2556 - silpakorn university...ปรัชญา ภาษา...

176
อิทธิพลวัฒนธรรมจีนในงานจิตรกรรมของ จ่าง แซ่ตั้ง โดย นางสาวศภิสรา เข็มทอง วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2556 ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร หอ

Upload: others

Post on 07-Oct-2020

9 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • อิทธิพลวัฒนธรรมจีนในงานจิตรกรรมของ จ่าง แซ่ตั้ง

    โดย นางสาวศภิสรา เข็มทอง

    วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหน่ึงของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต

    สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ ภาควิชาทฤษฎีศิลป์

    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2556

    ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • อิทธิพลวัฒนธรรมจีนในงานจิตรกรรมของ จ่าง แซ่ตั้ง

    โดย นางสาวศภิสรา เข็มทอง

    วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหน่ึงของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต

    สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ ภาควิชาทฤษฎีศิลป์

    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2556

    ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • THE INFLUENCE OF CHINESE CULTURE IN TANG CHANG'S PAINTING

    By Miss Sapisara Khemthong

    A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree Master of Fine Arts Program in Art Theory

    Department of Art Theory Graduate School, Silpakorn University

    Academic Year 2013 Copyright of Graduate School, Silpakorn University

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุมัติให้วิทยานิพนธ์เรื่อง “อิทธิพลวัฒนธรรมจีนในงานจิตรกรรมของ จ่าง แซ่ต้ัง” เสนอโดย นางสาวศภิสรา เข็มทอง เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์

    …........................................................... (รองศาสตราจารย์ ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์)

    คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย วันที.่.........เดือน.................... พ.ศ...........

    อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์มาณพ อิศรเดช คณะกรรมการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ .................................................... ประธานกรรมการ (อาจารย์ ดร.ปรมพร ศิริกุลชยานนท์) ............/......................../.............. .................................................... กรรมการ (ศาสตราจารย์กิตติคุณก าจร สุนพงษ์ศรี) ............/......................../.............. .................................................... กรรมการ (อาจารย์มาณพ อิศรเดช) ............/......................../..............

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • 52005211: สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ ค าส าคัญ : จ่าง แซ่ต้ัง / อิทธิพลวัฒนธรรมจีนในงานจิตรกรรมไทย

    ศภิสรา เข็มทอง: อิทธิพลวัฒนธรรมจีนในงานจิตรกรรมของ จ่าง แซ่ตั้ง. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์: อ.มาณพ อิศรเดช. 164 หน้า.

    วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือเพื่อศึกษา มโนทัศน์ เทคนิคและกลวิธี กระบวนแบบและเนื้อหาสาระของผลงานจิตรกรรมของจ่าง แซ่ตั้ง ท่ีได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนและสร้างสรรค์ไว้เป็นความรู้และพลังปัญญาให้กับผู้ชม การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีพรรณนานี้ ผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์ โดยแบ่งประเภทผลงานออกเป็น จิตรกรรมภาพเหมือนบุคคล จิตรกรรมภาพเหมือนตนเองของศิลปิน จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ จิตรกรรมภาพศิลปะแนวนามธรรม จิตรกรรมสีน้ าประกอบบทกวี และจิตรกรรมแบบประเพณีจีน โดยให้ข้อมูลประกอบการศึกษาวิจัยจากการสัมภาษณ์ทายาท ต าราศิลปวัฒนธรรมจีน การเก็บข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ต้ัง ข้อมูลจากหนังสือที่เขียน แปลและขยายความจากต้นฉบับภาษาจีนโดยจ่าง แซ่ต้ัง การค้นคว้าส่วนตัวจากบริบทแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อน ามาสรุปผล ซึ่งผลการวิจัยพบว่า

    1. จ่าง แซ่ต้ัง ใช้เทคนิคกลวิธี ในการสร้างสรรค์ผลงานแบบประเพณีจีน คือให้ความส าคัญกับเส้น และสี ที่ฉับไว รวดเร็ว ส าแดงอารมณ์ แต่ในขณะเดียวกันก็แฝงภาวะนามธรรม ธรรมะ และความสงบนิ่งของจิตใจเข้าไว้ด้วยกัน อีกทั้งยังสร้างผลงานด้วยกลวิธีเดียวกัน และวัสดุประเภทเดียวกันกับจิตรกรแบบจีนประเพณี คือ สีหมึก พู่กัน กระดาษ และนิ้วมือ

    2. วัตถุประสงค์ของจ่าง แซ่ต้ัง ที่สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญา ภาษา และศิลปะจีนแบบประเพณี คือ การแสวงหาแนวทางการสร้างสรรค์ที่เป็นของตนเอง ไม่ลอกเลียนหรือท าซ้ ากับผู้ใด โดยยึดถือเป็นแนวทาง เป็น “หน้าที่” ที่ต้องสอดคล้องกันทั้งการด ารงชีวิต และการท างานศิลปะ

    3. มโนทัศน์ของจ่าง แซ่ต้ังในการศึกษาปรัชญา ภาษา และศิลปะแบบจีนประเพณี ก็เพื่อเข้าถึงถึงหลักปฏิบัติ หลักคิดที่ประกอบไปด้วยธรรมะ และธรรมชาติ รวมถึงความจริง และสัจธรรมของมนุษย์ โลก และจักรวาล หล่อหลอมเป็นแนวความคิดและแนวทางการสร้างสรรค์ที่บรสิุทธิ์ เพื่อให้ตนเองเป็นผู้มีปัญญาบริสุทธิ์ ปฏิเสธอามิส มุ่งหวังการสร้างสรรค์พลังปัญญาให้กับโลกและเพื่อนมนุษย์ผ่านผลงานจิตรกรรม และวรรณกรรมของเขา

    ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ลายมือชื่อนักศึกษา................................................... ปีการศึกษา 2556 ลายมือชื่ออาจารย์ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ์ …………….......................................

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • 52005211: MAJOR: ART THEORY KEY WORD: TANG CHANG

    SAPISARA KHEMTHONG : THE INFLUENCE OF CHINESE CULTURE IN TANG CHANG 'S PAINTING. THESIS ADVISOR: MANOP ISARADEJ. 164 pp.

    Tang Chang,Thai artist who had produced his own unique way to create the contemporary paintings, which inspired by Chinese culture and tradition. This research aims to study his vision, techniques, methods and stories behind his paintings in order to build up the body of knowledge and power of wisdom for anyone. This description of qualitative research has been made by studying all works of Tang Chang. They were studied in categories of portraits, self-portraits, landscapes, abstract paintings, water color pictures for poetries, and Chinese traditional paintings. The researcher also interviewed his heirs, studied many Chinese cultural books, collected information from Tang Chang’s museum, his own literatures, his literatures translated, interpreted from Chinese stories, personal research from other surrounding issues, and concluded all data in descriptions below ;

    1. Tang Chang used the similar technique to Chinese traditional paintings, which lines that were fast and sudden played the major role of representing the feelings, power of wisdoms while maintaining the silence of mind, abstract and dharma in the same time, especially, in his abstract paintings. This technique was also seen in his Chinese traditional paintings, by using ink, brush and fingers.

