collective review raaamedinfo2.psu.ac.th/surgery/collective review/2558... ·...

13
Collective review Ruptured abdominal aortic aneurysm; OSR VS EVAR? นายแพท ตณ อสล อาจารปกษา อ.นพ.ทส นตตนพง

Upload: others

Post on 21-Sep-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Collective review rAAAmedinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2558... · AAA!repair!4ใŽ„นอ£ใน}จ~ น?อการn!aneurysmorrhaphy!KŠนแบบมาจากเทค§คของ!Javid!and!

Collective reviewRuptured abdominal aortic aneurysm;

OSR VS EVAR?

 

นายแพทย์  กิตติคุณ  อ๋อสกุล  

อาจารย์ที่ปรึกษา  อ.นพ.วิทวัส  ตันตรัตนพงษ์  

Page 2: Collective review rAAAmedinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2558... · AAA!repair!4ใŽ„นอ£ใน}จ~ น?อการn!aneurysmorrhaphy!KŠนแบบมาจากเทค§คของ!Javid!and!

Ruptured abdominal aortic aneurysm; OSR VS EVAR?

บทนำ   Abdominal  aor-c  aneurysm  (AAA)  คือการโป่งพองของหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพิ่มขึ้นมากกว่า  50%  ของขนาด  Abdominal  aorta  ปกติ  โดยภาวะแทรกซ้อนที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วย  Abdominal  aor-c  aneurysm  เสียชีวิตมากที่สุดคือภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้องแตก  (Ruptured  abdominal  aor-c  aneurysm;  RAAA)    จากการศึกษาของ  Choksy,  S.A.และคณะ  ในประชากรชาวอังกฤษในอัตราส่วนชายต่อหญิงเป็น  6:1  คนพบว่ามีอัตราในการเกิด  RAAA  18/100,000  person  years  ในผู้ชายและ  3/100,000  person  yearsในผู้หญิง    โดยมีอายุเฉลี่ยในการเกิด  RAAA  76  ปีในผู้ชายและ  81  ปีในผู้หญิง  นอกจากนั้นยังพบอีกว่าอายุที่มากขึ้นจะทำให้มีโอกาสเกิด  RAAA  ได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

   

 

  Ruptured  abdominal  aor-c  aneurysm  (RAAA)  เป็นภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรมหลอดเลือด  จากการศึกษาของ  Brewster  และคณะพบว่าผู้ป่วย  AAA  ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า  5  ซม.  มีโอกาสเกิด  RAAA  สูงถึง  15%ต่อปี  นอกจากนั้นพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากที่เกิดภาวะ  RAAA  เสียชีวิตก่อนที่จะได้รับการรักษา  แม้ผู้ป่วยได้เข้ารับการผ่าตัดรักษาทันทีแต่ยังคงมีโอกาสเสียชีวิตสูง  ในปัจจุบันมีการพัฒนาการผ่าตัดรักษาทั้งวิธีการผ่าตัดแบบเปิด  (open  surgical  repair,  OSR)  และการผ่าตัดแบบใส่สายสวนทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ  (  Endovascular  Aor-c  Aneurysm  Repair,  EVAR  )  ทำให้การผ่าตัดประสบผลสำเร็จเพิ่มขึ้นและโอกาสเสียชีวิตหลังผ่าตัดลดลง  

�1

ภาพที่ 1 แสดงความชุกของ AAA (เส้นปะ) และอุบัติการณ์ของ RAAA (เส้นทึบ) ที่เพิ่มขึ้นตามอายุ

Abdominal aortic aneurysm, Rutherford’s Vascular Surgery References 8th edition

Page 3: Collective review rAAAmedinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2558... · AAA!repair!4ใŽ„นอ£ใน}จ~ น?อการn!aneurysmorrhaphy!KŠนแบบมาจากเทค§คของ!Javid!and!

Ruptured abdominal aortic aneurysm; OSR VS EVAR?

