา 626 บัญญัติ ว่า “ตราบใดของยังอยู่ในมือผู้ขนส่ง ตราบนั้นผู้ส่งหรือถ้าได้ทำ

ใบตราส่งผู้ทรงใบตราส่งนั้นอาจจะให้ผู้ขนส่งงดการส่งของนั้นไปหรือให้ส่งกลับคืนมาหรือให้จัดการแก่ของนั้น

เป็นอย่างอื่นประการใดก็ได้”

มาตรา นี้ เป็น กรณี ที่ ผู้ ส่ง ของ มี สิทธิ จะ สั่ง ให้ ผู้ ขนส่ง ใน ระหว่าง การ ขนส่ง ให้ หยุด ไม่ ต้อง

ส่ง ของ ไป จนถึง ปลาย ทาง ได้ หรือ ให้ ส่ง กลับ คืน มา หรือ ให้ จัดการ แก่ ของ นั้น เป็น อย่าง อื่น ก็ได้ เช่น ใน กรณี ผู้ ซื้อ ผิด

สัญญา ไม่ ชำระ ราคา สินค้า แต่ ปัญหา มี ว่า ถ้า ตอน ทำ สัญญา ซื้อ ขาย เสร็จ เด็ด ขาด กรรมสิทธิ์ โอน ไป ยัง ผู้ ซื้อ แล้ว ผู้

ขาย จะ มี สิทธิ อะไร ใน การ ยึด หน่วง สินค้า ไว้ เพราะ สิทธิ ยึด หน่วง ขาด ไป แล้ว ตั้งแต่ ส่ง มอบ สินค้า ให้ แก่ ผู้ ขนส่ง หรือ

ถ้า ผู้ ซื้อ เป็น ผู้ ทำ สัญญา กับ ผู้ ขนส่ง ผู้ ขาย จะ ใช้ สิทธิ ตาม มาตรา 626 นี้ ระงับ การ ส่ง สินค้า และ ให้ ส่ง กลับ คืน มายัง

ผู้ ขาย ได้ หรือ ไม่

ตาม ปัญหา ทั้ง สอง ข้าง ต้น จะ เป็น ได้ ว่า ไม่ ว่า สัญญา รับ ขน นั้น ผู้ ขาย หรือ ผู้ ซื้อ จะ เป็น

คู่ สัญญา รับ ขน แต่ การ ส่ง มอบ สินค้า ให้ ผู้ ขนส่ง ก็ เพื่อ ส่ง ต่อ ไป ยัง ผู้ ซื้อ ดัง นั้น เมื่อ มี การ ส่ง มอบ สินค้า โดย ชอบ ให้ แก่ ผู้

ขนส่ง แล้ว ก็ ถือว่า ผู้ ขาย ไม่ ได้ ครอบ ครอง สินค้า แล้ว ผู้ ขาย จึง หมด สิทธิ ยึด หน่วง ใน ตัว สินค้า นั้น

2) ใบตราส่ง ตามพ ระ ราช บัญญัติ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล พ.ศ. 2534 พระ ราช บัญญัติ การ

รับ ขน ของ ทาง ทะเล พ.ศ. 2534 นิยาม คำ ว่า า ใบ ตรา ส่ง ำ ว่า หมาย ถึง เอกสาร ที่ ผู้ ขนส่ง ออก ให้ แก่ ผู้ ส่ง ของ เป็น หลัก ฐาน

แห่ง สัญญา รับ ขน ของ ทาง ทะเล60 ดัง นั้น ตามพ ระ ราช บัญญัติ การ รับ ขน ของ ทาง ทะเล นี้ ใบตราส่ง มี ลักษณะ ดังนี้

2.1) ใบตราส่ง เป็น หลัก ฐาน ว่า ผู้ ขนส่ง ได ้รับ ของ ตาม ที่ ระบุ ใน ใบตราส่ง ไว้ ใน ความ ดูแล หรือ

ได้ บรรทุก ของ ลง เรือ แล้ว และ ผู้ ขนส่ง รับ ที่ จะ ส่ง มอบ ของ ดัง กล่าว ให้ แก่ ผู้ มี สิทธิ รับ ของ นั้น61

56 ป.พ.พ. มาตรา 61357 ป.วิ.พ. มาตรา 9458 ป.พ.พ. มาตรา 61459 ป.พ.พ. มาตรา 61560 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 361 เรื่องเดียวกัน

Page 43: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-43

2.2) ใบตราส่ง เป็น หลัก ฐาน ของ สัญญา รับ ขน62

2.3) ใบตราส่ง เป็น ตราสาร ที่ โอน เปลี่ยน มือ ได้63

2.4) ใบตราส่ง เป็น ตราสาร ที่ ให้ สิทธิ แก่ ผู้รับ ตรา ส่ง ใน การ ที่ จะ เรียก ให้ ผู้ ขนส่ง มอบ สินค้า

ให้ โดย การ เวนคืน ใบตราส่ง นั้น64 ซึ่ง มี หลัก การ เช่น เดียว กับ ใน ป.พ.พ. ซึ่ง ตรง กับ คำ ว่า document of title โดย ผู้ทรง

ใบตราส่ง มี สิทธิ ไป รับ สินค้า เท่านั้น หา ได้ เกี่ยว กับ กรรมสิทธิ์ ใน ตัว สินค้า ไม่

2.5) ใบตราส่ง เป็น ตราสาร ที่ กำหนด ความ สัมพันธ์ ระหว่าง ผู้ ขนส่ง กับ ผู้รับ ตรา ส่ง65

2.การรับขนของทางอากาศเดิม การ รับ ขน ของ ทาง อากาศ มี พระ ราช บัญญัติ การ เดิน อากาศ พ.ศ. 2480 มาตรา 28 กำหนด ให้ นำ บทบัญญัติ

แห่ง ป.พ.พ.ว่า ด้วย เรื่อง รับ ขน มา ใช้ บังคับ แก่ การ รับ ขน ทาง อากาศ เท่า ที่ ไม่ แย้ง หรือ ขัด กับ บทบัญญัติ นี้ แต่ ต่อ มา มี

พระ ราช บัญญัติ การ เดิน อากาศ พ.ศ. 2497 ยกเลิก พระ ราช บัญญัติ การ เดิน อากาศ พ.ศ. 2480 และ มิได้ บัญญัติ ใน เรื่อง

การ รับ ขน ทาง อากาศ ไว้ ดัง นั้น ใน เรื่อง การ รับ ขน ทาง อากาศ จึง ต้อง บังคับ ตาม ป.พ.พ. ว่า ด้วย เรื่อง รับ ขน

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 3514/2531 (ประชุม ใหญ่) จำเลย ที่ 1 รับจ้าง ขนส่ง สินค้า จาก ประเทศไทย ไป ยัง เมือง

ชาน โจ อัน ประเทศ ปัว โต ริ โก้ โดย จำเลย ที่ 1 จัดหา รถ บรรทุก ไป ขน สินค้า จาก โรงงาน ของ ผู้ ว่า จ้าง ผู้ ส่ง ไป ยัง สนาม บิน

กรุงเทพ แล้ว ว่า จ้าง จำเลย ที่ 2 ขนส่ง สินค้า นั้น ทาง อากาศ ต่อ ไป อีก ทอด หนึ่ง เพื่อ ส่ง มอบ แก่ บริษัท ค. ที่ เมือง นิวยอร์ก

และ บริษัท ค. รับ สินค้า และ ดำเนิน การ ให้ บริษัท อ. ขนส่ง ต่อ ไป ยัง จุด หมาย ปลาย ทาง ดังนี้ ถือ เป็นการ ขนส่ง หลาย

ทอด เมื่อ สินค้า สูญหาย ไป ใน ระหว่าง การ ขนส่ง ช่วง สุดท้าย จำเลย ที่ 2 ต้อง ร่วม รับ ผิดชดใช้ ค่า เสีย หาย ด้วย ตาม ป.พ.พ.

มาตรา 618

3.การรับขนของทางบกการ รับ ขน ของ ทาง บก หมาย ถึง การ ขนส่ง ทาง รถไฟ และ การ ขนส่ง ทาง รถยนต์ ปัจจุบัน ประเทศไทย ยัง

ไม่มี กฎหมาย รับ ขน ของ ทาง บก ระหว่าง ประเทศ โดย เฉพาะ จึง ต้อง นำ บท กฎหมาย ที่ ใกล้ เคียง อย่าง ยิ่ง และ หลัก

กฎหมาย ทั่วไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ซึ่ง ใน กรณี การ รับ ขน ของ ทาง บก ได้แก่ ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ รับ ขน ซึ่ง ศาล

ไทย ได้ เคย นำ ป.พ.พ. มาตรา 4 นี้ มา ใช้ ปรับ แก่ คดี เกี่ยว กับ การ ขนส่ง ทาง ทะเล ก่อน มี พระ ราช บัญญัติ การ รับ ขน ของ ทาง

ทะเล พ.ศ. 2534 ใช้ บังคับ

4.การขนส่งในตู้สินค้าปัจจุบัน การ ขนส่ง สินค้า มัก มี การ บรรจุ สินค้า ไว้ ใน ตู้ คอนเทนเนอร์ หรือ ตู้ สินค้า เพื่อ ความ สะดวก แก่ การ

ขนส่ง และ ความ ปลอดภัย ของ สินค้า ซึ่ง การ ขนส่ง โดย ตู้ คอนเทนเนอร์ หรือ ตู้ สินค้า นี้ มี รูป แบบ ความ ตกลง 4 ลักษณะ

คือ

62 เรื่องเดียวกัน แต่มาตรา 3 ไม่ได้กำหนดให้สัญญารับขนต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ63 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 2764 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 28 มาตรา 29 และมาตรา 3065 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 26

Page 44: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-44 กฎหมายธุรกิจ

4.1 แบบ LCL/LCL (ยุโรป) หรือ CFS/CFS หรือ pier to pier (อเมริกา) หมายความ ว่าที่ ท่าเรือ

ต้นทาง ผู้ ขนส่ง จะ นำ สินค้า บรรจุ ลง ตู้ คอนเทนเนอร์ เมื่อ สินค้า ถึง ท่าเรือ ปลาย ทาง ผู้ ขนส่ง จะ เปิด ตู้ คอนเทนเนอร์ แล้ว

นำ สินค้า เข้า เก็บ ใน โกดัง เพื่อ รอ ผู้รับ ตรา ส่ง มา รับ ของ ไป

4.2 แบบ LCL/FCL (ยุโรป) หรือ CFS/CY หรือ pier to house (อเมริกา) หมายความ ว่าที่ ท่าเรือ

ต้นทาง ผู้ ขนส่ง จะ นำ สินค้า บรรจุ ลง ตู้ คอนเทนเนอร์ เมื่อ สินค้า ถึง ท่าเรือ ปลาย ทาง ผู้รับ ตรา ส่ง เปิด ตู้ เอา สินค้า ไป เอง

4.3 แบบ FCL/FCL หรือ CY/CY หรือ house to house หมายความ ว่าที่ ท่าเรือ ต้นทาง ผู้ ส่ง จะ นำ สินค้า

บรรจุ ลง ตู้ คอนเทนเนอร์ เมื่อ สินค้า ถึง ท่าเรือ ปลาย ทาง ผู้รับ ตรา ส่ง เปิด ตู้ คอนเทนเนอร์ เอา สินค้า ไป เอง

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 1496/2530 การ ขนส่ง ทาง ทะเล ซึ่ง มี ลักษณะ การ ส่ง ของ เป็น ตู้ คอนเทนเนอร์ และ

ภายใน บรรจุ สินค้า ไว้ และ ใบตราส่ง ระบุ ข้อความ ว่า า ผู้ ส่ง เป็น ผู้ บรรจุ และ นับ ำ (shipperีs load and count)

นั้น หากว่า ตู้ คอนเทนเนอร์ มา ถึง จุด หมาย ปลาย ทางใน สภาพ เรียบร้อย โดย ไม่ ปรากฏ ว่า มี การ เปิด ใน ระหว่าง ทาง

มา ก่อน แม้ สินค้า จะ ขาด หาย ไป ผู้ ขนส่ง ก็ ไม่ ต้อง รับ ผิด เนื่องจาก สินค้า มิได้ สูญหาย ไป ใน ระหว่าง การ ขนส่ง ของ

ผู้ ขนส่ง

4.4 แบบ FCL/LCL หรือ CY/CFS หรือ (house to pier) หมายความ ว่าที่ ท่าเรือ ต้นทาง ผู้ ส่ง จะ นำ สินค้า

บรรจุ ลง ตู้ คอนเทนเนอร์ เมื่อ สินค้า ถึง ท่าเรือ ปลาย ทาง ผู้ ขนส่ง เปิด ตู้ คอนเทนเนอร์ นำ สินค้า เข้า เก็บ ใน โกดัง

กิจกรรม12.2.4

ลักษณะที่สำคัญของใบตราส่งมีอะไรบ้าง

แนวตอบกิจกรรม12.2.4

ใบตราส่งมีลักษณะที่สำคัญอยู่4ประการคือ

1.ใบตราส่งเป็นใบรับสินค้า

2.ใบตราส่งเป็นเอกสารแสดงข้อตกลงและเป็นหลักฐานของสัญญารับขนของทางทะเล

3.ใบตราส่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิ

4.ใบตราส่งเป็นเอกสารที่เปลี่ยนมือได้

Page 45: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-45

เรื่องที่12.2.5

การประกันภัยระหว่างประเทศ

การ ประกัน ภัย ระหว่าง ประเทศ หมาย ถึง การ ที่ บริษัท ประกัน ภัย หรือ ผู้รับ ประกัน ภัย ตกลง จะ ใช้ ค่า สินไหม

ทดแทน หรือ ใช้ เงิน จำนวน หนึ่ง ให้ แก่ ผู้ เอา ประกัน ภัย ใน กรณี เกิด วินาศภัย หรือ ความ เสีย หาย แก่ วัตถุ ที่ เอา ประกัน ภัย

ที่ ขนส่ง จาก ประเทศ หนึ่ง ไป ยัง อีก ประเทศ หนึ่ง ซึ่ง การ ประกัน ภัย ระหว่าง ประเทศ แบ่ง ได้ เป็นการ ประกัน ภัย ทาง ทะเล

(marine insurance) และ การ ประกัน ภัย ทาง อากาศ (air insurance)

1.การประกันภัยทางทะเล1.1 ความหมายของการประกันภัยทางทะเล พระ ราช บัญญัติ ประกัน ภัย ทาง ทะเล ของ ประเทศ อังกฤษ

(Marine Insurance Act 1906) มาตรา 1 ให้ ความ หมาย ของ สัญญา ประกัน ภัย ทาง ทะเล (contract of marine

insurance) ว่า เป็น สัญญา ที่ ผู้รับ ประกัน ภัย ตกลง จะ ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ให้ แก่ ผู้ เอา ประกัน ภัย ตาม ลักษณะ

และ ขอบเขต ที่ ได้ ตกลง กัน ใน กรณี วินาศภัย ทาง ทะเล เกี่ยวข้อง กับ การ เดิน เรือ ซึ่ง มี ความ หมาย คล้าย กับ ป.พ.พ.

มาตรา 861 ที่ ให้ ความ หมาย ของ สัญญา ประกัน วินาศภัย ว่า เป็น สัญญา เพื่อ การ ชดใช้ ค่า สินไหม ทดแทน (contract of

indemnity)

1.2หลักกฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยทางทะเล ป.พ.พ. มาตรา 868 บัญญัติ ว่า

“อันสัญญาประกันภัยทางทะเลท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทะเล”

บทบญัญตั ิมาตรา 868 หมายความ วา่ สญัญา ประกนั ภยั ทาง ทะเล ให ้ใช ้บทบญัญตั ิแหง่ กฎหมาย ทะเล บงัคบั โดย

ไม่ นำ ป.พ.พ. ว่า ด้วย เรื่อง ประกัน ภัย มา ใช้ บังคับ แก่ สัญญา ดัง กล่าว อย่างไร ก็ตาม ขณะ นี้ ประเทศไทย ยัง ไม่มี กฎหมาย

ประกัน ภัย ทาง ทะเล เป็นการ เฉพาะ ดัง นั้น ศาล ฎีกา ไทย จึง นำ พระ ราช บัญญัติ ประกัน ภัย ทาง ทะเล ของ ประเทศ อังกฤษ

( Marine Insurance Act 1906) และ คำ พิพากษา ของ ศาล อังกฤษ มา ใช้ ใน ฐานะ หลัก กฎหมาย ทั่วไป ใน การ วินิจฉัย

ความ รับ ผิด ของ ผู้รับ ประกัน ภัย

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 999/2549 ป.พ.พ. มาตรา 868 บัญญัติ อัน สัญญา ประกัน ภัย ทาง ทะเล ท่าน ให้ บังคับ

ตาม บทบัญญัติ แห่ง กฎหมาย ทะเล ซึ่ง กฎหมาย ทะเล ของ ประเทศไทย ยัง หา มี ไม่ ทั้ง จารีต ประเพณี ก็ ไม่ ปรากฏ ควร

เทียบ วินิจฉัย คดี นี้ ตาม หลัก กฎหมาย ทั่วไป ตาม มาตรา 4 ป.พ.พ. สัญญา ประกัน ภัย ราย นี้ ทำ ขึ้น เป็น ภาษา อังกฤษ ศาล

ฎีกา เห็น ว่า ควร ถือ เอา กฎหมาย ว่า ด้วย การ ประกัน ภัย ทาง ทะเล ของ ประเทศ อังกฤษ เป็น กฎหมาย ทั่วไป เพื่อ เทียบ เคียง

วินิจฉัย ด้วย และ ศาล ฎีกา ได้ นำ Marine Insurance Act 1906 หรือ พระ ราช บัญญัติ ประกัน ภัย ทาง ทะเล ของ ประเทศ

อังกฤษ และ คำ พิพากษา ของ ศาล อังกฤษ ใน เรื่อง นี้ มา เป็น หลัก ใน การ วินิจฉัย คดี ดัง กล่าว ด้วย

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 7350/2537 ประกัน ภัย ราย นี้ เป็น สัญญา ประกัน ภัย ทาง ทะเล ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา

868 บัญญัติ ว่า อัน สัญญา ประกัน ภัย ทาง ทะเล ท่าน ให้ บังคับ ตาม บทบัญญัติ แห่ง กฎหมาย ทะเล แต่ กฎหมาย

ทะเล ของ ประเทศไทย ยัง หา มี ไม่ ทั้ง จารีต ประเพณี ก็ ไม่ ปรากฏ จึง ต้อง วินิจฉัย เรื่อง ประกัน ภัย ทาง ทะเล ตาม หลัก

กฎหมาย ทั่วไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 กรมธรรม์ ประกัน ภัย ราย นี้ ทำ ขึ้น เป็น ภาษา อังกฤษ จึง ควร ถือ กฎหมาย ว่า ด้วย

การ ประกัน ภัย ทาง ทะเล ของ ประเทศ อังกฤษ หรือ สห ราช อาณาจักร บริเตนใหญ่ และ ไอร์แลนด์เหนือ ได้แก่

พระ ราช บัญญัติ ประกัน ภัย ทาง ทะเล 1906 มาตรา 33 ของ ประเทศ อังกฤษ (Marine Insurance Act 1906)

เป็น กฎหมาย ทั่วไป เพื่อ เทียบ เคียง วินิจฉัย

Page 46: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-46 กฎหมายธุรกิจ

1.3ลักษณะและสาระสำคัญของสัญญาประกันภัยทางทะเล

1.3.1สัญญาประกันภัยทางทะเลเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน(contract

ofindemnity) เงื่อนไข แห่ง การ ชดใช้ ค่า สินไหม ทดแทน คือ การ เกิด เหตุการณ์ อัน เป็น วินาศภัย ทาง ทะเล ขึ้น นอกจาก นี้

พระ ราช บัญญัติ ประกัน ภัย ทาง ทะเล ของ ประเทศ อังกฤษ มาตรา 2 ได้ กำหนด ให้ สัญญา ประกัน ภัย ทาง ทะเล โดย

ความ ตกลง ชัด แจ้ง หรือ โดย ประเพณี ทางการ ค้า ขยาย ไป คุ้มครอง ผู้ เอา ประกัน ภัย ต่อ ความ เสีย หาย ทาง น้ำ ภายใน

ประเทศ หรือ บน พื้น ดิน ซึ่ง เกี่ยว เนื่อง กับ การ เดิน ทะเล (mixed sea and land risks) ดัง นั้น การ ขนส่ง สินค้า ที่

เอา ประกัน ภัย ทั้ง ทาง บก หรือ ทาง น้ำ ภายใน ประเทศ ที่มา ยัง ท่าเรือ หรือ การ ขนส่ง สินค้า ที่ เอา ประกัน ไป ยัง ปลาย ทาง ทาง

บก ถือว่า การ ขนส่ง ทาง บก หรือ ทาง น้ำ นั้น อยู่ ใน บังคับ ของ สัญญา ประกัน ภัย ทาง ทะเล ถ้า คู่ สัญญา ได้ ตกลง กัน ชัด แจ้ง

หรือ มี ประเพณี ทางการ ค้า

1.3.2ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัยทางทะเล (insurable interest in the

subject-matterinsured)

1) วัตถุที่เอาประกันภัยทางทะเล พระ ราช บัญญัติ ประกัน ภัย ทาง ทะเล ของ ประเทศ อังกฤษ

มาตรา 3 กำหนด ให้ สิ่ง ดัง ต่อ ไป นี้ เป็นวัตถุ ที่ เอา ประกัน ภัย ทาง ทะเล ได้

ก) เรือ สินค้า หรือ สังหาริมทรัพย์ อื่นๆ ที่ ตก อยู่ ใน ภยันตราย ทาง ทะเล

ข) ค่า ระวาง ค่า โดยสาร ค่า นาย หน้า ผล กำไร ผล ประโยชน์ ที่ เป็น ตัว เงิน หลัก ประกัน

สำหรับ เงิน ล่วง หน้า เงิน ยืม หรือ เงิน ทดรอง จ่าย ใดๆ ซึ่ง ตก อยู่ ใน อันตราย จาก การ ที่ ทรัพย์สิน ที่ เอา ประกัน ภัย

ตก อยู่ ใน ภยันตราย ทาง ทะเล

ค) ความ รับ ผิด ของ เจ้าของ หรือ ผู้ มี ส่วน ได้ เสีย อื่นๆ หรือ ผู้ ที่ ต้อง รับ ผิด ชอบ ต่อ ทรัพย์สิน

ที่ เอา ประกัน ภัย อัน เนื่อง มา จาก ภยันตราย ทาง ทะเล (maritime perils) โดย ให้ คำ นิยาม ของ คำ ว่า า ภยันตราย ทาง

ทะเล ำ ว่า หมาย ถึง ภยันตราย ที่ เป็น ผล มา จาก หรือ เกี่ยว เนื่อง กับ การ เดิน เรือ ใน ทะเล กล่าว คือ ภัย แห่ง ทะเล (peril

of the sea) อัคคี ภัย (fire) ภัย จาก สงคราม (war perils) โจร สลัด (pirates) ขโมย (thieves) การ จับกุม การ

ยึด การ กัก และ การ ควบคุม โดย อำนาจ รัฐ หรือ โดย มวลชน (detainments of princes and peoples) การ ทิ้ง ของ

บน เรือ (jettisons) การก ระ ทำ โดย มิ ชอบ (barratry) ต่อ เจ้าของ เรือ นาย เรือ หรือ คน ประจำ เรือ และ ภยันตราย

อื่น ใด ที่ คล้ายคลึง กัน (any other perils) หรือ ซึ่ง ได้ กำหนด ไว้ ในกรม ธร รม์ ประกัน ภัย

2)ส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยทางทะเล

ก)ความสำคญัของสว่นได้เสยี สญัญา ประกนั ภยั ทาง ทะเล จะ สมบรูณ ์ตอ่ เมือ่ ผู ้เอา ประกนั ภยั

มี ส่วน ได้ เสีย ใน วัตถุ ที่ เอา ประกัน ภัย โดย พระ ราช บัญญัติ ประกัน ภัย ทาง ทะเล ของ ประเทศ อังกฤษ มาตรา 4 (1)

กำหนด ว่า สัญญา ประกัน ภัย ทาง ทะเล ที่ มี ลักษณะ เป็นการ พนัน หรือ ขันต่อ ให้ เป็น โมฆะ และ ใน มาตรา 4 (2)

กำหนด ว่า สัญญา ประกัน ภัย ทาง ทะเล ถือว่า เป็นการ พนัน ขันต่อ ถ้า ผู้ เอา ประกัน ภัย ไม่ ได้ เป็น ผู้ มี ส่วน ได้ เสีย ที่

อาจ เอา ประกัน ภัย ได้ (มูล ประกัน ภัย หรือ insurable interest) และ สัญญา ประกัน ภัย นั้น ได้ ทำ ขึ้น โดย ไม่ อาจ

คาด หวัง ว่า ผู้ เอา ประกัน ภัย จะ ได้ มา ซึ่ง มูล ประกัน ภัย ดัง กล่าว

ข)ผู้มีส่วนได้เสีย พระ ราช บัญญัติ ประกัน ภัย ทาง ทะเล ของ ประเทศ อังกฤษ มาตรา 5 (1)

กำหนด ให้ บุคคล ที่ มี ส่วน ได้ เสีย ใน เหตุ ที่ ประกัน ภัย (insurable interest) คือ ผู้ ที่ มี ส่วน ได้ เสีย ใน การ เสี่ยง ภัย ทาง

ทะเล (marine adventure) และ มาตรา 5 (2) กำหนด ต่อ ไป ว่า บุคคล ถือว่า มี ส่วน ได้ เสีย ใน การ เสี่ยง ภัย ทาง ทะเล

ต่อ เมื่อ บุคคล นั้น มี ความ ผูกพัน ตาม กฎหมาย ต่อ ความ เสี่ยง ภัย ทาง ทะเล หรือ ต่อ ทรัพย์สิน ที่ เอา ประกัน ภัย ใน การ

เสี่ยง ภัย ทาง ทะเล รวม ทั้ง บุคคล ที่ มี ความ ผูกพัน ที่ มี เหตุ จะ ได้ รับ ประโยชน์ จาก ความ ปลอดภัย หรือ การ มา ถึง ซึ่ง

ทรัพย์สิน ที่ เอา ประกัน ภัย หรือ จะ ได้ รับ ผล ร้าย จาก การ สูญ เสีย หรือ เสีย หาย หรือ ถูก กักขัง หรือ การ ก่อ ให้ เกิด

