อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4...

39
อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ นาไปสูการดับทุกข์ มี 4 ประการ คือ 1. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายสบายใจ เป็นสภาวะที่ทนได้ยาก 2. สมุทัย คือ สาเหตุของทุกข์ คือ ตัณหา 3 ประการ 3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาวะที่ต้องบรรลุ 4. มรรค คือ แนวทางที่ทาให้ทุกข์นั้นหายไป มี 8 ประการ

Upload: others

Post on 09-Aug-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ น าไปสู่การดับทุกข์ มี 4 ประการ คือ 1. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายสบายใจ เป็นสภาวะที่ทนได้ยาก 2. สมุทัย คือ สาเหตุของทุกข์ คือ ตัณหา 3 ประการ 3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาวะที่ต้องบรรลุ 4. มรรค คือ แนวทางที่ท าให้ทุกข์นั้นหายไป มี 8 ประการ

Page 2: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

ธรรมที่เกี่ยวกับทุกข์ 1) ขันธ์ พระพุทธศาสนาถือว่าองค์ประกอบของชีวิต ที่สมมติเรียกกันว่า มนุษย์ หรือคนมีอยู่ 5 องค์ประกอบ หรือ 5 กอง เรียกว่า ขัน 5 ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 2) อายตนะ หมายถึง จุดเชื่อมต่อระหว่างขันธ์ 5 กับสิ่งที่อยู่ภายนอกตัวเรา

Page 3: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

อายตนะ จัดเป็นองค์ประกอบของวิญญาณ คือ การรับรู้ จะต้องมีผู้รู้และสิ่งที่ถูกต้องขันธ์ 5 คือ ผู้รู้ ซึ่งรับรู้ผ่านอายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ส่วนสิ่งที่ถูกรู้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัส และการนึกคิด (ธรรมารมณ)์ อายตนะภายนอก

Page 4: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

อายตนะภายใน อายตนะภายนอก

1. ตา (จักขุประสาท) 2. หู (โสตระสาท) 3. จมูก (ฌานประสาท, ฆานะ)) 4. ลิ้น (ชิวหาประสาท) 5. กาย (กายประสาท) 6. ใจ (มโน)

รูป สิ่งท่ีเห็นด้วยตา เสียง สิ่งท่ีได้ยินด้วยหู กลิ่น สิ่งท่ีสูดดมได้ด้วยจมูก รส สิ่งท่ีลิ้มรสได้ด้วยลิ้น สัมผัส (โผฏฐัพพะ) สิ่งท่ีแตะต้องได้ด้วยกาย อารมณ์ (ธรรมารมณ)์ อารมณ์เร่ืองท่ีคิดด้วยใจ

Page 5: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

ธรรมที่ควรละ (สมุทัย) เป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ การเรียนรู้เรื่องสมุทัย จึงเป็นการเรียนรู้สาเหตุของความทุกข์หรือสาเหตุของปัญหาในชีวิตของเรา ทั้งนี้ เพ่ือจะได้หาทางละเหตุนั้นเสียน าพาชีวิตรอดพ้นปัญหาหรือบรรเทาปัญหาในชีวิตที่ประสบอยู่ให้เบาบางลง

Page 6: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

กรรม ตามทัศนะของพระพุทธศาสนาแปลว่า การกระท ารวมทั้งผลของการกระท า คือ การให้ผลชั้นในและการให้ผลชั้นนอกสิ่งที่สนับสนุนให้กรรมดีให้ผลชั้นนอกและขัดขวางกรรมชั่วให้ผลชั้นนอกเรียกว่า สมบัติ (ข้อดีหรือจุดแข็ง) สิ่งที่สนับสนุนกรรมชั่วให้ผลชั้นนอก และขัดขวางกรรมดีให้ผลชั้นนอก เรียกว่า วิบัติ (ข้อเสียหรือจุดอ่อน)

