paro13lp.dnp.go.thparo13lp.dnp.go.th/.../uploads/2017/11/report-28022561.docx · web view7....

53
- 1 - รรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรร 2/2561 รรรรรรรรร 28 รรรรรรรรรร 2561 ร รรรรรรรรรร 1 รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร 13 รรรรรรรรรร รรรรรรรรรรร 1. รรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร 13 รรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรร 2. รรรรรรรร รรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรร / รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร 3. รรรรรรรรร รรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร 4. รรรรรรรรรร รรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร 5. รรรรรรร รรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร 6. รรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรร 7. รรรรรรรรรร รรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรร 8. รรรรรรรร รรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรร 9. รรรรรรรรร รรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร 10. รรรรรรรรรรรร รรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรร / รรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรร

Upload: others

Post on 13-Jan-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

- 1 -

รายงานการประชุม

ข้าราชการ หัวหน้าหน่วยงานภาคสนามและหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดส่วนกลาง

ครั้งที่ 2/2561

วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561

ณ ห้องประชุม 1 สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง

ผู้มาประชุม

1. นายดำรัส โพธิ์ประสิทธิ์ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง

ประธานการประชุม

2. นายณรงค์ คำเมืองปลูกผู้อำนวยการส่วนอำนวยการ / หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศป่าไม้

3. นายสันทัด บรรลือผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร

4. นายยุทธชัย วิญญาวงศ์ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า

5. นางสุณี โคตะมะผู้อำนวยการส่วนฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์

6. นายพูนสถิตย์ วงค์สวัสดิ์ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ

7. นายชนมภูมิ จอมทันผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า

8. นายกฤษฎา เล็กมณีผู้อำนวยการส่วนจัดการต้นน้ำ

9. นายประภาส อินทร์แก้วผู้อำนวยการส่วนประสานโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

10. นายเดชอนันต์ คำสวนผู้อำนวยการส่วนประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรป่าไม้

และสัตว์ป่า / หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วะ

11. นางสาวพานทอง ม้าแก้วหัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ / หัวหน้าหน่วยจัดการป่าแม่ยาว

12. นายยอดชัย จันทร์กระจ่างหัวหน้ากลุ่มงานกฎหมาย / หัวหน้าสายตรวจฯ พิเศษสายที่ 2

13. นายพีระเมศร์ ตื้อตันสกุลหัวหน้าอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท

14. นายสมพงษ์ บุญทูลหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยจง

15. นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

16. นายโกษิต แก้วกัลยาหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล

17. นางสาวดวงพร เกียรติดำรงหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขลางค์บรรพต / หัวหน้า

สวนรุกชาติพระบาท

18. นายอนันต์ แก้ววรรณหัวหน้าวนอุทยานม่อนพระยาแช่

19. ว่าที่ร้อยตรีฐนพงษ์ ปุรินทราภิบาลหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง

20. นายไพโรจน์ อาจิริยะหัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าพื้นที่สงวนชีวมณฑลห้วยทาก

21. นายรณรงค์ เกิดนวลหัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าแจ้ซ้อน

22. นายสุจิน จำปาเงินหัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าขุนตาล-ผาเมือง

23. นายอารี วงษ์เมืองหัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าถ้ำผาไท (ด้านทิศตะวันตก)

24. นายประหยัด จักรแก้วหัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าแม่วะ

25. นายกนกพันธุ์ ขึมจันทร์หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าดอยพระบาท – ม่อนพระยาแช่

26. นายโยธิน สุคันธมาลาหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ลป. 33 (ธารทอง)

27. นายณรงค์ ถิ่นแฝง หัวหน้าสายตรวจปราบปรามพิเศษ สายที่ 2

28. นายมานพ คนดีหัวหน้าสายตรวจปราบปรามพิเศษ สายที่ 3

/ 29. นายสัมพันธ์ ...

29. นายสัมพันธ์ สุชาตตระกูลหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เลียง

30. นายภัทรเรนทร์ ประสิทธิกุลหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่อาบ

31. นายธณัฐกรณ์ พองามหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่แจ้ฟ้า

32. นายจรินทร์ กันตีหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำขุนสอย

33. นายปิยพงศ์ ก้างแจ๋มหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เสริม

34. นายจำเนียร ต้นแก้วหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่จาง

35. นายเทวัญ จันทร์พรหมหัวหน้าหน่วยอนุรักษ์ฯต้นน้ำห้วยแม่พริก / หัวหน้าสถานีวิจัยต้นน้ำวัง

36. นายอาคม บุญโนนแต้หัวหน้าโครงการฯ พระราชดำริบ้านแม่ต๋ำ

37. นายนพรัตน์ นวลอนงค์หัวหน้าโครงการฯ พระราชดำริบ้านแม่ถอด

38. นายสมบูรณ์ แก้วเกิดหัวหน้าความหลากหลายทางชีวภาพ/หน่วยจัดการต้นน้ำ

แม่ป้ายแม่สอย และแม่อาง

39. นายภานุพงศ์ สมนึกหัวหน้าหน่วยจัดการป่าแม่มอก

40. นายกมลชัย ไชยโรจน์หัวหน้าสถานีคุ้มครองพันธุ์พืชป่าแม่ตีบ,แม่แหง

41. นายธนากร สิงห์เชื้อหัวหน้าสวนรุกขชาติห้างฉัตร

42. นายไอศูรย์ รินคำหัวหน้าสวนรุกชาติห้วยทาก

43. นายจรัส ดวงใยหัวหน้าศูนย์คุ้มครองพันธุ์พืชป่าจังหวัดลำปาง ,แม่งาว

44. นายสันติ กิตติบรรพชาหัวหน้าศูนย์วิจัยกีฏป่าไม้ที่ 1

45. นายชัยสิทธิ์ เมฆอากาศเจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน

46. นายจิรภัทร กันธิยาใจนักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

47. นายธนิศร คำเพิ่มพูนเจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน

48.นายสิทธพร เอียดทองเจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน

49. นายธันวา สัจจาพิทักษ์วงศ์นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ

