2555library1.nida.ac.th/res1/researchfull-1/b185720.pdfอาจารย และน กศ...

78
การใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์และนักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ นางสาวหทัยกานต์ วงศ์สวัสดิ สํานักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2555

Upload: others

Post on 25-Jan-2021

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • การใช้ฐานข้อมูลอเิลก็ทรอนิกส์ของอาจารย์และนักศึกษา

    สถาบันบัณฑิตพฒันบริหารศาสตร์

    นางสาวหทัยกานต์ วงศ์สวสัดิ์

    สํานักบรรณสารการพฒันา

    สถาบันบัณฑิตพฒันบริหารศาสตร์

    2555

  • กติตกิรรมประกาศ

    งานวิจัยฉบับน้ีสําเร็จลุล่วงได้ด้วยความร่วมมือของอาจารย์และนักศึกษาสถาบัน

    บณัฑิตพฒันบริหารศาสตร์ที่กรุณาเสียสละเวลาในการตอบแบบสอบถาม และขอขอบคุณบุคลากร

    ในสาํนกับรรณสารการพฒันาและเจา้หนา้ท่ีคณะต่างๆท่ีให้ความร่วมมือ จนงานวิจยัสําเร็จลุล่วงไป

    ไดด้ว้ยดี

    ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย ์ดร. ระวีวรรณ เอ้ือพนัธ์วิริยะกุล คุณปัทมา หมดันุรักษ ์

    และคุณสายพิณ จีนโนที่ไดใ้ห้ความช่วยเหลือแนะนาํและแกไ้ขขอ้บกพร่องต่างๆของทั้งในดา้น

    เน้ือหางานวจิยัและแบบสอบถาม จนทาํใหง้านวจิยัคร้ังน้ีสาํเร็จสมบูรณ์

    สุดท้ายน้ีขอขอบพระคุณ สํานักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ที ่พิจารณา

    สนบัสนุนเงินทุนในการวจิยัคร้ังน้ี

    หทยักานต ์ วงศส์วสัด์ิ

  • บทคดัย่อ

    การวจิยัเร่ืองการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารยแ์ละนกัศึกษาสถาบนับณัฑิต

    พฒันบริหารศาสตร์ มีวตัถุประสงคเ์พื่อศึกษาการใชบ้ริการฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ ปัญหาในการ

    ใช้ฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์และความตอ้งการการบริการเก่ียวกบัการใช้ฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์

    ของอาจารยแ์ละนกัศึกษาสถาบนับณัฑิตพฒันบริหารศาสตร์ โดยการแจกแบบสอบถาม จาํนวน

    664 ฉบบั ไดรั้บแบบสอบถามกลบัคืนมาได ้456 ฉบบั คิดเป็นร้อยละ 68.67

    ผลการวิจยัพบว่า ผูต้อบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนกัศึกษาภาคปกติระดบัปริญญาโท

    มากที่สุด เมือ่จาํแนกตามคณะพบว่าเป็นอาจารยแ์ละนกัศึกษาสังกดัคณะรัฐประศาสนศาสตร์มาก

    ท่ีสุด

    อาจารยแ์ละนกัศึกษาส่วนใหญ่ใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ในระดบันอ้ย (x� = 1.06) โดยฐานขอ้มูลที่อาจารยแ์ละนกัศึกษาใชม้ากที่สุดคือ ProQuest Dissertation & Theses (x� = 1.33) และทราบว่าสํานักบรรณสารการพฒันามีการบริการฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์จากเว็บไซต์ของ

    สํานกับรรณสารการพฒันา ส่วนใหญ่เรียนรู้วิธีการใช้ฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ดว้ยตนเอง เขา้ถึง

    ฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ดว้ยการสืบคน้ผ่านเวบ็ไซต์ของสํานกับรรณสารการพฒันา อาจารยแ์ละ

    นักศึกษาส่วนใหญ่สืบค้นฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเองโดยตอ้งการผลการสืบค้นในรูป

    เอกสารฉบบัเต็ม และสืบคน้ฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักบรรณสารการพฒันา ในช่วงเวลา

    16.01-22.00 น. โดยเฉล่ียคร้ังละ 30 นาที – 1 ชัว่โมง

    อาจารยแ์ละนกัศึกษามีปัญหาในการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ในระดบัปานกลาง (x� = 3.00) โดยปัญหาท่ีพบมากท่ีสุดคือ ไม่สามารถสืบคน้เอกสารฉบบัเตม็ได ้ (x� = 3.35)

    อาจารย์และนักศึกษาต้องการการบริการเกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ใน

    ระดบัสูง (x� = 3.56) โดยตอ้งการใหห้อ้งสมุดปรับปรุงระบบเครือข่ายใหมี้ประสิทธิภาพ มากท่ีสุด

  • สารบญั

    หน้า

    กติติกรรมประกาศ (1)

    บทคัดย่อ (2)

    สารบัญ (3)

    สารบัญตาราง (5)

    บทที ่1 บทนํา 1

    1.1 ความเป็นมา 1

    1.2 วตัถุประสงค ์ 3

    1.3 ขอบเขตของการวจิยั 3

    1.4 ประโยชน์ท่ีคาดวา่จะไดรั้บ 4

    1.5 นิยามศพัท ์ 4

    บทที ่2 แนวคดิ ทฤษฏีและผลงานวจัิยทีเ่กีย่วข้อง 5

    2.1 ความหมายของฐานขอ้มูล 5

    2.2 ลกัษณะของฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ 6

    2.3 การสืบคน้สารสนเทศจากฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ 7

    2.4 การคดัเลือกฐานขอ้มลูอิเลก็ทรอนิกส์ 13

    2.5 แนวคิดเก่ียวกบัการศึกษาผูใ้ช ้ 14

    2.6 แนวคิดเก่ียวกบัความตอ้งการสารสนเทศของผูใ้ช ้ 19

    2.7 การใหบ้ริการฐานขอ้มูลออนไลน์ของสาํนกับรรณสารการพฒันา 20

    สถาบนับณัฑิตพฒันบริหารศาสตร์

    2.8 งานวจิยัท่ีเก่ียวขอ้ง 26

    บทที ่3 วธีิดําเนินการวจัิย 33

    3.1 ประชากรและกลุ่มตวัอยา่ง 33

    3.2 เคร่ืองมือท่ีใชใ้นการวจิยั 34

    3.3 การรวบรวมและการวเิคราะห์ขอ้มูล 35

  • (4)

    3.4 การวเิคราะห์ขอ้มูล 35

    3.5 สถิติท่ีใชใ้นการวจิยั 36

    บทที ่4 ผลการศึกษา 37

    4.1 ขอ้มูลทัว่ไปของผูต้อบแบบสอบถาม 37

    4.2 สภาพการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ 40

    4.3 ปัญหาในการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ 49

    4.4 ความตอ้งการการบริการเก่ียวกบัการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ 51

    4.5 ขอ้เสนอแนะจากนกัศึกษา 53

    บทที ่5 สรุปผลการวจัิย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 55

    5.1 สรุปผลการวจิยั 56

    5.2 อภิปรายผล 57

    5.3 ขอ้เสนอแนะ 60

    บรรณานุกรม 62

    ภาคผนวก 64

    แบบสอบถามเร่ืองการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย ์ 65

    และนกัศึกษาสถาบนับณัฑิตพฒันบริหารศาสตร์

    ประวตัผิู้ทาํวจัิย 72

  • สารบญัตาราง

    ตารางที ่ หน้า

    ตารางที ่4.1 จาํนวนร้อยละของผูต้อบแบบสอบถามจาํแนกตามสถานะ 37

    ตารางที ่4.2 จาํนวนร้อยละผูต้อบแบบสอบถามจาํแนกตามสถานะและคณะ 38

    ตารางที ่4.3 จาํนวนร้อยละของผูต้อบแบบสอบถามจาํแนกตามสถานะและระดบัการศึกษา 39

    ตารางที ่4.4 จาํนวนร้อยละของผูต้อบแบบสอบถามจาํแนกตามสถานะและหลกัสูตร 39

    ตารางที ่4.5 สภาพการใชฐ้านขอ้มูลจาํแนกตามสถานะ 40

    ตารางที ่4.6 จาํนวนร้อยละของการรับรู้บริการฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ 42