    2. Tang Chang’s objective was to create the paintings with an inspiration of Chinese philosophy, language, and traditional arts. He had sought out for his original way of art and held it as a Mission of life. Art and Life was the same thing and they must be combined with Nature and Truth.

    3. Tang Chang’s vision to study philosophies, languages, arts and traditions of Chinese in order to reach the practice, the concepts of dharma and nature, the truth of human life and universe. This set of knowledge was preached to pure thought, pure invention, and himself as the pure producer to create the power of wisdom to the world and humans through his paintings and literatures without the desire of any allurement.

    Department of Art Theory Graduate School, Silpakorn University Student's signature ……………....................................... Academic Year 2014 Thesis Advisor's signature .............................................

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • กิตติกรรมประกาศ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เกิดขึ้นได้และเสร็จสมบูรณ์ลงได้ก็ด้วยความช่วยเหลือ เอ้ือเฟื้อ และเมตตาจากบุคคลหลายฝ่าย ผู้วิจัยขอขอบพระคุณอาจารย์ดร . ปรมพร ศิริกุลชยานนท์ ประธานสอบวิทยานิพนธ์ ศาสตราจารย์กิติคุณ ก าจร สุนพงษ์ศรี ผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ที่ได้สละเวลาตรวจสอบและให้ค าแนะน าที่เป็นประโยชน์กับผู้วิจัยด้วยดีตลอดระยะเวลาการวิจัย

    ขอบพระคุณคณะอาจารย์จากภาพวิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รศ. ดร. นรินทร์ รัตนจันทร์ รศ. ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน อาจารย์สมวงศ์ ทัพพะรัตน์ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ อาจารย์ชัยยศ อิศวรพันธ์ อาจารย์ ดร.สุธา ลีนะวัต ที่ได้ให้ความรู้ ความรัก ความเอ้ือเฟื้อ ให้อภัย และความเมตตาต่อศิษย์มาตลอดระยะเวลา 5 ปีการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ มาณพ อิศรเดช อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ครูผู้เป็นมากกว่าครู ทุ่มเทโดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย คอยผลักดัน ให้ก าลังใจ ปลอบใจ และปลุกความฝันให้ต่ืนสู้อยู่เสมอ ศิษย์ขอกราบขอบพระคุณ

    ขอบพระคุณจ่าง แซ่ต้ัง ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ ศิลปินผู้สอนให้ผู้วิจัยได้ตระหนักรู้สึกถึงคุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นผู้สร้างสรรค์ เป็นศิลปินเพื่อสร้างปัญญาและพัฒนาจิตใจเพื่อนร่วมโลก ขอบคุณพิพิธภัณฑ์ จ่าง แซ่ต้ัง ขอบคุณคุณทิพย์ แซ่ต้ัง และครอบครัวที่เมตตาและสละเวลาให้ข้อมูลความรู้ การสนับสนุนภาพ เอกสาร หนังสือ ค าสัมภาษณ์ ฯลฯ และข้อคิดที่ดีส าหรับการท าวิจัยฉบับนี้ ซึ่งข้อมูลอันเป็นประโยชน์เหล่านั้นจะถูกเผยแพร่และเป็นอีกหนึ่งบันทึกท่ีเป็นลายลักษณ์อักษรที่เกี่ยวข้องกับจ่าง แซ่ตั้ง

    ขอบคุณเพื่อนๆ ร่วมรุ่นทฤษฎีศิลป์ รุ่นที่ 4 ทุกๆ คน ที่เรียนรู้และต่อสู้ฝ่าฟันกันมาตลอด ขอบคุณในความรัก น้ าใจ และมิตรภาพสวยงามที่มีต่อกัน ขอบคุณอรุณี อัตตนาถวงษ์เพื่อนผู้อยู่เบื้องหลังความส าเร็จ ความสมบูรณ์ทุกๆ หน้า บรรทัดและตัวอักษร พร้อมก าลังใจและความเชื่อมั่นที่มีให้กันมาตลอด ขอบคุณหทัยรัตน์ มณเฑียร และช่อบุญ สิริกชกร ที่ช่วยสนับสนุนการแปลเป็นภาษาต่างประเทศและก าลังใจที่มอบให้มาอย่างต่อเนื่อง

    สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณมารดา บิดาและครอบครัว ที่เชื่อมั่นและเข้าใจ รวมถึงเป็นแรงผลักดันที่ส าคัญในชีวิต ขอบคุณมิตรสหายท่ีคอยเป็นก าลังใจ เป็นแหล่งพลังงานให้อดทนและต่อสู้มาอย่างยาวนาน อาจไม่ได้เอ่ยนามทุกท่าน แต่จะจดจ าพึงระลึกถึงอยู่เสมอ

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ....................................................................................................... ง บทคัดย่อภาษาอังกฤษ .................................................................................................. จ กิตติกรรมประกาศ ......................................................................................................... ฉ สารบัญภาพ ................................................................................................................. ฌ บทท่ี 1 บทน า ............................................................................................................... 1

    ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา ................................................ 1 ความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัย ........................................... 5 สมมติฐานของการวิจัย .......................................................................... 6 ขอบเขตของการวิจัย .............................................................................. 6 วิธีด าเนินงานวิจัย .................................................................................. 6 นิยามศัพท์เฉพาะ .................................................................................. 7 ประโยชน์ที่จะได้รับ ............................................................................... 7 2 วัฒนธรรมจีน ..................................................................................................... 8

    ความเชื่อ ปรัชญา และศาสนา ............................................................... 8 ภาษาและวรรณคดี ............................................................................... 10 ตัวอักษรจีน ................................................................................. 10 วรรณคดีจีน ................................................................................ 16 ศิลปะการเขียนอักษรจีน และงานจิตรกรรมจีน ........................................ 22 ศิลปะการเขียนอักษรจีน .............................................................. 22 จิตรกรรมจีน ............................................................................... 22 3 ผลงานจิตรกรรมและวรรณกรรมของจ่าง แซ่ต้ัง .................................................... 32

    ประวัติชีวิต ........................................................................................... 32 ผลงานจิตรกรรม ................................................................................... 36 จิตรกรรมภาพเหมือนบุคคล ......................................................... 36 จิตรกรรมภาพเหมือนตนเองของศิลปิน ......................................... 40 จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ .................................................................. 63