อาการและอาการแสดง   อาการของ  RAAA  มักเป็นผู้ชายอายุมากกว่า  60  ปี  ร่วมกับมีอาการปวดท้องและปวดหลังแบบทันที  บางครั้งอาจมีอาการร้าวไปขาหนีบ  ลูกอันฑะ  ก้นและสะโพก  ตรวจร่างกายมักพบว่าผู้ป่วยมีเหงื่อแตก  ความดันโลหิตต่ำ  ปวดท้องและคลำพบก้อนที่เต้นตามชีพจนในท้อง  (pulsa-le  abdominal  mass)  

การวินิจฉัยทางรังสีวิทยาUltrasonography    

  Ultrasonography  ถูกใช้อย่างมากในห้องฉุกเฉินโดยเฉพาะในผู้ป่วยอุบัติเหตุ  มีการฝึกแพทย์ฉุกเฉินให้สามารถทำ  FAST  (  Focused  assessment  with  sonography  in  trauma  )  เพื่อให้สามารถประเมินผู้ป่วยอุบัติเหตุได้  นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้เพื่อประเมินขนาดของเส้นเลือดแดงในผู้ป่วยที่สงสัย  AAA  จากการศึกษาพบว่าการใช้  ultrasonography  สามารถตรวจพบ  AAA  ได้ภายใน  5  นาที  โดยพบว่ามี  sensi-vity,  specificity  อยู่ที่  96.3%,  100%  ตามลำดับ  จากการศึกษาในแพทย์ฉุกเฉินที่ได้รับการฝึกอย่างถูกต้อง  ถึง  ultrasonography  จะมีความแม่นยำที่ดีในการวินิจฉัย  AAA  แต่ยังไม่สามารถวินิจฉัย  RAAA  โดยพบว่ามี  sensi-vity    46%    ดังนั้น  ultrasonography  เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการประเมินผู้ป่วยเบื้องต้น  เพื่อที่ได้ส่งตรวจเพิ่มเติมและรักษาได้อย่างเหมาะสม  

 

�2

ภาพที่ 2 แสดงภาพ Ultrasonography ของ AAA

Knaut  AL,  et  al    J  Emerg  Med,  2005.    

Page 4: Collective review rAAAmedinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2558... · AAA!repair!4ใŽ„นอ£ใน}จ~ น?อการn!aneurysmorrhaphy!KŠนแบบมาจากเทค§คของ!Javid!and!

Ruptured abdominal aortic aneurysm; OSR VS EVAR?

Computed  Tomography,  CT  

  CT  ถือเป็นการวินิจฉัยทางรังสีที่มีความแม่นยำสูงที่สุดในการวินิจฉัย  RAAA  พร้อมทั้งมีความรวดเร็วและสามารถให้ข้อมูลที่มีความสำคัญในการรักษาผู้ป่วยทั้งในด้านการวินิจฉัยแยกโรค  การวางแผนการผ่าตัดเพื่อประเมินการใช้  stent  graZ  devices  โดยหลักฐานในการวินิจฉัย  RAAA  ใน  CT  คือการที่พบ  periaor-c  stranding,  contrast  extravasa-on,  intraperitoneal  hematoma  และ  retroperitoneal  blood  โดยมีการศึกษาพบว่า  retroperitoneal  blood  มี  sensi-vity  77%,  specificity  100%,  PPV  100%,  NPV  89%    ซึ่งถือเป็น  gold  standard  ในการวินิจฉัย  RAAA  ในปัจจุบัน    

 

�3

ภาพที่ 5 Periaortic stranding (ลูกศรสีขาว)

ภาพที่ 4 Contrast extravasation (ลูกศรสีขาว) เข้าไปใน retroperitoneal space และ massive retroperitoneal haematoma (R)

ภาพที่ 3 Retroperitoneal hematoma ใน Anterior and posterior pararenal space, 45 HU

Knaut  AL,  et  al    J  Emerg  Med,  2005.    

Page 5: Collective review rAAAmedinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2558... · AAA!repair!4ใŽ„นอ£ใน}จ~ น?อการn!aneurysmorrhaphy!KŠนแบบมาจากเทค§คของ!Javid!and!

Ruptured abdominal aortic aneurysm; OSR VS EVAR?

