บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. ·...

16
33 ตัวอักษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา บทที ่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课 汉字造字法 การสร้างอักษรแบบดั้งเดิมของจีนเรียกว่า “六书”(อักษรหกชนิด หรืออักษรลอกเลียน รูป) คือ“象形” (อักษรเหมือนภาพ) “指事” (อักษรบ่งชี้ความ) “会意” (อักษรรวม ความ หรืออักษรผสานความ) “形声” (อักษรแบบบอกความหมายและเสียง หรืออักษรรูปและ เสียง) “专注” (อักษรอธิบายเสียง หรืออักษรขยายความ) “假借” (อักษรยืม) ซึ่งความ จริงนั้นถือว่ามีเพียงสี่ชนิดแรกเท่านั้นที่เป็นการสร้างอักษรจีนอย่างแท้จริง ส่วนสองชนิดหลังเป็นเพียง การใช้อักตัวษรไม่ใช่เป็นการสร้างตัวอักษร ดังนั้นจึงมีการเรียกวิธีการสร้างอักษรจีนแบบดั้งเดิมอีกว่า “四书” (อักษรสี่ชนิด) แต่ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอักษรแบบหกชนิดหรือสี่ชนิด คนรุ่นหลัง ถือเอาการใช้งานที่แท้จริงในสังคม ทั้งนี้ได้ผ่านการศึกษาวิเคราะห์สรุปเป็นกฎเกณฑ์ต่างๆ ได้หลาย ประการ ซึ่งกฎเกณฑ์เหล่านี้ไม่ได้เพิ่งกาหนดออกมาแล้วนามาใช้ในการสร้างตัวอักษร แต่มีมาตั้งแต่ สมัยราชวงศ์ฮั่น และผู้ที่ใช้วิธีการสร้างตัวอักษรดังกล่าวเป็นครั้งแรกคือ “许慎”นักอักษรศาสตร์ ในสมัยนั้น 1. อักษรภาพ หรือตัวอักษรลอกเลียนรูป 象形字 เป็นอักษรที่เกิดจากภาพวาดของจริง เกือบทั้งหมดเป็นตัวอักษรตัวเดียว หากแปลความจาก ตัวอักษร (Xiànɡ)หมายถึง เหมือน ประหนึ่ง 形(Xínɡ)คือ รูปร่าง เค้าโครง 象形 (Xiànɡxínɡ) จึงหมายถึงการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนโดยลอกดึงเอาลักษณะเด่นที่เป็นรูปธรรม ชัดเจนของสรรพสิ่งต่าง ตามที่ตาสัมผัสมองเห็นได้ออกมาเป็นรูปเสมือนจริง ดังนั้น จุดเด่นของ ตัวอักษรแบบ 象形(Xiànɡxínɡ)นีนอกจากรูปลักษณะที่คล้ายภาพวาด มีความเสมือนจริง และเป็นรูปธรรมสูงแล้ว มักจะมีลักษณะเด่นภายนอกทางด้านโครงสร้างรูปร่างบางประการทีสามารถโยงให้ผู้รับสารสามารถมองออกว่าตัวอักษรนั้นสื่อถึงสิ่งใด ตัวอักษร 象形字(Xiànɡxínɡ zì)นี้เป็นตัวอักษรในยุคแรกเริ่มบุกเบิกการ ประดิษฐ์ตัวอักษรของจีน เป็นพื้นฐานสาคัญในการต่อยอดการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนในลักษณะอื่น ในยุคต่อมาภายหลัง นับว่า ตัวอักษร 象形字(Xiànɡxínɡ zì)เป็นประตูที่เปิดเข้าสู่ยุค ประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริงตัวอักษรที่ใช้วิธีประดิษฐ์แบบ 象形(Xiànɡxínɡ)นีโดยมากมักมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับร่างกายมนุษย์ สัตว์ และสรรพสิ่งต่าง ในธรรมชาติหรือ หยิบยกจากสิ่งที่สัมผัสมองเห็นได้ง่าย มีความเป็นรูปธรรมสูง ดังตัวอย่างในตาราง เช่น

