metadata - sac.or.th · ต าราโหราศาสตร์...

12
1 Metadata กุญแจสู่การจัดการและค้นคืนข้อมูล ธันวดี สุขประเสริฐ นักวิชาการเอกสารสนเทศ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เมทาดาทา (metadata) หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูล” เป็นข้อมูลที่ใช้กากับและอธิบายข้อมูลหลัก หรือกลุ่มข้อมูล อธิบายรายละเอียดของข้อมูลหรือสารสนเทศ สิ่งที่อธิบายอยู่ในเมทาดาทาจะช่วยทาให้ทราบ รายละเอียดและคุณลักษณะของข้อมูล ถือเป็นระบบสาคัญในการจัดการข้อมูลและจัดการความรูแต่เดิมนั้นเมทาดาทาถูกใช้ในงานห้องสมุด พบเห็นได้บ่อยในรูปแบบของบัตรรายการสาหรับสืบค้น หนังสือ แต่เมื่อสารสนเทศได้เปลี่ยนมาสู่รูปแบบดิจิทัล เมทาดาทาที่ใช้อธิบายข้อมูลจึงต้องเปลี่ยนมาอธิบาย ข้อมูลดิจิทัลด้วยเช่นกัน ภาพจาก http://www.wisegeek.org/what-is-a-card-catalog.htm วัตถุประสงค์หลักของเมทาดาทา คือ เพื่ออานวยความสะดวกในการค้นคืนข้อมูลที่สัมพันธ์กัน จัดการ และจัดระบบให้กับแหล่งข้อมูลอิเลคทรอนิก ระบุเอกสารดิจิทัล และช่วยอนุรักษ์และสงวนรักษาแหล่งข้อมูล เมทาดาทาช่วยให้สามารถค้นพบสารสนเทศได้จากเงื่อนไขหรือคุณสมบัติที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ยังมี ประโยชน์ในการระบุสารสนเทศ รวบรวมสารสนเทศที่คล้ายคลึงกัน คัดแยกสารสนเทศที่ต่างกัน เช่น การให้เม

Upload: others

Post on 06-Sep-2019

9 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Metadata - sac.or.th · ต าราโหราศาสตร์ เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตก ตัวอย `างการใหเมทาดาทาตามมาตรฐานดับบลินคอร์ในฐานขอมูลเอกสารโบราณภาคะตะวันตก

1

Metadata

กุญแจสู่การจัดการและค้นคืนข้อมูล

ธันวดี สุขประเสริฐ

นักวิชาการเอกสารสนเทศ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

เมทาดาทา (metadata) หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูล” เป็นข้อมูลที่ใช้ก ากบัและอธิบายข้อมูลหลัก

หรือกลุ่มข้อมูล อธิบายรายละเอียดของข้อมูลหรือสารสนเทศ สิ่งที่อธิบายอยู่ในเมทาดาทาจะช่วยท าให้ทราบ

รายละเอียดและคุณลักษณะของข้อมูล ถือเป็นระบบส าคัญในการจัดการข้อมูลและจัดการความรู้

แตเ่ดิมนั้นเมทาดาทาถูกใช้ในงานห้องสมุด พบเห็นได้บ่อยในรูปแบบของบัตรรายการส าหรับสืบค้น

หนังสือ แต่เมื่อสารสนเทศได้เปลี่ยนมาสู่รูปแบบดิจิทัล เมทาดาทาท่ีใช้อธิบายข้อมูลจึงต้องเปลี่ยนมาอธิบาย

ข้อมูลดิจิทัลด้วยเช่นกัน

ภาพจาก http://www.wisegeek.org/what-is-a-card-catalog.htm

วัตถุประสงค์หลักของเมทาดาทา คือ เพ่ืออ านวยความสะดวกในการค้นคืนข้อมูลที่สัมพันธ์กัน จัดการ

