วัดพระยายัง...เข าว ดว นธรรมสวนะ ประว...

4
21 สายตรงศาสนา เข้าวัดวันธรรมสวนะ ประวัติความเป็นมา หนงสอสวดมนตสำหรบภกษสามเณรและพทธศาสนกชน ทวไปวัดพระยายังไดกลาวถงประวตของชอวดไวดงน นามวดในหนงสออนสรณทพมพแจกในงานพระราชทาน เพลงศพ พระครูวสทธคณาธาร (สงข ตสโส) อดตเจาอาวาส วดพระยายง รูปท ๗ เมอเดอนเมษายน พ.ศ. ๒๕๑๔ หนา ๑๒ สนนษฐานชอวดพระยายงไววา เมอสรางวดนน นาจะไมไดขอ พระราชทานนามวดหรอชอวด ชาวบานทอยูใกลวดหรอผูทรูจกชอ ผูสรางวดจงพากนเรยกวา วดพระยายง ตามชอเดมของผูสรางวด ผูสรางวดพระยายง คอ พระยามหานเวศนานรกษ (ยง รกตะประจตต) ซงเคยเปนแมทพไดยกทพไปตหวเมองเขมรมชยชนะ ไดกวาดตอน ครวเขมรมาพงพระบรมโพธสมภาร พระบาทสมเดจพระนงเกลา เจาอยูหว ทรงพระกรณาโปรดเกลาฯ ใหตงบานเรอนอยูใกล รมคลองแสนแสบ ซงเปนทรูจกกนในปจจบน คอ บานครว ในหนงสอสวดมนตดงกลาวไดระบวา มูลเหตทสราง วดพระยายงนน เนองมาจากทดนรมคลองแสนแสบฝงเหนอเมอได จดตงบานเรอนใหครวเขมรอยูเรยบรอยแลว ดานตะวนตกของ บานครวเขมรยงมทดนเหลออยูถงคลองสมปอยฝงตะวนออกพอท จะสรางวดได อกประการหนง เนองจากพระยามหานเวศนานรกษ เปนผูนบถอพระพทธศาสนา ยดมนเลอมใสในพระธรรมคำสอน ของพระสมมาสมพทธเจา มศรทธาแรงกลาทจะสรางวดถวายเปน พทธบูชา ธรรมบูชา และสงฆบูชา อกประการหนงเปนประเพณ สบตอกนมาแตครงกรงศรอยธยาเปนราชธานจนถงกรงรตนโกสนทร เมอแมทพผูมชยชนะกลบมา นยมสรางวดเปนอนสรณ วัดพระยายัง กรมการศาสนาขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนเข้าวัดทุกวันธรรมสวนะ ณ วัดใกล้บ้านหรือร่วมเข้าวัดกับกรมการศาสนา ซึ่งในเดือนกันยายน ๒๕๕๓ กรมการศาสนามีกำหนดการเข้าวัดปฏิบัติธรรมณ วัดพระยายัง (วันพฤหัสบดีที่ ๒ กันยายน), วัดวิเศษการ(วันพุธที่๘กันยายน),วัดราษฎร์บำรุง(วันพฤหัสบดีที่๑๖กันยายน),วัดท่าพระ(วันพฤหัสบดีที่๒๓กันยายน) จึงขอนำเสนอประวัติวัดดังกล่าวโดยย่อเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ทราบ ตอมาวดพระยายงไดชำรดทรดโทรมสมเดจพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชรญาณวโรรส ไดทรงพระดำรวา วดพระยายงเปน วดราษฎรขนาดเลก มพระภกษสงฆอยูไมมาก วดกชำรดทรดโทรม บูรณปฏสงขรณใหเปนดงเดมไดยาก แตเมอรวมกบวดบรมนวาส กจะเจรญขน และจะงายตอการบูรณปฏสงขรณ จงไดรบสงให วดพระยายงขนอยูในการปกครองของวดบรมนวาสราชวรวหาร พระอารามหลวงในสมยทพระอบาลคณูปมาจารย (สรจนโท จนทร) เมอครงยงเปนพระญาณรกขต เปนเจาอาวาสวดบรมนวาส เรยกวา คณะพระยายง พระอบาลคณูปมาจารย จงไดใหพระครู ใบฎกาเพง วดบรมนวาส ฐานานกรมของทาน (ตอมาไดเปน พระราชาคณะท พระปราจนมน เจาคณะจงหวดปราจนบร) มาอยู เปนเจาคณะพระยายง พรอมกนนไดใหพระครูสมหใชวดบรมนวาส ฐานานกรมของทาน ซงเปนพระทมความรูความเขาใจถนดในการ กอสรางมาอยูดวย สถานะและที่ตั้ง วัดพระยายัง ตงอยูเลขท ๑ ถนนพระราม ๖ แขวง ถนนเพชรบร เขตราชเทว กรงเทพมหานคร มเนอท ๕ ไร ๓ งาน ๘๙ ตารางวา สิ่งสำคัญภายในวัด อุโบสถ เปนอาคารกออฐถอปูน ประดบชอฟา ใบระกา หางหงส หลงคาลด ๓ ชน ขนาดกวาง ๘.๐๕ เมตร ยาว ๒๓.๗๕ เมตร มพระพทธรูปปางมารวชย ขนาดหนาตกกวาง ๘๐ นว สูง ๑๑๘ นว เปนพระประธาน ปจจบน พระเทพกวี (สฤษฎ โชตปญโ ญ ป.ธ. ๘) เปนเจาอาวาส

