นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ...

264
นามานุกรม พระมหากษัตริยไทย จัดทำโดย มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (ในพระราชูปถัมภสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

Upload: others

Post on 15-Feb-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

นามานุกรมพระมหากษัตริยไทย

จัดทำโดยมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

(ในพระราชูปถัมภสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ

๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

Page 2: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

นามานุกรมพระมหากษัตริยไทย

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

พิมพครั้งที่ ๑ พุทธศักราช ๒๕๕๔จำนวน ๕๐,๐๐๐ เลมลิขสิทธิ์ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาอาคารศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร ๒๐ ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐โทรศัพท/โทรสาร ๐-๒๘๘๐-๙๒๑๒

ขอมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแหงชาติมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริยไทย. -- กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, ๒๕๕๔. ๒๖๔ หนา. ๑. กษัตริยและผูครองนคร - ไทย. ๒. ไทย - - ประวัติศาสตร. . ชื่อเร่ือง.๙๒๓.๑๕๙๓

978-616-7308-25-8

จัดพิมพโดย บริษัท นานมีบุคสพับลิเคชั่นส จำกัดเลขที่ ๑๑ ซอยสุขุมวิท ๓๑ (สวัสดี) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐www.nanmeebooks.com

เพลตที่ คลาสิคสแกน โทร. ๐-๒๒๙๑-๗๕๗๕ พิมพที่ อักษรสัมพันธ โทร. ๐-๒๔๒๘-๗๕๐๐

ผูสนับสนุนโครงการ

Page 3: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช
Page 4: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช
Page 5: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระราชนิพนธคำนำ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ในมหามงคลวโรกาสท่ีพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเจริญ

พระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ไดจัดทำ

หนังสือนามานุกรมพระมหากษัตริยไทยออกเผยแพรเพื่อเปนการเฉลิมพระเกียรติดวยความสำนึก

ในพระมหากรุณาธิคุณ

ประเทศไทยมีพระมหากษัตริยปกครองประเทศสืบเนื่องมากวา ๗๐๐ ป ตั้งแตสมัยสุโขทัย

อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร การปกครองโดยระบบกษัตริยเปนวัฒนธรรมท่ีไทยรับมาจากอินเดีย

พรอมกับการรับวัฒนธรรมความเชื่อทางศาสนา โดยไดผสมผสานแนวคิดหลัก ๓ ประการเขาดวยกัน

คือ แนวคิดในศาสนาพราหมณ-ฮินดู ที่เชื่อวากษัตริยทรงเปนสมมุติเทพ แนวคิดในพุทธศาสนาที่วา

พระมหากษัตริยทรงมีสถานะเปรียบประดุจพระพุทธเจา ทรงเปนจักรพรรดิราชหรือธรรมราชา ท่ี

กอปรดวยราชธรรมหลายประการ อาทิ ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ แนวคิด

ทั้งสองประการดังกลาวน้ี อยูบนพื้นฐานของแนวคิดประการที่สามคือการปกครองแบบพอปกครองลูก

ดังปรากฏมาตั้งแตสมัยสุโขทัย ดวยเหตุนี้จึงทำใหการปกครองโดยระบบกษัตริยของไทย มีความเปน

เอกลักษณเฉพาะตัวแตกตางจากประเทศอื่น

ที่ผานมายังไมเคยมีการรวบรวมและเรียบเรียงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่สำคัญ

ของพระมหากษัตริยไทยครบทุกพระองค การจัดทำหนังสือนามานุกรมพระมหากษัตริยไทยเลมนี้

เนื่องในมหามงคลวโรกาสดังกลาวจึงเปนเรื่องที่นายินดี หนังสือเลมนี้จะมีคุณคาในฐานะเปนเอกสาร

คนควาอางอิงที่เปนประโยชนตอวงการวิชาการ โดยเฉพาะอยางยิ่งตอผูที่ตองการศึกษาเรื่องราวของ

ประวัติศาสตรชาติไทย

Page 6: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สถาบันพระมหากษัตริยกับประเทศไทย

พลตรี หมอมราชวงศศุภวัฒย เกษมศรี

สถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทยเปนศูนยรวมใจชาวไทยท่ีสืบทอดมายาวนานหลาย

ศตวรรษ เปนวฒันธรรมการปกครองท่ีมคีวามสำคัญ บงบอกถงึแนวคดิ ความเชือ่ และความหมายของ

สัญลักษณตาง ๆ ที่หลอมรวมจิตใจชาวไทยใหเปนอันหนึ่งอันเดียวกันและสรางสรรคใหเกิดความผาสุก

ของสังคมโดยรวมได วัฒนธรรมการปกครองระบบกษัตริยของประเทศไทยจึงมีความผูกพันอยาง

แนบแนนตอสังคมไทยมาแตอดีตจนปจจุบัน

แนวคิดที่วาพระมหากษัตริยทรงเปนผูปกครองท่ีมีคุณลักษณะพิเศษนั้นสืบเนื่องมาจาก

วัฒนธรรมความเช่ือทางศาสนา ซ่ึงพัฒนาและผสมผสานมาจากแนวคิดหลักตาง ๆ ๓ ประการ คือ

ประการแรก เปนแนวคิดพราหมณฮินดู ซึ่งถือวาผูที่ดำรงตำแหนงกษัตริยคือองคอวตารของ

พระผูเปนเจาในศาสนาพราหมณฮินด ูซึ่งมีหนาที่หลักในการธำรงไวซึ่งความผาสุกของโลกมนุษย เปน

แนวคิดเบื้องตนเมื่อชาวไทยรับคติความเชื่อพราหมณฮินดูเขามา

ประการที่สอง เปนแนวคิดของพระพุทธศาสนา ซ่ึงนอกจากความเชื่อเรื่องบุญกรรมที่สงให

เปนผูมีบารมีแลว ยังมีความเช่ือวาองคพระมหากษัตริยทรงมีสถานะเปนพระพุทธเจาและเปนเทพ

แนวคิดเรื่องเทพทางพระพุทธศาสนานี้แตกตางจากศาสนาพราหมณฮินดู ในคัมภีรจักรวาฬทีปนีซึ่ง

เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๓ อธิบายวา “พระราชา พระเทวี พระกุมาร ช่ือวาสมมติเทพ, เทพที่อยู ณ ภาคพื้นดินและที่สูงกวานั้น ชื่อวาอุปบัติเทพ, พระพุทธเจา พระปจเจกพุทธเจาและพระขีณาสพชื่อวา พระวิสุทธิเทพ” พระมหากษัตริยในสังคมไทยทรงมีลักษณะของเทพ ๓ ประเภทนี้ คือ สมมติเทพ

อุปบัติเทพ และวิสุทธิเทพอยูในองคเดียว ทั้งนี้ไดรวมเอาเทพชั้นสูงในศาสนาพราหมณฮินดูเขาไวดวย

ดังที่สะทอนใหเห็นจากแนวคิดเรื่องสมมติเทพหรือสมมติเทวดา และในบริบทแวดลอมอื่น ๆ

นอกจากนั้น พระมหากษัตริยไทยยังทรงเปนมหาสมมติราช ขัตติยะ และราชา ดังปรากฏ

คำอธิบายในหนังสือไตรภูมิพระรวงของพระเจาลิไทยซ่ึงแตงข้ึนในสมัยสุโขทัยวา “อันเรียกช่ือมหา สมมติราชน้ันไซร เพราะวาคนทั้งหลายยอมตั้งทานเปนใหญแล อันเรียกชื่อขัตติยะนั้นไซร เพราะวา คนทั้งหลายใหแบงปนไรนาเขาน้ำแกคนท้ังหลายแล อันเรียกชื่อวาราชานั้น เพราะทานนั้นถูกเนื้อ พึงใจคนทั้งหลายแล” สวนในโลกทีปสารแตงโดยพระสังฆราชเมธังกรซึ่งเปนครูของพระเจาลิไทยกลาว

วา “นามราชา เพราะปกครองบุคคลอื่น ๆ โดยธรรม โดยเที่ยงธรรม”

Page 7: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ประการท่ีสาม แนวคิดความสัมพันธระหวางบิดา-บุตร อันเปนแนวคิดพื้นเมืองดั้งเดิมที่เนน

ความสัมพันธใกลชิดระหวางผูปกครองกับผูใตปกครอง ซ่ึงตางไปจากสังคมที่มีวรรณะ นับไดวาเปน

ความเขมแข็งของวัฒนธรรมการปกครองในระบบกษัตริยของไทยท่ีสามารถดำรงสืบตอมาไดจนปจจุบัน

แนวคิดทั้ง ๓ ประการนี้แสดงคติความเชื่อเรื่องสถานะขององคพระมหากษัตริยที่ผสมผสานกัน

พระมหากษัตริยไทยนับแตอดีตมิไดทรงดำรงพระองคเปนเฉพาะองคอวตารแหงพระผูเปนเจาของ

ศาสนาพราหมณฮินดู หรือเปนผูบำเพ็ญบุญบารมีเฉพาะพระองค แตยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ

เชนเดียวกับบิดาผูดูแลบุตรดวย พระราชภาระหลักของพระมหากษัตริยอันเปนพื้นฐานตามคติ

พราหมณฮินดูมี ๔ ประการ คือ

๑. พระราชทานความยุติธรรมอันเปนระเบียบสากลของผูปกครองหรือผูนำที่จะตองสรางหรือ

ออกกฎหมายเพื่อใหเกิดความยุติธรรม

๒. ทรงรักษาความยุติธรรมนั้น ๆ อยางเครงครัด

๓. ทรงรักษาพระศาสนาและประชาชน

๔. ทรงสรางความผาสุกแกประชาชน

นอกจากน้ันพระมหากษัตริยยังทรงดำรงหลักราชธรรมในพระพุทธศาสนา ไดแก ทศพิธ-

ราชธรรม ๑๐ ประการ สังคหวัตถุ ๔ ประการ และจักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ เมื่อประสานกับ

ลักษณะวัฒนธรรมการปกครองแบบบิดา-บุตรแลว จึงเปนเหตุใหพระมหากษัตริยในประเทศไทยมี

พระราชสถานะอันสูงสงควรแกการยกยองสรรเสริญยิ่ง

ในสมัยกรุงสุโขทัย ความสัมพันธระหวางพระมหากษัตริยกับประชาชนมีความใกลชิดกันมาก

พระมหากษัตริยทรงดูแลทุกขสุขของประชาชนดังบิดาดูแลบุตร ดังปรากฏบันทึกในศิลาจารึกหลักที่ ๑

ของพอขุนรามคำแหงมหาราช ท่ีสำคัญมากก็คือวัฒนธรรมการปกครองในระบบกษัตริยนั้นเปนการ

ปกครองโดยมีมนุษยธรรม จารึกสุโขทัยหลักที่ ๓๘ วัดพระมหาธาตุ-วัดสระศรี พุทธศักราช ๑๙๔๐ วา

พระมหากษัตริยแหงกรุงสุโขทัย “จักใครขัดพระราชสีมานี้ดังมนุษยธรรม (อยาง) พระยารามราช” คือ

กษัตริยในกรุงสุโขทัยไดปกครองประชาชนอยางมีมนุษยธรรมเชนเดียวกับพอขุนรามคำแหง กษัตริย

แหงกรุงสุโขทัยเอาพระราชหฤทัยใสไพรฟาขาแผนดินของพระองคดังปรากฏหลักมนุษยธรรมในไตรภูมิ

พระรวงวา “รูจักผิดแลชอบ แลรูจักที่อันเปนบาปแลบุญ แลรูจักประโยชนในช่ัวนี้ชั่วหนา แลรูจักกลัว แกบาปแลละอายแกบาป รูจักวายากวางาย แลรูรักพี่รักนอง แลรูเอ็นดูกรุณาตอผูเข็ญใจ แลรูยำเกรง พอแม ผูเถาผูแก สมณพราหมณาจารยอันอยูในสิกขาบทของพระพุทธิเจาทุกเมื่อ และรูจักคุณแกว ๓ ประการ” อนัแสดงใหเหน็ความผูกพนัระหวางกษตัรยิในฐานะของบิดา-บุตร ในการสอนใหทำความดี

ใหรูจักบาปบุญและหลักธรรมตาง ๆ

Page 8: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ในสมัยอยุธยา พระราชสถานะของพระมหากษัตริยเปลี่ยนแปลงไปบาง เมื่อมีคติความคิด

เกี่ยวกับสมมติเทวราชมาผสมผสาน พระมหากษัตริยทรงเปนเสมือนเทพเจา ดังปรากฏพระนามของ

พระมหากษัตริยสมัยอยุธยา เชน สมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระรามราชา สมเด็จพระอินทรราชา

สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระนารายณมหาราช เปนตน ซึ่งลวนแตเปนทั้งพระนามของเทพเจา

ของพราหมณฮินดูและเทพเจาในความเชื่อพื้นถิ่นทั้งสิ้น นอกจากนั้นพระราชกรณียกิจทั้งปวงของ

พระเจาแผนดินดังที่ปรากฏในพระราชพิธี ๑๒ เดือน หรือท่ีตราไวในกฎมณเฑียรบาลก็ดีลวนเปนไป

เพื่อประโยชนสุขของประชาชน อาจกลาวไดวาวัฒนธรรมการปกครองในระบบกษัตริยของอยุธยาน้ัน

ยังคงสืบทอดมาจากแบบฉบับของกรุงสุโขทัยที่เนนความสัมพันธระหวางบิดา-บุตร แมบันทึกของชาว

ตางชาติเชนลาลูแบรหรือแชรแวสก็ยังระบุวา การลงโทษขุนนางในราชสำนักนั้น “เสมอดวยบิดากระทำ แกบุตร และมิไดทรงลงอาญาอยางตระลาการที่ใจเหี้ยมหรือเจาขุนมูลนายที่เอาแตโทสจริตไดกระทำแกทาส”

ตอมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร วัฒนธรรมการปกครองในระบบเดิมยังสืบทอด

และธำรงไวไดเปนอยางดีในการสรางความเปนปกแผนของบานเมืองและการสรางขวัญกำลังใจใหเกิด

ขึ้นในหมูประชาชน ดังแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชวา “ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกวรพุทธศาสนา ปองกันขอบขัณฑเสมา รักษาประชาชนแลมนตรี” หรือคติ

“พระมหาสมมุติราช” ซึ่งรวมความเปนพระราชามหากษัตริยก็ไดปรากฏชัดเจนในประกาศพระราชพิธี

บรมราชาภิเษกพระบาทสมเดจ็พระพุทธยอดฟาจฬุาโลกมหาราชใน พ.ศ. ๒๓๒๘ วา “พรรณพฤกษาชลธ ี แลสิ่งของในแผนดินทั่วเขตพระนคร ซึ่งหาผูหวงแหนมิไดนั้น ตามแตสมณชีพราหมณาจารยราษฎร ปรารถนาเถิด”

แนวคิดดังกลาวยังไดสืบตอมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว สวนที่ได

ปรับเปล่ียนเปนสากลก็คือพระมหากษัตริยทรงสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทรงเรียนรู

ศิลปวิทยาตางๆ และทรงเขาถึงประชาชนมากข้ึน อน่ึง ตั้งแตในรัชกาลท่ี ๔ เริ่มมีแนวคิดในการ

เปลี่ยนแปลงและยอมรับฐานะแหง “มหาชนนิกรสโมสรสมมติ” มากข้ึน และพระบาทสมเด็จพระ

จอมเกลาเจาอยูหัวทรงเห็นวาความสัมพันธระหวางประชาชนกับพระมหากษัตริยเปนสิ่งจำเปน ดังเชน

ความตอนหนึ่งในประกาศเร่ืองดาวหางประกาตรีศกวา

พระเจาแผนดินคนท้ังปวงยกยองไวเปนที่พึ่ง ใครมีทุกขรอนถอยความประการใด ก็ยอมมารองใหชวย ดังหนึ่งทารกเมื่อมีเหตุแลว ก็มารองหาบิดามารดา เพราะฉะนั้นพระเจา แผนดินชื่อวาคนท้ังปวงยกยองใหเปนบิดามารดาของตัว แลวก็มีความกรุณาแกคนทั้งปวง ดังหนึ่งบิดามารดากรุณาแกบุตรจริง ๆ โดยสุจริต

Page 9: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

นอกจากนั้นการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวทรงพระผนวช ไดเสด็จธุดงคตาม

หัวเมืองตาง ๆ ก็ยิ่งเปนการสรางความผูกพันระหวางพระมหากษัตริยกับประชาชนอีกดวย เพราะได

ทรงรูจักวิถีชีวิตของราษฎรอยางแทจริง ในรัชกาลตอมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว

ก็ทรงไดรับการยอมรับจากขุนนางทั้งปวงอยาง “อเนกนิกรสโมสรสมมติ” ท่ีทั้งพระสงฆ พระราชวงศ

และขุนนางเห็นพองกันใหพระองคเสด็จขึ้นครองราชย

ตลอดเวลาที่ผานมานับแตสมัยสุโขทัยแมจะมีการเปล่ียนแผนดินหรือมีการเปล่ียนราชวงศ แต

แนวคิดระบบการปกครองแบบกษัตริยที่เคยมีมานั้นหาไดเปลี่ยนไปดวยไม ในระบอบประชาธิปไตย

พระมหากษัตริยทรงใชพระราชอำนาจผานกระบวนการ ๓ องคกร คือ อำนาจนิติบัญญัต ิบริหาร และ

ตุลาการ เสมือนผูแบงเบาพระราชภาระของพระองค แตพระมหากษัตริยก็ยังทรงมีพระมหากรุณา

พระราชทานพระบรมราโชวาทสั่งสอน ชี้นำแนวทางการดำเนินชีวิตท่ีถูกที่ควร มีศีลธรรมกำกับ ทั้ง

ทรงปฏิบัติพระองคเปนแบบอยาง ดวยพระมหากรุณาธิคุณนี้คนไทยจึงยังคงมีความผูกพันกับองค

พระมหากษัตริยมากเชนเดิม คนไทยมีคำเอยพระนามพระมหากษัตริยอยูหลายคำที่บงบอกความรูสึก

ยกยองเทิดทูนและผูกพันตอพระองค เชนคำวาพระเจาแผนดิน พระเจาอยูหัว เจาชีวิต ท้ัง ๓ คำน้ีมี

นัยสำคัญดังน้ี

พระเจาแผนดิน ตามรูปศัพทหมายถึงผูปกครองท่ีเปนเจาของแผนดิน คือผูนำที่มีสิทธิ์ขาดใน

กิจการของแผนดินและสามารถพระราชทานที่ดินใหแกผูใดผูหนึ่งได แตในสังคมไทยพระเจาแผนดิน

ทรงเปนเจาของแผนดินผูทรงบำรุงรักษาแผนดินใหมีความอุดมสมบูรณ เพื่อใหประชาชนสามารถ

ใชที่ดินในพระราชอาณาเขตของพระองคใหเกิดประโยชน เชน ทำการเพาะปลูกใหไดผล ตลอดจน

เอาพระราชหฤทัยใสในการบำรุงแผนดินใหมีความอุดมสมบูรณอยูเปนนิจ ดังท่ีปรากฏเปนโครงการ

พระราชดำริตาง ๆ ในปจจุบันนี้ และเปนที่ประจักษในสากลวาพระเจาแผนดินไทยทรงงานหนักที่สุด

ในโลก และทรงรักประชาชนของพระองคอยางแทจริง

พระเจาอยูหัว เปนคำเรียกพระเจาแผนดินที่แสดงความเคารพเทิดทูนอยางสูงสุดและเปนยอด

ของมงคลทั้งปวง พระเจาอยูหัวหรือพระพุทธเจาอยูหัวหมายถึงการยอมรับพระราชสถานะของพระเจา

แผนดินวาทรงเปนองคพระพุทธเจา ดังนั้นจึงทรงเปนที่รวมของความเปนมงคล สิ่งของตาง ๆ ที่

พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ พิธีกรรมตาง ๆ ที่จัดขึ้นโดยพระบรมราชโองการ และการไดเขาเฝา

ทูลละอองธุลีพระบาท หรือไดเห็นพระเจาอยูหัว จึงลวนแตเปนมงคลทั้งสิ้น

เจาชีวิต เปนคำเรียกพระเจาแผนดินที่แสดงพระราชอำนาจเหนือชีวิตคนทั้งปวงท่ีอยูในพระราช-

อาณาเขต คำคำน้ีอาจหมายถึงพระเจาแผนดินทีท่รงสิทธิ์ในการปกปองคุมครองชีวิตประชาชนใหพนภัย

วิบัติทั้งปวง หรือลงทัณฑผูกระทำผิดตอพระราชกำหนดกฎหมาย ตลอดจนทรงชุบชีวิตขาแผนดิน

ใหมีความสุขลวงความทุกข ทั้งนี้สุดแตพระเมตตาพระกรุณาธิคุณอันเปนลนพนของพระองค แตใน

สงัคมไทยปจจบุนัน้ัน คำวา เจาชวีติ หมายถึงพระเจาแผนดนิผูพระราชทานกำเนดิแนวคดิโครงการตาง ๆ

Page 10: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

แกประชาชน โดยมิไดทรงใชพระราชอำนาจลวงไปเกินขอบเขตแหงราชนีติธรรม แตทรงดำรงธรรมะ

เปนองคประกอบในการตัดสินวินิจฉัยเรื่องทั้งหลายทั้งปวงดวย

นอกจากน้ันยังปรากฏในคำท่ีประชาชนเรียกแทนตนเองวาขาพระพุทธเจา ซึ่งมีความหมาย

ลึกซึ้งวาพระมหากษัตริย หรือพระเจาแผนดิน หรือพระเจาอยูหัว หรือเจาชีวิตนั้นเปนเสมือนหนึ่ง

พระพุทธเจาผูทรงพระคุณอันประเสริฐ ประชาชนทุกคนตางไดพึ่งพระบารมีอยูเปนนิจเหมือนอยูใต

พระบรมโพธิสมภาร กลาวไดวาวัฒนธรรมการปกครองของสังคมไทยแมจะมีความเปล่ียนแปลงผาน

ยุคสมัยตาง ๆ ก็ยังคงรักษาแนวคิดเดิมคือความสัมพันธอันใกลชิดเปนหนึ่งเดียวกันระหวางพระมหา-

กษัตริยกับประชาชนและศาสนาไวไดเปนอยางดี เพราะไมวาเวลาจะผานไปนานเทาใด “พระราชาก็ยัง เปนกำลังของคนทุกขยาก” ซึ่งไดทรงสงเคราะหโดยท่ัวทุกชนชั้นวรรณะใหเกิดความผาสุกอยูเปนนิจ

ตรงตามหลักมนุษยธรรมในไตรภูมิพระรวงดังไดกลาวมาแลวขางตนอยางไมเสื่อมคลาย และทรง

เปนศูนยรวมความจงรักภักดีของคนไทยตลอดไป

Page 11: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

คำชี้แจง

นามานุกรมเปนหนังสืออางอิงประเภทหนึ่งท่ีมีลักษณะการเรียบเรียงคำอธิบาย โดยใหขอมูลท่ี

ละเอียดมากพอที่ผูคนควาจะเลือกนำไปใชประโยชนได และมีเอกสารอางอิงเพื่อใหสืบคนตอไปไดดวย

นามานุกรมพระมหากษัตริยไทยฉบับนี้ ไดรวบรวมรายพระนามพระมหากษัตริยไทยตั้งแตสมัย

สุโขทัยจนถึงปจจุบัน มาจัดทำคำอธิบายพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในแตละรัชกาลโดย

อาจจะมีประเด็นตาง ๆ ที่ถกเถียงทางประวัติศาสตรแทรกอยูดวย ในการเรียบเรียงไดมอบหมายให

นักวิชาการและผูทรงคุณวุฒิจากสถาบันตาง ๆ เปนผูเรียบเรียงคำอธิบาย โดยชื่อผูเรียบเรียงจะปรากฏ

อยูทายคำนั้น

โดยปกติการจัดทำนามานุกรมนั้นจะจัดเรียงคำหรือช่ือตามลำดับตัวอักษร จาก ก - ฮ ตามลำดับ

อักษรไทย แตสำหรับนามานุกรมรายพระนามพระมหากษัตริยไทยนี้ คณะบรรณาธิการมีความเห็นวา

สมควรเรียงลำดับเวลาตามประวัติศาสตร เพราะจะชวยใหเขาใจเหตุการณประวัติศาสตรตามลำดับได

ซึ่งจะเปนประโยชนแกผูใชมากกวา

ดังนั้นเนื้อหาทั้งหมดจึงแบงรายพระนามพระมหากษัตริยตามสมัยคือ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา

สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร อนึ่ง การสะกดพระนามของพระมหากษัตริยที่มีความแตกตางกัน

นั้น คณะบรรณาธิการเห็นวาเพื่อรักษาความเปนเอกสารประวัติศาสตร จึงไดดำเนินการดังนี้

๑. พระนามพระมหากษัตริยสุโขทัยใชตามท่ีคณะกรรมการชำระประวัติศาสตรไทยไดตรวจสอบ

ชำระจากจารึกหลักตาง ๆ ไวแลว

๒. พระนามพระมหากษัตริยอยุธยาต้ังแตรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจาอูทอง)

จนถึงรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น ไดสอบทานกับพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับ

หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ซึ่งมีการสะกดแตกตางกันบาง

๓. พระนามพระมหากษัตริยสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทรใชตามมติคณะกรรมการชำระ

ประวัติศาสตรไทย

วิธีใชนามานุกรมพระมหากษัตริย ไทย มีดังนี้ ๑. การเรียงลำดับพระนามพระมหากษัตริยใชตามลำดับเวลาทางประวัติศาสตร กลาวคือ

ในสมัยสุโขทัยเริ่มตนที่รัชกาลพอขุนศรีอินทราทิตย และส้ินสุดที่รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาที ่๔

(บรมปาล) รวม ๙ พระองค สมัยอยุธยาเริ่มตนท่ีรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจาอูทอง)

จนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจาเอกทัศ รวม ๓๓ พระองค แตเทาที่ปรากฏรายพระนามนั้นม ี๓๔ พระองค

Page 12: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

โดยรวมขุนวรวงศาธิราชไวดวย อยางไรก็ตามในพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจา

กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระบรมราชาธิบายเร่ืองพระราชกรัณยานุสรณในพระบาทสมเด็จพระ

จุลจอมเกลาเจาอยูหัว และพระอธิบายของสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ตางก็มิไดทรงกลาวถึงขุนวรวงศาธิราชในฐานะพระมหากษัตริยของอยุธยา

สมัยกรุงธนบุรีมีเพียงรัชกาลเดียว สวนสมัยรัตนโกสินทรเริ่มตนที่รัชกาลพระบาทสมเด็จ

พระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชถึงรัชกาลปจจุบัน คือรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพล-

อดุลยเดช

อนึง่ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหวั ไดทรงสถาปนาสมเด็จพระเจานองยาเธอ

เจาฟาจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค ขึ้นเปนพระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัวเสมอดวย

พระมหากษัตริยแหงสยาม คณะบรรณาธิการจึงนำขอมูลของพระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัว

เพิ่มตอจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวไวดวย

๒. พระมหากษัตริยที่มีพระนามเรียกมากกวา ๑ พระนามน้ัน พระนามอื่นจะอยูในวงเล็บ

๓. การใชอัญพจน มีดังนี้

๓.๑ ขอความที่เปนอัญพจนที่ปรากฏในคำอธิบายจะพิมพดวยตัวเอน และอยูใน

เครื่องหมายอัญประกาศ (“ ”)

๓.๒ ขอความท่ีเปนอัญพจนที่ไมปรากฏอยูรวมกับคำอธิบายจะพิมพดวยอักษรปกติ แต

มีขนาดตัวอักษรเล็กกวาคำอธิบาย

๔. คำหรือความที่มีความสำคัญจะพิมพดวยอักษรปกติ และอยูในเครื่องหมายอัญประกาศ

(“ ”)

๕. การเขียนชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือชื่อเฉพาะอื่น ๆ ที่ปรากฏในคำอธิบาย อาจเขียนตางกับ

พจนานุกรม หรือตางกับคำอธิบายชื่อนั้น ๆ ในเลมเดียวกัน เพราะเปนการเขียนตามตนฉบับเอกสาร

ที่ใชอางอิง

สำหรับภาพประกอบน้ัน คณะบรรณาธิการเห็นวาควรใชพระบรมราชานุสาวรียที่ประดิษฐาน

ตามจังหวัดตาง ๆ ซึ่งเปนพระบรมราชานุสาวรียที่ทางราชการจัดสรางขึ้น อยางไรก็ดีในปจจุบันนี ้

พระบรมราชานุสาวรียยังมีไมครบทุกรัชกาล ดังนั้นเพื่อใหหนังสือนามานุกรมพระมหากษัตริยไทยมี

ความสมบูรณและเกิดประโยชนตอผูใชในทุกระดับ คณะบรรณาธิการจึงไดเพิ่มภาพพระพุทธรูปประจำ

รัชกาลตาง ๆ ซ่ึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหจัดสรางข้ึนอุทิศ

พระราชกุศลถวาย และอาจเพิ่มเติมพระบรมรูป ภาพถายศิลาจารึก และโบราณสถานอ่ืน ๆ ตามความ

เหมาะสม

Page 13: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สารบัญ

พระราชนิพนธคำนำสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๕

สถาบันพระมหากษัตริยกับประเทศไทย ๖ พลตรี หมอมราชวงศศุภวัฒย เกษมศรี คำชี้แจง ๑๑

สารบัญ พระมหากษัตริย ไทยสมัยสุโขทัย

พอขุนศรีอินทราทิตย ๑๙ พอขุนบานเมือง ๒๒ พอขุนรามคำแหงมหาราช ๒๔ พระยาเลอไทย ๒๙ พระยาง่ัวนำถุม ๓๑ พระมหาธรรมราชาท่ี ๑ (ลือไทย, ลิไทย) ๓๓ พระมหาธรรมราชาท่ี ๒ ๓๗ พระมหาธรรมราชาท่ี ๓ (ไสลือไทย) ๔๐ พระมหาธรรมราชาท่ี ๔ (บรมปาล) ๔๓ ผังราชสกุลวงศสุโขทัย ๔๕

พระมหากษัตริยไทยสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจาอูทอง) ๔๙ สมเด็จพระราเมศวร ๕๓ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพองั่ว) ๕๖ สมเด็จพระเจาทองลัน ๕๙ สมเด็จพระเจารามราชา ๖๑ สมเด็จพระนครินทราธิราช ๖๔ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจาสามพระยา) ๖๘ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ๗๓

Page 14: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ๗๘ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ๘๒ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (หนอพุทธางกูร) ๘๖ สมเด็จพระรัษฎาธิราช ๘๙ สมเด็จพระไชยราชาธิราช ๙๒ สมเด็จพระแกวฟา (สมเด็จพระยอดฟา) ๙๗ ขุนวรวงศาธิราช ๑๐๐ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) ๑๐๕ สมเด็จพระมหินทราธิราช ๑๑๔ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจา ๑๑๗ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๑๒๐ สมเด็จพระเอกาทศรถ ๑๒๖ สมเด็จพระศรีเสาวภาคย ๑๒๙ สมเด็จพระเจาทรงธรรม ๑๓๒ สมเด็จพระเชษฐาธิราช ๑๓๗ สมเด็จพระอาทิตยวงศ ๑๔๐ สมเด็จพระเจาปราสาททอง ๑๔๒ สมเด็จเจาฟาไชย ๑๔๗

สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา ๑๔๙ สมเด็จพระนารายณมหาราช ๑๕๒ สมเด็จพระเพทราชา ๑๕๘ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ (พระเจาเสือ) ๑๖๒ สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ (พระเจาทายสระ) ๑๖๕ สมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศ ๑๖๘ สมเด็จพระเจาอุทุมพร ๑๗๒ สมเด็จพระเจาเอกทัศ (สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศนอมรินทร) ๑๗๗

พระมหากษัตริย ไทยสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจาตากสินมหาราช) ๑๘๓

Page 15: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระมหากษัตริย ไทยสมัยรัตนโกสินทร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช ๑๘๙ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย ๑๙๕ พระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ๒๐๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ๒๐๗ พระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัว ๒๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ๒๑๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว ๒๒๑ พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว ๒๒๘ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดล ๒๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช ๒๓๙

ภาคผนวก ที่มาของภาพ ๒๖๐ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ๒๖๑ คณะผูจัดทำ ๒๖๓

Page 16: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช
Page 17: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมัยสุโขทัย พระมหากษัตริยไทย

Page 18: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ จารึกพอขุนรามคำแหง ดานที่ ๑

Page 19: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พอขุนศรีอินทราทิตย

พอขุนศรีอินทราทิตยทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๑ แหงราชวงศพระรวงกรุงสุโขทัย

เสวยราชสมบัติตั้งแต พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึงปใดไมปรากฏ พระนามเดิมคือพอขุนบางกลางหาว มีมเหสีคือ

นางเสือง มีพระราชโอรส ๓ พระองค พระราชธิดา ๒ พระองค พระราชโอรสองคใหญสิ้นพระชนม

ตั้งแตทรงพระเยาว สวนพระราชโอรสองคที่ ๒ และ ๓ คือพอขุนบานเมืองและพอขุนรามคำแหง

ทรงครองราชยตอมาตามลำดับ เดมิพอขนุบางกลางหาวทรงเปนเจาเมอืงอยูทีใ่ดไมปรากฏ แตขอความ

ในศิลาจารึกหลักที่ ๒ ทำใหทราบวาอยูใตเมืองบางยางลงไป มีผูเสนอความเห็นวาพอขุนบางกลางหาว

นาจะอยูแถวกำแพงเพชร

กอนราชวงศพระรวงอาณาจักรสุโขทัยมีราชวงศพอขุนศรีนาวนำถุมครองอยู ในรัชสมัยของ

พอขุนศรีนาวนำถุมซึ่งเริ่มประมาณ พ.ศ. ๑๗๖๒ อาณาจักรสุโขทัยครอบคลุมถึงเมืองฉอด (ใกลแมน้ำ

เมย) ลำพูน นาน พิษณุโลก ตอมาอาณาจักรสุโขทัยตกอยูใตอำนาจขอมสบาดโขลญลำพง จนกระท่ัง

พอขุนผาเมืองโอรสของพอขุนศรีนาวนำถุมทรงรวมมือกับพอขุนบางกลางหาวขับไลขอมสบาดโขลญ

ลำพงไป พอขุนบางกลางหาวทรงยึดเมืองศรีสัชนาลัยไดและทรงเวนเมืองใหพอขุนผาเมือง พอขุน

ผาเมืองจึงอภิเษกพอขุนบางกลางหาวเปนกษัตริยสุโขทัย พอขุนผาเมืองซ่ึงเปนพระชามาดา (ลูกเขย)

ของกษัตริยขอมทรงยกพระนามศรีอินบดินทราทิตยซึ่งพระองคไดรับมาจากกษัตริยขอมมอบใหแก

พอขุนบางกลางหาว แตพอขุนบางกลางหาวทรงใชพระนามวา พอขุนศรีอินทราทิตย บางทีอาจจะ

ทรงเห็นวาพระนามเดิมมาจากคำ อินทรปต + อินทร + อาทิตย แสดงวาอยูใตอินทรปตซึ่งเปน

เมืองหลวงของขอม (ดังปรากฏในจารึกหลักที่ ๒) ก็เปนได

การที่พอขุนผาเมืองทรงยกสุโขทัยและอภิเษกพอขุนบางกลางหาวเปนกษัตริย อาจจะทรงเห็น

วาสุโขทัยในขณะน้ันเปนเมืองเล็กกวาศรีสัชนาลัย หรืออาจจะเปนเพราะวานางเสือง พระมเหสีของ

พอขุนบางกลางหาวเปนพระภคินี (พี่สาว) ของพอขุนผาเมือง พอขุนบางกลางหาวจึงทรงมีสิทธทิี่จะได

ครองเมืองกอนพอขุนผาเมืองก็เปนได

พอขุนผาเมืองเปนเจาเมืองราด มีพระอนุชาคือพระยาคำแหงพระรามครองเมืองสระหลวง

สองแคว (พิษณุโลก) โอรสของพระยาคำแหงพระราม คือ มหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เมื่อเปน

ฆราวาสมีฝมือในการสูรบ ไดชนชางชนะหลายครั้ง รูศิลปศาสตรหลายประการ ขณะอายุ ๓๐ ป

มีบุตรแตเสียชีวิต มหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีจึงออกบวช ไดไปปลูกตนโพธิ์ สรางพิหาร อาวาส และ

ซอมแซมพระศรีรัตนมหาธาตุทั้งในและนอกประเทศ เชน พมา อินเดีย และลังกา

Page 20: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

อนึ่ง เมืองราดตั้งอยูที่ใด มีผูสันนิษฐานไวตาง ๆ กัน สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา

ดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานวาเมืองราดนาจะอยูที่เพชรบูรณและเมืองลุมคือเมืองหลมเกา แต

ผูเขียน (ประเสริฐ ณ นคร) วางตำแหนงเมืองราด เมืองสะคา และเมืองลุมบาจายไวที่ลุมแมน้ำนาน

ดวยเหตุผลดังตอไปนี้

จากจารึกหลักที่ ๒ ทำใหทราบวา เมืองราด เมืองสะคา และเมืองลุมบาจาย เปนกลุมเมืองที่อยู

ใกลกัน พอขุนผาเมืองอยูเมืองราด และกษัตริยนานมีพระนามผานอง ผากอง และผาสุม แตกษัตริย

เมืองอื่นไมใช “ผา” นำหนาพระนามเลย พอขุนผาเมืองจึงนาจะเปนกษัตริยนาน (คือ เมืองราดนั่นเอง)

นอกจากนี้ยังมีพระราชโอรสของกษัตริยนานมีพระนามวาบาจาย อาจจะแสดงวานานมีอำนาจเหนือ

บาจาย แบบพระนามกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ แสดงวากรุงเทพฯ มีอำนาจเหนือราชบุรีนั่นเอง

อีกประการหนึ่ง จารึกหลักที่ ๘ กลาวถึงไพรพลของพระเจาลิไทยวา มีทั้งชาวสระหลวง สอง

แคว พระบาง ฯลฯ เริ่มตั้งแตเมืองทางทิศตะวันออกของสุโขทัย แลวกวาดไปทางใต ทางทิศตะวันตก

ทางทิศเหนือ จนกลับมาจบที่ทิศตะวันออกตามเดิม จารึกหลักอื่นเชนหลักท่ี ๓๘ และจารึกวัด

อโสการาม (หลักที่ ๙๓) ก็ใชระบบเดียวกัน โดยถือตามพระพุทธศาสนาวา ตะวันออกเปนทิศหนาแลว

วนตามเข็มนาฬกา เริ่มจากสระหลวง สองแควคือพิษณุโลก ไปปากยม (พิจิตร) พระบาง ไปชากังราว

สุพรรณภาว กำแพงเพชร รวม ๓ เมืองที่กำแพงเพชร บางพาน (อำเภอพานกระตาย กำแพงเพชร)

ตอไปจะถึงราด สะคา ลุมบาจายซึ่งจะอยูระหวางทิศเหนือกวาดมาทางทิศตะวันออกของสุโขทัยและ

ยอมจะอยูเหนือสระหลวง สองแควขึ้นไป จารึกหลักท่ี ๑ วางลุมบาจายและสะคาไวระหวางพิษณุโลก

กับเวียงจันทน

อีกประการหนึ่ง ตอนพอขุนผาเมืองยกมาชวยพอขุนบางกลางหาวรบกับขอมสบาดโขลญลำพง

ที่สุโขทัย ถาหากพอขุนผาเมืองอยูแถวเพชรบูรณ คงจะมาชวยไมทัน

สินชัย กระบวนแสง จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พบใบลานที่วัดชางค้ำ เมือง

นาน กลาวถึงเหตุการณสมัยรัชกาลที่ ๒ วา เจาผูครองนานข้ึนตามแมน้ำนานไปถึงอำเภอทาปลา

(ปจจุบันคือจังหวัดอุตรดิตถ) ใกลหวยแมจริม “เมืองราดเกาหั้น” แสดงวาสมัยตนรัตนโกสินทรยัง

ทราบกันดีวา เมืองราดอยูบนแมน้ำนานใกลอำเภอทาปลา

ประเสริฐ ณ นคร

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. ประชุมจารึกภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๔๘.

Page 21: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ศิลาจารึกหลักที่ ๔๕ จารึกปูขุนจิดขุนจอด

Page 22: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พอขุนบานเมือง

พอขุนบานเมืองทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๒ แหงราชวงศพระรวงกรุงสุโขทัย เปน

พระราชโอรสของพอขุนศรีอินทราทิตย พอขุนรามคำแหงมหาราชเปนพระอนุชาของพระองค พอขุน

บานเมืองทรงครองราชยตอจากพอขุนศรีอินทราทิตยจนถึง พ.ศ. ๑๘๒๒ พระนามปรากฏในจารึก

หลักที่ ๑ และหลักที่ ๔๕ คนทั่วไปมักจะเขาใจผิดวาพระนามของพระองคคือบาลเมือง ท้ังนี้เพราะ

สมัยกอนพระภิกษุสงฆเปนผูจดบันทึกประวัติศาสตร จึงมักจะแปลงพระนามเปนภาษาบาลีไป พอขุน

บานเมืองเสวยราชสมบัติในปใดไมปรากฏ

อน่ึง ปเสวยราชสมบัติของพระมหากษัตริยสุโขทัยแตกตางกันไปในเอกสารปจจุบัน เนื่องจาก

แตเดิมสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแบงเวลาครองราชสมบัติไวคราว ๆ

เพื่อเปนแนวทางการศึกษา โดยเฉล่ียวาพระมหากษัตริยสุโขทัยแตละพระองคทรงครองราชสมบัติ

ประมาณ ๒๐ ป เมื่อมีหลักฐานเพ่ิมเติมก็จะปรับศักราชใหมตามหลักฐาน รัชกาลพอขุนศรีอินทราทิตย

พ.ศ. ๑๗๘๐-พ.ศ. ๑๘๐๐ รัชกาลพอขุนบานเมือง พ.ศ. ๑๘๐๐-พ.ศ. ๑๘๒๐ รัชกาลพอขุน

รามคำแหงมหาราช พ.ศ. ๑๘๒๐-พ.ศ. ๑๘๖๐ ทรงเพ่ิมเวลาให เพราะทรงทราบวาพอขุนรามคำแหง

มหาราชทรงใชเวลาขยายอาณาจักรออกไปกวางขวางมากกวารัชกาลอื่น

ประเสริฐ ณ นคร

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. ประชุมจารึกภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๔๘.

Page 23: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมราชานุสาวรียพอขุนรามคำแหงมหาราช ประดิษฐาน ณ อุทยานประวัติศาสตรสุโขทัย

Page 24: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พอขุนรามคำแหงมหาราช

พอขุนรามคำแหงมหาราชเสวยราชยประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๒ ถึงประมาณ พ.ศ. ๑๘๔๑

ทรงเปนพระมหากษัตริยพระองคที่ ๓ แหงราชวงศพระรวงกรุงสุโขทัย พระองคทรงรวบรวมอาณาจักร

ไทยขึ้นเปนปกแผนกวางขวาง ทั้งยังไดทรงประดิษฐตัวอักษรไทยข้ึน ทำใหชาวไทยไดสะสมความรูทาง

ศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการตาง ๆ สืบทอดกันมากวา ๗๐๐ ป

พอขุนรามคำแหงเปนพระราชโอรสองคที ่๓ ของพอขุนศรีอินทราทิตยกับนางเสือง พระเชษฐา

องคแรกสิ้นพระชนมตั้งแตยังทรงพระเยาว พระเชษฐาองคที่ ๒ ทรงพระนามตามศิลาจารึกวา พระยา

บานเมือง ไดเสวยราชยตอจากพระราชบิดา เมื่อสิ้นพระชนมแลวพอขุนรามคำแหงจึงไดเสวยราชย

ตอมา

ตามพงศาวดารโยนก พอขุนรามคำแหงมหาราชแหงสุโขทัย พระยามังรายมหาราช (หรือ

พระยาเม็งราย) แหงลานนา และพระยางำเมืองแหงพะเยา เปนศิษยรวมพระอาจารยเดียวกัน ณ

สำนักพระสุกทันตฤๅษีที่เมืองละโว จึงนาจะมีอายุรุนราวคราวเดียวกัน พระยามังรายประสูติเมื่อ พ.ศ.

๑๗๘๒ พอขุนรามคำแหงนาจะประสูติในปใกลเคียงกันนี้

เมื่อพอขุนรามคำแหงมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษา พระองคไดทรงทำยุทธหัตถีมีชัยตอขุนสามชน

เจาเมืองฉอด (อยูริมแมน้ำเมยใกลจังหวัดตาก แตอาจจะอยูในเขตประเทศพมาในปจจุบัน) พอขุน

ศรีอินทราทิตยจึงทรงขนานพระนามพอขุนรามคำแหงวา “พระรามคำแหง” สันนิษฐานวาพระนามเดิม

ของพระองคคือ “ราม” เพราะปรากฏพระนามเม่ือเสวยราชยแลววา “พอขุนรามราช” อนึ่ง สมัยนั้น

นิยมนำชื่อปูมาตั้งเปนชื่อหลาน พระราชนัดดาของพระองคมีพระนามวา “พระยาพระราม” (จารึก

หลักที่ ๑๑) และในชั้นพระราชนัดดาของพระราชนัดดามีเจาเมืองพระนามวา “พระยาบาลเมือง” และ

“พระยาราม” (เหตุการณ พ.ศ. ๑๙๖๒) ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐ

อักษรนิติ์

ตรี อมาตยกุล ไดเสนอวา พอขุนรามคำแหงนาจะเสวยราชย พ.ศ. ๑๘๒๒ เพราะเปนปที่ทรง

ปลูกตนตาลท่ีสุโขทัย ประเสริฐ ณ นคร จึงไดหาหลักฐานมาประกอบวา กษัตริยไทอาหมทรงปลูก

ตนไทรครั้งขึ้นเสวยราชย อยางนอย ๗ รัชกาลดวยกัน ทั้งนี้เพื่อสรางโชคชัยวารัชกาลจะอยูยืนยง

เหมือนตนไม อนึ่งตนตาลและตนไทรเปนตนไมศักดิ์สิทธิ์ของลังกา

รัชสมัยของพอขุนรามคำแหงเปนยุคที่กรุงสุโขทัยเฟองฟูและเจริญขึ้นกวาเดิมเปนอันมาก ระบบ

การปกครองภายในกอใหเกิดความสงบเรียบรอยอยางมีประสิทธิภาพ มีการติดตอสัมพันธกับ

ตางประเทศท้ังในดานเศรษฐกิจและการเมือง ไพรฟาประชาชนอยูดีกินดี สภาพบานเมืองกาวหนาท้ัง

Page 25: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ทางเกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยไดขยายออก

ไปกวางใหญไพศาล

พอขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐอักษรไทยขึ้นใชเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ทำใหอนุชนสามารถ

ศึกษาความรูตาง ๆ ไดสืบเนื่องกันมาจนถึงปจจุบัน ตัวหนังสือไทยของพอขุนรามคำแหงมหาราชมี

ลักษณะพิเศษกวาตัวหนังสือของชาติอื่นซึ่งขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช คือพระองคไดประดิษฐ

พยัญชนะ สระ และวรรณยุกตเพิ่มขึ้นใหสามารถเขียนแทนเสียงพูดของคำภาษาไทยไดทุกคำ และ

ไดนำสระและพยัญชนะมาอยูในบรรทัดเดียวกันโดยไมตองใชพยัญชนะซอนกัน ทำใหเขียนและอาน

หนังสือไทยไดงายและสะดวกย่ิงขึ้นมาก นับวาพระองคทรงพระปรีชาล้ำเลิศ และทรงเห็นการณไกล

อยางหาผูใดเทียบเทียมไดยาก

ในดานการปกครอง เม่ือพอขุนศรีอินทราทิตยทรงขจัดอิทธิพลของเขมรออกไปจากเมืองสุโขทัย

ไดในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ การปกครองของกษัตริยสุโขทัยเปนแบบพอปกครองลูก ดังขอความใน

จารึกหลักที่ ๑ วา “เมื่อชั่วพอกู กูบำเรอแกพอกู กูบำเรอแกแมกู กูไดตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแกพอกู กูไดหมากสมหมากหวาน อันใดกินอรอยกินดี กูเอามาแกพอกู กูไปตีหนังวังชางได กูเอามาแกพอกู กไูปทอบานทอเมอืง ไดชางไดงวงไดปวไดนาง ไดเงือนไดทอง กเูอามาเวนแกพอก”ู ขอความดงักลาว

แสดงการนับถือพอแม และถือวาความผูกพันในครอบครัวเปนเรื่องสำคัญ ครอบครัวท้ังหลายรวมกัน

เขาก็เปนเมืองหรือรัฐ มีเจาเมืองหรือพระมหากษัตริยเปนหัวหนาครอบครัว พระมหากษัตริยเปรียบ

เสมือนหัวหนาครอบครัวใหญ ปกครองพลเมืองเสมือนเปนลูกหลาน ชวยใหมีที่ทำกิน คอยปองกันมิให

คนถิ่นอื่นมาแยงชิงถิ่น ถาลูกหลานทะเลาะวิวาทกัน ก็ตัดสินคดีดวยความเปนธรรม

พระมหากษัตริยมีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดที่จะบริหารราชการแผนดิน ทำศึกสงครามตลอดจน

พิพากษาอรรถคดี แตก็มิไดใชพระราชอำนาจเฉียบขาดอยางกษัตริยเขมร ดังปรากฏขอความในจารึก

หลักที่ ๑ วา ราษฎรสามารถคาขายไดโดยเสรี เจาเมืองไมเรียกเก็บจังกอบ หรือภาษีผานทาง ผูใด

ลมตายลง ทรัพยสมบัติตกเปนมรดกแกลูก หากผูใดไมไดรับความเปนธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิ์

ไปสั่นกระด่ิงถวายฎีกาตอพระมหากษัตริยได

ยิ่งกวานั้น พอขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใชพระพุทธศาสนาเปนเครื่องชวยในการปกครอง

โดยไดทรงสรางพระแทนมนังศิลาบาตรขึ้น ใหพระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแกประชาชน

ในวันพระ สวนวันธรรมดาพระองคเสด็จประทับเปนประธานใหเจานายและขาราชการปรึกษาราชการ

รวมกัน เมื่อประชาชนเล่ือมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาและประพฤติปฏิบัติแตในทางท่ีดีที่ชอบ การ

ปกครองก็จะสะดวกงายดายย่ิงขึ้น

ในดานอาณาเขต พอขุนรามคำแหงมหาราชไดทรงขยายอาณาเขตออกไปอยางกวางขวาง คือ

ทางทิศตะวันออกทรงปราบไดเมืองสระหลวง สองแคว (พิษณุโลก) ลุมบาจาย สะคา (สองเมืองนี้อาจ

อยูแถวลุมแมน้ำนานหรือแควปาสักก็ได) ขามฝงแมน้ำโขงไปถึงเวียงจันทน เวียงคำในประเทศลาว

Page 26: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ทางทิศใตพระองคทรงปราบไดคนที (บานโคน กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค) แพรก (ชัยนาท)

สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช มีฝงทะเลสมุทร (มหาสมุทร) เปนเขตแดน ทางทิศ

ตะวันตกพระองคทรงปราบไดเมืองฉอด เมืองหงสาวดี และมีมหาสมุทรเปนเขตแดน ทางทิศเหนือ

พระองคทรงปราบไดเมืองแพร เมืองนาน เมืองพลัว (อำเภอปว จังหวัดนาน) ขามฝงโขงไปถึงเมืองชวา

(หลวงพระบาง) เปนเขตแดน

ในดานความสัมพันธกับตางประเทศ พอขุนรามคำแหงมหาราชทรงสรางพระราชไมตรีกับ

พระยามังรายแหงลานนาและพระยางำเมืองแหงพะเยาทางดานเหนือ และทรงยินยอมใหพระยามังราย

ขยายอาณาเขตลานนาทางแมน้ำกก แมน้ำปง และแมน้ำวังไดอยางสะดวก เพ่ือใหเปนกันชนระหวาง

จีนกับสุโขทัย และยังไดเสด็จไปทรงชวยเหลือพระยามังรายหาชัยภูมิสรางเมืองเชียงใหมเมื่อ พ.ศ.

๑๘๓๙ ดวย

ทางประเทศมอญ มีพอคาไทยใหญชื่อมะกะโทไดเขารับราชการอยูในราชสำนักของพอขุน

รามคำแหงมหาราช มะกะโทไดผูกสมัครรักใครกับพระราชธิดาของพอขุนรามคำแหงมหาราชแลว

พากันหนีไปอยูเมืองเมาะตะมะ ตอมาไดฆาเจาเมืองเมาะตะมะแลวเปนเจาเมืองแทนเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๔

แลวขอพระราชทานอภยัโทษตอพอขนุรามคำแหงมหาราช และไดรบัพระราชทานนามเปนพระเจาฟารัว่

และยินยอมเปนประเทศราชของกรุงสุโขทัย

ทางทิศใตพอขุนรามคำแหงมหาราชไดทรงอัญเชิญพระมหาเถรสังฆราชผูเรียนจบพระไตรปฎก

มาจากนครศรีธรรมราช เพ่ือใหเผยแผพระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย

สวนเมืองละโวยังเปนเอกราชอยู เพราะปรากฏวาระหวาง พ.ศ. ๑๘๓๔-พ.ศ. ๑๘๔๐ ยังสง

เครื่องบรรณาการไปเมืองจีนอยู พอขุนรามคำแหงมหาราชคงจะไดทรงผูกไมตรีเปนมิตรกับเมืองละโว

พอขุนรามคำแหงมหาราชทรงสงราชทูตไปเมืองจีน ๓ ครั้ง เพื่อแสดงความเปนมิตรไมตรีกับประเทศ

จีน

วรรณกรรมสมัยพอขุนรามคำแหงมหาราชสูญหายไปหมดแลว คงเหลือแตจารึกหลักที่ ๑ (พ.ศ.

๑๘๓๕) ซ่ึงแมจะมีขอความเปนรอยแกว แตก็มีสัมผัสคลองจองกันทำใหไพเราะ เชน “ในน้ำมีปลา ในนามีขาว...ลูทางเพื่อนจูงวัวไปคา ขี่มาไปขาย...เห็นขาวทานบใครพีน เห็นสินทานบใครเดือด”

นับเปนวรรณคดีเริ่มแรกของกรุงสุโขทัย ซึ่งตกทอดมาถึงปจจุบันโดยมิไดมีผูมาคัดลอกใหผิดเพี้ยนไป

จากเดิม

จดหมายเหตุจีนระบุวา พอขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตใน พ.ศ. ๑๘๔๑ พระยาเลอไทยซ่ึง

เปนพระราชโอรสเสวยราชยตอมา

ประเสริฐ ณ นคร

Page 27: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เอกสารอางอิง

คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพเอกสารทางประวัติศาสตร. ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๑. กรุงเทพฯ: สำนัก

ราชเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ๒๕๒๑.

ตรี อมาตยกุล. “ประวัติศาสตรสุโขทัย.” แถลงงานประวัติศาสตรเอกสารโบราณคดี. ปที่ ๑๔ เลม ๑ (๒๕๒๓) ปที่ ๑๕

เลม ๑ (๒๕๒๔) ปที่ ๑๖ เลม ๑ (๒๕๒๕) และปที่ ๑๘ เลม ๑ (๒๕๒๗).

ประชากิจกรจักร, พระยา. พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๕.

ประเสริฐ ณ นคร. “ประวัติศาสตรสุโขทัยจากจารึก.” ใน งานจารึกและประวัติศาสตรของประเสริฐ ณ นคร. นครปฐม:

โรงพิมพศูนยสงเสริมและฝกอบรมการเกษตรแหงชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร กำแพงแสน, ๒๕๓๔.

. “ลายสือไทย.” ใน งานจารึกและประวัติศาสตรของประเสริฐ ณ นคร. นครปฐม: โรงพิมพศูนยสงเสริมและ

ฝกอบรมการเกษตรแหงชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร กำแพงแสน, ๒๕๓๔.

พระคลัง (หน), เจาพระยา. ราชาธิราช. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, ๒๕๑๕.

Page 28: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ศิลาจารึกหลักที่ ๒ จารึกวัดศรีชุม

Page 29: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระยาเลอไทย

พระยาเลอไทยทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๔ แหงราชวงศพระรวงกรุงสุโขทัย เปน

พระราชโอรสของพอขุนรามคำแหงมหาราช และเปนพระราชบิดาของพระมหาธรรมราชาท่ี ๑

(ลือไทย, ลิไทย) พระยาเลอไทยเสวยราชสมบัติ พ.ศ. ๑๘๔๑-พ.ศ. ๑๘๖๖

ศลิาจารกึหลกัที ่๒ กลาวถงึพระยาเลอไทยวา “หลานพอขุนศรอีนิทราทิตย ผูหนึง่ชือ่ธรรมราชา พุล (คือเกิด) รูบุญรูธรรมมีปรีชญาแกกม (ปรีชามากมาย) บมิกลาวถี่เลย” ในปจจุบันยังไมปรากฏ

หลักฐานรายละเอียดเกี่ยวกับพระองคเลย

ปที่พระยาเลอไทยเสด็จขึ้นครองราชย ไดหลักฐานจากจดหมายเหตุจีนซึ่งบันทึกวาพระองคได

ทรงสงราชทูตไปถึงเมืองจีนในตน ค.ศ. ๑๒๙๙ ซึ่งเปนปที่พอขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคต คือ พ.ศ.

๑๘๔๑ (สมัยเดิมถาเปนเดือนมกราคมถึงมีนาคม ตองใช ๕๔๒ บวก ถาเปนเดือนเมษายนถึงธันวาคม

จึงจะใช ๕๔๓ บวก อยางไรก็ดี เรือออกเดินทางไปกอนนั้นหลายเดือน พอขุนรามคำแหงมหาราชจึง

สวรรคตเมื่อปลาย ค.ศ. ๑๒๙๘ ตรงกับ พ.ศ. ๑๘๔๑) สวนปสิ้นรัชกาลพระยาเลอไทย คือ พ.ศ.

๑๘๖๖ ซ่ึงสันนิษฐานวาเปนปที่ ๑ ในรัชกาลของพระยางั่วนำถุม

ประเสริฐ ณ นคร

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. ประชุมจารึกภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๔๘.

Page 30: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย

Page 31: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระยางั่วนำถุม

พระยาง่ัวนำถุมทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๕ แหงราชวงศพระรวงกรุงสุโขทัย เสวย

ราชสมบัติตั้งแต พ.ศ. ๑๘๖๖-พ.ศ. ๑๘๙๐ ชินกาลมาลีปกรณกลาวไววา พระองคเปนพระราชโอรส

ของพอขุนบานเมือง พระยาง่ัวนำถุมทรงสถาปนาพระยาลือไทย (พระมหาธรรมราชาท่ี ๑) ใหเปน

พระมหาอุปราช ทรงครองเมืองศรีสัชนาลัยเมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๓

หลังจากป พ.ศ. ๑๘๔๑ ซึ่งเปนปสวรรคตของพอขุนรามคำแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัย

ก็แตกสลาย เมืองตาง ๆ ตั้งตัวเปนเอกราช เชน เมืองคนที (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค)

เชียงทอง (ระแหงตาก) มาถึงรัชสมัยพระมหาธรรมราชาท่ี ๑ (ลือไทย) จึงทรงขยายอาณาจักรสุโขทัย

ออกไปใหม (จารึกหลักที่ ๓)

ปเสวยราชสมบัติของพระยาง่ัวนำถุมคือ พ.ศ. ๑๘๖๖ ซ่ึงคำนวณจากปที่พระยาลิไทย

(ลือไทย) แตงไตรภูมิพระรวงคือประกา ศักราช ๒๓ (เมื่อพระยาลิไทยทรงครองราชสมบัติในเมือง

ศรีสัชนาลัยได ๖ ป) เมื่อเทียบกับจารึกหลักที่ ๕ ซ่ึงกลาววาเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๔ พระยาลิไทยเสวยราชย

ในเมืองศรีสัชนาลัยได ๒๒ ป (คือ ๑๖ ปหลังจากทรงพระราชนิพนธไตรภูมิพระรวง) คือศักราช

๒๓ + ๑๖ เทากับศักราช ๓๙ เอา ๓๘ ลบ จะไดศักราช ๑ ซ่ึงตรงกับ พ.ศ. ๑๘๖๖ ถือเปนปที่พระยา

งั่วนำถุมครองราชย

สวนปสวรรคตของพระยาง่ัวนำถุมคำนวณไดจากปที่พระยาลิไทยทรงยกกองทัพไปปราบสุโขทัย

ใน พ.ศ. ๑๘๙๐ แลวเสด็จขึ้นเสวยราชย (จารึกหลักที่ ๔) อาจจะเปนเพราะพระโอรสของพระยา

งั่วนำถุมจะเสวยราชยสืบแทนพระราชบิดา พระยาลิไทยซึ่งทรงดำรงตำแหนงมหาอุปราชจึงตองเสด็จ

ไปปราบปรามก็เปนได

ประเสริฐ ณ นคร

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. ประชุมจารึกภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๔๘.

ชินกาลมาลีปกรณ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.

ลิไทย, พระญา. ไตรภูมิพระรวง. นนทบุรี: เจริญอักษรการพิมพ, ๒๕๑๕.

Page 32: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ศิลาจารึกหลักที่ ๓ จารึกนครชุม

Page 33: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระมหาธรรมราชาท่ี ๑ (ลือไทย, ลิไทย)

พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๖ แหงราชวงศพระรวง

กรงุสโุขทยั เปนพระราชโอรสของพระยาเลอไทยและเปนพระราชนัดดา (หลานปู) ของพอขุนรามคำแหง

มหาราช ชาวสวรรคโลกสุโขทัยนับถือพระรวงและพระลือยิ่งกวากษัตริยสุโขทัยพระองคอื่น เพราะ

พระรวงคือพอขุนรามคำแหงมหาราชและพระลือคือพระยาลือไทย ทรงรวบรวมดินแดนอาณาจักร

สุโขทัยใหกวางขวางออกไป

พระยาลือไทยทรงเปนพระมหาอุปราชอยู ณ เมืองศรีสัชนาลัยตั้งแต พ.ศ. ๑๘๘๓ ระหวางนั้น

ไดทรงพระนิพนธไตรภูมิพระรวงใน พ.ศ. ๑๘๘๘ ตอมาใน พ.ศ. ๑๘๙๐ จึงไดเสวยราชยครองกรุง

สุโขทัยจนถึง พ.ศ. ๑๙๑๑

เมื่อพอขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตใน พ.ศ. ๑๘๔๑ แลว อาณาจักรสุโขทัยแตกสลาย เมือง

ตาง ๆ เชน เมืองคนที (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค) เชียงทอง (ระแหงตาก) ตั้งตัวเปนเอกราช

มาถึงรัชสมัยพระยาลือไทย พระองคทรงขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไปใหม (จารึกหลักที่ ๓) แต

ไมกวางขวางเหมือนเดิม ทางทิศใตไปถึงพระบาง (นครสวรรค) คนที (กำแพงเพชร) ทรงตีไดเมืองแพร

(จารึกหลักที่ ๙) และตามจารึกหลักที่ ๘ ดานที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ ทรงตีไดเมืองนานและเชาบุรี (ชวา

หรือหลวงพระบาง) เดิมอานไววา นำ...บุรี และทรงมีเมืองเหลานี้เปนบริวาร เร่ิมตั้งแตสระหลวง สอง

แคว (พิษณุโลก) ทางทิศตะวันออกของสุโขทัย เวียนตามเข็มนาฬกาไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต ตอไป

ทางทิศใตมีเมืองปากยม (พิจิตร) พระบาง (นครสวรรค) ชากังราว สุพรรณภาว นครพระชุม

(กำแพงเพชร) กวาดไปทางทิศตะวันตก ทิศเหนือ กลับไปทิศตะวันออก ซ่ึงรวมถึงเมืองราด สะคา

ลุมบาจาย (นาจะอยูแถวอุตรดิตถ ไมใชเพชรบูรณ เพราะตองอยูเหนือสระหลวง สองแคว ขึ้นไป)

ตามพงศาวดารโยนกและชินกาลมาลีปกรณวาอยุธยายึดชัยนาท (พิษณุโลก) ได พระยาลือไทย

ทูลขอคืนจากอยุธยาได แลวทรงไปครองชัยนาทแตนั้นมา อาจสันนิษฐานไดวา พ.ศ. ๑๙๐๔ พระยา

ลือไทยทรงพระผนวช อยุธยาจึงมายึดพิษณุโลกได พระยาลือไทยทรงขอพิษณุโลกคืนได จึงทรงครอง

พิษณุโลกเปนเมืองหลวงจนสิ้นรัชกาล

จารึกหลักที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๐๕๒ กลาวถึงศาสนาวามี ๑. พุทธศาสน ๒. ไสยศาสตร และ

๓. พระเทพกรรม ในจารกึหลกัอืน่นอกจากไสยศาสตรยงัมคีำวา ไศพาคม ซึง่หมายถงึศาสนาพราหมณ

แตไมมีใครทราบวาพระเทพกรรมหมายถึงอะไร อาจจะเปนเรื่องถือผี ถือเทพารักษ ทางลานนา

สมยันัน้นับถอืพวกเสือ้ เสือ้นา เสือ้ฝาย ฯลฯ สุโขทัยมผีพีระขพงุ เปนตน อน่ึง กอนไปคลองชาง ตอง

มีพิธีบวงสรวงพระเทพกรรม ไดแก พระคเณศและพระขันธกุมาร

Page 34: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระยาลือไทยทรงศึกษาศาสนาพุทธอยางลุมลึกและทรงพระปรีชาสามารถในศิลปศาสตร ๑๘

ประการ เชน ทรงรูจักชื่อดาวกวาพันดวง ทรงเชี่ยวชาญทางโหราศาสตรและพฤฒิบาศ เปนตน ทรง

คำนวณวันเดือนปที่พระพุทธเจาประสูติ ตรัสรู วันสิ้นศาสนา (จารึกหลักที่ ๓) วันสิ้นกัลป (จารึกหลัก

ที่ ๗) ถูกตองตามคัมภีร ทรงแกไขปฏิทินใหถูกตอง ทรงปญจศีลทุกเวลา ทรงพระไตรปฎก ทรง

พร่ำสอนพระวินัย พระอภิธรรมใหพระภิกษุสงฆ ทรงกอพระเจดีย ปลูกตนศรีมหาโพธิ์ ทรงสงคน

ไปจำลองพระพุทธบาทที่สุมนกูฏบรรพตมาประดิษฐานไวบนเขาในเมืองที่พระองคทรงขยายอาณาเขต

ไปถึง พ.ศ. ๑๙๐๔ ทรงอัญเชิญพระมหาสามีสังฆราชจากนครพัน (เมืองเมาะตะมะเกา) มาจำพรรษา

ในปามะมวงและพระองคทรงพระผนวชในปนั้น เมื่อทรงลาสิกขาแลวเสด็จไปประทับท่ีพิษณุโลก

ตำนานมูลศาสนากลาววา พระสงฆลัทธิลังกาวงศ (เกา) นำศาสนามาจากนครพันและถือเอา

เมืองพิษณุโลกเปนเมืองศูนยกลางเผยแผพระพุทธศาสนาไปยังอโยธยา ชวา (หลวงพระบาง) นาน

สุโขทัย และเชียงใหม พระยาลือไทยทรงอุปถัมภศาสนาอื่นดวย เชน พ.ศ. ๑๘๙๒ เสด็จไปประดิษฐาน

รูปพระมเหศวร รูปพระวิษณุในหอเทวาลัยมหาเกษตรในปามะมวง (จารึกหลักท่ี ๘)

พระยาลือไทยทรงยึดหลักปฏิบัติอยางมีมนุษยธรรมตอเชลยศึก (จารึกหลักที่ ๕) เมื่อประชาชน

สิ้นชีวิตก็ใหทรัพยสมบัติตกเปนของลูกและนอง (จารึกหลักท่ี ๓) ทรงดำริใหยกพนังจากพิษณุโลกมาถึง

สุโขทัยเพื่อการชลประทานและการประมงของประชาชน (จารึกหลักท่ี ๘)

การควบคุมกำลังพลของสุโขทัยคงเปนแบบเดียวกับวิธีการของลานนาท่ีปรากฏในมังรายศาสตร

กลาวคือ ไพรสิบคนใหมีนายสิบควบคุม นายรอยหรือหัวปากควบคุมนายสิบ ๑๐ คน และมีหัวพัน

หรือเจาพัน หัวหมื่นหรือเจาหมื่น เจาแสน ควบคุมขึ้นไปตามลำดับช้ัน นายรอยและนายพันจะติดตอ

กันผานลามพัน นายพันกับเจาหมื่นจะติดตอกันผานลามหมื่น จารึกหลักที่ ๔๕ กลาวถึง “ลามหมื่น ลาม (พ)...” และจารึกหลักที่ ๘๖ กลาวถึงหัวปาก (นายรอย) การปกครองกันตามลำดับช้ันนี้ไทอาหม

ก็ใชแบบเดียวกัน

ศิลปะทางพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในรัชกาลของพระยาลือไทย คือพระพุทธบาทที่จำลองมา

จากเขาสุมนกูฏในลังกา พระพุทธรูปปางลีลาและพระเจดียทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุมขาวบิณฑ และ

ในจารึกหลักที่ ๔๒ กลาวถึงการสรางพระพิมพจำนวนเทากับอายุของผูสรางเปนจำนวนวัน เชน แมเฉา

อายุ ๗๕ ป สรางพระพิมพ ๒๗,๕๐๐ องค จึงมีพระพิมพใหคนไทยไดบูชาทั่วถึงกันมาจนทุกวันนี้

ประเสริฐ ณ นคร

Page 35: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. ประชุมจารึกภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๔๘.

ชินกาลมาลีปกรณ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.

ตำนานมูลศาสนา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๑๙. (พิมพในงานพระราชทานเพลิงศพ หมอมหลวงเดช สนิทวงศ

๑๗ ธันวาคม ๒๕๑๘)

ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๗. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, ๒๕๔๕.

ประเสริฐ ณ นคร. มังรายศาสตรหรือกฎหมายพระเจามังราย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวโิรฒ ประสานมิตร, ๒๕๒๑.

Page 36: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ศิลาจารึกหลักที่ ๙๓ จารึกวัดอโสการาม

Page 37: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระมหาธรรมราชาที่ ๒

พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๗ แหงราชวงศพระรวง

กรุงสุโขทัย เปนพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลือไทยหรือลิไทย) เสวยราชสมบัติตั้งแต

พ.ศ. ๑๙๑๑-พ.ศ. ๑๙๔๒ จึงทรงผนวช (จารึกหลักที่ ๙๓ และหลักที่ ๒๘๖) จารึกหลักที่ ๑๐

พ.ศ. ๑๙๔๗ กลาวถึงทานเจาพันใหคนหุงจังหันเจาธรรมราช และจารึกหลักท่ี ๒๖๔ กลาวถึงเรื่อง

พระมหาธรรมราชาท่ี ๒ สวรรคตใน พ.ศ. ๑๙๕๒

จารึกหลักที่ ๙๓ และหลักที่ ๒๘๖ ตอนที่เปนภาษาบาลี มีขอความวาศักราช ๗๓๐ (พ.ศ.

๑๙๑๑) พระมหาธรรมราชาธิราช (ที่ ๒) ไดประสูติจากพระครรภ...เม่ือพระชนมายุได ๑๖ พรรษา

ก็ไดสำเร็จการศึกษาและไดราชสมบัติ...จึงมีผูตีความวาพระองคประสูติใน พ.ศ. ๑๙๑๑ แตขอความ

ตอนหลังมีวา เมื่อพระชนมายุ ๓๘ พรรษา ศักราช ๗๕๘ (พ.ศ. ๑๙๓๙) ไดขยายอาณาจักรให

กวางขวางออกไป แสดงวาพระองคประสูติ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๑ ฉะนั้น พ.ศ. ๑๙๑๑ จึงควรเปนปเสวย

ราชสมบัติของพระองค

จารึกหลักที่ ๙๓ และหลักที่ ๒๘๖ กลาววา เมื่อพระชนมายุได ๓๘ พรรษา พ.ศ. ๑๙๓๙ ทรง

ปกครองปกกาว (ปกหมายถึงปกครอง กาวคอืชาวกาวหรอืชาวนาน ปกกาวจงึหมายถงึปกครองรฐันาน)

ชวา (หลวงพระบาง) ดอยอุย พระบาง (นครสวรรค) ลุมบาจาย ถึงสายยโสธร นครไทย เพชรบูรณ

เชียงดง เชียงทอง ไตรตรึงษ ฉอด นครพัน นาคปุระ (เชียงแสน) จารึกหลักที่ ๖๔ พ.ศ. ๑๙๓๕

มขีอความแสดงวา แพร งาว พลัว อยูใตความดูแลของนานซ่ึงเปนแควนอยูภายใตความดแูลของสโุขทยั

พ.ศ. ๑๙๔๒ ในขณะที่พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ทรงผนวชอยู พระมเหสีทรงทำหนาที่ผูสำเร็จ

ราชการและจะทรงยกพระรามราชาธิราชพระราชโอรสของพระนางเปนพระธรรมราชาธิราช แตในป

ถัดไป พ.ศ. ๑๙๔๓ พระชายาอีกองคหนึ่งกับพระราชโอรส ทรงพระนามวาพระเจาไสลือไทยได

ปราบดาภิเษกขึ้นเปนพระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสลือไทย) พระนามพระธรรมราชาธิราช ในจารึกหลัก

ที่ ๙๓ ก็ลบเลือนเห็นแต “...ม ราชาธิราช” และขอความท่ีปรากฏในจารึกหลักที่ ๒๘๖ ก็กลาวถึง

พระรามราชาธิราชผูทรงเปนโอรสองคแรก ไมเอยถึงพระธรรมราชาอีก เอกสารอ่ืนก็ไมเคยกลาวถึง

พระองคอีกเลย

จารึกหลักที่ ๓๘ พ.ศ. ๑๙๔๐ จารเรื่องกฎหมายลักษณะโจร (หรือกฎหมายลักษณะลักพา)

เปนกฎหมายเกาที่สุดของไทยที่ปรากฏตามรูปเดิมโดยไมมีการแกไข มีขอความแสดงวากฎหมาย

สมัยนั้นอาศัยพระธรรมศาสตรและราชศาสตรเปนหลัก

Page 38: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ธรรมศาสตรและราชศาสตรนั้น ชาวอินเดียถือวาสากลพิภพอยูภายใตกฎธรรมชาติอัน

แปรเปลี่ยนมิไดคือ ธรรม ซ่ึงพระมนูไดนำมาเผยแพรแกมนุษยทั้งหลายในรูปธรรมศาสตร กษัตริย

อินเดียไมมีหนาที่ออกกฎหมาย แตจะตองเรียนรูธรรมโดยศึกษาธรรมศาสตรแลวตัดสินคดีไปตามหลัก

ในธรรมศาสตรนั้น มอญเปนผูเร่ิมเขียนธัมมสัตถ (ธรรมศาสตร) ฉบับที่พระเจาฟารั่วผูครองประเทศ

รามัญ (ในสมัยสุโขทัย) สรางขึ้นไว เปนฉบับที่แพรหลายมาก งานน้ีใชหลักการจากธรรมศาสตรของ

พวกฮินดู แตเปลี่ยนขอความท่ีเกี่ยวกับศาสนาพราหมณมาเปนศาสนาพุทธเพื่อเปนหลักใหกษัตริยที่ถือ

ศาสนาพุทธใชพิพากษาคดี พระเจาอูทองกษัตริยพระองคแรกของอยุธยาก็ทรงใชธัมมสัตถแบบมอญ

เปนเกณฑตัดสินคดีเหมือนกัน สวนราชศาสตรรวบรวมขอความที่กษัตริยวินิจฉัยจัดเขาเปนหมวดหมู

มีลักษณะแบบเดียวกับธัมมสัตถและใชรวมเขาเปนอันหนึ่งอันเดียวกับธัมมสัตถ

พ.ศ. ๑๙๑๒ พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ทรงสงพระมหาสุมนเถระไปสืบศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ

เกาหรือรามัญวงศที่เชียงใหม ตามท่ีพระเจากือนาแหงลานนาทรงขอมา ตามพงศาวดารโยนกพระยาศรี

ธรรมราชทรงสงพระมหาสุมนเถระไปลานนา ทำใหสันนิษฐานวาพระมหาธรรมราชาที่ ๒ อาจจะมี

พระนามเดิมวาศรี รับกับขอความในจารึกหลักที่ ๑๐๒ พ.ศ. ๑๙๒๒ ที่กลาวยอนหลังไปเกี่ยวกับ

ทานพระศรีราชโอรสเมืองสุโขทัยนี้

พงศาวดารโยนกกลาวถึงเจาเมืองสุโขทัยขอกองทัพเชียงใหมไปชวยปองกันสุโขทัยจากการโจมตี

ของอยุธยาแลวเกิดกลับใจ ลอบยกพลออกปลนทัพเชียงใหม ตรงกับเหตุการณที่ปรากฏในพระราช-

พงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์วา พ.ศ. ๑๙๓๑ กองทัพอยุธยายกไปตีเมืองชากังราว

(กำแพงเพชร) แตสมเด็จพระบรมราชาธิราชแหงกรุงศรีอยุธยาทรงพระประชวร และเสด็จกลับ

พระนครเสียกอน

ในรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ ๒ อาณาจักรสุโขทัยตกเปนเมืองข้ึนของกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.

๑๙๒๑ จนถึง พ.ศ. ๑๙๓๑ จึงกลับเปนเอกราชได

ประเสริฐ ณ นคร

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. ประชุมจารึกภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๔๘.

. พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๙.

ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๗. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, ๒๕๔๕.

Page 39: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ศิลาจารึกหลักที่ ๔๖ จารึกวัดตาเถรขึงหนัง

Page 40: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระมหาธรรมราชาท่ี ๓ (ไสลือไทย)

พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสลือไทย) ทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๘ แหงราชวงศ

พระรวงกรุงสุโขทัย เสวยราชสมบัติตั้งแต พ.ศ. ๑๙๔๓ (จารึกหลักที่ ๔๖) ถึง พ.ศ. ๑๙๖๒ (พระราช-

พงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์)

พระมหาธรรมราชาท่ี ๓ เปนพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ ๒ และเปนพระเชษฐา

พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) เมื่อพอขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตแลว (พ.ศ. ๑๘๔๑)

อาณาจักรสุโขทัยแตกแยกเปนสวน ๆ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลือไทย) ทรงรวบรวมอาณาจักรสุโขทัย

ขึ้นใหมใน พ.ศ. ๑๙๓๕ เมืองแพร งาว พลัว อยูในความดูแลของกษัตริยนาน รวมเปนแควนข้ึนกับ

อาณาจักรสุโขทัย (จารึกหลักที่ ๖๔) พ.ศ. ๑๙๓๙ สมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๒ อาณาจักรสุโขทัย

รวมถึงปกกาว (รัฐนาน) ลุมบาจาย ชวา (หลวงพระบาง) ดอยอุย พระบาง (นครสวรรค) นครไทย

เพชรบูรณ ไตรตรึงษ เชียงทอง เชียงแสนถึงแมน้ำปง แมน้ำโขง ฉอด เมืองพัน (๕๐ กิโลเมตร เหนือ

เมาะตะมะ) (จารึกหลักที่ ๒๘๖)

ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาท่ี ๓ มีเรื่องเก่ียวกับอาณาจักรสุโขทัยในจารึกหลักท่ี ๔๖ วัด

ตาเถรขึงหนังวา พ.ศ. ๑๙๔๓ พระองคทรง “นำพ (ล) รบราคลาธรนีดลสกลกษัตริย (หากขึ้นเสวย ใน) มหามไหสวริยอัครราช เปนทาวพระยามหากษัตริย (นครศรีสัชนาลัย) สุโขทัย แกวกลอยผลาญ ปรปกษศัตรู นู พระราชสีมา...เปนขนอบขอบพระบางเปนแดน เทาแสนสองหนองหวยแลแพร”

พงศาวดารโยนกกลาวถึงเรื่องพระเจาไสลือไทยยกกองทัพหลวง (แสดงวาสุโขทัยเปนเอกราชใน

ขณะนั้น) ไปชวยทาวยี่กุมกามชิงราชสมบัติจากพระเจาสามฝงแกนแหงเชียงใหม (ขึ้นครองราชสมบัติ

พ.ศ. ๑๙๔๕ ตามชินกาลมาลีปกรณ หรือ พ.ศ. ๑๙๕๕ ตามพงศาวดารโยนก) ตีไดพะเยา เชียงราย

และฝาง แตในที่สุดก็พายแพกลับไป

จารึกหลักที่ ๙ กลาวถึง พระภิกษุฟองรองกันเองมาก พระมหาธรรมราชาท่ี ๓ จึงตรา

พระราชโองการเม่ือ พ.ศ. ๑๙๔๙ วา ทางสงฆปกครองกันเอง เม่ือสังฆราชาตัดสินวาอยางไรแลว

พระองคก็จะละเมิดมิได

ประเสริฐ ณ นคร

Page 41: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. ประชุมจารึกภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๔๘.

. พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๙.

ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๗. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, ๒๕๔๕.

Page 42: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ศิลาจารึกหลักที่ ๑๒ จารึกรอยพระพุทธยุคลบาท วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

Page 43: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล)

พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) ทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๙ แหงราชวงศ

พระรวงกรุงสุโขทัย เสวยราชสมบัติตั้งแต พ.ศ. ๑๙๖๒-พ.ศ. ๑๙๘๑

พระมหาธรรมราชาที่ ๔ เปนพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ ๒ และเปนพระอนุชาของ

พระราชเทวีพระเจาสามพระยาแหงกรุงศรีอยุธยา (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเปนพระราชโอรสของ

พระราชเทวี สวนพระยายุทธิษเฐียรเปนพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๔ จึงเปนลูกผูนอง

สวนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเปนลูกผูพี่)

จารึกหลักที่ ๔๐ (จารึกเจดียนอย ระหวาง พ.ศ. ๑๙๔๗ -พ.ศ. ๑๙๘๑) มีขอความวา ถาสมเด็จ

เจาพระยา (คือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) อยากเสด็จมาสักการะพระมหาธาตุ หรือธาตุ (กระดูก)

พระมหาธรรมราชาธิราช (ที่ ๒ พระอัยกา หรือตาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) นาพระยา

(บรมปาล) ก็จะไมทรงกระทำสรรพอันตรายแดพระภาคิไนย (หลานของนา) ตลอดจนไพรพลของ

พระภาคิไนยที่จะมาสูสำนักของพระองค ทั้งสององคทรงถวายสัตยปฏิญาณวาจะทรงซื่อตรงตอกัน

ตลอดไป

พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์มีขอความวา “ศักราช ๗๘๑ กุญศก มีขาวมาวา พระมหาธรรมราชาธิราชเจานฤพาน แลเมืองเหนือท้ังปวงเปนจลาจล แลจึงเสด็จไปเถิงเมืองพระบาง ครั้งนั้นพระยาบาลเมืองและพระยารามออกถวายบังคม” แสดงความวาสุโขทัยแตกแยกกัน

เปนสองฝาย คือพระยาบาลเมืองแหงเมืองพิษณุโลกและพระยารามแหงสุโขทัย ตางคนตางแยงกัน

เปนพระมหาธรรมราชาใน พ.ศ. ๑๙๖๒ แตทางอยุธยาสนับสนุนใหพระยาบาลเมืองข้ึนเปนพระมหา

ธรรมราชาที่ ๔

เมื่อพระภิกษุเชียงใหมนำศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศใหมเขามาถึงแควนสุโขทัย ประมาณ พ.ศ.

๑๙๗๒ นั้น สุโขทัยแตกแยกเปน ๔ แควน คือ พระยาบาลครองพิษณุโลก พระยารามครองสุโขทัย

พระยาแสนสอยดาวครองกำแพงเพชร และพระยาไสศรียศครองชะเลียง (สวรรคโลก) ดังปรากฏใน

ตำนานมูลศาสนา (ก) ฝายวัดสวนดอกเชียงใหม (ข) ฝายวัดยางควงเชียงตุง และ (ค) ฝายวัดปาแดง

เชียงตุง พระราชพงศาวดารฉบับปลีกไดกลาวถึงสุโขทัยที่ยกทัพมาชวยอยุธยาวาม ี๔ แควนเหมือนกัน

ใน จ.ศ. ๘๔๖ ซ่ึงปรับศักราชใหถูกตองควรเปน จ.ศ. ๗๙๔ หรือ พ.ศ. ๑๙๗๕ จารึกหลักที่ ๒๙๒

พ.ศ. ๑๙๖๓ กลาวถึงเสด็จพอพระยาสอยเสวยราชยในกำแพงเพชร จารึกหลักท่ี ๒๙๓ พ.ศ. ๑๙๖๖

กลาวถึงเสด็จทา (ไท/ไท) คือ พระยาศรียศราช ไมมีประวัติวานำจารึกมาจากที่เดิมแตเมื่อใด

Page 44: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

จารึกหลักที่ ๑๒ พ.ศ. ๑๙๖๙ (ถานับปยางแบบลังกาและสุโขทัยจะเปน พ.ศ. ๑๙๗๐) จารึก

รอยพระพุทธยุคลบาทมีขอความวา พระมหาธรรมราชาธิราชเจา (บรมปาล) ผูมีอิสราธิบดีในชัยนาทบุร ี

(เปนใหญในพิษณุโลก) ทรงใหจำลองรอยพระพุทธบาททั้งคูลงบนศิลาท่ีมาจากเมืองสุโขทัยดวย

พระราชานุเคราะหแหงพระชนก (พระมหาธรรมราชาที่ ๒) ปจจุบันจารึกนี้อยูที่วัดบวรนิเวศวิหาร

พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์มีใจความวา ศักราช ๘๐๐ (พ.ศ.

๑๙๘๑) สมเด็จพระราเมศวร (เปนตำแหนงวังหนาหรือรัชทายาท) เสด็จไปเมืองพิษณุโลก ครั้งนั้นเห็น

น้ำพระเนตรพระพุทธชินราชตกออกมาเปนโลหิต นักประวัติศาสตรสวนใหญยอมรับขอสันนิษฐานของ

สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพวา พระพุทธชินราชซึ่งเปนพระคูเมืองสุโขทัย

ไดอยูมาจนเหน็การแตกดบัของสโุขทยั แตมบีางคนอางพระราชพงศาวดารฉบับปลกีวา ใน พ.ศ. ๑๙๘๔

พระยาบาลเมือง เจาเมืองพิษณุโลกไดรับพระราชทานนามวา มหาธรรมาธิราช (อีกครั้งหนึ่ง) แทจริง

ศักราชที่ปรับลดลงมาเปน ๔๐ ป แลวนั้นยังไมถูกตอง ตองลบออกอีก ๑๒ ป เปน พ.ศ. ๑๙๗๒

ประเสริฐ ณ นคร

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. ประชุมจารึกภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๔๘.

. พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๙.

ประเสริฐ ณ นคร และปวงคำ ตุยเขียว. ตำนานมูลศาสนา เชียงใหม เชียงตุง. กรุงเทพฯ: ศักด์ิโสภา, ๒๕๓๗.

Page 45: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

โปรดสังเกตธรรมเนียมนำชื่อปูมาเปนชื่อหลานซึ่งปฏิบัติกันอยูในสมัยสุโขทัยและพวกกรีก

โบราณ ชื่อที่ซ้ำกันไดใหหมายเลขไวเปนเลขเดียวกัน เชน

หมายเลข ๔ ลือไทย (พระยาลิไทย) ช้ันหลาน และพระยาไสลือไทย ชั้นลื่อ (ไส แปลวา

ลูกชายคนที่ ๔)

ชื่อ ๒ รามในชั้นพี่นองมาปรากฏในชั้นหลานและชั้นลื่อ ชื่อ ๑ บาน และ ๒ รามในชั้นพี่นอง

มาปรากฏเปนคูกันอีกในชั้นลื่อ

ดังนั้นการที่นักประวัติศาสตรสวนใหญเห็นวาพระมหาธรรมราชาที่ ๓ เปนพระราชบิดาของ

พระมหาธรรมราชาท่ี ๔ จึงไมเปนความจริง

ประเสริฐ ณ นคร

ผังราชสกุลวงศสุโขทัย

ชั้นปู ปูขุนจิดขุนจอด

ชั้นพอ ปูพระยาศรีอินทราทิตย

ชั้นพ่ีนอง ๑. ปูพระยาบาน (เมือง) ๒. ปูพระยารามราช

ชั้นลูก ปูไสสงคราม ปูพระยางั่วนำถุม ๓. ปูพระยาเลอไทย

ชั้นหลาน ๔. ลือไทย (มหาธรรมราชาท่ี ๑) ๒. พระยาราม

ชั้นเหลน มหาธรรมราชาท่ี ๒ พองำเมือง ๓. พอเลอไทย

ชั้นลื่อ ๔. ไสลือไทย พระราชเทวี ๑. พระยาบาน ๒. พระยาราม พระยาศรี

(มหาธรรมราชาที่ ๓) ของพระเจาสามพระยา (มหาธรรมราชาที่ ๔) ธรรมาโศกราช

ชั้นลืบ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ยุทธิษเฐียร

Page 46: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช
Page 47: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมัยอยุธยา พระมหากษัตริยไทย

Page 48: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมราชานุสาวรียสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ประดิษฐานที่หนาวัดพระราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Page 49: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจาอูทอง)

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจาอูทอง ทรงเปนปฐมกษัตริยแหงกรุงศรีอยุธยา ใน

จดหมายเหตุโหรวาเสด็จพระราชสมภพ พ.ศ. ๑๘๕๗ ไดทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นในบริเวณท่ีเรียกวา

หนองโสน เมื่อจุลศักราช ๗๑๒ ปขาล โทศก วันศุกร ข้ึน ๖ ค่ำ เดือนหา เวลา ๓ นาฬกา ๙ บาท

ตรงกับวันศุกรที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๑๘๙๓ เมื่อแรกเสวยราชยนั้นทรงพระนามวาสมเด็จพระรามาธิบดี

ศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจาอยูหัว ขณะพระชนมายุได ๓๗ พรรษา

ในประวัติศาสตรไทยมีความเชื่อกันวาพระเจาอูทองอาจจะทรงอพยพมาจากเมืองใกลเคียงอื่น

เพราะอยางนอยกอนท่ีจะทรงสถาปนาพระนครศรีอยุธยาข้ึน ก็ทรงใหยายเมืองขามฝงจากบริเวณทิศใต

ของเกาะเมืองมาตั้งอยูบริเวณใจกลางพระนครปจจุบัน และตอมาทรงสถาปนาพระอารามข้ึนบริเวณ

ที่ประทับเดิมหรือบริเวณเวียงเหล็ก คือวัดพุทไธศวรรย และไดทรงสรางพระราชวังขึ้นในบริเวณ

เกาะเมือง

ขอสันนิษฐานตาง ๆ เกี่ยวกับที่มาของพระเจาอูทองนั้นสรุปไดดังนี้

๑. พระเจาอูทองเสด็จมาจากหัวเมืองเหนือ ปรากฏขอความในเอกสารของลาลูแบร ซึ่งเปน

ผูแทนพิเศษของพระเจาหลุยสที่ ๑๔ เขามาในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ และเอกสารสายสงฆ เชน ใน

จุลยุทธการวงศ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระพนรัตน และในพระราชพงศาวดารสังเขป

ของสมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กลาววาพระเจาอูทองอพยพลงมาจากเมือง

เชยีงแสน ลงมาที่เมืองไตรตรึงษ กำแพงเพชร แลวจึงอพยพลงมาที่หนองโสน

๒. เอกสารประวัติศาสตรพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาของวันวลิต พ.ศ. ๒๑๘๒ กลาวถึงการอพยพ

ของพระเจาอูทองวามาจากเมืองเพชรบุรี แลวจึงอพยพตอมาที่อยุธยา

๓. หนังสือชินกาลมาลีปกรณและพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาวาพระเจาอูทอง

มาจากเมืองละโว

หลกัฐานสำคญัอกีชิน้หน่ึงทีท่ำใหเหน็รองรอยวาพระเจาอูทองเสดจ็ลงมาจากทางเหนอืคอื “คูมอื ทูตตอบ” ซึ่งเปนคูมือที่เรียบเรียงขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณมหาราช มีขอความอางถึงท่ีมาของ

พระเจาอูทองวาพระเจาแผนดินองคปจจุบันสืบมาแตสมเด็จพระปฐมนารายณอิศวรบพิตร เมื่อ พ.ศ.

๑๓๐๐ มีกษัตริยสืบทอดกันมา ๑๐ พระองค ตอมาสมเด็จพระยโศธรธรรมเทพราชาธิราชทรงกอตั้ง

กรุงยโศธรปุระ และมีกษัตริยสืบมาอีก ๑๒ พระองค จากนั้นสมเด็จพระพนมทะเลเสด็จไปประทับ

ที่สุโขทัยใน พ.ศ. ๑๗๓๑ ทรงต้ังเมืองเพชรบุรีมีกษัตริยสืบตอมา ๔ พระองค ในที่สุดสมเด็จพระ

รามาธิบดีไดทรงสรางกรุงสยามเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๔ รวมพระมหากษัตริยนับแตแรกสถาปนากรุงเมื่อ

Page 50: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พ.ศ. ๑๓๐๐ จนถึง พ.ศ. ๒๒๒๖ ได ๕๐ รัชกาลในระยะเวลา ๙๒๖ ป

คูมือทูตฉบับนี้ สันนิษฐานวาเขียนขึ้นราว พ.ศ. ๒๒๒๔-พ.ศ. ๒๒๒๕ เพื่อใชเปนแนวคำถาม-

ตอบของราชทูตสยามที่จะเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับตางประเทศ

เมือ่สมเดจ็พระรามาธบิดทีี ่๑ ทรงสถาปนาพระราชอาณาจกัรขึน้แลว ไดทรงทำนบุำรงุพระราช-

อาณาเขตใหกวางขวางออกไป ดังที่ปรากฏความในพระราชพงศาวดารฉบับตาง ๆ เม่ือเสด็จเสวยราชย

วา เมื่อแรกสถาปนาพระนครนั้นหลังจากพิธีกลบบัตรสุมเพลิงแลว ขุดดินลงไปเพื่อสรางพระราชวัง ได

พระมหาสังขทักษิณาวัฏขอนหน่ึง จึงโปรดใหสรางพระท่ีนั่งองคตาง ๆ ขึ้นในบริเวณพระราชวังหลวง

คือ พระที่นั่งไพฑูรยมหาปราสาท พระท่ีนั่งไพชยนตรมหาปราสาท และพระที่นั่งไอสวรรยมหาปราสาท

หลงัจากนัน้ปรากฏความในจุลยทุธการวงศวาพญาประเทศราชท้ัง ๑๖ หวัเมอืงไดมาถวายบังคม

ไดแก มะละกา (ดินแดนแหลมมลายู) ชวา (ดินแดนลาวหลวงพระบาง) ตะนาวศรี นครศรีธรรมราช

ทวาย เมาะตะมะ เมาะลำเลิง สงขลา จันทบูรณ พิษณุโลก สุโขทัย พิชัย สวรรคโลก พิจิตร

กำแพงเพชร และนครสวรรค หลังจากนั้นปรากฏวามีสงครามกับเมืองกัมพูชา จึงโปรดใหพระเจา

ลูกเธอพระราเมศวรซึ่งไปครองเมืองลพบุรี ลงมาตั้งทัพยกออกไปถึงกรุงกัมพูชา แตทัพอยุธยาเกือบ

เสียทีเพล่ียงพล้ำ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ โปรดใหขุนหลวงพะงั่วลงมาจากเมืองสุพรรณบุรี แลว

กรีธาทัพไปชวยสมเด็จพระราเมศวร ทำใหทัพอยุธยาสามารถเอาชนะได และกวาดตอนเทครัวชาว

กัมพูชามายังพระนครศรีอยุธยา

ในชวงตนรัชกาลน้ัน นอกจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จะทรงทำสงครามเพ่ือขยายพระราช-

อาณาเขตและสรางความเปนปกแผนใหแกอาณาจักรแลว ยังทรงตรากฎหมายตาง ๆ ขึ้นเพื่อรักษาความ

สงบเรียบรอยภายในอีกหลายฉบับ คือพระอัยการลักษณะพยาน พระอัยการลักษณะอาญาหลวง

พระอัยการลักษณะรับฟอง พระอัยการลักษณะลักพา พระอัยการลักษณะอาญาราษฎร พระอัยการ

ลักษณะโจร พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะผัวเมีย กฎหมายเหลานี้เปนที่มาของ

กระบวนการยุติธรรมที่สรางความสงบสุขใหแกอาณาประชาราษฎรไดเปนอยางดี

นอกจากน้ีในรัชกาลของพระองคยังมีงานวรรณคดีชิ้นสำคัญคือลิลิตโองการแชงน้ำ ซึ่งเปน

วรรณคดสีมยัอยธุยาตอนตนทีบ่งบอกความสืบเนือ่งของวรรณคดีในลุมนำ้ภาคกลางท่ีผสานกับความเชือ่

ทองถิ่น ลิลิตโองการแชงน้ำหรือโองการแชงน้ำเปนวรรณคดีสำหรับพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัจจา

เพื่อสรางความชอบธรรมและการแสดงความจงรักภักดีตอองคพระมหากษัตริย ลักษณะการประพันธ

ประกอบดวยโคลงหาและราย มีศัพทภาษาไทย บาลีสันสกฤต และเขมรปนอยู เนื้อหาเปนการสดุดี

เทพ แชงผูที่ไมจงรักภักดี และใหพรผูที่จงรักภักดี

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาพระอารามแหงแรกขึ้น ท่ีปรากฏในพระราชพงศาวดาร

คือวัดพุทไธศวรรย ซึ่งมีพระปรางคเปนประธานหลักของวัด ตามความในพระราชพงศาวดารวา

“ศักราชได ๗๑๕ ปมะเส็งเบญศก วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ข้ึน ๑ ค่ำ เพลาเชา ๒ นาฬกา ๕ บาท ทรง

Page 51: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระกรุณาตรัสวา ที่พระตำหนักเวียงเหล็กน้ัน ใหสถาปนาพระวิหาร พระมหาธาตุเปนพระอาราม แลว ใหนามชื่อวัดพุทไธศวรรย”

ตอมาพระราชพงศาวดารวาโปรดใหขุดศพเจาแกว เจาไทย ขึ้นมาถวายพระเพลิง จากนั้นให

สถาปนาพระอารามขึน้บริเวณนัน้เรียกวาวดัปาแกว ซ่ึงเชือ่กนัวาคอืบรเิวณวดัใหญชยัมงคล นอกจากนัน้

ยังสันนิษฐานไดวาทรงบูรณปฏิสังขรณวัดตาง ๆ อีกเปนจำนวนมาก ดังท่ีพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ

วันวลิตวาทรงสรางวัดหนาพระธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดเดิมขึ้น

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจาอูทองเสด็จสวรรคตเมื่อจุลศักราช ๗๓๑ ประกาเอกศก ตรง

กับ พ.ศ. ๑๙๑๒ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาวาอยูในราชสมบัติ ๒๐ ป

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. ประวัติศาสตรไทย จะเรียนจะสอนกันอยางไร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพการศาสนา,

๒๕๔๓.

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๑. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.

. วรรณกรรมสมัยอยุธยา เลม ๑. กรุงเทพฯ: รุงศิลปการพิมพ, ๒๕๒๙.

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ป. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๒.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, ๒๕๓๙.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร.

กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.

“Instructions données aux mandarins siamois pour le Portugal.” in Alain Forest. Les Missionnaires français

au Tonkin et au Siam (XVIIe-XVIIIe siècles): analyse comparée d’un relatif succès et d’un total échec.

Livre I Histoires du Siam. Paris: L’Harmattan, 1998 pp. 429-436.

Page 52: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางพระเกศธาตุ อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระราเมศวร

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 53: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระราเมศวร

สมเด็จพระราเมศวรทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๒ แหงกรุงศรีอยุธยา เปน

พระราชโอรสสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจาอูทอง) เสด็จพระราชสมภพ พ.ศ. ๑๘๘๒

พระราชพงศาวดารระบุวาไดทรงครองราชย ๒ ครั้ง ครั้งแรกมีพระชนมายุได ๓๐ พรรษา คือ

เมื่อพระราชบิดาคือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๒ ทรงขึ้นครองราชยโดย

ตำแหนงองครัชทายาท ขณะท่ีทรงดำรงตำแหนงอุปราช๑ นั้น สมเด็จพระรามาธิบดีที ่๑ โปรดใหทรง

ครองเมืองลพบุรี ซึ่งเปนเมืองสำคัญของอยุธยาท่ีมีความเกี่ยวพันทางการเมืองอยางมาก แตทรง

ครองราชยคร้ังที่ ๑ ไดเพียงปเดียวเทานั้น กองทัพของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)

ไดยกมาจากสุพรรณบุรี สมเด็จพระราเมศวรจึงตองทรงมอบพระนครศรีอยุธยาใหแกสมเด็จพระ

บรมราชาธิราชที่ ๑ แลวเสด็จกลับไปครองเมืองลพบุรีดังเดิม

ใน พ.ศ. ๑๙๓๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๑ สวรรคต พระเจาทองลันโอรสทรงข้ึนเปน

กษัตริยพระองคใหมได ๗ วัน สมเด็จพระราเมศวรจึงยกพลจากเมืองลพบุรีเขากรุงศรีอยุธยา จับ

พระเจาทองลันสำเร็จโทษ แลวขึ้นครองราชยเปนครั้งท่ี ๒ ขณะพระชนมายุได ๔๙ พรรษา

เมื่อสมเด็จพระราเมศวรเสด็จขึ้นครองราชยแลว พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา

ระบุวาโปรดใหยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม ครั้งนั้นพระเจาเชียงใหมยอมออนนอมตอพระองค หลังจาก

ไดชัยชนะแลวไดเสด็จกลับลงมาแวะนมัสการพระพุทธชินราชท่ีเมืองพิษณุโลก ทรงเปลื้องเครื่องตน

ออกถวายเปนพุทธบูชา สมโภช ๗ วันกอนเสด็จกลับลงมาพระนคร

นอกจากสงครามที่เมืองเหนือแลว สมเด็จพระราเมศวรไดทรงยกทัพไปปราบขาศึกแถบหัวเมือง

ตะวันออกคือที่ชลบุรีอีกดวย ดังที่ปรากฏความวาเม่ือพระยากัมพูชายกทัพลงมาถึงชลบุรี กวาดตอน

ชายหญิงในเมืองชลบุรีและจันทบูรณประมาณ ๖ - ๗ พันคนไปเมืองกัมพูชา สมเด็จพระราเมศวรโปรด

ใหพระยาชัยณรงคยกทัพไป ทั้งสองฝายรบพุงกันดวยความสามารถ กองทัพของสมเด็จพระราเมศวร

สามารถตีกัมพูชาได พระยากัมพูชาหลบหนีไป จับไดแตบุตรชายของพระยากัมพูชาเทานั้น

กฎมณเฑียรบาลที่ตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถระบุไววา พระราชโอรสท่ีประสูติแตพระอัครมเหสี เปนท่ี “สมเด็จหนอพระพุทธเจา” หรอื “หนอพทุธางกูร” พระโอรสอนัประสตูจิากพระมเหสรีอง หรอืแมอยูหวัเมือง เปน พระมหาอุปราช ในสมัยอยธุยาตำแหนงอุปราชหรอืพระมหาอุปราชเปนตำแหนงของผูซึง่ไดรบัอภเิษกใหเปนรชัทายาท ซึ่งอาจจะเปนพระราชโอรสองคใดองคหนึ่ง

Page 54: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตเพิ่มเติมขอมูลไววาสมเด็จพระราเมศวรตองประทับอยูที่

ลพบุรีถึง ๑๘ ป ซึ่งไมตรงกับในเอกสารฝายไทย แตใหรายละเอียดวาขณะท่ีทรงขึ้นครองราชยนั้น

มีพระชนมายุได ๕๑ พรรษา ครองราชยอยู ๖ ป

ในดานการพระศาสนานั้น ปรากฏความในพระราชพงศาวดารวาเสด็จออกทรงศีล ณ พระท่ีนั่ง

มังคลาภิเษก ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุเสด็จเปนปาฏิหาริย จึงโปรดใหเจาพนักงานกรุย

หมายปกไวเปนเครื่องหมาย แลวทรงกอพระมหาธาตุสูง ๑๗ วา ยอด ๓ วา ณ บริเวณนั้น โดย

พระราชทานชื่อวาวัดมหาธาตุ

สมเดจ็พระราเมศวรสวรรคตเมือ่ พ.ศ. ๑๙๓๘ ขณะพระชนมายุได ๕๖ พรรษา ทรงครองราชย

ได ๗ ป

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

ประชมุพงศาวดารฉบับกาญจนาภเิษก เลม ๑ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสรฐิอกัษรนติิ.์ กรงุเทพฯ: กองวรรณกรรม

และประวัติศาสตร กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๒ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). กรุงเทพฯ:

กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๑. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๘.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร.

กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.

Page 55: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางทรงพิจารณาชราธรรม อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว

ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 56: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพองั่ว)

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพองั่ว หรือขุนหลวงพะงั่ว) ทรงเปนพระมหา

กษัตริยรัชกาลที่ ๓ แหงกรุงศรีอยุธยา เสด็จพระราชสมภพ พ.ศ. ๑๘๕๓ เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑

สวรรคตใน พ.ศ. ๑๙๑๒ สมเด็จพระราเมศวรซึ่งเปนพระราชโอรสองคโตเสด็จขึ้นครองราชย หาก

แตปรุงขึ้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จยกทัพมาจากเมืองสุพรรณบุร ี สมเด็จพระราเมศวรจึงมอบ

ราชสมบัติใหแลวเสด็จไปประทับที่เมืองลพบุรี ขณะที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ข้ึนครองราชยนั้น

มีพระชนมายุได ๖๐ พรรษา ตามที่ปรากฏในคัมภีรจุลยุทธการวงศซึ่งเปนพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา

ฉบับภาษาบาลี และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาวา สมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๑

เสวยราชยเมื่อปจอ จุลศักราช ๗๓๒ (พ.ศ. ๑๙๑๓) ครองราชย ๑๒ ป สวรรคตเมื่อจุลศักราช ๗๔๔

(พ.ศ. ๑๙๒๕) แตในพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์วาสวรรคตปมะโรง

จุลศักราช ๗๕๐ (พ.ศ. ๑๙๓๑) รวมเวลาที่ทรงครองราชย ๑๘ ป

พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์อธิบายความชวงการเปลี่ยนแผนดิน

จากรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที ่๑ (พระเจาอูทอง) ไปยังรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที ่๑ และ

สมเด็จพระราเมศวรไววา

ศักราช ๗๓๑ ระกาศก (พ.ศ. ๑๙๑๒) แรกสรางวัดพระราม คร้ังนั้นสมเด็จพระ รามาธิบดีเจาเสด็จนฤพาน จึงพระราชกุมารทานสมเด็จพระ (ราเม) ศวรเจาเสวยราชสมบัติ ครั้นเถิงศักราช ๗๓๒ จอศก (พ.ศ. ๑๙๑๓) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจา เสด็จมาแตเมือง สุพรรณบุรี ขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา และทานจึงใหสมเด็จพระราเมศวรเจา เสด็จไปเสวยราชสมบัติเมืองลพบุรี

พระนามขุนหลวงพองั่ว หรือขุนหลวงพะงั่วนั้น ทำใหสันนิษฐานไดวาทรงเปนพระราชโอรสใน

ลำดับที่ ๕ เพราะการนับลำดับลูกชายในเอกสารโบราณเรียงลำดับคือ อาย ยี่ สาม ไส งั่ว ลก เจ็ด

แปด เจา จง ความสัมพันธที่สำคัญอีกประการหน่ึงคือ ขุนหลวงพะงั่วนี้พระราชพงศาวดารวาเปนพี่

พระมเหสีของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจาอูทอง) ดวย จึงโปรดใหไปครองเมืองสุพรรณบุรีและ

ไดมีบทบาทในการสูรบกับขาศึกในรัชกาลพระเจาอูทองมาแตกอน ครั้นสิ้นแผนดินแลวจึงเสด็จยกทัพ

มาขึ้นครองราชยที่อยุธยา

Page 57: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระราชพงศาวดารบันทึกเหตุการณประวัติศาสตรในรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที ่๑

ไววา กอนขึ้นครองราชยนั้นเคยไปครองเมืองชัยนาท (พิษณุโลก) อยูระยะหนึ่ง เม่ือครั้งที่อยุธยารบ

ชนะสุโขทัย ไดทรงยกทัพไปตีเมืองนครธมแหงกัมพูชาเพื่อชวยกองทัพของสมเด็จพระราเมศวร เมื่อ

ขึ้นครองราชยแลวไดยกทัพไปรบเมืองเหนือหลายครั้ง โดยเฉพาะการยึดเมืองชากังราวและเมือง

พิษณุโลก

ใน พ.ศ. ๑๙๑๖ ทรงยกทัพจากอยุธยาไปตีเมืองชากังราว ครั้งนั้นพระยาไสแกวและพระยา

คำแหงเจาเมืองออกรบ พระยาไสแกวเสียชีวิต สวนพระยาคำแหงหลบหนีกลับเขาเมืองได อีก ๓ ป

ตอมาทรงยกทพัหลวงขึน้ไปอกีครัง้หน่ึง พระราชพงศาวดารกรงุเกาฉบบัหลวงประเสรฐิอกัษรนติิร์ะบุวา

ศักราช ๗๓๘ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๑๙) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเลา ครั้งนั้น พญาคำแหงแลทาวผาคอง คิดดวยกันวาจะยอทัพหลวง และจะทำมิได แลทาวผาคองเลิก ทัพหนี แลจึงเสด็จทัพหลวงตาม แลทาวผาคองนั้นแตก แลจับไดตัวทาวพระยา แลเสนา ขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แลทัพหลวงเสด็จกลับคืน จากนั้นอีก ๒ ป สมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๑ ทรงยกทัพไปตีเมืองกำแพงเพชร พระมหา

ธรรมราชาที่ ๒ แหงสุโขทัยทรงออกรบดวย แตเพลี่ยงพล้ำตอทัพกรุงศรีอยุธยา จึงออกถวายบังคม

เปนการยอมรับในอำนาจทางทหารของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ทรงใหพระมหา

ธรรมราชาปกครองเมืองสุโขทัยตอไป แตใหขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองประเทศราช ใน พ.ศ.

๑๙๓๑ ทรงยกทัพขึ้นไปชากังราวอีกครั้ง และเสด็จสวรรคตระหวางเดินทัพกลับ

นอกจากเมืองชากังราวแลว สมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๑ ยังทรงยกทัพไปลานนาเพ่ือจะยึด

เอาเมืองเชียงใหม แตทรงไดเพียงเมืองลำปางที่ยอมออนนอมเทานั้น

อนึ่ง พระราชกรณียกิจที่สำคัญทางฝายพระพุทธศาสนาของพระองคคือการสถาปนาพระศรี-

รัตนมหาธาตุขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๗ รวมกับพระมหาเถระรูปสำคัญคือพระมหาเถรธรรมากัลญาณ โดย

ทรงสรางพระศรีรัตนมหาธาตุสูง ๑๙ วา และยอดนพศูลสูง ๓ วา เปนพระอารามสำคัญกลางพระนคร

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๑ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ . กรุงเทพฯ:

กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๑. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๘.

Page 58: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางนาคปรก อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเจาทองลัน

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 59: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระเจาทองลัน

สมเด็จพระเจาทองลัน หรือที่ปรากฏในเอกสารบางฉบับวาพระเจาทองจันทร ทรงเปน

พระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๔ แหงกรุงศรีอยุธยาท่ีครองราชยสั้นที่สุดคือเพียง ๗ วัน พระเจาทองลัน

เปนพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที ่๑ (ขนุหลวงพะงัว่) ซึง่เสดจ็สวรรคตในขณะเสดจ็ไปรบ

กับหัวเมืองเหนือเมื่อ พ.ศ. ๑๙๓๑ เม่ือแผนดินวางลงนั้น พระเจาทองลันพระราชโอรสไดขึ้น

สืบราชสมบัติขณะพระชนมายุได ๑๕ พรรษา ความชวงนี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับ

หลวงประเสริฐอักษรนิติ์วา

ศักราชได ๗๕๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๓๑) เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเลา คร้ังนั้น สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจาทรงพระประชวรหนัก และเสด็จกลับคืน คร้ันเถิงกลางทาง สมเด็จพระบรมราชาเจานฤพานและจึงเจาทองลันพระราชกุมาร ทานไดเสวยราชสมบัติ พระนครศรีอยุธยาได ๗ วัน จึงสมเด็จพระราเมศวรยกพลมาแตเมืองลพบุรี ข้ึนเสวยราช สมบัติพระนครศรีอยุธยา และทานจึงใหพิฆาตเจาทองลันเสีย

อยางไรก็ดีพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตระบุวาขณะข้ึนครองราชยมีพระชนมายุได

๑๗ พรรษา หลังจากน้ันได ๗ วัน สมเด็จพระราเมศวรซึ่งครองเมืองลพบุรีไดยกทัพเขามายังกรุง

ศรีอยุธยา จับพระเจาทองลันประหารชีวิตที่วัดโคกพระยา แลวขึ้นครองราชสมบัติสืบตอมา

พระนามของพระเจาทองลนันีเ้อกสารพงศาวดารเขยีนหลายแบบ ท้ังทองจัน ทองจันทร ทองลัน

สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายวาที่ถูกควรเปนทองลันดังที่ปรากฏ

ในพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๑ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. กรุงเทพฯ: กอง

วรรณกรรมและประวัติศาสตร กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๑. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๘.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร.

กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.

Page 60: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางขับพระวักกลิ อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเจารามราชา

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 61: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระเจารามราชา

สมเด็จพระเจารามราชาทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๕ แหงกรุงศรีอยุธยา ทรง

ครองราชยที่กรุงศรีอยุธยาเปนระยะเวลา ๑๕ ป ซึ่งนับไดวาเปนรัชกาลหนึ่งที่บานเมืองอยูในภาวะ

ปกติสุข

สมเด็จพระเจารามราชาเปนพระราชโอรสในสมเด็จพระราเมศวรและเปนพระราชนัดดาของ

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจาอูทอง) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๙

พ.ศ. ๑๙๓๘ สมเด็จพระเจารามราชาไดเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบตอจากพระราชบิดา ขณะ

เมื่อพระชนมายุประมาณ ๒๑ พรรษา (ดังที่ปรากฏในหลักฐานของวันวลิต) ทรงพระนามวา สมเด็จ

พระเจารามราชา หรอืสมเดจ็พระเจารามราชาธิราช บางครั้งเรียกพระนามวา สมเด็จพระยาราม หรือ

สมเด็จพระราม ปรากฏวาในชวงระยะเวลาที่ทรงครองราชยอยูนั้น กรุงศรีอยุธยาอยูในภาวะปกติสุข

นอกจากน้ีไดทรงริเริ่มสงราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับอาณาจักรจีนเมื่อ พ.ศ. ๑๙๔๐ และ

ในระยะเวลาตอมายังไดสงทูตไปแลกเปลี่ยนสัมพันธไมตรีกันอยูเสมอ เชน ใน พ.ศ. ๑๙๔๗ ทรงสง

คณะทูตไปจีนเพื่อเจรจาความดานการคา จักรพรรดิจีนทรงมอบของกำนัลตอบแทน และพระราชทาน

หนังสือประวตัสิตรสีจุรติให ๑๐๐ เลม ราชทูตสยามทลูขอกฎหมายจากเมืองจนีเพือ่นำไปเปนแบบอยาง

สำหรับประเทศ จักรพรรดิจีนก็พระราชทานให อยางไรก็ดีการที่ทางพระเจากรุงจีนทรงใหความ

สนิทสนมกับเจานครอนิทร เจาผูครองเมอืงสพุรรณบุรแีละเปนพระราชนัดดาในสมเดจ็พระบรมราชาธิราช

ที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) ถึงกับทรงยกยองวาเปนกษัตริยอีกพระองคหนึ่ง ก็ทำใหสมเด็จพระเจารามราชา

ทรงระแวง ไมไววางพระทัยเจานครอินทรมากยิ่งข้ึน

ในดานความมั่นคงของอาณาจักรและการแผขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจา

รามราชาไดทรงพยายามขยายอำนาจไปยังอาณาจักรลานนาและอาณาจักรสุโขทัย แตไมประสบ

ผลสำเร็จ ยิ่งกวานั้นตอนปลายรัชกาล ทรงมีขอพิพาทกับเจาเสนาบดี ซ่ึงเปนอัครมหาเสนาบดี

เจาเสนาบดีไดหนีไปอยูฟากปทาคูจามซึ่งอยูตรงคลองคูจามหรือคลองบานขอยตรงขามกับเกาะเมือง

พระนครศรีอยุธยา เปนที่ตั้งชุมชนไทยเชื้อสายจาม ตอมาเจาเสนาบดไีดรวมกับเจานครอินทรยกกำลัง

จากเมืองสุพรรณบุรีมายึดกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้นไดกราบทูลเชิญเจานครอินทรขึ้นครองราชสมบัติ

ณ กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามวาสมเด็จพระนครินทราธิราช หรือสมเด็จพระอินทราชาแหงราชวงศ

สุพรรณภูมิ สวนสมเด็จพระเจารามราชาใหไปครองเมืองปทาคูจามและเสด็จสวรรคตในเวลาตอมา

โดยไมปรากฏวัน เดือน ปที่สวรรคต อยางไรก็ดี เมื่อนับปที่สมเด็จพระเจารามราชาครองราชสมบัติ

ณ กรุงศรีอยุธยาจาก พ.ศ. ๑๙๓๘ จนถึง พ.ศ. ๑๙๕๒ ซ่ึงเปนปแรกแหงการครองราชยของสมเด็จ

Page 62: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระนครินทราธิราช ณ กรุงศรีอยุธยา รวมเปนเวลา ๑๕ ป สังคีติยวงศระบุวาสมเด็จพระเจารามราช

ผูทรงเปนพระราชโอรสในสมเด็จพระราเมศวรน้ีมีพระบุญญาธิการมากเชนเดียวกับพระราชบิดา

เกี่ยวกับการสวรรคตของสมเด็จพระเจารามราชาตามที่กลาวมาขางตนนั้นปรากฏในพระราช-

พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรง

นิพนธอธิบายประกอบ และพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ แตพงศาวดาร

กรุงศรีอยุธยาภาษามคธแลคำแปลกับสังคีติยวงศไดกลาวขัดแยงกับเอกสารท้ัง ๒ เรื่องขางตน โดย

กลาวความวา “ในกาลตอมานั้น พระเจาลุงของพระเจารามราชา ทรงพระนามวาพระเจานครอินท เปนเจาเมืองสุวรรณภูมิ (เมืองสุพรรณ) เปนญาติของพระเจาพงุมหานายก ยกพลมาแยงชิงเอาราช สมบัติในกรุงศรีอยุธยานั้นไดแลว จับพระเจารามราชานั้นสำเร็จโทษเสีย...”

ปยนาถ บุนนาค

เอกสารอางอิง

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร, ๒๕๑๐.

ปยนาถ บุนนาค. “ลักษณะการเมือง การปกครอง ระบบกฎหมายของไทยและลักษณะสังคมเศรษฐกิจของไทยจนถึง

สมัยรัตนโกสินทรตอนตน.” ใน เพ็ญศรี ดุก และปยนาถ บุนนาค. ประวัติศาสตรไทย ๑. กรุงเทพฯ:

อักษรเจริญทัศน, ๒๕๒๔.

พนรัตน (แกว), สมเด็จพระ. พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาภาษามคธแลคำแปลกับจุลยุทธการวงศ ผูก ๒ เรื่องพงศาวดาร

ไทย. กรุงเทพฯ: ตนฉบับ, ๒๕๕๐.

พระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๐.

ราชบัณฑิตยสภา. เรื่องพระราชไมตรีในระหวางกรุงสยามกับกรุงจีน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพโสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๒.

(พิมพในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (มิ้น เลาหเศรษฐี) ปมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒)

สังคีติยวงศ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๖.̀̀

Page 63: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางทรงรับผลมะมวง อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระนครินทราธิราช

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 64: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระนครินทราธิราช

สมเด็จพระนครินทราธิราชทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๖ แหงกรุงศรีอยุธยา และ

พระมหากษัตริยองคที่ ๓ แหงราชวงศสุพรรณภูมิ ทรงครองราชย ณ กรุงศรีอยุธยาเปนเวลา ๑๕ ป

เฉลิมพระนามวาสมเด็จพระนครินทราธิราช (สมเด็จพระอินทราธิราช หรือสมเด็จพระอินทราชาธิราช)

นับเปนจุดเริ่มตนที่ราชวงศสุพรรณภูมิจะไดครองอำนาจอยางเด็ดขาดในลุมแมน้ำเจาพระยาตอนลาง

ทั้งหมด ภายใตพระมหากษัตริยราชวงศสุพรรณภูมิซึ่งไดครองราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยาสืบตอมา

อีกหลายพระองค

สมเด็จพระนครินทราธิราชเสด็จพระราชสมภพเม่ือ พ.ศ. ๑๘๘๒ เปนพระราชนัดดาใน

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะง่ัว) ปฐมกษัตริยแหงราชวงศสุพรรณภูมิที่ครองราชย ณ

กรุงศรีอยุธยา พระนามเดิมขณะครองเมืองสุพรรณบุรีกอนขึ้นครองราชยที่กรุงศรีอยุธยาคือเจานคร-

อินทร ทรงมีความสัมพันธกับจีนอยางสนิทสนมถึงกับเคยเสด็จฯ ไปเฝาจักรพรรดิจีนเมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๐

เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ ไดแก ชางขอ (ชางที่ฝกแลว) เตา และของพื้นเมือง เม่ือเสด็จกลับ

จักรพรรดิจีนไดพระราชทานเครื่องผานุงหมเปนชุดและผาแพรพรรณตาง ๆ กลับมาดวย ความสัมพันธ

ในระบบการทูตบรรณาการอยางใกลชิดกับราชสำนักจีนเชนนี้เอื้อประโยชนแกฝายที่มีสัมพันธไมตรีดวย

คือ ในทางการเมือง เน่ืองจากจีนเปนจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ การรับทูตจากเจาเมืองใดถือวาเจาเมืองนั้น

ไดรับสิทธิธรรมในการเปนผูปกครอง สวนในทางเศรษฐกิจ ระบบการทูตบรรณาการเปดโอกาสใหมีการ

คาขายกับจีนมากยิ่งขึ้น ดวยเหตุนี้แมวาเจานครอินทรเปนเพียงเจาเมืองสุพรรณบุรี จักรพรรดิจีนก็

ทรงใหความสนิทสนมและทรงยกยองวาเปนกษัตริยอีกพระองคหนึ่งในระดับเดียวกับสมเด็จพระเจา

รามราชา

ตอมาสมเด็จพระเจารามราชาทรงมีขอพิพาทกับเจาพระยามหาเสนาบดี อัครมหาเสนาบดี

จนถึงกับเจาพระยามหาเสนาบดีตองหนีไปขึ้นกับเจานครอินทรและยกกำลังจากสุพรรณบุรีมายึด

พระราชวัง แลวกราบทูลเชิญเจานครอินทรขึ้นครองราชย ณ กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๒ เฉลิม

พระนามวาสมเด็จพระนครินทราธิราช ขณะมีพระชนมายุได ๗๐ พรรษา ตามหลักฐานของวันวลิต

สวนสมเด็จพระเจารามราชาก็ไดรับการโปรดเกลาฯ ใหไปครองเมืองปทาคูจาม เมื่อสมเด็จพระ

นครินทราธิราชขึ้นครองราชยแลวก็ยังคงสงเสริมสัมพันธไมตรีกับจีนตอไป ดวยการสงราชทูตไปเจริญ

ทางพระราชไมตรีกับจีนอยางสม่ำเสมอ สงผลตอความเจริญรุงเรืองทางการคา เศรษฐกิจ และ

ศิลปกรรมของไทยในชวงตนสมัยอยุธยา นับเปนปจจัยสำคัญที่ปูพื้นฐานความเจริญรุงเรืองใหแก

กรุงศรีอยุธยาในระยะเวลาตอมา

Page 65: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ผลของความมั่งคั่งทำใหมีการซื้อสินคาอันงดงามประณีตและมีราคาสูงจากตางประเทศเขามา

ที่สำคัญ ไดแก ผาแพรพรรณหลากส ีผาตวน เคร่ืองประดับ เครื่องใชสอย และเคร่ืองปนดินเผาเคลือบ

ชนิดตาง ๆ ที่สวยงามจากจีนในสมัยราชวงศเหม็ง ซึ่งมีใชกันอยางแพรหลายทั้งในราชสำนักและ

ตามบานผูมีฐานะของกรุงศรีอยุธยา

การติดตอคาขายกับภายนอกโดยเฉพาะกับจีนทำใหกรุงศรีอยุธยาเปนศูนยกลางของการคาขาย

ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีการรับและการเรียนรูเทคโนโลยีใหม ๆ มีการผลิตสินคาเครื่อง

สังคโลกและเครื่องปนดินเผาสงไปคาขายกับตางประเทศตามหมูเกาะท่ีใกลเคียง เชน มลายู ชวา

และฟลิปปนส นับเปนสิ่งใหม ๆ ที่นอกเหนือไปจากการสงสินคาปาประเภทตาง ๆ เปนสินคาออกตาม

แบบเดิม ในระยะน้ีเมืองบางเมืองในราชอาณาจักรไดกลายเปนเมืองอุตสาหกรรมในการผลิตเครื่อง

สังคโลกและเครื่องปนดินเผา เชน เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และพิษณุโลก สมเด็จพระนครินทราธิราช

ไดทรงขอชางปนจีนมาสอนและทำเครื่องถวยชามในเมืองไทย และเนื่องจากพระองคทรงมีอำนาจเหนือ

อาณาจักรสุโขทัยดวย ก็คงทรงเลือกเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัยเปนแหลงอุตสาหกรรมการผลิตเคร่ือง

สังคโลก เพราะเปนแหลงที่มีดินที่เหมาะแกการทำเครื่องสังคโลก

ในดานงานชางศิลปกรรม มีการสรางและบูรณปฏิสังขรณวัดวาอารามที่สำคัญตามเมืองตาง ๆ

ที่อยูภายในราชอาณาจักร เชน ที่เมืองสุพรรณภูมิหรือสุพรรณบุรีมีการสรางพระปรางควัดพระศรีรัตน-

มหาธาตุ การสรางพระปรางคเปนพระเจดียประธานคงเกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนตนนี้เอง และแพร

หลายทั่วไปทั้งในเขตพระนครศรีอยุธยาและหัวเมืองสำคัญ เชน ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี สิงหบุรี

สวรรคโลก ฯลฯ การนำเคร่ืองปนดินเผาเคลือบมาใชเปนเครื่องประดับสถาปตยกรรมทางศาสนา เชน

กระเบื้องมุงหลังคา ชอฟาบราลี รวมทั้งกระเบ้ืองปูพื้นโบสถวิหารท่ีพบตามวัดสำคัญตาง ๆ ดังในเมือง

สุโขทัยและศรีสัชนาลัยก็เกิดขึ้นในระยะน้ี รวมทั้งงานจิตรกรรมฝาผนังท่ีเขียนขึ้นตามผนังในโบสถ

วิหารและในพระสถูปเจดียก็เริ่มแพรหลาย ซึ่งลวนไดรับอิทธิพลทางการชางและศิลปกรรมจากจีน

นอกจากสมเด็จพระนครินทราธิราชไดทรงสรางความเปนปกแผนใหแกกรุงศรีอยุธยาในดานการ

คาขายกับตางประเทศและความเจริญรุงเรืองทางศิลปวิทยาการดังกลาวมาแลว พระองคยังทรงเริ่ม

สรางความม่ันคงและความย่ิงใหญในทางการเมืองใหแกอาณาจักรอยุธยาดวย ดังทรงพยายามผนวก

กรุงสุโขทัยและสุพรรณบุรีใหเขามาเปนอันหนึ่งอันเดียวกับกรุงศรีอยุธยา กลาวคือ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๒

พระมหาธรรมราชาที่ ๓ แหงสุโขทัยเจาเมืองพิษณุโลก (เมืองชัยนาทบุรี) เสด็จสวรรคต เมืองเหนือ

ทั้งปวงเปนจลาจลอันเนื่องมาจากพระยาบาลเมืองและพระยารามพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชา

ที่ ๓ (บางทานวาเปนพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาท่ี ๒) ทรงแยงชิงราชสมบัติแหงกรุงสุโขทัย

กัน เปนเหตุใหสมเด็จพระนครินทราธิราชตองเสด็จฯ ข้ึนไปถึงเมืองพระบาง (เมืองนครสวรรค) แลว

ทรงไกลเกลี่ยใหพระยาบาลเมืองเปนกษัตริยแหงกรุงสุโขทัยครองเมืองพิษณุโลกอันเปนเมืองหลวง

และใหพระยารามเปนเจาเมืองสุโขทัยอันเปนเมืองเอก โดยตางมีสถานะเปนประเทศราชข้ึนตออยุธยา

Page 66: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ในครั้งน้ีคงจะแยกเขตแดนเมืองสุโขทัยกับเมืองพิษณุโลกใหปกครองเปนตางอาณาเขตกัน ดังนั้นจะเห็น

ไดวาตอนน้ีสุโขทัยยอมรับอำนาจของอยุธยา อยุธยาเขามาไกลเกลี่ยกรณีพิพาทภายในได และยังมี

อำนาจแตงตั้งกษัตริยของสุโขทัย ตลอดจนจัดแบงการปกครองภายในใหแกสุโขทัยดวย

ในชวงนี้เองยังไดเกิดปรากฏการณที่แสดงใหเห็นวาอยุธยาไดเปลี่ยนยุทธวิธีจากการใชสงคราม

เปนเครื่องมือในการขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือ เปนการพยายามแทรกซึมเขาไปในราชวงศสุโขทัยเพื่อ

ควบคุมอยางเด็ดขาด กลาวคือเจาสามพระยาพระราชโอรสองคหนึ่งของสมเด็จพระนครินทราธิราชได

เสกสมรสกับเจาหญิงสุโขทัย ซ่ึงเปนการสรางความสัมพันธทางดานราชวงศระหวางอาณาจักรเหนือ

คือสุโขทัยและอาณาจักรใตคืออยุธยา ทั้งสองพระองคไดทรงใหกำเนิดสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

ซึ่งตอมาจะทรงเปนผูรวมอาณาจักรเหนือและอาณาจักรใตเขาเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน

นอกจากน้ี สมเด็จพระนครินทราธิราชยังไดโปรดเกลาฯ ใหพระราชโอรสไปครองเมืองลูกหลวง

ตาง ๆ เพื่อความมั่นคงของราชอาณาจักร ไดแก เจาอายพระยาครองเมืองสุพรรณบุรีซึ่งเปนเมือง

ลูกหลวง เจายี่พระยาครองเมืองแพรกศรีราชา (เมืองสรรค คือบริเวณอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

ในปจจุบัน) และเจาสามพระยาครองเมืองชัยนาท (เมืองพิษณุโลก) ซึ่งเปนเมืองหนาดานทางดานเหนือ

ในชวงระหวาง พ.ศ. ๑๙๖๒ - พ.ศ. ๑๙๖๗

สมเด็จพระนครินทราธิราชครองราชยได ๑๕ ป ก็เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๗

ปยนาถ บุนนาค

เอกสารอางอิง

จุฬารักษ ดำริหกุล. นครประวัติศาสตรพระนครศรีอยุธยามรดกโลกทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพราว, ๒๕๓๖.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร, ๒๕๑๐.

ปยนาถ บุนนาค. “ประวัติศาสตรความสัมพันธระหวางพิษณุโลกกับอยุธยา.” ใน หนังสือรวมบทความทางวิชาการ

โครงการศูนยสุโขทัยศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๕. (จัดพิมพในโอกาสครบรอบ

๒๓ ป สาขาวิชาศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

พนรัตน (แกว), สมเด็จพระ. พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาภาษามคธแลคำแปลกับจุลยุทธการวงศ ผูก ๒ เรื่องพงศาวดาร

ไทย. กรุงเทพฯ: ตนฉบับ, ๒๕๕๐.

พระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๐.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงสารประเสริฐ และฉบับกรมพระปรมานุชิต และพงศาวดารเหนือฉบับ

พระวิเชียรปรีชา (นอย). พระนคร: คุรุสภา, ๒๕๐๔.

อุษณีย ธงไชย. “ความรูพื้นฐานประวัติศาสตรอยุธยา.” ใน กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. ประวัติศาสตรไทย

จะเรียนจะสอนกันอยางไร. กรุงเทพฯ: การศาสนา, ๒๕๔๓.̀̀

Page 67: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางภุตตกิจ อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว

ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 68: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจาสามพระยา)

สมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๒ (เจาสามพระยา) ทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๗

แหงกรุงศรีอยุธยา เปนพระราชโอรสพระองคที่ ๓ ของสมเด็จพระนครินทราธิราช ทรงครองราชย

พ.ศ. ๑๙๖๗-พ.ศ. ๑๙๙๑

ไมปรากฏหลักฐานวาเจาสามพระยาประสูติเมื่อใด แตพงศาวดารฉบับวันวลิต (Van Vliet) วา

เมื่อขึ้นครองราชสมบัติมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา เหตุที่ทำใหพระองคไดราชสมบัติก็เพราะพระเชษฐา

คอื เจาอายพระยาผูครองเมืองสพุรรณบุรกีบัเจายีพ่ระยาผูครองเมอืงแพรกศรรีาชา (เมืองสรรค) แยงชิง

ราชสมบัติกันเมื่อพระราชบิดาสวรรคต โดยการทำยุทธหัตถีที่เชิงสะพานปาถานในพระนครศรีอยุธยา

แลวสิ้นพระชนมดวยกันทั้งคู ขุนนางผูใหญจึงไปอัญเชิญเจาสามพระยา ซึ่งขณะนั้นครองเมืองชัยนาท

หรือเมืองพิษณุโลกขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามวาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒

ชวงเวลาทีส่มเดจ็พระบรมราชาธริาชที ่๒ ข้ึนครองราชสมบัตเิปนสมยัเดยีวกบัชวงตนราชวงศหมงิ

(Ming) ของจีน (พ.ศ. ๑๙๑๑-พ.ศ. ๒๑๘๗) และจักรพรรดิหยงเลอ (Yong Le ครองราชย พ.ศ.

๑๙๔๕-พ.ศ. ๑๙๖๗) ทรงแผแสนยานุภาพทางทะเล โดยสง “กองเรือมหาสมบัติ” ขนาดใหญให

มหาขันที นายพลเรือเจิ้งเหอ (Zheng He พ.ศ. ๑๙๑๔-พ.ศ. ๑๙๗๖) ออกสำรวจทางทะเล เจ้ิงเหอ

และบางสวนของกองเรือมหาสมบัติเคยแวะพระนครศรีอยุธยา ๒ ครั้ง ในการเดินทางคร้ังที่ ๒ (พ.ศ.

๑๙๕๐-พ.ศ. ๑๙๕๑) ในรัชกาลสมเด็จพระเจารามราชา และครั้งที่ ๖ (พ.ศ. ๑๙๖๔-พ.ศ. ๑๙๖๕)

ในรัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช การเดินทางของกองเรือมหาสมบัติครั้งท่ี ๗ ซึ่งเปนครั้งสุดทาย

(พ.ศ. ๑๙๗๔-พ.ศ. ๑๙๗๖) มีขึ้นในสมัยจักรพรรดิชวนเตอ (Xuan De ครองราชย พ.ศ. ๑๙๖๘-

พ.ศ. ๑๙๗๘) ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจาสามพระยา) แมกองเรือจะไมไดแวะ

ที่กรุงศรีอยุธยา แตก็ยอมเปนที่รับรูไดเพราะกองเรือมีถึง ๑๐๐ ลำ ลูกเรือ ๒๗,๕๐๐ คน อยางไรก็ด ี

การแผแสนยานุภาพทางทะเลของจีนไมไดทำใหสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ประสบความยุงยาก

แตอยางใด เพราะพระราชบิดาทรงวางพ้ืนฐานความสัมพันธที่ดีไวแลวจากการที่พระองคเคยเสด็จไปจีน

ดังนั้นความสัมพันธใน “ระบบบรรณาการ” กับจีนจึงดำเนินตอมาดวยดี

พระราชภารกิจแรกของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ คือ การถวายพระเพลิงพระศพ

พระเชษฐาทั้ง ๒ พระองค สถานที่นั้นโปรดใหสรางพระมหาธาตุและพระวิหารเพื่อเปนวัดซ่ึง

พระราชทานนามวาวัดราชบูรณะ และที่พระเชษฐาทรงทำยุทธหัตถี โปรดใหกอพระเจดีย ๒ องค

Page 69: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ซึ่งถือวามีความถูกตองท้ังเหตุการณ

และศักราช ไดกลาวถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ไวดังนี้

๑. มีชัยชนะเหนืออาณาจักรขอม พ.ศ. ๑๙๗๔ สามารถยึดเมืองพระนครหรือนครธม (Angkor

Thom) ซ่ึงเปนชัยชนะอยางเด็ดขาด เปนที่ยอมรับของนักประวัติศาสตรทั้งหลาย ไมเหมือนกับ

ชัยชนะของอยุธยาตอเมืองพระนครคร้ังกอนหนานั้น คือ ในสมัยสมเด็จพระเจาอูทองและสมเด็จ

ขุนหลวงพะง่ัว ซึ่งเปนที่โตแยงกันอยูวามีจริงหรือไม ชัยชนะในครั้งนี้ โปรดให “พระนครอินทร”

ราชโอรสครองท่ีเมืองพระนครดวย และมีการกวาดตอน “พระยาแกว พระยาไท” เช้ือพระวงศและ

ขุนนางขอมพรอมรูปประติมากรรมเขามา การไดเชื้อพระวงศและขุนนางขอมมาในครั้งนี้นาจะมีผล

ตอการปฏิรปูการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑-พ.ศ. ๒๐๓๑) ในเวลาตอมา

๒. ทรงตั้งพระราชโอรสเปนสมเด็จพระราเมศวรที่พระมหาอุปราชซึ่งโปรดใหตั้งข้ึนเปนครั้งแรก

ไปครองเมืองพิษณุโลกเม่ือ พ.ศ. ๑๙๘๑ แทนผูครองเมืองแตเดิม ซึ่งเปนเชื้อพระวงศสุโขทัย การตั้ง

สมเด็จพระราเมศวรไปครองเมืองพิษณุโลกมีความสำคัญมาก เพราะเปนจุดเริ่มตนในการรวมอาณาจักร

สุโขทัยใหเปนอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาณาจักรอยุธยา เพราะสมเด็จพระราเมศวรมีพระราชมารดาเปน

เจาหญิงสุโขทัย ตอมาสมเด็จพระราเมศวรขึ้นครองราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๑๙๙๑ มี

พระนามวา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงเห็นความสำคัญของเมืองพิษณุโลกมาก ถึงกับเสด็จไป

ประทบัทีเ่มอืงพษิณโุลกเมือ่ พ.ศ. ๒๐๐๖ จนเสดจ็สวรรคตเม่ือ พ.ศ. ๒๐๓๑

๓. การโจมตีอาณาจักรลานนา พ.ศ. ๑๙๘๕ และ พ.ศ. ๑๙๘๗ ทรงยกทัพไปตีเชียงใหม

หลงัจากสงพระราเมศวรไปปกครองพษิณโุลก แตการตเีชียงใหมครัง้แรกไมสำเรจ็เพราะทรงพระประชวร

๒ ปตอมา (พ.ศ. ๑๙๘๗) ทรงยกทัพไป “ปราบพรรค” ซ่ึงนาจะเปนเชียงใหมตามพระราชพงศาวดาร

ฉบับพระราชหัตถเลขา คราวน้ีมีชัยชนะไดเชลยถึง ๑๒๐,๐๐๐ คน หลักฐานจีนหมิงสือลู หรือ

จดหมายเหตุสมัยราชวงศหมิง ไดกลาวยืนยันการตีเชียงใหมโดยกองทัพของกรุงศรีอยุธยาไวดวย และ

วาทางเชียงใหมไดขอพระราชลัญจกรแทนของเกา เพราะถูกทำลายจากการสงครามในคร้ังนี้ ซึ่ง

จักรพรรดิจีนก็พระราชทานให

๔. การสงทูตไปจีน สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ มีการสงทูตนำบรรณาการไปถวาย

จักรพรรดิจีนในลักษณะ “จิ้นกง” หรือ “จิ้มกอง” เพื่อประโยชนในการคาหลายครั้ง และคอนขางถ่ี

ซึ่งอาจจะสอดคลองกับการที่จีนสงกองเรือมหาสมบัติมายังนานน้ำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต และ

มหาสมุทรอินเดียก็ได หลักฐานจากจดหมายเหตุสมัยราชวงศหมิงไดกลาวถึงวา สมเด็จพระบรม-

ราชาธิราชที่ ๒ ทรงสงทูตไปถวายบรรณาการประมาณ ๑๐ ครั้ง บางครั้งสงไปติด ๆ กันปตอป บางป

๒ ครั้ง ซึ่งนับวาผิดปกติ แตอาจแสดงใหเห็นถึงความรุงเรืองทางการคาของ ๒ ประเทศก็ได บางครั้งมี

การฟองจีนวาทูตไทยถูกจามปาขัดขวางและกักตัว ใหจีนตักเตือนวากลาวจามปาและปลอยตัวคณะทูต

ดวย มีอยูครั้งหน่ึงไทยขอพระราชลัญจกรซ่ึงมีความสำคัญในการติดตอแทนของเกาเพราะถูกไฟไหม

Page 70: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระราชมนเทียร (พ.ศ. ๑๙๘๓) และไหมพระที่นั่งตรีมุข (พ.ศ. ๑๙๘๔)

๕. ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงสรางวัดราชบูรณะ (พ.ศ. ๑๙๖๗) และวัดมเหยงคณ

(พ.ศ. ๑๙๘๑) ที่พระนครศรีอยุธยา

วันวลิต ผูจัดการสำนักการคาของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.) สมัยสมเด็จ

พระเจาปราสาททอง ไดกลาวถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๒ (เจาสามพระยา) ในหนังสือพงศาวดาร

กรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต พ.ศ. ๒๑๘๒ วา

...พระองคเปนนักรบโดยกำเนิด ทรงเฉลียวฉลาด มีโวหารดี รอบคอบ มีความเมตตา กรุณา พระองคเอาใจใสดูแลทหารและขาราชบริพารเปนอยางดี พระองคทรงเปนนัก เสรีนิยม ทรงสรางและบูรณะวัดหลายแหง ทรงใหความชวยเหลือทั้งพระและคนยากจน พระองคทรงเปนกษัตริยที่มีความเมตตามากที่สุดเทาท่ีประเทศสยามเคยมี ทุก ๆ ๑๐ ถึง ๑๕ วัน พระองคจะเสด็จไปในเมืองและถามทุกขสุขประชาชนวา ทุกคนไดรับสิ่งของที่เขา มีสิทธิ์ที่จะไดและไดรับความชวยเหลือหรือไมเพียงไร…

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจาสามพระยา) ทรงเปนกษัตริยที่ยิ่งใหญพระองคหนึ่งของสมัย

กรุงศรีอยุธยา พระองคทรงรวมอาณาจักรสุโขทัยเขากับอาณาจักรอยุธยา ทรงแผอำนาจครอบคลุม

อาณาจักรขอมที่รุงเรืองและมีอำนาจมากท่ีเมืองพระนคร (Angkor) ทรงมีชัยชนะตออาณาจักรลานนา

ทรงติดตอคาขายกับจีน ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และทรงตั้งธรรมเนียมการมีพระมหาอุปราช

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๑ ทรงครองราชสมบัติรวม ๒๔ ป

วุฒิชัย มูลศิลป

เอกสารอางอิง

จอมเกลาเจาอยูหัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. ๒ เลม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร,

๒๕๔๒.

แชนดเลอร, เดวิด. ประวัติศาสตรกัมพูชา. พรรณงาม เงาธรรมสาร และคณะ, แปล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำรา

สังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, ๒๕๔๐.

ประพฤทธ์ิ ศุกลรัตนเมธี และวินัย พงศศรีเพียร. “จดหมายเหตุหมิงสือลูเกี่ยวกับอยุธยา.” ใน ศรีชไมยาจารย. วินัย

พงศศรีเพียร, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการชำระประวัติศาสตรไทย กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๔๕.

พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๐.

วัน วลิต. พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. ๒๑๘๒. วนาศรี สามนเสน, แปล. กรุงเทพฯ: ภาควิชา

ประวัติศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๒๓.

Page 71: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

วฒุชิยั มลูศลิป. “เม่ือประวตัศิาสตรโลกเกอืบเปลีย่นโฉมหนา: การสำรวจทางทะเลของจีนสมยัตนราชวงศหมงิ (Ming).”

วารสารราชบัณฑิตยสถาน. ปที่ ๑๘ ฉบับที่ ๑ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๓๕), หนา ๓๗-๕๐.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร.

กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.

สืบแสง พรหมบุญ. ความสัมพันธในระบบบรรณาการระหวางไทยกับจีน ค.ศ. ๑๒๘๒-๑๘๕๓. กาญจนี ละอองศรี, แปล.

กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, ๒๕๒๕.

Grimm, T. “Thailand in the Light of official Chinese Historiography. A Chapter in the ‘History of the Ming

Dynasty.’ ” The Journal of the Siam Society (JSS), Vol. XLIX Part I (July 1960): pp. 1-20.

Liew-Herres, Foon Ming and Grabowsky, Folker. Lan Na in Chinese Historiography. Bangkok: Institute of

Asian Studies, Chulalongkorn University, no date.

Wade, Geoff. “The Ming shi-lu as a Source for Thai History-Fourteenth to Seventeenth Centuries.” Journal of

Southeast Asian Studies, 31, 2 (September 2000): pp. 249-294.

Wyatt, David K. Thailand: A Short History. Second Edition. New Haven: Yale University Press, 2003.``

Page 72: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

รูปหลอครึ่งพระองคสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ประดิษฐาน ณ ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (หลังเดิม)

Page 73: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๘ แหงกรุงศรีอยุธยา เปน

พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๒ (เจาสามพระยา) พระราชชนนีเปนพระราชธิดา

พระมหาธรรมราชาที่ ๓ หรือพระยาไสลือไท (บางแหงวาเปนพระราชธิดาพระมหาธรรมราชาที่ ๒)

ในพระราชวงศสุโขทัย แตเสวยราชสมบัติอยูที่เมืองพิษณุโลก

ใน พ.ศ. ๑๙๗๔ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที ่๒ โปรดใหเตรียมกองทัพใหญไปตั้งประชุมพล ณ

ทุงพระอุทัย นอกกรุงศรีอยุธยาทางตะวันออกเฉียงเหนือ จะยกไปทำสงครามเอาเมืองพระนครใน

แควนกัมพูชา เวลานั้นพระราชชนนีทรงพระครรภแก เสด็จออกตามไปสงสมเด็จพระราชบิดาและ

ประสูติสมเด็จหนอพระพุทธเจาในกาลสมัยนั้น

เมื่อสมเด็จหนอพระพุทธเจาทรงเจริญพระชนมายุ ๗ พรรษา พระราชบิดาโปรดใหพระราชชนนี

เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลกเพ่ือทรงเยี่ยมพระมหาธรรมราชา ครั้งนั้นโปรดใหสมเด็จหนอพระพุทธเจา

ตามเสด็จไปดวยพระราชชนน ี ตอมาเมื่อพระชนมายุ ๙ พรรษา สมเด็จพระราชบิดาโปรดใหสถาปนา

พระนามวา สมเด็จพระราเมศวร ครั้นถึง พ.ศ. ๑๙๘๔ สมเด็จพระราเมศวรเจริญพระชนมายุ

๑๐ พรรษา สมเด็จพระราชบิดาโปรดใหสถาปนาพระอิสริยยศตั้งข้ึนไวเปนที่พระมหาอุปราชแหง

กรุงศรีอยุธยา

พ.ศ. ๑๙๙๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เสด็จสวรรคต พระมหาอุปราชข้ึนเสวยราชสมบัติ

เปนพระเจาแผนดินลำดับที่ ๘ แหงกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามวาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ขณะ

มีพระชนมายุ ๑๗ พรรษา ทรงปกครองแผนดินแหงกรุงศรีอยุธยานาน ๑๕ ป และไดรวมแควนสุโขทัย

เขามารวมเปนแผนดินเดียวกับกรุงศรีอยุธยา ทรงปกครองไดเปนปกแผนตอมาอีก ๒๕ ป นับไดวา

ยาวนานย่ิงในสมัยอยุธยา

ชวงเวลา ๔๐ ปในแผนดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีพระราชดำริริเริ่มและทรงพระราช-

กรณียกิจสำคัญอันเปนคุณประโยชนยิ่งนานาประการแกการบริหารราชการ กระบวนการยุติธรรม

ความมั่นคงของรัฐ การบำรุงรักษาศาสนาโดยเฉพาะอยางยิ่งทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และทรง

พระราชนิพนธวรรณกรรมมหาชาติคำหลวงอันเปนพระราชมรดกชิ้นสำคัญที่ตกทอดมาจนปจจุบัน

เปนตน ซึ่งพระราชดำริการใหม และพระราชกรณียกิจสำคัญเหลานี้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรง

ทำมาตลอดสมัยในระหวางทรงปกครองแผนดิน

เมือ่สมยัแรกทีส่มเดจ็พระบรมไตรโลกนาถเสดจ็ข้ึนเสวยราชสมบตัแิละประทบั ณ พระราชวงัเดมิ

ที่พระราชบิดาเคยประทับ ไมนานก็โปรดใหสรางพระราชวังแหงใหมขึ้น ณ บริเวณพื้นที่ที่อยูถัด

Page 74: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระราชวังเดิมขึ้นไปทางเหนือใกลแมน้ำลพบุรี พระราชวังใหมนี้ โปรดใหสรางพระมหาปราสาทข้ึน

เปนประธานแหงพระราชวังชื่อเบญจารัตนมหาปราสาท ประกอบดวยพระราชมนเทียร พระตำหนัก

เรือนหลวง คลังตาง ๆ และบริวารสถานพรอมตามขนบนิยมโดยโบราณราชประเพณี

การปกครองบานเมืองในพระราชอาณาจักรกอนแผนดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเปนการ

ปกครองโดยพระเจาแผนดินซึ่งเปนศูนยกลางแหงอำนาจในการปกครอง โดยไดมอบสิทธิและหนาที่ใน

อำนาจท่ีบุคคลในราชสกุลควรไดรับไปจัดการปกครองบานเล็กเมืองนอยตามฐานะและขนาด ครั้น

มาถึงแผนดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตระหนักถึงความสำคัญ จึงเลิกสงพระเจาลูกเธอ

พระเจาหลานเธอไปกินเมือง คงใหมีตำแหนงอยูในราชธานี เพื่อปองกันมิใหพระเจาลูกเธอ พระเจา

หลานเธอมีโอกาสซองสุมผูคนเปนกำลังกอเหตุขึ้นในแผนดินเหมือนดังในกาลที่ผานมา การปฏิรูปการ

ปกครองจึงเริ่มดวยการจัดฐานะเมืองตามขนาดและความสำคัญ จัดตั้งเปนเมืองเอก เมืองโท และ

เมืองตรี

การบริหารราชการแผนดินกอนรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระมหากษัตริยทรงรับ

เปนพระราชภาระและบริหารราชการแผนดินทั้งดานการปกครอง การยุติธรรม การเศรษฐกิจ การ

เกษตรกรรม การศาสนา เปนตน โดยมีเจานาย ขุนนาง เจาพนักงานแบงรับสนองพระราชกิจไดบาง

แตก็ยังมิไดเปนระบบระเบียบที่ชัดเจนอยางมีประสิทธิภาพ กิจราชการตาง ๆ อาจมีการปฏิบัติ

ผิดกระทรวงลวงกรมกัน อันเปนผลใหสวนราชการไมมั่นคงเรียบรอย ยอมไมเปนการดีแกการบริหาร

ราชการ ซึ่งราชการและสังคมสมัยนั้นกวางขวางข้ึนกวาสมัยกอน ๆ

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดใหมีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผนดินขึ้นใหเปนระเบียบ

ใหม พลเมืองฝายทหารตั้งอธิบดีเปนผูบริหารราชการเปน “สมุหพระกลาโหม” และพลเมือง

ฝายพลเรือนตั้งอธิบดีผูบริหารราชการเปน “สมุหนายก” ทั้งสองตำแหนงนี้ใหมีตำแหนงเปน “อัคร

มหาเสนาบดี” รับสนองพระราชกิจเหนือขุนนางช้ันรองลงไปดวย

ตอมาโปรดใหตั้งบุคคลขึ้นรับสนองพระราชกิจสำคัญสำหรับการบริหารราชการแผนดิน ๔ ฝาย

อันเปรียบเปนเสาหลักสำหรับค้ำจุนความมั่นคงและม่ังคั่งแกบานเมือง เรียกวา “จัตุสดมภ” คือ

ตำแหนงอธิบดีกรมวัง อธิบดีกรมคลัง อธิบดีกรมเมือง (เวียง) และอธิบดีกรมนา

ในแผนดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไดเกิดปรากฏการณใหมขึ้นในสังคมแหงกรุงศรีอยุธยา

และในประวัติศาสตรชาติไทยในสมัยตอมา กลาวคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดใหตั้งและกำหนด

ศักดินาขึ้นสำหรับตัวบุคคลที่เปนเจานาย ขาราชการ และพลเมืองทุกบุคคลท่ีมีภูมิลำเนาในพระราช

อาณาเขตแหงกรุงศรีอยุธยา เพื่อยกฐานะและความสามารถในความเปนมนุษยของแตละบุคคลให

ปรากฏเปนที่ยอมรับทางสังคม ประเพณีนิยม ระบบราชการ สิทธิและผลประโยชนกับกระบวนการ

ยุติธรรม เปนตน

Page 75: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดใหตราพระราชกำหนดกฎมณเฑียรบาล เปนกฎระเบียบในการ

ปฏิบัติราชการมิใหเปนความผิดตอพระเจาแผนดิน มิใหบกพรองแกราชการ มิใหเปนเหตุแกพระเจา

แผนดินและพระบรมวงศานุวงศ มิใหทำความช่ัวใหเปนท่ีเสียพระเกียรติยศของพระเจาแผนดิน

เปนตน อนึ่ง กฎมณเฑียรบาลซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถใหตราข้ึนครั้งแรกเปนพระราชกำหนดใน

แผนดินของพระองคนั้น ไดถือเปนพระราชกำหนด เปนกฎหมายสำหรับราชการในพระราชสำนักแหง

กรุงศรีอยุธยาตอมาเปนลำดับ ทั้งยังไดรับสืบตอมาเปนกฎมณเฑียรบาลสำหรับพระราชสำนักแหง

กรุงรัตนโกสินทรดวย

การรักษาและผดุงความม่ันคงของพระเจาแผนดินซึ่งทรงเปนพระประมุขแหงพระราชอาณาเขต

กับสถาบันราชการ สังคม พลเมือง และแวนแควน มิใหมีเหตุเปนภัยข้ึนภายใน หรือมาแตภายนอก

จนนำมาซึ่งภัยเปนอันตรายแกความสงบเปนปกติสุข จึงตองมีกฎหมายเพื่อยับยั้งหามปรามและ

ปราบการณตาง ๆ ที่จะเปนเหตุบั่นทอนความมั่นคงทั้งในสวนพระเจาแผนดิน การบริหารราชการ

สวัสดิภาพของพลเมือง เพื่อมิใหเปนจลาจลข้ึนในแผนดิน เปนตน

ในแผนดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีกฎหมายวาดวยการรักษาความมั่นคง ซ่ึงโปรดใหตรา

ขึ้น คือพระไอยการอาชญาหลวงกับพระไอยการลักษณะขบถศึก

เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย ณ กรุงศรีอยุธยาได ๓ ป ระหวางนั้นทรง

จัดการบริหารราชการใหเปนปกติเรียบรอย ดังการสรางพระราชวังใหม การปฏิรูประบบขาราชการ

เปนตน ในการศึกสงคราม พระเจาติโลกราชแหงนครเชียงใหมไดยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ.

๑๙๙๔

ตอมา พ.ศ. ๑๙๙๘ เมืองมะละกาซึ่งเปนเมืองข้ึนแกกรุงศรีอยุธยามาแตกอน เจาเมืองตั้งตัว

เปนขบถ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดใหสงกองทัพลงไปปราบและไดเมืองมะละกาคืนมาดังเดิม

อนึ่ง ในชวงระยะเวลาของพระองค ปรากฏวาทรงแผพระบรมเดชานุภาพเหนือดินแดนลาว กัมพูชา

และทวายดวย นอกจากนั้นยังทรงทำสงครามอีกหลายครั้งกับเชียงใหม เพื่อปองกันเมืองกำแพงเพชร

เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย หลังจากท่ีมีศึกสงครามกับฝายลานนาน้ีเอง ทำใหสมเด็จพระ

บรมไตรโลกนาถเสด็จไปเสวยราชยที่เมืองพิษณุโลกและคอยทรงบัญชาการรบ พระองคเสด็จออก

ผนวชที่วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๘ ทรงพระผนวชเปนเวลานานถึง ๘ เดือน หลังจาก

ทรงลาพระผนวชแลว สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงครองราชยอยูตอไปที่เมืองพิษณุโลก และเสด็จ

สวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๓๑ ขณะพระชนมายุได ๕๖ พรรษา

จุลทัศน พยาฆรานนท

Page 76: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชวังและวัดโบราณในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนคร: โรงพิมพสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี,

๒๕๑๑. (พิมพในงานพระราชทานเพลิงศพ นายจำรัส เกียรติกอง วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑)

ฉันทิชย กระแสสินธุ. ทวาทศมาส โคลงดั้น. กรุงเทพฯ: ศิริมิตรการพิมพ, ๒๕๒๑.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา. นิทานโบราณคดี. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๖.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๑ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. กรุงเทพฯ: กอง

วรรณกรรมและประวัติศาสตร กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๑. กรงุเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๘.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร.

กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.

. ๕๐๐ ป สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตน

ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.