Upload: others

Post on 31-Aug-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

33

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน

弟 3 课 汉字造字法

การสร้างอักษรแบบดั้งเดิมของจีนเรียกว่า“六书”(อักษรหกชนิด หรืออักษรลอกเลียนรูป) คือ“象形” (อักษรเหมือนภาพ) “指事” (อักษรบ่งชี้ความ) “会意” (อักษรรวมความ หรืออักษรผสานความ) “形声” (อักษรแบบบอกความหมายและเสียง หรืออักษรรูปและเสียง) “专注” (อักษรอธิบายเสียง หรืออักษรขยายความ) “假借” (อักษรยืม) ซึ่งความจริงนั้นถือว่ามีเพียงสี่ชนิดแรกเท่านั้นที่เป็นการสร้างอักษรจีนอย่างแท้จริง ส่วนสองชนิดหลังเป็นเพียงการใช้อักตัวษรไม่ใช่เป็นการสร้างตัวอักษร ดังนั้นจึงมีการเรียกวิธีการสร้างอักษรจีนแบบดั้งเดิมอีกว่า“四书” (อักษรสี่ชนิด) แต่ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอักษรแบบหกชนิดหรือสี่ชนิด คนรุ่นหลังถือเอาการใช้งานที่แท้จริงในสังคม ทั้งนี้ได้ผ่านการศึกษาวิเคราะห์สรุปเป็นกฎเกณฑ์ต่างๆ ได้หลายประการ ซึ่งกฎเกณฑ์เหล่านี้ไม่ได้เพ่ิงก าหนดออกมาแล้วน ามาใช้ในการสร้างตัวอักษร แต่มีมาตั้งแ ต่สมัยราชวงศ์ฮ่ัน และผู้ที่ใช้วิธีการสร้างตัวอักษรดังกล่าวเป็นครั้งแรกคือ “许慎”นักอักษรศาสตร์ในสมัยนั้น

1. อักษรภาพ หรือตัวอักษรลอกเลียนรูป 象形字 เป็นอักษรที่เกิดจากภาพวาดของจริง เกือบทั้งหมดเป็นตัวอักษรตัวเดียว หากแปลความจาก

ตัวอักษร 象(Xiànɡ)หมายถึง เหมือน ประหนึ่ง 形(Xínɡ)คือ รูปร่าง เค้าโครง 象形

(Xiànɡxínɡ) จึงหมายถึงการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนโดยลอกดึงเอาลักษณะเด่นที่เป็นรูปธรรมชัดเจนของสรรพสิ่งต่าง ๆ ตามท่ีตาสัมผัสมองเห็นได้ออกมาเป็นรูปเสมือนจริง ดังนั้น จุดเด่นของตัวอักษรแบบ 象形(Xiànɡxínɡ)นี้ นอกจากรูปลักษณะที่คล้ายภาพวาด มีความเสมือนจริงและเป็นรูปธรรมสูงแล้ว มักจะมีลักษณะเด่นภายนอกทางด้านโครงสร้างรูปร่างบางประการที่สามารถโยงให้ผู้รับสารสามารถมองออกว่าตัวอักษรนั้นสื่อถึงสิ่งใด

ตัวอักษร 象形字(Xiànɡxínɡ zì)นี้เป็นตัวอักษรในยุคแรกเริ่มบุกเบิกการประดษิฐ์ตัวอักษรของจีน เป็นพื้นฐานส าคัญในการต่อยอดการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนในลักษณะอ่ืน ๆ ในยุคต่อมาภายหลัง นับว่า ตัวอักษร 象形字(Xiànɡxínɡ zì)เป็นประตูที่เปิดเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ของจีนอย่างแท้จริงตัวอักษรที่ใช้วิธีประดิษฐ์แบบ 象形(Xiànɡxínɡ)นี้ โดยมากมักมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับร่างกายมนุษย์ สัตว์ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติหรือหยิบยกจากสิ่งที่สัมผัสมองเห็นได้ง่าย มีความเป็นรูปธรรมสูง ดังตัวอย่างในตาราง เช่น

Page 2: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

34

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

ภาพที่ 32 อักษรลอกเลียนรูป “มนุษย์” (ที่มาของภาพ:อภิญญา ศิรวิรรณ)

ภาพที่ 33 อักษรลอกเลียนรูป “สตัว์” (ที่มาของภาพ:อภิญญา ศริิวรรณ)

Page 3: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

35

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

ภาพที่ 34 อักษรลอกเลียนรูป “สิง่ธรรมชาติ” (ที่มาของภาพ:อภิญญา ศิริวรรณ)

ภาพที่ 35 อักษรลอกเลียนรูป “สรรพสิ่งต่างๆ” (ที่มาของภาพ:อภญิญา ศิริวรรณ)

ทั้งนี้ การสร้าง “รูปเสมือน” ให้ปรากฏชัดในตัวอักษรนั้น สะท้อนระบบความคิดความเข้าใจ

และมุมมองที่มีต่อสรรพสิ่งต่าง ๆ ของคนในยุคโบราณกาลได้อย่างเด่นชัด ตัวอักษรตัวเดียวกันแต่มีหลากหลายรูปแบบไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ส่งสารแต่ละคนจะพิจารณาเค้นกลั่น “วัตถุดิบ” นั้นอย่างไร ด้วยเหตุนี้ความเป็นมาตรฐานที่สามารถยึดเป็นรูปแบบเดียวกันได้ของตัวอักษรประเภทนี้จึง