ความ รับ ผิด ซึ่ง ทรัพย์สิน ที่ เอา ประกัน ภัย

Page 47: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-47

ดัง นั้น จึง อาจ กล่าว ได้ ว่า ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งอาจเอาประกันภัยทางทะเลได้คือ

- เจ้าของ เรือ (ship owner) และ เจ้าของ สินค้า (cargo owner)

- นาย เรือ และ ลูก เรือ (master and crew) และ ผู้ ขนส่ง ทาง ทะเล (carrier)

- ผู้รับ จำนำ หรือ จำนอง สินค้า ที่ ขนส่ง ทาง ทะเล หรือ เรือ (mortgagor)

- ผู้ ซื้อ สินค้า (buyer) และ ผู้ ขาย สินค้า (seller)

- ผู้รับ ตรา ส่ง

- ผู้ ให้ กู้ ยืม เงิน

- ผู้รับ ประกัน ภัย ใน กรณี ที่ มี การ ประกัน ภัย ช่วง

- ผู้รับ โอน สินค้า ที่ อยู่ ใน ระหว่าง การ ขนส่ง ทาง ทะเล

- ตัวแทน เจ้าของ สินค้า หรือ ตัวแทน เจ้าของ เรือ

- บคุคล ที ่อาจ ตอ้ง รบั ผดิ ใน กรณ ีที ่เกดิ ความ เสยี หาย แก ่ทรพัยส์นิ หรอื วตัถ ุที ่เอา ประกนั ภยั

เพราะ เหตุ ภยันตราย ทาง ทะเล

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 4830/2537 ผู้ มี สิทธิ เอา ประกัน ภัย มิได้ จำกัด เพียง เฉพาะ ผู้ มี สิทธิ

ใน ทรัพย์ ที่ เอา ประกัน ภัย เท่านั้น ผู้ ที่ มี สัมพันธ์ อยู่ กับ ทรัพย์ หรือ สิทธิ หรือ ผล ประโยชน์ หรือ ราย ได้ ใดๆ ซึ่ง ถ้า มี ความ

วินาศภัย เกิด ขึ้น และ ทำให้ ผู้ นั้น ต้อง เสีย หาย และ ความ เสีย หาย ที่ ผู้ นั้น จะ ได้ รับ สามารถ ประมาณ เป็น เงิน ได้ แล้ว

ผู้ นั้น ย่อม เป็น ผู้ มี ส่วน ได้ เสีย ที่ เอา ประกัน ภัย ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 863 เมื่อ โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้ ขาย จะ ต้อง ขนส่ง สินค้า

ที่ ขาย จาก กรุงเทพมหานคร ไป ให้ ผู้ ซื้อ ที่ ประเทศ สิงคโปร์ โจทก์ เป็น ผู้ มี ส่วน ได้ เสีย ใน การ ที่ จะ นำ สินค้า ไป มอบ ให้ แก่

ผู้ ซื้อ โจทก์ จึง มี สิทธิ เอา ประกัน ภัย สินค้า ไว้ กับ จำเลย โดย ไม่ ต้อง คำนึง ว่า กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า ดัง กล่าว จะ โอน ไป ยัง

ผู้ ซื้อ แล้ว หรือ ไม่ เมื่อ สินค้า ที่ เอา ประกัน ภัย ไว้ ได้ รับ ความ เสีย หาย โจทก์ จึง มี อำนาจ ฟ้อง เรียก ร้อง ให้ จำเลย รับ ผิด ใช้ ค่า

สินไหม ทดแทน ให้ แก่ โจทก์ ได้

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 1994/2527 ผู้รับ จำนอง สามารถ เอา ประกัน วินาศภัย ทรัพย์สิน ที่

รับ จำนอง ไว้ ได้ เนื่องจาก ผู้รับ จำนอง อาจ จะ ต้อง บังคับ จำนอง ทรัพย์สิน ที่ จำนอง เอา ชำระ หนี้ และ หนี้ จำนอง นั้น ก็ อาจ

ประเมิน ส่วน ได้ เสีย เป็น เงิน ได้ ตาม หนี้ ที่ จำนอง เป็น ประกัน ส่วน ผู้ จำนอง เป็น เจ้าของ ผู้ มี กรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์สิน นั้น ย่อม

จำนอง ได้ อยู่ แล้ว

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 1282/2524 บริษัท ย. เป็น ผู้ สั่ง สินค้า เข้า มา จาก ฟิลิปปินส์ และ

ได้ เอา ประกัน ภัย สินค้า นั้น ไว้ กับ บริษัท โจทก์ ใน วินาศภัย หาก มี ขึ้น ใน ระหว่าง ขนส่ง จาก กรุง มะนิลา ถึง กรุงเทพฯ แม้

ตาม ใบตราส่ง จะ ระบุ ให้ ธนาคาร เป็น ผู้รับ สินค้า แต่ เมื่อ ไม่ ปรากฏ ว่า หาก วินาศภัย เกิด ขึ้น มา แก่ สินค้า ที่ เอา ประกัน ภัย

นั้น บริษัท ย. จะ ไม่ ต้อง รับ ผิด ชอบ ต่อ ธนาคาร ประการ ใด เลย แล้ว ก็ ต้อง ถือว่า บริษัท ย. เป็น ผู้ มี ส่วน ได้ เสีย ใน เหตุ ที่

เอา ประกัน ภัย ไว้

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 1284/2526 การ ตกลง ซื้อ ขาย กัน ใน ราคา CIF นั้น หมายความ

ว่า ราคา สินค้า ที่ ตกลง ซื้อ ขาย กัน รวม ค่า ประกัน ภัย และ ค่า ระวาง ขนส่ง ด้วย ฉะนั้น ผู้ ขาย จึง มีหน้า ที่ ต้อง เอา ประกัน

ภัย สินค้า ใน ระหว่าง การ ขนส่ง ไป ยัง ผู้ ซื้อ ถือ ได้ ว่า ผู้ ขาย มี ส่วน ได้ เสีย ใน เหตุ ที่ เอา ประกัน ภัย ไว้ สัญญา ประกัน ภัย ที่

ผู้ ขาย ทำ ไว้ แก่ โจทก์ จึง มี ผล ผูกพัน ตาม กฎหมาย โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้ ประกัน ภัย ได้ ใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ไป แล้ว จึง มี สิทธิ ไล่

เบี้ย เอา จาก จำเลย ซึ่ง เป็น ผู้ ขนส่ง ได้

ค) เวลา ที่ ต้อง มี ส่วน ได้ เสีย ป.พ.พ. มาตรา 863 บัญญัติ ว่า “อันสัญญาประกันภัยนั้นถ้า

ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยได้นั้นไซร้ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

Page 48: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-48 กฎหมายธุรกิจ

ตาม กฎหมาย ไทย ผู้ เอา ประกัน ภัย จะ ต้อง มี ส่วน ได้ เสีย ใน ขณะ ที่ เข้า ทำ สัญญา ประกัน ภัย ม ิ

ฉะนั้น สัญญา ประกัน ภัย ไม่มี ผล ผูกพัน คู่ สัญญา

แต่ ตามพ ระ ราช บัญญัติ ประกัน ภัย ทาง ทะเล ของ ประเทศ อังกฤษ มาตรา 6 (1) กำหนด

ว่า ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัยในขณะที่เกิดความเสียหาย ถึง แม้ว่า ผู้ เอา ประกัน ภัย จะ

ไม่มี ส่วน ได้ เสีย ใน ขณะ ที่ สัญญา ประกัน ภัย มี ผล

นอกจาก นี้ มาตรา 6 (2) ยัง กำหนด ต่อ ไป ว่า ใน กรณี ที่ วัตถุ ที่ เอา ประกัน ภัย เสีย หาย

ผู้ เอา ประกัน ภัย อาจ ได้ รับ การ ชดใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ถึง แม้ว่า ผู้ เอา ประกัน ภัย จะ มิได้ มี ส่วน ได้ เสีย ใน ขณะ ที่ เกิด

การ สูญหาย หรือ เสีย หาย แต่ ได้ มา ซึ่ง ส่วน ได้ เสีย หลัง จาก การ สูญหาย หรือ เสีย หาย ของ วัตถุ ที่ เอา ประกัน ภัย แล้ว

ก็ตาม เว้น แต่ ใน ขณะ ที่ สัญญา ประกัน ภัย มี ผล บังคับ ผู้ เอา ประกัน ภัย รู้ อยู่ แล้ว ถึง การ สูญหาย หรือ เสีย หาย แห่ง วัตถุ ที่ เอา

ประกัน ภัย และ ผู้รับ ประกัน ภัย มิได้ รู้ เช่น นั้น

1.3.3สญัญาประกนัภยัทางทะเลเปน็สญัญาที่ตอ้งสจุรติตอ่กนัอยา่งยิง่สัญญา ประกัน ภัย ทาง ทะเล เป็น

สัญญา ที่ ต้อง สุจริต ต่อ กัน อย่าง ยิ่ง (contract of the utmost good faith) คู่ กรณี ใน สัญญา ประกัน ภัย จะ ต้อง ปฏิบัติ

ต่อ กัน โดย สุจริต ดัง นั้น ผู้ เอา ประกัน ภัย หรือ ตัวแทน ของ ผู้ เอา ประกัน ภัย มีหน้า ที่ ต้อง เปิด เผย ความ จริง (disclosure)

ที่ เป็น ข้อ สาระ สำคัญ ให้ แก่ ผู้รับ ประกัน ภัย ทราบ โดย ไม่ ต้อง ให้ ผู้รับ ประกัน ภัย สอบถาม ผู้ เอา ประกัน ภัย หรือ ตัวแทน

มีหน้า ที่ เปิด เผย ความ จริง จนถึง เวลา ที่ ผู้รับ ประกัน ภัย ทำ คำ สนอง รับ ประกัน ภัย ถ้า ไม่ เปิด เผย ถือว่า สัญญา ประกัน ภัย

เป็น โมฆียะ เนื่องจาก ผู้รับ ประกัน ภัย ได้ รับ ประกัน ภัย ด้วย ความ หลง ผิด ใน ข้อความ จริง ที่ ผู้ เอา ประกัน ภัย ไม่ เปิด เผย

(nondisclosure) หรือ จงใจ ปกปิด ข้อความ จริง (concealment)

นอกจาก นี้ ผู้ เอา ประกัน ภัย ยัง มีหน้า ที่ แถลง ข้อความ จริง (representations of trust) ใน การ

ทำ สัญญา ประกัน ภัย และ การ ตอบ คำถาม ของ ผู้รับ ประกัน ภัย โดย ต้อง ไม่ กล่าว เท็จ เพื่อ ลวง ผู้รับ ประกัน ภัย ใน

สถานการณ์ ที่ เกี่ยว กับ ภัย

2.การประกันภัยทางอากาศการ ประกัน ภัย ทาง อากาศ เริ่ม มี ขึ้น เมื่อ ค.ศ.1923 โดย บริษัท ผู้รับ ประกัน ภัย ใน ประเทศ อังกฤษ เพื่อ

รับ ประกัน วินาศภัย ชนิด ต่างๆ ที่ จะ เกิด ขึ้น กับ เครื่อง บิน ผู้ โดยสาร และ สินค้า ที่ ขนส่ง โดย เครื่อง บิน สำหรับ ประเทศไทย

เนื่องจาก ป.พ.พ. ว่า ด้วย เรื่อง ประกัน ภัย ไม่ ได้ มี บทบัญญัติ ไม่ ให้ นำ บทบัญญัติ เรื่อง ประกัน ภัย มา ใช้ บังคับ แก่ สัญญา

ประกัน ภัย ทาง อากาศ เฉก เช่น สัญญา ประกัน ภัย ทาง ทะเล ที่ ให้ นำ กฎหมาย ทะเล มา ใช้ บังคับ ทั้ง ประเทศไทย ยัง ไม่มี

กฎหมาย ประกัน ภัย ทาง อากาศ โดย เฉพาะ ดัง นั้น จึง ต้อง นำ ป.พ.พ. ว่า ด้วย เรื่อง ประกัน ภัย มา ใช้ บังคับ แก่ การ ประกัน

ภัย ทาง อากาศ เช่น เดียวกัน กับ การ ประกัน ภัย วินาศภัย ภายใน ประเทศ

กิจกรรม12.2.5

ลักษณะและสาระสำคัญของสัญญาประกันภัยทางทะเลมีอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม12.2.5

สัญญาประกันภัยทางทะเลมีลักษณะและสาระสำคัญดังนี้

1.เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน

2.ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัยทางทะเล

3.เป็นสัญญาที่ต้องสุจริตต่อกันอย่างยิ่ง

Page 49: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-49

เรื่องที่12.2.6

การระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ

เนื่องจาก คดี การ ค้า ระหว่าง ประเทศ เป็น คดี ที่ มี ความ เกี่ยว พัน ระหว่าง ประเทศ ตั้งแต่ 2 ประเทศ ขึ้น ไป

ฉะนั้น โดย ทั่วไป ศาล แห่ง ประเทศ ที่ มี อำนาจ ใน การ พิจารณา พิพากษา คดี การ ค้า ระหว่าง ประเทศ จึง เป็น ศาล แห่ง

ประเทศ ที่ เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศาล แห่ง ประเทศ ที่ คู่ กรณี มี ภูมิลำเนา หรือ ศาล แห่ง ประเทศ ที่ มูล คดี เกิด ขึ้น หรือ ศาล แห่ง

ประเทศ ที่ การ บังคับการ ตาม สัญญา นั้น จะ เกิด ขึ้น และ กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ แก่ สัญญา การ ค้า ระหว่าง ประเทศ ได้แก่

กฎหมาย ที่ คู่ สัญญา มี ภูมิลำเนา กฎหมาย ระหว่าง ประเทศ และ จารีต ประเพณี รวม ถึง หลัก ปฏิบัติ ระหว่าง ประเทศ

1.ข้อตกลงเลือกศาล(choiceofforum)และข้อตกลงเลือกกฎหมาย(choiceoflaw)โดย หลัก ปฏิบัติ ทั่วไป ทางการ ค้า ระหว่าง ประเทศ นานา ประเทศ เคารพ เจตนา ของ คู่ สัญญา เกี่ยว กับ ข้อ

ตกลง เลือก ศาล (choice of forum) และ ข้อ ตกลง เลือก กฎหมาย (choice of law) กล่าว คือ คู่ สัญญา สามารถ เลือก

ศาล ของ ประเทศ ใด ประเทศ หนึ่ง แต่ เพียง ประเทศ เดียว ให้ มี อำนาจ พิจารณา คดี และ มี สิทธิ เลือก กฎหมาย ของ

ประเทศ ใด ประเทศ หนึ่ง เป็น หลัก ใน การ พิจารณา คดี ก็ได้

สำหรับ ประเทศไทย เดิม ก่อน การ แก้ไข ประมวล กฎหมาย วิธี พิจารณา ความ แพ่ง พ.ศ. 2534 ได้ ยอมรับ

หลัก ข้อ ตกลง เลือก ศาล ใน มาตรา 7 (4) คือ คู่ กรณี มี สิทธิ เลือก นำ คดี มา สู่ ศาล ที่ มูล คดี เกิด ขึ้น หรือ ศาล ที่ คู่ กรณี มี

ภูมิลำเนา หรือ ศาล ที่ มี ทรัพย์สิน ใน การ บังคับ คดี ตั้ง อยู่ ก็ได้ แต่ ต่อ มา ภาย หลัง การ แก้ไข ประมวล กฎหมาย วิธี พิจารณา

ความ แพ่ง ใน พ.ศ. 2534 แล้ว มี ผู้ ให้ ความ เห็น ว่า กฎหมาย ไม่ ยอมรับ หลัก ข้อ ตกลง เลือก ศาล แล้ว แต่ ก็ มี ผู้ ให้

ความ เห็น ไป อีก ทาง หนึ่ง ว่า กรณี อาจ ใช้ การ เทียบ เคียง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ได้ อย่างไร ก็ตาม ใน เรื่อง นี้ ได้ มี

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 951/2539 ปฏิเสธ หลัก ข้อ ตกลง เลือก ศาล โดย วินิจฉัย ว่า

“ขอ้ตกลงในใบตราสง่ระหวา่งผู้สง่และผู้ขนสง่ที่ให้ฟอ้งคดีที่ศาลในกรงุลอนดอนประเทศองักฤษนัน้เมือ่คดีนี้

เป็นคดีหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งสองต่างมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อ

ศาลในประเทศไทยคือศาลแพ่งข้อตกลงในใบตราส่งระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่งที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลในกรุงลอนดอน

ประเทศองักฤษนัน้เหน็วา่แม้สทิธิตามใบตราสง่ดงักลา่วจะตกไดแ้ก่ผูร้บัตราสง่แลว้และโจทก์เปน็ผูร้บัชว่งสทิธิมาจาก

ผู้รับตราส่งก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อป.วิ.พ.มาตรา4(2)เดิม(มาตรา4(1)แก้ไขใหม่)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้

บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้ง

ข้อตกลงนั้นก็มิได้เป็นไปตามที่มาตรา 7 (4) เดิมบัญญัติไว้อีกด้วยกล่าวคือศาลในกรุงลอนดอนมิใช่ศาลที่คู่ความ

ฝา่ยใดฝา่ยหนึง่มีภมูลิำเนาอยู่ในเขตหรอืศาลที่มลูคดีของเรือ่งนี้ได้เกดิขึน้แต่อยา่งใดขอ้ตกลงนัน้จงึไม่อาจใช้บงัคบัได้”

ส่วน การ ยอมรับ ข้อ ตกลง เลือก กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ แก่ สัญญา (choice of law) ปรากฏ อยู่ ใน กฎหมาย ที่ สำคัญ

2 ฉบับ ดังนี้

1. พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย การ ขัด กัน แห่ง กฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 บัญญัติ ว่า “ปัญหาว่าจะพึงใช้

กฎหมายใดบังคับสำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่

อาจหยัง่ทราบเจตนาชดัแจง้หรอืปรยิายได้ถา้คู่สญัญามีสญัชาติอนัเดยีวกนักฎหมายที่ใช้บงัคบักไ็ด้แก่กฎหมายสญัชาต ิ

อันร่วมกันแห่งคู่สัญญาถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติเดียวกันก็ให้ใช้กฎหมายแห่งท้องถิ่นที่สัญญานั้นได้ทำขึ้น

Page 50: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-50 กฎหมายธุรกิจ

ถ้าสัญญานั้นได้ทำขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางถิ่นที่ถือว่าสัญญานั้นได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นคือ

ถิ่นที่คำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอถ้าไม่อาจหยั่งทราบถิ่นที่ว่านั้นได้ ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่จะพึงปฏิบัติตาม

สัญญานั้น”

2. พระ ราช บัญญัติ การ ขน ของ ทาง ทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ตอน ท้าย บัญญัติ ว่า

“เว้นแต่กรณีที่ได้ระบุในใบตราส่งว่าให้ใช้กฎหมายของประเทศอื่นหรือกฎหมายระหว่างประเทศบังคับก็ให้

เป็นไปตามนั้น”

นอกจาก นี้ ยัง ปรากฏ แนว คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ ยอมรับ การนำ กฎหมาย ต่าง ประเทศ มา ใช้ เป็น หลัก

กฎหมาย ทั่วไป ของ ไทย ด้วย เช่น การนำ กฎหมาย ประกัน ภัย ทาง ทะเล ของ ประเทศ อังกฤษ มา ใช้ ใน ฐานะ หลัก

กฎหมาย ทั่วไป ใน การ พิจารณา คดี สัญญา ประกัน ภัย ทาง ทะเล

คำ พิพากษา ศาล ฎีกา ที่ 999/2549 ป.พ.พ. มาตรา 868 บัญญัติ ว่า อัน สัญญา ประกัน ภัย ทาง ทะเล ท่าน ให้

บังคับ ตาม บทบัญญัติ แห่ง กฎหมาย ทะเล ซึ่ง กฎหมาย ทะเล ของ ประเทศไทย ยัง หา มี ไม่ ทั้ง จารีต ประเพณี ก็ ไม่ ปรากฏ

ควร เทียบ วินิจฉัย คดี นี้ ตาม หลัก กฎหมาย ทั่วไป ตาม มาตรา 4 ป.พ.พ. สัญญา ประกัน ภัย ราย นี้ ทำ ขึ้น เป็น ภาษา อังกฤษ

ศาล ฎีกา เห็น ว่า ควร ถือ เอา กฎหมาย ว่า ด้วย การ ประกัน ภัย ทาง ทะเล ของ ประเทศ อังกฤษ เป็น กฎหมาย ทั่วไป เพื่อ

เทียบ เคียง วินิจฉัย ด้วย และ ศาล ฎีกา ได้ นำ Marine Insurance Act 1906 หรือ พระ ราช บัญญัติ ประกัน ภัย ทาง ทะเล

ของ ประเทศ อังกฤษ และ คำ พิพากษา ของ ศาล อังกฤษ ใน เรื่อง นี้ มา เป็น หลัก ใน การ วินิจฉัย คดี ดัง กล่าว ด้วย

2.การระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศการ ระงับ ข้อ พิพาท ทางการ ค้า ระหว่าง ประเทศ แบ่ง ได้ เป็น 2 กรณี คือ

2.1การระงับข้อพิพาทโดยศาล คดี การ ค้า ระหว่าง ประเทศ เป็น คดี ที่ มี ความ ซับ ซ้อน และ แตก ต่าง จาก คดี แพ่ง

และ คดี อาญา ทั่วไป จึง ได้ มี การ จัด ตั้ง ศาล ทรัพย์สิน ทาง ปัญญา และ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ เมื่อ วัน ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.

2540 เพื่อ ให้การ พิจารณา คดี มี ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล ยิ่ง ขึ้น

ศาล ทรัพย์สิน ทาง ปัญญา และ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ เป็น ศาล ชำนัญ พิเศษ มี อำนาจ พิจารณา พิพากษา

คดี แพ่ง และ คดี อาญา เกี่ยว กับ ทรัพย์สิน ทาง ปัญญา และ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ โดย มี ผู้ พิพากษา 2 ประเภท คือ

ผู้ พิพากษา ที่ แต่ง ตั้ง จาก ข้าราชการ ตุลาการ ตาม กฎหมาย ว่า ด้วย ระเบียบ ข้าราชการ ฝ่าย ตุลาการ และ ผู้ พิพากษา สมทบ

ซึ่ง แต่ง ตั้ง จาก ผู้ทรง คุณวุฒิ โดย คณะ กรรมการ ตุลาการ เป็น ผู้ คัด เลือก

การ ดำเนิน การ นั่ง พิจารณา คดี ต้อง ทำ ติดต่อ กัน โดย ไม่ เลื่อน คดี จนกว่า จะ เสร็จ การ พิจารณา เว้น แต่ จะ มี เหตุ

จำเป็น อัน มิ อาจ จะ ก้าว ล่วง เสีย ได้ และ ต้อง ทำ คำ พิพากษา หรือ คำ สั่ง โดย เร็ว

อธิบดี ผู้ พิพากษา โดย อนุมัติ จาก ประธาน ศาล ฎีกา มี อำนาจ ออก ข้อ กำหนด เกี่ยว กับ การ ดำเนิน กระบวน

พิจารณา และ การ รับ ฟัง พยาน หลัก ฐาน โดย ข้อ กำหนด คดี ทรัพย์สิน ทาง ปัญญา และ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ พ.ศ. 2540

ที่ สำคัญ เช่น

(1) การ ติดต่อ ระหว่าง ศาล ทรัพย์สิน ทาง ปัญญา และ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ กับ ศาล อื่น อาจ ทำ โดย โทรสาร สื่อ

อิเล็กทรอนิกส์ หรือ สื่อ ทาง เทคโนโลยี สารสนเทศ ประเภท อื่น ก็ได้

(2) อนุญาต ให้ นำ ระบบ การ ประชุม ทาง จอภาพ มา ใช้ ทำการ สืบ พยาน บุคคล ที่ อยู่ นอก ศาล

(3) คู่ ความ สามารถ ยื่น คำขอ ให้ คุ้มครอง ชั่วคราว ก่อน ฟ้อง ได้

(4) คู่ ความ สามารถ เสนอ บันทึก ถ้อยคำ ยืนยัน ข้อ เท็จ จริง แทน การ ซัก ถาม ผู้ ให้ ถ้อยคำ เป็น พยาน ต่อ ศาล ได้

(5) เอกสาร ภาษา อังกฤษ ที่ มิใช่ พยาน หลัก ฐาน ใน ประเด็น หลัก ศาล อาจ อนุญาต ให้ ไม่ ต้อง ทำ คำ แปล

(6) ข้อมูล คอมพิวเตอร์ เป็น พยาน หลัก ฐาน ใน คดี ได้

Page 51: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-51

(7) การ อุทธรณ์ คำ พิพากษา หรือ คำ สั่ง ศาล ทรัพย์สิน ทาง ปัญญา และ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ ให้ อุทธรณ์ ไป ยัง

ศาล ฎีกา ได้ โดยตรง ภายใน 1 เดือน นับ แต่ วัน อ่าน คำ พิพากษา หรือ คำ สั่ง นั้น

2.2การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตาม กฎหมาย ไทยอนุญาโตตุลาการ แบ่ง ได้ เป็น 2 ประเภท คือ

2.2.1 อนุญาโตตุลาการในศาล ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ป.วิ.พ. มาตรา 210 ถึง มาตรา 220 และ มาตรา

222 เป็น กรณี ที่ คู่ ความ ทั้ง สอง ฝ่าย มี คำร้อง ร่วม กัน ขอ ให้ ศาล ตั้ง ให้ ดำเนิน การ พิจารณา ข้อ เท็จ จริง ต่างๆ หรือ

ทำ คำ วินิจฉัย ชี้ขาด ใน ประเด็น ข้อ เท็จ จริง แล้ว เสนอ ศาล ทั้ง สามารถ ที่ จะ ขอ ให้ ศาล ออก หมาย เรียก พยาน เอกสาร พยาน

บุคคล มา ให้การ โดย ศาล จะ เป็น ผู้ วินิจฉัย ใน ประเด็น ข้อ กฎหมาย ต่างๆ

2.2.2 อนุญาโตตุลาการนอกศาล ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 221 กำหนด ไว้ ว่า ถ้า มี การ ทำ คำ ชี้ขาด ของ

อนุญาโตตุลาการ นอก ศาล แล้ว อีก ฝ่าย หนึ่ง ไม่ ปฏิบัติ ตาม ฝ่าย ที่ ชนะ คดี จะ ไป บังคับ คดี ทันที ยัง ไม่ ได้ ผู้ ชนะ คดี จะ ต้อง

ร้อง ต่อ ศาล เพื่อ ให้ ศาล พิพากษา ตาม คำ ชี้ขาด นั้น เสีย ก่อน อนุญาโตตุลาการ นอก ศาล อาจ เป็น อนุญาโตตุลาการ นอก ศาล