และจัดระบบให้กับแหล่งข้อมูลอิเลคทรอนิก ระบุเอกสารดิจิทัล และช่วยอนุรักษ์และสงวนรักษาแหล่งข้อมูล

เมทาดาทาช่วยให้สามารถค้นพบสารสนเทศได้จากเงื่อนไขหรือคุณสมบัติที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ยังมี

ประโยชน์ในการระบุสารสนเทศ รวบรวมสารสนเทศที่คล้ายคลึงกัน คัดแยกสารสนเทศที่ต่างกัน เช่น การให้เม

Page 2: Metadata - sac.or.th · ต าราโหราศาสตร์ เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตก ตัวอย `างการใหเมทาดาทาตามมาตรฐานดับบลินคอร์ในฐานขอมูลเอกสารโบราณภาคะตะวันตก

2

ทาดาทาระบุประเภทของเอกสาร ก็จะท าให้ค้นคืนเอกสารประเภทเดียวกันที่กระจายอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ ได้

สะดวกขึ้น เงื่อนไขหรือคุณสมบัติของสารสนเทศอาจจะเป็น ประเภททรัพยากร เจ้าของ พ้ืนที่ เป็นต้น อีกท้ัง

ยังช่วยเพิ่มประโยชน์ให้กับแหล่งข้อมูลอิเลคทรอนิก เช่น เวบเพจ

เมทาดาทาเป็นข้อมูลที่ให้สารสนเทศหนึ่งองค์ประกอบขึ้นไป เช่น เครื่องมือในการสร้างข้อมูล

วัตถุประสงค์ของข้อมูล วันและเวลาสร้างข้อมูล ผู้สร้างหรือเขียนข้อมูล พ้ืนที่หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่

ข้อมูลถูกสร้าง มาตรฐานที่ใช้ ตัวอย่างเช่น ภาพดิจิทัลอาจจะมีข้อมูลที่อธิบายความใหญ่ของภาพ ความเข้ม

ของสี ความละเอียดของภาพ ภาพถูกสร้างขึ้นเมื่อไหร่ รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ส่วนข้อมูลลายลักษณ์อักษร ก็อาจมี

เมทาดาทาที่อธิบายความยาวของเอกสาร ใครเป็นผู้เขียน เขียนขึ้นเมื่อไหร่ และมีสาระสังเขปอย่างไร หากเป็น

เวบเพจ ก็จะให้ข้อมูลที่อธิบายว่าเวบเพจนั้นใช้ภาษาอะไรในการเขียน ใช้เครื่องมืออะไรในการสร้าง และ

สามารถหาสารสนเทศในหัวเรื่องนั้นได้จากแหล่งใดอีก

เมทาดาทาสามารถเก็บและจัดระบบอยู่ในฐานข้อมูล เรียกว่า metadata registry หรือ metadata

repository เมทาดาทาสามารถสร้างด้วยตัวเองหรือระบบอัตโนมัติเมื่อสารสนเทศเข้าสู่กระบวนการก็ได้ การ

สร้างด้วยตัวเองนั้นมีแนวโน้มที่จะแม่นย ากว่า โดยผู้จัดการข้อมูลจะน าเข้าข้อมูลที่มีความสัมพันธ์หรือมีความ

จ าเป็นในการช่วยอธิบายตัวสารสนเทศ ส่วนเมทาดาทาที่เกิดขึ้นอัตโนมัตินั้น มักเป็นข้อมูลเบื้องต้น เช่น ขนาด

ของไฟล์ ความยาวของไฟล์ ผู้สร้าง วันเวลาที่สร้าง1

เมทาดาทาเกิดขึ้นเนื่องจากสารสนเทศท่ีสร้างข้ึนประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ลักษณะ คือ

1. เนื้อหา (Content) ของงาน เกี่ยวกับชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ต้นฉบับ (แหล่งที่มา) ภาษา เรื่องที่เกี่ยวข้อง และ

