ca351 week03 tv genre

40
ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้ ประเภทของรายการโทรทัศน์ การจําแนกรายการโทรทัศน์ โครงสร้างด้านเนื้อหารายการโทรทัศน์ การเขียนบทโทรทัศน์ กระบวนการผลิตความคิด กลุ่มเป้าหมายของสื่อโทรทัศน์ ความสนใจในการรับสาร องค์ประกอบในการสร้างความพึงพอใจ องค์ประกอบในการชักจูงใจ การกําหนดโครงสร้างรายการโทรทั ศน์ รูปแบบรายการโทรทัศน์ รายการโทรทัศน์ที่แบ่งตามวัตถุประสงค์ทางการสื่อสาร รายการที่แบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย สรุปผลสํารวจสื่อโทรทัศน์ปลอดภัยและสร้างสรรค์ นศ 351 โทรทัศน์และภาพยนตร์ [CA 351 Television and Film] (ปีการศึกษาท2/2558) รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิณ

Upload: ca351mju2015

Post on 25-Jul-2016

216 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

Ca351 week03 tv genre เอกสารประกอบการสอน นศ351 โทรทัศน์และภาพยนตร์ (2/2558) : ประเภทของรายการโทรทัศน์

TRANSCRIPT

Page 1: Ca351 week03 tv genre

 

ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์

ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้

ประเภทของรายการโทรทัศน์ • การจําแนกรายการโทรทัศน์ • โครงสร้างด้านเนื้อหารายการโทรทัศน ์

• การเขียนบทโทรทัศน์ • กระบวนการผลิตความคิด • กลุ่มเป้าหมายของสื่อโทรทัศน ์

• ความสนใจในการรับสาร • องค์ประกอบในการสร้างความพึงพอใจ

• องค์ประกอบในการชักจูงใจ • การกําหนดโครงสร้างรายการโทรทศัน์

• รูปแบบรายการโทรทัศน์ • รายการโทรทัศน์ที่แบ่งตามวัตถุประสงค์ทางการสื่อสาร • รายการที่แบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย

• สรุปผลสํารวจสื่อโทรทัศน์ปลอดภัยและสร้างสรรค์

นศ 351

โทรทัศน์และภาพยนตร์ [CA 351 Television and Film] (ปีการศึกษาที่ 2/2558)

รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิณ

Page 2: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 2

ทุกวันนี้รายการโทรทัศน์มีการผลิตออกมาให้ผู้ชมได้เลือกสรรมากมาย ทั้งจากฟรีทีวี เคบิลทีวี และระบบการส่งสัญญาณ

โทรทัศน์ในรูปแบบต่างๆ ถ้าลองแบ่งเป็นช่วงเวลาที่ออกอากาศในแต่ละวันนั้น อาจแบ่งช่วงเวลาที่ออกอากาศช่วงละ 1-3 ชั่วโมง ได้ดังนี ้

ช่วงเวลาออกอากาศ ระยะเวลาออกอากาศ

ช่วงเช้ามืด 04.00 - 06.00 น.

ช่วงเช้า 06.00 - 08.00 น.

ช่วงสาย 08.00 - 10.00 น.

ช่วงก่อนเที่ยง 10.00 - 12.00 น.

ช่วงเที่ยง 12.00 – 13.00 น. ช่วงบ่าย 13.00 – 15.00 น.

ช่วงบ่าย – เย็น 15.00 – 18.00 น.

ช่วงเย็น 18.00 – 19.00 น.

ช่วงไพรม์ไทม์ 19.00 – 22.00 น.

ช่วงดึก 22.00 – 24.00 น.

ช่วงหลังเที่ยงคืน 24.00 – 02.00 น.

ช่วงหลังตีสอง – เช้ามืด 02.00 – 04.00 น.

สําหรับช่วงไพรม์ไทม ์ (Prime time) นั้น เป็นช่วงเวลาที่มีผู้ชมโทรทัศน์มากที่สุดนั่นเอง ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาทองของ รายการโทรทัศน์ต่างๆ ที่แย่งชิงฐานผู้ชม และมักเป็นช่วงเวลาที่มีรายการหากพิจารณาดูลักษณะโครงสร้างหรือองค์ประกอบต่างๆ จะพบว่า รายการแต่ละรายการนั้นมีลกัษณะหรือรูปแบบที่แบ่งเป็นประเภทชัดเจนได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ รายการสาระ และรายการบันเทิง สําหรับในบทนี้เราจะมาพิจารณาถึงโครงสร้างให้เฉพาะเจาะจงลงไปในรายละเอียดและรูปแบบ ของรายการ แต่ละประเภท

การจําแนกประเภทของรายการโทรทัศน ์ Genre เป็นคํามาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ชนิด ประเภท หรือตระกูล ซึ่งการจําแนกประเภทรายการได้ถูกนํามาใช้กับ

สื่อวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อสารธารณะประเภทที่เข้าถึงคนจํานวนมากและหลากหลาย เนื้อหาที่ปรากฏก็หลากหลาย ตามไปด้วย จึงต้องมีการจําแนกประเภทรายการให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เช่น รายการธรรมะสําหรับผู้สูงอายุ รายการการ์ตูนสําหรับเด็ก รายการละครหลังข่าวสําหรับแม่บ้าน รายการกีฬาสําหรับพ่อบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้องค์ประกอบที่ทําให้ รายการประเภทหนึ่งๆ แตกต่างจากรายการประเภทอื่นๆ ขนบหรือองค์ประกอบต่างๆนั้นจะถูกใช้ซ้ําไปซ้ํามา จนทั้งผู้ผลิตรายการ และผูร้ับสารคุ้นเคย รายการที่มีขนบหรือองค์ประกอบเหมือนๆ กันก็จะถูกจัดให้อยู่ในประเภทเดียวกัน ดังที่ แมคเควล (Denis McQuail 2005:370) ได้กําหนดว่าการจัดประเภทรายการตั้งมีลักษณะดังนี ้

Page 3: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 3

1. ต้องเกิดจากความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ผลิต (สื่อมวลชน) และผู้บริโภค (ผู้ฟัง/ผู้ชม) 2. รายการประเภทต่างๆ จําแนกได้โดยดูที ่

I. วัตถุประสงค์ หรือหน้าที่ของรายการว่าให้ข่าวสาร ให้ความบันเทิง หรืออื่นๆ II. รูปแบบรายการ (ความยาว, จังหวะการดําเนินเรื่อง, โครงสร้าง, ภาษา และอื่นๆ) III. เนื้อหารายการ

3. ต้องได้รับการยอมรับในช่วงเวลาหนึ่ง และกลายเป็นรูปแบบหรือขนบ (Conventions) ที่ถูกรักษาไว้ 4. รายการแต่ละประเภทจะใช้โครงสร้างในการเล่าเรื่อง การเรียงลําดับเหตุการณ์ ภาพเหตุการณ์ต่างๆ

ที่ผู้ชมสามารถคาดเดาได้ และใช้แก่นของเรื่อง (Theme) ที่เคยใช้มาแล้ว

รายการโทรทัศน์จําเป็นต้องมีการจําแนกประเภทรายการ เพื่อสร้างความชัดเจนให้กับทั้งผู้ผลิตรายการและผู้ชม รวมทั้งกําหนดเนื้อหาของรายการ ดังนี้

สําหรับผู้ผลิตรายการ เหตุที่ต้องมีการจําแนกประเภทรายการต่างๆ เพราะรายการมีรูปแบบหรือสตูรการผลิตรายการที่แตกต่างกันไป

การจําแนกประเภทรายการจะช่วยให้ผู้ผลิตรายการมีแนวทาง และรู้ว่าจะใช้สูตรการเล่าเรื่องแบบใด และเลือกใช้องค์ประกอบ ที่รายการแต่ละประเภทต้องมีหรือต้องรักษาไว้ได้อย่างถูกต้อง เช่น เมื่อกําลังผลิตรายการเกมโชว์ ผู้ผลิตจะนําองค์ประกอบ ของเกมโชว์มาใช้ในรายการ คือ เกมหรือการแข่งขัน, ผู้เข้าแข่งขัน, พิธีกรที่คอยควบคุมกฎ และดําเนินรายการ, เวที ที่เป็นพื้นที่สําหรับแข่งขัน, ผู้ชมในห้องส่ง, ของรางวัล, เสียงดนตรี หรือเพลงประกอบรายการที่เร้าใจ หรือหากผลิตละครจักรๆ วงศ์ๆ การจําแนกประเภท และสูตรในการผลิตจะเป็นตัวกําหนดว่า ผู้ผลิตต้องไม่ใส่องค์ประกอบที่ไม่เกี่ยวข้องลงไป เช่น ให้ตัวละครขับรถยนต์ หรือ ส่วมกางเกงยีนส์ เพราะจะผิดไปจากขนบของรายการประเภทนี ้

สําหรับผู้ฟังและผู้ชมรายการ การจําแนกรายการมีประโยชน์ต่อผู้ฟังและผู้ชม ในแง่ของการตอบสนองความต้องการ หรือความคาดหวัง เนื่องจากผู้ชม

ได้ถูกติดตั้งวิธีคิด และมีประสบการณ์เดิมในการเปิดรับชมโทรทัศน์ การที่ผู้รับสารเคยชมหรือฟังรายการประเภทต่างๆ มาก่อน ย่อมเกิดความรับรู้ จดจํา และตีความหมาย ทําให้เกิดความหวัง ดังนั้นการจําแนกรายการแต่ละประเภท (Warshaw, 1975 อ้างในสมสุข หินวิมานและคณะ, 2554 : 75) เช่น หากผู้ผลิตนําเสนอรายการประเภทซิทคอม (Situation comedy) ผู้ชมย่อมคาดหวงัว่าต้องได้ยินมุกตลก หรือได้รับความสนุกสนานจากการรับชมรายการ หรือหากเป็นรายการทําอาหาร (Cookery show) ผู้ชมย่อมคาดหวังว่าจะได้เห็นอาหาร, เชฟ, เครื่องครัว, สูตรการปรุงอาหาร และการสาธิตการประกอบอาหาร เป็นต้น

หากรายการไม่มีองค์ประกอบที่คาดหวังว่าจะได้เห็นหรือได้ยิน ผู้รับสารก็จะไม่เลือกชม หรือฟังรายการนั้นๆ การจําแนก รายการจึงถือเป็นการช่วยจัดกลุ่มสินค้าให้กับผู้ฟังและผู้ชมทําให้สามารถเลือกเปิดรับประเภทรายการที่ตนเองต้องการได ้

สําหรับเนื้อหารายการ การจําแนกรายการส่งผลถึงเนื้อหาของรายการ กล่าวคือ เนื้อหาของรายการ (Content/Message) จะถูกทําซ้ํา

(Repetition) เพื่อติดตั้งวิธีคิดให้กับผู้ชม โดยใช้ขนบของรายการเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าในขณะนั้นสังคมมีความเชื่อหรือค่านิยมอย่างไร ดังนั้นการจําแนกประเภทรายการจึงไม่ใช่เรื่องตายตัว และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย สิ่งที่เป็นขนบและได้รับการยอมรับ ในอดีตอาจไม่เป็นที่ยอมรับจากทั้งผู้ผลิตรายการ และผู้รับสารในปัจจุบัน ทําให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของรายการ ที่นําเสนอ เช่น ในอดีตบทตํารวจในละครโทรทัศน์ต้องสะท้อนภาพผู้รักษากฎหมาย ผดุงความยุติธรรม และเป็นฝ่ายธรรมะ แต่ปัจจุบันบทตํารวจในละครบางเรื่องสะท้อนภาพตํารวจเป็นฝ่ายอธรรม เป็นต้น หรือในละครซิทคอมที่มักนําเสนอภาพ ครอบครัวเดียวที่มีสมาชิกเพียง 2-3 คน อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมมากกว่าที่จะนําเสนอภาพครอบครัวขยายที่อาศัยในบ้าน ที่มีสมาชิกมากกว่า สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนไปของสังคมสมัยใหม่ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื้อหาของรายการประเภท ต่างๆ

Page 4: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 4

นอกจากนี้ ความคิดหรือค่านิยมบางอย่างในสังคมในช่วงเวลาหนึ่งๆ อาจทําให้เกิดตระกูลรายการใหม่ๆ ขึ้น เช่น Crime television series ซึ่งเป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมหรือคดีสะเทือนขวัญต่างๆ อาทิ ตรงจุดเกิดเหต ุ (ไทยทีวีสีช่อง 3) ผลิตโดยบริษัท เทน เทเลมาร์เก็ต มีผู้ดําเนินรายการ คือ คุณจตุรงค์ สุขเอียด ซึ่งเป็นรายการที่เปิดเผย แผนโจรกรรมหรือแผนฆาตกรรมของคดีต่างๆ ในสังคมปัจจุบัน ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 11.10 น. หรือ เรื่องจริงผ่านจอ (สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7) ผลิตโดย บริษัท สาระดี จํากัด ในเครือบริษัท กันตนา กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ปัจจุบันมีผู้ดําเนินรายการ 4 คน ได้แก่ คุณฐาปกรณ์ ดิษยนันทน์, คุณสุรวุฑ ไหมกัน, คุณคงกะพัน แสงสุริยะ และคุณลลนา ก้องธรนินทร์ ออกอากาศทุกวันพฤหัสบด ี(เดิมออกอากาศทุกวันอาทิตย์) เวลา 23.00 - 00.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์สีช่อง 7 เริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2542 เป็นรายการ สารคดีเชิงข่าว นําเสนอภาพจริงและเสียงจริง ตีแผ่ทุกเรื่องราวในสังคมได้รับรู ้ ทั้งนี้รายการทั้งสองได้เกิดขึ้นและถ่ายทอดความคิด ความเชื่อที่ว่าอาชญากรรมหรือเหตุรุนแรง เป็นสิ่งใกล้ตัวผู้ชม และสามารถเกิดขึ้นตลอดเวลา

รายการตรงจุดเกิดเหตุและผู้ดําเนินรายการ

รายการเรื่องจริงผ่านจอและผู้ดําเนินรายการ

Page 5: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 5

โครงสร้างด้านเนื้อหารายการโทรทัศน์ รายการโทรทัศน์ที่นําเสนอสู่กลุ่มเป้าหมาย มีหลายประเภท ได้แก่ รายการละคร รายการเกมส์โชว์ รายการสารคดี รายการกีฬา รายการทอล์ค รายการสนทนา รายการสาธิต รายการแข่งขันตอบปัญหา และรายการประเภทอื่นๆ ซึ่งรายการโทรทัศน์ในแต่ละประเภทรายการดังกล่าว ประกอบด้วย โครงสร้างหลัก 3 ลักษณะคือ โครงสร้างทางภาพ โครงสร้างทางเสียง และโครงสร้างทางแสง ซึ่งนอกจากโครงสร้างหลัก 3 โครงสร้างดังกล่าวแล้ว รายการโทรทัศน์ยังประกอบด้วยโครงสร้างด้านเนื้อหา ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สําคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่ง และเนื้อหาที่นําเสนอ ทางรายการโทรทัศน์นั้น มีรูปแบบการนําเสนอเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น นําเสนอในลักษณะของข้อเท็จจริงแบบข่าว นําเสนอในลักษณะของสารคดี นําเสนอในลักษณะของบทสนทนาในรายการละคร เป็นต้น รูปแบบในการนําเสนอเนื้อหาใน ลักษณะต่างๆ ดังกล่าว มีที่มาจากการเขียนบทโทรทัศน์ ซึ่งบทโทรทัศน์เปรียบเสมือนหนึ่งพิมพ์เขียว ของรายการโทรทัศน ์แต่ละประเภท ซึ่งมีความสําคัญอย่างยิ่งหากบทโทรทัศน์มีความสมบูรณ์จะช่วยให้การผลิตรายการโทรทัศน์แต่ละรายการ เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด

การเขียนบทโทรทัศน ์

ผู้ที่จะเขียนบทโทรทัศน์ได้ดีนั้น จําเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ทั้งในหลักการและวิธีการของศาสตร์และศิลป์

การเขียนบทโทรทัศน์มีองค์ประกอบต่างๆมากมาย ที่จะต้องนํามาใช้เปน็แนวทางในการคิดวิเคราะห์ เลือกสรร และ นําเสนอ อย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ ซึ่งต้องสามารถตรวจสอบและวัดผลอย่างเป็นรูปธรรมด้วยหลักการต่างๆ ได้ ดังนั้นผู้ที่จะเป็น นักเขียนบทโทรทัศน์ที่ดีจึงต้องใช้เวลาในการแสวงหา เรียนรู้ และฝึกฝนปฏิบัติให้มีทักษะอย่างเชีย่วชาญ ซึ่งองค์ประกอบที ่จําเป็นที่นักเขียนบทโทรทัศน์จะต้องมีพื้นฐาน ได้แก่ ข้อมูล ใช้เป็นเนื้อหาในการเขียนบทโทรทัศน์ ทั้งข้อมูลทั่วไปที่ใช้ประกอบการคิด การนําเสนอและข้อมูลที่ทําการค้นคว้า เฉพาะเรื่อง ข้อมูลทั้ง 2 ประเภทนี้จะเป็นฐานในการสร้างความคิดทีม่ีรูปลักษณะเฉพาะตัวให้เหมาะกับเนื้อหา วัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมายของการเขียนบทอย่างมีประสิทธิภาพ การคิด การคิด เป็นการวางแนวทาง หลักการ และขั้นตอน เพื่อเป็นต้นเรื่องของเนื้อหา เมื่อมีความเข้าใจ มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการคิดแล้ว ก็สามารถสร้างสรรค์ความคิดที่ดีและแปลกใหม่ได้อย่างไม่จบสิ้น ซึ่งการคิดทีด่ ีจะนําไปสู่การคิดสร้างสรรค์ที่ดี และนําความคิดที่ได้นั้นไปถ่ายทอดแก่บุคคลเป้าหมายได้อย่างเข้าใจและบรรลุวัตถุประสงค ์ในการสื่อความหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การถ่ายทอดความคิด การถ่ายทอดความคิด คือ วิธีการนําเสนอความคิดอย่างมีลําดับที่ดี เป็นระบบ และมีเหตุผลที่สัมพันธ์กัน อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ โดยการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับรูปแบบการสื่อสาร ประเภทของสื่อและกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้ง บรรยากาศ อารมณ์และวัตถุประสงค์เฉพาะในการนําเสนอเนื้อหาหรือความคิดนั้น การใช้ภาษาในการถ่ายทอดความคิด การใช้ภาษาในการถ่ายทอดความคิด เป็นการลงรายละเอียดของโครงเรื่องของเนื้อหาให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหา และกลุ่มเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการนําเสนอเนื้อหา

Page 6: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 6

การสื่อสารผ่านสื่อโทรทัศน์ การสื่อสารผ่านสื่อโทรทัศนเ์ป็นองค์ประกอบเกี่ยวกับ วิธีการ ขั้นตอน และเทคนิคการนําเสนอซึ่งต้องนํามาเป็น แนวทางเพื่อสร้างสรรค์บทโทรทัศน์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและสอดคล้องกับความเป็นอยู่จริงของวงการวิชาชีพและรายการที่นําเสนออยู่ในปัจจุบันหรือคาดว่าจะเปลี่ยนไปในอนาคต ระบบ ประเภท และลักษณะในการนําเสนอรายการโทรทัศน ์ ที่เป็นอยู่ ในทางปฏิบัติรวมทั้งช่องทางในการนําเสนอรายการต่างๆ นั้น ทําให้แนวโน้มของรายการโทรทัศน์และการเขียน บทโทรทัศน์ มคีวามแตกต่างกัน หลักการสื่อสารผ่านสื่อโทรทัศน์ ในการถ่ายทอดความคิดนั้น หากใช้วิธีการเล่าเรื่องที่เหมาะสม มีการใช้ภาษาที่ถูกต้องจะทําให้การสื่อสาร นั้น เกิดสัมฤทธิ์ผลได้ เช่นเดียวกับการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ผู้ส่งสารต้องมีความเข้าในในคุณลักษณะและธรรมชาติของสื่อนั้นๆ เพื่อจะได้ออกแบบสารหรือใช้สื่อนั้นได้ตรงตามลักษณะทางธรรมชาติของสื่อได้ ในการสื่อสารผ่านสือ่โทรทัศน์ ผู้ทําการเขียนบท จะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถทําการวิเคราะห์ผู้รับสาร เพื่อจะได้กําหนดวัตถุประสงค์ในการสื่อสารให้ถูกต้อง ตรงกับ ตามความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับสารได้ ซึ่งหากบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว บทรายการโทรทัศน์นั้น จงึจะถือว่าประสบความสําเร็จ ภาษาภาพและภาษาเสียงสําหรับโทรทัศน์ เนื่องจากตัวบทโทรทัศน์เป็นเสมือนแผนทีห่รือพิมพ์เขียวในการผลิตรายการโทรทัศน์สําหรับทีมงานผลิตรายการทุกคนให้เข้าใจได้ตรงกันหรือสื่อความหมายไปในแนวทางเดียวกันโดยจะมีหลักการและขึ้นตอนการเขียนบทโทรทัศน์ ตั้งแต่การจัดหน้า กระดาษ ของการเขียนบทภาษาเทคนิคเฉพาะสําหรับบอกรายละเอียดทางด้านภาษาภาพและภาษาเสียง แต่สิ่งที่สําคัญยิ่งกว่า คือ การนําเอาความคิด เนื้อหา เรื่องราวถ่ายทอดผ่านสื่อโทรทัศน์ให้สื่อความได้สอดคล้องกับคุณลักษณะ และธรรมชาติ ของสื่อโทรทัศน์ ซึ่งก็คือความรู้เกี่ยวกับภาษาภาพและภาษาเสียงสําหรับโทรทัศน ์ รูปแบบรายการโทรทัศน ์ เพื่อให้การเขียนบทโทรทัศน์สนองตอบต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องกําหนดรูปแบบรายการ ให้สอดคล้องกัน ซึ่งแต่ละรูปแบบต่างมีวัตถุประสงค์ต่างกันและให้ผลที่ต่างกันตามแต่โอกาสและกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกันไป การนําเสนอรายการตามประเภทของรายการโทรทัศน์จึงมีความหลากหลาย ได้แก่ รายการข่าว รายการสนทนา รายการสารคดี รายการนิตยสาร รายการละคร รายการสาธิต รายการทอล์คโชว์ รายการเกมส์โชว์ เป็นต้น การแสวงหาข้อมูลเพื่อการเขียนบทโทรทัศน์ เนื่องจากกระบวนการสื่อสารเกิดจากการที่มนุษย์มีความประสงค์ที่จะส่งและรับข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน ดังนั้นข้อมูล จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสาร ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เป็นที่มาของความรู้ และนํามาใช้ในการสร้างความคิด เพื่อให ้เข้าใจเรื่องราว ปญัหา ตลอดจนแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงนี้สามารถรับรู้ได้โดยตรงหรือโดยอาศัยเครื่องมือช่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ปรากฏอยู่จริง สามารถพิสูจน์ได้ นํามาตรวจสอบได้ ข้อเท็จจริงนั้นมีอยู่มากมายและไม่สามารถรู้ข้อเท็จจริงทีมีอยู่ได้ทั้งหมดจึงต้องอาศัยสื่อ หรือผู้อื่นเป็นตัวนําเสนอแก่เรา และหากเรามีความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั้นไม่พอหรือไม่ถูกต้องหรือมีความผิดพลาดในการสื่อสาร ก็จะนําไปสู่การคิดที่ผิดได้ ฉะนั้นจึงควนที่จะมีการตรวจสอบ ทดลองเกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั้นเสียก่อนให้แน่ใจว่า ข้อมูลนั้น จะไม่นําเราไปสู่การคิดที่ผิดพลาด นอกจากข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงแล้ว ยังมีข้อมูลที่อาจเป็นเพียงความเชื่อหรือความเห็นซึ่งเกิดจากอารมณ ์ ความรู้สึก ส่วนตัวของบุคคล ข้อมูลเช่นนี้ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องด้วยการพิสูจน์ได้ และความคิดที่สร้างขึ้นจากข้อมูล ประเภทนีจ้ะไม่เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป

Page 7: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 7

ดังนั้นในการเขียนบทโทรทัศน์จึงต้องใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง สามารถพิสูจน์ได้และเป็นที่ยอมรับของ คนทั่วไป เพื่อให้บทโทรทัศน์ที่เขียนขึ้นนั้นมีความถูกต้องและเป็นที่ยอมรับซึ่งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป เป็นข้อเท็จจริงกว้างๆ ทั่วๆ ไปที่ได้มาจากชีวิตประจําวัน อาจเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุ บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ หรือ ค่านิยม ทัศนคติของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันไปในแต่ละเพศ วัย การศึกษา อาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ยุคสมัย สถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจ หรือแม้แต่วิถีทางแห่งการดําเนินชีวิตของบุคคล ข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากการสังเกตการณ์ การอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง หรือรับรู้ด้วยวิธีอื่นๆ เป็นข้อมูลที่มีการสะสมมายาวนาน และเป็นสิ่งที่ ทําให้เกิดความเข้าใจคนในสังคมเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับคนอื่นได้ ข้อมูลทั่วไปนี้อาจเกิดจากความบังเอิญ หรือความสนใจต้องการรู้ของบุคคล ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ความสนใจในหัวข้อหรือเรื่องราวของแต่ละบุคคล ผู้ที่จะทําการเขียนบทโทรทัศน์ได้ดีนั้น จะต้องเป็นนักสะสมข้อมูลทั่วไปซึ่งเป็นความจําเป็นอย่างยิ่งและต้องฝึกฝนตนเอง ให้เป็นคนที่มีความสนใจใฝ่หาความรู้เรื่องราวต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ แม้จะไม่ใช่สิ่งที่เราสนใจหรือไม่มีประโยชน ์แก่เราในปัจจุบันก็ตาม และต้องมีการคาดการณ ์ หรือเล็งถึงผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นที่จะมีส่งผลต่อไปในอนาคต เพราะหากเราไม่มีการสะสมข้อมูลเหล่านี้ไว้ เมื่อถึงเวลาที่จําเป็นจะต้องใช้ จะทําให้เสียเวลาในการหาข้อมูลเหล่านี้เป็นอย่างยิ่ง 2. ข้อมูลเฉพาะ ข้อมูลเฉพาะ เป็นข้อเท็จจริงเฉพาะด้านที่ผู้เขียนบทโทรทัศน์ ต้องทําการค้นคว้าเป็นครั้งๆ ไปเกี่ยวกับเรือ่ง ที่จะศึกษาในแต่ละครั้ง ข้อมูลเฉพาะนี้เป็นส่วนที่ช่วยให้เกิดความลึกซึ้งเข้าใจในเนื้อหาที่ทําการเขียนบทเป็นอย่างดี ข้อมูล ลักษณะนี้สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้รับสารได้โดยมีข้อมูลทั่วไปเป็นตัวเชื่อมโยง ซึ่งข้อมูลทั่วไปจะช่วยให้เกิดความรู้สึก ที่มีชวีิต มีความน่าสนใจ มีความเป็นมนุษย์ ซึ่งจะสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ชมได ้ ในการเขียนบทโทรทัศน์นั้นในขั้นแรกผู้เขียนบทจะได้รับเพียงจ้อมูลเฉพาะหรือสามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้เพียงข้อมูล เฉพาะเท่านั้น เช่น ในการเขียนบทโฆษณา ข้อมูลเฉพาะที่ผู้เขียนบทจะได้รับอาจจะเป็นข้อมูล การวิจัย ในเชิง การตลาด เกี่ยวกับตัวสินค้านั้นๆ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะใช้เขียนบทเพื่อทําให้ผู้ชมเกิดความพึงพอใจได้ จึงต้องมีการใช้ข้อมูลทั่วไปเป็นกลยุทธ์ ในการเขียนบทเพิ่ม ตั้งแต่แนวเรื่อง การสร้างเหตุการณ์ กิจกรรมที่จะใช้ในการดําเนินเรื่อง ส่วนประกอบ ของข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสร้างความสนใจ เร้าอารมณ์ร่วม และสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมได้เป็นอย่างด ี สัดส่วนในการใช้ข้อมูลทั้ง 2 ประเภทนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของรายการ เช่น ในรายการข่าว จะต้องมีข้อมูลเฉพาะมากกว่าข้อมูลทั่วไป เพือ่แสดงความน่าเชื่อถือ ส่วนรายการละครจะต้องมีข้อมูลทั่วไปมากกว่า เพราะมี วัตถุประสงค์ในการสร้างอารมณ ์ ได้มากกว่าแต่ก็ยังขาดข้อมูลเฉพาะไม่ได้เพราะจะทําให้ละครนั้นไร้สาระ ขนาดแนวคิด หรือ การนําเสนอโฆษณาก็จะมีความแตกต่างกันไป หากเป็นโฆษณาที่ต้องการสร้างอารมณ์และความพึงพอใจ จะใช้ข้อมูล ทั่วไปมากกว่าข้อมูลเฉพาะ แต่ถ้าเป็นโฆษณาที่มีวัตถุประสงค์ให้เกิดการสร้างความพึงพอใจทางกาย ก็จะเน้นข้อมูล เฉพาะ มากกว่าข้อมูลทั่วไป การแสวงหาข้อมูล การแสวงหาข้อมูลมีอยู่หลายวิธี แต่เมื่อได้ข้อมูลมาในครั้งแรกแล้ว จะต้องไมเ่ชื่อในทันทีจนกว่าจะได้มีการยืนยันหรือ มีข้อเท็จจริงรองรับแล้วจึงควรเชื่อถือได้ว่าข้อมูลนั้นมีความถูกต้อง ซึ่งวิธีการแสวงหาข้อมูลนั้นแบ่งได้เป็น 4 วิธี คือ 1. การสังเกต การสังเกตเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะทําให้ได้มาซึ่งข้อมูล สามารถทําได้ด้วยตนเอง แต่สิ่งที่สําคัญที่สุดคือ ต้องสังเกตให้ได้รายละเอียดที่ลึกซึ้ง ถ้วนถี่ และถูกต้อง ดังนั้นสิ่งที่ควรคํานึงในการทําการสังเกตมีดังนี ้

Page 8: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 8

1.1 สังเกตอย่างมีระบบ มีจุดมุ่งหมายในการสังเกต ไม่ใช่สังเกตไปเรื่อยๆ โดยไร้จุดหมาย และต้องพยายาม ทําความเข้าใจในเรื่องที่ทําการสังเกตด้วย ควรเลือกสังเกตในเรื่องที่มีสาระมีแก่นสาร ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ จะต้องทําการศึกษาทีละด้าน แบ่งเรื่องออกตามองค์ประกอบของเรื่องอย่างมีแบบแผน มีแนวทางแน่นอนแล้ว ศึกษา ให้เป็นขั้นตอน 1.2 พยายามจับสิ่งที่ผิดสังเกต ควรฝึกตนเองให้เป็นคนขี้สงสัยและตั้งปัญหาในสิ่งที่ผิดสังเกต ถ้ามีการพบ สิ่งที่ผิดสังเกตแล้วปล่อยให้ผ่านเลยไป จะไม่ได้อะไรจากการสังเกตนั้น เราต้องพยายามตั้งคําถามว่าทําไม แล้วพยายามหา คําตอบเพื่ออธิบายหรือให้เหตุผล รวมทั้งนําข้อเท็จจริงที่มีอยู่เดิมมาตอบคําถามในสิ่งที่สงสัย การนําข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วนี ้มาสัมพันธ์กับสิ่งที่ผิดสังเกตก็อาจจะทําให้เกิดข้อเท็จจริงใหม่ๆ ขึ้นได ้ 1.3 ให้เครื่องมือช่วยสังเกต เนื่องจากประสาทสัมผัสที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เรานั้น บางครั้งอาจไม่สามารถสังเกต ข้อเท็จจริงได้ถูกต้องครบถ้วนและข้อเท็จจริงบางอย่างเกินความสามารถที่จะรับรู้ได้จากการสังเกต จึงจําเป็นต้องใช้เครื่องมือ ช่วยในการสังเกตเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องมากที่สุด 1.4 จดบันทึกสิ่งที่สังเกตไว้ เนื่องจากความสามารถในการจดจําข้อเท็จจริงของมนุษย์นั้นมีข้อจํากัด เราไม่สามารถนํา ข้อเท็จจริงที่สังเกตทั้งหมดมาใช้ได้ ถ้าหากไม่ได้ทําการจดบันทึกเอาไว้ สิ่งที่ได้รับรู้จากการสังเกตมาก็จะสูญเปล่า ดังนั้น ผู้สังเกตควรทําการจดบันทึกข้อมูลที่ได้มาอย่างมีระบบ จะช่วยให้นํามาใช้ได้ทันทีในเวลาที่ต้องการ 2. การเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยตนเอง การเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยตนเอง มีความแตกต่างจากการสังเกต คือ การสังเกตเป็นเพียงการมองด ูเหตุการณ์หรือสิ่งนั้นๆเพียงภาพนอก ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับสิ่งเหล่านั้นด้วยตนเอง อาจทําให้การได้ข้อเท็จจริงมานั้น ไม่ถูกต้องที่สุด แต่การเข้าไปลงมือกระทําหรือได้สัมผัสกับสิง่เหล่านั้นด้วยตนเองจะทําให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง มีความเข้าใจ ลึกซึ้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั้นๆ มากกว่า แต่สิ่งที่ต้องระวังในการเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยตนเองคือ เรื่องของอคติของบุคคล เพราะอคติจะมีผลให้ข้อเท็จจริงที่ควรจะได้มานั้นถูกบิดเบือนไป ตัวอย่างการเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยตนเอง เช่น เราต้องการ เขียนบทรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับบ้านพักคนชรา แต่เราไม่มีข้อมูลเลย นอกจากเราจะหาจากหนังสือ เอกสารต่างๆ แล้วเราควรจะเข้าไปสัมผัสกับคนชราที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชราด้วยตนเอง จะทําให้เรารู้ว่าคนชราเหล่านั้นมีวิถีชวีิต กิจวัตร ประจําวันอย่างไร มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร เป็นต้น 3. ข้อมูลจากสื่ออื่นๆ เนื่องจากมนุษย์เรามีข้อจํากัดในเรื่องต่างๆ มากมาย เช่น เวลาในการหาข้อมูล ความสามารถในการจํา ฯลฯ การแสวงหาข้อมูลด้วยตนเองเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับขอ้มูลที่มีอยู่มากมายในสาระบบ ดังนั้นการแสวงหา ข้อมูลจากผู้อื่นที่ได้ทําการแสวงหาไว้ก่อนแล้ว จึงเป็นวิธีหนึ่งในการแสวงหาข้อมูลที่สามารถนํามาใช้ได้ เช่น การอ่าน หนังสือทั้งหนังสือวิชาการในห้องสมุด หรือ หนังสือทั่วไป นิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร จุลสาร การฟังวิทย ุและการชมภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ต่างๆ เป็นต้น 4. การพูดคุยกับผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การพูดคุยกับผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จะทําให้ได้ข้อมูลที่มีความลึกซึ้งและถูกต้อง เชื่อถือได้ และการพูดคุย เพื่อแสวงหาข้อมูลจากผู้รู้นี้ นอกจากจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนแล้ว ยังสามารถสร้างความมั่นใจ เกี่ยวกับข้อมูล ที่ได้ทําการแสวงหานั้นด้วย นอกจากวิธีการแสดงหาข้อมูลทั้ง 4 ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีวิธีการอื่นๆเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลได้อีก เช่น การวิจัย แต่การวิจัยจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและใช้เวลามาก จึงควรจะใช้วิธีอื่นๆก่อน ถ้ายังไม่สามารถหาข้อเท็จจริงได ้ หรือได้ข้อมูล ที่ไม่น่าเชื่อถือจึงควรใช้การวิจัยเข้าช่วย หรืออาจจะใช้งานวิชัยที่ผู้อื่นได้ทําไว้แล้วมาใช้อ้างอิงก็ได ้

Page 9: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 9

หลังจากที่ได้ทําการแสวงหาข้อมูลแล้ว ผู้เขียนบทต้องนําข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้มานั้น ไปทําการวิเคราะห์ซึ่งก็คือ การสร้างความคิดนั่นเอง การสร้างความคิดที่ดีต้องมีทั้งเหตุและผล มีข้อเท็จจริงมาอ้างอิงได้ อาจเป็นไปในทางรูปธรรม ก็จะมองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และการอ้างเหตุผลให้น่าเชื่อถือก็ควรจะเป็นไปตามหลักตรรกวทิยา ขั้นการคิด เมื่อได้ข้อมูลที่จะนํามาทําการสื่อสารแล้ว เราไม่สามารถนําข้อมูลนั้นมานําเสนอได้ในทันทีโดยตรง เพราะข้อมูล เหล่านั้นยังเป็นข้อมูลดิบอยู่ เราต้องหาวิธีการว่าจะนําข้อมูลมาใช้ได้อย่างไร ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ต้องมีการลําดับข้อมูลตามเวลา เหตุการณ์ สถานที่ ความสําคัญ หรือความยากง่ายในการสร้างความเข้าใจของผู้รับสาร ซึ่งการวิเคราะห์หรือการจัดลําดับข้อมูลนี้ คือขั้นการคิด นั่นเอง การคิด คือการจัดระเบียบความทรงจําของมนุษย์เกี่ยวกับข้อมูลที่ได้ทําการรับมาและสะสมไว้ โดยจัดการแยกแยะ ลําดับได้เปน็หมวดหมู่ และหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเหล่านั้น การคิดของมนุษย์จะเกิดขึ้นเมื่อได้ประสบกับปัญหาที่ผ่านเข้ามา คิดเพื่อหาทางจัดการกับปัญหานั้นๆ ถ้าไม่มีปัญหา ใดๆ มนุษย์ก็จะอยู่เฉยๆ ไม่แก้ปัญหานั้นๆ ในการคิดแก้ปัญหานี้มีความสําคัญ หากการคิดเพื่อตัดสินปัญหา เป็นไปในทาง ที่ผิดก็จะนําไปสู่ความเห็นที่ผิดได้ ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกฝนการคิดและเรียนรู้ให้ได้ว่าการคิดที่ถูกต้องเป็นอย่างไร การจัดระเบียบความคิด การจัดระเบียบความคิด คือ การแยกแยะข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูล เหล่านั้น และแยกส่วน ที่ไม่เกี่ยวข้องกันออกจากกัน รวมทั้งการจัดลําดับข้อมูลก่อนหลัง ซึ่งการจัดระเบียบความคิดนี้ มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1. การจัดลําดับตามเวลาหรือเหตุการณ์ ว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนหลัง 2. การจัดลําดับตามสถานที่ เช่น การคิดเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย เพื่อให้การคิดมีระเบียบ เราอาจจะ คิดถึงสถานที่เหล่านั้นโดยแบ่งเป็นแต่ละภาคแล้วย่อยลงเป็นแต่ละจังหวัด 3. การจัดลําดับเหตุผล เป็นการพิจารณาในแง่ของเหตุผลว่า อะไรเป็นเหตุผล เช่น การที่น้ําท่วมเกิดจากฝนตกหนัก อันเป็นผลมาจากการที่ป่าไม้ถูกทําลาย เปน็ต้น

กระบวนการผลิตความคิด

ในการผลิตความคิดหรือสร้างแนวคิดถือว่าเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนแน่นอนสามารถฝึกฝนและควบคุมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ ซึ่งกระบวนการคิดเริ่มมากจากการสะสมข้อมูลที่ได้แสวงหาไว้แล้ว และดําเนินการตามขั้นตอนดังนี ้ 1. ตีความปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องการจะแก้ปัญหานั้น ทุกแง่มุมและทุกประเด็น 2. ทําการศึกษา พิจารณาข้อมูลที่มีอยู่ให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง หาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มี อยู่กับปัญหาว่ามี ความเกี่ยวพันธ์กันอย่างไร อาจจะเป็นการนําข้อมูลเก่ามารวมกันให้เกิดเป็นความคิดใหม่หรือการนําเอาข้อมูลใหม่ที่จะใช้ใน การแก้ปัญหา มารวมกับข้อมูลเก่าซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคคลในการหาความสัมพันธ์ของแต่ละส่วน 3. ระยะที่จะก่อให้เกิดความคิด คือ ปล่อยหัวสมองให้ว่าง ไม่ต้องคิดอะไร เพราะเมื่อไปกังวลกับความคิดนั้นมากๆ จะทําให้การความคิดหยุดชะงักได้ แต่ถ้าปล่อยให้สมองว่างไว้ เมื่อย้อนกลบัมาทําการคิดต่อก็จะทําให้สามารถคิด ได ้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าความคิดที่ได้ใหม่นั้นจะเป็นความคิดที่ไม่ตรงตามที่ต้องการนัก แต่สามารถปรับเปลี่ยนความคิดนั้น ให้นําไปใช้ในการแก้ปัญหาได้ 4. นําความคิดที่ได้มาปรับให้สามารถนําไปปฏิบัติได้จริง โดยการนําไปปรับให้เข้ากับเงื่อนไขที่มีอยู่ เป็นขั้นตอน ที่มีความสําคัญ เพราะคือวัตถุประสงค์ในการคิดของเรา คือเป็นการติดเพื่อหาทางแก้ปัญหา เพราะถ้าหากความคิดที่ได้มานั้น ไม่สามารถนําไปแก้ปัญหาได้ความคิดนั้นก็ไม่มีประโยชน์ เราสามารถนําความคิดนั้นไปทดลองเพื่อทําการพิสูจน์ได้ หรืออาจจะ

Page 10: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 10

นําไปปรึกษากับผู้มีประสบการณ์มากกว่าหรือผู้ที่ทํางานฝ่ายปฏิบัติจนกวา่จะสามารถปรับความคิดจนลงตัวและไปแก้ปัญหาได้ เทคนิคในการสร้างความคิด แม้ว่าจะรู้ขั้นตอนหรือกระบวนการในการผลิตความคิดแล้วก็ตาม แต่ถ้าไม่สามารถนความคิดมาใช้ได้ กระบวรการคิด ก็ไม่สามารถดําเนินไปได้จนจบกระบวนการ หลายครั้งที่อาจเกิดอาการคิดไม่ออก เทคนิคในการเร้าให้เกิดความคิดนี ้อาจจะช่วยให้สามารถสร้างความคิดใหม่ๆ ขึ้นได้ เทคนิคเหล่านี้ ได้แก่ 1.การระดมสมอง การระดมสมอง ไม่ใช่การรวมกลุม่กันเพื่อหาทางแก้ปัญหา แต่เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงความคิดหรือทัศนะต่างๆ ที่อาจจะแก้ปัญหานั้นได้โดยไม่สนใจว่าความคิดนั้นๆ จะสามารถนํามาใช้ได้จริงหรือไม่ ขณะที่กําลังทําการระดมสมองนี ้จะต้องไม่มีการวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าของความคิดเหล่านั้น เพราะจะทําให้ความคิดเหล่านั้นสะดุดหยุดลง และต้องมีการจด บันทึกสิ่งที่คิดได้นั้นให้ได้มากที่สุด หลังจากระดมสมองแล้ว จะทําการคัดเลือกความคิดที่ดีที่สุด ซึ่งขณะที่ทําการระดมสมองนี้ จะทําให้ได้ความคิดใหม่ๆ ขึ้นมามากมายเป็นการกระตุ่นความคิดให้เกิดขึ้นมาได้อย่างหลากหลาย วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมาก เพราะการที่คนเราจะเกิดความคิดใหม่ๆขึ้นมาได้นั้นจะอาศัยเพียงสมอง ของคนๆ เดียว ย่อมไม่สามารถสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ ได้ ดังนั้นการที่ได้พูดคุยแสดงความคิดกันในกลุ่มหลายๆ คน แต่ละคน มีความรู้ มีภูมิปัญญา มีประสบการณ์ดีๆที่แตกต่างกัน สิ่งที่แต่ละคนเสนออาจไปจุดประกายความคิดใหม่ๆให้แก่ผู้อื่นในกลุ่มได้ 2.การตรวจสอบด้วยคําถาม การตรวจสอบด้วยคําถาม เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทําให้เรามองเห็นจุดบกพร่องหรือสิ่งที่มองข้ามไป ทําให้ค้นพบ ความคิดหรือทางออกใหม่ๆสําหรับการแก้ปัญหา ซึ่งคําตอบนี้มีความสําคัญต่อการคิดเป็นอย่างยิ่ง หากได้คําตอบที่ถูกต้อง จากการตั้งคําถาม ก็จะคือไปได้ถูกทางแต่ถ้าคําตอบไม่ถูกต้องครบถ้วน ความคิดที่จะคิดต่อมาก็จะไม่ได้ผล และวิธีที่น่าจะใช ้ในการตรวจสอบด้วยคําถามคือ การทอลองด้วยตนเองโดยการออกสํารวจข้อมูลตามทีต่้องการ จะเห็นได้ชัดเจนในงานโฆษณา ถ้าเราต้องการจะรู้คําตอบของคําถามเกี่ยวกับตัวสินค้าและกลุ่มเป้าหมายวิธีการที่เราจะหาคําตอบได้ก็คือ การทดลองใช้สินค้า ด้วยตนเอง หรือการออกทําการวิจัยตลาดเพื่อสอบถามจากลุ่มเป้าหมายโดยตรง 3.การเปิดหูเปิดตาต่อสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว การเปิดหูเปิดตา เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทําให้เราได้ข้อมูลมา ซึ่งอาจจะไปกระทบความคิดหรือทําให้เกิดความคิดใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ซึ่งก็ควรจะมีการจดบันทึกเอาไว้ด้วย 4. การพูดคุยกับผู้รู้ การพูดคุยกับผู้รู้ คือการพูดคุยกับผู้มีทักษะและประสงการณ์ในแต่ละดา้นจะทําให้เราได้มีความรู้ในด้านนั้นๆ ได้ลึก และเข้าใจดีกว่าการรู้เพียงผิวเผิน ในส่วนที่เราไม่เข้าใจหรือไม่เห็นด้วยนั้นก็สามารถถามหรือแสดงความคิดได้บ้าง โดยต้องมุ่งหา คําตอบที่ถูกต้องและเป็นผลสรุปทีดีและไม่ใช้อารมณ์เป็นใหญ่ จะทําให้เราได้รู้ถึงทัศนะที่ต่างไปจากความคิดของเรา และอาจ กระตุ้นความคิดใหม่ๆ ให้กับเราได้ ในการคิดให้ได้ผลดีนั้น จะต้องมีความเข้าใจในหลักเกณฑ์พื้นฐาน 2 ส่วน ได้แก่ 1. การอ้างเหตุผล ต้องเข้าใจวิธีการอ้างเหตุผลและข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดจากการอ้างเหตุผล เป็นเรื่องของ วิธีการ อ้างความสัมพันธ์ของเหตุและผลว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้องหรือไม ่ 2. การใช้ภาษา ต้องเข้าใจการใช้ภาษาประเภทต่างๆ ว่ามีจุดมุ่งหมายอย่างไร ที่จะสามารถนํามาใช้ในการคิดได้