ที่ ทำ ภายใน ประเทศ หรือ อนุญาโตตุลาการ นอก ศาล ที่ ทำ ใน ต่าง ประเทศ ก็ได้

การ ระงับ ข้อ พิพาท โดย อนุญาโตตุลาการ มี ข้อ ได้ เปรียบ การ ระงับ ข้อ พิพาท โดย ศาล หลาย ประการ เช่น

(1) คู่ กรณี สามารถ ตกลง ใช้ ภาษา กลาง เช่น ภาษา อังกฤษ เป็น สื่อ ใน การ ดำเนิน กระบวน พิจารณา ของ

อนุญาโตตุลาการ

(2) ระยะ เวลา รวดเร็ว กว่า ใน การ พิจารณา คดี ใน ศาล

(3) เป็น วิธี การ ที่ เก็บ รักษา ความ ลับ ได้ ดี กว่า การ พิจารณา คดี ใน ศาล

(4) ไม่มี แบบ พิธี ยุ่ง ยาก เหมือน การ พิจารณา คดี ใน ศาล

(5) ไม่มี การ แพ้ หรือ ชนะ คดี กัน ใน ทาง เทคนิค การ ดำเนิน กระบวน พิจารณา ความ

(6) คำ ชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ ใน ต่าง ประเทศ อาจ นำ มา ร้องขอ ต่อ ศาล ไทย เพื่อ ให้ ศาล ทำ

คำ พิพากษา ตาม คำ ชี้ขาด นั้น แล้ว นำ ไป บังคับ คดี หาก ประเทศ ที่ เป็น สถาน ที่ ชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ เป็น ประเทศ

สมาชิก ใน อนุสัญญา บังคับ ตาม คำ ชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ ระหว่าง ประเทศ ที่ ประเทศไทย เป็น สมาชิก อยู่ เช่น

อนุสัญญา กรุง นิวยอร์ก (New York Convention) แต่ คำ พิพากษา ของ ศาล ต่าง ประเทศ ไม่ อาจ นำ มา ใช้ บังคับ

ใน ประเทศไทย ได้ เพราะ ประเทศไทย ไม่ ได้ เป็น สมาชิก ใน อนุสัญญา บังคับ ตาม คำ พิพากษา ของ ศาล ต่าง ประเทศ

ฉบับ ใด ดัง นั้น คำ พิพากษา ของ ศาล ต่าง ประเทศ จึง เป็น ได้ เพียง พยาน หลัก ฐาน ชิ้น หนึ่ง ใน คดี เท่านั้น66

สัญญา ทางการ ค้า ส่วน ใหญ่ จะ มี ข้อ ตกลง ให้ ระงับ ข้อ พิพาท โดย อนุญาโตตุลาการ (arbitration clause)

เพื่อ ระงับ ข้อ พิพาท ให้ เป็น ไป อย่าง รวดเร็ว และ สม ประโยชน์ แก่ คู่ สัญญา ใน ข้อ ตกลง ระงับ ข้อ พิพาท นี้ คู่ สัญญา สามารถ

กำหนด ระยะ เวลา ใน การ เสนอ ข้อ พิพาท ให้ อนุญาโตตุลาการ ให้ สั้น กว่า อายุ ความ ก็ได้ เช่น อายุ ความ ฟ้อง ร้อง 1 ปี คู่

สัญญา อาจ ตกลง กัน ให้ เสนอ ข้อ พิพาท แก่ อนุญาโตตุลาการ ภายใน 6 เดือน ก็ได้ แต่ ข้อ ตกลง นี้ ไม่ ตัด สิทธิ คู่ สัญญา นำ

คดี ฟ้อง ร้อง ต่อ ศาล ภายใน กำหนด อายุ ความ 1 ปี

โดย หลัก การ ตั้ง อนุญาโตตุลาการ จะ มี เพียง คน เดียว โดย ทั้ง สอง ฝ่าย ร่วม กัน ตั้ง หรือ จะ มี หลาย คน โดย

ต่าง ฝ่าย ต่าง ตั้ง จำ นวน เท่าๆ กัน แล้ว อนุญาโตตุลาการ ของ แต่ละ ฝ่าย ร่วม กัน ตั้ง บุคคล ภายนอก มา เป็น อนุญาโตตุลาการ

อีก คน หนึ่ง ก็ได้

66 พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545

Page 52: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-52 กฎหมายธุรกิจ

กิจกรรม12.2.6

วิธีการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศมีกี่วิธีอะไรบ้าง

แนวตอบกิจกรรม12.2.6

การระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศแบ่งได้เป็น2วิธีคือ

1.การระงับข้อพิพาทโดยศาล

2.การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ

Page 53: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-53

ตอนที่12.3

ลักษณะทั่วไปของกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

โปรด อ่าน หัว เรื่อง แนวคิด และ วัตถุประสงค์ ของ ตอน ที่ 12.3 แล้ว จึง ศึกษา ราย ละเอียด ต่อ ไป

หัวเรื่อง12.3.1 การ ทำ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์

12.3.2 กฎหมาย เกี่ยว กับ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ กับ หลัก การ พื้น ฐาน ที่ สำคัญ

12.3.3 ธุรกรรม ที่ ต้อง ทำ เป็น หนังสือ หรือ มี หลัก ฐาน เป็น หนังสือ

แนวคิด1. ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ หมาย ถึง การก ระ ทำ ใดๆ ที่ เกี่ยว กับ กิจกรรม ใน ทาง แพ่ง และ พาณิชย์

หรือ ใน การ ดำเนิน งาน ของ รัฐ ที่ กระทำ ขึ้น โดย ใช้ วิธี การ ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งหมด หรือ แต่ บาง ส่วน

โดย ผ่าน ทาง เครือ ข่าย อินเทอร์เน็ต หรือ ผ่าน ทาง เครือ ข่าย อินทราเน็ต หรือ โดย อุ ปก รณ์อิ เล็ก-

ทรอ นิกส์ อื่นๆ

2. พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้ วาง หลัก การ พื้น ฐาน ที่ สำคัญ

เกี่ยว กับ การ ทำ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ไว้ 2 ประการ คือ หลัก การ ยอมรับ สถานะ ทาง

กฎหมาย ของ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ให้ มี ผล เสมอ กับ สถานะ ทาง กฎหมาย ของ เอกสาร ธรรมดา และ

หลัก การ ยอมรับ ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์

3. ตาม หลัก กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย หนังสือ หรือ หลัก ฐาน เป็น หนังสือ ไม่ใช่ องค์ ประกอบ

แห่ง ความ สมบูรณ์ ของ นิติกรรม สัญญา เฉพาะ นิติกรรม สัญญา บาง ประเภท เท่านั้น ที่ กฎหมาย

บังคับ ว่า ต้อง ทำ เป็น หนังสือ หรือ มี หลัก ฐาน เป็น หนังสือ เพื่อ ให้ สัญญา สมบูรณ์ หรือ เพื่อ ให้ สามารถ

ฟ้อง บังคับ คดี กัน ได้

วัตถุประสงค์เมื่อ ศึกษา ตอน ที่ 12.3 จบ แล้ว นักศึกษา สามารถ

1. อธิบาย และ วินิจฉัย การ ทำ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ได้

2. อธิบาย และ วินิจฉัย หลัก การ พื้น ฐาน ที่ สำคัญ ของ กฎหมาย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ได้

3. อธิบาย และ วินิจฉัย ธุรกรรม ที่ ต้อง ทำ เป็น หนังสือ หรือ ต้อง มี หลัก ฐาน เป็น หนังสือ กับ ลายมือ ชื่อ

ทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้

Page 54: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-54 กฎหมายธุรกิจ

เรื่องที่12.3.1

การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

1.ความหมายของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 นิยาม คำ ว่า า ธุรกรรม ำ ว่า หมาย ถึง การ

กระ ทำ ใดๆ ที่ เกี่ยว กับ กิจกรรม ใน ทาง แพ่ง และ พาณิชย์ หรือ ใน การ ดำเนิน งาน ของ รัฐ ตาม ที่ กำหนด ใน หมวด 4

และ นิยาม คำ ว่า า อิเล็กทรอนิกส์ ำ ว่า หมาย ถึง การ ประยุกต์ ใช้ วิธี การ ทาง อิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

หรือ วิธี อื่น ใด ใน ลักษณะ คล้าย กัน และ ให้ หมายความ รวม ถึง การ ประยุกต์ ใช้ วิธี การ ทาง แสง วิธี การ ทาง แม่ เหล็ก

หรือ อุปกรณ์ ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ ประยุกต์ ใช้ วิธี ต่างๆ เช่น ว่า นั้น และ นิยาม คำ ว่า า ธุรกรรม ทา งอิ เล็ก ทรอ นิกส์ำ

ว่า หมาย ถึง ธุรกรรม ที่ กระทำ ขึ้น โดย วิธี การ ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งหมด หรือ แต่ บาง ส่วน

จาก คำ นิยาม ข้าง ต้น จึง เห็น ได้ ว่า คำ ว่า า ธุรกรรม ทา งอิ เล็ก ทรอ นิกส์ำ มี ความ หมายก ว้าง ครอบคลุม

กิจกรรม ทาง ธุรกิจ ใน ทาง แพ่ง และ พาณิชย์ ทุก ประเภท ได้แก่

1.1 การ ซื้อ ขาย สินค้า ทุก ประเภท ทั้ง สินค้า ที่ จับ ต้อง ได้ เช่น หนังสือ ดอกไม้ เครื่อง ใช้ ไฟฟ้า เป็นต้น

1.2 การ ซื้อ ขาย สินค้า ที่ จับ ต้อง ไม่ ได้ เช่น เพลง ออนไลน์ ภาพยนตร์ ออนไลน์ เกม ออนไลน์ เป็นต้น

1.3 การ ให้ บริการ ใน รูป แบบ ต่างๆ เช่น การ เงิน การ ธนาคาร การ โรงแรม การ ให้ บริการ ให้ คำ ปรึกษา ทาง

กฎหมาย การ ให้ บริการ สอบ บัญชี การ ให้ บริการ ด้าน การ ท่อง เที่ยว เป็นต้น

นอกจาก นี้ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ยัง หมาย รวม ถึง การ ดำเนิน งาน ของ รัฐ ตาม ที่ พระ ราช บัญญัติ ธุรกรรม

ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กำหนด ไว้ อีก ด้วย เช่น การ ยื่น แบบ แสดง รายการ เสีย ภาษี ต่อ กรม สรรพากร การ ผ่าน

พิธีการ ศุลกากร ต่อ กรม ศุลกากร การ จอง ชื่อ นิติบุคคล และ การ จด ทะเบียน ธุรกิจ ต่อ กรม พัฒนา ธุรกิจ การ ค้า เป็นต้น

2.ลักษณะของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์การ ทำ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ จะ เป็นการ กระทำ โดย ผ่าน ทาง เครือ ข่าย อินเทอร์เน็ต หรือ ผ่าน ทาง เครือ ข่าย

อินทราเน็ต หรือ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ ก็ได้

2.1การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การ ทำ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์

โดย ผ่าน ทาง เครือ ข่าย อินเทอร์เน็ต อาจ กระทำ ได้ 4 วิธี หลักๆ คือ การ ทำ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ โดย ทาง จดหมาย

อิเล็กทรอนิกส์ การ ทำ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน เว็บไซต์ การ ทำ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ โดย ทางการ แลก เปลี่ยน

ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ และ การ ทำ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน ห้อง สนทนา

2.1.1 การทำสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์โดยทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์

(electronic mail: E-mail) เป็น วิธี ที่ คู่ สัญญา นิยม ใช้ ใน การ ทำ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ กัน อย่าง ทั่วไป จดหมาย

อิเล็กทรอนิกส์ เป็น จดหมาย ที่ บรรจุ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง บุคคล คน หนึ่ง ส่ง ไป ยัง บุคคล อีก คน หนึ่ง การ สร้าง ข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์ ใน จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ นี้ ผู้ ส่ง ข้อมูล สามารถ พิมพ์ ข้อความ อิเล็กทรอนิกส์ บน เครื่อง คอมพิวเตอร์

ของ ผู้ ส่ง ข้อมูล แล้ว ระบบ เครือ ข่าย ของ คอมพิวเตอร์ ของ ผู้ ส่ง ข้อมูล จะ ทำการ เปลี่ยน ข้อความ อิเล็กทรอนิกส์ นั้น เป็น

Page 55: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-55

ก ลุ่ม ข้อมูล ที่ มี ปริ มาณ น้อยๆ (packets)67 และ แปลง กลุ่ม ข้อมูล นั้น เป็น เสียง แอ นา ล็อก (analog)68 ส่ง ผ่าน ไป

ยัง สาย โทรศัพท์ แล้ว ส่ง ต่อ ไป ยัง เครือ ข่าย คอมพิวเตอร์ ของ ผู้รับ ข้อมูล ซึ่ง คอมพิวเตอร์ ของ ผู้รับ ข้อมูล จะ ทำการ

ประกอบ กลุ่ม ข้อมูล นั้น กลับ เป็น ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ อีก ครั้ง69 จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ มี ลักษณะ คล้าย กับ จดหมาย

ทาง ไปรษณีย์ ทั่วไป ตรง ที่ ทั้ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ และ จดหมาย ทาง ไปรษณีย์ ต่าง ก็ เป็นการ ติดต่อ สื่อสาร กัน ระหว่าง

ผู้ ส่ง ข้อมูล กับ ผู้รับ ข้อมูล เท่านั้น70 โดย ผู้ ส่ง ข้อมูล สามารถ ที่ จะ ลง ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ใน จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์

นั้น เพื่อ ที่ จะ เป็นการ รับรอง ความ ถูก ต้อง ของ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ นั้น ได้ นอกจาก นี้ ผู้ ส่ง ข้อมูล สามารถ ที่ จะ แนบ แฟ้ม

ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ ไป กับ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ด้วย ก็ได้ โดย ผู้รับ ข้อมูล สามารถ เปิด แฟ้ม ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส ์

นั้น อ่าน ได้ หลัง จาก ที่ ได้ เปิด จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ แล้ว

2.1.2การทำสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ เว็บไซต์ หรือ World Wide Web (WWW) เป็น

เครื่อง มือ ที่ รู้จัก กัน แพร่ หลาย สำหรับ การ ติดต่อ สื่อสาร และ การ ทำ ธุรกรรม กัน ผ่าน ทาง เครือ ข่าย อินเทอร์เน็ต ใน การ นี้

ผู้ ประกอบ ธุรกิจ การ ค้า สามารถ ที่ จะ สร้าง เว็บไซต์ ของ ตน เพื่อ ใช้ ใน การ ขาย สินค้า และ ให้ บริการ ทาง อินเทอร์เน็ต ได้ บาง

เว็บไซต์ อาจ จะ มี การ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ สินค้า และ บริการ ของ ตนเอง โดย ให้ ลูกค้า สั่ง สินค้า หรือ บริการ ด้วย วิธี การ สั่ง

ซื้อ ใน รูป แบบ เดิม เช่น การ สั่ง ซื้อ สินค้า และ บริการ ทาง โทรศัพท์ โทรสาร หรือ จดหมาย เป็นต้น ใน ขณะ ที่ บาง เว็บไซต์ อาจ

จะ ทั้ง โฆษณา สินค้า และ บริการ ของ ตนเอง และ เปิด โอกาส ให้ ลูกค้า สามารถ สั่ง ซื้อ สินค้า และ บริการ ได้ ทาง เว็บ ไซต์ นั้นๆ

ผ่าน เครือ ข่าย อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ ขอ งบ ริษัทอ เม ซอน ดอท คอม http://www. amazon.com เป็น ตัวอย่าง ที่ ดี ที่สุด

แห่ง หนึ่ง ซึ่ง คน ไทย หลาย ต่อ หลาย คน คง เคย ใช้ บริการ สั่ง ซื้อ สินค้า และ บริการ เว็บไซต์ นี้ ได้ โฆษณา ขาย สินค้า มากมาย

หลาย ประเภท โดย เฉพาะ สินค้า ประเภท หนังสือ และ เชิญ ชวน ให้ ลูกค้า สั่ง ซื้อ สินค้า โดย การก รอก คำ สั่ง ซื้อ และ ข้อมูล

ต่างๆ ลง ใน แบบ ฟอร์ม ของ เว็บไซต์ แบบ ฟอร์ม นี้ ประกอบ ไป ด้วย รายการ สินค้า ที่ สั่ง ซื้อ จำนวน และ ราคา สินค้า ตลอด

จน ราย ละเอียด บัตร เครดิต ของ ผู้ สั่ง ซื้อ เมื่อ บริษัท อ เม ซอน ดอท คอม ได้ รับคำ สั่ง ซื้อ แล้ว บริษัท อ เม ซอน ดอท คอม ก็ จะ

ทำการ ตรวจ สอบ บัตร เครดิต ของ ผู้ สั่ง ซื้อ โดย การ ส่ง ราย ละเอียด บัตร เครดิต นั้น ไป ยัง บริษัท บัตร เครดิต หรือ ธนาคาร ที่

เกี่ยวข้อง เมื่อ ได้ รับ การ ยืนยัน จาก บริษัท บัตร เครดิต หรือ ธนาคาร ถึง ความ ถูก ต้อง แล้ว บริษัท อ เม ซอน ดอท คอม จะ ทำ คำ

สนอง ตอบ รับคำ สั่ง ซื้อ ของ ผู้ สั่ง ซื้อ และ เรียก ชำระ เงิน ตาม คำ สั่ง ซื้อ จาก บริษัท บัตร เครดิต หรือ ธนาคาร ที่ เกี่ยวข้อง นั้น

2.1.3 การทำสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์โดยทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคู่สัญญา

การ ทำ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ สามารถ ทำได้ โดย การ แลก เปลี่ยน ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ระหว่าง คู่ สัญญา (Electronic

Data Interchange: EDI) ใน กรณี ดัง กล่าว คณะ กรรมาธิการ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ แห่ง สหประชาชาติ (United

Nations Commission on International Trade: UNCITRAL) ได้ ให้ คำ นิยาม คำ ว่า “EDI” ว่า หมาย ถึง การ

แลก เปลี่ยน ข้อมูล ใน รูป แบบ มาตรฐาน ระหว่าง คอมพิวเตอร์ ต่อ คอมพิวเตอร์71 การ แลก เปลี่ยน ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์

นี้ ทำให้ ธุรกิจ สามารถ แลก เปลี่ยน ข้อมูล ระหว่าง กัน และ กัน ทาง เครือ ข่าย ทาง อินเทอร์เน็ต (Internet) หรือ ทาง

67 “packet” คือกลุ่มข้อมูลที่มีปริมาณน้อยๆ ที่ถูกเคลื่อนย้ายไปในระบบดิจิตอล ข้อมูลนี้จะประกอบไปด้วยข้อมูลที่แท้จริงและข้อมู

ลที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนย้ายข้อมูล ดูใน Shim, Jae K, Anique A. Qureshi, Joel G. Siegel, and Roberta M. Siegal, The International

Handbook of Electronic Commerce Chicago, Glenlake, 2000, p. 14.68 Gooch, Christopher J, “The Internet, Personal Jurisdiction, and the Federal Long-Arm Statute: Rethinking the

Concept of Jurisdiction”, 1998, 15 Arizona Journal of International and Comparative Law. pp. 635, 640, 641.69 Ibid.70 Ibid.71 UNCITRAL, UNCITRAL Model Law on Electronic Commerce with Guide to Enactment, Part I, Resolution 51/162

adopted by the General Assembly 85th at plenary meeting (December 16, 1996) (UNCITRAL Model Law) http://www.uncitral.

org/en-index.htm.

Page 56: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-56 กฎหมายธุรกิจ

เครือ ข่าย ส่วน ตัว (private network) ได้72 การ แลก เปลี่ยน ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ทาง เครือ ข่าย ส่วน ตัว มัก ใช้

สำหรับ การ สั่ง ซื้อ สินค้า ใน ธุรกิจ ขนาด ใหญ่ แต่ สำหรับ ธุรกิจ ขนาด เล็ก หรือ เอกชน ทั่วไป นิยม ใช้ การ แลก เปลี่ยน ข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์ ทาง เครือ ข่าย อินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ เพราะ ค่า ใช้ จ่าย ใน การ แลก เปลี่ยน ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ทาง เครือ ข่าย

อินเทอร์เน็ต ถูก กว่า73 ธุรกิจ และ เอกชน สามารถ แลก เปลี่ยน ข้อมูล กัน ได้ ทั้ง ทาง เว็บไซต์ สำหรับ การ บันทึก ข้อมูล และ

ทาง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับ การ แลก เปลี่ยน ข้อมูล ระหว่าง คู่ ค้า74

2.1.4การทำสญัญาทางอเิลก็ทรอนกิส์ในหอ้งสนทนา หอ้ง สนทนา (chat-rooms) เปน็ เวท ีอเิลก็ทรอนกิส ์

ซึ่ง ผู้ ใช้ อินเทอร์เน็ต สามารถ สนทนา กัน ได้ อย่าง ทันที ทันใด หรือ คุย กัน ได้ อย่าง ทันที ทันใด (real time dialogs) เมื่อ

บุคคล ใน ห้อง สนทนา คน หนึ่ง พิมพ์ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ สั้นๆ แล้ว กด ปุ่ม า ส่ง ำ หรือ าenterำ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์

เหล่า นี้ จะ ถูก ส่ง จาก เครื่อง คอมพิวเตอร์ ของ บุคคล คน นั้น ผ่าน สาย โทรคมนาคม ซึ่ง ก็ คือ สาย โทรศัพท์ ไป ยัง เครือ ข่าย ห้อง

สนทนา เครือ ข่าย ห้อง สนทนา จะ ทำการ บันทึก และ เพิ่ม ข้อ มูล นั้นๆ โดย ข้อ มูล นั้นๆ จะ ปรากฏ บน หน้า จอ คอมพิวเตอร์

ของ ผู้ สนทนา ใน ห้อง สนทนา ทุก คนใน ลักษณะ ต่อ เนื่อง กัน ซึ่ง บุคคล ที่ อยู่ ใน ห้อง สนทนา สามารถ อ่าน และ โต้ตอบ กัน

และ กัน ได้ อย่าง ทันที ทันใด

การ ทำ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ โดย ทาง ห้อง สนทนา นี้ มี ลักษณะ เช่น เดียว กับ การ ทำ สัญญา โดย บุคคล

ผู้ อยู่ เฉพาะ หน้า หรือ ทาง โทรศัพท์ อย่างไร ก็ตาม ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ มัก ปรากฏ บน จอ ของ ผู้ สนทนา และ หาย ไป ภายใน

เวลา รวดเร็ว ดัง นั้น จึง ไม่มี การ บันทึก ข้อมูล ไว้ ซึ่ง อาจ มี ผล ต่อ การนำ สืบ พยาน หลัก ฐาน ถึง ความ มี อยู่ จริง ของ ข้อ มูล

นั้นๆ

2.2 การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านเครือข่ายอินทราเน็ตหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ

นอกจาก การ ทำ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ แบบ ระบบ เปิด โดย ผ่าน เครือ ข่าย อินเทอร์เน็ต แล้ว การ ทำ ธุรกรรม ทาง

อิเล็กทรอนิกส์ ยัง สามารถ กระทำ โดย ผ่าน เครือ ข่าย แบบ ระบบ ปิด หรือ เครือ ข่าย อินทราเน็ต (Intranet) ภายใน องค์

กร หนึ่งๆ หรือ ระหว่าง องค์กร ที่ มี ความ สัมพันธ์ ระหว่าง กัน เช่น การ ลง ทะเบียน เรียน ทาง เครื่อง คอมพิวเตอร์ โดย

ผ่าน เครือ ข่าย ของ มหาวิทยาลัย การ ติดต่อ ซื้อ ขาย สินค้า ระหว่าง ห้าง สรรพ สินค้า กับ โรงงาน ผลิต สินค้า โดย ผ่าน เครือ

ข่าย อินทราเน็ต เป็นต้น นอกจาก นี้ การ ทำ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ยัง สามารถ กระทำ โดย เครื่อง มือ อิเล็กทรอนิกส์

อื่นๆ อีก เช่น โทรศัพท์ เคลื่อนที่ หรือ มือ ถือ (mobile commerce: M-Commerce) โดย ผ่าน เครือ ข่าย อินเทอร์เน็ต

หรือ ผ่าน เครือ ข่าย ของ บริษัท ให้ บริการ คลื่น โทรศัพท์ เคลื่อนที่ ได้ อีก ด้วย

กิจกรรม12.3.1

การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะกระทำได้โดยวิธีใดบ้าง

แนวตอบกิจกรรม12.3.1

การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นการกระทำโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือโดยผ่าน

ทางเครือข่ายอินทราเน็ตหรือโดยทางเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆก็ได้

72 Shim, Jae K, Anique A. Qureshi, Joel G. Siegel, and Roberta M. Siegal, The International Hand book of Electronic

Commerce, p. 141.73 Ibid.74 Ibid.