Page 77: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางประสานบาตร อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว

ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 78: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๙ แหงกรุงศรีอยุธยา

และเปนรัชกาลท่ีมีปญหาไมนอยในประวัติศาสตร พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุ-

มาศ (เจิม) พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากตนฉบับของบริติชมิวเซียม และพระราชพงศาวดาร

กรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระพนรัตนไมไดกลาวถึงรัชกาลนี้ไว ขณะที่พระราชพงศาวดารฉบับ

พระราชหัตถเลขาไมไดกลาวถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที ่๓ แตกลาวถึงรัชกาลสมเด็จพระ

อินทราชาธิราชที่ ๒ เชนเดียวกับพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตที่กลาวถึงรัชกาลสมเด็จพระ

อินทราชา อยางไรก็ตาม สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายวา

รัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๒ น้ันที่ถูกควรเรียกวา รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓

สวนช่ืออินทราชาน้ันเปนพระนามของพระราชโอรสองคหนึ่งของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แตคง

สิ้นพระชนมในการสูรบเมื่อคราวที่พระเจาติโลกราชเจาเมืองเชียงใหมยกทัพมาตีเมืองสุโขทัยเมื่อ

พ.ศ. ๒๐๐๖

พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ใหขอมูลวาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๖

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไปเสวยราชยที่เมืองพิษณุโลกเพื่อตั้งรับทัพพระเจาติโลกราชเจาเมือง

เชียงใหม และพระยายุทธิษเฐียรเจาเมืองเชลียงที่ยกทัพมาตีสุโขทัย พิษณุโลก และกำแพงเพชร ทรง

ใหสมเด็จพระบรมราชาธิราชเปนกษัตริยครองที่อยุธยา ดังนั้นในชวงเวลาดังกลาวอาณาจักรอยุธยาจึง

เสมือนมีกษัตริย ๒ พระองค คือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปกครองเมืองพิษณุโลกองคหนึ่ง และ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชครองพระนครศรีอยุธยาอีกพระองคหนึ่ง การมีกษัตริย ๒ พระองคปกครอง

พรอมกันนี้ดำเนินตอมาถึง พ.ศ. ๒๐๓๑ เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคตที่พิษณุโลก

สมเด็จพระบรมราชาธิราชจึงเปนกษัตริยเพียงพระองคเดียว พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวง

ประเสริฐอักษรนิติ์ใหขอมูลเพิ่มเติมวา พระองคครองราชยตอมาอีก ๓ ป และเสด็จสวรรคตเมื่อ

พ.ศ. ๒๐๓๔ ดังน้ันถาหากจะนับชวงเวลาครองราชยจริงของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ โดยไมนับ

ชวงที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยังคงมีอำนาจอยูที่พิษณุโลกคือ ๓ ป ระหวาง พ.ศ. ๒๐๓๑ -

พ.ศ. ๒๐๓๔

พระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๓ ท่ีปรากฏในพระราชพงศาวดารแตละฉบับ

ไมสอดคลองกันนัก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระราชพงศาวดาร

กรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระพนรัตน และพระราชพงศาวดารกรุงสยามจากตนฉบับของบริติช

มิวเซียมระบุวา

Page 79: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พ.ศ. ๑๙๙๗ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระราชโอรส

พ.ศ. ๒๐๐๙ พระบรมราชาผูเปนพระราชโอรสทรงผนวช

พ.ศ. ๒๐๑๐ สมเด็จพระราชโอรสเจาลาผนวชและตั้งเปนพระมหาอุปราช

พ.ศ. ๒๐๑๓ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคต

พ.ศ. ๒๐๑๖ สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจาขึ้นเสวยราชสมบัติเปนสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

ขอมูลดังกลาวชี้ใหเห็นวา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระราชโอรสทรงพระนามวาบรมราชา

ซึ่งตอมาไดขึ้นครองราชสมบัติเปนสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แตชวงเวลาระหวาง พ.ศ. ๒๐๑๓-

พ.ศ. ๒๐๑๖ กอนไดขึ้นครองราชย สมเด็จพระบรมราชาทรงทำอะไรไมมีขอมูลแนชัด รวมทั้งไมได

กลาวถึงการที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไปครองราชยที่พิษณุโลก และมีกษัตริยอีกองคปกครอง

ที่พระนครศรีอยุธยา นอกจากน้ีชวงเวลาตาง ๆ ดูสับสนตางจากพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับ

หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ เชน เรื่องปสวรรคตของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ฯลฯ

เมื่อพิจารณาพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์อยางละเอียดก็จะพบวา

ไมมีเน้ือความตอนใดกลาวถึงความสัมพันธที่ชัดเจนของสมเด็จพระบรมราชาและสมเด็จพระบรม-

ไตรโลกนาถ นักวิชาการบางคนเห็นวาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที ่๓ นาจะเปนพระอนุชาสมเด็จพระ

บรมไตรโลกนาถ โดยยกขอมูลจากพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ตอนที่กลาว

ถึงเหตุการณ พ.ศ. ๒๐๒๗ ที่วา “สมเด็จพระเชถถาทีราชเจาแลสมเด็จพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาทีราชเจาทรงพระผนวชท้ัง ๒ พระองค” วาไมนาจะเปนไปไดที่สมเด็จพระเชษฐาธิราชพระ

ราชโอรสสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถท่ีทรงพระราชสมภพเม่ือ พ.ศ. ๒๐๑๕ ตามขอมูลพระราช-

พงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์จะผนวชพรอมกันกับพระนัดดา (ในกรณีที่สมเด็จพระ

บรมราชาธิราชเปนพระราชโอรสสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) อยางไรก็ดี นักวิชาการสวนใหญ

เห็นพองกันวาสมเด็จพระบรมราชาธิราชเปนพระราชโอรสองคหนึ่งของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

เชนเดียวกับสมเด็จพระเชษฐาธิราช แตคงจะมีอายุตางกันมาก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ทรงอธิบายวานาจะมีอายุตางกัน ๒๐ ปขึ้นไป สมเด็จพระเชษฐาธิราชนี้ใน พ.ศ. ๒๐๒๘ ไดรับการ

สถาปนาเปนพระมหาอุปราช แตไมไดบอกแนชัดวาเปนมหาอุปราชเฉพาะหัวเมืองเหนือหรือทั่ว

ราชอาณาจักร และใน พ.ศ. ๒๐๓๔ หลังจากสมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคตแลวไดขึ้น

เสวยราชสมบัติที่พระนครศรีอยุธยา ทรงพระนามวาสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ทรงเปนกษัตริยที่มีความสามารถยิ่งอีกพระองคหนึ่ง พระราช-

พงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ใหขอมูลวาในชวงปลายรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลก-

นาถราว พ.ศ. ๒๐๓๑ เสด็จไปตีเมืองทวาย สวนพระราชกรณียกิจกอนหนานี้ที่มีการกลาวถึงไวคือ

การเสด็จไปวังชางที่ตำบลไทรยอยใน พ.ศ. ๒๐๒๖ และที่ตำบลสำฤทธบุรณใน พ.ศ. ๒๐๒๙ เมื่อเปน

กษัตริยอยางสมบูรณแลว พระราชกรณียกิจที่สำคัญคือการกอกำแพงเมืองพิชัยใน พ.ศ. ๒๐๓๓

Page 80: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๔ สวนพระราชโอรสของ

พระองคที่ผนวชพรอมกับสมเด็จพระเชษฐาธิราชใน พ.ศ. ๒๐๒๗ ไมไดรับการกลาวถึงในพระราช-

พงศาวดารอีกเลย

วรพร ภูพงศพันธุ

เอกสารอางอิง

“พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์.” ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๑.

กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

“พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม).” ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๓.

กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระพนรัตน. พระนคร: คลังวิทยา, ๒๕๑๕.

พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากตนฉบับที่เปนสมบัติของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน. พิมพครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: กรม

ศิลปากร, ๒๕๓๗.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. พิมพครั้งที่ ๗. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.

Page 81: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางหามมาร อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 82: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๑๐ แหงกรุงศรีอยุธยา ทรง

อยูในราชวงศสุพรรณภูมิ ครองราชสมบัติระหวาง พ.ศ. ๒๐๓๔ - พ.ศ. ๒๐๗๒ รวมระยะเวลา ๓๘ ป

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๕ ทรงพระนามเดิมวา พระเชษฐาธิราช เปน

พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระชนนีของพระองคมีเช้ือสายราชวงศพระรวงแหง

กรุงสุโขทัย ตอมาใน พ.ศ. ๒๐๒๗ ขณะพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ทรงบรรพชาพรอมกับพระราชโอรส

ในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ปตอมาทรงลาพระผนวชและไดรับโปรดเกลาฯ แตงตั้งเปน

พระมหาอุปราช

เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๓๑ ที่เมืองพิษณุโลกนั้น สมเด็จพระ

บรมราชาธริาชท่ี ๓ ซึง่รกัษากรงุศรอียธุยามาต้ังแต พ.ศ. ๒๐๐๖ (เม่ือครัง้ท่ีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

เสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลกเปนการถาวร) ไดเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบตอมาจนกระท่ังเสด็จ

สวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๓๔ สมเด็จพระเชษฐาธิราช พระมหาอุปราชจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

ปตอมาโปรดเกลาฯ ใหสรางพระมหาสถูป ๒ องค เพือ่บรรจพุระบรมอฐัขิองสมเดจ็พระบรมไตรโลกนาถ

และสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สรุปไดดังนี้

ดานการปกครองและการสงคราม สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดเกลาฯ ใหทำพิธีปฐมกรรม

คือพิธีพราหมณเบื้องตนของการคลองชาง เม่ือ พ.ศ. ๒๐๔๐ ตอมาทรงใหยกกองทัพไปตีนครลำปาง

ไดใน พ.ศ. ๒๐๕๘ และใน พ.ศ. ๒๐๖๑ โปรดเกลาฯ ใหแตงตำราพิชัยสงครามขึ้นเพื่อใชเปนแบบแผน

ในการทำศึกสงคราม การจดักองทพั กระบวนเดินทพั การต้ังทพั และวิธกีารสูรบ อีกทัง้ในปเดยีวกนันี ้

ยังโปรดเกลาฯ ใหมีการสำรวจและทำบัญชีผูคนเปนครั้งแรก เรียกวา “สารบาญชี” นอกจากนี้ยังมี

การขุดลอกคลองศีรษะจระเขและคลองทับนางไปออกแมน้ำเจาพระยาดวย

อน่ึง ถาพจิารณาจากพงศาวดารโยนกแลว อาจกลาวไดวาในระหวางทีส่มเดจ็พระรามาธบิดทีี่ ๒

ครองราชยนั้น มีการทำสงครามกับอาณาจักรลานนาอยูหลายครั้ง จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๐๖๕ ทาง

กรุงศรีอยุธยาไดขอเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรลานนา สงครามระหวางอาณาจักรอยุธยากับ

อาณาจักรลานนาจึงสิ้นสุดลง

ดานศาสนา ใน พ.ศ. ๒๐๔๒ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดเกลาฯ ใหสรางพระวิหารในวัด

พระศรีสรรเพชญ และในปตอมาโปรดเกลาฯ ใหหลอพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ สูง ๘ วา หนัก

๕๓,๐๐๐ ชั่ง และหุมดวยทองคำหนัก ๒๘๖ ชั่ง แลวเสร็จใน พ.ศ. ๒๐๔๖ ซึ่งโปรดเกลาฯ ใหมีพิธี

Page 83: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ฉลองพระ และถวายพระนามพระพุทธรูปวา พระศรีสรรเพชญ

ดานความสัมพันธกับตางประเทศ ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ มีการติดตอคาขาย

และเจริญสัมพันธไมตรีกับตางประเทศ เชน มีการสงทูตไปยังประเทศจีนหลายครั้ง ไดแก ใน พ.ศ.

๒๐๓๔ พ.ศ. ๒๐๕๘ และ พ.ศ. ๒๐๖๙ สวนประเทศตะวันตกนัน้ ในรัชสมยันีม้ชีาตติะวนัตกชาตแิรก

เขามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา คือ โปรตุเกส ซ่ึงเขามาใน พ.ศ. ๒๐๕๔ โดยอัลฟองโซ

เดอ อัลบูแกรเกอ (Alfonso de Albuquerque) ผูเปนแมทัพใหญคุมกองเรือโปรตุเกสและเปน

ขาหลวงตางพระองคพระเจามานูเอลแหงโปรตุเกสมาประจำท่ีเมืองมะละกา ไดสงทูตเขามายัง

กรุงศรีอยุธยาหลายคร้ัง คือใน พ.ศ. ๒๐๕๔ พ.ศ. ๒๐๕๕ พ.ศ. ๒๐๕๙ และ พ.ศ. ๒๐๖๑ จนกระทั่ง

มีการทำสัญญาพระราชไมตรีกับตางประเทศเปนครั้งแรก โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงอนุญาตให

โปรตุเกสเขามาตั้งสถานีการคาที่กรุงศรีอยุธยาและเมืองปตตาน ีรวมท้ังใหเขามาคาขายและอาศัยอยูใน

เมืองนครศรีธรรมราช ทวาย และมะริดไดดวย

นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณตาง ๆ เกิดขึ้นในรัชกาลอีก เชน ใน พ.ศ. ๒๐๖๗ มีการทอดบัตร

สนเทหและมีการประหารขุนนางหลายคน ในปตอมาเกิดแผนดินไหว ใน พ.ศ. ๒๐๖๙ ก็เกิดขาวยาก

หมากแพง และในปเดยีวกนันีส้มเดจ็พระรามาธบิดทีี่ ๒ โปรดเกลาฯ สถาปนาสมเดจ็หนอพุทธางกรูเจา

เปนพระมหาอุปราชและใหเสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก

เยเรเมียส ฟาน ฟลีต กลาวถงึสมเด็จพระรามาธิบดทีี่ ๒ วาพระองคทรงทำใหพระราชอาณาจักร

รมเยน็เปนสขุ รุงเรืองและสมบูรณพนูสขุยิง่กวาในรชักาลของพระเจาแผนดนิสยามทุกพระองค

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๒ มีพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ทรงอยู

ในราชสมบัติรวม ๓๘ ป

ปยรัตน อินทรออน

เอกสารอางอิง

ขจร สุขพานิช. ขอมูลประวัติศาสตร: สมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, ๒๕๒๓.

คำใหการชาวกรงุเกา คำใหการขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรงุเกาฉบับหลวงประเสรฐิอกัษรนติิ.์ พมิพครัง้ที ่๒.

พระนคร: คลังวิทยา, ๒๕๑๕.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา. พงศาวดารเรื่องไทยรบพมา. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๘.

ประชากิจกรจักร (แชม บุนนาค), พระยา. พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.

ประชมุพงศาวดาร เลม ๓๘ ภาคท่ี ๖๔ พระราชพงศาวดารกรุงศรอียธุยาฉบับพนัจนัทนมุาศ (เจิม). พระนคร: องคการคา

คุรุสภา, ๒๕๑๒.

Page 84: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ประชุมพงศาวดาร เลม ๓๙ ภาคท่ี ๖๔ (ตอ) พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). พระนคร:

องคการคาคุรุสภา, ๒๕๑๒.

ประวัติการทูตของไทย. พระนคร: โรงพิมพพระจันทร, ๒๕๐๑. (พิมพในงานพระราชทานเพลิงศพ หมอมเจาดิลกฤทธ์ิ

กฤดากร ณ เมรุหนาพลับพลาอิศริยาภรณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ ๒๕๐๑)

พระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ฯ. กรุงเทพฯ: ตนฉบับ, ๒๕๔๐.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. ๒ เลม. พิมพครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว. พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร. กรุงเทพฯ:

สมาคมประวัติศาสตรในพระบรมราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.

สมจัย อนุมานราชธน. การทูตของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา. พระนคร: โรงพิมพไทยเขษม, ๒๔๙๓.̀̀

Page 85: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางทรงรับอุทกัง อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว

ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 86: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (หนอพุทธางกูร)

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (หนอพุทธางกูร) ทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๑๑

แหงกรุงศรีอยุธยา พระนามเดิมสมเด็จพระอาทีตยเจา เปนพระราชโอรสสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

ที่คงจะประสูติแตอัครมเหสี ตำแหนงหนอพุทธางกูรระบุในกฎมณเฑียรบาลวา พระราชกุมารที่เกิด

ดวยอัครมเหสีคือสมเด็จหนอพระพุทธเจา ตำแหนงนี้เปนตำแหนงสูงสุดที่พระราชโอรส (เพียง

พระองคใดพระองคหนึ่ง) ของอัครมเหสีมีโอกาสไดรับ ในประวัติศาสตรไทยมีสมเด็จหนอพุทธางกูรข้ึน

เปนกษัตริยเพียงพระองคเดียว คือสมเด็จพระบรมราชาหนอพุทธางกูร กอนขึ้นเปนกษัตริยที่อยุธยา

ทรงไดรับแตงตั้งใหเปนพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก

สมเด็จพระบรมราชาหนอพุทธางกูรครองราชยอยูประมาณ ๔–๕ ป (พ.ศ. ๒๐๗๒ - พ.ศ.

๒๐๗๖) เสด็จสวรรคตดวยโรคไขทรพิษ อยางไรก็ตาม ชวงเวลาท่ีครองราชยพระราชพงศาวดารให

ขอมูลไมตรงกันนัก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระราชพงศาวดาร

กรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระพนรัตน พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม และพระราช-

พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากลาวไวตรงกันวา พ.ศ. ๒๐๔๙ สมเด็จพระอาทิตยวงศไดเปนท่ี

พระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก พ.ศ. ๒๐๕๒ ข้ึนเสวยราชยเปนกษัตริยที่อยุธยา พ.ศ. ๒๐๕๖

เสด็จสวรรคต ขณะที่พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ระบุวา พ.ศ. ๒๐๖๙

ไดเปนที่อุปราชครองเมืองพิษณุโลก ขึ้นเสวยราชยที่อยุธยาใน พ.ศ. ๒๐๗๒ และเสด็จสวรรคตเมื่อ

พ.ศ. ๒๐๗๖ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตรไทยเห็นวาขอมูลพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับ

หลวงประเสริฐอักษรนิติ์คอนขางนาเชื่อถือ จึงเห็นพองกันวารัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาหนอ

พุทธางกูรมีระยะเวลา ๔ ป คือระหวาง พ.ศ. ๒๐๗๒ - พ.ศ. ๒๐๗๖

พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชาหนอพุทธางกูรไมปรากฏในพระราชพงศาวดารของ

ไทย ทั้งนี้อาจเปนเพราะชวงเวลาครองราชยคอนขางสั้น แตพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตให

ขอมูลวาพระองคเปนกษัตริยที่โปรดการสงคราม มีพระปรีชาสามารถมาก ทรงแตงตั้งผูใจบุญและ

ซื่อสัตยใหดำรงตำแหนงทางศาล เปนผูทรงไวซึ่งความยุติธรรม ทรงทำสงครามกับลานชางและพะโค

แตตลอดระยะเวลาท่ีทรงครองราชยบานเมืองเต็มไปดวยความยุงยากไมมีเวลาสงบ

เมื่อสมเด็จพระบรมราชาหนอพุทธางกูรเสด็จสวรรคต สมเด็จพระรัฏฐาธิราชพระโอรสขึ้นเสวย

ราชสมบัติตอ แตอยูในตำแหนงไมนานราชสมบัติก็ตกแกสมเด็จพระไชยราชาธิราช

วรพร ภูพงศพันธุ

Page 87: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เอกสารอางอิง

“พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบบัหลวงประเสริฐอักษรนติิ.์” ใน ประชมุพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๑. กรงุเทพฯ:

กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

“พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม).” ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๓.

กรงุเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระพนรัตน. พระนคร: คลังวิทยา, ๒๕๑๕.

พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากตนฉบับที่เปนสมบัติของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน. พิมพครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: กรม

ศิลปากร, ๒๕๓๗.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. พิมพครั้งที่ ๗. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.

พิเศษ เจียจันทรพงษ. สุริโยไท: ประวัติศาสตรจากภาพยนตร. กรุงเทพฯ: รีดเดอรพับลิชชิ่ง, ๒๕๓๗.

รวมบันทึกประวัติศาสตรอยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๖.``

Page 88: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางเสวยมธุปายาส อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระรัษฎาธิราช

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 89: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระรัษฎาธิราช

สมเด็จพระรัษฎาธิราชทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๑๒ แหงกรุงศรีอยุธยา อยูใน

ราชวงศสุพรรณภูมิ สมเด็จพระรัษฎาธิราชหรือสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมารเปนพระราชโอรสของ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (หนอพุทธางกูรหรือสมเด็จพระอาทิตยวงศ ครองราชย พ.ศ. ๒๐๗๒ -

พ.ศ. ๒๐๗๖)

เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๔ ประชวรพระโรคไขทรพิษสวรรคต สมเด็จพระรัษฎาธิราช

กุมารมีพระชนมายุเพียง ๕ พรรษา ไดเสด็จเสวยราชยอยู ๕ เดือน พระไชยราชาก็ทรงชิงราชสมบัติ

และจับสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมารสำเร็จโทษเมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๗

หลักฐานพระราชพงศาวดารฉบับตาง ๆ กลาวตรงกันเรื่องพระชนมายุของสมเด็จพระรัษฎาธิราช

และระยะเวลาอันสั้นที่ทรงครองราชย แตในสวนเรื่องความสัมพันธของพระไชยราชากับสมเด็จพระ

รัษฎาธิราชน้ันแตกตางกันไปบาง สังคีติยวงศระบุวาพระไชยราชาเปนพระภาคิไนยของสมเด็จพระ

รามาธิบดีที่ ๒ ดังนั้นถานับตามภาษาสามัญคือเปนลูกพี่ลูกนองของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต วาเปนพระญาติหาง ๆ และปกครอง

พระราชอาณาจักรในฐานะผูสำเร็จราชการแผนดิน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาวาเปน

ราชวงศของสมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรง

สันนิษฐานวา พระไชยราชานาจะเปนพระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ตางพระชนนี

กับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ และทรงครองเมืองพิษณุโลกกอนท่ีจะเสด็จมาชิงราชสมบัติ ณ

กรุงศรีอยุธยา

สุกัญญา บำรุงสุข

เอกสารอางอิง

คำใหการชาวกรุงเกา คำใหการขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ฉบับ

หอสมุดแหงชาติ. พระนคร: คลังวิทยา, ๒๕๐๗.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๑. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.

วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร เลม ๓ (หมวดศาสนจักร) สังคีติยวงศ. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร,

๒๕๔๕.

Page 90: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร.

กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงคในพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ฉบับเสริมการเรียนรู เลม ๓.

กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ, ๒๕๕๒.

หนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับพิมพ ร.ศ. ๑๒๐. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๐.``

Page 91: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางฉันสมอ อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระไชยราชาธิราช

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 92: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระไชยราชาธิราช

สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๑๓ แหงกรุงศรีอยุธยา ครอง

ราชสมบัติระหวาง พ.ศ. ๒๐๗๗ - พ.ศ. ๒๐๘๙ สมเด็จพระไชยราชาธิราชเปนพระราชโอรสของ

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ที่ประสูติแตพระสนม เม่ือราว พ.ศ. ๒๐๔๒ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

สวรรคต สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (เจาหนอพุทธางกูรพระเชษฐาตางพระมารดาของสมเด็จ

พระไชยราชาธิราช) เสด็จขึ้นครองราชย (พ.ศ. ๒๐๗๒ - พ.ศ. ๒๐๗๖) ตอมาสมเด็จพระรัษฎาธิราช

พระราชโอรสเสด็จขึ้นครองราชย (พ.ศ. ๒๐๗๖ - พ.ศ. ๒๐๗๗) เปนเวลาเพียง ๕ เดือน สมเด็จพระไชย

ราชาธิราชทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชและใหสำเร็จโทษเสีย

สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อพระชนมายุได ๓๕ พรรษา เปนกษัตริยที่

ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงสงเสริมการคากับตางประเทศ เสริมสรางความมั่นคงของอาณาจักร มีการ

ทำสงครามกับอาณาจักรขางเคียงหลายคร้ัง การสงครามระหวางไทยกับพมาเกิดขึ้นเปนครั้งแรกใน

สมัยน้ี ในชวงเวลาน้ันอาณาจักรขางเคียงมีกษัตริยที่เขมแข็งปกครอง คือพมามีพระเจาตะเบงชะเวต้ี

(พ.ศ. ๒๐๗๔ - พ.ศ. ๒๐๙๔) ลานชางมีพระเจาโพธิสารราช หรือท่ีชาวลาวออกพระนามวา

โพธิสาละราช (พ.ศ. ๒๐๖๓-พ.ศ. ๒๐๙๓) เขมรมีพระเจาจันทราชาหรือนักองคจัน (พ.ศ. ๒๐๕๙ -

ราว พ.ศ. ๒๑๐๙) มีเพียงอาณาจักรลานนาท่ีมีความยุงยากภายในเพราะการแยงชิงราชสมบัติจึง

ออนแอ ดังน้ัน สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงตองทรงทำสงครามกับเพื่อนบานหลายครั้ง ทั้งเพื่อปกปอง

ราชอาณาจักรและขยายอำนาจ นอกจากน้ี เม่ือเสด็จข้ึนครองราชยใหม ๆ พระองคยังทรงเผชิญกับ

การกบฏของพระยานารายณที่เมืองกำแพงเพชรแตพระองคทรงสามารถปราบลงได พระยานารายณ

ถูกจับและถูกประหารชีวิตเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๑ เหตุการณนี้เกิดขึ้นหลังจากการยกทัพไปขับไลพมาที่เมือง

เชียงไกรเชียงกราน หรือเรียกสั้น ๆ วาเชียงกราน (ปจจุบันเรียกวาเมืองอัตรัน Attaran) ซ่ึงอยูใกล ๆ กับ

เมืองมะละแหมงในพมาตอนลาง

สงครามระหวางไทยกับพมาครั้งแรกเกิดขึ้นหลังจากการส้ินสุดของอาณาจักรพุกาม และเกิด

การแตกแยกชิงอำนาจกันทั้งจากพวกพมา มอญ และไทยใหญ ตอมาพระเจาตะเบงชะเวตี้ทรง

รวบรวมพมาขึน้ใหมทีเ่มอืงตองอตูอจากพระเจามหาสริชิยัสรุะพระราชบิดาท่ีทรงสถาปนาราชวงศตองอ ู

ขึ้นมา พระเจาตะเบงชะเวต้ีทรงเริ่มขยายอำนาจลงมาทางใตเพื่อปราบอาณาจักรมอญท่ีเมืองพะโค

หรือหงสาวดี ซึ่งมั่งค่ังร่ำรวยจากการคาและมีกำลังผูคนมาก ทำใหพวกมอญหลบหนีลงมาที่เมือง

เชียงกราน เมืองนี้อยูภายใตการปกครองของไทย พระเจาตะเบงชะเวตี้ไดยกกองทัพตามลงมาเมื่อ

พ.ศ. ๒๐๘๑ ท้ังนี้ตามที่สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐาน

Page 93: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

จากขอความในพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ที่วา สมเด็จพระไชยราชาธิราช

เสด็จไปเชียงไกรเชียงกราน

สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงทราบขาวจึงเสด็จยกกองทัพไปขับไล ในจำนวนทหารที่ยกไปนี้ มี

ทหารอาสาโปรตุเกสหรือนักเผชิญโชคชาวโปรตุเกสรวมไปดวย ๑๒๐ คน ท้ังนี้ตามความเห็นของ

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งอางหลักฐานจากขอเขียนของเฟอรนาว เมนเดส ปนโต

(Ferñao Mendes Pinto) นักเดินทางชาวโปรตุเกสที่เขามากรุงศรีอยุธยาและท่ีอื่น ๆ ในเวลาน้ัน แตถา

พิจารณาขอเขียนดังกลาว ปนโตกลาวถึงทหารอาสา ๑๒๐ คน ในขณะที่กรุงศรีอยุธยาไปรบกับลานนา

ในตอนปลายรัชกาล อยางไรก็ดี นาจะมีทหารอาสาชาวโปรตุเกสรวมไปในกองทัพดวย ทำนองเดียวกับ

ที่มีนักเผชิญโชคชาวโปรตุเกสเปนทหารอาสามาในกองทัพของพระเจาตะเบงชะเวต้ี ผลของสงคราม

ไทย-พมาครั้งแรกนี้คือ ไทยสามารถขับไลกองทัพพมาออกไปจากเมืองเชียงกรานได

หลังจากเสร็จศึกพมาได ๒ ป (พ.ศ. ๒๐๘๓) อยุธยาไดสงกองทัพไปตีกัมพูชา ซ่ึงขณะนั้น

มีราชธานีอยูที่กรุงละแวก ภายใตการปกครองของนักองคจันหรือพระเจาจันทราชา ผูเคยไดรับการ

ชุบเล้ียงที่กรุงศรีอยุธยากอนที่จะไปครองกัมพูชา แตกองทัพไทยพายแพตอกองทัพกัมพูชา ทหารไทย

ถูกจับเปนเชลยจำนวนมาก

อาณาจักรที่สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงใหความสำคัญมากเพราะมีผลตอความมั่นคงของ

กรุงศรีอยุธยาคือลานนา ในชวงเวลานั้น ลานนามีปญหาภายในจากการแยงชิงราชสมบัติกัน โดย

เจาซายคำหรือทาวซายคำไดแยงชิงราชสมบัติจากพระราชบิดาคือพระเมืองเกศเกลา (พ.ศ. ๒๐๖๙ -

พ.ศ. ๒๐๘๑) แลวตั้งตนเปนผูปกครองเมืองเชียงใหม แตการปกครองของเจาซายคำทำใหราษฎร

เดือดรอนมาก ขุนนางกับราษฎรจึงรวมกันจับเจาซายคำปลงพระชนมแลวทูลเชิญพระเมืองเกศเกลา

มาปกครองเชียงใหมเปนครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๖ แตปกครองไดเพียง ๒ ป ถึง พ.ศ. ๒๐๘๘ ก็ถูก

ขุนนางลอบปลงพระชนมเพราะราษฎรยังคงไดรับความเดือดรอน หลังจากนี้อาณาจักรลานนามีความ

วุนวายมากขึ้น เพราะขุนนางแบงเปนฝกฝาย และมีความเห็นแตกแยกกันวาใครจะเปนผูครองเชียงใหม

ตอไป เพราะเชื้อพระวงศของพระเมืองเกศเกลาเหลือเพียงพระธิดา คือพระนางจิรประภา ขุนนาง

บางคนเห็นวาควรเชิญเจาฟาเมืองเชียงตุงมาปกครอง บางคนเห็นวาควรเชิญเจาฟาเมืองนาย สวนหนึ่ง

เห็นวาควรเชิญพระเจาไชยเชษฐาโอรสของพระเจาโพธิสารราชแหงอาณาจักรลานชางที่เกิดจากเจาหญิง

เชียงใหม ซึ่งเปนพระธิดาของพระเมืองเกศเกลาคือ พระนางยอดคำทิพยหรือพระนางหอสูงใหมา

ปกครอง โดยฝายที่จะใหพระเจาไชยเชษฐาเปนผูครองเปนฝายชนะ และระหวางการดำเนินการจึงทูล

เชิญพระนางจิรประภาเปนผูปกครองเชียงใหมไปกอน

การที่อาณาจักรลานชางมีอำนาจแผขยายมาปกครองอาณาจักรลานนา ทำใหสมเด็จพระไชย

ราชาธิราชทรงเห็นอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาไดชัดเจนข้ึน เพราะถูกกระหนาบจาก

อาณาจักรที่เขมแข็งหลายอาณาจักร นอกจากนี้ เมื่อครั้งพระยานารายณกอการกบฏ ทางลานชาง

Page 94: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ยังใหความชวยเหลือพระยานารายณดวย ดังนั้นในขณะที่สถานการณของลานนายังไมมั่นคง สมเด็จ

พระไชยราชาธิราชจึงเสด็จนำกองทัพที่มีพระยาพิษณุโลกเปนแมทัพไปตีเชียงใหมในกลาง พ.ศ. ๒๐๘๘

แตไมสำเร็จ

ดวยความไมวางพระทัยในสถานการณ สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงเสด็จนำทัพที่มีพระยา

พิษณุโลกเปนแมทัพไปตีเชียงใหมเปนครั้งที่ ๒ ในปลาย พ.ศ. ๒๐๘๙ ดวยกำลังทหาร ๔๐๐,๐๐๐ คน

ในจำนวนน้ีเปนทหารรับจางจากชาติตาง ๆ ๗๐,๐๐๐ คน ท้ังนี้ตามขอมูลของปนโตซ่ึงนาจะเกิน

ความจริงไปมากและเปนไปไดมากวาในคร้ังน้ีมีทหารอาสาโปรตุเกส ๑๒๐ คน รวมในกองทัพดวย

ในคราวนี้ตีไดลำพูน เชียงใหม พระนางจิรประภายอมออนนอม อยางไรก็ดี เมื่อสมเด็จพระไชย

ราชาธิราชเสด็จกลับและสวรรคตในปลายปนั้น ทางลานนาก็ไดทูลเชิญพระไชยเชษฐาจากลานชาง

มาปกครอง ซึง่ไดทรงปกครองอยู ๒ ป กเ็สดจ็กลบัไปปกครองอาณาจักรลานชางเพราะพระเจาโพธสิาร

พระราชบิดาสิ้นพระชนม

พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกประการหน่ึงของสมเด็จพระไชยราชาธิราช คือการสงเสริมการคา

ตางประเทศ เปนไปไดวาการทำสงครามกับเพ่ือนบานหลายคร้ัง ทำใหกรุงศรีอยุธยาลดความสำคัญ

ทางการคาระหวางประเทศลง หลักฐานจีนสมัยราชวงศหมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑ - พ.ศ. ๒๑๘๗) แสดงให

เห็นวาการทูตในระบบบรรณาการหยุดชะงัก ไมมีการสงทูตไปยังราชสำนักจีนเลย นอกจากนั้น

หลักฐานโปรตุเกสแสดงใหเห็นวาความสนใจของพอคาโปรตุเกสท่ีมีตอสินคาและการคาที่กรุงศรีอยุธยา

ก็ลดลง โดยโปรตุเกสใหความสำคัญในการคากับพมามากกวา เพราะมะละกาซึ่งอยูภายใตการปกครอง

ของโปรตุเกสสามารถติดตอกับเมืองทาของพมาไดสะดวกกวาที่กรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ การเกิด

เพลงิไหมพระนครศรีอยธุยาเมือ่ปลาย พ.ศ. ๒๐๘๘ เปนเวลาถึง ๓ วนั มบีานเรอืนถูกไฟไหม ๑๐,๐๕๐

หลัง ยอมมีผลกระทบอยางมากตอการคาระหวางประเทศ

แมวาสถานการณจะไมเอื้ออำนวยตอการคานัก สมเด็จพระไชยราชาธิราชก็ยังทรงหาวิธีการ

สงเสริมการคาและทำใหการเดินเรือสะดวกรวดเร็ว โดยโปรดใหขุดคลองลัดเพื่อยนระยะทางของแมน้ำ

เจาพระยา ตั้งแตปากคลองบางกอกนอยปจจุบันไปถึงปากคลองบางกอกใหญซึ่งปจจุบันกลายเปน

แมน้ำเจาพระยา สวนแมน้ำเจาพระยาเดิมคือคลองบางกอกนอย

เพื่อใหการคามีความยุติธรรม สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงโปรดใหจัดระบบตราชั่ง โดยใชเครื่อง

ชั่งตวงที่ทางราชการรับรองมาตรฐานในการซ้ือขายขาวปลาอาหาร

จากบันทึกของวันวลิตหรือเยเรเมียส ฟาน ฟลีต ซึ่งเปนผูจัดการสำนักการคาของบริษัทอินเดีย

ตะวันออกของฮอลันดาที่กรุงศรีอยุธยาไดกลาววา สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงรักความยุติธรรม ทรง

เกลียดและขจัดความชั่วราย มีพระทัยกวางขวาง สนพระทัยในวิทยาการสมัยใหม ทรงจางนักเผชิญ

โชคชาวโปรตุเกสเปนองครักษ ๑๒๐ คน และใหสอนทหารไทยใชปนไฟ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

แมจะทำสงครามหลายครั้ง แตพระองคก็ทรงทำใหบานเมืองรุงเรืองและราษฎรร่ำรวย

Page 95: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

หลังจากเสด็จกลับจากเชียงใหมในสงครามครั้งท่ี ๒ สมเด็จพระไชยราชาธิราชก็เสด็จสวรรคต

ในปลาย พ.ศ. ๒๐๘๙ โดยถูกทาวศรีสุดาจันทรพระสนมเอกวางยาพิษผสมในนมโคใหเสวย พระองค

ไมมีพระราชโอรสธิดาที่เกิดจากพระมเหสี แตมีพระราชโอรสที่เกิดแตทาวศรีสุดาจันทร ๒ องค คือ

พระยอดฟากับพระศรีศิลป เมื่อพระองคสวรรคต พระยอดฟาพระชนมายุ ๑๑ พรรษา ไดครอง

ราชสมบัติตอโดยมีทาวศรีสุดาจันทรเปนผูสำเร็จราชการ

วุฒิชัย มูลศิลป

เอกสารอางอิง

จอมเกลาเจาอยูหัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๑. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร,

๒๕๔๒.

ปนโต, เฟอรดินันต เมนเดช. “การทองเที่ยว การเดินทาง และการผจญภัยของเฟอรดินันต เมนเดช ปนโต.” ใน

รวมเรื่องแปล หนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร ชุดที่ ๓. นันทา วรเนติวงศ, แปล. กรุงเทพฯ: กรม

ศิลปากร, ๒๕๓๘.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและพงศาวดารเหนือ เลม ๑ - ๒. พระนคร: องคการคาคุรุสภา, ๒๕๐๔.

ฟลอรีช, มาเรีย ดา กงไซเซา. ชาวโปรตุเกสและสยามสมัยคริสตศตวรรษที่ ๑๖. มธุรส ศุภผล, แปล. กรุงเทพฯ:

ออรคิด, ๒๕๔๗.

ราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา ฉบับหอสมุดแหงชาติ. นายพันตรี หลวงเรืองเดชอนันต (ทองดี ธนรัชต), แปล. พระนคร:

แพรพิทยา, ๒๕๑๓.

วนั วลติ. พงศาวดารกรงุศรอียธุยา ฉบับวันวลติ พ.ศ. ๒๑๘๒. วนาศร ีสามนเสน, แปล. กรงุเทพฯ: ภาควิชาประวตัศิาสตร

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๒๓.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร.

กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.

สงวน โชติสุขรัตน. สารคดีจากลานทอง ประวัติศาสตรลานนาไทย. พระนคร: โอเดียนสโตร, ๒๕๐๓.

สิลา วีระวงส. ประวัติศาสตรลาว. สมหมาย เปรมจิตต, แปล. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๐.

Simms, Peter and Sanda. The Kingdoms of Laos, Six Hundred Years of History. Surrey: Curzon, 1999.

Wyatt, David K. Thailand: A Short History. Second Edition. New Haven: Yale University Press, 2003.``

Page 96: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางปลงอายุสังขาร อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระแกวฟา

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 97: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระแกวฟา (สมเด็จพระยอดฟา)

สมเด็จพระแกวฟา หรือสมเด็จพระยอดฟา ทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๑๔ แหง

กรุงศรีอยุธยาในราชวงศสุพรรณภูมิ เปนพระราชโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ครองราชย

พ.ศ. ๒๐๗๗-พ.ศ. ๒๐๘๙) กับทาวศรีสุดาจันทรพระสนมเอกฝายซาย ประสูติประมาณ พ.ศ. ๒๐๗๙

มีพระอนุชาพระองคหนึ่งพระนามวาพระศรีศิลป พระชันษาออนกวาพระองค ๖ ป

เมื่อไดทรงครองราชยสืบตอจากสมเด็จพระราชบิดาใน พ.ศ. ๒๐๘๙ นั้น สมเด็จพระแกวฟามี

พระชนมายุเพียง ๑๑ พรรษา พระราชพงศาวดารบันทึกวา “นางพระยาแมอยูหัวศรีสุดาจันทร ผูเปนสมเด็จพระชนนีชวยทำนุบำรุงประคองราชการแผนดิน” สถานการณการเมืองในราชสำนักขณะนั้น

คงจะไมมั่นคงนัก พระเฑียรราชาเชื้อพระวงศฝายสมเด็จพระไชยราชาธิราชซึ่งนาจะเปนกำลังสำคัญใน

การชวยวาราชการแผนดินได กลับเกรงราชภัย เสด็จไปทรงผนวชท่ีวัดราชประดิษฐานตลอดรัชกาล

ของสมเด็จพระแกวฟา

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต วา สมเด็จพระแกวฟาโปรดการ

ลาสัตว “ทรงมาไปตามปาตามทุงและไรนา ชนชาง ทรงพระแสงฝกหัดขัตติยวิชา” นอกจากนี้ยังบันทึก

วา “ในรัชกาลของพระองคบานเมืองอุดมสมบูรณทุกแหงหน มิไดอดอยากแหงแลง” แตพระราช-

พงศาวดารกรงุศรอียธุยาฉบบัตาง ๆ ระบสุอดคลองตองกนัวา เม่ือทรงครองราชยไดไมนาน เกดินมิติราย

หลายประการ เม่ือครั้งที่สมเด็จพระแกวฟาเสด็จออกสนาม ทรงใหชนชาง งาชางพระยาไฟหักเปน

๓ ทอน เวลาค่ำชางตนพระฉัททันตรองเปนเสียงคนรองไห ประตูไพชยนตรองเปนอุบาทวเสมือน

หนึ่งเปนลางรายที่บอกเหตุที่จะบังเกิดขึ้นแกยุวกษัตริยพระองคนี้

เหตุเกิดเนื่องจากทาวศรีสุดาจันทรพระชนนีผูสำเร็จราชการภายในพระราชวังไปมีความสัมพันธ

ฉันชูสาวกับพันบุตรศรีเทพผูเฝาหอพระ ทาวศรีสุดาจันทรเลื่อนพันบุตรศรีเทพใหเปนขุนชินราชรักษา

หอพระขางใน และตอมากใ็หเปนขนุวรวงศาธิราช เมือ่พระนางทรงครรภกบัขนุวรวงศาธิราชแลว จงึได

คิดอานยกขุนวรวงศาธิราชเปนพระเจาแผนดิน โดยอางวาสมเด็จพระแกวฟาพระโอรสนั้นยังทรง

พระเยาวนัก สนพระทัยแตจะเลน พระสติปญญาไมพอที่จะวาราชการแผนดิน “เราคิดวาจะใหขุน วรวงศาธิราชวาราชการแผนดิน กวาราชบุตรเราจะจำเริญวัยข้ึน” เมื่อขุนวรวงศาธิราชไดเปนพระเจา

แผนดินแลว ใน พ.ศ. ๒๐๙๑ ขุนวรวงศาธิราชก็สำเร็จโทษสมเด็จพระแกวฟา ณ วัดโคกพระยา สวน

พระศรีศิลปพระอนุชามีพระชนมายุเพียง ๗ พรรษา จึงไมไดถูกประหารไปในคราวนั้น

Page 98: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

จดหมายเหตุโหรระบุวา พระแกวฟาถูกสำเร็จโทษ วันอาทิตยขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปจอ

จ.ศ. ๙๑๐ ตรงกับวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๐๙๑ ทรงอยูในราชสมบัติ ๒ ปเศษ พระชนมายุได ๑๓

พรรษาเศษ

สุกัญญา บำรุงสุข

เอกสารอางอิง

คำใหการชาวกรุงเกา คำใหการขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ฉบับ

หอสมุดแหงชาติ. พระนคร: คลังวิทยา, ๒๕๐๗.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๑. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.

วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร เลม ๓ (หมวดศาสนจักร) สังคีติยวงศ. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร,

๒๕๔๕.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร.

กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.

หนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับพิมพ ร.ศ. ๑๒๐. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๐.``

Page 99: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมุดไทยพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์

Page 100: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ขุนวรวงศาธิราช

ขุนวรวงศาธิราชเปนขุนนางไทยสมัยอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ.

๒๐๗๗-พ.ศ. ๒๐๘๙) และรัชกาลสมเด็จพระยอดฟา (แกวฟา) (พ.ศ. ๒๐๘๙ - พ.ศ. ๒๐๙๑) ได

เลื่อนยศและตำแหนงดวยการสนับสนุนของทาวศรีสุดาจันทรพระสนมเอกของสมเด็จพระไชย

ราชาธิราชและเปนพระมารดาของสมเด็จพระยอดฟา ขุนวรวงศาธิราชครองราชสมบัติอยูเพียงไมนาน

ก็ถูกเจานายและขุนนางกลุมหนึ่งจับตัวประหารชีวิตพรอมกับทาวศรีสุดาจันทรและธิดา

ประวัติและเรื่องราวของขุนวรวงศาธิราชปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาทุกฉบับ

เชน ฉบับพระราชหัตถเลขา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฉบับจักรพรรดิพงศ (จาด) ฉบับสมเด็จพระ

พนรัตน วัดพระเชตุพนฯ ฉบับของบริติชมิวเซียม ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ฯลฯ รวมท้ังปรากฏ

ในจดหมายเหตุโหรและบันทึกของชาวตางชาติ เชน เฟอรนาว เมนเดส ปนโต (Ferñao Mendes

Pinto) ชาวโปรตุเกสทีเ่ดนิทางทองเทีย่วผจญภยัเขามากรงุศรอียธุยาในรชักาลสมเดจ็พระไชยราชาธริาช

เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias van Vliet) ซึ่งเขามาประจำอยูที่สถานีการคาของบริษัทอินเดีย

ตะวันออกของฮอลันดาในกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระเจาปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๒ - พ.ศ.

๒๑๙๙) ซึ่งเน้ือความในเอกสารดังกลาวจะแตกตางกันในรายละเอียดและวันเวลา

ขนุวรวงศาธริาชเดิมเปนพนักงานรักษาหอพระขางหนาในพระราชวงักรงุศรอียธุยา มบีรรดาศกัดิ ์

เปนพันบุตรศรีเทพ เม่ือสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๘๙ พระยอดฟา พระราชโอรส

ของพระองคกับทาวศรีสุดาจันทรพระสนมเอก เสด็จข้ึนครองราชสมบัติ ขณะมีพระชนมายุเพียง

๑๑ พรรษา ยังไมทรงสามารถวาราชการได ทาวศรีสุดาจันทรพระชนนีจึงเปนผูสำเร็จราชการ เรียกกัน

ทั่วไปวา แมอยูหัวศรีสุดาจันทร

ทาวศรีสุดาจันทรพบกับพันบุตรศรีเทพที่หอพระขางหนา เกิดพอใจรักใคร จึงมีพระเสาวนียให

พระยาราชภักดีสับเปลี่ยนตำแหนงราชการใหขุนชินราชรักษาหอพระขางในไปเปนพันบุตรศรีเทพรักษา

หอพระขางหนา แตงต้ังพนับตุรศรีเทพเปนขนุชนิราชรกัษาหอพระขางใน เพราะเหตุวาเปนขาหลวงเดิม

จะไดรับราชการใกลชิดพระองคยิ่งขึ้น ตอมาเมื่อทรงครรภกับขุนชินราช จึงดำริจะยกราชสมบัติให

แลวใหเลื่อนขุนชินราชขึ้นเปนขุนวรวงศาธิราช ปลูกจวนใหอยูที่ริมศาลาสารบัญชีใกลกำแพงพระราชวัง

ใหสิทธิ์ในการเกณฑและคุมกำลังคน รวมทั้งใหนั่งวาราชการที่จวนในวังตรงประตูดินริมตนหมัน เพื่อ

ใหขุนนางทั้งหลายรับรูและเกรงกลัวในอำนาจ เม่ือขุนนางผูใหญ คือพระยามหาเสนา เปนหวง

ราชการแผนดิน จึงถูกทาวศรีสุดาจันทรกำจัด แลวมีพระเสาวนียใหตั้งขุนวรวงศาธิราชวาราชการ

แผนดินแทน โดยอางเหตุวาพระยอดฟายังทรงพระเยาวและเหตุการณทางหัวเมืองเหนือยังไมสงบ

Page 101: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ความในพระราชพงศาวดารระบุไวชัดเจนวา เม่ือทาวศรีสุดาจันทรตรัสสั่งใหปลัดวังนำราชยาน

เคร่ืองสูงออกไปรับขุนวรวงศาธิราชแหเขาวังแลวนั้น จึงใหตั้งการ “...พระราชพิธีราชาภิเษกยก ขุนวรวงศาธิราชขึ้นเปนเจาพิภพกรุงเทพทวารดีศรีอยุธยา จึงเอานายจันทร ผูนองขุนวรวงศาธิราชอยู บานมหาโลกเปนมหาอุปราชา...” หลังจากน้ันพระยอดฟาก็ทรงถูกสำเร็จโทษ

เมื่อขุนวรวงศาธิราชอยูในราชสมบัติ ซึ่งพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาสวนใหญระบุวา

๕ เดือน แตปนโตวา ๖๖ วัน ฟาน ฟลีตวา ๔๐ วัน และฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์วา ๔๒ วันนั้น

ไมไดประกอบกรณียกิจสำคัญแตอยางใด นอกจากใหสับเปลี่ยนตำแหนงเจาเมืองในหัวเมืองเหนือ

ที่กระดางกระเดื่อง เพ่ือประโยชนในการปกครอง และสนใจเรื่องชางสำคัญ คือ เมื่อสมุหนายก

กราบทูลขาวพบชางสำคัญที่เมืองลพบุรี หรือเมื่อพนักงานกรมชางไลตอนโขลงชางเถื่อนเขามาทาง

วัดแมนางปลื้ม มาเขาเพนียดวัดซอง (เปนเพนียดเดิมกอนยายไปท่ีทุงทะเลหญา) ขุนวรวงศาธิราช

สนพระทัยจะออกไปจับชางดวยพระองคเองทั้ง ๒ ครั้ง แตที่เมืองลพบุรีนั้นไดสั่งใหกรมการเมืองไปจับ

สุดทายเมื่อขุนวรวงศาธิราชออกไปจับชางที่เพนียดวัดซอง จึงเปนสาเหตุใหเจานายและขุนนางกลุมหนึ่ง

คบคิดกันกำจัดดวยการลอมจับขุนวรวงศาธิราชและทาวศรีสุดาจันทรกับธิดา ขณะที่ขบวนเรือประทับ

ไปถึงคลองสระบัว และฆาเสียทั้ง ๓ คน

หลังจากกำจัดขุนวรวงศาธิราชสำเร็จแลว กลุมเจานายและขุนนาง ไดแก ขุนพิเรนทรเทพ เชื้อ

พระวงศ (ตอมาคือสมเด็จพระมหาธรรมราชา) ขุนอินทรเทพ (ตอมาคือเจาพระยาศรีธรรมาโศกราช

เจาเมืองนครศรีธรรมราช) หลวงศรียศ (ตอมาคือเจาพระยามหาเสนา) หมื่นราชเสนหาในราชการ

(ตอมาคือเจาพระยามหาเทพ) และหม่ืนราชเสนหานอกราชการ (ตอมาคือพระยาภักดีนุชิต) จึงไดถวาย

ราชสมบัติแกพระเฑียรราชา เสด็จขึ้นครองราชยเปนสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาสวนใหญไมยกยองและไมนับขุนวรวงศาธิราชอยูในลำดับ

พระมหากษัตริยสมัยอยุธยา แมจะมีความระบุวามีทั้งพิธีบรมราชาภิเษกและพิธีอุปราชาภิเษกดวย

ก็ตาม และตอมาในสมัยรัตนโกสินทร เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวโปรดเกลาฯ ใหจารึก

พระนามพระมหากษัตริยสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร ท่ีฐานพระพุทธรูปปางตาง ๆ

จำนวน ๓๗ องค ซึ่งพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัวโปรดเกลาฯ ใหหลอไวดวยทองแดง แลวตั้ง

ไวในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ปจจุบันประดิษฐานอยูที่หอราชกรมานุสรและหอพระราช-

พงศานุสร ตรงกำแพงแกว หลังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ไมปรากฏวามีพระพุทธรูปจารึก

นามขนุวรวงศาธริาชอยูดวย หรอืแมแตในพระราชนพินธของพระบาทสมเด็จพระจลุจอมเกลาเจาอยูหวั

ทีท่รงวจิารณ “เรือ่งราชประเพณีการต้ังพระมหาอปุราช” กไ็มทรงกลาวถึงการอปุราชาภเิษกนายจนัทร

นองชายของขุนวรวงศาธิราชเปนวังหนา เพราะไมไดทรงนับขุนวรวงศาธิราชเปนกษัตริย

สวนสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ “อธิบายรัชกาล

ครั้งกรุงเกา” ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕ และ “อธิบายเรื่องในสมัยขุนวรวงศาธิราช” ในพระราช-

Page 102: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา โดยทรงเรียงรัชกาลพระยอดฟาเปนพระมหากษัตริยอยุธยาลำดับที่

๑๔ และรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเปนลำดับที่ ๑๕ ไมทรงนับรัชกาลขุนวรวงศาธิราช เพราะ

เหตุวา “เรื่องพงศาวดารตอนนี้เปนเรื่องของความชั่วไมนาอธิบาย” อยางไรก็ตาม พระองคทรงวินิจฉัย

เรื่องพระเฑียรราชาไดราชสมบัติไวอยางละเอียดเพื่อทูลเกลาฯ ถวายตามที่พระบาทสมเด็จพระ

มงกฎุเกลาเจาอยูหวัมพีระราชดำรสัสัง่เมือ่ พ.ศ. ๒๔๕๗ สรุปพระมตทิีท่รงวนิจิฉยัไววา กอนทีส่มเดจ็พระ

ไชยราชาธิราชจะสวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๘๙ น้ัน พระองคตรัสสั่งใหพระยอดฟาเปนรัชทายาท

ขึ้นครองราชสมบัติ ใหพระเฑียรราชาอนุชาตางพระมารดาเปนผูสำเร็จราชการแผนดิน มีทาวศรีสุดา-

จันทรพระชนนีเปนผูสำเร็จราชการฝายใน ตอมาเมื่อทาวศรีสุดาจันทรสมัครรักใครกับพันบุตรศรีเทพ

ผูเปนญาติและเปนพนักงานเฝาหอพระ จึงสั่งใหยายไปเปนตำแหนงขุนชินราช พนักงานเฝาหอพระของ

พระชนนี เพื่อใหใกลชิดกันยิ่งขึ้น แลวอางวาเปนราชินิกุลจึงเลื่อนเปนท่ีขุนวรวงศาธิราชอยูในกรมวัง

เมื่อขุนนางผูใหญ เชน พระยามหาเสนา ท่ีสมุหพระกลาโหมทราบเรื่องความสัมพันธ ขุนวรวงศาธิราช

จึงทูลแนะนำใหทาวศรีสุดาจันทรกำจัดเสีย รวมทั้งคิดกำจัดพระเฑียรราชาจากตำแหนงผูสำเร็จราชการ

แผนดินดวย จึงทำใหพระเฑียรราชาทูลลาไปผนวช ทาวศรีสุดาจันทรจึงไดอำนาจทั้งหมดเปนผูสำเร็จ

ราชการแผนดินทั้งฝายหนาและฝายใน จากนั้นก็แตงตั้งใหขุนวรวงศาธิราชเปนผูบังคับการลอม

พระราชวัง มีไพรพลพรรคพวกเปนกำลังอยูประจำในพระราชวัง

ใน พ.ศ. ๒๐๙๐ ทาวศรีสุดาจันทรทรงครรภกับขุนวรวงศาธิราช ไมสามารถออกวาราชการได

จึงสรางศาลาในพระราชวังอยูริมประตูดินใกลตนหมัน ใหขุนวรวงศาธิราชอยูประจำเปนผูรับรับสั่งใน

ราชกิจทั้งปวง ทำใหมีอำนาจเสมือนเปนผูสำเร็จราชการทั่วทั้งพระราชวัง ตอมาสมเด็จพระยอดฟา

ถูกขุนวรวงศาธิราชสำเร็จโทษ โดยที่ทาวศรีสุดาจันทรไมทราบมากอน และตองยอมราชาภิเษกให

ขุนวรวงศาธิราชขึ้นครองราชย มีพระศรีศิลปพระอนุชาของสมเด็จพระยอดฟาซ่ึงมีพระชนมายุเพียง

๗ พรรษา เปนรัชทายาท และแตงตั้งนายจันทร บานมหาโลก นองชายของขุนวรวงศาธิราชเปนเจา

พระยามหาอุปราช หัวหนาขาราชการ

สวนบรรดาเจานายและขุนนางที่เขากับพระยอดฟานั้น เมื่อขุนวรวงศาธิราชปลงพระชนม

สมเด็จพระยอดฟาแลว จึงตกลงกันวาหากกำจัดขุนวรวงศาธิราชและทาวศรีสุดาจันทรได ก็จะถวาย

ราชสมบัติแกพระเฑียรราชา ซ่ึงขณะนั้นยังทรงผนวชอยู และรวมกันเส่ียงเทียนพิสูจนใหเห็นเปนนิมิต

เม่ือขุนวรวงศาธิราชประสงคจะออกไปจับชางที่เพนียดวัดซองโดยกระบวนเรือ ขุนพิเรนทรเทพและ

พรรคพวกจึงจับขุนวรวงศาธิราชและทาวศรีสุดาจันทรฆาเสีย แลวอัญเชิญพระศรีศิลปรัชทายาทกลับ

พระราชวัง สวนธิดาของขุนวรวงศาธิราชกับทาวศรีสุดาจันทรตอมาก็ถูกกำจัดดวย แลวจึงทูลเชิญ

พระเฑียรราชาใหลาผนวช เสด็จขึ้นครองราชยพระนามวา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จากนั้นจึง

ปูนบำเหน็จความชอบใหบรรดาผูรวมดำเนินการทั้งหลายโดยทั่วกัน

ศิรินันท บุญศิริ

Page 103: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๑-๒. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร, ๒๕๔๒.

. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระจักรพรรดิพงศ (จาด). พระนคร:

คลังวิทยา, ๒๕๐๗.

. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและจุลยุทธการวงศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

๒๕๓๕. (คณะสงฆวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พิมพโดยเสด็จพระราชกุศลในงานพระราชทานเพลิงศพ

พระวิสุทธาธิบดี (สงา ปราสฺสรมหาเถร ป.ธ. ๘) ณ เมรุหนาพลับพลาอิศริยาภรณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที ่

๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕)

. พระราชพงศาวดารพระราชหัตถเลขา เลม ๑. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.

. รวมบันทึกประวัติศาสตรอยุธยาของ ฟาน ฟลีต (วัน วลิต). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร,

๒๕๔๖.

. รวมผลงานแปลเร่ืองบันทึกการเดินทางของเมนเดส ปนโต. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร,

๒๕๔๘.

กระทรวงธรรมการ. กรมศึกษาธิการ. หนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับพิมพ ร.ศ. ๑๒๐ เลม ๑. กรุงเทพฯ: มติชน,

๒๕๕๐.

จุลจอมเกลาเจาอยูหัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชกรัณยานุสร. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร กรม

ศิลปากร, ๒๕๔๑.

. พระราชนิพนธในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงวิจารณเรื่องพระราชพงศาวดารกับเรื่องราช

ประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๒. (พิมพเปนอนุสรณในงานพระราชทาน

เพลิงศพเปนกรณีพิเศษ นางพรเพ็ญ ดาราวงษ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันเสารที่ ๑๓ มีนาคม พุทธศักราช

๒๕๔๒)

ดำรงราชานุภาพ, พระเจาบรมวงศเธอ กรมพระ. อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยาม. พระนคร: โรงพิมพโสภณ

พพิรรฒธนากร, ๒๔๖๙. (พิมพในงานพระราชทานเพลิงศพ หมอมเจาหญิงพรอมเพราพรรณ ท.จ. รัตน จปร ๓

ชายาในสมเด็จพระเจาพี่ยาเธอ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร เมื่อปขาล พ.ศ. ๒๔๖๙)

พระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ฯ. กรุงเทพฯ: ตนฉบับ, ๒๕๔๐.``

Page 104: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางโอฬาริกนิมิต อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 105: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา)

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๑๕ แหงกรุงศรีอยุธยา เปน

พระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และเปนพระอนุชาตางพระชนนีของสมเด็จพระไชย

ราชาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย พ.ศ. ๒๐๙๑ มีพระนามเดิมกอนขึ้นเสวยราชยวาพระเฑียรราชา

เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาใน พ.ศ. ๒๐๘๙ แลว พระเฑียรราชาทรงหลีกราชภัยดวย

การเสด็จออกผนวช ดังความในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุวา

คร้ันถวายพระเพลิงพระไชยราชาเสร็จแลว ฝายพระเฑียรราชาซึ่งเปนพระวงศ สมเด็จพระไชยราชาน้ันจึงดำริวา คร้ันกูจะอยูในฆราวาส บัดนี้เห็นภัยจะยังเกิดมีเปนมั่นคง ไมเห็นสิ่งใดที่จะเปนที่พึ่งได เห็นแตพระพุทธศาสนาและผากาสาวพัตร อันเปนธงชัยแหง พระอรหนัตจะเปนที่พำนกัพนภัยอุปทวันตราย ครั้นดำริแลวก็ออกไปอุปสมบทเปนภิกษุภาวะ อยู ณ (วัด) ราชประดิษฐาน

แมอยูหัวศรีสุดาจันทรและขุนวรวงศาธิราชจึงมีอำนาจในการปกครองบานเมือง โดยตั้งขุน

วรวงศาธิราชเปนกษัตริย ตอมาขุนพิเรนทรเทพและเหลาขุนนางรวมกันกำจัดขุนวรวงศาธิราชและ

แมอยูหัวศรีสุดาจันทรแลวอัญเชิญพระเฑียรราชาใหลาผนวชและข้ึนครองราชยเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑ ทรง

พระนามวาพระมหาจักรพรรดิ ไดทรงสถาปนาใหขุนพิเรนทรเทพเปนพระมหาธรรมราชาครองเมือง

พิษณุโลก และพระราชทานพระธิดาคือพระวิสุทธิกษัตรียใหเปนมเหสี นอกจากนั้นยังทรงสถาปนา

ขุนนางที่มีสวนชวยเหลือในการขึ้นครองราชยใหมีตำแหนงตางกันไป

ตอมาเกิดกบฏขึ้นภายในพระราชอาณาจักรคือกบฏพระศรีสิน (ศรีศิลป) พระศรีสินผูนี้

พงศาวดารระบุวาเปนพระราชโอรสองครองในสมเด็จพระไชยราชาธิราช เม่ือขุนพิเรนทรเทพสถาปนา

สมเด็จพระเฑียรราชาขึ้นเสวยราชยนั้นพระองคโปรดใหเลี้ยงพระศรีสินไว และเม่ือพระศรีสิน “อายุได ๑๓ ป ๑๔ ป จึงออกบวชเปนสามเณรอยู ณ วัดราชประดิษฐาน” ตอมาใน พ.ศ. ๒๑๐๔ พระศรีสิน

เปนกบฏ พงศาวดารระบุวาครั้งน้ันขุนนางผูใหญซึ่งตองราชอาญาไดเขารวมดวยฝายกบฏหลายคน

อาทิ พระยาสีหราชเดโช พระยาทายน้ำ พระพิชัยรณฤทธิ์ และหมื่นภักดีสรรค ที่สำคัญคือในคราว

กบฏครั้งน้ัน พระศรีสินยังไดพระสังฆราชวัดปาแกวใหฤกษ ซ่ึงสมเด็จพระสังฆราชวัดปาแกวนี้มีศักดิ์

Page 106: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เปนถึงเจาคณะฝายขวา ที่ตำแหนงสมเด็จพระวันรัตน เหตุการณครั้งนี้แสดงใหเห็นวาสมเด็จพระ

มหาจักรพรรดิมิไดเปนที่ยอมรับนับถือในหมูขุนนางผูใหญตลอดรวมถึงพระราชาคณะบางองค ยังมี

หลักฐานปรากฏเพิ่มเติมวาหลังเหตุการณกบฏพระศรีสินแลว “เมียนอยขุนนางโจทยวา ผัวเขาดวย พระศรีสิน ถามเปนสัตย ตรัสใหฆาเสียเปนอันมาก”

นอกจากสงครามภายในแลว ประวัติศาสตรอยุธยายังบันทึกสงครามอีกหลายครั้งในรัชกาลของ

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โดยเฉพาะสงครามที่ทำกับละแวกและกับหงสาวดี การรบกับละแวกนั้น

เปนการตอบโตพระเจากรุงละแวกที่ฉวยโอกาสคราวที่กรุงศรีอยุธยาติดศึกกับพระเจาตะเบงชะเวตี้แหง

กรุงหงสาวด ีใน พ.ศ. ๒๐๙๑ ยกกำลงัมากวาดตอนครวัอพยพชาวปราจนีบรุไีปเมืองละแวก พงศาวดาร

เขมรฉบับปลีกไดลำดับความวา

ครั้นเมื่อแผนดินสมเด็จพระมหาจักรพัติเสวยราชสมบัติเปนพระเจากรุงสยาม ณ กรุงเทพทวาราวดีศรีอายุทธยา จุลศักราช ๙๐๐ เศษ เปนคริสตศักราช ๑ เศษ เปนศึกกับ มอรหงษาเขมรยกเขามารบกระนาบจนถึงเมืองประทิว คือ ตำบลบางนา บางพระขนง ใน แมน้ำเจาพระยานี้ แตหาไดขึ้นไปถึงกรุงศรีอายุทธยาเกาไม

เมื่อเสร็จศึกพมา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงโปรดใหแตงทัพใหญไปตีเขมรเปนการตอบแทน

ใน พ.ศ. ๒๐๙๙ พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ระบุวา โปรดใหพระยาองค

สวรรคโลกซึ่งเปนเจานายเขมรที่มาพำนักอยูในราชอาณาจักรอยุธยาไดกินเมืองสวรรคโลกอยูยกไปเปน

ทัพหลวง แตการรบครั้งนั้นอยุธยายกไปทั้งทัพบกและทัพเรือ ปรากฏวาทัพเรือยกไปไมทันทัพบก เปน

เหตุใหเสียทัพและ “เสียพระญาองคสวรรคโลก นายกองและชางมารี้พลมาก” เหตุการณเดียวกันนี้มี

ปรากฏในพงศาวดารเขมร จ.ศ. ๑๒๑๗ และพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา ฉบับพระองคนพรัตน ซึ่ง

ระบุวาพระเจากรุงศรีอยุธยาโปรดใหเจาพระยาโองซึ่งเปนพระเชษฐาของพระเจาจันทราชา (คือพระยา

ละแวกขณะนั้น) และก็นาจะเปนบุคคลเดียวกับพระยาองคสวรรคโลกในพระราชพงศาวดารกรุงเกา

ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ยกทัพไทยมาดวยไพรพล ๙๐,๐๐๐ ขางพระจันทราชาเสด็จออกรับศึก

ที่เมืองโพธิสัตวจนไดรับชัยชนะเจาพระยาโองราชาสุรคตในศึกครั้งนั้น

สวนการสงครามกับพมาในชวงรัชกาลของพระมหาจักรพรรดิมีดวยกันท้ังสิ้น ๓ ครั้ง ครั้งแรก

ไดแกศึกตะเบงชะเวต้ีใน พ.ศ. ๒๐๙๑ สวนอีกสองครั้งเปนคราวศึกพระเจาหงสาวดีบุเรงนองใน พ.ศ.

๒๑๐๖ และ พ.ศ. ๒๑๑๒ ทัพพมาที่ยกเขามาทำศึกในสมัยนี้เปนทัพขนาดใหญ มีจำนวนไพรพล

เรือนแสน รวมแลวมากกวากำลังขางอยุธยา อีกทั้งทัพพมายังประกอบดวยกองกำลังท่ีมีองคประกอบ

ของกำลังพลที่หลากหลาย ท้ังยังมีทหารรับจางโปรตุเกสและอาวุธปนไฟที่ทันสมัยมาใชในการรบ

Page 107: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สงครามครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑ นับเปนเหตุการณสำคัญที่เกิดขึ้นบริเวณรอบเกาะเมือง

พระนครศรีอยุธยา และเปนการสูญเสียวีรสตรีพระองคสำคัญ กองทัพอยุธยาตองตั้งรับทัพพมาท่ี

เคลือ่นพลเขามาประชดิพระนครมากกวาคร้ังใด ๆ ในประวตัศิาสตรไทย หลักฐานในพระราชพงศาวดาร

กรุงศรีอยุธยาระบุวา กองทัพของพระเจาตะเบงชะเวตี้นั้นประกอบดวย “พล ๓๐ หมื่น ชางเครื่อง ๗๐๐ มา ๓๐,๐๐๐” สวนพงศาวดารพมาระบุจำนวนไพรพลของพมาตางออกไปประมาณไดวา

ไพรพลและมาชางซึ่งรวมกำลังทั้งทัพหนา ทัพหลวง และทัพหลังแลวจะนับไพรรวมได ๑๒๐,๐๐๐

มา ๑๖,๘๐๐ และชาง ๔๘๐ เชือก

สงครามใน พ.ศ. ๒๐๙๑ เปนการเปดศักราชใหมใหกับประวัตศิาสตรสงครามของอยุธยา เพราะ

อยุธยาตองเผชิญกับคูตอสูซึ่งมีศักยภาพทางทหารท่ีไมไดต่ำไปกวาอยุธยาแตอยางใด สมเด็จพระ

มหาจักรพรรดิทรงเปนผูจัดระบบยุทธศาสตรการรับศึกพมา โดยใชตัวพระนครเปนฐานรับศึกมา

ตั้งแตคราวสงครามตะเบงชะเวตี้ พ.ศ. ๒๐๙๑ ยุทธศาสตรนี้มุงใชปจจัยดานสภาพที่ตั้งหรือยุทธภูมิที่

ไดเปรียบของพระนครหลวงรับศึกที่มีกำลังเหนือกวา ท้ังนี้ดังที่ทราบกันดีวากรุงศรีอยุธยานั้นแกรงดวย

ปราการธรรมชาติ คือมีแมน้ำลอมรอบเปนคูพระนครอยูทุกทิศ นอกจากน้ีกรุงศรีอยุธยายังมีปราการ

ประดิษฐ คือกำแพงลอมรอบ ซ่ึงในคราวสงคราม พ.ศ. ๒๐๙๑ นั้นนาจะเปนเพียงกำแพงที่พูนดินปกไม

ระเนียด ท่ีสำคัญคืออยุธยายังมีขอไดเปรียบดานฤดูกาล เพราะในเดือน ๑๒ น้ำเหนือจะหลากลงทวม

ทุง เปนเหตุใหพมาตองถอนทัพ พมาจึงมีเวลาจำกัดในการตี ยุทธวิธีที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและ

นักการทหารในยุคของพระองคใชรับศึกพมาคือการสรางคายข้ึนปองกันพระนครในทุกดานเพื่อปองกัน

ไมใหพมาเขามาตั้งคายประชิดคูเมืองและกอหอรบยิงปนโทรมพระนคร ยุทธวิธีนี้เปนการรักษาเมือง

ไมใหบอบช้ำจากการโจมตีของขาศึก พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุวา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

ตรัสใหพระยาจักรีออกไปตั้งคายลุมพล ีพล ๑๕,๐๐๐ ลวนใสเสื้อแดงหมวกแดง ฝาย มหานาคบวชอยูวัดภูเขาทอง สึกออกตั้งคายกันทัพเรือ ตั้งคายแตวัดภูเขาทองลงมาจนมา วัดปาพลู พรรคพวกสมกำลังญาติโยมทาสชายทาสหญิงของมหานาค ชวยกันขุดคูนอกคาย กันทัพเรือ จึงเรียกวา คลองมหานาค เจาพระยามหาเสนาถือพล ๑๐,๐๐๐ ออกตั้งคายบานดอกไมปอมทองนาหันตรา พลใสเส้ือเขียวหมวกเขียว พระยาพระคลังถือพล ๑๐,๐๐๐ ต้ัง ปอมทายคูพลใหใสเสื้อเหลืองหมวกเหลือง พระสุนทรสงครามถือพล ๑๐,๐๐๐ ตั้งคายปอมจำปาพลใสเสื้อดำหมวกดำ และบรรดาปราการพระนครนั้น ก็ตกแตงปองกันเปนสามารถ กลาวโดยสรุปคือศึกครั้งนั้นพระมหาจักรพรรดิทรงมุงใชพระนครเปนฐานรับศึก ปลอยใหพมา

เขามาตั้งทัพไดถึงชานพระนคร และภายหลังเมื่อพมาถอยทัพ จึงคอยแตงทัพออกตามตี

Page 108: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ในสงคราม พ.ศ. ๒๐๙๑ หลักฐานในพงศาวดารชั้นหลังไดกลาวถึงการอันพระอัครราชมเหสี

ออกพระนามพระสุริโยทัย ไดออกรบกันพระสวามีจนสิ้นพระชนม แตในพระราชพงศาวดารกรุงเกา

ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ซึ่งชำระในสมัยอยุธยาระบุแตเพียงวา

ครั้นเสวยราชสมบัติได ๗ เดือน พระยาหงษาปงเสวกี ยกพลมายังพระนคร ศรีอยุธยาในเดือน ๔ น้ัน เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เจา เสด็จออกไปรบศึกหงษานั้น สมเด็จพระองคมเหษี และสมเด็จพระเจาลูกเธอพระราชบุตรีเสด็จทรงชางออกไปโดยเสด็จดวย และเมื่อไดรบศึกหงษานั้นทัพหนาแตกมาปะทะทัพหลวงเปนโกลาหลใหญ และสมเด็จพระองคมเหษี และสมเด็จพระเจาลูกเธอพระราชบุตรีน้ัน ไดรบดวยขาศึกเถิงสิ้นชนมกับ คอชางนั้น

เปนไปไดวาในสงครามครั้งนั้นขางฝายพระมหาจักรพรรดิคงจะทรงเสียเจาราชนิกุลฝายหญิง

รวมถึงสมเด็จพระอัครมเหสีจริง การสูญเสียครั้งนั้นจึงเปนท่ีจดจำเลาขานสืบมาจนสมัยปลายอยุธยา

แตขอเท็จจริงที่จดจำและบันทึกตอกันมาผิดแผกไปจากความในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ

อักษรนิติ์ดังเห็นไดในคำใหการชาวกรุงเกา อยางไรก็ดี เหตุการณเดียวกันนี้ไมไดมีระบุไวในหลักฐาน

ตะวันตกและหลักฐานขางพมา

ภายหลังศึกตะเบงชะเวตี้ใน พ.ศ. ๒๐๙๑ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิไดทรงจัดการปองกัน

พระนครใหแข็งแรงกวากอน ซึ่งสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพไดทรงประมวล

วา ทรงสรางกำแพงเมืองขึ้นใหมใหเปนกำแพงกออิฐถือปูน เพื่อใหพรอมปองกันอาวุธปนใหญ ซึ่งพมา

นำเขามาใชควบคูกับทหารอาสาตางชาติโดยเฉพาะทหารอาสาโปรตุเกส นอกจากนี้ยังทรงใหรื้อ

กำแพงเมืองสุพรรณบุรีดานตะวันตก เมืองลพบุรีดานเหนือ และเมืองนครนายกดานตะวันออก เพ่ือ

ไมใหขาศึกเขายึดไปใชเปนประโยชน ทั้งยังโปรด “ใหตั้งพิจารณาเลขสมสังกัดพรรคไดฉกรรจลำเครื่อง แสนเศษ” ซึ่งก็คือใหสำรวจราษฎรทำบัญชีสำมะโนครัวใหม ใหรูวามีชายฉกรรจสำหรับจะรบพุงขาศึก

ไดสักเทาใด ทั้งยังทรงใหตั้งหัวเมืองใหม มีเมืองนนทบุรี เมืองสาครบุรี และเมืองนครชัยศรี ใน

ปริมณฑลรายรอบพระนครอันจะสะดวกแกการเรียกหาผูคนเวลาเกิดศึกสงคราม ในดานทัพเรือได

โปรดใหแปลงเรือแซเปนเรือไชย และเรือศีรษะสัตวตาง ๆ ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรง

ใหอรรถาธบิายวา เรือแซนั้นเปนเรือยาวตีกรรเชียงสำหรับใชบรรทุกของกับคนไปดวยกันยอมเดินชา จึง

ใหแกเปนเรือไชย คือแกเปนอยางเรือดั้งที่ใชในกระบวนเสด็จสำหรับบรรทุกทหารปนเล็กเปนพลพาย

สามารถไปรบพุงไดรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเสด็จไปจับชางหลายครั้ง คือในป พ.ศ. ๒๐๙๓ พ.ศ. ๒๐๙๗

พ.ศ. ๒๑๐๐ พ.ศ. ๒๑๐๒ และ พ.ศ. ๒๑๐๕ เพื่อเปนการหาพาหนะเพิ่มเติมมาไวใชในการศึกสงคราม

Page 109: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

นอกเหนือจากการจัดการปองกันพระนครตามกลาวขางตน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยังทรงมี

สันถวไมตรีกับลานชาง หรือสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช ซึ่งทรงกำลังเผชิญปญหาเดียวกับกรุงศรีอยุธยา

คือถูกหงสาวดีคุกคาม มีหลักฐานปรากฏในคำจารึกท่ีพระเจดียศรีสองรักษเมืองดานซาย จังหวัดเลย

วาดวยพระมหาจักรพรรดิกับพระไชยเชษฐาธิราช พระเจากรุงศรีสัตนาคนหุต ทำพิธีปกปนเขตแดนกัน

ใน พ.ศ. ๒๑๐๓ ซึ่งเปนเวลาท่ีพระเจาบุเรงนองแหงหงสาวดีไดแผอำนาจเขาสูลานนาและเขายึดเมือง

เชียงใหมไดตั้งแตวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๑๐๑

สงครามกับพมาคร้ังที ่๒ ใน พ.ศ. ๒๑๐๖ น้ันเรียกกันในประวัติศาสตรไทยวาสงครามชางเผือก

เพราะพระเจาบุเรงนองสงราชทูตเขามาทูลขอพระราชทานชางเผือกจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

เมื่อถูกปฏิเสธ พระเจาบุเรงนองจึงจัดแตงทัพพมามาโจมตีกรุงศรีอยุธยา ทัพพมาสามารถเขามาถึงกรุง

ได สมเด็จพระมหาจักรพรรดิตองเสด็จออกไปเจรจาความสงบศึก โดยโปรดใหตั้งพลับพลาข้ึนระหวาง

วัดหนาพระเมรุและวัดหัสดาวาส ยอมรับไมตรีของพมาและพระราชทานชาง ๔ เชือกให พรอมท้ังให

พระราเมศวร พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงครามไปเปนตัวประกันที่พมา พระราชพงศาวดาร

กรุงศรีอยุธยาบันทึกเหตุการณไววา

คร้ันรุงขึ้น สมเด็จพระเจาอยูหัวก็ทรงเรือพระท่ีนั่งสุพรรณหงส พรอมดวยมุขมนตรี กวีชาติราชครูโหราโยธาหาญขามไป เสด็จขึ้นบนพระที่นั่ง ฝายสมเด็จพระเจาหงสาวดีพรอมดวยทาวพระยามุขมนตรีทั้งปวงเสด็จมา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจารองอัญเชิญเสด็จ สมเด็จพระเจาหงสาวดีเสด็จขึ้นบนพระที่นั่งแลวตรัสวา สมเด็จพระเจาพี่เราใหอาราธนาพระพุทธปฏิมากรเจา พระธรรมเจา พระสงฆเจา มาเปนประธานก็ดีอยูแลว ขอจง เปนสักขีพยานเถิด อันแผนดินกรุงเทพมหานครศรีอยุธยานี้ ยกถวายไวแดสมเด็จพระเจา พีเ่รา แตทวานองทานใหมาขอชางเผอืก ๒ ชาง พระเจาพีม่ไิดให บดันีต้องยกพยหุโยธาหาญ มาโดยวิถีทุเรศกันดารจะขอชางเผือกอีก ๒ ชาง เปน ๔ ชาง พระเจาพี่จะวาประการใด สมเดจ็พระมหาจักรพรรดิราชาธริาชเจากต็รัสบญัชาให สมเดจ็พระเจาหงสาวดตีรสัวา จะขอ พระราเมศวรไปเลี้ยงเปนพระราชโอรส ถาพระเจาพี่เราใหแลวจะยกทัพกลับไป สมเด็จพระ มหาจักรพรรดิราชาธิราชเจาตรัสตอบวา ขอไวเถิด จะไดสืบประยูรวงศ สมเด็จพระเจา หงสาวดีตรัสวา พระมหินทราธิราชผูนองนั้นก็สืบวงศไดอยู อันจะเอาไวดวยกัน ถาพระเจาพี่เราสวรรคตแลว ดีรายพี่นองจะหมนหมองมีความพิโรธกัน สมณพราหมณามุขมนตรีอาณาประชาราษฎรจะไดความเดือดรอน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจาขัดมิได ก็บัญชาตาม สมเด็จพระเจาหงสาวดีตรัสวา จะขอพระยาจักรีและพระสุนทรสงครามไปดวย พระราชโอรส สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจาก็ยอมให แลวตรัสวา อาณาประชา

Page 110: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ราษฎรหัวเมืองและขาขอบขัณฑเสมาซึ่งกองทัพจับไวนั้น ขอไวสำหรับพระนครเถิด สมเด็จพระเจาหงสาวดกีบ็ญัชาให สมเดจ็พระมหาจักรพรรดริาชาธริาชเจาสงสมเดจ็พระเจาลกูเธอ พระราเมศวร และพระยาจกัรี พระสนุทรสงคราม กับชางพลายเผือก ๔ ชาง คอืพระคเชนท- โรดม พระบรมไกรสร พระรัตนากาศ พระแกวทรงบาศ ใหสมเด็จพระเจาหงสาวดีแลว เสด็จเขาพระราชวัง

นอกจากนั้น พระเจาบุเรงนองยังมีบัญชาใหกรุงศรีอยุธยาตองสงเครื่องราชบรรณาการอันมี

ชางศึก ๓๐ ชาง เงิน ๓๐๐ และสวยอันเก็บไดจากเมืองตะนาวศรีไปถวายทุกป พงศาวดารพมายังระบุ

เพิ่มเติมวาในศึกครั้งน้ัน เม่ือพระเจาหงสาวดีเสด็จกรีธาทัพกลับซึ่งตรงกับวันอังคารท่ี ๒๘ มีนาคม

พ.ศ. ๒๑๐๗ พระองคไดทรงกวาดตอนเชลยศึกไปเปนจำนวนมาก ซ่ึงมีเหลาผูชำนาญนาฏศิลปดนตรี

ชายหญิง สถาปนิก ชางศิลป ชางเหล็ก ชางไม ชางผม เหลาวิเสทคนครัว ชางทองแดง ชางยอม (ผา)

ชางทอง ชางทำเครือ่งเงนิ หมอรักษาชาง มา จิตรกร ชางทำเครือ่งหอม ชางเงนิ ชางแกะหนิ ชางปนูปน

ชางแกะไม และชางปนหมอ

ผลจากสงครามครั้งนั้นทำใหสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงสละราชสมบัติ และสมเด็จพระ

มหินทราธิราชขึ้นสืบราชบัลลังกแทน พระมหากษัตริยพระองคใหมหาไดมีบารมีมากพอ อีกท้ังกอนท่ี

สมเดจ็พระมหินทราธริาชจะข้ึนเสวยราชสมบตัิ กไ็ดเกดิกรณกีารชงิตวัพระเทพกษัตรยี ใน พ.ศ. ๒๑๐๗

ซึ่งราชสำนักอยุธยาสงไปใหสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชกษัตริยลานชาง เพื่อใหอภิเษกขึ้นเปนอัครมเหสี

ตามที่กษัตริยลานชางขอพระราชทานมา พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุวา พระมหาธรรม-

ราชาเปนผูที่อยูเบื้องหลังเหตุครั้งนั้น เพราะพระองคเปนผูใหมาเร็วถือหนังสือไปถวายพระเจาหงสาวดี

ทำใหพระเจาหงสาวดีสามารถสงคนมาชิงตัวพระเทพกษัตรียไปได กลาวไดวาเหตุการณนี้เปนอีกสาเหตุ

หนึ่งที่นำมาซึ่งความราวฉานระหวางหัวเมืองเหนือกับกรุงศรีอยุธยา

ความขัดแยงระหวางอยุธยาและพิษณุโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น ภายหลังจากที่สมเด็จพระ

มหินทราธิราชขึ้นเสวยราชยนั้น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุวา

ครั้งนั้นเมืองเหนือทั้งปวงเปนสิทธ์ิแกพระมหาธรรมราชาเจา อนึ่ง การแผนดินใน กรุงพระมหานครศรีอยุธยาพระมหาธรรมราชาบังคับบัญชาลงมาประการใด สมเด็จพระ มหินทราธิราชเจาแผนดินตองกระทำตามทุกประการก็ขุนเคืองพระราชหฤทัย จึงเอา ความนั้นไปกราบทูลสมเด็จพระราชบิดา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจาชางเผือกก็นอย พระทัย...