ขอบเขต

2. บริบท (Context) ของสารสนเทศ เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของงาน เช่น ผู้เขียน ผู้สร้างสรรค์ผลงาน

ส านักพิมพ์ ผู้มีส่วนร่วมในผลงาน และสิทธิในงานนั้นๆ

1 อ่านเพิ่มเติม http://whatis.techtarget.com/definition/metadata

Page 3: Metadata - sac.or.th · ต าราโหราศาสตร์ เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตก ตัวอย `างการใหเมทาดาทาตามมาตรฐานดับบลินคอร์ในฐานขอมูลเอกสารโบราณภาคะตะวันตก

3

3. โครงสร้าง (Structure) ของข้อมูลเกี่ยวกับ วัน เดือน ปีที่สร้างผลงาน ประเภทของเนื้อหา รูปแบบการ

น าเสนอผลงาน และตัวบ่งชี้หรือตัวระบุถึงทรัพยากร

สาเหตุที่มีการตื่นตัวเรื่องเมทาดาทากันมาก เนื่องจากมีสารสนเทศจ านวนมหาศาลในเวิล์ดไวด์เว็บ

(World Wide Web; WWW) ทั้งท่ีเป็นข้อมูล รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ อีกทั้งรูปแบบและภาษาแตกต่างกัน ซ่ึง

เป็นเอกสารที่เจ้าของผลงานผลิตขึ้นเองโดยใช้เพียงภาษา HTML ในการก าหนดรูปแบบการแสดงผลและ

เชื่อมโยงข้อมูลเท่านั้น ไม่มีโครงสร้างมาตรฐานส าหรับสืบค้นที่ระบุเขตข้อมูลท าให้ search engine สามารถ

สืบค้นได้ในระดับกว้างเท่านั้น และไม่ตรงกับความต้องการเท่าใดนัก2

ประเภทของเมทาดาทา (Metadata types)

เนื่องจากเมทาดาทาครอบคลุมการอธิบายข้อมูลที่หลากหลาย ดังนั้น จึงมีการก าหนดประเภทของเม

ทาดาทา ตัวอย่างเช่น

1. Structural metadata คือ เมทาดาทาส าหรับใช้อธิบายโครงสร้างของฐานข้อมูล เช่น ตาราง คอลัมภ์ ค า

ส าคัญ ดัชนี ให้ค าอธิบายว่าองค์ประกอบต่างๆ ของวัตถุนั้นถูกจัดระบบอย่างไร เช่น หน้าของหนังสือถูก

จัดเรียงอย่างไรในแต่ละบท เช่น meta tag ที่อธิบายเวบเพจ หรือโครงสร้างของฐานข้อมูล

2. Guide metadata คือเมทาดาทาท่ีช่วยผู้ใช้ค้นหาข้อมูลหรือเอกสารที่เฉพาะเจาะจง และมักจะแสดงในรูป

ของชุดค าส าคัญในภาษามนุษย์

3. Descriptive metadata คือเมทาดาทาที่ใช้เพ่ือค้นหาและระบตัุวเนื้อหาข้อมูล เช่น ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ค า

ส าคัญ ส านักพิมพ์

4. Administrative metadata คือเมทาดาทาเพ่ือการจัดการ ให้ข้อมลูเพ่ือช่วยจัดการแหล่งข้อมูล อ้างอิง

ข้อมูลเชิงเทคนิค รวมถึงประเภทของไฟล์ และไฟล์นั้นถูกสร้างเมื่อไหร่ อย่างไร เมทาดาทาประเภทนี้ยังแยก

ย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ rights management metadata and preservation metadata.

