แผนธุรกิจ business plan) · 3.3...

23
แผนธุรกิจ (Business Plan) ชื่อธุรกิจ สมุนไพรไทบรู ( ชาผักหวาน ) ที่อยู223 หมู่ 4ตาบล ดงหลวง อาเภอ ดงหลวง จังหวัด มุกดาหาร หมายเลขโทรศัพท์ 0872341447 1. บทสรุปผู้บริหาร กลุ่มเกษตรกรทายาทเป็นกลุ่มที่ดาเนินการจาหน่ายผลิตภัณฑ์ชาผักหวานในลักษณะของใบชา ผักหวานอบแห้ง เนื่องจากมองเห็นโอกาสธุรกิจจากการที่ตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพกาลังได้รับความนิยมอย่าง

Upload: others

Post on 05-Dec-2019

27 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

แผนธุรกิจ (Business Plan)

ชื่อธุรกิจ

สมุนไพรไทบร ู ( ชาผักหวาน )

ที่อยู ่ 223 หมู่ 4ต าบล ดงหลวง อ าเภอ ดงหลวง จังหวัด มุกดาหาร หมายเลขโทรศัพท์ 0872341447 1. บทสรุปผู้บริหาร

กลุ่มเกษตรกรทายาทเป็นกลุ่มที่ด าเนินการจ าหน่ายผลิตภัณฑ์ชาผักหวานในลักษณะของใบชาผักหวานอบแห้ง เนื่องจากมองเห็นโอกาสธุรกิจจากการที่ตลาดเครื่องด่ืมเพื่อสุขภาพก าลังได้รับความนิยมอย่าง

Page 2: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

สูงประกอบกับผู้บริโภคให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพกันมากขึ้นรวมทั้งรูปแบบการด าเนินชีวิตในปัจจุบันต้องท างานแข่งกับเวลาท าให้เกิดความเครียด ผลิตภัณฑ์ชาผักหวานเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคเครื่องดื่มสมุนไพรกลุ่มเป้าหมายหลักของทางกลุ่มฯคือผู้บริโภคที่รักการดูแลสุขภาพและนิยมดื่มชาสมุนไพรโดยผลิตภัณฑ์เน้นที่ความมีประโยชน์ต่อสุขภาพการมีสรรพคุณที่หลากหลายตามความต้องการรสชาติอร่อยและความสดใหม่ของสินค้า

โดยมีเป้าหมายทางธุรกิจระยะสั้นคือท าให้ผลิตภัณฑ์ชาผักหวานเป็นที่รู้จักและมีผลก าไรสุทธิเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ10 ในปี 2557 เป้าหมายระยะกลางคือ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาผักหวานเพื่อให้ได้รับการรับรองจาก อ.ย.และเป้าหมายระยะยาวคือเพิ่ มช่องทางการจัดจ าหน่ายผลิตภัณฑ์ชาผักหวาน ตามห้างสรรพสินค้าชั้นน า ร้านค้าสะดวกซื้อ และร้านขายยาทั่วไป

2. วัตถุประสงคใ์นการน าเสนอแผนธุรกิจ เป็นการน าเสนอแผนธุรกิจนี้ต่อ ส านักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมุกดาหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ประกอบการฝึกอบรม 2. พัฒนาธุรกิจ

3. ความเป็นมาของธุรกิจ

3.1 ประวัติของกิจการ

แนวคิดการผลิตชาผักหวานนั้นได้เริ่มประมาณกลางปีพ.ศ. 2555 เมื่อกลุ่มเกษตรกรทายาทในต.ดงหลวง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการเพาะต้นกล้าผักหวานไว้จ าหน่าย ได้น าความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้เกี่ยวกับผักหวานมาพัฒนาแปรรูป เนื่องจากได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของใบผักหวานแก่ซึ่งปกติแล้วคนทั่วไปจะนิยมบริโภคแต่ใบผักหวานอ่อน หรือยอดผักหวาน ท าให้ส่วนใบแก่ไม่เป็นที่ต้องการ ประโยชน์อย่างมากก็แค่น าไปท าเป็นแค่ปุ๋ยเท่านั้น ทางกลุ่มฯจึงได้น าเอากรรมวิธีการผลิตชาผักหวานที่กลุ่มแม่บ้านเครือข่ายไทบรู ริเริ่มเป็นกลุ่มแรกๆในอ.ดงหลวง มาเพิ่มมูลค่าบูรณาการจนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ชาผักหวานส าเร็จรูปที่พร้อมจ าหน่าย