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • บทท่ี หน้า จิตรกรรมภาพศิลปะแนวนามธรรม ............................................... 73 จิตรกรรมสีน้ าประกอบบทกวี ....................................................... 84 จิตรกรรมแบบจีน ........................................................................ 89 ผลงานวรรณกรรม ................................................................................. 95 บทกวี ......................................................................................... 96 บทกวีรูปธรรม ............................................................................. 101 ผลงานแปลพร้อมบทขยายความจากปรัชญาและวรรณกรรมจีน ..... 109 4 วิเคราะห์ผลงานจิตรกรรมของจ่าง แซ่ตั้ง ที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมจีน ............. 119

    ด้านเทคนิคและกลวิธี ............................................................................ 119 ลายเส้น ...................................................................................... 119 การจัดองค์ประกอบของภาพ ........................................................ 120 การใช้สี สื่อ และวัสดุ ................................................................... 120 ด้านกระบวนแบบ .................................................................................. 121 รูปธรรม ธรรมชาติ สิ่งที่ตาเห็น ..................................................... 121 นามธรรม .................................................................................... 122 ด้านเนื้อหาสาระ .................................................................................... 122 ด้านแนวมโนทัศน์และวัตถุประสงค์ ........................................................ 123 เข้าถึงสภาวะแห่งเต้า สภาวะเข้าถึงธรรม ...................................... 123 หลักอภิปรัชญาศิลปะของเต้าฉี .................................................... 124 ศิลปะเพื่อปัญญา ปฏิเสธอามิส .................................................... 125 สะท้อนปัจเจกวิสัยของตนเอง ....................................................... 125 5 สรุปผลการวิจัย .................................................................................................. 127

    บรรณานุกรม ................................................................................................................. 129 ภาคผนวก ...................................................................................................................... 131 ตัวอย่างผลงานบทความทางศิลปะ ประวัติชีวิตและผลงานโดยสังเขป ............................... 132 ประวัติผู้วิจัย .................................................................................................................. 164

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1 อักษรเจี๋ยกู่เหวิน ............................................................................................... 11 2 อักษรจินเหวิน .................................................................................................. 12 3 อักษรจ้วนซู ...................................................................................................... 13 4 อักษรลี่ซู .......................................................................................................... 13 5 อักษรเฉ่าซู ....................................................................................................... 14 6 อักษรไข่ซู ......................................................................................................... 15 7 อักษรสิงซู ........................................................................................................ 15 8 เด็กเล่นของเล่น (Playing Children) .................................................................. 24 9 ความยิ่งใหญ่ของภูเขาฟูชุน ............................................................................... 25 10 ต้นฤดูใบไม้ร่วง ................................................................................................. 26 11 มรณกรรมของหยางกวน ซาน ............................................................................ 27 12 ต้นไม้ค้างคืน .................................................................................................... 36 13 พระ ... .............................................................................................................. 37 14 ในหลวง ........................................................................................................... 38 15 หญิงสาว .......................................................................................................... 39 16 ภาพถ่ายจ่าง แซ่ตั้ง พร้อมผลงานงานภาพเหมือนบุคคลที่ตนเองเป็นผู้วาด .......... 40 17 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 42 18 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 43 19 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 44 20 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 45 21 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 46 22 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 47 23 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 48 24 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 49 25 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 51 26 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 52 27 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 53

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • ภาพที่ หน้า 28 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 54 29 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 55 30 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 56 31 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 57 32 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 58 33 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 59 34 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 60 35 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 61 36 ภาพเหมือนตนเอง ............................................................................................ 62 37 ละแวกบ้าน (1) ................................................................................................. 64 38 ละแวกบ้าน (3) ................................................................................................. 65 39 บ้าน ... ............................................................................................................. 66 40 บ้านชาวประมง ................................................................................................ 67 41 ตลาดพลู .......................................................................................................... 68 42 ต้นกล้วยหน้าบ้านในสวน .................................................................................. 69 43 บ้านไม้ในสวน .................................................................................................. 70 44 ไม่มีชื่อ ............................................................................................................. 71 45 ไม่มีชื่อ ............................................................................................................. 72 46 ไม่มีชื่อ (3) ....................................................................................................... 75 47 ไม่มีชื่อ ............................................................................................................. 76 48 ขาวบนขาว (1) ................................................................................................. 77 49 ด าบนด า (3) .................................................................................................... 78 50 ไม่มีชื่อ (1) ....................................................................................................... 79 51 ไม่มีชื่อ (5) ....................................................................................................... 80 52 ไม่มีชื่อ (3) ....................................................................................................... 81 53 ไม่มีชื่อ (1) ....................................................................................................... 82 54 ไม่มีชื่อ (17) ..................................................................................................... 83 55 ไม่มีชื่อ ............................................................................................................. 85

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • ภาพที่ หน้า 56 ไม่มีชื่อ ............................................................................................................. 86 57 ไม่มีชื่อ ............................................................................................................. 87 58 ไม่มีชื่อ ............................................................................................................. 88 59 ภาพเขียนทวารบานจีนบนบานประตูศาลเจ้าจีน ................................................. 90 60 ปลาทอง 2 ตัว .................................................................................................. 91 61 ลูกไก่ 3 ตัว ....................................................................................................... 92 62 ลูกปลา ............................................................................................................ 93 63 ขุนเขาหมายเลข 9 ............................................................................................ 94 64 บ้านบนขุนเขา .................................................................................................. 94 65 ขุนเขาหมายเลข 11 .......................................................................................... 95 66 บทกวีวรรณรูป ................................................................................................. 97 67 บทกวีชื่อ “รองเท้าสีขาวคู่นั้น” ............................................................................ 98 68 บทกวีชื่อ “เด็กคนนั้น” ....................................................................................... 99 69 บทกวีชื่อ “สวนดอกไม้” ..................................................................................... 102 70 บทกวีชื่อ “ปลา” ............................................................................................... 103 71 บทกวีรูปธรรม .................................................................................................. 104 72 บทกวีรูปธรรม .................................................................................................. 105 73 บทกวีรูปธรรม .................................................................................................. 106 74 บทกวีรูปธรรม .................................................................................................. 107 75 บทกวีรูปธรรม .................................................................................................. 108

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • 1

    บทที่ 1 บทน ำ

    ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ

    วัฒนธรรม (culture) เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา มนุษย์สามารถเรียนรู้วัฒนธรรมได้จากการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จากการบอกเล่า สั่งสอนสืบต่อกัน นอกจากวัฒนธรรมจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญของมนุษย์แล้ว ยังเป็น บ่อเกิดของความเชื่อ วิถีชีวิต ศาสนา ทัศนคติ ศิลปกรรม ภาษา ฯลฯ อันเป็นเอกลักษณ์ (identity) ของสังคมใดสังคมหนึ่ง หรือชนชาติใดชาติหนึ่ง ที่อาจจะมีความเหมือนหรือแตกต่างกันกับสังคมอ่ืนๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการติดต่อหรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชน กลุ่มคนในรูปแบบต่างๆ ความเก่าแก่ของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญของชนชาตินั้น รวมถึงความชาญฉลาด และความพยายามริเริ่มแสวงหาสิ่งใหม่เพื่อทดแทนสิ่งเก่า