2

อ่านเพิ่มเติม http://ladict.asia/พจนานุกรม/metadata-คืออะไร

Page 4: Metadata - sac.or.th · ต าราโหราศาสตร์ เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตก ตัวอย `างการใหเมทาดาทาตามมาตรฐานดับบลินคอร์ในฐานขอมูลเอกสารโบราณภาคะตะวันตก

4

Rights management metadata อธิบายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

Preservation metadata ระบุว่าแหล่งข้อมูลนี้จ าเป็นต้องมีการอนุรักษ์และรักษาความปลอดภัย

รูปแบบของข้อมูลและมาตรฐานการให้เมทาดาทา

เมทาดาทานั้นสามารถให้ข้อมูลกับวัสดุทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ข้อมูลของวัสดุที่จับต้องได้ เช่น

หนังสือ ดีวีดี แผนที่ ภาพวาด วัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น ส่วนข้อมูลของวัสดุที่จับต้องไม่ได้ คือวัสดุ

ดิจิทัล เช่น ภาพดิจิทัล ไฟล์เอกสาร ชุดข้อมูลในรูปแบบตาราง (excel) เป็นต้น

รูปแบบของข้อมูลแต่ละแบบจะมีเมทาดาทาที่ใช้อธิบายแตกต่างกันไป ซึ่งข้อมูลแต่ละแบบก็จะมี

มาตรฐานทีเ่ป็นเค้าร่าง (schema) เฉพาะที่บันทึกทั้งความหมายและโครงสร้างทางเทคนิคของข้อมูล เพ่ือ

มนุษย์หรือคอมพิวเตอร์จะได้ไม่ใช้แบบคลุมเครือ ตัวอย่างเช่น หากใช้มาตรฐาน Dublin core (DC) ในการ

อธิบายเอกสาร ค าว่า creator ก็ต้องเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงชื่อผู้แต่ง/เขียน coverage หมายถึง สถานที่และ

เวลา format หมายถึง รูปแบบของสื่อ เป็นต้น

ตัวอย่างมาตรฐานเมทาดาทา

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างมาตรฐานเมทาดาทาที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรใช้ส าหรับให้ข้อมูลสารสนเทศของ

ศูนย์ฯ 3 มาตรฐาน

Marc21 standards

MARC เป็นกลุ่มของรูปแบบดิจิทัลที่ใช้อธิบายสารสนเทศที่จัดระบบโดยห้องสมุด การให้รายละเอียด

ทรัพยากรห้องสมุดก็เป็นการให้เมทาดาทาอย่างหนึ่งเหมือนกัน แต่เดิมพบเห็นได้บ่อยในรูปแบบของ

บัตรรายการส าหรับสืบค้นหนังสือ แต่ปัจจุบันได้พัฒนาระบบการลงรายการและสืบค้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์

เป็นการให้ข้อมูลสารสนเทศท่ีเกี่ยวกับ ผู้แต่งหนังสือ ชื่อเรื่อง ส านักพิมพ์ ภาษา ปีที่ตีพิมพ์ ประเภทของ

ทรัพยากร เป็นต้น

Page 5: Metadata - sac.or.th · ต าราโหราศาสตร์ เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตก ตัวอย `างการใหเมทาดาทาตามมาตรฐานดับบลินคอร์ในฐานขอมูลเอกสารโบราณภาคะตะวันตก

5

ส่วน Marc21 เป็นวิวัฒนาการซึ่งมีการพัฒนามาจาก usmarc ซ่ึง marc21 โครงสร้างการท างานก็

คล้ายคลึงกันกับ usmarc แต่เพ่ิมโครงสร้างระเบียนบางอย่างเพ่ิมเข้ามาเพ่ือให้เข้ากับยุคสมัยและรองรับการ

ลงรายการของทรัพยากรใหม่ ๆ ที่เกิดข้ึนด้วย และเพ่ือให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก เพื่อการแบ่งปัน

ทรัพยากรและการบ ารุงรักษาระเบียนข้อมูล

ตัวอยา่งการให้เมทาดาทรัพยากรห้องสมุดด้วยระบบ MARC21

Page 6: Metadata - sac.or.th · ต าราโหราศาสตร์ เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตก ตัวอย `างการใหเมทาดาทาตามมาตรฐานดับบลินคอร์ในฐานขอมูลเอกสารโบราณภาคะตะวันตก