3.2 แนวคิดในการก่อตั้งกิจการ เพื่อสร้างเสริมรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่ม เพื่อต่อยอดจากเดิมที่เป็นเพียงการเพาะกล้าผักหวานจ าหน่าย เพื่อสร้างมูลค่าเพ่ิมให้กับใบผักหวานแก่ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเครือข่ายไทบรูเป็นที่รู้จกัในตลาดมากยิ่งขึ้น เพื่อแปรรูปวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน ์

Page 3: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุ่มเกษตรกรที่ เพาะกล้าผักหวานจ าหน่าย จึงได้มีการรวมกลุ่มสมาชิกภายในชุมชนเพื่อถ่ายทอดความรู้ กระบวนการ กรรมวิธีการท าชาจากผักหวานเพื่อบริโภคกันเองภายในครัวเรือนและท าการจัดจ าหน่าย 3.4 ความส าเร็จ/อุปสรรคที่ผ่านมา ความส าเร็จของกลุ่มฯคือได้รับเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพประจ าต าบล"หนึ่งต าบลหนึ่งผลิตภัณฑ์"(OTOP) อุปสรรคของกลุ่มฯคือ ผลิตภัณฑ์นั้นยังไม่ได้รับการรับรองจากส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) และยังไม่เป็นที่รู้จักของกลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่ อีกทั้งช่องทางการจัดจ าหน่ายยังมีไม่มากนัก

4. ผลิตภัณฑ ์

4.1 รายละเอียดผลิตภณัฑ ์ เป็นผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่แปรรูปจากใบผักหวาน ซึ่งอยู่ในรูปแบบใบชาแห้งพร้อมชง วิธีบริโภค : น าใบชาผักหวานใช่ภาชนะตามความเหมาะสม แล้วเทน้ าร้อนลงไป รอประมาณ3นาที จะได้ชาผักหวานที่พร้อมบริโภคสามารถทานใบชาได้อีกด้วยจะสามารถเพิ่มรสชาดของชาได้อีกแบบหน่ึง ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์สินค้า

Page 4: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

5. การวิเคราะห์อุตสาหกรรมและการวิเคราะห์ตลาด

5.1 สภาวะอุตสาหกรรมและสภาวะตลาด สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม(Rivalry Among Established Firms)

ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ผลิตชาสมุนไพรทั้งรายใหญ่และรายย่อยอยู่จ านวนมากกว่า 200 รายซึ่งในจ านวนนี้ก็มีผู้ผลิตรายใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งตลาดส่วนมากอยูเพียงไมกี่รายเท่านั้นอาทิเช่น บริษัท อิชิตัน บริษัท โออิชิ บริษัท Unsilverเป็นผูผลิตชาเขียวและชาสมุนไพรพรอมดื่มบริษัท เรนอง ที บริษัท สุวิรุฬชาไทย เป็นผู้ผลิตใบชาอบแห้ง อีกทั้งยังมีผู้ผลิตรายยอยซึ่งจะผลิตและจ าหน่ายในตลาดอีกระดับหนึ่งหรือผลิตเพื่อขายในท้องถิ่นหรือขายเพียงในจังหวัดต่างๆเท่านั้น เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลในเบื้องต้นแล้วสภาวะการแข่งในอุตสาหกรรมชาสมุนไพรที่จะส่งผลกระทบต่อกิจการนั้นน้อยมาก เนื่องจากกิจการของกลุ่มฯนั้นจะเจาะกลุ่มตลาดขนาดเล็กตอบสนองความต้องการของผู้ที่อยากได้ผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรที่มีความแตกต่างจากท้องตลาด จึงท าผลิตภัณฑม์ีคู่แข่งไม่มาก

การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ (New Entrants) จากการที่อุตสาหกรรมนี้มีลักษณะกระจัดกระจาย (Fragmented) ซึ่งเกิดจากการที่ตลาดมีผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่เป็นจ านวนมากในการเข้ามาของคู่แข่ง (Barrier to Entry) ค่อนข้างจะสูง เนื่องจากไมตองใช้เงินทุนมาก และไมตองมีเทคโนโลยีชั้นสูงในการเข้ามาประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ ประกอบกับกระแสความนิยมเครื่องดื่มสมุนไพรมีเพิ่มมากขึ้นในขณะนี้จึงเป็นเหตุให้ มีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาเรื่อยๆ ในธุรกิจนี้ ผลคือท าให้เกิดการแข่งขันค่อนข้างสูงและอาจจะต้องใช้กลยุทธ์ต่างมาช่วยในการแข่งขันอันเป็นเหตุให้ต้นทุนสูงขึ้น

สินค้าทดแทน (Substituted Product of Service) ผลิตภัณฑ์ที่จัดเป็นสินค้าทดแทนของเครื่องดื่มชาสมุนไพร(ชาผักหวาน)ก็คือเครื่องดื่มที่สามารถแก้กระหายได้และรักษาสุขภาพโดยในปัจจุบันสามารถจ าแนกได้เป็นประเภทอาทิเช่นน้ าผักและผลไม้ซุปไก่สกัดน้ าเกลือแร่และเครื่องดื่มผสมวิตามินต่างๆ เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ยังมีสินค้าอื่นที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันเช่นลดความกระหายได้แก่น้ าอัดลมโดยสินค้าเหล่านี้แม้ว่าจะมีกลุ่มเป้าหมายหลักต่างจากผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มฯแต่ก็มีคุณสมบัติที่เหมือนกันตรงที่สามารถช่วยลดความกระหายแก่ผู้บริโภคได้ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ผู้บริโภคจะหันเหไปบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้และในทางกลับกันผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มฯ ก็สามารถดึงผู้บริโภคเหล่านี้มาได้เช่นกันเนื่องชาผักหวานเป็น ชาพื้นบ้านรสชาติหอม ราคถูก อีกทั้งยังสามารถบริโภคใบได้อีกด้วย

อ านาจในการต่อรองของผู้จัดจ าหน่าย (Bargaining Power of Supplier) วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชาสมุนไพร(ชาผักหวาน) เป็นผลิตภัณฑ์ทางกลุ่มฯ ปลูกเองส่วนหนึ่งและหาได้ง่ายในท้องถิ่นอีกทั้งมีผู้จ าหน่ายวัตถุดิบเหล่านี้อยู่เป็นจ านวนมากจึงเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจผลิตชาสมุนไพรมีอ านาจในการต่อรองไม่มากนัก

Page 5: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบธุรกิจผลิตชาสมุนไพร(ชาผักหวาน) อาจต้องเผชิญกับปัญหาด้านความไม่แน่นอนของวัตถุดิบภายในพื้นทีถึงแม้ว่าในพื้นที่จะมีวัตถุดิบตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูกของเกษตรกรก็ตามแต่ในส่วนของอุตสาหกรรมผลิตชาสมุนไพรนั้นกลับประสบปัญหาความไม่แน่นอนของวัตถุดิบทั้งนี้เนื่องจากผักหวานอันเป็นสินค้าเกษตรนั้นขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมซึ่งไม่สามารถควบคุมได้นอกจากนี้ผลผลิตยังขึ้นอยู่กับราคาในปีนั้นๆด้วยดังนั้นการก าหนดปริมาณวัตถุดิบให้เหมาะสมและสอดคล้องกับก าลังการผลิตและแผนการตลาดจึงท าได้ยาก

อ านาจในการต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Buyers) เนื่องจากตลาดชาสมุนไพรมีผู้จ าหน่ายอยู่เป็นจ านวนมากอีกทั้งยังมีสินค้าทดแทนอยู่อย่างหลากหลายให้ผู้ซื้อได้เลือกในขณะเดียวกันผู้ผลิตและจ าหน่ายชาสมุนไพรยังไม่สามารถใช้เครื่องมือทางการตลาดมาสร้างความภักดีต่อตราสินค้า (Brand Loyalty) ให้เกิดขึ้นกับลูกค้าอย่างมีประสิทธิผลได้สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือผู้ซื้อสามารถเลือกเปลี่ยนยี่ห้อได้ง่ายหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือลูกค้ามีต้นทุนในการเปลี่ยนตราสินค้า (Switching Cost) ที่ต่ าจึงส่งผลให้ผู้ซื้อมีอ านาจในการต่อรองสูงขึ้น