น้อย เช่น ตัวอักษร 鹿 (Lù) ที่แปลว่า กวาง จากหลักฐาน ที่ขุดพบ พบว่ามีลักษณะการเขียนหลาย

รูปแบบ และรูปแบบมุมมองการน าเสนอตัวอักษร 象形字 แต่ละตัวมีจุดเน้นและวิธีการน าเสนอที่

Page 4: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

36

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

หลากหลายแตกต่าง ทั้งน าเสนอรูปทรงโครงสร้างเต็มตัวทั้งหมด น าเสนอเฉพาะส่วนส าคัญเฉพาะจุด หรือน าเสนอแบบเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าหาจุดเน้นและในขณะเดียวกันก็มีมุมมองหรือทิศทางในการมองที่แตกต่างกันด้วย เช่น มุมหน้าตรง มุมข้าง มุมบน มุมล่าง มุมตัดขวาง เป็นต้น เช่น

ภาพที่ 36 อักษรลอกเลียนรูป (ที่มาของภาพ:อภิญญา ศิริวรรณ)

ถึงแม้ตัวอักษร 象形字 (Xiàngxínɡ zì) จะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการก าเนิดตัวอักษร

จีนที่ทรงพลังเพียงใด แต่ก็ยังไม่สามารถตอบสนองต่อการเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สมบูรณ์ได้《说文

解字》คัมภีร์ตัวอักษรจีนโบราณสมัยราชวงศ์ฮ่ันตะวันออกระบุว่า ตัวอักษรจีนที่สร้างด้วยกลวิธี

象形 (Xiànɡxínɡ) นั้นมีอยู่เพียง 364 ตัว จาก 9,353 ตัวที่น ามาจ าแนกประเภท หรือคิดเป็น

ร้อยละ 3.89 เท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นจ านวนที่น้อยเป็นอันดับ 2 ในบรรดาวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนทั้ง

Page 5: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

37

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

4 ประเภท สาเหตุอยู่ที่จุดเด่น เหตุเพราะ 象形字 (Xiànɡxínɡ zì) คืออักษรเลียน

ธรรมชาติ โดดเด่นในการถ่ายทอดสิ่งที่เป็นรูปธรรม รูปร่าง โครงสร้างที่มองเห็นผ่านสายตา โดยดึงจุดเด่นออกมาประดิษฐ์เป็นตัวอักษรที่เหมือนภาพวาด แต่น่าเสียดายเหลือเกินที่สิ่งที่มนุษย์สามารถมองเห็นผ่านตาหรืออาศัยการส ารวจด้วยประสบการณ์ตรงจนสามารถบรรยายถ่ายทอดออกมาอย่างเป็นรูปธรรมเช่นนี้นั้นมีจ านวนจ ากัด ที่มีอยู่มากนั้นกลับเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสจับต้องหรือมองเห็นได้ด้วยสายตาโดยตรง สิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดนั้นยากที่จะบรรยายถ่ายทอดออกมาเป็นภาพวาดเล็ก ๆ และหากแม้จะสามารถรังสรรค์ให้กลายเป็นตัวอักษรภาพหนึ่งตัวได้ ก็คงประกอบด้วยเส้นขีดที่มากและซับซ้อน ไม่สะดวกในการสร้างและใช้งาน

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป สังคมพัฒนาตามความรวดเร็วและความสะดวกในการสื่อสารเป็นสิ่งที่

มนุษย์ปรารถนา ตัวอักษรแบบ象形字 (Xiànɡxínɡ zì) ที่แต่เดิมประกอบด้วยเส้นขีดที่

มากและซับซ้อนเนื่องด้วยเหตุปัจจัยในการสร้างที่ต้องการถ่ายทอด “ความเหมือน” จากต้นแบบให้ “มองออก” ง่ายที่สุด จึงถูกปรับลดตัดทอนจ านวนเส้นวาดที่มากมายและซับซ้อนนั้นให้ลดน้อยเพ่ือง่ายและสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น ซ่ึงจึงน าไปสู่การสูญเสียความเป็น “รูปภาพ” ที่ถ่ายทอดความ

เสมือนจริงของบรรดาสรรพสิ่งต่าง ๆ อันเป็นลักษณะเด่นของตัวอักษรแบบ象形字 (Xiànɡ

xínɡ zì) ไป และสุดท้ายความหมายที่ถ่ายทอดและผูกติดกับตัวอักษรที่ลอกเลียนแบบความ

เสมือนจริงจึงกลายเป็นรูปสัญลักษณ์ที่ยากจะตีความความหมายจากรูปตัวอักษรได้อีกต่อไป

2. อักษรบ่งชี้ความ 指事字

เป็นอักษรที่ใช้เครื่องหมายเป็นนามธรรมแสดงความหมาย และส่วนมากจะเป็นตัวอักษรตัวเดียว และมีบางส่วนที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างเครื่องหมายที่เป็นนามธรรมกับตัวอักษรภาพ ซึ่งการสร้างตัวอักษรประเภทนี้จะมีไม่มากนัก ส่วนมากใช้ในการแสดงความหมายที่เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ และถึงแม้ว่าจะมีตัวตนแต่ก็ยากเกินกว่าที่จะสามารถวาดออกมาจากของจริงเพื่อแสดงความหมายได้ เช่น