Page 57: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-57

เรื่องที่12.3.2

กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับหลักการพื้นฐานที่สำคัญ

1.กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใน ขณะ ที่ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ เกิด จาก วิธี การ ติดต่อ สื่อสาร ทาง เทคโนโลยี สมัย ใหม่ เช่น จดหมาย

อเิลก็ทรอนกิส ์และ เวบ็ไซต ์เปน็ตน้ แต ่กฎหมาย สญัญา ของ นานา ประเทศ ตา่ง บญัญตั ิขึน้ มา เพือ่ รองรบั ธรุกรรม ที ่เกดิ จาก

วิธี การ ติดต่อ สื่อสาร สมัย เดิม เช่น ระหว่าง บุคคล ที่ อยู่ เฉพาะ หน้า วิธี ทาง โทรศัพท์ ทาง โทรสาร ทาง โทรเลข เป็นต้น วิธี

การ ติดต่อ สื่อสาร ทาง เทคโนโลยี สมัย ใหม่ นี้ ทำให้ เกิด ข้อ สงสัย ว่า ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ที่ เกิด จาก การ ติดต่อ สื่อสาร

ทาง เทคโนโลยี สมัย ใหม่ นี้ จะ ชอบ ด้วย กฎหมาย และ สามารถ ใช้ บังคับ กัน ได้ ภาย ใต้ กฎหมาย สัญญา ใน ปัจจุบัน หรือ ไม่

ดว้ย เหต ุนี ้คณะ กรรมาธกิาร การ คา้ ระหวา่ง ประเทศ แหง่ สหประชาชาต ิ(UNCITRAL) และ รฐับาล นานา ประเทศ

ได้ จัด ให้ มี การ ร่าง กฎหมาย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อ ขจัด ข้อ สงสัย นี้

1.1กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของต่างประเทศ ใน พ.ศ. 2539 คณะ กรรมาธิการ การ ค้า

ระหว่าง ประเทศ แห่ง สหประชาชาติ (UNCITRAL) ได้ จัด ทำ UNCITRAL Model Law on E-Commerce เพื่อ

เป็นต้น แบบ สำหรับ ประเทศ ที่ ต้องการ ออก กฎหมาย เพื่อ สนับสนุน การ ทำ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ UNCITRAL

Model Law on E-Commerce นี้ ได้ ขยาย ขอบเขต ของ ความ หมาย คำ ว่า า หลัก ฐาน เป็น หนังสือ ำ และ า ลาย มือ ชื่อ

ำ ให้ ครอบคลุม ถึง การ บันทึก ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ และ ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ โดย UNCITRAL Model Law

on E-Commerce มี อิทธิพล ต่อ การ ร่าง กฎหมาย ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน หลาย ต่อ หลาย ประเทศ

ทั่ว โลก ตลอด จน ได้ รับ การ ยอมรับ ให้ เป็น แม่ แบบ สำหรับ ประเทศ ที่ ประสงค์ จะ ร่าง กฎหมาย ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง

อิเล็กทรอนิกส์ อีก ด้วย

ใน ประเทศ สหรัฐอเมริกา UNCITRAL Model Law on E-Commerce ได้ มี อิทธิพล อย่าง มาก ต่อ การ

ร่าง กฎหมาย ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ของ สหรัฐอเมริกา ใน การ ประชุม ประจำ ปี ใน วัน ที่ 29 กรกฎาคม

พ.ศ. 2542 National Conference of Commissioners on Uniform State Law (NCCUSL) ได้ อนุมัติ

Uniform Electronic Transactions Act (UETA) ซึ่ง ร่าง ขึ้น มา ใกล้ เคียง กับ UNCITRAL Model Law on

E-Commerce เพื่อ ให้ มลรัฐ ของ สหรัฐอเมริกา อนุ วัติ บังคับ ใช้

ใน สหภาพ ยุโรป ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 คณะ กรรมาธิการ ยุโรป (European Commission) ได้ จัด ให้ มี

กฎ ระเบียบ (Directives)75 เพื่อ ให้ กฎหมาย เกี่ยว กับ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ของ ประเทศ สมาชิก ภายใน ตลาด ร่วม

(Internal Market) มี ความ สอดคล้อง กัน โดย กฎ ระเบียบ (Directives) ที่ สำคัญ 2 ฉบับ คือ Electronic Commerce

Directive และ Electronic Signatures Directive ซึ่ง ต่าง ได้ รับ อิทธิพล มา จาก UNCITRAL Model Law on E-

Commerce76

75 Directives หมายถึงกฎระเบียบของสหภาพยุโรป เพื่อให้รัฐสมาชิกไปสู่เป้าหมายร่วมกัπ76 Baker & McKenzie, “European Union E-Commerce Legislation and Regulations” Global E-Commerce Law. http://

www.bmck.com/ecommerce/eu.htm

Page 58: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-58 กฎหมายธุรกิจ

ส่วน ประเทศ ร่วม ค้า ของ ไทย ที่ สำคัญ อื่นๆ ต่าง บัญญัติ กฎหมาย ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ โดย

อาศัย ต้นแบบ จาก UNCITRAL Model Law on E-Commerce เช่น ประเทศ มาเลเซีย ได้ บัญญัติ Digital

Signature Act ใน พ.ศ. 254077 ประเทศ สิงคโปร์ บัญญัติ Electronic Transactions Act ใน พ.ศ. 254178

ประเทศ ออสเตรเลีย บัญญัติ Electronic Transactions Act ใน พ.ศ. 254279 เขต ปกครอง พิเศษ ฮ่องกง บัญญัติ

Electronic Transactions Ordinance ใน พ.ศ. 254380 และ ประเทศ แคนาดา บัญญัติ Electronic Transactions

Act ใน พ.ศ. 254481

ต่อ มา ใน พ.ศ. 2545 คณะ กรรมาธิการ การ ค้า ระหว่าง ประเทศ แห่ง สหประชาชาติ (UNCITRAL) ได้

จัด ทำ UNCITRAL Model Law on Electronic Signatures (UNCITRAL Model Law on E-Sign)82

วัตถุประสงค์ ประการ สำคัญ ของ UNCITRAL Model Law on E-Sign คือ การ รับรอง สถานะ กฎหมาย ของ

ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ที่ สร้าง ขึ้น ด้วย วิธี การ ที่ ใช้ อยู่ ใน ปัจจุบัน และ วิธี กา รอื่นๆ ที่ กำลัง พัฒนา อยู่ ให้ เสมอ กับ การ ลง

ลายมือ ชื่อ ใน เอกสาร ธรรมดา หรือ วิธี การ อื่น ใด ที่ ใช้ กัน ใน เอกสาร ธรรมดา เช่น การ ใช้ ตรา ประทับ83 เป็นต้น

1.2กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทย พ.ศ. 2544 รัฐสภา ไทย ได้ ผ่าน กฎหมาย ที่ สำคัญ

ฉบับ หนึ่ง คือ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 พระ ราช บัญญัติ ฉบับ นี้ ได้ ทำให้

ประเทศไทย ก้าว เข้า สู่ มาตรฐาน สากล ของ การ ค้า ใน ระบบ Electronic Commerce โดย ความ เดิม พระ ราช บัญญัติ

ฉบับ นี้ ได้ ถูก ร่าง ขึ้น เป็น 2 ร่าง พระ ราช บัญญัติ ได้แก่ ร่าง พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ และ

ร่าง พระ ราช บัญญัติ ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ร่าง กฎหมาย สอง ฉบับ นี้ ได้ ผ่าน ความ เห็น ชอบ ของ คณะ รัฐมนตรี ใน วัน

ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 254384 แล้ว ผ่าน ไป ยัง คณะ กรรมการ กฤษฎีกา เพื่อ พิจารณา โดย คณะ กรรมการ กฤษฎีกา ให้ ความ

เห็น ว่า ร่าง กฎหมาย ทั้ง สอง ฉบับ ควร รวม เป็น ฉบับ เดียว ดัง นั้น ใน วัน ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 คณะ รัฐมนตรี ได้ มี

มติ เห็น ชอบ กับ คำ เสนอ แนะ ของ คณะ กรรมการ กฤษฎีกา โดย ได้ ผ่าน ร่าง พระ ราช บัญญัติ ดัง กล่าว ไป ยัง รัฐสภา พิจารณา

และ ได้ ตรา เป็น พระ ราช บัญญัติ ใน วัน ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2544

77 Baker & McKenzie, “Malaysia E-Commerce Legislation and Regulations” Global E-Commerce Law. http://www.

bmck.com/ecommerce/malaysia.htm78 Baker & McKenzie, “Singapore E-Commerce Legislation and Regulations” Global E-Commerce Law. http://www.

bmck.com/ecommerce/singapore.htm79 Baker & McKenzie, “Australia E-Commerce Legislation and Regulations” Global E-Commerce Law. http://www.

bmck.com/ecommerce/australia.htm#etb80 Baker & McKenzie, “Hong Kong E-Commerce Legislation and Regulations” Global E-Commerce Law. http://www.

bmck.com/ecommerce/hongkong.htm#eto81 Baker & McKenzie, “Canada E-Commerce Legislation and Regulations” Global E-Commerce Law. http://www.

bmck.com/ecommerce/canada.htm#b1382 UNCITRAL, UNCITRAL Model Law on Electronic Signatures. Resolution 56/80 adopted by the General Assembly

at 85th plenary meeting (December 12, 2001) (UNCITRAL Model Law on E-Sign) http://www.uncitral.org/en-index.htm83 UNCITRAL, Guide to Enactment of the UNCITRAL Model Law on Electronic Signatures. para 3184 Baker & McKenzie, “Thailand E-Commerce Legislation and Regulations” Global E-Commerce Law. http://www.

bmck.com/ecommerce/thailand.htm

Page 59: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-59

พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้ รับ อิทธิพล มา จาก UNCITRAL Model

Law on E-Commerce และ กฎหมาย ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ของ ประเทศ สิงคโปร์ และ ประเทศ มาเลเซีย

โดย พระ ราช บัญญัติ ฉบับ นี้ มี ทั้ง สิ้น หก หมวด หมวด ที่ หนึ่ง ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ หมวด ที่ สอง ว่า ด้วย

ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ หมวด ที่ สาม ว่า ด้วย ธุรกิจ บริการ เกี่ยว กับ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ หมวด ที่ สี่ ว่า ด้วย

ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ภาค รัฐ หมวด ที่ ห้า ว่า ด้วย คณะ กรรมการ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ และ หมวด ที่ หก ว่า ด้วย

บท กำหนด โทษ

2.หลักการพื้นฐานที่สำคัญของกฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์2.1หลักการยอมรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลเสมอกับสถานะทางกฎหมายของ

เอกสารธรรมดา เมื่อ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ได้ ถูก ใช้ ใน การ ทำ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ คำถาม ที่ ตาม มา คือ ข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส ์เหล่า นี้ จะ มี ผล สมบูรณ ์ตาม กฎหมาย เสมอ เหมือน ข้อมูล ที่ เขียน อยู่ บน เอกสาร ธรรมดา หรือ ไม่ ใน ประเด็น

นี้ มาตรา 6 (1) ของ UNCITRAL Model Law on E-Commerce ได้ บัญญัติ ให้ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ นี้ มี ผล เสมอ

เหมือน ข้อมูล ที่ เขียน อยู่ บน เอกสาร ธรรมดา โดย มาตรา 6 (1) บัญญัติ ว่า

“Wherethelawrequiresinformationtobeinwriting,thatrequirementismetbyadatamessageifthein-

formationcontainedthereinisaccessiblesoastobeusableforsubsequentreference.”

นอกจาก นี้ มาตรา 7 (1) ของ UNCITRAL Model Law on E-Commerce ได้ สร้าง ความ มั่นใจ ว่า ข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์ สามารถ นำ มา ใช้ เป็น ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ได้ โดย มาตรา 7 (1) บัญญัติ ว่า

“Wherethelawrequiresasignatureofaperson,thatrequirementismetinrelationtoadatamessageif:

(a)amethodisusedtoidentifythatpersonandtoindicatethatpersonีsapprovaloftheinformationcontained

inthedatamessage;and

(b)thatmethodisasreliableaswasappropriateforthepurposeforwhichthedatamessagewasgenerated

orcommunicated,intherightofallthecircumstance,includinganyrelevantagreement.”

มาตรา 8 ของ พระ ราช บญัญตั ิวา่ ดว้ย ธรุกรรม ทาง อเิลก็ทรอนกิส ์พ.ศ. 2544 มี วตัถปุระสงค์ คลา้ยคลงึ กบั มาตรา

6 (1) ของ UNCITRAL Model Law on E-Commerce คือ เพื่อ รับรอง สถานะ ทาง กฎหมาย ของ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์

ให้ เสมอ เหมือน กับ การ ทำ เป็น หนังสือ หรือ หลัก ฐาน เป็น หนังสือ ใน เอกสาร ธรรมดา โดย มาตรา 8 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า

ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 บัญญัติ ว่า

“...ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงถ้า

ได้มีการจดัทำขอ้ความขึน้เปน็ขอ้มลูอเิลก็ทรอนกิส์ที่สามารถเขา้ถงึและนำกลบัมาใชไ้ด้โดยความหมายไม่เปลีย่นแปลง

ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว”

มาตรา 9 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มี วัตถุประสงค์ คล้ายคลึง

กับ มาตรา 7 (1) ของ UNCITRAL Model Law on E-Commerce คือ เพื่อ ให้ ความ มั่นใจ ว่า ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์

นั้น ถือว่า มี การ ลง ลายมือ ชื่อ ถ้า ได้ ใช้ วิธี การ ตาม กฎหมาย กำหนด ไว้ โดย มาตรา 9 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย

ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ บัญญัติ ไว้ ว่า

“ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้วถ้า

(1)ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความใน

ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตนและ

(2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็ก-

ทรอนิกส์โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี”

Page 60: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-60 กฎหมายธุรกิจ

2.2หลักการยอมรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เมื่อ ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ได้ ถูก ใช้ ใน การ ทำ ธุรกรรม ทาง

อเิลก็ทรอนกิส ์คำถาม ที ่ตาม มา คอื ลายมอื ชือ่ อเิลก็ทรอนกิส ์เหลา่ นี ้จะ ม ีผล สมบรูณ ์ตาม กฎหมาย เสมอ เหมอืน ลายมอืชือ่

ที่ เขียน อยู่ บน เอกสาร ธรรมดา หรือ ไม่ ใน ประเด็น นี้ มาตรา 2 ของ UNCITRAL Model Law on E-Sign ให้

คำ นิยาม คำ ว่า า ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ำ ว่า หมาย ถึง “data in electronic form in, affixed to, or logically associ-

ated with, a data message, which may be used to identify the signatory in relation to the data message

and indicate the signatory’s approval of the information contained in the data message.”85

ตาม คำ นิยาม ใน UNCITRAL Model Law on E-Sign ข้าง ต้น ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุม

ทั้ง ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ที่ สร้าง ขึ้น โดย การ ใช้ ระบบ กุญแจ คู่ หรือ “digital signature”86 และ ลายมือ ชื่อ

อิเล็กทรอนิกส์ ที่ สร้าง ขึ้น โดย วิธี อื่นๆ นอก เหนือ จาก ระบบ กุญแจ คู่87 เช่น การ ใช้ ปากกา พิเศษ สำหรับ ลง ลายมือ

ชื่อ บน หน้า จอ คอมพิวเตอร์ (computer screen) หรือ บน แผ่น ดิจิตอล (digital pad) การ ใช้ เลข ประจำ ตัว

ตลอด จน การ กด ปุ่ม คำ ว่า า“ข้าพเจ้า ยอ มรับ” หรือ า ข้าพเจ้า ตก ลงำ หรือ ปุ่ม ที่ มี ลักษณะ คล้ายคลึง กัน บน หน้า จอ

คอมพิวเตอร์88

วิธี การ ที่ ใช้ กัน อีก ประการ หนึ่ง คือ การ ใช้ รหัส ผ่าน หรือ เลข บัตร เครดิต เช่น นาย ร็อค ซื้อ หนังสือ เล่ม หนึ่ง จาก

ร้าน ค้า ทาง อินเทอร์เน็ต และ ได้ ให้ หมายเลข บัตร เครดิต ของ ตน เป็นการ ชำระ เงิน ค่า หนังสือ89

ส่วน วิธี การ ที่ สลับ ซับ ซ้อน มาก ได้แก่ การ ใช้ การ รับรอง ความ แท้จริง โดย วิธี ทาง ชีวภาพ (biometrics

authentication) เช่น การ ใช้ ลาย พิมพ์ ฝ่ามือ ลาย พิมพ์ นิ้ว มือ ม่านตา หรือ เสียง การ สร้าง ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์

ประเภท นี้ ผู้ เป็น เจ้าของ อวัยวะ หรือ เสียง นั้น จะ ต้อง ประทับ อวัยวะ ของ ตน ลง บน แท่น พิเศษ หรือ ออก เสียง บันทึก ลง

เครื่อง อัด เสียง พิเศษ เพื่อ ตรวจ สอบ ความ แท้จริง ของ อวัยวะ หรือ เสียง นั้น เมื่อ อวัยวะ ที่ ประทับ หรือ เสียง ที่ บันทึก ตรง

กับ ลาย พิมพ์ อวัยวะ หรือ เสียง ที่ ได้ เก็บ รักษา ไว้ ก็ ถือว่า ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ได้ ถูก สร้าง ขึ้น แล้ว90

พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ได้ ให้ ความ หมาย ของ ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ไว้ กว้าง

กว่า UNCITRAL Model Law on E-Sign โดย มาตรา 4 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.

2544 บัญญัติ ว่า

“ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หมายความว่า อักษรอักขระตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้

อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับ

ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์นั้นและเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น”

85 UNCITRAL Model Law on E-Sign. art. 286 ลายมือชื่อดิจิตอลสร้างขึ้นโดยการใช้หลักกุญแจคู่ซึ่งประกอบด้วยกุญแจสาธารณะและกุญแจส่วนตัว โดย Certification Authority

“CA” จะเป็นผู้ทำหน้าที่รับรองความแท้จริงของบุคคลผู้ยื่นคำขอกุญแจคู่ เจ้าของกุญแจจะเป็นผู้เดียวที่มีกุญแจส่วนตัวในขณะที่กุญแจสาธารณะ

จะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ CA ระบบกุญแจคู่นี้สร้างขึ้นด้วยกระบวนการทางคณิตศาสตร์ซึ่งทำให้ข้อมูลที่ทำการเข้ารหัสโดยกุญแจส่วนตัวจะ

สามารถถอดรหัสได้โดยกุญแจสาธารณะที่เป็นคู่ของตัวเท่านั้น ดังนั้น ถ้าผู้ส่งข้อมูลเข้ารหัสเอกสารด้วยกุญแจส่วนตัว ผู้รับข้อมูลจะต้องใช้กุญแจ

สาธารณะของผู้ส่งในการยืนยันความแท้จริงของเอกสารนั้น87 UNCITRAL, Guide to Enactment of the UNCITRAL Model Law on Electronic Signatures, para 3388 Ibid.89 Ibid.90 Ibid.

Page 61: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-61

ความ หมาย ของ คำ ว่า “ ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ” ตาม ความ ใน มาตรา 4 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย

ธุ รกรร ม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 นั้น ครอบคลุม ถึง เสียง และ สัญลักษณ์ อื่น ใด ที่ สร้าง ขึ้น ให้ อยู่ ใน รูป แบบ

อิเล็กทรอนิกส์ คำ จำกัด ความ ของ “ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ” ตามพ ระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุ รกร รม ทาง อิเล็ก-

ทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 นี้ คล้ายคลึง กับ คำ จำกัด ความ ของ “ ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ” ตาม กฎหมายว่า ด้วย ลายมือ ชื่อ

อิเล็กทรอนิกส์ ของ สหรัฐอเมริกา (U.S. Electronic Signatures in Global and National Commerce Act of 2000

(U.S. E-Sign)) ซึ่ง ให้ จำกัด ความ ของ คำ ว่า “ ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ” ไว้ ว่า

“Anelectronicsound,symbol,orprocessattachedtoorlogicallyassociatedwithacontractorotherrecord

andexecutedoradoptedbyapersonwiththeintenttosigntherecord.”

อย่างไร ก็ตาม มาตรา 4 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ต้อง อ่าน ควบคู่ กับ

มาตรา 9 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 โดย มาตรา 9 บัญญัติ ว่า

“ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้วถ้า

(1)ใช้วธิีการที่สามารถระบุตวัเจา้ของลายมอืชือ่และสามารถแสดงได้วา่เจา้ของลายมอืชือ่รบัรองขอ้ความใน

ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตนและ

(2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็ก-

ทรอนิกส์โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี”

ลายมอื ชือ่ อเิลก็ทรอนกิส ์ที ่สรา้ง หรอื ใช ้ใน ตา่ง ประเทศ (foreign electronic signatures) ตาม มาตรา 31 วรรค

สาม ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่ง บัญญัติ รับรอง ลายมือ ชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ที่

สร้าง หรือ ใช้ ใน ต่าง ประเทศ ให้ เสมอ กับ ลายมือ ชื่อ ที่ สร้าง หรือ ใช้ ใน ประเทศไทย โดย มาตรา 31 วรรค สาม บัญญัติ ว่า

“ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างหรือใช้ในต่างประเทศ ให้ถือว่ามีผลตามกฎหมายในประเทศเช่นเดียวกับ

ลายมอืชือ่อเิลก็ทรอนกิส์ที่สรา้งหรอืใช้ในประเทศหากการสรา้งหรอืใช้ลายมอืชือ่อเิลก็ทรอนกิส์ดงักลา่วได้ใช้ระบบที่

เชื่อถือได้ไม่น้อยกว่าระบบที่เชื่อถือได้ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้”

กิจกรรม12.3.2

จงอธิบายความหมายของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาง

อิเล็กทรอนิกส์พ.ศ.2544

แนวตอบกิจกรรม12.3.2

มาตรา 4 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้ให้นิยาม าลายมือ

ชื่ออิเล็กทรอนิกส์ำ ว่าหมายถึงอักษรอักขระตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบ

อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์นั้นและเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

Page 62: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-62 กฎหมายธุรกิจ

เรื่องที่12.3.3

ธุรกรรมที่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ

ตาม หลัก กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย ผู้ แสดง เจตนา ทำ นิติกรรม หรือ ผู้ เป็น คู่ สัญญา สามารถ ทำ

นิติกรรม สัญญา กัน ใน รูป แบบ ใดๆ ก็ได้ ดัง นั้น โดย หลัก หนังสือ หรือ หลัก ฐาน เป็น หนังสือ จึง ไม่ใช่ องค์ ประกอบ แห่ง

ความ สมบูรณ์ ของ นิติกรรม สัญญา กล่าว คือ ไม่ ทำให้ การ แสดง เจตนา ทำ นิติกรรม สัญญา นั้น เสีย เปล่า หรือ เป็น โมฆะ แต ่

ประการ ใด เฉพาะ นิติกรรม สัญญา บาง ประเภท เท่านั้น ที่ กฎหมาย บังคับ ว่า ต้อง ทำ เป็น หนังสือ หรือ มี หลัก ฐาน เป็น หนังสือ

เพื่อ ให้ สัญญา สมบูรณ์ หรือ เพื่อ ให้ สามารถ ฟ้อง ร้อง บังคับ คดี กัน ได้ นิติกรรม สัญญา ดัง กล่าว ได้แก่

1. สญัญา ซือ้ ขาย อสงัหารมิทรพัย ์ถา้ มไิด ้ทำ เปน็ หนงัสอื และ จด ทะเบยีน ตอ่ พนกังาน เจา้ หนา้ที ่ถอืวา่ เปน็ โมฆะ

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค หนึ่ง

2. สัญญา จะ ขาย หรือ จะ ซื้อ อสังหาริมทรัพย์ ถ้า มิได้ มี หลัก ฐาน เป็น หนังสือ อย่าง หนึ่ง อย่าง ใด ลง ลายมือ ชื่อ

ฝ่าย ผู้ ต้อง รับ ผิด เป็น สำคัญ หรือ ได้ วาง มัดจำ หรือ ได้ ชำระ หนี้ บาง ส่วน จะ ฟ้อง ร้อง บังคับ คดี ไม่ ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา

456 วรรค สอง

3. สัญญา ซื้อ ขาย สังหาริมทรัพย์ ซึ่ง ตกลง กัน เป็น ราคา สอง หมื่น บาท หรือ กว่า นั้น ขึ้น ไป ถ้า มิได้ มี หลัก ฐาน เป็น

หนังสือ อย่าง หนึ่ง อย่าง ใด ลง ลายมือ ชื่อ ฝ่าย ผู้ ต้อง รับ ผิด เป็น สำคัญ หรือ ได้ วาง มัดจำ หรือ ได้ ชำระ หนี้ บาง ส่วน จะ ฟ้อง

ร้อง บังคับ คดี ไม่ ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค สาม

ตัวอย่าง ของ สัญญา อื่นๆ ที่ ต้อง ทำ เป็น หนังสือ เช่น สัญญา เช่า ซื้อ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรค สอง บัญญัติ

ความ ว่า สัญญา เช่า ซื้อ นั้น ถ้า ไม่ ได้ ทำ เป็น หนังสือ เป็น โมฆะ91

ส่วน ตัวอย่าง สัญญา อื่นๆ ที่ ต้อง มี หลัก ฐาน เป็น หนังสือ ลง ลายมือ ชื่อ ฝ่าย ผู้ ต้อง รับ ผิด เป็น สำคัญ มิ ฉะนั้น จะ

ฟ้อง ร้อง บังคับ คดี ไม่ ได้ เช่น สัญญา เช่า อสังหาริมทรัพย์92 สัญญา กู้ ยืม เงิน กว่า สอง หมื่น บาท ขึ้น ไป93

อย่างไร ก็ตาม สัญญา ที่ กฎหมาย บังคับ ว่า ต้อง ทำ เป็น หนังสือ หรือ ต้อง มี หลัก ฐาน เป็น หนังสือ เหล่า นี้ บุคคล

ผู้ จะ ต้อง ทำ หนังสือ หรือ บุคคล ผู้ ต้อง ลง ลายมือ ชื่อ รับ ผิด ใน หลัก ฐาน เป็น หนังสือ ไม่ จำเป็น ต้อง เขียน หนังสือ หรือ

หลัก ฐาน เป็น หนังสือ นั้น เอง แต่ หนังสือ หรือ หลัก ฐาน เป็น หนังสือ นั้น ต้อง ลง ลายมือ ชื่อ ของ บุคคล นั้น94

นอกจาก นี้ ป.พ.พ. ยัง ได้ ให้ คำ นิยาม ของ คำ ว่า า ลาย มือ ชื่อ ำ ไว้ อย่าง กว้าง โดย ป.พ.พ. มาตรา 9 บัญญัติ

ว่า “ลายพิมพ์นิ้วมือแกงไดตราประทับหรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ

หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้เสมอกับการลงลายมือชื่อ”95

91 ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคสอง92 ป.พ.พ. มาตรา 538 93 ป.พ.พ. มาตรา 65394 ป.พ.พ. มาตรา 9 วรรคหนึ่ง95 ป.พ.พ. มาตรา 9 วรรคสองและวรรคสา¡

Page 63: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-63

กิจกรรม12.3.3

จงอธิบายหลักการทำธุรกรรมที่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือตามหลักกฎหมาย

นิติกรรมสัญญาของไทย

แนวตอบกิจกรรม12.3.3

ตามหลักกฎหมายนิติกรรมสัญญาของไทยผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมหรือผู้เป็นคู่สัญญาสามารถทำ

นิติกรรมสัญญากันในรูปแบบใดๆก็ได้ดังนั้นโดยหลักหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือจึงไม่ใช่องค์ประกอบ

แห่งความสมบูรณ์ของนิติกรรมสัญญากล่าวคือไม่ทำให้การแสดงเจตนาทำนิติกรรมสัญญานั้นเสียเปล่าหรือ

เป็นโมฆะแต่ประการใด เฉพาะนิติกรรมสัญญาบางประเภทเท่านั้นที่กฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือ

มีหลักฐานเป็นหนังสือเพื่อให้สัญญาสมบูรณ์หรือเพื่อให้สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