50. นายทัพพ์วรปรัชญ์ กาญจนรัชต์เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน

51 นางปราณี เสนาธรรมหัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

52. นางชไมพร โยธาวุฒิหัวหน้าฝ่ายพัสดุและอาคารสถานที่

53. นางสาวจุฬาลักษณ์ สมหาญวงศ์หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี

54. นางสุกัญญา นิ่มสุขหัวหน้าฝ่ายแผนงานและติดตามประเมินผล

55. นายถวัลย์ พงษ์นิกรหัวหน้าฝ่ายสื่อสาร

56. นางรักษิณา พุฒลพเจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

57. นางสาวสุวิมล มีมานะเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

58. นางสาวชลธิชา ธิศรีชัยเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

59. นางสาวชนาลัย ใจปันเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

60. นางสถินา มณีเนตรเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ผู้ไม่มาประชุม (ติดราชการ)

1. นายชัยยา สุทธนะหัวหน้าโครงการฯ พระราชดำริบ้านทุ่งจี้ / หัวหน้า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยพระบาท

/ 2. นายสุพจน์ ...

2. นายสุพจน์ กึกก้องหัวหน้าโครงการฯ พระราชดำริดอยล้าน

3. นายธีรศักดิ์ คำห้างหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่นึง

4. นายศุภณัฐ สนิทวาจานักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ

ผู้ไม่มาประชุม (ป่วย)

1. นายธวัชชัย สวยสดเจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน

เริ่มประชุมเวลา 09.00 น.

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่อง ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ

นายดำรัส โพธิ์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง แจ้งที่ประชุมทราบ ดังนี้

1. เรื่อง ข้าราชการประสบอุบัติเหตุ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง ที่ได้ช่วยเหลือครอบครัวนายธวัชชัย สวยสด เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ที่ประสบภยันตรายจากการปฏิบัติหน้าที่ และมอบให้ส่วนอำนวยการดำเนินการเร่งด่วนด้วย และในการนี้ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้ไปปฏิบัติงานแทนนายธวัชชัย สวยสด แล้ว ขอให้ผู้มีรายชื่อตามคำสั่ง ปฏิบัติด้วย ซึ่งได้มีคำสั่งแต่งตั้งนายกนกพันธุ์ ขึมจันทร์ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าดอยพระบาท - ม่อนพระยาแช่ ทำหน้าที่งานกลั่นกรองหน้าห้องผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง อีกหน้าที่หนึ่ง หากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เนื่องจากติดภารกิจเร่งด่วน ให้ประสานกับนายถวัลย์ พงษ์นิกร นายช่างไฟฟ้าชำนาญงาน ให้ปฏิบัติแทน

2. เรื่อง วันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า ขอขอบคุณทุกส่วน/กลุ่ม/ศูนย์ ที่ได้ร่วมกันจัดงาน “วันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า” ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 ณ สวนสาธารณะเขลางค์นคร อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง โดยส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงาน ซึ่งผลการดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น เป็นที่ประทับใจสำหรับผู้ที่พบเห็นและผู้รับทราบจากส่วนราชการต่าง ๆ

3. เรื่อง ให้พนักงานราชการมาปฏิบัติราชการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง ได้รับหนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ ทส 0901.304/ว 4594 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่อง ให้พนักงานราชการไปปฏิบัติราชการ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 ทั้งนี้ ให้ส่วนอำนวยการ ประสานทางสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) สำหรับหน่วยงานใดที่พนักงานราชการลาออกหรือได้บรรจุรับราชการอื่นๆ ให้ประสานส่วนอำนวยการ รายงานให้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาพนักงานราชการมาทดแทน ต่อไป

4. เรื่อง รายงานการประชุม ให้ทุกส่วน/กลุ่ม/ศูนย์ โหลดเอกสารได้จากเว็บสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง www.parol13lp.go.th/testimonial/รายงานการประชุม/ หรือในระบบ สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประหยัดกระดาษ ตามตัวชี้วัด 4.2 การพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เรื่อง การลดกระดาษ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่อง รับรองรายงานการประชุม

นายณรงค์ คำเมืองปลูก ผู้อำนวยการส่วนอำนวยการ ได้จัดทำรายงานการประชุมข้าราชการ หัวหน้า

/หน่วยงานภาคสนาม....

หน่วยงานภาคสนามและหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดส่วนกลาง ครั้งที่ 1/2561 โดยได้แจ้งเวียนทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ หากมีแก้ไขเพิ่มเติมให้แจ้งฝ่ายบริหารทั่วไป ส่วนอำนวยการ เพื่อดำเนินการต่อไป

มติที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2561

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่อง ติดตามรายงานการประชุม

1. การนำเสนอผลงานการดำเนินงานและการร่วมกิจกรรมของหน่วยงานในสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง

นายณรงค์ คำเมืองปลูก หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศป่าไม้ ส่วนอำนวยการ นำเรียนที่ประชุม ดังนี้

เนื่องจากนโยบายผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง ให้รวบรวมผลการดำเนินงานและการร่วมกิจกรรมของหน่วยงานในสังกัด โดยให้รวบรวมข้อมูลและไฟล์ข้อมูล Digital ส่งให้ฝ่ายสารสนเทศป่าไม้ ส่วนอำนวยการ รวบรวม ทั้งนี้ ยังไม่ได้รับการรายงานดังกล่าว ซึ่งฝ่ายสารสนเทศ ส่วนอำนวยการ ได้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มไลน์ ขอรายงานผลการดำเนินงานและการร่วมกิจกรรมของหน่วยงานในสังกัด ในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2561 ดังนี้

· 1. วันที่ 19 มกราคม 2561 นายไพโรจน์ อาจิริยะ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าสงวนชีวมณฑลห้วยทาก ร่วมเสวนาจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายอาสาสมัครป้องกันไฟป่า การแก้ไขปัญหาไฟป่าและ หมอกควัน ณ สวนสาธารณะโป่งหนองบัว อำเภองาว จังหวัดลำปาง โดยมีนายประสิทธิศักดิ์ แย้มพรายภิรมย์ นายอำเภองาว เป็นประธานพิธี และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ประจำสถานีฯ สาธิตให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันไฟป่าแก่เครือข่ายอาสาสมัครและแนะนำการทำไม้กวาดภูมิปัญญาชาวบ้าน