Page 7: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

อบายมุข 6 อบายมุข คือ ทางแห่งความเส่ือม จัดอยู่ในกลุ่มค าสอนที่แนะน าไม่ให้ประพฤติปฏิบัติเป็นส่ิงที่ควรละเว้น เพราะเป็นการเบียดเบียนตนเอง และน ามาซึ่งความเดือดร้อนแก่สังคม

Page 8: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

(1) ติดสุราและสิ่งเสพติด โทษ คือ ท าให้เสียทรัพย์ เป็นสาเหตุของการทะเลาะวิวาท

(2) เที่ยวกลางคืน โทษคือ เป็นการไม่รักตัวเองเพราะบั่นทอนสุขภาพร่างกายและจิตใจ ไม่รักครอบครัว ไม่รักษาทรัพย์สมบัติ (3) ชอบเที่ยวดูการละเล่น คือ การแสดงต่างๆ ทุกประเภท โทษ คือ ท าให้ใจจดจ่อเพ้อฝัน จินตนาการกับสิ่งเหล่านั้น ไม่เป็นอันท าการงาน เสียเงิน เสียเวลา

Page 9: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

(4) ติดการพนัน โทษ คือ เมื่อชนะย่อมก่อเวร หากแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ ทรัพย์สินเสียหาย ขาดคนเชื่อถือ เพ่ือนฝูงดูหมิ่น ไม่มีใครอยากได้นักพนนัเป็นคู่ครอง (5) คบคนชั่วเป็นมิตร โทษ คือ ท าให้เราพฤติกรรมชั่วตาม (6) เกียจคร้านท าการงาน ลักษณะของคนขี้เกียจคือมักจะยกข้ออ้างต่างๆ มาเป็นเงื่อนไขปฏิเสธไม่ท าการงาน โทษเช่น ท าให้ไม่มีความเจริญในชีวิต การงานไม่เจริญก้าวหน้า

Page 10: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

อกุศลกรรมบถ 10 อกุศลธรรมบถ คือ ทางแห่งอกุศลธรรม หมายถึง ทางท าความชั่วอันเป็นทางน าไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ อกุศลกรรมบถ จัดอยู่ในกลุ่มธรรมที่ควรละ เพราะเป็นทางแห่งความชั่ว ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ มี 10 ประการ

Page 11: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
Page 12: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

ธรรมที่ควรบรรลุ (นิโรธ) นิโรธ คือ ความดับทุกข์หรือดับปัญหา เมื่อทุกข์ดับปัญหาก็หมด สิ่งที่เข้ามาแทนคือสภาพที่หมดปัญหา หรือความสุข มนุษย์ทุกคนมีความสุขเป็นเป้าหมายของการด ารงชีวิต ความสุข เป็นสิ่งที่ควรบรรลุ คือ เข้าให้ถึง สร้างให้มีขึ้นในชีวิต ด้วยการละเว้นจากสมุทัยได้แก่ ทางแห่งความเสื่อม (อบายมุข) ทางแห่งความชั่ว (อกุศลกรรมบถ) และปฏิบัติตามวิธีการที่ถูกต้อง

Page 13: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

1) สามิสสุข คือ ความสุขภายนอกหรือความสุขทางกาย เป็นความสุขที่เกิดจากการเสพส่ิงที่ท าให้เกิดความพอใจ เช่น ได้ดูภาพยนตร์เรื่องที่ชอบ ได้คุยกับคนรัก

การเสพความสุขประเภทนี้จึงต้องมีสติระมัดระวัง เพราะเป็นความสุขที่ไม่แน่นอนหากตกอยู่ในความประมาทก็อาจน ามาซึ่งความทุกข์ได ้

Page 14: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

2) นิรามิสสุข คือ ความสุขภายในหรือความสุขทางใจ เป็นความสุขที่ไม่ขึ้นอยู่กับวัตถุภายนอกในระดับพื้นฐาน คือ ความรักความเข้าใจ ความอบอุ่น ในระดับที่สูงขึ้นมา คือ การที่จิตใจสงบเป็นสมาธิ ความไม่อาฆาตพยาบาทจองเวร พระพุทธศาสนาจึงยกย่องความสุขทางใจ ดังพระพุทธด ารัสว่า “ความสุขอื่นจะยิ่งไปกว่าความสงบไม่มี”

