ฮอมผญา ๓๐ ปี...

391

Upload: others

Post on 23-Oct-2019

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่เอกสารวิชาการ ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ ล�าดับที่ ๓ISBN 978-616-300-134-4

    ผู้จัดพิมพ์และเจ้าของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

    กรรมการที่ปรึกษา พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. พระธรรมมังคลาจารย์ พระเทพวรสิทธาจารย์ พระเทพโกศล พระเทพปริยัติ พระเทพมังคลาจารย์ พระราชวรมุนี, ดร. พระราชสิงหวรมุนี พระศรีคัมภีรญาณ, รศ.ดร. พระราชรัชมุนี พระโพธิรังสี พระครูพิพิธสุตาทร, ดร. พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, ดร. ศ. เกียรติคุณ แสง จันทร์งาม ผศ. รุ่งเรือง บุญโญรส รศ. สมหมาย เปรมจิตต์ รศ. ดร. สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ รศ.ดร. บุณย์ นิลเกตุ รศ. ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล นายเจริญ มาลาโรจน์

    บรรณาธิการ พระใบฏีกาเสน่ห์ ญาณเมธี, ดร.

    กองบรรณาธิการ พระทิพย์พนากรณ์ ชยาภินนฺโท พระนคร ปญฺญาวชิโร พระศิลปชัย สนฺติกโร นางไฉไลฤดี ยุวนะศิริ ดร. บุศรา โพธิสุข นางรุ่งทิพย์ กล้าหาญ นางประไพศิริ สันติทฤษฎีกร นางสาวสกุณา คงจันทร์ นายภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม นายอภิชาติ โพธิพฤกษ์

    พิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม ๒๕๕๗

    จ�านวน ๑,๐๐๐ เล่ม

    พิมพ์ที่ บริษัท ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จ�ากัด ๔๑๒/๓๑ เชียงใหม่แลนด์ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๐๐ โทร. ๐๕๓-๒๗๒๐๗๙, โทรสาร ๐๕๓-๒๗๒๐๘๑ E-mail : [email protected] Facebook : Trio advertising & media co.,ltd.

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ 1

  • ค�าอนุโมทนาพจน์อธิการบดีค�าอนุโมทนาพจน์ประธานสภาวิทยาเขตเชียงใหม่ค�าอนุโมทนาพจน์รองอธิการบดี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ บทบรรณาธิการ

    ตอนที่ ๑ ล้านนาศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนจากแคว้นโยนสู่แคว้นพิงค์ : การขยายอ�านาจของพญามังรายจากลุ่มน�้ากก-น�้าโขงสู่ลุ่มน�้าปิง รองศาสตราจารย์ ดร.รัตนาพร เศรษฐกุล

    อักษรธรรมในเขตลุ่มน�้าโขงและสาละวิน รองศาสตราจารย์ เรณู วิชาศิลป์

    ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและพิธีกรรมทางพุทธศาสนา อาจารย์ยุพิน เข็มมุกด์

    ชาติลอด : คติการบูชาจุลชาติของพระพุทธเจ้าในกลุ่มชาติพันธุ์ไท พระนคร ปญฺญาวชิโร (ปรังฤทธิ์)

    พระญาณคัมภีระ : มหาปราชญ์แห่งล้านนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อินทนนท์

    พระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านนา : อดีตสู่ปัจจุบัน ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์

    พุทธศิลป์ล้านนากับการต่อยอดองค์ความรู้สู่การสร้างสรรค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลิปิกร มาแก้ว

    มหาวนารามปุปผะสวนดอกไม้กับการสร้างพระไตรปิฎก อาจารย์ดิเรก อินจันทร์

    สารบัญ

    เรื่อง / ผู้เขียน หน้า

    ๔๖๗๘

    ๙๑๐

    ๓๙

    ๖๙

    ๘๕

    ๑๒๐

    ๑๓๐

    ๑๗๒

    ๑๘๒

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่2

  • ข้าวัดในล้านนา อาจารย์ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว

    มูลพระพุทธศาสนาในเมืองนครน่าน พระชยานันทมุนี, ดร.

    หลักธรรมจากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน อาจารย์สมคิด นันต๊ะ

    คติการสร้างบ้านแปลงเมือง อาจารย์ศรีเลา เกษพรหม

    อานิสงส์วัจจกุฎี รองศาสตราจารย์ ดร. อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์

    ทัศนะของผู้น�าชาวพุทธเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในอาเชียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เทพประวิณ จันทร์แรง และนายพัลลภ หารุค�าจา

    ตอนที่ ๒ การบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่บทความพิเศษ ไตรสิขาการศึกษาวิถีพุทธ พระมหาดวงจันทร์ คุตฺตสีโล, ดร.

    วิปัสสนากรรมฐานกับทฤษฎีควอนตัม ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์จ�าลอง ดิษยวณิช

    การปรับประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนแบบองค์รวม อาจารย์รุ่งทิพย์ กล้าหาญ

    กลไกทางพระพุทธศาสนา : การส่งเสริมสุขภาวะด้านจิตใจของผู้สูงอายุ พระมหาไกรสร โชติปญฺโญ (แสนวงค์)

    พุทธธรรมกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติทางสังคม ดร.บุศรา โพธิสุข

    เรื่อง / ผู้เขียน หน้า

    ๑๙๓

    ๒๓๔

    ๒๖๖

    ๒๗๓

    ๒๘๔

    ๓๐๔

    ๓๒๑๓๒๒

    ๓๒๙

    ๓๔๕

    ๓๕๕

    ๓๗๘

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ 3

  • ขออนุโมทนายินดีที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ที่ได้ด�าเนินการเปิดการเรียนการมาครบ ๓๐ ปี แห่งการก่อตั้งวิทยาเขตเชียงใหม่ในปี ๒๕๕๗ นี้ วิทยาเขตเชียงใหม่ นับเป็นวิทยาเขตแห่งที่ ๓ ที่ก่อตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค และเป็นวทิยาเขตแห่งแรกของมหาวทิยาลยัมหาจฬุาลงกรณราชวทิยาลยัทีต่ัง้ในเขตภาคเหนอื เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗

    พระเถรานุเถระ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ตลอดถึงคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ได้มีส่วนก่อร่างสร้างวิทยาเขตแห่งนี้ด้วยการร่วมมือร่วมใจ ทุ่มเท เสียสละก�าลังกายและก�าลังสติปัญญาบริหารจัดการวิทยาเขตเชียงใหม่ให้มีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยล�าดับดังที่ปรากฏชัดในปัจจุบัน ทั้งนี้ เพราะอาศัยทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือร่วมใจด้วยดีเสมอมา

    วทิยาเขตเชยีงใหม่มพีฒันาการทีเ่จรญิก้าวหน้ามกีารบรหิารจดัการทีม่ปีระสทิธภิาพบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ๓๐ ปี ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ก็ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยทั้งในด้านการเรียนการสอน งานวิชาการและวิจัย งานบริการวิชาการแก่สังคม และงานท�านุบ�ารุงพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จนเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับจากสังคมในฐานะมหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ไทย ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ได้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยแห่งนี้ไว้ เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านพระพุทธศาสนาและวิชาการชั้นสูง

    อนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้มหาวิทยาลัยจะมีก้าวย่างที่ส�าคัญยิ่ง คือการเปิดประชาคมอาเซยีน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึง่จะเป็นสิง่ทีท้่าทายมหาวทิยาลยัในการเข้าสูป่ระชาคมอาเซยีน ดงันัน้ มหาวทิยาลยัจงึได้จดัเตรยีมความพร้อมทัง้การจดัการเชงิรกุและการจดัการเชงิรบัในเรือ่งการจดัการศกึษาทีก้่าวหน้าและก้าวไกล ขณะนี ้วทิยาเขตเชยีงใหม่ได้รบัมอบทีด่นิ จ�านวนพื้นที่ ๙๐๖ ไร่ ณ อ�าเภอดอยสะเก็ด เพื่อรองรับความเจริญและการขยายตัวด้านกายภาพซึ่งถือได้ว่ามีการเตรียมความพร้อมอย่างดีระดับหนึ่ง

    ค�าอนุโมทนาพจน์

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่4

  • (พระพรหมบัณฑิต) ศ.ดร.อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    กรรมการมหาเถรสมาคมเจ้าคณะภาค ๒

    เจ้าอาวาสวัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร

    ดังนั้น ในโอกาสครบรอบ ๓๐ ปี แห่งการก่อตั้งวิทยาเขตเชียงใหม่ในปีนี้ กล่าวได้ว่าวิทยาเขตเชียงใหม่มีความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนซึ่งจะต้องจัดเตรียมยุทธศาสตร์เชิงรุก นั่นคือ การใช้ปัญญาในการน�าไปสู่สถาบันการศึกษาทางด้านพระพุทธศาสนาทีม่คีณุภาพและยทุธศาสตร์เชงิรบั คอื การใช้สต ิในการต่อสูก้บัอปุสรรคปัญหาอกีมากมายที่จะเกิดขึ้น

    หวังว่า วิทยาเขตเชียงใหม่มีความสามารถเพียงพอที่จะร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนี้ ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาที่ก้าวหน้าในระดับอาเซียนและก้าวไกลในระดับโลก

    ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และอานิสงส์แห่งธรรมทานที่ทุกท่านได้ม ีส่วนร่วม จงมาคุ้มครองป้องกันรักษาผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต และสาธุชนผู้ถวายความอุปถัมภ์วิทยาเขตเชียงใหม่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ขอให้ทุกท่านได้มีส่วนอนโุมทนาบญุกศุลจรยิาสมัมาปฏบิตัทิีเ่กดิขึน้จากการจดัการศกึษาพระพทุธศาสนา ขอให้ ทกุท่านจงเจรญิงอกงามไพบลูย์ในบวรพระพทุธศาสนา และเพยีบพร้อมด้วยจตรุพธิพรชยั คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ธรรมสารสมบัติ ตลอดกาลนาน เทอญ

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ 5

  • มหาวทิยาลยัมหาจฬุาลงกรณราชวทิยาลยั วทิยาเขตเชยีงใหม่ เป็นสถาบนัการศกึษาระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์ไทย ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะพระสังฆาธิการและพุทธศาสนิกชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้จัดตั้งเป็นวิทยาเขตเชียงใหม่ ณ วัดสวนดอกพระอารามหลวง โดยเริ่มด�าเนินการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จวบจนปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๗) นับเป็นระยะเวลา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่จึงเป็นแหล่งการศึกษาเรยีนรูพ้ระไตรปิฎกและวชิาชัน้สงูทีบ่รูณาการกบัหลกัธรรมทางพระพทุธศาสนาของนสิติทั้งพระภิกษุ-สามเณร และคฤหัสถ์มาอย่างต่อเนื่อง

    ในโอกาสครบครอบ ๓๐ ปี แห่งการก่อตั้ง มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้มีการจัดท�าหนงัสอืรวมบทความทางวชิาการ เพือ่เป็นทีร่ะลกึในโอกาสอนัเป็นมหามงคลนี ้นบัเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับการศึกษาและเเลกเปลี่ยนความรู้ด้านพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ล้านนา จากครบูาอาจารย์ในสถาบนัการศกึษาต่างๆ เป็นการเพิม่คณุค่าทางปัญญาให้กบังานเฉลิมฉลอง ๓๐ ปี มจร.วิทยาเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี

    จึงขออนุโมทนากับคณะผู้จัดท�าหนังสือและครูบาอาจารย์ทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจจัดท�าหนังสือที่มีคุณค่าเล่มนี้จนส�าเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    ค�าอนุโมทนาพจน์

    (พระเทพโกศล)ประธานสภาวิทยาเขตเชียงใหม่

    เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่6

  • ในโอกาสอันเป็นมหามงคลครบรอบ ๓๐ ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ คณะกรรมการจัดงานฉลองครบรอบ ๓๐ ปี ฝ่ายวิชาการและกิจกรรม ได้จัดท�าหนังสือ ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ เพื่อน�าเสนอบทความทางวชิาการของนกัวชิาการ นกัวจิยั และผูช้�านาญการด้านพระพทุธศาสนา ประวตัิศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมล้านนา จากสถาบนัการศึกษาระดบัอดุมศกึษาในภาคเหนือจ�านวนหลายท่านหลายบทความ

    การจัดท�าหนังสือรวมบทความเล่มนี้มีคุณูปการส�าคัญ ๓ ประการ ได้แก่ ประการแรก เป็นการจัดท�าฐานข้อมูลด้านพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมล้านนา โดยผ่านกระบวนการจัดเก็บรวบรวม และศึกษาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ท�าให้นสิติและผูส้นใจสามารถน�าไปพฒันาการเรยีนรูใ้ห้ดยีิง่ขึน้ ประการที ่๒ บทความทีร่่วมน�าเสนอสามารถน�ามาบรูณาการกบัการเรยีนการสอน การจดักจิกรรมของนสิติ และการท�านุบ�ารุงพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ประการที่ ๓ เป็นการสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนความรู้ การศึกษา การวิจัย และการท�านุบ�ารุงพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมล้านนาร่วมกันกับวิทยาเขต/สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือ ตลอดจนถึงนักวิชาการ นักวิจัย และผู้ช�านาญการ อันจะท�าให้การศึกษามีพัฒนาการที่กว้างขวางและรอบด้านมากขึ้น

    จงึขออนโุมทนากบักรรมการฝ่ายวชิาการและกจิกรรมทีไ่ด้จดัท�าหนงัสอืเล่มนี ้ตลอดจนถึงคณะครูบาอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ช�านาญการทุกท่านทุกสถาบันที่ได้มีความวิริยะอุตสาหะเขียนบทความทางวิชาการร่วมน�าเสนอเป็นวิทยาทาน มา ณ โอกาสนี้

    ค�าอนุโมทนาพจน์

    (พระราชสิงหวรมุนี)รองอธิการบดี

    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ 7

  • หนังสือ ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ เป็นหนังสือรวมบทความทางวิชาการที่นักวิชาการ นักวิจัยและผู้ช�านาญการ จากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือได้ร่วมน�าเสนอในโอกาสครบรอบการก่อตั้ง ๓๐ ปี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิยาลยั วทิยาเขตเชยีงใหม่ โดยแบ่งประเดน็การน�าเสนอออกเป็น ๒ ตอน ได้แก่ ตอนที่ ๑ ล้านนาศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ตอนที่ ๒ การบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่