· 2. วันที่ 24 มกราคม 2561 นายดำรัส โพธิ์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง และผู้อำนวยกาส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมการตรวจราชการตามแผนการตรวจราชการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 รอบที่ 1 ในพื้นที่เขตตรวจราชการ 15 – 18 (ภาคเหนือ) ณ ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

· 3. วันที่ 20 มกราคม 2561 นายพูนสถิตย์ วงค์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ ผู้แทนสำนัก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ในสังกัดเข้าร่วมงาน “ ท่ามะโอ เรโทร แฟร์” ถนนศิลปะ ลานเด็กยิ้ม ตลาดนัดชุมชน จุดนัดพบคนรุ่นใหม่ หัวใจอนุรักษ์ โดยมีกิจกรรมรำลึกประวัติศาสตร์ “ยุคป่าไม้รุ่งเรืองของจังหวัดลำปาง” โดยความร่วมมือของจังหวัดลำปาง และหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ณ บ้านหลุยส์ และบ้านเลขที่ 1 ถนนป่าไม้เขต ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

· 4. วันที่ 23 – 26 มกราคม 2561 สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง โดยส่วนอุทยานแห่งชาติ ได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพิ่มประสิทธิภาพการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก “ปูนปั้นไม้เทียม หินเทียม” ให้กับเจ้าหน้าที่ในสังกัด ณ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน โดยมีวิทยากรจากอุทยานแห่งชาติแม่วงค์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 นครสวรรค์

· 5. วันที่ 29 มกราคม 2561 นายดำรัส โพธิ์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร และผู้อำนวยการส่วนอุทยาน

·

· /แห่งชาติ.....

แห่งชาติ ได้ให้แนวทางการปฏิบัติหน้าที่แก่เจ้าหน้าที่สายตรวจปราบปรามและเจ้าหน้าที่ประจำอุทยานแห่งชาติ ในการปฏิบัติงาน ตามแผนการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้มีค่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วะและบริเวณใกล้เคียง

6. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 นายดำรัส โพธิ์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง เข้าร่วมงาน “ตาดหมอกวิ่งเพื่อผู้พิทักษ์ป่าและส่งเสริมสุขภาพปี 2561” ณ อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์ และร่วมพิธีเปิดตัวโครงการป่าในเมือง “สวนป่าประชารัฐ เพื่อความสุขของคนไทย”ณ สวนรุกขชาติเมืองราด จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานเปิดตัวโครงการ พร้อมด้วยนายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนร่วมกิจกรรม

· 7. วันที่ 10 - 11 กุมภาพันธ์ 2561 นายดำรัส โพธิ์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง และเจ้าหน้าที่ในสังกัด เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการป่าในเมือง “สวนป่าประชารัฐ เพื่อความสุขของคนไทย” ณ สวนรุกขชาติห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ และกิจกรรม “ปั่นสองน่อง ท่องอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์คนพันธุ์อึด ครั้งที่ 11” โดยมีพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัชต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานพิธี พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงประกอบด้วยนายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และเจ้าหน้าที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)

· 8. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 นายดำรัส โพธิ์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง ได้จัดงาน “วันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า” ณ สวนสาธารณะเขลางค์นคร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยมีนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานพิธี มีผู้ร่วมงานประกอบด้วยข้าราชการ พนักงาน สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 ลำปาง หน่วยงานราชการ ภาคประชาชน นักเรียน นักศึกษา ในท้องที่จังหวัดลำปาง จำนวน 1,000 คน

· ในการประชุมครั้งต่อไป ขอให้ทุกหน่วยงานในสังกัดที่มีการจัดกิจกรรมหรือไปร่วมกิจกรรมพิธีงานที่สำคัญและโดดเด่น และต้องการนำเสนอให้ที่ประชุมรับทราบ ขอให้จัดส่งข้อมูลรายละเอียดพร้อมภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอ ให้ฝ่ายสารสนเทศป่าไม้ ส่วนอำนวยการ

ประธานขอขอบคุณฝ่ายสารสนเทศ ส่วนอำนวยการ เนื่องจากเป็นนโยบายและเป็นผลงานของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง เลือกผลการปฏิบัติงานที่โดดเด่นเพื่อประชาสัมพันธ์

มติที่ประชุมรับทราบ

2. การนำเสนอผลงานของหน่วยงานภาคสนามในสังกัดส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สถานีควบคุมไฟป่า แม่วะ ตำบลแม่ปะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

นายประหยัด จักรแก้ว หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าแม่วะ นำเรียนที่ประชุม ดังนี้

สถานีควบคุมไฟป่าแม่วะ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่ปะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง 52160 และได้รับมอบหมายตามแผนยุทธศาสตร์/มาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่า ปี พ.ศ. 2561 ของกรมอุทยานแห่งชาติ

/สัตว์ป่า และพันธุ์พืช....

สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์ประชาสัมพันธ์

2. ยุทธศาสตร์การป้องกันไฟป่าและหมอกควัน

3. ยุทธศาสตร์การจัดการเชื้อเพลิง

4. ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาไฟป่า

5. ยุทธศาสตร์การดับไฟป่า

ซึ่งได้มีการวางแผนการปฏิบัติงาน และแผนด้านบุคลากร เพื่อจะได้ปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 4 กิจกรรม แบ่งเป็น

(แผนการปฏิบัติงาน)

การรณรงค์ป้องกันไฟป่า แผนและผลการปฏิบัติงานของสถานีควบคุมไฟป่าแม่วะ

งานที่ปฏิบัติ

แผนและผลการปฏิบัติงานของสถานีควบคุมไฟป่าแม่วะ

แผน

ผล

ประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่า

· ประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่

45 ครั้ง

30 ครั้ง

· ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน

4 ครั้ง

4 ครั้ง

· ป้ายประชาสัมพันธ์

3 ครั้ง

30 ครั้ง

สิ่งตีพิมพ์

2,420 แผ่น

2,420 แผ่น

· จัดนิทรรศการ

4 ครั้ง

4 ครั้ง

การศึกษาและฝึกอบรม

การศึกษา/อบรม

15 ครั้ง

8 ครั้ง

/ การปฏิบัติงานดับไฟป่า ...