Page 111: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ตอมาใน พ.ศ. ๒๑๐๙ (โดยประมาณ) สมเดจ็พระมหนิทราธริาชทรงนำกำลังสมทบกบักำลงัของ

พระไชยเชษฐา กรุงศรีสตันาคนหุต (ลานชาง) ยกขึน้ทำศกึกบัพระมหาธรรมราชาเจาเมอืงพษิณโุลกเปน

เหตุใหสัมพันธไมตรีระหวางราชสำนักอยุธยาและพิษณุโลกขาดสะบ้ันลง พระมหาธรรมราชาเสด็จออก

ไปยังราชสำนักพระเจาหงสาวดี ขณะที่พระมหาจักรพรรดิเสด็จขึ้นไปรับพระราชธิดาพระวิสุทธิกษัตรีย

กับสมเด็จพระเอกาทศรถลงมายังกรุงศรีอยุธยา

ฐานะของพระมหาธรรมราชาและเมืองพิษณุโลกภายหลังสงคราม พ.ศ. ๒๑๐๖ น้ัน มิไดตางไป

จากเมืองประเทศราชของหงสาวดี หากแตความสัมพันธระหวางพระมหาธรรมราชากับกรุงศรีอยุธยา

ซึ่งมีมาลึกซ้ึงแตเดิมยังเปนแรงเหน่ียวรั้งอยู พระมหาธรรมราชาจึงมีฐานะไมตางไปจาก “เจาสอง ฝายฟา” หากตอมาภายหลังสมเด็จพระมหินทราธิราชกษัตริยอยุธยาไดใชวิธีรุนแรง คือสมคบกับ

พระไชยเชษฐาธิราชแหงลานชางนำกำลังขึ้นตีพิษณุโลก เปนเหตุใหพระมหาธรรมราชาจำเปนตองหัน

เขาพึ่งบารมีพระเจาบุเรงนองเพื่อคานอำนาจฝายอยุธยา เปนชนวนนำมาซึ่งสงครามในป พ.ศ. ๒๑๑๑ -

พ.ศ. ๒๑๑๒

หลักฐานในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและพงศาวดารพมาระบุตองกันวา เหตุที่พระเจาบุเรงนอง

ทรงกรีธาทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบหน่ึงใน พ.ศ. ๒๑๑๒ นั้น ก็เนื่องดวยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

ซึ่งไดกระทำสัตยสาบานวาจะจงรักภักดียอมตนเปนเจาประเทศราชตอกรุงหงสาวดีไดคิดแข็งขอเปน

กบฏ และยังหักหาญขึ้นไปเทครัวเมืองพิษณุโลกซึ่งเปนเมืองประเทศราชของกรุงหงสาวดีภายใตการ

ปกครองของ “เจาฟาสองแคว” ซึง่เปนพระยศทีพ่ระเจาบเุรงนองทรงสถาปนาใหกบัพระมหาธรรมราชา

เจาเมืองในขอบขัณฑสีมาหงสาวดี การกระทำดังกลาวนี้เทากับเปนการทาทายอำนาจของพระเจา

บุเรงนอง จึงจำเปนที่พระองคจะตองเปดศึกกับอยุธยาอีกครั้ง

หากยึดหลักฐานขางพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาก็มีความเปนไปไดวา กอนเกิดศึก

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงสละราชสมบัติไปแลวในราว พ.ศ. ๒๑๐๘ หลังเหตุการณการชิงตัว

พระเทพกษัตรีย ๑ ป หลังจากน้ันก็เสด็จไปประทับที่วังหลัง ขณะน้ันพระชนมายุได ๕๙ พรรษา

ไมมีหลักฐานระบุแนชัดวาพระองคออกผนวชท่ีวัดใด และออกผนวชเมื่อไร แตหลักฐานในพงศาวดาร

กรุงศรีอยุธยาระบุวา “พระเจาชางเผือก เวณราชสมบัติแลว ถึงเดือน ๓ ก็เสด็จขึ้นเมืองลพบุรี ตรัสใหบูรณะอารามพระศรีรัตนมหาธาตุใหบริบูรณ และแตงปะขาวนางชี ๒๐๐ กับขาพระใหอยูรักษา พระมหาธาตุ แลวก็เสด็จลงมายังกรุงพระมหานครศรีอยุธยา” เปนไปไดวาจะทรงผนวชอยูจนถึงป

พ.ศ. ๒๑๑๐ หรือตน พ.ศ. ๒๑๑๑ เปนอยางชา แลวจึงเสด็จลาพระผนวชเพื่อข้ึนครองแผนดิน

อีกคำรบหนึ่งตามการอัญเชิญของสมเด็จพระมหินทราธิราช ในปถัดมาคือใน พ.ศ. ๒๑๑๑ พระเจา

บุเรงนองก็กรีธาทัพใหญเขามาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ครั้งนี้ทางกรุงศรีอยุธยาเตรียมการตั้งรับเขมแข็ง

พระเจาบุเรงนองไมอาจตีหักพระนครไดโดยงาย แตแลวสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็เสด็จสวรรคต

ระหวางศึก พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ระบุวา

Page 112: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ศักราช ๙๓๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๑๑) ในเดือน ๑๒ นั้น พระเจาหงสายกพลมาแต เมืองหงสา คร้ันเถิงวันศุกร ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ พระเจาหงสามาเถิงกรุงพระนครศรีอยุธยา ตั้งทัพตำบลหลมพลี และเมื่อเศิกหงสา เขาลอมพระนครศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระมหา จักรพรรดิเจาทรงพระประชวรนฤพาน...

พงศาวดารที่ชำระในสมัยหลังระบุวา “ทรงประชวนหนัก ประมาณ ๒๕ วัน ก็เสด็จสวรรคต”

หลักฐานในพงศาวดารพมาระบุวา ภายหลังจากพระเจาหงสาวดีลอมกรุงศรีอยุธยาแลวเปนเวลา

๔ เดือน “พระเจาอยุธยาทรงพระนามวาพระสาธิราชา (เธียรราชา) ที่ทรงผนวชและเปนขบถนั้น สิ้นพระชนม ในวันศุกรขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖ จุลศักราช ๙๓๑ (พ.ศ. ๒๑๑๒)”

สุเนตร ชุตินธรานนท

เอกสารอางอิง

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา. ไทยรบพมา. พิมพครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๑.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๑ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. กรุงเทพฯ: กอง

วรรณกรรมและประวัติศาสตร กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๑. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๘.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร.

กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.

สุเนตร ชุตินธรานนท. พมารบไทย: วาดวยการสงครามระหวางไทยกับพมา. พิมพครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๐.``

Page 113: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางสนเข็ม อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระมหินทราธิราช

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 114: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระมหินทราธิราช

สมเด็จพระมหินทราธิราชทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๑๖ แหงกรุงศรีอยุธยา เปน

พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับสมเด็จพระสุริโยทัย เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

สวรรคต สมเด็จพระมหินทราธิราชทรงขึ้นครองราชย รัชกาลของสมเด็จพระมหินทราธิราชอาจกลาว

ไดวาเปนชวงที่อยุธยาเกิดความระส่ำระสายทั้งเหตุการณภายในประเทศและศึกสงครามกับพมา

เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จออกผนวชหลังจากสิ้นศึกสงครามกับพมาใน พ.ศ. ๒๑๐๖

แลว สมเด็จพระมหินทราธิราชไมทรงวางพระทัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาเจาเมืองพิษณุโลกวาจะไป

ฝกใฝพมา จึงลอบติดตอพระเจาไชยเชษฐาธิราช กษัตริยแหงกรุงศรีสัตนาคนหุต (ลานชาง) ใหยกทัพ

มาตีเมืองพิษณุโลก ตอมาในป พ.ศ. ๒๑๑๑ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงลาผนวช แตตองเผชิญกับ

ศึกพมาที่นำโดยพระเจาบุเรงนอง ในระหวางสงครามนั้นเอง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสวรรคต

การสงครามครั้งนั้น กรุงศรีอยุธยาถูกพมาปดลอมนานกวา ๕ เดือน พระราชพงศาวดารกรุงเกา

ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ระบุความในชวงรัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราชไววา

ศักราช ๙๓๐ มะโรงศก (พ.ศ. ๒๑๑๑) ในเดือน ๑๒ นั้น พระเจาหงสายกพลมาแต เมืองหงสา คร้ันเถิงวันศุกร ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ พระเจาหงสาเถิงกรุงพระนครศรีอยุธยา ตั้ง ทพัตำบลหลมพลี และเม่ือเศกิหงสาเขาลอมพระนครศรีอยธุยานัน้ สมเดจ็พระมหาจักรพรรด ิ เจาทรงพระประชวรนฤพาน และคร้ังนั้นสมเด็จพระเจาลูกเธอ พระมหินทราธิราช ตรัสมิได นำพาการเศกิ แตพระเจาลูกเธอพระศรีเสาวนัน้ตรสัเอาพระทยัใส และเสดจ็ไปบัญชาการทีจ่ะ รกัษาพระนครทุกวนั ครัน้แลสมเดจ็พระมหนิทราธริาชเจาตรสัรูวา พระเจาลกูเธอพระศรเีสาว เสด็จไปบัญชาการเศิกทุกวันดังนั้นก็มิไวพระทัย ก็ใหเอาพระเจาลูกเธอพระศรีเสาวนั้นไปฆา เสีย ณ วัดพระราม คร้ังนั้นการเศิกซึ่งจะรักษาพระนครนั้นก็คลายลง ครั้งเถิงศักราช ๙๓๑ มะเส็งศก (พ.ศ. ๒๑๑๒) ณ วันอาทิตย แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ เพลารุงแลวประมาณ ๓ นาฬกา ก็เสียกรุงพระนครศรีอยุธยาแกพระเจาหงสา ครั้นเถิง วันศุกร ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ ทำการปราบดาภิเษกสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจาเสวย ราชสมบัติกรุงพระนครศรีอยุธยา อนึ่งเมื่อพระเจาหงสาเสด็จกลับคืนไปเมืองหงสาน้ัน พระเจาหงสาเอาสมเด็จพระมหินทราธิราชเจาขึ้นไปดวย

Page 115: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระมหินทราธิราชทรงครองราชย ๒ ครั้ง รวมเวลาได ๗ ป คราวแรกเสวยราชสมบัต ิ

เมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๖ พระชนมายุได ๒๙ พรรษา เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๑๑๒ พระชนมายุได ๓๔

พรรษา เอกสารลานนากลาววาเปนสิ้นวงศที่สืบเชื้อสายมาจากพระเจาพรหมแหงเชียงรายเชียงแสน

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา. ไทยรบพมา. พิมพครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๑.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๑ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. กรุงเทพฯ: กอง

วรรณกรรมและประวัติศาสตร กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๑. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๘.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร.

กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.

สุเนตร ชุตินธรานนท. พมารบไทย: วาดวยการสงครามระหวางไทยกับพมา. พิมพครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๐.

Page 116: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางนาคาวโลก อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจา

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 117: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจา

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจาทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๑๗ แหง

กรุงศรีอยุธยา เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๐๕๗ เดิมรับราชการมีบรรดาศักดิ์เปนขุนพิเรนทรเทพ

เจากรมพระตำรวจขวา ซึ่งมีสวนรวมในการปราบขุนวรวงศาธิราชและแมอยูหัวศรีสุดาจันทร แลว

อัญเชิญพระเฑียรราชาใหลาผนวชขึ้นครองราชยเปนสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

หลงัจากทีส่มเดจ็พระมหาจักรพรรดิเสวยราชยเมือ่ พ.ศ. ๒๐๙๑ แลว ทรงสถาปนาขนุนางสำคญั

ที่มีสวนชวยเหลือใหดำรงตำแหนงตาง ๆ ที่สำคัญดังนี้ ขุนพิเรนทรเทพเปนสมเด็จพระมหาธรรมราชา

ธิราชเจาใหครองเมืองพิษณุโลก และพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรียพระราชธิดาใหเปนพระมเหส ี

ขุนอินทรเทพใหเปนเจาพระยาศรีธรรมาโศกราชเจาเมืองนครศรีธรรมราช หลวงศรียศเปนเจาพระยา

มหาเสนา ท่ีสมุหกลาโหม หม่ืนราชเสนหาในราชการเปนเจาพระยามหาเทพ หม่ืนราชเสนหา

นอกราชการเปนพระยาภักดีนุชิต พระยาพิชัยเปนเจาพระยาพิชัย พระยาสวรรคโลกเปนเจาพระยา

สวรรคโลก

เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจาไปครองเมืองพิษณุโลกนั้น ตอมาพระวิสุทธิกษัตรียม ี

พระราชธิดาและพระราชโอรสเปนลำดับคือ พระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระ

เอกาทศรถ เม่ือเกิดสงครามชางเผือกระหวางอยุธยากับพมาใน พ.ศ. ๒๑๐๖ สมเด็จพระมหา

ธรรมราชาธิราชเจาไดพยายามปองกันเมืองพิษณุโลกและหัวเมืองเหนือไวดวยความสามารถ แต

เม่ือจวนจะเสียเมือง สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจายอมออนนอมตอพมา พมาเห็นการปฏิบัติของ

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจาแลว จึงต้ังใหเปนเจาเมืองพิษณุโลก แตขึ้นอยูภายใตอาณัติของพมา

ภายหลังที่เสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๑๑๒ แลว จึงไดปราบดาภิเษกขึ้นเปนสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๑

ขณะนั้นมีพระชนมายุได ๕๔ พรรษา

ในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจามีเหตุการณสำคัญทางประวัติศาสตรเกิดขึ้น

ดังนี้

ใน พ.ศ. ๒๑๑๓ พระยาละแวกยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา แตสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจา

สามารถปองกันเมืองไวได โดยขับไลกองทัพพระยาละแวกไป ตอมาอีก ๓ ป กองทัพพระยาละแวกยก

เขามาโจมตีอยุธยาอีก แตสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจาก็ปองกันเมืองไวได การที่ขาศึกสามารถ

ขึ้นมาประชิดพระนครไดงายดังนี้ ทำใหสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจาโปรดใหขุดคูขื่อหนาทางดาน

ทิศตะวันออกของเกาะเมืองใหกวางขึ้น ทรงสรางปอมมหาชัยขึ้นที่บริเวณแมน้ำปาสักและแมน้ำลพบุรี

มาบรรจบกัน และทรงสถาปนาพระราชวังหนาขึ้นเพื่อใหเปนที่ประทับของสมเด็จพระมหาอุปราช

Page 118: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ใน พ.ศ. ๒๑๒๔ เกิดกบฏญาณพิเชียรขึ้นแถบเมืองลพบุรี แตสามารถปราบปรามใหสงบ

เรียบรอยลงได

ใน พ.ศ. ๒๑๒๙ และ พ.ศ. ๒๑๓๐ สามารถขบัไลกองทัพพระเจาหงสาวดทีีม่าลอมกรงุศรอียธุยา

ใหพายแพกลับไป และในการปราบปรามหัวเมืองตาง ๆ ที่กระดางกระเดื่องเชนหัวเมืองเขมรใหอยูใน

อำนาจกรุงศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงออกรบทุกครั้ง ทำให

กองทัพอยุธยาสามารถยับยั้งการรุกรานของเมืองอื่น ๆ ไดอีกระยะหนึ่ง ครั้นตอมาจุลศักราช ๙๕๒

ปขาล สมัฤทธศิก พ.ศ. ๒๑๓๓ สมเดจ็พระมหาธรรมราชาธริาชเจาสวรรคต พระชนมายไุด ๗๖ พรรษา

อยูในราชสมบัติได ๒๒ ป

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเลม ๑. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๘.

พิเศษ เจียจันทรพงษ. การเมืองในประวัติศาสตรยุคสุโขทัย-อยุธยา พระมหาธรรมราชาธิราช. กรุงเทพฯ: มติชน,

๒๕๔๓.``

Page 119: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมราชานุสาวรียสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประดิษฐาน ณ ทุงภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Page 120: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๑๘ แหงกรุงศรีอยุธยา

เปนพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชากับพระวิสุทธิกษัตรีย ประสูติที่เมืองพิษณุโลก เมื่อ

พ.ศ. ๒๐๙๘ มีพระพี่นาง ๑ พระองคคือสมเด็จพระสุพรรณกัลยา มีพระอนุชาพระองคหนึ่งคือสมเด็จ

พระเอกาทศรถ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสืบเชื้อสายท้ังราชวงศสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ทรง

ใชชีวิตในวัยเยาวที่เมืองพิษณุโลก กอนจะถูกนำพระองคไปพมาเมื่อพระชนมายุได ๙ พรรษา และ

ประทับที่พมาจนพระชนมายุได ๑๖ พรรษา ดังนั้นพระองคจึงทรงเจริญวัยข้ึนทามกลางภาวะสงคราม

ที่ไทยตองเปนฝายตั้งรับจากการจูโจมของพมา ทามกลางความขัดแยงในพระราชวงศของไทย

ทามกลางความดูแคลนเหยียดหยามเมื่อไทยอยูในฐานะประเทศราชของพมา

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จกลับจากพมา ทรงเห็นวากรุงศรีอยุธยาเสื่อมโทรมอยาง

เห็นไดชัด ปอมคายถูกทำลายร้ือถอน ผูคนถูกกวาดตอนไปพมา ความมั่งคั่งร่ำรวยที่สั่งสมกันมากวา

สองรอยปและความสมบูรณพูนสุขลดลงไปเพราะสงครามและขาดแคลนแรงงาน รองรอยความเสีย

หายจากการสงครามยังปรากฏใหเห็นโดยทั่วไป เพราะไมมีการบูรณปฏิสังขรณ อีกท้ังยังมีกองทัพพมา

ประจำอยูเพ่ือปองกันไมใหกรุงศรีอยุธยากระดางกระเดื่อง สวนทางตะวันออก เขมรก็ไดสงกองทัพ

มาซ้ำเติมโดยกวาดตอนผูคนและทรัพยสมบัติในยามท่ีกรุงศรีอยุธยาเสื่อมอำนาจ

สมเดจ็พระมหาธรรมราชาทรงมอบหมายใหสมเดจ็พระนเรศวรมหาราชทรงปกครองหวัเมอืงเหนอื

โดยประทับอยูที่เมืองพิษณุโลกหลังจากเสด็จกลับจากพมาไมนานนัก คือใน พ.ศ. ๒๑๑๔ ในระยะ

เวลา ๑๔ ปที่ทรงปกครองหัวเมืองเหนืออยูนั้น ทรงดำเนินการหลายอยางที่จะมีความสำคัญในอนาคต

เชน การฝกหัดขาราชการ การรวบรวมกำลังคนที่หลบหนีพมา การฝกฝนยุทธวิธีการรบ การสรางขวัญ

กำลังใจใหเกิดขึ้นมาใหม ดังนั้นหัวเมืองเหนือจึงเปนฐานเร่ิมตนที่สำคัญในการกอบกูเอกราชของ

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

การที่เขมรโจมตีถึงเมืองหลวงและชายแดนของกรุงศรีอยุธยาทำใหกรุงศรีอยุธยาสามารถอาง

เหตุผลเพื่อการเสริมสรางกำลังขึ้นได เพราะเพียงระยะกอนการประกาศอิสรภาพใน พ.ศ. ๒๑๒๗ เขมร

สงกองทัพเขามาถึง ๕ คร้ัง คือใน พ.ศ. ๒๑๑๓ พ.ศ. ๒๑๑๘ พ.ศ. ๒๑๒๒ พ.ศ. ๒๑๒๔ และ พ.ศ.

๒๑๒๕ ท้ังใน พ.ศ. ๒๑๒๔ ยังเกิดกบฏญาณพิเชียรที่ลพบุรี การท่ีตองตอสูปองกันและขับไลศัตรูและ

ตองปราบปรามกบฏภายใน ทำใหตองมีการเสริมสรางกำลังไพรพลและเตรียมการปองกันใหเขมแข็ง

ดังใน พ.ศ. ๒๑๒๓ มีการขยายแนวกำแพงเมืองไปถงึแนวแมน้ำ

Page 121: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

การหาจังหวะประกาศอิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนาจะเกิดขึ้นหลังจากการไปเฝา

พระเจานันทบเุรงในโอกาสขึน้ครองราชยใหม และทรงไดแสดงฝมอืชวยกษัตรยิพมาปราบเจาฟาไทยใหญ

เมืองคังไดสำเร็จ การท่ีพมาตัดถนนเขามากำแพงเพชร ยิ่งตองทำใหสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเรง

หาโอกาสใหเรว็ขึน้ ดังน้ันในปลาย พ.ศ. ๒๑๒๖ เม่ือพระองคไดรบัมอบหมายใหไปชวยพระเจานนัทบุเรง

ปราบเมืองอังวะ จึงทรงเดินทัพไปชาๆ เพื่อหาจังหวะโจมตีหงสาวดี ระหวางที่พระเจานันทบุเรงไมอยู

หรืออยางนอยเพ่ือใหมีโอกาสนำคนไทยที่ถูกกวาดตอนไปกลับคืนประเทศ

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงในเขตแดนพมาตอนลาง อันเปน

ถิ่นเดิมของมอญ ใน พ.ศ. ๒๑๒๗ หลังจากที่ทรงรับรูวาพมาวางแผนกำจัดพระองคเหมือนกัน พระองค

ประกาศวา “ตั้งแตวันนี้กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิไดเปนมิตรกันดังแตกอนไป”

แลวสงคนไปชักชวนใหคนไทยที่ถูกกวาดตอนกลับกรุงศรีอยุธยา เปนท่ีนาสังเกตวาการประกาศ

อิสรภาพในครั้งนี้ทรงกระทำในขณะที่ทรงเปนรัชทายาท โดยที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชยังไม

ทรงทราบ

พระเจานันทบุเรงไมเปดโอกาสใหไทยไดตั้งตัวติด ในทันทีที่ทราบวาแผนการกำจัดสมเด็จพระ

นเรศวรมหาราชของพระองคลมเหลว และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศอิสรภาพ จึงทรงสง

กองทัพติดตามโจมตีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทันท ี อยางไรก็ดี การโจมตีของกองทัพพมาแตละครั้ง

มีแตแสดงใหเห็นวาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเปนแมทัพที่ปรีชาสามารถและกลาหาญ ความเกง

กลาของกองทัพพมาที่เคยมีในสมัยพระเจาบุเรงนอง (พ.ศ. ๒๐๙๔–พ.ศ. ๒๑๒๔) ไดหมดไปเมื่อเผชิญ

กับกองทัพกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระอนุชาธิราช การท่ีทรงใช

“พระแสงปนตนขามแมน้ำสะโตง” (พ.ศ. ๒๑๒๗) และ “พระแสงดาบคาบคาย” (พ.ศ. ๒๑๒๘) ลวน

เปนเร่ืองเลาขานใหเห็นถึงความกลาหาญของแมทัพไทย กองทัพพมาขนาดใหญมีรี้พลมากมายถึง

๒๕๐,๐๐๐ คน และนำโดยพระเจานันทบุเรง ใน พ.ศ. ๒๑๒๙–พ.ศ. ๒๑๓๐ ยังถูกกองทัพไทยของ

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระอนุชาขับไลออกไปและประสบความเสียหายอยางยับเยิน ยังผล

ใหการโจมตีของกองทัพพมาตองวางเวนไปถึง ๓ ป การลาถอยของกองทัพพมาในครั้งนี้แสดงใหเห็นวา

อิสรภาพของเมืองไทยเปนเรื่องที่ปลอดภัยและยั่งยืน และในปเดียวกันนี้ยังทรงทำใหกัมพูชาอยูใน

อำนาจกรุงศรีอยุธยาไดอีกครั้งดวย

กอนที่จะถึงศึกใหญจากพมาในรอบสอง มีการเปล่ียนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นท่ีกรุงศรีอยุธยา นั่น

คือในปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวร

มหาราชจงึไดขึน้เสวยราชสมบัต ิพรอมกนัน้ีทรงแตงตัง้สมเดจ็พระเอกาทศรถเปนเสมือนกษัตรยิองคที ่๒

“พระองคดำ” และ “พระองคขาว” จึงเปนพระนามท่ีชาวตะวันตกเรียกขานพระนามตามสีพระวรกาย

กษัตรยิไทยทั้งสองพระองคตามลำดับ

Page 122: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

กองทัพพมาเริ่มโจมตีกรุงศรีอยุธยาเปนระลอกสอง ใน พ.ศ. ๒๑๓๓ หลังการผลัดแผนดินเพียง

๔ เดือน โดยมีพระมหาอุปราชาเปนแมทัพคุมพล ๒๐๐,๐๐๐ คน มาทางดานพระเจดียสามองค

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำทัพออกไปรับมือกับขาศึกท่ีเมืองสุพรรณบุรีและสามารถขับไล

กองทัพพมาออกไปไดอยางงายดาย ทำใหทัพพมาเสียหายอยางยับเยิน ๒ ปตอมาพระมหาอุปราชา

ไดทรงนำทัพพมามาอีกในสงครามท่ีมีความสำคัญและเปนที่เลื่องลือในการสูรบระหวางประเทศท้ังสอง

นั่นคือแมทัพทั้งสองฝายพรอมดวยแมทัพรองไดทำยุทธหัตถีกันท่ีหนองสาหราย เมืองสุพรรณบุรี เมื่อ

วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕

ผลของการทำยุทธหัตถีคือพระมหาอุปราชาถูกฟนสิ้นพระชนมบนคอชาง สวนอีกคูสมเด็จพระ

เอกาทศรถก็ทรงไดชัยชนะอีกเชนกัน หลังสงครามคร้ังนี้ โฉมหนาของการสงครามไดเปล่ียนไป พมา

ไมกลายกกองทัพมาโจมตีไทยอีกและเวนวางไปนานกวา ๑๐๐ ป และไทยกลับเปนฝายตอบโต

พมาบาง พมาจึงตองเปนฝายต้ังรับแทน

สงครามยุทธหัตถีไมเพียงแตพลิกสถานการณใหมในความสัมพันธระหวางไทยกับพมาเทานั้น

แตยังรวมถึงเพ่ือนบานอื่น ๆ ดวย เขมรถูกสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตอบโต โดยทรงยกกองทัพไป

โจมตีถึงกรุงละแวกใน พ.ศ. ๒๑๓๖ สงครามดำเนินมาถึงตนปถัดมา แมวากองทัพไทยจะยึดกรุงละแวก

จับพระยาศรีสุพรรณมาธิราชอนุชาพระยาละแวกได แตพระยาละแวกคือนักพระสัฏฐาสามารถหลบหน ี

เขาไปในเขตแดนลาวไดและสิ้นพระชนมที่นั่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกกองทัพไปตีเขมรอีกครั้งใน

พ.ศ. ๒๑๔๖ คราวนี้ไดรับชัยชนะอยางเด็ดขาด แตการตอบโตสวนใหญของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

นั้นกระทำตอพมาซึ่งกำลังเสื่อมอำนาจและแตกแยก อันเปนผลจากความออนแอที่ไมสามารถปราบ

กรุงศรีอยุธยาได และแมวาการยกกองทัพไปโจมตีพมาจะเต็มไปดวยความยากลำบากเพราะตองขึ้นไป

ที่สูงที่เปนภูเขา แตกองทัพไทยก็ยกไปถึง ๕ ครั้ง คือใน พ.ศ. ๒๑๓๕ พ.ศ. ๒๑๓๗ พ.ศ. ๒๑๓๘

พ.ศ. ๒๑๔๒ และ พ.ศ. ๒๑๔๗ ซ่ึงเปนการยกทัพครั้งสุดทายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะ

เสด็จสวรรคตในระหวางทางท่ีเมืองหางเม่ือวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ การขยายอำนาจของ

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำใหเขตแดนกรุงศรีอยุธยาแผออกไปไดกวางไกลท่ีสุดนับแตสถาปนา

กรุงศรีอยุธยาเปนตนมา คือครอบคลุมทั้งเขตแดนมอญ พมา ลานนา ไทยใหญ ลานชาง และเขมร

แมวาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงอุทิศเวลาเกือบตลอดรัชสมัยใหกับสงครามเพื่อเสริม

สรางความมั่นคงและความย่ิงใหญใหกับกรุงศรีอยุธยา แตความมั่นคงและยิ่งใหญมิไดอยูเฉพาะเพียง

ชัยชนะของสงครามเทานั้น หากขึ้นกับวินัยและขวัญของประชาชนดวย ดังที่พระองคขอคำมั่นจาก

บุคคลที่อัญเชิญพระองคขึ้นครองราชย การควบคุมกำลังคนอยางมีประสิทธิภาพ การสรางวินัยท่ีตอง

เชื่อฟงพระองคและเคารพกฎหมายอยางเครงครัด การลดความละโมบของประชาชนถึงขนาดไมสนใจ

ทองที่ทิ้งอยูกลางถนน พระองคทรงกวดขันเรื่องเหลานี้อยางจริงจัง ถึงกับปลอมพระองคออกตรวจตรา

บานเมืองและสอดสองทุกขสุขของประชาชนดวยพระองคเอง

Page 123: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

นอกจากนีค้วามมัน่คงยังขึน้กบัความมัง่ค่ังรำ่รวยของอาณาจักรดวย ซึง่สิง่ทีจ่ะไดมากโ็ดยการคา

ระหวางประเทศ โปรตุเกสในฐานะท่ีเปนชาติตะวันตกชาติแรกท่ีเขามาคาขายและเผยแผศาสนายังคง

ดำเนินกิจการอยู และอาวุธปนของโปรตุเกสก็เปนที่ตองการของไทยมาก ตอมาใน พ.ศ. ๒๑๔๗

ฮอลันดาซ่ึงมาคาขายที่ปตตานีเมื่อ ๓ ปที่แลวก็เขามาถึงกรุงศรีอยุธยา การติดตอคาขายเชนนี้ไมเพียง

แตทำใหเกิดความมั่งคั่งมั่นคง แตยังทำใหสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีโลกทัศนกวางไกลยิ่งขึ้น ถึงกับมี

การสงทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับฮอลันดากอนที่จะสวรรคตเล็กนอย สวนการคากับชาติเอเชีย

การคากับจีนมีความสำคัญมาก เพียงหนึ่งปหลังการประกาศอิสรภาพทรงสงทูตไปยังราชสำนักหมิง

(พ.ศ. ๑๙๑๑ - พ.ศ. ๒๑๘๗) ซึ่งปกครองจีนในเวลานั้น เพื่อขอพระราชทานตราแผนดินแทนของเกาที่

ถูกพมายึดไป และจากน้ีการคากับจีนก็ไดเริ่มขึ้นใหม แนนอนวาการคาทางทะเลของไทยขยายตัวออก

ไปอยางกวางขวางในทะเลดานตะวันออกอันรวมถึงญี่ปุนดวย เม่ือญี่ปุนในสมัยโตโยโตมิ ฮิเดโยชิ

(พ.ศ. ๒๐๗๙ - พ.ศ. ๒๑๔๑) มีแผนการใหญที่จะยึดครองจีนและเริ่มตนโดยการสงกองทัพเขาไปเพื่อ

ยึดครองเกาหลีซึ่งเปนรัฐบรรณาการของจีนกอนใน พ.ศ. ๒๑๓๕ (ซึ่งเปนปเดียวกันกับสงคราม

ยุทธหัตถี) สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสนอที่จะสงกองทัพเรือไทยไปชวยจีนปราบญี่ปุน แต

จักรพรรดิจีนไดปฏิเสธขอเสนอของไทย

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคต พ.ศ. ๒๑๔๘ เมื่อพระชนมายุ ๕๐ พรรษา ทรงครอง

ราชสมบัติ ๑๕ ป ไมทรงมีพระราชโอรส พระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

ตอ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงไดรับการยกยองเชิดชูในประวัติศาสตรไทยที่ทรงกอบกูเอกราช

ทำใหบานเมืองมีความมั่นคง มีอำนาจที่ยิ่งใหญ และมีความเจริญรุงเรือง ทรงเปนพระมหากษัตริยที ่

ยิ่งใหญและมีความสำคัญมากพระองคหนึ่งในประวัติศาสตรไทย

วุฒิชัย มูลศิลป

เอกสารอางอิง

คณะกรรมการชำระประวัติศาสตรไทย. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช: ๔๐๐ ปแหงการครองราชย. พิมพครั้งที่ ๔.

กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๔๐.

จอมเกลาเจาอยูหัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. ๒ เลม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร,

๒๕๔๒.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา. ไทยรบพมา. พิมพครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๑.

. พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช. พิมพครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๐.

ประพฤทธ์ิ ศุกลรัตนเมธี และวินัย พงศศรีเพียร. “จดหมายเหตุหมิงสือลูเกี่ยวกับอยุธยา.” ใน ศรีชไมยาจารย. วินัย

พงศศรีเพียร, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการชำระประวัติศาสตรไทย กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๔๕.

Page 124: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๕๐.

วัน วลิต. พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. ๒๑๘๒. วนาศรี สามนเสน, แปล. กรุงเทพฯ: ภาควิชา

ประวัติศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๒๓.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร.

กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.

สืบแสง พรหมบุญ. ความสัมพันธในระบบบรรณาการระหวางไทยกับจีน ค.ศ. ๑๒๘๒ - ๑๘๕๓. กาญจนี ละอองศรี, แปล.

กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, ๒๕๒๕.

สุเนตร ชุตินธรานนท. พมารบไทย: วาดวยการสงครามระหวางไทยกับพมา. พิมพครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๐.

Wade, Geoff. “The Ming shi-lu as a Source for Thai History-Fourteenth to Seventeenth Centuries.” Journal of

Southeast Asian Studies, 31, 2 (September 2000): pp. 249-294.

Wyatt, David K. Thailand: A Short History. Second Edition. New Haven: Yale University Press, 2003.``

Page 125: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางถวายเนตร อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเอกาทศรถ

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 126: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระเอกาทศรถ

สมเด็จพระเอกาทศรถทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๑๙ แหงกรุงศรีอยุธยา เปน

พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจากับพระวิสุทธิกษัตรีย เปนพระอนุชาในสมเด็จพระ

นเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๓ ท่ีเมืองพิษณุโลกเมื่อครั้งที่พระราช-

บิดาทรงดำรงตำแหนงเจาเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระเอกาทศรถทรงไดรับการขนานพระนามในหมู

ชาวตะวันตกวาพระองคขาว พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์วาสมเด็จพระ

เอกาทศรถเสด็จขึ้นครองราชยเมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๘

เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถขึ้นครองราชยนั้น เปนเวลาที่มีศึกสงครามหลายครั้งเขามาประชิด

พระนคร อกีทัง้การสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่เมอืงหางก็ยิง่ทำใหคนอยุธยารูสกึเสียขวญั

และหมดที่พึ่ง สมเด็จพระเอกาทศรถซึ่งทรงออกรบรวมกับพระเชษฐาธิราชทุกครั้งจึงเปนทั้งที่พึ่ง

และเปนขวัญกำลังใจในการท่ีจะสรางความเช่ือมั่นและความสามัคคีในการตอสูกับขาศึกไดอีก หลังจาก

ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเอกาทศรถทรงเชิญพระบรมศพกลับ

กรุงศรีอยุธยาและถวายพระเพลิงอยางสมพระเกียรติ แลวสถาปนาวัดวรเชตุขึ้นเปนพระราชกุศลแด

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในรัชกาลของสมเด็จพระเอกาทศรถนับไดวาเปนยุคสมัยของความสงบสุขอีกครั้งหนึ่ง เพราะ

ไมมีศึกสงครามใด ๆ เขามาประชิดพระนครอีก ทั้งยังมีชาวตางชาติเขามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารมาก

กวากอน พระองคเองทรงติดตอกับตางชาติดวย ดังปรากฏสำเนาพระราชสาสนท่ีทรงสงไปยังอุปราช

โปรตุเกสที่เมืองกัว

พระราชพงศาวดารบันทึกเหตุการณตาง ๆ ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถวาเมื่อทรงข้ึนครอง

ราชยแลว พญาตองอูและพญาลานชางไดสงพระราชสาสนและเคร่ืองราชบรรณาการมาถวาย ใน

รัชกาลของพระองคไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหจัดพระราชพิธีอาสวยุชหรือพระราชพิธีแขงเรือข้ึน

จากน้ันโปรดใหหลอพระพุทธปฏิมา ๕ พระองค และมีพิธีเฉลิมฉลองพระพุทธรูปเหลานั้น

ในดานกฎหมาย โปรดใหตั้งพระราชกำหนดกฎหมายพระอัยการและสวยสัดพัฒนาการขนอน

ตลาดเพื่อกำหนดพิกัดการเสียภาษีขึ้น

สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๓ ทรงครองราชยอยู ๖ ป ทั้งนี้เดิมเชื่อวา

รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถมีระยะเวลานานกวานั้น แตจากขอมูลที่พบในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา

ฉบับวันวลิต และจดหมายเหตุปเตอร ฟลอริส (Peter Floris) ซ่ึงเดินทางเขามาทำงานกับบริษัทอินเดีย

ตะวันออกของอังกฤษในสยามระหวาง พ.ศ. ๒๑๕๔-พ.ศ. ๒๑๕๘ ระบุตรงกันวา สมเด็จพระนเรศวร

Page 127: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

มหาราชสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๘ และสมเด็จพระเอกาทศรถสวรรคตเม่ือ พ.ศ. ๒๑๕๓ พระชนมายุ

ได ๕๑ พรรษา

พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตนระบุวา สมเด็จพระเอกาทศรถมีพระราชโอรส

๒ พระองค คือเจาฟาสุทัศนและเจาฟาศรีเสาวภาคย แตในสังคีติยวงศกับเอกสารฟานฟลีตและ

เอกสารฮอลันดากลาววาสมเด็จพระอินทราชา (พระเจาทรงธรรม หรือพระศรีศิลป) เปนพระราชโอรส

องคหนึ่งของสมเด็จพระเอกาทศรถ

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๑. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ (จาด) เลม ๒. กรุงเทพฯ: องคการคาคุรุสภา, ๒๕๔๑.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัดสรร.

กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.``

Page 128: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางหามพระแกนจันทน อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระศรีเสาวภาคย

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 129: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระศรีเสาวภาคย

สมเด็จพระศรีเสาวภาคยทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๒๐ แหงกรุงศรีอยุธยา ทรงอยู

ในราชวงศสุโขทัย ครองราชสมบัติระหวาง พ.ศ. ๒๑๕๓ - พ.ศ. ๒๑๕๔ รวมระยะเวลา ๑ ป ๒ เดือน

เปนพระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรถ

บันทึกของชาวตางประเทศระบุวาสมเด็จพระศรีเสาวภาคยเหลือพระเนตรเพียงขางเดียวดวย

เหตุทรงพระประชวร เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคต พระองคเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

แลวถวายพระเพลิงพระบรมศพพระราชบิดาตามราชประเพณี รัชกาลของพระองคแทบไมปรากฏ

บันทึกเหตุการณใด ๆ สมเด็จพระศรีเสาวภาคยถูกพระอินทราชาพระโอรสอีกพระองคหนึ่งใน

สมเด็จพระเอกาทศรถชิงราชสมบัติ (พงศาวดารบางฉบับวา พระศรีศิลป) และถูกสำเร็จโทษดวย

ทอนจันทน พระศพฝงไว ณ วัดโคกพระยา เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๔

เหตุการณสำคัญที่เกิดขึ้นในรัชกาลของสมเด็จพระศรีเสาวภาคยคือ การกบฏของพวกอาสา

ญี่ปุนในตอนตนรัชกาล เหตุการณนี้พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาทุกฉบับกลาวตรงกันวาเกิดข้ึนใน

รัชสมัยสมเด็จพระเจาทรงธรรมเพียงครั้งเดียว แตในเอกสารตางชาติระบุวา กบฏอาสาญี่ปุนเกิดขึ้น

๒ ครั้ง คือ ในรัชสมัยของสมเด็จพระศรีเสาวภาคยเมื่อพระองคขึ้นครองราชยครั้งหนึ่ง และในรัชสมัย

สมเด็จพระเจาทรงธรรมอีกครั้งหนึ่ง

เอกสารของปเตอร ฟลอริส (Peter Floris) กลาวถึงเหตุการณภายหลังการสวรรคตของ

สมเด็จพระเอกาทศรถวา

...เม่ือสมเด็จพระเอกาทศรถสวรรคตใน ค.ศ. ๑๖๑๐ ราชสมบตัติกอยูแกพระราชโอรส องคที่ ๒ กษัตริยองคใหมทรงโปรดฯ ใหประหาร Jockcrommewaye ผูซึ่งทูลสมเด็จพระ เอกาทศรถจนเปนเหตุใหพระราชโอรสองคใหญถูกประหารชีวิต Jockcrommewaye มี ทหารอาสาญี่ปุนฝกใฝอยูมาก ทหารอาสาญี่ปุนประมาณ ๒๘๐ คน บุกเขาจับกุมพระมหากษตัรยิ บงัคบัใหพระองคทรงประหารขุนนางทีเ่ปนเหตุให Jockcrommewaye ถกูประหาร...

และเอกสารของสปรินเกล (Sprinckel) ไดกลาวไววา

...มีแผนการที่จะยึดครองกรุงศรีอยุธยาแตทำไมสำเร็จขณะพระมหากษัตริยยังทรง พระชนมชีพอยู แตเม่ือพระองคเสด็จสวรรคตแลว หัวหนาขบถคือออกพระนายไวยก็เริ่ม

Page 130: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ดำเนินการเพื่อจะขึ้นเปนกษัตริย แตประชาชนไมนิยมดวย ตางพากันฝกใฝเขาขางพระราช โอรสของกษัตริย พระราชโอรสจึงไดขึ้นเปนกษัตริย พวกฮอลันดาเองก็เขาขางพระราช โอรสสูรบกับพวกออกพระนายไวย เม่ือพระราชโอรสของกษัตริย (ซึ่งไดเปนกษัตริย) สวรรคต พระอนุชาองคเล็กจึงไดเปนกษัตรยิ... จากขอความที่กลาวมานี้แสดงใหเห็นวามีการกบฏเกิดขึ้นในชวงเวลาหัวเลี้ยวหัวตอของการผลัด

แผนดินดวย

ปยรัตน อินทรออน

เอกสารอางอิง

กรมศลิปากร. รวมบนัทกึประวัตศิาสตรอยธุยาของ ฟาน ฟลีต (วัน วลติ). กรงุเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวตัศิาสตร,

๒๕๔๖.

ขจร สุขพานิช. ขอมูลประวัติศาสตร: สมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, ๒๕๒๓.

คำใหการชาวกรงุเกา คำใหการขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรงุเกาฉบับหลวงประเสรฐิอกัษรนติิ.์ พมิพครัง้ที ่๒.

พระนคร: คลังวิทยา, ๒๕๑๕.

ประชุมพงศาวดาร เลม ๓๘ ภาคท่ี ๖๔ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). พระนคร: องค

การคาคุรุสภา, ๒๕๑๒.

ประชุมพงศาวดาร เลม ๓๙ ภาคท่ี ๖๔ (ตอ) พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). พระนคร:

องคการคาคุรุสภา, ๒๕๑๒.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. ๒ เลม. พิมพครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

โยเนะโอะ, อิชิอิ และคณะ. ความสัมพันธไทย-ญี่ปุน ๖๐๐ ป. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตรและ

มนุษยศาสตร, ๒๕๓๐.

Page 131: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางประทับเรือขนาน อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเจาทรงธรรม

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 132: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระเจาทรงธรรม

สมเด็จพระเจาทรงธรรมทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๒๑ แหงกรุงศรีอยุธยา ทรงอยู

ในราชวงศสุโขทัย เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๕ ครองราชสมบัติระหวาง พ.ศ. ๒๑๕๔ - พ.ศ.

๒๑๗๑ รวมระยะเวลา ๑๗ ป รัชสมัยของพระองคทรงสงเสริมการคากับตางประเทศอยางกวางขวาง

ทำใหอยุธยากลายเปนเมืองทาที่สำคัญยิ่งกวารัชสมัยใด ๆ ที่ผานมา อีกทั้งทรงสงเสริมพระพุทธศาสนา

อยางมาก

สมเด็จพระเจาทรงธรรมมีพระนามเดิมวาพระอินทราชา (พงศาวดารบางฉบับวา พระศรีศิลป)

เปนพระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ทรงอธิบายวา พระมารดาเปนพระสนม ชาวบางปะอิน ซึ่งสมเด็จพระเอกาทศรถทรงไดเปน

บาทบริจาริกา เมื่อครั้งเรือพระที่นั่งลมที่บางปะอิน

พระอินทราชาทรงผนวชอยูที่วัดระฆังจนไดเปนพระพิมลธรรมอนันตปรีชา ขณะบวชอยูมีศิษย

มากมาย จมื่นศรีสรรักษขุนนางสำคัญคนหน่ึงมาถวายตัวเปนบุตรบุญธรรม และซองสุมกำลังพลไว

เปนจำนวนมาก แลวบุกเขาพระราชวังหลวงเพื่อชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีเสาวภาคย จับ

สมเด็จพระศรีเสาวภาคยสำเร็จโทษดวยทอนจันทน แลวอัญเชิญพระพิมลธรรมฯ ลาผนวช เสด็จขึ้น

ครองราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๔ และเพื่อเปนการตอบแทนท่ีจมื่นศรีสรรักษชวยเหลือพระองค จึงทรง

แตงตั้งใหจมื่นศรีสรรักษเปนพระมหาอุปราช แตก็ประชวรแลวสิ้นพระชนม อยูในตำแหนงไดเพียง

๑๐ วัน เทานั้น

หลังเสด็จขึ้นครองราชย เกิดกบฏอาสาญ่ีปุนขึ้น ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลาย

ฉบับกลาวตรงกันวา พวกญี่ปุนประมาณ ๕๐๐ คน ยกเขามาในทองสนามหลวงจะคุมพระองค

สมเด็จพระเจาทรงธรรมซึ่งเสด็จออกมาฟงพระสงฆบอกหนังสือ ณ พระที่นั่งจอมทองสามหลัง

สมเด็จพระเจาทรงธรรมทรงปลอมพระองคเปนพระสงฆ เสด็จหลบออกจากพระราชวังไปพรอมกับ

บรรดาพระสงฆจากวัดประดูโรงธรรม ฝายพระมหาอำมาตยรวบรวมพลไดก็ตอสูกับพวกญี่ปุนและ

ขับไลจนแตกพาย หนีลงเรือไปจากกรุงศรีอยุธยา ในการครั้งนี้ สมเด็จพระเจาทรงธรรมทรงพระกรุณา

โปรดเกลาฯ ใหพระมหาอำมาตยเปนเจาพระยากลาโหมสุริยวงศเพื่อตอบแทนความดีความชอบ

สวนในเอกสารตางชาติกลาวถึงพวกอาสาญี่ปุนประมาณ ๒๘๐ คน ซึ่งเหลือรอดจากการกบฏ

คร้ังแรกบุกเขาไปในพระราชวัง จับสมเด็จพระเจาทรงธรรมไวเพื่อตอรองผลประโยชน เมื่อฝายกอง

ทหารอยุธยารวบรวมกำลังพลได ตีโตกลับไป พวกญี่ปุนจึงลาถอยโดยลงเรือหนีจากกรุงศรีอยุธยาไป

แตอยางไรก็ตามกองทหารอาสาญี่ปุนก็ยังคงอยูตลอดมา มิไดถูกยุบเลิกจากเหตุการณดังกลาว

Page 133: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยสมเด็จพระเจาทรงธรรม ไดแก

ดานการสงคราม ถายึดตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาแลว กรุงศรีอยุธยามีศึก

สงครามกับพมาเพียงครั้งเดียว คือ เมื่อศึกกองทัพพมา-มอญยกมาลอมเมืองตะนาวศรี เมืองตะนาวศรี

รองขอใหอยุธยาสงกองทัพไปชวย สมเด็จพระเจาทรงธรรมจึงโปรดใหพระยาพิชัยสงครามเปนแมทัพ

ยกไป แตเมื่อถึงเมืองสิงขรปรากฏวาเมืองตะนาวศรีเสียแกพมาแลว จึงทรงใหยกทัพกลับ แตในหนังสือ

เรื่องไทยรบพมาของสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กลาวถึงสงครามอีกหลาย

ครั้งที่กรุงศรีอยุธยาตองเผชิญ ไดแก สงครามกับลานชาง พ.ศ. ๒๑๕๕ ซ่ึงกองทัพลานชางยกลงมาถึง

เมืองละโว และตั้งทัพอยูถึง ๔ เดือน ในชวงที่อยุธยากำลังมีปญหาเรื่องกบฏอาสาญี่ปุนอยู สมเด็จ

พระเจาทรงธรรมเสด็จนำทัพเคลื่อนเขาประชิดเมืองละโว (ลพบุรี) แตกองทัพลานชางถอยทัพไปกอน

จึงทรงใหกองทัพตามตีจนกองทัพลานชางแตกพายไป

สงครามกับพมา กรุงศรีอยุธยาทำสงครามกับพมาถึง ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๑๕๖

สมเด็จพระเจาทรงธรรมโปรดใหเจาเมืองทวายไปตีเมืองเร (ye ภาษาไทยวาเมืองเยหรือเย สวนภาษา

พมาออกเสียงวา เร เปนเมืองที่ตั้งอยูฝงตะวันออกของอาวเมาะตะมะทางตอนใตของพมา เหนือเมือง

มะริด) เมื่อตีไดและจับพระอนุชาของพระเจาอังวะ ซึ่งมาดูแลเมืองเรอยูสงมายังกรุงศรีอยุธยา พระเจา

อังวะจึงยกกองทัพมาตีเมืองทวาย เจาเมืองทวายเสียชีวิตในสนามรบ และเสียเมืองทวายแกพมา แต

สมเด็จพระเจาทรงธรรมทรงสงกองทัพของพระยาสวรรคโลกและพระยาพิไชยไปชวยเหลือ สามารถ

ปองกันเมืองตะนาวศรีและยึดเมืองทวายคืนมาได กองทัพพมาจึงแตกพายไป ตอมาใน พ.ศ. ๒๑๕๘

พมายกทัพมายงัเมอืงเชยีงใหมซึง่กำลงัมปีญหาการเมอืงภายใน (เชยีงใหมเคยเปนเมอืงขึน้ของพมากอนท่ี

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงยึดมาได) เมื่อกองทัพของพระเจาอังวะมาถึง พระเจาเชียงใหม

ไดรวบรวมผูคนไปต้ังมั่นสูที่เมืองลำปาง สามารถรักษาเมืองไดระยะหนึ่ง แตเมื่อกองทัพพมาไดรับความ

ชวยเหลือจากเจาเมืองนานจึงสามารถยึดเมืองเชียงใหมได พระเจาอังวะทรงแตงต้ังเจาเมืองนานเปน

พระเจาเชียงใหม ตอมาใน พ.ศ. ๒๑๖๐ มีขอตกลงวาไทยจะยอมรับวาเมืองเมาะตะมะเปนของพมา

และพมาจะยอมรับวาเมืองเชียงใหมเปนของไทย หลังจากน้ันไทยเวนสงครามกับพมาไปจนถึง พ.ศ.

๒๑๖๕ พมาไดสงกองทัพยึดเมืองทวายได กองทัพจากกรุงศรีอยุธยายกไปชวยไมทันจึงเสียเมืองทวาย

ใหแกพมาไป

สงครามกับกัมพูชา พ.ศ. ๒๑๖๔ สมเด็จพระไชยเชษฐากษัตริยกัมพูชาไดยายราชธานีไปอยูที่

เมืองอุดงฦๅไชย และไมยอมสงบรรณาการใหแกกรุงศรีอยุธยา (กัมพูชาเปนประเทศราชของกรุงศรี

อยุธยามาตั้งแตรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) สมเด็จพระเจาทรงธรรมทรงยกกองทัพท้ังทัพบก

และทัพเรือไปยังกัมพูชา โดยพระองคจะทรงเปนแมทัพบก และใหพระศรีศิลปเปนแมทัพเรือ

สมเด็จพระไชยเชษฐาทรงใชวิธีเจรจาเพื่อหนวงเวลาและรวบรวมกำลังไพรพลเตรียมพรอมรบ ทัพเรือ

ของพระศรีศิลปเมื่อตองรอเปนเวลานานก็เริ่มขาดแคลนเสบียงจนตองถอยทัพกอน สมเด็จพระ

Page 134: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ไชยเชษฐาจึงสงกองทัพออกโจมตีกองทัพไทยแตกพาย

ดานการตางประเทศ ในรัชกาลนี้นอกจากโปรตุเกสและฮอลันดาแลว ยังมีชาติตะวันตกชาติใหม

เขามาติดตอคาขายกับไทย คือ อังกฤษและเดนมารก บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเขามายัง

กรุงศรีอยุธยาและเมืองปตตานีเมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๕ และขออนุญาตตั้งสถานีการคาที่กรุงศรีอยุธยา สวน

เดนมารกนั้น บริษัทอินเดียตะวันออกของเดนมารกเขามาติดตอคาขายท่ีมะริดและตะนาวศรีเมื่อ

พ.ศ. ๒๑๖๔

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจาทรงธรรม การคากับฮอลันดาเจริญรุงเรืองมาก กรุงศรีอยุธยากับ

ฮอลันดาทำสนธิสัญญาทางการคากันเปนครั้งแรกเมื่อวันท่ี ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๑๖๐ โดยผูแทนของ

บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาเปนผูลงนาม ตามสัญญาระบุวาฮอลันดาไดสิทธิพิเศษในการซ้ือ

หนังสัตวจากกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทำใหเกิดความขัดแยงกับโปรตุเกสและอังกฤษ โปรตุเกสไดยึดเรือของ

ฮอลันดาลำหนึ่งไว แตทางกรุงศรีอยุธยาบังคับใหคืนเรือนั้น โปรตุเกสจึงโจมตีเรือของไทย ทำใหไทยกับ

โปรตุเกสบาดหมางกันจนกระท่ังปลายรัชกาลจึงคลี่คลายไป อยางไรก็ตาม การที่กรุงศรีอยุธยาใหความ

ชวยเหลือฮอลันดาทำใหความสัมพันธแนนแฟนยิ่งขึ้น สวนความสัมพันธกับอังกฤษน้ัน ใน พ.ศ. ๒๑๖๒

เรือของอังกฤษกับเรือของฮอลันดาเกิดสูรบกันในอาวเมืองปตตานี แตเหตุการณก็ยุติลงได

ดานศาสนา สมเด็จพระเจาทรงธรรมทรงสงเสริมพระพุทธศาสนาเปนอยางยิ่ง ใน พ.ศ. ๒๑๖๕

โปรดใหมีการชะลอพระมงคลบพิตรจากท่ีตั้งเดิมดานตะวันออกของพระราชวังมาไวดานตะวันตก

(ที่ประดิษฐานอยูในปจจุบัน) แลวโปรดใหกอพระมณฑปครอบพระมงคลบพิตร

ใน พ.ศ. ๒๑๖๑ เมืองสระบุรีมีใบบอกเขามาวามีผูพบรอยพระพุทธบาทบนเขาสุวรรณบรรพต

จึงเสด็จไปทอดพระเนตรเอง และโปรดอุทิศถวายที่ดินปาโดยรอบกวางดานละ ๑ โยชน (ประมาณ ๑๖

กิโลเมตร) แกพระพุทธศาสนา แลวโปรดใหสรางมณฑปสวมรอยพระพุทธบาท สรางพระอุโบสถ

และพระอารามขึ้น แลวใหฝรั่งตัดถนนหลวงกวาง ๑๐ วา ยาวตั้งแตเชิงเขาสุวรรณบรรพตจนถึงตำบล

ทาเรือ และโปรดใหสรางพระตำหนักทาเจาสนุก เพื่อเปนที่ประทับแรมเมื่อเวลาเสด็จมานมัสการ

พระพุทธบาท การกอสรางพระพุทธบาทและศาสนสถานอ่ืน ๆ โดยรอบใชเวลาถึง ๔ ป จึงแลวเสร็จ

นอกจากนี้ยังโปรดเกลาฯ ใหแตงวรรณคดีเรื่องกาพยมหาชาติ และรวบรวมพระไตรปฎกใหครบ

จบบรบิรูณดวย

พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกอยางหนึ่งคือการตรา “พระธรรมนูญกระทรวงศาล” ขึ้นใน พ.ศ.

๒๑๖๗ ซึ่งกำหนดหลักเกณฑตาง ๆ วาดวยเขตอำนาจศาลตาง ๆ ในการพิจารณาพิพากษาคดีแตละ

ประเภท ตลอดจนอำนาจหนาที่ของขุนนางตำแหนงตาง ๆ ที่ทำหนาท่ีเปนผูพิพากษาและตระลาการ

บทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหนาที่ของขาราชการใหญนอยทั่วราชอาณาจักรท้ังฝายทหารและฝาย

พลเรือนในการใชตราประจำตำแหนงปฏิบัติราชการตามอำนาจหนาที่

Page 135: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระเจาทรงธรรมเสด็จสวรรคตราวเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๑๗๑ มีพระชนมายุ ๓๖

พรรษา รวมระยะเวลาครองราชสมบัติ ๑๗ ป

ปยรัตน อินทรออน

เอกสารอางอิง

กรมศลิปากร. รวมบนัทกึประวัตศิาสตรอยธุยาของ ฟาน ฟลีต (วัน วลติ). กรงุเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวตัศิาสตร,

๒๕๔๖.

ขจร สุขพานิช. ขอมูลประวัติศาสตร: สมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, ๒๕๒๓.

คำใหการชาวกรงุเกา คำใหการขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรงุเกาฉบับหลวงประเสรฐิอกัษรนติิ.์ พมิพครัง้ที ่๒.

พระนคร: คลังวิทยา, ๒๕๑๕.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา. พงศาวดารเรื่องไทยรบพมา. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๘.

ประชุมพงศาวดาร เลม ๓๘ ภาคท่ี ๖๔ พระราชพงศาวดารกรุงศรอียธุยาฉบับพนัจนัทนมุาศ (เจิม). พระนคร: องคการคา

คุรุสภา, ๒๕๑๒.

ประชุมพงศาวดาร เลม ๓๙ ภาคท่ี ๖๔ (ตอ) พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). พระนคร:

องคการคาคุรุสภา, ๒๕๑๒.

ประวัติการทูตของไทย. พระนคร: โรงพิมพพระจันทร, ๒๕๐๑. (พิมพในงานพระราชทานเพลิงศพ หมอมเจาดิลกฤทธ์ิ

กฤดากร ณ เมรุหนาพลับพลาอิศริยาภรณ วัดเทพศริินทราวาส วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ ๒๕๐๑)

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. ๒ เลม. พิมพครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

โยเนะโอะ, อิชิอิ และคณะ. ความสัมพันธไทย-ญี่ปุน ๖๐๐ ป. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตรและ

มนุษยศาสตร, ๒๕๓๐.

สมจัย อนุมานราชธน. การทูตของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา. พระนคร: โรงพิมพไทยเขษม, ๒๔๙๓.``

Page 136: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางปาเลไลยก อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเชษฐาธิราช

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 137: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระเชษฐาธิราช

สมเด็จพระเชษฐาธิราชทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๒๒ แหงกรุงศรีอยุธยา ทรง

ครองราชยระหวาง พ.ศ. ๒๑๗๑ - พ.ศ. ๒๑๗๒ เปนพระราชโอรสในสมเด็จพระเจาทรงธรรม มี

พระอนุชาคือพระอาทิตยวงศ

พระราชพงศาวดารระบุเหตุการณตอนสมเด็จพระเจาทรงธรรมสวรรคตไววา เมื่อพระเจา

ทรงธรรมสวรรคต เสนาพราหมณทั้งหลายโดยมีออกญากลาโหมสุริยวงศเปนประธานไดพรอมใจกัน

เลือกพระราชโอรสองคโตในพระเจาอยูหัวองคกอน ข้ึนเปนพระมหากษัตริยขณะท่ีมีพระชนมายุได

๑๕ พรรษา แตอยูมาเพียง ๗ วัน พระศรีศิลปผูเปนพระอนุชาของสมเด็จพระเจาทรงธรรมก็พิโรธวา

เหลาเสนามนตรีไมยอมยกราชบัลลังกใหพระองค พระองคจึงทรงหลบหนีไปเมืองเพชรบุรีเพื่อซองสุม

กองกำลัง ตอเมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราชทรงทราบความก็โปรดใหแตงทัพออกไปสูรบโดยสามารถ

พระศรีศิลปถูกจับกุม นำองคไปสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยาตามโบราณราชประเพณี

ครั้นอยูมา ๔ เดือนเศษ มารดาของออกญากลาโหมสุริยวงศถึงแกกรรม มีขาราชการทั้งหลาย

ทั้งปวงในราชสำนักออกไปชวยงานเปนจำนวนมาก ขาหลวงเดิมของพระเจาอยูหัวจึงไปกราบทูล

สมเด็จพระเชษฐาธิราชวาออกญากลาโหมอาจจะกอกบฏ โดยรวบรวมกองกำลังไพรพลเอาไวมาก

พระเจาอยูหัวโปรดใหทหารไปนำตัวออกญากลาโหมเขามา แตจมื่นสรรเพธภักดีซึ่งเปนขุนนางฝาย

ออกญากลาโหมนำความออกไปแจงใหทราบกอน เมื่อเปนดังนั้นออกญากลาโหมจึงเห็นวาการตาง ๆ

ที่ไดทำลงไปน้ันไมมีประโยชน เพราะพระเจาแผนดินไมเห็นความดีความชอบ จึงคิดท่ีจะชิงราชบัลลังก

โดยมีขุนนางเขารวมเปนจำนวนมาก

สมเด็จพระเชษฐาธิราชไมทรงไดทันระวังองคเมื่อเห็นกองกำลังของออกญากลาโหมบุกเขามาใน

พระราชวัง จึงทรงหลบหนีไปกับพวกขาหลวงเดิม เม่ือเจาออกญากลาโหมทราบความก็สั่งใหพระยา

เดโช พระยาทายน้ำตามไปจับกุมตัว ตามไปทันที่ปาโมกนอย แลวนำพระองคไปสำเร็จโทษ

สมเด็จพระเชษฐาธิราชครองราชยได ๑ ป ๗ เดือน ตามหลักฐานพระราชพงศาวดารไทย แต

พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตวาครองราชยได ๘ เดือนเทานั้น

ปรีดี พิศภูมิวิถี

Page 138: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา. ชุมนุมพระนิพนธ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, ๒๕๔๓.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว., แปล. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต. กรุงเทพฯ:

สมาคมประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.``

Page 139: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางทรงรับมธุปายาส อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระอาทิตยวงศ

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 140: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระอาทิตยวงศ

สมเด็จพระอาทิตยวงศทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๒๓ แหงกรุงศรีอยุธยา เปนพระ

ราชโอรสของสมเด็จพระเจาทรงธรรม ครองราชยเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๒ สืบตอจากสมเด็จพระเชษฐาธิราช

เมื่อเจาพระยากลาโหมสุริยวงศกอการกบฏ จับสมเด็จพระเชษฐาธิราชสำเร็จโทษ เจาพระยากลาโหม

ไมยอมรับราชบัลลังกที่เหลาเสนาทั้งปวงมอบให โดยใหเหตุผลวามิไดปรารถนาในราชบัลลังกแตได

กระทำเพราะความจำเปน เหลาเสนาทั้งปวงจึงไดถวายราชสมบัติแดสมเด็จพระอาทิตยวงศซึ่งขณะน้ัน

มีพระชนมายุเพียง ๙ พรรษาเทาน้ัน

หลงัจากทีท่รงประกอบพธิรีาชาภิเษกแลว ปรากฏความในพระราชพงศาวดารวาพระอาทติยวงศ

มิไดวาราชการใดๆ เพราะยังทรงพระเยาวนัก เม่ือเปนดังนี้เหลาเสนามาตยจึงเห็นพองวาอาณาจักร

จำเปนจะตองมผีูนำ จงึเหน็สมควรมอบราชบลัลงักใหเจาพระยากลาโหมสรุยิวงศ ซึง่พระราชพงศาวดาร

กรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตวา เจาพระยากลาโหมส่ังใหนำสมเด็จพระอาทิตยวงศไปสำเร็จโทษตาม

ราชประเพณี

สมเด็จพระอาทิตยวงศครองราชสมบัติได ๓๘ วัน ตามที่ปรากฏในเอกสารของวันวลิต

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา. ชุมนุมพระนิพนธ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, ๒๕๔๓.

ศุภวัฒย เกษมศรี, พลตรี ม.ร.ว., แปล. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต. กรุงเทพ: สมาคม

ประวัติศาสตรในพระราชูปถัมภ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๒.``

Page 141: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางลอยถาด อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเจาปราสาททอง สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว

ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 142: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระเจาปราสาททอง

สมเด็จพระเจาปราสาททองทรงเปนปฐมกษัตริยแหงราชวงศปราสาททอง เปน

พระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๒๔ แหงกรุงศรีอยุธยา ทรงครองราชยระหวาง พ.ศ. ๒๑๗๒ - พ.ศ. ๒๑๙๙

ตามหลักฐานของตะวันตก สมเด็จพระเจาปราสาททองทรงเปนพระญาติสนิทของสมเด็จพระเจา

ทรงธรรม

กอนขึ้นครองราชย สมเด็จพระเจาปราสาททองทรงดำรงตำแหนงสำคัญ ๆ ในราชสำนักของ

สมเด็จพระเจาทรงธรรมและสมเด็จพระเชษฐาธิราช ไดแก ตำแหนงออกญาศรีวรวงศ และออกญา

(หรือเจาพระยา) กลาโหม แตตอมาดวยบารมีทางการเมืองและกำลังคนที่สนับสนุน จึงไดทรงปราบดา

ภิเษกขึ้นครองราชยหลังเหตุการณแยงชิงราชสมบัติชวง พ.ศ. ๒๑๗๑ - พ.ศ. ๒๑๗๒

เมื่อสมเด็จพระเจาทรงธรรมเสด็จสวรรคต พระศรีศิลปพระอนุชาในสมเด็จพระเจาทรงธรรม

ทรงกอการกบฏ ออกญาศรีวรวงศและออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ นางามาสะ หัวหนากองอาสา

ญี่ปุน) ไดรวมกันปราบปรามและสนับสนุนใหสมเด็จพระเชษฐาธิราชขึ้นครองราชย หลังจากนั้นไมนาน

สมเด็จพระเชษฐาธิราชทรงมีเหตุขัดแยงกับออกญาศรีวรวงศซึ่งโปรดเกลาฯ ใหเปนออกญากลาโหม

เกิดการตอสูขึ้น ออกญากลาโหมสามารถเขายึดพระราชวังหลวงได และจับสมเด็จพระเชษฐาธิราช

สำเร็จโทษเสีย แลวอัญเชิญพระอาทิตยวงศพระอนุชาขึ้นครองราชสมบัติแทน ออกญากลาโหมไดลด

คูแขงทางการเมืองลงไปเปนลำดับ เชน สงออกญาเสนาภิมุขและกองอาสาญี่ปุนออกไปปราบกบฏที่

นครศรีธรรมราชเพื่อใหหางไกลเร่ืองการเมือง ทายที่สุดออกญากลาโหมก็ไดปราบดาภิเษกข้ึนเปน

กษัตริยแทนสมเดจ็พระอาทิตยวงศซึ่งยังทรงพระเยาวเกินกวาที่จะปกครองแผนดินดวยพระองคเองได

สมเด็จพระเจาปราสาททองทรงปกครองบานเมืองดวยพระปรีชาสามารถและความเด็ดขาด ดัง

จะเหน็ไดจากการทีท่รงแกไขปญหาท่ีเกดิขึน้จากเหตุการณสำคญั ๆ ในชวง ๑๐ ปแรกของการครองราชย

ใหลุลวงไปได เชน กรณีหัวเมืองและหัวเมืองประเทศราชบางแหงไมยอมสวามิภักดิ์กรุงศรีอยุธยา

หรือเจานายในราชวงศเกาบางพระองคอาจเปนชนวนใหขุนนางในราชสำนักที่มีอำนาจอิทธิพลและ

บารมีกอกบฏได จะเห็นไดวาพระราชโอรสในสมเด็จพระเจาทรงธรรมถูกสำเร็จโทษไปเกือบหมด เชน

ใน พ.ศ. ๒๑๘๕ “เจาทาทราย” พระราชโอรสพระองคหนึ่งของสมเด็จพระเจาทรงธรรมกอกบฏข้ึนใน

พระราชวังหลวง แตก็ถูกปราบและถูกสำเร็จโทษไป ขุนนางคนสำคัญ ๆ ในรัชกาลสมเด็จพระเจา

ทรงธรรมถูกลิดรอนอำนาจและถูกกำจัดลงไปเร่ือย ๆ เริ่มตั้งแตกอนท่ีจะขึ้นครองราชยเปนสมเด็จ

พระเจาปราสาททอง มีการลงโทษประหารชีวิตออกญากำแพงเพชร ลอบฆาออกญาเสนาภิมุข และใน

พ.ศ. ๒๑๗๙ ออกญาพิษณุโลกถูกกลาวหาวาคิดกบฏและถูกตัดสินประหารชีวิต เปนตน

Page 143: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ในชวงแรกของรัชกาล สมเด็จพระเจาปราสาททองทรงพยายามจัดการกับปญหาในหัวเมืองและ

หัวเมืองประเทศราช ทรงปราบกบฏที่เมืองละคอน (ลำปาง) และนครศรีธรรมราช และเมื่อสุลตาน

ปตตานีไมยอมสงดอกไมเงินดอกไมทองเปนบรรณาการมาถวาย ก็ทรงสงกองทัพไปพยายามตีเมือง

ปตตานีใน พ.ศ. ๒๑๗๗ แมวากองทพัอยธุยาไมสามารถตเีมอืงปตตานไีด แต “นางพญาตาน”ี องคใหม

ก็ยอมสงเครื่องบรรณาการมาถวายใน พ.ศ. ๒๑๗๘ ในชวงปลายรัชกาลเกิดกบฏของตระกูล “สุลตาน

สุลัยมาน” ท่ีสงขลา กรุงศรีอยุธยาสงกองทัพไปปราบหลายครั้งแตก็ไมสามารถปราบได อาจสรุปได

วาโดยทั่วไปแลวสมเด็จพระเจาปราสาททองทรงพยายามรักษาความสงบและทรงขยายพระราชอำนาจ

ไปสูหัวเมืองตาง ๆ ในบริเวณอาวไทย เน่ืองจากเมืองทาตาง ๆ ในอาวไทยและคาบสมุทรมลายูอุดม

สมบูรณไปดวยทรัพยากรทางเศรษฐกิจ

สำหรับดานเศรษฐกิจ ในรัชกาลสมเด็จพระเจาปราสาททอง การคากับตางประเทศเจริญรุงเรือง

มาก โดยเฉพาะการคากับฮอลันดา (ผานบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา หรือ V.O.C.) และ

การคากับเมืองทาตาง ๆ ในอนุทวีปอินเดีย บริษัท V.O.C. สงออกของปา หนังกระเบน แรดีบุก และ

ขาวสารจากเมืองไทย สินคาที่สำคัญที่สุดสำหรับการคาของฮอลันดากับญี่ปุน ไดแก หนังกวาง

หนังกระเบน และไมฝางจากไทย ฮอลันดาจึงตองการสิทธิพิเศษทางการคา สมเด็จพระเจา

ปราสาททองทรงยอมใหบริษัท V.O.C. ไดสิทธิผูกขาดในการสงออกหนังสัตวเปนเวลาหนึ่งปเมื่อ

พ.ศ. ๒๑๗๗ เพื่อแลกเปลี่ยนกับกองเรือฮอลันดามาชวยกองทัพอยุธยารบกับปตตานี หลังจากนั้น

ไดพระราชทานสิทธิพิเศษนี้โดยถาวร สยามติดตอกับชาวโปรตุเกสท้ังทางดานการคาและการทูต

สมเด็จพระเจาปราสาททองทรงแลกเปล่ียนคณะทูตกับอุปราชโปรตุเกส ยังผลใหความสัมพันธกับ

โปรตุเกสและสเปนท่ีเคยตึงเครียดตั้งแตตนรัชกาลและในรัชสมัยสมเด็จพระเจาทรงธรรมคล่ีคลายไป

ในทางที่ดีขึ้น

นอกจากน้ี พอคาอินเดีย เปอรเซีย อารมีเนีย เดินเรือมาเมืองไทยเปนประจำ และเรือหลวงไทย

ก็ไปคาขายที่เมืองทาในเบงกอล ชายฝงโคโรมันเดลและคุชราฐ พอคาจากเมืองทาตาง ๆ ในอินเดียนำ

ผาฝาย ผาพิมพลาย ผาวาดลายมาขายในอยุธยา และซ้ือสินคา เชน ชาง ดีบุก กับสินคาจีนนำกลับไป

อินเดีย

รัชกาลสมเด็จพระเจาปราสาททองตรงกับชวงท่ีการคานานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

เฉียงใตกำลังเฟองฟูเปนพิเศษ เน่ืองจากตลาดโลกตองการสินคาจากภูมิภาคนี้ เชน เครื่องเทศ พริกไทย

และของปาบางชนิด ดวยจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมนี้ ราชอาณาจักรสยามจึงไดเขามามีสวนรวมใน

“ยุคสมัยแหงการคา” สงผลใหทองพระคลังไดรับผลประโยชนและนำกำไรมาสูสยามอยางตอเนื่อง

ตลอดรัชกาล

ในดานการบริหารราชการแผนดิน สมเด็จพระเจาปราสาททองทรงปรับปรุงวิธีการปกครองให

เปนอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น โดยโปรดใหขุนนางที่เปนเจาเมืองเขามาพำนักอยูในกรุงศรีอยุธยา แลว

Page 144: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ทรงสงผูรั้งเมืองไปปกครองหัวเมืองแทน ขุนนางฝายปกครองชั้นผูใหญเหลานี้มีหนาท่ีตองเขาเฝาท่ี

ศาลาลูกขุนในพระราชวังหลวงทุกวัน หรืออีกนัยหนึ่งคือทรงพยายามดึงพระราชอำนาจทางการเมือง

เขาสูสวนกลางมากขึ้น นอกจากนั้นสมเด็จพระเจาปราสาททองทรงตระหนักถึงปญหาที่เกิดจากการที่

สังคมขาดกฎหมายท่ีใชรักษาระเบียบ ในรัชกาลพระองคจึงมีการตรากฎหมายขึ้นหลายลักษณะ เชน

พระไอยการทาษ พระไอยการลักษณะมรดก พระไอยการลักษณะกูหนี้ และพระไอยการลักษณะอุธร

สมเด็จพระเจาปราสาททองทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

เชนเดียวกับพระมหากษัตริยพระองคอื่น ๆ และทรงสรางพระตำหนักและพระราชวังหลายแหง ดัง

ปรากฏเปนมรดกดานศิลปกรรมและสถาปตยกรรมมาจนทุกวันนี้ พระองคโปรดใหสรางพระราชวัง

และวัดชุมพลนิกายารามท่ีบางปะอิน ปราสาทนครหลวงบนเสนทางไปพระพุทธบาท พระตำหนัก

ธารเกษมที่พระพุทธบาท พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต และพระวิหารสมเด็จในพระราชวังหลวงท่ี

กรุงศรีอยุธยา แตผลงานที่โดดเดนที่สุดในรัชกาลนี้ ไดแก วัดไชยวัฒนาราม ซึ่งเปนพระอารามหลวง

ฝายอรัญวาสีซึ่งสรางขึ้นในสถานที่ที่เคยเปนบานของพระชนนีของพระองค สถาปตยกรรมท่ีวัดแหงนี้

สะทอนอิทธิพลเขมร เน่ืองจากสมเด็จพระเจาปราสาททองทรงสงชางไปถอดแบบการสรางปราสาท

มาจากราชอาณาจกัรเขมร นอกจากน้ันในชวงทีจ่ลุศกัราชกำลงัจะเวียนมาครบ ๑ พนัป (พ.ศ. ๒๑๑๘ -

พ.ศ. ๒๑๘๒) ราษฎรเกิดความวิตกวาจะถึงกลียุค สมเด็จพระเจาปราสาททองจึงโปรดใหจัดงาน

พระราชพิธีลบศักราชมีการทำบุญทำทานเปนเวลาหลายวัน ในชวงเดียวกันนั้นมีการบูรณปฏิสังขรณ

วัดวาอารามในราชธานีและบริเวณใกลเคียงกวาหน่ึงรอยแหง

สมเด็จพระเจาปราสาททองเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๑๙๙ รัชกาลของพระองคเปนชวงเวลา

ของความรุงเรืองทางดานการคากับตางประเทศและการบริหารราชการแผนดินแบบรวมศูนย แมวา

พระองคจะทรงพระปรีชาสามารถปกครองบานเมืองดวยความสงบเรียบรอยมาตลอดรัชกาล แตเมื่อ

สิ้นรัชกาลกลับมีปญหาความขัดแยงกันในหมูเจานายและขุนนาง เกิดการตอสู การแยงชิงราชสมบัติ

ซึ่งพระนารายณพระราชโอรสในสมเด็จพระเจาปราสาททองประสูติแตพระมเหสีที่เปนพระราชธิดา

ในสมเด็จพระเจาทรงธรรมไดขึ้นครองราชยในลำดับถัดมา สมเด็จพระนารายณมหาราชจึงทรงเปน

พระมหากษัตริยที่มีทั้งสายพระโลหิตราชวงศสุโขทัยและราชวงศปราสาททอง

ธีรวัต ณ ปอมเพชร

Page 145: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร,

๒๕๔๘.

โบราณราชธานินทร, พระยา. เรื่องกรุงเกา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพโสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๙.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ (จาด). กรุงเทพฯ: คลังวิทยา,

๒๕๐๗.

Baker, Chris (et al.) Van Vliet’s Siam. Chiang Mai: Silkworm, 2005.