6

The Dublin Core metadata

มาตรฐานดับลินคอร์เป็นมาตรฐานที่งานฐานข้อมูลของศูนย์ฯ ใช้มากที่สุด อาทิ ฐานข้อมูลเอกสาร

โบราณภาคตะวันตก ฐานข้อมูลจารักในประเทศไทย ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ฐานข้อมูลงานวิจัยชาติพันธุ์

คลังข้อมูลสถาบัน เป็นต้น

หน่วยข้อมูลย่อยดับลินคอร์มี 15 องค์ประกอบ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. หน่วยข้อมูลย่อยที่เก่ียวกับเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ

2. หน่วยข้อมูลย่อยที่เก่ียวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา

3. หน่วยข้อมูลย่อยที่เก่ียวรูปแบบที่ปรากฏให้ใช้งาน

หน่วยข้อมูลย่อยที่เก่ียวกับเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ เป็นหน่วยข้อมูลที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับ ชื่อ

เรื่อง หัวเรื่อง ต้นฉบับ (แหล่งที่มา) ภาษา เรื่องที่เกี่ยวข้อง และขอบเขต

หน่วยข้อมูลย่อย ที่เก่ียวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา เป็นหน่วยข้อมูลที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับ ผู้เขียน ผู้

สร้างสรรค์ผลงาน ส านักพิมพ์ ผู้มีส่วนร่วมในผลงานนั้น ๆ และสิทธิ

หน่วยข้อมูลย่อยที่เก่ียวข้องกับรูปแบบที่ปรากฏให้ใช้งาน เป็นหน่วยข้อมูลที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับ วัน

เดือน ปี ที่สร้างผลงาน ประเภทของเนื้อหา รูปแบบของการน าเสนอผลงาน และตัวบ่งชี้หรือตัวระบุถึง

ทรัพยากร

Page 7: Metadata - sac.or.th · ต าราโหราศาสตร์ เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตก ตัวอย `างการใหเมทาดาทาตามมาตรฐานดับบลินคอร์ในฐานขอมูลเอกสารโบราณภาคะตะวันตก

7

ต าราโหราศาสตร์ เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตก

ตัวอยา่งการให้เมทาดาทาตามมาตรฐานดับบลินคอร์ในฐานข้อมูลเอกสารโบราณภาคะตะวันตก

Page 8: Metadata - sac.or.th · ต าราโหราศาสตร์ เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตก ตัวอย `างการใหเมทาดาทาตามมาตรฐานดับบลินคอร์ในฐานขอมูลเอกสารโบราณภาคะตะวันตก

8

การที่ดับลินคอร์เมทาดาทาเป็นที่นิยมใช้ เนื่องจากผู้น าไปใช้ไม่จ าเป็นต้องใช้หน่วยข้อมูลย่อยทั้งหมด

สามารถเลือกใช้เท่าที่จ าเป็นหรือต้องการ สามารถใช้หน่วยข้อมูลซ้ าได้ สามารถเพ่ิมขยายหน่วยข้อมูลได้ตาม

ความจ าเป็น และใช้งานได้หลากหลายระบบและเป็นสากล3

โครงสร้างของดับลินคอร์ สามารถใช้อธิบายแหล่งข้อมูลประเภทเวบรีซอส ที่มีสารสนเทศประเภท

เวบเพจ วิดีโอ ภาพ 4

ISAD(G) : General International Standard Archival Description

เอกสารจดหมายเหตุจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกตา่งจากเอกสารประเภทอื่นๆ จึงจ าเป็นต้องมีมาตรฐาน

ในการให้ข้อมูลจดหมายเหตุโดยเฉพาะ กล่าวคือ เอกสารจดหมายเหตุเป็นชุดเอกสารที่รวบรวมสารสนเทศ