การปฏิบัติงานดับไฟป่า

งานที่ปฏิบัติ

แผนและผลการปฏิบัติงานของสถานีควบคุมไฟป่าแม่วะ

แผน

ผล

การปฏิบัติงานดับไฟป่า

การเตรียมการก่อนฤดูไฟป่า

45 ครั้ง

30 ครั้ง

- สำรวจพื้นที่ปฏิบัติงาน

187,500 ไร่

187,500 ไร่

- เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือดับไฟป่า

1 ชุด

1 ชุด

- การจัดทำแนวกันไฟ

140 ก.ม.

140 ก.ม.

- การจัดการเชื้อเพลิง

6,000 ไร่

6,000 ไร่

การดับไฟป่า

- ตรวจหาไฟและตรวจปราบปรามการลักลอบ เผาป่า

187,500 ไร่

187,500 ไร่

- ปฏิบัติงานดับไฟป่า

10 ครั้ง / 274 ไร่

10 ครั้ง / 274 ไร่

การเตรียมการก่อนฤดูไฟป่า

1. สำรวจพื้นที่ปฏิบัติงาน ลักษณะเชื้อเพลิง, ลักษณะภูมิประเทศ, แหล่งน้ำ, เส้นทางคมนาคม, การตั้งถิ่นฐานของชุมชน, แนวกันไฟตามธรรมชาติ,บริเวณพื้นที่ที่มีความสำคัญอย่างแหล่งชุมชน ตลอดจนแหล่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น

2. เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือดับไฟป่า และการควบคุมการจัดทำแนวกันไฟ

การดับไฟป่า

สถิติการเกิดไฟไหม้ป่า ทั้งหมด 10 ครั้ง ได้แก่

1. พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วะ จำนวน 7 ครั้ง รวมพื้นที่ทั้งหมด 202 ไร่

2. พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่วะ จำนวน 2 ครั้ง รวมพื้นที่ทั้งหมด 60 ไร่

3. พื้นที่อื่นๆ ได้แก่ ข้างทางหลวงหมายเลข 1 (สายด่วน 1362) จำนวน 1 ครั้ง รวมพื้นที่ทั้งหมด 12 ไร่

การลาดตระเวนและดับไฟป่า

การปฏิบัติงานควบคุมไฟป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วะ

1. จังหวัดลำปาง จำนวน 251,799 ไร่

· อำเภอเถิน จำนวน229,130ไร่

· อำเภอแม่พริก จำนวน 22,669 ไร่

2. จังหวัดตาก จำนวน 112,374 ไร่

· อำเภอสามเงาจำนวน28,653ไร่

· อำเภอบ้านตากจำนวน 83,721ไร่

พื้นที่รับผิดชอบตามแผนปฏิบัติงานปกติของสถานีควบคุมไฟป่าแม่วะ เนื้อที่รับผิดชอบประมาณ 187,500 ไร่

ท้องที่หมู่บ้านในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เส้นทางตรวจตราและการลาดตระเวน คือ ทางเท้า ทางรถจักรยานยนต์ และทางรถยนต์

/ การมีส่วนร่วมในการแก้ไข ...

การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาไฟป่า

กิจกรรมร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วะ และใกล้เคียง ได้แก่ การประชุม (MOU) ระดับหมู่บ้าน และระดับตำบล

ทั้งนี้ สถานีควบคุมไฟป่าแม่วะ ได้ดำเนินการพัฒนาสำนักงานให้น่าอยู่ และให้เจ้าหน้าที่เกิดความพอเพียงในด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน

มติที่ประชุม รับทราบ

ประธานขอชื่นชมการจัดทำข้อมูลนำเสนอ Power point ดี และหมั่นฝึกฝนในการนำเสนอในที่สาธารณะ

3. การนำเสนอผลงานของหน่วยงานภาคสนามในสังกัดส่วนอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ แจ้ซ้อน ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน นำเรียนที่ประชุม ดังนี้

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ตั้งอยู่เลขที่ 343 หมู่ที่ 11 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 58 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 ตั้งอยู่ใน ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน มีพื้นที่ทั้งหมด 480,000 ไร่ ครอบคลุมท้องที่ อำเภอเมืองปาน อำเภอเแจ้ห่ม อำเภอวังเหนือ และอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

1. น้ำพุร้อน บ่อน้ำร้อนแจ้ซ้อน เป็นแหล่งน้ำพุร้อนที่มีสภาพการเกิดทางธรณีวิทยา มีกลิ่นกำมะถันอ่อน ๆ จำนวน 9 บ่อ น้ำพุร้อนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 73 - 82 องศาเซลเซียส เป็นที่นิยมนำไข่ไก่และ ไข่นกกระทามาแช่ สำหรับไข่ไก่แช่นานประมาณ 17 นาที ไข่แดงจะแข็งมีรสชาติมันอร่อย ส่วนไข่ขาวจะเหลวคล้ายไข่เต่า เป็นที่นิยมของคนทั่วไป

2. ห้องอาบน้ำแร่ มีทั้งห้องอาบแช่ แบบส่วนตัว ห้องรวมแบบตักอาบและบ่อสำหรับแช่อาบกลางแจ้ง มีอุณหภูมิน้ำแร่ประมาณ 39 - 42 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถใช้แช่อาบได้ ประโยชน์ของ การอาบน้ำแร่คือ ช่วยบำบัดความเมื่อยล้า ของร่างกาย ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ช่วยรักษาโรคผิวหนัง บางชนิดได้ เช่น กลาก เกลื้อน ผื่นคัน และยังช่วยบรรเทาอาการของโรคเกี่ยวกับกระดูก