    ตารางที ่4.7 จาํนวนร้อยละของวตัถุประสงคใ์นการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ 43

    ตารางที ่4.8 จาํนวนร้อยละของการเรียนรู้วธีิการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ 44

    ตารางที ่4.9 จาํนวนร้อยละของวธีิการเขา้ถึงฐานขอ้มูล 45

    ตารางที ่4.10 จาํนวนร้อยละของวธีิการสืบคน้ฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ 45

    ตารางที ่4.11 จาํนวนร้อยละของรูปแบบของผลการสืบคน้ท่ีตอ้งการ 46

    ตารางที ่4.12 จาํนวนร้อยละของสถานท่ีสืบคน้ฐานขอ้มูล 46

    ตารางที ่4.13 จาํนวนร้อยละของช่วงเวลาท่ีใช ้ 47

    ตารางที ่4.14 จาํนวนร้อยละของระยะเวลาเฉล่ีย 48

    ตารางที ่4.15 ระดบัปัญหาในการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ 49

    ตารางที ่4.16 ความตอ้งการการบริการเก่ียวกบัการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ 51

  • บทที ่1

    บทนํา

    1.1 ความเป็นมา

    สถาบันบัณฑิตพฒันบริหารศาสตร์เป็นสถาบันการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สังกัด

    สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการที่จดัตั้ งข้ึนตามพระราชดาํริของ

    พระบาทสมเด็จพระเจา้อยูห่วั เม่ือวนัท่ี 1 เมษายน 2509 เน่ืองจากทรงเห็นวา่การพฒันาประเทศใน

    ขณะนั้นมีความจาํเป็นตอ้งมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยกนัพฒันา ดงัพระราชปรารภ

    ที่ว่า ประเทศไทยมีความจาํเป็นที่ต้องผลิตผูเ้ชี่ยวชาญสถิติ และผูเ้ชี่ยวชาญในสาขาอื่นๆ เพื ่อ

    ประโยชน์ในการพฒันาเศรษฐกิจของประเทศ โดยทางสถาบนัไดก้าํหนดปรัชญาเพื่อให้สอดคลอ้ง

    กบัพระราชดาํริดงักล่าววา่ ปัญญาเพื่อการเปล่ียนแปลงหรือ Wisdom for Change และไดก้าํหนด

    วสิัยทศัน์ขอ้หน่ึงท่ีสาํคญัคือความเป็นสถาบนัท่ีมีความเป็นเลิศใน 3 ภารกิจหลกัคืองานดา้นการวิจยั

    การจัดการศึกษาและการให้บริการวิชาการจึงต้องอาศัยห้องสมุดท่ีมีทรัพยากรสารสนเทศท่ี

    ครบถว้น หลากหลายและทนัสมยัเพือ่ใชเ้ป็นแหล่งในการศึกษา คน้ควา้ วจิยัและบริการสารสนเทศ

    รวมทั้งให้การศึกษาต่อเน่ืองตลอดชีวิตสําหรับอาจารย ์บุคลากร นักศึกษา รวมไปถึงประชาชน

    ทัว่ไปท่ีมีความสนใจศึกษาคน้ควา้เพื่อใหบ้รรลุภารกิจดงักล่าว

    การศึกษาในระดบับณัฑิตศึกษามีความมุ่งหมายเพื่อพฒันาความรู้ ความเช่ียวชาญเฉพาะ

    สาขาวชิา โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมสร้างความรู้ในเชิงลึกในสาขาวิชาใดวิชาหน่ึง การเรียน

    การสอนจึงออกมาในรูปของการศึกษาคน้ควา้เพิ่มเติมให้มีความรู้อยา่งลึกซ้ึงและมีความเช่ียวชาญ

    ในสาขาวิชานั้น ๆ การศึกษาในระดบับณัฑิตศึกษาต้องมีการศึกษาค้นควา้วิจยัสร้างสรรค์องค์

    ความรู้ใหม่ให้เกิดข้ึนในวงสังคมวิชาการ เป้าหมายของผูเ้รียนตอ้งมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ

    (เกรียงศกัด์ิ เจริญวงศศ์กัด์ิ 2540: 3)

    หอ้งสมุดมหาวทิยาลยัมีหนา้ที่หลกัคือการดาํเนินงานเพือ่สนบัสนุนการศึกษา คน้ควา้ และ

    การวิจยั หากผูใ้ช้ตอ้งการขอ้มูลทางด้านใด ผูใ้ห้บริการตอ้งรู้จกัประยุกต์ความตอ้งการของผูใ้ช้

  • 2

    และส่ิงทีมี่ในหอ้งสมุดเขา้ดว้ยกนัใหไ้ด ้รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ความตอ้งการและจดัหาขอ้มูลเพือ่

    เพิ่มมูลค่าใหก้บัหอ้งสมุด ในอดีตผูใ้ชบ้ริการมีความยากลาํบากในการเขา้ถึงสารสนเทศ แต่ปัจจุบนั

    เทคโนโลยสีารสนเทศท่ีมีในห้องสมุดจะช่วยทาํผูใ้ชบ้ริการเขา้ถึงสารสนเทศง่ายข้ึนโดยการสืบคน้

    ผ่านโปรแกรมสืบคน้ขอ้มูล ห้องสมุดจาํเป็นตอ้งปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเอง โดยศึกษาความ

    ตอ้งการของผูบ้ริโภคให้มากข้ึน และตอ้งเปิดกวา้งในเร่ืองความกา้วหน้าของงานบริการ ห้องสมุด

    ใดสามารถบริการผูใ้ชไ้ดร้วดเร็ว สามารถนาํเคร่ืองมือหรืออุปกรณ์ที่ช่วยให้บริการที่เร็วกวา่ ถือว่า

    เป็นหอ้งสมุดท่ีทนัสมยันาํหนา้กวา่หอ้งสมุดอ่ืน ๆ (ศิริกาญจน์ โพธ์ิเขียว 2550: 25,27)

    ฐานขอ้มลูอิเลก็ทรอนิกส์นบัเป็นส่ือท่ีมีพฒันาการสาํคญัท่ีมีคุณค่า เพราะเป็นส่ือท่ีสามารถ

    จดัเก็บขอ้มูลไดป้ริมาณสูง เป็นขอ้มูลแบบส่ือผสม และมีระบบการคน้คืนดว้ยระบบคอมพิวเตอร์ที่

    สะดวก รวดเร็ว ฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบนัจึงเป็นส่ือประเภทหน่ึงท่ีมีความสําคญัต่อการ

    เรียน การสอน การคน้ควา้ และการวจิยัในการศึกษาระดบัอุดมศึกษา (ธญา ตนัติวราภา, 2551: 7)

    สาํนกับรรณสารการพฒันาเป็นหอ้งสมุดระดบับณัฑิตศึกษาของสถาบนับณัฑิตพฒัน

    บริหารศาสตร์ ให้บริการเพือ่สนบัสนุนการเรียนการสอน การวิจยั การฝึกอบรมและการให้บริการ

    วชิาการสาขาพฒันบริหารศาสตร์ สํานกับรรณสารการพฒันามีภาระหนา้ที่ให้บริการในลกัษณะมุ่ง

    สู่ผูใ้ชเ้พือ่ตอบสนองความตอ้งการของผูใ้ช ้ จดัหาสารสนเทศเพือ่สร้างความเขม้แข็งในสาขาพฒั

    นบริหารศาสตร์ ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต สนบัสนุนการใชท้รัพยากรสารสนเทศร่วมกนัทั้งใน

    ระดบัประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ

    สํานักบรรณสารการพฒันาได้กําหนดวิสัยทศัน์ไวว้่าจะเป็นห้องสมุดเพื ่อการวิจัยใน

    สาขาพฒันบริหารศาสตร์และพฒันาไปสู่การเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์ จึงได้

    วางแผนในการจดัหาและรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศท่ีทนัสมยัทั้งในรูปส่ิงพิมพ ์ส่ิงไม่ตีพิมพ ์

    และส่ืออิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการพฒันาทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์และภาค

    นิพนธ์ของนกัศึกษาสถาบนับณัฑิตพฒันบริหารศาสตร์ใหอ้ยูใ่นรูปดิจิทลัเพือ่ให้ผูใ้ชส้ามารถสืบคน้

    และเรียกดูได้โดยไม่จาํเป็นอยู่ภายในห้องสมุดเท่านั้น เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี

    สารสนเทศและการส่ือสารขอ้มูลผ่านระบบเครือข่ายทาํให้พฤติกรรมการใช้สารสนเทศของผูใ้ช้

    เปล่ียนไปประกอบกบัในปัจจุบนัคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอุปกรณ์ส่ือสารอิเล็กทรอนิกส์มี

    ประสิทธิภาพสูงข้ึนและมีขนาดเล็กพกพาสะดวกทาํให้เป็นที่นิยมมากข้ึน ผูใ้ช้บริการจึงมีความ

    ตอ้งการท่ีจะใชส้ารสนเทศอยา่งสะดวกสบาย สาํนกับรรณสารการพฒันาจึงมีการปรับตวัใหท้นัต่อ

    ความเปลี่ยนแปลงโดยมีการจดัเก็บและให้บริการสารสนเทศในรูปส่ืออิเล็กทรอนิกส์ควบคู่ไปกบั

    ส่ือส่ิงพิมพ ์และสนบัสนุนใหมี้การสืบคน้สารสนเทศผา่นระบบเครือข่ายของสถาบนัมากข้ึน สํานกั

    บรรณสารการพฒันาเล็งเห็นถึงความสาํคญัของทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์จึงมีการบอกรับ

  • 3

    ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในสาขาต่าง ๆ ท่ี

    สถาบนับณัฑิตพฒันบริหารศาสตร์จดัการเรียนการสอน เพื่อให้ผูใ้ชบ้ริการเขา้ถึงเน้ือหาฉบบัเต็มได้

    อยา่งสะดวก

    ในแต่ละปีสาํนกับรรณสารการพฒันาไดรั้บงบประมาณในการจดัการทรัพยากรสารสนเทศ

    ในจํานวนจํากัด แต่ราคาของทรัพยากรสารสนเทศทั้ งในรูปสื่อ ส่ิงพิมพ์และฐานข้อมูล

    อิเลก็ทรอนิกส์มีราคาสูงข้ึน ทาํใหส้าํนกับรรณสารการพฒันาไม่สามารถจดัหาทรัพยากรสารสนเทศ

    ไดเ้พียงพอกบัความตอ้งการของผูใ้ชจึ้งจาํเป็นตอ้งมีการสํารวจความตอ้งการและการใชฐ้านขอ้มูล

    อิเล็กทรอนิกส์ของอาจารยแ์ละนกัศึกษาสถาบนับณัฑิตพฒันบริหารศาสตร์เพื่อนาํผลการวิจยัท่ีได้

    ไปปรับปรุงการใหบ้ริการฐานขอ้มูลอิเลก็ทรอนิกส์ของสาํนกับรรณสารการพฒันาต่อไป

    1.2 วตัถุประสงค์

    1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารยแ์ละนักศึกษาสถาบนั

    บณัฑิตพฒันบริหารศาสตร์ในดา้นฐานขอ้มูลที่ใช ้วตัถุประสงคใ์นการใช ้การเรียนรู้วิธีการใช ้การ

    เขา้ถึง วิธีการสืบคน้ สถานที่ ระยะเวลา ช่วงเวลาในการใช้และรูปแบบของขอ้มูลที่ได้จากการ

    สืบคน้

    2) เพื่อศึกษาปัญหาในการใชฐ้านขอ้มูลอิเลก็ทรอนิกส์ของอาจารยแ์ละนกัศึกษา

    3) เพื่อศึกษาความตอ้งการการบริการเก่ียวกบัการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์

    และนกัศึกษา

    1.3 ขอบเขตของการวจิยั

    ขอบเขตของการศึกษาคร้ังน้ีมุ่งศึกษาการใช ้ปัญหาในการใชแ้ละความตอ้งการการบริการ

    เกี ่ยวกับการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ท่ีมีให้บริการในสํานักบรรณสารการพฒันา ได้แก่

    ฐานขอ้มูล ABI Inform, Academic Search Premier, ACM Digital Library, AtoZ, Business

    Source Complete, Compustat Research Insight Global, Computers & Applied Sciences

    Complete, Datastream, EconLit with Full Text, Education Research Complete, Emerald eBook,

    Emerald Management Plus, HeinOnline, JSTOR, ScienceDirect, SpringerLink, Sage Journal

    Online, Taylor & Francis, Wiley-Blackwell, iQNewsClip, NewsCenter และProQuest

    Dissertation & Theses ของอาจารยแ์ละนกัศึกษาสถาบนับณัฑิตพฒันบริหารศาสตร์

  • 4

    1.4 ประโยชน์ทีค่าดว่าจะได้รับ

    1) ทราบการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารยแ์ละนกัศึกษาสถาบนับณัฑิต พฒันบริหารศาสตร์ในดา้น ฐานขอ้มูลออนไลน์ที่ใช้ วตัถุประสงค์ในการใช้ การเรียนรู้วิธีการใช ้

    การเขา้ถึง วิธีการสืบคน้ สถานที่ ระยะเวลา ช่วงเวลาในการใชแ้ละรูปแบบของขอ้มูลที่ไดจ้ากการ

    สืบคน้

    2) ทราบถึงปัญหาท่ีเกิดจากการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ 3) ทราบความตอ้งการการบริการเก่ียวกบัการใชฐ้านขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ 4) เป็นแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ของสํานกับรรณ

    สารการพฒันาใหมี้ประสิทธิภาพดียิง่ข้ึน

    1.5 นิยามศัพท์

    ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูล

    วทิยานิพนธ์ และฐานขอ้มูลข่าวท่ีมีให้บริการในสํานกับรรณสารการพฒันา จาํนวน 22 ฐานขอ้มูล

    ไดแ้ก่ฐานขอ้มูล ABI Inform, Academic Search Premier, ACM Digital Library, AtoZ, Business

    Source Complete, Compustat Research Insight Global, Computers & Applied Sciences

    Complete, Datastream, EconLit with Full Text, Education Research Complete, Emerald eBook,

    Emerald Management Plus, HeinOnline, JSTOR, ScienceDirect, SpringerLink, Sage Journal

    Online, Taylor & Francis, Wiley-Blackwell, iQNewsClip, NewsCenter และ ProQuest

    Dissertation & Theses

    อาจารย ์หมายถึง อาจารยข์องสถาบนับณัฑิตพฒันบริหารศาสตร์ท่ีสังกดัคณะรัฐประศาสน

    ศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะพฒันาการเศรษฐกิจ คณะสถิติประยุกต์ คณะพฒันาสังคมและ

    ส่ิงแวดลอ้ม คณะภาษาและการส่ือสาร คณะพฒันาทรัพยากรมนุษย ์ คณะนิติศาสตร์และศูนย์

    ศึกษาการจดัการการท่องเท่ียวแบบบูรณาการ

    นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ที่สังกัดคณะรัฐ

    ประศาสนศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะพฒันาการเศรษฐกิจ คณะสถิติประยุกต์ คณะพฒันา

    สังคมและส่ิงแวดลอ้ม คณะภาษาและการส่ือสาร คณะพฒันาทรัพยากรมนุษย ์ คณะนิติศาสตร์

    และศูนยศึ์กษาการจดัการการท่องเท่ียวแบบบูรณาการ

  • บทที ่2

    แนวคดิ ทฤษฏีและผลงานวจิยัที่เกีย่วข้อง

    ผูว้ิจยัได้ศึกษาคน้ควา้เอกสารและงานวิจยัที่เกี่ยวขอ้งเพื่อเป็นกรอบแนวความคิด และ

    แนวทางในการศึกษาเร่ืองการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์และนักศึกษาสถาบัน

