บทความพิเศษ (special article...

7
Volume 43 Number 1 January – March 2017 Thai Journal of Anesthesiology 1 บทความพิเศษ (special article): พระบาทสมเด็จพระปรมินทร- มหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากรุณาธิคุณต่อสภากาชาดไทย และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราภิชาน แพทย์หญิงคุณวรรณา สมบูรณ์วิบูลย์*, ศาสตราภิชาน แพทย์หญิงอรนุช เกี่ยวข้อง*, ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมรัตน์ จารุลักษณานันท์* *ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10300 ประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นที่รักของปวงชนชาวไทยมากว ่า 70 ปี แห่งการครองราชย์ พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวเนื่องกับจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทยสืบเนื่องมาแต สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรม ราชชนก พระราชบิดาในพระองค์ผู้ทรงเป็นสมเด็จ เจ้าฟ้าพระอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรง สอนในคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ ได้แก่ วิชาชีววิทยาแก่นิสิตแพทย์ ตลอดจนทรงสอน ประวัติศาสตร์อารยธรรม ตลอดจนทรงพานิสิตไป ทัศนศึกษายังสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่มี ความรู้กว้างไกล มีความรู้คู่คุณธรรม และเป็นสมาชิก ส�าคัญในการพัฒนาบ้านเมือง ที่ส�าคัญที่สุดประการ หนึ่งคือ สมเด็จพระราชบิดาในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู ่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเสนอแนวพระราชด�าริใน เอกสาร “คณะกรรมการด�าริรูปการจัดการจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย” เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 - พ.ศ. 2471 ในประเด็นของการพึ่งตนเอง และความมีอิสระของ มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ส�าคัญของการ อุดมศึกษาให้เท่าเทียมระดับนานาชาติ พระราชทาน แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา แห่งแรกของไทย พระราชกรณียกิจเมื ่อยังทรงเป็นสมเด็จ พระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 ได้โดยเสด็จพระราชด�าเนินเยี่ยมโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ และสภากาชาดไทย เมื่อ พ.ศ. 2481 ในคราวเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรก และเมื่อเสด็จนิวัติ พระนครครั้งที่ 2 โดยเสด็จเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2489 และโดยเสด็จ พระราชด�าเนินมาในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 ครั้นเมื่อ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2490 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรม เชษฐาธิราช พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณ ที ่มีต่อโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ล้นเหลือสุดประมาณ เท่าที่ผู้นิพนธ์งานรวมได้มีโดยสังเขปดังนี_17-(001-007)0 P2.indd 1 6/27/60 BE 11:41 AM

Upload: others

Post on 25-Jul-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทความพิเศษ (special article ...anesthai.org/.../journal/1499494033-_17-(001-007)0-P2.pdfVolume 43 Number 1 January – March 2017 Thai Journal of Anesthesiology

Volume 43 Number 1 January – March 2017 Thai Journal of Anesthesiology 1

บทความพิเศษ (special article): พระบาทสมเด็จพระปรมินทร-

มหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากรุณาธิคุณต่อสภากาชาดไทย และ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราภิชาน แพทย์หญิงคุณวรรณา สมบูรณ์วิบูลย์*, ศาสตราภิชาน แพทย์หญิงอรนุช เกี่ยวข้อง*,

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมรัตน์ จารุลักษณานันท์*

*ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10300 ประเทศไทย

พระบาทสมเ ด็จพระปรมินทรมหาภู มิพล

อดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร

สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์

พระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นมหากษัตริย ์

ผู ้ทรงเป็นที่รักของปวงชนชาวไทยมากว่า 70 ป ี

แห่งการครองราชย์

พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวเน่ืองกับจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทยสืบเน่ืองมาแต ่