การรักษา  (Treatment)  

Permissive  hypotension  

  การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ  RAAA  ด้วยวิธีการ  Permissive  hypotension  มาจากแนวคิดที่ว่าการให้สารน้ำจำนวนมากทำให้ความดันโลหิตผู้ป่วยสูงขึ้น  มีผลทำให้มีเลือดออกจากภาวะ  RAAA  ได้มากขึ้นและการให้สารน้ำจำนวนมากทำให้เกิดภาวะ  hemodilu-on,  coagulopathy,  hypothermia  และ  acidosis  ซึ่งทำให้อาการผู้ป่วยแย่ลงแต่การให้สารนำน้อยเกินไปก็จะทำให้ความดันโลหิตผู้ป่วยต่ำ  เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญของร่างกายได้เพียงพอ  จะทำให้อวัยวะเหล่านั้นเกิดภาวะขาดเลือดได้   จึงมีการให้คำนิยามของ  permissive  hypotension  คือสารให้สารน้ำเพียงพอให้ผู้ป่วยมีสติอยู่ได้  ไม่มี  ST  depression  โดยปกติจะคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยอยู่ที่  70-­‐80  mmHg  มีการศึกษาพบว่าการให้สารน้ำปริมาณมากในผู้ป่วย  RAAA  ในการรักษาเบื้องต้นก่อนการทำ  proximal  aor-c  control  ทุกสารน้ำที่ให้มากกว่า  1  ลิตรต่อชม.  จะเพิ่มอัตราการเสียชีวิตระหว่างผ่าตัด  1.57  เท่า  เพราะฉะนั้นควรให้สารน้ำแก่ผู้ป่วยเพียงเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถที่จะมีสติและไม่มี  ST  depression  ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดรักษามีความเหมาะสม  

การผ่าตัดรักษา  (Surgical  Repair)  

  การผ่าตัด  AAA  repair  ใน  vascular  center  มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ประมาณ  1.2-­‐3.6%  และอัตราการเสียชีวิตจะสูงขึ้นถ้าผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลที่ผ่าตัดผู้ป่วย  AAA  น้อยกว่า  50  รายต่อปี    และในปัจจุบันมีการนำ  EVAR  เข้ามาใช้การรักษา  AAA  อย่างต่อเนื่อง  ทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงเหลือ  1.2-­‐1.7%  และยังสามารถลดระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วยได้  

  ในปีเดือนธันวาคม  1948  Rudolph  Nissen  ได้ทำการรักษา  AAA  ในขณะกำลังผ่าตัด    Albert  Einstein  เพื่อรักษาอาการปวดท้องโดยได้ใช้  cellophane  ห่อตัว  AAA  ไว้  Albert  Einstein  ออกจากโรงพยาบาลในวันที่  13  มกราคมปี  1949  และเสียชีวิตจาก  RAAA  ในวันที่  18  เมษายน  1955  การผ่าตัดรักษา  RAAA  ในช่วงศตวรรษที่  18-­‐19  ทำการรักษาโดยวิธี  aor-c  liga-on  มีการรายงานครั้งแรกไว้โดย  Astley  Cooper  ในปี  1817  แต่ไม่มีผู้รอดชีวิตจากการผ่าตัดวิธีนี้    การผ่าตัดรักษา  RAAA  ที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกโดย  Henry  Bahnson  โดยการใช้  homograZ  ในปี  1953  Cooley  and  DeBakey  และ  Javid  ได้รายงานอัตราการรอดชีวิต  50%    เริ่มมีการนำ  Endovascular  aneurysm  repair  (EVAR)  มาใช้รักษาผู้ป่วย  AAA  ในปี  1991  หลังจากนั้นมีการนำ  EVAR  มาใช้ในการรักษา  RAAA  ครั้งแรกโดย  Hopkinson  ใน  Noangham  

ประเทศอังกฤษ  ในปี  1994    

�4

Page 6: Collective review rAAAmedinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2558... · AAA!repair!4ใŽ„นอ£ใน}จ~ น?อการn!aneurysmorrhaphy!KŠนแบบมาจากเทค§คของ!Javid!and!

Ruptured abdominal aortic aneurysm; OSR VS EVAR?