    ค�าว่า ฮอมผญา ในอักษรล้านนาเขียนเป็น ปริวรรตสู่อักษรไทยกลางเป็น รอมประหยา แต่ออกเสียงในภาษาถิ่นล้านนาว่า ฮอม-ผะ-หยา (ในระบบอักขรวิธีล้านนา ร จะออกเสียงเป็น ฮ ส่วน ปร จะออกเสียงเป็น ผ) ในที่นี้จะใช้ค�าว่า ฮอมผญา ตามส�าเนียงพูดเป็นชื่อหนังสือ ค�าว่า ฮอม (รอม) หมายถึง การรวบรวม การสะสม การสมทบเข้าด้วยกัน ส่วนค�าว่า ผญา (ประหยา) หมายถึง ปัญญาหรือความรู้ ดงันัน้ค�าว่า ฮอมผญา จงึหมายถงึการรวบรวมความรูจ้ากนกัวชิาการ นกัวจิยั และผูช้�านาญการมาสมทบกันในลักษณะบทความแล้วจัดพิมพ์เป็นหนังสือชุดความรู้ที่หลากหลาย

    คณะผู้จัดท�าขออนุโมทนาขอบคุณคณะครูบาอาจารย์ทุกท่านที่ได้ร่วมน�าเสนอบทความทางวิชาการ และขอมอบความรู้อันทรงคุณค่านี้ให้แก่นิสิตและผู้สนใจ เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้และธ�ารงรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในประชาคมอาเซียนต่อไป

    พระใบฎีกาเสน่ห์ ญาณเมธี, ดร.บรรณาธิการ

    บทบรรณาธิการ

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่8

  • บทที่๑

    ล้านนาศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน

  • ในช่วงเวลาทีอ่าณาจกัรหรภิญุไชยก�าลงัรุง่เรอืงอยูใ่นลุม่น�า้ปิงในระหว่างพทุธศตวรรษ ที ่๘-๑๓ นัน้ ในพืน้ทีลุ่ม่น�า้โขง-น�า้กกมบ้ีานเมอืงของกลุม่คนไทก่อตัง้ขึน้แล้ว๒ ชนิกาลมาล-ีปกรณ์เรียกบ้านเมืองลุ่มน�้าโขง-น�้ากกนี้ว่า “แคว้นโยน”๓ เป็นกลุ่มบ้านเมืองที่ผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์ทางเครือญาตินับเนื่องตั้งแต่ปฐมกษัตริย์ของแคว้นหิรัญนครเงินยาง คือ ลวะจังกราช เชื้อสายของพระองค์ได้สร้างบ้านแปงเมืองอยู่ตามลุ่มแม่น�า้ต่างๆ สืบทอดกนัมา โดยเจ้าเมอืงทัง้หลายต่างมอี�านาจอสิระในการปกครองบ้านเมอืงของตนเอง จนถงึพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พญามังรายผู้ครองเมืองเชียงแสนทรงรวบรวมชุมชนบ้านเล็กเมืองน้อยเพื่อสร้างอ�านาจที่เข้มแข็งของกษัตริย์ หลังจากนั้นได้ทรงขยายอ�านาจจากพื้นที ่ลุ ่มน�้ากก-น�้าโขงลงมายังลุ ่มน�้าปิง ทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นทางการเมืองให้กับ แคว้นโยนจนก่อเกดิเป็นอาณาจกัรล้านนาทีไ่ด้พฒันาเป็นศนูย์อ�านาจทางการเมอืงทีส่�าคญัแห่งหนึง่ในดนิแดนเอเชยีตะวนัออกเฉยีงใต้ตอนบน เป็นศนูย์กลางการค้าทางบกระหว่างดินแดนตอนใต้ของจีนกับหัวเมืองชายฝั่งทะเล และเป็นศูนย์กลางส�าคัญในการเผยแผ่ พุทธศาสนาไปสู่รัฐไททางเหนือ

    บทความฉบับนี้จะศึกษาถึงการสร้างบ้านแปงเมืองของพญามังรายและการขยายอ�านาจจากดินแดนลุ่มน�้ากก-น�้าโขงลงมาสู่ดินแดนลุ่มน�้าปิง โดยมีแรงผลักดันส�าคัญ คือ การขยายอ�านาจของจีนลงมาทางใต้และความต้องการสร้างศูนย์อ�านาจทางการเมืองที่มั่นคง และปัจจัยสู่ความส�าเร็จ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างพญามังรายกับชาวลัวะซึ่งเป็นก�าลังส�าคัญในการสร้างบ้านแปงเมืองของพระองค์ การสถาปนาพุทธศาสนาเพื่อสร้างบรูณาการทางวฒันธรรมอนัน�าไปสูค่วามเป็นปึกแผ่นทางการเมอืง และการสร้างพนัธมติรในกลุ่มรัฐไททั้งทางตอนเหนือและตอนใต้

    จากแคว้นโยนสู่แคว้นพิงค์ : การขยายอ�านาจของพญามังรายจากลุ่มน�้ากก-น�้าโขงสู่ลุ่มน�้าปิง*

    รองศาสตราจารย์ ดร.รัตนาพร เศรษฐกุล๑

    *บทความนีเ้ป็นส่วนหนึง่ของงานวจิยัเรือ่งประวตัศิาสตร์เศรษฐกจิและวฒันธรรมแอ่งเชยีงใหม่-ล�าพนู ได้รบัการสนบัสนนุทนุวจิยัจากส�านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และส�านักพิมพ์ซิลค์เวอร์มบุคส์จัดพิมพ์๑นักวิชาการอิสระ๒คนไทเป็นกลุ่มคนที่มีการอพยพโยกย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ในพื้นที่ลุ่มน�้าต่างๆ ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าคนไทมาจากไหน ๓แสง มนวิทูร.ชินกาลมาลีปกรณ์. (พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๕๐๑), หน้า๙๓.

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่10

  • พญามังราย : ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

    พญามังรายทรงเป็นเชื้อสายของลวะจังกราช ประสูติเมื่อปีกุน พ.ศ. ๑๗๘๑ พระ-บิดา คือ พญาลาวเมงและนางเทพค�าข่ายซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์สิบสองปันนา พญามังรายครองราชย์ต่อจากพระบิดาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๐๕ ประวัติศาสตร์ล้านนาเริ่มในรัชสมัยของพระองค์เพราะเป็นสมัยที่ต�านานบ่งชี้ศักราชชัดเจน ต่างจากสมัยก่อนที่ยังมีลักษณะของปรัมปราคติ และสมัยของพระองค์เป็นสมัยที่มีการรวบรวมบ้านเมืองเป็นปึกแผ่น พญามังรายนับเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของบ้านเมืองในยุคนั้น ทรงประกอบไปด้วยพระปรชีาสามารถทางการทหารและไหวพรบิปฏภิาณทางการเมอืง ทีส่�าคญัพระองค์ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ปกครองรัฐไททางตอนบนอย่างสิบสองปันนาและรัฐไทใหญ่ ท�าให้พระองค์สามารถขยายอ�านาจออกไปอย่างกว้างขวาง ทรงใช้ทั้งก�าลังความสามารถทางการรบและกลยุทธ์ทางการเมืองในการด�าเนินนโยบายขยายอ�านาจของพระองค์