Page 11: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 11

ในการเขียนบทโทรทัศน์ผู้ที่จะเป็นนักเขียนบทที่ดี จะต้องเป็นผู้ที่มีกระบวนการคิดที่ดีสามารถนําข้อมูลที่มีมาทําการคิด วิเคราะห์ และนําไปใช้ประโยชน์ได้ และต้องเป็นการคิดอย่างมีเหตุผล มีระบบไม่ใช่การคิดอย่างเลื่อนลอย ไร้เหตุผล เมื่อผู้นั้นมีกระบวนการคิดที่มีประสิทธิภาพแล้ว จะสามารถผลิตความคิดที่แปลกใหม่ออกมาได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความจําเป็น ในการเขียนบทโทรทัศน์ในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขันเพื่อเสนอสิ่งที่แปลกใหม่ กระบวนการคิดที่มีประสิทธิภาพนี ้ก็จะสามารถดําเนินความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้ ซึ่งก็เป็นกระบวนการผลิตความคิดเดียวกันนั่นเอง การคิดสร้างสรรค์ (CREATIVE THINKING) ความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดที่มีการลําดับขั้นตอน แล้วประมวลออกมาเป็นกรรมวิธทีี่สามารถนําไปใช้ได้จริง โดยทีค่นอื่นสามารถเข้าใจได้ตรงกับที่ตนคิด อาจเกิดจากการพัฒนาความคิดที่มีอยู่เดิมหรือเป็นความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใคร คิดมาก่อน ที่มาของความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ มีที่มา 2 ลักษณะ คือ 1. ได้จากความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ก่อน แล้วนํามาประมวลและจัดลําดับใหม่ 2. เป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่งคิดได้เอง ไม่ซ้ํากับความคิดเดิมของใคร ไม่เคยมีผู้ใดคิดมาก่อนแต่สิ่งที่สําคัญ คือ การที่เราจะมีความคิดสร้างสรรค์ได้นั้น จะต้องเป็นคนที่มีความคิดริเริ่มในการที่จะแสวงหาสิ่งแปลกใหม่ และมีทัศนคต ิเชิงสร้างสรรค์ การชอบค้นคว้าเพื่อการค้นพบสิ่งใหม่ๆ การมองเห็นสิ่งของสิ่งเดียวกับที่ทุกคนมอง แต่คิดต่างจากที่คนอื่นคิด ในบางครั้ง เมื่อเราจําเป็นต้องใช้สมองในการแสวงหาวิธีการคิดริเริ่มสร้างสรรค์แต่เรากลับพบว่าเราไม่สามารถทําได้ เหตุผลที่สําคัญที่ทําให้เราเป็นเช่นนั้นก็คือ การที่เรามีสิ่งที่คอยผูกมัดจิตใจ และคอยบังคับให้เราคิดวนเวียน อยู่แต่ในความคิดเดิมๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคที่คอยขัดขวางไม่ให้เราสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้ อุปสรรคเหล่านี้ได้แก ่ 1. การยึดมั่นว่าคําตอบที่ได้นั้นถูกต้องแล้ว ทําให้ไม่มองหาคําตอบอื่นที่ดีกว่า 2. การคิดว่าความคิดนั้นไม่ถูกต้องตามหลักตรรกวิทยา อาจทําให้เสียโอกาส 3. การคิดว่าจะต้องทําตามกฎเสมอ ทําให้ได้คําตอบที่จํากัดขอบเขตเกินไป 4. การคิดว่า ต้องคิดในสิ่งที่สามารถทําได้จริง 5. การคิดที่พยายามหลีกเลี่ยงความคลุมเครือ 6. การคิดว่าการทําสิ่งผิดเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง 7. การคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระ 8. การคิดว่าเราไม่สามารถทําในสิ่งที่เราไม่ถนัด 9. การคิดว่า การทําอะไรต่างไปจากคนอื่นเป็นสิ่งที่แปลก ทําให้ไม่กล้าทํา 10. การคดิว่าตัวเองไม่มีหัวคิดสร้างสรรค ์

อุปสรรคทั้ง 10 ประการนี้ จะเป็นเครื่องจํากัดทําให้เราไม่สามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้ ซึ่งมีข้อเสนอเพื่อให้เรา สามารถตัดอุปสรรคเหล่านี้ออกไปได้ ดังนี ้

ข้อที่ 1 พยายามมองหาคําตอบที่ถูกต้อง ข้อที่ 2 จงเล่นคําพูดหรือตัง้คําถามโดยใช้คําพูดที่ต่างออกไปจากเดิม ข้อที่ 1 และ 2 นี้จะช่วยให้สามารถตัดอุปสรรคในการคิดว่าสิ่งที่เราคิดในตอนแรกนั้นถูกต้อง และทําให้เรามองหาความคิดอื่นๆอีก ข้อที่ 3 อย่าใช้ความคิดอย่างอ่อน คือ ความคิดในเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย ในลักษณะของการประมาณ และคลุมเครือ ในการมองหาความคิดใหม่ๆ แต่ใช้ความคิดอย่างแข็ง คือ ความคิดที่มีเหตุ มีผล ชัดเจน

Page 12: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 12

ตรงไปตรงมา ในการปฏิบัต ิข้อที่ 4 เมื่อประสบกับปัญหา จงพยายามใช้วิธีการอุปมาอุปไมยกับสิ่งที่ แตกต่างกัน ข้อที่ 5 แสวงหาวิธีการอุปมาอุปไมยใหม่ๆ และพยายามสังเกตการณ์อุปมาอุปไมยของคนอื่นๆ ข้อที่ 6 ระวังการคิดแบบอุปมาอุปไมย เพราะบางครั้งอาจทําให้เราจนแต้มได้ ข้อ 3 – 6 นี้ จะช่วยให้เราลืมการคิดให้ถูกต้องตามหลัก ตรรกวิทยา ซึ่งเป็นอุปสรรคในการคิดสร้างสรรค ์ข้อที่ 9 จงถามตัวเองว่า “ทําไม” แล้วพยายามหาคําตอบให้ได้ ข้อที่ 10 อย่าตกหลุมกับความคิดใดๆ หรือกับแนวคิดใดๆ เพราะเราจะนํามันมาใช้ในทุกโอกาสและมองข้าม

ข้อดีของวิธีการอื่นไปหมด ข้อที่ 11 ตรวจสอบกฎเกณฑ์และขจัดกฎเกณฑ์ที่ไม่เหมาะสมทิ้งไป ข้อ 7-11 เป็นวิธีการที่จะทําให้เรามีอิสระในการแสวงหาความคิดใหม่ๆ ข้อที่ 12 ใช้ทัศนคติเปิดใจแบบศิลปินในการสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ข้อที่ 13 พยายามตั้งคําถามว่า อะไรจะเกิดขึ้น...ถ้า แล้วหาคําตอบให้ได้ คือไม่พึงพอใจในสิ่งที่มันเป็นอยู่อย่าง

ปกติ พยายามคิดว่า ถ้ามันเปลี่ยนไป มันจะเป็นอย่างไร ข้อที่ 14 ให้เวลาในการใช้จิตนาการ แม้ว่าความคิดเหล่านั้นจะยังไม่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้ในทันที แต่

การกระทําเช่นนี้จะเป็นการฝึกฝนการคิดและจินตนาการของเรา ข้อที่ 15 กระตุ้นให้บุคคลอื่นมีความคิดและตั้งคําถาม “อะไรจะเกิดขึ้น...ถ้า ข้อ 12 – 15 จะช่วยให้เราลืม

ความคิดที่ว่า ต้องแสวงหาความคิดที่สามารถนําไปปฏิบัติจริง เป็นการเปิดสมองของเราให้ว่างขึ้น จากข้อจํากัด

ข้อที่ 16 หาประโยชน์จากความคลุมเครือ ข้อที่ 17 ตั้งคําถามที่คลุมเครือ ถ้าหากต้องการคําตอบที่เป็นความคิดสร้างสรรค ์ข้อที่ 18 หาแหล่งที่มาของความคลุมเครือของตนเอง อาจจะเป็นปรัชญาต่างๆ ที่สร้างความคลุมเครือให้กับ

ตนเอง และคิดถึงมันทุกครั้งที่ต้องการแสวงหาความคิดสร้างสรรค ์ข้อที่ 19 บางครั้งอาจใช้เรื่องขําขันเพื่อช่วยให้ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นมาได ้ข้อที่ 20 ตั้งปัญหาที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ในลักษณะที่คลมุเครือแล้วลองตีความหมายที่เป็นไปได้สัก 3

ประการ ข้อที่ 16 – 20 เป็นการใช้ความคลุมเครือในการเพาะความคิดสร้างสรรค์ เป็นการเปิดจินตนาการซึ่ง เป็นที่มาของความคิดสร้างสรรค ์ข้อที่ 21 เมื่อมีการทําอะไรผิดพลาด จงใช้ความผิดนั้นเป็นบันไดไปสู่ความคิดใหม่ๆ ข้อที่ 22 ทําความเข้าใจระหว่างคําว่า การกระทํา และการละเว้น การละเว้นอาจมีผลเสียมากกว่าการกระทําก็

ได้ นั่นคือ ถ้าเราไม่เคยทําอะไรผิดเลยแสดงว่าเราปล่อยให้โอกาสดีๆ หลุดลอยไป ข้อที่ 23 ทําใจให้กล้าเสี่ยงมากขึ้น เพราะการเสี่ยงก็คือการบ่อมเพาะความคิดนั่นเอง ข้อที่ 24 ระลึกถึงข้อดีขงความผิดพลาดว่า ความผิดพลาด ทําให้เรารู้ได้ว่าวิธีการนี้ใช้ไม่ได้ผลและข้อผิดพลาด

ย่อมเปิดโอกาสให้เราได้ลองวิธีการใหม่ๆ ข้อที่ 21-24 แสดงให้เห็นว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในช่วงการเพาะความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นสิ่งที ่เหมาะสม เพราะมันเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า เรากําลังหันเหออกจากเส้นทางเก่าๆ ข้อที่ 25 ถ้าพบปัญหา จงเล่นกันมัน ข้อที่ 26 แม้ว่าจะไม่มีปัญหา ก็จงเล่นกับมัน ข้อที่ 27 พยายามทําให้สภาพแวดล้อมของเราเป็นสภาพที่น่าสนุก ข้อที่ 25-27 เป็นสิ่งที่ทําให้เราเห็นว่า การเล่นสนุกเป็นแรงกระตุ้นที่มีอํานาจมากในการแสวงหา ความคิดสร้างสรรค์ เพราะคนเราพอใจที่จะทํางานที่น่าสบายมากกว่าจะฝืนใจทําและย่อมให้แนวคิดที ่

Page 13: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 13

ดีกว่าออกมาได ้ข้อที่ 28 ฝึกนิสัยของตนให้เป็นนักล่า คือเปิดหูเปิดตาของตนให้กว้างอยู่เสมอ เพื่อรับสิ่งใหม่ๆ ข้อที่ 29 เปิดโอกาสให้ตนเองมีเวลาในการล่าความคิดใหม่ๆ อย่างทําตัวให้เป็นคนตกยุค ข้อที่ 30 พัฒนาวิธีการตามล่า หรือแสวงหาความคิดใหม่ๆ ข้อที่ 31 เมื่อพบปัญหา จงมองหาสถานการณ์ที่ใกล้เคียง บางครั้งเราจะพบว่า ในสถานการณ์เช่นนี้เราเคย

แก้ปัญหามันได้มาแล้ว ข้อที่ 32 จดทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความคิดใหม่ๆ ที่คิดได้ในทันที ข้อที่ 28-32 จะช่วยตัดความคิดที่ว่า นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราถนัด เพราะการคิดเช่นนั้น จะทําให้เราไม่ยอม คิดในเรื่องอื่นเลย ถ้าเป็นสิ่งที่เราไม่ยอมคิดในเรื่องอื่นเลย ถ้าเป็นสิ่งที่เราไม่ถนัด การทําตัวให้เป็น นักล่าแนวคิดใหม่ๆ จะทําให้เราพยายามที่จะรู้และแสวงหาความคิดใหม่ๆ ในทุกเรื่อง ข้อที่ 33 ทําตัวเป็นคนโง่ในบางครั้ง หยุดความคิดเก่าๆ ที่เคยรู้มาชั่วครู่ อาจทําให้เราเกิดความคิดใหม่ๆ ขึ้นมา

ได ้ข้อที่ 34 จงรู้ตัวทุกครั้งที่เกิดความคิดว่ากําลังเลียนแบบใครหรือกําลังดูถูกคนโง่ เพราะนั่นแสดงว่าเรากําลังเปิด

ฉากในการคิดแบบกลุ่มขึ้น ข้อที่ 35 จงมีอารมณ์ขันอยู่ตลอดเวลา การเป็นคนโง่ จะทําให้เราไม่ต้องคํานึงถึงกฎเกณฑ์ พยายามที่จะเปลี่ยนสมมุติฐานต่างไปจาก มาตรฐานสากล และในบางครั้ง อาจจะขุดเรือ่งเล็กๆ ที่คนอื่นมองข้ามไปและทําเรื่องเล็กให ้ กลายเป็นสิ่งที่มีความสําคัญได้ ในขณะเดียวกันคนโง่อาจมองปัญหาว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ทําให้ สามารถคิดอะไรได้กว้างขึ้น ข้อที่ 36 มีความมั่นใจว่า ตนเองเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดที่เราคิดขึ้นมาได้วา่จะเป็นเรื่อง

เล็กน้อย แต่มันจะนําเราไปสู่อะไรบางอย่างในอนาคต จากข้อเสนอทั้ง 36 ข้อนี้ เป็นแนวทางที่ควรฝึกฝน ปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะไม่ใช่เวลาที่ ต้องการสร้างความคิดสร้างสรรค์ เพราะมันเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับการฝึกฝนให้มีความชํานาญ เสียก่อนจึงจะสามารถนํามาใช้ได้จริงในยามที่ต้องการและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยสิ่งที่ควรจะ จําไว้คือไม่มีใครที่สามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้อยู่ตลอดเวลาสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อาศัยการ ฝึกฝนจนสามารถใช้งานได้ ควรให้เวลาในการฝึกฝนให้มาก เมื่อได้ใช้ความคิดในสิ่งเหล่านี้แล้ว ลองนําไปปฏิบัติให้เป็นนําไปปฏิบัติได้จริง ก็พยายามหาความคิดอื่นที่จะทําให้เป็นจริงได ้

การถ่ายทอดความคิด เมื่อสามารถหาแนวความคิดหรือวิธีการที่จะนําเสนอเนื้อหาได้แล้ว แต่หากไม่สามารถถ่ายทอดความคิด หรือวิธีการ ที่จะนําเสนอข้อมูลออกมาได้ ความคิดและข้อมูลที่มีอยู่นั้นก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย อีกประการหนึ่งคือแม้ว่าจะม ีวิธีการในการถ่ายทอดความคิดเหล่านั้นแล้วแต่วิธีการที่ใช้ไม่สามารถทําให้ผู้รับสารเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ไม่สอดคล้องกับเนื้อหา บรรยากาศ อารมณ์ และการรับรู้ของผู้รับสารแล้ว ก็ถือได้วา่เป็นความล้มเหลวในการถ่ายทอดความคิด การถ่ายทอดความคิด คือ การวางโครงเรื่องของเนื้อหาที่จะทําการถ่ายทอด ผู้ทําการถ่ายทอด จะต้องมีความเข้าใจ ในเนื้อหาที่จะทําการถ่ายทอดเพื่อที่จะได้ทําการเลือกรูปแบบที่ถูกต้องได้ มีการลําดับความคิดที่จะทําการถ่ายทอด และมีความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายที่จะรับการถ่ายทอดความคิดนั้นๆ

Page 14: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 14

รูปแบบในการถ่ายทอดความคิด รูปแบบในการถ่ายทอดความคิด คือรูปแบบในการเล่าเรื่อง (STORY TELLING) ซึ่งแต่ละรูปแบบจะม ีความเหมาะสมกับประเภทของเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ได้แก่ 1. การบรรยาย (NARRATION) คือ การเล่าเรื่อง หรือเหตุการณ์ ตามลําดับเวลา หรือสถานที่ ให้ผู้รับสารเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงที่นํามาถ่ายทอด เพื่อให้เข้าใจเรื่องราวเกิดขึ้นและเรื่องราวจะดําเนินไปอย่างไร ได้แก่ อัตตชีวประวัติ การบรรยายข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ การบรรยายเหตุการณ์หรือเรื่องที่แต่งขึ้น

1.1 COMMENTARY การพูดตรงๆ การให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมา เป็นการถ่ายทอดที่ไม่มี ความซับซ้อน ถ่ายทอดโดยการใช้ข้อความ เสียง หรือ ภาพ

1.2 DRAMA เป็นการบรรยาย ที่ใช้ตัวละครเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความคิดตัวละครจะเป็นตัวเล่นเรื่องเอง โดยใช้รูปแบบของบทสนทนา 2. การอธิบาย (CXPOSITION) คือ การถ่ายทอดความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้แจ่มแจ้ง มุ่งในประเด็น ที่สงสัยแล้วนํามาพิจารณาให้เข้าใจ ได้แก่ การอธิบายกระบวนการ การวิเคราะห์หรือจําแนกเนื้อหาออกเป็นประเภท การให ้นิยามหรือความหมายของคํา 3. การพรรณนา (DESCRIPTION) คือ การถ่ายทอดความคิด ในสิ่งที่ได้สังเกต หรือประทับใจ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ผู้รับสารได้มีความคิดหรือมองภาพได้ตรงตามที่ผู้ถ่ายทอดต้องการ ซึ่งสิ่งที่ทําการถ่ายทอดนี้อาจได้แก่ อารมณ์ มโนภาพ ความรู้สึกจากการที่ได้สัมผัสซึ่งการพรรณนานั้นจะใช้ วิธีการพรรณนาตามความเป็นจริง หรือ การพรรณนา ตามความรู้สึก 4. การวิพากษ์ (ARGUMENTATION) คือ รูปแบบการถ่ายทอดความคิดที่ต้องการพิสูจน์หรือยืนยันว่า สิ่งที่เราถ่ายทอดไปนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นจริง น่าเชื่อถือ ซึ่งต้องประกอบด้วยหลักฐานที่มาสนับสนุนข้อสรุปนั้นๆ ได้แก่ การวิพากษ์โดยใช้ข้อเท็จจริง การวิพากษ์โดยใช้การชักจูงทางอารมณ ์ 5. การเล่าเรื่องเชิงละคร (DRAMATIZATION) เป็นการถ่ายทอดความคิดให้เข้าใจง่ายโดยใช้รูปแบบของละคร มีการจําลองเรื่องราวและการดําเนินเรื่อง ใช้การบรรยายจากเหตุการณ์ย่อยไปสู่จุดสุดยอด (CLIMAX) ของเหตุการณ ์

กลุ่มเป้าหมายของสื่อโทรทัศน์ (TARGET AUDIENCE)

การเขียนบทโทรทัศน์จะต้องมีการกําหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ไม่กําหนดว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายทั่วไป จะต้องมีการ เจาะจงกลุ่มเป้าหมายลงไปให้ชัดเจน ซึ่งการกําหนดกลุ่มเป้าหมายนั้น จะต้องเข้าใจถึงประเภทของกลุ่มเป้าหมาย ว่าแต่ละกลุ่มมีความต้องการอย่างไร การแบ่งประเภทกลุ่มเป้าหมายอาจใช้ลักษณะทางกายภาพ (DEMOGRAPHIC INFORMATION) หรือลักษณะทางจิตที่อยู่ภายใน (PSYCHOGRAPHIC INFORMATION) หรืออาจใช้ทั้ง 2 อย่างรวมกัน และถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุดแล้ว การแบ่งประเภทของกลุ่มเป้าหมายควรจะกําหนดลักษณะเฉพาะของกลุ่มเป้าหมายให้ละเอียดที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปการกําหนดประเภทของกลุ่มเป้าหมายสําหรับโทรทัศน์และโฆษณา นิยมกําหนดเป็นสัญลักษณแ์ทนกลุ่มดังนี ้ กลุ่ม A คือ กลุ่มเป้าหมายชั้นสูง มีรายได้สูงถึงขั้นเหลือใช้ สามารถใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้ตามต้องการ กลุ่มนี้จะมีจํานวนน้อย ในสังคม มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มักใช้สินค้าที่ไม่มีการโฆษณาเพราะไม่ชอบทําอะไรที่เหมือนกับการถูกชักจูง กลุ่มนี ้มักไม่ค่อยสนใจสื่อโทรทัศน์นักมักในใจในสื่อสิ่งพิมพ์มากกว่า เช่น สนใจสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนิตยสาร เพราะมีความเป็นส่วนตัว มากกว่า จึงไม่ค่อยเป็นกลุ่มเป้าหมายในการเขียนบทโทรทัศน ์

Page 15: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 15

กลุ่ม B คือ กลุ่มเป้าหมายชั้นกลางค่อนข้างไปทางสูง มีรายได้ใช้จ่ายอย่างเพียงพอมีเงินเก็บเพื่อใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้บ่อยครั้ง หน้าที่การงานมักอยู่ในระดับผู้จัดการ หัวหน้าฝ่าย มีพื้นฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นไป กลุ่ม C คือ กลุ่มเป้าหมายชั้นกลางทั่วไป เป็นคนทํางาน มีเงินที่จะใช้จ่ายได้อย่างเพียงพอแต่อาจต้องใช้อย่างประหยดั มีเงินเก็บพอที่จะใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้นานๆ ครั้ง กลุ่มนี้จะมีจํานวนมากในสังคม มีการศึกษาระดับอนุปริญญา ถึง ระดับอุดมศึกษา มีตําแหน่งหน้าที่การงานระดับพนักงานทั่วไป กลุ่ม D คือ กลุ่มเป้าหมายระดับกลางค่อนไปทางต่ํา มีรายได้ประจําแน่นอน แต่ต้องใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง จึงจะพอใช ้อาจขาดเหลือบ้างนิดหน่อย ไม่สามารถใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้ การศึกษาระดับมัธยม ปวช. ปวส. หน้าที่การงาน ระดับเจ้าหน้าที่ระดับล่าง กลุ่ม E คือ กลุ่มเป้าหมายระดับต่ํา ไม่มีรายได้ประจําแน่นอน ทํางานใช้แรงงานไม่มีตําแหน่งหน้าที่การงานชัดเจน หาเช้ากินค่ํา การศึกษาระดับต่ํากว่ามัธยม 3 กลุ่มนี้ไม่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการเขียนบทโทรทัศน์ เพราะไม่สามารถ ใช้จ่ายได้ตามต้องการและไม่มีเวลาดูโทรทัศน ์ ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายของการเขียนบทโทรทัศน์ คือ กลุ่ม B, C, D เพราะคนกลุ่มนี้มีจํานวนค่อนขา้งมาก และมีความสามารถที่จะจ่ายเงินได ้ ลักษณะการรับรู้และความสนใจของผู้รับสาร ผู้ชมรายการโทรทัศน์มีสิทธิที่จะเลือกรับสารหรือชมรายการโทรทัศน์ ดังนี ้ 1. การชมรายการโทรทัศน์เป็นเพียงหนึ่งของกิจกรรมในชีวิตประจําวันเท่านั้น ไม่ใช่เป็นกิจกรรมเดียวในชีวิต การเขียน บทโทรทัศน์จึงต้องทําให้ผู้รับสารหันมาสนใจกิจกรรมการดูโทรทัศน์ให้มากขึ้น 2. ผู้เขียนบทโทรทัศน์จะมั่นใจได้อย่างไรว่า กลุ่มเป้าหมายจะเลือกชมรายการของเรา ดังนั้นจึงต้องทํา รายการให้มีความน่าสนใจ เพียงพอที่จะดึงดูดกลุ่มเป้าหมายมาชมรายการของเราให้ได ้ 3. เมื่อชมรายการของเราแล้ว ทําอย่างไรจึงจะชมรายการของเราตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนั้นผู้เขียนบทโทรทัศน์จะต้องทําความเข้าใจในหลักการทางจิตวิทยาการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้บทโทรทัศน ์ที่นําเสนอในแต่ละรายการนั้นมีความสมบูรณ์ที่สุด ดังนี ้ การเลือกรับสาร ELECTIVE PERCEPTION การใช้หลักการคัดสรรของมนุษย์ ซึ่งโดยธรรมชาตินั้น มนุษย์เรามีกระบวนการที่จะเลือกรับรู้สิ่งใดๆอยู่แล้ว แม้ว่าเขา จะชมรายการของเรา ถ้ารายการของเรามีวัตถุประสงค์ในการจูงใจ ผู้เขียนบทจะต้องทําความเข้าใจจิตวิยาการรับรู้ของมนุษย์ว่า มีขั้นตอนอย่างไร จึงจะทําให้การเขียนบทโทรทัศน์สามารถจูงใจผู้รับสารได้ ซึ่งมีขั้นตอนของการเลือกที่จะรับของมนุษย์ดังนี ้ ขั้นตอนที่ 1 SELECTIVE EXPOSURE มนุษย์มีอิสรุในการเลือกรับรู้ข้อมูลต่างๆ และมนุษย์เรามีสมองจํากัด ทําอย่างไรจึงจะจดจําข้อมูลที่ต้องการจะจดจําได้ จึงมีการเลือกที่จะจําสิ่งที่มนุษย์เลือกที่จะรับรู้เป็นบางส่วน ได้แก ่ 1. เป็นเรื่องที่ตนสนใจ เป็นการกําหนดวัตถุประสงค์ในใจ การเขียนบทโทรทัศน์จึงต้องทราบว่า อะไรคือสิ่งที่ผู้ชมสนใจ