5.2การแบ่งส่วนตลาดและส่วนแบ่งทางการตลาด การแบ่งส่วนตลาดจะแบ่งตามลักษณะประชากรศาสตร์และภูมิศาสตร์ดังนี้

ด้านประชากรศาสตร์ เป็นผู้รักสุขภาพและนิยมบริโภคชาสมุนไพร

บุคคลทั่วไป

ด้านภูมิศาสตร์ อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียง

อาศัยอยู่ในจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดใกล้เคียง

5.3แนวโน้มทางการตลาด ส าหรับแนวโน้มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาสมุนไพรในอีก 1-2 ปีข้างหน้านั้นคาดว่าน่าจะขยายตัวได้เฉลี่ยประมาณร้อยละ 5-10 ต่อปีทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยทางการตลาดหลายๆปัจจัยอาทิการโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆการเพิ่มช่องทางการจ าหน่ายและพื้นที่การจ าหน่ายให้กว้างขึ้นและการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าทั้งในด้านของรสชาติขนาดบรรจุและด้านราคาเป็นต้นประกอบกับกระแสความใส่ใจในสุขภาพของผู้บริโภคที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องก็น่าจะส่งผลให้เครื่องดื่มชาสมุนไพรเติบโต

5.4ตลาดเป้าหมาย ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ออกไปยังกลุ่มชุมชนต่างใกล้เคียง

กระจายผลิตภัณฑไ์ปสู่ระดับจังหวัดและระดับประเทศ

5.5 ลักษณะทั่วไปของลูกค้า มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพและนิยมดื่มชาสมุนไพร

บุคคลทั่วไป

Page 6: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

5.6คู่แข่งขัน คู่แข่งขันทางตรง คือผู้ผลิตและจ าหน่ายผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรต่างๆทั้งในรูปแบบอบแห้งและพร้อม

ดื่ม คู่แข่งทางอ้อมคือผลิตภัณฑ์เครื่องด่ืมที่ทดแทนการบริโภคชาสมุนไพรไดเ้ช่นน้ าด่ืม กาแฟ

น้ าอัดลม น้ าผลไม้ เป็นต้น

5.7การวิเคราะห์ปัจจัยของธุรกิจ หรือSWOT ANALYSIS การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน

จุดแข็ง(Strengths) ผลิตภัณฑ์เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น

วัตถุดิบหาง่ายและมีจ านวนมากในท้องถิ่น

มีราคาที่สามารถแข่งขันได้

มีการจัดการด้านวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จุดอ่อน(Weaknesses) ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค

บรรจุภัณฑ์ยังไม่มีความโดดเด่น

ภาพลักษณ์ของคุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางยาของผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค

ผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้รับการรับรองจากส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.)

การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก โอกาส(Opportunities)

เกิดกระแสการใส่ใจสุขภาพมากขึ้นท าให้ผู้บริโภคสนใจผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

หน่วยงานภาครัฐและสังคมให้การสนับสนุน

อุปสรรค(Threats) วัตถุดิบซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรนั้นอาจมีรสชาติไม่คงเดิม เนื่องฤดูกาลส่งผลต่อ

คุณภาพของใบผักหวาน

การแข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เข้าออกค่อนข้างง่าย ใช้เงินลงทุนไม่สูงนัก

6. แผนบริหารจัดการ

6.1 ข้อมูลธุรกิจ

Page 7: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

ชื่อกิจการ สมุนไพรไทบรู ที่อยู่/ที่ตั้งกิจการ 223 ม. 4 ต. ดงหลวง อ. ดงหลวง จ.มุกดาหาร