หลายๆ ชนิดไว้ด้วยกัน เช่น ในหนึ่งชุดเอกสารอาจประกอบไปด้วย สมุดบันทึก ภาพถ่าย จดหมาย แถบ

บันทึกภาพและเสียง ดังนั้น ก่อนที่จะให้ข้อมูลเอกสารแต่ละชิ้น จะต้องให้ข้อมูลเอกสารรายกลุ่มเสียก่อน โดย

ให้รายละเอียดตามล าดับชั้น จากกลุ่มใหญ่สุดลงไปหากลุ่มที่ย่อยที่สุด ISAD(G) จึงเป็นมาตรฐานการให้ข้อมูลที่

เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีแนวคิดส าคัญคือการอธิบายข้อมูลแบบเป็นช่วงชั้น

3

อ่านเพิ่มเติม http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/480-dublin-core-metadata 4

อ่านเพิ่มเติม http://dublincore.org/documents/usageguide/

Page 9: Metadata - sac.or.th · ต าราโหราศาสตร์ เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตก ตัวอย `างการใหเมทาดาทาตามมาตรฐานดับบลินคอร์ในฐานขอมูลเอกสารโบราณภาคะตะวันตก

9

แนวคิดส าคัญของการสร้างเนื้อหาอธิบายข้อมูลจดหมายเหตุที่มีหลายช่วงชั้น

1. อธิบายจากข้อมูลทั่วไป ไปสู่ข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ โดยให้ข้อมูลที่เป็นภาพรวมในช่วงชั้นใหญ่

ที่สุด คือ ระดับ collection ส่วนในช่วงชั้นถัดมา ให้ข้อมูลที่ครอบคลุมเฉพาะขอบเขตของชั้นข้อมูลนั้นๆ

ท้ายที่สุดการสร้างเนื้อหาอธิบายข้อมูลจดหมายเหตุลักษณะนี้ จะท าให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์รวมและ

ส่วนย่อยของเอกสารแต่ละชุด

2. ค าอธิบายข้อมูลจดหมายเหตุ ต้องเป็นข้อมูลที่สะท้อนบริบทและเนื้อหาของชั้นข้อมูลได้อย่าง

ถูกต้อง

3. การเชื่อมโยงค าอธิบาย ต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงช่วงชั้นของข้อมูล โดยเชื่อมโยงค าอธิบาย

จากระดับที่สูงกว่าลงไปสู่ระดับที่ต่ ากว่า และระบุอย่างชัดเจนว่าค าอธิบายที่สร้างขึ้นนั้น อยู่ในระดับใดของช่วง

ชั้นข้อมูล

4. หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลซ้ าในแต่ละช่วงชั้น โดยในระดับช่วงชั้นใหญ่สุด คือ collection ต้องมีข้อมูล

ที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งระดับ series และระดับ file โดยไม่ต้องอธิบายซ้ าอีกในระดับที่รองลงมาก แต่ให้ข้อมูล

ที่ครอบคลุมเฉพาะขอบเขตของระดับนั้นๆ5

5

อ่านเพิ่มเติม http://www.icacds.org.uk/eng/ISAD%28G%29.pdf

Page 10: Metadata - sac.or.th · ต าราโหราศาสตร์ เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตก ตัวอย `างการใหเมทาดาทาตามมาตรฐานดับบลินคอร์ในฐานขอมูลเอกสารโบราณภาคะตะวันตก

10

ตัวอยา่งการให้เมทาดาทาเอกสารจดหมายเหตุรายชุด (collection) ตามมาตรฐาน ISAD(G) ฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยา

ตัวอยา่งการให้เมทาดาทาเอกสารจดหมายเหตุรายกลุ่ม (series) ตามมาตรฐาน ISAD(G) ฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานษุยวิทยา

Page 11: Metadata - sac.or.th · ต าราโหราศาสตร์ เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตก ตัวอย `างการใหเมทาดาทาตามมาตรฐานดับบลินคอร์ในฐานขอมูลเอกสารโบราณภาคะตะวันตก