Page 15: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

ธรรมที่ควรเจริญ (มรรค) มรรค คือ ความจริงว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อการแก้ปัญหาเป็นธรรมที่ควรเจริญคือด าเนินตาม ปฏิบัติตาม เพราะหากปฏิบัติตามแล้วจะลดปัญหาและหมดความทุกข์ในที่สุด

Page 16: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
Page 17: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

1) บุพนิมิตของมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นทางน าไปสู่ความพ้นทุกข์ โดยสรุปได้แก่ ไตรสิกชา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา องค์ประกอบของธรรมดังกล่าวหรือบุพนิมิตแห่งมัชฌิมาปฏิปทา มี 7 ประการ

Page 18: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

1. ความมีกัลยาณมิตร หรือมีเพื่อนที่ดี กัลยาณมิตรจะช่วยแนะน า สั่งสอนให้เห็นว่าอะไรผิด อะไรถูก 2. ความถึงพร้อมด้วยศีล การมีวินัย มีความเป็นระเบียบในชีวิตของตนและการอยู่ร่วมกันในสังคม เรียกว่า ศีลสัมปทา 3. ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ คือ พอใจใฝ่รักในปัญญา สัจธรรม จริยธรรม ใฝ่รู้ในความจริงและใฝ่ท าความดี เรียกว่า ฉันทสัมปทา

Page 19: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

4. ความพร้อมที่ฝึกฝนอบรมและพัฒนาตนเอง การมองเห็นความส าคัญที่จะฝึกพัฒนาตนเองเรียกว่า อัตตสัมปทา 5. ความถึงพร้อมด้วยความเห็นที่ถูกต้อง ยึดถือเชื่อมันในหลักการ และมีความเห็นความเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามเหตุปัจจัย เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา

Page 20: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

6. ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ เห็นคุณค่าของกาลเวลา เห็นความเปลี่ยนแปลงเป็นส่ิงกระตุ้นเตือนให้เร่งรัดการค้นหาความจริงหรือท าชีวิตที่ดีงามให้ส าเร็จเรียกว่า อัปปมาทสัมปทา 7. การรู้จักคิดพิจารณา มองสิ่งทั้งหลายให้ได้ความรู้และได้ประโยชน์ที่จะเอามาใช้พัฒนาตนเองยิ่งๆ ขึ้นไป เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

Page 21: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

ดรุณธรรม 6 คือ ธรรมที่เป็นหนทางแห่งความส าเร็จ หรือข้อปฏิบัติ ที่เป็นประดุจประตูชัยเป็นทางเปิดออกไปสู่ความสุขความเจริญก้าวหน้าแห่งชีวิตมี 6 ประการ คือ 1. อาโรคยะ การรักษาสุขภาพดี มิให้มีโรค ทั้งโรคทางใจและทางกาย 2. ศีล การมีระเบียบวินัย ไม่เกะกะระราน แสดงตนเป็นอันธพาลก่อนความเดือดร้อนให้ใคร 3. พุทธานุมัติ ได้คนดีเป็นแบบอย่าง ศึกษาและเอาอย่างตามมหาบุรุษพุทธชน

Page 22: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

4. สุตะ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เรียนรู้ให้จริง จนเกิดความเชี่ยวชาญและรู้เท่าทันเหตุการณ์ต่าง ที่เกิดขึ้นในชีวิต 5. ธรรมนุวัต ท าแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม ตั้งตนอยู่ในความสุจริต ทั้งชีวิตและงาน ด าเนินตามธรรม 6. อลีนตา มีความขยันหมั่นเพียร มีก าลังใจแข็งกล้า ไม่ท้อแท้เฉื่อยชา เพียรก้าวหน้าเรื่อยไป