Boxer, C. R. (ed). A True Description of the Mighty Kingdoms of Japan & Siam. by François Caron and

Joost Schouten. London: Argonaut Press, 1935.̀̀

Page 146: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางทรงรับหญาคา อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จเจาฟาไชย

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 147: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จเจาฟาไชย

สมเด็จเจาฟาไชยทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๒๕ แหงกรุงศรีอยุธยา ในราชวงศ

ปราสาททอง ครองราชยใน พ.ศ. ๒๑๙๙ เปนระยะเวลาเพียง ๙ เดือน สมเด็จเจาฟาไชยเปน

พระราชโอรสในสมเด็จพระเจาปราสาททอง อาจจะประสูติเมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจาปราสาททองทรง

ดำรงพระยศที่ออกญากลาโหมสุริยวงศ เพราะพระราชพงศาวดารกลาววาประสูตินอกราชสมบัติ

ปรากฏพระนามเดิมกอนเสวยราชยในพระราชพงศาวดารวา พระเจาลูกเธอพระองคอินทร และ

รับพระราชทานพระนามวาเจาฟาไชยเมื่อโสกันตแลว

กอนที่สมเด็จพระเจาปราสาททองสวรรคตไดทรงมอบราชสมบัติและพระแสงขรรคชัยศรีใหแก

สมเด็จเจาฟาไชย หลังจากน้ัน ๓ วัน ก็เสด็จสวรรคต สมเด็จเจาฟาไชยจึงทรงข้ึนครองราชสมบัติตอมา

เมื่อทรงไดราชสมบัติแลว สมเด็จพระนารายณซึ่งเปนพระราชโอรสองคหนึ่งของสมเด็จพระเจา

ปราสาททองไดสงคนออกมาคบคิดเปนความลับกับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาเพื่อท่ีจะชิงราชสมบัต ิ

เวลาค่ำสมเด็จพระนารายณทรงพาพระขนิษฐาของพระองคลอบหนีออกจากประตูผานสระแกวไปเฝา

สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา เมื่อกำลังพลที่ซองสุมไวพรอมแลว ก็ยกเขามาในพระราชวังจับกุมสมเด็จ

เจาฟาไชยไปสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยา

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.``

Page 148: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางรำพึงธรรม อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 149: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา

สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๒๖ แหงกรุงศรีอยุธยา ใน

ราชวงศปราสาททอง ครองราชยระหวาง พ.ศ. ๒๑๙๙-พ.ศ. ๒๑๙๙ ระยะเวลาเพียง ๒ เดือน ๒๐ วัน

สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาเปนพระอนุชาในสมเด็จพระเจาปราสาททอง เม่ือครั้งที่สมเด็จพระเจา

ปราสาททองข้ึนครองราชยนั้น ปรากฏความในพระราชพงศาวดารวานองผูนี้มีน้ำใจกักขฬะมิไดมี

หิริโอตตัปปะ จะตั้งใหเปนพระมหาอุปราชตางพระเนตรพระกรรณมิได จึงทรงตั้งขึ้นเปนเจาพระ ใหตั้ง

บานเรือนหลวงอยูริมวัดสุทธาวาส

เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจาปราสาททอง สมเด็จเจาฟาไชยข้ึนเสวยราชสมบัติ สมเด็จพระ

นารายณและสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาซึ่งเปนพระเจาอารวมกันคบคิดยึดราชบัลลังก และให

สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชยแทน

หลังจากที่สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชยแลว โปรดใหสมเด็จพระนารายณเปน

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แตพระองคเองกลับไมไดบริหารราชการแผนดินโดยชอบธรรม เพียง

๒ เดือนเศษก็เกิดกรณีความขัดแยงขึ้น เม่ือสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทอดพระเนตรเห็นพระราช-

กัลยาณีพระขนิษฐาในสมเด็จพระนารายณและตองพระทัย หากแตพระราชกัลยาณีไมมีพระประสงค

ดวย จึงหลบหนีออกมาจากพระตำหนักและไปเฝาพระเชษฐาธิราช สมเด็จพระนารายณนอยพระทัย

มากตรัสวา “อนิจจาพระเจาอา เรานี้คิดวาสมเด็จพระบิตุราชสวรรคตแลว ยังแตพระเจาอาก็เหมือน พระบรมราชบิดายังอยู จะไดปกปองราชวงศานุวงศสืบไป ควรหรือมาเปนไดดังนี้” แลวก็มีพระดำริ

ที่จะจัดการสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โดยมีเหลาขุนนางที่จงรักภักดีเขารวมดวยเปนจำนวนมาก

สมเด็จพระนารายณโปรดใหจัดกองทัพ ใหขุนเสนาไชยขันจันทราชาเทพ ขุนทิพมนตรี ขุนเทพ

มนตรี ขุนสิทธิคชรัตน ขุนเทพศรีธรรมรัตนคุมกำลังพลอยูรักษาพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้น

พระองคเสด็จโดยชางพระที่นั่งยกพลมาแตวังหนาไปทางหนาวัดพลับพลาชัย จากนั้นกลุมอาสาญ่ีปุน

นำโดยพระยาเสนาภิมุข พระยาไชยสูร และทหารญ่ีปุน ๔๐ นาย มาขอเขารวมกองทัพดวย กองทัพ

ฝายสมเด็จพระนารายณสามารถเขาไปถึงพระที่นั่งจักรวรรด์ิไพชยนตได มีขุนนางตาง ๆ เขาสวามิภักดิ์

อีกเปนจำนวนมาก ซึ่งสมเด็จพระนารายณโปรดใหไปประจำจุกชองลอมวงตามประตูวังทิศตาง ๆ

ตอมาสมเด็จพระศรีสุธรรมราชานำกองทัพหลวงออกตอสูกัน โดยทหารสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา

ประจำที่หลังศาลาลูกขุน สมเด็จพระนารายณยกกองทัพเขาไปประชิดยิงตอสูกัน ทหารอาสาฝาย

สมเด็จพระนารายณยิงปนนกสับตองที่พระพาหุสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา ขางฝายทหารสมเด็จพระ

ศรสีธุรรมราชายิงปนตองพระบาทซายสมเดจ็พระนารายณ จากน้ันทหารฝายสมเด็จพระศรสีธุรรมราชา

Page 150: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ก็แตกเขาไปในพระราชวังแลวปดประตูไว สมเด็จพระนารายณโปรดใหยกพลตามพบวาสมเด็จพระ

ศรีสุธรรมราชาหนีออกไปวังหลัง จึงเสด็จขึ้นพระราชมนเทียรพระวิหารสมเด็จ แลวโปรดใหออกไปตาม

จับตัวสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาท่ีวังหลังไปสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยา

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.̀̀

Page 151: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมราชานุสาวรียสมเด็จพระนารายณมหาราช ประดิษฐานที่วงเวียนพระนารายณ จังหวัดลพบุรี

Page 152: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระนารายณมหาราช

สมเด็จพระนารายณมหาราชทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๒๗ แหงกรุงศรีอยุธยา

ทรงครองราชยเปนระยะเวลา ๓๒ ป ระหวาง พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๒๓๑ เปนพระราชโอรสใน

สมเด็จพระเจาปราสาททอง เช่ือกันวาพระราชชนนีสมเด็จพระนารายณมหาราชเปนพระราชธิดาใน

สมเด็จพระเจาทรงธรรม สมเด็จพระนารายณมหาราชเสด็จพระราชสมภพเม่ือราว พ.ศ. ๒๑๗๔

หรือ พ.ศ. ๒๑๗๕ เพราะพระราชพงศาวดารบันทึกวาใน พ.ศ. ๒๑๙๙ นั้นทรงสั่งใหประกอบพระราช-

พิธีเบญจเพสในเดือนยี่ เมื่อแรกประสูตินั้นพระประยูรญาติเห็นเปน ๔ กร จึงขนานพระนามวา

“สมเด็จพระนารายณ” มีพระราชอนุชารวมพระชนกหลายพระองค และมีพระขนิษฐภคินีรวมพระ

ชนนีเดียวกันคือเจาฟาศรีสุวรรณ หรือพระราชกัลยาณี ซ่ึงตอมาโปรดใหสถาปนาขึ้นเปน กรมหลวง

โยธาทิพ

ตั้งแตยังทรงพระเยาว สมเด็จพระนารายณมหาราชทรงศึกษาเลาเรียนกับพระภิกษุหลายสำนัก

ทั้งทรงชำนาญในศิลปศาสตรเปนอยางดี เมื่อสมเด็จพระเจาปราสาททองเสด็จสวรรคตและสมเด็จพระ

ศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชยสืบตอมาได ๒ เดือนแลว สมเด็จพระนารายณมหาราชขณะดำรงพระยศ

ที่กรมพระราชวังบวรไดทรงยึดอำนาจและเสด็จขึ้นครองราชย เฉลิมพระนามตามที่ปรากฏในพระราช-

พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาวา

สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสรรเพชญ บรมมหาจักรพรรดิศวร ราชาธิราช ราเมศวรธราธิบดี ศรีสฤษดิรักษสังหาร จักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลยคุณอขนิฐจิตรรุจี ศรีภูวนาทิตย ฤทธิพรหมเทพาดิเทพ บดินทร ภูมินทราธิราช รัตนาภาศมนุวงษ องคเอกาทศรุฐ วิสุทธยโสดม บรมอาชาธยาศัย สมุทัยดโนรมนตอนันตคุณ วิบุลสุนทร บวรธรรมิกราชเดโชไชย ไตรโลกนารถบดินทร วรนิทราธิราช ชาตพิชิติทศิพลญาณสมันต มหนัตวปิผาราฤทธิวไิชย ไอสวรรยาธปิตขิตัยิวงษ องคปรมาธิบดี ตรีภูวนาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธมกุฏรัตนโมฬ ศรีประทุมสุริยวงศองค สรรเพชญพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจาอยูหัว

อยางไรก็ดีพระนามของพระองคที่ปรากฏในจารึกวัดจุฬามณี พ.ศ. ๒๒๒๔ วา “พระศรี สรรเพชญ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีศินทรมหาจักรพรรดิศวรราชาธิราชรามเศวรธรรมิกราชเดโช ไชยบรมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศรโลกเชษฐวิสุทธิมกุฏพุทธางกูร บรมจักรพรรดิศวรธรรมิกราชาธิราช”

Page 153: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

หลังจากที่ทรงขึ้นครองราชยใน พ.ศ. ๒๑๙๙ แลว สมเด็จพระนารายณมหาราชทรงประกอบ

พระราชกรณียกิจเปนอเนกประการ ทั้งการทำนุบำรุงบานเมือง การสรางและปฏิสังขรณวัดตาง ๆ ทั่ว

ราชอาณาจักร โดยใน พ.ศ. ๒๒๐๘ - พ.ศ. ๒๒๐๙ โปรดใหสถาปนาเมืองลพบุรีขึ้นเปนที่ประทับอีกแหง

หนึ่ง เพื่อรักษาความม่ันคงของราชบัลลังก และเปนการสรางที่ประทับเพื่อพระราชกรณียกิจสวน

พระองค ปรากฏหลักฐานในเอกสารหลายฉบับท้ังไทยและตางประเทศวารัชกาลของพระองคมีความ

ยิ่งใหญเหนือรัชกาลอื่นโดยเฉพาะเรื่องการติดตอกับตางประเทศ เปนเหตุใหประวัติศาสตรอยุธยาใน

ชวงรัชกาลของพระองคมีเอกสารมากมายที่มีประโยชนยิ่งตอการศึกษาประวัติศาสตรไทย

การศึกสงครามในชวงตนแผนดินนั้นมีทั้งสงครามในและนอกพระนคร ทรงยกทัพข้ึนไปตีเมือง

เชียงใหม สวนในพระนครก็เกิดกบฏพระไตรภูวนาทิตยวงศขึ้น พระราชพงศาวดารฉบับพระราช-

หัตถเลขาบันทึกวาพระไตรภูวนาทิตยวงศกับพระองคทองคิดการกบฏ ทั้งสองพระองคเปนพระอนุชา

ตางพระชนนีกับสมเด็จพระนารายณมหาราช แตการกบฏครั้งนี้ไมสำเร็จ ทั้งสองพระองคถูกจับกุม

สำเร็จโทษพรอมพรรคพวกอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเปนขุนนางช้ันผูใหญ เชน ออกญาพลเทพ ออกญา

กลาโหม ออกญาพัทลุง ออกพระศรีภูริปรีชา เปนตน ทำใหสมเด็จพระนารายณมหาราชไมไววาง

พระราชหฤทัยขุนนางเดิม และทรงเพิ่มความสนิทสนมกับชาวตางชาติมากขึ้น

ในเรื่องของการอุปถัมภพระพุทธศาสนา สิ่งที่สะทอนใหเห็นไดอยางชัดเจนวาทรงเปนองค

พุทธมามกะและองคศาสนูปถัมภกของพระพุทธศาสนาก็คือ พระราชดำรัสตอบแกราชทูตฝรั่งเศส

เชอวาลิเยร เดอ โชมอง (Chevalier de Chaumont) เม่ือราชทูตไดกราบบังคมทูลชักจูงใหพระองค

ทรงเปลีย่นไปนบัถอืครสิตศาสนา แตพระองคมพีระราชดำรสัตอบวาจะใหทรงละทิง้ศาสนาท่ีบรรพบุรษุ

ของพระองคนับถือมากวาสองพันปไดอยางไร แตเมื่อใดที่พระผูเปนเจาทรงปรารถนาใหพระองคเปล่ียน

ศาสนาแลวก็จะทรงยินยอมตามน้ัน

สมเด็จพระนารายณมหาราชทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเปนอยางดียิ่ง และอาจนับไดวาการ

พระพุทธศาสนาในชวงรัชกาลของพระองคไดเจริญรุงเรืองมาก ทรงบูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเมือง

ลพบุรี โดยเฉพาะอยางยิ่งทรงเชิญพระพุทธสิหิงคลงมายังอยุธยา ดังที่ปรากฏในวรรณคดีสำคัญของยุค

คือโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ เอกสารสำคัญในรัชกาลที่เก่ียวกับพุทธศาสนาคือ

พระราชปุจฉาที่ทรงมีไปถึงพระสงฆผูทรงภูมิธรรมเพื่อทรงไตถามขอสงสัย ซ่ึงในรัชกาลสมเด็จพระ

นารายณมหาราช ปรากฏชื่อพระพรหมมุนี วัดปากน้ำประสบ และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารยเปน

ผูถวายวิสัชนาพระราชปุจฉาอยูเสมอๆ ธรรมเนียมปฏิบัติเชนนี้ยังปรากฏเปนหลักฐานตอมาวา

พระมหากษัตริยอยุธยาโปรดที่จะมีพระราชปุจฉาเรื่องทางโลกและทางธรรมแกพระสงฆหรือพระราชา

คณะที่ทรงนับถือ เชนพระเพทราชาก็ยังทรงปฏิบัติสืบมา จึงแสดงใหเห็นวานับแตรัชกาลสมเด็จพระ

นารายณมหาราชลงมาแลว การเอาใจใสพระสงฆมีเพิ่มมากขึ้นกวากอนมาก

Page 154: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ในดานงานวรรณกรรม ปรากฏวาวรรณคดีไทยไดรับความนิยมและเฟองฟูเปนอยางยิ่ง เพราะ

สมเด็จพระนารายณมหาราชทรงเปนกวีดวยพระองคหนึ่ง พระราชนิพนธสำคัญคือสมุทรโฆษคำฉันท

(ตอนตน) และทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหพระมหาราชครูแตงจินดามณีขึ้นเปนตำราเรียน

สำหรับความสัมพันธกับตางประเทศ ในชวงรัชสมัยเปนการเปดโลกทัศนของสยามออกสู

ตะวันตกมากขึ้น ทรงติดตอกับประเทศในภูมิภาคตะวันออก เชน จีน ญี่ปุน ชวา ญวน อินเดีย และ

ประเทศในดินแดนตะวนัตกนับแตเปอรเซยีจนถึงประเทศในทวปียโุรป ในชวงตนรชักาลมกีลุมบาทหลวง

มิชชันนารีเดินทางเขามาเผยแผศาสนาและสืบทอดกิจการของคริสตศาสนา ซึ่งพระองคก็ทรง

อนุเคราะหที่ดินใหปลูกสรางอาคาร และพระราชทานเสรีภาพในการเผยแผศาสนา การท่ีสังคมอยุธยา

มีพอคาและบาทหลวงตางชาติเดินทางเขามามากเชนนี้ ทำใหบทบาทของชาวตางชาติมีมากข้ึน โดย

เฉพาะอยางยิ่งเจาพระยาวิไชเยนทรหรือคอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantin Phaulkon) ชาวกรีก

ซึ่งเขารับราชการเปนลำดับจนถึงตำแหนงวาที่สมุหนายกและกำกับดูแลพระคลัง ทั้งยังมีบทบาทในการ

เริ่มตนความสัมพันธระหวางราชสำนักสมเด็จพระนารายณมหาราชกับประเทศฝร่ังเศสดวย

สมเดจ็พระนารายณมหาราชทรงสงคณะทูตสยามไปฝร่ังเศสหลายครัง้ ครัง้แรกเมือ่ พ.ศ. ๒๒๒๔

ทรงจัดใหออกพระพิพัฒนราชไมตรีเปนราชทูต ออกขุนศรีวิสารสุนทรเปนอุปทูต ออกขุนนครวิชัยเปน

ตรีทูต เดินทางโดยเรือกำปนฝรั่งเศส แตทวาเคราะหรายที่เรือไปแตกท่ีนอกฝงเกาะมาดากัสการ

ตอมาใน พ.ศ. ๒๒๒๗ สมเด็จพระนารายณมหาราชทรงพระวิตกที่คณะทูตชุดแรกสูญหายไป

จึงโปรดใหออกขุนวิชัยวาทิตและออกขุนพิชิตไมตรีกับบาทหลวงวาเชต (Vachet) ผูเปนลามเดินทางไป

สืบขาวคณะทูตชุดแรก เมื่อพระเจาหลุยสที่ ๑๔ ทรงทราบวาคณะราชทูตสยามชุดกอนเรือแตกอับปาง

ลง ก็ทรงดำริที่จะแตงทูตมาเปนการสนองตอบ จึงทรงสงเมอสิเออร เชอวาลิเยร เดอ โชมอง เปน

เอกอัครราชทูต พรอมคณะเดินทางเขามาถึงปากน้ำเจาพระยาเมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๒๒๘

การตอนรับคณะทูตและพระราชสาสนจากฝร่ังเศสเปนไปดวยความยิ่งใหญอลังการและสม

พระเกียรติยศพระเจาหลุยสที่ ๑๔ ทำใหการตอนรับคณะทูตจากฝรั่งเศสซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ

ของสมเด็จพระนารายณมหาราชที่ทรงดูแลพวกตนเปนอยางดี ครั้นเมื่อคณะทูตฝรั่งเศสจะเดินทางกลับ

สมเด็จพระนารายณมหาราชทรงจัดแตงคณะทูตขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบดวยออกพระวิสุทธสุนทร (ปาน)

เปนราชทูต ออกหลวงกัลยาราชไมตรีเปนอุปทูต ออกขุนศรีวิสารวาจาเปนตรีทูต เดินทางไปเจริญ

พระราชไมตรีกับพระเจาหลุยสที่ ๑๔ ทั้งหมดออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.

๒๒๒๘ ไปถึงเมืองแบรสต (Brest) เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๒๒๙ เมื่อไดเขาเฝาทูลเกลาฯ ถวาย

พระราชสาสนแลว ก็ไดเยี่ยมชมสถานที่ตาง ๆ ในประเทศฝรั่งเศส นับไดวาการเจริญพระราชไมตรีครั้งนี้

เปนครั้งที่ยิ่งใหญและไดรับการกลาวขานมากที่สุด

ในปลายรัชกาล สมเด็จพระนารายณมหาราชทรงพระประชวร พระเพทราชาและออกหลวง

สรศักดิ์พระโอรสบุญธรรมรวมกับขุนนางอีกจำนวนหนึ่งยึดอำนาจ ดวยเกรงวาอำนาจของชาวตางชาต ิ

Page 155: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

จะมีมากเกินไปและเปนอันตรายตอราชอาณาจักร เจาพระยาวิไชเยนทรจึงถูกสำเร็จโทษประหารชีวิต

พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จกรมพระจักรพรรดิพงศ (จาด) ระบุไวดังนี้

ศุภมัสดุศักราช ๑๐๕๐ ปมะโรงสำเรทศก สมเด็จพระนารายณเปนเจาเสด็จข้ึนไป เมืองลพบุรีอยูประมาณเดือนหนึ่งทรงประชวรหนักลง วันหนึ่งหมอมปยเสด็จออกมาสรง พระพักตรอยู ณ ศาลา พญาสุรศักดิ์เขาไปจะจับ หมอมปยวิ่งเขาไปในที่บรรทมรองวา ทูลกระหมอมแกวชวยเกลากระหมอมดิฉันดวย สมเด็จพระพุทธเจาอยูหัวตรัสวา ไอพอลูกนี้คิดทรยศจะเอาสมบัติแลว มีพระราชโองการสั่งใหประจุพระแสงปนขางท่ี แลวใหหา พญาเพทราชา พญาสุรศักดิ์ก็เขาไปยืนอยูที่พระทวารทั้งสองคน สมเด็จพระนารายณเปน เจาเสด็จบรรทมอยู ยื่นพระหัตถคลำเอาพระแสงปนเผยอพระองคจะลุกขึ้นก็ลุกข้ึนมิได กลับบรรทมหลับพระเนตร จากน้ันกลุมบุคคลตาง ๆ ก็ถูกสำเร็จโทษ ดังที่พระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ

บรรยายไววา “พญาวิไชเยนทรเดินไปประมาณเสนหนึ่ง รักษาองคเอาตะบองตีทองหักลมลง แลว พญาสุรศักดิ์เขาไปจับหมอมปยได เอาไปลางเสียท้ังพญาวิไชเยนทร” สวนสมเด็จพระนารายณ

มหาราชน้ันไดเสด็จสวรรคตในอีก ๑ เดือนตอมา คือในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑ ณ พระที่นั่ง

สุทธาสวรรคในบริเวณพระราชวังเมืองลพบุรี

การที่ในรัชกาลของพระองคมีการติดตอกับตางชาติมากเชนนี้เอง ทำใหมีเอกสารหลักฐานที่

เรียบเรียงโดยชาวตางชาติจำนวนมากที่อธิบายเรื่องราวสภาพสังคมและการเมืองของสยามไว ทั้งได

พรรณนาพระรูปลักษณะของสมเด็จพระนารายณมหาราชไวดวย ดังที่นิโคลาส แชรแวส ชาวฝร่ังเศสที่

เดินทางเขามาในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐-พ.ศ. ๒๒๓๑ บรรยายไววา

พระองคทรงมีพระรูปพรรณสันทัด พระอังสาคอนขางยกสูง ใบพระพักตรยาว พระฉวีวรรณคล้ำ ดวงพระเนตรแจมใสและเต็มไปดวยประกาย แสดงวาทรงมีพระปรีชา ญาณมาก และในพระวรกายเปนสวนรวมมีลักษณะทาทีที่แสดงความเปนผูยิ่งใหญและ สงางามมาก กอปรดวยพระอัธยาศัยอันออนโยนและเมตตาอารี ยากนักที่ผูใดไดประสบพระองคแลว จะเวนความรูสึกเคารพนับถืออยางยิ่งและความรักอยางสูงเสียได

สมเด็จพระนารายณมหาราชมีพระราชธิดา ๑ พระองค คือ เจาฟากรมหลวงโยธาเทพ และมี

พระอนุชาคือเจาฟาอภัยทศและเจาฟานอย ซึ่งประทับที่อยุธยาและก็ถูกจับสำเร็จโทษที่เมืองลพบุรีใน

พ.ศ. ๒๒๓๑ ดวย

Page 156: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระนารายณมหาราชทรงไดรับการถวายพระราชสมัญญามหาราช เน่ืองจากทรง

ประกอบพระราชกรณียกิจนอยใหญเปนอเนกประการ ดังที่สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา

ดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไวในหนังสือไทยรบพมาวา

ในแผนดินสมเด็จพระนารายณ ถึงไมมีการศึกสงครามใหญหลวงเหมือนอยางครั้ง แผนดินสมเด็จพระนเรศวรก็ดี เหตุสำคัญซึ่งอาจจะมีผลรายแรงแกบานเมืองเกิดข้ึนหลาย ครั้งหลายคราว ถาหากสมเด็จพระเจาแผนดินไมทรงพระปรีชาสามารถ ใหรัฐฏาภิบายนโยบายเหมือนอยางสมเด็จพระนารายณแลว จะปกครองบานเมืองไวไดโดยยาก ดวยเหตุนี้ทั้งไทยและชาวตางประเทศแตกอนมา จึงยกยองสมเด็จพระนารายณวาเปนมหาราช พระองคหนึ่ง

ดังน้ันจึงนับไดวาสมเด็จพระนารายณมหาราชเปนพระมหากษัตริยพระองคสำคัญยิ่งพระองค

หนึ่งของประวัติศาสตรอยุธยา

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ (จาด) เลม ๒. กรุงเทพฯ: องคการคาคุรุสภา, ๒๕๔๑.

. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.

คณะกรรมการจัดพิมพเอกสารทางประวัติศาสตรวัฒนธรรมและโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี. ประชุมจดหมายเหตุ

สมัยอยุธยา ภาค ๑. พระนคร: โรงพิมพสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๐.

เดอ แบส. บันทึกความทรงจำของบาทหลวง เดอะ แบส เก่ียวกับชีวิตและมรณกรรมของกองสตังซ ฟอลคอน. สันต

ท. โกมลบุตร, แปล. กรุงเทพฯ: ศรีปญญา, ๒๕๕๐.

นิโกลาส แชรแวส. ประวัติศาสตรธรรมชาติและการเมืองแหงราชอาณาจักรสยาม. สันต ท. โกมลบุตร, แปล. กรุงเทพฯ:

ศรีปญญา, ๒๕๕๐.

บุปผา ทิพยสภาพกุล. ประวัติศาสตรกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณมหาราช. ลพบุรี: วิทยาลัยครูเทพสตรี,

๒๕๓๕.

Page 157: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางปลงกรรมฐาน อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเพทราชา

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 158: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระเพทราชา

สมเด็จพระเพทราชาทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๒๘ แหงกรุงศรีอยุธยา ทรง

ครองราชยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๓๑ หลังสมเด็จพระนารายณมหาราชเสด็จสวรรคต อยางไร

ก็ตามไดทรงยึดอำนาจทางการเมืองไวเรียบรอยแลวตั้งแตเดือนพฤษภาคมขณะเมื่อสมเด็จพระนารายณ

มหาราชยังทรงพระชนมชีพอยู ดวยการเขายึดพระราชวังที่เมืองลพบุรีซึ่งในขณะนั้นเปนท่ีประทับของ

สมเด็จพระนารายณมหาราช สมเด็จพระเพทราชาทรงเปนปฐมกษัตริยแหงราชวงศบานพลูหลวง ดวย

เหตุที่ทรงเปนชาวบานพลูหลวงในสุพรรณบุรีตามท่ีระบุไวในพระราชพงศาวดาร

กอนขึ้นครองราชย สมเด็จพระเพทราชาทรงดำรงตำแหนงเจากรมพระคชบาล ควบคุมกอง

ชางหลวง มกีำลงัพลในสงักดัจำนวนหลายพัน นอกจากนัน้ยงัทรงมีความสมัพนัธใกลชดิกบัพระราชวงศ

ในฐานะที่พระมารดาเปนพระนม และพระขนิษฐาเปนพระสนมของสมเด็จพระนารายณมหาราช

การที่สมเด็จพระเพทราชาประสบความสำเร็จในการเขายึดพระราชวังที่ลพบุรีก็ดวยอาศัยกำลัง

พลที่มี โดยไดหลวงสรศักดิ์ผูเปนบุตรชายเปนกำลังสำคัญ และการสนับสนุนจากขุนนางสยามหลายราย

กลุมพระสงฆโดยเฉพาะในเมืองลพบุรี ดวยสาเหตุที่ไมพอใจในอำนาจอิทธิพลของเจาพระยา

วิไชเยนทร (คอนสแตนติน ฟอลคอน) และกลุมบาทหลวงชาวฝร่ังเศส รวมท้ังกองทหารของ

พระเจาหลุยสที่ ๑๔ ที่ไดเขามาประจำการ ณ ปอมที่เมืองบางกอก

เมื่อสมเด็จพระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ยึดอำนาจไดสำเร็จแลว ก็ไดสำเร็จโทษเจาฟา

พระอนุชาทั้งสองพระองคของสมเด็จพระนารายณมหาราช และพระปยซึ่งเปนโอรสบุญธรรมของ

สมเด็จพระนารายณมหาราช และจัดการประหารชีวิตเจาพระยาวิไชเยนทร ชาวฝรั่งเศสในเมืองไทย

สวนใหญถูกจับขังหมด สวนที่เปนทหารประจำการอยูที่บางกอกก็ถูกกองทัพของพระเพทราชาลอมอยู

จนถึงปลายป พ.ศ. ๒๒๓๑ จึงทำสัญญากับฝายสยามเพื่อไดออกไปนอกประเทศ

แมวาสมเด็จพระเพทราชาหรือที่ขนานพระนามวา “พระมหาบุรุษ” จะเปนผูที่ขับไลชาว

ฝรั่งเศสออกไปจากเมืองไทยไดสำเร็จในชวงที่การเมืองกำลังลอแหลม แตการสถาปนาราชวงศใหมใน

กรุงศรีอยุธยาก็เปนสาเหตุใหเกิดการกบฏในรัชกาลของพระองคหลายครั้ง เชน กบฏธรรมเถียร โดยมี

พระสงฆผูอางตนเปนพระอนุชาของสมเด็จพระนารายณมหาราชนำสมัครพรรคพวกจากบริเวณ

นครนายกเขามาประชดิกรงุศรีอยธุยา แตกถ็กูปราบปรามไปได นอกจากนีย้งัเกดิกบฏขึน้ทีน่ครราชสมีา

๒ ครั้ง คร้ังแรกนำโดยพระยายมราช (สังข) และครั้งท่ี ๒ โดย “ผูวิเศษ” ช่ือบุญกวาง สวน “กบฏ”

ทางใตนั้น หลักฐานตะวันตกระบุวาเปนการแข็งเมืองของหัวเมืองประเทศราชปตตานี ในขณะที่

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุวา พระยายมราช (สังข) ยายการตอสูกับราชสำนักจากเมือง

Page 159: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

นครราชสีมาไปสูนครศรีธรรมราช อยางไรก็ตามสมเด็จพระเพทราชาและขุนหลวงสรศักดิ์ ซ่ึงดำรง

ตำแหนงกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรืออุปราช ก็สามารถปราบกบฏเหลานี้ไดสำเร็จในที่สุด

รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาเคยถูกมองวาเปนจุดเริ่มตนการ “โดดเดี่ยวตนเอง” ของ

ราชอาณาจักรสยาม ภายหลังยุคที่มีการติดตอคาขายกับตางประเทศอยางกวางขวางและตอเนื่องมา

ตั้งแตรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาจนถึงสมเด็จพระนารายณมหาราช แตหากพิจารณาจาก

หลักฐานชั้นตนแลว จะเห็นวาในสมัยสมเด็จพระเพทราชา สยามมิไดปดประเทศแตประการใด แมวา

สมเด็จพระเพทราชาจะทรงระวังและเลือกที่จะไมติดตอกับฝรั่งเศสและอังกฤษในระดับท่ีเปนทางการ

อีกตอไป แตพระองคก็ทรงตระหนักอยูตลอดเวลาวา รายไดของรัฐนั้นสวนหนึ่งมาจากการคาขายกับ

ตางชาติ การสงออกดีบุก หนังสัตว หนังปลากระเบน ไมฝาง และสินคาของปาอื่น ๆ ในแตละปนำ

รายไดมหาศาลมาสูทองพระคลัง ในทางกลับกัน การนำเขาเงิน ทองแดง ผาฝายอินเดีย ผาไหม

แพรจีน และสินคาหายากหรือฟุมเฟอยอีกหลายรายการก็ทำใหตลาดในสยามคึกคักอยูเปนประจำ

และทำใหราชสำนักไดบริโภคหรือซื้อสิ่งของเหลานี้ตามท่ีตองการ สมเด็จพระเพทราชาจึงมิไดทรง

ละเลยการติดตอคาขายกับตางประเทศแตประการใด ในปแรกท่ีไดขึ้นครองราชยก็ไดทรงลงพระนาม

ในสนธิสัญญาฉบับใหมกับบริษัท V.O.C. ของฮอลันดา ท้ังนี้อาจเปนเพราะทรงเห็นวา หากสยามม ี

สัญญาที่แนบแนนกับฮอลันดา อาจทำใหฝรั่งเศสไมกลายกทัพเขามาโจมตี อยางไรก็ตามการคา

ระหวางราชสำนักสยามกับฮอลันดาในสมัยนี้มิไดเฟองฟูเหมือนดังรัชสมัยสมเด็จพระเจาปราสาททอง

มีความขัดแยงกันบาง เชน ในเรื่องการตีราคาผาที่บริษัท V.O.C. นำเขามาขายใหราชสำนัก สรุปไดวา

ทั้งทางไทยและทางฮอลันดาตางก็ผิดหวังซึ่งกันและกันในแงการคาขาย

พอคาอังกฤษเอกชน (country traders) ก็ยังคงเขามาคาขายในเมืองไทย แมวาบริษัทอินเดีย

ตะวันออกของอังกฤษจะเลิกสนใจเมืองไทยแลว สวนนักการทูตและพอคาฝรั่งเศสนั้นหมดบทบาทลงไป

อยางไรก็ตาม สมเด็จพระเพทราชาทรงสั่งปลอยตัวบาทหลวงฝรั่งเศสคณะมิสซังตางประเทศกรุงปารีส

(Missions Étrangères de Paris) ออกจากคุก พรอมกับทรงอนุญาตใหประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

และสอนหนังสือตามปกติ

ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา การคาของไทยกับจีนและญี่ปุนก็ยังคงมีอยู การคาเอกชนของ

จีนกับดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใตรุงเรืองขึ้น ภายหลังจากที่ราชวงศชิงยกเลิกกฎหามมิใหชาวจีน

เดินเรือออกนอกประเทศ พอคาจากฟูเจี้ยนและกวางตุงจึงหลั่งไหลเขามาทำการคาในทะเลแถบนี้

ทำใหมีชาวจีนอพยพเขามาในราชอาณาจักรสยามมากขึ้น และอิทธิพลของขุนนางเชื้อสายจีนใน

ราชสำนักสยามก็เพิ่มมากขึ้นตามไปดวย สวนทางดานญี่ปุนนั้น แมวาจะมีกฎระเบียบเครงครัดหามมิให

เรือตางชาติเขาไปคาขายได ยกเวนเรือจีนกับเรือฮอลันดา สมเด็จพระเพทราชาทรงสงเรือสำเภาหลวง

ไปคาขายที่เมืองทานางาซากิหลายลำไดเพราะตนหนและลูกเรือท่ีเปนคนจีนเกือบท้ังสิ้น เรือสำเภา

จากอยุธยาจึงสามารถเขาไปคาขายได เพราะทางการญี่ปุนยอมอนุโลมวาเรือจากสยามนั้นถือวาเปน

Page 160: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

“เรือจีน” ประเภทหน่ึง

สมเด็จพระเพทราชากับพระมหาอุปราชทรงแตงเรือสงไปคาขายในอินเดียเชนกัน แตในชวงนี้

การสงครามและปญหาการคาของอินเดียเองทำใหการคาระหวางสยามกับอินเดียลดนอยลง

ความสัมพันธกับรัฐเพ่ือนบานไมคอยมีปญหา เม่ือพระเจากรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน)

แหงราชอาณาจักรลานชาง ทรงขอกองทัพไทยไปชวยรบกับเมืองหลวงพระบาง สมเด็จพระเพทราชามี

พระบรมราชโองการใหพระยานครราชสีมาเปนแมทัพนำกองกำลังของสยามไปชวยเวียงจันทน เมื่อ

หลวงพระบางรูวามีกองทัพไทยมาถึงเวียงจันทนแลวก็ยอม “ประโนมนอม” ตอกรุงเวียงจันทน

พระเจากรุงศรีสัตนาคนหุตจึงสงพระราชบุตรีมาถวายถึงกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระเพทราชาก็ได

พระราชทานตอใหแกพระมหาอุปราชตามที่ทรงขอ

สมเด็จพระเพทราชาเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๒๔๖ ถึงแมจะมีพระราชโอรสจากกรมหลวง

โยธาเทพพระราชธิดาสมเด็จพระนารายณมหาราช แตผูที่ไดสืบราชสมบัติตอไป ไดแก พระมหาอุปราช

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ขุนหลวงสรศักดิ์) ทรงพระนามวาสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ หรือ

พระเจาเสือ

ธีรวัต ณ ปอมเพชร

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร,

๒๕๔๘.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ (จาด). กรุงเทพฯ: คลังวิทยา,

๒๕๐๗.

Farrington, Anthony & Dhiravat na Pombejra. The English Factory in Siam, 1612-1685, vol. 2. London: The

British Library, 2007.

Hutchinson, E.W. 1688 Revolution in Siam (Mémoire of Father Claude de Bèze). Hong Kong: University of

Hong Kong, 1968.

Ishii, Yoneo. The Junk Trade from Southeast Asia. Translations from the Tôsen Fusetsu-gaki, 1674-1723.

Singapore: ISEAS, 1998.

Jacq-Hergoualc’h, Michel. Étude historique et critique du livre de Simon de La Loubère “Du Royaume de

Siam”. Paris: Editions Recherches sur les civilisations, 1987. ``

Page 161: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางสรงน้ำฝน อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 162: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ (พระเจาเสือ)

สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ (ราษฎรนิยมเรียกวา พระเจาเสือ) ทรงเปนพระมหากษัตริย

รัชกาลที่ ๒๙ แหงกรุงศรีอยุธยาและเปนพระองคที่ ๒ แหงราชวงศบานพลูหลวง ครองราชยระหวาง

ป พ.ศ. ๒๒๔๖ - พ.ศ. ๒๒๕๑ พงศาวดารวาเสด็จพระราชสมภพจุลศักราช ๑๐๒๔/พ.ศ. ๒๒๐๕ และ

ครองราชยเมื่อพระชนมายุได ๔๑ พรรษา คือเมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๖ ครองราชยอยู ๖ ปเศษ สวรรคต

พ.ศ. ๒๒๕๒

พระราชประวัติของพระองคนั้นปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาวา

เปนพระราชโอรสของสมเด็จพระนารายณมหาราช ประสูติแตราชธิดาเจาเมืองเชียงใหม เมื่อคราวที่

เสด็จยกทัพไปรบดวยหัวเมืองในจุลศักราช ๑๐๒๓ แตสมเด็จพระนารายณมหาราชไดพระราชทาน

ราชธิดาองคนี้ใหแกสมเด็จพระเพทราชาไว ตอมาในจุลศักราช ๑๐๒๔ สมเด็จพระนารายณมหาราช

ไดเสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราชพระพุทธชินสีหที่เมืองพิษณุโลก พระราชธิดาเจาเมืองเชียงใหม

ไดโดยเสด็จดวย และมีพระประสูติกาลพระโอรสท่ีตำบลบานโพธิ์ประทับชาง แขวงเมืองพิจิตรใน

เดือนอายปขาลนั้น

เมื่อพระราชโอรสมีพระชันษามากขึ้น สมเด็จพระนารายณมหาราชทรงโปรดปรานและใชสอย

ในกิจราชการอยูเปนนิจ ทั้งไดใหไปฝกหัดการชางกับพระเพทราชาซึ่งกำกับกรมคชบาลจนไดรับ

พระราชทานบรรดาศักดิ์ที่หลวงสรศักดิ์ กระทั่งปลายแผนดินสมเด็จพระนารายณมหาราช หลวง

สรศักดิ์และกลุมขุนนางไดรวมคิดปฏิวัติเพื่อมอบอำนาจใหสมเด็จพระเพทราชา หลังจากที่สมเด็จพระ

เพทราชาข้ึนครองราชยแลว หลวงสรศักด์ิไดรับพระราชทานตำแหนงที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ทำราชการสืบมา ครั้นสมเด็จพระเพทราชาสวรรคต กรมพระราชวังบวรขึ้นครองราชยสืบมาขณะท่ี

พระชนมายุได ๓๖ พรรษา

ในชวงระยะเวลาที่ทรงครองราชย สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ ไดทรงทำนุบำรุงพระราชวงศและ

การพระพุทธศาสนาเปนอันมาก ทรงสถาปนาพระราชมารดาเล้ียงซึ่งเปนพระอัครมเหสีกลางของ

สมเด็จพระเพทราชาขึ้นเปนกรมพระเทพามาตย และทรงสถาปนาวัดโพธิ์ประทับชางข้ึนเปนอนุสรณ

นิวาสสถานที่ประสูติ ทั้งไดทรงซอมแปลงพระมณฑปพระมงคลบพิตรใหเปนพระวิหารใหญ และทรง

ปฏิสังขรณมณฑปพระพุทธบาทเมืองสระบุรีใหเปนมณฑปทรง ๕ ยอดดวย สวนการทำนุบำรุงบาน

เมืองน้ัน โปรดใหขุดคลองโคกขามใหตรง เพื่อใหการเดินทางสะดวกขึ้น ไมตองเสียเวลาเหมือนแตกอน

Page 163: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ในรัชกาลของพระองคนี้โปรดการเสด็จประพาสตามหัวเมืองตาง ๆ เชน สมุทรสาคร อางทอง เพชรบุร ี

สระบุรี เปนตน จึงปรากฏตำนานสำคัญเรื่องพันทายนรสิงหและเรื่องเสด็จออกไปชกมวยกับชาวบานที่

แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ

สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ มีพระราชโอรส ๒ พระองค คือเจาฟาเพชรและเจาฟาพร เมื่อขึ้น

ครองราชยแลวโปรดใหสถาปนาเจาฟาเพชรขึ้นเปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สวนเจาฟาพรโปรด

ใหเรียกวาพระบัณฑูรนอย ทั้งสองพระองคไดชวยราชการในแผนดินมาโดยลำดับ ในจุลศักราช ๑๐๖๔

(พ.ศ. ๒๒๔๕) ปมะเมีย จัตวาศก พระเจาแผนดินจะเสด็จลอมชางเถื่อนแถบเมืองนครสวรรค ระหวาง

ทางโปรดใหตั้งคายหลวงที่ตำบลบานหูกวาง ในบริเวณนั้นมีบึงน้ำขนาดใหญ มีพระบรมราชโองการ

ใหกรมพระราชวังบวรและพระบัณฑูรนอยปรับถมบึงน้ำใหราบเปนทางเสด็จ เพ่ือจะไดไมตองออม

ไปไกล ทั้งสองพระองคเกณฑไพรพลถมคูเสร็จภายในวันหนึ่ง แตเมื่อพระเจาแผนดินเสด็จไปบนคูนั้น

ชางพระที่นั่งเหยียบหลมถลำลงไปหนอยหนึ่ง สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ พิโรธมากคิดวาพระราชโอรส

ทั้ง ๒ คิดการกบฏ โปรดใหจับลงอาญาทั้ง ๒ พระองคจนกวาจะเสด็จคืนพระนคร พระราชโอรสท้ัง ๒

พระองคใหขาหลวงรีบไปเฝากรมพระเทพามาตย ใหขึ้นมาทูลขอพระราชทานอภัยโทษ

ในรัชกาลของพระองคปรากฏหลักฐานตางประเทศเชนหลักฐานฝรั่งเศสวามีความพยายามใน

การรื้อฟนพระราชไมตรีใหดีคงเดิมอีก ขณะเดียวกันพระองคก็ทรงอำนวยความสะดวกใหพอคาวาณิช

ตางชาติ เชน อังกฤษ ฮอลันดา เขามาต้ังหางรานสินคาในอยุธยามากขึ้นดวย

ในปลายรัชกาลนั้น หลังจากเสด็จกลับจากทรงสักการะรอยพระพุทธบาทเมืองสระบุรีแลว

ก็ทรงพระประชวร ทรงเวนราชสมบัติใหกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นก็เสด็จสวรรคต ณ

พระท่ีนั่งสุริยาศนอมรินทรเมื่อ พ.ศ. ๒๒๕๒ มีพระชนมายุรวม ๔๖ พรรษา

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา. ชุมนุมพระนิพนธ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, ๒๕๔๓.

Page 164: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางอุมบาตร อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 165: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ (พระเจาทายสระ)

สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ (พระเจาทายสระ) ทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๓๐

แหงกรุงศรีอยุธยา ครองราชยระหวาง พ.ศ. ๒๒๕๒-พ.ศ. ๒๒๗๕

กอนขึ้นเสวยราชสมบัติ เจาฟาเพชรหรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคลไดรับราชการอยูกอน

แลว เมื่อเสวยราชยไดเสด็จไปประทับ ณ พระท่ีนั่งบรรยงกรัตนาสนซึ่งตั้งอยูกลางสระน้ำทางทิศ

ตะวันตกของบริเวณพระราชวังหลวง อันเปนเหตุใหคนทั่วไปขนานพระนามวาพระเจาทายสระ หลัง

จากนั้นก็ทรงสถาปนาพระบัณฑูรนอย เจาฟาพรพระอนุชาธิราชขึ้นเปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

เมื่อเสด็จขึ้นครองราชยแลว ทรงบูรณปฏิสังขรณมณฑปพระพุทธบาทและจัดงานสมโภชใหญ

จากนั้นทรงบูรณะวัดมเหยงคณนอกพระนคร พรอมกับที่พระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสถาน

มงคลทรงบูรณะวัดกุฎีดาวขึ้น ใน พ.ศ. ๒๒๕๓ นักเสด็จเจาเมืองเขมรเกิดวิวาทกับนักแกวฟาสะจอง

ฝายนักแกวฟาสะจองไปขอความชวยเหลือจากทัพญวนใหมาตีเขมร ทำใหนักเสด็จตองหลบหนีเขามา

พึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ โปรดใหตั้งบานเรือนแถบวัดคางคาวในกำแพง

พระนครตอนใต ตอมาสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ โปรดใหยกทัพไทยไปชวยรบเขมรเพื่อตีเมืองคืน

กองทัพเรือและกองทัพบกสามารถลอมเมืองเขมรได จนในที่สุดนักแกวฟาสะจองยอมออนนอมเปน

เมืองขึ้นของอยุธยาตอไป ใน พ.ศ. ๒๒๖๘ เสด็จพระราชดำเนินพรอมดวยกรมพระราชวังบวรไปยัง

วัดปาโมก เนื่องจากเจาอธิการวัดนั้นกราบบังคมทูลเรื่องน้ำเซาะตลิ่งหนาวัด และเกรงวาพระนอนจะ

ทรุดลงน้ำ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหชะลอพระพุทธไสยาสนองคนั้นเขามาและสรางพระวิหาร

ครอบไว

ในดานการปกครองนั้น สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหออกพระราช-

กำหนดฉบับหน่ึงในจุลศักราช ๑๐๘๙ ชื่อพระราชกำหนดวิธีปกครองหัวเมือง วาดวยหนาที่ของ

ผูปกครองหัวเมืองในเรื่องตาง ๆ เชน การพิจารณาความ การดูแลทุกขสุขของราษฎร ตลอดจนการ

ปฏิบัติตนและสิ่งที่พึงกระทำเพื่อใหราษฎรอยูอยางผาสุก ท้ังไดทรงขุดคลองมหาไชยที่ขุดคางอยูแตครั้ง

แผนดินกอนใหแลวเสร็จ และโปรดใหขุดคลองเกร็ดนอยลัดคุงบางบัวทองใหตรงเพื่อใหราษฎรเดินทาง

สะดวกยิ่งขึ้น

การฟนฟูไมตรีกับฝรั่งเศสและการคาขายยังไมประสบความสำเร็จ เพราะทางฝร่ังเศสยังตองการ

เมอืงทามะรดิอยูตอไป กบัตองการสทิธิใ์นการเผยแผครสิตศาสนาจนเกนิไป ทำใหความสมัพนัธไมราบรืน่

Page 166: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ตลอดรัชกาล สวนกับประเทศสเปนน้ันพระองคไดเสด็จออกรับราชทูตของพระเจาฟลิปปใน พ.ศ.

๒๒๖๑

สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ มีพระราชโอรสธิดา ๕ พระองค คือ เจาฟานเรนทร เจาฟาหญิง

เทพ เจาฟาหญิงปทุม เจาฟาอภัย และเจาฟาปรเมศ เม่ือทรงพระประชวรหนักในตอนปลายรัชกาล

ไดพระราชทานราชสมบัติใหแกเจาฟาอภัย เพราะเจาฟานเรนทรทรงผนวชเปนภิกขุภาวะ แตกรม

พระราชวังบวรสถานมงคลไมยอม เห็นวาจะตองใหราชสมบัติแกเจาฟานเรนทร ในท่ีสุดทำใหเกิดศึก

แยงราชบัลลังกระหวางเจาฟาอภัยและกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระอนุชาธิราช

สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๕ ทรงครองราชยได ๒๔ ป

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.̀̀

Page 167: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศ สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว

ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 168: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศ

สมเดจ็พระเจาอยูหวับรมโกศ หรอืสมเดจ็พระบรมราชาธริาชที ่๓ ทรงเปนพระมหากษตัรยิ

รัชกาลที่ ๓๑ แหงกรุงศรีอยุธยา พระนามเดิมคือเจาฟาพร เปนพระราชโอรสองคที่ ๒ ในสมเด็จพระ

สรรเพชญที่ ๘ (พระเจาเสือ) กับพระอัครมเหสี พระเชษฐาคือเจาฟาเพชรซ่ึงตอมาเปนสมเด็จพระ

สรรเพชญที่ ๙ (พระเจาทายสระ) เจาฟาพรประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๔ ใน พ.ศ. ๒๒๔๖ เม่ือ

สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จขึ้นครองราชย ไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาโปรดกระหมอมใหเรียก

เจาฟาพรวา พระบณัฑรูนอย ในรัชกาลตอมา สมเดจ็พระสรรเพชญที ่๙ ไดทรงพระกรณุาโปรดเกลาฯ

สถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราชเจาพระองคนี้ขึ้นเปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหนา)

สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรทรงมีบทบาทสำคัญในการปฏิสังขรณและบูรณะ

ศาสนสถานในกรุงศรีอยุธยา ทรงเปนแมกองกำกับการปฏิสังขรณวัดกุฎีดาวโดยเสด็จไปทอดพระเนตร

หนึ่งหรือสองเดือนครั้งหน่ึง เปนเวลา ๓ ปเศษการปฏิสังขรณจึงแลวเสร็จ ตอมาใน พ.ศ. ๒๒๖๘

เจาอธิการวัดปาโมกแจงแกพระยาราชสงครามวา พระพุทธไสยาสนวัดปาโมกนั้นน้ำกัดเซาะตล่ิงพังเขา

มาถึงพระวิหารแลว อีกไมนานพระพุทธไสยาสนอาจจะพังลงน้ำเสีย พระยาราชสงครามจึงกราบ

บังคมทูลสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ (พระเจาทายสระ) พระองคทรงปรึกษาเหลาเสนาบดีวาควรจะรื้อ

พระพุทธไสยาสนไปกอใหม หรือควรจะชะลอไปไวที่ใหม พระยาราชสงครามไดไปตรวจดูแลวเห็นวา

อาจชะลอลากไปไดจงึกราบบงัคมทูล แตกรมพระราชวังบวรไมทรงเหน็ดวย ตรสัวาพระพทุธไสยาสนนัน้

องคใหญโตนัก หากชะลอลากไปอาจจะหักพัง เปนท่ีเสื่อมเสียพระเกียรติยศได เห็นควรรื้อไปกอใหม

ใหงามยิ่งกวาเกา พระยาราชสงครามจึงทูลอาสาวาจะดำเนินการชะลอลากใหสำเร็จโดยขอถวายชีวิต

เปนเดิมพัน พระราชาคณะท้ังปวงก็เห็นชอบดวย สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ จึงโปรดใหพระยา

ราชสงครามดำเนินการจนสำเร็จ โดยพระองคและกรมพระราชวังบวรเสด็จไปทอดพระเนตรอยูเนือง ๆ

กรมพระราชวังบวรไดทรงพระราชนิพนธบันทึกการชะลอพระพุทธไสยาสนครั้งนั้นไวเปนโคลงส่ีสุภาพ

จำนวน ๖๙ บท เรียกกันตอมาวาโคลงชะลอพระพุทธไสยาสนวัดปาโมก

สมเดจ็พระอนชุาธริาช กรมพระราชวงับวร เปนท่ีไววางพระราชหฤทัยของสมเดจ็พระสรรเพชญ

ที ่๙ คร้ังหนึง่ทัง้สองพระองคเสดจ็ประพาสปาหวัเมอืงนครนายก คนืหนึง่ขณะทรงชางไลชางปาอยูนัน้

ชางทรงสมเด็จพระอนุชาธิราชวิ่งไมทันยั้งโถมเขาแทงทายชางพระที่นั่งจนควาญทายตกจากหลังชาง

และชางทรงก็เจ็บ สมเด็จพระอนุชาธิราชตกพระทัยกลัวพระราชอาญา รีบตามเสด็จไปเฝาและกราบ

บังคมทูลวาเปนเวลาที่เมฆบดบังดวงจันทรพอดี จึงทรงเห็นไมถนัด เมื่อกระช้ันก็ทรงรั้งชางไวไมทัน

สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ มิไดกริ้วพระราชอนุชาแตอยางใด ทรงพระกรุณาโปรดงดโทษให

Page 169: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เมื่อสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๙ ประชวรใกลสวรรคต ไดมีพระราชกระแสรับสั่งใหพระเจาลูกเธอ

เจาฟาอภัย พระราชโอรสองคที่ ๒ ไดรับราชสมบัติ สมเด็จพระอนุชาธิราชไมทรงยินยอม จึงเกิด

สงครามกลางเมือง สมเด็จพระอนุชาธิราชทรงเปนฝายชนะ จึงไดปราบดาภิเษกขึ้นเปนกษัตริยแหง

ราชวงศบานพลูหลวงเปนลำดับที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๕

ในแผนดินนี้มีเจาตางเมืองมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารหลายองค เชน เมื่อเจาเมืองหงสาวดีคิด

กบฏตอกรุงอังวะ เจาเมืองเมาะตะมะช่ือนักวารุตองเกรงวาหงสาวดีจะยกมาตีเมืองเมาะตะมะดวย จึง

พาไพรพลหนีมาพ่ึงพระบรมโพธิสมภาร ฝายเจากรุงอังวะเมื่อรูวารามัญเมืองเมาะตะมะหนีกบฏมาอยู

กรุงศรีอยุธยาอยางมีความสุข ก็สงราชทูตเชิญราชบรรณาการมาเจริญพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา

ดวยความขอบพระทัย ทางฝายกัมพุชประเทศ เมื่อเจาเมืองทั้งสองคือนักพระรามาธิบดีกับนักพระศร ี

ไชยเชษฐสูรบกับพวกญวนไมได ก็ไดพาไพรพลหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกรุงศรีอยุธยา ในตอนตน

รัชกาล นักพระแกวฟาแหงกัมพูชาไดสงชางพังเผือกชางหนึ่งมาถวายสมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศ

และยังมีหัวเมืองตาง ๆ เชน นครศรีธรรมราช ไชยา สงชางพลายลักษณะพิเศษเขามาถวายดวย

ดานการพระพุทธศาสนา สมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศโปรดใหบูรณปฏิสังขรณศาสนสถาน

หลายแหง เชน พระมหาเจดียและพระอารามวัดภูเขาทอง และโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินไป

นมัสการพระพุทธบาทเปนประจำทุกป ทั้งยังไดโปรดใหอาราธนาพระราชาคณะพรอมดวยคณะสงฆ

ไปยงัลงักาทวปีเพือ่เผยแผและฟนฟูพระพุทธศาสนาในลังกาทวปีตามคำทูลขอของพระเจากิตตศิริริาชสหี

ผูครองกรุงสิงขัณฑนครแหงลังกาทวีป ทำใหเกิดมีพระสงฆในลังกานิกายสยามวงศที่มีชื่อเสียงเปนที่

เคารพศรัทธาของชาวลังกาตราบเทาทุกวันนี้

ในรัชกาลสมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศ ศิลปะวรรณคดีเจริญรุงเรือง พระองคทรงเปนกวีผูทรง

พระราชนิพนธวรรณคดีไวหลายเรื่อง นอกจากโคลงชะลอพระพุทธไสยาสนวัดปาโมก ซึ่งเปนบันทึก

เหตุการณในประวัติศาสตรที่มีคุณคาแลว ยังมีโคลงสุภาษิตอีก ๕ เรื่อง ซ่ึงนักวิชาการวรรณคดี

สันนิษฐานวาเปนพระราชนิพนธ ไดแก โคลงพาลีสอนนอง โคลงราชสวัสดิ์ โคลงทศรถสอนพระราม

โคลงประดิษฐพระรวง และโคลงราชานุวัตร พระราชโอรสและพระราชธิดาก็ทรงพระราชนิพนธ

วรรณคดีเปนมรดกสืบทอดมา ไดแก สมเด็จพระเจาลูกเธอ เจาฟากรมขุนเสนาพิทักษ หรือเจาฟา

ธรรมธิเบศร หรือเจาฟากุง ซึ่งเปนสมเด็จกรมพระราชวังบวรในตอนตนรัชกาล ทรงพระนิพนธกาพย

เหเรือ กาพยหอโคลงประพาสธารทองแดง กาพยหอโคลงนิราศธารโศก พระมาลัยคำหลวง และ

นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระราชธิดาทั้งสองคือเจาฟาหญิงกุณฑลและเจาฟาหญิงมงกุฎไดทรงฟง

นิทานปนหยีของชวาท่ีนางขาหลวงชาวมลายูเลาถวาย เจาฟาหญิงกุณฑลทรงพระนิพนธบทละครเรื่อง

ดาหลัง (อิเหนาใหญ) และเจาฟาหญิงมงกุฎทรงพระนิพนธบทละครเรื่องอิเหนา (อิเหนาเล็ก) ซ่ึงเปน

ที่มาของวรรณคดีเรื่องเอกในตนรัตนโกสินทร พระราชนิพนธพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก

มหาราช ๒ เรื่อง คือ บทละครเรื่องดาหลังและอิเหนา

Page 170: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศเสด็จสวรรคตในปขาล แรม ๕ ค่ำ เดือน ๖ จ.ศ. ๑๑๒๐ (พ.ศ.

๒๓๐๑) รวมเวลาที่อยูในราชสมบัติ ๒๖ ป พระชนมายุ ๗๘ พรรษา

กุสุมา รักษมณี

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๑-๓. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร, ๒๕๔๒.

. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร, ๒๕๔๒.``

Page 171: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางเปดโลก อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเจาอุทุมพร

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 172: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระเจาอุทุมพร

สมเด็จพระเจาอุทุมพรทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลท่ี ๓๒ แหงกรุงศรีอยุธยา เปน

พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (สมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศ) ประสูติแตกรมหลวง

พิพิธมนตรี (พระพันวัสสานอยหรือพระอัครมเหสีนอย) มีพระเชษฐารวมพระราชชนกชนนีคือสมเด็จ

เจาฟาเอกทัศ (ทรงกรมเปนกรมขุนอนุรักษมนตรี เสวยราชยเปนสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือ

สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศนอมรินทร)

พระนามสมเด็จพระเจาอุทุมพรมาจากพระนามเดิมคือสมเด็จพระเจาลูกเธอ เจาฟาอุทุมพร

ดวยสาเหตุตามที่บันทึกในพระราชพงศาวดารกรุงสยามจากตนฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอนวา

ขณะสมเด็จพระราชชนนีทรงครรภนั้น สมเด็จพระราชชนกทรงพระสุบินวามีผูถวายดอกมะเดื่อ

ซึ่งพระองคทรงทำนายวา “ดอกมะเดื่อเปนคนหายากในโลกนี้” เมื่อพระราชโอรสประสูติจึง

พระราชทานนามวา สมเด็จเจาฟาอุทุมพรราชกุมาร สวนราษฎรเรียกวา เจาฟาดอกเดื่อหรือดอก

มะเดื่อ (อุทุมพรแปลวามะเด่ือ) เม่ือสมเด็จพระราชชนกเสด็จขึ้นเสวยราชยใน พ.ศ. ๒๒๗๖ ทรง

พระกรุณาโปรดเกลาฯ สถาปนาเปนสมเด็จเจาฟากรมขุนพรพินิต

ถึง พ.ศ. ๒๓๐๐ พระเจาลูกเธอ กรมหม่ืนเทพพิพิธทรงปรึกษาเจาพระยาอภัยราชาผูวาท่ี

สมุหนายกและเจาพระยามหาเสนาพระยาพระคลัง แลวกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานให

สมเด็จพระเจาลูกเธอ เจาฟากรมขุนพรพินิตขึ้นดำรงตำแหนงพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวร

สถานมงคล แทนที่สมเด็จพระเจาลูกเธอ เจาฟาธรรมธิเบศร กรมพระราชวังบวร พระราชโอรสประสูติ

แตพระอัครมเหสีใหญ ซึ่งทรงกระทำผิดเปนมหันตโทษ ตองพระราชอาญาเฆี่ยนจนทิวงคตตั้งแต

พ.ศ. ๒๒๙๘ แตสมเด็จเจาฟากรมขุนพรพินิตไดทรงทำเรื่องราวกราบบังคมทูลพระกรุณาวาสมเด็จพระ

เชษฐา กรมขนุอนรุกัษมนตรีมอียู ขอพระราชทานใหเปนกรมพระราชวงับวรสถานมงคล สมเดจ็พระเจา

อยูหัวบรมโกศจึงมีพระราชโองการตามที่บันทึกไวในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาวา

กรมขุนอนุรักษมนตรีนั้นโฉดเขลาหาสติปญญาและความเพียรมิได ถาจะใหดำรง ฐานาศักด์ิมหาอุปราชสำเร็จราชกิจกึ่งหนึ่งนั้น บานเมืองก็จะเกิดภัยพิบัติฉิบหายเสีย เห็น แตกรมขุนพรพินิต กอปรดวยสติปญญาเฉลียวฉลาดหลักแหลม สมควรจะดำรงเศวตฉัตร ครองสมบัติรักษาแผนดินสืบไปเหมือนดังคำปรึกษาทาวพระยามุขมนตรีทั้งปวง

Page 173: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พรอมกันนั้น สมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศก็มีรับสั่งใหสมเด็จพระเจาลูกเธอ เจาฟากรมขุน

อนุรักษมนตรีออกผนวช ณ วัดลมุดปากจั่น แลวทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหประกอบพระราชพิธี

อุปราชาภิเษก ณ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท อัญเชิญสมเด็จเจาฟากรมขุนพรพินิตเถลิงถวัลยราชยที่

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แตสมเด็จเจาฟากรมขุนพรพินิตมิไดเสด็จประทับ ณ พระราชวังบวรฯ

ยังคงประทับ ณ พระตำหนักสวนกระตายในพระราชวังหลวงดังเดิม

ถึง พ.ศ. ๒๓๐๑ สมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศทรงพระประชวรหนัก เสด็จออก ณ พระที่นั่ง

ทรงปน มีพระราชดำรัสใหหาพระราชโอรสผูใหญซึ่งประสูติจากพระสนม คือ กรมหมื่นเทพพิพิธ

กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหม่ืนเสพภักดี มาเฝาพรอมกัน ตรัสมอบ

พระราชสมบัติแกกรมพระราชวังบวรฯ ใหพระเจาลูกเธอทั้ง ๔ กรมถวายสัตยยอมเปนขาทูลละอองธุล ี

พระบาทตอหนาพระที่นั่ง ฝายสมเด็จเจาฟากรมขุนอนุรักษมนตรีซึ่งทรงผนวชอยู เมื่อทรงทราบเรื่อง

สมเด็จพระราชชนกทรงพระประชวรหนัก ก็ลาผนวชเสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักสวนกระตาย

เมื่อสมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศเสด็จสวรรคต เจาสามกรม มีกรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่น

สุนทรเทพ และกรมหม่ืนเสพภักดี ก็เรงระดมอาวุธและผูคนจะกอการกบฏ กรมพระราชวังบวรฯ มี

พระบัณฑูรใหหาทาวพระยาขาทูลละอองธุลีพระบาทที่ประชุมพรอมกันอยูที่ศาลาลูกขุนเขามาเฝา ณ

พระตำหนักสวนกระตายเพ่ือปรึกษาราชการแผนดิน และโปรดใหนิมนตพระราชาคณะ ๕ รูป ใหไป

วากลาวโนมนาวเจาสามกรมใหสมัครสมานสามัคคีถึงสองครั้ง เจาสามกรมจึงมาเฝากระทำสัตยถวาย

เม่ือสรงพระบรมศพและอัญเชิญพระโกศข้ึนประดิษฐานบนพระที่นั่งบรรยงกรัตนาสนแลว กรม

พระราชวังบวรฯ ทรงปรึกษาเปนความลับกับสมเด็จเจาฟากรมขุนอนุรักษมนตรี แลวใหกุมตัว

เจาสามกรมสำเร็จโทษดวยทอนจันทน

สมเด็จพระเจาอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย แตสมเด็จเจาฟากรมขุนอนุรักษมนตรีสมเด็จ

พระเชษฐาแสดงพระองคปรารถนาในราชสมบัติ เสด็จขึ้นอยูแตบนพระท่ีนั่งสุริยาศนอมรินทร สมเด็จ

พระเจาอุทุมพรทรงเห็นเปนพระเชษฐารวมพระอุทรจึงยอมถวายราชสมบัติ ขณะเสด็จดำรงราช-

อาณาจักรไดเพียง ๑๐ วัน แลวถวายบังคมลาออกทรงพระผนวช ณ วัดเดิม จากนั้นเสด็จประทับ ณ

วัดประดู

ในแผนดินสมเด็จพระเจาเอกทัศ ขุนนางที่เปนพี่นองกับพระสนมเอกประพฤติชั่ว จนขุนนาง

ผูใหญรวมคิดกับกรมหม่ืนเทพพิพิธซึ่งกราบถวายบังคมลาทรงผนวช ณ วัดกระโจม จะกำจัด

สมเด็จพระเจาเอกทัศ โดยจะเชิญเสด็จสมเด็จพระเจาอุทุมพร ซึ่งตอนนี้พระราชพงศาวดารบันทึก

พระนามวาขุนหลวงหาวัดลาผนวชมาเสวยราชสมบัติ สมเด็จพระเจาอุทุมพรมิไดทรงหาม แตกลับไป

เฝาสมเด็จพระเชษฐาธิราช ถวายพระพรแจงเรื่องผูคิดกบฏและขอรับพระราชทานชีวิตเหลากบฏ

สมเด็จพระเจาเอกทัศจึงมีพระราชโองการใหจับพวกกบฏลงพระราชอาญาเฆ่ียนแลวจำไว สวนกรม

หมื่นเทพพิพิธใหสึกแลวเนรเทศไปเกาะลังกา

Page 174: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ถึง พ.ศ. ๒๓๐๓ พระเจาอลองพญากษัตริยพมายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ขุนนางและราษฎร

พากันไปกราบทูลวิงวอนใหสมเด็จพระเจาอุทุมพรลาพระผนวชออกมาชวยสมเด็จพระเชษฐาธิราช

บัญชาการปองกันพระนคร ทรงถอดถอนขาราชการดีที่ตองโทษออกมาชวยราชการ และใหจำคุก

ขุนนางที่ประพฤติชั่ว สมเด็จพระเจาอุทุมพรทรงเตรียมการทั้งเรื่องไพรพล เสบียงอาหาร คายคูประตู

หอรบ ทรงบัญชาการรบอยางเขมแข็ง เม่ือการรบถึงขั้นระดมยิงปนใหญใสกัน ไดเสด็จทรงชางตน

พลายแสนพลพายเลียบพระนคร ทรงตรวจตราและกำชับเจาหนาท่ีใหระวังรักษาทุก ๆ หนาท่ี พมา

รุกประชิดพระนครต้ังแตวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๕ ถึงวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖ ก็ตองเลิกทัพกลับไป เพราะ

พระเจาอลองพญาถูกปนใหญแตกตองพระวรกายขณะทรงบัญชาการจุดปนใหญ และสิ้นพระชนมที่

นอกดานเมืองตาก

หลังสงคราม สมเด็จพระเจาอุทุมพรเสด็จขึ้นเฝาสมเด็จพระเชษฐาธิราชเนือง ๆ แตค่ำวันหนึ่ง

กลับมีพระราชโองการใหเขาเฝาถึงที่ขางใน ครั้นเสด็จเขาไปทอดพระเนตรเห็นสมเด็จพระเจาเอกทัศ

ถอดพระแสงดาบพาดพระเพลาอยู ก็เขาพระทัยวาทรงรังเกียจ จะทำราย มิใหอยูในฆราวาส สมเด็จ

พระเจาอุทุมพรจึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งไปวัดโพธิ์ทองคำหยาด ทรงพระผนวช แลวเสด็จกลับเขามา

ประทับ ณ วัดประดู

พ.ศ. ๒๓๐๗ พระเจามังระกษัตริยพมาใหเกณฑทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อทัพพมาใกล

พระนคร สมเด็จพระเจาเอกทัศโปรดใหนิมนตพระสงฆพระราชาคณะท่ีอยูวัดนอกเมืองใหเขามาอยูวัด

ในพระนคร สมเด็จพระเจาอุทุมพรก็เสด็จเขามาประทับที่วัดราชประดิษฐาน ขุนนางและราษฎร

ชวนกันไปทูลเชิญเสด็จใหลาผนวชออกชวยปองกันพระนคร ก็ไมทรงลาผนวช แมเมื่อเสด็จออก

บิณฑบาต ชาวเมืองจะไดชวนกันเขียนหนังสือหอใสบาตรทูลวิงวอนใหลาผนวชเปนจำนวนมากทุก ๆ วัน

ก็ตาม

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแกพมาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เนเมียวสีหบดีแมทัพพมาไดคุมพระภิกษุ

สมเด็จพระเจาอุทุมพรหรือขุนหลวงหาวัดหรือขุนหลวงวัดประดู และพระราชวงศไปพมา เมื่อถึง

เมืองอังวะ พระเจามังระใหสึกออกเปนคฤหัสถ และใหเช้ือพระวงศกษัตริยเมืองไทยไปตั้งบานเรือน

ที่เมืองจักไก (หรือจักกาย ปจจุบันเรียกสะกาย) ตรงขามแมน้ำกับเมืองอังวะ สมเด็จพระเจาอุทุมพร

สวรรคตที่อังวะเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๙

ปจจุบันมีหนังสือที่รวมพิมพเอกสารเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา ๓ เร่ืองที่มีความเก่ียวของกับสมเด็จ

พระเจาอุทุมพร คือหนังสือคำใหการขุนหลวงหาวัด ตนฉบับเดิมเปนภาษามอญ และหนังสือคำใหการ

ชาวกรุงเกา ตนฉบับเดิมเปนภาษาพมา เปนเรื่องที่พระเจาอังวะใหถามเชลยไทยที่จับไปเมืองพมาครั้ง

พ.ศ. ๒๓๑๐ เก่ียวกับพงศาวดารและขนบธรรมเนียมไทย ซ่ึงยอมมีคำใหการของสมเด็จพระเจาอุทุมพร

ดวย หนังสืออีกเรื่องคือคำใหการขุนหลวงวัดประดูทรงธรรม ฉบับนี้เปนเอกสารจากหอหลวงของไทย

วาดวยภูมิสัณฐานพระนครศรีอยุธยาและขนบธรรมเนียมตาง ๆ และมีเรื่องพระราชพงศาวดารปลาย

Page 175: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

อยุธยาอีกชวงหนึ่ง เพียงแตมีเรื่องพระราชพิธีลงสรงเจาฟาและพิธีโสกันตเจาฟาของสมเด็จพระเจา

ลูกเธอ เจาฟาอุทุมพรดวย

นอกจากสมเด็จพระเจาอุทุมพรจะทรงพระปรีชาสามารถ พรอมท้ังสติปญญา คุณธรรม และ

พระปรีชาสามารถดานการปกครองและการสงครามดังกลาวแลว พระราชพงศาวดารยังไดกลาวถึง

พระราชกรณียกิจดานบำรุงพระศาสนา คือโปรดใหสรางวัดอุทุมพรอารามและใหปฏิสังขรณหลังคา

พระมณฑปพระพุทธบาท หุมทองสองชั้น สิ้นทอง ๒๔๔ ชั่ง

วีณา โรจนราธา

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: ไอเดียสแควร, ๒๕๓๕.

คณะกรรมการชำระประวัติศาสตรไทย. คำใหการขุนหลวงวัดประดูทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ

คุรุสภาลาดพราว, ๒๕๓๔.

คำใหการชาวกรุงเกา คำใหการขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. พระนคร:

คลังวิทยา, ๒๕๑๐.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๒ พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากตนฉบับของบริติชมิวเซียม กรุง

ลอนดอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, ๒๕๔๒.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และจุลยุทธการวงศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.``

Page 176: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพุทธรูปปางลีลา อุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเจาเอกทัศ

สรางในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ปจจุบันประดิษฐานภายในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

Page 177: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระเจาเอกทัศ (สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศนอมรินทร)

สมเด็จพระเจาเอกทัศ หรอืสมเดจ็พระท่ีนัง่สรุยิาศนอมรนิทร มพีระนามตามพระสุพรรณบัฏ

วาสมเด็จพระบรมราชาท่ี ๓ ทรงเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๓๓ หรือพระองคสุดทายของ

กรุงศรีอยุธยา เปนพระราชโอรสในสมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศ ประสูติแตกรมหลวงพิพิธมนตรี

(พระพันวัสสานอยหรอืพระอคัรมเหสนีอย) และเปนพระเชษฐารวมพระราชชนกชนนีกบัสมเดจ็พระเจา

อุทุมพร

พระนามสมเด็จพระเจาเอกทัศมาจากพระนามเดิมคือสมเด็จพระเจาลูกเธอ เจาฟาเอกทัศ เม่ือ

สมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๒๗๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ

สถาปนาใหเปนสมเด็จเจาฟากรมขุนอนุรักษมนตรี

หลังจากที่สมเด็จพระเจาลูกเธอ เจาฟาธรรมธิเบศร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทิวงคต

ใน พ.ศ. ๒๒๙๘ จนถึง พ.ศ. ๒๓๐๐ กรมหมื่นเทพพิพิธพระเจาลูกเธอผูใหญซึ่งกำเนิดแตพระสนมได

ปรึกษาเจาพระยาอภัยราชาผูวาที่สมุหนายกและเจาพระยามหาเสนาพระยาพระคลัง กราบบังคมทูล

พระกรุณาขอพระราชทานใหสมเด็จพระเจาอุทุมพรขณะทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระเจาลูกเธอ

เจาฟากรมขุนพรพินิตขึ้นดำรงตำแหนงพระมหาอุปราช ซ่ึงสมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศทรงเห็นชอบ

แมสมเด็จเจาฟากรมขุนพรพินิตจะทำเร่ืองกราบบังคมทูลขอพระราชทานใหสมเด็จเจาฟากรมขุน

อนุรักษมนตรีพระเชษฐารวมพระอุทรเปนกรมพระราชวังบวรฯ สมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศกลับมี

พระราชโองการดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาวา “กรมขุนอนุรักษมนตรีนั้นโฉดเขลาหาสติปญญาและความเพียรมิได ถาจะใหดำรงฐานาศักดิ์มหาอุปราชสำเร็จราชการกึ่งหนึ่งนั้นบานเมืองก็จะเกิดภัยพิบัติฉิบหายเสีย” และมีพระราชดำรัสสั่งสมเด็จเจาฟากรมขุนอนุรักษมนตรีวา

“จงไปบวชเสียอยาใหกีดขวาง” สมเด็จเจาฟากรมขุนอนุรักษมนตรีทรงกลัวพระราชอาญา จำพระทัย

ทูลลาไปทรงผนวชแลวเสด็จประทับ ณ วัดลมุดปากจ่ัน

เมื่อสมเด็จพระราชชนกทรงพระประชวรใกลเสด็จสวรรคต สมเด็จเจาฟากรมขุนอนุรักษมนตรีก็

ทรงลาผนวช เสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักสวนกระตาย เมื่อสมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศเสด็จ

สวรรคตแลว ไดทรงใหคำปรึกษาสมเด็จพระอนุชาธิราชซึ่งทรงดำรงตำแหนงกรมพระราชวังบวรสถาน

มงคลใหจับตัวเจาสามกรม คือ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหม่ืนสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพภักดีซึ่งเปน

กบฏ และใหสำเร็จโทษดวยทอนจันทน

Page 178: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระราชพงศาวดารบางฉบับ เชน ฉบับพระราชหัตถเลขา บันทึกโดยตรงวาเมื่อสมเด็จพระ

อนุชาธิราชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเปนสมเด็จพระเจาอุทุมพรแลว สมเด็จเจาฟากรมขุนอนุรักษ

มนตรีทรงแสดงพระองคปรารถนาในราชสมบัติ เสด็จข้ึนอยูแตบนพระท่ีนั่งสุริยาศนอมรินทร เปนที่มา

แหงการที่พระราชพงศาวดารจารึกพระนามอีกพระนามหนึ่งวา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศนอมรินทร

สมเด็จพระเจาอุทุมพรจึงยอมถวายราชสมบัต ิแลวกราบถวายบังคมลาออกทรงพระผนวช

พระราชพงศาวดารบางฉบับ เชน พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากตนฉบับของบริติชมิวเซียม

กรุงลอนดอน และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) บันทึกเพียงวา เมื่อกำจัด

เจาสามกรมแลว กรมพระราชวังบวรฯ จะถวายราชสมบัติแกสมเด็จพระเชษฐาธิราช แตสมเด็จเจาฟา

กรมขุนอนุรักษมนตรีไมทรงรับ ไมทรงตองการใหผิดรับสั่งของสมเด็จพระราชชนก แตเรื่องเสด็จอยู ณ

พระที่นั่งสุริยาศนอมรินทรนั้นตรงกัน และที่สุดสมเด็จพระเจาอุทุมพรก็ถวายราชสมบัติแกสมเด็จพระ

เชษฐาธิราชหลังจากครองราชยเพียง ๑๐ วัน แลวถวายบังคมลาออกทรงพระผนวชประทับ ณ วัด

ประดู พระราชพงศาวดารจึงบันทึกพระนามวา ขุนหลวงหาวัด

เมื่อสมเด็จพระเจาเอกทัศเสด็จขึ้นครองราชยแลว กรมหม่ืนเทพพิพิธก็กราบถวายบังคมลาออก

ทรงผนวชดวย แตตอมาเมื่อเห็นวาสมเด็จพระเจาเอกทัศทรงยอมใหพระราชมนตรีบริรักษ (ปน)

จางวางมหาดเล็กและหมื่นศรีสรรักษพี่และนองพระสนมเอกกระทำช่ัวในพระราชวังและประมาทหมิ่น

ขุนนางผูใหญ พระภิกษุกรมหม่ืนเทพพิพิธก็ไดรวมกับเจาพระยาอภัยราชา พระยายมราช พระยา

เพชรบุรี หมื่นทิพเสนา กับนายจุย นายแพงจัน เขาเฝาขุนหลวงหาวัด ทูลปรึกษาจะกำจัดสมเด็จ

พระเจาเอกทัศ และจะทูลเชิญขุนหลวงหาวัดใหลาผนวชกลับมาครองราชยดังเดิม ขุนหลวงหาวัดมิได

ปฏิเสธ แตกลับเขาเฝาสมเด็จพระเชษฐาธิราช ถวายพระพรแจงเหตุใหทรงทราบ แตขอพระราชทาน

ชีวิตคนเหลานั้นไว สมเด็จพระเจาเอกทัศจึงมีพระราชโองการใหจับเหลากบฏมาเฆ่ียนและจองจำไว

สวนกรมหมื่นเทพพิพิธนั้น ใหเนรเทศไปลังกาทวีปพรอมเรือของสมณทูต

ในสมัยเดียวกันนี้ ทางประเทศพมา ราชวงศอลองพญาต้ังตัวเปนใหญปราบปรามหัวเมืองพมา

มอญไวในอำนาจแลว ใน พ.ศ. ๒๓๐๓ ก็ยกทัพเขาตีกรุงศรีอยุธยาทางเมืองกุย ตีหัวเมืองเรื่อยมา

จนถึงสุพรรณบุรี ขุนนางและประชาราษฎรชวนกันไปกราบทูลวิงวอนขุนหลวงหาวัด เชิญเสด็จ

ลาผนวชมาชวยราชการแผนดิน สมเด็จพระเจาอุทุมพรทรงลาผนวชออกมาชวยสมเด็จพระเจาเอกทัศ

บัญชาการรบปองกันพระนคร จนพมาตองยกทัพกลับไปเพราะลูกปนใหญแตกตองพระวรกาย

พระเจาอลองพญาขณะทรงบัญชาการจุดปนใหญบาดเจ็บสาหัส และสิ้นพระชนมระหวางถอยทัพถึง

นอกดานเมืองตาก

หลังสงคราม พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาวา ค่ำวันหนึ่งสมเด็จพระเจาเอกทัศ

มีพระราชโองการใหสมเด็จพระอนุชาธิราชเขาเฝาที่ขางใน โดยทรงถอดพระแสงดาบพาดพระเพลา

สมเด็จพระอนุชาธิราชก็ทรงเขาพระทัยวาทรงรังเกียจ จะทำราย มิใหอยูในฆราวาส จึงเสด็จออก

Page 179: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ทรงพระผนวชอีกครั้ง

พ.ศ. ๒๓๐๗ พระเจามังระ กษัตริยพมาใหเกณฑทัพใหญเขาตีกรุงศรีอยุธยาท้ังจากทางเหนือ

และทางใต ทัพหัวเมืองของไทยไมอาจรับทัพพมา มีเพียงชาวบานบางระจันที่สามารถรับศึกพมาได

ถึง ๗ ครั้ง แตก็ตองพายแพเพราะกรุงไมยอมสงอาวุธไปชวย ฝายขาราชการในกรุงก็แตกสามัคคีจน

ไมอาจรบชนะพมาได

เมื่อพมาใกลถึงพระนคร สมเด็จพระเจาเอกทัศโปรดใหนิมนตพระสงฆพระราชาคณะที่อยูวัด

นอกเมืองเขามาอยูในพระนคร ซึ่งขุนหลวงหาวัดหรือขุนหลวงวัดประดูก็เสด็จเขามาประทับที่วัด

ราชประดิษฐาน ขุนนางและราษฎรพากันกราบทูลวิงวอน รวมท้ังเขียนหนังสือหอใสบาตรขณะทรง

บิณฑบาตใหลาผนวช แตก็ไมทรงลาผนวชอีก

เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก พมาเขากรุงได สมเด็จพระเจาเอกทัศเสด็จหนี พระราชพงศาวดารบาง

ฉบับวาเสด็จไปโดยลำพังพระองคเดียว แตบางฉบับวาลงเรือนอยไปกับมหาดเล็กสองคน ไดรับความ

ทุกขลำบากจนเสด็จสวรรคต พระราชพงศาวดารบางฉบับวา ชนทั้งปวงนำพระศพมาฝงไว แต

บางฉบับก็วาพวกพมาไปพบสมเด็จพระเจาเอกทัศที่บานจิก (ขางวัดสังฆาวาส) ทรงอดอาหารกวา

๑๐ วัน พอถึงคายโพธิ์สามตนก็สวรรคต สุกี้พระนายกองใหเชิญพระศพฝงไวที่โคกพระเมรุตรงหนา

วิหารพระมงคลบพิตร อันเปนที่ทำพระเมรุทองสนามหลวงคร้ังกรุงเกา รอเมื่อวางราชการจะถวาย

พระเพลิง แตหลังจากนั้นอีกเพียง ๗ เดือน เจาตากหรือสมเด็จพระเจาตากสินมหาราชไดกลับมา

ตีคายโพธ์ิสามตนได และใหขุดพระศพพระเจาแผนดินซึ่งพระนายกองฝงไวนั้น อัญเชิญใสพระโกศตาม

สังเขป ทำพระเมรุหุมดวยผาขาว แลวเชิญพระโกศตั้งในพระเมรุตั้งเครื่องบูชาสักการะพอสมควร ให

นิมนตพระสงฆที่เหลืออยูมาสดับปกรณ ทรงถวายไทยทาน แลวถวายพระเพลิง

สมเด็จพระเจาเอกทัศทรงเปนพระมหากษัตริยที่บำเพ็ญพระราชกรณียกิจดานทะนุบำรุง

พระพุทธศาสนาเปนนิจ ในเอกสารเกาที่รวมไวในคำใหการขุนหลวงวัดประดูทรงธรรม เอกสารจาก

หอหลวงวาทรงสรางวัดลมุด วัดครุธธา ทรงต้ังอยูในธรรมสุจริต เสด็จไปนมัสการพระศรีสรรเพชญ

ทุกเวลามิไดขาด พระบาทจงกรมอยูเปนนิจ ทรงตั้งอยูในทศพิธราชธรรม ในรัชสมัยนี้พระราช-

พงศาวดารไดบันทึกเหตุการณสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือ กำปนทูตที่ออกไปสงพระสงฆไปอุปสมบท

กุลบุตรสืบพระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีปตั้งแตสมัยสมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศไดกลับเขามา จึงทรง

พระกรุณาใหแตงกำปนใหมใน พ.ศ. ๒๓๐๑ ใหอาราธนาพระวิสุทธาจารย พระวรญาณมุนีพระราชา

คณะ ๒ รูป พระสงฆอันดับ ๓ รูป ไปลังกาทวีปกับขาหลวง เพื่อออกไปผลัดพระสงฆซึ่งไปครั้งกอน

ใหกลับมา ที่ลังกาพระอุบาล พระอริยมุนี และพระสงฆที่ออกไปครั้งกอนไดบวชกุลบุตรชาวสิงหลเปน

ภิกษุถึงเจ็ดรอยเศษ สามเณรพันคน พระสงฆที่ออกไปครั้งหลังบวชชาวสิงหลเปนภิกษุอีกสามรอย

สามเณรก็มาก อยูไดปเศษ พระภิกษุไทยก็เดินทางกลับ คงแตพระอุบาลีและพระสงฆอันดับอยูบาง

วีณา โรจนราธา

Page 180: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: ไอเดียสแควร, ๒๕๓๕.