11

ตัวอยา่งการให้เมทาดาทาเอกสารจดหมายเหตุรายชิ้น (item) ตามมาตรฐาน ISAD(G) ฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานษุยวิทยา

เมทาดาทาที่ยกตัวอย่างข้างต้นนั้นเป็นเมทาดาทาทีน่ักจัดการข้อมูลเป็นผู้ระบุ ส่วนเมทาดาทาท่ีระบบ

สามารถสร้างไดโ้ดยอัตโนมัติก็เช่น ภาพจากกล้องถ่ายรูปดิจิทัล ถูกจัดเก็บตามมาตรฐาน EXIF (Exct

angeable image file format) ซึ่งเป็นข้อมูลเฉพาะที่บรรจุลงในภาพที่ถ่ายโดยกล้องดิจิทัลทุกตัว ได้แก่

เจ้าของกล้อง วันเวลาที่ถ่าย ล าดับของภาพ สถานที่ถ่าย รูรับแสง ความยาวโฟกัส ต าแหน่งสถานที่

(Geolocation) ในกรณีที่กล้องมีระบบจีพีเอส (GPS) เชื่อมต่อ เมทาดาทาอีกประเภทที่นิยมใช้ส าหรับให้ข้อมูล

ประเภทไฟล์เสียงประเภทไฟล์ MP3 ก็คือ ID3 เช่น ไฟล์เพลง จะระบุข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อเพลง ชื่อศิลปิน ชื่อ

อัลบั้ม หมายเลขแทรค ผู้สร้าง เจ้าของลิขสิทธิ์ เป็นต้น

เมทาดาทาสามารถให้ข้อมูลกับสารสนเทศทุกรูปแบบ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัว

สารสนเทศและผู้ใช้ผ่านแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่งข้อมูล เพ่ือให้สามารถสืบค้นได้จากการระบุเขตข้อมูลหรือ

ประเด็นที่ต้องการจะค้น โดยมีการจัดการข้อมูลที่มรีะบบและโครงสร้างที่เป็นมาตรฐาน มีประโยชน์ในการ

สร้างความเท่ียงตรงให้กับข้อมูลที่ถูกใช้ จัดเก็บ และแบ่งปัน นอกจากนี้เมทาดาทายังช่วยให้ความชัดเจนกับ

แหล่งต้นทางและประวัติความเป็นมาของข้อมูล ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่ข้อมูลในการที่จะถูกน าไปใช้ และ

เป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ที่ส าคัญบรรณารักษ์หรือนักจัดการข้อมูล ซึ่งเป็นผู้ให้เมทาดาทาแก่สารสนเทศ

Page 12: Metadata - sac.or.th · ต าราโหราศาสตร์ เอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตก ตัวอย `างการใหเมทาดาทาตามมาตรฐานดับบลินคอร์ในฐานขอมูลเอกสารโบราณภาคะตะวันตก

12

ควรมีความเข้าใจในโครงสร้างและเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศเป็นอย่างดี เพ่ือสามารถวิเคราะห์โครงสร้าง

ของข้อมูลและเนื้อหาก่อนที่จะใส่ข้อมูลลงไปในแต่ละองค์ประกอบหรือเขตข้อมูล เพ่ือผู้ใช้จะสามารถค้นคืน

ข้อมูลได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ

แหล่งอ้างอิง

1. http://whatis.techtarget.com/definition/metadata (สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2558)

2. http://ladict.asia/พจนานุกรม/metadata-คืออะไร (สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2558)

3. http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/480-dublin-core-metadata (สืบค้นเมื่อ 15

กันยายน 2558)

4. http://dublincore.org/documents/usageguide/ (สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2558)

5. http://www.icacds.org.uk/eng/ISAD%28G%29.pdf (สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2558)

6. https://en.wikipedia.org/wiki/Metadata (สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2558)