Page 23: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

กุลจิรัฏฐิติธรรม คือ หลักธรรมที่ท าให้ครอบครัวหรือตระกูลตั้งอยู่ได้นาน ไม่ล่มสลายไปก่อนเวลาอนัควร ท าให้ตระกูลด ารงอยู่ด้วยความสงบสุข เรียบร้อยและมีฐานะมั่นคง มี 4 ประการคือ 1. แสวงหาเครื่องอุปโภคบริโภคมาทนแทนส่วนที่เสียหายหรือหมดไป 2. ซ่อมแซมสิ่งของที่ช ารุดเสียหาย 3. รู้จักฐานะตนเองและปฏิบัติเหมาะสมตามฐานะ 4. ตั้งบุคคลที่มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน

Page 24: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

สตปิัฏฐาน 4 คือ ที่ตั้งของสติ สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสติคือความประมาท ชีวิตที่ขาดสติจึงเป็นชีวิตที่ตกอยู่ในความประมาท ตกอยู่ในภาวะ อันตราย ถูกชักน าไปในทางที่ผิดไดง้่าย สติจึงเป็นตัวปิดกั้นความชั่วและเปิดโอกาสให้ความดี เพื่อความมีสติไม่ประมาท ไม่เลื่อนลอย

Page 25: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

1. การใช้สติพิจารณากาย หมายถึง การควบคุณสติด้วยการก าหนดพิจารณากายตนเองให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่ากายนี้เป็นเพียงส่ิงสมมติไม่ควรยึดมั่นถือมั่นจนท าให้เกิดทุกข์ 2. การใช้สติพิจารณาเวทนา หมายถึงการควบคุมสติให้รู้เท่าทันความรู้สึก คือ ความสุขความทุกข์ หรือความรู้สึกเฉย ๆ

Page 26: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

3. การใช้สติพิจารณาจิต หมายถึง การใช้สติพิจารณาจิตของตนเองว่าประกอบด้วยราคะ โทสะ โมหะ หรือปราศจากกิเลสเหล่านั้น 4. การใช้สติพิจารณาธรรม หมายถึง การใช้สติพิจารณาดูอารมณ์ที่ใจคิด มีสติรู้ธรรมต่างๆ

Page 27: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

มงคล 38 มงคล คือ ความดี สิ่งที่ดีในชีวิต หลักธรรมว่าด้วยมงคลคือหลักปฏิบัติเพื่อความสุขความเจริญหรือหลักปฏิบัติเพื่อความเป็นสิริมงคล เพ่ือความดีงามในชีวิต

Page 28: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

การละเว้นจากท าความชั่วและการท าแต่ความดี ความชั่วหรือบาปอกุศลเป็นสิ่งที่ควรงดเว้นเพราะน ามาซ่ึงความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและสังคม นั่นคือการรักษาศีล 5 หรือ เบญจศีล อันเป็นหลักธรรมพ้ืนฐานเพื่อการงดเว้นจากความชั่ว และการงดเว้นจากอกุศลกรรมบถการท าความชั่วทางกาย ทางเวลา และทางใจ

Page 29: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

การประพฤติสุจริตธรรม หมายถึงการประพฤติธรรม 5 ประการที่เรียกว่า เบญจธรรม และการประพฤติกุศลกรรมบถ คือ ท าความดีต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยการปฏิบัติชอบต่อกนัท าความดีในอาชีพโดยเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางทุจริต ขยันหาเลี้ยงชีวิตด้วยอาชีพสุจริต ท าความดีในหน้าที่เป็นส าคัญ ท างานให้ส าเร็จเป็นผลดีตามหน้าที่

Page 30: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

เว้นจากการดื่มน้ าเมา สุราและสิ่งเสพติดเป็นที่ตั้งของความประมาท เป็นสาเหตุให้ท าความชั่วอื่นๆ ได้ง่าย เป็นอบายมุขทางแห่งความเสื่อม น าความหายนะมาสู่ชีวิต เพราะขาดสติคอยกระตุ้นเตือนให้ท าความดี