    จากอดีตถึงปัจจุบันมีการให้ค านิยามค าว่า “วัฒนธรรม” ไว้มากมาย แต่ค าศัพท์ใหม่ๆ ที่เกิดเพื่อจ าแนก แบ่งหมวดหมู่วัฒนธรรมที่น่าสนใจคือ

    1. Tangible Cultural Heritage – วัฒนธรรมที่จับต้องได้ ได้แก่งานจิตรกรรม ประติมากรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ สามารถเก็บรักษาได้ในพิพิธภัณฑ์ หรือที่พักอาศัย

    2. Intangible Cultural Heritage – วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ อาทิ ศิลปะการแสดง เรื่องเล่า ศาสนา ปรัชญา พิธีกรรม เทศกาล ประเพณี

    3. Living Cultural Heritage – ภูมิปัญญาที่สามารถรักษาศิลปวัฒนธรรม หรือมรดกทางวัฒนธรรมที่ยังคงมีชีวิต หรือยังคงมีอยู่ เช่นศิลปิน มูลนิธิทางศิลปะ สถาบันทางศิลปะ1

    วัฒนธรรมหลักๆ ในโลก สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมตะวันตก (western culture) และวัฒนธรรมตะวันออก (eastern culture) รากฐานของวัฒนธรรมตะวันตกคือการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมกรีก ละติน และฮิบรู หล่อหลอมจนเกิดเป็นพื้นทางทางความคิด ศาสนา ปรัชญา ภาษา และศิลปกรรมของชาวตะวันตก ส่วนวัฒนธรรมตะวันออกนั้นมีรากฐานมาจาก 2 วัฒนธรรมคือ วัฒนธรรมอินเดียและวัฒนธรรมจีน ซึ่งอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียและวัฒนธรรมจีนนี้แผ่ขยายไปทั่วดินแดนทวีปเอเชีย ผ่านผู้คน ศาสนา การพาณิชย์

    1 สมเด็จพระเทพรตันราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร,ี ศิลปะจีน (กรุงเทพ: นานมีบุ๊คส,์ 2550), 11.

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • 2

    ศึกสงคราม การยึดครองดินแดน ศิลปกรรม ภาษา และวรรณกรรม จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าทั้งอินเดียและจีนต่างเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายชิ้นยืนยันว่าทั้ง 2 ประเทศนี้มีความเจริญทางวัฒนธรรมมาหลายพันปี ตัวอย่างเช่น เครื่องปั้นดินเผาอายุมากว่า 5,000 ปี ที่ถูกค้นพบในประเทศจีน จึงอาจกล่าวได้ว่าชนชาติจีนเริ่มมีวัฒนธรรมของตนเองต้ังแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือในยุคหิน 2 และได้พัฒนาวัฒนธรรมของตนมาอย่างต่อเนื่อง จนได้ชื่อว่าเป็นชนชาติแห่งนักปราชญ์และการประดิษฐ์คิดค้น พร้อมกันนั้นก็เปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมผสานจนกลมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมของชาติตน เช่น การรับพระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดียมาเชื่อมโยงเข้ากับคติความเชื่อด้ังเดิมของลัทธิเต๋า และขงจวื่อ ในเรื่องสวรรค์ เทพเจ้า และการบูชาบรรพบุรุษ

    วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของจีนอาจแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ด้วยกันคือ 1. ปรัชญา ศาสนา ประเทศจีนคือบ่อเกิดและเบ้าหลอมของปรัชญา ศาสนา และลัทธิความเชื่อส าคัญ

    ของตะวันออกและของโลก อาทิเต๋า ขงจวื่อ ม่อจวื่อ พระพุทธศาสนานิกายมหายาน นิกายเซน คัมภีร์ที่ว่าด้วยปรัชญาทางศาสนา ลัทธิความเชื่อ การปกครอง และการศึกสงครามฉบับส าคัญของจีนนั้นมีมากมายหลายเล่มได้รับการยกย่องว่าเป็นคัมภีร์แห่งบูรพาทิศ ได้รับการเผยแพร่ไปสู่ประเทศอ่ืนๆ ในโลกตะวันออกอย่างกว้างขวาง มีการน าไปปรับใช้ให้เข้ากับความคิด วิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมต่างๆ ของโลกฝั่งตะวันออกมากมาย อีกทั้งยังเป็นแนวความคิดที่ชาติตะวันตกให้การยอมรับและใช้เป็นบรรทัดฐานในการศึกษาและท าความเข้าใจผู้คนจากโลกตะวันออก

    ปราชญ์เมธีและปรัชญาโบราณที่ส าคัญของจีนได้แก่ เหล่าจวื่อ (เล่าจื๊อ) และคัมภีร์เต้า เต้อ จิง หรือ เต๋า เต็ก เก็ง ซึ่งมีแนวทางมุ่งให้มนุษย์ด ารงชีวิตอยู่บนวิถีทางของธรรมชาติและปฏิเสธไสยศาสตร์ ขงจวื่อ และคัมภีร์ทั้ง 5 ของขงจวื่อ ปรัชญาซึ่งมีผลต่อรากฐานความคิด ความเชื่อ การเมือง การปกครองและวิถีปฏิบัติของชาวจีนมากที่สุด 3 ได้แก่ 1.คัมภีร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง 2. คัมภีร์ประวัติศาสตร์ 3. คัมภีร์คีตคถา 4. คัมภีร์จารีตพิธี และ 5. บันทึกเหตุการณ์ฤดูวสันต์และฤดูสารท4

    2 ก าจร สุนพงษศ์ร,ี ประวัติศำสตร์ศิลปะจีน (กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531), 1. 3 จ านงค์ ทองประเสริฐ, บ่อเกิดลทัธิประเพณีจนี ภำค 1 สมัยโบรำณ (กรุงเทพ:

    ราชบัณฑิตยสถาน, 2510), 7. 4 เรื่องเดยีวกัน

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • 3

    2. ภาษา ตัวอักษร ตัวอักษรจีน คือวัฒนธรรมที่ส าคัญที่สุดด้านหนึ่งของจีน เพราะเป็นจุดก าเนิดของ