การผ่าตัดแบบเปิด  (  Open  surgical  repair,  OSR  )  

  การผ่าตัดรักษาผู้ป่วย  AAA  มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่  ค.ศ.  1940  เป็นต้นมา  โดยเทคนิคการผ่าตัด  AAA  repair  ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือการทำ  aneurysmorrhaphy  มีต้นแบบมาจากเทคนิคของ  Javid  and  Creechในปี  1962  มีผลทำให้อัตราการเสียชีวิตหลังผ่าตัดลดลงมาอย่างมาก    ถึงแม้จะมีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัด  การดูแลผู้ป่วยและความเชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วย  RAAA  แต่อัตราการเสียชีวิต  30  วันหลังผ่าตัด  open  repair  แบบฉุกเฉินในผู้ป่วย  RAAA  ยังคงอยู่ที่  50%    

หลักการของการผ่าตัดรักษาแบบเปิด Approach  Selec?onTransperitoneal  approach     การผ่าตัดเปิดหน้าท้องบริเวณ  midline  ตั้งแต่  xyphoid  ไปจนถึง  pubic  symphysis  ถือเป็นวิธีที่ใช้ในการผ่าตัดรักษา  RAAA  ที่ได้รับความนิยมสูง  เนื่องจากเป็นวิธีที่ศัลยแพทย์มีความคุ้นเคย  สามารถทำได้ง่ายและมีความรวดเร็วทั้งยังสามารถสำรวจหาความผิดปกติในช่องท้องได้อย่างชัดเจนเห็น  abdominal  aorta  ได้อย่างชัดเจน  สามารถที่จะสำรวจและทำการผ่าตัดทำ  supraceliac,  infrarenal  และ  iliac  artery  82,110  ได้  อีกทั้งยังทำ  proximal  aor-c  control  ได้อย่างง่าย  รวดเร็วและมีประสิทธิผล  โดยเฉพาะการทำ  supraceliac  aor-c  control  ซึ่งถือว่าเป็น  proximal  aor-c  control  ที่มีประสิทธิภาพและมักต้องใช้ในการผ่าตัดหยุดเลือดในผู้ป่วย  RAAA  ซึ่งจะลดโอกาสในการบาดเจ็บต่อ  renal,  gonadal  และ  inferior  mesenteric  vein  เมื่อพบกับ  retroperitoneal  hematoma  โดยสามารถทำได้โดยการดึง  LeZ  lobe  ของตับขึ้นไปทางขวา  เปิด  Gastrohepa-c  omentum  เข้าไปใน  lesser  sac  ทำการระบุตำแหน่ง  esophagus  และกระเพาะอาหารส่วนต้นโดยการคลำหา  NG  tube  และระบุตำแหน่ง  aorta  ซึ่งอยู่ระหว่าง  crura  ของ  diaphragm    ทำการ  blunt  dissec-on  เพื่อที่จะสามารถทำการ  aor-c  clamping  ได้อย่างรวดเร็ว

�5

ภาพที่ 6 Supraceliac aoritc control A เปิด lesser sac, B เปิด Abdominal aortic aneurysm, Rutherford’s Vascular Surgery References 8th edition

Page 7: Collective review rAAAmedinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2558... · AAA!repair!4ใŽ„นอ£ใน}จ~ น?อการn!aneurysmorrhaphy!KŠนแบบมาจากเทค§คของ!Javid!and!

Ruptured abdominal aortic aneurysm; OSR VS EVAR?