รูปแบบการด าเนินการของธุรกิจ ธุรกิจการผลิต ระยะเวลาด าเนินการที่ผ่านมา 1 ปี

6.2 รายนามสมาชิก ล าดับ ชื่อ –นามสกุล ต าแหน่ง 1. นายฤาไทย วงศ์กระโซ่ ประธานกลุ่ม 2. นายสีวร วงศ์กระโซ่ รองประธาน 3. นายยืนยง วงศ์กระโซ ่ รองประธาน 4. นางสาวพรรณิภา วงศ์กระโซ่ เลขานุการ 5. นางสาวอุบล วงศ์กระโซ่ เลขานุการ 6. นายสุธาศิลป์ สายสุทธิ ์ กรรมการ 7. นายจง วงศ์กระโซ่ กรรมการ ล าดับ ชื่อ –นามสกุล ต าแหน่ง 8. นายจตุรงค์ พ่วงมหา กรรมการ 9. นางสาวทุน ค ามุงคุณ กรรมการ 10. นางสาวโสภา โซ่เมืองแซะ กรรมการ 11. นางสาวสนธร โซ่เมืองแซะ กรรมการ 12. นางสาวอนามัย โซ่วงเดือน กรรมการ 13. นางสาวจันทา นวนบุร ี เหรัญญิก 14. นายประวิทย์ วุฒิงาม เหรัญญิก

6.3ประวัติของกรรมการหรือผู้บริหาร ชื่อ - นามสกุล นายฤาไทย วงศ์กระโซ่ อายุ 41ปี การศึกษา ระดับ กศน. จาก กศน.ดงหลวง ปี พ.ศ. 2535

Page 8: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

6.4แผนผังองค์กร

Page 9: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

6.5หน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณสมบัติของบุคลากรหลัก ชื่อ นายสุธาศิลป์ สายสุทธิ์

Page 10: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

ต าแหน่ง กรรมการ หน้าที่ความรับผิดชอบ 1.ควบคุมและดูแลการผลิต

2.ประสานงานกับฝ่ายต่างๆในกลุ่ม

6.6วิสัยทัศน ์ เป็นผู้น าด้านเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ

6.7พันธกิจ 1. พิถีพิถันในทุกขั้นตอนการผลิตเพ่ือให้ได้เครื่องด่ืมสมุนไพรที่มีคุณภาพ 2. ก าหนดราคาให้เหมาะสมรวมถึงการสนับสนุนและส่งเสริมการมีรายได้ของสมาชิกในกลุ่ม

6.8เป้าหมายทางธุรกิจ

เป้าหมายระยะสั้น ท าให้ผลิตภัณฑ์ชาผักหวานเป็นที่รู้จัก มีผลก าไรสุทธิเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ10 ในปี 2557

เป้าหมายระยะกลาง วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาผักหวานเพื่อให้ได้รับการรับรองจาก อ.ย. เป้าหมายระยะยาว เพิ่มช่องทางการจัดจ าหน่ายผลิตภัณฑ์ชาผักหวาน ตามห้างสรรพสินค้าชั้นน า

ร้านค้าสะดวกซื้อ และร้านขายยาแผนโบราณ

6.9 ปัจจัยแห่งความส าเร็จ 1. วัตถุดิบหาได้จากภายในชุมชน ท าให้ต้นทุนการผลิตต่ าง่ายต่อการใช้แนวทางกลยุทธ์ผู้น าด้านต้นทุน 2. ความสามารถในการพัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพรชนิดใหม่ที่ยังไม่มีจ าหน่ายในท้องตลาดและปรับปรุง

คุณภาพของผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งด้านรสชาติและคุณประโยชน ์

3. ความสามารถในการเลือกช่องทางในการกระจายสินค้าให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

Page 11: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

7. แผนการตลาด

7.1 เป้าหมายทางการตลาด 1. สร้างการรับรู้ในตราสินค้าให้เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย 2. สร้างยอดขายให้เป็นไปตามเป้าหมาย 3. สร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ผู้บริโภค

7.2 การก าหนดลูกค้าเป้าหมาย 1. กลุ่มลูกค้าที่ใสใจสุขภาพ 2. กลุ่มลูกค้าที่นิยมบริโภคอาหารออร์แกนิค (ORGANIC) 3. กลุ่มลูกค้าทั่วไป