Page 16: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 16

2. เป็นเรื่องที่เป็นผลประโยชน์กับผู้ชม ต้องค้นหาว่าผลประโยชน์ของผูช้มคืออะไร และมีผลกระทบอย่างไร กับผู้ชมของเรา ในขั้นตอนนี้ การเขียนบทจะต้องทําให้ผู้ชมเปิดใจที่จะรับรู้และสนใจที่จะชมรายการของเรา เราจึงต้องเขียนบท ให้ดึงดูดในผู้ชมให้ได ้ ขั้นตอนที่ 2 SELECTIVE PERCEPTION เมื่อมนุษย์ยอมเปิดใจที่จะรับรู้สิ่งนั้นๆ แลว้ จะยังไม่สามารถจดจําเข้าไปในสมองได้เพราะมนุษย์ยังเลือกที่จะจดจําสิ่งที่ได้ผ่านเข้ามาเพียงบางส่วนเท่านั้น เรื่องที่มนุษย์มักจะจดจําไว้จะเป็นเรื่องที่สะเทือนใจ เร้าอารมณ์หรือมีคุณค่า การเขียนบทโทรทัศน์ต้องพยายามทําให้ผู้ชมจดจํารายการของเราได้ ถ้ารายการของเราอยู่ในความทรงจําของผู้ชมใน 3 อันดับแรกก็ถือว่ารายการประสบความสําเร็จแล้ว ขั้นตอนที่ 3 SELECTIVE REENTION คือ การที่สมองมนุษย์เลือกที่จะจดจําสิ่งใดไว้ตลอดไป จะติดอยู่ในหัวสมอง ไม่ต้องใช้การจํา ถ้าเราเขียนบท สามารถทําในส่วนนี้ได้ ถือว่าประสบความสําเรจ็มาก เรียกว่าเป็นความคงทนในการจํา (RETENTION) รายการโทรทัศน ์ที่มีวัตถุประสงค์ในการชักจูงใจผู้ชม จะต้องทําให้ผู้ชมเกิดความคงทนในกาจําสูงๆ จึงจะประสบความสําเร็จในการชักจูงใจ การที่จะทําให้ผู้ชมเกิด RETENSTON กับรายการของเรานั้น ผู้เขียนจะต้องมีความเข้าใจในการแยกประเภทของกลุ่มเป้าหมาย ความสนใจของกลุ่มเป้าหมายในการรับสาร ต้องรู้และเข้าใจโครงสร้างของรายการโทรทัศน์เป็นอย่างดี และสามารถนํามาใช ้ในการเขียนบทโทรทัศน์ได ้

ความสนใจในการรับสาร (ATTENTION)

หลักแห่งความสนใจ ซึ่งเป็นหลักทางจิตวิทยาการรับรู้ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในการรับสารของกลุ่มเป้าหมายนั้น

แบ่งเป็นหลายลักษณะ ดังนี้ INTENSITY OF ATTENTION คือความมากน้อยของความสนใจที่ผู้ชมมีให้กับรายการโทรทัศน์ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความสําคัญของเนื้อหา เนื้อเรื่อง และการนําเสนอต่างๆในรายการ ธรรมชาติของมนุษย์จะสนใจในสิ่งที่แปลกใหม่และจะค่อยๆลดความสนใจลงเมื่อเวลาผ่านไป ผู้เขียนบทจึงต้องมีความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ว่ามนุษย์ในแต่ละเพศ วัย หรือกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน มีความสนใจ ในสิ่งต่างๆที่แตกต่างกันไปตามการอบรมจากครอบครัว และสิ่งที่หล่อหลอมตามสภาพแวดล้อมของคนๆ นั้น ในบางครั้ง กลุ่มเป้าหมายเดียวกันอาจจะมีความสนใจคนละเรื่องกัน หรือแม้ว่าจะมีความสนในเรื่องเดียวกัน แต่ความสนใจอาจจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละคนผู้เขียนบทจึงต้องพยายามวิเคราะห์ว่า เรื่องใดเป็นเรื่อง ที่น่าสนใจของกลุ่มเป้าหมายใด และคํานึงถึงระยะเวลาในการนําเสนอว่า เวลาใดจึงจะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชม ได้มากที่สุด ซึ่งในการวิเคราะห์นี้ ต้องไม่นําตัวเองเข้าไปวัด ในต่างประเทศ จะมีการทําวิจัยว่า กลุ่มเป้าหมายของรายการต้องการรายการประเภทใด อย่างไร แล้วจึงเขียนบท และต้องทํา PRE-TEST ก่อน คือการเอาบทให้กลุ่มเป้าหมายจากการสุ่มตัวอย่างอ่าน แล้วจึงทําการผลิต และก่อน การออกอากาศจะมีการทํา PILOT PROGRAMS คือ ให้กลุ่มเป้าหมายดูรายการแล้วดูปฏิกิริยา เพื่อแก้ไขปรับปรุง จากนั้นจึงค่อยนําออกอากาศ

Page 17: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 17

ATTENTION SPAN ATTENTION คือ ช่วงของความสนใจที่จะชมรายการ ระยะหรือช่วงเวลาในการนําเสนอขึ้นอยู่กับช่วงเวลา ที่กลุ่มเป้าหมายจะสนใจกับเนื้อหานั้นๆ ผู้เขียนบทต้องสามารถกําหนดเวลาให้เหมาะสมกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อคนดูแล้วรู้สึกว่าไม่น่ารีบจบเลย ซึ่งอาจสรุปได้ว่า - เด็ก จะมี ATTENTION SPAN น้อยกว่าผู้ใหญ่ รายการเด็กจึงไม่ควรนําเสนออยาวมาก - ผู้ชาย จะมี ATTENTION SPAN น้อยกว่าผู้หญิง - คนที่มีการศึกษาน้อยกว่า จะมี ATTENTION SPAN น้อยกว่าคนที่มีการศึกษาสูงกว่าเพราะคนที่มีการศึกษาสูงจะมีความในใฝ่รู้ในเรื่องต่างๆ มากกว่า - ชีพที่มีเวลาว่างมาก เช่น แม่บ้าน ข้าราชการ จะมี ATTENTION SPAN มากกว่าผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องทํางานหนัก เพราะไม่มีเวลาว่างพอที่จะมาติดตามดูตลอด เช่น ผู้ที่ทํางานในบริษัทเอกชน - เนื้อหาที่นําเสนอที่มีความซับซ้อน ยากต่อการเข้าใจ หรือเนื้อหาที่ประเทืองปัญญาจะทําให้เกิด ATTENTION SPAN น้อยกว่า เนื้อหาที่บันเทิง

องค์ประกอบในการสร้างความพึงพอใจ (AUDIENCE GRATIFICATION) เป็นองค์ประกอบในการสร้างความสนใจให้ผู้ชมสนใจรายการ และตืดตามต่อจนจบ ซึ่งได้แก่ INFORMATION โดยธรรมชาติของมนุษย์ มีความต้องการที่จะรับรู้ข่าวสารอยู่แล้ว แต่จะมีเหตุผลในการรับรู้ข่าวสาร 2 ประเภท คือ SURVEILANCE คือ เพื่อการดํารงชีวิตอยู่ได้ในสังคม ทันโลกทันเหตุการณ ์ IMPORTANCE เป็นการนําเสนอสิ่งที่มีความสําคัญ เช่น เรื่องเกี่ยวกับบุคคลที่มีชื่อเสียง ความดังของข่าว แต่ละคนจะให้ความสนใจ ในความสําคัญต่างกัน เพราะแต่ละคนจะเห็นความสําคัญของแต่ละสิ่งแตกต่างกัน SUBJECT MATTER เป็นความสําคัญของเนื้อหาที่จะนําแสนอ เช่น เรื่องเกี่ยวกับความอยู่รอดปลอดภัย สุขภาพนามัย ความเป็นความตาย ซึ่งกลุ่มจะให้ความสําคัญต่างกนั ขึ้นอยู่กับ เพศ วัย ผลกระทบ ความสนใจ AUTHORITY คือความสําคัญในด้านตัวบุคคล ได้แก่ AUTHORITY คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง เป็นที่ยอมรับ มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการ ผู้ที่จะให ้ความสําคัญในการรับชม คือ กลุ่มที่มีการศึกษา มีอายุหรือสูงวัย STERGNALITY คือ ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่คลั่งไคล้ในวงการบันเทิง เช่นดารา นักร้อง ผู้ที่จะให้ความสําคัญในการรับชม คือ กลุ่มวัยรุ่น BIGNESS เป็นความสําคัญในแง่ความดังของเนื้อหา ซึ่งกําลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป ซึ่ง SUBJECT METTER อาจจะเป็น BIGNESS ได้ถ้าอยู่ในช่วงที่ส่งผลให้ดัง รายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่จะใช้ในการดึงดูดความสนใจ

Page 18: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 18

VALUE คือ คุณค่าของเนื้อหาที่นําเสนอ เป็นองค์ประกอบที่ทําได้ยาก ได้แก่ - คุณค่าทางอารมณ ์ ทําได้ง่ายที่สุด เป็นการสร้างความพึงพอใจในเนือหา เช่น ละคร - คุณค่าทางกาย ให้ผลประโยชน์แก่คนดูโดยตรง - คุณค่าทางใจ ทําได้ยาก เช่น การรักธรรมชาติ การทําอะไรเพื่อสังคม ACTION เป็นเหตุการณ์ที่มีการเคลื่อนไวของการกระทํา เช่น การต่อสู้ ให้ความรู้สึกเคลื่อนไวทางอารมณ์ เป็นตัวแทน หรือที่ระบายอารมณ์รุนแรงที่เก็บกดไว้ของผูช้ม ส่วนใหญ่คนทั่วไปจะมีความสนใจเรื่องราวที่รุนแรง โดยเฉพาะผู้ชม ที่อายุน้อยจะให้ความสนใจมากกว่าผู้ชมที่อายุมากและการใช้ ACTION นี้ต้องดูเวลาด้วย ในช่วงเวลาที่ผู้ชมส่วนใหญ ่พักผ่อนไม่ควรเสนอ นอกจากจะเป็นการต่อสู้แล้ว ในรายการทั่วไป จะใช้ ACTION ในลักษณะที่สร้างความเคลื่อนไหว ทางอารมณ์ คือดูแล้วรู้สึกว่ามีความเคลื่อนไหว ถ้ารายการที่ผู้ดําเนินรายการอยู่เฉยๆ หรือ รายการที่ไม่มี ACTION มักจะไม่ประสบความสําเร็จ เพราะดูแล้วน่าจะเบื่อ หยุดนิ่ง เป็นทางการ COMEDY / HUMOR เป็นเนื้อหาหรือเหตุการณ์ทีม่ีความตลก เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์ชอบสิ่งที่ให้ความบันเทิง สนุกสนาน ผู้ชมทุกเพศทุกวัยจะชอบตลอกแต่จะต่างกันไปตามรสนิยมและความสามารถในการรับรู้ ซึ่งการใช้องค์ประกอบของ COMEDY มีหลายวิธี ได้แก่

SLAP STICK คือ ตลกเจ็บตัว ใช้ความรุนแรงเพื่อให้เกิดความขบขัน ส่วนใหญ่วัยรุ่นและเด็กจะให้ความสนใจมาก เช่น คนอ่อนแอกว่าไล่ตีคนที่แข็งแรงกว่าได้ คนดูจะชอบ เพระผู้ชมส่วนใหญ่เป็นคนระดับลูกน้องมาก ในการ์ตูนมักจะใช้ตลกแบบนี้ แต่ตลกแบบนี้ถือว่าเป็นตลกที่ไร้สาระและไร้รสนิยมที่สุด

SITUATION คือ ตลกโดยสถานการณ์ของเหตุการณ์ มีสถานการณ์อยู่แล้วเกิดตลกขึ้นมา GAG คือ ตลกที่มีการกําหนดมุขตลกขึ้นมา เช่น ตลกในคําพูด ซึ่งไม่ค่อยมีสาระ SOCIAL คือ ตลกเสียดสีสังคม สะท้อนภาพสังคมในขณะนั้นแต่เอามาทําเป็นตลก ดูได้เรื่อยๆ ซึ่งหากคิดให้ด ี

ผู้ชมจะได้อะไรจากตลกนี้ ถือว่าเป็นตลกที่มีคุณค่าสูงสุด เพราะให้สาระทางใจและทางสมอง ผู้ที่มีการศึกษาสูง และคนในวัยทํางานจะชอบดู

SATIRE เป็นตลกที่มีเรื่องราวเสียดสี เช่น เสียดสีบุคคลสําคัญ ดารา คนดูจําขําและได้สาระด้วย อาจเสียดสีการกระทําที่ไม่ดี ผู้ชมจะเห็นว่าการกระทํานั้นไม่ดีก็จะไม่ทํา

BLACE คือ ตลกร้าย ส่วนมากใช้ในละคร ภาพยนตร์ เป็นการใช้การกระทําที่โหดเหี้ยมแต่ผู้ชมๆ แล้วตลก เอาความรุนแรงมาดูให้ขัน ผู้ชมดูแล้วตลกแต่เมื่อนํามาคิดแล้วก็จะสะเทือนใจ ผู้ชมเป้าหมายจะเป็นกลุ่มที่มีการศึกษา และเก็บกด

SEX APPEAL เป็นองค์ประกอบที่ใช้ดงึดูดเรื่องของเพศ รายการโทรทัศน์เกือบทุกรายการจะใช้องค์ปรกอบนี้ตั้งแต่ตัวผู้ดําเนินรายการ ผู้ร่วมรายการแต่อาจยกเว้นในรายการที่ให้ INFORMATION การใช้ SEX APPEAL ยังแตกต่างกันไปตาม เพศ วัย อาชีพ การศึกษา เช่น อาชีพที่ต้องใช้สมองมากจะสนใจเรื่องนีน้้อย คนมีการศึกษามากจะสนใจน้อย เพราะสามารถยับยั้งใจได ้และมีกฎเกณฑ์ทางสังคมมาก SEX APPEAL ใช้ได้หลายทาง ได้แก่ PHYSICAL ATTRACTIVENESS เน้นทางด้านรูปร่างหน้าตาของตัวบุคคล อย่างน้อยก็สามารถดึงดูดให้ผู้ชม หยุดดูรายการได้ โฆษณามักจะใช้องค์ประกอบนี้มากถึง 70 – 80%

Page 19: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 19

LOVE STORIES เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรักๆ ใคร่ๆ ผู้หญิงจะชอบเรื่องนี้มากกว่าผู้ชายและยังใช้ได้กับวัยรุ่น อาชีพ แม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา และคนไม่มีการศึกษา

TALKING ABOUT SEX เป็นการเชื่อมโยงไปถึงเรื่องทางเพศโดยการพูดคุยในเรื่องชีวิตคูค่วามสัมพันธ์และความรัก อาจจะเป็นตลกสองแง่สามง่าม

MUSIC AS SEX APPEAL ใช้ดนตรีที่สร้างความรู้ทางอารมณ์ ความรัก ลีลาของดนตรีเร้าอารมณ์ให้เคลิบเคลิ้ม โรแมนติก ซึ่งเรื่องราวของความรักนี้ ไม่รวมความรักของพ่อแม่หรือความรักชาติ จะใช้เฉพาความรักของหนุ่มสาว CURIOSITY คือการใช้ความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์มาดึงดูดความสนใจของผู้ชมให้ติดตามเพื่อคลี่คลายข้อสงสัย เป็นสิ่งที ่ท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของผู้ชมเป็นเรื่องราวของความลับลมใน ความฉงนสงสัย จะใช้ได้กับวัยรุ่น ผู้ชมกลุ่มที่มีอายุน้อย ต้องเสนอเรื่องให้ ในตอนเช้าคนเพิ่งตื่นไม่เหมาะที่จะเสนอเรื่องราวแบบนี้ ซึ่งความอยากรู้ ความสนใจ แบ่งได้เป็น 2 อย่างคือ

HUMAN INTEREST เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจพื้นฐานของมนุษย์เช่นเรื่องที่สะเทือนใจ SENSATIONAL เรื่องแปลกประหลาดพิสดาร INELECTUAL CURIOSITY คือ ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องของวิชาการ ความรู้ ความคิดที่แปลกใหม่ กลุ่มผู้ที่มีการศึกษาสูงจะสนใจ

นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับอาชีพการงานด้วย

REALISM เป็นการนําเสนอเรื่องราว เหตุการณ์ บุคคล ให้ดูสมจริงเป็นเรื่องจริงที่สามารถเกิดขึ้นได้ รวมทั้งสิ่งที่เป็นเหตุการณ์จริง ซึ่งอาจจะนํามาประกอบกันเพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ เช่น รายการข่าว ละคร ที่สร้างแล้วมีความสมจริง หรืออาจจะเสนอ เรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นปมด้อยของมนุษย ์ NOVELTY ความสดใหม่ของเนื้อหา ความก้าวหนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แฟชั่น เพราะมนุษย์มีความอยากรู้ในสิ่งใหม่ๆ ต้องการทดลองของใหม่ ได้แก ่

ORIGINALITY เป็นความใหม่อย่างแท้จริง ไม่เคยมีมาก่อน ผู้ชมจะพึงพอใจมาก FRESHNESS ความสด ทันเหตุการณ์ เป็นการเอาของเก่ามาปรับปรุงโฉมให้เป็นของใหม ่NEWNESS เป็นสิ่งที่มีมาแล้วแต่มีการพัฒนาการใหม่ๆ UNUSUALITY เป็นสิ่งที่ผิดปกติ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

PERSONALISM เป็นเรื่องที่ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว หรือสะท้อนบุคลิกของผู้ชม ได้แก ่

PERSONAL IDENTIFICATION สิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของเรา FANTASY สร้างความหฤหรรษ์ในโลกส่วนตัว SYMPATHY การเอาตัวเองเข้าไปผูกพัน เข้าอกเข้าใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

Page 20: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 20

TENSION เป็นการสร้างความตึงเครียด ความตื่นเต้น ทําให้เกิดการลุ้นและติดตาม ได้แก ่

DANGER เรื่องราวเสี่ยงอันตราย PROBLEM SOLVING เป็นเรื่องที่มีปัญหา ให้ต้องติดตาม CONFLICT เป็นเรื่องความขัดแย้งของ 2 ฝ่าย ทั้งในด้านความคิดเห็น การกระทํา REVOLUSION เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรุนแรง ผู้ชมที่ชอบความรุนแรงก็จะสนใจชม

องค์ประกอบในการชักจูงใจ (PERSUASIVE APPEALS)

รายการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้ชมทําตามนั้น จะต้องสามารถสร้างความพึงพอใจในการรับสาร

โดยใช้องค์ประกอบดังที่ได้กล่าวมาแล้วให้ได้เสียก่อน จึงจะสามารถทําการชักจูงใจได้แต่จะได้ผลหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจ และความสามารถในการใช้องค์ประกอบในการชักจูงใจ ซึ่งมีดังนี้ต่อไปนี ้

1. ACQUISITION AND SAVING คือ การนําเสนอสิ่งที่จะให้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมาย หรือเมื่อปฏิบัติตาม แล้วจะได้รับประโยชน์ตอบแทน เป็นสิ่งที่ผู้ชมสนใจ และช่วยให้พ้นภัย

2. ADVENTURE AND SAVING ใช้เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นเร้าใจทําให้ผู้ชมเกิดอารมณ์คล้อยตาม 3. ARQUMENT ใช้ความขัดแย้งเป็นจุดสนใจ เชน่ ให้ 2 ฝ่ายมาแสดงความเห็นขัดแย้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อแสดง

คุณสมบัติของสินค้า 4. FRIENDSHIP ใช้ความเป็นเพื่อนหรือพวกเดียวกันมาชักจูงความคิดให้คล้อยตาม 5. CREATION ใช้สิ่งที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่เห็นได้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน 6. CURIOSITY สร้างความยากรู้อยากเห็นให้กับเรื่องที่ต้องการจะชักจูงใจ 7. DESTRUCTION ใช้การทําลายล้างเพื่อสร้างความเห็นคล้อยตาม 8. FEAR สร้างความกลัวให้เกิดกับผู้ชม เพื่อให้ปฏิบัติตามในสิ่งที่ปลอดภัย 9. GUILTYใช้การสร้างความละอายใจในการกระทําสิ่งไม่ดีมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 10. HEALTHY AND SAFTYใช้เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยมาชักจูง 11. IMITATION ใช้พฤติกรรมการเลียนแบบกระตุ้นให้ผู้ชมรู้สึกยากจะทําตามบ้าง 12. INDEPENDENCE นําเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นอิสระ ความเป็นส่วนตัวมาชักจูงใจ 13. ROYALTYใช้ความซื่อสัตย์จงรักภักดีเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้มานําเสนอ

13.1 FAMILY LOVE ความรักความอบอุ่นในครอบครัว 13.2 FRIENDS ความรักเพื่อนพ้อง 13.3 SOCIAL GROUPS ความรักในสังคมและชุมชน 13.4 NATION ความรักในประเทศชาต ิ

14. PERSONAL ENJOYMENTเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสนุกสนาน ในเรื่องต่อไปนี ้14.1 COMFORT AND LUXURYความสะดวกสบาย และความหรูหรา 14.2 BEAUTY AND ORDER ความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย 14.3 PLEASANT SENSATION ความสุขสบาย 14.4 RECREATION การพักผ่อนหย่อนใจในยามว่าง

15. POWERเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมีอํานาจ พลัง ความเข้มแข็ง มักใช้กับผู้ชาย 16. PRIDE &VANITY สร้างความภาคภูมิใจ หยิ่งทะนงในศักดิ์ศรีและเกียรต ิ17. REVERENCE AND WORSHIPความเคารพนับถือ เทิดทูนบูชาในเรื่องดังนี ้

Page 21: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 21

17.1 HERO วีรบุรุษ วีรสตร ี17.2 TRADITION AND INSTITUTION ความยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณ ี17.3 DEITY พระเจ้า

18. REVOLUSIONการแสดงการเปลี่ยนแปลง การทําลายล้างอย่างรุนแรง 19. SEXUAL ATTRACTIONใช้การดึงดูดทางเพศ ต้องใช้อย่างมีคุณธรรม จรรยาบรรณ 20. SYMPATHY AND COMPASSIONใช้ความสงสารเห็นอกเห็นใจ

การกําหนดโครงสร้างรายการโทรทัศน์

โครงสร้างของรายการโทรทัศน์แต่ละส่วน เกิดขึ้นมาเพื่อทําหน้าที่เฉพาะส่วนแตกต่างกัน ผู้เขียนบทโทรทัศน ์ จึงต้องม ีความเข้าใจในหน้าที่ของแต่ละส่วน ที่มาประกอบกันเป็นการโทรทัศน์ โดยแต่ละส่วนของโครงสร้างจะต้องมีความแตกต่างกัน เพื่อสร้างความหลากหลายแต่ยังต้องให้มคีวามเป็นเอกภาพตลอดทั้งรายการ โครงสร้างของรายการโทรทัศน์ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1.ส่วนเปิดรายการ (PROGRAMME OPENING) ประกอบด้วย 1.1 ส่วนดึงดูดความสนใจผู้ชมให้ดูรายการ (ATTRACT ATTENTION) ใช้องค์ประกอบของ AUDIENCE GRATIFICATION โดยตอ้งทําการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของรายการก่อน แล้วจึงเลือกว่าจะใช้องค์ประกอบใด 1.2 ส่วนที่บอกชื่อ ลักษณะ และประเภทของรายการ (PROVIDING IDENTIFICATION) ส่วนนี้มีความสําคัญมาก ทําให้ผู้ชมที่เคยชมแล้วรู้ว่าเคยชมรายการนี้มาแล้วและผู้ชมที่ไม่เคยชม จะได้จําได้ว่า นี้คือรายการใด อาจจะนํามาใส่ไว้ในช่วงท้ายของแต่ละช่วงด้วย 1.3 ส่วนในการสร้างบรรยากาศ หรือปูพื้นอารมณ์ของรายการ (SETTING THE MIID) เป็นการเตรียมใจของคนดูว่า ผู้ชมจะได้รับรู้อะไรจากรายการ เพื่อจะได้เตรียมใจไว้ ข้อดีของส่วนนี้คือจะทําให้คนดู คล้อยตามได้ง่าย 1.4 ส่วนที่จะเกริ่น อธิบายความเป็นมาของเรื่องราว (PROVIDING EXPLANATION)

เป็นการให้รายละเอียดว่า ในรายการจะมีอะไรนํามาเสนอบ้าง เช่น การนํา HI – LIGH ของแต่ละช่วงมาให้ดู แต่ก็ไม่จําเป็นกับทุกรายการ เช่น รายการที่เสนอความลึกลับพิศวง 2. ส่วนเนื้อหาของรายการ (BODY OF THE PROGRAMS) ประกอบด้วย 2.1 ส่วนที่จะดึงดูดความสนใจของผู้ชมให้คงไว้กับรายการ (MAINTAIN AND REATTRACT ATTENTION) 2.2 ส่วนประกอบของการจัดลําดับเนื้อหา

o ความมีเอกภาพของเนื้อหา (UNITY) o มีความหลากหลายในการนําเสนอเนือ้หา (VARIETY) แต่ละส่วนดูแล้วไม่ซ้ําซากจําเจ ทําได้โดยมีการเปลี่ยน

ELEMENT ให้มีความแตกต่างของแต่ละส่วน เช่น การเปลี่ยนภาพ เนื้อหา เสียงบรรยาย หรืออะไรก็ได้ให้คนดูมีความรู้สึกว่ามีการเปลี่ยน

o SPACE การกําหนดจังหวะของเนื้อหา ในการดํารงเรื่องราว เหตกุารณ์ ให้มีความเหมาะสมเป็นระบบ เข้าใจง่าย ไม่สับสน โดยแต่ละส่วนมีความยาว สั้นในการนําเสนออย่างเหมาะสม

o CLIMAX จุดตื่นเต้นสูงสุด เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ชมมักจะจัดวางไว้ในส่วนท้ายของรายการ เพื่สร้างความตื่นเต้นสูงสุด

Page 22: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 22

3. ส่วนปิดรายการ(PROGRAMME CLOSING) ประกอบด้วย 3.1 ส่วนที่บอกชื่อ ลักษณะและประเภทของรายการ (PROVIDING IDENTIFICATION)อาจจะมีหรือไม่มีก็ได ้ 3.2 ส่วนที่สร้างความรู้สึกว่า รายการได้จบแล้วอย่างแท้จริง (PROVIDING A SENSE OF FINALITY) โครงสร้างของรายการในแต่ละส่วนนี้ อาจจะมหีรือไม่มีก็ได้ โดยจะต้องพิจารณาว่าถ้ามีแลว้ จะเกิดผลที่ดีกว่าไม่มีหรือไม่อย่างไร เพราะถ้ามีแล้วไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรก็ไม่ควรมีและในส่วนของ ELEMENTS นี้จะต้องดูว่าจะใช้ ELEMENTS ใดบ้าง ใช้อย่างไร ความสัมพันธ์ของแต่ละ ELEMENTS มีหรือไม่ อย่างไร ความสั้นยาวของแต่ละ ELEMENTS เหมาะสมกับเนื้อหาหรือไม่ แต่ละ ELEMENTS ควรมีความยาวไม่เกิน 30 – 60 วินาที เพราะถ้านานมากจะทําให้คนดูเบื่อ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหา ถ้ามีความสําคัญมากก็อาจจะเสนอได้นาน หรือเนื้อหาที่ไม่มีอะไร ควรเสนอสั้นๆ อาจมีจุดเปลีย่น ELEMENTS คือ การสร้างความแตกต่างของ 2 ELEMENTS เช่นในเนื้อหาเดียวกัน ใน ELEMENTS แรกอาจเป็นการพูด ใน ELEMENTS ที่ 2 อาจเป็นเพลง เป็นต้น นอกจากจะพิจารณาในเรื่องของโครงสร้างของรายการโทรทัศน์แล้ว ควรมีการพิจารณาส่วนประกอบ ดังนี้ 1. ชื่อรายการ หัวข้อ เรื่องราว ของรายการ TITLE – TOPIC 2. กลุ่มเป้าหมายของรายการ TARGET AUDIENCE 3.วัตถุประสงค์ของรายการ OBJECTIVES 4. แนวคิดหลักของรายการ CORE CONCEPT ทั้ง 4 ส่วนนี้ อาจจะเริ่มต้นที่ส่วนใดก็ได้ และในการกําหนดส่วนประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้จะต้องเป็นกําหนด เพื่อใช้ได้ในระยะยาว ต้องมีการวางแผนไว้เป็นอย่างดีว่าจะสามารถทําไดนานโดยไม่ตัน หลังจากนั้นจึงค่อยกําหนดว่า จะใช้โครงสร้างรายการโทรทัศน์ใดบ้าง ก่อนที่จะทําการเขียนบทโทรทัศน์ เพื่อให้การเขียนบทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพผู้เขียนบทควรจะมีความสามารถ ในการวิเคราะห์รายการโทรทัศน์ที่มีอยู่แล้วว่ามีการใช้ส่วนประกอบใดบ้าง ในการสร้างความสนใจจากผู้ชม และใช้ได ้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ได้แก่ 1. วิเคราะห์ช่วงเวลาในการนําเสนอ 1.1 เป็นเวลาที่ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายจะดูโทรทัศน์หรือไม ่ 1.2 มีคูแ่ข่งที่ทํารายการรูปแบบเดียวกับเราในเวลาเดียวกับเราหรือไม ่ 1.3 ถ้ามี จะเอาชนะคู่แข่งได้อย่างไร จะใช้จุดเด่นอะไรที่เหนือกว่าหรือคู่แข่งไม่มี 2. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการนําเสนอรายการ วัตถุประสงค์ของผู้ทํารายการ คือ ความต้องการให้ผู้ชมได้รับ หรอืีการกระทําอย่างไร หลังจากได้ชมรายการแล้ว และการคาดว่ารายการจะมีคนดูมากเท่าไร อยู่ได้นานหรือไม่ อย่างไร สําหรับวัตถุประสงค์ของผู้ชมรายการ คือ มีความพึงพอใจและมีความสนใจในการชมรายการ หรือมีการเปลี่ยนแปลงทัศคติที่พึงประสงค์ได ้ 3. วิเคราะห์ CONCEPT ของรายการที่ตั้งไว้ว่า สามารถนําเสนอรายการให้เป็นไปตาม CONCEPT คือ แนวคิด วิธีการในทางนามธรรมที่จะทําให้วัตถุประสงค์นั้นสัมฤทธิ์ผล 4. วิเคราะห์รูปแบบรายการว่าเหมาะสมกับ CONCEPT หรือไม่ และแนวคิดนั้นสามารถ ถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรมในลักษณะของเหตุการณจ์ริงได้หรือไม่ (EXCUTION) 5. วิเคราะห์ความยาวของรายการว่า เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและเนื้อหาหรือไม่ 6. วิเคราะห์โครงสร้างของรายการว่า สามารถใช้ได้ เหมาะสมกับเนื้อหาหรือไม ่ การวิเคราะห์รายการโทรทัศน์ จะทําให้เห็นข้อดีข้อเสียของแต่ละรายการ และจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เขียนบท ในการนําเสนอข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการเขียนบท

Page 23: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 23

s

รูปแบบรายการโทรทัศน์ (TELEVISION PROGRAMS FORMAT)

TV PROGRAMS คือรูปแบบของรายการที่นําเสนอเนื้อหา เรื่องราว เพื่อตอบสนองประโยชน ์

และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ชม ส่วนใหญ่จะมีความยาวเช่น 30 นาที 60 นาที หรือ 2 ชั่วโมง เป็นต้น การนําเสนอรายการรูปแบบ PROGRAMS ทางโทรทัศน์สามารถแบ่งหรืจัดประเภทได้หลายวิธ ี ในการเขียนบทรายการโทรทัศน์ให้สัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสารนั้น ผู้เขียนบทจะต้องมีความรู ้ความสามารถในด้านการเลือกสรรเนื้อหาซึ่งต้องใช้ข้อมูลและความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก รวมทั้งการหาวิธีการในการสร้าง เรื่องราวถ่ายทอดความคิดนั้นออกมาด้วยภาษาที่เหมาะสมกับผู้รับสาร แม้จะได้ทําตามหลักการต่างๆแล้วก็ตาม การเขียนบท โทรทัศน์นั้น จะไม่ประสบความสําเร็จได้เลย หากผู้เขียนบทโทรทัศน์ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของการนําเสนอรายการ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรายการแต่ละรูปแบบต่างมีโครงสร้างของการนําเสนอเนื้อหาที่แตกต่างกัน การจัดประเภทที่แบ่งตามวิธีการนําเสนอ หรือวิธีการถ่ายทอดเนื้อหา ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทของรายการต่างๆ ดังนี้ 1. รายการข่าว (NEWS) คือ ประเภทของรายการโทรทัศน์ที่นําเสนอเนื้อหา โดยวิธีการรายงาน ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ด้วยความรวดเร็ว ฉับพลัน สาระหลักของ การถ่ายทอดเนื้อหาแบบรายการข่าว คือ นําเสนอข้อเท็จจริงของมนุษย์ สังคม ซึ่งรายการนี้นําเสนอขึ้นมา เพื่อให้ผู้ชมได้รับทราบความเคลื่อนไหวของสังคมที่เปลี่ยนไปในแต่ละวัน และสิ่งที่นําเสนอในการรายงานข่าว จะเป็นสิ่งที่ทําให้ ผู้ชมรับรู้โลกแห่งความเป็นจริง คือมีความน่าเชื่อถือสูง บางครั้งการนําเสนอรายการโทรทัศน์หรือรู้โลกแห่งความเป็นจริง คือมีความน่าเชื่อถือสูง บางครั้งการนําเสนอรายการโทรทัศน์หรือโฆษณาที่ต้องการจะสร้างผลในลักษณะของความน่าเชื่อถือ ก็สามารถยืมวิธีการของรายการข่าวไปนําเสนอได้ เช่น โฆษณาที่ต้องการบอกว่าสิ่งที่พูดต่อไปนี้เป็นเรื่องจริงและเป็นสิ่ง ที่เกิดขึ้นใหม่ๆ เพื่อนําเสนอแก่ผู้บริโภค เป็นต้น

2. รายการสัมภาษณ์ (INTERVIEW) เทคนิคพิเศษในการรายการประเภทนี้นั้น ผู้ผลิตรายการจะต้องคํานึง ถึงเรื่องที่จะสัมภาษณ์ บุคคลที่จะให้สัมภาษณ์ พิธีกรดําเนินรายการสัมภาษณ์ และวิธีการดําเนินรายการสัมภาษณ ์ เรื่องที่จะสัมภาษณ์นั้น ผู้ผลิตรายการต้องกําหนดร่วมกับผู้กํากับรายการและทีมงานผลิตก่อนการผลิตว่า ในรายการ ของเดือนนี้มีอะไรที่น่าสนใจ มีอะไรที่ประชาชนสนใจ อะไรที่มีประโยชน์กับประชาชน อะไรที่ประชาชนสนใจใฝ่รู้ อะไรที่ต้องอธิบายให้ประชาชนรู้ หากได้เวลาในรายการสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หนึ่งเดือนจะต้องนําเสนอรายการ 4 ครั้ง บางเดือนมี 5 ครั้ง ต้องกําหนดเรื่องที่จะพูดไว้ให้ครบทั้ง 5 เรื่อง เมื่อกําหนดเรื่องแล้วต้องมากําหนดบุคคลผู้ซึ่งจะให้สัมภาษณ์ การเลือกควรเลือกให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์ ถ้าสัมภาษณ์เพื่อทราบทัศนคติ ความคิดเห็น ผู้มาให้สัมภาษณ ์ไม่จําเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ มากนัก แต่ถ้าสัมภาษณ์เพื่อต้องการข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดของ ข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่องนั้น ผู้มาให้สัมภาษณ์จะต้องมีคุณสมบัติสําคัญ คือ เป็นผู้ที่ทราบเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างด ี พิธีกรดําเนินรายการโทรทัศน์ที่เป็นรายการสัมภาษณ์นี้ ต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี น้ําเสียงชัดเจน ลีลาการพูดน่าฟัง หน้าตาดีพอสมควร เป็นกันเองกับผู้ชมทางบ้าน ผู้ผลิตรายการและทีมงานควรพิจารณาเลือกผู้ที่จะมาเป็นพิธีกร ดําเนินรายการ ให้ดี เมื่อผู้ชมชอบพธิีกร ก็จะทําเกิดการติดตามรายการได้ดี พิธีกรที่ดีควรจะต้องรู้จักวิธีการให้ผู้ร่วมรายการรู้สึกเป็นกันเอง หายประหม่า ควรมีชั้นเชิงทางการพูดโดยยกย่องผู้มาร่วมกรายการเสมอ พิธีกรควรจะต้องศึกษาเรื่องที่ตนจะสัมภาษณ์ให้มาก ที่สุด สําหรับคําถามนั้น ทีมผู้ผลิรายการจะมอบแนวนโยบายกว้างๆ ให้พิธีกรเตรียมตัว หรืออาจจัดทีมผู้เขียนบท ให้เหมาะสมกับเนื้อหานั้นๆ วิธีการดําเนินการสัมภาษณ์ ทีมผู้ผลิตรายการควรจะพิจารณาเตรียมร่างคําถามคร่าวๆ ส่งให้ผู้ให้สัมภาษณ์ล่วงหน้า เพื่อให้ท่านเหล่านั้นได้เตรียมตัว นอกจากนี้ ทีมผู้ผลิตรายการต้องพิจารณา ดูแลจัดฉากให้เหมาะสม จะถ่ายทําในหรือนอก ห้องส่ง สถานที่นั้นๆ ควรจะสามารถถ่ายทําได้หลายมุม ควรใช้ไมโครโฟนที่เสียงลมเข้าได้น้อยที่สุด เป็นต้น การจัดวางไมโครโฟนให้อยู่ในระดับธรรมชาติ ภาพประกอบ กราฟฟิค สไลด์ เทปบันทึกวิดีโอประกอบ และการสัมภาษณ ์

Page 24: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 24

ควรจะเตรียมอุปกณ์ยางอย่างที่เกี่ยวข้องไปด้วย แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่นเก้าอี้ที่นั่งควรสบาย น้ําดื่มควรเตรียมไว้ เพราะผู้ให้สัมภาษณ์บางคนอาจตื่นเวทีจนคอแห้ง สัญญาณต่างๆ ไม่ว่าจะใช้สัญญาณมือ สัญญาณกล้อง การบอกเวลา ที่เหลือ ผูก้ํากับเวทีจะต้องอธิบายให้ผู้ร่วมรายการได้ทราบ วิธีการปฏิบัติงานระหว่างการผลิต สามารถเลือกใช้ได้ 2 วิธี คือ บันทึกเทปรายการ ผู้ให้สัมภาษณ์และแทรกภาพประกอบไปพร้อมกัน เมื่อบันทึกเสร็จไม่จําเป็นต้องมีการตัดต่อ อีกวิธีหนึ่ง คือ บันทึกเทป เฉพาะการสัมภาษณ ์ จากนั้นมาสู่กระบวนการหลังการผลิต ด้วยการแทรกภาพประกอบ การตัดต่อ การใส่ข้อความซ้อนภาพ การใส่ข้อมูลเชิงกราฟฟิคที่เกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์รวมทั้งการใส่เสียงเพิ่มเติมในภายหลัง แล้วจึงนําออกอากาศ

3. รายการสาธิต (DEMONSTRATION) คือการนําเสนอความรู้ ขอ้เท็จจริงเกี่ยวกับ กระบวนการของการกระทําหรือการแสดงให้ผู้ชมได้เข้าใจตามลําดับขั้น เพื่อที่ผู้ชมจะได้เกิดความรู้ ความเข้าใจและนําไป ปฏิบัติได้ เช่น รายการสาธิตการทําอาหาร รายการสาธิตการประดิษฐ์ดอกไม้ เป็นต้น ในการนําเสนอรายการ สาธิตนั้นควรคํานึงถึงลําดับของขั้นตอนในกระบวนการต่างๆเหล่านั้นให้ต่อเนื่องเป็นช่วงๆเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายและผู้ชมจะได้ตามทันหรือสามารถปฏิบัติตามทีละขั้นทีละตอน ในขณะที่นําเสนอรายการนั้น เนื่องจากสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อที่เกี่ยวข้องกับเวลาผู้ชม ไม่สามารถกําหนดและควบคุมการรับรู้ด้วยตนเองได้ ผู้นําเสนอจึงควรเป็นผู้กําหนดการรับรู้ให้ง่ายที่สุด ดังนั้นการนําเสนอ รายการสาธิตควรเริ่มจากการนําเสนอผลรวมสุดท้ายของสิ่งที่จะสาธิตให้เห็นเสียก่อนว่าเป็นอะไร เช่น ต้องการสาธิต การประดิษฐ์ดอกไม้กระดาษ ก็ควรแสดงให้เห็นดอกไม้กระดาษที่ทําเสร็จแล้วว่ามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร สวยหรือมีประโยชน ์มากน้อยแค่ไหน เป็นต้น หลังจากนั้นก็ควรจะบอกรายละเอียดของวัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ทํา ตามด้วยขั้นตอนต่างๆตามลําดับ ซึ่งในแต่ละขั้นตอนที่นําเสนอจบไปแล้วควรใช้เวลาพักสักคู่เพื่อให้ผู้ชมมีเวลาคิดและทําความเข้าใจ และหากเป็นสิง่ที่ซับซ้อนมาก ก็อาจจะสรุปให้ผู้ชมรับรู้อีกครั้ง แล้วจึงค่อยเริ่มขั้นตอนต่อไป และเมื่อเสนอทุกขึ้นตอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ควรแสดงผลรวม ของสิ่งที่สาธิตให้ชัดเจน หลังจากนั้นทบทวนให้ผู้ชมทราบอีกครั้งเกี่ยวกับ วัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งถ้าจะให้ได้ผลดีควรจะใช้ภาพตารางหรือไดอะแกรม รวมทั้งข้อความเป็นตัวหนังสือประกอบการอธิบายด้วย จะทําให้ผู้ชม เข้าใจและจําได้ดียิ่งขึ้น

4. รายการสารคดี (DOCUMENTARYFEATURE) คือ รายการที่นําเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริงหรือ ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อกลุม่เป้าหมาย เพื่อเพิ่มเติมโลกทัศน์ และชีวทรรศน์ทั้งในด้านชีวิตส่วนตัว สังคม สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งเพื่อให้ชีวิตของปัจเจกชนและสังคมส่วนรวมดีขึ้น เนื้อหาสาระเรื่องราวในสารดีจะต้องเกี่ยวกับ บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ที่มีอยู่จริงและเกิดขึ้นจริง อาจจะเกิดขึ้นหรือมีอยู่ในอดีต หรือเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ที่เราอาจไม่รู้กําหนดการ ล่วงหน้ามาก่อน เช่น เหตุการณ์จลาจล เหตุการณ์รบในสงครามในสมรภูมิต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการนําเสนอเป็นสารคดีโทรทัศน์นั้น สามารถนําเสนอได้ใน 2 รูปแบบ คือ 4.1DOCUMENTARY คอืสารคดีที่นําเสนอมุมมอง (POINT OF VIEW) ในแง่มุมใดมุมหนึ่งตามความคิดเห็น และความเชื่อของผู้เขียนบทหรือเปรียบเทียบหลายมุมมองจากทัศนะที่หลากหลายต่างกันของบุคคลแต่ละคน แล้วหาข้อมูล หลักการ หลักฐานและความเห็นของบุคคลต่างๆ มาสนับสนุน แล้วปล่อยให้ผู้ชมสรุปเอาเองหรือคิดเอาเองก็ได้ ส่วนใหญ่ สารคดีในลักษณะนี้มักจะเป็นเรื่องหนักๆ ผู้ชมต้องใช้ความคิด เช่น สารคดีเกี่ยวกับปัญหาสังคม เป็นต้น 4.2 FEATURE คือ สารคดีที่นําเสนอข้อมูลของบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์ตามความเป็นจริง ที่เป็นอยู่โดยมิได้มีจุดประสงค ์ ในการแสดงทัศนะความเชื่อหรือมุมมองใดๆ เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น เพื่อให้ผู้ชมคิด แต่จุดหลัก อยู่ที่เพื่อให้ความรู้ ความเพลิดเพลินแก่ผู้ชมมากกว่า เช่น สารคดีท่องเที่ยว เป็นต้น ประเภทของเนื้อหาที่นําเสนอในรายการสารคดี ทั้งรูปแบบ DOCUMENTARY และ FEATURE แบ่งได้ดังนี ้ 1. กิจกรรมสาธารณะ (PUBLIC AFFAIR) คือเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง หรือมีผลกระทบกับสาธารณชน เช่น ความอดอยาก ความหิวโหย สงคราม ปัญหาสังคม และการเมือง เป็นต้น 2. การสร้างสรรค์และประดิษฐ์ เช่น การออกแบบและการประดิษฐ์ด้านวิศวกรรมต่างๆ