    ต�านานกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการรวบรวมบ้านเมืองว่า เกิดจากการที่พญามังรายทรงเหน็ความเดอืดร้อนของไพร่บ้านพลเมอืงทีผู่ป้กครองบ้านเลก็เมอืงน้อยต่างท�าสงครามแย่งชิงไพร่พล ที่ดินและไร่นา เกิด “เป็นทุกข์แก่ไพร่ไทนัก”๑ เพื่อแก้ปัญหาให้แก่ไพร่พล พระองค์จึงเริ่มนโยบายสร้างสมอ�านาจด้วยการรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้ามาอยู่ภายใต้อ�านาจของพระองค์โดยทรงอ้างสิทธิธรรมทางการปกครอง จากการที่พระองค์เป็นเชื้อสายของลวะจังกราช ที่ท�าให้ฐานะของพระองค์แตกต่างจากกษัตริย์พระองค์อื่นที่ขึ้นครองเมืองต่างๆ สัญลักษณ์ของอ�านาจที่ส�าคัญ คือ การที่ทรงได้รับน�้ามุรธาภิเษก อีกทั้งเป็นเจ้าของเครื่องราชาภิเษกที่ได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษผู้สืบทอดอ�านาจจากลวะจังกราช พิธีกรรมและเครื่องสูงต่างๆ เหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันอ�านาจ อันชอบธรรมของพระองค์ว่าเหนือกว่าเจ้าเมืองอื่นๆ เนื่องจากบรรดาเมืองต่างๆ ทั้งหลายล้วนแต่เป็นเครือญาติกัน พญามังรายจึงได้ใช้วิธีการเกลี้ยกล่อมในชั้นแรกและใช้ก�าลังปราบปราม หากขัดขืน ทรงได้เมืองต่างๆ เข้ามาอยู่ภายใต้ร่มโพธิสมภารเป็นจ�านวนมาก จะเห็นได้ว่าในช่วงต้นรชัสมยัของพระองค์นัน้ทรงท�าศกึสงครามอย่างต่อเนือ่ง พร้อมกบัการสะสมก�าลงัคนและ “เลี้ยงดูเสนาอามาจคนแกล้วหาญมากนัก” เมืองต่างๆ ที่พระองค์ยึดได้นั้นเป็นเมืองที่มีความส�าคัญด้านก�าลังคนและด้านยุทธศาสตร์ เช่น เมืองฝางและเมืองเซริง เป็นเมืองส�าคัญที่มักถูกเกณฑ์มาช่วยท�าสงครามครั้งใหญ่ๆ ตลอดสมัยประวัติศาสตร์ล้านนา

    ๑อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ.ต�านานพื้นเมืองเชียงใหม่. (เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์มบุคส์, ๒๕๔๓), หน้า ๑๕.

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ 11

  • ๒อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ, อ้างแล้ว, หน้า ๑๕.๓วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ).ปาไป่สีฟู่-ปาไปต้าเตี้ยน. (กรุงเทพ : รุ่งแสงการพิมพ์, ๒๕๓๙), หน้า ๓๖.

    ความส�าเร็จในการขยายอ�านาจไปเหนือบ้านเล็กเมืองน้อยเหล่านี้ท�าให้พญามังรายได้รับการยกย่องให้มีฐานะสูงกว่าเจ้าเมืององค์อื่นๆ โดยเจ้าเมืองที่อยู่ภายใต้อ�านาจของพระองค์เรียกพระองค์ว่า “เจ้าเหนือหัว”๑ เพื่อยกย่องให้พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีอ�านาจเหนือเจ้าเมืองอื่นๆ ที่ยังมีอ�านาจในการปกครองบ้านเมืองของตนเอง ตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงท�าสงครามรวบรวมบ้านเมอืงให้เป็นปึกแผ่นและป้องกนัการรกุรานจากศตัรูภายนอก

    การขยายอ�านาจของจีนลงมาทางใต้

    นอกจากน�า้พระทยัทีห่่วงใยราษฎรดงักล่าวมาแล้ว แรงผลกัดนัทีท่�าให้ทรงรเิริม่สร้างอ�านาจทางการเมอืงทีเ่ข้มแขง็ในลุม่น�า้กก-น�า้โขงนัน้มาจากการขยายอ�านาจของจนีในสมยั ของราชวงศ์มองโกลที่ก�าลังปราบปรามบ้านเมืองของกลุ่มชนเผ่าต่างๆ บริเวณชายแดน ในสมัยนี้จีนให้ความส�าคัญกับยูนนานและดินแดนตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนานเป็นพิเศษ เพราะต้องการควบคมุเส้นทางการค้าบรเิวณชายแดน หลงัจากกองทพัมองโกลยดึอาณา- จักรต้าหลี่ ซึ่งเดิมคืออาณาจักรน่านเจ้าได้ใน พ.ศ. ๑๗๙๖ จีนสามารถขยายอ�านาจลงไปทางใต้และตะวนัออกเฉยีงใต้ เพือ่ปราบปรามดนิแดนหรอืรฐัต่างๆ ทีเ่คยตดิต่อสมัพนัธ์กบัอาณาจักรนี้ ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๐๓-๑๘๐๖ กองทัพมองโกลได้ปราบชนเผ่าฟันทอง (ลัวะ) และไปอี๋ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนไทให้ยอมอ่อนน้อมต่อจีนได้๒ จะเห็นได้ว่าในสมัยของจักร- พรรดกิบุไลข่าน จนีมนีโยบายขยายอ�านาจลงมาควบคมุอาณาจกัรในเอเชยีตะวนัออกเฉยีงใต้ตอนบน ในชัน้แรกได้ส่งทตูไปตดิต่อให้ยอมสวามภิกัดิก์บัจนี ปรากฏว่าทตูจนีถกูท�าร้ายหรอืฆ่าตายจนีจงึส่งกองทพัไปปราบ ใน พ.ศ. ๑๘๒๓ จนียดึอาณาจกัรจามปา สองปีต่อมาจนีส่งกองทพัเข้าตอีาณาจกัรเขมร และยดึครองอาณาจกัรพกุามได้ใน พ.ศ. ๑๘๒๖ อย่างไรกต็ามการส่งกองทพัจนีมาท�าสงครามปราบปรามอาณาจกัรเหล่านีท้�าได้ยากล�าบากเพราะทหารจีนไม่สันทัดภูมิประเทศและภูมิอากาศของท้องถิ่น ท�าให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บและขาดเสบียงอาหาร จีนจึงพอใจที่จะใช้วิธีการเกลี้ยกล่อมมากกว่า

    ต�านานล้านนากล่าวถงึความสมัพนัธ์ระหว่างล้านนากบัจนีน้อยมาก ในขณะทีเ่อกสารของจีนกลับระบุถึงความสัมพันธ์กับปาไป่สีฟู่ที่ด�าเนินมาอย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยพม่ายึดครอง เอกสารจนีสมยัราชวงศ์หยวนหรอืหยวนสือ่ เรยีกแคว้นโยนว่า “ปาไป่สฟีู”่ หมายถงึเมืองสนมแปดร้อย ซึ่งขณะนั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเงินยางหรือเชียงแสน ระยะทางจาก

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่12

  • ๑วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ), อ้างแล้ว, หน้า ๓๕-๓๘.๒วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ), อ้างแล้ว, หน้า ๓๙.