คณะกรรมการชำระประวัติศาสตรไทย. คำใหการขุนหลวงวัดประดูทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ

คุรุสภาลาดพราว, ๒๕๓๔.

คำใหการชาวกรุงเกา คำใหการขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. พระนคร:

คลังวิทยา, ๒๕๑๐.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา. “พงศาวดารเรื่องไทยรบพมา.” ใน ประชุมพงศาวดารฉบับ

กาญจนาภิเษก เลม ๑๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, ๒๕๕๑.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๒ พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากตนฉบับของบริติชมิวเซียม กรุง

ลอนดอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, ๒๕๔๒.

“พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม).” ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๓.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, ๒๕๔๒.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และจุลยุทธการวงศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.``

Page 181: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมัยธนบุรี พระมหากษัตริยไทย

Page 182: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมราชานุสาวรียสมเด็จพระเจาตากสินมหาราช ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ กรุงเทพมหานคร

Page 183: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจาตากสินมหาราช)

สมเด็จพระเจากรุงธนบุร ีหรือสมเด็จพระเจาตากสินมหาราชมีพระนามเม่ือครองราชยตาม

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาวา สมเด็จพระบรมราชาท่ี ๔ และมีพระนามที่ราษฎรเรียก

เมื่อลวงรัชกาลแลววา ขุนหลวงตาก ทรงเปนพระมหากษัตริยพระองคเดียวของกรุงธนบุรี

พระราชประวัติเมื่อทรงพระเยาวของสมเด็จพระเจาตากสินมหาราชเปนนิทานเชิงอภินิหาร

เพราะบันทึกไวในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ ซึ่งพอสรุปเฉพาะสวนสำคัญของพระราชประวัติวา เสด็จ

พระราชสมภพใน พ.ศ. ๒๒๗๗ ในแผนดินสมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศแหงกรุงศรีอยุธยา บิดาชื่อ

ไหยฮอง มารดาช่ือนางนกเอี้ยง บิดาเปนขุนพัฒนนายอากรบอนเบ้ีย เจาพระยาจักรีสมุหนายก

รับเลี้ยงในฐานะบุตรบุญธรรม ใหชื่อวา สิน ครั้นเติบใหญศึกษาเลาเรียนในสำนักพระอาจารยทองดี

มหาเถระ ณ วัดโกษาวาสน จากนั้นไดถวายตัวเปนมหาดเล็ก ไดรับยศเปนหลวงยกกระบัตร แลวได

เลื่อนเปนพระยาตาก

พระราชประวัติชวงนี้ไดมีผูศึกษาวิเคราะหกันมาก วันพระราชสมภพนั้นหากยึดจดหมายเหตุ

โหรวาเสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมพรรษาได ๔๘ พรรษา ๑๕ วัน และหากเปนวันท่ี ๖ เมษายน พ.ศ.

๒๓๒๕ สมเด็จพระเจาตากสินมหาราชเสด็จพระราชสมภพวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๗ เร่ือง

พระชาติภูมิสรุปไดวาทรงเปนชาวไทยเชื้อสายจีน บิดามาจากมณฑลกวางตุง มารดาเปนคนไทย และ

จากเอกสารราชวงศชิงและเอกสารภาคเอกชนจีนกลาวถึงพระนามวา “เจิ้งเจา” ซึ่งแปลวา กษัตริย

แซเจิ้ง (ตรงกับเสียงจีนแตจิ๋ววา “แต” ) และพระนามเดิมคือ สิน

พระราชพงศาวดารไดบันทึกถึงตอนที่สมเด็จพระบวรราชเจามหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชา

ธิราชในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชครั้งยังทรงเปนนายสุจินดามหาดเล็กหนีพมา

ไปพึ่งเจาตาก ณ เมืองจันทบุรี เจาตากก็รับชุบเลี้ยงไวตั้งเปนพระมหามนตรี เพราะรูจักคุนเคยกัน

แตกอนกรุงศรีอยุธยายังไมเสียแกพมา และการท่ีสมเด็จพระเจาตากสินมหาราชทรงพระราชนิพนธ

รามเกียรติ์ ก็แสดงวาทรงไดรับการศึกษาและทรงรอบรูขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

อยางไรก็ตาม ยังมีพระราชพงศาวดารฉบับยอย ๆ ที่บันทึกเชื้อสายสมเด็จพระเจาตากสิน

มหาราชแตกตางกันออกไป เชน พระราชพงศาวดารเหนือเลขที่ ๔๗ กลาววา พระยานักเลงมีเชื้อสาย

พระเจามักกะโท ทรงพระนามพระยาตาก ตั้งเมืองใหมที่ธนบุรี และสมุดไทยดำฉบับหมายเลข ๒/ไฆ

กลาววา เดิมชื่อจีนแจง เปนพอคาเกวียนกอนที่จะมีความชอบในแผนดินจนไดเปนผูสำเร็จราชการ

แผนดินอยู ณ เมืองตาก ซ่ึงก็ตรงกับที่พระราชพงศาวดารฉบับความพิสดาร เชน ฉบับพระราช-

หัตถเลขาบันทึกเรื่องหนังสือพุทธทำนายของมหาโสภิตอธิการวัดใหมวา เมื่อพระนครเสียแกพมาแลว

Page 184: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

จะมีบุรุษพอคาเกวียนไดเปนพระยาครองเมืองบางกอกได ๑๐ ป ตองเสียเมืองแกพมาใหเสด็จไปอยู

เมืองลพบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจาตากสินมหาราชก็ไดเสด็จไปประทับเมืองลพบุรี ๗ วันพอเปนเหตุ อาจ

เพราะทรงเปนพอคาเกวียนจึงทรงชำนาญภูมิประเทศ และทรงเชี่ยวชาญรับสั่งไดหลายภาษาท้ังจีน

ลาว และญวน

พระราชพงศาวดารฉบับความพิสดารเริ่มบันทึกเรื่องสมเด็จพระเจาตากสินมหาราชเมื่อ พ.ศ.

๒๓๐๘ สมัยสมเด็จพระเจาเอกทัศ ตั้งแตยังทรงเปนพระยาตากมาชวยราชการสงครามปองกันพมา

ซึ่งยกทัพมาลอมกรุงศรีอยุธยา พระยาตากมีฝมือการรบเขมแข็งจึงไดเลื่อนตำแหนงเปนพระยา

วชิรปราการ เจาเมืองกำแพงเพชร ระหวางทำศึกรักษาพระนคร แมจะพยายามบัญชาการรบและตอสู

ขาศึกจนสุดความสามารถ แตดวยความออนแอของผูบัญชาการและการขาดการประสานงานท่ีดี

ระหวางแมทัพนายกอง ทำใหพระยาวชิรปราการเกิดความทอแทใจหลายครั้ง เมื่อเห็นวาถึงจะอยูชวย

รกัษากรุงกไ็มเกดิประโยชนอนัใด พระยาวชิรปราการจึงตดัสนิใจพาสมคัรพรรคพวกประมาณ ๕๐๐ คน

พระราชพงศาวดารบางฉบับวาประมาณ ๑,๐๐๐ คน ยกออกจากคายวัดพิชัยตีฝาทัพพมาไปทางทิศ

ตะวันออกในเดือนยี่ พ.ศ. ๒๓๐๙

พระยาวชิรปราการนำพรรคพวกสูรบชนะพมาท่ีไลติดตามไปตลอดทาง จนกิตติศัพทความ

สามารถเปนที่เลื่องลือ ทำใหมีผูคนมาขอเขาเปนบริวารมากมาย ที่ไมยอมออนนอมก็จำตองตีหักเอา

คายได เสนทางการเดินทัพออกจากคายวัดพิชัยนอกกำแพงเมืองไปบานขาวเมา บานสัมบัณฑิต บาน

โพสังหาร บานพรานนก ผานเมืองนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ครั้นถึงเมืองระยอง

พระยากำแพงเพชรคาดการณวาคงเสียกรุงแลวจึงต้ังตัวเปนเจาเพื่อรวบรวมผูคนกูแผนดิน พวกบริวาร

จึงเรียกวาเจาตากแตนั้นมา ขณะนั้นทางกรุงศรีอยุธยายังไมเสียแกพมา เจาตากจึงระวังตัวมิใหคน

ทั้งหลายเห็นวาเปนกบฏ และใหเรียกคำสั่งเพียงพระประศาสนอยางเจาเมืองเอก พระระยองพา

พรรคพวกออกมาตอนรับแตโดยดี แตก็ยังมีกรมการเมืองบางสวนคิดแข็งขอ พระยาวชิรปราการรู

จึงวางแผนปราบผูคิดรายแตกพายไป และเขายึดเมืองระยองเปนสิทธิ์ขาด

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแกพมาในวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ ผูมีอำนาจบางคนคิดตั้งตัวเปน

ใหญ พระยาจันทบุรีซึ่งเดิมเคยสัญญาวาจะเปนไมตรีกับเจาตากก็ไมทำตามสัญญา เจาตากจึงยกทัพไป

ปราบ เขายดึไดจนัทบรุแีละตราดตามลำดับ หลงัจากยดึเมอืงตราดไดแลว เจาตากก็ยกทพักลบัมาตัง้มัน่

ที่จันทบุรีและใชเปนที่จัดเตรียมกำลังพล เสบียงอาหาร อาวุธยุทโธปกรณ รวมทั้งตอเรือได ๑๐๐ ลำ

หลังจากสิ้นฤดูมรสุมเจาตากก็ยกทัพออกจากจันทบุรีเขาปากแมน้ำเจาพระยาในเดือน ๑๒ ป

เดียวกัน เม่ือยึดเมืองธนบุรีไดแลวจึงบุกเขาโจมตีคายโพธิ์สามตนท่ีพระนครศรีอยุธยา และสามารถยึด

คายโพธิ์สามตนไดใน ๒ วัน ขับไลพมาออกไปจากพระนครศรีอยุธยา รวมเวลาที่ไทยสูญเสียเอกราชแก

พมาคราวนั้นเพียง ๗ เดือน เจาตากไดจัดการบานเมืองใหอยูในสภาพปกติ จัดหาที่ประทับใหแก

บรรดาเจานายที่ถูกพมาคุมตัวไวแตยังไมทันสงไปพมา จัดการปลดปลอยผูคนท่ีถูกกักขัง พรอมทั้ง

Page 185: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

แจกจายทรัพยสินเครื่องอุปโภคบริโภคโดยถวนหนา แลวใหจัดการพระบรมศพสมเด็จพระเจาเอกทัศ

พอสมพระเกียรติเทาที่จะทำไดในขณะนั้น จากนั้นก็อพยพผูคนมาตั้งราชธานีอยูที่เมืองธนบุรี ซ่ึงใน

เวลานั้นนับวามีชัยภูมิเหมาะสมกวากรุงศรีอยุธยา เมื่อยายมาประทับท่ีกรุงธนบุรีแลว เจาตากทำพิธี

ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ แตไมมีหลักฐานปรากฏชัดเจนวาเมื่อใด ทางราชการจึงกำหนดเอา

วันแรกสุดที่เสด็จออกขุนนาง ตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุโหรเปนวันคลายวันปราบดาภิเษก คือวันท่ี

๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑

ภายหลังปราบดาภิเษกแลว สมเด็จพระเจาตากสินมหาราชทรงดำเนินการสรางชาติใหเปนปก

แผนมั่นคงทันที โดยนอกจากจะทรงทำสงครามขับไลพมากวา ๑๐ ครั้งแลว ยังทรงปราบปรามบรรดา

คนไทยที่แยกตัวไปตั้งเปนชุมนุมตาง ๆ มีชุมนุมเจาพระยาพิษณุโลก (เรือง) ชุมนุมเจาพระฝาง (เรือน)

ชุมนุมเจาพระยานครศรีธรรมราช (หนู) และชุมนุมเจาพิมาย หรือกรมหมื่นเทพพิพิธพระราชโอรสใน

สมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศ กระทั่งถึง พ.ศ. ๒๓๑๓ จึงสามารถมีชัยเหนือชุมนุมตาง ๆ ไดทั้งหมด

สงผลใหชาติไทยกลับมารวมเปนอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้ง หลังศึกอะแซหวุนกี้ใน พ.ศ. ๒๓๑๘ แลว

สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงดำเนินการขยายพระราชอาณาเขตของกรุงธนบุรีออกไปอีกจนกวางใหญ

ไพศาล ทิศเหนือไดถึงเมืองเชียงใหม ทิศใตตลอดหัวเมืองตานี (ปตตานี) ทิศตะวันออกตลอดกัมพูชา

จำปาศักดิ์จดญวนใต ทิศตะวันออกเฉียงเหนือตลอดเวียงจันทน หัวเมืองพวน และนครหลวงพระบาง

ทิศตะวันตกจดเมืองมะริดและตะนาวศรี ออกมหาสมุทรอินเดีย

สวนการฟนฟูประเทศนั้น แมวาตลอดรัชสมัยจะเต็มไปดวยการศึกสงคราม สมเด็จพระเจา

ตากสินมหาราชยังเอาพระทัยใสดูแลโดยใกลชิด ทรงทำนุบำรุงบานเมืองทั้งในดานการเมือง การ

ปกครอง เศรษฐกิจ สังคม เชน โปรดใหชำระกฎหมาย โปรดใหพิจารณาตัดสินคดีความตาง ๆ ตามปกติ

ไมใหคั่งคางแมในยามสงคราม โปรดใหสงสำเภาหลวงไปคาขายถึงเมืองจีนตลอดถึงอินเดียตอนใต

โปรดใหขุดคูคลองเพื่อประโยชนดานการคาขายและดานยุทธศาสตรไปพรอมกัน โปรดใหขยายพื้นที่ให

ทหารควบคุมไพรพลทำนา นอกจากน้ี ยังทรงพระราชนิพนธบทละครเร่ืองรามเกียรติ์บางตอน ทั้งยัง

โปรดใหการอุปถัมภเหลากวี ใหรวบรวมบรรดาชางฝมือและใหฝกสอนทุกแผนกเทาที่มีครูสอน โปรด

ใหบำรุงการศึกษาตามวัดวาอารามตาง ๆ ใหตั้งหอหนังสือหลวงรวบรวมตำราตาง ๆ ที่กระจัดกระจาย

เมื่อคราวเสียกรุง โปรดใหปฏิสังขรณวัดวาอารามใหม และใหคัดลอกพระไตรปฎกที่ยังหลงเหลือจาก

เมอืงนครศรธีรรมราชสรางเปนฉบบัหลวง และโปรดใหเขียนสมดุภาพไตรภมูใินสำนกัสมเดจ็พระสงัฆราช

เปนตน การฟนฟูบานเมืองเกือบทุกดานนี้ไดรับการสืบสานสรางเสริมจนสำเร็จสมบูรณในรัชกาลที่ ๑

แหงกรุงรตันโกสนิทร

คร้ันลวงถึงปลายรัชกาล สมเด็จพระเจาตากสินมหาราชใฝพระราชหฤทัยในทางศาสนาทำให

สำคัญพระองควาบรรลุโสดาบัน เกิดความวุนวายทั้งแผนดิน ผูคนถูกลงโทษโดยปราศจากความผิดมี

เพิ่มขึ้นทุกวัน ชาวกรุงเกาบางพวกจึงรวมตัวกันกอการกบฏ สมเด็จพระเจาตากสินมหาราชโปรดให

Page 186: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระยาสรรค (สรรคบุรี) ขึ้นไปปราบกบฏ แตพระยาสรรคกลับเขากับพวกกบฏยกทัพมาตีกรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจาตากสินมหาราชทรงรับผิดและยอมเสด็จออกผนวช ณ วัดแจง (วัดอรุณราชวราราม)

ในระหวางนัน้กรงุธนบรุเีกดิความวุนวายฆาฟนกนัไมเวนแตละวนั เกดิสงครามกลางเมืองระหวางกรมขนุ

อนุรักษสงคราม (พระเจาหลานเธอในสมเด็จพระเจาตากสินมหาราช) เปนฝายพระยาสรรค กับพระยา

สุริยอภัย (สมเด็จพระเจาหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช) ซึ่งนำทัพเมือง

นครราชสีมามาปราบกบฏ พระยาสุรยิอภยัเปนฝายมชียัในท่ีสดุ พระบาทสมเดจ็พระพทุธยอดฟาจฬุาโลก

มหาราช ครั้งเปนสมเด็จเจาพระยามหากษัตริยศึกซึ่งกำลังยกทัพไปตีเขมรทราบขาวการจลาจลจาก

พระยาสุริยอภัย ก็เลิกทัพกลับถึงกรุงธนบุรี หลังจากไตสวนจนทราบเหตุการณทั้งปวงแลว ใหบรรดา

ขาราชการพิจารณาปรึกษาโทษสมเด็จพระเจาตากสินมหาราช และสำเร็จโทษเมื่อวันท่ี ๖ เมษายน

พ.ศ. ๒๓๒๕

สมเด็จพระเจาตากสินมหาราชทรงเปนพระมหากษัตริยผูมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญแก

ปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนดใหวันที่ ๒๘ ธันวาคมของทุกปเปนวันสมเด็จพระเจาตากสิน

มหาราช และใหมีรัฐพิธีถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรียที่วงเวียนใหญ กรุงเทพฯ ตั้งแต พ.ศ.

๒๔๙๗ สืบมาทุกป และเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ คณะรัฐมนตรีมีมติใหเทิดพระนามวา

สมเด็จพระเจาตากสินมหาราช

วีณา โรจนราธา

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: ไอเดียสแควร, ๒๕๓๕.

คณะกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระเจาตากสินมหาราช. สมเด็จพระเจาตากสินมหาราช. กรุงเทพฯ: ศรีบุญเรืองพับลิเคชั่น,

๒๕๓๓.

“จดหมายเหตุโหร.” และ “พระราชพงศาวดารเหนือ.” ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๑. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, ๒๕๔๒.

ตวน ลี่ เซิง. พลิกตนตระกูลไทย. กรุงเทพฯ: พิราบสำนักพิมพ, ม.ป.ป.

นิธิ เอียวศรีวงศ. การเมืองไทยสมัยพระเจากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕๒๙.

“พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม).” และ “พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ

(เจิม).” ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เลม ๓. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, ๒๕๔๒.

อภินิหารบรรพบุรุษ. ม.ป.ท., ๒๔๗๓. (สมเด็จพระเจาพี่ยาเธอ เจาฟากรมพระนครสวรรควรพินิตโปรดใหพิมพเปน

ของชำรวยในงานพระราชทานเพลิงศพ หมอมเจาปยภักดีนารถ สุประดิษฐ)``

Page 187: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมัยรัตนโกสินทร พระมหากษัตริยไทย

Page 188: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมสาทิสลักษณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช ประดิษฐาน ณ มุขกระสันตะวันออก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

Page 189: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๑ แหง

กรุงรัตนโกสินทร มีพระนามเดิมวา ดวงหรือทองดวง เสด็จพระราชสมภพท่ีกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที ่

๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ ในรัชกาลสมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศ เปนพระโอรสในสมเด็จพระปฐมบรม

มหาชนกซึ่งมีพระนามเดิมวา ทองดี สืบเชื้อสายมาจากเจาพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ในสมัยสมเด็จพระ

นารายณมหาราช รับราชการในกรมอาลักษณเปนพระอักษรสุนทร พระราชชนนีมีพระนามวา หยก

หรือดาวเรือง เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษาไดถวายตัวเปนมหาดเล็กในสมเด็จพระเจาอุทุมพรขณะ

ดำรงพระยศสมเด็จพระเจาลูกยาเธอ เมื่อทรงอุปสมบทและลาพระผนวชแลวกลับเขารับราชการเปน

มหาดเล็กหลวง เมื่อมีพระชนมพรรษา ๒๕ พรรษา สมเด็จพระเจาเอกทัศทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ

ใหเปนหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี และไดสมรสกับธิดาตระกูลคหปตนีที่ตำบลอัมพวา แขวงเมือง

สมุทรสาคร ชื่อนาก (สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี)

เมื่อสมเด็จพระเจาตากสินมหาราชทรงกอบกูเอกราชและสถาปนากรุงธนบุรีเปนราชธานีแลว

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชทรงเขารับราชการในกรุงธนบุรีเปนพระราชวรินทร

เจากรมพระตำรวจนอกขวา ทรงเปนกำลังสำคัญของสมเด็จพระเจาตากสินมหาราช คูกับสมเด็จพระ

อนุชาธิราช (สมเด็จพระบวรราชเจามหาสุรสิงหนาท) ทำศึกสงครามกูบานเมืองหลายครั้งและไดเลื่อน

บรรดาศกัดิ์โดยลำดับ ดังนี้

พ.ศ. ๒๓๑๑ โดยเสด็จปราบชุมนุมเจาพิมาย ไดเลื่อนเปนพระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระ

ตำรวจ พ.ศ. ๒๓๑๒ ทรงเปนแมทัพไปตีเขมรไดเมืองพระตะบองและเสียมราฐ พ.ศ. ๒๓๑๓ ได

เลื่อนเปนพระยายมราชวาที่สมุหนายก พ.ศ. ๒๓๑๔ เล่ือนเปนเจาพระยาจักรี เปนแมทัพไปตีเขมร

พ.ศ. ๒๓๑๗ ทรงเปนแมทัพหนาไปตีเชียงใหม และลงมาชวยรบกับพมาท่ีเมืองราชบุรีจนชนะ

พ.ศ. ๒๓๑๘ ทรงเปนแมทัพรบตานทัพพมาที่เมืองพิษณุโลกเปนสามารถ จนอะแซหวุนก้ีแมทัพพมา

ขอดูตัวและกลาวสรรเสริญ ดังบันทึกในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาวา “รูปก็งาม ฝมือก็เขมแข็ง สูรบเราผูเปนผูเฒาได จงอุตสาหรักษาตัวไว ภายหนาจะไดเปนกษัตริยเปนแท”

สงครามคร้ังน้ัน เมืองพิษณุโลกถูกลอมจนขาดเสบียงอาหาร จำตองทิ้งเมือง ตีหักไปต้ังมั่นที่เมือง

เพชรบูรณ แตพอดีอะแซหวุนกี้ถูกเรียกตัวกลับ พ.ศ. ๒๓๑๙ ทรงเปนแมทัพไปตีหัวเมืองตะวันออกได

เมืองจำปาศักดิ์ เมืองโขง เมืองอัตปอ และเกลี้ยกลอมไดเมืองตะลุง เมืองสุรินทร เมืองสังขะ และ

เมืองขุขันธ ถึง พ.ศ. ๒๓๒๐ จึงทรงไดรับพระมหากรุณาปูนบำเหน็จเปน เจาพระยามหากษัตริยศึก

พ.ศ. ๒๓๒๑ ทรงเปนแมทัพไปตีเวียงจันทน หลวงพระบาง และอัญเชิญพระแกวมรกตกับพระบางลง

Page 190: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

มายังกรุงธนบุรี และใน พ.ศ. ๒๓๒๓ ทรงเปนแมทัพไปปราบจลาจลเมืองเขมร แตเมื่อทรงทราบขาว

จลาจลในกรุงธนบุรี จึงยกทัพกลับมากรุงธนบุรี เสด็จกลับถึงกรุงธนบุรีเมื่อวันท่ี ๖ เมษายน พ.ศ.

๒๓๒๕ ประทับบนศาลาลูกขุนมหาดไทย ตัดสินสำเร็จโทษสมเด็จพระเจาตากสินมหาราช แลวเหลา

ขุนนางและราษฎรทั้งหลายพรอมกันกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จเจาพระยามหากษัตริยศึกขึ้นครองราช-

สมบัติ วันน้ีถือเปนวันสถาปนามหาจักรีบรมราชวงศ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชทรงรับอัญเชิญเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัต ิ

แลว โปรดใหยายพระนครมาทางฝงตะวันออกของแมน้ำเจาพระยาเยื้องกับกรุงธนบุรีพระนครเดิม

ดวยมีพระราชดำริวาฝงตะวันออกมีชัยภูมิดีกวา และสามารถปองกันขาศึกไดดีกวา โปรดใหตั้งพิธียก

เสาหลักเมืองเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ และใหกอสรางพระราชวังลอมดวยไมระเนียดไวกอน

พอใหตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษกโดยสังเขปเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๕ จากน้ันจึง

โปรดเกลาฯ ใหกอสรางพระบรมมหาราชวัง พระราชวังบวรสถานมงคล และพระนครอยางถาวรตอไป

เมื่อกอสรางวัดพระศรีรัตนศาสดารามแลวเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๒๗ จึงอัญเชิญพระพุทธมหามณี

รัตนปฏิมากร (พระแกวมรกต) จากพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี มาประดิษฐานในพระอุโบสถ และเมื่อ

สรางพระนครแลวเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๒๘ โปรดใหกระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ใหถูกตอง

ตามโบราณราชประเพณี และใหมีการสมโภชพระนครตอเนื่องกัน พระราชทานนามพระนครวา

“กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย อุดม ราชนิเวศนมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ตอมาพระบาทสมเด็จ

พระจอมเกลาเจาอยูหัวทรงแปลงสรอย “บวรรัตนโกสินทร” เปน “อมรรัตนโกสินทร”

ในเวลาเดียวกับการสรางพระนครซึ่งลอมดวยกำแพง ปอม และคูเมืองนั้น พระบาทสมเด็จพระ

พุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชทรงใหตระเตรียมเสบียงอาหาร อาวุธทั้งซ้ือและหลอเอง และตอเรือรบ

ไวตอสูขาศึกที่สำคัญคือพมา และใน พ.ศ. ๒๓๒๘ พมาก็ยกกองทัพมาถึง ๙ ทัพ ดวยกำลังพลมากกวา

ไทยถึงเทาตัว แตกลับมีขอเสียเพราะไมสามารถเขาถึงกรุงพรอมกัน ขณะที่พระบาทสมเด็จพระ

พุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชทรงกำหนดยุทธศาสตรโดยใหออกไปสกัดทัพพมาไมใหถึงเมืองหลวง

ใหตอสูทัพสำคัญกอน ทัพใดเสร็จศึกก็ใหหนุนไปชวยดานอื่น ทำใหตีทัพพมาแตกพายไปทุกทัพ

ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๙ พระเจาปดุงกษัตริยพมายกทัพมารบแกตัว เปลี่ยนยุทธวิธีการรบโดยเตรียม

ยุงฉางมาพรอม ตั้งคายใหญที่ทาดินแดงและสามสบ เมืองกาญจนบุรี ตั้งคายชักปกกาถึงกัน ขุดสนาม

เพลาะปกขวากหนาแนน และทำสะพานเช่ือมถึงกัน แตเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก

มหาราชทรงเปนแมทัพทรงตีคายทาดินแดง และสมเด็จพระบวรราชเจามหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระ

อนุชาธิราชทรงตีคายสามสบ ระดมกำลังเพียง ๓ วัน พมาก็แตกพายไปสิ้น

ในปตอมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชจึงเสด็จนำทัพไปตีเมืองทวายของ

พมาเปนการตอบแทน แตไมอาจตีหักไดสำเร็จ เพราะเสนทางทุรกันดารและขัดสนเสบียงอาหาร

Page 191: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

อยางไรก็ตามใน พ.ศ. ๒๓๓๔ ทวาย ตะนาวศรี และมะริดไดขอสวามิภักดิ์ตอไทย แตพอพมายกลงมา

ทั้ง ๓ เมืองเกรงกลัวจึงกลับไปขึ้นกับพมาอีกใน พ.ศ. ๒๓๓๖

พมายังพยายามจะชิงหัวเมืองทางเหนือหรือดินแดนลานนาตั้งแต พ.ศ. ๒๓๓๐ จนถึง พ.ศ.

๒๓๔๘ กองทัพไทยและลานนาไดรวมกันตอสูจนขับไลพมาออกไปจากลานนา และยังไดเชียงตุง

แสนหวี เมืองลื้อ สิบสองปนนาไวในราชอาณาจักรไทยดวย

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชยังไดทรงขยายพระราชอาณาเขต โดยการทำ

สงครามและโดยการอุปถัมภค้ำจุนประเทศอื่น ๆ รอบพระราชอาณาจักร ดังนี้

ลาว เปนประเทศราชของไทยแลวในสมัยกรุงธนบุร ี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก

มหาราชจึงทรงแตงต้ังกษัตริยลาวที่ทรงไววางพระทัยใหปกครองเวียงจันทน ทั้งเมื่อกษัตริยหลวง

พระบางคิดจะเอาใจออกหางไปพึ่งพมา เจาอนุแหงเวียงจันทนยังชวยไปตีหลวงพระบาง จับกษัตริย

หลวงพระบางสงมากรุงเทพมหานคร

เขมร เปนประเทศราชของไทยเชนกนั ภายในประเทศเกิดจลาจล พระบาทสมเด็จพระพทุธยอด-

ฟาจุฬาโลกมหาราชโปรดใหพระยายมราช (แบน) ไประงับเหตุ รักษาราชการในเมืองเขมร และพา

นักองเองเขามากรุงเทพมหานคร ทรงชุบเลี้ยงคูกับสมเด็จพระเจาลูกยาเธอ เจาฟากรมหลวงอิศรสุนทร

(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย) ถึง ๑๒ ป จึงทรงแตงตั้งเปนสมเด็จพระนารายณรามาธิบดี

ออกไปครองกรุงกัมพูชา และเมื่อสมเด็จพระนารายณรามาธิบดีพิราลัย ก็โปรดใหสมเด็จฟาทะละหะ

เปนผูสำเร็จราชการ จนนักองจันท พระราชโอรสสมเด็จพระนารายณรามาธิบดีเจริญวัย จึงทรงแตงตั้ง

เปนสมเด็จพระอุทัยราชาครองกรุงกัมพูชา

ญวน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชทรงเกื้อหนุนองเชียงสือท่ีหนีภัยกบฏ

ไกเซินมาพ่ึงพระบรมโพธิสมภารจนกูชาติบานเมืองได ถวายตนไมเงินตนไมทองเปนราชบรรณาการ

เมื่อตั้งตนเปนจักรพรรดิ ทรงพระนามพระเจาเวียดนามยาลองจึงเลิกถวายตนไมเงินตนไมทอง

แตมีพระราชสาสนและถวายสิ่งของมีคาดวยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และพระบาทสมเด็จ

พระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชโปรดใหเชิญพระราชสาสนพรอมเครื่องสำหรับกษัตริยไปพระราชทาน

มลายู ต้ังแตศึกสงคราม ๙ ทัพ เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจามหาสุรสิงหนาททรงขับไลพมาออก

ไปจากภาคใตแลว ไดเสด็จลงไปปราบหัวเมืองใตไดเมืองตานี (ปตตานี) แลว ไทรบุรี กลันตัน และ

ตรังกานูก็ยอมออนนอม โปรดใหเมืองสงขลาและเมืองนครศรีธรรมราชควบคุมดูแล

นอกจากน้ี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชยังทรงรักษาสัมพันธไมตรีกับจีน

ราชวงศชิงสืบตอจากสมัยกรุงธนบุรี เพราะไดประโยชนจากการคาสำเภา รวมท้ังเปดรับชาวตะวันตก

ที่เขามาคาขาย มีโปรตุเกสและอังกฤษ เปนตน

พระราชกรณียกิจดานทะนุบำรุงบานเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช

ตองทรงดำเนินการไปพรอมกบัการสงคราม เพราะเปนเรือ่งของการฟนฟปูระเทศ ดวยมพีระราชประสงค

Page 192: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

“สรางใหเหมือนสมัยบานเมืองดี” ซึ่งมีผลดานจิตวิทยาทำใหอาณาประชาราษฎรมีขวัญและกำลังใจ

และยังมีผลทำใหประเทศขางเคียงเกรงขามเมื่อเห็นวาบานเมืองไทยบริบูรณรุงเรืองดุจเดิม

การจัดระเบียบการปกครอง ทรงยึดแบบอยางคร้ังกรุงศรีอยุธยา มีอัครมหาเสนาบดีสมุห-

พระกลาโหมดูแลหัวเมืองฝายใต สมุหนายกดูแลหัวเมืองฝายเหนือ กรมทาดูแลหัวเมืองฝายตะวันตก

จัดการปกครองแบบจตุสดมภ คือ เวียง วัง คลัง นา หัวเมืองแบงเปนหัวเมืองช้ันเอก ชั้นโท ชั้นตรี

ชั้นจัตวา และหัวเมืองประเทศราช

ดานกฎหมายบานเมือง โปรดใหชำระพระราชกำหนดกฎหมายใหถูกตอง แลวใหอาลักษณ

ชุบเสนหมึกไว ประทับตราพระราชสีห พระคชสีห และบัวแกว ซ่ึงเปนตราของสมุหนายก สมุห-

พระกลาโหม และพระคลัง แสดงวาใชบังคับทั่วราชอาณาจักร กฎหมายนี้เรียกกันวากฎหมายตรา

สามดวง

ดานศาสนา ใน พ.ศ. ๒๓๓๑ โปรดใหสงัคายนาพระไตรปฎกท่ีวดันพิพานารามซึง่ไดพระราชทาน

นามใหมวา วัดพระศรีสรรเพ็ชญดาราม ปจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ นับเปนการสังคายนา

ลำดับที่ ๙ ของโลก และยังโปรดใหตรากฎพระสงฆควบคุมสมณปฏิบัติและขอพึงปฏิบัติของ

พุทธศาสนิกชนอีกหลายฉบับ รวมท้ังพระราชกำหนดกวดขันศลีธรรมขาราชการและพลเมือง

ดานขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรม โปรดใหรื้อฟนและทรงอุปภัมภทุกแขนง

โปรดใหสรางปราสาทพระราชวัง วัดวาอาราม เชน วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมล

มังคลาราม วัดสระเกศ และวัดสทุัศนเทพวราราม โปรดใหรือ้ฟนพระราชพิธสีำคญั ๆ ครัง้กรุงศรอียธุยา

มาจัดทำอยางถูกตองตามแบบแผนราชประเพณี ทั้งยังโปรดเกลาฯ ใหมีประกาศ มีการจดจารบันทึก

ไวเปนแบบแผนสืบมา ต้ังแตพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีสมโภชพระนคร พระราชพิธ ี

พืชมงคล พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา พิธีทรงผนวชสมเด็จพระเจาลูกเธอ พระราชพิธีโสกันต

พระราชพิธีสมโภชพระเศวตกุญชร การออกพระเมรุและพระราชพิธีถวายพระเพลิงหรือพระราชทาน

เพลิงที่ทองสนามหลวง โปรดใหรวบรวมพระราชพงศาวดารและเอกสารสำคัญของบานเมืองที่

กระจัดกระจายมาชำระเรียบเรียงข้ึนใหม ทรงสงเสริมนักปราชญราชกวี สรางงานวรรณกรรมสำคัญ

โดยทรงเปนผูนำทรงพระราชนิพนธบทละครเรื่องรามเกียรติ์ฉบับยาวครบสมบูรณและเพลงยาวรบพมา

ที่ทาดินแดง เปนตน

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.

๒๓๕๒ พระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา ทรงดำรงสิริราชสมบัติ ๒๘ ป

พระนาม “พระพุทธยอดฟา” เปนพระนามจากการท่ีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว

รัชกาลที่ ๓ ถวายพระนามพระพุทธรูปทรงเคร่ือง ๒ พระองคหนาฐานชุกชีพระพุทธมหามณีรัตน-

ปฏิมากร ซึ่งทรงสรางเพื่อเปนพระพุทธรูปฉลองพระองครัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ โดยถวาย

พระนามวาพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหลาสุลาลัย แลวโปรดใหเรียกพระนามแผนดิน

Page 193: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ที่เรียกกันวาแผนดินตนเปนแผนดินพระพุทธยอดฟา และแผนดินกลางเปนแผนดินพระพุทธเลิศหลา

สุลาลัย (พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวทรงเปลี่ยนเปนพระพุทธเลิศหลานภาลัย) สวน

พระราชสมัญญานาม “มหาราช” น้ัน คณะรัฐมนตรีไดมีมติเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ พ.ศ. ๒๕๒๕

ใหถวายพระราชสมัญญานามเปนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช และใหเปลี่ยนชื่อ

วันจักรี วันที่ ๖ เมษายน เปนวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชและวันท่ีระลึก

มหาจักรีบรมราชวงศ

วีณา โรจนราธา

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๒. กรุงเทพฯ: ไอเดียสแควร, ๒๕๓๕.

กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสืออางอิงวิชาภาษาไทย ประวัติวรรณคดี. พระนคร: โรงพิมพคุรุสภาพระสุเมรุ, ๒๕๑๑.

คณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร ๒๐๐ ป. ประวัติศาสตรกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๓ พ.ศ.

๒๓๒๕ - พ.ศ. ๒๓๙๔ เลม ๑. กรุงเทพฯ: อมรินทรการพิมพ, ๒๕๒๕.

จรรยา ประชิตโรมรัน, พลตรี. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพแหง

จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒.

ทองตอ กลวยไม ณ อยุธยา. พระบรมราชจักรีวงศ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ, ๒๕๔๗.

ทิพากรวงศ (ขำ บุนนาค), เจาพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพการ

ศาสนา, ๒๕๓๑.

ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี, เจาพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๓. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภา

ลาดพราว, ๒๕๔๗.

พิทยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศเธอ กรมหมื่น. เรื่องพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกทรงฟนฟูวัฒนธรรม.

พระนคร: โรงพมิพพระจนัทร, ๒๕๐๐. (นายสน่ัน บณุยศริพินัธุ พมิพชวยในงานคลายวันประสตู ิพ.ศ. ๒๕๐๐)̀̀

Page 194: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมสาทิสลักษณพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย ประดิษฐาน ณ มุขกระสันตะวันออก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

Page 195: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยเปนพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระ

พุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชกับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระนามเดิม ฉิม ทรงพระราชสมภพ

เมื่อวันพุธที่ ๒๔ กุมภาพันธ พ.ศ. ๒๓๑๐ ณ นิวาสสถานตำบลอัมพวา สมุทรสงคราม ซึ่งขณะนั้น

กรุงศรีอยุธยาเสียแกพมาแลว ขณะที่ประสูตินั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชยัง

ทรงรับราชการเปนหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยไดโดยเสด็จ

พระบรมราชชนกในการศึกสงครามตลอดมา ทั้งกอนและหลังเสด็จข้ึนครองราชสมบัติ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติเปน

ปฐมกษัตริยแหงพระบรมราชวงศจักรีเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ จึงโปรดเกลาฯ ใหสถาปนา

พระเกียรติยศเปนเจาฟาตางกรม ทรงพระนามวา สมเด็จพระเจาลูกยาเธอ เจาฟากรมหลวงอิศรสุนทร

และไดทรงรับราชการใกลชิดพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช ดูแลงานตางพระเนตร

พระกรรณเสมอมา ใน พ.ศ. ๒๓๔๙ ทรงไดรับการสถาปนาขึ้นเปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ที่พระมหาอุปราช หลังจากที่สมเด็จพระบวรราชเจามหาสุรสิงหนาทเสด็จสวรรคต

ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต พระบาท

สมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยจึงไดเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเปนพระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๒ แหง

พระบรมราชวงศจักรี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจท่ีสรางความเจริญรุงเรืองใหแกบานเมืองเปน

อเนกประการ ทำใหบานเมืองสงบและอุดมสมบูรณ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยถือไดวาเปนยุคทองของวรรณคดีเพราะ

วรรณคดีของชาติรุงเรืองมาก ไดทรงสงเสริมงานศิลปะทุกประเภท ทรงพระปรีชาสามารถในงาน

วรรณกรรมและบทละครเปนอยางยิ่ง ทรงพระราชนิพนธงานวรรณกรรมและบทละครตาง ๆ ที่ทรง

คุณคาไวจำนวนมาก เชน เสภาเรื่องขุนชางขุนแผน (บางตอน) บทละครเร่ืองอิเหนา รามเกียรติ์ คาวี

ไกรทอง มณีพิชัย สังขทอง ไชยเชษฐ กาพยเหเรือ และบทพากยโขนตอนเอราวัณ นาคบาศ และ

นางลอย พระราชนิพนธเรื่องอิเหนาไดรับยกยองจากวรรณคดีสโมสรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ วาเปนยอด

ของบทละครรำ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวทรงพระราชนิพนธไวในคำนำบทละครเร่ือง

รามเกียรติ์วา “นักเลงหนังสือก็ดี นักเลงดูละครก็ดี ตองยอมรับท้ังนั้นวาเปนหนังสืออันดี เปนบทกลอน ไพเราะและถอยคำสำนวนดี เปนตัวอยางดียิ่งอันหนึ่งแหงจินตกวีนิพนธในภาษาไทยเรา สมควรแลว ที่จะเปนหนังสือซึ่งจะรักษาไวเปนแบบแผน” สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ทรงยกยองวา “สวนบทละครน้ัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย พระองคเปนจินตกวีอยาง

Page 196: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

วิเศษที่สุดองค ๑” บทพระราชนิพนธตางๆ นอกจากจะมีความไพเราะงดงามแลว ยังใหความรูดานการศึกษา

ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมดวย เชน ประเพณีโสกันต ประเพณีงานพระเมรุ

นอกจากน้ีพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยยังสนพระราชหฤทัยดานศิลปะการดนตรี

เปนอยางย่ิง ทรงเชี่ยวชาญและโปรดซอสามสาย พระองคมีซอคูพระหัตถอยูคันหนึ่ง พระราชทานนาม

วา “ซอสายฟาฟาด” ในรัชสมัยของพระองคศิลปะดานนาฏกรรมเจริญรุงเรืองมาก ความงดงามไพเราะ

ทั้งบทและกระบวนการรำไดปรับปรุงและใชเปนแบบแผนทางนาฏศิลปของชาติมาจนปจจุบัน และ

ศิลปะดานการดนตรีก็เจริญรุงเรืองทั้งทางมโหรี ปพาทย และขับรอง ท้ังยังทรงงานศิลปกรรมที่ทรง

คุณคายิ่งไวอีกหลายประการ เชน หนาหุนพระยารักใหญและพระยารักนอย ลวดลายพระท่ีนั่งสนาม

จันทรซึ่งเปนพระที่นั่งไมขนาดเล็ก หุนพระพักตรพระพุทธรูปประธานวัดอรุณราชวราราม บานประตู

พระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามที่แกะเปนรูปปาเขาลำเนาไพรและสิงสาราสัตวนานาชนิด เปนตน

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยโปรดเกลาฯ ใหขยายอาณาเขตพระบรมมหาราชวัง

และทรงสรางสวนสำหรับประพาสไวในพระบรมมหาราชวังที่สรางไวเดิมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

พระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช เรียกวาสวนขวา ใหมีความงดงามบริบูรณ การสรางสวนขวานี้มี

นัยสำคัญเก่ียวกับราชการบานเมืองคือทำใหปรากฏพระเกียรติยศแสดงใหนานาประเทศเห็นวาไทย

มีกำลังสรางราชธานีไดใหมเหมือนดังราชธานีเดิมครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อชาวตางประเทศและหัวเมือง

ประเทศราชมาเฝา โปรดเกลาฯ ใหพนักงานพาไปชมความงามของสวนขวา ซึ่งเปนท่ีสรรเสริญ

พระเกียรติยศไปนานาประเทศ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย โปรดเกลาฯ ใหออกประกาศยกเลิก

ธรรมเนยีมการยงิกระสนุในระหวางเสดจ็พระราชดำเนนิเพือ่ใหเกดิความเปนธรรมแกอาณาประชาราษฎร

ทรงไดชางเผือกเอกมาสูพระบารมีถึง ๓ ชาง ถือวาเปนมิ่งมงคลเพ่ิมพูนพระเกียรติยศ จึงโปรดเกลาฯ

ใหธงที่ชักในเรือกำปนหลวงที่ไปคาขายยังนานาประเทศทำรูปชางสีขาวอยูกลางวงจักรติดในธงพื้นแดง

และใชเปนธงชาติไทยตอมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว จึงเปลี่ยนมาเปน

ธงไตรรงคเชนปจจุบัน

ดานการคากับตางประเทศ ปรากฏวาการคากับจีนและประเทศทางตะวันตกเฟองฟูมาก ทรง

สงเสริมการคากับตางประเทศ โดยทรงสงเรือสำเภาไปคาขายกับจีน เขมร ญวน มลายู มีเรือสินคา

ของหลวงเดินทางไปจีนเปนประจำ รวมท้ังประเทศตะวันตกตาง ๆ เชน โปรตุเกส อังกฤษ นำรายได

เขาสูประเทศจำนวนมาก

ในดานสังคม ทรงพระราชดำริวาการสูบฝนเปนอันตรายแกผูสูบ ทั้งกอใหเกิดคดีอาชญากรรม

ขึ้นมาก แมฝนจะนำรายไดจำนวนมากเขาพระคลังหลวง แตดวยพระมหากรุณาธิคุณที่มีตอราษฎร ทรง

ตราพระราชกำหนดหามมิใหซื้อขายและสูบฝน ทรงกำหนดบทลงโทษสำหรับผูฝาฝนไวอยางหนัก

Page 197: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ในดานปกครองน้ัน ทรงริเริ่มการแตงตั้งเจานายใหกำกับราชการกระทรวงตาง ๆ หลายพระองค

เชน โปรดเกลาฯ ใหสมเด็จพระสัมพันธวงศเธอ เจาฟากรมขุนอิศรานุรักษทรงกำกับราชการกรม

มหาดไทย พระเจานองยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพสำเร็จราชการกรมพระกลาโหม และพระเจา

ลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว) สำเร็จราชการกรมพระคลัง

(คือกรมทา) การใหเจานายกำกับราชการกระทรวงตาง ๆ นับเปนพระราชดำริที่มีความสำคัญตอการ

บริหารราชการแผนดิน เพราะเจานายจะไดทรงเรียนรูการบริหารงานซึ่งเปนประโยชนในเวลาตอมา

เปนอยางยิ่ง

สวนการพระศาสนา ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหริเริ่มการประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้นใน พ.ศ.

๒๓๖๐ เปนครัง้แรกในสมัยรตันโกสนิทร พระราชกรณียกจิในการฟนฟปูระเพณกีารจดังานวนัวสิาขบูชา

ไดเปนประเพณีสืบตอมาจนถึงปจจุบัน และโปรดเกลาฯ ใหมีการแกไขวิธีสอบพระปริยัติธรรมซึ่งเดิม

แบงเปน ๓ ขั้น คือ เปรียญตรี เปรียญโท และเปรียญเอก โดยโปรดใหกำหนดวิธีสอบเปน ๙ ประโยค

ผูสอบได ๓ ประโยคขึ้นไปนับวาเปนเปรียญ นอกจากน้ียังโปรดเกลาฯ ใหมีการสังคายนาบทสวดมนต

และมีพระราชดำริวาพระสงฆในลังกาทวีปเปนสมณวงศเดียวกับพระสงฆในสยามประเทศ และเคยมี

สมณไมตรีติดตอกันมาตั้งแตครั้งกรุงศรีอยุธยา แตขาดการติดตอไป จึงโปรดเกลาฯ ใหสงสมณทูตไป

ลังกาเพื่อทราบการพระศาสนาและศาสนาวงศในลังกาทวีปดวย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยโปรดเกลาฯ ใหสรางเมืองท่ีปากลัดตอจากท่ีคางไว

พระราชทานนามวา เมืองนครเขื่อนขันธ แลวโปรดใหยายครัวมอญเมืองปทุมธานีไปอยูที่เมือง

นครเขื่อนขันธ และใน พ.ศ. ๒๓๖๒ โปรดเกลาฯ ใหพระเจาลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทรทรงเปน

แมกองสรางเมืองสมุทรปราการ ใหเปนเมืองปอมปราการสำหรับปองกันขาศึกท่ีใชเสนทางเดินทัพมาตี

ไทยทางทะเล

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยทรงครองสิริราชสมบัติเปนเวลา ๑๕ ป เสด็จสวรรคต

เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ ขณะพระชนมพรรษา ๕๖ พรรษา พระองคมีพระราชโอรสและ

พระราชธิดา รวม ๗๓ พระองค

องคการการศึกษา วิทยาศาสตร และวัฒนธรรมแหงสหประชาชาติ (UNESCO) ไดประกาศ

ยกยองพระเกียรติคุณใหพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยเปนบุคคลสำคัญของโลกในอภิลักขิต-

สมัยครบรอบ ๒๐๐ ป แหงพระบรมราชสมภพ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ นับวาทรงเปนคนไทยลำดับที่ ๓ ท่ี

ไดรับการประกาศเกียรติคุณน้ี

กฤษฎา บุณยสมิต

Page 198: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เอกสารอางอิง

กนกวลี ชูชัยยะ และกฤษฎา บุณยสมิต. บุคคลสำคัญของไทยที่โลกยกยอง. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส, ๒๕๔๖.

คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธการจัดงานพระบรมราชานุสรณป ๒๕๒๑. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธ-

เลิศหลาฯ ในศุภวาระครบ ๒๐๐ ป วันพระบรมราชสมภพ ๒ กุมภาพันธ ๒๕๒๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพยันฮี,

๒๕๒๑.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒. กรุงเทพฯ:

ไอเดียสแควร, ๒๕๔๖.

ใตรมพระบารมีจักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช. กรุงเทพฯ: ดานสุทธาการพิมพ, ๒๕๔๗. (ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ

ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗๕ พรรษา)

ทิพากรวงศ, เจาพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลท่ี ๒. กรุงเทพมหานคร: องคการคาคุรุสภา, ๒๕๐๔.

ปถพีรดี. “งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยที่อุทยานพระบรมราชานุสรณ อำเภออัมพวา

จังหวัดสมุทรสงคราม วันที่ ๘-๙ กุมภาพันธ ๒๕๔๖.” สกุลไทย. ปที่ ๔๙ ฉบับที่ ๒๕๒๑ (กุมภาพันธ ๒๕๔๖):

หนา ๑๑๖-๑๑๗.

มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ. จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒

เลม ๓ จุลศักราช ๑๑๗๑-๑๑๗๔. กรุงเทพฯ: อมรินทรการพิมพ, ๒๕๒๘.

เร่ืองอิเหนาพระราชนิพนธรัชกาลที่ ๒. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, ๒๕๔๓.

Page 199: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมสาทิสลักษณพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว ประดิษฐาน ณ มุขกระสันตะวันออก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

Page 200: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว พระนามเดิมวาหมอมเจาทับ เปนพระราชโอรสใน

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย (ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเปนสมเด็จพระเจาลูกยาเธอ

เจาฟากรมหลวงอิศรสุนทร) กับเจาจอมมารดาเรียม (ตอมาภายหลังทรงไดรับสถาปนาเปนสมเด็จพระ

ศรีสุลาลัย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทรที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุร ี

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช คร้ัน พ.ศ. ๒๓๔๙ สมเด็จพระราชบิดา

ทรงไดรับอุปราชาภิเษกเปนพระมหาอุปราช จึงทรงดำรงพระอิสริยยศเปนพระเจาหลานเธอ

พระองคเจาทับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกลาโปรด

กระหมอมใหทำพิธีโสกันตเปนการพิเศษ และเมื่อครบปที่จะทรงพระผนวช ก็โปรดเกลาฯ ใหทรง

พระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แลวเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ วัดราชสิทธาราม

เม่ือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยเสด็จขึ้นครองราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระองค

เจาทับทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณจนเปนที่ไววางพระราชหฤทัย ใน พ.ศ. ๒๓๕๖ โปรด

เกลาฯ ใหสถาปนาทรงกรมเปนพระเจาลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร ทรงกำกับราชการกรมทา

กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมพระตำรวจวาความฎีกา ซึ่งเปนราชการสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคง

ความมั่งคั่งของชาติ และความสงบสุขของราษฎร พระองคมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเปน

อยางยิ่ง ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเล้ียงพระมิไดขาด ทรงตั้งโรงทานเลี้ยงดูราษฎรท่ีอัตคัดขัดสน ณ

บริเวณหนาวังทาพระซึ่งเปนที่ประทับในขณะน้ัน ดานการคาทรงแตงสำเภาหลวงและสำเภาสวน

พระองคไปคาขายที่เมืองจีน สรางความมั่งคั่งใหชาติอยางยิ่ง ฐานะสวนพระองคก็มั่นคงจนพระบาท

สมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยทรงเรียกวาเจาสัว จอหน ครอวเฟด ทูตของผูสำเร็จราชการอังกฤษ

ที่อินเดียสงมาเจรจาทางพระราชไมตรี แสดงความเห็นไวในเอกสารของจอหน ครอวเฟด สรุปไดวา

กรมหมื่นเจษฎาบดินทรทรงวาราชการสิทธิ์ขาดทั้งดานการตางประเทศและการคา ทรงเปนเจานายท่ี

ฉลาดหลักแหลมที่สุดในบรรดาเจานายและขุนนางขาราชการชั้นผูใหญในราชสำนักสยาม

ใน พ.ศ. ๒๓๖๓ พมายกกำลังมาตั้งยุงฉางสะสมเสบียงอาหารเตรียมทำศึกท่ีปลายดานเมือง

กาญจนบุรี กรมหมื่นเจษฎาบดินทรทรงไดรับพระบรมราชโองการใหคุมกำลังไปขัดตาทัพที่ตำบล

ปากแพรก ริมแมน้ำนอย เปนเวลาประมาณปเศษ พมาเลิกทัพกลับไปโดยไมตองรบกัน

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๓๖๗ โดยมิไดตรัสมอบ

การสืบพระราชสันตติวงศ พระสังฆราช พระราชาคณะผูใหญ พระบรมวงศานุวงศ และเสนาบดีผูใหญ

รวมประชุมปรึกษาหารือกัน เห็นควรมอบสิริราชสมบัติใหกรมหมื่นเจษฎาบดินทรรักษาแผนดินสืบไป

Page 201: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

นับเปนอเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ

พระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัวเสด็จข้ึนครองราชยเม่ือวันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.

๒๓๖๗ มีพระปรมาภิไธยซึ่งจารึกในพระสุพรรณบัฏเหมือนรัชกาลที่ ๑ และ ๒ ตอมาพระบาท

สมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวทรงทำพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏถวายพระปรมาภิไธยใหมใน พ.ศ. ๒๓๙๔

วา “พระบาทสมเด็จพระปรมาทิวรเสฏฐมหาเจษฎาบดินทร สยามมินทรวโรดม บรมธรรมมิก

มหาราชาธิราชบรมนารถบพิตร พระนั่งเกลาเจาอยูหัว”

พระราชกิจสำคัญของพระมหากษัตริยคือการบำบัดทุกขบำรุงสุขของราษฎร พระบาท

สมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัวทรงสืบทอดหลักการปกครองตามพระราชประเพณีดวยความตั้งพระทัย

เปนอยางยิ่ง โปรดใหขุนนาง ขาราชการผูใหญเขาเฝาถวายขอราชการวันละ ๒ ครั้ง ดังจะเห็น

พระราชจริยวัตรจากพระราชานุกิจที่บันทึกวา

เวลาเสด็จออกจวน ๔ โมง (๑๐ นาฬกา)...อัครมหาเสนาบดีนั่งตรงชองกลาง ระหวางเสาที่ ๒ และท่ี ๓ จตุสดมภ เจาประเทศราชน่ังเหนือเสาที่ ๒ ขาราชการนอกนั้นเฝา หลามลงมาจนหนาลับแล...

อีกชวงหน่ึงเสด็จออกเวลา

...ยามหน่ึง (๒๑ นาฬกา) เสด็จออก...ถาอยางเร็วไมมีราชการเสด็จข้ึน ๒ ยาม (เที่ยง คืน) ถามีราชการข้ึน ๘ ทุม (๒ นาฬกา) โดยมาก ถามีราชการสำคัญที่คับขันเสด็จออก ทุมหน่ึง (๑๙ นาฬกา) เสวยในฉากแลวขึ้นพระแทน อยูจนกระท่ังเวลาตี ๑๑ (๕ นาฬกา) จึง เสด็จขึ้น

ในการปกครองบานเมือง โปรดใหตั้งบานเปนเมือง ๒๕ เมือง สวนใหญอยูทางภาคอีสาน ทรง

ปลูกฝงใหราษฎรรวมรับผิดชอบตอสังคมโดยการตราพระราชกำหนดโจรหาเสน ซ่ึงกำหนดใหราษฎร

ชวยกันดูแลระมัดระวังโจรผูรายภายในรัศมี ๕ เสนจากบานเรือนตน นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกลอง

วินิจฉัยเภรีใหราษฎรรองทุกขถวายฎีกาไดทุกเวลา

ตั้งแตตนรัชกาล การศึกกับพมาเริ่มลดนอยลงเนื่องจากพมามีปญหาภายใน และเผชิญภัย

ภายนอกจากการคุมคามของอังกฤษ ในการนี้อังกฤษชักชวนไทยใหชวยรบกับพมาดวยเห็นเปนศัตรูกัน

มานาน ไทยไปชวยอังกฤษตีไดเมืองมะริด ทวาย เมาะตะมะ และวางแผนจะขึ้นไปตีหงสาวดี ตองอ ู

ตอ แตเกิดบาดหมางกันจึงยกทัพกลับ ตอมาอังกฤษไดชัยชนะเหนือพมาโดยเด็ดขาด ตั้งแตนั้น พมา

ไมสามารถยกทัพมารุกรานไทยไดอีก คงเหลือภัยที่ไทยตองระวัง คือ ญวน ลาว เขมร ทรงทำสงคราม

Page 202: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

อานามสยามยุทธเปนเวลาเกือบ ๑๕ ป สงครามสิ้นสุดลงโดยไมมีผูแพชนะ ทำสัญญาสงบศึกใน พ.ศ.

๒๓๙๐ นอกจากนี้ทรงจัดการบานเมืองบริเวณชายแดนใหสงบท้ังดานหัวเมืองลาว หัวเมืองตะวันตก

โดยเฉพาะอยางยิ่งหัวเมืองปกษใต ในดานการปองกันประเทศ โปรดใหสรางปอมปราการเพิ่มข้ึน

หลายแหง ตอเรือรบสำหรับใชในแมน้ำ และเรือกำปนที่ออกทะเลไดจำนวนมาก โปรดใหชางชำนาญ

การหลอเหล็กจากจีนมาหลอปนใหญหลายกระบอก

ในชวงปลายรัชกาล มหาอำนาจตะวันตกเร่ิมเขามามีบทบาทดวยการขอเจริญทางพระราชไมตรี

โดยมีนโยบายเรือปนหนุนหลัง เปนปญหาที่ประเทศจะตองเผชิญตอไป พระบาทสมเด็จพระน่ังเกลา

เจาอยูหัวทรงเห็นการณไกล ดังกระแสพระราชดำรัสที่มีตอสมเด็จเจาพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศที่

เขาเฝาในพระที่ตอนปลายรัชกาลใน พ.ศ. ๒๓๙๓ ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร

รัชกาลท่ี ๓ วา “การศึกสงครามขางญวนขางพมาก็เห็นจะไมมีแลว จะมีอยูก็แตขางพวกฝรั่งใหระวังให ดีอยาใหเสียทีแกเขาได การงานสิ่งใดของเขาที่ดีควรจะเรียนร่ำเอาไว ก็เอาอยางเขา แตอยาใหนับถือ เลื่อมใสไปทีเดียว” ซึ่งการณตอมาก็เปนดังเชนที่ทรงคาดไวใน พ.ศ. ๒๔๓๖ เม่ือเกิดวิกฤตการณ ร.ศ.

๑๑๒ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ก็ไดใชเงินพระราชทรัพยจากการคาสำเภาของ

พระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัวที่เรียกวา เงินถุงแดง มาชดใชใหฝรั่งเศส เทากับไดใชเพื่อกูบาน

กูเมืองตามพระราชปณิธาน

รัชสมัยของพระองคไดรับยกยองวามีความเจริญรุงเรืองทางเศรษฐกิจและการพระศาสนาเปน

อยางยิ่ง พระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัวทรงพระปรีชาสามารถในการนำรายไดเขาสูทอง

พระคลังมาต้ังแตกอนขึ้นครองราชย ครั้นเมื่อเสวยราชยแลว ทรงสรางความเปนปกแผนทางเศรษฐกิจ

ดวยการประหยัดรายจายและเพิ่มพูนรายไดแผนดิน โดยการแกไขวิธีเก็บภาษีอากรแบบเดิม เชน

เปลี่ยนเก็บอากรคานาจากหางขาวมาเปนเงิน ทรงตั้งภาษีอากรใหมอีก ๓๘ ชนิด และทรงกำหนด

ระบบเจาภาษีนายอากรใหม โดยรัฐเก็บภาษีเองเฉพาะภาษีที่สำคัญบางอยาง นอกนั้นใหเจาภาษี

นายอากรประมูลรับเหมาผูกขาดไป ทั้ง ๓ วิธีดังกลาว เพิ่มพูนรายไดใหหลวงอยางมาก

สวนการคาสำเภาท่ีสรางความมั่งคั่งอยางมาก ครั้นปลายรัชกาลเริ่มลดความสำคัญลง เพราะ

ชาวตะวันตกเร่ิมใชเรือกำปนใบซึ่งมีประสิทธิภาพดีกวาเขามาคาแทน โดยเฉพาะอยางยิ่ง ภายหลังจาก

ที่ทำสนธิสัญญาเบอรนียกับอังกฤษใน พ.ศ. ๒๓๖๙ สงผลใหการคากับตางประเทศขยายตัวมากข้ึน

สินคาออกที่สำคัญในขณะนั้น คือ น้ำตาลและขาว กอใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการผลิตจาก

การเกษตรแบบพอมีพออยู มาเปนการผลิตเพื่อสงเปนสินคาออก กลาวคือ ทำนาเพื่อสงออกขาว และ

ปลูกออยเพื่อเปนวัตถุดิบในโรงงานน้ำตาล ดังจะเห็นไดจากกรณีการขุดคลองแสนแสบเพ่ือประโยชน

ในราชการสงคราม ตอมาไดเปลี่ยนบทบาทมาเปนการเปดพื้นที่สำหรับปลูกขาวและออยแทน ซ่ึงสราง

รายไดใหหลวงมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวเอาพระทัยใสตอปญหาในการทำมาหากิน

ของราษฎร ดังปรากฏในพระบรมราชโองการที่มีไปถึงเจาเมืองตาง ๆ ใน พ.ศ. ๒๓๘๖ เมื่อเกิดภาวะ

Page 203: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ฝนแลงวา “...สมเด็จพระพุทธเจาอยูหัว จะใครทรงทราบ การไรนา น้ำฝน น้ำทาใหถวนถ่ีแนนอน ให พระยาไชยวิชิต พระปลัด กรมการวากลาวตรวจดูแลใหเจาเมือง กรมการ ราษฎรทำไรนาใหทั่วกันให เต็มภูมิฐาน ใหไดผลเม็ดขาวในปมะโรง ฉอศกใหจงมาก...”

ในดานพระศาสนา ทรงเปนองคอัครศาสนูปถัมภกตามพระราชประเพณี มีพระราชศรัทธาอยาง

แรงกลาในพระพุทธศาสนา พระองคโปรดผูที่มีศรัทธาทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดังพระดำรัสของ

สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ “ในรัชกาลที่ ๓ ใครมีใจศรัทธาสรางวัดก็เปนคนโปรด” ทรงสรางและปฏิสังขรณวัดวาอารามและพระพุทธรูปจำนวนมาก ทรงประกอบพระราชกุศล

ทุกวาระ และโดยสวนพระองคเองทรงบาตรทุกเชา ในพระราชานุกิจบันทึกวา “แตถึงจะเสด็จออก อยูจนดึกเทาไร เวลาเชาคงเสด็จลงทรงบาตรตามเวลา ไมไดเคลื่อนคลาด” ทรงนิมนตพระสงฆเขามา

ถวายพระธรรมเทศนาในพระบรมมหาราชวังเปนประจำ โปรดเกลาฯ ใหรวบรวมพระไตรปฎก และ

ประกอบพระราชกุศลในลักษณะเชนนี้อีกหลายประการ แมภาษีอากรบางอยางท่ีสรางรายไดใหมาก

แตเปนบาปก็โปรดเกลาฯ ใหงดเสีย ไดแก ภาษีฝนเพราะเปนของชั่ว ทำลายราษฎรใหออนแอ อากร

คาน้ำและอากรคารักษาเกาะซึ่งเก็บจากผูเก็บไขจะละเม็ดอันเปนการสงเสริมใหราษฎรฆาสัตว มี

พระราชศรัทธาบำเพ็ญพระราชกุศลใหสัตวทั้งหลายรอดชีวิต

นอกจากนี้ยังมีพระทัยกวาง ในรัชสมัยของพระองค พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว

ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเปนสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟามงกุฎและยังทรงพระผนวชอยู ทรงตั้ง

นิกายสงฆใหมคือคณะธรรมยุติกนิกาย ก็ทรงสนับสนุน ดังจะเห็นไดจากพระบรมราโชวาทของ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว พระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจาฟามหา

วชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ความวา

...สวนทูลกระหมอมทรงตั้งพระสงฆคณะธรรมยุติกนิกาย เปนการตอสูอยางยิ่งมิใช เลน ทานก็มิใชแตไมออกพระโอษฐคัดคานอันหนึ่งอันใด กลับพระราชทานที่วัดบวรนิเวศฯ ใหเปนที่เสด็จมาประทับอยูเปนที่ตั้งธรรมยุติกนิกาย และยกยองใหเปนราชาคณะผูใหญ จนถึงเปนผูสอบไลพระปริยัติธรรมจนจวนสวรรคตทีเดียว จึงไดขอเลิกเรื่องหมผาแหวกอก แตอยางเดียวเทานั้น...

ผลอีกประการหน่ึงที่เกิดจากการท่ีทรงพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา คือความเจริญรุงเรือง

ทางศิลปกรรมแขนงตางๆ โดยเฉพาะสถาปตยกรรม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเปนพระราชนิยม เชน การ

เปลี่ยนแปลงสวนหลังคาโบสถ ไมมีชอฟา ใบระกา หางหงส หนาบันประดับกระเบ้ืองเคลือบจานชาม

จีน เชนที่วัดราชโอรสาราม จิตรกรรมก็มีลักษณะผสมผสานแบบจีน

Page 204: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ปลายรัชกาล กระแสพระราชดำริเกี่ยวกับผูสืบราชสมบัติ ก็แสดงใหเห็นถึงน้ำพระทัยท่ีทรงรัก

และหวงใยบานเมืองยิ่ง ทรงมอบใหเสนาบดีผูใหญประชุมปรึกษากันวาพระบรมวงศานุวงศพระองคใด

ที่มีวัยวุฒิปรีชารอบรู เปนศาสนูปถัมภก ปกปองไพรฟาประชาชน รักษาแผนดินใหเปนสุขสวัสดิ์ เปน

ที่ยินดีแกมหาชน ก็ใหพรอมใจกันยกพระองคนั้นขึ้นเสวยราชย การครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระ

จุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงเลาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจาฟามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎ

ราชกุมาร วา

. . .มาจนชั้นปลายท่ีสุดจวนจะสวรรคต ใชวาทานจะไมมีพระราชประสงคจะให พระราชโอรสสืบสันตติวงศเม่ือใด แตหากทานไมมั่นพระทัยในพระราชโอรสของทานวา องคใดอาจจะรักษาแผนดินได เพราะทานรักแผนดินมากกวาพระราชโอรส จึงไดมอบคืนแผนดินใหแกเสนาบดี ก็เพื่อประสงคจะใหเลือกเชิญทูลกระหมอม ซึ่งเห็นปรากฏอยูแลววาทรงพระสติปญญาสามารถจะรักษาแผนดินไดขึ้นรักษาแผนดินสืบไป นี่ก็เปนการแสดง ใหเห็นพระราชหฤทัยวา ตนพระบรมราชวงศของเรายอมรักแผนดินมากกวาลูกหลานใน สวนตัว แมเมื่อทรงพระประชวรหนักก็โปรดใหยายพระองคออกจากพระท่ีนั่งจักรพรรดิพิมานองค

ตะวันออกซึ่งประทับอยูไปยังองคตะวันตกซึ่งจะไมเก่ียวของกับการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ

พระมหากษัตริยพระองคตอไป แสดงใหเห็นถึงน้ำพระทัยที่ทรงนึกถึงผูอื่นและสวนรวมกอนพระองค

เอง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองคตะวันตก

เมื่อวันพุธที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ รวมพระชนมายุ ๖๓ พรรษา มีสายราชสกุลสืบเนื่องมา ๑๓

มหาสาขา คือ ศิริวงศ โกเมน คเนจร งอนรถ ลดาวัลย ชุมสาย ปยากร อุไรพงศ อรณพ ลำยอง

สุบรรณ สิงหรา และชมพูนุท

ตอมาใน พ.ศ. ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวรัชกาลปจจุบันทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ

ถวายพระราชสมัญญาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัววา “พระมหาเจษฎาราชเจา” ซ่ึงมีความ

หมายวา “พระมหาราชเจาผูมีพระทัยตั้งมั่นในการบำเพ็ญพระราชกิจ”

สุทธิพันธ ขุทรานนท

Page 205: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. ตำนานวัตถุสถานตางๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวทรงสถาปนา และกรมสมเด็จพระศรี

สุลาไลย พระบรมราชชนนีพันปหลวง. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งกรุพ, ๒๕๓๐.

. พระราชานุกิจ. กรุงเทพฯ: ดานสุทธาการพิมพ, ๒๕๒๖.

. เอกสารของครอวฟอรด. ไพโรจน เกษแมนกิจ, แปล. นครหลวงกรุงเทพธนบุรี: โรงพิมพการศาสนา, ๒๕๑๕.

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. แนวพระราชดำริเการัชกาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, ๒๕๒๗.

คณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร ๒๐๐ ป. ประวัติศาสตรกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๑-รัชกาลที่ ๓ เลม ๑.

กรุงเทพฯ: อมรินทรการพิมพ, ๒๕๒๕.

จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลม ๑. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย, ๒๕๓๐.

ทองตอ กลวยไม ณ อยุธยา. “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว เจษฎาราชเจา.” ใน สดุดีบุคคลสำคัญ เลม ๑๙.

กรุงเทพฯ: บริษัท ที ฟลม จำกัด, ๒๕๔๙.

ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี, เจาพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลท่ี ๓. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภา

ลาดพราว, ๒๕๔๗.

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว พระมหาเจษฎาราชเจา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ

ภาพพิมพ, ๒๕๔๙.

มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว. วัดยานนาวา/รัชกาลที่ ๓ พระบิดาแหงการคาไทย.

กรุงเทพฯ: ประดิพัทธ, ๒๕๔๗.