7.3 กลยุทธ์ทางการตลาด 7.3.1 กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ ์1. มีการวิจัยถึงสรรพคุณของชาผักหวานเพื่อให้ทราบถึงสรรพคุณทางยาของผลิตภัณฑ์ 2. จัดท าบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่น ทันสมัย สร้างความน่าสนใจและดึงดูดผู้บรโิภคยิ่งขึ้น 3. ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ภายในให้สะดวกต่อการน าไปบริโภคยิ่งขึ้น 4. ในอนาคตอาจมีการออกผลิตภัณฑ์ในรูปแบบชาผักหวานพร้อมดื่มเพ่ือตอบสองความต้องการของผู้บริโภค

7.3.2 กลยุทธ์ด้านราคา 1. ก าหนดราคาที่เหมาะสมและสามารถแข่งขันได้ โดยจ าหน่ายชนิดบรรจุซอง ซองละ 20 บาท และบรรจุ

กล่อง กล่องละ 100 บาท 2. มีการลดราคาให้กับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์จ านวนมาก

7.3.3กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจ าหน่าย 1. เข้าร่วมงานแสดงสินค้าและงานนิทรรศการอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น งานกาชาดประจ าปีของจังหวัด

มุกดาหาร งานแสดงสินค้า OTOP 2. น าผลิตภัณฑ์ไปแนะน าให้กับร้านขายยา ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ เพื่อวางจ าหน่ายผลิตภัณฑ ์3. จัดสร้างสหกรณ์ประจ ากลุ่มฯเพื่อจ าหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ 4. จ าหน่ายผลิตภัณฑ์ในหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน 5. สร้างเว็บไซต์ของทางกลุ่มเพื่อเพ่ิมช่องทางการจัดจ าหน่าย Online 6. การจ าหน่ายผลิตภัณฑต์ามสถานพยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ

7.3.4กลยุทธ์ด้านส่งเสริมการตลาด 1. ชงชาผักหวานให้ลูกค้าได้ทดลองชิม 2. จัดท าโบชัวร์และแจกเอกสารแนะน าผลิตภัณฑ์โดยเน้นถึงประโยชน์ของชาผักหวาน 3. ท าการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ 4. จัดแสดงสินค้าให้ความรู้และประโยชน์ของชาผักหวาน เมื่อเข้าร่วมงานแสดงสินค้า

Page 12: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

8. แผนการผลิต สถานประกอบการในการผลิต ที่ตั้งสถานที่ แผนที่สถานประกอบการ

223 ม. 4 ต. ดงหลวง อ. ดงหลวง จ. มุกดาหาร รายละเอียด ผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่ม คือ ชาผักหวาน (ไทบรู)

Page 13: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

8.1 ขั้นตอนการผลิต

1. เก็บใบผักหวานแก่ น ามาเช็ดให้สะอาด 2. น าใบผักหวานมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 3. น ามาคั่วในหม้อดิน คนให้ทั่ว ด้วยความร้อน 60 - 70 องศาเซลเซียล ประมาณ 45 นาท ี4. พักทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที 5. น ามาบรรจุใส่กล่อง

8.2 ปริมาณผลผลิตรวมของกลุ่ม (ระบุหน่วยนับ / ปี) 1 ผลผลิตหลัก เฉลี่ย = 320 กล่อง / เดือน 2 ราคาขาย / หน่วย = 20 บาท / กล่อง 3 รวมรายรับเฉลี่ย =1,250 บาท

8.3 ต้นทุนวัตถุดิบ (ต่อเดือน) หน่วย:บาท

Page 14: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

ที ่ รายการวัตถุดบิที่ใช้ผลิต จ านวนที่ใช ้ ราคา / หน่วย รวมเป็นเงิน 1 ใบผักหวานแก ่ 80 ก.ก. 50 4,000 2 ถ่าน 45 ก.ก. 10 450 รวมต้นทุนวัตถุดิบทั้งหมดเป็นเงินทั้งสิ้น 4,450 คิดเป็นต้นทุนวัตถุดิบต่อหน่วย = ต้นทุนวัตถุดิบทั้งหมด = 4,450/320 = 13.90 บาท / หน่วย ปริมาณผลิตทั้งหมด

8.4ค่าแรงงานที่ใช้ในการผลิตสินค้า (ต่อเดือน)

ที่ รายการ (ต าแหน่งแรงงาน จ านวน (คน) อัตราค่าจ้าง รวมเงิน 1 ผู้ผลิตชาผักหวาน 3 300 3,600 2 ผู้ช่วยผลิตชาผักหวาน 11 100** 4,400 ผลิตเดือนละ 4 ครั้ง 8,000