Page 31: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
Page 32: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

พระไตรปิฎกได้เก็บรวบรวมและบันทึกเรื่องราว หลักธรรม และค าศัพท์ทางพระพุทธศาสนารวมทั้งบันทึกสาระค าสอนที่เรียกว่า พุทธศาสนสุภาษิต ซึ่งเป็นการสรุปค าสอนส้ัน แต่แฝงด้วยปรัชญาธรรม คติธรรมท่ีเป็นข้อคิดสอนใจอันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาและน าไปเป็นหลักปฏิบัติในการด าเนินชีวิต

Page 33: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
Page 34: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

1) พระวินัยปิฎก มีเน้ือหาว่าด้วยวินัยหรือศีล กล่าวคือ ข้อบัญญัติเก่ียวกับความประพฤติความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการด าเนินกิจกรรมต่างๆ ของภิกษุและภิกษุณี อยู่ในเล่มที่ 1-8 รวม 8 เล่ม 2) พระสุตตันตปิฎก มีเน้ือหาว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่บุคคลต่างๆ ในเวลาและสถานที่แตกต่างกัน มีลักษณะเป็นค าสนทนาโต้ตอบ ค าบรรยาย มีทั้งที่เป็นบทร้อยกรอง บทร้อยแก้ว ร้อยแก้วผสมร้อยกรอง รวมทั้งพระธรรมเทศนาของพระสาวกส าคัญบางรูปอยู่ในเล่มที่ 9 – 33 รวม 25 เล่ม

Page 35: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
Page 36: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

สาระสังเขปในพระสุตตันตปิฎก เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาพระพุทธวจนะท่านจึงผูกเป็นอักษรย่อมก าหนดพิจารณา มี 5 ค า คือ ที, ม, สัง, อัง, ขุ 1. ที = ทีฆนิกาย แปลว่า หมวดยาว หมายถึง หมวดที่รวบรวมพระสูตรขนาดยาวไว้ส่วนหนึ่ง ไม่ปนกับพระสูตรประเภทอื่น รวมพระสูตรในหมวดนี้ทั้งสิ้น 34 สูตร 2. ม = มัชฌิมนิกาย แปลว่า หมวดปานกลางหมายถึง หมวดที่รวบรวมพระสูตรขนาดกลาง ไม่สั้นเกินไป ไม่ยาวเกินไปไว้ส่วนหนึ่ง รวมพระสูตรในหมวดนี้ทั้งสิ้น จ านวน 142 สูตร

Page 37: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

3. สัง = สังยุตนิกาย แปลว่า หมวดประมวล คือ ประมวลเรื่องประเภทเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่ เช่นเรื่องพระมหากัสสปะ รวมเรียกว่า กัสสปสังยุตต ์เรื่องมรรค (ข้อปฏิบัต)ิ รวมเป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า มัคคสังยุตต์ รวมพระสูตรในหมวดนี้ทั้งสิ้น จ านวน 7,762 สูตร

Page 38: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

4. อัง = อังคุตตรนิกาย แปลว่า หมวดยิ่งด้วยองค์ คือ จัดล าดับธรรมไว้เป็นหมวดๆ ตามล าดับตัวเลข เช่น หมวดธรรมะข้อเดียวเรียกเอกนิบาต หมวดธรรมะ 2 ข้อ เรียกทุกนิบาต เป็นต้น รวมพระสูตรในหมวดนี้ทั้งสิ้น จ านวน 9,557 สูตร 5. ขุ = ขุททกนิกาย แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน 4 หมวดข้างต้นมารวมไว้ในหมวดนีท้ั้งหมด

Page 39: อริยสัจ 4 · 2017-06-07 · อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

3) พระอภิธรรมปิฎก มีเนื้อหาว่าด้วยหลักธรรมล้วนๆ ทีอธิบายในเชิงวิชาการ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ส่วนมากเป็นค าสอนด้านจิตวิทยาและอภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา อยู่ในเล่มที่ 34-45 รวม 12 เล่ม