    บณัฑิตพฒันบริหารศาสตร์ โดยมีรายละเอียดเน้ือหาต่อไปน้ี

    2.1 ความหมายของฐานขอ้มูล

    2.2 ลกัษณะของฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์

    2.3 การคน้คืนสารสนเทศจากฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์

    2.4 การคดัเลือกฐานขอ้มลูอิเลก็ทรอนิกส์

    2.5 แนวคิดเก่ียวกบัการศึกษาผูใ้ช ้

    2.6 แนวคิดเก่ียวกบัความตอ้งการสารสนเทศของผูใ้ช ้

    2.7 การใหบ้ริการฐานขอ้มูลอิเลก็ทรอนิกส์ของสาํนกับรรณสารการพฒันา สถาบนับณัฑิต

    พฒันบริหารศาสตร์

    2.8 งานวจิยัท่ีเก่ียวขอ้ง

    2.1 ความหมายของฐานข้อมูล

    นํ้ าทิพย ์วิภาวิน(2547: 160) ได้ให้ความหมายของฐานขอ้มูลไวว้่า หมายถึง การเก็บ

    รวบรวมขอ้มูลท่ีสัมพนัธ์และสอดคลอ้งกนัมารวมกนัไวใ้นระบบการจดัการฐานขอ้มูล เราสามารถ

    ที่จะทาํการเช่ือมโยงและดึงขอ้มูลมาใช้ไดต้ามตอ้งการ โดยใชเ้คร่ืองคอมพิวเตอร์เป็นเคร่ืองมือใน

    การบนัทึกและการคน้คืนสารสนเทศ มีการแสดงผลขอ้มูลผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือทาง

    เคร่ืองพิมพ์โดยมีการเชื่อมโยงเคร่ืองคอมพิวเตอร์ด้วยระบบเครือข่าย นอกจากข้อมูลจะมาอยู่

    รวมกนัอย่างเป็นระบบแลว้ ฐานขอ้มูลยงัสามารถแบ่งขอ้มูลกนัใช้ระหว่างผูใ้ช้หลาย ๆ คนไดใ้น

    กรณีท่ีผูใ้ชต่้างดึงขอ้มูลเดียวกนัในเวลาพร้อม ๆ กนั โดยผูใ้ชแ้ต่ละคนจะไดรั้บขอ้มูลทีถู่กตอ้ง

  • 6

    นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ (2543: 63) ได้ให้ความหมายของฐานข้อมูลไว้ว่า หมายถึง

    Collection ของขอ้เท็จจริง/สารนิเทศในรูปแบบที่อ่านไดโ้ดยคอมพิวเตอร์ ประกอบดว้ยแฟ้มขอ้มูล

    คอมพิวเตอร์หลายแฟ้มที่สัมพนัธ์กัน แฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้มประกอบด้วยระเบียนซ่ึงอาจเป็น

    ขอ้ เท็จจริงหรือตวัเลข รายการบรรณานุกรมหรือสาระสังเขปหรือเน้ือหาเต็มของบทความใน

    สารานุกรม เอกสารวชิาการ หรือรายงานวิจยั โดยปรกติแลว้จะสัมพนัธ์กนัโดยเน้ือหาวิชา เช่น เคมี

    หรือชนิดของส่ิงพิมพ์ที ่อ้างถึง เช่น สิทธิบัตร หนังสือพิมพ์ ฐานข้อมูลในรูปที ่อ่านได้โดย

    คอมพิวเตอร์น้ีสามารถให้ผูใ้ช้บริการเขา้ถึงไดโ้ดยการคน้จากเทอร์มินลัซ่ึงอยู่ห่างไกลโดยระบบ

    ออนไลน์

    ฐานขอ้มูล หมายถึง ฐานขอ้มูลที่บริษทัเอกชนต่าง ๆ ทาํข้ึน โดยมีการลงทุนจดัหาขอ้มูล

    ดา้นต่าง ๆ ไว ้แลว้เสนอบริการไปยงัองค์กร หน่วยงานทั้งหลายที่คิดว่าอาจจาํเป็นตอ้งใช้ขอ้มูล

    ลกัษณะนั้น หากองค์กรหน่วยงานนั้นสนใจก็จะบอกรับ เขา้ไปอยู่ในเครือข่าย เมื่อมีการเรียกใช้

    ขอ้มูลจากฐานขอ้มูล ผูใ้ชต้อ้งชาํระค่าบริการตามท่ีตกลงไว ้(พวา พนัธ์เมฆา, 2541: 211)

    ฐานขอ้มูล หมายถึง แหล่งรวมสารสนเทศทีมี่ความสัมพนัธ์กนัและนํามาบนัทึกไวใ้น

    รูปแบบท่ีอ่านไดด้ว้ยคอมพิวเตอร์ ดว้ยโปรแกรมการจดัการและสามารถคน้คืนขอ้มูลต่าง ๆ เช่นส่ือ

    ส่ิงพิมพ์ ส่ือโสตทัศน์ท่ีได้บนัทึกไวม้าแสดงผลทางหน้าจอ ฐานข้อมูลหน่ึงอาจประกอบด้วย

    แฟ้มขอ้มูลหลาย ๆ แฟ้ม หรือเพียงแฟ้มขอ้มูลเดียวก็ได ้โดยมีระบบจดัการขอ้มูลเป็นตวักาํหนด

    โครงสร้างท่ีใชใ้นการจดัเก็บและคน้คืน (อาภากร ธาตุโลหะ, 2547: 76)

    ฐานขอ้มูล หมายถึง แหล่งสารสนเทศในรูปแบบที่สามารถใชร่้วมกนัได ้ มีลกัษณะพิเศษ

    ในดา้นเน้ือหาหรือรูปแบบ แหล่งสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์ประเภทน้ีผลิตโดยรัฐหรือนิติ

    บุคคล และคาํนึงถึงประโยชน์เพื่อส่ือสารระหวา่งกนั (McCain and Merrill, 2011: 142)

    จากความหมายของฐานขอ้มูลที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ว่า ฐานขอ้มูลหมายถึง การเก็บ

    รวบรวมสารสนเทศที่มีความสัมพนัธ์และสอดคลอ้งกนัมาเก็บไวใ้นรูปแบบที่สามารถอ่านไดด้ว้ย

    คอมพิวเตอร์และฐานขอ้มูลยงัสามารถแบ่งขอ้มูลกนัใชร้ะหวา่งผูใ้ชห้ลาย ๆ คนได ้

    2.2 ลกัษณะของฐานข้อมูลอเิลก็ทรอนิกส์

    ลกัษณะเน้ือหาสารสนเทศที่ให้บริการในฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งไดด้งัน้ี (นํ้าทิพย ์

    วภิาวนิ, 2547: 162,165,167; ศุภชยั ตั้งวงศศ์าสนต,์ 2551: 604)

    1) ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย ์(Commercial Database) หรือฐานข้อมูลออนไลน์ หมายถึง

    ฐานขอ้มูลในสาขาวิชาต่าง ๆ ท่ีห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิก โดยการใชข้อ้มูลจากซีดีรอมหรือการ

  • 7

    ใช้บริการขอ้มูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฐานขอ้มูลเชิงพาณิชยจ์ะมีขอ้มูลเฉพาะด้านและมีจดั

    จาํหน่ายโดยบริษทัต่าง ๆ เช่นฐานขอ้มูลวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลยัในต่างประเทศ ฐานขอ้มูล

    ดา้นการศึกษา ฐานขอ้มูลทางธุรกิจ เป็นตน้

    2) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงวารสารออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิก โดย

    ผูใ้ช้บริการสามารถเขา้ถึงหรืออ่านวารสารนั้นได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเป็นวารสารท่ี

    สามารถอ่านผา่นระบบเครือข่ายไดโ้ดยไม่ตอ้งเสียค่าใช้จ่าย หรือเสียค่าธรรมเนียมในการบอกรับ

    เป็นสมาชิก วารสารอิเล็กทรอนิกส์มีทั้งการเผยแพร่ในรูปแบบท่ีเป็นออนไลน์เท่านั้น (Online-only