    วัฒนธรรมประเภทอ่ืนๆ อีกมากมาย เช่นการเขียนพู่กันจีน (calligraphy) หรือ ซูฝ่า งานวรรณกรรมและจิตรกรรม แรกทีเดียวนั้นตัวอักษรจีนเป็นระบบสัญลักษณ์ (pictogram) แล้วภายหลังได้พัฒนาให้มีความซับซ้อน และมีความหมายลึกซึ้งแบบนัยสัญลักษณ์ (ideogram) หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อักษรภาพ” ตัวอักษรจีนโบราณชุดแรกที่ค้นพบคือจารึกบนแผ่นส าริด และบนกระดองเต่า5 การเขียนพู่กันจีน คือความสอดคล้องของภาษาและจิตรกรรม เนื่องจากผู้เขียนต้องอาศัยทักษะความช านาญ การฝึกฝน และจิตใจที่มั่นคง ส่งผ่านไปยังนิ้วมือ และแขนที่จะสะบัดออกไปด้วยความพลิ้วไหวและหนักแน่น จนเกิดเป็นตัวอักษรหมึกบนแผ่นกระดาษ หรือเป็นภาพเขียนที่มีความหมายลึกซึ้งแม้จะเกิดจากการตวัดพู่กันไม่กี่ครั้ง การเขียนพู่กันจีนจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 4 ของสุดยอดศิลปะชั้นสูงของจีน อันประกอบไปด้วย การวาดภาพ การเขียนพู่กันจีน การบรรเลงเครื่องสาย และการเล่นหมากรุกจีน

    3. ศิลปะ พระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระราชอ านาจดุจโอรสของสวรรค์

    มีอิทธิพลต่อรูปแบบ และแนวความคิดในการสร้างสรรค์ศิลปะจีนทุกแขนง ดังจะเห็นได้จาก งานสถาปัตยกรรมทั้งทางศาสนา และพระราชวัง หรือสุสานของกษัตริย์ที่สร้างให้มีขนาดใหญ่โต ตกแต่งอย่างวิจิตรอลังการ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อทั้งสองสถาบันหลักของชาติที่ชาวจีนให้การยกย่องเชิดชูว่าสูงส่งเหนือสิ่งอื่นใด

    ประติมากรรมของจีนสะท้อนความเกี่ยวโยงเข้ากับศาสนา และความเชื่อของผู้คนอย่างเด่นชัด มีการสร้างด้วยวัสดุและเทคนิคที่หลากหลายประเภท ทั้งหล่อส าริด แกะไม้ สลักหยก สกัดหิน หรือปั้นดินเหนียว งานประติมากรรมชั้นเลิศของจีนบ่งบอกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของ ชาวจีนในแต่ละยุคสมัย และยังสะท้อนให้เห็นว่าทักษะฝีมือทางการช่าง หรือหัตถศิลป์ของจีนนั้น มีความเป็นเลิศทั้งการออกแบบสร้างสรรค์ และความสมจริงในรายละเอียดที่มาก่ อนหน้าวัฒนธรรมแหล่งอ่ืนๆ ของโลกอย่างยาวนาน เช่นประติมากรรมทหารดินเผาและม้าศึกในสุสานกษัตริย์ฉินสื่อหวง (ฉินซีฮ่องเต้)

    จิตรกรรมจีนสมัยโบราณนั้นพบทั้งที่เขียนบนผ้าไหม บนกระเบื้องดินเผา หรือวาดลงบนโลหะ แต่งานจิตรกรรมที่จัดว่าเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมจีนคือ การวาดภาพด้วยพู่กันและหมึกลงบนกระดาษ เนื่องจากมักจะหยิบยกเรื่องราวในคัมภีร์ทางศาสนา และลัทธิต่างๆ ถ่ายทอด

    5 ก าจร สุนพงษศ์ร,ี ประวัติศำสตร์ศิลปะจีน, 1.

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • 4

    ออกมาเป็นภาพธรรมชาติ เทวดา (เซียน) นักบวช หรือพระสงฆ์ สัตว์และพรรณไม้มงคล อาทิ มังกร หงส์ และดอกโบต๋ัน เป็นต้น องค์ประกอบที่ส าคัญของภาพจิตรกรรมพู่กันจีนคือ พู่กันขนสัตว์ หมึกแท่ง และหมึกหินสีด า และตราประทับ เพื่อแสดงตัวตนของจิตรกรผู้วาดภาพ เสมือนการลงลายมือชื่อบนภาพเขียนของจิตรกรตะวันตก

    ด้วยรากฐานอันมั่นคง และยาวนาน เป็นปัจจัยส าคัญที่ท าให้วัฒนธรรมจีนมีความเข้มแข็งและเจริญรุ่งเรือง ประกอบกับความเข้มแข็งทางสังคมการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การเดินเรือ และการทหาร จึงท าให้จีนสามารถเผยแพร่วัฒนธรรมของตนไปสู่เพื่อนบ้านใกล้เคียง เพื่อนบ้านในทวีปเอเชีย หรือข้ามพรมแดนทวีปไปไกลยังตะวันตกได้อย่างรวดเร็วและประสบผลส าเร็จ ประเทศไทยคือหนึ่งในดินแดนที่ได้รับวัฒนธรรมจากจีน ทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อมมากมายหลายรูปแบบ เริ่มจากการติดต่อค้าขาย และเจริญสัมพันธไมตรีทางการฑูต ชุมชนชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยเริ่มขยายตัวออกไปจากเมืองหลวงสู่เมืองส าคัญทางการค้าแห่งอ่ืนๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย การติดต่อของ 2 ประเทศคือจุดส่งผ่านที่ส าคัญของวัฒนธรรมที่มาพร้อมกับตัวบุคคล และสิ่งของ ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมที่สัมผัสได้ และสัมผัสไม่ได้ เช่น ภาษา ภูมิปัญญา อาหาร การแต่งกาย วรรณกรรม ศิลปกรรม มหรสพการแสดง อิทธิพลของวัฒนธรรมจีนปรากฏอยู่ในศิลปกรรมหลายแขนงของไทย อาทิ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จติรกรรม วรรณกรรม ศิลปะการแสดง และภาพยนตร์

    ช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2522-2505 วงการศิลปะของไทยเกิดแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานแบบใหม่ขึ้นคือ งานศิลปะแบบนามธรรม (abstract) และกึ่งนามธรรม (semi-abstract) ซึ่งเป็นการคลี่คลายรูปแบบและเนื้อหามาจากศิลปะคิวบิสม์ (cubism) ของตะวันตก ที่ได้รับความนิยมอยู่ในช่วง ค.ศ. 1908-1918 หรือ พ.ศ. 2451-24616 รูปแบบของผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย เริ่มพัฒนาขึ้นจากภาพเขียนกึ่งนามธรรมทียังพอมีเนื้อหา หรือดูออกว่าเป็นรูปร่างของวัตถุหรือบุคคลใด เข้าสู่งานแบบนามธรรมมากยิ่งขึ้น มีการลดทอนรูปทรงและเนื้อหาของวัตถุลงเหลือเพียงการประกอบกันของรูปทรง สี และพื้นที่ว่าง7 ซึ่งนับว่าเป็นความเคลื่อนไหวครั้งส าคัญอีกครั้งหนึ่งในวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย

    ในช่วงเวลานี้ จ่าง แซ่ต้ัง ศิลปินไทยเชื้อสายจีน เริ่มสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมแนวนามธรรมในรูปแบบ และเทคนิคส่วนตัวจนเริ่มเป็นท่ีรู้จักและมีชื่อเสียงในวงการศิลปะร่วมสมัยของ

    6 สุธี คุณาวิชยานนท,์ จำกสยำมเก่ำสู่ไทยใหม่ (กรุงเทพ: หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,

    2545), 70. 7 เรื่องเดยีวกัน.