วอเตอร เอฟ. เวลลา. แผนดินพระนั่งเกลาฯ. พ.อ. นิจ ทองโสภิต, แปล. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งกรุพ, ๒๕๓๐.``

Page 206: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมสาทิสลักษณพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ประดิษฐาน ณ มุขกระสันตะวันออก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

Page 207: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ทรงพระนามเดิมวา สมเด็จพระเจาลูกยาเธอ

เจาฟามงกุฎ เปนพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย (เมื่อครั้งทรงดำรงพระยศ

เปนสมเด็จพระเจาลูกยาเธอ เจาฟากรมหลวงอิศรสุนทร) กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

(เมื่อทรงดำรงพระยศเปนสมเด็จเจาฟาบุญรอด พระธิดาในสมเด็จพระเจาพี่นางเธอ เจาฟากรมพระ

ศรีสุดารักษ พระภคินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช) เสด็จพระราชสมภพ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗

เมื่อทรงเจริญพระชนมายุได ๙ พรรษา ทรงเขาสูพระราชพิธีลงสรง ซ่ึงจัดขึ้นเปนครั้งแรกใน

กรุงรัตนโกสินทรเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๕ แลวเฉลิมพระนามตามพระสุพรรณบัฏวา “สมเด็จพระเจาลูกเธอ

เจาฟามงกฎุ สมมุตเิทวาวงศ พงศาอิศวรกระษัตรยิขตัติยราชกมุาร” ครัน้ถึง พ.ศ. ๒๓๖๗ พระชนมาย ุ

๒๑ พรรษา ทรงพระผนวชเปนพระภิกษุตามราชประเพณี ครั้นทรงพระผนวชได ๑๕ วัน

สมเด็จพระบรมชนกนาถก็เสด็จสวรรคต โดยไมไดมอบราชสมบัติใหแกพระราชโอรสพระองคใด

พระองคหนึ่ง พระบรมวงศานุวงศไดพรอมกันกราบบังคมทูลเชิญพระเจาลูกยาเธอ พระองคเจาทับ

กรมหมื่นเจษฎาบดินทร พระราชโอรสองคใหญ ซึ่งทรงวาการพระคลังและการตางประเทศตาง

พระเนตรพระกรรณมาแตเดิม ใหเสด็จขึ้นครองราชยเปนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว

รัชกาลที่ ๓

ในระหวางทรงพระผนวช สมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟามงกุฎพระวชิรญาณมหาเถระทรง

มีโอกาสเสด็จออกธุดงคไปยังปูชนียสถานตาง ๆ ตามหัวเมือง ทำใหทรงรูจักผืนแผนดินไทยและสภาพ

ความเปนอยูของประชาชนอยางแทจริง และโอกาสสำคัญอีกประการคือไดทรงศึกษาวิชาภาษา

ตางประเทศ ทำใหมีพระปรีชาญาณรูเทาทันสภาพเหตุการณของโลกตะวันตกเปนอยางดี อันมีผลทำให

พระองคเปนพระเจาแผนดินที่ทันสมัยในเวลาตอมา ทรงนำสยามผานพนจากภัยของลัทธิลาอาณานิคม

ของชาติมหาอำนาจตะวันตกมาได

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวเสด็จสวรรคต โดยทรงมอบใหพระบรมวงศานุวงศ

และคณะเสนาบดีประชุมสรรหาเจานายที่เห็นสมควรขึ้นดำรงสิริราชสมบัติสืบไป ที่ประชุมจึงมีมติ

เปนเอกฉันทใหอัญเชิญพระวชิรญาณมหาเถระใหทรงลาสิกขาและขึ้นเสวยราชสมบัติ เปนพระบาท

สมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกลาเจาอยูหัว

พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว คือการรักษาเอกราช

ของชาติ เพราะในรัชสมัยของพระองคและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวนั้นตรงกับสมัย

Page 208: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ลัทธิจักรวรรดินิยมที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังแขงขันแสวงหา

อาณานิคม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวเสด็จขึ้นครองราชยใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ทรง

ตระหนักวาถึงเวลาที่สยามตองยอมเปดสัมพันธภาพกับประเทศตะวันตก โดยทำสนธิสัญญาในลักษณะ

ใหม เพราะประเทศเพื่อนบานก็เริ่มถูกอังกฤษและฝรั่งเศสเขายึดครองบางแลว ดังนั้นเมื่อสมเด็จ

พระราชินีนาถวิกตอเรียแหงอังกฤษทรงแตงตั้งเซอรจอหน เบาวริงเปนอัครราชทูตผูมีอำนาจเต็ม เชิญ

พระราชสาสนมาเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับสยามใน พ.ศ. ๒๓๙๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา

เจาอยูหัวทรงตอนรับอยางสมเกียรติ และยังไดโปรดเกลาฯ ใหเซอรจอหน เบาวริงเขาเฝา เพื่อเจรจา

กันเปนการภายในแบบมิตรภาพกอน ซึ่งเปนที่ประทับใจของอัครราชทูตอังกฤษมาก การเจรจาเปน

ทางการใชเวลาไมนานก็ประสบความสำเร็จ อังกฤษและสยามไดลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย

ตอกันในวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๘ อันเปนที่รูจักกันในนามวา สนธิสัญญาเบาวริง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวทรงวางรากฐานในการยอมรับความเจริญกาวหนาแบบ

อารยประเทศมาใชในสยาม เชน การรับชาวตางประเทศเขามารับราชการดวยการใหเปนลาม เปน

ผูแปลตำรา เปนครูหัดทหารบกและโปลิศซึ่งโปรดใหจัดตั้งข้ึนตามแบบยุโรป เปนนายเรือและนายชาง

กลไฟ เรือหลวง และเปนผูทำการตาง ๆ อีกหลายอยาง ทหารเกณฑหัดอยางฝรั่งแบงออกเปน ๓ กอง

คือ กองรักษาพระองคอยางยุโรป กองทหารหนาเปนกองกำลังสำคัญในการรักษาประเทศ และกอง

ปนใหญอาสาญวน สวนการทหารเรือ ทรงจัดตั้งกรมเรือกลไฟ มีการตอเรือกลไฟขึ้นใชหลายลำ สวน

การฝกหัดโปลิศนั้นถือวาพระองคทรงเปนพระผูสถาปนากิจการตำรวจไทยขึ้นเปนพระองคแรก

นอกจากกิจการดังกลาวยังมีงานสมัยใหมเกิดขึ้นอีกเปนอันมาก เชน การสำรวจทำแผนที่

ชายแดนพระราชอาณาเขต การตั้งโรงพิมพอักษรพิมพการในพระบรมมหาราชวังเพื่อพิมพหนังสือ

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพรกฎหมาย คำสั่ง และขาวราชการตาง ๆ ใหขาราชการและประชาชน

รับทราบเปนหลักฐาน สรางโรงกษาปณเพื่อใชทำเงินเหรียญแทนเงินพดดวง ใชอัฐทองแดงและดีบุก

แทนเบี้ยหอย จัดตั้งศุลกสถาน สถานที่เก็บภาษีอากร มีถนนอยางใหมสำหรับใชรถมา เกิดตึกแถวและ

อาคารแบบฝรั่ง โรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร ฯลฯ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวเปนพระมหากษัตริยที่ทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรมได

อยางบริบูรณ พระองคสนพระราชหฤทัยทุกขสุขของประชาชนเปนสำคัญ ตลอดเวลา ๒๗ ปที่ทรง

พระผนวชเปนพระภิกษุไดทรงรับทราบสภาพความเปนอยูและทุกขสุขของประชาชนเปนอยางดี ดังนั้น

เมื่อเสวยราชสมบัติแลว ทรงยกเลิกประเพณีที่ใหทหารในขบวนเสด็จพระราชดำเนินยิงธนูผูที่มาแอบดู

ระหวางเสด็จประพาสทางชลมารคและสถลมารค เลิกธรรมเนียมบังคับใหบานเรือนสองขางทางเสด็จ

พระราชดำเนินปดประตูหนาตางอยางเชนเมืองจีน ตรงกันขามกลับโปรดใหราษฎรเขาเฝาใกลชิด และ

มักจะพระราชทานเงินหรือสิ่งของแกประชาชนดวยพระองคอยูเสมอ ท้ังยังโปรดเสด็จประพาสหัวเมือง

ตาง ๆ เพื่อเยี่ยมเยียนประชาชน และสรางพระราชฐานท่ีประทับแรมไวในหัวเมืองหลายแหง

Page 209: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

นอกจากน้ัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวยังทรงเปนพระมหากษัตริยที่เอาพระทัยใส

ตอทุกขของประชาชน เชน มีพระราชดำรัสหามการท้ิงสัตวตายลงในน้ำ ทรงแนะนำการใชเตาไฟใน

ครัวแบบใหมเพื่อปองกันอัคคีภัย ทรงตักเตือนเรื่องการปดประตูหนาตางใหเรียบรอยเพื่อปองกันโจร

ผูรายจะมาตัดชองยองเบา เมื่อเกิดดาวหางประกา พ.ศ. ๒๔๐๓ ก็ทรงมีประกาศอธิบายถึงธรรมชาติ

ของสุริยจักรวาล ชี้แจงมิใหประชาชนต่ืนกลัว และในเมื่อจิตใจของประชาชนยังหวั่นเกรงวาจะเกิด

เหตุรายตาง ๆ ก็ทรงแนะนำอุบายปองกัน เชน กลัววาปนั้นจะเกิดความแลงมีทุพภิกขภัยก็ใหรีบปลูก

ขาวเบาแตตนฤดู กลัวจะเกิดไขทรพิษระบาดก็แนะนำใหไปปลูกฝเสียท่ีโรงหมอ และใหระวังรักษา

ความสะอาดของบานเรือน ซึ่งจะเปนการสงเสริมใหเกิดพลานามัยปองกันโรคภัยไขเจ็บได ในสวนของ

กฎหมายตาง ๆ ทรงเปนนักนิติศาสตรสำคัญพระองคหนึ่งของชาติไทย เพราะจำนวนประกาศและ

กฎหมายตาง ๆ ที่ตราออกใชบังคับในรัชสมัย นับไดเกือบ ๕๐๐ ฉบับ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวทรงเปนท่ียอมรับนับถือวาเปนนักปราชญในพระพุทธ-

ศาสนา และไดทรงปฏิรูปพระศาสนาใหทันตอการแผเขามาของศาสนาชาวตะวันตก เนื่องมาจากการ

เผยแผของศาสนาคริสตเขามาสูสยามโดยบรรดาบาทหลวงซึ่งเปนนักบวชนิกายโรมันคาทอลิก และ

มิชชันนารีซึ่งเปนผูเผยแผศาสนานิกายโปรเตสแตนต ที่นำความรูทางวิทยาศาสตร ทางการแพทย และ

ทางอักษรศาสตร เขามาเผยแพรโดยอาศัยเหตุผลในการช้ีแจงประชาชนใหเขาใจตามหลักเหตุผล

และขอเท็จจริง ทั้งยังมีเครื่องมือสมัยใหมนำมาใชในการประชาสัมพันธ เชน การพิมพพระคัมภีรออก

แจกจาย การใชบทบาททางการแพทยและสาธารณสุขออกสรางความนิยม เปนตน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวเสด็จขึ้นดำรงสิริราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ ไดทรง

ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาใหเจริญรุงเรืองยิ่งขึ้น ทรงกอตั้งคณะธรรมยุติกนิกาย ทรงบูรณะและ

ปฏิสังขรณพระอารามท่ีสรางคางในรัชกาลกอนใหลุลวงเรียบรอย ที่สำคัญยิ่งคือไดทรงปฏิสังขรณ

พระปฐมเจดียเปนงานใหญ

พระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว นอกจากที่ปรากฏในประเทศแลว ยัง

แผไพศาลไปยังประมุขประเทศตาง ๆ ดังจะเห็นไดจากพระราชสาสนที่เปนลายพระราชหัตถเลขาและ

พระบรมฉายาลักษณ ภาพถายพระบรมรูป พระราชหัตถเลขา และหนังสือภาษาอังกฤษสวนพระองค

ซึ่งยังปรากฏอยูในปจจุบัน พระองคสนพระราชหฤทัยวิชาการความกาวหนาของตะวันตกกวางขวาง

หลายแขนงทั้งดานการเมืองการปกครอง ภูมิศาสตร ประวัติศาสตร คณิตศาสตร ดาราศาสตร ฯลฯ

วทิยาการของตะวันตกทีส่นพระราชหฤทัยมากเปนพเิศษ คอืวชิาวทิยาศาสตร สาขาดาราศาสตร

โดยโปรดใหสรางพระที่นั่งภูวดลทัศไนยข้ึนในพระบรมมหาราชวัง และไดทรงสถาปนาระบบเวลา

มาตรฐานขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๐๑ ซ่ึงเปนเร่ืองอัศจรรยยิ่งวาทรงใชเวลามาตรฐานโดยเทียบกับดวงดาว

กอนหนาประเทศอังกฤษมหาอำนาจของโลกสมัยนั้นจะประกาศใชเวลามาตรฐานดวยวิธีเดียวกันใน

พ.ศ. ๒๔๒๓

Page 210: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวทรงคำนวณและพยากรณลวงหนาไว ๒ ปวาในวันที่ ๑๘

สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ จะเกิดปรากฏการณสุริยุปราคาเต็มดวง เห็นไดที่ตำบลหวากอ แขวงเมือง

ประจวบคีรีขันธ ดวยพระราชประสงคจะพิสูจนผลการคำนวณของพระองค จึงเสด็จพระราชดำเนิน

ทางชลมารคไปยังบานหวากอ โดยเชิญแขกตางประเทศ คือ เซอรแฮรี ออต เจาเมืองสิงคโปร ทูต

อังกฤษประจำประเทศไทย ดร.บรัดเลย มิชชันนารีชาวอเมริกัน และคณะดาราศาสตรฝรั่งเศส ราว

๑๐ คน พรอมดวยขาราชบริพารที่ตามเสด็จขบวนใหญ ปรากฏวาผลการพยากรณของพระองค

ทุกขั้นตอนของสุริยคราส คือดวงอาทิตยเริ่มมืด มืดเต็มดวง เริ่มสวาง และสวางเต็มดวง ที่เรียกวา

โมกขบริสุทธิตรงกับที่ทรงคำนวณพยากรณไวทุกวินาที พระปรีชาสามารถของพระองคในครั้งนั้นจึง

เปนที่ยอมรับไปในหมูนักวิทยาศาสตรนานาชาติ แตเมื่อเสด็จกลับมาแลวก็ทรงพระประชวรดวย

พระโรคไขมาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ รวมพระชนมพรรษาได

๖๔ พรรษา ทรงดำรงสิริราชสมบัติ ๑๗ ป มีพระราชโอรสธิดารวม ๘๔ พระองค มีสายราชสกุล

สืบเนื่องมา ๒๗ มหาสาขา

รัฐบาลไทยไดมีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัววา “พระบิดาแหง

วิทยาศาสตรไทย” และกำหนดใหวันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปเปน “วันวิทยาศาสตรแหงชาติ”

นอกจากนั้นในโอกาสวันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ป วันท่ี ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ องคการ

การศกึษา วทิยาศาสตร และวฒันธรรมแหงสหประชาชาต ิ(UNESCO) ไดประกาศยกยองพระเกยีรตคิณุ

ใหพระองคทรงเปนบุคคลสำคัญของโลก สาขาการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร มานุษยวิทยา การ

พัฒนาสังคม และการสื่อสาร ประจำป ๒๕๔๖ - ๒๕๔๗

ทองตอ กลวยไม ณ อยุธยา

เอกสารอางอิง

กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร, สมเด็จพระเจาพี่นางเธอ เจาฟา. มหามกุฎราชสันตติวงศ. กรุงเทพฯ:

อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๔๗.

ทองตอ กลวยไม ณ อยุธยา. เลาเรื่องพระจอมเกลา. กรุงเทพฯ: ทวิพัตร (๒๐๐๔), ๒๕๔๘.

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๔ ฉบับเจาพระยาทิพากรวงศ (ขำ บุนนาค). พิมพครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ:

ตนฉบับ, ๒๕๔๗.

พิพัฒน พงศรพีพร. สมุดภาพรัชกาลที่ ๔. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑภาพมุมกวาง กรุงเทพมหานคร, ๒๕๔๗.

รวมพระราชนิพนธในพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว เรื่อง ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔. กรุงเทพฯ: ทวิพัตร

(๒๐๐๔), ๒๕๔๘.̀̀

Page 211: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมสาทิสลักษณพระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัว ประดิษฐาน ณ มุขกระสันตะวันออก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

Page 212: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัว

พระบาทสมเดจ็พระปนเกลาเจาอยูหวั เปนพระราชอนชุาในพระบาทสมเดจ็พระจอมเกลา

เจาอยูหัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งทรงสถาปนาพระเกียรติยศเสมอดวยพระมหากษัตริยพระองคที่ ๒ ในแผนดิน

พระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัวเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย ข้ึน ๑๕ ค่ำ เดือน

๑๐ ปมะโรง ตรงกับวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๑ เปนพระราชโอรสลำดับท่ี ๕๐ ในพระบาท

สมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย และเปนลำดับที่ ๓ ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มี

พระนามเดิมวาเจาฟาจุฑามณี ในชวงที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวทรงพระผนวชนั้น

สมเด็จเจาฟาจุฑามณีประทับที่พระราชวังเดิม ตอมาทรงไดรับการสถาปนาใหทรงกรมเปนสมเด็จพระ

เจานองยาเธอเจาฟาจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค เมื่อวันท่ี ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ ขณะ

พระชนมายุได ๒๔ พรรษา ทรงบังคับบัญชากรมทหารแมนปนหนาหลัง และอาสาญวน อาสาแขก

อาสาจาม ท้ังไดทรงคิดตอเรือกลไฟ รวมทั้งไดทรงเปนแมทัพออกไปรบกับญวน ครั้นในชวงรัชกาล

มีชาวตางชาติเดินทางเขามาเพื่อเจรจาทางการคาและทำสนธิสัญญากับสยาม พระบาทสมเด็จพระ

นั่งเกลาเจาอยูหัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหสมเด็จเจาฟาฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรคทรงรับเปน

พระราชภาระในการรับรองคณะทูตและตรวจตราเนื้อหาของสนธิสัญญา เพราะทรงชำนาญภาษา

ตางประเทศ

พ.ศ. ๒๓๗๕ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหสมเด็จ

เจาฟาฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค สรางปอมที่เมืองสมุทรสงครามขึ้นชื่อปอมพิฆาตขาศึก ตั้งอยูที่ริม

แมน้ำแมกลองฝงตะวันออก ตอจากวัดบานแหลมและสถานีรถไฟแมกลอง ซึ่งตอมาใน พ.ศ. ๒๔๔๙

ไดรื้อออกและกอสรางสถานท่ีราชการ กระทั่งเปนที่ตั้งศาลากลางจังหวัดในปจจุบัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวทรงขึ้นครองราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๙๔ แลว ไดทรง

พระกรุณาโปรดเกลาฯ จัดการพระราชพิธีบวรราชาภิเษกสมเด็จพระเจานองยาเธอข้ึนเมื่อวันอาทิตยที่

๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ มีพระนามในพระสุพรรณบัฏวา “สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศ

รังสรรค มหันตวรเดโชไชย มโหฬารคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ บวรจุลจักรพรรดิราชสังกาศ

บวรธรรมิกราช บวรนาถบพิตร พระปนเกลาเจาอยูหัว”

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว พระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัวเสด็จ

ประทับ ณ บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล เสมอพระราชฐานะแหงวังหนา พระองคทรงรอบรูใน

ศาสตรตาง ๆ เปนอยางยิ่ง โดยเฉพาะภาษาตางประเทศ และไดทรงสมาคมกับชาวตางชาติที่เดินทาง

เขามาในราชอาณาจักรดวย ทำใหพระนาม The Second King เปนที่รูจักกันเปนอยางดี อาจกลาวได

Page 213: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

วา พระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัวทรงมีสวนรวมในการพัฒนาสยามประเทศใหเขาสูความ

ทันสมัย

พระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัวทรงแปลตำราปนใหญจากภาษาอังกฤษเปนภาษาไทย

พระองคสนพระทัยการชาง การตอเรือ ตลอดจนจักรกลอื่น ๆ โดยเฉพาะการตอเรือกลไฟนั้นเปนท่ี

โปรดปรานมาก นอกจากนี้ยังโปรดการทองเที่ยวไปตามบานเมืองทั้งเหนือและใต เชนที่บานสัมปะทวน

แขวงเมืองนครชัยศรี ที่เมืองพนัสนิคมบาง แตโปรดท่ีจะประทับท่ีพระตำหนักบานสีทาในแขวงเมือง

สระบุรี การเสด็จประพาสหัวเมืองเปนประโยชนแกราชการบานเมืองเพราะไดทรงศึกษาลักษณะภูมิ

ประเทศ และทรงคุนเคยกับไพรฟาขาแผนดิน รวมท้ังทรงเห็นปญหาตางๆ ที่แทจริงของราษฎร ทั้งได

ทรงบูรณะวัดตาง ๆ รอบพระนครอีกหลายแหง เชน วัดราชผาติการาม วัดหงสรัตนาราม เปนตน

ในดานศิลปวัฒนธรรม พระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัวโปรดงานดุริยศิลปเปนพิเศษ ทรง

ประดิษฐระนาดทุมเหล็กขึ้น และมีพระราชนิยมในเครื่องดนตรีประเภทเปาเชนแคน นอกจากน้ันมี

พระราชนิพนธบทสักรวาไวหลายบท พระราชนิพนธเพลงยาว พระราชนิพนธทรงคอนขาราชการวัง

หนา เปนตน

พระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย แรม ๖ ค่ำ เดือน ๒ เวลา

เชาย่ำรุง ตรงกับวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๘ พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา ทรงอยูในอุปราชาภิเษก

สมบัติทั้งสิ้น ๑๕ ป มีพระราชโอรสธิดารวม ๕๘ พระองค

ปรีดี พิศภูมิวิถี

เอกสารอางอิง

ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ฉบับ พ.ศ. ๒๔๕๗. กรุงเทพฯ: ตนฉบับ, ๒๕๕๔.

พระบวรราชประวัติ แลพระบวรราชนิพนธ พระโอรสธิดา และกุลสันตติวงศในกรมพระราชวังบวรฯ ทั้ง ๕ รัชกาล พิมพ

เปนท่ีระลึกในงานบรรจุพระอัฐิพระโอรสธิดาในกรมพระราชวังบวรฯ ท้ัง ๕ พระองค ณ วัดชนะสงคราม เมื่อ

ปเถาะ พ.ศ. ๒๔๗๐. กรุงเทพฯ: โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๐.

พระบวรราชานุสาวรีย พระราชประวัติ และพระราชนิพนธบางเรื่อง ในพระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัว. กรุงเทพฯ:

รุงเรืองธรรม, ๒๕๒๐.

ส. พลายนอย [นามแฝง]. เจาฟาจุฑามณี พระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัว. กรุงเทพฯ: รวมสาสน, ๒๕๓๖.

. พระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัว กษัตริยวังหนา. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๕.

อำพัน ตัณฑวรรธนะ. หนังสือที่ระลึกวันตรงกับเสด็จสวรรคต ในพระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัว ๗ มกราคม

๒๕๒๒. กรุงเทพฯ: พระจันทร, ๒๕๒๑.̀̀

Page 214: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมสาทิสลักษณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ประดิษฐาน ณ มุขกระสันตะวันออก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

Page 215: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวเปนพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระ

จอมเกลาเจาอยูหัวกับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคารท่ี ๒๐

กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ ในพระบรมมหาราชวัง มีพระนามเดิมวาสมเด็จเจาฟาจุฬาลงกรณ บดินทร

เทพยมหามกุฏ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร มีพระราชขนิษฐาและ

พระราชอนุชารวมสมเด็จพระบรมราชชนกชนนีอีก ๓ พระองค คือ สมเด็จเจาฟาจันทรมณฑล โสภณ

ภควดี สมเด็จเจาฟาจาตุรนตรัศมี (สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ) และ

สมเด็จเจาฟาภาณุรังษีสวางวงศ (จอมพล สมเด็จพระราชปตุลาบรมพงศาภิมุข เจาฟาฯ กรมพระยา

ภาณุพันธุวงศวรเดช)

เมื่อทรงพระเยาวทรงไดรับการศึกษาทั้งดานวิชาการและโบราณราชประเพณีตามธรรมเนียม

เจาฟาพระราชกุมาร และมีครูสตรีชาวอังกฤษมาถวายพระอักษรภาษาอังกฤษเพิ่มเติมดวย ทรงไดรับ

สถาปนาเปนกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ แลวเลื่อนเปนกรมขุนพินิตประชานาถเม่ือ

พ.ศ. ๒๔๑๐ ตามลำดับ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวเสด็จสวรรคตในวันท่ี ๑ ตุลาคม

พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ซึ่งขณะนั้นพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา

ทรงไดรับราชสมบัติตามคำกราบบังคมทูลอัญเชิญของเจานายและเสนาบดีผูใหญที่ประชุมปรึกษา

เห็นพรอมกัน และมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ แตโดยท่ี

ยังทรงพระเยาว ในระยะเวลาหาปแรกในรัชกาล เจาพระยาศรีสุริยวงศ (ชวง บุนนาค ตอมาคือสมเดจ็

เจาพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ) จึงรับหนาที่เปนผูสำเร็จราชการแผนดิน สวนการในพระราชสำนักนั้น

สมเดจ็พระเจาบรมวงศเธอ เจาฟามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปกษทรงรบักำกบัดแูล ตราบจนกระทัง่

พระชนมพรรษาถึงเกณฑที่จะทรงผนวช ก็ไดทรงผนวช ณ พระพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวัง

ชั่วระยะเวลาสั้น ๆ มีสมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ เปนพระอุปธยาจารย

เมื่อทรงลาสิกขาแลว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเปนครั้งที่ ๒ เมื่อวันท่ี ๑๘ ตุลาคม

พ.ศ. ๒๔๑๖ และทรงรับราชภาระบริหารราชการแผนดินดวยพระองคเองสืบมา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงอยูในสิริราชสมบัติยาวนานกวาพระมหากษัตริย

ในอดีตกาล ไดทรงประกอบพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ในมงคลสมัยเมื่อทรงครอง

สิริราชสมบัติได ๔๐ ปเสมอดวยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แหงกรุงศรีอยุธยา อันเปนรัชสมัยที่ยืนยาว

ที่สุดเทาที่เคยปรากฏมาในพระราชพงศาวดาร

Page 216: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ตลอดเวลาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว (พ.ศ. ๒๔๑๑-พ.ศ. ๒๔๕๓)

ประเทศสยามอยูในชวงเวลาท่ีอาจเรียกไดวาเปนหัวเลี้ยวหัวตอระหวางยุคเกาและยุคใหม ภัยจากการ

ลาอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกปรากฏชัดเจน โดยเฉพาะอังกฤษไดเขาครอบครอง

อินเดีย พมา และมลายูจนหมดสิ้น ในขณะเดียวกันกับที่ฝรั่งเศสก็เขามายึดครองดินแดนในอินโดจีน

ทั้งญวน ลาว และเขมร ตั้งแตรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวแลว เหตุกระทบ

กระทั่งชายแดนระหวางไทยกับชาติมหาอำนาจทั้งสองจึงมีอยูเสมอ การภายในประเทศน้ันก็เปนเวลา

ที่ทรงพระราชดำริปฏิรูปบานเมืองในทุก ๆ ดาน เพ่ือใหทันตอความเปล่ียนแปลงของโลก และเกิด

ประโยชนยั่งยืนแกประเทศและประชาชนโดยสวนรวม กิจการทุกดานท่ีไดทรงวางรากฐานไวดีแลวใน

รัชกาล ไดเปนคุณานุคุณแกการพัฒนาประเทศในเวลาตอมาอยางแจงชัด

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงเปนพระมหากษัตริยไทยพระองคแรกท่ีไดเสด็จ

พระราชดำเนินเยือนตางประเทศอยางเปนทางการ เริ่มตั้งแต พ.ศ. ๒๔๑๓ เมื่อครองราชยไดเพียง

๒ ป ไดเสด็จประพาสสิงคโปรและชวา ตอจากน้ันไมนานก็ไดเสด็จเยือนประเทศอินเดียและพมา

ทรงไดพบเห็นและเปนโอกาสท่ีทรงไดศึกษาแบบแผนวิธีการปกครอง ตลอดถึงวิทยาการตาง ๆ ของชาติ

ตะวันตกดวยพระองคเอง การเสด็จฯ ตางประเทศครั้งสำคัญที่สุดในรัชกาลคือ การเสด็จพระราช-

ดำเนินเยือนประเทศตาง ๆ ในทวีปยุโรป ๒ คราว ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ และ พ.ศ. ๒๔๕๐ ซ่ึงเปนการแผ

พระเกียรติยศและเผยเกียรติภูมิของไทยในหมูชาติอารยะ และเปนปจจัยเกื้อกูลประการหน่ึงที่ทำให

ชาติตาง ๆ เกิดความคุนเคย ยอมรับ และเคารพอธิปไตยของสยามประเทศ

สวนภายในประเทศน้ัน ไดทรงพระราชอุตสาหะเสดจ็เยีย่มเยยีนทองถิน่ตาง ๆ เพือ่ทอดพระเนตร

และสดับตรับฟงทุกขสุขของพสกนิกร โดยเฉพาะอยางยิ่งตามหัวเมืองที่ราษฎรมิเคยมีโอกาสไดเฝารับ

เสด็จพระมหากษัตริยมาแตกอน เชน ทางเหนือนั้นไดเสด็จข้ึนไปจนถึงเมืองกำแพงเพชร ทางใตเสด็จ

หัวเมืองทั้งฝงดานอาวไทยและทะเลอันดามันจนตลอด เปนตน บางคราวเสด็จประพาสโดยไมเปดเผย

พระองค หากแตเสด็จเปนการลำลองดังที่เรียกวา “เสด็จประพาสตน” เพ่ือเปนชองทางใหทรงได

ใกลชดิและทราบความเปนจริงในพระราชอาณาจักรดวยพระองคเอง พระบาทสมเด็จพระจลุจอมเกลา

เจาอยูหัวจึงทรงเปนพระมหากษัตริยที่ทรงรูจักเมืองไทยและคนไทยอยางดียิ่งจากประสบการณตรง

ที่ไดเสด็จพระราชดำเนินไปยังทองถิ่นตาง ๆ

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวมีมากมายเปนอเนกประการ

แตทีอ่ยูในความทรงจำของอาณาประชาราษฎร ไดแก พระราชกรณยีกจิทีท่รงเลกิทาส อนัเปนประเพณี

บานเมืองมาชานานแตไมสมแกสมัย เพราะเปนการกดคนลงใชแรงงานโดยปราศจากอิสรเสร ี ดวยพระ

ปรีชาญาณยิ่งยวด ทรงเลิกทาสโดยใชวิธีผอนปรนไปเปนระยะ พอมีเวลาใหทั้งผูเปนนายทาสและ

ตัวทาสเองไดปรับตัว ปรับใจ พรอมกันนั้นก็ทรงเลิกระบบไพรอันเปนระบบเกณฑแรงงานชายวัยฉกรรจ

จากสามัญชนมาชวยราชการอันมีมาเกากอน และเปนอุปสรรคในการทำมาหาเล้ียงชีพโดยเสรีของ

Page 217: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ราษฎรท้ังหลายเสียดวยเชนกัน เมื่อทรงเลิกทั้งระบบทาสและระบบไพรเชนนี้เพื่อพัฒนาคนทุกหมู

เหลาใหมีความรูเปนกำลังของบานเมืองอยางแทจริง ไดทรงพระราชดำริเริ่มจัดการศึกษาในทุกระดับ

จากเดิมที่ศึกษากันแตเฉพาะในครอบครัวหรือตามวัดวาอารามในแบบธรรมเนียมเกา ทรงตั้งโรงเรียน

ของหลวงขึ้น เพื่อใหการศึกษาแกคนทุกชั้น ตั้งแตเจานายในราชตระกูลเปนตนไปจนถึงราษฎรสามัญ

ในตอนกลางและตอนปลายรัชกาล การศึกษาเจริญกาวหนามากข้ึน จนถึงมีโรงเรียนวิชาชีพชั้นสูง

หลายแหงเกิดขึ้น เชน โรงเรียนนายรอย โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนกฎหมาย โรงเรียนแพทยาลัย และ

โรงเรียนยันตรศึกษา เปนตน รวมทั้งโรงเรียนมหาดเล็กท่ีทรงตั้งข้ึนฝกหัดคนเขารับราชการก็ดำเนินงาน

กาวหนาสมพระราชประสงค และเปนรากฐานสำหรับการอุดมศึกษาของประเทศในเวลาตอมา

พระราชกรณียกิจขอสำคัญอีกประการหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว คือ

การปฏิรูประบบการเงินการคลังของประเทศและการปฏิรูประบบบริหารราชการแผนดิน ดานการเงิน

การคลังนั้น ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒนขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ เพื่อจัดระบบรายรับของประเทศให

เต็มเม็ดเต็มหนวยขึ้นกวาแตกอน ทดแทนวิธีการท่ีใชเจาภาษีนายอากรเปนเครื่องมือ และมีหนทาง

รั่วไหลมาก ทำใหราชการแผนดินมีรายรับเพิ่มพูนขึ้นเปนอันมาก พอใชจายในการพัฒนาประเทศ สวน

การบริหารราชการแผนดินนั้น จากระบบเดิมท่ีเริ่มตนขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครั้ง

กรุงศรีอยุธยา มีอัครมหาเสนาบดี ๒ ตำแหนง คือ สมุหนายกและสมุหกลาโหม มีเสนาบดีจตุสดมภสี่

คือเวียง วัง คลัง และนา ภายหลังมีการแกไขเพิ่มเติมปรับเปล่ียนมาบางตามลำดับเวลา แตก็เปนการ

ยุงยากทับซอน และมีความไมชัดเจนในเรื่องอำนาจหนาที่ราชการอยูเปนอันมาก ประกอบกับราชการ

บานเมืองผันแปรไปตามยุคสมัย จึงทรงพระราชดำริแกไขระบบบริหารราชการแผนดินครั้งใหญเมื่อ

พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยทรงยกเลิกระบบเสนาบดีแบบเดิมเสีย แลวทรงแบงราชการเปนกระทรวงจำนวน ๑๒

กระทรวง ทรงแบงปนหนาที่ใหชัดเจน และเหมาะกับความเปนไปของบานเมืองในรัชสมัยของพระองค

พระราชกรณียกิจในสวนนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวทรงเห็นวา

การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากแบบเดิม เปนต้ังกระทรวง ๑๒ กระทรวงน้ี ตอง นับวาเปนการเปล่ียนแปลงอยางใหญหลวง ซึ่งเรียกไดอยางพูดกันตามธรรมดาวา “พลิกแผนดิน” ถาจะใชคำอังกฤษก็ตองเรียกวา “Revolution” ไมใช “Evolution” พระบาทสมเด็จพระพุทธเจาหลวงทรงเล็งเห็นการภายหนาอยางชัดเจน และทรงทราบการที่ลวงไปแลว เปนอยางดี ไดทรงพระราชดำริหตริตรองโดยรอบคอบ ไดทรงเลือกประเพณีการปกครอง ทั้งของไทยเราและของตางประเทศประกอบกัน ดวยพระปรีชาญาณอันยิ่งยวดไดทรง จัดการเปล่ียนแปลงวิธีการปกครองเปนลำดับมาลวนเหมาะกับเหตุการณและเหมาะกับเวลาไมชาเกินไป ไมเร็วเกินไป

Page 218: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระราชกรณียกิจขอสำคัญที่สุดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว คือการที่ทรง

รักษาอิสรภาพของชาติไวไดรอดปลอดภัย ในขณะที่ประเทศเพ่ือนบานโดยรอบทุกทิศตองตกเปน

อาณานิคมของชาติตะวันตกดังกลาวมาแลวขางตน แตชาติไทยสามารถดำรงอิสราธิปไตยอยูไดอยาง

นาอัศจรรย บางคราวเชนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) ฝร่ังเศสมีเหตุกระทบกระท่ังกับไทยอยาง

รุนแรง ถึงกับฝรั่งเศสสงกองเรือมาปดปากอาวสยาม แตดวยพระปรีชาสามารถดานวิเทโศบาย และ

ทรงพระขันติธรรมอดทนอยางยอดยิ่ง ทรงยอมสละประโยชนสวนนอยแมจนถึงดินแดนในพระราช-

อาณาเขตบางสวน เชน ดินแดนฝงซายของแมน้ำโขง ดินแดนสวนท่ีเรียกวาเขมรตอนใน ประกอบดวย

เมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ และดินแดนตอนใตของประเทศ ประกอบดวย

เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานู เปนตน แลกกับประโยชนสวนใหญคือความเปนเอกราช

ของชาติ กรุงสยามจึงรักษาความเปนไทยมาไดโดยสวัสดี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวยังมีพระราชกรณียกิจอีกมากมายเกินจะพรรณนา

ทรงพระราชนิพนธหนังสือมากเรื่องหลายประเภท เชน พระราชพิธีสิบสองเดือน ไกลบาน และ

เงาะปา เปนตน ทรงริเริ่มกิจการสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะหลายชนิด ไมวาจะเปนกิจการ

ประปา ไฟฟา โทรศัพท ไปรษณียโทรเลข หรือกิจการรถไฟก็ตาม ทรงทำนุบำรุงพระศาสนา ทรงสราง

พระอารามหลายแหง เชน วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชบพิธ และวัดนิเวศนธรรมประวัติ เปนตน ทรง

ปรับปรุงระบบกฎหมายและระบบศาลยุติธรรมของประเทศ ทรงตั้งศิริราชพยาบาล ทรงพัฒนากองทัพ

ทั้งทัพบกและทัพเรือใหทันสมัย ทรงปรับปรุงกิจการตำรวจเพื่อรักษาความสงบเรียบรอยภายใน ทรง

สรางและปรับปรุงถนนหนทางการคมนาคมท้ังทางบกทางน้ำ ฯลฯ อาจกลาวไดวาในแผนดินของ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว เมืองไทยเจริญข้ึนอยางผิดหูผิดตา และเปนความ

เปลี่ยนแปลงท่ีรวดเร็ว ทันแกความเปลี่ยนแปลงของโลกอยางพอเหมาะพอดี

ดวยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอยางลนพน ในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก อาณา

ประชาราษฎรไดพรอมใจกันเรี่ยไรสรางพระบรมรูปโดยสั่งจากโรงหลอท่ีกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

นอมเกลานอมกระหมอมถวายเปนของเฉลิมพระขวัญ ประดิษฐานพระบรมรูปที่ลานพระราชวังดุสิต

ดังที่เรียกกันในปจจุบันวา “พระบรมรูปทรงมา” ท่ีฐานพระบรมรูปมีคำจารึกซึ่งสมเด็จพระเจา

บรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธในนามของพสกนิกรท้ังปวง เฉลิมพระ

สมัญญาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัววา “พระปยมหาราช” อันแปลความวา

“พระมหากษัตริยผูทรงเปนที่รักยิ่งของมหาชน” และตรงกับใจของไพรฟาในแผนดินทั้งปวง พระบาท

สมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวไดเสด็จพระราชดำเนินทรงเปดพระบรมราชานุสาวรียแหงนี้ดวย

พระองคเอง เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวมีพระอัครมเหสี พระบรมราชเทวี พระราชเทวี

พระอัครชายา และพระราชชายา อาทิ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี

Page 219: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระพันปหลวง สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจา สมเด็จพระนางเจา

สุนันทากุมารีรัตน พระบรมราชเทวี และสมเด็จพระปตุจฉาเจาสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี มี

พระราชโอรสธิดารวมทั้งสิ้น ๗๗ พระองค

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตยที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.

๒๔๕๓ ณ พระท่ีนั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ดวยพระโรคพระวักกะพิการ สิริพระชนมพรรษา ๕๘

พรรษา ทรงดำรงอยูในสิริราชสมบัติ ๔๒ ปเศษ

พ.ศ. ๒๕๔๖ องคการการศึกษา วิทยาศาสตร และวัฒนธรรมแหงสหประชาชาติ (UNESCO)

ไดประกาศยกยองพระเกียรติคุณเปนบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะที่ทรงเปนพระมหากษัตริยที่ทรง

อุทิศพระองคเพื่อความผาสุกของอาณาประชาราษฎร

ธงทอง จันทรางศุ

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ (ฉบับแกไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: โรงพิมพชวนพิมพ, ๒๕๓๖.

จุลจอมเกลาเจาอยูหัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ทรงแถลง

พระบรมราชาธิบายแกไขการปกครองแผนดิน. กรุงเทพฯ: เอส. ซี. พริ้นทแอนดแพค, ๒๕๔๖. (กระทรวง

ยุติธรรมพิมพสนองพระเดชพระคุณในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ ๑๕๐ ป)``

Page 220: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมสาทิสลักษณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว ประดิษฐาน ณ มุขกระสันตะวันออก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

Page 221: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว พระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๖ แหงพระบรมราช

จกัรีวงศ เสดจ็พระราชสมภพเม่ือวนัเสารที ่๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ เปนพระราชโอรสพระองคที ่๒๙

ในพระบาทสมเด็จพระจลุจอมเกลาเจาอยูหวักบัสมเดจ็พระศรพีชัรนิทราบรมราชินนีาถ พระบรมราชชนนี

พระพันปหลวง มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชารวมพระชนนี ดังนี้

๑. สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน

๒. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจาฟามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จ

พระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว)

๓. สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาตรีเพ็ชรุตมธำรง

๔. จอมพล สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาจักรพงษภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

๕. สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาศิริราชกกุธภัณฑ

๖. พลเรือเอก สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาอัษฎางคเดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา

๗. สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณอินทราชัย

๘. พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว

ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเปนสมเด็จพระเจาลูกยาเธอ เจาฟามหาวชิราวุธฯ ไดทรงศึกษา

เบื้องตนในโรงเรียนราชกุมาร ซ่ึงอยูในพระบรมมหาราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถทรง

เลือกครูไทยและครูชาวตางประเทศถวายพระอักษรกอนเขาโรงเรียนราชกุมาร จนกระท่ังเสด็จไปทรง

ศึกษายังประเทศอังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจาฟามหาวชิรุณหิศ

สยามมกุฎราชกุมารทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ พระบาท

สมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ สถาปนาพระเจาลูกยาเธอ เจาฟามหา

วชิราวุธขึ้นเปนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗

ขณะมีพระชนมายุ ๑๓ พรรษา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จเขาทรงศึกษาในโรงเรียนนายรอยแซนดเฮิรสต ทรงไดรับ

ความรูวิชาทหารที่ทันสมัยทุกดานในขณะนั้น ตอมาทรงเขาศึกษาวิชาประวัติศาสตร กฎหมาย และ

การปกครอง ณ มหาวิทยาลัยออกฟอรด ซึ่งนายอาเธอร ฮัซซัล (Arthur Hassal) ผูที่ไดรับมอบหมาย

ใหเปนพระอาจารยเฉพาะพระองค กลาววา พระองคทรงมีความสามารถสูงมาก ทรงคนควาและทรง

พระราชนิพนธหนังสือทำนองวิทยานิพนธเรื่อง “สงครามสืบราชสมบัติโปแลนด (The War of Polish

Page 222: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

Succession)” ซึ่งไดตีพิมพใน พ.ศ. ๒๔๔๓ และมีผูแปลเปนภาษาฝรั่งเศสและภาษาไทย ในสวนฉบับ

ภาษาไทยนั้นพระยาบุรีนวราษฐ (ชวน สิงหเสนี) เปนผูแปลและบันทึกไววา “แปลยาก” แต

ก็ไดนำขึ้นทูลเกลาฯ ถวายใหพระองคทรงตรวจ

ขณะทรงดำรงตำแหนงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชไดปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวอยูอยางสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่ทรงศึกษา เชน เสด็จไป

รวมงานพระราชพิธีของพระราชวงศตาง ๆ ในยุโรป รวมท้ังเสด็จเยือนนานาประเทศเพื่อทรงกระชับ

ความสัมพันธและทอดพระเนตรกิจการบานเมืองและความกาวหนาทางวิทยาการ ขณะเดียวกันก็ทรง

ดำเนินกิจกรรมที่สนพระราชหฤทัย เชน โปรดอานผลงานของนักประพันธเอกทั้งชาวตะวันออกและ

ตะวันตก เริ่มทรงพระราชนิพนธกวีนิพนธและบทละครภาษาอังกฤษ โปรดเสด็จไปทอดพระเนตร

ละครและจัดการแสดงละครดวยพระองคเอง โปรดการต้ังสมาคมเพื่อทำกิจกรรมตาง ๆ รวมทั้งการ

ออกหนังสือพิมพดวย กลาวไดวาในชวงเวลา ๙ ปที่ประทับอยูที่ประเทศอังกฤษ พระองคไดทรงสั่งสม

ประสบการณและความรูความเขาใจเกี่ยวกับความเปนไปของโลกอยางเต็มเปยม ท้ังในดานการเมือง

การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ทำใหมีพระวิสัยทัศนที่ชัดเจนในอันที่จะทรง

ยกระดับประเทศสยามใหมีเกียรติและศักดิ์ศรี มีความเทาเทียมกับชาติอารยะท้ังหลาย และเปนท่ี

ยอมรับในสังคมโลก อันเปนการสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมชนกนาถในการพัฒนา

ประเทศใหมีความเจริญกาวหนาทันสมัยเพ่ือดำรงอยูไดอยางมีเอกราชดวย เห็นไดจากเมื่อพระองค

เสด็จนิวัตพระนครใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงเลือกเสนทางเสด็จพระราชดำเนินผานประเทศสหรัฐอเมริกา

และญี่ปุน ไดทรงพบกับประธานาธิบดีธีโอดอร รูสเวลต (Theodore Roosevelt) และทรงเขาเฝา

สมเด็จพระจักรพรรดิแหงญี่ปุน ทั้งยังเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมสถาบันการศึกษาชั้นนำและสถานท่ี

สำคัญทางศาสนา เศรษฐกิจ การศาล และการสาธารณสุขของทั้งสองประเทศ เพ่ือจะทรงนำมาเปน

แบบอยางในการพัฒนาองคกรตาง ๆ

หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจาฟามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร สำเร็จการศึกษา

จากตางประเทศ ไดเสดจ็พระราชดำเนินไปยังประเทศตาง ๆ หลายประเทศ เพ่ือปฏบิตัพิระราชกรณยีกจิ

แทนสมเด็จพระบรมชนกนาถและเจริญสัมพันธไมตรี ทรงศึกษางานทั้งประเทศในยุโรป อเมริกา ญี่ปุน

กอนเสด็จกลับถึงประเทศสยามใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ทำใหตางประเทศไดรูจักประเทศสยามมากขึ้นอันมี

ผลดีตอพสกนิกรชาวไทยเปนอยางมาก

เมื่อเสด็จกลับเมืองไทย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจาฟามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร

ทรงเขารับราชการทหาร และไดเสด็จออกผนวชเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ ตอมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระ

จุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงสถาปนาหอพระสมุดสำหรับพระนครข้ึน โปรดเกลาฯ ใหพระองคทรงดำรง

ตำแหนงสภานายกหอพระสมุด พระองคเอาพระทัยใสในพระราชกิจนี้เปนอยางยิ่ง สนพระทัยคนควา

ดานประวัติศาสตร โบราณคดี และวรรณคดีของชาติ และไดเสด็จประพาสหัวเมืองเพื่อทรงศึกษา

Page 223: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

โบราณวัตถุสถานและตำนานบานเมือง จนเปนที่มาของพระราชนิพนธอันทรงคุณคาดานประวัติศาสตร

และโบราณคดีหลายเร่ือง ในชวงเวลาเดียวกันนี้ ทรงริเริ่มออกหนังสือพิมพหลายฉบับ เชน ชวนหัว

และทวีปญญา ทำใหกิจการหนังสือพิมพของสยามขยายตัวมากข้ึน และเปนเวทีสำคัญของวรรณกรรม

ไทยรูปแบบใหมมากมายซึ่งพระองคเองทรงเปนผูริเริ่มท่ีสำคัญพระองคหนึ่ง ตอมาเม่ือพระบาท

สมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งท่ี ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ พระองคทรงไดรับ

พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกลาฯ ใหเปนผูสำเร็จราชการแผนดิน ซึ่งทรงปฏิบัติหนาท่ีไดเปนอยางดี

นอกจากนั้น ในชวงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ทรงไดรับมอบหมายให

กำกับราชการกระทรวงยุติธรรมแทนพระเจาลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซ่ึงกราบถวายบังคม

ลาออกจากตำแหนงเสนาบดี จึงนับไดวาทรงมีพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารประเทศไมนอย

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจาฟามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เปนท่ีวางพระราชหฤทัย

ทรงงานตางพระเนตรพระกรรณและปฏิบัติราชการแทนสมเด็จพระบรมชนกนาถ ดวยพระปรีชา

สามารถของพระองคในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจตาง ๆ ทำใหเปนที่รักและยอมรับทั่วไปในคณะ

ขาราชบริพารและพสกนิกร

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวสวรรคตในวันอาทิตยที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจาฟามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร จึงเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ

เปนพระมหากษัตริยพระองคที่ ๖ ในพระบรมราชจักรีวงศ พระราชลัญจกรประจำรัชกาลคือ

พระวชิระซึ่งมาจากพระนามาภิไธย มหาวชิราวุธ (หมายถึงสายฟาอันเปนศัสตราวุธของพระอินทร)

เปนตรางา รูปรี กวาง ๕.๔ ซม. ยาว ๖.๘ ซม. มีรูปวชิราวุธเปลงรัศมีที่ยอด ประดิษฐานบนพาน

แวนฟา ๒ ชั้น มีฉัตรบริวารต้ังขนาบทั้ง ๒ ขาง ในวันมงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ไดมีพระบรม

ราชโองการพระราชทานแกประชาชนดวยภาษามคธและภาษาไทยวา “ดูกรพราหมณ บัดนี้เราทรงราชการครองแผนดินโดยธรรมสม่ำเสมอเพื่อประโยชนเกื้อกูลและสุขแหงมหาชน เราแผราชอาณาเหนือทานทั้งหลายกับโภคสมบัติ เปนที่พึ่งจัดการปกครองรักษาปองกัน อันเปนธรรมสืบไป ทาน ทั้งหลายจงวางใจอยูตามสบายเทอญฯ”

หลงัจากพระราชพิธบีรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกฎุเกลาเจาอยูหวัมพีระราชกรณยีกจิ

อันเปนคุณูปการตอประชาชนชาวสยามและประเทศมากมาย ดวยพระปรีชาสามารถดุจนักปราชญของ

พระองค โดยทรงวางแผนการพัฒนาดานตาง ๆ เริ่มจากที่พระองคมีพระราชดำริในการท่ีจะนำพา

ประเทศไปสูความเจริญใหทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ซ่ึงทรงเนนการใหการศึกษาแกพสกนิกรเปน

ประการสำคัญ ทรงสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมมหาราชวัง (ตอมาพัฒนาเปน

วชิราวุธราชวิทยาลัยในตนรัชกาลที่ ๗) และโรงเรียนขาราชการพลเรือน (ตอมาเปนจุฬาลงกรณ

มหาวทิยาลยัใน พ.ศ. ๒๔๕๘) จากนัน้เพือ่ใหการศกึษาขยายไปท่ัวประเทศ ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ

ใหตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาใหเปนการศึกษาภาคบังคับใน พ.ศ. ๒๔๖๔

Page 224: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระราชกรณียกิจการพัฒนาประเทศท่ีสำคัญคือ พระองคทรงเปล่ียนธงชาติซึ่งมีรูปชางเดิมให

เปน “ธงไตรรงค” เชนในปจจุบัน ทรงพัฒนากองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ โดยสงนายทหาร

ไปฝกการทหารที่ตางประเทศ ซื้อเรือรบที่มีสมรรถภาพที่สูงขึ้น เชน เรือเสือคำรณสินธุ เรือรบหลวง

พระรวง เปนตน ครั้นเกิดสงครามโลกครั้งท่ี ๑ ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงสงทหารไปรวมรบในสมรภูมิ

ยุโรป โดยทรงประกาศรวมกับฝายสัมพันธมิตรอันเปนฝายชนะสงคราม ทำใหเกิดประโยชนตอประเทศ

สยามขณะน้ัน เพราะใน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระองคโปรดเกลาฯ ให ดร.ฟรานซีส บี แซยร เจรจาติดตอกับ

ประเทศตาง ๆ ๙ ประเทศ ทำใหมีผลประโยชนอยูในประเทศ ไดสิทธิอำนาจทางศาลและการเก็บภาษี

ในพระราชอาณาเขต หลุดพนจากการควบคุมของตางชาติทั้งทางตรงและทางออม (แกไขสนธิสัญญา

เบาวริง)

นอกจากนั้นสิ่งสำคัญที่พระองคทรงเห็นวาประชาชนทุกคนก็สามารถมีสวนชวยประเทศชาติให

เกิดความมั่นคงไดเชนเดียวกับทหาร จึงทรงจัดตั้งองคการลูกเสือและเสือปา โดยมีพระราชประสงค

ที่จะใหพสกนิกรของพระองครูสึกวาความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย ความสามัคคีในหมูคณะ

ไมทำลายซึ่งกันและกัน เปนมูลฐานแหงความมั่นคง จะทำใหชาติบานเมืองดำรงความเปนไทยอยูได

ทั้งยังทรงสงเสริมความเปนประชาธิปไตยโดยทรงทดลองการจัดตั้งเมืองจำลอง เมืองมัง เมืองทราย ซึ่ง

เปนตนกำเนิดของดุสิตธานี มีการปกครองตาม “ธรรมนูญลักษณะการปกครองของคณะนคราภิบาล

พ.ศ. ๒๔๖๑” ทรงทดลองการปกครอง การพัฒนาดานตาง ๆ ควบคูกันไปตามหลักประชาธิปไตย

ผลการทดลองในดุสิตธานีนั้นไดทรงนำมาปรับใชในการบริหารประเทศไดอยางเหมาะสมอยางคอยเปน

คอยไป

พระราชกรณียกิจในการสรางความเจริญกาวหนาใหกับประเทศอีกดานหนึ่ง คือพระราช-

กรณียกิจเพ่ือการพัฒนาเศรษฐกิจ ทรงจัดต้ังคลังออมสิน (ตอมาคือธนาคารออมสิน) เพ่ือฝกใหราษฎร

รูจักเก็บสะสมทรัพย และโปรดเกลาฯ ใหเลิกการพนันบอนเบ้ียซึ่งเปนเหตุทำลายความมั่นคงทาง

เศรษฐกิจของประเทศ ทรงมองการณไกลวาเมื่อประเทศชาติรุงเรืองแลว จะตองใชซีเมนตจำนวนมาก

เพื่อกอสรางอาคารบานเรือนตามแบบอารยประเทศ จึงทรงกอตั้งบริษัทปูนซีเมนตไทยขึ้น นับเปนการ

ฝกหัดคนไทยใหรูจักประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ ในดานการเกษตรทรงโปรดเกลาฯ ให

ขยายการขุดคลองและคูนา รวมท้ังจัดสรางเขื่อนพระราม ๖ ซึ่งเปนเขื่อนทดและสงน้ำแหงแรก การ

พัฒนาระบบชลประทานของพระองคชวยใหผลิตผลทางการเกษตรของประเทศเพ่ิมมากขึ้น เม่ือทรง

พัฒนาดานการเกษตรแลวไดทรงพัฒนาระบบการคมนาคมเพื่อรองรับการขนสงสินคาดวย กลาวคือ

ทรงปรับปรุงและขยายกิจการรถไฟท้ังสายเหนือ สายอีสาน สายตะวันออก และสายใต และสราง

สะพานพระราม ๖ เชื่อมทางรถไฟทั้งหมดโยงเขามาสูสถานีหัวลำโพง แลวโปรดเกลาฯ ใหตัดถนนเชื่อม

ตอจากแนวทางรถไฟออกไปยังทองที่ตาง ๆ รวมท้ังสรางสะพานจำนวนมากในกรุงเทพฯ กิจการบินก็

เปนสิ่งที่ทรงริเริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระองคดวย

Page 225: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

แมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวจะทรงพระปรีชาสามารถทางดานการปกครอง ทรง

มีความเปนประชาธิปไตย แตชาวไทยและชาวตางประเทศก็รูจักพระองคและยกยองพระองคทางดาน

อักษรศาสตรมากกวา ดวยพระอุปนิสัยที่ทรงเปนศิลปน มีพระราชนิพนธมากมายทั้งภาษาไทยและ

ภาษาอังกฤษ พระนามแฝงที่ทรงใชในการพระราชนิพนธงานท้ังหนังสือพิมพ วรรณกรรม วรรณคดี

เชน พระขรรคเพชร ศรีอยุธยา นายแกวนายขวัญ อัศวพาหุ รามกิตติ นายราม ณ กรุงเทพฯ ราม

วชริาวธุ ป.ร.ราม Sri Ayudya Sri Ayoothya Phra Khan Bejra เปนตน คณะกรรมการรวบรวม

และคนควาเกี่ยวกับพระราชนิพนธของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว (กรว. พ.ศ. ๒๕๒๔)

ไดศึกษารวบรวมไวแบงเปน ๗ หมวด คือ หมวดโขน-ละคร ๑๘๗ เร่ือง พระราชดำรัสเทศนา ฯลฯ

๒๒๙ เรื่อง นิทาน เรื่องชวนหัว ๑๕๙ เร่ือง บทความที่ลงหนังสือพิมพ ๓๑๖ เรื่อง รอยกรอง

๑๕๑ เรื่อง สารคดี ๑๙๔ เรื่อง และอื่น ๆ อีกเปนจำนวนมาก

ดวยความที่ทรงเปนนักอักษรศาสตร พระองคพระราชทานนามสกุลใหแกขุนนาง ขาราชบริพาร

ถึง ๖,๔๖๐ สกุลเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหคนไทยมีนามสกุลใช ทรงใชศัพทบัญญัติที่เปน

คำไทยพระราชทานเปนชื่อถนน ทรงตั้งวรรณคดีสโมสรเพื่อพิจารณางานวรรณกรรมตาง ๆ ตั้งแตสมัย

สุโขทัยเปนตนมา และพระราชนิพนธของพระองคไดรับการประกาศยกยองถึง ๓ เรื่องวาเปนเลิศ คือ

หวัใจนกัรบเปนเลศิประเภทบทละครพูด พระนลคำหลวงเปนหนงัสอืดแีละแตงดใีนกวนีพินธ มทันะพาธา

เปนเลิศดานบทละครพูดคำฉันท ตอมาในภายหลัง องคการการศึกษา วิทยาศาสตร และวัฒนธรรม

แหงสหประชาชาติ (UNESCO) ไดยกยองพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวเปน “ปราชญสยาม

คนที่ ๕” นอกจากน้ียังทรงไดรับพระสมัญญานามวา “สมเด็จพระมหาธีรราชเจา” ซ่ึงเปนพระ

สมัญญานามที่พสกนิกรยอมรับและเทิดทูนพระองคตลอดมา

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวมีพระมเหสี พระสนม และพระคูหมั้น ตามลำดับดังนี้

๑. หมอมเจาหญิงวัลลภาเทวี วรวรรณ พระคูหมั้น ไดสถาปนาเปนพระวรกัญญาปทาน

พระองคเจาวัลลภาเทวี แตภายหลังทรงถอนหมั้น และโปรดเกลาฯ ใหออกพระนามวา “พระเจา

วรวงศเธอ พระองคเจาวัลลภาเทวี”

๒. หมอมเจาหญิงลักษมีลาวัณ พระขนิษฐาพระองคเจาวัลลภาเทวี หลังอภิเษกสมรส

โปรดเกลาฯ สถาปนาเปน “พระนางเธอลักษมีลาวัณ”

๓. คุณเปรื่อง สุจริตกุล ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ เปนพระสนมเอกที่ “พระสุจริตสุดา”

๔. คุณประไพ สุจริตกุล ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ เปนพระอินทราณี พระสนมเอก ตอมา

ไดรับการสถาปนาพระอิสริยยศเปน “สมเด็จพระนางเจาอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา”

๕. คุณเครือแกว อภัยวงศ ทรงไดรับสถาปนาเปนเจาจอมสุวัทนา เม่ือทรงพระครรภไดรับ

การสถาปนาพระอิสริยยศเปน “พระนางเจาสุวัทนา พระวรราชเทวี”

Page 226: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวทรงพระประชวรอยู พระนางเจาสุวัทนา

พระวรราชเทวี มีพระประสูติกาลพระราชธิดา คือสมเด็จพระเจาภคินีเธอ เจาฟาเพชรรัตนราชสุดา

สิริโสภาพัณณวดีในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ (สิ้นพระชนมวันพุธท่ี ๒๗ กรกฎาคม

พ.ศ. ๒๕๕๔)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวเสด็จสวรรคตในวันท่ี ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘

เวลา ๑.๔๕ น. ดวยพระโรคพระโลหิตเปนพิษในอุทร พระชนมายุ ๔๕ พรรษา ทรงดำรงสิริราชสมบัติ

นาน ๑๕ ป

ใกลรุง อามระดิษ

สุวัสดา ประสาทพรชัย

เอกสารอางอิง

กรมศิลปากร. สำนักหอสมุดแหงชาติ. ประมวลภาพประวัติศาสตรไทยพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมัยรัตนโกสินทร.

กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๐.

ธนาคารออมสิน. สมเด็จพระมหาธีรราชเจา: หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีนครินทรมหา

วชิราวุธ พระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวพระราชทานกำเนิดธนาคารออมสิน ในวโรกาสฉลองพระบรมราชครบ ๑๒๐ ป

(๖ ตอน). กรุงเทพฯ: สไตลครีเอทีฟเฮาส, ๒๕๔๕.

ราม วชิราวุธ. ประวัติตนรัชกาลที่ ๖. พิมพครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๒.

เสถียร พันธรังสี. พระมงกุฎเกลาและเจาฟาเพชรรัตน. พิมพครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: ศยาม, ๒๕๕๒.

องคการโทรศัพทแหงประเทศไทย. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นต้ิงแอนด

พับลิชช่ิง, ๒๕๔๓.̀̀

Page 227: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมสาทิสลักษณพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว ประดิษฐาน ณ มุขกระสันตะวันออก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

Page 228: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว

พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวเปนพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอม

เกลาเจาอยูหัวกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพเม่ือวันพุธท่ี

๘ พฤศจกิายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ไดรบัพระราชทานพระนามวา สมเด็จพระเจาลกูยาเธอ เจาฟาประชาธปิก

ศักดิเดชนฯ ทรงเร่ิมศึกษาตามประเพณีขัตติยราชกุมาร ทรงเปนนักเรียนนายรอยพิเศษในโรงเรียน

นายรอยชั้นประถม มีพระอาจารยถวายอักษรเพิ่มเติมวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษในพระราชวัง

ดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงพระกรุณาโปรดเกลาโปรดกระหมอมใหจัดการ

พระราชพิธีโสกันตพระราชทานเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ภายหลังพระราชพิธีโสกันตแลว มี

พระบรมราชโองการโปรดเกลาฯ สถาปนาเปนสมเดจ็พระเจาลกูยาเธอ เจาฟาฯ กรมขุนสโุขทยัธรรมราชา

ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ เสด็จไปทรงศึกษาวทิยาการในประเทศยุโรป ณ วทิยาลยัอตีนั (Eton College)

ประเทศอังกฤษ จากนั้นใน พ.ศ. ๒๔๕๔ - พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงศึกษาวิชาทหารปนใหญมาโรงเรียน

นายรอยเมืองวูลิช (Royal Military Academy, Woolwich) ประเทศอังกฤษ และเสด็จไปประจำกรม

ทหารปนใหญมาอังกฤษ ณ เมืองออลเดอชอต (Aldershot) เพื่อทรงศึกษาและฝกฝนหนาท่ีนายทหาร

แตเนื่องจากภาวะสงครามในยุโรปลุกลามจนกลายเปนสงครามโลกคร้ังที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ พระบาท

สมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหเสด็จนิวัตประเทศไทย

ใน พ.ศ. ๒๔๕๘ ทรงรับราชการในตำแหนงนายทหารคนสนิทของจอมพล สมเด็จพระอนุชา

ธิราช เจาฟาฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ตอมาไดรับพระราชทานเลื่อนขึ้น

เปนผูบังคับกองรอยทหารปนใหญรักษาพระองคและทรงดำรงพระยศเปนนายรอยเอก จากน้ันทรงยาย

ไปรับราชการประจำกรมบัญชาการกองทัพนอยที่ ๒ ในตำแหนงนายทหารฝายเสนาธิการ และไดเลื่อน

พระยศเปนนายพันตรี ตำแหนงผูบังคับการโรงเรียนนายรอยชั้นประถม วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.

๒๔๖๐ ทรงลาราชการเพ่ือทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และประทับ

จำพรรษาจนครบไตรมาส ณ พระตำหนักทรงพรต วัดบวรนิเวศวิหาร เม่ือทรงลาสิกขาแลวกราบ

บังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอภิเษกสมรสกับหมอมเจาหญิงรำไพพรรณี

สวัสดิวัตน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ประกอบพิธีอภิเษก

สมรสพระราชทานในวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ณ พระท่ีนั่งวโรภาสพิมาน พระราชวังบางปะอิน

และมีพิธีขึ้นตำหนักใหม วังศุโขทัย ถนนสามเสน

ใน พ.ศ. ๒๔๖๔ พันโท สมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชาและ

พระชายาไดเสด็จยุโรปเพื่อรักษาพระองค เมื่อแพทยวินิจฉัยพระโรคแลว ยืนยันวาไมไดเปนอะไร

Page 229: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

รายแรง จึงตัดสินพระทัยเขาศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบกฝรั่งเศส (École de Guerre) มี

พระสหายรวมรุนที่ตอมามีบทบาทสำคัญทางการทหารและการเมืองของฝรั่งเศสคือ รอยเอก ชารล

เดอ โกลล (Charles de Gaulle) ซ่ึงตอมาคือประธานาธิบดีฝรั่งเศส ทรงสำเร็จการศึกษาในเดือน

กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๗

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งใหเลื่อนสมเด็จพระเจา

นองยาเธอ เจาฟาประชาธิปกศักดิเดชน กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ข้ึนเปนสมเด็จพระเจานองยาเธอ

เจาฟาฯ กรมหลวง และทรงสถาปนาขึ้นเปนรัชทายาทในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๗ เมื่อพระบาท

สมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวเสด็จสวรรคต พระบรมวงศานุวงศชั้นผูใหญทรงอัญเชิญสมเดจ็พระเจา

นองยาเธอ เจาฟาประชาธปิกศกัดเิดชน กรมหลวงสโุขทยัธรรมราชาขึน้เปนพระมหากษัตรยิรัชกาลที่ ๗

แหงพระราชวงศจักรี ไดประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ พ.ศ. ๒๔๖๘

พระราชทานปฐมบรมราชโองการวา “…ดูกรพราหมณ บัดนี้เราทรงราชภาระ ครองแผนดินโดยธรรม สม่ำเสมอ เพื่อประโยชนเกื้อกูลและสุขแหงมหาชน เราแผราชอาณาเหนือทานท้ังหลายกับโภคสมบัต ิ เปนที่พึ่งจัดการปกครองรักษาปองกันอันเปนธรรมสืบไป ทานทั้งหลายจงวางใจอยูตามสบายเทอญฯ”

พระราชกรณียกิจดานการศึกษาและการศาสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวทรง

ปฏิรูปมหาวิทยาลัยโดยทรงสรางกลไกการปฏิรูป คือ แตงตั้งคณะกรรมการปฏิรูปจุฬาลงกรณ

มหาวิทยาลัย เพ่ือเปนพลังขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาใหเกิดผลเร็วขึ้นและบรรลุผลทั่วทั้งแผนดิน

นับเปนครั้งแรกที่ผูหญิงและผูชายไดรับความเสมอภาคทางการศึกษา ใหมีโอกาสเขารับการศึกษาระดับ

ปริญญาตรี คณะแพทยศาสตร โดยเปดรับนิสิตหญิงเขาเรียนเตรียมแพทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ จำนวน

๗ คน และยกระดับมาตรฐานการศึกษาของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยสูระดับปริญญาตรีอยางสมบูรณ

คือ การประสาทปริญญาเวชชบัณฑิตชั้นตรี (แพทยศาสตรบัณฑิต) เปนครั้งแรกเม่ือวันท่ี ๒๕ ตุลาคม

พ.ศ. ๒๔๗๓

สวนทางดานศาสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวทรงจัดพิมพพระไตรปฎกฉบับพิมพ

อักษรไทยสมบูรณ ขนานนามวา “พระไตรปฎกสยามรัฐ” จัดพิมพจำนวน ๑,๕๐๐ จบ (จบหน่ึงมี ๔๕

เลม) พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ และแจกจายไปตามมหาวิทยาลัยและหอสมุด

นานาชาติทั่วโลกจำนวน ๔๕๐ จบ อีก ๘๕๐ จบ พระราชทานแกผูบริจาคทรัพยเพื่อขอรับพระ

ไตรปฎก (อตัราจบละ ๔๕๐ บาท) นอกจากนีโ้ปรดเกลาฯ ใหมกีารประกวดแตงหนงัสอืสอนพระพุทธ-

ศาสนาสำหรับเด็ก โดยโปรดเกลาฯ ใหราชบัณฑิตสภา (ปจจุบันคือราชบัณฑิตยสถาน) ทำหนาที่ออก

ประกาศเชิญชวนและคัดเลือกหนังสือเรื่องที่แตงด ีเห็นสมควรไดรับพระราชทานรางวัลนำขึ้นทูลเกลาฯ

ถวายเพ่ือทรงตัดสินวาเร่ืองใดสมควรไดรับรางวัลที่ ๑ หรือที่ ๒ และมีพระมหากรุณาธิคุณทรง

พระราชนิพนธคำนำใหเปนเกียรติแกผูแตงดวย หนังสือเรื่องแรกที่ไดรับพระราชทานรางวัลประจำป

พ.ศ. ๒๔๗๒ เปนพระนิพนธของหมอมเจาหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล เรื่อง “สาสนคุณ” แตนั้นมาพระบาท

Page 230: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

สมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวโปรดเกลาฯ ใหจัดประกวดแตงหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก

และจัดพิมพแจกจายในพระราชพิธีวิสาขบูชาเปนประจำทุกป ซ่ึงไดมีการดำเนินการสืบมาจนถึงรัชกาล

ปจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวมีพระราชดำริที่จะปรับปรุงการปกครองทองถ่ินใหเปน

แบบเทศบาล เพื่อใหเปนพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยตั้งแตตนรัชกาล เม่ือทรงสราง

“สวนไกลกังวล” เปนที่ประทับที่หัวหินแลว โปรดเกลาฯ ใหตราพระราชบัญญัติการจัดสภาบำรุงสถาน

ที่ทะเลฝงตะวันตก พุทธศักราช ๒๔๖๙ เพ่ือเปนแนวพระราชดำริใหประเทศปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตยในภายหนา “สภาบำรุงฯ” จึงเปนการทดลองปกครองตนเองระดับทองถ่ินในรูปแบบ

municipality หรือประชาภิบาล (ภายหลังเรียกวาเทศบาล)

แนวพระราชดำริที่จะใหระบอบประชาธิปไตยหย่ังรากลึกนั้น จะตองใหประชาชนมีความรูความ

เขาใจระบอบการเมืองการปกครอง โดยใหประชาชนมีสวนรวมและมีความคุนเคยกับการปกครอง

ตนเองในระดับทองถิ่น ปรากฏชัดเจนในพระราชบันทึก “Democracy in Siam” ซึ่งตอมาคณะ

ราษฎรเล็งเห็นความจำเปนที่จะตองมีการปกครองทองถิ่นในรูปของเทศบาล เพ่ือใหเปนรากฐานแหง

การปกครองระบอบประชาธิปไตย และปลูกฝงใหราษฎรเขาใจถึงคุณประโยชนของการปกครองใน

ระบอบรัฐสภา จึงใหประกาศพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๗๖

พระราชดำริสำคัญอีกประการหนึ่งคือระเบียบขาราชการ พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว

มีพระราชดำริที่จะวางระเบียบขาราชการพลเรือนเปนขาราชการอาชีพ โดยไมแสวงหาผลประโยชน

ทางอื่น เปดโอกาสใหผูมีความรูดีเขารับราชการ มีระบบสรรหาเปนกลางและยุติธรรม มีระเบียบวินัย

เปนแบบแผนเดียวกันเพื่อใหขาราชการไดรับความเปนธรรม รวมทั้งมีสิทธิหรือหนาที่ตอราชการเสมอ

เหมือนกัน

พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวมีพระราชดำริเรื่องการปกครองระบอบพระมหากษัตริย

อยูภายใตรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ไดมีพระราชหัตถเลขาถึงพระยากัลยาณไมตรี

(Dr. Francis B. Sayre) ในหัวเรื่อง “Problems of Siam” ประกอบดวยพระราชปุจฉา ๙ ขอ เกี่ยว

กับสภาพการณทางการเมืองที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยูในตอนตนรัชกาล พระยากัลยาณไมตรีตอบ

พระราชปุจฉาทุกขอ และไดทูลเกลาฯ ถวายรางรัฐธรรมนูญฉบับสั้นๆ ๑๒ มาตรา แสดงถึงโครงสราง

ของรฐับาลทีค่วรจะเปนตามความเห็นของพระยากัลยาณไมตรี โดยใชชือ่วา “Outline of Preliminary

Draft” นับเปนรางรัฐธรรมนูญฉบับแรก พ.ศ. ๒๔๖๙ สวนรางรัฐธรรมนูญฉบับที ่๒ นั้น โปรดเกลาฯ

ใหนายเรมอนด บี. สตีเวนส (Raymond B. Stevens) ที่ปรึกษากระทรวงการตางประเทศ และพระยา

ศรีวิสารวาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงการตางประเทศรวมกันยกราง แลวเสร็จในวันที่ ๙ มีนาคม

พ.ศ. ๒๔๗๕ กอนเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เพียง ๓ เดือนเศษเทานั้น

รางรัฐธรรมนูญนี้ เปนภาษาอังกฤษมีชื่อวา “An Outline of Changes in the Form of

Page 231: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

Government” เนื้อหาสำคัญคือกำหนดรูปแบบการปกครอง ความสัมพันธระหวางอำนาจบริหาร

และนิติบัญญัติ ตลอดจนวิธีการเลือกตั้งและแตงตั้งสมาชิกสภาผูแทนราษฎร ซึ่งหลักการดังกลาว

ปรากฏอยูในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผนดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕

อน่ึง ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ กรุงรัตนโกสินทรครบ ๑๕๐ ป ในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกลา

เจาอยูหัวโปรดเกลาฯ ใหมีพระราชพิธีฉลองพระนคร ๑๕๐ ป และโปรดใหสรางสะพานสมเด็จพระ

พุทธยอดฟา และพระบรมราชานุสาวรียพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกขึ้นเปนที่ระลึก

อยางไรกต็าม เชาตรูวนัที่ ๒๔ มถินุายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ณ ลานพระทีน่ัง่อนนัตสมาคม พระราชวงั

ดุสิต พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน พหลโยธิน) หัวหนา “คณะราษฎร” อานประกาศ

คณะราษฎร ฉบับที่ ๑ มีเนื้อหาโจมตีพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว ความไมเหมาะสม

ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชยและความจำเปนที่จะตองเปล่ียนแปลงการปกครองไปสูระบอบ

พระมหากษัตริยอยูภายใตรัฐธรรมนูญ รวมท้ังประกาศหลัก ๖ ประการในการปกครอง คณะราษฎร

สามารถยึดอำนาจในกรุงเทพฯ ได แลวจับกุมพระบรมวงศและขาราชการตำแหนงสำคัญ ๆ ไวเปน

ตัวประกัน และไดมีหนังสือกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวเสด็จพระราช-

ดำเนินคืนสูพระนคร เปนพระมหากษัตริยภายใตรัฐธรรมนูญ

วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎรนำรางพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง

แผนดินสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ พรอมดวยรางพระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปล่ียนแปลงการ

ปกครองแผนดิน พุทธศักราช ๒๔๗๕ ขึ้นทูลเกลาฯ ถวาย ณ วังศุโขทัย เพื่อลงพระปรมาภิไธย

พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวไดลงพระปรมาภิไธยเฉพาะรางพระราชกำหนดนิรโทษกรรมใน

คราวเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ เพียงฉบับเดียว สวนรางพระราชบัญญัติธรรมนูญ

การปกครองแผนดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ นั้น ไมทรงลงพระปรมาภิไธย ทรงรับไวพิจารณาและ

โปรดเกลาฯ นัดหมายใหคณะราษฎรมาเฝาในวันรุงขึ้น เม่ือไดทรงพิจารณาโดยถ่ีถวนแลวไดลง

พระปรมาภิไธยและทรงเติมคำวา “ชั่วคราว” ในช่ือของรัฐธรรมนูญฉบับแรก พระราชบัญญัติ

ธรรมนูญการปกครองแผนดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ ประกาศใชวันที่ ๒๗ มิถุนายน

พ.ศ. ๒๔๗๕

เมื่อคณะราษฎรไดปกครองประเทศระยะหน่ึง หลักการและการกระทำบางประการของคณะ

ราษฎรขัดแยงกับพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว กอปรกับพระพลานามัยเสื่อม

ลง และเสถียรภาพการเมืองที่ยังไมมั่นคงนัก พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวจึงเสด็จ

พระราชดำเนินไปผาตัดพระเนตรพรอมดวยสมเด็จพระนางเจารำไพพรรณี พระบรมราชินี ณ ประเทศ

อังกฤษ เม่ือวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖ หลังจากทรงรับการผาตัดแลว ความขัดแยงระหวาง

พระองคกับคณะรัฐบาลยังคงดำเนินตอไป ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวพระราชทาน

พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติในวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ขณะประทับ ณ พระตำหนักโนล

Page 232: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

(Knowle House) เมืองแครนลี (Cranleigh) มณฑลเซอรเรย (Surrey) ประเทศอังกฤษ

หลังจากทรงสละราชสมบัติแลว พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวและสมเด็จพระบรม-

ราชินีประทับอยูที่ประเทศอังกฤษ โดยทรงใชพระนามและพระอิสริยยศเดิมคือ สมเด็จเจาฟา

ประชาธิปกศักดิเดชน กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา และทรงยายที่ประทับจากพระตำหนักโนล ซ่ึงมี

ขนาดใหญ คาเชาแพง และคอนขางทึบ ไมเหมาะสมกับพระพลานามัยไปประทับท่ีพระตำหนักใหม

ขนาดเล็กลง คอื พระตำหนัก “เกลน แพมเมนต” (Glen Pamment) หลังจากประทบัอยูทีพ่ระตำหนกั

เกลน แพมเมนต ประมาณ ๒ ป พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวทรงมีพระพลานามัยทรุดโทรม

ลง ทรงประชวรดวยโรคพระหทัย ทรงซื้อพระตำหนักใหมขนาดเล็กลงช่ือ “เวนคอรต” (Vane Court)

เมื่ออังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๒ พระบาท

สมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวทรงยายไปประทับที่พระตำหนักคอมพตัน (Compton House)

พระตำหนักขนาดเล็กที่สุดในบรรดาพระตำหนักตาง ๆ ที่ประทับมากอน ดวยสภาวะสงคราม ความ

เปนอยูยากลำบาก ขาดแคลนอาหาร ตองระวังการโจมตีทางอากาศ พระบาทสมเด็จพระปกเกลา

เจาอยูหัวทรงยายท่ีประทับชั่วคราวไปอยูที่พระตำหนักสแตดดอน (Staddon) นอรท เดวอน (North

Devon) ภาคตะวันตกเฉียงใตของเกาะอังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ พระสุขภาพพลานามัยของพระบาท

สมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวทรุดลง ตองทรงยายกลับไปประทับ ณ พระตำหนักคอมพตัน (Compton

House) อีกคร้ัง จนกระท่ังเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ พระชนมายุ

๔๘ พรรษา ทรงดำรงสิริราชสมบัติ ๙ ป

ธีระ นุชเปยม

วีรวัลย งามสันติกุล

เอกสารอางอิง

๑ ศตวรรษ ศุภสวัสดิ์ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๓. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๓.

พระราชบันทึกทรงเลาในสมเด็จพระนางเจารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกลา,

๒๕๔๕.

พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลท่ี ๗. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งกรุพ จำกัด,

๒๕๓๑. (ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหพิมพพระราชทานในงานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจารำไพพรรณี

พระบรมราชินใีนรชักาลที ่๗ ณ พระเมรุมาศทองสนามหลวง วันที ่๙ เมษายน พุทธศกัราช ๒๕๒๘)

พระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติ. พิพิธภัณฑพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว สถาบันพระปกเกลา จัดพิมพ

ม.ป.ท.: ม.ป.ป.

พิพิธภัณฑพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว. บทนิทรรศการถาวร พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกลา

เจาอยูหัว. ม.ป.ท.: ม.ป.ป. (เอกสารอัดสำเนา)

Page 233: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมสาทิสลักษณพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดล ประดิษฐาน ณ มุขกระสันตะวันออก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

Page 234: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดล

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดล หรือพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา

อานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงครองราชย พ.ศ. ๒๔๗๗ - พ.ศ. ๒๔๘๙ ทรงเปนพระมหา

กษัตริยในระบอบประชาธิปไตย เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขณะยังทรงพระเยาว ระหวางนั้นประเทศไทย

ตองเผชิญกับการสงคราม ทั้งสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา พระองคประทับอยู

ตางประเทศเปนสวนใหญเพื่อทรงศึกษาเลาเรียน

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลเปนพระโอรสองคแรกของสมเด็จพระเจาบรมวงศ

เธอ เจาฟามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนก) กับหมอมสังวาลย มหิดล ณ อยุธยา (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) เสด็จ

พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ (ตรงกับวันพระบรมราชสมภพพระบาท

สมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว) ณ โรงพยาบาลเมืองไฮเดลแบรก (Heidelberg) ประเทศเยอรมนี

เมื่อแรกประสูติดำรงพระยศหมอมเจา ตอมาพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวโปรดเกลาโปรด

กระหมอมสถาปนาเปนพระวรวงศเธอ พระองคเจาอานันทมหิดล พระองคมีพระเชษฐภคินี

๑ พระองค คือ หมอมเจากัลยาณิวัฒนา (สมเด็จพระเจาพี่นางเธอ เจาฟากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง

นราธิวาสราชนครินทร) และพระอนุชา ๑ พระองค คือ พระวรวงศเธอ พระองคเจาภูมิพลอดุลยเดช

(พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช)

เมื่อพระชนกเสด็จกลับประเทศไทยเพื่อรักษาพระอาการประชวร ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ พระวรวงศ

เธอ พระองคเจาอานันทมหิดลไดเสด็จกลับประเทศไทยเปนครั้งแรกพรอมพระชนนี พระเชษฐภคินี

และพระอนุชา ปถัดมาพระชนกสิ้นพระชนม พระองคจึงประทับที่เมืองไทยตอ และทรงเริ่มเขารับการ

ศึกษาชั้นอนุบาลท่ีโรงเรียนมาแตรเดอีวิทยาลัย ตอมาใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ทรงยายไปเรียนชั้นประถม

ศึกษาที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเปนระบอบประชาธิปไตยในปเดียว

กันนี้ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจา ทรงเกรงวาความผันผวนของ

เหตุการณบานเมืองอาจสงผลกระทบตอพระนัดดา ประกอบกับเรื่องสุขภาพ จึงโปรดใหหมอมสังวาลย

นำพระโอรส พระธิดา เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอรแลนด เพื่อรับการศึกษาและ

เปนผลดีตอพระพลานามัย พระวรวงศเธอ พระองคเจาอานันทมหิดล ไดทรงศึกษาที่โรงเรียน

เมียรมองต (Ecole Miremont)

ระหวางน้ีที่เมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว ทรง

ประกาศสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ (นับตามแบบเกา) อีกทั้งทรงสละสิทธิ์ในการ

Page 235: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

แตงตั้งผูสืบราชสมบัติตามกฎมณเฑียรบาล พ.ศ. ๒๔๖๗ พระวรวงศเธอ พระองคเจาอานันทมหิดล

ทรงอยูในลำดับที่ ๑ ในการสืบสันตติวงศ สภาผูแทนราษฎรจึงลงมติเห็นชอบใหกราบบังคมทูลอัญเชิญ

ขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามวา สมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดล เปนพระมหากษัตริยลำดับท่ี ๘

แหงพระบรมราชจกัรวีงศ ขณะพระชนมายุ ๘ พรรษา ๕ เดอืน ๑๑ วนั โดยมพีลเอก พระเจาวรวงศเธอ

กรมหม่ืนอนุวัตรจาตุรนต นาวาตรี พระเจาวรวงศเธอ พระองคเจาอาทิตยทิพอาภา และเจาพระยา

ยมราช (ปน สุขุม) เปนคณะผูสำเร็จราชการแทนพระองค มีพระราชชนนีถวายพระอภิบาล พระบาท

สมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลยังคงประทับที่เมืองโลซานเพื่อทรงศึกษา ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ ทรงยาย

ไปเรยีนทีโ่รงเรยีนเอกอล นูแวล เดอ ลา ซอือสิ โรมองด (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande)

พรอมพระอนุชา โดยทรงศึกษาในสายศิลป ทรงศึกษาภาษาละตินและภาษาอังกฤษ พรอมกันนั้น

ก็ทรงศึกษาภาษาฝร่ังเศสและภาษาเยอรมันเพราะเปนภาษาบังคับดวย ทรงศึกษาจนจบหลักสูตรและ

ไดรับประกาศนียบัตร Diplôme de Bachelier ès Lettres

พระราชชนนีทรงอภิบาลพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลเปนอยางดี พรอมทรง

ปฏิบัติตอพระธิดาและพระโอรสคลายคลึงกัน พระองคเอาพระทัยใสในเรื่องสุขภาพ ทรงปลูกฝงใหรัก

การศึกษา มีคุณธรรม มีวินัย มีความรับผิดชอบ ใหเรียนภาษาไทย วัฒนธรรมไทย ประวัติศาสตรไทย

พระพุทธศาสนา และใหรูจักความเปนไทย รักเมืองไทย เพื่อเตรียมพระองคเปนพระมหากษัตริยที่ดี

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งแรกพรอมพระราชชนน ี

พระเชษฐภคินี และพระอนุชา ระหวางวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน - ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ตาม

คำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล ในปนี้เปนชวงเวลาที่ไทยสามารถยกเลิกสนธิสัญญาท่ีไมเทาเทียมกัน

ที่ผูกมัดไทยดวยเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต อัตราภาษีที่ต่ำตามสนธิสัญญาเบาวริงไดอยางสมบูรณ

ขณะเสด็จนิวัตประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลมีพระชนมายุ ๑๓

พรรษา สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งขณะนั้นประทับท่ีเกาะปนัง และ

ทรงไดเขาเฝาฯ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ กอนที่จะเสด็จถึงประเทศไทย ทรงกลาวถึงดวยความ

ชื่นชม ดังความตอนหน่ึงวา “...สมเด็จพระอานันทมหิดลนั้นพระกิริยาอัธยาศัย หรือ...พระอุปนิสัยดีมาก มีเคาทรงสติปญญาผิดเด็กสามัญ และรูจักวางพระองคพอเหมาะแกการเปนพระเจาแผนดินท่ียังทรงพระเยาว ใคร ๆ ไดเขาใกลแลวมีแตชอบและสรรเสริญกันทุกคน...” และทรงชื่นชมสมเด็จพระ

ศรีนครินทราบรมราชชนนีในการอภิบาลที่ดีดวย

รัฐบาลซึ่งมีพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน พหลโยธิน) เปนนายกรัฐมนตรี ไดรับเสด็จ

อยางสมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลมีพระราชดำรัสตอบความตอนหนึ่งวา

“...ขาพเจายินดีมากที่ไดกลับมาเยี่ยมเมืองไทยที่ขาพเจารักและคิดถึงอยูเสมอ...ขอใหประชาชนอยูเย็นเปนสุขในความรมเย็นของรัฐธรรมนูญทั่วกัน...”