3. น้ำตกแจ้ซ้อน เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำน้ำแม่มอญมีน้ำไหลตลอดปีมีแอ่งน้ำรองรับตลอดสายไหลตกลงมาเป็นชั้นๆ มี 6 ชั้น ในแต่ละชั้นมีความสวยงามต่างกันออกไปอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 1 กิโลเมตร มีเส้นทางรถยนต์ และทางเดินเท้าเข้าถึง ซึ่งอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้กระแสน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า

4. จุดชมวิวกิ่วฝิ่น อยู่ห่างจากหมู่บ้านป่าเหมี้ยงไปอีก ประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิว 4จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง เป็นสถานที่ที่มีบรรยากาศ พระอาทิตย์ตกดิน – พระอาทิตย์ขึ้น จะมีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ตั้งอยู่และมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ตลอด

ผลงาน/รางวัล

1. รางวัลยอดเยี่ยม (กินรีทองคำ)

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จากการประกวด Thailand Tourism Awards ปี 2543 จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

/ 2. รางวัลดีเด่น (กินรีเงิน) ...

2. รางวัลดีเด่น (กินรีเงิน)

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จากการประกวด Thailand Tourism Awards ปี 2556 และ ปี 2560 จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

3. รางวัลเครื่องหมายรับรองมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว ปี 2553

4. รางวัลเครื่องหมายรับรองมาตรฐานค่ายพักแรม ปี 2556 - 2558

5. รางวัลเครื่องหมายรับรองมาตรฐานค่ายพักแรม ระดับดีเยี่ยม (C2) ปี 2557 - 2560

6. รางวัลเครื่องหมายรับรองมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกระดับดีเยี่ยม ปี 2558 - 2560

7. รางวัลอุทยานแห่งชาติสีเขียว Green National Park ประจำปี 2560

8. รางวัลชนะเลิศ การประกวดอุทยานแห่งชาติดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2559

9. รางวัลด้านอารยสถาปัตยกรรม ความเสมอภาคเท่าเทียมกันทางสังคม

10. รางวัลเครื่องหมายรับรองมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (น้ำพุร้อนธรรมชาติ) ระดับดีเยี่ยม

11. รางวัลเครื่องหมายรับรองมาตรฐานกิจกรรมเดินป่าเพื่อการท่องเที่ยว ระดับดี

แผนแม่บทการจัดการพื้นที่ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

1. แผนการบริหารอุทยานแห่งชาติ จำนวนบุคลากร ข้าราชการ 2 คน ลูกจ้างประจำ 6 คน พนักงานราชการ 66 คน ลูกจ้างชั่วคราว 6 คน พนักงานจ้างเหมา 78 คน รวม 158 คน

2. แผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

2.1 ดำเนินการคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ให้คงอยู่สภาพเดิมตามธรรมชาติ

2.2 สำรวจ ศึกษา วิจัย ด้านป่าไม้ สัตว์ป่า สังคม เศรษฐกิจของประชาชน ตลอดจนการท่องเที่ยว

2.3 ป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้

2.4 ฟื้นฟูสภาพธรรมชาติที่เสื่อมโทรม ให้กลับสู่สภาพเดิม

3. แผนนันทนาการและสื่อความสื่อความหมาย

3.1 การสื่อความหมายธรรมชาติที่มุ่งให้นักท่องเที่ยวมีความเข้าใจถึงคุณค่าความสำคัญของธรรมชาติ ให้เกิดความหวงแหนธรรมชาติ

3.2 การจัดบริการนักท่องเที่ยว ในเขตบริการและเขตธรรมชาติ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ

3.3 การศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ถึงศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว

4. แผนพัฒนาการบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างและเครื่องมือ เครื่องใช้ในการจัดการอุทยานแห่งชาติ

/แผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ...

แผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน พ.ศ. 2559 – 2563 (5 ปี )

แผนพัฒนาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

ปีงบประมาณ

2559

2561

2561

2562

2563

1. ปรับปรุงอาคารบริการ และห้องอาบน้ำแบบส่วนตัว

……..

2. ก่อสร้างศูนย์บริหารนักท่องเที่ยวและห้องน้ำ ห้องสุขา แยกชาย – หญิง

……..

3. ปรับปรุงร้านจำหน่ายของที่ระลึก

……..

4. ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (อารยสถาปัตยกรรม)

……..

……..

5. เปลี่ยนใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน (LED)

……..

6. ซ่อมแซมบ้านพักนักท่องเที่ยว / อาคารสถานที่

……..

……..

……..

7. ก่อสร้างห้องน้ำ สำหรับผู้พิการ/ห้องน้ำ ห้องสุขารวม/โรงซักรีด/เรือนพัก

……..

……..

8. ปรับปรุงห้องอาบน้ำแร่แบบส่วนตัว / ศาลาพักผ่อน

……..

……..

9. ปรับปรุงร้านจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และของที่ระลึก ของผู้ประกอบการภายนอก

……..

……..

……..

……..

10. โครงการสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ ตามกฎหมายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

……..

……..

……..

……..

11. โครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว

……..

……..

……..

……..

12. โครงการติดกล้อง cctv ในแหล่งท่องเที่ยว

……..

……..

……..

ผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561

1. ด้านการบริหารอุทยานแห่งชาติ

- การเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2561 ผลการเบิกจ่ายเป็นไปตามแผน

- สถิตินักท่องเที่ยวและเงินรายได้

รายการ

จำนวนนักท่องเที่ยว (คน)

เงินรายได้ (บาท)

ตุลาคม

13,789

839,230

พฤศจิกายน

12,600

772,320

ธันวาคม

42,763

1,961,370

มกราคม

35,811

1,625,470

2. ด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร

- การเพิ่มพื้นที่ป่าในอุทยานแห่งชาติ ตามบันทึกข้อตกลงการเพิ่มพื้นที่ป่าในอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง

/ปีงบประมาณ ...