Page 25: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 25

3. เหตุการณ์กิจกรรม (CREATIVITY AND INVENTION) เช่น การเผาเทียน เล่นไฟ การแข่งขันกีฬา 4. ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (NATURE AND ENVIRONMENT) เช่น ชีวิตสัตว์ หรือป่าดงพงศ์ไพร เป็นต้น 5. ชีวิตประจําวัน (SLICE OF LIFE) เช่นชีวิตประจําวันของแม่ค้าในตลาดสด หรือคนเดินทางด้วยรถประจําทางในกรุงเทพฯ เป็นต้น 6. อัตชีวประวัติ (AUTO BIOGRAPHY) เช่น ประวัติมหาตมะคานที เป็นต้น ในการนําเสนอสารคดี อาจจะใช้วิธีการเล่าเรื่องได้หลายลักษณะ คือ อาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง รวมกัน จากวิธีการนําเสนอต่อไปนี ้ 1. นําเสนอโดยการบรรยายประกอบภาพเหตุการณ์ (NARRATION) 2. นําเสนอโดยการสัมภาษณ์บุคคล (INTERVIEW) 3. นําเสนอโดยการรายงานแบบข่าวในสถานที่ของเหตุการณ์ (REPORTING) 4. นําเสนอโดยสมมุติสถานการณ์ หรือจําลองสถานการณ์จากเหตุการณ์จริงบางส่วนประกอบกับ ภาพ เหตุการณ์จริง (SEMI- DOCUMENTARY) 5. นําเสนอโดยการเล่าเรื่องแบบละครทั้งหมด ไม่มีบุคคล เหตุการณ์หรือแม้แต่สถานที่จริงเลย (DOCU DRAMA) แต่เรื่องราว เหตุการณ์ และตัวบุคคลมีอยู่จริง

5. รายการสนทนา (TALK) คือ รายการที่นําเสนอ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิดเห็นโดยการสนทนาของ บุคคลตั้งแต่สองบุคคลขึ้นไป ซึ่งรายการสนทนานี้แบ่งตามวัตถุประสงค์ของเนื้อหาหรือการสื่อสารได้ 3 ประเภทคือ 5.1 PERSUASIVE TALK คือ รายการสนทนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการชักจูงใจ ให้ผู้ชมเห็นคล้อย ตามในแนวคิดหรือความเชื่อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น รายการสนทนาทางศาสนา การเมือง เป็นต้น 5.2 ENTERTAINING TALKอาจเป็นรายการสนทนา ที่นําเสนอโดยบุคคลเดียวเล่าเรื่องตลกกับผู้ชม (COMEDY MONOLOGUE) หรือเป็นการสัมภาษณ์กันระหว่างผู้ดําเนินรายการกับบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ดารานักร้อง ดารานักแสดง เป็นต้น บางรายการอาจให้ความสําคัญแก่แขกรับเชิญในรายการเป็นหลัก เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชม แต่บางรายการหากผู้ดําเนินรายการมีชื่อเสียง หรือมีความสามารถสูงเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมอยู่แล้ว ก็อาจเน้นที่ตัว ผู้ดําเนินรายการ เป็นหลักในการดึงดูดความสนใจของผู้ชม โดยที่การเชิญแขกรับเชิญ เป็นเพียงหัวข้อในการสนทนา ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในแต่ละครั้ง เช่น รายการ TONIGHT SHOW ซึ่งเน้นที่ตัวผู้ดําเนินรายการคือ JOHNY GARSOW เป็นต้น 5.3 INFORMATIVE TALK เป็นรายการสนทนาที่เน้นให้ข้อมูลข่าวสาร หรือความรู้แก่ผู้ชมเป็นหลัก แบ่งออกเป็น 5.3.1 THE OPINION INTERVIEW เป็นรายการสนทนาที่ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาเป็นแขกรับเชิญ หรืออาจเป็นประชาชนคนเดินดินธรรมดา ที่เป็นตัวแทน ขอบคนส่วนใหญ่มาเป็นผู้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่ทุกคนกําลังสนใจ หรือมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม ซึ่งก็คือวิธีการนําเสนอแบบ VOX – POP นั่นเอง (VOICE OF POPULARITY) 5.3.2 THE FEATURE INTERVIEW เป็นการสนทนาโดยการสัมภาษณ์ บุคคลธรรมดาๆ ไม่ได้มชีื่อเสียงเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป แต่เป็นบุคคลที่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือผิดปกติวิสัย เช่น คนที่เพิ่งหนีมาจากสงครามอิรัก – คูเวต เป็นต้น ส่วนใหญ่จะใช้ประกอบข่าวทั่วๆ ไป (SOFT NEWS) 5.3.3 THE INFORMATIVE INTERVIEW เป็นรายการสนทนาที่สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง กับข่าวสาร ข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบอยู่ เช่น สัมภาษณ์หัวหน้าโครงการมูลนิธิสายใจไทย เกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการ หรือสัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการผสมเทียม เป็นต้น 5.3.4 THE PANEL DISCUSSION คือ รายการสนทนาที่เน้นการแสดงความคิดเห็น จากบุคคลหลายๆ บุคคลที่มีแนวความคิดหลากหลายแตกต่างกัน ในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งที่กําหนดไว้ในรายการ

Page 26: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 26

5.3.5 THE AUDIENCE PARTICIPATION จะคล้ายกับ PANEL DISCUSSION แต่มีผู้ชมเข้ารว่มแสดงความคิดเห็นในรายการด้วย และหัวใจในรายการจะเป็นเนื้อหาเรื่องราวเฉพาะด้าน เช่นการเงิน การแพทย์ นิเวศน์วิทยา หรือปัญหาทางเพศ เป็นต้น ผู้ที่จะมาเป็นผู้ดําเนินรายการจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เป็นอย่างด ี ในการเขียนบทรายการสนทนา ผู้เขียนไม่สามารถเขียนบทให้ละเอียดได้ เพราะการนําเสนอรายการ ของผู้ดําเนินรายการและแขกรับเชิญจะเป็นแบบเปิดที่ไม่มีสคริปท์แน่นนอนตายตัว สรุปแล้ว รายการสนทนา สามารถนําเสนอออกได้ 3 รูปแบบ คือ 1. STRAIGHT TALK เป็นการสนทนาของผู้ดําเนินรายการเพียงคนเดียวกับผู้ชม เพื่อให้ความรู้ความคิดเห็นต่างๆ รายการลักษณะนี้จะเน้นตัวผู้ดําเนินรายการมากกว่าหัวข้อเรื่อง เช่น รายการสนทนาของ ดร.เสรี วงศ์มณฑา เกี่ยวกับเรื่อง ของความรักของวัยรุ่น หรือ อาจจะเป็นการเล่าเรื่องตลกคนเดียว (STAND - UP COMEDY) เป็นต้น 2. INTERVIEWเป็นการนําเสนอข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยเน้นที่หัวเรื่อง มากกว่าตัวบุคคล การเชิญบุคคลมาเป็นเพียงเลือกให้เหมาะสมกับหัวเรื่องเท่านั้นหรืออาจจะเป็นการนําเสนอความรู้ความสามารถและความเป็นมาของบุคคลที่น่าสนใจหรือมีชื่อเสียง เช่น ดารา นักแสดง นักร้อง คือ เน้นตัวบุคคลเป็นหลัก แล้วพยายามถามเรื่องราว ที่เกี่ยวกับบุคคลที่เชิญมา 3. PANEL DISCUSSION เป็นการนําเสนอความคิดเห็นที่หลากลายแตกต่างกันไปของบุคคลที่เชิญมาในสาขาต่างๆ เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องมากกว่าผู้ที่เชิญมา 6. รายการแข่งขัน (COMPETITION) คือรายการที่เน้นความตื่นเต้นเร้าใจ ชวนติดตามทําให้ผู้ชม คล้อยตามไปกับรายการ โดยการแข่งขันในกิจกรรมต่างๆ ของบุคคลต่างๆ ที่เชิญมาร่วมในรายการ อาจจะเป็น การเชิญบุคคลที่สมัครมาจากทางบ้าน เพื่อให้ความรู้สึกแก่ผู้ชมในการมสี่วนร่วมในรายการหรืออาจจะผสมกันคือ มีทั้งดารา และผู้ชมที่เชิญมาจากทางบ้านซึ่งรายการแข่งขันนั้นหัวใจสําคัญอยู่ที่วิธีการแข่งขันที่แปลกใหม่เร้าใจชวนตื่นเต้นตัวรางวัลอาจเป็นเงินสด หรือเป็นสิ่งของมีค่า ราคาแพง รายการแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 6.1 รายการเกมโชว์ (GAME SHOW) คือ การแข่งขันกันโดยวิธีเล่นเกม เช่นการเดาะลูกบอล หรือต่อภาพ เป็นต้น แบบนี้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายทีมีอายุน้อย หรือการศึกษาน้อย หรือเหมาะกับกลุ่มผู้ชม ที่ไม่ต้องการคิดอะไรมาก ต้องการเพียงความผ่อนคลาย สนุกสนาน เพลิดเพลนิเท่านั้น เทคนิคพิเศษของรายการเกมโชว์ที่ผู้ผลิตรายการควรพิจารณา คือ ลักษณะการเล่นเกม อุปกรณ์การเล่มเกม วิธีการเล่นเกม พิธีกร และผู้เข้าร่วมแข่งขัน ทีมวางแผนผลิตรายการต้องพิจารณาจุดเด่นของเกมโชว์อยู่ที่ไหน การเสี่ยง การแสดงความสามารถพิเศษ ความเรว็ ความสวยงาม เป็นต้น ขั้นตอนก่อนการผลิต ต้องเตรียมพิธีกรที่คล่องแคล่ว อาจจะต้องมีตัวตลกร่วมด้วย ผู้ร่วมรายการจะใช้วิธีให้สมัครเข้าไปในรายการ หรือจะเชิญเข้ามาร่วมรายการ กลุ่มอายุ การศึกษา ความสามารถพิเศษ จุดอะไรที่ผู้ผลิตรายการต้องการ บางรายการตอ้งมีรูปถ่าย บางรายการ ต้องสัมภาษณ์ด้วยเพราะผู้เข้าร่วมรายการจะเป็นตัวทําให้รายการมีชีวิตชีวา ไม่แห้งแล้งสําหรับรูปแบบการเขียนบทนั้น อาจใช้บทกึ่งสมบูรณ์ หรือบทประเภทรูปแบบ หรือบทสมบูรณ์ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของรายการขั้นตอนระหว่างปฏิบัติการผลิต ทีมผู้กํากัลป์ และเจ้าหน้าที่ในห้องส่งจะดําเนินการตามบทที่วางไว้ แล้วแต่ผู้กํากับจะเห็นสมควร ถ้าผิดพลาดจะบันทึกใหม่ ขั้นตอนต่อมา คือ การตัดต่อ ผู้กํากับรายการและเจ้าหน้าที่ตัดต่อจะช่วยกันเพื่อให้รายการออกมาสมบูรณ์ที่สุด ที่สําคัญ จะต้องหาจุดที่ใช้เป็นจุดเด่นในรายการ ต้องทราบตั้งแต่ก่อนเขียนบทแล้วว่ากลุ่มเป้าหมายและผู้ร่วมรายการเป็นกลุ่มใด ควรเลือกให้เหมาะสมกับวิธีการเล่นและอุปกรณ์การเล่นเกมโชว ์ 6.2 รายการตอบปัญหา (QUIZ) คือรายการที่มีการแข่งขันถามตอบปัญหา เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ที่มีการศึกษาหรือมีอายุพอสมควร เทคนิคพิเศษที่ทางผู้ผลิตรายการและทีมงานผลิตรายการประเภทแข่งขันตอบปัญหาควรคํานึงถึงจุดพิเศษ ที่ทําให ้รายการตอบปัญหานั้นมีความโดดเด่น มีความแปลกกว่ารายการอื่น ทั้งด้านการออกแบบเวที กติกา วิธีการแข่งขัน

Page 27: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 27

บุคลิกของพิธีกร ชื่อรายการ คําถามที่จะใช้ในรายการ รางวัลที่มอบให้ และผู้เข้าร่วมรายการ เป็นต้น ในกรณ ีที่เป็นรายการแข่งขันตอบปัญหาทางภาษาอังกฤษ

ผู้ผลิตรายการควรกําหนดวัตถุประสงค์ของรายการให้แน่นอนว่าจะเป็นรายการที่ให้ความรู้ในเรื่องอะไร แก่ใคร กติกา เป็นอย่างไร พิธีกรควรจะมี 2 คน หรือ 3 คน และควรเป็นใคร พิธีกรสมัครเล่นหรือพิธีกรระดับอาชีพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การวางตําแหน่งภาพลักษณ์ของรายการและงบประมาณการผลิต เมื่อได้รายละเอียดดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ควรมีการทดสอบ คําถามกับกลุ่มของผู้ที่จะมาตอบคําถาม (PRE-TEST) เพื่อดูว่าคําถามนั้นยากง่ายเหมาะสมกับผู้แข่งขันหรือไม่ กติกา ที่กําหนดนั้น มีความยุ่งยากซับซ้อนหรือเข้าใจได้ง่าย เมื่อมีการทดสอบแล้วควรพิจารณาว่าจะปรับปรุงในส่วนอื่นๆเพิ่มเติมหรือไม่ ขณะเดียวกันควรมีการซ้อมฉาก ซ้อมพิธีกร และเตรียมกลุ่มผู้ร่วมรายการไปด้วย และเพื่อให้ผู้ชมรายการมีความสนุกกับรายการ มีอารมณ์ร่วมและลุ้นกับรายการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบรายการ 7. รายการละคร (DRAMATIC PROGRAMS) เป็นรายการที่สะท้อน หรือจําลองเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นจริง หรือเกิดขึ้นมาแล้วของมนุษย์เพื่อสอนใจหรือเป็นอุธาหรณ์แก่ผู้ชมให้เข้าใจชีวิตสังคมและโลก โดยการกําหนดแนวเรื่อง โครงเรื่อง เหตุการณ์ สถานที่ ตังละคร การแสดง และบทสนทนา ให้มีความชัดแย้ง หรือการเผชิญกับปัญหา เพื่อดึงดูด ความสนใจให้ผู้ชมติดตามจนมีอารมณ์ร่วมคล้อยตาม และมีอารมณ์ตื่นเต้น ตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดตื่นเต้นสูงสดุ แล้วคลี่คลายปัญหา หรือความขัดแย้ง ไปในทางที่สร้างความพึงพอใจแก่ผู้ชมในที่สุด ดังนั้นในการเขียนบทละครจึงต้องมีองค์ประกอบต่อไปนี ้

7.1 ตัวละคร คือ ตัวแทนของผู้ชมที่เผชิญกับปัญหา หรือ ความขัดแย้ง ซึ่งจะต้องนําเสนอ ให้ดูเหมือนเป็นมนุษย์จริงๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ มีบุคลิก ลักษณะนิสัยเฉพาะตัว ซึ่งจะส่งผลให้เรื่องดําเนินไป หรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าเชื่อถือและในทางกลับกัน ตัวละครก็อาจมีพัฒนาการเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามสถานการณ ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาได้ด้วยเช่นกัน

7.2 สถานที ่ คือที่ๆเกิดเหตุการณ์ เพือ่ให้ผู้ชมได้รับรู้โลกแห่งความเป็นจริงว่า เป็นที่ไหน ซึ่งจะต้อง สะท้อนความเป็นไปได้ของการเกิดเหตุการณ์ หรือ การกระทํา ความขัดแย้ง ระหว่างตัวละครได้อย่างสมจริง

7.3 เหตุการณ์ ที่เป็นเรื่องราวของความขัดแย้ง หรือปัญหาของตัวละครต่างๆ ตั้งแต่สาเหตุ และผลของเหตุการณ์นั้น ที่จะส่งผลให้เรื่องดําเนินไปได้ตั้งแต่ต้นจนจบ จากจุดก่อตัวปัญหา หรือ ความขัดแย้ง จนสู่ความขัดแย้ง ที่สร้างความตื่นเต้น เอาใจช่วยของคนดูสูงสุด แล้วคลี่คลาย แสดงผลสุดท้ายในที่สุด

7.4 บทสนทนา ละครจะต้องมีการพูดคุยสนทนาระหว่างตัวละคร ประกอบเหตุการณ์ หรือการกระทํา ให้ดูเหมือนชีวิตจริง สามารถสะท้อนบุคคลตัวละคร บอกยุคสมัย และใช้ดําเนินเรื่อง

7.5 ความขัดแย้ง ซึ่งเป็นหัวใจหลักของละครที่จะทําให้ละคร สร้างความน่าในใจชวนติดตาม อาจเป็น เรื่องการขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม หรือมนุษย์กับแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง

จากองค์ประกอบเหล่านี้นํามาเป็นตัวแทนในการถ่ายทอดเรื่องราว ซึ่งได้กําหนดไว้โดยผู้เขียนบทคือ 1. แนวคิดเรื่อง (THEME) หมายถึงสาระสําคัญของเรื่อง คือ สิ่งที่ผู้สร้างต้องการจะเสนอแก่ผู้ชม บางครั้งจะไม่แสดงชัดเจนให้ผู้ชมทราบ แต่มักจะซ่อนไว้ในบทสนทนาบ้าง ในลักษณะท่าทางการแสดงออกของตัวละครบ้าง แก่นของเรื่อง ที่ปรากฏอยู่เสมอทางละครโทรทัศน์ ได้แก ่ - ความรัก อาจเป็นความรักในอุดมคติ รักข้ามแดน รักต่างวัย ความรักของชายหนุ่มหญิงสาว ความรักในครอบครัว ความรักชาต ิ เป็นต้น - การผจญภัย อาจเป็นการผจญต่อเหตุร้ายในชีวิต ผจญภัยในป่า แนวคิดเกี่ยวกับการผจญภัย จะบทพิสูจน์ความกล้าหาญ ความเด็ดเดี่ยวของตัวละคร - ชนชั้นในสังคม สังคมสลัม สังคมชั้นสูง เป็นเรื่องราวที่มีความแตกต่างกันอย่างรุนแรง สังคมวัยรุ่น สังคมนักธุรกิจ สังคมนายทุน สังคมกรรมกรหาเช้ากินค่ํา

Page 28: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 28

- ความทรนง ความไว้ตัว รักเกียรติ ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร การต่อสู้เพื่อเผ่าพันธุ์ การต่อสู้เพื่อวงศ์ตระกุลและศักดิ์ศร ี - ความมักใหญ่ใฝ่สูง ความทะเยอทะยาน ความโลภมาก การต่อสู้ฟาดฟันเพื่อให้ได้มาในลาภยศ - ความอาฆาตพยาบาท ความริษยา ความเจ็บแค้น การต่อสู้เพื่อล้างแค้น - ความอดทน ความบากบั่นอุตสาหะ การต่อสู้เพื่อล้างแค้น นอกจากที่กล่าวไปแล้วนั้น แก่นของเรื่องอาจเป็นเรื่องลี้ลับ เรื่องประหลาดมหัศจรรย์ หรือความฝันเฟื่องต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แก่นของเรื่องของละครโทรทัศน์นั้นจะเป็นส่วนที่ให้สาระสําคัญแก่ผู้ชม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เมื่อผู้ชม ละครเรื่องนั้นจบลง ย่อมได้แง่คิดอะไรจากละครเรื่องนั้นบ้าง 2. โครงเรื่อง (PLOT) โครงเรื่องของรายการละคร เมื่อจะเริ่มเขียนบทละครโทรทัศน์นั้น ผู้เขียนบทละครโทรทศัน์ต้องเข้าใจหลักพื้นฐานของคำว่า “เนื้อเรื่อง (Story)” กับ “โครงเรื่อง (Plot)” ก่อน โดยสามารถยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ด้วยประโยคต่อไปนี ้

“จะเด็ดถูกขับไล่ออกจากพระราชวังเมืองตองอู และตละแม่จันทราโศกเศร้าเสียใจ” จากเหตุการณ์นี้ ถือว่าเป็น “เนื้อเรื่อง (Story)”

“จะเด็ดถูกขับไล่ออกจากพระราชวังเมืองตองอู และตละแม่จันทราโศกเศร้าเสียใจ เพราะถูกกีดกันความรักจากพระราชบิดา”

จากเหตุการณ์นี้ ถือว่าเป็น “โครงเรื่อง (Plot)” จะพบว่าทั้งสองเหตุการณ์มีความแตกต่างกัน เพราะความเป็น “เนื้อเรื่อง”ในเหตุการณ์แรกก็แค่บอกว่าเกิดอะไรขึ้น

กับตัวละครบ้าง แต่สำหรับ “โครงเรื่อง” ในเหตุการณ์ที่สอง บอกว่าเกิดอะไรขึ้นกับจะเด็ดและตละแม่จันทรา และการกีดกัน ของพระราชบิดาเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น

ดังนั้นโครงเรื่องจึงประกอบด้วย

1. การลำดับสาเหตุที่เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึน้ในเรื่อง ซึ่งเมื่อรวมเหตุการณ์เหล่านี้ทั้งหมดแล้วสามารถนำมาสู่ข้อยุติหรือข้อสรุปได้และเป็นอันจบเรื่อง

2. ลำดับของเหตุการณ์ซึ่งผูกและรวมกันเป็นปมของความขัดแย้ง 3. โครงเรื่องจะเกี่ยวข้องกับการมีเหตุและผลต่อกัน

ส่วนประกอบของโครงเรื่อง

1. การเปิดเรื่อง (Opening Scene) คือจุดเริ่มต้นของเรื่องซึ่งถือว่าเป็นตอนสำคัญที่จะถึงดูดความสนใจของผู้ชมละครโทรทัศน์ให้ติดตามเรื่องราวต่อไป ในละครโทรทัศน์ไทยโดยทั่วไปนิเยมเปิดเรื่องหลายวิธี เช่น 1.1. เปิดเรื่องโดยการบรรยาย การเปิดเรื่องแบบนี้มักเป็นการเริ่มต้นเล่าเรื่องอย่างเรียบๆ แล้วค่อยๆ ทวีความเข้มข้น

ของเรื่องขึ้นเป็นลำดับ อาจเป็นการบรรยายฉาก บรรยายตัวละคร หรือเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได ้1.2. เปิดเรื่องโดยการพรรณนา การเปิดเรื่องวิธีนี้อาจเป็นการพรรณนาฉาก

พรรณนาตัวละครหรือพรรณนาเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ คล้ายกับวิธีการบรรยาย เพียงแต่เน้นที่ จะสร้างภาพเพื่อปูพื้นอารมณ์ให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกคล้อยตามเป็นพิเศษ

1.3. เปิดเรื่องโดยใช้นาฏการหรือการกระทำของตัวละคร เป็นการเปิดเรื่องที่ก่อให้เกิดความสนใจโดยเร็ว การเปิดเรื่องวิธีนี้สามารถทำให้ผู้ชมกระหายที่จะติดตามเรื่องราวต่อไปได้มากเป็นพิเศษ

Page 29: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 29

1.4. เปิดเรื่องโดยใช้บทสนทนา การเปิดเรื่องแบบนี้สามารถเรียกร้องความสนใจของผู้ชมละครได้ดีวิธีหนึ่งถ้าถ้อยคำที่นำมาเริ่มต้นนั้นเร้าใจ หรือกระทบใจผู้ชมทันที แต่ก็ต้องพยายามเชื่อมโยงบทสนทนานั้นให้เกี่ยวพันกับเรื่องต่อไปใหแ้นบเนียน