Page 6: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

38

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

ภาพที่ 37 อักษรบ่งช้ีความ : (ที่มาของภาพ:อภิญญา ศริิวรรณ)

ตัวอักษรแบบ 指事字 (Zhǐshì zì) นั้น เป็นรูปแบบการประดิษฐ์ตัวอักษรโดยใช้สัญลักษณ์นามธรรมมาระบุ บ่งชี้ แสดงจุดสังเกตเพ่ือแสดงความหมายให้แก่ตัวอักษร ทั้งนี้ แม้ลักษณะโดยรวมยังไม่หลุดพ้นจากความเป็นรูปเสมือนจริงไปเสียทั้งหมด แต่ทว่าก็มิใช่การถ่ายทอดสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปเสียทั้งหมดอีกต่อไปแล้วเช่นกัน รูปแบบการประดิษฐ์ตัวอักษรแบบบ่งชี้ความหรือ 指事

(Zhǐshì)นั้น แบ่งเป็น 2 ลักษณะ อธิบายให้เห็นภาพโดยง่ายก็คือ ลักษณะแรกเป็นการก าหนดสัญลักษณ์ใหม่เพ่ือใช้แทนความหมายนามธรรมที่สมบูรณ์ และอีกลักษณะหนึ่งเป็นการเพ่ิมเติมสัญลักษณ์บางอย่างลงบนตัวอักษรเดิมที่มีอยู่เพ่ือชี้น าเชื่อมโยงให้มองเห็นความหมายที่ลึกลงไปจากพ้ืนฐานความหมายเดิม

Page 7: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

39

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

2.1 การก าหนดสัญลักษณ์ใหม่เพื่อใช้แทนความหมายนามธรรมท่ีสมบูรณ์

ภาพที่ 38 อักษรบ่งช้ีความ (ที่มาของภาพ:อภิญญา ศริิวรรณ)

การใช้เส้นตรงลักษณะต่างๆ ในตารางข้างต้นไม่ได้สื่อถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมอย่างเช่นท่อนไม้ หรือของแข็ง ยาว มีรูปร่างที่สามารถจับต้องได้ แต่แสดงถึงความหมายเชิงนามธรรม คือตัวเลขหรือต าแหน่ง “一、二、三” ที่แสดงจ านวน 1,2,3 ตามล าดับ ส่วนการใช้เส้นตรงแนวนอนที่สั้นกว่าวางอยู่บนเส้นตรงแนวนอนอีกเส้นหนึ่งก้เพ่ือระบุถึงต าแหน่ง “บน” ในทางกลับกัน การใช้เส้นตรงแนวนอนที่สั้นกว่าวางอยู่ด้านล่างเส้นตรงแนวนอนอีกเส้นหนึ่ง ระบุถึงต าแหน่ง “ล่าง” ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนสัมผัสจับต้องไม่ได้ เป็นความหมายเชิงนามธรรมนั่นเอง

2.2 การเพิ่มเติมสัญลักษณ์บางอย่างลงบนตัวอักษรเดิมที่มีอยู่เพื่อชี้น าเชื่อมโยง ให้มองเห็นความหมายท่ีลึกลงไปจากพื้นฐานความหมายเดิม

ลักษณะตัวอักษรบ่งชี้ความหรือ 指 事 字 (Zhǐshì zì)ในรูปแบบที่สองนี้จะ

เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวอักษรแบบลอกเลียนรูปหรือ 象形字(Xiànɡxínɡ zì)โดยตรง กล่าวคือ เป็นการปรากฏร่วมของสัญลักษณ์นามธรรมกับตัวอักษรเสมือนจริงที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว ซึ่งการ

น าสัญลักษณ์นามธรรมเข้าไปวางประกอบในตัวอักษร 象形字(Xiàngɡxínɡ zì)ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งก็เพ่ือเป็นจุดอ้างอิงเชื่อมโยงและบ่งชี้ความหมายที่ต้องการสื่อนั้นเข้าสู่จุดเน้นในอักษรเสมือน ทั้งนี้ การใช้ “สิ่งใหม่” เติมเข้าไปใน “สิ่งเดิม” แบบที่ตัวอักษร 指 事 字