ปีงบประมาณ

เป้าหมายดำเนินการตาม MOU (ไร่)

พื้นที่ทำการเจรจาขอ คืนแล้ว (ไร่)

2560

1,082.34

1092.46

2561

1}166.99

163.67

รวมทั้งสิ้น

2249.33

1256.13

- การประกาศจัดตั้งขยายพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมายอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

พื้นที่เป้าหมายทั้งสิ้น (ไร่)

พื้นที่ดำเนินการสำรวจเสร็จสิ้นแล้ว (ไร่)

พื้นที่อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจ (ไร่)

49,397.85

7,409.14

41,988.71

- สถิติงานคดี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561

จำนวน คดี

ประเภทคดี

จำนวนผู้ต้องหา

จำนวนป่าไม้ของกลาง

ของกลางในคดี

5 คดี

ทำไม้

1 คน

1. ไม้ท่อน 24 ท่อน

1. รถจักรยายนต์ 1 คัน

5 คดี

ปริมาตร 3.083 ลบ.ม.

2. รถเข็นล้อยาง 1 คัน

2. ไม้แปรรูป 9 แผ่น/

3. รถไถเดินตาม 1 คัน

เหลี่ยม ปริมาตรรวม

4. ล้อพ่วง 1 คัน

0.285 ลบ.ม.

5. เลื่อยโซ่ยนต์พร้อมบาร์และโซ่ ยี่ห้อ STiHL สีส้ม 2 ปื้น

3. ด้านวิชาการและนันทนาการ การฝึกอบรมบุคลากร ด้านภาษา / การนันทนาการ / การอนุรักษ์ / การบริการนักท่องเที่ยว / การกู้ภัยและช่วยเหลือนักท่องเที่ยว

4. ด้านการบริการ

- การบริการนักท่องเที่ยว มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น มีห้องสุขา ที่จอดรถ เหมาะสมและเพียงพอต่อนักท่องเที่ยว สามารถใช้ประโยชน์ได้ดี

/ ลานจอดรถ ...

· ลานจอดรถสามารถรองรับได้ 760 คัน

· บ้านพักนักท่องเที่ยวรองรับได้ 52 คน

· ค่ายพักแรม รองรับได้ 138 คน

· เต็นท์ รองรับได้ 150 หลัง

· ห้องอาบน้ำแร่ จำนวน 39 ห้อง

· ห้องน้ำ – ห้องสุขา จำนวน 15 หลัง

- การบริการนักท่องเที่ยวที่มีความต้องการพิเศษ

- การบริการนักท่องเที่ยวด้านสุขอนามัย มีการตรวจมาตรฐานร้านค้าจำหน่ายอาหาร อย่างสม่ำเสมอ จากหน่วยงานภาคีภายนอก เช่น สาธารณสุข องค์กรท้องถิ่น ตำรวจ

- การบริการนักท่องเที่ยวด้านการรักษาความปลอดภัย

- การโฆษณาการประชาสัมพันธ์

- การประเมินความพึงพอใจและรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในท้องถิ่นต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติ (PAC) การรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ข้อมูลสรุปการประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ปีงบประมาณ 2560

การบริการ 82.7 % สิ่งอำนวยความสะดวก 73.38 % ความสะอาด 99.5 % ภาพรวมการบริการ 81 %

- ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์จากน้ำแร่ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีการสนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์จากน้ำแร่เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีรายได้ และเป็นการสร้างสรรค์ พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

/ - ระบบการจัดการ ...

- ระบบการจัดการและป้องกันผลกระทบของกิจกรรมท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีระบบจัดการขยะและของเสีย โดยการคัดแยกขยะ ระบบการบำบัดน้ำเสีย การทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพ โครงการขยะคืนถิ่น ร่วม Mou การลดใช้โฟม

- การใส่ใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

- การติดตาม ประเมินผลกระทบด้านต่างๆ ในแหล่งท่องเที่ยว

- ส่งเสริมกิจกรรมที่เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และมรดกทางวัฒนธรรม

- ส่งเสริมและกระตุ้นให้ชุมชนและนักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ มรดกทางวัฒนธรรม

- การใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า

5. ด้านพัฒนาและบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ

- การจำแนกพื้นที่การใช้งาน

- พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามขีดความสามารถ

- การรักษาอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ การออกแบบโดยใช้ปูนปั้นเลียนแบบธรรมชาติ

- ภูมิสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรม การใช้วัสดุและสีสันในการตกแต่งให้มีความสอดคล้องด้านรูปลักษณ์ ส่งเสริมสุนทรียภาพของพื้นที่

- การจัดการด้านสุนทรียภาพ ไม่มีสิ่งก่อสร้างซ้อนทับ บดบังความงามของจุดท่องเที่ยว

- การสนับสนุน พัฒนาชุมชนในด้านเศรษฐกิจ

- ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

- ให้การสนับสนุนการพัฒนาชุมชนในด้านสังคม

กิจกรรมเด่น ในปีงบประมาณ 2561

- โครงการอบรมปูนปั้นไม้เทียมและหินเทียม ซึ่งส่วนอุทยานแห่งชาติและผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง ได้ให้ความสำคัญจัดฝึกอบรม ในช่วงเดือนมกราคม และเดือนมีนาคม ซึ่งหน่วยงานที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และสามารถนำไปใช้ได้จริง

- กังหันน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ขอขอบคุณหัวหน้าโครงการพระราชดำริแม่ถอด ได้นำความรู้ เพิ่มขีดความสามารถเป็นแบบอย่างในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้ได้นำมาใช้และปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อใช้ในจุดถ่ายรูปของนักท่องเที่ยวได้

- เทศกาลดอกเสี้ยวบาน บ้านป่าเหมี้ยง อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน นครลำปาง วันที่ 9 – 11 มีนาคม 2561

ประธานจุดตั้งกังหันน้ำให้ทำหินปูนตั้งเป็นที่พักให้สื่อเป็นการอนุรักษ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติพลังงานธรรมชาติเป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าและสอดรับกับการท่องเที่ยว สำหรับหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ ให้ประสานหัวหน้าโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ บ้านแม่ถอด ในการจัดทำได้ สำหรับหน่วยงานอุทยานแห่งชาติ ให้ตรวจสอบบ้านพัก ห้องน้ำ เต็นท์ หรือสถานที่ให้บริการนักท่องเที่ยว หากชำรุดต้องซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้ สำหรับเว็บไซต์ของทุกหน่วยงานขอปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันด้วย และในการนำเสนอผลงานของหน่วยงานให้ใช้เวลาประมาณ 7 - 8 นาที เน้นด้านนโยบายกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหลัก ซึ่งการนำเสนอผลงานดังกล่าวเพื่อให้บุคลากรในสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13

/ สาขาลำปาง ...