Upload: others

Post on 06-Jul-2020

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: วัดพระยายัง...เข าว ดว นธรรมสวนะ ประว ต ความเป นมา หน งส อสวดมนต สำหร

21สายตรงศาสนา

เข้าวัดวันธรรมสวนะ

ประวัติความเป็นมา หนังสือสวดมนต์สำหรับภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชน

ทั่วไป วัดพระยายังได้กล่าวถึงประวัติของชื่อวัดไว้ดังนี้

นามวัดในหนังสืออนุสรณ์ที่พิมพ์แจกในงานพระราชทาน

เพลิงศพ พระครูวิสุทธิคุณาธาร (สังข์ ติสฺโส) อดีตเจ้าอาวาส

วัดพระยายัง รูปที่ ๗ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๑๔ หน้า ๑๒

สันนิษฐานชื่อวัดพระยายังไว้ว่า เมื่อสร้างวัดนั้น น่าจะไม่ได้ขอ

พระราชทานนามวัดหรือชื่อวัด ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดหรือผู้ที่รู้จักชื่อ

ผู้สร้างวัดจึงพากันเรียกว่า วัดพระยายัง ตามชื่อเดิมของผู้สร้างวัด

ผู้สร้างวัดพระยายัง คือ พระยามหานิเวศนานุรักษ์ (ยัง รักตะประจิตต์)

ซึ่งเคยเป็นแม่ทัพได้ยกทัพไปตีหัวเมืองเขมรมีชัยชนะ ได้กวาดต้อน

ครัวเขมรมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า

เจ้าอยู ่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั ้งบ้านเรือนอยู ่ใกล้

ริมคลองแสนแสบซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันคือบ้านครัว

ในหนังสือสวดมนต์ดังกล่าวได้ระบุว่า มูลเหตุที่สร้าง

วัดพระยายังนั้น เนื่องมาจากที่ดินริมคลองแสนแสบฝั่งเหนือเมื่อได้

จัดตั้งบ้านเรือนให้ครัวเขมรอยู่เรียบร้อยแล้ว ด้านตะวันตกของ

บ้านครัวเขมรยังมีที่ดินเหลืออยู่ถึงคลองส้มป่อยฝั่งตะวันออกพอที่

จะสร้างวัดได้ อีกประการหนึ่ง เนื่องจากพระยามหานิเวศนานุรักษ์

เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา ยึดมั่นเลื่อมใสในพระธรรมคำสอน

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีศรัทธาแรงกล้าที่จะสร้างวัดถวายเป็น

พุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา อีกประการหนึ่งเป็นประเพณี

สืบต่อกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อแม่ทัพผู้มีชัยชนะกลับมานิยมสร้างวัดเป็นอนุสรณ์

วัดพระยายัง

กรมการศาสนาขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนเข้าวัดทุกวันธรรมสวนะ ณ วัดใกล้บ้านหรือร่วมเข้าวัดกับกรมการศาสนา ซึ่งในเดือนกันยายน ๒๕๕๓ กรมการศาสนามีกำหนดการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ณ วัดพระยายัง (วันพฤหัสบดีที่ ๒ กันยายน), วัดวิเศษการ (วันพุธที่ ๘ กันยายน), วัดราษฎร์บำรุง (วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กันยายน), วัดท่าพระ (วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กันยายน) จึงขอนำเสนอประวัติวัดดังกล่าวโดยย่อ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ทราบ