    ปาไป่สีฟู่ไปถึงที่ว่าการข้าหลวงจีนที่ยูนนานไม่ไกลมากนักใช้เวลาเดินทาง ๓๘ วัน หยวนสือ่กล่าวถงึอาณาเขตของปาไป่สฟีูว่่า “…ประเทศนีม้อีาณาเขตใหญ่ ทางเหนอืตดิกบัเชอ- หลี่ (เชียงรุ่ง) ทางใต้ติดกับ ปอเล่อ (อาณาจักรชาวปกเลิง-สุโขทัย) ทางตะวันออกติดกับลาวและทางตะวนัตกตดิกบัพม่า…” ข้อมลูจากเอกสารจนีแสดงถงึความเป็นรฐัของแคว้นโยนทีม่อีาณาเขตทีแ่น่นอนและเป็นทีย่อมรบัของชาตมิหาอ�านาจอย่างจนี นอกจากอ�านาจทางการเมืองที่เข้มแข็ง แคว้นโยนยังมีคติความเชื่อทางศาสนาหลักของบ้านเมือง โดย “…ชาวปาไป่สฟีูม่ศีรทัธาปสาทะในพระพทุธศาสนาอย่างแรงกล้า เพราะในแต่ละหมูบ้่านมีวัดๆ หนึ่งในแต่ละวัดมีเจดีย์แห่งหนึ่ง…”๑

    การขยายอ�านาจของมองโกลลงมาทางใต้ส่งผลต่อการเมอืงภายในของล้านนา และ ท�าให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับล้านนาในสมัยของพญามังรายจนถึงสมัยพญาครามนั้น ตึงเครียด เอกสารจีนแสดงถึงปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในภูมิภาค การแย่งชิงอ�านาจระหว่างรัฐต่างๆ เช่น พุกาม ไทใหญ่ และอาณาจักรมาวหลวง ท�าให้จีนต้องเข้ามาแทรกแซง เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชานแดน จนกระทั่งยึดครองภาคเหนือและภาคกลางของพม่าใน พ.ศ. ๑๘๒๘๒ หลังจากปราบปรามอาณาจักรพุกามได้แล้ว ใน พ.ศ. ๑๘๓๓ จีนใช้นโยบายเกลี้ยกล่อมและข่มขู่ให้รัฐไทยอมสวามิภักดิ์

    นโยบายของจีนต่อสิบสองปันนาส่งผลต่อล้านนาในสมัยพญามังราย เมื่อกษัตริย์ของสิบสองปันนาและเจ้าเมืองยอมสวามิภักดิ์ต่อจีนใน พ.ศ. ๑๘๓๓ จีนจึงเริ่มขยายอ�านาจลงมาสู่ล้านนา ในปี ๑๘๓๕ จีนได้ตั้งส�านักงานบริหารราชการที่สิบสองปันนา ในตอนนั้นสิบสองปันนาแบ่งเป็นสองฝ่าย ต่างมีกษัตริย์ของตนเอง ปรากฏว่าพญามังราย ร่วมมือกับกษัตริย์องค์หนึ่ง บุกเมืองเชียงรุ่ง ในขณะเดียวกันพระองค์มีสัมพันธไมตรีอันดีกับกับพี่น้องไทใหญ่ที่ยึดครองอ�านาจในพม่าอยู่ เห็นได้ชัดว่าจีนให้ความสนใจล้านนา มากขึ้นเมื่อจีนขยายอ�านาจลงมายึดครอง สิบสองปันนาได้แล้ว ท�าให้พญามังรายทรงเตรียมการรับมือกับการขยายอ�านาจของจีนอย่างเต็มที่ การที่ทรงส่งกองทัพไปช่วย สิบสองปันนาต่อต้านอ�านาจของจีนเป็นการสกัดกั้นมิให้จีนขยายอ�านาจลงมาสู่ดินแดนแคว้นโยนได้สะดวก นโยบายนีท้�าให้จนีเหน็ล้านนาเป็นตวัปัญหาทีต้่องจดัการให้ราบคาบ จึงส่งกองทัพไปปราบ หยวนสื่อ ระบุว่า จีนวางแผนส่งกองทัพมาปราบปาไป่สีฟู่ใน พ.ศ. ๑๘๓๕ มกีารเตรยีมการอย่างใหญ่โต เช่น การสร้างเมอืงป้อมรายทางทางใต้ของเมอืงแลม

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ 13

  • มาสู่ล้านนาเพื่อสะสมเสบียงอาหาร แต่จักรพรรดิกุบไลข่านสวรรคตไปเสียก่อนจึงต้องระงับไว้ ฝ่ายพญามังรายไม่ทรงวางพระทัย พระองค์เร่งสร้างสมอ�านาจและสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการเตรียมรับการขยายอ�านาจของจีน

    หยวนสือ่ระบวุ่าใน พ.ศ ๑๘๔๐ ปาไป่สฟีูเ่ป็นกบฏเข้าโจมตเีชอหลีห่รอืเชยีงรุง่ ต่อมาร่วมมอืกบัเชยีงรุง่ในการโจมตยีนูนาน๑ นโยบายของจนีต้องการปราบปรามปาไป่สฟีูเ่พราะจีนต้องการแก้ปัญหาความขัดแย้งบริเวณชายแดนด้านที่ติดต่อกับพม่าที่ประกอบด้วยรัฐเลก็ รฐัน้อยทีม่กัมกีารกระทบกระทัง่กนัอยูเ่สมอ เป็นเหตใุห้การค้าขายข้ามพรมแดนชะงกั แม้ขุนนางจ�านวนหนึ่งจะต่อต้านการท�าสงคราม แต่หยวนสื่อระบุว่า จักรพรรดิทรงเห็นด้วยกับการท�าสงครามปราบปรามล้านนาและรัฐไทอื่น ใน พ.ศ. ๑๘๔๔ ทรงมีพระบรมราชโองการให้ยกกองทหารไปถึง ๒๐,๐๐๐ คน ทางการยูนนานมีหน้าที่จัดหาพาหนะสนับสนุน ทรงพระราชทานเงิน ๙๒,๐๐๐ ติ้วเป็นค่าใช้จ่ายตระเตรียมกองทัพ เพื่อเสริมก�าลังให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ทรงให้เกณฑ์นักโทษในเสฉวนและยูนนานมาเป็นทหารในกองทัพ มีการจ้างคนเข้าร่วมกองทัพโดยให้เงินเบี้ยคนละ ๖๐ พวง๒ อย่างไรก็ตามการท�าสงครามครั้งนี้ไม่ส�าเร็จเพราะกองทัพจีนถูกกลุ่มคนที่จีนเรียกว่า พวกฟันทองหรือพวกมอญ-เขมรที่อยู่บริเวณชายแดนจีนและพม่าลอบโจมตี จักรพรรดิทรงสั่งประหารแม่ทัพและปลดข้าราชการที่มาท�าสงครามแต่พ่ายแพ้๓

    ความล้มเหลวของกองทพัจนีท�าให้ล้านนาและสบิสองปันนาตอบโต้ด้วยการยกก�าลงัไปโจมตีบ้านเมืองตอนในของยูนนานใน พ.ศ. ๑๘๕๒ จีนไม่ต้องการท�าสงครามในพื้นที่ชายแดนอีกต่อไปจึงได้ส่งคณะทูตไปเกลี้ยกล่อมกษัตริย์ของสิบสองปันนาและล้านนาให้ยอมสวามิภักดิ์แต่โดยดี ทางฝ่ายล้านนาและสิบสองปันนาได้ส่งคณะทูตพร้อมเครื่องราชบรรณาการไปปักกิ่งใน วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๑๘๕๕ นับเป็นการยอมรับอ�านาจของจีน และยุติสงครามที่ยืดเยื้อมานาน

    จนีมโีอกาสขยายอ�านาจมากขึน้หลงัจากพญามงัรายสวรรคตใน พ.ศ. ๑๘๕๕ เพราะความเป็นปึกแผ่นทางการเมืองของล้านนาเริ่มสั่นคลอน กษัตริย์องค์ต่อๆ มาไม่สามารถควบคุมดินแดนทั้งหมดได้ เกิดการแตกแยกออกเป็นรัฐเล็กๆ ที่เป็นอิสระต่อกัน โดยที่ผู้ปกครองมักเป็นพี่น้องหรือเครือญาติในราชวงศ์มังราย มีการแย่งชิงอ�านาจภายในกลุ่ม

    ๑Sai Sam Tip, “The Lu in Sip-Sawng Panna From the Earliest Times Down to A.D. ๑๖๔๔”, M.A. thesis, Arts and Science University, Rangoon, ๑๙๗๖, p.๙๖.๒Sai Sam Tip, Ibid, p.๑๐๓.๓วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ), อ้างแล้ว, หน้า ๑๖๗.