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรม

ราชชนก พระราชบิดาในพระองค์ผู้ทรงเป็นสมเด็จ

เจ้าฟ้าพระอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรง

สอนในคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์

ได้แก่ วิชาชีววิทยาแก่นิสิตแพทย์ ตลอดจนทรงสอน

ประวัติศาสตร์อารยธรรม ตลอดจนทรงพานิสิตไป

ทัศนศึกษายังสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่มี

ความรู้กว้างไกล มีความรู้คู่คุณธรรม และเป็นสมาชิก

ส�าคัญในการพัฒนาบ้านเมือง ที่ส�าคัญท่ีสุดประการ

หน่ึงคือ สมเด็จพระราชบิดาในพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยูห่วัรชักาลที ่9 ทรงเสนอแนวพระราชด�ารใิน

เอกสาร “คณะกรรมการด�ารริปูการจัดการจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย” เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 - พ.ศ. 2471

ในประเด็นของการพึ่งตนเอง และความมีอิสระของ

มหาวิทยาลัย ซ่ึงเป็นคุณลักษณะที่ส�าคัญของการ

อุดมศึกษาให้เท่าเทียมระดับนานาชาติ พระราชทาน

แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา

แห่งแรกของไทย

พ ร ะ ร า ช ก ร ณี ย กิ จ เ มื่ อ ยั ง ท ร ง เ ป ็ น ส ม เ ด็ จ

พระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร

มหาอานนัทมหดิล พระอฐัมรามาธิบดินทร รชักาลท่ี 8

ได ้ โดยเสด็จพระราชด�า เนินเยี่ ยมโรงพยาบาล

จุฬาลงกรณ์ และสภากาชาดไทย เม่ือ พ.ศ. 2481

ในคราวเสด็จนิวติัพระนครครัง้แรก และเมือ่เสด็จนวิติั

พระนครครัง้ที ่2 โดยเสด็จเยอืนจฬุาลงกรณ์มหาวทิยาลยั

เม่ือวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2489 และโดยเสด็จ

พระราชด�าเนินมาในพธีิพระราชทานปริญญาบตัรแก่

บณัฑติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั เม่ือวนัท่ี 13 เมษายน

พ.ศ. 2489 ครั้นเม่ือ วันท่ี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2490

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เสด็จข้ึนครองสิริราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรม

เชษฐาธิราช พระราชกรณียกจิและพระมหากรณุาธิคุณ

ที่มีต่อโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ล้นเหลือสุดประมาณ

เท่าที่ผู้นิพนธ์งานรวมได้มีโดยสังเขปดังนี้

_17-(001-007)0 P2.indd 1 6/27/60 BE 11:41 AM

Page 2: บทความพิเศษ (special article ...anesthai.org/.../journal/1499494033-_17-(001-007)0-P2.pdfVolume 43 Number 1 January – March 2017 Thai Journal of Anesthesiology

2 วิสัญญีสาร ปีที่43ฉบับที่1มกราคม–มีนาคม2560

องค์ราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระบาทสมเ ด็จพระปรมินทรมหาภู มิพล

อดุลยเดช ทรงเป็นองค์ราชูปถัมภก พระองค์ที่ 5

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์สวัสด์ิ จงกล

แห่งคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้

กล่าวถึงเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2489 ว่าขณะนั้นนิสิต

จฬุาลงกรณ์มหาวทิยาลยัมปีระมาณ 2,500 คน จงึเป็น

บุคคลกลุ่มที่มีจ�านวนมากที่สุดเข้าเฝ้าถวายบังคม

พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา

อานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และเข้าเฝ้า

ถวายความเคารพแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลท่ี 9

เนือ่งจากรฐับาลในสมยัน้ันลดจ�านวนทหารมหาดเล็ก

และต�ารวจวงัจนเหลอืจ�านวนน้อย ท�าให้กองเกยีรติยศ

มีจ�านวนน้อยไม่สมพระเกียรติ ครั้งนั้นนิสิตจุฬาฯ

ได้เข้าแถวรับเสด็จต่อจากกองเกียรติยศ สมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวในขณะนั้นได้พระราชทานพระมหา-