Page 64: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-64 กฎหมายธุรกิจ

ตอนที่12.4

สาระสำคัญของสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์

โปรด อ่าน หัว เรื่อง แนวคิด และ วัตถุประสงค์ ของ ตอน ที่ 12.4 แล้ว จึง ศึกษา ราย ละเอียด ต่อ ไป

หัวเรื่อง12.4.1 องค์ ประกอบ ของ การ เกิด ขึ้น ของ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์

12.4.2 กฎหมาย ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ที่ เกี่ยว กับ การ เกิด ขึ้น ของ สัญญา ทางอิเล็กทรอนิกส์

12.4.3 ข้อ สัญญา กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ และ เขต อำนาจ ศาล ของ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์

แนวคิด1. ตาม กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ก็ จะ เกิด ขึ้น โดย ชอบ ด้วย

กฎหมาย เมื่อ คำ เสนอ และ คำ สนอง ถูก ต้อง ตรง กัน โดย คู่ สัญญา มี เจตนา ใน การ ทำ สัญญา

2. พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 บัญญัติ ขึ้น เพื่อ ยืนยัน ความ

สมบูรณ์ แห่ง การ เกิด ขึ้น ของ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ตาม กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย และ

สร้าง ความ ชัดเจน ใน ประเด็น ต่างๆ เช่น ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ สามารถ ทำ เป็น คำ เสนอ หรือ คำ สนอง

ได้ สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย การ ที่ ผู้ ส่ง ข้อมูล กด ปุ่ม า ยอ มรับำ หรือ า ตก ลงำ ถือว่า ผู้ ส่ง ข้อมูล

ได้ แสดง เจตนา ผูกพัน ตน ตาม กฎหมาย แล้ว ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ที่ ถูก เขียน ขึ้น โดย คอมพิวเตอร์

โดย ปราศจาก การ แทรกแซง ของ มนุษย์ ถือว่า สามารถ ที่ จะ ทำให้ เกิด สัญญา ที่ มี ผล ผูกพัน ตาม

กฎหมาย ได้ และ การ กำหนด เวลา และ สถาน ที่ ของ การ เกิด ของ สัญญา อิเล็กทรอนิกส์

3. สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ต้อง อยู่ ภาย ใต้ บังคับ ของ พระ ราช บัญญัติ ข้อ สัญญา ไม่ เป็น ธรรม

พ.ศ. 2540 และ พระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง ผู้ บริโภค พ.ศ. 2541 เช่น เดียว กับ สัญญา ใน เอกสาร

ธรรมดา

วัตถุประสงค์เมื่อ ศึกษา ตอน ที่ 12.4 จบ แล้ว นักศึกษา สามารถ

1. อธิบาย และ วินิจฉัย องค์ ประกอบ ของ การ เกิด ขึ้น ของ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ได้

2. อธิบาย และ วินิจฉัย กฎหมาย ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ที่ เกี่ยว กับ การ เกิด ขึ้น ของ สัญญา

ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ได้

3. อธิบาย และ วินิจฉัย ข้อ สัญญา กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ และ เขต อำนาจ ศาล ของ สัญญา ทางอิเล็ก-

ทรอนิกส์ ได้

Page 65: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-65

เรื่องที่12.4.1

องค์ประกอบของการเกิดขึ้นของสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์

ส่วน นี้ จะ ได้ วิเคราะห์ ถึง ประเด็น เกี่ยว กับ องค์ ประกอบ การ เกิด ของ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ บน เครือ

ข่าย อินเทอร์เน็ต โดย จะ ทำการ เปรียบ เทียบ องค์ ประกอบ การ เกิด ของ สัญญา ระหว่าง กฎหมาย อังกฤษ กับ กฎหมาย

นิติกรรม สัญญา ของ ไทย

ภาย ใต้ กฎหมาย อังกฤษ การ เกิด ของ สัญญา จะ ต้อง มี องค์ ประกอบ 4 ข้อ96 คือ คำ เสนอ คำ สนอง เจตนา ใน

การ ทำ สัญญา และ การ ต่าง ตอบแทน97

การ เกิด ของ สัญญา ภาย ใต้ กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย ต่าง กับ กฎหมาย อังกฤษ ตรง ที่ เรื่อง การ

ต่าง ตอบแทน (concept of consideration) ซึ่ง ไม่ เป็น องค์ ประกอบ ของ สัญญา ภาย ใต้ กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ

ไทย ตาม กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย เมื่อ คำ เสนอ และ คำ สนอง ถูก ต้อง ตรง กัน โดย คู่ สัญญา มี เจตนา ใน การ ทำ

สัญญา สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ จะ เกิด ขึ้น โดย ชอบ ด้วย กฎหมาย

1.คำเสนอทางอิเล็กทรอนิกส์ภาย ใต้ กฎหมาย อังกฤษ คำ เสนอ หมาย ถึง การ แสดง ความ ประสงค์ ที่ จะ ทำ สัญญา ด้วย เจตนา (ชัด แจ้ง หรือ

ปริยาย) ว่า สัญญา มี ผล ผูกพัน บุคคล ผู้ ทำ คำ เสนอ เมื่อ ผู้รับ คำ เสนอ ได้ ตอบ ตกลง โดย ทำ คำ สนอง98 ใน อีก นัย หนึ่ง เมื่อ

บุคคล ทำ คำ เสนอ นั่น คือ การ แสดง ความ จำนง ที่ จะ เข้า ทำ สัญญา โดย เข้าใจ ว่า สัญญา นั้น จะ มี ผล ผูกพัน ตน เมื่อ อีก ฝ่าย

หนึ่ง หรือ ผู้รับ คำ เสนอ ได้ ตอบ ตกลง ตาม คำ เสนอ นั้น

กฎหมาย อังกฤษ ไม่ ได้ กำหนด ให้ คำ เสนอ ต้อง ทำ ด้วย วิธี การ ใด ดัง นั้น คำ เสนอ จึง อาจ ทำ โดย วิธี การ

ใดๆ ก็ได้99 เช่น คำ เสนอ อาจ ทำ ด้วย ปาก เปล่า โดย ไปรษณีย์ โดย โทรสาร โดย โทรศัพท์ หรือ ใน ปัจจุบัน โดย ทาง

จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ และ ห้อง สนทนา ก็ได้

ภาย ใต้ กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย คำ เสนอ หมาย ถึง การ แสดง เจตนา เพื่อ ผูก นิติ สัมพันธ์ ระหว่าง บุคคล

เพื่อ ทำ สัญญา100 เช่น เดียว กับ กฎหมาย อังกฤษ กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย ไม่ ได้ กำหนด ให้ คำ เสนอ ต้อง ทำ ด้วย

วิธี การ ใด ดัง นั้น คำ เสนอ จึง อาจ ทำ โดย วิธี ใดๆ ก็ได้101 รวม ทั้ง คำ เสนอ โดย ทาง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ทาง เว็บไซต์

และ ทาง ห้อง สนทนา

นอกจาก นี้ คำ เสนอ ยัง มี ข้อ ควร พิจารณา ที่ สำคัญ 2 ประการ คือ สัญญา ฝ่าย เดียว และ คำ เชิญ ชวน

เข้า ทำ สัญญา

96 Chissick, Michael and Alistair Kelman, Electronic Commerce: Law and Practice, 2nd ed., London: Sweet & Max-

well, 2000, para 3.3097 Ibid.98 Chitty Joseph, Chitty on Contracts, 28th ed., London: Sweet and Maxwell, 1999, para 2-00299 Ibid.100

ป.พ.พ. มาตรา 149101 จำปี โสตถิพันธุ์ คำบรรยายนิติกรรมสัญญา กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์วิญญูชน 2543 หน้า 231

Page 66: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-66 กฎหมายธุรกิจ

1.1สัญญาฝ่ายเดียว โดย ทั่วไป แล้ว สัญญา ต้อง มี คู่ สัญญา สอง ฝ่าย ซึ่ง หมาย ถึง คู่ สัญญา ทั้ง สอง ฝ่าย ต่าง มี หนี้

ที่ จะ ต้อง ชำระ ซึ่ง กัน และ กัน102 อย่างไร ก็ตาม ใน ทาง ธุรกิจ ก่อน ที่ จะ ได้ ทำ สัญญา ผู้ ประกอบ ธุรกิจ ทาง อินเทอร์เน็ต อาจ

ได้ ทำการ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ สินค้า หรือ บริการ ของ ตนเอง ทาง อินเทอร์เน็ต โดย ทาง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ หรือ โดย

ทาง เว็บไซต์ การ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ทาง อินเทอร์เน็ต เหล่า นี้ อาจ จะ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ฝ่าย เดียว ขึ้น ได้ ซึ่ง ฝ่าย ผู้ โฆษณา

ประชาสัมพันธ์ แต่ ฝ่าย เดียว จำ ต้อง ผูกพัน ตน ตาม ที่ ได้ โฆษณา ไว้

ภาย ใต้ กฎหมาย อังกฤษ สัญญา ฝ่าย เดียว ได้ รับ การ ยอมรับ ใน คดี ที่ มีชื่อ เสียง คดี หนึ่ง คือ คดี Carlill v.

Carbolic Smoke Ball Co. Ltd103 ใน คดี ดัง กล่าว จำเลย ได้ เสนอ เงิน 100 pounds แก่ บุคคล ที่ ติด เชื้อ ไข้ หวัด ใหญ่

หลัง จาก ที่ ได้ ใช้ ผลิตภัณฑ์ ของ ตน อย่าง ถูก วิธี โจทก์ ได้ ใช้ ผลิตภัณฑ์ ดัง กล่าว อย่าง ถูก ต้อง ตาม คำ แนะนำ แต่ ยัง คง ได้

รับ เชื้อ ไข้ หวัด ใหญ่ จึง ฟ้อง เรียก เงิน 100 pounds ศาล อังกฤษ ตัดสิน ให้ โจทก์ ชนะ คดี โดย วินิจฉัย ว่า สัญญา บังคับ ได้

ตาม กฎหมาย

กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย ไม่ ได้ ยอมรับ สัญญา ฝ่าย เดียว เป็นการ ทั่วไป ดัง เช่น กฎหมาย อังกฤษ หาก

แต่ ป.พ.พ. มาตรา 362 ได้ บัญญัติ ใน เรื่อง คำมั่น ว่า จะ ให้ รางวัล เป็น กรณี เฉพาะ ไว้ ดังนี้

“บุคคลออกโฆษณาให้คำมั่นว่าจะให้รางวัลแก่ผู้ซึ่งกระทำการอันใดท่านว่าจำต้องให้รางวัลแก่บุคคลใดๆ

ผู้ได้กระทำการอันนั้นแม้ถึงมิใช่ว่าผู้นั้นจะได้กระทำเพราะเห็นแก่รางวัล”

บทบัญญัติ ใน ป.พ.พ. มาตรา 362 นี้ มุ่ง เฉพาะ คำมั่น สำหรับ ให้ รางวัล แก่ บุคคล ผู้ ซึ่ง กระทำ การ อัน ได้

โฆษณา ไว้ เช่น แอน ประกาศ ทาง หนังสือพิมพ์ ว่า ถ้า ผู้ ใด พบ สุนัข ของ เธอ ที่ หาย ไป เธอ จะ ให้ รางวัล 1,000 บาท บีม

พบ สุนัข ตัว ดัง กล่าว ดัง นั้น บีม จึง มี สิทธิ ได้ รับ รางวัล อย่างไร ก็ตาม บทบัญญัติ ตาม มาตรา 362 นี้ ไม่ ได้ กว้าง พอที่

จะ ครอบคลุม ข้อ เท็จ จริง ตาม คำ พิพากษา ของ ศาล อังกฤษ ใน คดี Carlill v. Carbolic Smoke Ball Co. Ltd. ดัง นั้น

คำมั่น ใน การ โฆษณา ใน คดี Carlill v. Carbolic Smoke Ball Co. Ltd จึง ไม่ อาจ บังคับ ได้ ฐาน คำมั่น จะ ให้ รางวัล

ตาม มาตรา 362 แต่ ผู้ โฆษณา อาจ ต้อง รับ ผิด ใน คำ โฆษณา ซึ่ง มี ลักษณะ เป็นการ หลอก ลวง ผู้ บริโภค ตามพ ระ ราช บัญญัต ิ

คุ้มครอง ผู้ บริโภค พ.ศ. 2541

1.2คำเชิญชวนเข้าทำสัญญา หมาย ถึง การ สื่อสาร เชิญ ชวน ให้ คู่ สัญญา ฝ่าย หนึ่ง ทำ คำ เสนอ104 คำ เชิญ ชวน เข้า

ทำ สัญญา นี้ ไม่ใช่ ทั้ง คำ เสนอ และ สัญญา ฝ่าย เดียว เพราะ ผู้ ทำ คำ เชิญ ชวน เข้า ทำ สัญญา ไม่ ได้ ทำ คำ เชิญ ชวน ขึ้น ด้วย เจตนา

ที่ จะ ให้ มี ผล ผูกพัน ตาม กฎหมาย เมื่อ อีก ฝ่าย หนึ่ง ตอบ รับ หรือ ปฏิบัติ ตาม ตาม คำ เชิญ ชวน นั้น105

กฎหมาย อังกฤษ ยอมรับ แนว ความ คิด เรื่อง คำ เชิญ ชวน เข้า ทำ สัญญา ใน คดี ระหว่าง Pharmaceutical Society

of Great Britain v. Boots Cash Chemists (Southern) Ltd.106 ใน คดี ดัง กล่าว ศาล อังกฤษ ได้ ตัดสิน ว่า สินค้า ที่

วาง ขาย อยู่ ใน ร้าน ค้า ไม่ใช่ เป็นการ ทำ คำ เสนอ หาก แต่ เป็นการ เชิญ ชวน เข้า ทำ สัญญา ดัง นั้น การ ที่ ลูกค้า นำ สินค้า นั้น ไป

ยัง พนักงาน เก็บ เงิน จึง เป็นการ ทำ คำ เสนอ เพื่อ ซื้อ สินค้า จึง ไม่ใช่ การ ทำ คำ สนอง รับ หาก แต่ เป็นการ ทำ คำ เสนอ ซื้อ สินค้า

ดัง นั้น ทาง ร้าน จึง มี สิทธิ ที่ จะ เลือก ที่ จะ ขาย หรือ ไม่ ขาย สินค้า นั้น ก็ได้

กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย ก็ ยอมรับ แนว ความ คิด ใน เรื่อง คำ เชิญ ชวน เข้า ทำ สัญญา เช่น เดียว กับ

กฎหมาย อังกฤษ โดย กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย ยอมรับ เรื่อง คำ เชิญ ชวน เข้า ทำ สัญญา ทั้ง ใน กรณี ที่ การ แสดง

102 Chitty Joseph, Chitty on Contracts, para 1-002.103 Carlill v. Carbolic Smoke Ball Co. Ltd (1892) 2 QB 256.104 Chitty Joseph, Chitty on Contracts, para 2-006.105 Ibid., para 2-007106 Pharmaceutical Society of Great Britain v. Boots Cash Chemists (Southern) Ltd. (1953) 1 QB 394.

Page 67: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-67

เจตนา ไม่ ชัด แจ้ง พอ เป็น คำ เสนอ และ ใน กรณี ที่ การ แสดง เจตนา ไม่ ได้ ทำ ขึ้น ด้วย เจตนา ที่ จะ ผูกพัน ตน ตาม กฎหมาย

ถ้า ผู้รับ การ แสดง เจตนา ยอมรับ ตาม การ แสดง เจตนา นั้น107 ตัวอย่าง เช่น เดวิด ประสงค์ ที่ จะ ซื้อ ข้าว เหนียว จากศร ราม

จึง ส่ง จดหมาย ไป ยัง ศร ราม สอบถาม ว่า ศร ราม ต้องการ ขาย ข้าว เหนียว หรือ ไม่ และ ถ้า ขาย จะ ขาย ใน ราคาเท่าใด

ข้อความ ใน จดหมาย ของ นาย เดวิด เป็น เพียง การ ทำ คำ เชิญ ชวน ให้ เข้า ทำ สัญญา เท่านั้น ไม่ใช่ เป็นการ ทำคำ เสนอ

เพราะ ข้อความ ไม่ ชัด แจ้ง พอ เป็น คำ เสนอ

แนว ความ คิด เกี่ยว กับ คำ เชิญ ชวน เข้า ทำ สัญญา นี้ สามารถ นำ มา ปรับ ใช้ กับ กรณี รายการ ราคา ใน จดหมาย

อิเล็กทรอนิกส์ และ รายการ ราคา ใน เว็บไซต์ โดย ใน กรณี เว็บไซต์ อาจ พิจารณา ได้ ว่า เป็น หน้า ร้าน อิเล็กทรอนิกส์ ของ

ผู้ ประกอบ ธุรกิจ การ ค้า ซึ่ง ทำ หน้าที่ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ สินค้า และ บริการ ตลอด จน ราคา ของ สินค้า และ บริการ นั้น

เช่น เดียวกัน ใน กรณี รายการ ราคา ใน จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ก็ อาจ พิจารณา ได้ ว่า เป็น เพียง แผ่น พับ แสดง สินค้า และ

ราคา ของ สินค้า นั้น อย่างไร ก็ตาม ใน ขณะ ที่ ยัง ไม่มี คำ พิพากษา ของ ศาล ไทย ชี้ แจ้ง แสดง ชัด ว่า เว็บไซต์ หรือ รายการ

ราคา ใน จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ เป็น เพียง คำ เชิญ ชวน เข้า ทำ สัญญา หรือ ถึง ขนาด เป็น คำ เสนอ ผู้ ประกอบ ธุรกิจ การ ค้า

ไทย ควร ระบุ ไว้ ให้ ชัดเจน ใน เว็บไซต์ หรือ ใน รายการ ราคา ใน จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ว่า เว็บไซต์ หรือ จดหมาย

อิเล็กทรอนิกส์ ดัง กล่าว เป็น เพียง คำ เชิญ ชวน ให้ เข้า ทำ สัญญา เท่านั้น หา ใช่ คำ เสนอ หรือ สัญญา ฝ่าย เดียว ไม่108

2.คำสนองทางอิเล็กทรอนิกส์ภาย ใต้ กฎหมาย อังกฤษ คำ สนอง หมาย ถึง การ แสดง เจตจำนง สุดท้าย ยินยอม ตาม ข้อความ ใน คำ เสนอ โดย

ปราศจาก เงื่อนไข109 คำ สนอง ต้อง ไม่ เพียง แต่ เป็น ข้อความ ที่ แจ้ง ว่า ผู้ สนอง ได้ รับคำ เสนอ แล้ว110 คำ สนอง จะ ต้อง ไม่มี

การ เปลี่ยนแปลง ข้อความ ใน คำ เสนอ ซึ่ง จะ กลาย เป็น คำ เสนอ ใหม่ คำ สนอง จะ ทำ ใน รูป แบบ ใดๆ ก็ได้ หาก ผู้ เสนอ ไม่ ได้

กำหนด วิธี การ ทำ คำ สนอง ไว้ อย่าง ชัด แจ้ง ไว้ ใน คำ เสนอ ดัง นั้น ตาม กฎหมาย อังกฤษ คำ สนอง สามารถ ทำได้ โดย ทาง

จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ หรือ โดย ทาง เว็บไซต์ อย่างไร ก็ตาม คำ สนอง จะ ต้อง ทำ โดย วิธี ที่ เหมาะ สม กับพฤติการณ์ โดย

ความ รวดเร็ว และ แม่นยำ ของ วิธี การ ทำ คำ สนอง อาจ นำ มา พิจารณา ว่า วิธี การ ทำ คำ สนอง นั้น เหมาะ สมกับ พฤติการณ์

หรือ ไม่ ตัวอย่าง เช่น การ ใช้ จดหมาย ทาง ไปรษณีย์ ทำ คำ สนอง ตอบ รับคำ เสนอ ที่ ทำ โดย โทรสาร อาจ ถือว่าเป็น วิธี ที่

ไม่ เหมาะ สม เพราะ การ ทำ คำ เสนอ โดย ทาง โทรสาร เป็น วิธี การ ที่ ต้องการ ความ รวดเร็ว แม่นยำ และสามารถ ติดต่อ กัน

ได้ ใน ทันที แต่ การ ทำ คำ สนอง โดย จดหมาย ทาง ไปรษณีย์ เป็น วิธี การ ที่ ช้า และ จดหมาย อาจสูญหาย ระหว่าง การ ส่ง ได้

อย่างไร ก็ตาม การ ใช้ วิธี การ ทำ คำ สนอง เช่น เดียว กับ วิธี การ ทำ คำ เสนอ หรือ วิธี การ ที่รวดเร็ว กว่า และ แม่นยำ กว่า ถือ ได้ ว่า

เป็น วิธี การ ที่ เหมาะ สม

ภาย ใต้ กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย คำ สนอง ต้อง ชัดเจน ปราศจาก เงื่อนไข เช่น เดียว กับ กฎหมาย

อังกฤษ คำ สนอง ไม่ อาจ ที่ จะ มี ข้อ เพิ่ม เติม ข้อ จำกัด หรือ ข้อ เปลี่ยนแปลง แก้ ไข ใดๆ มิ ฉะนั้น จะ ถือว่า เป็นการ บอกปัด

คำ เสนอ และ เป็นการ ทำ คำ เสนอ ขึ้น ใหม่111 นอกจาก นี้ คำ สนอง จะ ต้อง ถึง ผู้ เสนอ ภายใน เวลา อัน สมควร คำ สนอง

ล่วง เวลา ถือว่า เป็นการ ทำ คำ เสนอ ขึ้น ใหม่112 ใน กรณี ที่ ไม่มี ข้อ กำ หนด ใดๆ ใน คำ เสนอ ผู้ สนอง จะ ใช้ วิธี การ ใดๆ

ใน การ ส่ง คำ สนอง ก็ได้113

107 จำปี โสตถิพันธุ์ คำบรรยายนิติกรรมสัญญา หน้า 232108 Chissick, Michael and Alistair Kelman, Electronic Commerce: Law and Practice, para 3.12109 Chitty Joseph, Chitty on Contracts, para 2-024110 Chissick, Michael and Alistair Kelman, Electronic Commerce: Law and Practice, para 3.50111 ป.พ.พ. มาตรา 359 วรรคสอง112 ป.พ.พ. มาตรา 359 วรรคแรก113 จำปี โสตถิพันธุ์ คำบรรยายนิติกรรมสัญญา หน้า 237

Page 68: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-68 กฎหมายธุรกิจ

2.1หลักในการทำคำสนองกับการเกิดของสัญญา อาจ แยก พิจารณา ได้ ตาม กฎหมาย อังกฤษ และ ตาม

กฎหมาย ไทย ดังนี้

2.1.1กฎหมายอังกฤษ ภาย ใต้ กฎหมาย อังกฤษ สัญญา เกิด ขึ้น เมื่อ ผู้ สนอง ตอบ รับคำ เสนอ ใน อดีต

สัญญา มัก จะ เป็นการ ทำ กัน ระหว่าง คู่ สัญญา ที่ อยู่ ต่อ หน้า กัน โดย คู่ สัญญา ที่ อยู่ ใน ประเทศ เดียวกัน ดัง นั้น ปัญหา

ว่า สัญญา เกิด เมื่อ ใด และ ที่ไหน จึง ไม่ ค่อย มี ความ สำคัญ มาก นัก เมื่อ เวลา ผ่าน ไป ถึง ยุค ของ ไปรษณีย์ โทรศัพท์

โทรสาร และ โทรเลข สัญญา มัก ทำ กัน ระหว่าง บุคคล ที่ อยู่ ห่าง โดย ระยะ ทาง โดย คู่ สัญญา ซึ่ง อยู่ กัน คนละ ประเทศ

คำถาม ที่ ว่า สัญญา เกิด เมื่อ ใด และ ที่ไหน จึง มี ความ สำคัญ มาก ใน การ นี้ ศาล อังกฤษ จึง ได้ พัฒนา หลัก กฎหมาย สอง หลัก

คือ หลัก Postal Rule และ หลัก Receipt Rule เพื่อ ใช้ ใน การ ตัดสิน ว่า สัญญา เกิด ขึ้น เมื่อ ใด

1)ReceiptRule ศาล อังกฤษ ได้ นำ หลัก Receipt Rule มา ใช้ กับ สัญญา ซึ่ง คู่ สัญญา สามารถ

ติดต่อ กัน ได้ ทันที ทันใด เช่น ใน กรณี ของ สัญญา ระหว่าง บุคคล ผู้ อยู่ เฉพาะ หน้า และ สัญญา ทาง โทรศัพท์ ใน กรณี เช่น นี้

สัญญา เกิด ขึ้น เมื่อ ผู้ เสนอ ได้ยิน หรือ ได้ รับ รู้ คำ สนอง นั้น

นอกจาก นี้ ศาล อังกฤษ ยัง ได้ ปรับ ใช้ หลัก Receipt Rule กับ สัญญา ทาง โทรสาร และ สัญญา ทาง

โทรเลข114 ใน กรณี ของ สัญญา ทาง โทรสาร ผู้ ส่ง ข้อมูล หรือ ผู้ ทำ คำ สนอง สามารถ ที่ จะ รับ รู้ ใน ทันที ที่ ส่ง คำ สนอง จาก

รายงาน การ ส่ง ว่า เครื่อง โทรสาร ของ ผู้รับ ข้อมูล หรือ ผู้ ทำ คำ เสนอ นั้น ได้ รับคำ สนอง แล้ว หรือ ยัง ดัง นั้น ผู้ ทำ คำ สนอง จึง

อยู่ ใน สภาวะ ที่ สามารถ พิสูจน์ ได้ ว่า ข้อมูล ใน คำ สนอง นั้น ได้ รับ โดย ผู้ ทำ คำ เสนอ เมื่อ ใด อย่างไร ก็ตาม เวลา ที่ ข้อความ ซึ่ง

ถูก ส่ง ทาง โทรเลข หรือ ทาง โทรสาร คาด ว่า จะ ถูก อ่าน มี ความ สำคัญ มากกว่า เวลา ส่ง ดัง นั้น ถ้า คำ สนอง ถูก ส่ง ใน ระหว่าง

วัน หยุด สุด สัปดาห์ คำ สนอง นั้น จะ ยัง ไม่มี ผล จนกว่า จะ ถึง เช้า วัน จันทร์115

2) PostalRule หลัก Postal Rule เป็น หลัก การ ที่ ใช้ บังคับ กับ การ ติดต่อ กัน ทาง จดหมาย ที่