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • 5

    ไทยมากยิ่งขึ้น ศิลปินผู้นี้ไม่เคยผ่านการศึกษาในสถาบันการศึกษาทางศิลปะ หากแต่เขามุ่งมั่นฝึกฝนการเขียนภาพ และพัฒนาผลงานจิตรกรรมของตนเองจากการรับจ้างเขียนภาพเหมือนบุคคล (portrait) และภาพโปสเตอร์ ผลงานจิตรกรรมแนวนามธรรมของจ่าง แซ่ต้ัง มีความแตกต่างไปจากงานแนวเดียวกันของศิลปินคนอ่ืนๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน อาทิ ประเทือง เอมเจริญ และอารี สุทธิพันธุ์ ตรงที่จ่าง สร้างสรรค์จิตรกรรมของเขาจากพื้นฐานความคิดที่สัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมจีน คือ ปรัชญา ภาษา และศิลปะ เนื่องจากตนเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน เกิดและเติบโตขึ้นมาในแวดล้อมของชาวจีน มีวิถีปฏิบัติแบบจีน ประกอบกับมีความสนใจในเรื่องปรัชญา ความคิด ของปราชญ์เมธีชาวจีนอย่างเหล่าจวื่อ และงานอภิปรัชญาศิลปะของ เต้าฉี ที่ท าการศึกษาและปฏิบัติจนเชี่ยวชาญ จนอาจกล่าวได้ว่าจ่าง แซ่ต้ังคือผู้มีภูมิรู้เรื่องคัมภีร์เต้า เต้อ จิง และอภิปรัชญาศิลปะของเต้าฉี มากที่สุดคนหนึ่งของไทย

    จิตรกรรมของจ่าง แซ่ต้ัง มีความน่าสนใจตรงที่ไม่อ้างอิงถึงอิทธิพลใดๆ จากศิลปะนามธรรมตะวันตก แต่เป็นการสร้างสรรค์จากงานจิตรกรรมภายใต้จิตวิญญาณตะวันออกและการตกกระทบของความรู้สึกส่วนตนที่มีต่อธรรมมะ ธรรมชาติ และปรัชญา ทั้งนี้ การศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาค าตอบของค าถามที่ว่า อิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนที่ปรากฏและเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมของจ่าง แซ่ต้ังนั้นมีอะไรบ้าง? และศิลปินมีแนวความคิดในการแสดงออกอย่างไร? เพื่อจุดประสงค์ใด? จ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการตีความและข้อมูลประกอบการวิเคราะห์จากศิลปกรรมอีกแขนงหนึ่งที่เขาสนใจคือ งานวรรณกรรม ซึ่งในที่นี้หมายรวมถึงผลงานการประพันธ์ ผลงานแปล กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น และกวีรูปธรรม (concrete poetry) ซึ่งความส าคัญของวรรณกรรมเหล่านี้นอกจากจะเป็นความสนใจส่วนตัวของศิลปินแล้ว บางส่วนยังเป็นงานวรรณกรรมที่แปล หรือถอดความมาจากต้นฉบับภาษาจีน ซึ่งเป็นการท างานศิลปะ 2 รูปแบบควบคู่กันไปในระยะเวลาเดียวกัน งานจิตรกรรมและวรรณกรรม จึงเสมือนเป็นสะพานเชื่อมโยงแนวความคิดของศิลปินจากตัวอักษรสู่ภาพ จากภาพสู่ตัวอักษร บนแนวทางการสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปิน

    ควำมมุ่งหมำยและวัตถุประสงค์ของกำรวิจัย

    1. เพื่อศึกษาถึงวัฒนธรรมจีน อันได้แก่ ปรัชญา ภาษา และศิลปะ ที่ปรากฏ หรือส่งอิทธิพลต่อผลงานจิตรกรรมของจ่าง แซ่ตั้ง ในด้านเทคนิค เนื้อหา และแนวความคิด

    2. เพื่อศึกษาแนวความคิด และวัตถุประสงค์ของจ่าง แซ่ต้ัง ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญา ภาษา และศิลปะจีน

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • 6

    3. เพื่อศึกษาจุดมุ่งหมายของศิลปินในการศึกษาปรัชญา ภาษา และศิลปะจีนทั้งในด้านส่วนตน และการถ่ายทอด รวมถึงเผยแพร่สู่ผู้อื่น

    สมมติฐำนของกำรวิจัย

    วัฒนธรรมจีนมีอิทธิพลต่อเทคนิค เนื้อหา และแนวความคิด ในงานจิตรกรรมของจ่าง แซ่ตั้ง

    ขอบเขตของกำรวิจัย

    1. ศึกษาเก็บข้อมูลผลงานจิตรกรรมของจ่าง แซ่ตั้ง ทุกเทคนิค และทุกเนื้อหา 2. ศึกษาวิเคราะห์เฉพาะจิตรกรรมของจ่าง แซ่ต้ัง ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน

    เท่านั้น 3. วัฒนธรรมจีน ในการศึกษานี้หมายถึง ปรัชญา ความเชื่อและศาสนา ที่เกี่ยวข้อง

    กับปรัชญาเต้า (เต๋า) ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ภาษาและวรรณคดี การเขียนอักษรจีน และงานจิตรกรรม

    4. ศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์จากวรรณกรรมจีนที่แปลเป็นภาษาไทย เฉพาะฉบับที่แปล เรียบเรียงและขยายความโดยจ่าง แซ่ต้ัง

    วิธีกำรด ำเนินกำรวิจัย

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลสนับสนุนการศึกษาจากผลงานศิลปะ เอกสารชั้นต้น เอกสารชั้นรอง และการสัมภาษณ์ โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

    1. การวิจัยการข้อมูลเอกสาร 1.1. เอกสารทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมจีน ที่อยู่ภายในขอบเขตและกรอบ

    ความคิดของการศึกษาวิจัย 1.2. เอกสารทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับประวัติชีวิต ประวัติผลงานจิตรกรรม และ

    วรรณกรรมของจ่าง แซ่ตั้ง ที่อยู่ภายในขอบเขตและกรอบความคิดของการศึกษาวิจัย 1.3. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลงานจิตรกรรมของจ่าง แซ่ต้ัง อาทิ ชื่องาน ปีที่สร้าง