สาขาลำปาง ที่มีความเชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ เพื่อใช้เป็นรูปแบบเดียวกัน หากมีผู้บังคับบัญชาไปตรวจงาน จะได้ใช้ในการนำเสนอผลงานของหน่วยงานต่อไป

มติที่ประชุมรับทราบ

ระเบียบวาระที่ 4เรื่องเพื่อทราบและพิจารณา

4.1 ส่วนอำนวยการ

นายณรงค์ คำเมืองปลูก ผู้อำนวยการส่วนอำนวยการ นำเรียนที่ประชุมทราบ ดังนี้

สืบเนื่องจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีหนังสือให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง เป็นคณะทำงานเข้าร่วมประชุมในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เพิ่มผู้อำนวยการสำนักทุกสำนักเป็นคณะทำงานด้วย เพื่อขับเคลื่อนตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (มาตรา 44) ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เป็นตัวติดตามการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ตั้งแต่รัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนัก ถึงหัวหน้าหน่วยงาน และข้าราชการทุกคน ให้ปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมาย แผนงาน โครงการ และงบประมาณที่ได้รับ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ส่งร่างตัวชี้วัดให้กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณา และได้ผ่านพิจารณาเรียบร้อยแล้ว จำนวน 10 ตัวชี้วัด 5 องค์ประกอบ 31 ตัวชี้วัดย่อย โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ถ่ายทอดให้กับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง จำนวน 17 ตัวชี้วัด จะมีบางตัวชี้วัดที่เปลี่ยนแปลงไปจากปี 60 สำหรับรายละเอียดตัวชี้วัดแต่ละตัว ฝ่ายแผนงานและติดตามประเมินผล จะรวบรวมและแจ้งให้คณะทำงานฯ ภายในวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2561 โดยขอนัดประชุมคณะทำงานฯ ดังกล่าวในวันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561 เนื่องจากว่ากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้กำหนดกรอบปฏิทินเร่งรัด ให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง ส่งเล่มคำรับรองการปฏิบัติราชการ ให้ กพร. ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2561 ส่งผลการประเมินส่วนราชการ รอบที่ 1 ให้ กพร. ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2561

นางสุกัญญา นิ่มสุข หัวหน้าฝ่ายแผนงานและติดตามประเมินผล นำเรียนที่ประชุม ดังนี้

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีตัวชี้วัดการประเมินฯ จำนวน 17 ตัวชี้วัด ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ตามที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กำหนดไว้ด้วย

1. องค์ประกอบที่ 1 ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักภารกิจพื้นฐาน งานประจำ งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลักงานตามกฎหมาย กฎ นโยบายของรัฐบาลหรือ มติคณะรัฐมนตรี (Fuction Base)

1.1 ความสำเร็จของการเพิ่มพื้นที่ป่าของประเทศ

1.1.1 จำนวนพื้นที่ป่า (สำรวจจากภาพถ่ายดาวเทียม) หน่วยงานหลัก คือ สฟอ. หน่วยงานสนับสนุน คือ สบอ. 1-16 และสาขาทุกสาขา

/1.1.2 จำนวนพื้นที่ป่า ...

1.1.2 จำนวนพื้นที่ป่าที่ทวงคืนได้ – เข้าครอบครอง หน่วยงานหลัก คือ สปฟ. หน่วยงานสนับสนุน คือ สอช. / สอป. / สบอ. 1-16 และสาขาทุกสาขา

1.1.3 จำนวนพื้นที่การปลูกฟื้นฟูป่า (ป่าอนุรักษ์) หน่วยงานหลัก คือ สฟอ. หน่วยงานสนับสนุน คือ สตน. / สนร. / สบอ. 1,3,4,5,7,8,9,10,11,12,13,14,15,16 และ สาขาสระบุรี ,ลำปาง,แม่สะเรียง

1.2 จำนวนป่าไม้ที่มีคุณค่าทางระบบนิเวศ หน่วยงานหลัก คือ กตป. / สอช. / สอป. หน่วยงานสนับสนุน คือ สฟอ. / สบอ. 1-16 และสาขาทุกสาขา

1.3 จำนวนและชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่ามีความสมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่/สัตว์ป่า หายากใกล้สูญพันธุ์ได้รับการฟื้นฟู หน่วยงานหลัก คือ สอป.

1.4 จำนวน Hotsport ที่ลดลงในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หน่วยงานหลัก คือ สปฟ. หน่วยงานสนับสนุน คือ สบอ. 1-16 และสาขาทุกสาขา

2. องค์ประกอบที่ 2 ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักภารกิจยุทธศาสตร์ แนวทางปฏิรูปภาครัฐ นโยบายเร่งด่วนหรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ หรือบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันหลายหน่วยงาน (Agenda Base)

2.1 ตัวชี้วัดการสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน (บังคับ) หน่วยงานหลัก คือ สบก. หน่วยงานสนับสนุน คือ ทุกสำนักส่วนกลาง / สบอ. 1-16 และสาขาทุกสาขา /กคส.

2.1.1 ร้อยละการดำเนินการตามแผนการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน หน่วยงานหลัก คือ สบก. หน่วยงานสนับสนุน คือ ทุกสำนักส่วนกลาง / สบอ. 1-16 และสาขาทุกสาขา /กคส.

2.1.2 ร้อยละการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ หน่วยงานหลัก คือ สบก.