กรุณาธิคุณเสด็จพระราชด�าเนินตรวจแถวของนิสิต

แล้วจงึเสด็จข้ึนพระมหาปราสาท นบัแต่วนัน้ันส�านัก

พระราชวังได้ปูลาดพระบาทถึงจุดสิ้นสุดแถวของ

นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เม่ือครบวาระที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลท่ี 9

เสด็จข้ึนครองราชย์สืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐา

ธิราชครบหน่ึงเดือน นิสิตจุฬาฯ ท้ัง 2,500 คน ได้

เข้าเฝ้าถวายชัยมงคลและถวายกระเช้าดอกไม้ ทรง

พระราชทานพระราชด�ารัส และเสด็จพระราชด�าเนิน

ตรวจแถวของนิสิตแล้วจึงเสด็จข้ึนพระที่นั่ง ต่อมา

เม่ือสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวเสด็จพระราชด�าเนินไป

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติม นิสิต

จฬุาฯ ประมาณสองพนักว่าคนได้พร้อมใจไปส่งเสดจ็

ณ สนามบินดอนเมือง ทรงประดับเข็มพระเกี้ยวบน

ฉลองพระองค์เบื้องซ้ายเป็นท่ีปลาบปล้ืมของนิสิต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง

แม้จะทรงศึกษาวชิาท่ีมิได้วางแผนไว้ในพระราช-

หฤทัยมาก่อน ซ่ึงเป็นพระราชภารกิจท่ีหนักยิ่ง

ถึ งกระ น้ันพระองค ์ยั งทรงพระราชอุตสาหะ

พระราชทานพระราชนิพนธ์ตามท่ีสาราณียกรกราบ

บังคมทูลขอพระราชทาน เพื่ออัญเชิญมาลงตีพิมพ ์

ในหนงัสือ “มหาวทิยาลยั” และ “จฬุาบัณฑิต” เร่ิมต้ังแต่

ปี พ.ศ. 2489 และพระราชทานพระราชนพินธ์เรือ่ยมา

เป็นประจ�าทุกปี รวมท้ังส้ิน 16 องค์ จนถงึปี พ.ศ. 2507

นอกจากนี้ยังทรงออกแบบบัตรอวยพรปีใหม่แก่

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ด้วย

พระราชทานเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” เป็นเพลง

ประจ�ามหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2492 ขณะที่สมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว

ภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชด�าเนินไปศึกษาต่อ

ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้พระราชทานท�านอง

เพลงประจ�ามหาวิทยาลัยแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

และโปรดเกล้าให้ท่านผู ้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล

ณ อยุธยา และนายสุภรณ์ ผลชีวิน เป็นผู้ประพันธ ์

ท�านอง พระเจนดุริยางค์พิจารณาค�า ดีดเปียโนฟัง

ท�านองและค�าร้องให้เสียงเข้ากันชัดเจน เม่ือแก้ไข

ปรบัปรงุแล้ว ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวสัดิกลุ

จึงทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงพระราชวินิจฉัย ทรงพระ

มหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าพระราชทานเป็นเพลง

ประจ�าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนับแต่นั้นยังความ

ปลาบปลื้มแก่บัณฑิต นิสิต คณาจารย์ และข้าราชการ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างหาท่ีสุดมิได้ เพลง

มหาจฬุาลงกรณ์น้ีเป็นเพลงพระราชนพินธ์เพลงเดียว

ท่ีสามารถบรรเลงเป ็นเพลงไทยเดิม “โหมโรง

มหาจุฬาลงกรณ์” ด้วย

_17-(001-007)0 P2.indd 2 6/27/60 BE 11:41 AM

Page 3: บทความพิเศษ (special article ...anesthai.org/.../journal/1499494033-_17-(001-007)0-P2.pdfVolume 43 Number 1 January – March 2017 Thai Journal of Anesthesiology