    ขนาด เทคนิค และสถานที่เก็บรักษา 1.4. เอกสารทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิดและทฤษฎีต่างๆ ที่น ามาใช้เป็น

    ข้อมูลประกอบ และเครื่องมือประกอบการศึกษา วิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย เช่นทฤษฎีเกี่ยวกับสัญลักษณ์ การเปรียบเทียบ การตีความ และอัตลักษณ์ของผลงานและศิลปิน

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • 7

    2. การวิจัยภาคสนาม 2.1. ลงพื้นที่สัมภาษณ์ทายาท ผู้ใกล้ชิด นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้การ

    สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (semi-structured conversation) ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง รวมถึงใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมคือการจดบันทึก การซักถาม การบันทึกภาพ และการบันทึกเสียง

    2.2. ศึกษาผลงานจริง เพื่อเพิ่มมุมมอง และข้อมูลประกอบการวิจัยโดยมีการบันทึกภาพ และจดบันทึก

    3. การวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 วิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร ข้อมูลภาคสนาม เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

    ครบถ้วนตามกรอบความคิดของงานวิจัย และเพียงพอต่อการท าวิจัยให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

    3.2 จ าแนก คัดเลือก และจัดระเบียบข้อมูลตามกรอบความคิดของงานวิจัย 3.3 วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบความคิดของงานวจิัย

    4. สรุปผลการวิจัยและเรียบเรียงรายงาน

    นิยำมศัพท์เฉพำะ

    บทกวีรูปธรรม คือรูปแบบและวิธีการเขียนบทกวีที่ค าปรากฏมาพร้อมกับรูป เป็นกวีประเภทหนึ่งที่ไม่มีฉันทลักษณ์ที่ตายตัว แต่ให้ความส าคัญกับการประสานกันของค า และรูปที่ปรากฏแก่สายตา และรูปที่เกิดในมโนภาพของผู้อ่าน

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    1. ประโยชน์ต่อการศึกษาด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย ผู้วิจัยได้ท าการค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียงผลงานของจ่าง แซ่ต้ังทั้งในด้านศิลปะ วรรณกรรม และแนวความคิด จะเป็นอีกหนึ่งบันทึกทางประวัติศาสตร์ทางศิลปะไทยร่วมสมัยให้ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องผลงานของจ่าง แซ่ตั้ง ได้ใช้ประโยชน์ หรือเป็นข้อมูลชั้นต้นท่ีจะสืบย้อนกลับไปหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่ผู้วิจัยได้น ามาประกอบและอ้างอิงในงานวิจัยฉบับนี้

    2. ประโยชน์ต่อตัวผู้วิจัย ตลอดระยะเวลา 30 เดือนที่ผู้วิจัยเริ่มต้นค้นคว้า ศึกษา ส ารวจ และเรียนรู้ทุกแง่มุมของผลงาน ความคิด และประสบการณ์ของจ่าง แซ่ต้ัง ท าให้ได้ซึมซับคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์จากงานจิตรกรรม และวรรณกรรมเพิ่มมากขึ้น เกิดปัญญาที่จะแสวงหาค าตอบของชีวิตโดยมีศิลปะเป็นสะพานทอดน า เกิดความซาบซึ้งในผลงานศิลปะทุกแขนงของจ่าง แซ่ตั้ง

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • 8

    บทที่ 2

    วัฒนธรรมจีน

    วัฒนธรรมจีนเป็นวัฒนธรรมที่ส ำคัญ มีอำยุยืนนำน ด้วยกำรสั่งสม สืบทอด พัฒนำ เปิดรับ และผสำนกลมกลืนจนกลำยเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ อีกทั้งยังส่งอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอ่ืนอีกด้วย

    เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมจีนนั้นปรำกฏชัดใน 3 ส่วนที่ส ำคัญ ได้แก่

    ความเชื่อ ปรัชญา และศาสนา

    ควำมเชื่อด้ังเดิมของชำวจีนเชื่อว่ำธรรมชำติมีเทพเจ้ำ ซึ่งมีลักษณะและอุปนิสัยอย่ำงมนุษย์สถิตอยู่ หำกท ำให้เทพเจ้ำพอใจก็จะได้รับสิ่งดีงำม หำกไม่แล้วจะพบกับภัยพิบัติต่ำงๆ ซึ่งเทพเจ้ำที่ได้รับยกย่องให้มีฐำนะสูงสุดคือ เทียน (ฟ้ำ) ในกำรเซ่นสรวงเทพเจ้ำสูงสุดมีแต่กษัตริย์เท่ำนั้นที่มีสิทธิ์ ส่วนชำวบ้ำนสำมัญเชื่อว่ำกำรเซ่นสรวงบรรพบุรุษของตน ที่เมื่อตำยไปวิญญำณจะไปคอยรับใช้เทพเจ้ำ ดังนั้นกำรดูแลเซ่นสรวงวิญญำณบรรพบุรุษของตนก็อำจได้รับคุณหรือโทษจำกเทพเจ้ำสูงสุดเช่นกัน

    ต่อมำเมื่อควำมเชื่อเรื่องเทพเจ้ำประจ ำธรรมชำติจำงลง และมีนักปรำชญ์น ำเสนอปรัชญำตำมควำมคิด ควำมเชื่อของตนจ ำนวนมำก ซึ่งปรัชญำและนักปรำชญ์ที่มีอิทธิพลส ำคัญต่อควำมคิด ควำมเชื่อ และวิถีปฏิบัติของชำวจีนนั้นมีอยู่ 2 ส ำนักใหญ่ ได้แก่ ส ำนักเหล่ำจวื่อ (Lao zi) ที่น ำเสนอปรัชญำเต๋ำ และส ำนักขงจวื่อ (Kong zi) ที่น ำเสนอปรัชญำขงจวื่อ โดยปรัชญำของทั้งสองส ำนักนั้น มีควำมเชื่อเรื่องกำรหมุนเวียนเป็นวัฏจักร และเรื่องสภำวะธรรมชำติที่มีคู่ตรงข้ำมเพื่อก่อให้เกิดสรรพสิ่ง หรือ หยิน (yin) และ หยำง (yang) มำปรับ แปลง และตีควำมใหม่บ้ำงตำมทรรศนะ

    ในทรรศนะปรัชญำเต๋ำ ของเหล่ำจวื่อ เชื่อว่ำเต๋ำเป็นควำมว่ำงที่เป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง เชื่อว่ำธรรมชำติของมนุษย์นั้นดีอยู่แล้ว กำรศึกษำเล่ำเรียนให้ฉลำดนั้นเป็นภัยท ำให้มนุษย์เกิดกิเลส ที่เป็นเป็นเหตุแห่งปัญหำทั้งมวลยุ่งเหยิงไม่มีที่สิ้นสุด สนับสนุนกำรด ำเนินชีวิตปล่อยไปตำมธรรมชำติ และเข้ำหำธรรมชำติจะดีกว่ำ ควรใช้ชีวิตอยู่อย่ำงเรียบง่ำย อย่ำด้ินรน อย่ำฝืนธรรมชำติ มีลักษณะเป็นสังคมในอุดมคติ ส ำนักปรัชญำเต๋ำนั้นมีคัมภีร์ที่ส ำคัญ คือ เต้ำเต้อจิง ที่ เหล่ำจวื่อเขียนขึ้น