1.5. เปิดเรื่องโดยใช้สุภาษิต บทกวี เพลง เปดิเรื่องโดยใช้ข้อความที่คมคายชวนคิด ชวนให้ฉงนสนเท่ห์น่าติดตาม

2. การดำเนินเรื่อง (Narrative) นอกจากโครงเรื่องจะประกอบไปด้วยการเปิดเรื่องในตอนต้นแล้ว การดำเนินเรื่องซึ่งเป็นตอนกลางของเรื่อง ก็มีความสำคัญอยู่มากเช่นเดียวกัน เพราะผู้เขียนทละครโทรทัศน์จะต้องดึงความสนใจของผู้ชมละครให้ติดตาม เรื่องอย่างจดจ่ออยู่เสมอ ดังนั้นจึงต้องสร้างความขัดแย้ง (Conflict) ที่เร้าใจ แล้วคลี่คลายความขัดแย้งเหล่านั้น อย่างแนบเนียนไปจนถึงเป้าหมายสุดยอดในตอนปิดเรื่อง รวมทั้งต้องอาศัยกลวิธีเล่าเรื่องที่เหมาะสมประกอบด้วย 2.1. ความขัดแย้ง (Conflict)

ในทุกตัวละครหลักของละครโทรทัศน์ล้วนต้องมีความขัดแย้ง หรืออุปสรรคที่คอยขัดขวาง หน่วงเหนี่ยว ไม่ให้ตัวละครสามารถทำตามที่มุ่งปรารถนาได้สำเร็จ ดังนั้นตัวละครต้องพยายามทำลายกำแพงก้าวข้าม อุปสรรคเหล่านั้นออกไปให้ได้ เพื่อสามารถทำตามที่ตัวละครต้องการได้ (Need) โดยแบ่ง ความขัดแย้ง ออกได้เป็น 3 ประการ คือ 2.1.1. มนุษย์กับมนุษย์ หมายถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างตัวละครกับตัวละคร ซึ่งอาจเป็นตัวละครเอกกับตัวละครรอง เช่น ความขัดแย้งระหว่างขุนแผนกับขุนช้าง หรือความขัดแย้งของตัวละครกับคนรัก เพื่อ พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นต้น 2.1.2. มนุษย์กับตัวเอง เป็นความขัดแย้งของตัวละครกับตัวเอง อาจเป็นความขัดแย้งทางกายภาพ เช่น ความพิการหรือเป็น ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในจิตใจและความรู้สึกของตัวเอง เช่น หากตัวละครไปเข้าห้องน้ำแล้วเจอกระเป๋าเงิน ของคนอื่นวางทิ้งไว้ สิ่งแรกที่ตัวละครคิดคือ อากได้เงินในกระเป๋ามาก แต่แล้วก็มีอีกความคิดเข้ามาขัดแย้ง ว่าการเอาของผู้อื่นที่ไม่ใช่ของตัวเองนั้นถือว่าบาป และคนอื่นก็จะเดือดร้อนจากการกระทำของเราเอง เป็นตัน จากตัวอย่างจะพบว่า ตัวละครพบความขัดแย้งทางความคิดของตัวเองขึ้นมาพร้อมๆ กัน จึงต้องตรองให้ดี ว่าจะกระทำอย่างไรต่อไป 2.1.3. มนุษย์กับสิ่งอื่นๆ เป็นความขัดแย้งของตัวละครกับสิ่งอื่นรอบตัว เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น หรือจากภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น วาตภัย อุทกภัย มหันตภัย เป็นต้น หรือเป็นความขัดแย้งกับสังคมที่อยู่บนความแตกต่าง ถูกสังคมรังเกียจ หรือไม่ได้รับการเชื่อถือ เป็นต้น

2.2. กลวิธีเกี่ยวกับการดำเนินเรื่อง 2.2.1. การเล่าเรื่องตามปฏิทิน (Chronological Order) คือ การเล่าเรื่องไปตามลำดับเวลา ก่อนหลังของ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ละครโทรทัศน์เรื่อง “เมียแต่ง” (2555) เป็นต้น 2.2.2. เล่าเรื่องย้อนต้น (Flashback) คือ การดำเนินเรื่องที่เล่าย้อนสลับกันไปมาระหว่างอดีตกับปัจจุบัน

ดังนั้นเรื่องจึงอาจเริ่มต้นที่ตอนใดก็ได้ เช่น ละครโทรทัศน์เรื่อง “นางมาร” (2556) ที่เล่าเรื่องสลับไปมา ระหว่างภาพอดีตในสมัยรัชกาลที่ 2 กับเหตุการณ์ในยุคปัจจุบัน เป็นต้น

2.2.3. เล่าเหตุการณ์เกิดต่างสถานที่สลับกันไปมา แต่เรื่องยังคงต่อเนื่องกันไปตลอด เช่น ในละครโทรทัศน์เรื่อง “แรงเงา” (2555) เป็นการตัดสลับระหว่างสองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน มุตตากำลังเดินในกระทรวง ตัดสลับกับเหตุการณ์ที่นพนภากำลังเดินทางในรถเพื่อมาหาเรื่องมุตตาที่กระทรวง เป็นต้น

Page 30: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 30

2.2.4. เล่าตอนกลางก่อนแล้วย้อนมาตอนตน้เรื่อง คือ จัดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนกลางของเรื่องมาก่อนแล้ว จึงเล่าเรื่องตอนต้นมาบรรจบกันก่อนที่จะดำเนินเรื่องไปสู่ตอนจบ

3. การปิดเรื่อง (Ending)

3.1. ปิดเรื่องแบบหักมุมหรือพลิกความคาดหมายของผู้ชม (Surprise Ending หรือ Twist Ending) การปิดเรื่อง แบบนี้เป็นการทำให้ผู้ชมละครคาดไม่ถึง ไม่ควรให้ผู้ชมระแคะระคายตั้งแต่ต้นเรื่องหรือกลางเรื่อง เพราะจะ ทำให้เรื่องขาดความน่าสนใจ ส่วนมากมักปรากฎอยู่ในละครโทรทัศน์ประเภทลึกลับซ่อนเงื่อน

3.2. ปิดเรื่องแบบโศกนาฏกรรม (Tragic Ending) คือ การจบเรื่องด้วยความตาย ความผิดหวัง การสูญเสีย หรือ ความล้มเหลวในชีวิต เช่น ในละครโทรทัศน์เรื่อง “คู่กรรม” (2556) แม้พระเอกคือโกโบริจะตายตอนจบ แต่ผู้ประพันธ์อย่างทมยันตีและผู้เขียนบทละครก็ได้ให้โกโบริกับอังศุมาลิน ได้มีโอกาสเปิดเผยความรัก ซึ่งกันและกันที่ต่างคนต่างไม่ยอมกล่าวในตอนดำเนินเรื่อง ดังนั้นเรื่องจึงประทับใจ ผู้ชมละครอย่างมาก เพราะตัวละครทั้งสองเข้าใจกันดีแล้ว เป็นต้น

3.3. ปิดเรื่องแบบสุขนาฏกรรม (Happy Ending) คือ การจบเรื่องด้วยความสุขหรือความสำเร็จของตัวละคร การปิดเรื่องแบบนี้มีผู้เขียนบทละครโทรทัศน์นิยมใช้กันทั่วไป เช่น ละครโทรทัศน์เรื่อง “คุณชายรัชชานนท์” (2556) ทั้งคุณชายรัชชานนท์และสร้อยฟ้า สุดท้ายก็ร่วมกันพิสูจน์ตัวเองและความรักที่มีต่อกัน จนชนะ อุปสรรคหัวใจอย่างหม่อมเอียด และคุณย่าอ่อนได้สำเร็จ เป็นต้น

3.4. ปิดเรื่องแบบสมจริงในชีวิต (Realistic Ending) คือการจบเรื่องแบบท้ิงปัญหาไว้ให้ผู้ชมละครโทรทัศน์คิดหา คำตอบเอาเอง เพราะในชีวิตจริงมีปัญหาหลายอย่างที่ไม่สามารถแก้ปัญหาหรือหาคำตอบให้แก่ปัญหานั้นได้ เช่น ในละครโทรทัศน์เรื่อง “ดอกส้มสีทอง” (2554) ที่ท้ายสุดเรยาเองก็ต้องถูกทอดทิ้งทรุดตัวอยู่กับพื้น อย่างโดดเดี่ยวเดียวดายในห้องนอน โดยไม่รู้ว่าต่อไปตัวละครจะทำเช่นไรกับชีวิตที่เหลืออยู่ของเธอเอง เป็นต้น

การดําเนินเรื่องที่ด ี ควรมีขั้นตอนในการวางแนวของเรื่องให้มีความคืบหน้าที่น่าติดตามอยู่ตลอดเวลา ซึ่งลําดับใน

การดําเนินเรื่อง มีดังนี ้ 1) การเริ่มเรื่องหรือจุดเริ่มเรื่อง(EXPOSITION) 2) การขัดแย้ง การเกิด และการขยายตัวของปัญหา (TURNING POINT AND FALLING ACTION) 3) การถึงจุดสุดยอดของปัญหา หรือความขัดแย้ง (CLIMAX) 3.1 จุดวกกลับ หรือจุดหักมุมสู่จุดอวสาน 3.2 การคลี่คลายปัญหา หรือความขัดแย้งสู่จุดอวสาน

Page 31: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 31

โครงสร้างของละครโทรทัศน์ ในลกัษณะทั่วไปของละครโทรทัศน์มีลำดับของความเข้มข้นของเรื่องดังนี้

สาระสำคัญของเรื่อง (Theme) หรือหลักสมมุติฐานเรื่อง (Premise) หรือการเปิดเรื่อง (Exposition)

การแสดงท่ีเข้มข้น (Rising Action)

การตัดสินใจ หรือจุดวิกฤต (Crises)

จุดสูงสุดทางอารมณ์ (Climax)

จุดคลายปม (Falling Action)

จุดคลี่คลายเรื่อง (Resolution)

ภาพแสดงโครงสร้างของละครโทรทัศน์

โดยสามารถอธิบายความหมายดังกล่าวได้ดังนี ้

1. บทเปิดเรื่อง (Exposition) คือ บทนำเรื่องที่ผู้แต่งจะปูพื้นฐานให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวละคร เหตุการณ์ เวลา และสถานที่ 2. การผูกปม (Complication) และการขมวดปม (Rising Action) คือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังบทเปิดเรื่อง

ปัญหาและความขัดแย้งของโครงเรื่องจะค่อยๆ ปรากฏออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด และทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงจุดหักเหของเรื่อง

3. จุดวิกฤต (Crisis) เป็นส่วนหนึ่งของการขมวดปม ความตึงเครียดของเรื่องสามารถเกิดขึ้นได้หลายครั้ง ฉะนั้น จุดวิกฤตจึงเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งครั้ง แต่เมื่อเรื่องดำเนินมาถึง ความตึงเครียดที่สุดของเรื่องจนเกิดการหักเห เป็นครั้งสุดท้ายก่อนเรื่องจะจบลง ซึ่งนับเป็นจุดสูงสุดของเรื่อง และเป็นจุดสุดท้ายของช่วงการขมวดปม

4. การแก้ปม (Falling Action) คือตอนที่เรื่องค่อยๆ ลดความตึงเครียดลง ซึ่งจะนำไปสู่ความคลี่คลาย ของปมปัญหา และความขัดแย้งต่างๆ ในที่สุด

5. การคลี่คลายเรื่อง (Resolution หรือ Denouement) คือ การคลี่คลายปัญหาและความขัดแย้ง เป็นตอนจบ หรือตอนสุดท้ายของเรื่อง ทำให้เรื่องจบได้อย่างสมบูรณ์แบบ

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถวิเคราะห์ แยกแยะโครงเรื่องได้ครบตามขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นได้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้แต่งที่อาจตัดหรือรวบบางขั้นตอนเข้าไว้ด้วยกัน เช่น อาจจะรวม บทเปิดเรื่อง กับการผู้ปมเข้าด้วยกนั เป็นต้น

Page 32: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 32

ภาพแสดงโครงสร้างเรื่องในละครโทรทัศน์

ภาพแสดงโครงสร้างละครโทรทัศน์ 3 องก์

การสร้างตัวละครของละครโทรทัศน์ การสร้างตัวละครของละครโทรทัศน์นั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับการสร้างตัวละครในนิยายทั่วๆ ไป การสร้าง ตัวละครไม่ว่าจะเป็นตัวละครหลัก (MAIN CHARACTER) หรือตัวละครรอง (SUB ORDINATOR หรือ MINOR CHARACTER) นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปตามความนิยม แต่ความนิยมในการสร้างตัวละครต่างๆ นั้น ก็ไม่พน้ลักษณะ ตัวละครดังต่อไปนี ้

Page 33: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 33

1. ตัวละครชนิดถอดแบบ (STEREO TYPE) เป็นการสร้างตัวละครให้มีลกัษณะท่าทาง การแสดงออก เหมือนความจริง เหมือนต้นแบบทุกประการ เน้นการสร้างตัวละครที่ทําให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่าเป็นบุคคลจริงๆ ที่มีอยู่ ไม่ใช่ตัวละครที่สมมติขึ้น 2. ตัวละครที่สะสมลักษณะตามธรรมเนียมนิยม (STOCK CHARACTER) ได้แก่ ตัวละครที่สร้างสมมานาน เมื่อนึ่งจะให้เกิดมีลักษณะตัวละครแบบใดก็ดึงออกมาใช้ได้ทันที เช่น ถ้าเป็นนางเอกจะต้องเป็นกุลสตรี เรียบร้อย นุ่มนิ่ม ขี้อาย ถ้าเป็นผู้ร้ายต้องดุดัน โหดเหี้ยม ถ้าเป็นพระเอก ต้องรูปหล่อ กล้าหาญ มีมัดกล้าม ลักษณะแบบนี ้เป็นธรรมเนียมที่นิยมมากันแตโ่บราณมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นสากล และยึดถือสืบต่อกันมา 3. ตัวละครแบบสัญลักษณ์หรือเป็นการเปรียบเทียบ (SYMBOLICAL CHARACTER) หรือ (ALLEGORICAL CHARACTER) เป็นการสร้างตัวละครโดยสร้างตัวแทนขึ้นให้ตัวละครในเรื่องเชื่อมโยงกับบุคคลจริงๆ ของเรื่อง เชน่ สร้างให้พระเพลิงเป็นสัญลักษณ์ของความร้อนแรง ยมบาลเป็นสัญลักษณ์ของความตาย สีขาวเป็นสญัลักษณ์ของผู้บริสุทธิ์ หรืออาจสร้างให้สิงโตและเสือเป็นตัวละครเปรียบเทียบกับความดุร้ายให้แมวหรือสุนัขเป็นตัวละครที่เชื่องรู้ภาษา ซือ่สัตย์ เป็นต้น 4. ตัวละครแบบไมห่ยุดนิ่งอยู่กับที่ (DYNAMIC CHARACTER) หรือตัวละครแบบมิติสมบูรณ์ (FULL-DIMENSIONAL CHARACTER) เป็นการสร้างตัวละครที่พัฒนาไปตามเหตุการณ์กับที่ ไม่ใช่ว่าเริ่มต้นเป็นคนด ีแล้วจะต้องเป็นคนดีเสมอไปตลอดเรื่อง หรือเริ่มต้นร้ายแล้วจะต้องร้ายไปตลอด ลักษณะตวัละคนแบบนี้จะไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตลอดเวลา มีความเป็นมนุษย์ปุถุชนในทุกแง่ทุกมุมอย่างสมบูรณ์แบบ มีทั้งส่วนดีและส่วนเลว อยู่ในตัวบางครั้งเคยดีก็เปลี่ยนเป็นเลวได้ เช่นลักษณะตัวละครของละครโทรทัศน์เรื่องคําพิพากษา ของชาติ กอบจิตต ิ ตัวละครหลัก “ฟัก” ซึ่งเดิมเป็นคนดี แต่ต่อมามีเหตุการณ์มาบีบคั้นทําให้ “ฟัก” เปลี่ยนบุคลิกลักษณะจากคนด ีกลายเป็นคนขี้เมาในที่สุด 5. ตัวละครแบบคงที่ (STATIC CHARACTER) เป็นการสร้างตัวละครที่ตรงข้ามกับแบบที่ 4 แบบนี้จะมีลักษณะ ไม่เป็นไปตามธรรมชาต ิ จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและเหตุการณ์ แห่งความเป็นจริงของปุถุชนธรรมดาที่ควรจะเป็น หากแต่ว่าไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้นตัวละครนั้นก็ยังคนมีนิสัยใจคอและพฤติกรรมคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ลักษณะ คงที่ตลอดกาลของ “จเด็ด” จากเรื่องผู้ชนะสิบทิศของยาขอบ ที่มีความเจ้าชู้ไม่เปลี่ยนแปลง หรือลักษณะคงที่ของ พล นิกร กิมหงวน ของ ป. อินทรปาลิต ตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มต้นอย่างไร แม้เวลาจะล่วงเลย หรือเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ช่วงท้ายก็คงเป็นเช่นนั้นไม่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น การเขียนบทละครสําหรับโทรทศัน์ สามารถเขียนได้ 2 ประเภท คือ 1. SERIES คือ ละครชุดจบในตัว หรือจบในตอนของการนําเสนอในแต่ละครั้ง แต่การนําเสนอละคร ในแต่ละครั้งแต่ละครยังคงใช้ตัวละครหลักเป็นตัวดําเนินเรื่องในทุกตอน ซึ่งอาจจะเป็นแบบ SOAP OPERA คือละครชีวิต หรือละครแบบสถานการณ ์ (ACTION DRAMA) 2. SERIALS คือ ละครเรื่องยาวต่อเนื่องกันไป อาจมี 40 ตอนจบ หรือ 200 ตอนจบ การนําเสนอแต่ละตอน จะต่อเนื่องกัน ตัวละครแต่ละตัวมีความเกี่ยวข้องกัน และอาจมีจุดสุดยอดของเรื่องราวหลายครั้ง ละครประเภทนี้ ได้แก่ ละครหลังข่าวของสถานีโทรทัศน์ของประเทศไทยหลายสถานี 3. MINI SERIES คือ ละครสั้นที่มีไม่กี่ตอนจบ อาจนําเสนอ 10 ตอนจบ มีการดําเนินเรื่องราวต่อเนื่องกันไป ตัวละคนมีความเกี่ยวข้องกัน เหมือนละครเรื่องยาว แต่เป็นการนําเสนอเพียงไม่กี่ตอนในแต่ละเรื่อง 8.รายการภาพเพลง (MUSIC VIDEO) รายการมิวสิควิดีโอ คือการนําเสนอภาพเพื่อการสื่อความหมาย ถ่ายทอดบรรยากาศ และอารมณ์ของเพลง หรือดนตรีเพิ่มเติมในส่วนที่เพลงหรือดนตรีให้ได้ไม่ครบถ้วน สรุปคือการนําเสนอภาพเพลงนี้มีจุดประสงค ์ เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจ ซาบซึ้ง ประทับใจ และคล้อยตามไปกับเพลงหรือดนตรีนั้นๆ ซึ่งการนําเสนอ MUSIC VIDEO นี้สามารถใช้เทคนิค ในการเล่นเรื่องได้หลากหลาย แล้วแต่ความเหมาะสม ได้แก ่

Page 34: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 34

8.1 ใช้วิธีการนําเสนอแบบข่าวหรือสารคดี 8.2 ใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบละคร 8.3 ใช้วิธี MONTAGE คือ นําภาพตัวแทนสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ไมเ่กี่ยวข้องต่อเนื่องกันโดยตรงมาผสมผสานกัน เพื่อเสนอหรือสื่อแนวคิดของเพลง 8.4 ใช้ศิลปิน ที่ร้องเพลงนั้น เป็นตัวนําเสนอ โดยการร้องเพลงในสถานที่ต่างๆ ในเหตุการณ์ต่างๆ ตาม เรื่องราวของเพลง 8.5 ใช้การแสดงดนตรี (CONCERT) เป็นตัวนําเสนอเพลงและดนตรี หรือาจจะจัดฉากเหตุการณ์การแสดง ขึ้นมาเองใช้ลีลาการแสดงออกทางสีหน้าท่าทางของนักร้อง หรือาจจะมีลีกลาการเต้นประกอบของนักเต้น (DANCER) ประกอบการ เพื่อสื่ออารมณ์ และบรรยากาศของเพลงหรืออาจจะใช้วิธีการผสมผสานกันบางอย่างหรือหลายๆ อย่าง แล้วแต่ความเหมาะสม ปัจจุบัน MV ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีวัตถุประสงคเ์พื่อถ่ายทอดแนวคิด ตีความ หรือสร้างความประทับใจ ในเพลงหรือดนตรีนั้นๆ แต่มักจะทําขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการขายเพลงและดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นการเขียนบท MV ทางการค้าส่วนใหญ่จึงนิยมใช้วิธีการโชว์ศิลปินนักร้อง นกัดนตรีประกอบเพลงนั้นๆ ในลีลาบุคลิกต่างๆ ที่คิดว่าจะดึงดูด กลุ่มเป้าหมาย ของเพลงนั้น หรืออาจจะโชว์บรรยากาศหรือสถานที่ด้วยภาพที่สวยงาม สอดคล้องกับอารมณ์เพลงก็เพียงพอแล้ว หรือวิธีที่ง่ายที่สุดที่นิยมผลิตกันมากคือใช้วิธีนําเอาภาพการแสดงสดของศิลปินที่ออกอัลบัม้ชุดนั้นๆ มาตัดต่อให้เข้ากับทํานองเพลงเท่านั้น 9. รายการนิตยสาร (MAGAZINE) รายการนิตยสาร คือ รายการที่เนื้อหาเรื่องราว เหตุการณ์ หรือการแสดงหลายๆอย่างอยู่ในรายการเดียวกัน โดยมีจุดร่วมที่เป็นเอกภาพเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าในรายการนิตยสารไม่ว่าจะมีกีส่่วนของรายการที่แตกต่างกันไป เพื่อสร้าง ความหลากหลาย ไม่ซ้ําซากจําเจ แต่จะต้องมี THEME เดียวเท่านั้น รายการนิตยสารสามารถสร้าง THEME ร่วม หรือจุดร่วมที่มีเอกภาพเดียวกันได้ดังนี ้ 9.1 ใช้ THEME บางเนื้อหาเป็นจุดร่วม เช่น รายการนิตยสารเกี่ยวกับความงาม ในรายการนี้ อาจประกอบ ไปด้วยเรื่องราวเดียวกัน การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การออกกําลังกายให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพและผิวพรรณดี และเรื่องการเลือกเครื่องแต่งกายให้เหมาะกับบุคลิกและรูปร่าง เป็นต้น ทั้งหมดนี้แม้จะเป็นเรื่องต่างกัน แต่มีจุดรว่มเดียวกัน หรือมี THEME เดียวกัน คือ ความงาม 9.2 ใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นจุดร่วม รายการนิตยสารแบบนี้ เมื่อจะนําเสนอเรื่องราว เนื้อหา และการแสดงหลายๆอย่างในรายการเดียวกัน จะต้องเลือกมาโดยคํานึงถึงความเหมาะสมและอยู่ในความสนใจของ กลุ่มเป้าหมายนั้นๆ ที่เราต้องการจะเข้าถึง เช่น นิตยสารเด็ก เรื่องราวต่างๆ ที่นําเสนอต้องเป็นสิ่งที่เด็กสนใจหรือเหมาะกับเด็ก เช่น การ์ตูน นิทาน ละครที่ส่งเสริมจินตนาการ ของเด็กและเยาวชน เป็นต้น 9.3 ใช้ผู้ดําเนินรายการเป็นจุดร่วม ซึ่งในนิตยสารแบบนี้ ผู้ที่จะมาเป็นผู้ดําเนินรายการ ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ มีชื่อเสียงและเป็นที่ชื่นชอบหลงใหลของกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย ในส่วนของเรื่องราว เนื้อหา หรือ การแสดงใดๆ ที่นําเสนอจะต้องเป็นการนําเสนอหรือพาไปสัมผัสโดยผู้ดําเนินรายการคนเดียวกัน เช่น นิตยสารตลกของ BOP HOPE เป็นต้น 9.4 ใช้บรรยากาศและอารมณ์เป็นจุดร่วม เช่น รายการนิตยสารที่เน้นบรรยากาศ และอารมณ์บันเทิง เป็นจุดร่วม ในรายการนั้นอาจจะมีเรื่องราว หรือการแสดงใดๆ ที่ให้ความบันเทิงเป็นหลัก เช่น มีดนตรีที่สนุกสนาน COMEDY TALK และมีละครตลก เป็นต้น