Volume 43 Number 1 January – March 2017 Thai Journal of Anesthesiology 3

ทรงดนตรีส่วนพระองค์พระราชทานแก่นิสิต

จุฬาลงกรณ์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมิูพลอดุลยเดช

เสด็จพระราชด�าเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า

สิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ

และสมเด็จพระเจ้าลกูเธอทกุพระองค์ มายงัหอประชมุ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันท่ี 20 กันยายน

พ.ศ. 2501 เป็นครั้งแรก และเสด็จพระราชด�าเนิน

ต่อเนื่องเป็นประจ�าทุกปี จนถึงปี พ.ศ. 2516 เป็นป ี

ท ้ายสุด ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือวันท่ี

20 กันยายน เป ็น “วันทรงดนตรี” การเสด็จ

พระราชด�าเนินทรงดนตรีนี้เป็นการส่วนพระองค์

นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณาจารย์ได้

มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิด

รายได้จากการบริจาคในงานเพื่อสมทบทุนมูลนิธิ

อานันทมหิดล การเสด็จทรงดนตรีส่วนพระองค์น้ี

พระบาทสมเด็จพระเจ ้าอยู ่หัวรัชกาลท่ี 9 ได ้

เสด็จพระราชด�าเนินทรงดนตรีพระราชทานแก่

มหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วยในเวลาต่อมา

ทรงปลูกต้นจามจุรีพระราชทานแก่มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพื้นที่ 1309 ไร่ ที่ต�าบล

ประทุมวัน จังหวัดพระนคร ภายหลังปี พ.ศ. 2500

ต้นจามจุรีซึ่งมีเป็นจ�านวนมากและสร้างความร่มรื่น

ในมหาวิทยาลัยได้ทยอยตายลงจากโรคพืชรบกวน

และความชรา เม่ือประมาณปลายปี พ.ศ. 2504

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

มีพระราชปรารภว่า จ�านวนต้นจามจุรีลดลงมาก

ทรงเพาะต้นจามจุรี ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน

มีพระราชกระแสว่า “ถึงเวลาเข้าโรงเรียนแล้ว” ต่อมา

ในวนัที ่15 มกราคม พ.ศ. 2505 ได้เสด็จพระราชด�าเนิน

มายงัหอประชมุจฬุาลงกรณ์มหาวทิยาลยั ทรงปลูกต้น

จามจุรีบริเวณหน้าหอประชุม และมีพระราชด�ารัสว่า

“ฝากต้นไม้ไว้ห้าต้น ให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล”

ด้วยความส�านึกในพระมหากรุณาธิคุณ มหาวิทยาลัย

มีการพฒันาสภาพแวดล้อมและภมิูทศัน์ ตลอดจนการ

ปลกูต้นจามจรุ ีจนเป็นพืน้ท่ีสีเขียวใหญ่ท่ีสดุแห่งหนึง่

ใจกลางกรุงเทพมหานคร

ทรงส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

เม่ือวันท่ี 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระบาท

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จ

พระราชด�าเนินไปทรงร่วมอภิปรายทางวิชาการของ

ชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ ์

มหาวิทยาลัย ทรงมีพระบรมราโชวาทว่า “ภาษาไทย

มีความส�าคัญต่อชาติและประชาชนคนไทยเป็น

อันมาก นอกจากจะเป็นเคร่ืองหมายแสดงความ

เป็นไทยแล้ว คนไทยทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย ล้วนแต ่