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • 9

    ส่วนทรรศนะปรัชญำขงจวื่อ เชื่อว่ำขนบธรรมเนียมโบรำณดีงำมควรได้รับกำรฟื้นฟูเรื่องที่ดีงำมขึ้นมำใหม่ ดังนั้นควรยึดถือจำรีตประเพณี และกล่ำวว่ำควำมเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมนั้นเกิดจำกคนในสังคมต้องรู้จักหน้ำที่ สนับสนุนกำรศึกษำ กำรจัดระบบทำงสังคมที่ดีท ำให้บ้ำนเมืองปกติสุขเรียบร้อย หน้ำที่ของคนดีในสังคมตำมทรรศนะของขงจวื่อ คือ ลูกต้องเคำรพเชื่อฟังพ่อแม่ น้องต้องเชื่อฟังพี่ ผู้ปกครองต้องดูแลผู้ใต้ปกครอง และภรรยำต้องจงรักภักดีต่อสำมี

    ปรัชญำทั้งสองส ำนักได้รับกำรเผยแพร่ สืบทอด พัฒนำ และตีควำมกันเรื่อยมำ จนกลำยเป็นลัทธิที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธำ อย่ำงลัทธิเต๋ำ ที่เริ่มภำยหลังแนวคิดบำงอย่ำงกลำยจำกเดิมเริ่มท ำตัวเหนือธรรมชำติ มีกำรท ำพิธีกรรมทำงไสยศำสตร์ประกอบกัน และลัทธิ ขงจวื่อที่เป็นรำกฐำนกำรศึกษำอบรมคุณธรรมจริยธรรมของชำวจีนไม่ว่ำจะเป็นในครอบครัว หรือข้ำรำชกำรผู้ปกครองบ้ำนเมือง ซึ่งหลักกำรและแนวคิดของลัทธิขงจวื่อมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต ควำมคิด และกำรปกครองของชำวจีนจนกระทั่งปัจจุบัน อำจกล่ำวได้ว่ำลัทธิขงจวื่อผสำนเป็นชีวิต และจิตวิญำณของชำวจีนจนยำกจะแยกจำกกัน

    นอกจำกปรัชญำของเต๋ำและขงจวื่อแล้ว พระพุทธศำสนำจำกอินเดียก็เริ่มเข้ำมำเผยแพร่ในจีนตั้งแต่สมัยรำชวงศ์ฮั่น แต่ไม่ได้รับควำมนิยมมำกนัก จำกนั้นในสมัยรำชวงศ์ใต้-เหนือประชำชนบำงส่วนเริ่มศรัทธำในพระพุทธศำสนำ ลัทธิมหำยำนมำกขึ้น เนื่องจำกหลักธรรมที่อธิบำยอย่ำงมีตรรกะ ชี้ทำงพ้นทุกข์ ขจัดควำมผิดหวังให้ผู้คนที่สิ้นหวังจำกควำมวุ่นวำยของสงครำม ประกอบกับกุมำรชีวะภิกษุผู้แตกฉำนทำงภำษำได้แปลคัมภีร์ทำงพระพุทธศำสนำจำกภำษำสันสกฤตเป็นภำษำจีนท ำให้หลักธรรมต่ำงๆ เผยแพร่อย่ำงรวดเร็ว ผนวกกับควำมสำมำรถทำงกำรแพทย์ของภิกษุบำงรูปช่วยให้พระพุทธศำสนำเข้ำถึงประชำชนได้มำกขึ้นมำ จนกระทั่งสมัยรำชวงศ์ถังที่พระพุทธศำสนำเจริญถึงขีดสุด มีกำรส่งพระสมณทูตอย่ำงพระสมณะซวนจำง หรือที่รู้จักกันในนำมพระถังซ ำจั๋ง จำริกสู่ประเทศอินเดียและอัญเชิญพระคัมภีร์กลับมำเผยแพร่ในจีน

    พระพุทธศำสนำในสมัยรำชวงศ์ถังที่มีบทบำทมีอยู่ 2 นิกำยใหญ่ คือ นิกำยเทียนไท้ ที่เชื่อว่ำสิ่งทั้งหลำยไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนพระนิพพำนเท่ำนั้นที่สงบนิ่ง สิ่งทั้งปวงขึ้นอยู่กับจิตปรมัตถ์ และนิกำยสุขำวดี ที่ผู้ศรัทธำนั้นยึดมั่นในองค์อมิตำพุทธผู้เป็นองค์ประธำนในดินแดนสุขำวดี เพื่อที่จะได้เกิดในแดนสุขำวดี ที่มีควำมสุขสงบ ปรำศจำกโรคภัย ไม่ต้องกลับมำวนเวียนเกิดในโลกมนุษย์ที่มีแต่กิเลสอีก

    ต่อมำในสมัยรำชวงศ์ซ่งพระพุทธศำสนำที่ผสมกลมกลืนกับแนวคิดปรัชญำของจีนที่มีอยู่อย่ำงเต๋ำ ก็กลำยเป็นนิกำยใหม่เรียกว่ำ นิกำยจำน (Chan) มำจำกภำษำบำลีว่ำ ฌำณ หรือ

    สำนกัหอ

    สมุดกลาง

  • 10

    ธฺยำน ในภำษำสันสกฤต เมื่อเผยแพร่สู่ประเทศญี่ปุ่น เรียกว่ำ นิกำยเซ็น ที่มีแนวคิดอย่ำงเต๋ำในเรื่องธรรมชำติเป็นเหตุแห่งสรรพสิ่งทั้งปวง และมีแนวกำรปฏิบัติตนแสวงหำสันโดษอย่ำงสมถะ

    ทั้งปรัชญำและศำสนำที่ได้รับกำรเผยแพร่ในจีนนั้น ต่ำงก็ได้รับกำรสนับสนุนและกำรกีดกัน มีควำมเจริญรุ่งเรืองหรือตกต่ ำตำมแต่ยุคสมัยของบ้ำนเมือง หำกผู้ปกครองเลื่อมใส ศรัทธำในควำมเชื่อหรือแนวคิดใดเป็นพิเศษ ก็ย่อมได้รับกำรสนับสนุนให้มีควำมเจริญรุ่งเรืองซึ่งยังผลให้ มีกำรพัฒนำ ปรับเปลี่ยน หรือ