ส่ง ทาง ไปรษณีย์ ซึ่ง เป็นการ สื่อสาร กัน ไม่ทัน ที ทันใด116 ใน ขณะ ที่ หลัก Receipt Rule กำหนด ไว้ ว่า สัญญา เกิด

เมื่อ ผู้ ทำ คำ เสนอ ได้ รับคำ สนอง หลัก Postal Rule กำหนด ไว้ ว่า เมื่อ คำ เสนอ ทำ โดย จดหมาย สัญญา จะ เกิด เมื่อ

จดหมาย ได้ ถูก ส่ง ยัง ที่ทำการ ไปรษณีย์ หรือ ตู้ ไปรษณีย์117 นั่น หมายความ ว่า สัญญา จะ เกิด ขึ้น และ อยู่ ภาย ใต้ บังคับ

ตาม กฎหมาย ของ ประเทศ ผู้ ทำ คำ สนอง ไม่ใช่ เกิด ขึ้น และ อยู่ ภาย ใต้ บังคับ ของ ประเทศ ผู้ ทำ คำ เสนอ ดัง นั้น ผู้ ทำ

คำ เสนอ ซึ่ง เป็น ผู้ ประกอบ กิจการ ค้า ที่ รับคำ สนอง ทาง ไปรษณีย์ อาจ จะ ต้อง จัดการ กับ สัญญา ที่ เกิด ขึ้น ใน ต่าง ประเทศ

หลัก Postal Rule ได้ ถูก สร้าง ขึ้น ครั้ง แรก ใน คดี ระหว่าง Adam v. Lindsell118 และ ได้ ถูก ยืนยัน

โดย ผู้ พิพากษา Lindley ใน คดี Byrne v. Van Tienhoven ว่า

“ปจัจบุนัเปน็ที่ยตุิแลว้วา่คำเสนอที่ทำขึน้และถกูทำคำสนองรบัโดยจดหมายสญัญาจะเกดิขึน้ใน

ขณะที่จดหมายทำคำสนองถูกส่งทางไปรษณีย์โดยมิพักต้องคำนึงว่าจดหมายนั้นได้ถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่”119

หลัก Postal Rule ดู เหมือน จะ ไม่ ค่อย เป็น ธรรม ต่อ ผู้ ทำ คำ เสนอ เพราะ สัญญา เกิด ขึ้น และ ผูกพัน ผู้ ทำ คำ

เสนอ ก่อน ที่ ผู้ ทำ คำ เสนอ จะ ได้ รู้ ถึง การ มี คำ สนอง อย่างไร ก็ตาม เหตุผล เบื้อง หลัง ของ หลัก Postal Rule คือ ว่า หลัก นี้

พยายาม ที่ จะ จัด ให้ ความ เสี่ยง โอน ไป ยัง บุคคล ที่ อยู่ ใน ภาวะ ที่ ดี ที่สุด ใน การ ควบคุม ความ เสี่ยง ทั้งนี้ เพราะ เมื่อ จดหมาย

114 Entores Ltd v. Miles Far East Corp. (1955) 2 QB 327 and Brinkibon v. Stahag Stahl und Stahlwarenhandelsgesell-

schaft mbH (1983) 2 AC 34115 Schelde Delta Shipping BV v. Astarte Shipping Ltd (The Pamela) (1995) 2 Lloydีs Report 249116 Chitty Joseph, Chitty on Contracts, para 2-043117 Ibid.,118 Adams v. Lindsell (1818) 1 B & Ald 681119 Byrne v. Van Tienhoven (1880) 5 CPD 344, 348

Page 69: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-69

ทำ คำ สนอง ได้ ถูก ส่ง ไป แล้ว ผู้ ทำ คำ สนอง ก็ จะ หมด สิ้น การ ควบคุม จดหมาย นั้น ผู้ ทำ คำ เสนอ จึง อยู่ ใน ภาวะ ที่ จะ ดี กว่า ใน

การ ควบคุม จดหมาย เพราะ จดหมาย ได้ ถูก ส่ง ถึง ตัวผู้ ทำ คำ เสนอ นอกจาก นี้ ผู้ ทำ คำ เสนอ แต่ ฝ่าย เดียว เป็น ผู้ เลือก วิธี

การ ทำ คำ สนอง โดย จดหมาย ความ เสี่ยง จึง ควร ตก อยู่ กับ ผู้ ทำ คำ เสนอ

2.1.2 กฎหมายนิติกรรมสัญญาของไทย ภาย ใต้ กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย สัญญา เกิด ขึ้น

เมื่อ ผู้ ทำ คำ สนอง ตอบ รับคำ เสนอ ซึ่ง คำ เสนอ อาจ แบ่ง ได้ เป็น 2 ประเภท คือ คำ เสนอ ต่อ บุคคล ผู้ อยู่ เฉพาะ หน้า และ

คำ เสนอ ต่อ บุคคล ผู้ อยู่ ห่าง โดย ระยะ ทาง

1)คำเสนอทำแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า มาตรา 356 แห่ง ป.พ.พ. บัญญัติ ว่า

“คำเสนอทำแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้าโดยมิได้บ่งระยะเวลาทำคำสนองนั้นเสนอณที่ใดเวลาใด

ก็ย่อมจะสนองรับได้แต่ณที่นั้นเวลานั้นความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงการที่บุคคลหนึ่งทำคำเสนอไปยังบุคคลอีกคน

หนึ่งทางโทรศัพท์ด้วย”

ตาม ความ ใน มาตรา 356 สัญญา ที่ ทำ ต่อ บุคคล ผู้ อยู่ เฉพาะ หน้า รวม ถึง สัญญา ทาง โทรศัพท์ จะ เกิด

ขึ้น เมื่อ ผู้ สนอง ได้ ทำ คำ สนอง รับคำ เสนอ และ ผู้ เสนอ ได้ รับ ทราบ ถึง คำ สนอง นั้น แล้ว

2)คำเสนอระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทาง มาตรา 361 แห่ง ป.พ.พ. บัญญัติ ว่า

“อันสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางนั้น ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นแต่เวลาเมื่อคำบอก

กล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ”

มาตรา 361 นี้ ใช้ บังคับ สำหรับ คำ เสนอ และ คำ สนอง ซึ่ง ทำ โดย ทาง จดหมาย โทรสาร โทรเลข

และ วิธี อื่น ใด ที่ ไม่ใช่ การ ติดต่อ กัน ได้ ใน ทันที ทันใด หลัก คำ เสนอ ต่อ บุคคล ผู้ อยู่ ห่าง โดย ระยะ ทาง ของ กฎหมาย

นิติกรรม สัญญา ของ ไทย นี้ ต่าง กับ หลัก Postal Rule ของ กฎหมาย อังกฤษ โดย หลัก Postal Rule ของ กฎหมาย อังกฤษ

กำหนด ว่า สัญญา เกิด ขึ้น เมื่อ จดหมาย ที่ เป็น คำ สนอง ได้ ถูก ส่ง ยัง ที่ทำการ ไปรษณีย์ หรือ ตู้ ไปรษณีย์ ส่วน ใน มาตรา 361

กำหนด ว่า สัญญา เกิด ขึ้น เมื่อ คำ สนอง ไป ถึง ผู้ ทำ คำ เสนอ ดัง นั้น สัญญา ตาม มาตรา 361 จึง เกิด ขึ้น ใน ประเทศ ของ ผู้ ทำ

คำ เสนอ หา ใช่ ประเทศ ของ ผู้ ทำ คำ สนอง ดัง เช่น ตาม หลัก Postal Rule ของ กฎหมาย อังกฤษ ไม่

2.2 ปรับหลักการทำคำสนองมาใช้กับสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ ใน สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ สถาน ที่

และ เวลา ของ การ เกิด ของ สัญญา เป็น สิ่ง ที่ มี ความ สำคัญ มาก เพราะ โดย ปกติ แล้ว คู่ สัญญา จะ อยู่ กัน คนละ ประเทศ

ดัง นั้น สถาน ที่ และ เวลา ของ การ เกิด ขึ้น ของ สัญญา จึง อาจ มี ผลก ระ ทบ ต่อ เขต อำนาจ ศาล ที่ จะ พิจารณา พิพากษา

ข้อ พิพาท ที่ อาจ เกิด จาก สัญญา นั้น (jurisdiction) ตลอด จน กฎหมาย ที่ จะ นำ มา บังคับ ใช้ กับ สัญญา นั้น (governing

law) อย่างไร ก็ตาม ปัจจุบัน ยัง ไม่มี คำ พิพากษา ทั้ง ของ ศาล ไทย และ ศาล อังกฤษ วินิจฉัย ถึง สถาน ที่ และ เวลา ของ การ

เกิด ของ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ไว้ โดยตรง ฉะนั้น การนำ บทบัญญัติ แห่ง กฎหมาย ที่ ใช้ กับ สัญญา ทั่วไป มา ปรับ ใช้ กับ

สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ จึง เป็น วิธี การ เดียว ที่ มี อยู่

ดัง ได้ กล่าว แล้ว ข้าง ต้น สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ อาจ เกิด ขึ้น ได้ 4 วิธี ซึ่ง อาจ จัด หมวด หมู่ ได้ เป็น 2 หมวด

ใหญ่ๆ ดังนี้

2.2.1สัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ที่คู่สัญญาสามารถตกลงทำสัญญากันได้โดยทันทีทันใด ได้แก่ สัญญา

ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน เว็บไซต์ และ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน ห้อง สนทนา

ดัง ที่ กล่าว มา ข้าง ต้น เว็บไซต์ และ ห้อง สนทนา ต่าง ก็ เป็นการ ติดต่อ สื่อสาร แบบ ใน เวลา เดียวกัน (real

time) คู่ สัญญา สามารถ ติดต่อ กัน ได้ อย่าง ทันที ทันใด ผู้ ส่ง ข้อมูล จะ ได้ รับ การ ตอบ กลับ โดย ทันที ดัง นั้น ทั้ง หลัก

Receipt Rule ของ กฎหมาย อังกฤษ และ หลัก คำ เสนอ ต่อ บุคคล ที่ อยู่ โดย เฉพาะ หน้า ของ กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ไทย

ต่าง ก็ สามารถ นำ มา ปรับ ใช้ กับ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ที่ เกิด ใน เว็บไซต์ และ ห้อง สนทนา ได้ อย่าง เหมาะ สม

Page 70: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-70 กฎหมายธุรกิจ

กรณี สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน เว็บไซต์ สมมติ ว่า ผู้ ประกอบ กิจการ ค้า ทาง เว็บไซต์ ระบุ ไว้ ชัด แจ้ง ว่า

รายการ แสดง สินค้า ใน เว็บไซต์ ไม่ใช่ เป็น คำ เสนอ หาก แต่ เป็น คำ เชิญ ชวน เพื่อ เข้า ทำ สัญญา เมื่อ ลูกค้า หรือ ผู้ บริโภค

ได้ ทำ คำ เสนอ ภาย ใต้ ข้อ ตกลง และ เงื่อนไข มาตรฐาน ที่ ระบุ ใน เว็บไซต์ ผู้ ประกอบ กิจการ ค้า นั้น ก็ สามารถ ที่ จะ เลือก

ตกลง รับคำ เสนอ หรือ ปฏิเสธ ก็ได้ ภาย ใต้ หลัก คำ เสนอ ต่อ บุคคล ที่ อยู่ เฉพาะ หน้า ของ กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ

ไทย ถ้า ผู้ ประกอบ กิจการ ค้า ทาง อินเทอร์เน็ต ตกลง รับคำ เสนอ สัญญา ก็ จะ เกิด ขึ้น ใน ทันที ที่ ลูกค้า ได้ รับ ทราบ คำ

สนอง ดัง นั้น สัญญา ทาง เว็บไซต์ จึง เกิด ขึ้น ณ ที่ อยู่ ของ ลูกค้า ซึ่ง อาจ จะ เป็น คนละ ประเทศ กับ ผู้ ประกอบ กิจการ ค้า ทาง

อินเทอร์เน็ต

กรณี สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน ห้อง สนทนา สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ นี้ จะ เกิด ขึ้น เมื่อ ผู้ ทำ คำ เสนอ ได ้

รับ ทราบ คำ สนอง ดัง นั้น สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน ห้อง สนทนา จึง เกิด ขึ้น ณ ประเทศ ของ ผู้ ทำ คำ เสนอ

2.2.2 สัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ที่คู่สัญญาไม่อาจตกลงทำสัญญาได้ทันทีทันใด ได้แก่ สัญญา ทาง

อิเล็กทรอนิกส์ โดย จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ การ ติดต่อ สื่อสาร กัน ทาง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่ การ ติดต่อ สื่อสาร

ใน แบบ เวลา เดียวกัน ดัง เช่น กรณี ของ การ ติดต่อ สื่อสาร ทาง เว็บไซต์ หรือ ทาง ห้อง สนทนา เพราะ โดย ปกติ ผู้ ส่ง ข้อมูล

หรือ ผู้ สร้าง ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ทาง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ อาจ ที่ จะ ได้ รับ การ โต้ตอบ จาก ผู้รับ ข้อมูล ได้ ใน ทันที

ทันใด120 วิธี การ ติดต่อ สื่อสาร ทาง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ คล้าย กับ จดหมาย ทาง ไปรษณีย์ กล่าว คือ เมื่อ ผู้ ส่ง ข้อมูล

หรือ ผู้ สร้าง ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ได้ กด ปุ่ม า ส่ง ำ หรือ าsendำ ผู้ ส่ง ข้อมูล หรือ ผู้ สร้าง ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ นั้น ก็

จะ ไม่ อาจ ควบคุม ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ นั้น ได้ อีก121 จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ก็ จะ ถูก ส่ง ผ่าน ไป บน อินเทอร์เน็ต จน

กระทั่ง ถึง ผู้รับ ข้อมูล122 ปัญหา ที่ สำคัญ คือ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ โดย จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ นี้ จะ เกิด ขึ้น เมื่อ ใด

จะ เกิด ขึ้น เมื่อ ผู้ ส่ง ข้อมูล ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ หรือ จะ เกิด ขึ้น เมื่อ ผู้รับ ข้อมูล ได้ รับ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ใน

ประเด็น นี้ กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย และ กฎหมาย อังกฤษ ตอบ คำถาม นี้ ต่าง กัน

ภาย ใต้ กฎหมาย อังกฤษ ด้วย เหตุ ที่ ลักษณะ ของ การ ติดต่อ สื่อสาร กัน ทาง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ นั้น คล้าย กับ

การ ตดิตอ่ สือ่สาร กนั ทาง จดหมาย ที ่สง่ ทาง ไปรษณยี ์หลกั Postal Rule จงึ นำ มา ใช ้บงัคบั กบั การ ทำ คำ สนอง ทาง จดหมาย

อิเล็กทรอนิกส์123 ใน กรณี เช่น นี้ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ โดย จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ จะ เกิด ขึ้น เมื่อ ผู้ ทำ คำ สนอง ได้

ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ดัง นั้น สัญญา จึง เกิด ขึ้น ใน ประเทศ ของ ผู้ ทำ คำ สนอง

ตาม กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการ ติดต่อ กัน โดย ไม่ทัน ที ทันใด

สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ โดย จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ จึง จัด อยู่ ใน ประเภท สัญญา ระหว่าง บุคคล ที่ อยู่ ห่าง โดย ระยะ ทาง

ดัง นั้น สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ โดย จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ จึง เกิด ขึ้น เมื่อ คำ สนอง ทาง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ได้ ไป

ถึง ผู้ เสนอ ใน ประเทศ ของ ผู้ เสนอ ดัง นั้น สัญญา จึง เกิด ขึ้น ใน ประเทศ ของ ผู้ ทำ คำ เสนอ

120 Chissick, Michael and Alistair Kelman, Electronic Commerce: Law and Practice, para 3.43121 Ibid.122 Ibid.123 อย่างไรก็ตาม มีผู้ให้ความเห็นไปในทางที่ว่า หลัก Postal Rule นี้ไม่อาจใช้กับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพราะจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

นั้นเป็นการติดต่อกันในแบบเกือบทันทีทันใด ดูใน Werner, Jens, “Working Paper: E-Commerce.CO.UK - Local Rules in a Global Net:

Online Business Transactions and the Applicability of Traditional English Contract Law Rules”, 2000, 6 International Journal

of Communications Law and Policy 1

Page 71: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-71

3.เจตนาที่จะผูกพันตามกฎหมายใน สัญญา โดย การ ติดต่อ สื่อสาร แบบ เดิม ประเด็น เรื่อง เจตนา ที่ จะ ผูกพัน ตน ตาม กฎหมาย นั้น เป็น ประเด็น

ที่ ไม่ ค่อย สลับ ซับ ซ้อน เพราะ โดย ทั่วไป คู่ สัญญา ถูก สันนิษฐาน ไว้ ก่อน แล้ว ว่า มี เจตนา จะ ผูกพัน ตน ตาม สัญญา

คู่ สัญญา ฝ่าย ที่ อ้าง ว่า ไม่มี เจตนา ผูกพัน ตน ตาม สัญญา มีหน้า ที่ ที่ ต้อง นำสืบ พิสูจน์ ว่า ตน ไม่มี เจตนา ผูกพัน ตน ตาม

สัญญา ซึ่ง เป็น ประเด็น ที่ ค่อน ข้าง ยาก ใน การนำ สืบ124 อย่างไร ก็ตาม ใน สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ เจตนา ผูกพัน

ตน ตาม สัญญา อาจ ก่อ ให้ เกิด ประเด็น ทาง กฎหมาย บาง ประการ ทั้ง ตาม กฎหมาย อังกฤษ และ กฎหมาย ไทย เช่น ใน

สัญญา “click-wrap” contracts125 ปัญหา มี ว่าการ กด ปุ่ม า ยอ มรับำ หรือ า ตก ลงำ ถือว่า เป็นการ แสดง เจตนา

ผูกพัน ตน หรือ ไม่ ปัญหา ต่อ มา คือ การ ที่ บุคคล เขียน คำ สั่ง ให้ เครื่อง คอมพิวเตอร์ สามารถ เข้า ทำ สัญญา ได้ เอง โดย

อัตโนมัติ ถือ ได้ หรือ ไม่ ว่า บุคคล นั้น ได้ แสดง เจตนา ไว้ ล่วง หน้า ว่า จะ ผูกพัน ตน ตาม สัญญา ที่ เกิด ขึ้น ใน ประเด็น ข้าง

ต้น นี้ จะ ได้ ศึกษา ใน เรื่อง ที่ 12.4.2 กฎหมาย ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ที่ เกี่ยว กับ การ เกิด ขึ้น ของ สัญญา

ทาง อิเล็กทรอนิกส์

4.การต่างตอบแทนภาย ใต้ กฎหมาย อังกฤษ การ ต่าง ตอบแทน มัก ไม่ เป็น ปัญหา สำหรับ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เพราะ โดย

ปกติ ผู้ ประกอบ กิจการ ค้า ทาง อินเทอร์เน็ต จำหน่าย สินค้า หรือ ให้ บริการ เพื่อ แลก กับ เงิน ซึ่ง การ ชำระ เงิน นี้ อาจ ทำได้ ทั้ง

ทางการ โอน เงิน ผ่าน บัญชี ธนาคาร ผู้ ประกอบ กิจการ และ โดย บัตร เครดิต126 ส่วน ใน กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ไทย การ

ต่าง ตอบแทน ไม่ เป็น ปัญหา เลย ทั้งนี้ เพราะ ตาม กฎหมาย ไทย การ ต่าง ตอบแทน ไม่ เป็น องค์ ประกอบ ของ การ เกิด ของ

สัญญา

กิจกรรม12.4.1

ตามกฎหมายนิติกรรมสัญญาของประเทศไทยสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นเมื่อใด

แนวตอบกิจกรรม12.4.1

ตามกฎหมายนิติกรรมสัญญาของประเทศไทยสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย

เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกันโดยคู่สัญญามีเจตนาเข้าทำสัญญา

124 Edwards v. Skyways Ltd. (1964) 1 WLR. 349, 355, Cited in Chitty Joseph, Chitty on Contracts, para 2-106.125 สัญญามาตรฐานประเภท Click-wrap เป็นสัญญาซึ่งตกลงกันทางอินเทอร์เน็ตโดยการกดที่ปุ่ม “ข้าพเจ้าตกลง” หรือปุ่มที่มีข้อความ

คล้ายคลึงกัน126 Her tell, Millen, E-Commerce and the Law, Hong Kong: THC Press, 2000 p. 32.

Page 72: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-72 กฎหมายธุรกิจ

เรื่องที่12.4.2

กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของ

สัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์

โดย ทั่วไป กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย สามารถ ปรับ ใช้ บังคับ กับ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ได้ ค่อน ข้าง

ชัดเจน อย่างไร ก็ตาม คู่ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ อาจ มี ข้อ สงสัย บาง ประการ ใน ประเด็น เหล่า นี้

1. ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ สามารถ ทำ เป็น คำ เสนอ หรือ คำ สนอง ได้ สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย หรือ ไม่

2. การ ที่ ผู้ ส่ง ข้อมูล กด ปุ่ม า ยอ มรับำ หรือ า ตก ลงำ ถือว่า ผู้ ส่ง ข้อมูล ได้ แสดง เจตนา ผูกพัน ตน ตาม กฎหมาย

แล้ว หรือ ไม่

3. ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ที่ สร้าง ขึ้น โดย คอมพิวเตอร์ โดย ปราศจาก การ แทรกแซง ของ มนุษย์ ถือว่า สามารถ ที ่

จะ ทำให้ เกิด สัญญา ที่ มี ผล ผูกพัน ตาม กฎหมาย ได้ หรือ ไม่

4. เวลา และ สถาน ที่ ของ การ เกิด ของ สัญญา อิเล็กทรอนิกส์ จะ กำหนด กัน อย่างไร

พระ ราช บญัญตั ิวา่ ดว้ย ธรุกรรม ทาง อเิลก็ทรอนกิส ์พ.ศ. 2544 บญัญตั ิขึน้ เพือ่ ยนืยนั ความ สมบรูณ ์แหง่ การ เกดิ

ขึ้น ของ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ตาม กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย และ ขจัด ข้อ สงสัย ข้าง ต้น อัน อาจ เกิด ขึ้น ซึ่ง ส่วน

นี้ จะ ได้ วิเคราะห์ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 โดย ศึกษา เปรียบ เทียบ กับ UNCITRAL

Model Law on E-Commerce

1.ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำเป็นคำเสนอหรือคำสนองได้สมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ถึง แม้ว่า ตาม กฎหมาย อังกฤษ และ กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย จะ ได้ อนุญาต ให้ คำ เสนอ และ คำ สนอง อาจ

ทำ ใน รปู แบบ ใดๆ กไ็ด ้คู ่สญัญา ยงั คง สงสยั วา่ คำ เสนอ และ คำ สนอง ที ่ทำ ขึน้ โดย ขอ้มลู อเิลก็ทรอนกิส ์จะ ม ีผล สมบรูณ ์และ

ฟ้อง ร้อง บังคับ คดี ได้ ตาม กฎหมาย จริง หรือ ใน กรณี นี้ มาตรา 11 ของ UNCITRAL Model Law on E-Commerce

บัญญัติ ขึ้น เพื่อ ขจัด ความ สงสัย ดัง กล่าว โดย มาตรา 11 บัญญัติ ว่า

“Inthecontextofcontractformation,unlessotherwiseagreedbytheparties,anofferandtheacceptanceof

anoffermaybeexpressedbymeansofdatamessages.Whereadatamessageisusedintheformationofacontract,

thatcontractshallnotbedeniedvalidityorenforceabilityonthesolegroundthatadatamessagewasusedforthat

purpose.”

มาตรา 11 ของ UNCITRAL Model Law on E-Commerce นี้ เป็น แม่ แบบ และ มี เนื้อหา คล้ายคลึง กับ มาตรา

13 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ของ ไทย ซึ่ง บัญญัติ ไว้ ดังนี้

“คำเสนอหรือคำสนองในการทำสัญญาอาจทำขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และห้ามมิให้ปฏิเสธการมี

ผลทางกฎหมายของสัญญาเพียงเพราะเหตุที่สัญญานั้นทำคำเสนอหรือคำสนองเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์”

Page 73: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-73

2.การที่ผู้ส่งข้อมูลกดปุ่มายอมรับำหรือ“ตกลง”ถือว่าผู้ส่งข้อมูลได้แสดงเจตนาผูกพันตามกฎหมาย

แล้วหรือไม่สัญญา สำเร็จรูป ประเภท “click-wrap” หรือ “web-wrap” contracts หมาย ถึง สัญญา ที่ สร้าง ขึ้น ใน

เว็บไซต์ โดย มี ช่อง คำ ว่า า ข้าพเจ้า ตก ลงำ หรือ “I agree” หรือ ช่อง ที่ มี ข้อความ คล้ายคลึง กัน สำหรับ กด127

ตัวอย่าง เช่น เมื่อ ลูกค้า สั่ง สินค้า หรือ บริการ ทาง เว็บไซต์ ลูกค้า จะ ต้อง กรอก ข้อมูล ต่างๆ โดย จะ ต้อง ยอมรับ ข้อ

ตกลง และ เงื่อนไข โดย การ กด ปุ่ม คำ ว่า า ข้าพเจ้า ตก ลงำ หรือ า ข้าพเจ้า ยอ มรับำ ซึ่ง โดย ปกติ แล้ว ข้อ ตกลง หรือ เงื่อน

ไข นั้นๆ ส่วน ใหญ่ จะ เป็น ข้อ ตกลง หรือ เงื่อนไข ที่ ยกเว้น ความ รับ ผิด ของ ผู้ ประกอบ กิจการ ค้า บน อินเทอร์เน็ต และ

ข้อ จำกัด การ ใช้ ใน เชิง พาณิชย์ ของ สินค้า หรือ บริการ ที่ ลูกค้า ซื้อ ไป

ใน กรณี ข้อ สันนิษฐาน ความ เป็น เจ้าของ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ นั้น มาตรา 13 ของ UNCITRAL Model Law

on E-Commerce ได้ บัญญัติ ไว้ ดังนี้

“(1)Adatamessageisthatoftheoriginatorifitwassentbytheoriginatoritself.

(2)Asbetweentheoriginatorandtheaddressee,adatamessageisdeemedtobethatoftheoriginatorifit

wassent:(a)byapersonwhohadtheauthoritytoactonbehalfoftheoriginatorinrespectofthatdatamessage;or

(b)byaninformationsystemprogrammedby,oronbehalfof,theoriginatortooperateautomatically.”