ต่อมาวัดพระยายังได้ชำรุดทรุดโทรมสมเด็จพระมหาสมณเจ้า

กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงพระดำริว่า วัดพระยายังเป็น

วัดราษฎร์ขนาดเล็กมีพระภิกษุสงฆ์อยู่ไม่มากวัดก็ชำรุดทรุดโทรม

บูรณปฏิสังขรณ์ให้เป็นดังเดิมได้ยาก แต่เมื่อรวมกับวัดบรมนิวาส

ก็จะเจริญขึ้น และจะง่ายต่อการบูรณปฏิสังขรณ์ จึงได้รับสั่งให้

วัดพระยายังขึ้นอยู่ในการปกครองของวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร

พระอารามหลวงในสมัยที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์)

เมื ่อครั ้งยังเป็นพระญาณรักขิต เป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส

เรียกว่า คณะพระยายัง พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ จึงได้ให้พระครู

ใบฎีกาเพ็ง วัดบรมนิวาส ฐานานุกรมของท่าน (ต่อมาได้เป็น

พระราชาคณะที่พระปราจีนมุนี เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี)มาอยู่

เป็นเจ้าคณะพระยายังพร้อมกันนี้ได้ให้พระครูสมุห์ใช้วัดบรมนิวาส

ฐานานุกรมของท่าน ซึ่งเป็นพระที่มีความรู้ความเข้าใจถนัดในการ

ก่อสร้างมาอยู่ด้วย

สถานะและที่ตั้ง วัดพระยายัง ตั ้งอยู ่เลขที ่ ๑ ถนนพระราม ๖ แขวง

ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน

๘๙ตารางวา

สิ่งสำคัญภายในวัด อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ประดับช่อฟ้า ใบระกา

หางหงส์หลังคาลด๓ชั้นขนาดกว้าง๘.๐๕เมตรยาว๒๓.๗๕

เมตร มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๘๐ นิ ้ว

สูง๑๑๘นิ้วเป็นพระประธาน

ปัจจุบ ัน พระเทพกวี (สฤษฎิ ์ โชติปญฺโญ ป.ธ. ๘)

เป็นเจ้าอาวาส

Page 2: วัดพระยายัง...เข าว ดว นธรรมสวนะ ประว ต ความเป นมา หน งส อสวดมนต สำหร

สายตรงศาสนา 22

ประวัติความเป็นมา วัดวิเศษการ เดิมชื่อว่า วัดหมื่นรักษ์ สร้างขึ้น

โดยกรมหลวงรักษรณเรศ (หม่อมไกรสร) ซ ึ ่งได้

สร้างวัดลบล้างบาปหลังจากเสร็จศึกสงคราม ต่อมา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อ

เป็นวัดวิเศษการ

สถานะและที่ตั้ง วัดวิเศษการ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๒ แขวงบ้านช่างหล่อ

เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีเนื ้อที่ ๖ ไร่

๓งาน๓๔ตารางวา

สิ่งสำคัญภายในวัด อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง ๖.๕๐

เมตร ยาว ๑๓ เมตร มีลักษณะทางสถาปัตยกรรม

แบบศิลปะจีน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันประดับ

ชามสังคโลก มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตัก

กว้าง ๓ ศอก เชื่อกันว่า นำมาจากวัดพระเชตุพน

วิมลมังคลาราม ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อมงคลวิเศษ

เชียงแสน

วัดวิเศษการ

ฝาผนังอุโบสถ เป็นภาพพระพุทธรูปปางต่าง ๆ

และเหตุการณ์ในพุทธประวัติ

วิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง ๗ เมตร

ยาว๑๘เมตร

เจดีย์สันนิษฐานว่าสร้างพร้อมกับวัด

ปัจจุบันพระศรีวิสุทธิดิลก(วันอุตฺตโมป.ธ.๙)

เป็นเจ้าอาวาส

Page 3: วัดพระยายัง...เข าว ดว นธรรมสวนะ ประว ต ความเป นมา หน งส อสวดมนต สำหร

23สายตรงศาสนา

ประวัติความเป็นมา วัดราษฎร์บำรุง สร ้างเม ื ่อ พ.ศ. ๒๔๒๕

ไม่ปรากฏนามผู ้สร้าง เดิมเป็นวัดมอญ ต่อมาได้

เปลี่ยนมาสังกัดธรรมยุติกนิกาย ได้รับพระราชทาน

วิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ.๒๔๔๙

สถานะและที่ตั้ง วัดราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่เลขที่๑๐ถนนเพชรเกษม

แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่

๑๕ไร่

วัดราษฎร์บำรุง

สิ่งสำคัญภายในวัด อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนศิลปะประยุกต์

สร้างเมื ่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยการบริจาคทรัพย์ของ

คุณพ่อสง่า คุณแม่ทองอยู่ คุณวณี คุณวนิดา นาควัชระ

ขนาดกว้าง ๘ วา ยาว ๑๒ วา ม ีพระพุทธรูป

ปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง๙ศอกเศษซึ่งสร้าง

เมื่อพ.ศ.๒๕๔๖เป็นพระประธาน

ส่วนอุโบสถหลังเก่าสร้างเมื่อพ.ศ.๒๔๗๓

ศาลาการเปรียญ กว ้าง ๒๒.๕๐ เมตร

ยาว๔๖.๒๐เมตร

ปัจจุบันพระราชวิสุทธิมุนี (สำราญ อนิสฺสิโต)

เป็นเจ้าอาวาส

Page 4: วัดพระยายัง...เข าว ดว นธรรมสวนะ ประว ต ความเป นมา หน งส อสวดมนต สำหร

สายตรงศาสนา 2�

ประวัติความเป็นมา วัดท่าพระ ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนถึงผู ้สร้าง

เดิมชื่อว่า วัดเกาะ แต่เอกสารทางราชการใช้ว่า วัดเกาะ

ท่าพระ ปัจจุบ ันคำว่า เกาะ หายไป คงเหลือแต่เพียง

วัดท่าพระประวัติการสร้างวัดนั้นเล่ากันสืบมาว่า เดิมสถานที่

สร้างวัดเป็นเกาะใหญ่มีน้ำล้อมรอบ เป็นที่พักร้อนพักเหนื่อย

ของชาวบ้าน ต่อมาเมื ่อเห็นว่าเป็นศูนย์รวมของชาวบ้าน

จึงได้มีการสร้างเป็นวัดเพื่อปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา และ

หล่อหลวงพ่อเกษรขึ้นเพื่อสักการบูชา

สถานะและที่ตั้ง วัดท่าพระ ตั้งอยู ่เลขที ่ ๒๐/๑ ถนนจรัญสนิทวงศ์

แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มีเนื ้อที่

๒๓ไร่๑งาน๔๔.๖ตารางวา

วัดท่าพระ

สิ่งสำคัญภายในวัด อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนประดับช่อฟ้าใบระกา

หางหงส์ หลังคาลด ๓ ชั้น หน้าบันมีพระปรมาภิไธย สก

และปั ้นเป ็นรูปคร ุฑ กว ้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๘ เมตร

สร้างเมื ่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ ผนังด้านนอกทำเป็นรูปเทพนม

ทั้ง ๔ ด้าน มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง

๘๐นิ้วเป็นพระประธาน

วิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน แบบจัตุรมุข กว้าง

๒๔ เมตร ยาว ๒๘ เมตร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเกษร

ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๙ นิ้ว ปางสมาธิ หล่อด้วยโลหะ ลงรัก

ปิดทอง

หลวงพ่อเกษร ประวัติการสร้างหลวงพ่อเกษรนั้น

ไม่ปรากฏหลักฐาน มีตำนานเล่ากันสืบมาว่า เป็นพระพี ่

พระน ้องก ับหลวงพ่อโสธรและหลวงพ่อว ัดบ ้านแหลม

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ ทางวัดได้บูรณะองค์หลวงพ่อเกษรใหม่

ได้พบจารึกที่องค์พระซึ่งนั่งอยู่ด้านหน้าของหลวงพ่อเกษร

ซึ ่งมีลักษณะเป็นหญิงมากกว่าเป็นชาย เพราะมีลักษณะ

ใส่เสื้อคอปิดมีกระดุมกลัดที่คอเสื้อนั้น๑ เม็ดสันนิษฐานว่า

เป็นพระภิกษุณี มีรอยจารึกด้านหน้าว่า หลวงมหานาก

วัดประสาด ด้านหลังจารึกว่า สักราชใด ๒๒๖๙ พระวะสา

ปีมะเมียอัฎ๓เดือน๔วัน๕

ปัจจุบันพระครูมงคลกิจจานุกูล (ธงชัย โชติโย)

เป็นเจ้าอาวาส