ข้อเสียของการทำ  supraceliac  aor-c  control  คือมีโอกาสบาดเจ็บจากการขาดเลือดต่อตับ  ไตและลำไส้มากขึ้น  จากเดิมที่มีการบาดเจ็บจากภาวะ  hemorrhagic  shock  อยู่แล้ว  ทำให้เกิด  Mul-orgran  failure  ได้Retroperitoneal  approach   การผ่าตัดเพื่อรักษา  AAA  โดยผ่าตัดผ่านทาง  Retroperitoneal  ถูกเสนอครั้งแรกโดย  The  Albany  Vascular  Group  โดยให้ผลในการรักษาเทียบเท่ากับการผ่าตัด  Transperitoneal  approachและมีการศึกษาว่าสามารถทำ  supraceliac  control  ได้ดีเท่ากันแต่การใช้    Retroperitoneal  approach  ในภาวะRAAA  ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยนั้น  ศัลยแพทย์ต้องมีความชำนาญและมีประสบการณ์ในการผ่าตัดแบบ  elec-ve  AAA  repair  มาแล้ว  โดยมีข้อได้เปรียบในการผ่าตัดผู้ป่วยที่อ้วน  มีถุงหน้าท้อง  เข้าถึง  suprarenal  aorta  และ  LeZ  renal  arteries  ได้ง่ายกว่า   Opera?ve  Technique              หลังจากที่ทำ  Proximal  aor-c  control  ได้แล้ว  ควรให้เวลาทีมแพทย์วิสัญญีแพทย์  ในการ  resuscita-on  ผู้ป่วยก่อนทำการผ่าตัดต่อ  การผูก  Lumbar  arteries  ก่อนผ่าตัดเปิด  aneurysm  sac  ช่วยลดการเสียเลือดได้  หลังจากทำการเปิด  aneurysm  sac  แล้วจะมีเลือดออกได้จาก  retrograde  bleeding  จาก  IMA  และ  Lumbar  arteries  ให้ทำการหยุดเลือดโดยการ  suture  liga-on  ถ้ามีเลือดไหลออกมาจาก  proximal  aorta  ควร  clamping  หรือ  suc-on  ไว้ในช่วงที่ทำการต่อ  proximal  anastomosis  การให้  systemic  

hepariniza-on  มักจะถูกหลีกเลี่ยงในการผ่าตัด  RAAA  แต่จะใช้การ  heparinized  saline  ในการ  retrograde  flushing  เข้าไปใน  iliac  arteries  ก่อนการต่อ  distal  anastomosis  มีความสำคัญเพื่อที่จะทำให้ลิ่มเลือดละลาย    หลังจากนั้นให้ทำการต่อ  anastomosis  อย่างรวดเร็ว Abdominal  Closure              การปิดท้องสามารถทำได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ใน  RAAA  โดยมีผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำการปิดท้องได้ประมาณ  25-­‐30%  แม้บางครั้ง  ไม่มีภาวะลำไส้ที่บวมมาก  เนื้อเยื่อบวมและมี  massive  retroperitoneal  

hematoma  แต่ทำเพื่อป้องกันภาวะ  abdominal  compartment  syndrome  ควรทำ  delayed  closure    ซึ่งมีการศึกษาบอกว่าการทำ  delayed  abdominal  closure  สามารถลดการเกิด  abdominal  compartment  

syndrome  และ  MOF  ได้ทั้งในผู้ป่วย  trauma  และ  RAAA    ในปัจจุบันเริ่มมีการทำ  mesh  closure  มาใช้กับผู้ป่วย  RAAA  ทั้งใช้ในแบบ  Early  และ  Delayed  closure    Rasmussen  TE,  et  al    ทำได้การศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้  Early  mesh  closure  พบว่าพบการเกิด  colon  ischemia  ในกลุ่มที่ทำ  delayed  mesh  closure  

มากกว่ากลุ่มที่ทำ  early  mesh  closure    แต่ยังเป็นการศึกษาแบบ  retrospec-ve  นอกจากนี้ยังมีการใช้  vacuum-­‐assisted  wound  closure  เป็น  temporary  closure  ไว้ก่อนแล้วค่อยทำ  defini-ve  closure  ภายหลัง

ผลการรักษาของ  OSR  

  แม้มีการพัฒนาในการดูแลผู้ป่วย  RAAA  ทั้งระหว่างผ่าตัด  หลังผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยวิกฤต  อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย    RAAA  ที่ทำการรักษาแบบ  OSR  ยังคงอยู่ที่  50%    ล่าสุดที่มีการศึกษาแบบ  Meta  analysis  ตั้งแต่ปี  1991-­‐2006  ที่รวบรวมผู้ป่วยไว้ทั้งสิ้น  60,000  คนอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย  RAAA  ที่รับการผ่าตัดแบบ  OSR  อยู่ที่  48.5%  แต่พบว่าอัตราเสียชีวิตใน  high  volume  center  จะต่ำกว่า    

�6

Page 8: Collective review rAAAmedinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2558... · AAA!repair!4ใŽ„นอ£ใน}จ~ น?อการn!aneurysmorrhaphy!KŠนแบบมาจากเทค§คของ!Javid!and!