    Journal) หรือออนไลน์ในฉบบัเดียวกบัวารสารตีพมิพ ์(Printed Journal) และอีกประเภทหน่ึงจะเป็น

    ออนไลน์ในเน้ือหาเทียบเคียงกบัวารสารตีพิมพ ์แต่เพิ่มเติมบางส่วนท่ีเป็นของออนไลน์โดยเฉพาะ

    3) หนงัสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เป็นหนงัสือที่สามารถอ่านผา่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

    เช่นเคร่ืองคอมพวิเตอร์ หรือเคร่ืองอ่าน e-Book โดยเฉพาะ มีลกัษณะเด่นกวา่หนงัสือท่ีเป็นกระดาษ

    ที่สามารถแสดงผลด้วยภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวได้ นอกเหนือจากข้อความที่เป็นตวัอักษร

    อุปกรณ์ท่ีใชใ้นการอ่าน เช่น e-Book Reader เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ท่ีใชอ้่านขอ้ความใน

    e-Book ผูใ้ชส้ามารถซ้ือ e-Book ท่ีอยูใ่นรูปของดิสเก็ตท ์ซีดีรอม หรือดาวน์โหลดจากเวบ็ไซต์ท่ี

    ให้บริการ ปัจจุบนันอกจากห้องสมุดจะให้บริการหนงัสือในรูปส่ิงพิมพแ์ลว้ ยงัมีการบอกรับเป็น

    สมาชิกหนงัสืออิเล็กทรอนิกส์ในบางสาขาวิชา ลกัษณะของหนงัสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นหนงัสือท่ีมี

    เน้ือหาความรู้อยูใ่นรูปแบบขอ้มูลดิจิทลั สามารถอ่านไดจ้ากหนา้จอคอมพิวเตอร์ หรือมีการเรียกใช้

    ทางอินเทอร์เน็ต โดยอาจใชเ้คร่ืองอ่านหนงัสืออิเลก็ทรอนิกส์ท่ีผลิตข้ึนมาโดยเฉพาะ

    2.3 การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลอเิลก็ทรอนิกส์

    2.3.1 ความหมาย

    นฤมล รักษาสุข, ชนวฒัน์ ศรีสอา้น, ปัทมาพร เยน็บาํรุงและสมพร พุทธาพิทกัษผ์ล (2545:

    188) ไดก้ล่าวถึงการคน้คืนสารสนเทศจากฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ไวว้า่เป็นการคน้คืนสารสนเทศ

    ทางไกลจากฐานขอ้มูลในรูปดิจิทลั โดยการใชเ้ทคโนโลยคีอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีคมนาคมเป็น

    อุปกรณ์ช่วยในการค้นคืน กล่าวคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการจดัการฐานข้อมูลและ

    เทคโนโลยโีทรคมนาคมช่วยใหส้ามารถเขา้ถึงฐานขอ้มูลดงักล่าวจากระยะไกลได ้

    ความหมายของคําว่า การค้นสารสนเทศจากซีดีรอมฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

    ปรับเปลี่ยนไปตามพฒันาการของเทคโนโลยีการส่ือสาร กล่าวคือ แต่เดิมคาํดังกล่าวได้ใช้ใน

    ความหมายท่ีหมายถึง กระบวนการตั้งคาํถามโดยตรงกบัระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการดึงสารสนเทศท่ี

  • 8

    ตอ้งการจากระบบเท่านั้น เช่นการค้นคืนสารสนเทศจากซีดีรอม เป็นตน้ แต่ปัจจุบนัการสืบค้น

    สารสนเทศจากฐานขอ้มูลอิเลก็ทรอนิกส์ ถูกใชใ้นความหมายทีเ่ก่ียวขอ้งกบัการคน้คืนสารสนเทศที่

    ดาํเนินการโดยใชเ้คร่ืองคอมพิวเตอร์ท่ีเช่ือมต่อกบัระบบคอมพิวเตอร์ซ่ึงมีฐานขอ้มูลและตั้งอยูไ่กล

    กัน กล่าวคือเป็นการค้นคืนสารสนเทศจากเคร่ืองคอมพิวเตอร์คนละเคร่ืองกัน โดยเคร่ือง

    คอมพิวเตอร์ดังกล่าวอาจตั้งอยู่ภายในอาคารเดียวกัน ภายในสถาบนัเดียวกัน ภายนอกสถาบนั

    ภายในประเทศหรือต่างประเทศก็ได ้ กระบวนการคน้คืนสารสนเทศจากฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์

    เป็นไปในลักษณะที่ผูใ้ช้สามารถมีปฏิสัมพนัธ์กับระบบค้นคืน (Interactive Communication)

    กล่าวคือ กระบวนการสืบคน้ดาํเนินการไปในลกัษณะการส่ือสารสองทางระหวา่งผูค้น้กบัระบบ แต่

    ละฝ่ายจะผลดักนัส่ือสาร โดยผูค้น้ป้อนคาํถามหรือคาํคน้ผ่านแป้นพิมพ์ และระบบโตต้อบโดย

    แสดงผลการคน้ผ่านหนา้จอ ซ่ึงผูใ้ช้สามารถแกไ้ขขอ้ความหรือคาํคน้จนกว่าจะไดรั้บผลการคน้ที่

    พึงพอใจ (Chowdhury, 1999: 235; Chowdhury and Chowdhury, 2001: 129 อา้งถึงใน นฤมล รักษา

    สุข และคนอ่ืน ๆ, 2545: 188)

    นํ้าทิพย ์วิภาวิน (2547: 122) ไดใ้ห้ความหมายของการสืบคน้สารสนเทศจากฐานขอ้มูล

    อิเลก็ทรอนิกส์ไวว้า่หมายถึงการคน้ขอ้มูลจากฐานขอ้มูลที่หอ้งสมุดบอกรับเป็นสมาชิกในสาขาวิชา

    ต่างๆ ท่ีบนัทึกอยู่ในซีดีรอมหรือเคร่ืองคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ให้บริการผ่านระบบเครือข่ายใน

    องคก์ร (Intranet) หรือเครือข่ายท่ีเช่ือมโยงกนัทัว่โลก (Internet)

    จากความหมายของการสืบคน้สารสนเทศจากฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ท่ีกล่าวมา สามารถ

    สรุปได้ว่า การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การท่ีผู ้ใช้สืบค้น

    สารสนเทศทางไกลจากฐานขอ้มูลในรูปแบบดิจิทลั โดยใชเ้ทคโนโลยคีอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

    คมนาคมเป็นอุปกรณ์ช่วย

    2.3.2 คุณลกัษณะทีสํ่าคัญของการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลอเิลก็ทรอนิกส์

    นฤมล รักษาสุข และคนอ่ืน ๆ (2545: 189) ไดก้ล่าวถึงคุณลกัษณะสําคญัของการจดับริการ

    สืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลคือการช่วยให้ผูใ้ช้ได้รับสารสนเทศที่ถูกตอ้งรวดเร็วโดยไม่มี

    ข้อจาํกัดด้านเวลาและสถานที่ นอกจากน้ียงัช่วยแก้ปัญหาเร่ืองการขยายพื้นท่ีเพื่อการจัดเก็บ

    ทรัพยากรสารสนเทศในรูปส่ือส่ิงพิมพห์รือส่ือโสตทศัน์อีกดว้ย

    การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะเรียลไทม์ (Real-time)

    กล่าวคือกระบวนการรับคาํถามหรือคาํคน้ กระบวนการประเมินผลและกระบวนการตอบสนองผู ้

    ค้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยผูค้ ้นรู้สึกว่าได้รับผลการค้นทันทีที่ป้อนคาํค้นและเนื่องจากการ

    ประมวลผลดาํเนินการโดยระบบคอมพิวเตอร์ผลที่ได้รับจึงมีความถูกต้องแม่นยาํ นอกจากน้ี

    พฒันาการของอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บได้ส่งผลให้การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูล

  • 9

    อิเล็กทรอนิกส์สามารถดาํเนินการได้จากทุกมุมโลกโดยผ่านเว็บไซต์ของผูผ้ลิตหรือผูจ้าํหน่าย

    ฐานขอ้มูล ผูใ้ช้ที่มีเคร่ืองคอมพิวเตอร์ที่เช่ือมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตและมีสิทธิในการเขา้ถึง

    ฐานขอ้มูลต่าง ๆ จึงสามารถสืบคน้สารสนเทศผ่านเคร่ืองคอมพิวเตอร์ของตนจากสถานที่ใดและ

    เวลาใดก็ได ้

    การสืบคน้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์โดยทัว่ไปมีวิธีการคน้ 2 แบบคือ (อาภากร ธาตุโลหะ,

    2547: 78)

    1) การใชค้าํสั่งโดยตรง เป็นการคน้หาสารสนเทศที่บนัทึกอยูใ่นฐานขอ้มูลดว้ยคาํ

    สําคญัที่กาํหนดเอง โดยผูใ้ช้พิมพค์าํทีต่อ้งการสืบคน้ลงในช่องสําหรับใส่คาํคน้ เม่ือไดผ้ลการคน้

    แลว้คาํท่ีใชสื้บคน้จะอยูใ่นสารสนเทศทุก ๆ ระเบียนท่ีคน้ได ้

    2) การเลือกดูจากเมนูที่แต่ละฐานขอ้มูลสร้างไวใ้ห้เป็นการคน้หาสารสนเทศที่

    บนัทึกอยู่ในฐานขอ้มูลนั้น ๆ โดยเลือกคาํจากดรรชนีคาํสําคญั หัวเร่ืองหรือช่ือวารสารท่ีสร้างไว้

    เรียงตามลาํดบัอกัษรอย่างใดอย่างหน่ึงหรือหลายอย่างก็ไดข้ึ้นอยู่กบัแต่ละฐานขอ้มูล ฐานขอ้มูล

    ส่วนใหญ่จะสร้างเมนูเหล่าน้ีไวเ้พื่อเพิ่มความสะดวกใหแ้ก่ผูใ้ชฐ้านขอ้มูลนั้น ๆ

    2.3.3 องค์ประกอบของการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลอเิลก็ทรอนิกส์

    การสืบคน้สารสนเทศจากฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยองค์ประกอบสําคญั 5

    ส่วน ได้แก่ ฐานขอ้มูล ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบโทรคมนาคม ผูใ้ช้และส่วนต่อประสานกบัผูใ้ช ้

    (นฤมล รักษาสุข และคนอ่ืน ๆ, 2545: 193)

    2.3.3.1 ฐานข้อมูลที่ผลิตเพือ่การสืบค้นสารสนเทศทางออนไลน์ส่วนใหญ่เป็น

    ฐานขอ้มูลวชิาการและวชิาชีพ ซ่ึงครอบคลุมทุกสาขาวชิาหากแต่ต่างกนัในเชิงปริมาณ ฐานขอ้มูลที่

    ไดรั้บการผลิตข้ึนถูกนาํมาใหบ้ริการโดยผูใ้หบ้ริการเชิงพาณิชย ์โดยนาํมาเสนอและคิดค่าบริการใน

    การเขา้ถึงฐานขอ้มูลกบัหน่วยงานหรือบุคคลที่ตอ้งการใชส้ารสนเทศจากฐานขอ้มูลดงักล่าว พร้อม

    กบัพฒันาซอฟต์แวร์เพือ่การสืบคน้รวมทั้งจดัทาํเอกสารต่าง ๆ ที่จาํเป็นเก่ียวกบัเน้ือหาและวิธีการ

    เขา้ถึงฐานขอ้มลู

    2.3.3.2 ระบบคอมพิวเตอร์ทีใ่ช้ในการสืบคน้สารสนเทศจากฐานขอ้มูลออนไลน์

    แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ เทอร์มินลั (Terminal) และเคร่ืองคอมพิวเตอร์บริการ (Server) เทอร์มินลั

    เป็นจุดที่ผูใ้ช้มีปฏิสัมพนัธ์กบัระบบการสืบคน้โดยการป้อนคาํคน้และรับผลการสืบคน้ ปัจจุบนั

    เทอร์มินลัท่ีใชใ้นการสืบคน้สารสนเทศส่วนใหญ่คือเคร่ืองคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

    2.3.3.3 ระบบโทรคมนาคมใช้เพือ่เชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถสืบค้น

    สารสนเทศจากฐานขอ้มูลในลกัษณะเครือข่ายสําหรับการเช่ือมต่อระบบคอมพิวเตอร์ภายในอาคาร

    หรือพื้นท่ีใกลเ้คียงอาจใชรู้ปแบบเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) ซ่ึงจะช่วยให้การ

  • 10

    ส่งผา่นขอ้มูลเป็นไปอยา่งรวดเร็ว ส่วนการสืบคน้สารสนเทศจากแหล่งภายนอกสามารถทาํไดโ้ดย

    การคน้ผา่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

    2.3.3.4 ผูใ้ช้เป็นผูที้่กาํหนดแผนการสืบค้นในประเด็นต่าง ๆ นับตั้งแต่การเลือก

    ฐานขอ้มูล การเลือกเขตขอ้มูล การกาํหนดคาํคน้ การเลือกใชค้าํเช่ือมหรือการกาํหนดขอ้จาํกดัการ

    คน้ เป็นตน้ ผูใ้ชท่ี้เป็นผูสื้บคน้สารสนเทศจากฐานขอ้มูลออนไลน์อาจแบ่งออกไดเ้ป็นสองประเภท

    คือผูใ้ช้ปลายทางและตวักลางทาํหน้าที่สืบค้น ผูใ้ช้ปลายทางคือผูใ้ช้ซ่ึงต้องการใช้สารสนเทศ

    โดยตรงอาจเป็นอาจารย ์นักศึกษา หรือประชาชนทัว่ไป ส่วนตวักลางทาํหน้าที่สืบคน้มกัได้แก่

    บรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศที่รับคาํถามหรือความตอ้งการสารสนเทศจากผูใ้ช้ปลายทางแล้ว

    ตีความ วเิคราะห์ความตอ้งการและกาํหนดแผนการสืบคน้

    2.3.3.5 ส่วนต่อประสานกบัผูใ้ช ้ในความหมายของการสืบคน้สารสนเทศออนไลน์

    หมายถึงการติดต่อส่ือสารระหวา่งผูใ้ชก้บัระบบรายการสารสนเทศออนไลน์ซ่ึงประกอบดว้ยวิธีการ

    คน้ รูปแบบการแสดงผลและหน้าจอให้คาํแนะนาํช่วยเหลือ ส่วนต่อประสานกับผูใ้ช้เป็นจุด

    เช่ือมต่อระหว่างผูใ้ชก้บักลไกการคน้โดยมีโปรแกรมส่วนต่อประสาน (Interface Software) เป็น

    ตวักลางนาํคาํสั่งจากผูใ้ชไ้ปสู่กระบวนการทาํงานของระบบและแปลงผลการคน้ออกมาในรูปที่ผูใ้ช้

    สามารถเขา้ใจได ้ (Lawrence, 1983: 409-449 อา้งถึงใน นฤมล รักษาสุข และคนอ่ืน ๆ, 2545: 193)

    2.3.4 กระบวนการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลอเิลก็ทรอนิกส์

    นฤมล รักษาสุข และคนอ่ืน ๆ (2545: 196) ไดก้ล่าวถึงกระบวนการสืบคน้สารสนเทศจาก

    ฐานขอ้มูลอิเลก็ทรอนิกส์ไวด้งัน้ี

    2.3.4.1 การประมวลความตอ้งการ เป็นขั้นตอนศึกษาและทาํความเขา้ใจอย่างถ่อง

    แทถึ้งความตอ้งการสารสนเทศของผูใ้ช ้ ในกรณีที่การสืบคน้สารสนเทศดาํเนินการโดยตวักลางถือ