(Zhǐshì zì)ท านั้น ก็เพ่ือยืมความหมายจากอักษรเสมือนจริงที่มีอยู่และเชื่อมโยงบ่งชี้ความหมายที่ต้องการสื่อจากจุดเฉพาะบางจุดนั้นให้ชัดเจน เพ่ือให้เป็นจุดสังเกตและโยงเข้าสู่จุดเน้นให้ชัดเจนขึ้น หรือดึงเอาความหมายนามธรรมที่แฝงอยู่ในต าแหน่งต่าง ๆ ที่ผู้ประดิษฐ์ตัวอักษรต้องการออกมา

Page 8: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

40

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

ภาพที่ 39 อักษรบ่งช้ีความ (ที่มาของภาพ:อภิญญา ศริิวรรณ)

Page 9: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

41

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

ตัวอักษรที่ใช้วิธีประดิษฐ์แบบ 指事(Zhǐ shì)นี้ มีจ านวนน้อยกว่าตัวอักษร 象形 กว่าครึ่ง กล่าวคือ ปรากฏใน《说文解字》เพียง 125 ตัว จาก 9,353 ตัวเท่านั้น หรือคิดเป็นร้อยละ 1.34 เท่านั้น

3. อักษรรวมความหมาย (อักษรผสานความ) 会意字

会(Huì) แปลว่า รวมผสาน 意 (Yì) คือ ความหมาย หากแปลตรงตัว 会

意字 (Huìyì zì) คือตัวอักษรแบบผสานความ ซึ่งเกิดจากการน าตัวอักษรที่มีอยู่เดิม

ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมารวมกัน เกิดเป็นตัวอักษรใหม่หนึ่งตัวที่ความหมายประจ าตัวอักษรใหม่นั้นมา

จากการประสานความหมาย จากตัวอักษรดั้งเดิมแต่ละตัวที่น ามาประกอบกัน หากเปรียบให้เห็นภาพชัดเจนโดยง่ายก็เปรียบเสมือนการน าเหล็กรูปร่างต่าง ๆ หลอมรวมให้เป็นเนื้อเดียวกันและหล่อขึ้นมาในรูปทรงใหม่ โดยที่ส่วนประกอบหรือเนื้อในนั้นยังคงเป็นเหล็กเดิมอยู่นั่นเอง ดังนั้น ตัวอักษรผสานความ หรือ

会意字(Huìyì zì) จึงเป็นการต่อยอดความหมายจากความหมายเดิมไปสู่ความหมายใหม่แต่ยังคงเค้าความหมายเดิมหรือจุดเด่นเฉพาะ จากพ้ืนตัวอักษรเดิมอยู่ ดังตัวอย่างในตารางต่อไปนี้

ภาพที่ 40 อักษรรวมความหมาย (ที่มาของภาพ:อภิญญา ศิริวรรณ)

Page 10: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

42

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

ภาพที่ 41 อักษรรวมความหมาย (ที่มาของภาพ:อภิญญา ศิริวรรณ)

4. อักษรแบบบอกความหมายและเสียง (อักษรรูปเสียงประสาน) 形声字

เป็นตัวอักษรที่ส่วนหนึ่งบอกความหมาย และอีกส่วนหนึ่งบอกการออกเสียง โดยทั้งหมดเป็นตัวอักษรผสม (หรือส่วนประกอบของตัวอักษร) สองตัวขึ้นไป ประกอบกันเป็นตัวอักษรตัวใหม่ ตัวอักษรประเภทนี้เป็นวิธีการสร้างตัวอักษรที่นิยมใช้มากที่สุดในการสร้างตัวอักษรตัวย่อในปัจจุบัน เนื่องจากส่วนประกอบประกอบของตัวอักษรประเภทนี้สามารถบอกความหมายได้ อย่างคร่าว ความหมายของเชิงหมวดค า รวมถึงการเดาเสียงอ่านของค าๆ นั้นได้ แต่ในด้านการออกเสียงนั้น

Page 11: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

43

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

อาจจะมีเสียงพยัญชนะหรือเสียงสระและเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกันไปบ้าง ไม่อาจบอกเสียงได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด แต่ก็ยังคงอยู่ในฐานเสียงเดียวกัน เช่นค าว่า 长 ฉาง เมื่อประกอบอยู่ในค าอ่ืนอาจออกเสียงเป็น จาง (张)จ้าง(帐 账 胀)เป็นต้น

形 (Xínɡ) หมายถึง รูปร่าง ลักษณะ 声 (Shēnɡ) หมายถึง เสียง ตัวอักษรที่

ประดิษฐ์ด้วยกลวิธี 形声(Xínɡ shēnɡ)หรือตัวอักษร 形声字 (Xínɡ shēnɡ

zì)นีเ้กิดจากการประสานส่วนประกอบสองส่วนเข้าด้วยกัน ส่วนหนึ่งบ่งชี้ความหมาย อีกส่วนหนึ่ง