Ruptured abdominal aortic aneurysm; OSR VS EVAR?

การผ่าตัดแบบใส่สายสวนทางหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ขา  (  EVAR)  

  ปัจจุบันหลายสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัด  AAA  มักจะใช้การผ่าตัดแบบ  EVAR  เป็นทางเลือกแรกในการรักษาผู้ป่วย  AAA  และ  RAAA  จากรายงานการศึกษาแบบ  meta-­‐analysis  ล่าสุดพบว่า  การรักษาโดยวิธี  EVAR  สามารถลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ถึง  50%  ในผู้ป่วย  RAAA  แต่ผู้ป่วยที่สามารถรับการรักษาโดยวิธี  EVAR  ได้นั้นจะต้องมี  hemodynamic  และ  กายวิภาคที่เหมาะสม  ได้มีการทำแนวทางการรักษาผู้ป่วย    RAAA  เพื่อพิจารณาให้การรักษาผู้ป่วยแบบ  EVAR  โดย  Albany  vascular  group

กายวิภาคที่เหมาะสมในการทำผ่าตัดแบบEVAR  (Anatomical  suitable  for  EVAR)   ผู้ป่วย  RAAA  ที่มีกายวิภาคเหมาะสมสำหรับการทำ  EVAR  นั้นมีประมาณ  47-­‐67%                                              

จากการศึกษาที่เป็น  meta-­‐analysis  เมื่อเปรียบเทียบกับ  AAA  ผู้ป่วย  RAAA  มักจะมี  infrarenal  aor-c  neck  ที่ใหญ่และสั้นกว่าทำให้ไม่สามารถมาทำ  EVAR  ได้  Mehta  M,  et  al  ได้ทำการศึกษาผลการรักษาเปรียบเทียบ  aor-c  neck  แบบยากและง่ายจาก  CT  scan  ของผู้ป่วย  RAAA  พบว่าผู้ป่วยที่มี  aor-c  neck  ยากพบในผู้ป่วยหญิงมากกว่า  เกิด  abdominal  compartment  syndrome  (20%  vs.  4%)  เกิด  type-­‐1  endoleak  (16%  vs.  4%)  และต้องการ  secondary  interven-on  ถึง  77%  เทียบกับ  40%  ในกลุ่มที่มี  aor-c  neck  แบบง่าย      

�7

ภาพที่ 7 แสดง Albany Vascular Group standardized protocol for EVAR of ruptured abdominal aortic aneurysms in ED, Mehta M, J Vasc Surg 2010.

Page 9: Collective review rAAAmedinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2558... · AAA!repair!4ใŽ„นอ£ใน}จ~ น?อการn!aneurysmorrhaphy!KŠนแบบมาจากเทค§คของ!Javid!and!

Ruptured abdominal aortic aneurysm; OSR VS EVAR?

           มีการศึกษาจากหลายๆ  สถาบันเพื่อที่จะระบุหาผู้ป่วยที่มีกายวิภาคเหมาะสมที่สามารถมาทำ  EVAR  ได้    ซึ่งโดยปกติแล้ว  EVAR  device  แต่ละชนิดจะมี  IFU  (Intruc-on  for  use)  เพื่อบอกถึงกายวิภาคที่เหมาะสมกับ  EVAR  device  นั้น    จากการศึกษาของ  Schanzer  et  al,  Circula-on  2011  ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในสหรัฐอเมริกาช่วงปี  1999-­‐2008  พบผู้ป่วยจำนวน  10,228  รายได้ทำ  EVAR  พบว่ามีผู้ป่วยเพียง  42%  เท่านั้นที่เข้าได้กับ  IFU  ของ  EVAR  device  ที่ใช้ในการรักษา  พบว่าผลการรักษาในกลุ่มที่ตรงตาม  IFU  มี  aneurysm  related  death  ที่น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ตรงตาม  IFU  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ    

�8

ภาพที่ 8 แสดง IFU ดยทั่วไปของ EVAR device และของแต่ละ EVAR device, Schanzer et al, Circulation, 2011

Page 10: Collective review rAAAmedinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2558... · AAA!repair!4ใŽ„นอ£ใน}จ~ น?อการn!aneurysmorrhaphy!KŠนแบบมาจากเทค§คของ!Javid!and!