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่14

  • เชื้อพระวงศ์ เช่น เจ้าเมืองพะเยายกกองทัพมาตีเมืองฝาง และขุนเครื่องพระเชษฐาของขุนครามมาตีเมืองเชียงใหม่ที่เจ้าแสนภูผู้เป็นพระนัดดาปกครองอยู่ พญาครามต้องให้เจ้าน�้าท่วมพระโอรสอีกพระองค์หนึ่งมาขับไล่๑

    เมื่อไม่สามารถจะสร้างสมอ�านาจการปกครองที่เข้มแข็งขึ้นเองได้ ผู้ที่ขึ้นมาเป็นกษัตริย์ล้านนาจึงต้องอาศัยอ�านาจจากภายนอกสนับสนุนสิทธิธรรมในการปกครองของตนเอง ส่งผลให้นโยบายของล้านนาต่อจีนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป แทนที่จะท้าทายอ�านาจ ของจีนเหมือนสมัย พญามังราย พญาครามหันมายอมรับอ�านาจของจีน เพื่อให้รับรองฐานะของพระองค์ โดยส่งทูตไปจีนพร้อมกับเครื่องราชบรรณาการ คือ ช้างที่ฝึกแล้ว ๒ เชือก๒ ความสัมพันธ์ในรูปแบบของรัฐบรรณาการนี้เนื่องมาจากต้องการให้จีนรับรองอ�านาจของกษัตริย์ เกิดจากปัญหาความขัดแย้งภายในที่กษัตริย์ไม่สามารถแก้ไข โดยที่ล้านนายังมีอ�านาจในการปกครองตนเอง จีนยินดีที่ล้านนายอมสวามิภักดิ์กับจีนแลกกับการรับรองสิทธิธรรมของกษัตริย์องค์ใหม่ ต่อมาได้กลายเป็น ธรรมเนียมปฏิบัติเมื่อมีการผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ของล้านนาจะต้องแจ้งไปยังราชส�านักจีน

    การสร้างศูนย์กลางอ�านาจทางการเมืองที่มั่นคง

    ในการตอบโต้การรกุรานของจนีนัน้ล้านนาไม่ได้มกี�าลงัทหารเพยีงพอ เพราะจนีเข้มแขง็มากทัง้ทางด้านก�าลงัคนและเทคโนโลยใีนการสูร้บ๓ ข้อได้เปรยีบของล้านนาและรฐัไทบรเิวณชายแดนจนี คอื ทีต่ัง้ทีอ่ยูห่่างไกลจากเมอืงหลวงของจนี แต่กระนัน้กด็จีนีสามารถใช้ยนูนานเป็นศนูย์ควบคมุอ�านาจในพืน้ทีช่ายแดน ท�าให้ส่งก�าลงัเข้ารกุรบได้สะดวก พญามงัรายจงึทรงหนัมาสร้างความเข้มแขง็ภายในด้วยการรวบรวมบ้านเมอืงทัง้หลายให้เป็นอนัหนึง่อนัเดยีวกนัดงัได้กล่าวมาแล้วเป็นขัน้ตอนแรก ขัน้ตอนต่อมา คอื การสร้างศนูย์กลางของอ�านาจหรือเมืองหลวงที่มีชัยภูมิที่เหมาะสมในทางยุทธศาสตร์ พระองค์ทรงแสวงหาที่ตั้งเมืองหลวงที่เหมาะสมในการป้องกันตัวเองและขยายอ�านาจ

    ตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์พญามังรายได้เสด็จประพาสไปตามสถานที่ต่างๆ แสวงหาชัยภูมิที่เหมาะสม เพื่อตั้งบ้านเมืองกระจายไปตามจุดยุทธศาสตร์และเส้นทางการค้า เช่น การตั้งเมืองเชียงตุง และเมืองเชียงราย เพื่อรองรับการรุกลงใต้ของจีน มีการสร้าง

    ๑โครงการวิจัยคัมภีร์ใบลานภาคเหนือ, ต�านานสิบห้าราชวงศ์ ภาคปริวรรต เล่มที่ ๒ ผูกที่ ๓-๕ (เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม, ๒๕๒๕), หน้า ๗.๒วินัย พงศ์ศรีเพียร(บรรณาธิการ), อ้างแล้ว, หน้า ๑๘๒.๓Sun Laichen, “Ming-Southeast Asian Overland Interactions, ๑๓๖๘-๑๖๔๔”, Ph.D dissertation, University of Michigan, ๒๐๐๐, pp.๔๘-๕๒.

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ 15

  • เมืองเล็ก เมืองน้อย เช่น เวียงแช่สัก เมืองพร้าว เมืองแกน และแม่คะชานฯลฯ เป็นการตั้งชุมชนบ้านเมืองเพื่อเป็นก�าลังสนับสนุนอ�านาจของกษัตริย์ ส�าหรับเมืองเชียงตุงนั้น ต�านานพญามงัราย สร้างเมอืงเชยีงตงุ กล่าวว่า พญามงัรายทรงใช้มางคมุมางเคยีนหวัหน้าชาวลัวะไปปราบพวกลัวะที่เชียงตุงและสร้างเวียงขึ้นที่หนองตุงใน พ.ศ. ๑๗๘๖๑ ให้เป็น “ลูกช้างหางเมือง” ในช่วงแรก ที่มังคุมมังเคียนปกครองเมืองเชียงตุงต้องลงไป “เอาเวียกเอาการ” ภายหลังเมื่อพ่อท้าวน�้าท่วม ผู้เป็นหลานของพญามังรายถูกส่งไปปกครองเองเชียงตุงใน พ.ศ. ๑๗๙๖ เชียงตุงเริ่มมีอ�านาจอิสระ ในการปกครองตนเอง และท�าหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านที่ป้องกันการขยายอ�านาจของจีน โดยพ่อท้าวน�้าท่วม ได้ให้สร้างก�าแพง หอรบ และขุดคูเมืองเพื่อรับศึก ปรากฏว่าใน พ.ศ. ๑๗๙๗ จีนยก กองทัพเข้ามาโจมตีแต่ไม่ส�าเร็จ๒

    ในการสร้างเมืองเชียงรายพญามังรายทรงเลือกภูมิประเทศดุจเดียวกับที่พญาลาวเคียงทรงสร้างเมืองเงินยางซึ่งล้อมรอบด้วยภูเขาสามด้าน ต�านานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงลาวเคียงว่า “...แต่งบ้านปองเมืองสลาดนัก” ได้แสวงหาสถานที่เหมาะสมในการสร้างเวียงใหม่๓ ใน พ.ศ. ๑๘๐๕ ทรงสร้างเมืองเชียงรายริมแม่น�้ากก โดยมีดอยจอมทองเป็นสะดอืเมอืงและสร้างก�าแพงเมอืงล้อมรอบ เป็นเมอืงหลวงอยูร่ะยะเวลาหนึง่ เมอืงเชยีงรายมคีวามส�าคญัส�าหรบั แคว้นโยนเพราะมทีีต่ัง้ทีแ่วดล้อมไปด้วยเมอืงใหญ่ มเีมอืงเชยีงแสนอยู่ทางเหนือ พะเยาอยู่ทางใต้ ยากแก่การรุกรานของข้าศึก เป็นสาเหตุหนึ่งที่พญามังรายทรงสร้างเชียงรายขึ้นมา