ระบุเสียง ส่วนประกอบทั้งสองส่วนนี้รวมเรียกว่า 偏旁(Piān pánɡ)หรือส่วนประกอบ

ด้านข้าง โดยส่วนประกอบด้านข้างท่ีก าหนดเสียงอ่านเรียกว่า 声旁 (Shēnɡ pánɡ) ส่วน

ที่ก าหนดความหมายเรียกว่า 形旁(Xínɡ pánɡ)ดังนั้น กลวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรที่น า

形旁(Xínɡ pánɡ)และ 声旁(Shēnɡ pánɡ) มาประกอบเข้าด้วยกันลักษณะนี้

จึงเรียกว่า 形声(Xínɡ shēnɡ)และตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วยกลวิธีนี้ก็คือ 形声字

(Xínɡ shēnɡ zì)หรือตัวอักษรรูปเสียงประสานนั่นเอง กลวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรในลักษณะนี้ เป็นการสร้างตัวอักษรใหม่โดยการน าตัวอักษรที่มีใช้อยู่เดิมแล้ว เติมเครื่องหมายสัญลักษณ์หรือตัวอักษรเพ่ิมเข้าไปอีกส่วน ส่วนที่เป็นตัวอักษรพ้ืนฐานเดิมจะเป็นส่วนบอกเสียง ส่วนที่เติมเข้าไปใหม่จะระบุความหมาย เสียงของตัวอักษรใหม่เกิดจากการยืมเสียงของตัวอักษรเดิมความหมายของตัวอักษรใหม่เกิดจากการยืมความหมายหรือจุดเด่นของส่วนที่เติมใหม่เข้าไปเพ่ือก าหนดความหมายของตัวอักษรใหม่ที่เกิดขึ้น เกิดเป็นตัวอักษรใหม่หนึ่งตัวที่มีเค้าโครงเสียงและความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงส่วนที่ประกอบกันขึ้น มีจุดเด่นที่พอจะอนุมานได้จากส่วนที่ประกอบเข้าด้วยกัน แต่การสื่อความหมายและเสียงที่ว่านี้อาจไม่ตรงตามเสียงและรูปของส่วนประกอบเดิมทั้งสองเสียทีเดียว หากแต่สามารถเชื่อมโยงอนุมานหรือตีความได้ เช่นเดียวกับส่วนประกอบที่สื่อเสียงก็จะมีส่วนที่คล้ายคลึงกับเสียงดั้งเดิมของตัวอักษรที่น ามาประกอบอาจคล้ายคลึงในหน่วยเสียงพยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรืออาจคล้ายคลึงในหลายส่วนก็ได้

ดังนั้นตัวอักษรที่ใช้วิธีประดิษฐ์แบบ 形声字 (Xínɡ shēnɡ zì)การคาดเดาเสียงอ่านและความหมายของตัวอักษรก็เป็นไปได้โดยง่าย การจัดระบบการจดจ าก็ง่ายดายและเป็นแบบแผนมากยิ่งขึ้น เช่น ตัวอักษร 彩、菜、踩 มีส่วนประกอบบอกเสียงหรือ 声旁

(Shēnɡ pánɡ) 采 “Cǎi” เป็นพ้ืนเสียง เมื่อประกอบกับ 形旁 (Xínɡ

pánɡ)หรือส่วนประกอบบ่งความแล้วท าให้มีเสียงอ่านที่ใกล้เคียงตัวอักษรพ้ืนเสียงเดิม โดยตัวอักษรทั้งสามตัวข้างต้นมีเสียงอ่านตามล าดับดังต่อไปนี้ Cǎi,Cài,Cǎi” เช่นเดียวกับตัวอักษร “巴”(Bā)เมื่อประกอบเข้ากับส่วนประกอบข้างอีกส่วนเพ่ือท าหน้าที่เป็นส่วนประกอบบอกเสียง จะท าให้ตัวอักษรใหม่ที่ได้มีเสียงอ่านที่คล้ายคลึงกับเสียงอักษรเดิม เช่น

Page 12: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

44

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

“把”(Bǎ)、“爸”(Bà)、“芭”(Bā)、“吧”(Bɑ)、

“笆”(Bā) ในขณะที่ส่วนประกอบบอกความหมายหรือ 形旁 (Xínɡ pánɡ)นั้น เมื่อประกอบเข้ากับส่วนประกอบบอกเสียงอีกส่วนหนึ่ง จะได้ตัวอักษรใหม่ที่มีความหมายสอดคล้อง