ต้องใช้ภาษาไทยในการส่ือสาร ท้ังในการประกอบ

อาชีพ และการด�ารงชีวิตประจ�าวัน ภาษาไทยจึงม ี

คุณูปการต่อคนไทยทุกคนถ้วนหน้า” รัฐบาลจึง

ประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวัน

ภาษาไทยแห่งชาติสืบจนทุกวันนี้

ทรงเป็นพระบรมราชปูถมัภกแห่งสภากาชาดไทย

พระบาทสมเ ด็จพระปรมินทรมหาภู มิพล

อดุลยเดชฯ พระบรมราชูปถัมภกพระองค์ที่ 5 แห่ง

สภากาชาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งต้ัง

สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงด�ารง

ต�าแหน่งสภานายกิาสภากาชาดไทย สบืต่อจากสมเด็จ

พระศรสีวรนิทิราบรมราชเทว ีพระพนัวสัสาอยัยกิาเจ้า

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2499 สมเด็จพระนางเจ้า

พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชกรณียกิจเป็น

คุณูปการแก่ชาวไทย และชาวต่างประเทศ โดยไม่เลอืก

ช้ันวรรณะ น�าเช่ือเสียงขจรขจายในระดับนานาชาติ

แก่สภากาชาดไทย นอกจากน้ีในวันที่ 13 ธันวาคม

_17-(001-007)0 P2.indd 3 6/27/60 BE 11:41 AM

Page 4: บทความพิเศษ (special article ...anesthai.org/.../journal/1499494033-_17-(001-007)0-P2.pdfVolume 43 Number 1 January – March 2017 Thai Journal of Anesthesiology

4 วิสัญญีสาร ปีที่43ฉบับที่1มกราคม–มีนาคม2560

พ.ศ. 2520 มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งต้ัง

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี

ให้ทรงด�ารงต�าแหน่งอุปนายิกาผู ้อ�านวยการสภา

กาชาดไทยจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2496 พระบาทสมเด็จพระปรมินทร

มหาภมิูพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานพระราชทรพัย์

ส่วนพระองค์เพื่อสร้างอาคาร “มหิดลวงศานุสรณ์”

เป็นศูนย์ผลิตวัคซีนบี.ซี.จี. ส�าหรับป้องกันวัณโรคใน

ประเทศไทย และต่างประเทศผ่านองค์การ UNICEF

แห่งองค์การสหประชาชาติ

เรือเวชพาหน์ เรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทางน�้า

พระราชทาน

พระบาทสมเด็จพระปรมนิทรมหาภมิูพลอดุลยเดชฯ

ทรงมีพระราชด�าริว่าประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ตาม

ริมน�้าล�าคลองห่างไกลจากแพทย์ หรือหน่วยบริการ

สาธารณสุขของทางราชการ จึงได้พระราชทาน

พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่สภากาชาดไทย ให้

บริษัทอู่เรือกรุงเทพฯ จ�ากัด ต่อเรือยนต์ใช้เป็นหน่วย

เคลื่อนท่ีรักษาพยาบาลประชาชนตามล�าน�้าต่างๆ

เสด็จพระราชด�าเนนิไปทรงประกอบพธีิพระราชทาน

เรือ “เวชพาหน์” ณ ท่าวาสุกรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม

พ.ศ. 2498 เรือพระราชทานล�านี้ได้รับการทะนุบ�ารุง

อยู ่ ในสภาพใช้งานได้ โดยเฉพาะอย่างย่ิงคราว

มหาอุทุกภัยปี พ.ศ. 2554 และยังออกให้บริการโดย

แพทย์จากสภากาชาดไทย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

จนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ยังได้

พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุน

ประเดิมในการจัดต้ังหน่วยวิจัยประสาทวิทยาที่

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีประชาชน

ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนอีกเป็นจ�านวน

มาก พระราชกรณียกิจในการสนับสนุนกิจการ

สภากาชาดไทย และการพระราชทานพระราชทรัพย์

บ�ารุงอยู่เนืองๆ ท�าให้ประชาชนร่วมสนับสนุนทรัพย์

แรงงาน รวมท้ังโลหิตในร่างกาย ท้ังสองพระองค ์

ทรงมีจิตโสมนัสในกุศลของคนเหล ่ านี้ จึ ง มี

พระมหากรณุาธิคณุพระราชทานเขม็กาชาดสมนาคุณ

แ ก ่ ผู ้ ส นั บ ส นุ น กิ จ ก า ร ข อ ง ส ภ า ก า ช า ด ไ ท ย

พระราชด�ารัสเม่ืคราวเสด็จพระราชด�าเนินเป็น

องค์ประธานเปิดงานกาชาดคราวหน่ึงว่า “ขอให้

ช่วยกันอุดหนุนสภากาชาดไทยตามก�าลังของตน

เพราะสภากาชาดไทยขยายกิจการออกไปได ้

กว้างขวาง ออกไปได้มากเท่าใด ประชาชนพลเมืองเอง

จะเป็นผู้ได้รับผลจากการสงเคราะห์ของสภากาชาด

มากขึ้นเท่านั้น”

พระราชทานค�าปฏิญาณตนส�าหรบับัณฑิตแพทย์

ในปี พ.ศ. 2537 แพทยสภามีมติให้มีการจัดพิธี

มอบใบประกอบวชิาชพีเวชกรรมส�าหรบับัณฑิตแพทย์

ของคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเน้น

ในเรื่องจริยธรรมของแพทย์ กรรมการแพทยสภาจึง

ได้ร่างค�าปฏิญาณตนและขอพระราชทานพระบรม

ร า ช า นุ ญ า ต ใ น ก า ร ตี พิ ม พ ์ ค� า ป ฏิ ญ า ณ พ ร ้ อ ม

พระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร

อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ

ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยปรับปรุงค�าปฏิญาณ

ตนของบัณฑิตแพทย์มอบให้แก่แพทยสภา พิธีมอบ

ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมพร้อมการปฏิญาณตน

ของบัณฑิตแพทย์ยคุใหม่ด้วย ค�าปฏญิาณพระราชทาน

จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้จัดข้ึนครั้งแรก

ณ อาคาร ภปร โรงพยาบาลจฬุาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

เม่ือวันท่ี 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 สืบเนื่องมาจน

ปัจจุบัน

_17-(001-007)0 P2.indd 4 6/27/60 BE 11:41 AM

Page 5: บทความพิเศษ (special article ...anesthai.org/.../journal/1499494033-_17-(001-007)0-P2.pdfVolume 43 Number 1 January – March 2017 Thai Journal of Anesthesiology