    เป็นหน้าท่ีสําคัญที่ตวักลางจะต้องศึกษาว่าสารสนเทศอะไรที่ผูใ้ช้ต้องการ ขั้นตอนน้ีเป็นการ

    สนทนาระหวา่งตวักลางกบัผูใ้ชก่้อนเร่ิมลงมือทาํการคน้ซ่ึงเรียกวา่ การสัมภาษณ์ก่อนการคน้ (Pre-

    search Interview) โดยมากมกัเป็นการถามคาํถามเก่ียวกบั เน้ือหา ลกัษณะ ขอบเขตและประเภทของ

    สารสนเทศที่ตอ้งการรวมทั้งวตัถุประสงคข์องการนาํสารสนเทศไปใช ้โดยทัว่ไปตวักลางควรถาม

    ถึงขอ้จาํกดัของสารสนเทศที่ตอ้งการดว้ย เช่น ปีท่ีพิมพ ์หรือภาษาท่ีเขียน เป็นตน้ การที่ตวักลางจะ

    เขา้ใจถึงความตอ้งการที่แทจ้ริงของผูใ้ชน้ั้นข้ึนอยู่กบัปัจจยัหลายประการ เช่น ระดบัความสามารถ

    ในการอธิบายถึงความตอ้งการของตนเองของผูใ้ช ้ ระดบัความรู้ท่ีผูใ้ชมี้อยูก่่อนแลว้เก่ียวกบัเร่ืองท่ี

    ตอ้งการหรือความชดัเจนของวตัถุประสงคใ์นการนาํสารสนเทศไปใชเ้ป็นตน้ ในกรณีที่ผูใ้ชเ้ป็นผู ้

    สืบคน้สารสนเทศจากฐานขอ้มูลด้วยตนเองโดยไม่ผ่านตวักลาง การกาํหนดขอบเขตท่ีชัดเจน

    เก่ียวกบัสารสนเทศ เป็นเร่ืองท่ีผูใ้ชค้วรดาํเนินการก่อนเร่ิมการคน้

  • 11

    2.3.4.2 การเลือกฐานข้อมูลที ่เหมาะสม ดังที ่ทราบกันดีแล้วว่าฐานข้อมูล

    อิเลก็ทรอนิกส์ที่ไดรั้บการผลิตออกมาจาํนวนมากเพื่อตอบสนองความตอ้งการสารสนเทศของผูใ้ช้

    ที่แตกต่างกนั ดงันั้นการเลือกฐานขอ้มูลที่เหมาะสมจึงเป็นขั้นตอนหน่ึงที่จะทาํให้กระบวนการ

    สืบคน้สารสนเทศจากฐานขอ้มูลอิเลก็ทรอนิกส์เป็นไปอยา่งมีประสิทธิภาพ ปัจจยัสําคญัที่ควรคาํนึง

    ในการเลือกฐานขอ้มลูอิเลก็ทรอนิกส์มีสองประการดงัน้ี

    1) เ น้ือหาของฐานข้อมูล เป็นการพิจารณาถึงขอบเขตเน้ือหาวิชาที ่

    ฐานขอ้มูลครอบคลุมถึง ในกรณีที่เป็นการสืบคน้สารสนเทศดา้นสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

    จาํเป็นตอ้งพิจารณาความครอบคลุมของรายการทรัพยากรสารสนเทศยอ้นหลงัดว้ย ทั้งน้ีเน่ืองจาก

    การใช้สารสนเทศในสาขาวิชาดังกล่าวมิได้จาํกัดอยู่เพียงสารสนเทศใหม่ ๆ ดังเช่นสาขาวิชา

    วทิยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากน้ีควรพิจารณาลกัษณะของสารสนเทศที่ปรากฏในฐานขอ้มูล

    ดว้ยวา่อยูใ่นรูปบรรณานุกรมหรือเอกสารฉบบัเตม็ ตวัเลข หรือส่ือหลายมิติ

    2) ลกัษณะของการเข้าถึง เป็นการพิจารณาถึงนโยบายการจดัทาํดรรชนี

    ส่วนต่อประสานกบัผูใ้ช้และค่าใช้จ่าย กล่าวคือเป็นการพิจารณาว่าแต่ละฐานข้อมูลนาํระเบียน

    ใดบา้งไปทาํดรรชนีและคาํสาํคญัท่ีใชเ้ป็นศพัทค์วบคุมหรือไม่ ทั้งน้ีเน่ืองจากการใชศ้พัทค์วบคุมใน

    การทาํดรรชนีจะช่วยให้ไดรั้บผลการคน้ที่มีคุณภาพ สําหรับส่วนต่อประสานกบัผูใ้ช้นั้นเป็นการ

    พิจารณาวา่ส่วนต่อประสานกบัผูใ้ชใ้ชง่้ายหรือไม่ มีความใกลเ้คียงหรือเหมือนกบัฐานขอ้มูลส่วน

    ใหญ่หรือไม่ ผูใ้ชจ้ะรู้สึกสบายใจกบัการสืบคน้ผา่นส่วนต่อประสานกบัผูใ้ชที้่คุน้เคยซ่ึงอาจมีผลต่อ

    การใชเ้วลาในการสืบคน้รวมทั้งผลการคน้ท่ีตรงกบัความตอ้งการ ในเร่ืองของค่าใชจ่้ายนั้นถึงแมว้า่

    สถาบนับริการสารสนเทศจะจ่ายเงินค่าบอกรับฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นรายปีโดยผูใ้ช้ไม่ตอ้ง

    จ่ายเงินเพิ่มอีกเมื่อทาํการสืบคน้ อย่างไรก็ตามปรากฏว่ามีผูจ้าํหน่ายบริการสืบคน้สารสนเทศจาก

    ฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์บางรายคิดค่าบริการโดยพิจารณาจากเวลาที่ใช้คน้หรือจาํนวนรายการ

    สารสนเทศท่ีพิมพผ์ลการคน้ นอกจากน้ียงัมีฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์บางฐานที่อนุญาตให้ผูใ้ชค้น้

    ไดโ้ดยไม่เสียค่าใชจ่้ายแต่อยา่งใด ดงันั้นค่าใชจ่้ายจึงเป็นประเด็นท่ีตอ้งพิจารณาเช่นกนั

    2.3.4.3 การเตรียมและการดาํเนินการสืบคน้ เม่ือเลือกไดฐ้านขอ้มูลท่ีเหมาะสมแลว้

    โดยทัว่ไปการเตรียมการสืบคน้จะเร่ิมโดยการวิเคราะห์หัวเร่ืองที่ต้องการคน้แล้วแยกออกเป็น

    แนวคิด (Concept) ยอ่ย ๆ เพือ่กาํหนดคาํคน้ (Search Term) ทั้งน้ีตอ้งกาํหนดคาํคน้ให้ชดัเจนใน

    กรณีที่หลายคาํมีความหมายเดียวกนั เช่น ผูห้ญิงกบัสตรี หรือเด็กกบัเยาวชน เป็นตน้ ผูค้น้ควรดู

    รายการศพัทค์วบคุมในการกาํหนดคาํคน้ดว้ยสําหรับการสืบคน้ฐานขอ้มูลที่ใชศ้พัทค์วบคุมในการ

    ทาํดรรชนี การดาํเนินการสืบคน้จากฐานขอ้มูลอิเลก็ทรอนิกส์มีหลายขั้นตอนดงัน้ี

  • 12

    1) ระบุฐานขอ้มูล ปัจจุบนัผูใ้ห้บริการฐานขอ้มูลเชิงพาณิชยไ์ดอ้อกแบบ

    ระบบใหผู้ค้น้สามารถเลือกสืบคน้จากฐานขอ้มูลเดียวหรือจากหลาย ๆ ฐานขอ้มูลพร้อมกนัเพือ่เป็น

    การแก้ปัญหาที่ผูใ้ช้ไม่สามารถเลือกฐานข้อมูลที่เหมาะสมได้ ตัวอย่างเช่น เฮลธ์เกทเซอร์วิส

    (Healthgate Service) ไดอ้อกแบบหนา้จอให้ผูค้น้คลิกเพือ่เลือกฐานขอ้มูลใดฐานขอ้มูลหน่ึงจาก