มาตรา 13 ของ UNCITRAL Model Law on E-Commerce เป็น แม่ แบบ ของ มาตรา 15 ของ

พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่ง ได้ กำหนด ข้อ สันนิษฐาน ความ เป็น เจ้าของ ข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์ ไว้ คล้ายคลึง กัน ดังนี้

“บุคคลใดเป็นผู้ส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยวิธีใดให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นของผู้นั้น”

มาตรา 15 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มี ความ หมายก ว้าง พอที่

จะ ครอบคลุม ถึง สัญญา สำเร็จรูป ประเภท click-wrap contracts ซึ่ง เป็น สัญญา ซึ่ง ผู้ ประกอบ กิจการ ค้า ทาง

อินเทอร์เน็ต กำหนด ให้ ลูกค้า หรือ ผู้ บริโภค กด ปุ่ม คำ ว่า า ข้าพเจ้า ยินยอม (I accept)ำ หรือ า ข้าพเจ้า ตกลง (I agree)

ำ บน เว็บไซต์ ของ ผู้ ประกอบ กิจการ เมื่อ ลูกค้า หรือ ผู้ บริโภค กด ปุ่ม ดัง กล่าว ถือ ได้ ว่า ลูกค้า หรือ ผู้ บริโภค ได้ ส่ง

ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ นั้น แล้ว มาตรา 15 จึง สันนิษฐาน ไว้ ก่อน ว่า ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ นั้น เป็น ข้อมูล ของ ลูกค้า หรือ

ผู้ บริโภค ซึ่ง เป็น ผู้ ส่ง ข้อมูล ถ้า หาก ผู้ ส่ง ข้อมูล ปฏิเสธ ว่า ตน ไม่ ได้ เป็น เจ้าของ ข้อมูล นั้น ผู้ ส่ง ข้อมูล ก็ ต้อง นำสืบ พิสูจน์ ว่า

ตน ไม่ ได้ เป็น เจ้าของ ข้อมูล นั้น

3.ขอ้มลูอเิลก็ทรอนกิส์ที่สรา้งขึน้โดยคอมพวิเตอร์โดยปราศจากการแทรกแซงของมนษุยถ์อืวา่สามารถ

ที่จะทำให้เกิดสัญญาที่มีผลผูกพันตามกฎหมายได้หรือไม่ปัญหา ที่ ว่า เครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ ถูก ตั้ง โปรแกรม ไว้ ให้ สามารถ ทำ สัญญา ได้ นั้น จะ สามารถ ทำ สัญญา ได้ เอง โดย

ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือ ไม่ นั้น เป็น ปัญหา ที่ มี ความ สำคัญ มาก ใน เรื่อง นี้ มาตรา 2C ของ UNCITRAL Model Law on

E-Commerce ได้ บัญญัติ ไว้ อย่าง กว้าง เพื่อ ขจัด ปัญหา ข้าง ต้น ดังนี้

“Originatorofadatamessagemeansapersonbywhom,oronwhosebehalf,thedatamessagepurportsto

havebeensentorgeneratedpriortostorage,ifany,butitdoesnotincludeapersonactingasanintermediarywith

respecttothatdatamessage.128

127 Rector, Susan D, “Click-wrap Agreements: Are They Enforceable?”,1999, 13 The Corporate Counselor 1.128 UNCITRAL Model Law on E-Commerce, art. 2C

Page 74: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-74 กฎหมายธุรกิจ

นอกจาก นี้ The guide to enact the UNCITRAL Model Law on E-Commerce ได้ ยืนยัน ว่า ข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์ ที่ ถูก สร้าง ขึ้น โดย เครื่อง คอมพิวเตอร์ โดย ปราศจาก การ แทรกแซง ของ มนุษย์ สามารถ เข้า ทำ สัญญา ที่ มี

ผล ผูกพัน โดย ชอบ ด้วย กฎหมาย ได้ โดย บัญญัติ ว่า

“Datamessagesthataregeneratedautomaticallybycomputerswithoutdirecthumaninterventionshouldbe

regardedas“originating”fromthelegalentityonbehalfofwhichthecomputerisoperated.”

มาตรา 4 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้ ให้ ความ หมาย ของ คำ ว่า า ผู้

ส่ง ข้อ มูล ำ ไว้ อย่า งก ว้างๆ เช่น เดียว กับ มาตรา 2C ของ UNCITRAL Model Law on E-Commerce โดย มาตรา 4

บัญญัติ ว่า

“ผู้ส่งข้อมูลหมายความว่าบุคคลซึ่งเป็นผู้ส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก่อนจะมีการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อ

ส่งไปตามวิธีการที่ผู้นั้นกำหนด โดยบุคคลนั้นอาจจะส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเองหรือมีการส่งหรือ

สร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในนามหรือแทนบุคคลนั้นก็ได้ ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลางสำหรับข้อมูลอิเล็ก-

ทรอนิกส์นั้น”

ความ หมาย ของ คำ ว่า า ผู้ ส่ง ข้อ มูล ำ ตาม ความ ใน พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

นั้น ไม่ ได้ บัญญัติ ให้ หมาย ถึง คอมพิวเตอร์ ที่ สร้าง ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ แท้จริง แล้ว มาตรา นี้ บัญญัติ ให้ ผู้ ส่ง ข้อมูล หมาย

ถึง ผู้ ที่ ตั้ง โปรแกรม ให้ เครื่อง คอมพิวเตอร์ สร้าง ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ได้ โดย อัตโนมัติ นั่นเอง

4.เวลาและสถานที่ของการเกิดของสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์จะกำหนดกันอย่างไร4.1เวลาและสถานที่ของการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาตรา 22 และ 24 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย

ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 บัญญัติ ถึง เวลา และ สถาน ที่ ของ การ ส่ง ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ โดย มาตรา ทั้ง สอง

มี ข้อความ คล้ายคลึง กับ มาตรา 15 (1) และ มาตรา 15 (4) ของ กฎหมาย แม่ แบบ สำหรับ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์129

มาตรา 22 บัญญัติ ว่า “การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่าได้มีการส่งเมื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่

ระบบข้อมูลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งข้อมูล”

ส่วน มาตรา 24 บัญญัติ ว่า “การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่าได้ส่งณที่ทำการงานของผู้ส่งข้อมูล

ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลมีที่ทำการหลายแห่ง ให้ถือเอาที่ทำการงานที่เกี่ยวข้องมากที่สุดกับธุรกรรมนั้นเป็นที่

ทำการงานเพือ่ประโยชน์ตามวรรคหนึง่แต่ถา้ไม่สามารถกำหนดได้วา่ธรุกรรมนัน้เกีย่วขอ้งกบัทีท่ำการงานแหง่ใดมาก

ที่สุดให้ถือเอาสำนักงานใหญ่เป็นสถานที่ที่ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

ในกรณีที่ไม่ปรากฏที่ทำการงานของผู้ส่งข้อมูลให้ถือเอาถิ่นที่อยู่ปกติเป็นสถานที่ที่ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์”

129 UNCITRAL Model Law on E-Commerce, arts 15 (1) and 15 (4) บัญญัติว่า:

(1) Unless otherwise agreed between the originator and the addressee, the dispatch of a data message occurs

when it enters an information system outside the control of the originator or of the person who sent the data message on behalf

of the originator.

(4) Unless otherwise agreed between the originator and the addressee, a data message is deemed to be

dispatched at the place where the originator has its place of business. For the purposes of this paragraph, (a) if the originator

or the addressee has more than one place of business, the place of business is that which has the closest relationship to the

underlying transaction or, where there is no underlying transaction, the principal place of business; (b) if the originator or the

addressee does not have a place of business, reference is to be made to its habitual residence.

Page 75: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-75

ตัวอย่างลูกเกด เจ้าของ ร้าน อีสาน แซบ ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ไป ยัง ศร ราม เพื่อ เสนอ ขอ ซื้อ ข้าว เหนียว

1,000 กระสอบ ใน ราคา 1,000,000 บาท ใน เรื่อง เวลา ของ การ ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ นี้ ถือว่า ได้ มี การ ส่ง เมื่อ

ลูกเกด กด คำ ว่า า ส่ง ำ และ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ได้ ถูก ส่ง แล้ว เพราะ หลัง จาก นั้น ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ได้ เข้า สู่ ระบบ

ข้อมูล ที่ อยู่ นอก เหนือ การ ควบคุม ของ ลูกเกด ส่วน ใน เรื่อง ของ สถาน ที่ ที่ ส่ง ข้อมูล นั้น ถือว่า ได้ ส่ง ณ ร้าน อีสาน แซบ ของ

ลูกเกด ใน กรณี ที่ ลูกเกด มี ร้าน อีสาน แซบ หลาย ร้าน ก็ ให้ ถือว่า ข้อมูล นั้น ได้ ส่ง ณ ร้าน อีสาน แซบ ที่ ต้องการ ใช้ ข้าว เหนียว

ที่ สั่ง ซื้อ นั้น แต่ ถ้า ไม่ สามารถ กำหนด ได้ ว่า ร้าน ใด จะ ใช้ ข้าว เหนียว นั้น ก็ ให้ ถือว่า สำนักงาน ใหญ่ ของ ร้าน อีสาน แซบ เป็น

สถาน ที่ ส่ง ข้อมูล

ใน กรณี ที่ ไม่ ปรากฏ ว่า ลูกเกด มี ร้าน อีสาน แซบ ก็ ให้ ถือว่า จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ได้ มี การ ส่ง ณ บ้าน อัน เป็น

ถิ่น ที่ อยู่ ปกติ ของ ลูกเกด

4.2เวลาและสถานที่ของการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

4.2.1 เวลาของการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในกรณีที่ผู้รับข้อมูลได้กำหนดระบบข้อมูลที่ประสงค์จะ

ใช้ในการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะ มาตรา 23 วรรค สอง ตอน แรก ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม

ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้ กำหนด ถึง เวลา ของ การ รับ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ใน กรณี ที่ ผู้รับ ข้อมูล ได้ กำหนด

ระบบ ข้อมูล ที่ ประสงค์ จะ ใช้ ใน การ รับ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ไว้ โดย เฉพาะ มาตรา 23 วรรค สอง มี ข้อความ คล้ายคลึง

กับ มาตรา 15 (2) (a) ของ UNCITRAL Model Law on E-Commerce130 โดย มาตรา 23 วรรค สอง บัญญัติ ไว้ ว่า

“หากผู้รับข้อมูลได้กำหนดระบบข้อมูลที่ประสงค์จะใช้ในการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะให้

ถอืวา่การรบัขอ้มลูอเิลก็ทรอนกิส์มีผลนบัแต่เวลาที่ขอ้มลูอเิลก็ทรอนกิส์นัน้ได้เขา้สู่ระบบขอ้มลูที่ผูร้บัขอ้มลูได้กำหนดไว้

นัน้แต่ถา้ขอ้มลูอเิลก็ทรอนกิส์ดงักลา่วได้สง่ไปยงัระบบขอ้มลูอืน่ของผูร้บัขอ้มลูซึง่มใิช่ระบบขอ้มลูที่ผูร้บัขอ้มลูกำหนด

ไว้ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ได้เรียกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากระบบข้อมูลนั้น”

ตัวอย่าง ลูกเกด เจ้าของ ร้าน อีสาน แซบ ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ไป ยัง ศร ราม เพื่อ เสนอ ขอ ซื้อ

ข้าว เหนียว 1,000 กระสอบ ใน ราคา 1,000,000 บาท โดย ระบุ ว่า ถ้า ศร ราม ตกลง ขาย ข้าว เหนียว ให้ ลูกเกด ให้ศร ราม

ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ มายัง [email protected] ถ้า ศร ราม ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ไป ยัง lookgate@

hotmail.com ก็ ถือว่า การ รับ ข้อมูล มี ผล นับ แต่ เวลา ที่ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ นั้น ได้ เข้า สู่ [email protected]

แต่ ถ้า ศร ราม ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ไป ยัง ที่ อยู่ ของ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail address) อื่นๆ ของ ลูกเกด

เช่น ส่ง ไป ที่ [email protected] ก็ ถือ ได้ ว่าการ รับ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ นี้ มี ผล นับ แต่ เวลา ที่ ลูกเกด ได้ เปิด อ่าน

จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ของ ศร ราม

130 UNCITRAL Model Law E-commerce, art 15 (2) (a) บัญญัติว่า:

(2) Unless otherwise agreed between the originator and the addressee, the time of receipt of a data message is

determined as follows:

(a) if the addressee has designated an information system for the purpose of receiving data messages, receipt

occurs:

(i) at the time when the data message enters the designated information system; or

(ii) if the data message is sent to an information system of the addressee that is not the designated informa-

tion system, at the time when the data message is retrieved by the addressee.

Page 76: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-76 กฎหมายธุรกิจ

4.2.2 เวลาของการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในกรณีที่ผู้รับข้อมูลไม่ได้กำหนดระบบข้อมูลที่ประสงค์จะ

ใช้ในการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะ มาตรา 15 (2) (b) ของ UNCITRAL Model Law on E-Commerce

ระบุ ไว้ โดย ชัด แจ้ง ว่า เวลา ของ การ รับ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ใน กรณี ที่ ผู้รับ ข้อมูล ไม่ ได้ กำหนด ระบบ ข้อมูล ที่ ประสงค์

จะ ใช้ ใน การ รับ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ไว้ โดย เฉพาะ ให้ ถือว่า มี ผล นับ แต่ เวลา ที่ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ นั้น ได้ เข้า สู่ ระบบ

ข้อมูล ของ ผู้รับ ข้อมูล131 แม้ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ไม่ ได้ บัญญัติ ไว้ เป็นการ

เฉพาะ ถึง เวลา ของ การ รับ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ใน กรณี ที่ ผู้รับ ข้อมูล ไม่ ได้ กำหนด ระบบ ข้อมูล ที่ ประสงค์ จะ ใช้ ใน การ

รับ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ไว้ โดย เฉพาะ แต่ ความ ใน มาตรา 23 วรรค หนึ่ง ก็ สามารถ มา ใช้ บังคับ โดย ถือว่า การ รับ ข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์ มี ผล นับ แต่ เวลา ที่ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ นั้น ได้ เข้า สู่ ระบบ ข้อมูล ของ ผู้รับ ข้อมูล132

ตัวอย่าง ลูกเกด เจ้าของ ร้าน อีสาน แซบ ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ไป ยัง ศร ราม เพื่อ เสนอ ขอ ซื้อ

ข้าว เหนียว 1,000 กระสอบ ใน ราคา 1,000,000 บาท โดย ใน คำ เสนอ ไม่ ได้ ระบุ ว่า ถ้า ศร ราม ตกลง ขาย ข้าว เหนียว

ให้ ลูกเกด ให้ ศร ราม ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ มายัง E-mail Address ใด ของ ลูกเกด ดังนี้ ไม่ ว่า ศร ราม จะ ส่ง

จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ไป ยัง [email protected] หรือ [email protected] ก็ ถือว่า ลูกเกด ได้ รับ

จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ของ ศร ราม นับ แต่ เวลา ที่ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ นั้น ได้ เข้า สู่ E-mail Address ชื่อ ใด ก็ได้ ของ

ลูกเกด

4.2.3 สถานที่ของการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เดียวกัน กับ ใน กรณี สถาน ที่ ส่ง ของ ข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์ ดัง ได้ กล่าว ข้าง ต้น มาตรา 24 ของ พระ ราช บัญญัติ ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่ง มี

ข้อความ คล้ายคลึง กับ Article 15 (4) ของ UNCITRAL Model Law on E-Commerce บัญญัติ ว่า

“การรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่าได้รับณที่ทำการงานของผู้รับข้อมูล

ในกรณีที่ผูร้บัขอ้มลูมีทีท่ำการหลายแหง่ให้ถอืเอาทีท่ำการงานที่เกีย่วขอ้งมากทีส่ดุกบัธรุกรรมนัน้เปน็

ที่ทำการงานแต่ถ้าไม่สามารถกำหนดได้ว่าธุรกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับที่ทำการงานแห่งใดมากที่สุด ให้ถือเอาสำนักงาน

ใหญ่เป็นสถานที่ที่ได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

ในกรณีที่ไม่ปรากฏที่ทำการงานของผู้รับข้อมูล ให้ถือเอาถิ่นที่อยู่ปกติเป็นสถานที่ที่ได้รับข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์

ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับการส่งและการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีการทางโทรเลขและ

โทรพิมพ์หรือวิธีการสื่อสารอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา”

ตัวอย่าง ลูกเกด เจ้าของ ร้าน อีสาน แซบ ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ไป ยัง ศร ราม เพื่อ เสนอ ขอ ซื้อ

ข้าว เหนียว 1,000 กระสอบ ใน ราคา 1,000,000 บาท ศร ราม ตอบ ตกลง โดย ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ กลับ ไป ยัง

ลูกเกด เช่น นี้ ถือว่า ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ได้ รับ ณ ร้าน อีสาน แซบ

ใน กรณี ที่ ลูกเกด มี ร้าน อีสาน แซบ หลาย ร้าน ก็ ให้ ถือว่า ร้าน ที่ ใช้ ข้าว เหนียว ที่ สั่ง ซื้อ นั้น เป็น สถาน ที่ ที่ ได้ รับ

ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ แต่ ถ้า ไม่ อาจ กำหนด ได้ ว่า ข้าว เหนียว จะ นำ ไป ใช้ ใน ร้าน ใด หรือ ใช้ กับ ทุก ร้าน ก็ ให้ ถือ เอา ร้าน ที่ เป็น

สำนักงาน ใหญ่ เป็น สถาน ที่ ที่ ได้ รับ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ นั้น

131 UNCITRAL Model Law on E-commerce, art 15 (2) (b) บัญญัติว่า:

(2) Unless otherwise agreed between the originator and the addressee, the time of receipt of a data message is

determined as follows:

(b) if the addressee has not designated an information system, receipt occurs when the data message enters an

information system of the addressee.132 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 23 วรรคแรก

Page 77: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-77

ใน กรณี ที่ ลูกเกด ไม่มี ร้าน ค้า ก็ ให้ ถือว่า ถิ่น ที่ อยู่ ปกติ ของ ลูกเกด เป็น สถาน ที่ ที่ ได้ รับ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์

4.3 เวลาและสถานที่ของการเกิดของสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์กรณี สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน เว็บไซต์

สมมติ ว่า ผู้ ประกอบ กิจการ ค้า ทาง เว็บไซต์ ได้ กำหนด ให้ เว็บไซต์ ตน เป็น เพียง คำ เชิญ ชวน เข้า ทำ สัญญา ผู้ ประกอบ

กิจการ ค้า ทาง เว็บไซต์ ก็ มี สิทธิ ที่ จะ เลือก ตอบ รับคำ เสนอ ของ ลูกค้า หรือ ผู้ บริโภค หรือ จะ บอกปัด คำ เสนอ นั้น ได้

ภาย ใต้ ป.พ.พ. มาตรา 356 (คำ เสนอ ต่อ บุคคล ผู้ อยู่ เฉพาะ หน้า) ประกอบ มาตรา 24 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม

ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน เว็บไซต์ นี้ เกิด ขึ้น เมื่อ คำ สนอง ใน รูป ของ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส ์

ได้ เข้า สู่ ระบบ ข้อมูล ของ ลูกค้า หรือ ผู้ บริโภค และ ลูกค้า หรือ ผู้ บริโภค ได้ รับ ทราบ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ นั้น โดย สัญญา ทาง

อิเล็กทรอนิกส์ ใน เว็บไซต์ นี้ ถือว่า ได้ เกิด ขึ้น ณ ที่ทำการ งาน หรือ ถิ่น ที่ อยู่ ปกติ (ใน กรณี ไม่มี ที่ทำการ งาน) ของ ลูกค้า หรือ

ผู้ บริโภค นั้น

ตัวอย่าง เดวิด ชาว อังกฤษ ใน ประเทศ อังกฤษ เข้า มา เยี่ยม ชม เว็บไซต์ ของ ไทย แลนด์ ดอท คอม (http://

www.thailand.com) แล้ว สั่ง ซื้อ เพชร เก้า กะรัต ทาง เว็บไซต์ จาก ไทย แลนด์ ดอท คอม เพื่อ ไป หมั้น สาว ไทย ใน อังกฤษ

สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน เว็บไซต์ นี้ เกิด ขึ้น เมื่อ คำ สนอง บอก กล่าว ตอบ รับคำ สั่ง ซื้อ จาก ไทย แลนด์ ดอท คอม ใน

รูป ของ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ได้ ส่ง ไป ยัง คอมพิวเตอร์ ของ เดวิด และ เดวิด ได้ รับ ทราบ คำ สนอง นั้น โดย สัญญา ทาง

อิเล็กทรอนิกส์ ใน เว็บไซต์ นี้ ถือว่า เกิด ขึ้น ณ ที่ทำการ งาน หรือ ถิ่น ที่ อยู่ ปกติ (ใน กรณี ที่ ไม่มี ที่ทำการ งาน) ของ เดวิด ใน

ประเทศ อังกฤษ

ใน กรณี ของ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ โดย จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ภาย ใต้ ป.พ.พ. มาตรา 361 (คำ

เสนอ ต่อ บุคคล ผู้ อยู่ ห่าง โดย ระยะ ทาง) ประกอบ มาตรา 23 วรรค หนึ่ง และ มาตรา 24 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย

ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ถ้า ผู้ เสนอ ได้ กำหนด ระบบ ข้อมูล ที่ ประสงค์ จะ ใช้ ใน การ รับ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส ์

ไว้ โดย เฉพาะ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ โดย จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ก็ จะ เกิด ขึ้น เมื่อ คำ สนอง ใน รูป ของ จดหมาย

อิเล็กทรอนิกส์ นั้น ได้ เข้า สู่ ระบบ ข้อมูล ที่ ผู้ เสนอ ได้ กำหนด ไว้ นั้น โดย ถือว่า สัญญา เกิด ขึ้น ณ ที่ทำการ งาน หรือ ถิ่น ที่ อยู่

ปกติ (ใน กรณี ที่ ไม่มี ที่ทำการ งาน) ของ ผู้ เสนอ แต่ ถ้า คำ สนอง ใน รูป ของ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ดัง กล่าว ได้ ส่ง ไป ยัง ระบบ

ข้อมูล อื่น ของ ผู้ เสนอ ซึ่ง มิใช่ ระบบ ข้อมูล ที่ ผู้ เสนอ กำหนด ไว้ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส ์โดย จดหมาย อิเล็กทรอนิกส ์ก็ เกิด

ขึ้น นับ แต่ เวลา ที่ ผู้ เสนอ ได้ เรียก คำ สนอง ใน รูป ของ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ จาก ระบบ ข้อมูล นั้น

ถ้า ผู้ เสนอ ไม่ ได้ กำหนด ระบบ ข้อมูล ที่ ประสงค์ จะ ใช้ ใน การ รับ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ไว้ โดย เฉพาะ สัญญา ทาง

อิเล็กทรอนิกส์ โดย จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ก็ จะ เกิด ขึ้น เมื่อ คำ สนอง ใน รูป ของ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ได้ เข้า สู่ ระบบ

ข้อมูล ระบบ ใด ระบบ หนึ่ง ของ ผู้ เสนอ

ตัวอย่าง เดวิด ชาว อังกฤษ ใน ประเทศ อังกฤษ ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ไป ยัง ศร ราม ชาว ไทย ใน ประเทศไทย

เพื่อ เสนอ ซื้อ ข้าว เหนียว 1,000 กระสอบ ใน ราคา 1,000,000 บาท โดย ระบุ ว่า ถ้า ศร ราม ตกลง ขาย ข้าว เหนียว ให้

เดวิด ให้ ศร ราม ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ มายัง [email protected] เมื่อ ศร ราม ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์

ไป ยัง [email protected] ถือว่า สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ โดย จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ เกิด ขึ้น นับ แต่ เวลา ที่

จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ นั้น ได้ เข้า สู่ [email protected] ณ ที่ทำการ งาน หรือ ถิ่น ที่ อยู่ ปกติ (ใน กรณี ที่ ไม่มี ที่ทำการ

งาน) ของ เดวิด ใน ประเทศ อังกฤษ แต่ ถ้า ศร ราม ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ไป ยัง ที่ อยู่ ของ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์

(E-mail Address) อื่นๆ ของ เดวิด เช่น ส่ง ไป ที่ [email protected] ถือว่า สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ โดย

จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ เกิด ขึ้น นับ แต่ เวลา ที่ เดวิด ได้ เปิด อ่าน จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ของ ศร ราม โดย สัญญา ทาง

อิเล็กทรอนิกส์ นี้ ถือว่า เกิด ขึ้น ณ ที่ทำการ งาน หรือ ถิ่น ที่ อยู่ ปกติ (ใน กรณี ที่ ไม่มี ที่ทำการ งาน) ของ เดวิด ใน ประเทศ

อังกฤษ

Page 78: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-78 กฎหมายธุรกิจ

ถ้า เดวิด ไม่ ได้ กำหนด ให้ ศร ราม ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ มายัง E-mail Address ใด ของ เดวิด ดังนี้ ไม่ ว่า

ศร ราม จะ ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ไป ยัง [email protected] หรือ [email protected] ถือว่า สัญญา ทาง

อิเล็กทรอนิกส์ เกิด ขึ้น นับ แต่ เวลา ที่ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ นั้น ได้ เข้า สู่ E-mail Address ใด ก็ได้ ของ เดวิด โดย สัญญา

ทาง อิเล็กทรอนิกส์ นี้ ถือว่า เกิด ขึ้น ณ ที่ทำการ งาน หรือ ถิ่น ที่ อยู่ ปกติ (ใน กรณี ที่ ไม่มี ที่ทำการ งาน) ของ เดวิด ใน ประเทศ

อังกฤษ

ใน กรณี ของ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน ห้อง สนทนา ภาย ใต้ ป.พ.พ. มาตรา 356 (คำ เสนอ ต่อ บุคคล ที่ อยู่

เฉพาะ หน้า) ประกอบ มาตรา 23 และ 24 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 สัญญา

ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน ห้อง สนทนา เกิด ขึ้น เมื่อ คำ สนอง ใน รูป แบบ ของ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ได้ เข้า สู่ ระบบ ข้อมูล ของ

ผู้ ทำ คำ เสนอ และ ผู้ ทำ คำ เสนอ รับ ทราบ แล้ว

ตัวอย่าง ขณะ เดวิด กับ ศร ราม กำลัง คุย กัน ทาง เครือ ข่าย อินเทอร์เน็ต ใน ห้อง สนทนา (chat room-MSN) ของ

Hotmail เดวิด ได้ เสนอ ซื้อ ข้าว เหนียว 1,000 กระสอบ ใน ราคา 1,000,000 บาท จาก ศร ราม โดย การ ตกลง ทำ สัญญา

ทั้งหมด ได้ ทำ กัน ใน ห้อง สนทนา ของ Hotmail สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน ห้อง สนทนา เกิด ขึ้น เมื่อ คำ สนอง ตอบ รับ ทำ

สัญญา ของ ศร ราม ใน รูป ของ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ นี้ ได้ เข้า สู่ ระบบ ข้อมูล ของ เดวิด และ เดวิด ได้ รับ ทราบ ข้อมูล นั้น แล้ว

โดย สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ นี้ ถือว่า เกิด ขึ้น ณ ที่ทำการ งาน หรือ ถิ่น ที่ อยู่ ปกติ (ใน กรณี ที่ ไม่มี ที่ทำการ งาน) ของ เดวิด

ใน ประเทศ อังกฤษ

กิจกรรม12.4.2

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ.2544การส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น

ถือว่ามีการส่งเมื่อใด

แนวตอบกิจกรรม12.4.2

มาตรา22ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2544บัญญัติถึงเวลาของการ

ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ว่า“การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่าได้มีการส่งเมื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่

ระบบข้อมูลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งข้อมูล”

Page 79: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-79

เรื่องที่12.4.3

ข้อสัญญากฎหมายที่ใช้บังคับและเขตอำนาจศาลของสัญญาทาง

อิเล็กทรอนิกส์

1.ข้อสัญญาในสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย ตั้ง อยู่ บน หลัก ความ ศักดิ์สิทธิ์ แห่ง การ แสดง เจตนา โดย ป.พ.พ. มาตรา 151

บัญญัติ ว่าาการใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีล

ธรรมอนัดีของประชาชนการนัน้ไม่เปน็โมฆะำ133 หมายความ วา่ โดย ปกต ิแลว้ คู ่สญัญา จะ ตกลง กนั ใน ขอ้ สญัญา อยา่งไร

ก็ได้ หาก ข้อ ตกลง นั้น ไม่ ขัด อย่าง ชัด แจ้ง กับ กฎหมาย อัน เกี่ยว กับ ความ สงบ เรียบร้อย หรือ ศีล ธรรม อัน ดี ของ ประชาชน

อย่างไร ก็ตาม ด้วย เหตุ ที่ ฝ่าย ผู้ ประกอบ กิจการ ค้า ซึ่ง โดย ปกติ แล้ว เป็น ผู้ ที่ มี อำนาจ ต่อ รอง ที่ เหนือ กว่า

มัก จะ ทำ สัญญา สำเร็จรูป หรือ เขียน ข้อ สัญญา เป็นการ เอา เปรียบ ลูกค้า หรือ ผู้ บริโภค ซึ่ง มัก เป็น ผู้ ที่ มี อำนาจ ต่อ รอง

ที่ ต่ำ กว่า134 พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ข้อ สัญญา ที่ ไม่ เป็น ธรรม พ.ศ. 2540 และ พระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง ผู้ บริโภค พ.ศ.