ใกล้เคียงกับความหมายประจ าตัวของ 形旁 (Xínɡ pánɡ)นั้น ๆ เช่น “疒”มาจาก

ตัวอักษร “病” ซึ่งมีความหมายว่า “เจ็บป่วย” เมื่อ 形旁 (Xínɡ pánɡ)

“疒” ปรากฏร่วมกับ 声旁 (Shēnɡ pánɡ)บอกเสียง ความหมายของตัวอักษรใหม่ท่ี

เกิดขึ้นนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับความหมายของ 形旁(Xínɡ pánɡ)นั้น ๆ ตามไปด้วย เช่น 疼 เจ็บ、痛 ปวด、病 ไม่สบาย、疗 รักษา เป็นต้น ดังตัวอย่างในตารางข้างล่างนี้

ภาพที่ 42 อักษรบอกความหมายและเสียง (ที่มาของภาพ:อภิญญา ศิริวรรณ)

Page 13: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

45

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

ภาพที่ 43 อักษรบอกความหมายและเสียง (ที่มาของภาพ:อภิญญา ศิริวรรณ)

5. อักษรอธิบายเสียง หรืออักษรขยายความ 转注字

คือตัวอักษรที่มีความหมายเหมือนกัน มีส่วนประกอบใกล้เคียงกัน ต่างอธิบายความแก่กันและกัน (สร้างมาจากหมวดเดียวกัน ความหมายเดียวดัน) เป็นการขยายความ แต่เมื่อถ่ายทอดออกมาแล้ว อักษรใหม่และอักษรดั้งเดิมส่วนประกอบส าคัญเดียวกัน (มีส่วนประกอบบอกรูปหรือความหมายเดียวกัน) มีความหมายเดียวกัน เป็นเพียงอักษรต่างเสียงกับอักษรเดิมเท่านั้น

ฉะนั้น อักษรอธิบายเสียงหรือขยายความนี้ จึงเป็น “วิธีการใช้ตัวอักษร” เท่านั้น ไม่ใช่ “วิธีการสร้างตัวอักษร”

เสียงของตัวอักษรขยายความกับอักษรเดิมมีความหมายใกล้เคียงกัน รูปแบบคล้ายกัน ความหมายใกล้เคียงกัน เสียงใกล้เคียงกัน ** ซึ่งเป็นเงื่อนไขของ 转注字 ** เช่น

考 kǎo กับ 老 lǎo

考 kǎo หมายถึง แก่ ชรา

Page 14: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

46

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

มีรูปร่างคล้ายคนชราหลังค่อม ถือไม้เท้า ต่อมาเสียงอ่านมีการเปลี่ยนแปลง และเพ่ือสะท้อน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงได้เติมสัญลักษณ์บอกเสียง 丂 kào เป็น 考 kǎo ซึ่งในที่นี้หมายถึง บิดา ผู้ล่วงลับไปแล้ว

考 และ 老 อยู่ในหมวด 老 เหมือนกัน ความหมายเหมือนกัน สามารถน ามาใช้อธิบายซึ่งกันและกันได้ โดยมี 老 ก่อน ต่อมาจึงม ี考

ซึ่งตัวอักษร 考 เป็นอักษรขยายความของ 老 นั่นก็คือ แตกสาขาออกมาจาก 老 นั่นเอง

豕 shǐ กับ 者 zhě

豕 shǐ หมายถึง หมู เป็นอักษรภาพของหมู เนื่องด้วยส าเนียงของแต่ลพท้องที่ที่ต่างกัน บางแห่งออกเสียง 者

zhě จึงเติมสัญลักษณ์บอกเสียง 者 เขียนเป็น 豬 zhū แปลว่า หมู ปัจจุบันเขียนเป็น 猪

และสมัยโบราณบางแห่งอ่านว่า 希 xī จึงเติมสัญลักษณ์บอกเสียง 希 ลงไป เขียนเป็น 豨 โดยมี 豕 ก่อน จึงมี“猪,豬”“猪,豨”ซึ่งเป็นอักษรขยายความของ 豕

6. อักษรยืม 假借字

คือ “เสียงเดียวกันแทนที่กัน” หมายถึง มีศัพท์ค าหนึ่งใช้ในภาษาพูดแต่ไม่มีตัวอักษรใช้ในภาษาเขียน และไม่สร้างตัวอักษรใหม่ขึ้นส าหรับศัพท์ค านี้ แต่เป็นการยืมตัวอักษรที่มีอยู่เดิมซึ่งมีเสียงเดียวกันหรือใกล้เคียงกันมาใช้แทน จึงเรียกวิธีนี้ว่า 假借 โดยมีวิธีการยืมดังนี ้

1. อักษรตัวหนึ่งถูกยืม ยืมแล้วไม่คืน ความหมายเดิมเปลี่ยนสร้างอักษรใหม่ เช่น

ตัวอักษร 孰 shú ความหมายเดิมหมายถึง สุก (อาหาร) ภายหลังถูกยืมมาใช้เป็นสรรพนาม แปลว่า ใคร อะไร และเพ่ือให้แตกต่างจากอักษรเดิมกับ