    เอดส์ดรักส์ (AIDSDRUGS) เอดส์ไลน์ (AIDSLINE) เอดส์ไทรอลัส์ (AIDSTRIALS) ไบโอติกส์

    ไลน์ (BIOTHICLINE) แคนเซอร์ลิต (CANCERLIT) เฮลธ์สตาร์ (HealthSTAR) เมดไลน์

    (Medline) หรืออาจเลือกหลาย ๆฐานขอ้มูลในเวลาเดียวกนัก็ได ้ดงันั้นในการระบุฐานขอ้มูลที่

    ตอ้งการจึงทาํไดท้ั้งสองวธีิดงักล่าว

    2) เลือกประเภทการสืบคน้ ฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์โดยทัว่ไปมกัแบ่ง

    ประเภทการสืบคน้ออกเป็นสองประเภท คือ การสืบคน้อยา่งง่าย (Basic Search) และการสืบคน้ขั้น

    สูง (Advanced Search) การสืบคน้อยา่งง่ายเป็นการสืบคน้จากเขตขอ้มูลใดเขตขอ้มูลหน่ึงโดยตรง

    เช่น ช่ือเร่ือง ช่ือผูแ้ต่ง หรือหวัเร่ือง เป็นตน้ ในขณะที่การสืบคน้ขั้นสูงเป็นการสืบคน้จากเขตขอ้มูล

    ดงักล่าวโดยใชค้าํเช่ือมตามตรรกะบูเลียนและสามารถระบุรายละเอียดการคน้ไดม้ากข้ึน

    3) ป้อนคาํคน้ เป็นการใส่คาํคน้ในช่องทีก่าํหนดโดยผูค้น้สามารถใส่คาํเดียว

    โดด ๆ วลี หรือคาํหลายคาํท่ีเช่ือมต่อกนัตามตรรกะบูเลียน ทั้งน้ีข้ึนอยูก่บัระบบการคน้ของแต่ละ

    ฐานขอ้มูล ปัจจุบนัฐานขอ้มูลบางฐานไดรั้บการออกแบบระบบเพื่อช่วยผูค้น้ที่ไม่คุน้เคยกบัการใช้

    ศพัทค์วบคุมให้สามารถป้อนคาํคน้ที่เป็นศพัทอิ์สระไดโ้ดยระบบจะแปลงเป็นศพัท์ควบคุมให้โดย

    อตัโนมติั เช่น ฐานขอ้มูลเมดไลน์มีโปรแกรมแปลงคาํคน้ที่เป็นศพัท์อิสระให้เป็นศพัท์ควบคุมที่

    กาํหนดอยู่ในหัวเร่ืองทางการแพทยห์รือเมช (Medical Subject Headings (MeSH)) เช่น Lung

    Cancer เป็น Lung Neoplasma เป็นตน้ ส่ิงสําคญัที่ผูค้น้ควรตระหนกัคือระบบมีวิธีการอยา่งไรใน

    การวเิคราะห์คาํคน้ท่ีป้อนเขา้สู่ระบบ

    4) จาํกดัเขตขอ้มูลในการคน้ ในกรณีที่ตอ้งการคน้เฉพาะเขตขอ้มูล เช่นช่ือ

    เร่ืองหรือช่ือผูแ้ต่ง ผูค้น้สามารถทาํไดโ้ดยคลิกเลือกเขตขอ้มูลท่ีตอ้งการ อยา่งไรก็ตามในบางกรณีผู ้

    คน้อาจตอ้งรู้รหสั (Code) ที่ใชเ้พื่อการน้ีโดยเฉพาะ เช่น นฤมล/au ใชส้าํหรับคน้ช่ือนฤมลในเขต

    ขอ้มูลผูแ้ต่งหรือ Online Search’s Companion /ti ใชส้ําหรับการคน้ช่ือเร่ือง Online Search’s

    Companion ในเขตขอ้มลูช่ือเร่ือง เป็นตน้

    5) ทบทวนกลยทุธ์การสืบคน้เบ้ืองตน้ โดยระบบจะแสดงผลการคน้โดยแจง้

    ตวัเลขจาํนวนระเบียนที่คน้พบให้ทราบ ซ่ึงอาจมีตั้งแต่ศูนย ์หลกัสิบหรือหลกัร้อย ในกรณีที่ตวัเลข

    ปรากฏน้อยไปหรือมากไป ผูค้น้ควรทบทวนกลยุทธ์การคน้ใหม่โดยเร่ิมตั้งแต่การระบุฐานขอ้มูล

    การเลือกประเภทการคน้ การป้อนคาํคน้ และการจาํกดัเขตขอ้มูลในการคน้

  • 13

    6) สํารวจเลือกดูรายการที่ไดจ้ากการสืบคน้ เมื่อไดจ้าํนวนผลการคน้อยู่ใน

    ระดบัที่พอใจแลว้ผูค้น้เลือกคลิกให้ระบบแสดงรายการที่คน้ไดโ้ดยสามารถกาํหนดให้ระบบแสดง

    รายละเอียดผลการค้นในระดับที่แตกต่างกัน เช่น เฉพาะบรรณานุกรม บรรณานุกรมพร้อม

    สาระสังเขปหรือบรรณานุกรมพร้อมเอกสารฉบับเต็มทั้ งน้ีแล้วแต่ประเภทของฐานข้อมูล

    โดยทัว่ไปผลการสืบคน้จะถูกนาํเสนอตามลาํดบัปีที่พิมพโ์ดยเร่ิมจากปีล่าสุด หรืออาจถูกนาํเสนอ

    โดยลาํดบัอกัษรและมีในบางกรณีท่ีไม่มีการเรียงลาํดบัแต่อยา่งใด

    7) ตรวจดูรายการที่สืบคน้ไดว้่าเขา้เร่ืองและตรงกบัความตอ้งการหรือไม่

    เป็นการอ่านเน้ือหาคร่าว ๆ ของสารสนเทศที่ไดจ้ากการสืบคน้ว่าตรงกบัความตอ้งการหรือไม่ใน

    บางกรณีระบบจะระบุวา่รายการลาํดบัตน้ ๆ ท่ีแสดงผลใหท้ราบเป็นรายการท่ีมีค่านํ้ าหนกัของความ

    เขา้เร่ืองกบัคาํคน้ท่ีป้อนเขา้สู่ระบบมากท่ีสุด

    8) ทบทวนกลยุทธ์การสืบคน้ขั้นที่สอง เป็นการทบทวนกลยุทธ์การสืบคน้

    อีกคร้ังในกรณีที่พบวา่เน้ือหาของทรัพยากรสารสนเทศที่ไดรั้บไม่สอดคลอ้งกบัความตอ้งการมาก

    นกั

    9) แสดงผลการสืบคน้ เป็นการสั่งให้ระบบแสดงผลการสืบคน้ซ่ึงอาจเป็น

    การสั่งให้แสดงบนหน้าจอ พิมพล์งบนกระดาษ ส่งทางไปรษณียอิ์เล็กทรอนิกส์หรือบนัทึกเป็น

    แฟ้มขอ้มูล

    10) ยุติการคน้ เม่ือได้ผลการสืบคน้ในรูปแบบใดก็ตามถือเป็นการส้ินสุด

    กระบวนการสืบคน้สารสนเทศจากฐานขอ้มูลอิเล็กทรอนิกส์ การยุติการสืบคน้โดยการออกจาก

    ระบบให้เรียบร้อยมีความสําคญัมากสําหรับการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลที่คิดค่าใช้จ่ายโดย

    คาํนวณจากเวลาที่ใช้ในการสืบคน้ดังนั้นผูค้น้จึงควรตรวจสอบให้แน่นอนว่าได้ออกจากระบบ

    เรียบร้อยแลว้

    2.4 การคดัเลอืกฐานข้อมูลอเิลก็ทรอนิกส์

    ขอ้ควรพิจารณาในการคดัเลือกฐานขอ้มูลอิเลก็ทรอนิกส์มีดงัน้ี (Rowley, 1998: 216-217)

    2.4.1. ขอบเขตเ