Volume 43 Number 1 January – March 2017 Thai Journal of Anesthesiology 5

ค�าปฏิญาณดังกล่าวมีข้อความดังต่อไปนี้

“ข้าพระพทุธเจ้า (ชือ่..............นามสกลุ) ในฐานะ

สมาชิกวิชาชีพเวชกรรมขอให้สัตย์ปฏิญาณตนว่า

ข้าฯ จักปรับปรุงตนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความ

ช�านาญในวิชาชีพตามควรอยู่เป็นนิจ

ข้าฯ จักถือเป็นภารกิจทะนุบ�ารุงความรักความ

สามัคคีของมวลสมาชกิผูร่้วมวชิาชพีเสมอืนเครอืญาติ

ข้าฯ จักสืบสานจารีตอันงามของวิชาชีพ

ข้าฯ จักต้ังตนอยู่ในธรรมประทีปแห่งสัปปุรุษ

และบ�าเพ็ญประโยชน์ เกื้อกูลสังคม และมนุษยชาติ

เสื่อมคลาย

ข้าฯ จักปฏิบัติตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วย

การรกัษาจรยิธรรมแห่งวชิาชพีเวชกรรมโดยเคร่งครัด

ทุกประการ

ข้าฯ จักรักษาสัตย์ปฏิญาณท้ังหลายน้ี เสมอด้วย

ชีวิตตลอดไป นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อปวง

แพทย์ไทย

พระมหากรุณาธิ คุณต ่อคณะแพทยศาสตร ์

จุฬาลงกรณ ์มหาวิทยาลั ย และโรงพยาบาล

จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

คณาจารย ์ ท่ีปฏิบั ติงานที่คณะแพทยศาสตร์

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับพระราชทานทุน

อานันทมหิดลไปศึกษาต่อเฉพาะทางต่างๆ ท้ังด้าน

การแพทย์ การวิจัยเป็นการเพิ่มศักยภาพการแพทย์

และสาธารณสุขของประเทศเป็นจ�านวนหลายสิบคน

จากทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์ ซึ่ง

ทรงก่อต้ังข้ึนเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่สมเด็จ

พระบรมเชษฐาธิราช ศาสตราจารย์ กติติคุณ นายแพทย์

จรัส สุวรรณเวลา เป็นแพทย์ท่านแรกท่ีได้รับทุน

พระราชทานนี ้โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ

วะสี ได้รับพระราชทานทุนเป็นท่านท่ี 2 ทุนมูลนิธิ

อานันทมหิดลน้ี ปัจจุบันได้ขยายวัตถุประสงค์ไปใน

สาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์

อกัษรศาสตร์ และนติิศาสตร์ ซึง่เป็นพระราชกรณยีกจิ

ที่ส�าคัญยิ่งในการพัฒนาบุคลากรของชาติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมูพิลอดุลยเดช

ได้เสด็จพระราชด�าเนนิเปิดอาคารต่างๆ ในโรงพยาบาล

จฬุาลงกรณ์ และสภากาชาดไทยกว่า 30 อาคาร รวมท้ัง

อาคาร ภปร อาคาร สก ซ่ึงพระราชทานพระราชทรพัย์

เป็นทุนประเดิม และพระราชทานพระปรมาภธัิย ภปร

และ พระนามาภิธัย สก เป็นมงคลนาม และล่าสุด

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “ภูมิ

สิรมัิงคลานุสรณ์” อนัหมายถงึ “อนสุรณ์อนัเป็นมงคล

แด่สองพระองค์” โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้า

พระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชด�าเนินแทน

พระองค์ในพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารรักษา

พยาบาลรวมครบวงจร พร้อมห้องผ่าตัดกว่า 60 ห้อง

ท้ังหมดท่ีกล่าวมาโดยสังเขป เป็นเพียงส่วนหน่ึง

ของพระมหากรุณาธิคุณท่ีรวบรวมมาเป็นบันทึก

ประวติัศาสตร์ และในส่วนของโรงพยาบาลจฬุาลงกรณ์

สภากาชาดไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณาจารย ์

จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลต่างๆ ได้ร่วมถวายงาน

และร่วมงานอันเนื่องจากพระราชด�าริ พระราช

ประสงค์ของทัง้สองพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์

ในการบ�าบัดทุกข์ บ�ารุงสุขแด่พสกนิกร พระราช-

กรณียกิจที่กล่าวมาโดยสังเขปเป็นเพียงส่วนเล็กๆ

ส่วนหน่ึงในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเหลือหาที่สุด

มิได้ และเป็นตัวอย่างท่ีแพทย์ และบุคลากรทาง

การแพทย์จะได้เจริญรอยตามเบ้ืองพระยุคลบาทแห่ง

พระมหาธรรมราชาพระองค์นั้น

_17-(001-007)0 P2.indd 5 6/27/60 BE 11:41 AM

Page 6: บทความพิเศษ (special article ...anesthai.org/.../journal/1499494033-_17-(001-007)0-P2.pdfVolume 43 Number 1 January – March 2017 Thai Journal of Anesthesiology

6 วิสัญญีสาร ปีที่43ฉบับที่1มกราคม–มีนาคม2560

_17-(001-007)0 P2.indd 6 6/27/60 BE 11:41 AM

Page 7: บทความพิเศษ (special article ...anesthai.org/.../journal/1499494033-_17-(001-007)0-P2.pdfVolume 43 Number 1 January – March 2017 Thai Journal of Anesthesiology

Volume 43 Number 1 January – March 2017 Thai Journal of Anesthesiology 7

_17-(001-007)0 P2.indd 7 6/27/60 BE 11:41 AM