อักษรที่ถูกยืมมา อักษรเดิมจึงเพ่ิมอักษรข้าง 火 เป็น 熟 (วางไว้ข้างล่าง) ออกเสียงเป็น shú

เหมือนเดิม และแปลว่า สุก เหมือนเดิม

หรือตัวอักษร 其 qí เป็นอักษรภาพของ ปุ้งกี๋ ภายหลังถกูยืมไปเป็นสรรพนาม อักษรเดิม

จึงเพิ่มอักษรข้าง 竹 เข้าไปเป็น 箕 ออกเสียงว่า jī แปลว่า ปุ้งกี๋ เหมือนเดิม 2. อักษรตัวหนึ่งถูกยืม ยืมแล้วก็คืน อักษรเดิมถูกสร้างอักษรใหม่ เช่น ตัวอักษร 说 (อักษรเดิม แปลว่า พูด) ถูกยืมมาใช้เป็น 说 (อักษรยืม) ในความหมายว่า เบิก

บานใจ ภายหลังแก้ไข 言 เป็น 忄(shù xīn pánɡ) เพ่ือเปลี่ยนอักษรยืมสร้างเป็นอักษรใหม่

คือ 悦 yuè แปลว่า สุขใจ, สบายใจ

Page 15: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

47

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

หรือตัวอักษร 解 jiě (อักษรเดิม แปลว่า แยกออก) ของค าว่า 解剖 jiě pōu ถูกยืมมาใช้เป็น 解 (อักษรยืม) หมายถึง สัตว์น้ าชนิดหนึ่ง ต่อมาเติม 虫 เพ่ือเปลี่ยนอักษรยืมให้เป็น

อักษรใหม่ เป็น 蟹 xiè (แปลว่า ปู) 3. อักษรตัวหนึ่งถูกยืม เพ่ิมหน้าที่เป็น 2 เท่า อักษรเดิมและอักษรยืมไปใช้พร้อมกัน เช่น

ตัวอักษร 征 zhēnɡ ความหมายเดิมหมายถึง การยกทัพไปปราบปราม ภายหลังถูกยืมมาใช้ในความหมายว่า จัดเก็บภาษี ทั้งความหมายเดิมและความหมายที่ถูกยืมล้วนไม่ได้สร้างรูปค าศัพท์ใหม ่

หรือตัวอักษร 会 huì แปลว่า ชุมนุม จากค าว่า 会合 huì hé ภายหลังถูกยืมมาใช้

เป็น 会 ในค าว่า 会计 kuài jì แปลว่า การบัญชี ก็ไม่ได้สร้างรูปศัพท์ใหม่เช่นกัน ทั้งความหมายเดิมและความหมายใหม่ล้วนมีการใช้มาจนถึงปัจจุบัน

4. อักษรตัวหนึ่งถูกยืม ความหมายเดิมค่อยๆสูญสลายไป เหลือเพียงความหมายยืม เช่น

ตัวอักษร 难 nán มาจาก 隹 zhuī เดิมเป็นชื่อนกชนิดหนึ่ง ถูกยืมมาใช้เป็น 难 nán แปลว่า ยาก ความหมายเดิมได้สูญสิ้นไปแล้ว เหลือแต่ความหมายใหม่ท่ีถูกยืมมา

หรือตัวอักษร 骗 piàn มาจาก 马 mǎ ความหมายเดิมคือ “跃而上马” yuè ěr

shànɡ mǎ (กระโดดขึ้นหลังม้า) ถูกยืมมาใช้เป็น 骗 piàn ในความหมายว่า 欺骗 qī

piàn หมายถึง หลอกลวง ความหมายเดิมสูญสิ้นไปแล้ว เหลือเพียงความหมายใหม่ของค ายืม

Page 16: บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน · 2018. 8. 14. · บทที่ 3 การสร้างตัวอักษรจีน 弟3课

48

ตวัอกัษรจีน 汉字学 อาจารย์ ว่าที ่ร.ต.ดร.เกรียงไกร กองเส็ง

มหาวิทยาลยัราชภฏัสวนสนุนัทา

เอกสารอ้างอิง 参考资料 นริศ วศินานนท. (๒๕๕๓). ยอนรอยอักษรจีน. กรุงเทพ : ทฤษฎี. อภิญญา ศิริวรรณ. (2016).อักษรจีน : กระบวนการสื่อสารและผสานความหมายผ่านอักษรเลียน

ธรรมชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีที่ 8 ฉบับที่ 2.

郑振峰.(2005).《汉字学》.第 1版,北京:语文出版社.