2522 แก้ไข เพิ่ม เติม โดย พระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง ผู้ บริโภค (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2541 จึง ถูก บัญญัติ ขึ้น เพื่อ ขจัด ความ ไม่

เป็น ธรรม ดัง กล่าว

1.1พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรมพ.ศ. 2540และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ.

2541 แม้ว่า ทั้ง พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ข้อ สัญญา ที่ ไม่ เป็น ธรรม พ.ศ. 2540 และ พระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง ผู้ บริโภค

พ.ศ. 2541 จะ มี วัตถุประสงค์ เดียวกัน คือ เพื่อ คุ้มครอง ผู้ ที่ มี อำนาจ ต่อ รอง น้อย กว่า แต่ ทั้ง สองพระ ราช บัญญัติ มี

เนื้อหา ที่ แตก ต่าง กัน หลาย ประการ กล่าว คือ

ประการแรก พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ข้อ สัญญา ที่ ไม่ เป็น ธรรม พ.ศ. 2540 ให้ ความ คุ้มครอง ผู้ บริโภค จาก ข้อ

สัญญา ไม่ เป็น ธรรม ระหว่าง และ หลัง จาก การ เกิด ของ สัญญา ใน ขณะ ที่ พระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง ผู้ บริโภค พ.ศ. 2541

ให้ ความ คุ้มครอง ผู้ บริโภค ก่อน การ เกิด ของ สัญญา135

ประการที่สอง พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ข้อ สัญญา ที่ ไม่ เป็น ธรรม พ.ศ. 2540 ให้ อำนาจ ศาล ที่ จะ ผ่อน ปรน ข้อ

สัญญา ซึ่ง ศาล เห็น ว่า ไม่ เป็น ธรรม136 ใน ขณะ ที่ พระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง ผู้ บริโภค ให้ อำนาจ คณะ กรรมการ ว่า ด้วย สัญญา

ใน การ ที่ จะ ตรวจ ดู สัญญา ซึ่ง คณะ กรรมการ ประกาศ ว่า เป็น สัญญา ภาย ใต้ การ ควบคุม137

133 ป.พ.พ. มาตรา 151134 Sucharitkul, Tiziana, Unfair Contract Terms Act B.E. 2540 (1997), Bangkok: Tilleke & Gibbins, 1998, http://www.

tginfo.com/publications/legal_development/contract.htm135 จำปี โสตถิพันธุ์ คำบรรยายนิติกรรมสัญญา หน้า 366136 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 10137 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2541 มาตรา 35 ทวิ

Page 80: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-80 กฎหมายธุรกิจ

ประการที่สาม พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ข้อ สัญญา ที่ ไม่ เป็น ธรรม พ.ศ. 2540 ให้ ความ คุ้มครอง สำหรับ สัญญา

ทุก ประเภท ที่ ไม่ เป็น ธรรม ใน ขณะ ที่ พระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง ผู้ บริโภค พ.ศ. 2541 ให้ ความ คุ้มครอง เพียง สัญญา

ซึ่ง า คณะ กรรมการ ว่า ด้วย สัญญา ำ ประกาศ ว่า เป็น สัญญา ที่ อยู่ ภาย ใต้ การ ควบคุม138 ปัจจุบัน มี สัญญา 3 ประเภท

ซึ่ง อยู่ ภาย ใต้ การ ควบคุม ได้แก่ สัญญา บัตร เครดิต สัญญา เช่า ซื้อ รถยนต์ และ รถ จักรยานยนต์ และ สัญญา ซื้อ ขาย

คอนโดมิเนียม139

ประการสุดท้าย ดัง ที่ กล่าว ข้าง ต้น โดย ปกติ แล้ว คู่ สัญญา มี อิสระ ที่ จะ ตกลง กัน ใน ข้อ สัญญา อย่างไร ก็ตาม

ข้อ สัญญา ที่ ขัด ต่อ กฎหมาย อัน เกี่ยว กับ ความ สงบ เรียบร้อย หรือ ศีล ธรรม อัน ดี ของ ประชาชน คู่ สัญญา ไม่ อาจ จะ ตกลง

เป็น อย่าง อื่น ได้ ข้อ สัญญา เหล่า นี้ ได้แก่

ก. ข้อ ตกลง ประกาศ หรือ คำ แจ้ง ความ ที่ ได้ ทำ ไว้ ล่วง หน้า เพื่อ ยกเว้น หรือ จำกัด ความ รับ ผิด เพื่อ ละเมิด

หรือ ผิด สัญญา ใน ความ เสีย หาย ต่อ ชีวิต ร่างกาย หรือ อนามัย ของ ผู้ อื่น อัน เกิด จาก การก ระ ทำ โดย จงใจ หรือ ประมาท

เลินเล่อ ของ ผู้ ตกลง ผู้ ประกาศ ผู้ แจ้ง ความ หรือ ของ บุคคล อื่น ซึ่ง ผู้ ตกลง ผู้ ประกาศ หรือ ผู้ แจ้ง ความ ต้อง รับ ผิด ด้วย

ตาม มาตรา 8 แห่ง พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย ข้อ สัญญา ที่ ไม่ เป็น ธรรม พ.ศ. 2540140 ข้อ สัญญา นี้ คล้าย กับ มาตรา 2 (1) ของ

กฎหมาย ว่า ด้วย ข้อ สัญญา ที่ ไม่ เป็น ธรรม ของ อังกฤษ (UK Unfair Contract Terms Act 1977) ซึ่ง บัญญัติ ห้าม มิ ให้

ยกเว้น หรือ จำกัด ความ รับ ผิด สำหรับ ความ เสีย หาย ต่อ ร่างกาย หรือ ชีวิต อัน เกิด จาก ความ ประมาท141

ข. ความ ตกลง หรือ ความ ยินยอม ของ ผู้ เสีย หาย สำหรับ การก ระ ทำ ที่ ต้อง ห้าม ชัด แจ้ง โดย กฎหมาย หรือ

ขัด ต่อ ความ สงบ เรียบร้อย หรือ ศีล ธรรม อัน ดี งาม ของ ประชาชน เป็นการ ต้อง ห้าม ตาม มาตรา 9 ของ พระ ราช บัญญัติ

ข้อ สัญญา ไม่ เป็น ธรรม พ.ศ. 2540142

ค. ข้อ ตกลง ของ สัญญา ที่ อยู่ ใน ความ ควบคุม เป็นการ ต้อง ห้าม ตามพ ระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง ผู้ บริโภค

พ.ศ. 2541143

1.2สัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติข้อสัญญาไม่เป็นธรรมพ.ศ. 2540และพระราช-

บัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. 2541 สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ส่วน ใหญ่ โดย เฉพาะ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน

เว็บไซต์ ระหว่าง ผู้ ประกอบ ธุรกิจ การ ค้า ทาง เว็บไซต์ และ ลูกค้า หรือ ผู้ บริโภค มัก เป็น สัญญา สำเร็จรูป ข้อ สัญญา

ต่างๆ เช่น ราคา การ ชำระ ราคา วิธี การ ชำระ ราคา แบบ และ คุณภาพ ของ สินค้า ข้อ ยกเว้น และ ข้อ จำกัด ความ รับ ผิด

การ ประกัน ลูกค้า หรือ ผู้ บริโภค ไม่ อาจ ตกลง เปลี่ยนแปลง แก้ไข เป็น อย่าง อื่น ได้ เพราะ โดย ปกติ แล้ว สัญญา จะ มา

เป็น ลักษณะ ถ้า ลูกค้า หรือ ผู้ บริโภค จะ ซื้อ สินค้า หรือ รับ บริการ นั้น จะ ต้อง ยอมรับ ข้อ สัญญา ทั้งหมด “take-it” หรือ ไม่

ก็ ไม่ ต้อง ทำ สัญญา กัน าleave-itำ ซึ่ง โดย ปกติ ผู้ ประกอบ ธุรกิจ การ ค้า ทาง เว็บไซต์ มัก จะ ร่าง สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์

ที่ ให้ ตน ได้ เปรียบ มาก ที่สุด อย่างไร ก็ตาม ถึง แม้ว่า คู่ สัญญา จะ มี อิสระ ใน การ ตกลง กัน ใน ข้อ สัญญา แต่ สัญญา ทาง

อิเล็กทรอนิกส์ เหล่า นี้ ก็ ต้อง อยู่ ภาย ใต้ บังคับ ของ พระ ราช บัญญัติ ข้อ สัญญา ไม่ เป็น ธรรม พ.ศ. 2540 และ พระ ราช บัญญัต ิ

คุ้มครอง ผู้ บริโภค พ.ศ. 2541 เสมอ เหมือน สัญญา ใน เอกสาร ธรรมดา

138 จำปี โสตถิพันธุ์ คำบรรยายนิติกรรมสัญญา หน้า 336139 เรื่องเดียวกัน หน้า 337140 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 8141 UK Unfair Contract Terms Act 1977, s 2 (1)142 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 9143 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2541 มาตรา 35 ทวิ

Page 81: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-81

1.2.1 สัญญาผู้บริโภคทางอิเล็กทรอนิกส์สัญญา ผู้ บริโภค ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ทุก ประเภท ต้อง อยู่

ภาย ใต้ บังคับ ของ พระ ราช บัญญัติ ข้อ สัญญา ไม่ เป็น ธรรม พ.ศ. 2540144 พระ ราช บัญญัติ ข้อ สัญญา ไม่ เป็น ธรรม พ.ศ.

2540 นี้ ให้ ความ คุ้มครอง ผู้ บริโภค ซึ่ง เข้า ทำ สัญญา ไม่ เป็น ธรรม กับ พ่อค้า หรือ นัก ธุรกิจ นอกจาก นี้ สัญญา ผู้ บริโภค

ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ที่ เกี่ยว กับ บัตร เครดิต เช่า ซื้อ รถยนต์ และ รถ จักรยานยนต์ และ ซื้อ ขาย คอน โด มี เนียม ล้วน อยู่

ภาย ใต้ บังคับ ของ พระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง ผู้ บริโภค พ.ศ. 2541

1.2.2 สัญญาสำเร็จรูปทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่ ภาย ใต้ พระ ราช บัญญัติ ข้อ สัญญา ไม่ เป็น ธรรม พ.ศ.

2540145 ใน กรณี เป็น ข้อ สงสัย สัญญา เหล่า นี้ จะ ถูก ตีความ ให้ เป็น ประโยชน์ แก่ ผู้ ที่ มี กำลัง ต่อ รอง น้อย กว่า นอกจาก นี้

สัญญา สำเร็จรูป ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง เกี่ยว กับ บัตร เครดิต เช่า ซื้อ รถยนต์ และ รถ จักรยานยนต์ และ ซื้อ ขาย

คอน โด มี เนียม ล้วน อยู่ ภาย ใต้ บังคับ ของ พระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง ผู้ บริโภค พ.ศ. 2541

1.2.3 สญัญาขายฝากทางอเิลก็ทรอนกิส์อยู ่ภาย ใต ้พระ ราช บญัญตั ิขอ้ สญัญา ไม ่เปน็ ธรรม พ.ศ. 2540146

ตวัอยา่ง ขอ้ สญัญา ใน สญัญา ผู ้บรโิภค ทาง อเิลก็ทรอนกิส ์สญัญา สำเรจ็รปู ทาง อเิลก็ทรอนกิส ์และ สญัญา

ขาย ฝาก ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ที่ พิจารณา ว่า ไม่ เป็น ธรรม ตาม มาตรา 4 วรรค สาม ของ พระ ราช บัญญัติ ข้อ สัญญา ไม่ เป็น

ธรรม พ.ศ. 2540 ได้แก่

ก. ข้อ ตกลง ยกเว้น หรือ จำกัด ความ รับ ผิด อัน เกิด จาก การ ผิด สัญญา

ข. ข้อ ตกลง ที่ ให้ ต้อง รับ ผิด หรือ รับ ภาระ มากกว่า ที่ กฎหมาย กำหนด

ค. ข้อ ตกลง ให้ สัญญา สิ้น สุด ลง โดย ไม่มี เหตุผล อัน สมควร หรือ ให้ สิทธิ บอก เลิก สัญญา ได้ โดย อีก

ฝ่าย หนึ่ง มิได้ ผิด สัญญา ใน ข้อ สาระ สำคัญ

ง. ข้อ ตกลง ให้ สิทธิ คู่ สัญญา ฝ่าย หนึ่ง เรียก ร้อง หรือ กำหนด ให้ อีก ฝ่าย หนึ่ง ต้อง รับ ภาระ เพิ่ม ขึ้น

มากกว่า ภาระ ที่ เป็น อยู่ ใน เวลา ทำ สัญญา

จ. ข้อ ตกลง ใน สัญญา ขาย ฝาก ที่ ผู้ ซื้อ ฝาก กำหนด ราคา สินไถ่ สูง กว่า ราคา ขาย บวก อัตรา ดอกเบี้ย

เกิน กว่า ร้อย ละ 15 ต่อ ปี

1.2.4 สัญญาเช่าซื้อทางอิเล็กทรอนิกส์สัญญา เช่า ซื้อ สินค้า ทุก ประเภท ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ล้วน อยู่

ภาย ใต้ บังคับ แห่ง พระ ราช บัญญัติ ข้อ สัญญา ไม่ เป็น ธรรม พ.ศ. 2540 ข้อ ตกลง ใน สัญญา เช่า ซื้อ ที่ กำหนด ราคา

เช่า ซื้อ หรือ กำหนด ให้ ผู้ เช่า ซื้อ ต้อง รับ ภาระ สูง เกิน กว่า ที่ ควร ถือ ได้ ว่า เป็น ข้อ สัญญา ที่ ไม่ เป็น ธรรม นอกจาก นี้ สัญญา เช่า

ซื้อ รถยนต์ หรือ มอ เต อร์ ไซด์ ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ก็ อยู่ ภาย ใต้ พระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง ผู้ บริโภค พ.ศ. 2541

1.2.5 สัญญาเครดิตการ์ดทางอิเล็กทรอนิกส์สัญญา บัตร เครดิต ทาง อิเล็กทรอนิกส์ อยู่ ภาย ใต้

พระ ราช บัญญัติ ข้อ สัญญา ไม่ เป็น ธรรม พ.ศ. 2540 และ พระ ราช บัญญัติ คุ้มครอง ผู้ บริโภค พ.ศ. 2541

2.กฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ส่วน ใหญ่ โดย เฉพาะ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน เว็บไซต์ ระหว่าง ผู้ ประกอบ

กิจการ ค้า ทาง เว็บไซต์ และ ลูกค้า หรือ ผู้ บริโภค จะ เป็น สัญญา สำเร็จรูป สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ เหล่า นี้ โดย ปกติ จะ

มี ข้อ สัญญา ระบุ ว่า สัญญา นี้ อยู่ ภาย ใต้ กฎหมาย ของ ประเทศ ใด ประเทศ หนึ่ง ใน กรณี เช่น นี้ ปัญหา ว่า จะ นำ กฎหมาย ของ

144 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4145 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4146 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4

Page 82: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

12-82 กฎหมายธุรกิจ

ประเทศ ใด มา ใช้ บังคับ กับ สัญญา ก็ จะ ไม่ ค่อย มี ข้อ ยุ่ง ยาก ใน การ พิจารณา อย่างไร ก็ตาม ปัญหา จะ ค่อน ข้าง สลับ ซับ ซ้อน

ว่า จะ นำ กฎหมาย ของ ประเทศ ใด มา ใช้ บังคับ ใน กรณี ที่ ไม่มี ข้อ ตกลง ใน เรื่อง กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ กับ สัญญา โดย คู่ สัญญา

ใน กรณี เช่น นี้ มาตรา 13 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย การ ขัด กัน แห่ง กฎหมาย พ.ศ. 2481ได้ บัญญัติ หลัก เกณฑ์ ใน การ

พิจารณา ไว้ ดังนี้

2.1 ถา้คู่สญัญามีสญัชาติอนัเดยีวกนักฎหมายที่จะใช้บงัคบักบัสญัญาไดแ้ก่กฎหมายสญัชาติอนัรว่มกนัแหง่

คู่สัญญา

ตัวอย่าง เดวิด ชาว อังกฤษ ซึ่ง ทำงาน อยู่ ใน ประเทศไทย เข้า มา เยี่ยม ชม เว็บไซต์ ขอ งอ เม ซอน ดอท คอ มดอท

ยูเค (http://www.amazon.com.uk) ของ บริษัท ใน ประเทศ อังกฤษ แล้ว สั่ง ซื้อ หนังสือ ทาง เว็บไซต์ เพื่อ ให้ ลูกสาว

ของ ตน ตาม หลัก ใน มาตรา 13 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย การ ขัด กัน แห่ง กฎหมาย พ.ศ. 2481 เมื่อ คู่ สัญญา

เป็น คน สัญชาติ เดียวกัน คือ สัญชาติ อังกฤษ กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ กับ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ นี้ จึง ได้แก่ กฎหมาย

สัญชาติ อัน ร่วม กัน แห่ง คู่ สัญญา กรณี นี้ คือ กฎหมาย ของ ประเทศ อังกฤษ

2.2 ถา้คู่สญัญาไมม่ีสญัชาติอนัเดยีวกนักฎหมายที่ใช้บงัคบักบัสญัญาไดแ้ก่กฎหมายแหง่ถิน่ที่สญัญานัน้ได้

ทำขึ้น

ตัวอย่าง เดวิด ชาว อังกฤษ ใน ประเทศ อังกฤษ เข้า มา เยี่ยม ชม เว็บไซต์ ของ ไทย เจมส์ ดอท คอม (http://www.

thaigems.com) แล้ว สั่ง ซื้อ เพชร เก้า กะรัต ทาง เว็บไซต์ จาก ไทย เจมส์ ดอท คอม เพื่อ ไป หมั้น สาว ไทย ใน ประเทศ อังกฤษ

สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน เว็บไซต์ นี้ เกิด ขึ้น ใน ทันที ที่ เดวิด ได้ รับ ทราบ คำ สนอง บอก กล่าว ตอบ รับคำ สั่ง ซื้อ จาก ไทย

เจมส์ ดอท คอม ดัง นั้น สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ใน เว็บไซต์ นี้ จึง เกิด ขึ้น ที่ ประเทศ อังกฤษ ตาม หลัก ใน มาตรา 13 ของ

พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย การ ขัด กัน แห่ง กฎหมาย พ.ศ. 2481 เมื่อ คู่ สัญญา เป็น คน ต่าง สัญชาติ กัน กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ กับ

สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ นี้ จึง ได้แก่ กฎหมาย แห่ง ถิ่น ซึ่ง สัญญา ได้ ทำ ขึ้น กรณี นี้ คือ กฎหมาย ของ ประเทศ อังกฤษ

2.3 ถ้าสัญญานั้นได้ทำขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญา ได้แก่

กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทำขึ้นโดยถิ่นที่ถือว่าสัญญานั้นได้ทำขึ้นคือถิ่นที่คำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ

ตัวอย่าง ลูกเกด ชาว ไทย ใน ประเทศ อังกฤษ ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ไป ยัง ศร ราม ชาว ไทย ใน ประเทศไทย

เพื่อ เสนอ ขอ ซื้อ ข้าว เหนียว 1,000 กระสอบ ใน ราคา 1,000,000 บาท ศร ราม ตอบ ตกลง โดย ส่ง จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์

กลับ ไป ยัง ลูกเกด ตาม หลัก ใน มาตรา 13 ของ พระ ราช บัญญัติ ว่า ด้วย การ ขัด กัน แห่ง กฎหมาย พ.ศ. 2481 สัญญา ทาง

อิเล็กทรอนิกส์ โดย จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ระหว่าง ลูกเกด กับ ศร ราม เป็น สัญญา ระหว่าง บุคคล ซึ่ง อยู่ ห่าง โดย ระยะ ทาง

สญัญา ทาง อเิลก็ทรอนกิส ์โดย จดหมาย อเิลก็ทรอนกิส ์จงึ ถอืวา่ เกดิ ขึน้ ณ ถิน่ ที ่คำ สนอง ใน รปู ของ จดหมาย อเิลก็ทรอนกิส ์

ได้ ส่ง ไป ถึง ลูกเกด ดัง นั้น สัญญา จึง เกิด ขึ้น ใน ประเทศ อังกฤษ กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ กับ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ นี้ จึง

ได้แก่ กฎหมาย อังกฤษ

2.4ถ้าไม่อาจหยั่งทราบถิ่นที่คำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอตามข้อ2.3กฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาได้แก่

กฎหมายแห่งถิ่นที่พึงปฏิบัติตามสัญญานั้น

ตาม ตัวอย่าง ใน ข้าง ต้น ถ้า ไม่ อาจ ระบุ ได้ ว่า ลูกเกด อาศัย อยู่ ใน ประเทศ ใด เช่น ลูกเกด กำลัง ล่อง เรือ อยู่

กลาง ทะเลหลวง เป็นต้น กฎหมาย ที่ จะ นำ มา ใช้ บังคับ กับ สัญญา ก็ จะ ได้แก่ กฎหมาย ของ ประเทศ ที่ จะ มี การ ชำระ หนี้

ตาม สัญญา ใน กรณี นี้ การ ชำระ หนี้ ตาม สัญญา จะ พึง กระทำ กัน ใน ประเทศไทย เพราะ ว่า ศร ราม ผู้ ขาย อยู่ ใน เมือง ไทย

ดัง นั้น กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ กับ สัญญา นี้ ก็ คือ กฎหมาย นิติกรรม สัญญา ของ ไทย

Page 83: หน่วย ที่ 12 กฎหมาย ธุรกิจ ระหว่าง ประเทศ และ กฎหมาย ... · กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทาง

กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 12-83

3.เขตอำนาจศาลในกรณีสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน ประมวล กฎหมาย วิธี พิจารณา ความ แพ่ง ของ ไทย ไม่ ได้ มี บทบัญญัติ ให้ คู่ สัญญา เลือก ระงับ ข้อ พิพาท

อัน เกิด จาก สัญญา ใน ศาล ใด ศาล หนึ่ง ดัง นั้น การ เลือก ให้ ระงับ ข้อ พิพาท ใน ศาล ใด ศาล หนึ่ง ใน สัญญา สำเร็จรูป จึง ไม่

อาจ บังคับ ได้ ตาม ประมวล กฎหมาย วิธี พิจารณา ความ แพ่ง คู่ สัญญา ของ สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ มี สิทธิ ที่ จะ นำ คดี ขึ้น

สู่ ศาล ไทย ถ้า คดี ต้อง ตาม เงื่อนไข อย่าง ใด อย่าง หนึ่ง ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ ได้แก่ (1) สัญญา ทาง อิเล็กทรอนิกส์ ได้ ทำ ขึ้น

ใน ประเทศไทย หรือ ใน เรือ ไทย หรือ อากาศยาน ไทย147 หรือ (2) จำเลย มี ภูมิลำเนา อยู่ ใน ประเทศไทย148 หรือ (3) โจทก์

มี สัญชาติ ไทย หรือ ภูมิลำเนา ใน ประเทศไทย149

กิจกรรม12.4.3

ในกรณีที่คู่สญัญามีสญัชาติอนัเดยีวกนัแต่ไม่อาจหยัง่ทราบเจตนาชดัแจง้หรอืโดยปรยิายของคู่สญัญาวา่

จะใช้กฎหมายใดบงัคบัสำหรบัสิง่ซึง่เปน็สาระสำคญัหรอืผลแหง่สญัญาตามหลกัมาตรา13ของพระราชบญัญตัิ

ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพ.ศ.2481จะต้องนำกฎหมายของประเทศใดมาใช้บังคับ

แนวตอบกิจกรรม12.4.3

ในกรณีนี้ต้องนำกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สัญญามาใช้บังคับ

147 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 3 (1)148 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (1)149 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 ตรี