    หลงัจากนัน้พญามงัรายทรงย้ายไปประทบัอยูท่ีเ่มอืงฝางซึง่เป็นเมอืงส�าคญัชายแดน ที่ติดต่อกับรัฐไทใหญ่ใน พ.ศ. ๑๘๑๑ ทรงใช้เมืองฝางเป็นฐานอ�านาจในการขยายอ�านาจไป ยึดครองเมืองผาแดงเชียงของและยึดครองเมืองเซริงหรือเมืองเทิงได้ใน พ.ศ. ๑๘๑๗ ทัง้สองเมอืงเป็นเมอืงส�าคญัซึง่เป็นแหล่งขมุก�าลงัไพร่พลในการศกึตลอดสมยัของพระองค์ อกีทัง้เป็นการขยายอ�านาจลงไปสูลุ่ม่น�า้องิ ไปประชดิเมอืงพะเยาของพญาง�าเมอืงใน พ.ศ. ๑๘๑๙ เพือ่ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ทรงย้ายราชส�านกัจากเชยีงแสนไปเชยีงรายและ

    ๑ศกัราชทีป่รากฏในต�านานอาจจะคลาดเคลือ่นเพราะมศีกัราชของเหตกุารณ์ต่างๆทีต่�านานบนัทกึไว้แตกต่างกนักว่าสบิปี ในกรณีนี้ต�านานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่าพญามังรายประสูติปี ๑๗๘๑ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่าพระองค์ไปสร้างเมืองเชียงตุงใน พ.ศ. ๑๗๘๖ กรณีของพ่อท้าวน�้าท่วมนั้นต�านานพื้นเมืองเชียงใหม่ได้กล่าวถึงพ่อท่าวน�้าท่วมพระโอรสของพญาครามถูกส่งไปปกครองเชียงตุงใน พ.ศ.๑๘๖๘๒รัตนาพร เศรษฐกุล, “ประวัติศาสตร์เมืองเชียงตุง”, เรื่องเมืองเชียงตุง. (เชียงใหม่ : สุริวงศ์บุคส์เซนเตอร์, ๒๕๓๗), หน้า ๓๐๓เวียงใหม่ของลาวเคียงอยู่ที่บ้านยางเสี้ยว ใกล้แม่น�้าละว้าหรือแม่น�้าสาย

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่16

  • ฝางสลับหมุนเวียนกัน ธ�ารงศักดิ์ ท�าบุญ เสนอว่า พญามังรายทรงประสบความส�าเร็จในการรวบรวมอ�านาจในพืน้ทีแ่คว้นโยนบรเิวณลุม่น�้าโขง-น�า้กก ใน พ.ศ. ๑๘๑๗ อ�านาจของพระองค์เป็นที่ยอมรับในหมู่รัฐ เพื่อนบ้านไปจนถึงตอนเหนือของเวียดนาม๑

    นโยบายของพญามงัราย คอื การสร้างอ�านาจศนูย์กลางทีม่ัน่คงและขยายอ�านาจออกมาครอบคลมุบ้านเมอืงภายนอก ดงัจะเหน็จากการขยายอ�านาจจากเมอืงเงนิยางเชยีงแสนขึ้นไปถึงเชียงตุง และเชียงรุ่ง โดยเน้นสร้างเครือข่ายอ�านาจของเครือญาติ ในพื้นที่ลุ่มน�้ากก-น�้าโขงนั้น ทรงผนึกก�าลังของกลุ่มเมืองโดยมีเมืองเงินยางเชียงแสนเป็นเมืองหลักของกลุม่เมอืงรอง คอื เมอืงเชยีงของ เมอืงเทรงิ เมอืงเชยีงรายและเมอืงฝาง ธดิา สาระยา สรปุว่าพญามังรายเป็นผู้น�าคนแรกที่สามารถสร้างระบบการใช้อ�านาจควบคุมในวงกว้างและถาวร และยังชี้ว่า๒

    ๑ธ�ารงศักดิ์ ท�าบุญ, “ก�าเนิดอาณาจักรลานนาไทย”, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๘, หน้า ๔๘.๒ธิดา สาระยา. กว่าจะเป็นคนไทย. (กรุงเทพ : ส�านักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕๓๑), หน้า ๘.๓บุญวรรณี วิริยะชัยวงศ์, “กระบวนการสร้างบ้านแปงเมืองในแอ่งเชียงใหม่-ล�าพูนสมัยราชวงศ์มังราย พ.ศ.๑๘๐๐-๒๐๓๐”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๓๙, หน้า ๕๓.

    ...การสร้างรฐัของพญามงัรายวางอยูบ่นพืน้ฐานของการรวมก�าลงัคนและชมุชนในที่ราบลุ่มเชียงรายเชียงใหม่เข้าด้วยกัน เกิดการประสมประสานของชนเผ่ากลายเป็นชนชาติ โคตรวงศ์”ลาว”ของพญามังรายขยายอ�านาจโดยการรวมตวัแบบเครอืญาตริะหว่างชนชัน้ปกครองของชนชาตไิตแถบสบิสองปันนาและตอนเหนือของที่ราบลุ่มเชียงราย...

    การที่ระบบการเมืองของแคว้นโยนในระยะแรกเป็นระบบเครือญาติที่อ�านาจการปกครองเมืองต่างๆ กระจายไปอยู่ภายใต้เชื้อพระวงศ์ที่ถูกส่งไปปกครองเมืองนั้นๆ จึงสร้างปัญหาให้กับกษัตริย์องค์ต่อๆ มา บุญวรรณี วิริยะชัยวงศ์ เห็นว่าการขยายอ�านาจของพญามังรายเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการทางการเมืองไปสู่รัฐแบบรวมศูนย์อ�านาจที่เข้มแข็งในรัชสมัยของพญาติโลกราช๓

    การขยายอ�านาจทางการเมืองของแคว้นโยนลงมาสู่ลุ่มน�้าปิงนั้นมีแรงผลักดันจาก ความต้องการทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน ในขณะที่ราบเชียงราย-เชียงแสนซึ่งเป็นที่ตั้งของแคว้นโยนเป็นที่ราบหุบเขาขนาดเล็กแบ่งแยกโดยแม่น�้าหลายๆ สาย พื้นที่เป็นที่สูงไม่สะดวกใน การคมนาคมติดต่อระหว่างชุมชนและควบคุมอ�านาจทางการเมืองเหนือบ้านเมืองต่างๆ ได้ยาก ที่ราบลุ่มน�า้ปิงเป็นที่ราบกว้างขวางเหมาะแก่การขยายตัวของชุมชน

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ 17

  • บ้านเมืองที่มีไพร่พล เพิ่มมากขึ้น สะดวกในการคมนาคมติดต่อ ควบคุมได้ง่าย อีกทั้งมีพืน้ทีใ่นการเพาะปลกูกว้างขวางจงึมคีวามเหมาะสมกว่าทีจ่ะเป็นศนูย์กลางของอาณาจกัร

    ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่ส่งเสริมอ�านาจทางการเมืองของพื้นที่ลุ่มน�้าปิง คือ การค้าขายกับดินแดนทางตอนใต้และรัฐชายฝั่งทะเลที่มีความส�าคัญต่อการเตบิโตขึน้เป็นอาณาจกัรของล้านนา ระบบการผลติของล้านนาตัง้อยูบ่นพืน้ฐานพฒันาการทางเทคนิคและสังคมวัฒนธรรมระดับหนึ่งที่ต้องพึ่งความสัมพันธ์ทางการแลกเปลี่ยนกับภายนอก จะเหน็ได้ว่าความสามารถในการผลติและการขยายตวัทางด้านการผลติในระบบเศรษฐกิจธรรมชาติของล้านนาต้องการการกระตุ้นจากการค้าขายแลกเปลี่ยนกับบ้านเมอืงภายอก เพือ่ให้เกดิการสะสมทนุจากภายในทีจ่ะน�าไปสูพ่ฒันาการทางสงัคมอกีระดบัหนึง่ พืน้ทีลุ่ม่น�า้ปิงสามารถตดิต่อกบับ้านเมอืงในแถบลุม่แม่น�า้สาละวนิทางตะวนัตกและบ้านเมอืงในเขตลุม่น�้าเจ้าพระยาทางใต้ทีพ่ฒันาขึน้มาเป็นรฐัและได้รบัอทิธพิลวฒันธรรมอนิเดยี มหีลกัฐานการค้าขายระหว่างหรภิญุไชยกบัละโว้และเมอืงอืน่ๆ ในลุม่น�้าเจ้าพระยา มีแม่น�้าปิงเป็นเส้นทางการคมนาคมที่ส�าคัญ เมืองหริภุญไชยมีชื่อเสียงว่าเป็นศูนย์กลางการค้าส�าคัญในพื้นที่ลุ่มน�้าปิง เป็นแหล่งรวมการซื้อขายและพ่อค้าจากบ้านเมืองต่างๆ รวมทัง้เมอืงฝางทางตอนเหนอื เป็นตลาดรวบรวมสนิค้าจากบ้านเมอืงลุม่น�้ากก-น�า้โขงไปสูเ่มอืงท่าการค้าบรเิวณลุม่น�้าเจ้าพระยาและเมอืงท่าชายฝ่ังทะเลปากอ่าวไทยและน�าเอาสินค้าจากต่างประเทศไปสู่บ้านเมืองลุ่มน�้ากก-น�้าโขง๑ การผนวกหริภุญไชยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโยนหรือขยายอ�านาจมาครอบครองพื้นที่ส�าคัญทางการค้าเช่นนี้ย่อมจะน�ามาซึ่งความมั่งคั่งให้กับล้านนา

    ลัวะ : ชนพื้นถิ่นกับการสร้างบ้านแปงเมืองของพญามังราย

    ความสัมพันธ์ระหว่างพญามังรายกับกลุ่มชาวลัวะเป็นปัจจัยสู่ความส�าเร็จในการรวบรวมอ�านาจของพญามังราย พญามังรายทรงอาศัยก�าลังและการสนับสนุนจากชนพื้นถิ่นทั้งใน ลุ่มน�้ากก-น�้าโขง และในลุ่มน�้าปิงโดยด�าเนินกุศโลบายในการผสมผสานทางวัฒนธรรมกับกลุ่มลัวะหรือมอญเขมรซึ่งเป็นกลุ่มคนพื้นถิ่น สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางการเมืองระหว่างคนไทและลัวะ๒ จะเห็นได้ว่าพญามังรายไม่ได้สร้างเมือง

    ๑อุษณีย์ ธงไชย, “ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรลานนาไทยและอาณาจักรอยุธยา พ.ศ.๑๘๓๙-๒๓๑๐,” ล้านนาไทย อนุสรณ์พระราชพิธีเปิดพระบรมนุสาวรีย์สามกษัตริย์, เชียงใหม่, ๒๕๒๖-๒๕๒๗, หน้า ๒๔๕.๒นักวิชาการบางกลุ่มมักแบ่งแยกไทและลัวะอย่างชัดเจน โดยก�าหนดว่าคนไทเป็นผู้น�าวัฒนธรรมเมืองไปครอบง�าลัวะ หรือดูดกลืนลัวะเข้าสู่ระบบสังคมเมืองของไท แต่โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น ลัวะได้มีสังคมเมืองของตนในระดับหนึ่งแล้วและการตั้งเมืองของคนไทไม่ว่าจะเป็นการสร้างเมืองเชียงราย เชียงตุง หรือเชียงใหม่ของพญามังรายต่างมีลัวะเป็นองค์ประกอบทางประชากรที่ส�าคัญ หรือแม้แต่ที่ตั้งของเมืองที่สร้างขึ้นก็มักอยู่ใกล้เคียงกับเมืองของลัวะเดิม

    ฮอมผญา ๓๐ ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่18

  • ขึ้นมาใหม่ แต่ได้สร้างกลไกการปกครองใหม่ครอบจากส่วนบนเหนือกลุ่มคนพื้นถิ่นดั้งเดิม คือ กลุ่มลัวะที่ตั้งชุมชนของตนอยู่เองแล้ว

    การยึดอ�านาจของพญามังรายอาศัยชนพื้นถิ่นดั้งเดิม คือ ลัวะ เริ่มตั้งแต่การขยายอ�านาจทางเหนือของลุ่มน�้ากก ความส�าคัญของลัวะในฐานะชาวพื้นถิ่นดั้งเดิมปรากฏในต�านานว่าด้วยการสร้างเมอืงเชยีงตงุ ซึง่เริม่ด้วยการทีพ่ญามงัรายเสดจ็ล่าสตัว์ ทรงตดิตามกวางทองไปถงึดอยจอมทอง ทอดพระเนตรภมูปิระเทศเมอืงเขนิทีร่่มรืน่อดุมสมบรูณ์ ทรงพอพระทยัและมพีระประสงค์จะสร้างเป็นเมอืงให้เป็น “ลกูบ้านหางเมอืง” ทีน่่าสนใจ คอื ต�านานกล่าวถึงปริศนา ที่ทรงให้สลักรูป “พรานแบกหอกจูงหมาพาไถ้”๑ ไว้บนดอยนั้นเชื่อมโยงไปถึงธรรมเนียมลัวะ จูงหมาพาแชกในต�านานพื้นเมืองเชียงใหม่๒ จากการศึกษาหมู่บ้านลัวะพบว่าธรรมเนียมจูงหมาเป็นการแก้เคล็ดในการริเริ่มพิธีกรรมหรืองานมงคลต่างๆ เช่น หากแต่งงานกับผู้ที่ถือผีเดียวกันจะต้องมีพิธีแก้เคล็ดด้วยการให้ฝ่ายหญิงจูงหมาด�าเดินรอบบ้าน ๓ รอบ ฝ่ายชายเดินตามหลัง จากนั้นจะฆ่าหมาเอาเลือดใส่รางข้าวหมูให้เจ้าบ่าวเจ้าสาว ส่องดูเงาตัวเองเพื่อเป็นการป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น๓

    ในครั้งตั้งเมืองเชียงตุงซึ่งเป็นบ้านเมืองลัวะ๔ พญามังรายทรงส่งกองทัพไปยึดครอง ไม่ส�าเร็จ เพราะลัวะมีจ�านวนมาก จึงทรงใช้ให้ลัวะสองพี่น้อง ชื่อ มางคุมมางเคียนไปเป็นไส้ศึก เมื่อยึดเมืองได้ส�าเร็จก็ให้หัวหน้าลัวะเดิมปกครองต่อไป โดยได้เกณฑ