2.2 Agenda ที่สำคัญที่รัฐมนตรีกำหนด

2.2.1 การพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.อส.) หน่วยงานหลัก คือ สนร. หน่วยงานสนับสนุน คือ สปฟ. /สฟอ. /สตน. /สอป. /สอช. /กตป. / สบอ. 1-16 และสาขาทุกสาขา

3. องค์ประกอบตัวที่ 3 ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามหลักภารกิจพื้นที่/ ท้องถิ่นภูมิภาคจังหวัดกลุ่มจังหวัด (Area Base) ไม่มีตัวชี้วัดในองค์ประกอบนี้

4. องค์ประกอบตัวที่ 4 ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรมในการบริหารระบบงาน งบประมาณ ทรัพยากรบุคคล และการให้บริการประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ (Innovation Base)

4.1 การพัฒนานวัตกรรม การลดการขอสำเนาเอกสารจากประชาชน (smart card) หน่วยงานหลัก คือ สผส.

4.2 การพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน หน่วยงานหลัก คือ กพร.

4.2.1 การลดพลังงาน (ไฟฟ้าและน้ำมัน) หน่วยงานหลัก คือ สบก หน่วยงานสนับสุนน คือ ทุกหน่วยงานในส่วนกลาง

4.2.2 การลดกระดาษ หน่วยงานหลัก คือ สบก. หน่วยงานสนับสุนน คือ ทุกหน่วยงาน

/4.2.3 การประหยัดงบประมาณ ....

4.2.3 การประหยัดงบประมาณ หน่วยงานหลัก คือ สผส. หน่วยงานสนับสุนน คือ ทุกหน่วยงาน

4.2.4 การปราบปรามการทุจริต (การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส) หน่วยงานหลัก คือ สบก.

4.2.5 การบูรณาการผลงาน (การปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการ

ลักลอบการค้าสัตว์ป่า) หน่วยงานหลัก คือ สอป.

4.2.6 การใช้ระบบสารสนเทศ (โครงการพัฒนา UAV) เพื่อการลาดตระเวนรัศมีทำงาน 15 กม. หน่วยงานหลัก คือ สปฟ.

4.2.7 การเผยแพร่ข้อมูลปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำ และภูมิอากาศผ่านระบบออนไลน์ หน่วยหลักงานหลัก คือ สตน.

4.2.8 การตอบข้อหารือทางกฎหมายทางเว็บไซต์ หน่วยงานหลัก คือ กนต.

4.2.9 แบบฟอร์มออนไลน์ การขออนุญาตเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า หน่วยงานหลัก คือ สอป. หน่วยงานสนับสนุน คือ สผส.

4.2.10 การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา หน่วยงานหลัก คือ สนร.

4.2.11 การพัฒนาระบบการชำระเงินค่าที่พักและบริการอื่น ๆ ในอุทยานแห่งชาติ หน่วยงานหลัก คือ สอช.

4.2.12 การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืชผ่านระบบออนไลน์ หน่วยงานหลัก คือ สวจ.

5. องค์กระกอบที่ 5 ศักยภาพในการดำเนินงานของส่วนราชการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (Potential Base)

5.1 การจัดทำและการดำเนินการตามแผนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ หน่วยงานหลัก คือ สผส.

5.1.1 กิจกรรมป้องกันรักษาป่าแบบบูรณาการ หน่วยงานหลัก คือ สอป. / สอช. / สปฟ. หน่วยงานสนับสนุน คือ สบอ. 1-16 และสาขาทุกสาขา

5.1.2 กิจกรรมฟื้นฟูพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่เสื่อมสภาพ หน่วยงานหลัก คือ สตน. หน่วยงานสนับสนุน คือ สบอ. 7,8,10,11,12,13,14,15,16 และสาขาลำปาง

5.1.3 กิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มนวัตกรรม/พัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคใต้ 2 สมุทร หน่วยงานหลัก คือ สอช. หน่วยงานสนับสนุน คือ สบก. / สบอ. 4,5

5.1.4 กิจกรรมป้องกันไม้พะยูงและไม้มีค่า หน่วยงานหลัก คือ สปฟ. หน่วยงานสนับสนุน คือ สอช. / สบอ. 1,2,3,7,8,9,10 สาขาลำปาง ,สาขาแม่สะเรียง

5.1.5 กิจกรรมโครงการพื้นฟูพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (ลุ่มน้ำ) ระยะที่ 1 หน่วยงานหลัก คือ สฟอ. หน่วยงานสนับสนุน คือ สบอ. 1,3,7,8,9,10,11,12,14 สาขาสระบุรี,สาขาลำปาง,สาขาแม่สะเรียง

/5.1.6 กิจกรรมแก้ไข....

5.1.6 กิจกรรมแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ หน่วยงานหลัก คือ สฟอ. หน่วยงานสนับสนุน คือ สบอ. 2,4,5,6,7,9,10,11,12,14,15,16 สาขาปัตตานี ,สาขาลำปาง ,สาขา แม่สะเรียง

5.1.7 กิจกรรมเสริมสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน หน่วยงานหลัก คือ สปฟ. หน่วยงานสนับสนุน คือ สบอ.1-16 และสาขาทุกสาขา ยกเว้น สบอ. 12 และสาขาสระบุรี

5.1.8 กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ หน่วยงานหลัก คือ สปฟ. หน่วยงานสนับสนุน คือ สบอ.13 ,14,15,16 สาขาลำปาง สาขาแม่สะเรียง

5.1.9 กิจกรรมเตรียมความพร้อม เสริมความแข็งแกร่งและพัฒนาเทคนิคการดำเนินกิจกรรมกลไกเรดด์พลัส หน่วยงานหลัก คือ กตป. หน่วยงานสนับสนุน คือ สบอ.1-16 และสาขาทุกสาขา ยกเว้น สบอ. 11,12 สาขาปัตตานี และสาขาแม่สะเรียง

5.1.10 กิจกรรมวิจัยและพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่เสื่อมสภาพ หน่วยงานหลัก คือ สวจ. หน่วยงานสนับสนุน คือ สตน. / สบอ. 16

5.2 การดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ หน่วยหลักงานหลัก คือ กพร.

5.2.1 การพัฒนาระบบบริหารจัดการและองค์กร หน่วยงานหลัก คือ กพร. หน่วยงานสนับสุนน คือ ทุกหน่วยงาน

5.2.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ หน่วยงานหลัก คือ กพ