คิดเป็นต้นทุนแรงงานต่อหน่วย = ต้นทุนแรงงานทั้งหมด = 8,000/320 = 25 บาท / หน่วย ปริมาณการผลิตทั้งหมด 8.5. ค่าใช้จ่ายในโรงงาน (ต่อเดือน) ที่ รายการ รวมเงิน

1 ค่าไฟฟ้า 2 ค่าน้ าประปา 3 ค่าขนส่งวัตถุดิบ 4 ค่าซ่อมแซมและบ ารุงรักษาเครื่องจักร 5 ค่าเช่าโรงงาน 6 ค่าน้ ามันเชื้อเพลิง 540 8 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

2,820

ค่าถ่าน 300 ค่ากล่องบรรจุภัณฑ์ 1,920 ค่าซอง 400 ค่าฉลาก 200 รวม รวมค่าใช้จ่ายในโรงงานทั้งสิ้น 3,360

ต้นทุนค่าใช้จ่ายในโรงงานต่อหน่วย = ต้นทุนค่าใช้จ่ายในโรงงานทั้งหมด = 3,360/320 = 10.5 บาท / หน่วย ปริมาณการผลิตทั้งสิ้น

Page 15: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

สรุปต้นทุนสินค้าทั้งหมดต่อหน่วย ต้นทุนสินค้าทั้งหมดต่อหน่วย = ต้นทุนวัตถุดิบต่อหน่วย + ต้นทุนค่าใช้จ่ายในโรงงานต่อหน่วย = 13.90 + 25 + 10.5 = 49.4 บาท การตั้งราคาสินค้า ต้นทุนสินคา้ต่อหน่วย = 49.4 บาท วิธีก าหนดราคาสินค้า มี 3 วิธีหลัก ดังนี ้ (ให้แสดงเฉพาะวิธีที่เลือกใช้) - ตั้งราคาจากต้นทุนบวกก าไรที่ต้องการ =50% =74.1 บาท 80% =88.92 บาท - ตั้งราคาตามคู่แข่ง = 105 บาท - ตั้งราคาตามความต้องการของตลาด = 100 บาท

8.6 แผนผังกระบวนการผลิต

Page 16: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

9. แผนการเงิน*

9.1 ประมาณการในการลงทุน

Page 17: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

ล าดับ รายการ ทุนเจา้ของ เงินร่วมลงทนุ เงินกู ้ รวมมูลค่า 1. จุ้มเกษตรกรทายาท 14 คน 200 - - 2,800 รวมมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 2,800

9.2 ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน ล าดับ รายการ รายละเอียด มูลค่าประมาณ ภาระผูกพัน

1. อุปกรณ์ / เครื่องใช้ หม้อดิน เตา ถ่าน ตราชั่ง ถุง 2,200 - 2. สินค้าส าเร็จรูปคงเหลือ ชาผักหวาน 600 -

รวมมูลค่าทรพัย์สินที่ใช้ในการประกอบธรุกิจปัจจุบัน 2,800 -

Page 18: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

ภาคผนวกและเอกสารแนบ ภาคผนวก ก.

การขออนุญาตเพิ่มฉลากโภชนาการในใบส าคัญการขึ้นทะเบียนต ารับอาหาร 1. ยื่นค าขอ 2. รับเรื่องและตรวจสอบหลักฐานเบื้องต้น 3. ตรวจสอบกรรมวิธีการผลิต / สูตรส่วนประกอบ /สารห้ามใช้และก าหนดปริมาณ/และตรวจสอบผล

วิเคราะห ์4. ค านวณ Nutrition Fat และตรวจสอบฉลาก 5. พิมพ์หนังสือเสนอผู้อนุญาตตรวจสอบก่อนเสนอเรื่อง 6. เสนอนพ. สสจลงนาม 7. แจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ขออนุญาต

ภาคผนวก ข.

Page 19: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ

รูปภาพ

Page 20: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ
Page 21: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ
Page 22: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ
Page 23: แผนธุรกิจ Business Plan) · 3.3 การเปลี่ยนแปลงของกิจการ จากเดิมที่เป็นเพียงกลุมเกษตรกรที่เพาะกลาผักหวานจ