Page 35: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 35

รายการโทรทัศนท์ี่แบ่งตามวัตถุประสงค์ทางการสื่อสาร รายการโทรทัศน์ ที่แบ่งตามวัตถุประสงค์ทางการสื่อสาร สามารถแบ่งได้ดังนี ้1. รายการที่ใช้ข่าวสาร ความรู้ (INFORMATIVE PROGGAMME) แบ่งได้ดังนี ้ 1.1 รายการข่าว (NEWS PROGGAMME) 1.2 รายการโทรทัศน์เพื่อการสอน (INSTRUCTIONAL TELEVISION) รายการโทรทัศน์เพื่อการสอน เป็นรายการที่ผลิตขึ้นมาเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือ หลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งของสถาบันทางการศึกษา เช่น รายการโทรทัศน์เพื่อการสอนของมหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นต้น รายการแบบนี้มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละวิชาในหลักสูตร ซึ่งผู้ชมทั่วๆ ไปที่สนใจก็สามารถชมได ้ 1.3 รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (EDUCATIONAL TELEVISION) รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เป็นรายการที่ให้ความรู้เฉพาะทางเพื่อให้ผู้ชมนําไปใชป้รับปรุงคุณภาพชีวิต และอาชีพการงานให้ดีขึ้นมิใช่เพียงเพื่อเพิ่มโลกทรรศน์เท่านั้น ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาจะแตกต่าง จากรายการโทรทัศน์เพื่อการสอน คือ จะไม่ทราบว่าผู้ชมเป็นใคร มีจํานวนเท่าไหร่ รวมทั้งไม่ต้องลงทะเบียนเรียน เช่น รายการโทรทัศน์เกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตร การให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น 1.4 รายการโทรทัศน์เพื่อการฝึกอบรม (TRAINING PROGRAMME) รายการโทรทัศน์เพื่อการฝึกอบรม คือ รายการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมด้านอาชีพแก่ผู้ชม เช่น รายการฝึก อบรมเกี่ยวกับเรื่องการจัดการ เป็นต้น รายการแบบนี้นํามาใช้กับองค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์ภาคเอกชน เพื่อพัฒนาบุคลากร 1.5 รายการโทรทัศน์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร (CORPORATE PROGAMME) เป็นรายการโทรทัศน์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แกอ่งค์กรเป็นรายการที่ผลิตขึ้น เพื่อให้รายละเอียด ความเป็นมา ขององค์กร หรือรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรม สินค้า บุคลากร อุปกรณ์ เครื่องจักร และเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งบทบาทที่มีต่อชุมชนและสังคม เพื่อให้กลุ่มประชาชนเป้าหมายได้รับทราบความเคลื่อนไหวเขา้ใจในการดําเนินงาน เกิดความเชื่อถือประทับใจในบริษัทหรือองค์กรนั้นๆ 2. รายการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความบันเทิง (ENTERTANING PROGAMME) เป็นรายการที่เน้นให้ความบันเทิงเป็นหลัก เช่น รายการละคร รายการวาไรตี้ รายการดนตรีและเพลง รายการตลก รายการเกมส์โชว์ เป็นต้น 3. รายการมีวัตถุประสงค์เพื่อการจูงใจ (PERSUASIVE PROGAMME) เป็นรายการที่ต้องการเปลี่ยนแผลงความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ หรือพฤติกรรมของผู้ชม ให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของผู้นําเสนอ เช่น รายการสารคดี รายการสนทนา เป็นต้น

รายการที่แบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย

รายการที่แบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย แต่ละรายการมีลักษณะ เนื้อหา และโครงสร้างแตกต่างกันไป เนื่องจาก กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มย่อมมีความสนใจและมีความจําเป็นหรือมีปัญหาแตกต่างกันไป รวมทั้งมีระดับการเรียนรู้ ความสนใจ และความเข้าใจได้มากน้อยแตกต่างกัน ประเภทของรายการที่แบ่งตามกลุ่มเป้าหมายที่นิยมนําเสนอกันทั่วๆ ไปได้แก่ รายการเด็ก รายการสําหรับวัยรุ่น รายการสตรี รายการสําหรับผู้สูงอายุ และรายการสําหรับแม่บ้าน เป็นต้น

Page 36: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 36

ในการจัดประเภทของรายการ ไม่ว่าจะจัดโดยอาศัยวิธีใด หรือเป็นรายการประเภทใดนั้น สามารถนําเอา เทคนิควิธีการนําเสนอรายการแบบหนึ่งมาประยุกต์ใช้ในอีกแบบหนึ่งได้ ทั้งนี้ถ้าหากว่าจะทําให้รายการ น่าสนใจแก่ กลุ่มเป้าหมายมากขึ้น หรือสื่อความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างความพึงพอใจ ให้แก่ผู้ชมซึ่งจะนําไปสู ่สัมฤทธิผลทางการสื่อสารได้ในที่สุด เช่น เราสามารถใช้การสัมภาษณ์ในรายการข่าวเพื่อใช้อ้างอิงประจักษ์พยาน ใช้ละคร นําเสนอสารคดีเพื่อให้เรื่องเข้าใจง่ายและน่าสนใจสําหรับกลุ่มเป้าหมายที่อายุน้อย หรือการศึกษาไม่สูง เป็นต้น หรืออาจ สร้างความหลากหลายของรายการข่าวด้วยวิธีการของนิตยสารที่เรียกว่านิตยสารข่าว (NEWS MAGAZINE) หรือใช้การสาธิต ในสารคดีเพื่อให้เข้าใจในความรู้นั้นๆ ง่ายขึ้น เป็นต้น รายการประกาศแจ้งความ (ANNOUNCEMENT) รายการประกาศแจ้งความ เป็นการนําเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อชักจูงใจ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) COMMECIAL ADVERTISING ANNOUNCEMENT เป็นประกาศแจ้งความ หรือ โฆษณาทางโทรทัศน์ เพื่อให้ผู้บริโภคเป้าหมาย จําตราหรือยี่ห้อสินค้า สร้างการรับรู้ เร้าให้เกิดความสนใจ ย้ําเตือนความทรงจํา ในตัวสินค้า เพื่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อในที่สดุ 2) PUBLIC SERVICE ANNOUNCEMENT (PSA) คือประกาศแจ้งความในเชิง ส่งเสริมสังคม หรือบริการเพื่อประโยชน์ของสังคม เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนร่วมไม้ร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคม เช่น การรักษาความสะอาด การรณรงค์เพื่อเลิกยาเสพติด เป็นต้น 3) PROMOTIONAL ANNOUNCEMENT หรือ PROMOTE คือ ประกาศแจ้งความ เพื่อการส่งเสริมรายการโทรทัศน์ของทางสถานีให้ผู้ชมสนใจอยากชมรายการ การเขียนบทประกาศแจ้งความประเภท ADVERTISING ANNOUNCEMENT และ PUBLIC SERVICE ANNOUNCEMENT นั้น ควรมีขนาดความยาวไม่มากนัก ตามที่นิยมกันจะมีตั้งแต่ 15 วินาที 30 วินาที และ 60 วินาที ส่วนใหญ่จะมีความยาวใกล้เคียงกัน แต่อาจไม่จําเป็นต้องมีความยาวลงตัวพอดีเหมือนกันแล้วแต่เนื้อหาที่ต้องการนําเสนอ จะมากน้อยแค่ไหน ในการนําเสนอ ANNOUNCEMENT นั้นมีขั้นตอนต่างๆ ในการเขียนดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ 1.1 จุดมุ่งหมายระยะยาว (LONG – RANGE GOAL) คือ เป้าหมายระยะยาวของสินค้า หรือบริการนั้นๆ 1.2 จุดมุ่งหมายเฉพาะสําหรับการทํา ANNOUNCEMENT ในครั้งนั้น 2. กลุ่มเป้าหมายคือใครและกลุ่มเป้าหมายสามารถรับสารได้ทางสถานีไหน เวลาอะไร 3. ใช้จุดจูงใจ (PERSUASIVE APPEALS) ใดเป็นส่วนกระตุ้นหรือจูงใจผู้บริโภคเป้าหมาย 4. ใช้วิธีการใดเพื่อดึงดูดความสนใจผู้ชมเป้าหมาย ให้สนใจในตัว ANNOUNCEMENT นั้น เช่น ใช้อารมณ์ขัน หรือใช้ดนตรีและเสียง หรือเหตุการณ์แปลกๆ เป็นต้น 5. มีแนวคิดอะไร อย่างไร ในการนําเสนอที่คิดว่าจะสามารถให้รายละเอียดของสินค้าหรือบริการที่จูงใจผู้บริโภค เป้าหมายอย่างได้ผล 6. มีลําดับการนําเสนอเรื่องอย่างไร จึงจะทําให้ตัวโฆษณามีความหลากหลาย น่าสนใจมีจังหวะจะโคน และกลมกลืนกันตั้งแต่ต้นจนจบอย่างมีเอกภาพ อีกทั้งมีจุดสร้างความพึงพอใจในการชมที่เหมาะสม ซึ่งลําดับการนําเสนอ เรื่องที่ด ี จะต้องสามารถดึงดูดความสนใจ และตรึงให้ผู้ชมอยู่กับโฆษณาได้ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ โดยอาจลําดับการนําเสนอ เพื่อสร้างลําดับการรับรู้ ดังนี ้ 6.1 สร้างปัญหาแล้วบอกวิธีแก้ไข (PROBLEM& SOLUTION) ที่โยงกับสินค้าหรือบริการ 6.2 สาธิตกระบวนการการใช้ (DEMONSTRATION) สินค้า 6.3 เล่าเรื่องราวแบบละคร (DRAMATIZATION) 6.4 อ้างอิงประจักษ์พยาน (TESTIMONIAL) ซึ่งอาจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มีชื่อเสียง เช่น ดารานักแสดง

Page 37: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 37

มาบอกกล่าวถึงข้อดีของสินค้า หรืออาจจะเป็นความเห็นของคนทั่วๆไป อ้างอิงถึงข้อดีของสินค้า 6.5 ใช้ผู้ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักมานําเสนอ (PRESENTERY) หรือ SPOKES PERSONS เหมือนเป็นตัวแทน ของผู้ผลิตสินค้า 6.6 ใช้ผลพิเศษทางภาพเพื่อดึงดูดความสนใจ (SPECIAL EFFECTS) เช่นใช้เทคนิคทาง ANIMATION หรือทาง COMPUTER GRAPHICเป็นต้น

สรุปผลสํารวจสื่อโทรทัศน์ปลอดภัยและสร้างสรรค์1

ปัจจุบันต้องยอมรับว่าสื่อทีวีเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างมากด้วยเป็นสื่อที่ใกล้ชิดกับทุกคนในครอบครัว แทบทุกหลังคาเรือนจะมีทีวีอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง เมื่อทีวีเข้ามาใกล้ชิดกับคนในครอบครัวมากขึ้น รายการต่างๆ ในทีวีก็ย่อม จะมีอิทธิพลต่อความนึกคิดของคนในสังคมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะรายการจากช่องฟรีทีวีซึ่งเป็นสถานีหลักของประเทศไทย

ในการตอบการสํารวจในครั้งนี้ ทําการสํารวจผ่านเว็บไซต์ kapook , prachatai , blognone และ siamintelligence โดยมีผู้เข้าตอบเกือบหนึ่งพันคนมีความหลากหลายทั้งอายุ ระดับการศึกษา เพื่อสํารวจรายการทีวี ตลอดจนช่วงเวลาการรับชม รายการที่มีความคิดสร้างสรรค์ปลอดภัยและมีการติดตามรับชมมากที่สุด โดยผู้ที่เข้ามาตอบผลสํารวจพบว่าเป็นผู้มีอายุในช่วง 20-30 ปีมากที่สุดอยู่ที่ 38% และเป็นผู้ที่จบปริญญาตรีขั้นต่ํามากที่สุดถึง 57% ซึ่งอาจจะถือว่า เป็นกลุ่มที่กําลัง มีบทบาทที่มากขึ้นในสังคมไทยและเป็นกลุ่มใช้อินเตอร์เน็ตกลุ่มหลักในเวลานี้

จากผลการสํารวจของช่องทีวีที่มีคนเข้ารับชมมากที่สุด 2 ช่องแรกของเมืองไทยคือช่อง 3 และช่อง7 ซึ่งสูงถึง 68%และ 58% ตามลําดับ และเมื่อดูรายการที่ติดตามมากที่สุด จะพบว่าเป็นรายการเรื่องเล่าเช้านี้ของทางช่อง 3 ซึ่งสูงถึง 68% ส่วนรายการอันดับสองยังคงเป็นของช่อง3 คือรายการตีสิบอยู่ที่ 55% ขณะที่รายการของช่อง 7 ที่ติดตามมากที่สุด คือรายการเรื่องจริงผ่านจออยู่ที่ 25% ถือว่ายังห่างจากรายการของทางช่อง3 โดยรายการที่มีการติดตามถัดจากของช่อง3 คือรายการของช่อง9 คือรายการกบนอกกะลาอยู่ที่ 52% และช่อง5 รายการชิงร้อยชิงล้านอยู่ที่ 52 %

กราฟแสดงข้อมูลรายการที่ติดตามมากที่สุด 1 ที่มา : สรุปผลสํารวจสื่อโทรทัศน์ปลอดภัยและสร้างสรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.siamintelligence.com/summary-tv-safety-

creative (วันที่ค้นข้อมูล : 10 มิถุนายน 2556).

Page 38: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 38

เมื่อดูรายการที่ติดตามกันมากใน 10 อันดับแรก เป็นรายการข่าวถึง 3 รายการ คือ รายการเรื่องเล่าเช้านี้ (1) รายการข่าวข้นคนข่าว (6) รายการข่าวสามมิติ (8) ซึ่งสอดคล้องกับประเภทของรายการที่รับชมมากที่สุดคือ ขา่ว และเมื่อไปสัมพันธ์กับช่วงเวลาของการเข้ารับชมรายการในวันธรรมดาในช่วงเช้าตรู่เป็นช่วงที่คนให้การรับชมเป็นลําดับที่สามรอง จากช่วงเวลา Prime time คือช่วงค่ํา (18.00-20.59น.)และช่วงดึก (21.00-22.59น.) สะท้อนการติดตาม และสนใจในการรับข่าวสารของคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้รายการข่าวยังเป็นประเภทรายการทีวีที่มีการรับชมมากที่สุด สูงถึง 79% ของผู้ที่ตอบแบบสํารวจมา แสดงถึงการเสพข่าวสารของคนไทยมีอยู่ในระดับสูง และเมื่อดูที่รายการที่ได้รับการติดตามมากที่สุด ยังเป็นรายการข่าวคือเรื่องเล่าเช้านี้ ยิ่งเป็นตัวสะท้อนถึงความรุ่งเรืองของรายการข่าวในยุคปัจจุบัน

จะเห็นว่ารายการข่าวในปัจจุบันมีอิทธิพลต่อผู้รับชมทีวีมากขึ้นโดยเฉพาะรายการเรื่องเล่าเช้านี้มีอิทธิพลต่อผู้ชมสูงมากอย่างมีนัยสําคัญ ดังกรณีล่าสุดสามารถระดมเงินบริจาคผ่านรายการเพื่อช่วยเหลือชาวเฮติได้เงินบริจาคสูงถึง 170 ล้านบาทในชว่งเวลาที่สั้นมากคือใช้เวลาเพียง 2 อาทิตย์ นี่นับเป็นการสะท้อนที่ชัดเจนมากในอิทธิพล ของสื่อกระแสหลักต่อความคิดของคนในสังคมที่พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรายการ

แต่ทว่าคุณสมบัติที่สําคัญของรายการข่าวที่ผู้ตอบแบบสํารวจต้องการให้เกิดขึ้นคือ ความเป็นกลางไม่เข้าข้างฝา่ยใด มีความเที่ยงตรงสูง นําเสนอข้อมูลรอบด้าน โดยเฉพาะการเสนอข่าวต้องการให้ปราศจากอคติไม่เกิดการชี้นํา

ขณะที่รายการที่สร้างสรรค์ที่สุดที่ได้จากการสํารวจในครั้งนี้พบว่าเป็นรายการ กบนอกกะลา ได้รับความนิยมถึง 82% ทิ้งห่างจากที่สองคือรายการคุณพระช่วยซึ่งได้รับความนิยมที่ 35% โดยรายการสารคดีเป็นประเภทของรายการที่ได้รับการรับชม อยู่อันดับ 3 รองจาก ข่าวและละครไทย ในการแสดงความคิดเห็นในการสํารวจยังพบว่าความต้องการรายการที่มีสาระ แนวการศึกษา สารคดี หรือรายการที่มุ่งสร้างความคิดที่สร้างสรรค์เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก แสดงถึงความต้องการ ในการชมรายการที่มีสาระเข้มข้นอย่างรายการสารคดียังมีอยู ่

กราฟแสดงข้อมูลรายการที่คิดว่าสร้างสรรค์ที่สุด

ในอีกด้านของรายการทีวีไทยที่มีอิทธิพลมายาวนานคือละครไทยซึ่งผลการสํารวจออกมาเป็นลําดับที่สองของประเภทรายการที่รับชม ซึ่งก็สอดคล้องกับช่วงเวลาที่มคีนรับชมมากที่สุดคือช่วงเวลา Prime Timeหรือช่วงค่ํา (18.00-20.59น.) แสดงถึงพฤติกรรมในการรับชมรายการของคนไทยบางส่วนยังไม่ได้เปลี่ยนมากนัก ขณะที่ความคิดเห็นต่อละครไทย มีความต้องการละครสร้างสรรค์มากขึ้นและต้องการให้ละครไทยหลากหลายในเนื้อเรื่องมากขึ้น สอดแทรกสาระลงไปในละคร สามารถสร้างค่านิยมที่ดีแก่สังคมได้ ถือได้ว่าคนในสังคมต้องการละครที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์มากขึ้น

Page 39: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 39

ประเภทรายการทีวีที่เป็นที่นิยมอีกประเภทหนึ่งคือ รายการโชว์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเกมส์โชว์ ทอล์คโชว์ และเกมส ์กึ่งสาระ ที่แต่ละประเภทความนิยมอยู่ในอนัดับ 4 ของความนิยมในรายการทีวีโดยแต่ละรายการมีความนิยมอยู่ที่ 35% แต่เมื่อรวมจํานวนของรายการทั้ง3เข้าด้วยกันถือว่าเป็นรายการที่มีได้รับความนิยมสูงพอสมควร

กราฟแสดงข้อมูลประเภทรายการที่รับชม

รายการทีวีไทยที่รับชมผ่านสายตาในแต่ละวันจะพบรายการบันเทิงเป็นจํานวนมากตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงช่วงค่ําไม่ว่าจะเป็นเกมส์โชว์ ละคร ภาพยนตร์ ถ่ายทอดกีฬา โดยมีรายการข่าวสอดแทรกเป็นช่วงใหญ่ๆแบ่งได้เป็น ช่วงเช้า ช่วงค่ํา ช่วงดึก ซึ่งจะเป็นช่วงที่คนสามารถติดตามรายการข่าวได้มากที่สุดของในระหว่างวัน ในส่วนรายการที่มีสาระเช่น สารคดีเป็นรายการ ที่ได้รับความนิยมในลําดับต้นๆ แต่จํานวนรายการยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับรายการบันเทิงต่างๆ และรายการข่าว

สรุปได้ว่า สื่อกระแสหลักของคนไทยยังคงเป็นสื่อจากทีวีอยู่โดยเฉพาะจากช่องฟรีทีวีไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 ,5 ,7 ,9 ,11 และไทยพีบเีอส แม้ว่าจะมีทีวีทางเลือกเช่น ทีวีดาวเทียม หรือเคเบิ้ลทีวี เริ่มเข้าแย่งพื้นที่จากฟรีทีว ีมากขึ้นด้วยตัวเลือกของรายการที่มากขึ้นหลากหลายมากกว่ารายการของฟรีทีวีแต่ความนิยมหลักก็ยังอยู่ในรายการของฟรีทีวี ในส่วนของสื่อทางเลือกอื่นๆได้เริ่มเข้ามาในพื้นที่ของสือ่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น วิทยุออนไลน์ ทีวีออนไลน์ แต่ยังเป็นส่วนน้อยและต้องเป็นกลุ่มที่ทันต่อเทคโนโลยี มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งต้องมีจํานวนที่มากพอ แต่ในเวลานี้ถือว่า มีจํานวนไม่มาก เมื่อเทียบกับจํานวนทีวีที่เข้าถึงทุกหลังคาเรือนแล้ว

แม้ว่ารายการโทรทัศน์โดยส่วนใหญ่เป็นรายการบันเทิงเป็นหลัก แต่การที่รายการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ผลิตงานมีคุณภาพ สามารถได้รับการติดตามชมมากเป็นอันดับสามรองจากรายการข่าวและรายการบันเทิง พร้อมกันนี้ ยังเป็นรายการ ที่ผู้ตอบแบบสํารวจให้เป็นที่หนึ่งในด้านความคิดสร้างสรรค์ แสดงว่าความต้องการในรายการ ที่มีสาระผ่านการผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ยังมีความต้องการในรายการโทรทัศน์ของไทยยังมีอยู่เป็นอย่างมาก

Page 40: Ca351 week03 tv genre

ประเภทของรายการโทรทัศน์ | 40

s

บรรณานุกรม ศุภางค์ นันตา. (2552). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สมสุข หินวิมาน และคณะ. (2554). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร :

สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สรุปผลสํารวจสื่อโทรทัศน์ปลอดภัยและสร้างสรรค์. (ระบบออนไลน์). วันสืบค้น 15 มิถุนายน 2556, แหล่งที่มา

http://www.siamintelligence.com/summary-tv-safety-creative สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานิเทศศาสตร์. (2550). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ หน่วยท่ี 1-5.

พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, สาขาวิชานิเทศศาสตร.์ (2539). เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์และการผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น.

พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. สุทิติ ขัตติยะ. (2555). หลักการทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จํากัด. องอาจ สิงห์ลําพอง. (2557). กระบวนการผลิตละครโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา. อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ. (2556). ภูมิทัศน์สื่อใหม่ : Digital Media ทีวีพันช่อง. พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรปราการ : บริษัท ดับบลิวพีเอส

(ประเทศไทย) จํากัด. อรนุช เลิศจรรยารักษ์. (2544). หลักการเขียนบทโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์. (2552). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร :

สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาพประกอบบางส่วนจาก

http://www.lwbc.net http://www.th.wikipedia.org http://www.tvdigitalthailand.com http://www.thaitv3.com http://www.thairealtv.com/main http://www.visual.merriam-webster.com/communications/communications/broadcast-satellite-communication.php