Page 236: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ระหวาง ๕๙ วันที่เสด็จประทับในเมืองไทย พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลได

ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายประการ เชน เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีสมโภชใน

วโรกาสเสด็จนิวัตพระนคร ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในการนี้มีการประกาศสถาปนาพระราชชนนี

เปน “สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย” เจานายฝายเหนือ คือ เชียงใหม ลำพูน นาน เขาเฝาทูล

ละอองธุลีพระบาท ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทานเคร่ืองราชอิสริยาภรณ พระราชทาน

ธงประจำกองลูกเสือ ทรงเปดงานฉลองรัฐธรรมนูญ ประทับสามลอพระที่นั่งทอดพระเนตรงาน

ทอดพระเนตรการประกอบอาชีพของราษฎร เชน การทำนา จับปลา

ระหวางที่ประทับในพระนคร ประชาชนที่ทราบขาวจะคอยเฝารับเสด็จทุกแหง กอนท่ี

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลจะเสด็จกลับไปสวิตเซอรแลนดเพื่อทรงศึกษาตอ มี

พระราชดำรัสตอประชาชนทางวิทยุกระจายเสียงความตอนหนึ่งวา “...ขาพเจาจะตั้งใจเรียนจนสำเร็จ เพื่อจะไดมาสนองคุณชาติที่รักของเรา ในการท่ีขาพเจาจะลาทานไปนี้ ขาพเจาขออวยพรใหทาน ทั้งหลายมีความสุขความเจริญทั่วกัน...”

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลพรอมสมเด็จพระราชชนนีฯ พระเชษฐภคินี และ

พระอนุชา เสด็จถึงสวิตเซอรแลนดในตนเดือนกุมภาพันธ พ.ศ. ๒๔๘๑ แมวาจะมีเหตุการณรายแรง

เกิดขึ้นในสังคมโลก แตพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลก็ทรงมุงมั่นและใหความสำคัญกับ

การศึกษาดังที่ทรงใหคำมั่นสัญญาไว ใน พ.ศ. ๒๔๘๖ เม่ือทรงสำเร็จช้ันมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเดิม

ทรงเขาศกึษาวชิานติศิาสตรทีม่หาวทิยาลยัโลซาน ๒ ปตอมาทรงสอบไลได Semi doctoral en Droit

และตั้งพระราชหฤทัยจะศึกษาระดับปริญญาเอกตอไป

สงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ถึงวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหวัอานนัทมหดิลกท็รงบรรลนุติภิาวะ และเสดจ็นวิตัประเทศไทยเปนครัง้ที ่๒

ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล เพ่ือเยี่ยมเยือนและบำรุงขวัญประชาชนเม่ือวันท่ี ๕ ธันวาคม

พ.ศ. ๒๔๘๘ โดยมีประชาชนมาเฝารับเสด็จอยางเนืองแนน ตอมาในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ซ่ึงเปนวัน

รัฐธรรมนูญ มีพระราชดำรัสตอประชาชนความตอนหนึ่งวา

...ขาพเจาเชื่อวา ถาคนไทยทุกคนถือวาตนเปนเจาของชาติบานเมือง และตางปฏิบัติ หนาที่ของตนใหดีดวยความซื่อสัตยสุจริต และถูกตองตามทำนองคลองธรรมแลว ความทุกขยากของบานเมืองก็จะผานพนไปได ขาพเจาจึงขอรองใหทานทุกคนไดชวยกันทำหนาท่ี ของตนโดยขันแข็งและขอใหมีความสามัคคีกลมเกลียวกันจริง ๆ เพื่อชาติจะไดดำรงอยูใน ความวัฒนาถาวรสืบไป...

Page 237: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ระหวางน้ีพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมาย เชน

เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามของกองทัพพันธมิตรพรอมกับ ลอรด หลุยส เมานตแบตเทน

(Lord Louis Mountbatten) ผูบัญชาการทหารฝายพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ณ

ทองสนามหลวง เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในหลายจังหวัด เสด็จพระราชดำเนินไป

พระราชทานปริญญาบัตรแกบัณฑิตมหาวิทยาลัยตาง ๆ เสด็จประพาสสำเพ็ง ซึ่งทำใหเกิดความรูสึก

ที่ดีตอกันระหวางคนไทยกับคนจีนหลังเกิดความราวฉานจนมีการตอสูกันในเดือนกันยายน พ.ศ.

๒๔๘๘ การเสด็จคร้ังนั้นมีชาวจีน ไทย แขก ตั้งแถวรับเสด็จดวยความจงรักภักดีอยางเนืองแนน

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงกำหนดกลับประเทศสวิตเซอรแลนดเพื่อศึกษาตอระดับ

ปริญญาเอกทางดานกฎหมายในวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ แตในวันท่ี ๙ มิถุนายน กอนการ

เสด็จกลับเพียง ๔ วัน ไดเสด็จสวรรคตดวยพระแสงปนในท่ีพระบรรทม ขณะพระชนมายุเพียง ๒๐

พรรษา ๙ เดือน ยังความโศกเศราอาลัยแกคนไทยท้ังมวลทุกเช้ือชาติ ศาสนา

รัฐบาลไดใหความเห็นชอบอัญเชิญสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาภูมิพลอดุลยเดช ข้ึนครอง

ราชสมบัติตอ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลมีขึ้น

ในวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ ทองสนามหลวง

ตอมาใน พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกาศเฉลิม

พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลอยางสังเขปวา “พระบาทสมเด็จพระ

ปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร”

อนึ่ง รัฐบาลไดกำหนดใหวันที่ ๒๐ กันยายนของทุกป ซึ่งตรงกับวันเสด็จพระราชสมภพ เปน

วันเยาวชนแหงชาติ

วุฒิชัย มูลศิลป

เอกสารอางอิง

กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร, สมเด็จพระเจาพี่นางเธอ เจาฟา. เจานายเล็กๆ - ยุวกษัตริย. กรุงเทพฯ:

ดานสุทธาการพิมพ, ๒๕๓๐. (จัดพิมพเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญ

พระชนมายุ ๖๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐)

. แมเลาใหฟง. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ, ๒๕๓๘.

รอง ศยามานนท. ประวัติศาสตรไทยในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๐.

ราชบัณฑิตยสถาน. ใตรมพระบารมีจักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๗.

วุฒิชัย มูลศิลป และคณะ. พระมหากษัตริยแหงกรุงรัตนโกสินทร. กรุงเทพฯ: เกรท เอ็ดดูเคชั่น, ม.ป.ป.``

Page 238: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบรมฉายาลักษณพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต

เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ป วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙

Page 239: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริยรัชกาลที่ ๙ แหง

พระราชวงศจักรี ทรงเปนพระมหากษัตริยที่ครองราชสมบัติยาวนานท่ีสุดในประวัติศาสตรชาติไทย

พระองคเปนพระราชโอรสพระองคเล็กในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทรที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐

ณ โรงพยาบาลเมานตออเบิรน (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ รัฐแมสซาชูเซตต (Massashusetts)

ประเทศสหรัฐอเมริกา เม่ือแรกประสูติมีพระนามวา พระวรวงศเธอ พระองคเจาภูมิพลอดุลยเดช มี

พระเชษฐภคินีและพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจาพี่นางเธอ เจาฟากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง

นราธิวาสราชนครินทร (๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ - ๒ มกราคม ๒๕๕๑) และพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว

อานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกประชวรสวรรคตในวันท่ี ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ขณะน้ัน

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวมีพระชนมพรรษาไมถึง ๒ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ขณะมีพระชนม-

พรรษา ๕ พรรษา ไดเสด็จเขาทรงศึกษาที่โรงเรียนมาแตรเดอีวิทยาลัย จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๖ จึง

เสด็จพรอมดวยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ไปประทับที่

เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอรแลนด ทรงศึกษาที่โรงเรียนเมียรมองต (Ecole Miremont) แลวทรง

ศกึษาตอทีโ่รงเรยีนเอกอล นแูวล เดอ ลา ซอือสิ โรมองด (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande)

เมืองชายยี ซูร โลซาน (Chailly-sur Lausanne) พ.ศ. ๒๔๘๑ ทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนยิมนาส

คลาสสิค ก็องโตนาล (Gymnase Classique Cantonal) แหงเมืองโลซาน ทรงไดรับประกาศนียบัตร

ทางอักษรศาสตร จากนั้นทรงเขาศึกษาตอในมหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิชาวิทยาศาสตร

ในวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวทรงสละราชสมบัติ

รัฐบาลไดกราบทูลเชิญพระวรวงศเธอ พระองคเจาอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเปนสมเด็จ

พระเจาอยูหัวอานันทมหิดลใน พ.ศ. ๒๔๗๗ และพระวรวงศเธอ พระองคเจาภูมิพลอดุลยเดชทรงได

รับสถาปนาเปนสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาภูมิพลอดุลยเดช

ตอมาในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ สมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดลสวรรคต ณ

พระที่นั่งบรมพิมาน รัฐบาลโดยความเห็นชอบของรัฐสภาจึงอัญเชิญสมเด็จพระเจานองยาเธอ

เจาฟาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติในวันเดียวกันขณะท่ีมีพระชนมพรรษายังไมเต็ม ๑๙

พรรษา และยังทรงเปนนักศึกษามหาวิทยาลัยโลซาน เมื่อจัดการพระบรมศพสมเด็จพระเจาอยูหัว

อานันทมหิดลแลว พระองคไดเสด็จกลับไปทรงศึกษาตอที่ประเทศสวิตเซอรแลนดในวันที่ ๑๙ สิงหาคม

พ.ศ. ๒๔๘๙

Page 240: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

เมื่อเสด็จกลับไปทรงศึกษาตอนั้น พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงตระหนักวาพระองค

จะตองเปนพระเจาแผนดิน ปกครองประชาชนใหรมเย็นเปนสุข จึงทรงเปลี่ยนแนวทางการศึกษาใหม

จากวิชาวิทยาศาสตรมาเปนวิชาสังคมศาสตร รัฐศาสตร และนิติศาสตร (Licence et Doctorat ès

Sciences Sociales) ทั้งนี้เพื่อจะเปนประโยชนในการที่จะทรงดำรงฐานะพระมหากษัตริยตอไป

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวเสด็จนิวัตประเทศไทยเมื่อวันที ่๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ และ

ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหกำหนดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจา

อยูหัวอานันทมหิดลในวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ แลวกำหนดจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สมรสกับหมอมราชวงศสิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระ

พันวัสสาอัยยิกาเจา วังสระปทุม เม่ือวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ คร้ันวันที่ ๕ พฤษภาคม

พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอยางโบราณ

ราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทุกพระองคจะมีพระบรม-

ราชโองการครั้งแรกหลังจากที่ทรงรับราชาภิเษกเปนพระเจาแผนดินโดยสมบูรณ พระบาทสมเด็จ

พระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการแกประชาชนชาวไทยวา “เราจะครองแผนดินโดยธรรม เพื่อประโยชนสุขแหงมหาชนชาวสยาม” แลวทรงหลั่งทักษิโณทกตั้งพระราชสัตยาธิษฐานจะทรง

ปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยา โดยมีพระปรมาภิไธย

จารึกในพระสุพรรณบัฏวา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี

จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

พระปฐมบรมราชโองการในวันบรมราชาภิเษกนี้ แมจะสั้นแตก็ไดความลึกซึ้ง อันแสดงใหเห็นถึง

พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวท่ีจะทรงปกครองบานเมืองดวยหลักทศพิธราชธรรม

เพื่อประโยชนสุขของอาณาประชาราษฎร และนับแตนั้นมาตลอดระยะเวลาแหงการครองสิริราชสมบัติ

ไดทรงอุทิศกำลังพระวรกายและกำลังพระสติปญญาเพื่อประโยชนสุขของประชาชนตลอดมา ทรง

ตั้งพระราชปณิธานวาจะเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในตางจังหวัดใหทั่วประเทศโดยเริ่มท่ี

ภาคกลางกอน แลวจะเสด็จยังภาคอื่น ๆ จนครบทุกภาค การเสด็จเยี่ยมราษฎรตามพระราชปณิธาน

นี้เองที่ทำใหพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงทราบถึงทุกขสุขและความเปนอยูของราษฎร จนนำมา

ซึ่งโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดำริตาง ๆ ที่ครอบคลุมปญหาทุกดานของประชาชน กอใหเกิด

ความผูกพันและความจงรักภักดีที่ประชาชนมีตอสถาบันพระมหากษัตริย จนกลายเปนเอกลักษณ

ที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งไมมีชาติใดเสมอเหมือน

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมีฐานะเปนองคพระประมุขของชาติตามรัฐธรรมนูญแหง

ราชอาณาจักรไทย และทรงมีกรอบในการปฏิบัติพระราชภารกิจและพระราชกรณียกิจตาง ๆ เพื่อความ

ผาสุกของราษฎร การดำรงฐานะพระมหากษัตริยในระบอบประชาธิปไตยนั้นทำใหพระบาทสมเด็จ

Page 241: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระเจาอยูหัวทรงเกี่ยวของกับการบริหารราชการแผนดินไดนอยตามท่ีบัญญัติไวในรัฐธรรมนูญดังท่ีม ี

คำกลาววา “พระมหากษัตริยทรงปกเกลา แตมิไดทรงปกครอง” และจะตองวางพระองคเปนกลาง

ทางการเมือง ซ่ึงแมพระราชอำนาจที่ระบุไวในรัฐธรรมนูญจะมีอยูอยางจำกัด แตเนื่องจากความ

สัมพันธระหวางสถาบันกษัตริยกับประชาชนเปนไปอยางแนนแฟน จึงมีพระราชสถานะและพระราช-

อำนาจตามจารีตประเพณีที่คนสวนใหญยอมรับ โดยท่ีไมไดบัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ เพราะทรงอยูใน

ฐานะที่ทรงเปนที่เคารพสักการะสูงสุดของประชาชนชาวไทย จึงทรงเปนประมุขหรือผูนำที่เปยมดวย

พระบารมี พระราชอำนาจของพระองคตามจารีตประเพณีจึงเกิดจากพระบารมีอยางแทจริง

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมีบทบาทสำคัญในการสรางความปรองดองของชนในชาติ

ยามที่บานเมืองเกิดวิกฤตการณ และไมมีผูใดสามารถแกไขปญหาไดแลว ประชาชนทุกคนคาดหวังวา

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวจะทรงแกไขปญหาได ดังจะเห็นไดจากเหตุการณเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม

พ.ศ. ๒๕๑๖ และเหตุการณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งคนไทยตองเผชิญหนากันเองนั้น

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวไดใชพระบารมีจนทำใหบานเมืองกลับคืนสูความสงบเรียบรอยได ซึ่งไมมี

พระมหากษัตริยหรือประมุขของรัฐใดท่ีจะทำไดเชนนี้

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวยังไดพระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อแกไขปญหา

สำคัญของชาติหลายประการ เชน พระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งไดพระราชทานพระราชดำรัส

เรื่องความพอควร พออยู พอกิน มีความสงบมาตั้งแต พ.ศ. ๒๕๑๗ ดังพระราชดำรัสที่พระราชทาน

แกคณะผูแทนสมาคม องคการศาสนา ครู นักเรียนโรงเรียนตาง ๆ นักศึกษามหาวิทยาลัยท่ีเขาเฝาฯ

ถวายชยัมงคลเนือ่งในโอกาสวันเฉลมิพระชนมพรรษา ณ ศาลาดสุดิาลยั พระราชวงัดสุติ เมือ่วนัพธุท่ี ๔

ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ วา

ทั้งนี้ คนอื่นจะวาอยางไรก็ชางเขา จะวาเมืองลาสมัยวาเมืองไทยเชย วาเมืองไทย ไมมีสิ่งที่สมัยใหม แตเราอยูพอมีพอกิน และขอใหทุกคนมีความปรารถนาท่ีจะใหเมืองไทย พออยูพอกิน มีความสงบและทำงานตั้งจิตอธิษฐาน ต้ังปณิธานในทางนี้ ท่ีจะใหเมืองไทยอยู แบบพออยูพอกิน ไมใชวาจะรุงเรืองอยางยอด แตวามีความพออยูพอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถาเรารักษาความพออยูพอกินนี้ได เราก็จะยอดยิ่งยวดได ประเทศตาง ๆ ในโลกน้ีกำลังตก กำลังแย กำลังยุงเพราะแสวงหาความย่ิงยวดทั้งในอำนาจ ทั้งในความกาวหนาทางเศรษฐกิจ ทางอุตสาหกรรม ทางลัทธิ ฉะนั้นถาทุกทานซึ่งถือวาเปน ผูที่มีความคิด และมีอิทธิพล มีพลังที่จะทำใหผูอื่นซึ่งมีความเห็นเหมือนกัน ชวยกันรักษา สวนรวมใหอยูดีกินดีพอสมควร ขอย้ำ พอควร พออยูพอกิน มีความสงบ ไมใหคนอื่นมาแยงคุณสมบัติจากเราไปได ก็จะเปนของขวัญวันเกิดที่ถาวร ที่จะมีคุณคาอยูตลอดเวลา

Page 242: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระราชดำรัสน้ีแสดงใหเห็นถึงพระวิสัยทัศนที่กวางไกล เมื่อประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤตทาง

เศรษฐกิจอยางรุนแรงตั้งแต พ.ศ. ๒๕๔๐ เปนตนมา ซ่ึงสงผลกระทบตอสังคมไทยในวงกวาง ตั้งแต

ธุรกิจขนาดใหญจนถึงประชาชนในชนบท จนทำใหการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินของ

ประเทศตองตกอยูใตอำนาจการกำกับและการควบคุมของกองทุนการเงินระหวางประเทศ หรือ IMF

(International Monetary Fund) ภายใตสถานการณเชนนี้ ประเทศไทยจำเปนตองแสวงหา

มาตรการแกไขปญหาเพ่ือความอยูรอดของประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวไดทรงพระกรุณา

โปรดเกลาฯ พระราชทานแนวพระราชดำริเร่ืองเศรษฐกิจพอเพียงเพ่ือเปนแนวทางในการดำเนินชีวิต

แกคนไทยโดยเนนการพึง่ตนเองเปนหลกั และมจีดุเริม่ตนทีก่ารฟนฟเูศรษฐกจิชุมชน สงเสริมความสามคัค ี

ของชุมชน เพ่ือใหคนในชุมชนสามารถดำรงชีวิตอยูไดอยางเปนปกติสุข ดังท่ีพระบาทสมเด็จพระเจา

อยูหัวมีพระราชดำรัสแกคณะบุคคลตาง ๆ ที่เขาเฝาถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา

ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ วา “การจะเปนเสือนั้นมันไมสำคัญ สำคัญอยูที่ เราพออยูพอกิน และมีเศรษฐกิจการเปนอยูแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความวา อุมชูตัวเอง ไวใหมีความพอเพียงกับตัวเอง” มีพระราชดำริวา “ถาสามารถที่จะเปลี่ยนใหกลับเปนเศรษฐกิจแบบ พอเพียง ไมตองทั้งหมด แมจะไมถึงคร่ึง อาจจะเศษหนึ่งสวนสี่ ก็จะสามารถท่ีจะอยูได” และในปตอมา

ไดพระราชทานพระราชดำรัสแกคณะบุคคลตาง ๆ ที่เขาเฝาฯ ถวายชัยมงคล เน่ืองในโอกาสวันเฉลิม

พระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต เมื่อวันที ่๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยทรงอธิบาย

ถึงการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงวา

...ควรจะปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงไมตองท้ังหมด เพียงคร่ึงหนึ่งก็ใชได แมจะเปน เศษหน่ึงสวนส่ีก็พอ หมายความวาวิธีปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ไมตองทำทั้งหมด และขอ เติมวาถาทำทั้งหมดก็จะทำไมได ถาครอบครัวหนึ่งหรือแมหมูบานหนึ่งทำเศรษฐกิจพอเพียง รอยเปอรเซ็นตก็จะเปนการถอยหลังถึงสมัยหิน สมัยคนอยูในอุโมงคหรือในถ้ำ ซ่ึงไมตอง อาศัยหมูบานอื่น เพราะวาหมูอื่นก็เปนศัตรูทั้งนั้น ตีกัน ไมใชรวมมือกัน จึงตองทำเศรษฐกิจ พอเพียง แตละคนตองหาที่อยู ก็หาอุโมงคหาถ้ำ ตองหาอาหาร คือไปเด็ดผลไมหรือใบไม ตามที่มี หรือไปใชอาวุธที่ไดสรางไดประดิษฐเอง ไปลาสัตว กลุมท่ีอยูในอุโมงคในถ้ำนั้นก็มี เศรษฐกิจพอเพียง ๑๐๐ เปอรเซ็นต ก็ปฏิบัติได

ตอมารัฐบาลไดอัญเชิญแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเปนปรัชญานำทางในการพฒันา

และการบริหารประเทศ โดยบรรจไุวในแผนพัฒนาเศรษฐกจิและสงัคมแหงชาตฉิบับที ่๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕-

พ.ศ. ๒๕๔๙) และฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐-พ.ศ. ๒๕๕๔) นอกจากน้ี แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ยังบัญญัติไวในรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ อีกดวย

Page 243: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

แนวพระราชดำริสำคัญอีกประการหนึ่งที่พระราชทานเพ่ือแกไขปญหาของชาต ิคือพระราชดำริ

ในการแกไขสถานการณความไมสงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใตดวยหลักการเขาใจ เขาถึง พัฒนา

โดยไดพระราชทานหลักปฏิบัติในการแกไขปญหาแกรัฐบาลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ วา “ใหพยายามทำความ เขาใจปญหา เขาถึงประชาชน และรวมกันพัฒนา”

นับวาพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมีบทบาทสำคัญอยางยิ่งในการสรางความปรองดองให

เกิดขึ้นในสังคมไทยทั้งในยามปกติและในภาวะวิกฤต ท้ังนี้ โดยการปฏิบัติดวยพระองคเองและ

พระราชทานแนวพระราชดำริใหผูที่เกี่ยวของรับไปปฏิบัติ ซึ่งเปนแนวทางท่ีจะทำใหสังคมโดยรวมอยู

รวมกันอยางสงบสุขในที่สุด การสรางความปรองดองใหเกิดขึ้นในสังคมนั้น ส่ิงสำคัญคือความเปน

ธรรมที่ราษฎรพึงไดรับอยางเทาเทียมกัน พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมีบทบาทในการ

พระราชทานความเปนธรรมแกราษฎรตลอดมา ท้ังการใชพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ

ตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยและกฎหมายอื่น ๆ พระองคใสพระทัยเรื่องฎีกาขอพระราชทาน

อภัยโทษแกนักโทษซึ่งตองโทษเปนอันมาก ถือเปนพระมหากรุณาธิคุณเกี่ยวกับชีวิตและอิสรภาพ

ของราษฎรโดยตรง เพ่ือใหประชาชนของพระองคที่ตองโทษไดมีโอกาสกลับตัวประพฤติตนเปน

พลเมืองดี และกลับมาบำเพ็ญตนใหเปนประโยชนแกครอบครัวและประเทศชาติตอไป นอกจากนี้

ยังไดพระราชทานความชวยเหลือในเรื่องที่ราษฎรทูลเกลาฯ ถวายฎีการองทุกขตาง ๆ ที่ไมเกี่ยวของกับ

คดีความดวย

นับตั้งแตเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชไดปฏิบัติ

พระราชกรณียกิจในฐานะพระมหากษัตริยนักพัฒนาดวยการทุมเทกำลังพระวรกายและกำลังพระสติ

ปญญาเพื่อพสกนิกรของพระองค ปรากฏใหเห็นเปนพระราชกรณียกิจดานการพัฒนาเพื่อบำบัดทุกข

และบำรุงสุขของประชาชนตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวนมาก ซ่ึงไดเริ่มตนตั้งแต

พ.ศ. ๒๔๙๔ เปนตนมา

พระราชกรณียกิจในชวงสมัยตน ๆ แหงการครองราชสมบัติเปนลักษณะของการพัฒนาสังคม

เชน การรณรงคหาทุนเพื่อกอสรางอาคารพยาบาล การตอสูโรคเรื้อนของมูลนิธิราชประชาสมาสัย

การจัดตั้งโรงเรียนสงเคราะหเด็กยากจน การเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับในตางจังหวัด เปนโอกาส

ใหพระองคทรงรับรูถึงสภาพความเปนอยูอยางแทจริงของประชาชน พระราชกรณียกิจของพระองคจึง

มุงเนนไปที่การพัฒนาสภาพความเปนอยูของประชาชน และการปองกันปญหาท่ีจะเกิดขึ้น พระบาท

สมเด็จพระเจาอยูหัวทรงเห็นประจักษวา ความทุกขของประชาชนไทยมิไดมีเพียงในชนบทท่ีหางไกล

เทานั้น แมแตในกรุงเทพมหานครก็ยังมีปญหาที่ทำใหตองพระราชทานแนวทางแกไขปญหาดวยเชนกัน

ทั้งปญหาน้ำทวมและปญหาการจราจร งานพัฒนาดังกลาวนี้เปนสวนท่ีสามารถชวยใหการบริหาร

ราชการแผนดินของทางราชการดำเนินไปอยางมีประสิทธิภาพ

Page 244: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทอดพระเนตรการเรียนการสอนของโรงเรียนราชประชาสมาสัยซึ่งโปรดเกลาฯ ใหจัดตั้งขึ้นสำหรับสอนบุตรหลานผูปวยโรคเรื้อน

Page 245: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรเพื่อทรงทราบปญหาและความเดือดรอนโดยตรง

Page 246: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

แนวพระราชดำริที่พระราชทานเพ่ือนำไปปฏิบัติรวมทั้งที่ทรงปฏิบัติเปนตัวอยางมีหลักใหญ

๒ ประการ คือ พัฒนาความเปนอยูเพื่อใหราษฎรมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือมีปจจัย ๔ เพียงพอ

ในการดำรงชีวิต และพัฒนาคนใหมีคุณภาพ มีความสามารถในการประกอบการงานเพื่อสรางความ

มั่นคงใหชีวิต โดยทรงมุง “หลักการพึ่งตนเอง” ทรงเนนความสามัคคีที่ทำใหการรวมกันประกอบ

กิจกรรมใด ๆ ก็ตามประสบความสำเร็จ การดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตาง ๆ จึงทรง

เนนการอยูรวมกลุมเพื่อรวมกันแกปญหาและพัฒนากิจกรรมตาง ๆ ใหไปสูเปาหมายท่ีวางไว และดวย

น้ำพระราชหฤทัยที่เปยมดวยพระเมตตาตอราษฎรและพระวิสัยทัศนที่ยาวไกล จึงเปนสวนสำคัญ

อยางยิ่งในการพัฒนาประเทศและความเปนอยูของราษฎรไทย

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงเปนพระมหากษัตริยในระบอบประชาธิปไตย ที่มีบทบาท

อยางเขมแข็งและตอเนื่องในการพัฒนาชาติและพัฒนาคน เสมือนวาพระองคทรงดำรงอยูในฐานะ

“ที่ปรึกษาของชาติ” โดยทรงยึดถือประโยชนสุขของประชาชนเปนที่ตั้ง ซ่ึงเปนบทบาทที่ไมไดพบเห็น

ในประเทศใดในโลกที่ปกครองดวยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งเปนเรื่องท่ีพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงปฏิบัติ

อยางหนักและตอเนื่องมาโดยตลอด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสภาพความเปนอยูของประชาชนให

ดีขึ้นในทุกดานโดยเฉพาะผูยากไรในชนบท พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมุงเนนเรื่องการเกษตร

ซึง่เปนอาชีพหลักของราษฎรท้ังประเทศ โดยทรงใหความสำคัญตอการพฒันาทรัพยากรและส่ิงแวดลอม

เชน แหลงน้ำ ดิน และปาไม ทรงตระหนักวาน้ำเปนปจจัยสำคัญยิ่งและเปนความตองการอยางมาก

ของราษฎรในชนบท ท้ังการใชอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร พระองคสนพระราชหฤทัยเรื่อง

การใชท่ีดินเพื่อการเกษตร และทรงเนนการพัฒนาที่ดิน รวมทั้งปาไมอันเปนทรัพยากรธรรมชาติที่

สำคัญของประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวไดปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการในดานการใช

ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอมใหเกิดประโยชนสูงสุดแกราษฎร จนเปนที่ประจักษชัดทั้งภายใน

ประเทศและตางประเทศ แนวพระราชดำริเรื่องทฤษฎีใหมซึ่งเปนการจัดการทรัพยากรน้ำและท่ีดิน

เพื่อการเกษตร เปนแนวพระราชดำริที่ไดรับการยอมรับโดยทั่วไป

พระราชกรณียกิจดานการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวที่สำคัญยิ่งคืองานพัฒนาที่

เกี่ยวของกับน้ำ ศาสตรทั้งปวงท่ีเกี่ยวกับน้ำ ทั้งการพัฒนา การจัดหาแหลงน้ำ การเก็บกักน้ำ การ

ระบาย การควบคุม การทำน้ำเสียใหเปนน้ำดี ตลอดจนการแกไขปญหาน้ำทวม พระราชกรณียกิจ

ในชวงตน ๆ แหงการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคตาง ๆ ของประเทศ ทรงเนนเรื่อง

ความสำคัญของแหลงน้ำเพื่อใชในการอุปโภคและการเกษตรกรรม ทรงเชื่อวาเมื่อใดท่ีสามารถแกไข

หรือบรรเทาความเดือดรอนในเรื่องน้ำใหราษฎร หรือใหราษฎรมีน้ำกินน้ำใชเพื่อการเพาะปลูกไดแลว

ราษฎรก็ยอมจะมีฐานะความเปนอยูที่ดีขึ้นกวาเดิม การพัฒนาเรื่องแหลงน้ำของพระบาทสมเด็จ

พระเจาอยูหัวเริ่มตั้งแตปลาย พ.ศ. ๒๕๐๕ สงผลใหมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวนมาก

Page 247: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ นอกจากน้ี ความสนพระราชหฤทัยเรื่องน้ำของพระองค มิไดจำกัดอยูเฉพาะ

โครงการพัฒนาแหลงน้ำดวยวิธีการจัดสรางแหลงน้ำถาวร ซึ่งอาจจะเปนอางเก็บน้ำหรือฝายใหราษฎร

ในทองถิ่นตาง ๆ มีน้ำใชโดยไมขาดแคลนเทานั้น แตยังทรงหาวิธีการจัดหาน้ำชวยเหลือราษฎร จึงเกิด

แนวพระราชดำริเรื่อง “ฝนหลวง” ขึ้น โดยเร่ิมโครงการตั้งแตวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘

และไดเริม่ทำฝนเทียมคร้ังแรกเมือ่วนัที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ จากนัน้การคนควาพฒันาเก่ียวกบั

ฝนหลวงก็ไดกาวหนาขึน้อยางตอเนือ่ง ทรงทดลองวิจยัดวยพระองคเอง และพระราชทานพระราชทรัพย

สวนพระองครวมเปนคาใชจาย ดวยพระวิริยอุตสาหะเปนเวลาเกือบ ๓๐ ป ดวยพระปรีชาสามารถ

และพระอัจฉริยภาพ ทำใหสามารถกำหนดบังคับฝนใหตกลงสูพื้นที่เปาหมายได ฝนหลวงท่ีมุงหวัง

ชวยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแลงไดขยายไปสูการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยการ

ชวยแกไขปญหาขาดแคลนน้ำหรือฝนทิ้งชวง และชวยดานการอุปโภคบริโภค ประเทศไทยได

จดทะเบียนเทคโนโลยีฝนหลวงกับองคการอุตุนิยมวิทยาโลกแหงสหประชาชาติเปนครั้งแรกเมื่อ

พ.ศ. ๒๕๒๕ ตอมาองคการอุตุนิยมวิทยาโลกไดทูลเกลาฯ ถวายเคร่ืองหมายเชิดชูเกียรติเมื่อวันที่ ๑๘

กุมภาพันธ พ.ศ. ๒๕๔๐ ในฐานะท่ีทรงพระปรีชาสามารถและทรงเปนผูริเริ่มบุกเบิกกิจกรรมดัดแปร

สภาพอากาศใหเกิดฝนในภูมิภาคเขตรอนมีความเปนไปไดและกาวหนามาจนปจจุบัน

นอกจากน้ี ยังมีพระราชดำริเกี่ยวกับการแกไขปญหาน้ำเสีย เชน โครงการ “น้ำดีไลน้ำเสีย” ใน

การแกไขปญหามลพิษทางน้ำ โดยทรงใชน้ำท่ีมีคุณภาพดีจากแมน้ำเจาพระยาใหชวยผลักดันและ

เจือจางน้ำเนาเสียใหออกจากแหลงน้ำของชุมชนภายในเมืองตามคลองตาง ๆ เชน คลองบางเขน

คลองบางซื่อ คลองแสนแสบ คลองเทเวศร และคลองบางลำพู พระราชดำริเรื่องบำบัดน้ำเสียโดย

หลักการนี้เปนวิธีการท่ีงาย ประหยัดพลังงาน และสามารถปฏิบัติไดตลอดเวลา มีพระราชดำริใหใชบึง

มักกะสันเปนที่รองรับน้ำเสียจากชุมชนในเขตปริมณฑลและในกรุงเทพมหานคร โดยทรงเปรียบเทียบ

วา “บึงมักกะสัน” เปนเสมือนดัง “ไตธรรมชาติ” ของกรุงเทพมหานครที่เก็บกักและฟอกน้ำเสีย

ตลอดจนเปนแหลงเก็บกักและระบายน้ำในฤดูฝน และยังโปรดเกลาฯ ใหมีการทดลองใชผักตบชวามา

ชวยดูดซับความสกปรก รวมทั้งสารพิษตาง ๆ จากน้ำเนาเสีย ประกอบกับเครื่องบำบัดน้ำเสียแบบตาง ๆ

ที่ไดทรงคิดคนประดิษฐขึ้น โดยเนนที่วิธีการเรียบงาย ประหยัด และไมกอใหเกิดความเดือดรอนรำคาญ

แกประชาชนในพ้ืนที่ และบึงพระราม ๙ ซ่ึงเปนบึงขนาดใหญอยูใจกลางกรุงเทพมหานคร พระบาท

สมเด็จพระเจาอยูหัวมีพระราชดำริใหใชเครื่องเติมอากาศลงในน้ำ ซึ่งไดผลดีเปนอยางยิ่ง อันสงผลให

ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดลอมที่ดีขึ้น

สำหรับปญหาอุทกภัยซึ่งกอใหเกิดความทุกขแกประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวได

พระราชทานพระราชดำริใหหนวยงานตาง ๆ พิจารณาแกไข ปองกัน หรือชวยบรรเทาปญหาน้ำใน

แมน้ำลำคลองซึ่งมีระดับสูงในฤดูน้ำหลาก ทรงเห็นความสำคัญของการควบคุมน้ำเปนอยางยิ่ง

พระราชทานแนวทางแกไขปญหาน้ำทวมดวยวิธีการตาง ๆ ที่เหมาะสมกับแตละพื้นท่ี เชน โครงการ

Page 248: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พัฒนาลุมแมน้ำปาสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเปนโครงการพัฒนาแหลงน้ำอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริใหดำเนินการเพื่อแกไขปญหาน้ำทวมพื้นท่ีเพาะปลูกและปญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการ

อุปโภค บริโภค และเพ่ือการเกษตร และไดพระราชทานพระราชดำริใหกรมชลประทานศึกษาความ

เหมาะสมของโครงการเขือ่นเกบ็กกันำ้แมนำ้ปาสกัอยางจรงิจงัเรงดวน เพือ่แกไขปญหาการขาดแคลนนำ้

และปญหาอุทกภัย ซึ่งตอมาคณะรัฐมนตรีไดอนุมัติใหดำเนินงานตามโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแมน้ำ

ปาสักได โดยเร่ิมตนต้ังแตวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ และไดพระราชทานนามวา เขื่อนปาสัก

ชลสิทธิ์ แนวพระราชดำริที่สำคัญในการแกไขปญหาน้ำทวมที่สำคัญอีกโครงการหน่ึงคือ “โครงการ

แกมลิงอันเน่ืองมาจากพระราชดำริ” ในพ้ืนที่ฝงตะวันออกและฝงตะวันตกของแมน้ำเจาพระยา

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการอนุรักษดินและเพิ่มความชุมชื้นให

แกดินและปาไม ในพื้นที่ตาง ๆ ทุกภูมิภาคของประเทศไทยที่ไดเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร

พระองคไดพระราชทานพระราชดำริแกสวนราชการและองคการตาง ๆ เก่ียวกับปญหาน้ำ ปาไม และ

สภาพปญหาที่เกิดจากดิน โดยเฉพาะอยางยิ่งที่เปนปาชายเลนอันเปนแหลงเจริญเติบโตของสัตวน้ำ

นานาชนิด พระราชทานพระราชดำริใหจัดตั้งศูนยศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น

หลายแหง ซึ่งที่ศูนยศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำร ิจังหวัดนราธิวาส ทรงใชวิธี

“แกลงดิน” ทำใหบริเวณพื้นดินที่เปลาประโยชนและไมสามารถทำอะไรไดกลับฟนคืนสภาพ สามารถ

ทำการเพาะปลูกไดอีกครั้งหนึ่ง ทำใหพืชเศรษฐกิจตาง ๆ สามารถเจริญงอกงามใหผลผลิตได อันเปน

ประโยชนตอความกินดีอยูดีของประชาชนในภูมิภาคนั้น ๆ การพัฒนาในเรื่องดินตามพระราชดำริ

ที่สำคัญอีกโครงการหนึ่ง คือ การปลูกหญาแฝกปองกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดิน การปลูก

หญาแฝกตามพระราชดำรินี้ไดรับการยอมรับจากธนาคารโลกวา “ประเทศไทยทำไดผลอยางเต็มที่และ มีประสิทธิภาพยอดเย่ียม” และเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ พ.ศ. ๒๕๓๖ International Erosion

Control Association (IECA) ไดมีมติใหถวายรางวัล The International Erosion Control

Association’s International Merit Award แดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ในฐานะที่ทรงเปน

แบบอยางในการนำหญาแฝกมาใชในการอนุรักษดินและน้ำ

ในเรื่องของการอนุรักษทรัพยากรปาไมซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวสนพระราชหฤทัยและ

ทรงตระหนักถึงความสำคัญเปนอยางยิ่ง ต้ังแตเริ่มเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเปนตนมา ทรงหวง

ในเรือ่งปรมิาณปาไมทีล่ดลง ไดทรงคนหาวธิกีารตาง ๆ ทีจ่ะเพิม่ปรมิาณปาไมใหมากขึน้ มพีระราชดำร ิ

ที่จะอนุรักษปาไมดวยการสรางความสำนึกใหรักปาไมรวมกันมากกวาวิธีการใชอำนาจบังคับ ดัง

พระราชดำริที่พระราชทานตั้งแต พ.ศ. ๒๕๑๙ ท่ีใหมีการปลูกตนไม ๓ ชนิดที่แตกตางกัน คือ

ไมผล ไมโตเร็ว และไมเศรษฐกิจ เพื่อใหเกิดปาไมแบบผสมผสานและสรางความสมดุลแกธรรมชาติ

อยางยั่งยืน นอกจากนี้ ยังไดพระราชทานพระราชดำริเรื่องการปลูกปาอีกหลายประการ เชน การ

ปลูกปาทดแทน การปลูกปาในที่สูง การปลูกปาตนน้ำท่ีลำธาร หรือการปลูกปาธรรมชาติ และการ

Page 249: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ปลูกปา ๓ อยาง ไดประโยชน ๔ อยาง

แนวพระราชดำริดานการเกษตรที่สำคัญคือ “ทฤษฎีใหม” อันเปนการใชประโยชนจากพื้นที่ที่

มีอยูจำกัดใหเกิดประโยชนสูงสุด ขณะเดียวกันก็มีน้ำไวใชตลอดปเปนการอำนวยประโยชนตอทั้งดาน

เศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดลอมโดยทั่วไป “ทฤษฎีใหม” จึงเปนแนวทางหรือ

หลักการในการบริหารจัดการที่ดินและแหลงน้ำเพื่อการเกษตรในท่ีดินขนาดเล็กใหเกิดประโยชนสูงสุด

โดยทรงเริ่มการทดลองที่วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลหวยบง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสระบุรี และแพรหลาย

จนเปนที่ยอมรับกันทั่วไปในปจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงคนควาทดลองและวิจัยดานการเกษตรเปนโครงการสวน

พระองคมาตั้งแต พ.ศ. ๒๕๐๕ ในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ทรงแบงโครงการสวน

พระองคเปน ๒ แบบ คือ โครงการแบบไมใชธุรกิจและโครงการกึ่งธุรกิจ โครงการแบบไมใชธุรกิจ

เก่ียวของกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร โดยทรงใหความสำคัญกับการเพิ่มพูน

คุณภาพชีวิตของเกษตรกรในระยะยาว เพื่อใหเกษตรกรสามารถพึ่งตนเองไดทางดานอาหารและ

สนับสนุนใหมีรายไดเพ่ิมขึ้นนอกเหนือจากรายไดจากภาคเกษตร อีกทั้งยังเนนการพัฒนาและอนุรักษ

ทรัพยากรธรรมชาติดวย เชน นาขาวทดลอง การเล้ียงปลานิล การผลิตแกสชีวภาพ หองปฏิบัติการ

ทางวิทยาศาสตร เพื่อใชตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑตาง ๆ ที่ผลิตจากโครงการสวนพระองคสวน

จิตรลดา หองปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเน้ือเยื่อพืชเพื่อขยายพันธุไม โครงการบำบัดน้ำเสีย และโครงการ

สาหรายเกลียวทอง ซึง่นำมาผลิตเปนอาหารปลา สวนโครงการก่ึงธรุกจิซึง่เปนโครงการท่ีมกีารจำหนาย

ผลิตภัณฑในราคายอมเยาโดยไมหวังผลกำไรอันเปนท่ีรูจักกันโดยท่ัวไป เชน โรงโคนม สวนจิตรลดา

โรงนมผงสวนดุสิต ศูนยรวมนมสวนจิตรลดา โรงสีขาวตัวอยางสวนจิตรลดา โรงนมเม็ดสวนดุสิต

โรงเนยแข็ง โรงกล่ันแอลกอฮอล โรงเพาะเห็ด โรงน้ำผลไมกระปอง โครงการตาง ๆ เหลานี้เนนการนำ

ทรัพยากรธรรมชาติและปจจัยทางการเกษตรที่มีอยูมาใชอยางประหยัดและเนนประโยชนสูงสุด เพื่อ

นำผลการทดลองออกเผยแพรเพื่อเปนตัวอยางแกเกษตรกร

โครงการสำคัญที่เกี่ยวของกับการเกษตรอีกโครงการหน่ึงซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรง

กอตั้งขึ้นคือ โครงการหลวง โดยเริ่มจากการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับ ณ

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน และไดทอดพระเนตรความเปนอยูของชาวเขาที่มีฐานะยากจน ปลูกฝน

และทำลายปาไมตนน้ำลำธาร จึงทรงริเริ่มสงเสริมการเกษตรแกชาวเขาโดยพระราชทานพันธุพืช

พันธุสัตว เพื่อทดแทนการปลูกฝน ใน พ.ศ. ๒๕๑๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหกอตั้งโครงการ

สวนพระองคขึ้นชื่อโครงการพระบรมราชานุเคราะหชาวเขา ซึ่งตอมาเปลี่ยนเปนโครงการหลวงพัฒนา

ชาวเขา โครงการหลวงไดใหทุนสนับสนุนนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร มหาวิทยาลัย

เชียงใหม หนวยราชการตาง ๆ ใหทำการวิจัยจำนวนมาก โครงการวิจัยตาง ๆ ลวนเกี่ยวของกับ

การเกษตร เชน โครงการวิจัยไมผล โครงการวิจัยพืชผัก โครงการวิจัยไมดอกไมประดับ โครงการวิจัย

Page 250: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทอดพระเนตรสภาพพื้นที่และผลผลิตของมูลนิธิโครงการหลวง

Page 251: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทอดพระเนตรการปฏิบัติงานของหนวยแพทยพระราชทานขณะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเย่ียมราษฎรในทองถิ่นตาง ๆ

Page 252: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พืชไร โครงการวิจัยศัตรูพืช โครงการวิจัยงานเล้ียงสัตว โครงการวิจัยงานขยายพันธุพืช นอกจาก

การวิจัยแลว โครงการหลวงยังขยายผลไปสูการปฏิบัติ โดยชักชวนเกษตรกรชาวเขาเขามารวมมือ

ดำเนินการเชิงการคาพรอมไปกับงานวิจัย ปญหาตาง ๆ ที่เกิดข้ึนในแปลงเกษตรไดรับการแกไขเพิ่มเติม

ติดตอกันไป สงผลใหงานสงเสริมปลูกพืชทดแทนฝนทำไดอยางรวดเร็วขึ้นมาก พรอมกับการแกไข

ปญหาในพื้นที่การเกษตรก็สามารถทำไดอยางจริงจัง งานของโครงการหลวงไดรับการยอมรับวาเปน

วิธีการแกปญหาพ้ืนที่ปลูกฝนที่ทำไดอยางสันติวิธีที่สุด และยังเปนการชวยชาวเขาใหมีอาชีพมั่นคง

มูลนิธิแมกไซไซแหงประเทศฟลิปปนสจึงประกาศใหโครงการหลวงเปนองคกรที่ไดรับรางวัลแมกไซไซ

ในดาน International Understanding เม่ือ พ.ศ. ๒๕๓๑

ปจจุบันโครงการหลวงเปนมูลนิธิโครงการหลวงเพื่อสาธารณประโยชนที่มุงทำงานวิจัยท่ีตองการ

พัฒนาและการผลิตที่แนนอน มีตลาดรองรับ รวมทั้งเปนโครงการนำรองและการถายทอดเทคโนโลยี

ใหม ๆ ที่สำคัญแกการพัฒนาในที่สูง การสรางมูลคาเพิ่มกับผลิตผลและผลิตภัณฑของโครงการหลวง

โดยมีการอนุรักษสิ่งแวดลอม รักษาสภาพตนน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศไวดวย

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนท่ีสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการสาธารณสุข ซึ่งพระบาท

สมเด็จพระเจาอยูหัวทรงดำเนินตามรอยพระบาทของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ

ทางการแพทยและการสาธารณสุขเพ่ือประโยชนของประชาชน เริ่มตั้งแตใน พ.ศ. ๒๔๙๖ ได

พระราชทานพระราชทรัพยสวนพระองคแกกองวิทยาศาสตร สภากาชาดไทย เพ่ือสราง “อาคารมหิดล

วงศานุสรณ” เปนศูนยผลิตวัคซีน บี.ซี.จี. ซึ่งเปนวัคซีนปองกันวัณโรค เพราะขณะน้ันประเทศไทยยัง

ผลิตเองไมได การผลิตวัคซีนไดทำใหการควบคุมโรคสะดวกขึ้นและประหยัดคาใชจาย นอกจากนี้ยัง

สนพระราชหฤทัยปญหาโรคเร้ือนเปนอยางมาก ใน พ.ศ. ๒๔๙๗ ไดพระราชทานพระราชทรัพยในการ

จัดตั้งกองทุนราชประชาสมาสัย ซึ่งตอมาเปลี่ยนเปนมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ

เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานปราบปรามโรคเรื้อน และไดพระราชทานพระราชทรัพยสวนพระองคเพื่อ

สรางโรงเรียนสำหรับบุตรหลานผูปวยโรคเรื้อนขึ้น พระราชทานนามวา โรงเรียนราชประชาสมาสัย

ในการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคตาง ๆ ไดทรงพบวา ราษฎรสวนหนึ่งมีสุขภาพ

ไมสมบูรณเนื่องจากขาดทุนทรัพยในการรักษา ขาดผูรักษา หรืออยูหางไกลสถานรักษา และจำนวน

ไมนอยที่ขาดอาหาร จึงทรงเริ่มจัดหนวยแพทยเคลื่อนท่ีพระราชทานต้ังแตใน พ.ศ. ๒๔๙๗ ทั้งทางบก

และทางนำ้ โดยใชจายจากพระราชทรัพยสวนพระองคทัง้สิน้ นอกจากนี ้พระบาทสมเดจ็พระเจาอยูหวั

มีพระราชดำริถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรทางการแพทยของไทยใหกาวหนายิ่งข้ึน โดย

โปรดเกลาฯ ใหตัง้ทนุการศกึษาขัน้สงูสำหรบัผูทีส่ำเรจ็การศกึษาระดบัปรญิญาบณัฑติสาขาแพทยศาสตร

ในประเทศไทยไปศกึษาตอ ณ ตางประเทศ โดยพระราชทานทนุอานันทมหดิล ซึง่ตอมาเปล่ียนสถานภาพ

จากทนุเปนมลูนธิอิานนัทมหิดล และไดขยายการพระราชทานทนุใหแกนกัศึกษาในสาขาอืน่ดวยนอกจาก

Page 253: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

แพทยศาสตร พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งสะทอนใหเห็นถึงความสนพระราชหฤทัย

ทางการแพทยและสาธารณสุข คือการพระราชทานรางวัลสมเด็จเจาฟามหิดล (Prince Mahidol

Awards) โดยรัฐบาลไดจัดตั้งมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจาฟามหิดลขึ้นและพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว

ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ รับไวในพระบรมราชูปถัมภ ทรงแตงตั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารีเปนองคประธานมูลนิธิฯ โดยมีจุดมุงหมายท่ีจะมอบรางวัลแกบุคคลหรือองคกร

จากทั่วโลกท่ีมีผลงานดีเดนทางการแพทยและการสาธารณสุข โดยไมจำกัดเชื้อชาติ ศาสนา และลัทธิ

การปกครอง ซ่ึงมีผลชวยใหคุณภาพชีวิตของมนุษยชาติดีขึ้น ทั้งนี้มีผูไดรับพระราชทานรางวัลใน พ.ศ.

๒๕๓๕ เปนครั้งแรก พระราชกรณียกิจทางการแพทยและการสาธารณสุขเพื่อประโยชนของประชาชน

ยังมีอีกเปนจำนวนมาก

พระราชกรณียกิจดานการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวเปนที่ประจักษ เห็นไดจาก

โครงการตาง ๆ จำนวนมากที่ลวนแตมีจุดมุงหมายท่ีจะใหราษฎรมีความผาสุกอยางแทจริง ซึ่งครอบคลุม

การพัฒนาในดานตาง ๆ ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพชีวิตของประชาชน โครงการตาง ๆ ที่

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงดำเนินการเพื่อประชาชนน้ัน แยกไดเปนโครงการตามพระราช-

ประสงค คือ โครงการท่ีทรงศึกษา ทดลอง ปฏิบัติเปนการสวนพระองค โดยใชพระราชทรัพยสวน

พระองค เมื่อไดผลดีก็จะใหหนวยงานของรัฐรับดำเนินงานตอไป โครงการหลวง คือการพัฒนาชีวิต

ตามความเปนอยูของชาวไทยภูเขาใหดีขึ้น ชักจูงใหเลิกปลูกฝน งดการตัดไมทำลายปา และทำไร

เลื่อนลอย โครงการตามพระราชดำริ คือโครงการที่ทรงวางแผนพัฒนาและเสนอแนะใหรัฐบาลเขารวม

ดำเนินงานตามพระราชดำริ ปจจุบันเรียกวาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซ่ึงมีอยูทั่วทุกภาค

ของประเทศไทย

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเปนโครงการที่ทรงวางแผนเพื่อการพัฒนา ซ่ึงเกิดจากการ

ที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคตาง ๆ ทั่วประเทศ และทรง

พบเห็นปญหาที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอยางย่ิงปญหาเกษตรกรรม จึงไดพระราชทานคำแนะนำเพ่ือนำ

ไปปฏิบัติจนไดผลดีและไดรับการยอมรับจากผูปฏิบัติงานท้ังหลายวาสมควรยิ่งที่จะดำเนินตาม

พระราชดำริ พระราชดำริเริ่มแรกอันเปนโครงการชวยเหลือประชาชนเริ่มข้ึนตั้งแต พ.ศ. ๒๔๙๔ โดย

ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหกรมประมงนำพันธุปลาหมอเทศจากปนัง ซ่ึงไดรับจากผูเช่ียวชาญดาน

การประมงขององคการอาหารและเกษตรแหงสหประชาชาติเขาไปเลี้ยงในสระน้ำ บริเวณพระท่ีนั่ง

อัมพรสถาน และเม่ือวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๖ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทาน

พันธุปลาหมอเทศแกกำนัน ผูใหญบานทั่วประเทศ นำไปเลี้ยงเผยแพรขยายพันธุแกราษฎรในหมูบาน

ของตนเพื่อจะไดมีอาหารโปรตีนเพิ่มขึ้น

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่นับไดวาเปนโครงการพัฒนาชนบทโครงการแรกเกิดข้ึน

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทานรถ

Page 254: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวเสด็จพระราชดำเนินศูนยศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

ซึ่งทรงจัดตั้งในพื้นที่พรุของภาคใต

Page 255: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

บูลโดเซอรใหหนวยตำรวจตระเวนชายแดนคายนเรศวร ไปสรางถนนเขาไปยังบานหวยมงคล ตำบล

หินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ เพื่อใหราษฎรสามารถสัญจรไปมา และนำผลผลิต

ออกมาจำหนายยังชุมชนภายนอกไดสะดวกข้ึน จากนั้นใน พ.ศ. ๒๔๙๖ ไดพระราชทานพระราชดำริ

ใหสรางอางเก็บน้ำเขาเตา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ เพื่อบรรเทาความแหงแลงและความ

เดือดรอนของราษฎร และสรางเสร็จใชประโยชนไดใน พ.ศ. ๒๕๐๖ ซ่ึงนับเปนโครงการพระราชดำริ

ทางดานชลประทานแหงแรกของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว กลาวไดวาโครงการอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริในระหวางเริ่มแรกเปนโครงการที่เกี่ยวของกับการแกไขปญหาของราษฎรเพื่อสงเสริมใหมี

ความอยูดีกินดีขึ้นทั้งสิ้น และโดยที่ราษฎรสวนใหญประกอบอาชีพทางการเกษตร จึงทรงเนนการศึกษา

ที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตร การพัฒนาที่ดิน และการชลประทาน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแตเริ่มแรกจนถึงปจจุบันมีทั้งสิ้นกวา ๔,๐๐๐ โครงการ

อยูในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ซ่ึงเปนหนวยงานระดับกรม แยกเปนประเภทตาง ๆ คือ การเกษตร

สิ่งแวดลอม สาธารณสุข การพัฒนาแหลงน้ำ การสงเสริมอาชีพ การคมนาคมส่ือสาร สวัสดิการสังคม

ฯลฯ

การที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวมีพระราชดำริใหจัดตั้งศูนยศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริขึ้นนั้น วัตถุประสงคที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเปนแหลงความรูใหแกราษฎร เพื่อให

เปนตัวอยางนำไปประยุกตใชกับงานอาชีพของตน โดยเฉพาะอยางยิ่งเรื่องที่เก่ียวกับการเกษตรกรรม

ตาง ๆ อันจะทำใหเกษตรกรเหลานี้มีรายไดในการเลี้ยงตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น ศูนยศึกษา

การพัฒนาอันเน่ืองมาจากพระราชดำริไดจัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริในทุกภูมิภาคจำนวน ๖ ศูนย

ไดแก (๑) ศูนยศึกษาการพัฒนาเขาหินซอน (๒) ศูนยศึกษาการพัฒนาหวยทราย (๓) ศูนยศึกษา

การพัฒนาอาวคุงกระเบน (๔) ศูนยศึกษาการพัฒนาภูพาน (๕) ศูนยศึกษาการพัฒนาหวยฮองไคร

(๖) ศูนยศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เพ่ือเปนสถานที่ศึกษา ทดลอง ทดสอบ และแสวงหาวิธีการ

พฒันาดานตาง ๆ ใหเหมาะสมสอดคลองกบัสภาพแวดลอมทีแ่ตกตางกนั ศนูยศกึษาฯ จงึเปรยีบเสมอืน

“ตัวแบบ” ของความสำเร็จที่จะเปนแนวทางและตัวอยางของผลสำเร็จใหแกพื้นที่อื่น ๆ เปน “ศูนย

บริการแบบเบ็ดเสร็จ” คือสามารถท่ีจะศึกษาหาความรูไดทุกเรื่อง ทั้งดานการปรับปรุงบำรุงดิน การ

ปลูกพืชสวน พืชไร การเลี้ยงสัตว การประมง ปาไม ตลอดจนการชลประทาน งานศิลปาชีพพิเศษ

ฯลฯ ซึ่งผลสำเร็จเหลาน้ีไดจัดสาธิตไวในลักษณะของ “พิพิธภัณฑธรรมชาติที่มีชีวิต”

นอกจากการพัฒนาดานตาง ๆ อันเปนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนแลว พระบาท

สมเด็จพระเจาอยูหัวยังประกอบพระราชกรณียกิจดานการศึกษาเพ่ือพัฒนาบุคคลเปนอยางมาก เชน

ไดพระราชทานความชวยเหลือใหจัดต้ังโรงเรียนตาง ๆ เชน โรงเรียนสำหรับเยาวชนในทองถิ่นทุรกันดาร

ที่ตำรวจตระเวนชายแดนดำเนินการมาตั้งแต พ.ศ. ๒๔๙๙ จนกระทั่งมีโรงเรียนท่ีทรงจัดตั้งมากกวา

Page 256: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

๒๐๐ โรงเรียนทั่วประเทศ โรงเรียนรมเกลาซึ่งเปนโรงเรียนสำหรับเยาวชนในทองถิ่นชนบทหางไกลที่มี

ความไมสงบจากภัยตาง ๆ โรงเรียนราชประชาสมาสัย เพ่ือเปนสถานศึกษาอยูประจำสำหรับเยาวชน

ที่เปนบุตรธิดาของคนไขโรคเรื้อน โรงเรียนราชประชานุเคราะหรวมกับประชาชนเพื่อใหการศึกษา

แกเด็กกำพราที่ครอบครัวประสบวาตภัยในภาคใตและเด็กท่ียากไรขาดที่พึ่ง ซ่ึงปจจุบันมีโรงเรียน

ราชประชานุเคราะห ๓๐ แหงทั่วทุกภาคของประเทศ พระราชทานพระราชทรัพยสวนพระองคพัฒนา

โรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน ทรงจัดต้ังโรงเรียนจิตรลดาข้ึนในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐานเพื่อ

เปนสถานศึกษาของพระราชโอรส พระราชธิดา และบุตรหลานของพระบรมวงศานุวงศ มหาดเล็ก

และประชาชนทั่วไป

ในระดับอุดมศึกษา ทรงตั้งทุนภูมิพลขึ้นเพื่อพระราชทานแกผูมีผลการเรียนดีแตขาดแคลน

ทุนทรัพย ทรงฟนฟูการพระราชทานทุนเลาเรียนหลวงคิงสกอลาชิป (King Scholarship) ขึ้นอีก ทุน

เลาเรียนหลวงนี้พระราชทานแกผูมีผลการเรียนดีเดนใหไปศึกษาตอ ณ ตางประเทศ ผูที่ไดรับทุน

การศึกษาดังกลาวไดกลับมาทำงานรับใชชาติบานเมืองเปนจำนวนมาก ทุนการศึกษาท่ีสำคัญอีก

ประการหนึ่งคือทรงกอตั้งทุนมูลนิธิอานันทมหิดลเพื่อเปนอนุสรณแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว

อานันทมหดิล โดยใหผูทีเ่รยีนดีไปศึกษาวชิาแพทยศาสตร วทิยาศาสตร วศิวกรรมศาสตร เกษตรศาสตร

อักษรศาสตร นิติศาสตร รัฐศาสตร เศรษฐศาสตร และโบราณคดี ผูสำเร็จการศึกษาไดกลับมาทำงาน

รับใชประเทศจำนวนมาก แมวาทุนนี้จะไมระบุวาจะตองกลับมาทำงานชดใชทุนก็ตาม เน่ืองดวย

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชไมทรงตองการใหมีการทำสัญญาวาจะใชทุน แตขอให

เปนสัญญาทางใจซึ่งสำคัญกวาสัญญาทางลายลักษณอักษร

นอกจากการศึกษาในระบบโรงเรียนแลว พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวยังมีพระราชดำริที่จะให

จัดการศึกษานอกระบบขึ้น เชน โรงเรียนพระดาบส และยังทรงสงเสริมใหมีการจัดตั้งมูลนิธิการศึกษา

ทางไกลผานดาวเทียมอีกดวย รวมท้ังทรงริเริ่มใหมีการจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนขึ้นเพื่อให

เยาวชนของชาติมีหนังสือที่ดีสำหรับคนควาและแสวงหาความรู

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนาเปนอยางยิ่ง ทรงผนวช

เชนเดียวกับชายไทยทั่วไปซึ่งเปนชาวพุทธ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาใหรุงเรือง ทรงเปนองค

อัครศาสนูปถัมภก ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อสงเสริมพระพุทธศาสนา และได

พระราชทานพระราชูปถัมภบำรุงศาสนาอื่น ๆ ในประเทศไทย ทั้งศาสนาคริสต ศาสนาอิสลาม ศาสนา

สิกข ศาสนาฮินดู รวมทั้งไดพระราชทานพระราชทรัพยอุปถัมภและบำรุงศาสนาเหลานั้นดวย ทำให

ประชาชนทุกศาสนาไดอยูรวมกันอยางสงบสุขในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงพระปรีชาสามารถในศาสตรสาขาตาง ๆ ซึ่งสงผลตอการ

พัฒนาทั้งสิ้น ทั้งในดานการประดิษฐ ไดแก การประดิษฐ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” เครื่องกลเติมอากาศ

แบบทุนลอย ซ่ึงไดรับการออกสิทธิบัตรตามกฎหมายขึ้นทูลเกลาฯ ถวายเมื่อวันท่ี ๒ กุมภาพันธ

Page 257: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พ.ศ. ๒๕๓๖ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” จึงเปนสิ่งประดิษฐเครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ ๙ ของโลกท่ีไดรับ

สิทธิบัตร และเปนครั้งแรกที่ไดมีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรใหแก “นักประดิษฐ” ซึ่งเปน

พระมหากษัตริย และไดรับรางวัลระดับโลกในฐานะส่ิงประดิษฐดีเดนในงานนิทรรศการ Brussels

Eureka ๒๐๐๐: 49th World Exhibition Innovation, Research and New Technology ท่ีกรุง

บรัสเซลส ประเทศเบลเยียม กังหันน้ำชัยพัฒนาไดรับรางวัลจากคณะกรรมการนานาชาติ และรางวัล

จากกรรมการประจำชาติถึง ๕ รางวัล นอกจากพระปรีชาสามารถในดานการประดิษฐแลว พระบาท

สมเด็จพระเจาอยูหัวยังมีพระปรีชาสามารถในดานอื่น ๆ อีกดวย ไมวาจะเปนดานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ดานแผนท่ี ดานการจราจรและขนสง เชน โครงการการกอสรางถนนวงแหวนรัชดาภิเษก โครงการ

คูขนานลอยฟา ฯลฯ

ความสำเร็จในดานการพัฒนาที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวพระราชทานแนวคิดแกสังคมไทย

มาโดยตลอด เปนที่ประจักษชัดเมื่อสำนักงานโครงการพัฒนาแหงสหประชาชาติ (UNDP) ทูลเกลาฯ

ถวายรางวัลความสำเร็จดานการพัฒนามนุษย (UNDP Human Development Lifetime Achieve-

ment Award) เม่ือวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยนายโคฟ อันนัน (Kofi Annan)

เลขาธิการองคการสหประชาชาติเปนผูทูลเกลาฯ ถวาย รางวัลเกียรติยศนี้สหประชาชาติจัดทำข้ึน

เพื่อมอบใหแกบุคคลดีเดนที่อุทิศตนตลอดชีวิต และสรางคุณคาของผลงานอันเปนท่ีประจักษและเปน

คณุปูการในการผลักดนัความกาวหนาในการพฒันาคน ซึง่เปนการพฒันาท่ีใหคนเปนเปาหมายศนูยกลาง

ในการพัฒนา โดยมุงเนนการพัฒนาความเติบโตทางเศรษฐกิจอยางยั่งยืน มีความม่ันคงในชีวิต มีความ

เทาเทียมกัน และการมีสวนรวมทางการเมือง พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงไดรับทูลเกลาฯ ถวาย

รางวัลอันเน่ืองมาจากผลงานการพัฒนาชนบทของพระองค ซึ่งมีจำนวนมากในทุกภูมิภาคของประเทศ

สิ่งที่สะทอนใหเห็นถึงพระราชจริยวัตรอันงดงามของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวที่ทรงปฏิบัติ

อยางตอเนื่องมาตลอดรัชสมัย ปรากฏในพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชาธิบดีแหงบรูไนดารุสซาลาม

ซึ่งถวายพระพรแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวในนามของพระประมุขและพระราชวงศทั้ง ๒๕

ราชอาณาจักร เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ

๖๐ ป วา

…หวงเวลาที่ผานมาเปนหวงที่เกิดความเปลี่ยนแปลงข้ึนอยางรวดเร็วและกวางไกล มากที่สุดเทาที่เคยประสบมาในประวัติศาสตรของมนุษยชาติ ความเปลี่ยนแปลงเหลานี้ทาทายการดำรงอยูของเราในทุกมิติ โดยเฉพาะความเปนชาติอันธำรงไวซึ่งอธิปไตย ในยามที่ถูกทาทายเชนนี้ สิ่งที่เราทุกคนเพรียกหาคือการตัดสินใจที่ถูกตองและเฉียบคมทุกคร้ัง ฝาพระบาทไดทรงใชพระราชปรีชาญาณ พระสติปญญา พระวิริยอุตสาหะ ตลอดจนความ องอาจและกลาหาญที่พระองคทรงมีอยูอยางทวมทนในการนำประเทศไทยใหพนภัย

Page 258: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ฝาพระบาทไมเคยทรงอยูหางไกลจากประชาชนของพระองค ไมเคยมีพระราชดำริให ประชาชนเปนเพียงผูฟงคำสั่งหรือบริวาร ในทางตรงกันขามฝาพระบาททรงอยูเคียงขาง พสกนิกรของพระองค และทรงรวมทุกขรวมสุขกับประชาชนชาวไทยตลอดมา…

ตลอดรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชไดปฏิบัติพระราชภารกิจในฐานะ

ของพระมหากษัตริยในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข

โดยทรงตระหนักถึงบทบาทและหนาที่ของสถาบันกษัตริยวา หนาที่ของพระองคคือ “…ทำอะไรก็ตาม ที่เปนประโยชน…” นอกจากจะประกอบพระราชกรณียกิจตามฐานะและพระราชอำนาจของ

พระมหากษัตริยตามที่มีบทกฎหมายกำหนดไวอยางสมบูรณแลว พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว

ภูมิพลอดุลยเดชยังไดปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะพระมหากษัตริยนักพัฒนา ทรงทุมเทกำลัง

พระวรกายและกำลังพระสติปญญาเพ่ือพสกนิกรของพระองค ดังที่ปรากฏในโครงการอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริตาง ๆ ซึ่งเปนพระราชกรณียกิจดานการพัฒนาเพื่อบำบัดทุกขบำรุงสุขของประชาชน เพื่อ

ใหประชาชนของพระองคมีความเกษมสุขโดยเทาเทียมกัน

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจาสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ

มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม ๔ พระองค คือ

๑. ทูลกระหมอมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

๒. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจาฟามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

๓. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

๔. สมเด็จพระเจาลูกเธอ เจาฟาจุฬาภรณวลัยลักษณ อัครราชกุมารี

กนกวลี ชูชัยยะ

เอกสารอางอิง

กนกวลี ชูชัยยะ และกฤษฎา บุณยสมิต. “กษัตริยนักพัฒนา.” ใน ใตรมพระบารมี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช.

กรุงเทพฯ: ดานสุทธาการพิมพ, ๒๕๔๗. (ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว

ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗๕ พรรษา)

. “พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช พระปรีชาสามารถในการบริหารจัดการ” ใน พระบาทสมเด็จ

พระเจาอยูหัว พระอัจฉริยภาพในการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.ร., ๒๕๔๙.

. “พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริยนักพัฒนา ผูทรงเปนตนแบบของการบริหาร

จัดการสมัยใหม” ใน ๙ แผนดินของการปฏิรูประบบราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.ร., ๒๕๔๙.

กรมวิชาการ. พระเจาอยูหัว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพชวนพิมพ, ๒๕๓๐.

Page 259: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

กระทรวงมหาดไทย. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. การทำความเขาใจเกี่ยวกับกรอบแนวทางการดำเนินงานในการ

แกไขปญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต เขาใจ เขาถึง พัฒนา. ม.ป.ท., ๒๕๔๘.

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสริริาชสมบตัคิรบ ๖๐ ป. สารานกุรมพระราชกรณยีกิจพระบาทสมเดจ็พระเจาอยูหวั

ในรอบ ๖๐ ปแหงการครองราชย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงคในพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว. สารานุกรมไทยฉบับ

กาญจนาภิเษก. กรุงเทพฯ: ดานสุทธา, ๒๕๓๙.

. สารานุกรมไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ป. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้ง

แอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๕๐.

ทบวงมหาวิทยาลัย. เอกกษัตริยอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพชวนพิมพ, ๒๕๔๐. (ทบวงมหาวิทยาลัยรวมกับสถาบัน

อุดมศึกษาของรัฐและเอกชนจัดพิมพเนื่องในมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ป พุทธศักราช

๒๕๓๙)

พระราชดำรัสพระราชทานแกคณะบุคคลตาง ๆ ที่เขาเฝาฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ

ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันพุธที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๗ วันพฤหัสบดีที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๘

วันเสารที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๙ วันอาทิตยที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๒๐ วันจันทรที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๒๑. กรุงเทพฯ:

อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๔๑.

พระราชดำรัสพระราชทานเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐ คูมือการดำเนินชีวิตสำหรับประชาชน ป ๒๕๔๑ และทฤษฎีใหม.

พิมพครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: สำนักงานจัดการทรัพยสินสวนพระองค สำนักงานทรัพยสินสวนพระมหากษัตริย

บริษัท มงคลชัยพัฒนา จำกัด และบริษัท บางจากปโตรเลียม จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๑.

มหาวทิยาลยัเกษตรศาสตร. สรรพศิลปศาสตราธริาช. กรงุเทพฯ: อมรินทรพริน้ติง้แอนดพบัลชิชิง่, ๒๕๔๒. (มหาวิทยาลยั

เกษตรศาสตรจัดพิมพเนื่องในโอกาสสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรทูลเกลาทูลกระหมอมถวายปริญญาดุษฎี

บัณฑิตกิตติมศักดิ์แดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว พ.ศ. ๒๕๔๒)

สำนักงาน กปร. ทฤษฎีใหม. กรุงเทพฯ: บางกอกบลอก, ๒๕๔๗.

. หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว. กรุงเทพฯ: ๒๑ เซ็นจูรี, ๒๕๔๘.

สำนักงานคณะกรรมการขาราชการพลเรือน. เรียนรูตามรอยพระยุคลบาท: หนาที่. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ

ขาราชการพลเรือน, ๒๕๔๖.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ. คณะกรรมการวิจัยแหงชาติ สาขาวิทยาศาสตรการแพทย. สายธาราแหง

พระมหากรุณาธิคุณ. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ, ๒๕๓๙.

สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง. ในหลวงของเรากับฝนหลวง. ม.ป.ท., ม.ป.ป.

Page 260: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

ที่มาของภาพ

กรมศิลปากร. ประชุมจารึกภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๔๘.

. สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-กรุงธนบุรี เลม ๑. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๔๒.

. อนุสาวรียในประเทศไทย เลม ๒. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร, ๒๕๔๒.

คณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร ๒๐๐ ป. สมุดภาพประติมากรรมกรุงรัตนโกสินทร. กรุงเทพฯ: กราฟฟค

อารต, ๒๕๒๕.

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงคในพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว. สารานุกรมไทยฉบับ

เฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ป. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง, ๒๕๕๐.

ธวัชชัย ต้ังศิริวานิช. กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๙.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับความสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เลมหนึ่ง ต้ังแตสรางกรุงศรีอยุธยาถึง

สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก, ๒๕๔๙. (คณะสงฆวัดพระเชตุพนจัดพิมพเปนที ่

รฦกเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ป ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๙)

ราชบัณฑิตยสถาน. ใตรมพระบารมี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๗.

(ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗๕ พรรษา

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕)

ศกัดิช์ยั สายสงิห. ศลิปะสโุขทยั: บทวิเคราะหหลกัฐานโบราณคดี จารกึ และศลิปกรรม. กรงุเทพฯ: สถาบนัวจิยัและพฒันา

มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.

สุริยวุฒิ สุขสวัสด์ิ, ม.ร.ว. พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งกรุพ จำกัด, ๒๕๓๕.

อภินันท โปษยานนท. จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก เลม ๑-๒. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้ง

กรุพ, ๒๕๓๖.

Page 261: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

ประวัติความเปนมา

เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ อันเปนมงคลวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี ทรงรับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาจารึกภาษาตะวันออก)

จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ธนาคารไทยพาณิชย จำกัด (มหาชน) โดยความรวมมือ

ของนักศึกษาและอาจารยจากมหาวิทยาลัยศิลปากรไดจัดพิมพจำหนายหนังสือรวมพระฉายาลักษณ

นำเงินรายไดทูลเกลาฯ ถวายเปนกองทุนเริ่มแรกสำหรับเก็บดอกผลเพื่อพระราชทานเปนทุนการศึกษา

แกเยาวชนผูขัดสนตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งไดพระกรุณาพระราชทานช่ือทุนวา “ทุนสมเด็จพระเทพ

รัตนราชสุดา”

ตอมาไดมีผูมีจิตศรัทธารวมบริจาคสมทบเพิ่มขึ้น เห็นควรขยายโครงการทุนพระราชทานเพื่อ

การศึกษาใหมั่นคงกวางขวางขึ้น จึงดำเนินการจดทะเบียนเงินกองทุนดังกลาวข้ึนเปนมูลนิธิ และไดรับ

พระราชานุญาตใหใชชื่อวา “มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา” ตามช่ือทุนเดิมที่ไดรับพระราชทาน

แลว ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ รับเปนองคอุปถัมภของมูลนิธิฯ ดวย

มูลนิธิฯ ไดเร่ิมใหทุนการศึกษาแกนักเรียนและนักศึกษาทุกระดับท่ีขาดแคลนทุนทรัพย ตั้งแต

ประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา โดยเริ่มใหทุนมาตั้งแตป พ.ศ. ๒๕๒๕ จนถึงปจจุบัน ไดใหทุน

การศึกษาไปแลวเปนจำนวนมาก

กองทนุมลูนธิสิมเดจ็พระเทพรตันราชสดุา มรีายไดจากการบริจาคและจากการจัดพมิพพระราช-

นิพนธในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศ

ตาง ๆ นอกจากนี้มูลนิธิฯ ไดจัดทำและจัดพิมพนามานุกรมตาง ๆ ออกเผยแพร เชน นามานุกรม

วรรณคดีไทยและนามานุกรมพระมหากษัตริยไทย เปนตน

Page 262: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

พระนามและรายนามคณะกรรมการ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องคอุปถัมภมูลนิธิฯ

ทานผูหญิงมนัสนิตย วณิกกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมการ

ทานผูหญิงนราวดี ชัยเฉนียน ประธานกรรมการ

นายธารินทร นิมมานเหมินท รองประธานกรรมการ

คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร กรรมการ

รองศาสตราจารย ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ กรรมการ

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการ

นายเดโช สวนานนท กรรมการ

ดร.สุวัฒน เงินฉ่ำ กรรมการ

นายสมศักดิ์ วิราพร กรรมการ

นายทรงฤทธิ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต กรรมการ

ดร.สมเกียรติ ชอบผล กรรมการ

นางโฉมฉาย เหลาสุนทร กรรมการและเหรัญญิก

นางวัลลิยา ปงศรีวงศ กรรมการและผูชวยเหรัญญิก

ศาสตราจารยเกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ กรรมการและเลขานุการ

นายสุพจน จิตสุทธิญาณ กรรมการและผูชวยเลขานุการ

ผูชวยศาสตราจารย ดร.จิรัสสา คชาชีวะ กรรมการและผูชวยเลขานุการ

คุณชวลี อมาตยกุล กรรมการกิตติมศักดิ์

นางชญานุตม อินทุดม กรรมการกิตติมศักดิ์

นางสาวอรวรรณ แยมพลาย กรรมการกิตติมศักดิ์

ดร.อภิชัย จันทรเสน ที่ปรึกษาดานกฎหมาย

Page 263: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

องคที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ที่ปรึกษา ทานผูหญิงนราวดี ชัยเฉนียน

คณะผูจัดทำ บรรณาธิการที่ปรึกษา

ทานผูหญิงวรุณยุพา สนิทวงศ ณ อยุธยา

ศาสตราจารยเกียรติคุณ คุณหญิงไขศรีี ศรีอรุณ

บรรณาธิการวิชาการ

พลตรี หมอมราชวงศศุภวัฒย เกษมศรี

ผูชวยศาสตราจารย ดร.ปรีดีี พิศภูมิวิถี

คณะบรรณาธิการ

ศาสตราจารยเกียรติคุณ ดร.กุสุมา รักษมณี ผูชวยศาสตราจารยวิพุธ โสภวงศ

รองศาสตราจารยยุพร แสงทักษิณ ผูชวยศาสตราจารย ดร.วัลยา ชางขวัญยืน

ผูชวยศาสตราจารย ดร.เสาวณิต วิงวอน

ผูเขียนคำ

ศาสตราจารย ดร.ประเสริฐ ณ นคร ศาสตราจารยเกียรติคุณ ดร.กุสุมา รักษมณี

ศาสตราจารยกิตติคุณ ดร.ปยนาถ บุนนาค ศาสตราจารยพิเศษจุลทัศน พยาฆรานนท

ศาสตราจารยพิเศษทองตอ กลวยไม ณ อยุธยา รองศาสตราจารย ดร.ธีรวัต ณ ปอมเพชร

รองศาสตราจารยธงทอง จันทรางศุ รองศาสตราจารย ดร.วุฒิชัย มูลศิลป

รองศาสตราจารย ดร.สุกัญญา บำรุงสุข รองศาสตราจารย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท

ผูชวยศาสตราจารย ดร.ธีระ นุชเปยม ผูชวยศาสตราจารย ดร.วรพร ภูพงศพันธ

ผูชวยศาสตราจารย ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย ดร.ใกลรุง อามระดิษ

นางสาวกนกวลี ชูชัยยะ นายกฤษฎา บุญยสมิต

Page 264: นามานุกรม พระมหากษัตร ิย ไทย · คือ แนวค ิดในศาสนาพราหมณ -ฮินด ู ท ี่เช

นางสาวปยรัตน อินทรออน นางสาววีณา โรจนราธา

นางสาววีรวัลย งามสันติกุล นางสาวสุทธิพันธ ขุทรานนท

นางสุวัสดา ประสาทพรชัย นางสาวศิรินันท บุญศิริ

เจาหนาที่วิชาการประจำโครงการ

นางสาวรัชนี ทรัพยวิจิตร

นางสาววารี จุลโพธิ์

นายกิตติชัย พินโน

นางสาวรตนาภรณ ประจงการ