Ruptured abdominal aortic aneurysm; OSR VS EVAR?

ผลการรักษาของ  EVAR  เทียบกับ  OSR  ในผู้ป่วย  RAAA       จากการศึกษาในปัจจุบันได้มีการรายงานผลการศึกษาแบบ  RCT  เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างการผ่าตัด  open  repair  และ  EVAR  ในการรักษาภาวะ  RAAA  อยู่  3  การศึกษา  

Dutch  AJAX  trial,  Ann  Surg  2013  ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบการรักษา  RAAA  ระหว่าง  OSR  กับ  EVAR  เป็นการศึกษาแบบ  mul-center  randomized  controlled  trial  ครั้งแรก  ที่เมือง  Amsterdam,  Netherlands  

โดยการเลือกผู้ป่วย  RAAA  ที่มี  stable  hemodynamics  สามารถทำเอกเรย์คอมพิวเตอร์ได้และมีกายวิภาคเหมาะสมที่จะสามารถรักษาได้ทั้งแบบ  open  repair  และ  EVAR  ได้  จำนวนทั้งสิ้น  116  คน  แบ่งเป็นกลุ่ม  open  repair  61  คนและกลุ่ม  EVAR  55  คน  โดยวัดผลเป็นอัตราการเสียชีวิตใน  30  วัน  พบว่าผู้ป่วยในกลุ่ม  EVAR  มีอัตราการเสียชีวิตใน  30  วันที่  28%  เทียบกับ  29%ในกลุ่ม  open  repair  ซึ่งไม่พบความแตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ถึงแม้ทำการติดตามผู้ป่วยไปทั้งสิ้น  6  ปี  พบว่าไม่มีความแตกต่างในอัตราการเสียชีวิตของทั้งสองกลุ่ม  แต่พบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโดยวิธี  EVAR  มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตหรือต้องฟอกไตน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบ  open  repair  

IMPROVE  trial,  BMJ  2014  ได้ทำการศึกษาผู้ป่วย  RAAA  จำนวน  623  คน  ที่มารับการรักษาใน  30  สถาบันที่มีความชำนาญในการรักษาผู้ป่วย  AAA  ในอังกฤษและแคนนาดา  แบ่งผู้ป่วยโดยวิธีการสุ่มเป็น  2  กลุ่มคือ  กลุ่มที่รับการรักษาโดยการผ่าตัด  open  repair  จำนวน  297  คนและ  EVAR  จำนวน  316  คน  โดยวัดผลการศึกษาเป็นอัตราการเสียชีวิตใน  30  วัน  โดยพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตใน  30  วันของกลุ่มที่รับการรักษาโดยวิธี  EVAR  อยู่ที่  35.4%  และในกลุ่ม  open  repair    37.4%  โดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  แต่สังเกตผลว่าผลการรักษาแบบ  EVAR  ในผู้ป่วยหญิงจะมีอัตราการรอดชีวิตมากกว่าผู้ป่วยชาย  (  37%  VS  57%  )และยังพบว่าผู้ป่วยที่รับการรักษาแบบ  EVAR  มีอัตราการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไปบ้านอยู่ที่  94%  มากกว่ากลุ่มที่มารับการรักษาแบบเปิดที่มีอัตราการจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านอยู่ที่  77%  โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  และยังพบว่าค่าใช้จ่ายต่างๆในการรักษาของทั้ง  2  กลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน

ECAR  trial,  Endovascular  surgery  2015  เป็นการศึกษาแบบ  mul-center  randomised  controlled  trial  ที่ทำขึ้นใน  14  สถาบันในประเทศฝรั่งเศส  โดยการเกณฑ์ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ามีภาวะ  Ruptured  aorto-­‐iliac  aneurysm  จากการตรวจด้วย  CTA  ที่มีกายวิภาคของหลอดเลือดเหมาะสมที่จะรับการรักษาทั้ง  EVAR  และ  open  repair  โดยที่มีภาวะ  stable  hemodynamic  107  คน  มาสุ่มโดยวิธีการแบ่งสัปดาห์ในการรักษา  ผลพบว่าอัตราการเสียชีวิตที่  30  วันหลังการรักษาในกลุ่ม  EVAR  อยู่ที่  18  %  และในกลุ่ม  Open  repair  อยู่ที่  24%  โดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและแม้จะติดตามผู้ป่วยไปจนครบ  1  ปีก็ไม่พบว่าอัตราการเสียชีวิตของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน  แต่พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบ  EVAR  จะมีความต้องการในการใช้เครื่องช่วยหายใจที่น้อยกว่า  ผลข้างเคียงทางปอดที่น้อยกว่าและระยะเวลาที่เข้ารับการรักษาอยู่ในหอผู้ป่วยหนัก  (  ICU  )  ที่น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ    

�9

Page 11: Collective review rAAAmedinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2558... · AAA!repair!4ใŽ„นอ£ใน}จ~ น?อการn!aneurysmorrhaphy!KŠนแบบมาจากเทค§คของ!Javid!and!

Ruptured abdominal aortic aneurysm; OSR VS EVAR?

สรุป       ภาวะ  RAAA  เป็นภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรมหลอดเลือด  ต้องอาศัยการแม่นยำในการซักประวัติตรวจร่างกายและการส่งวินิจฉัยที่ถูกต้อง  เนื่องจากมีผู้ป่วย  RAAA  มักมีภาวะความดันต่ำจากเลือดที่ออกจาก  AAA  การวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุดคือ  CT  scan  ซึ่งสามารถให้ข้อมูลทั้งการวินิจฉัยและการวางแผนผ่าตัด การให้สารน้ำในผู้ป่วย  RAAA  นั้นควรให้ด้วยหลักการของ  permissive  hypotension  และนำผู้ป่วยไปรับการผ่าตัดอย่างรวดเร็ว  การผ่าตัดทั้ง  OSR  และ  EVAR  ควรประเมินผู้ป่วยทั้ง  hemodynamic  และกายวิภาค  ที่เหมาะสม  ถึงแม้จากการศึกษาที่เป็น  RCT  ขนาดใหญ่ล่าสุด    ไม่สามารถที่จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทั้ง  OSR  และ  EVAR  ได้  ความแตกต่างกันของอัตราการชีวิตของผู้ป่วยแตกต่างกันไป  อาจเนื่องมาจากการเกณฑ์การคัดเข้าร่วมแตกต่างกัน    จากการศึกษาพบว่า  EVAR  จะมีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดที่น้อยกว่า  OSR  ในแต่ละด้าน  แต่ก็ยังไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกการศึกษาและยังพบว่าผู้ป่วยที่รับการรักษาแบบ  EVAR  นั้นมี  ICU  care  และ  LOS  น้อยกว่ากลุ่ม  OSR  ทำให้เมื่อเปรียบเทียบ  cost  effec-veness  ทำให้ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน  

Reference1. Wilmink AB, et al: Epidemiology and potential for prevention of abdominal aortic aneurysm.Br J Surg 85(2):155–162, 1998. 2. Bengtsson H, et al: Ruptured abdominal aortic aneurysm: a population- based study. J Vasc Surg 18(1):74–80, 1993. 3. Choksy SA, et al: Ruptured abdominal aortic aneurysm in the Huntingdon district: a 10- year experience. Ann R Coll Surg Engl 81(1):27– 31, 1999. 4. Brewster DC, et al. Guidelines for the treatment of abdominal aortic aneurysm. J Vasc Surg 2003;37:1106-17 5. Peter J.E. Holt and Matt M. Thompson. Abdominal Aortic Aneurysm. Rutherford's Vascular Surgery 8th edition, Chapter 130, 1999-2023.e5 6. Manish and John B. Abdominal Aortic Aneurysm: Ruptured. Rutherford's Vascular Surgery 8th edition, Chapter 133, 2062-2082.e47. Korner M, et al: Current role of emergency US in patients with major trauma. Radiographics 28:225–242, 2008. 8. Shuman WP, et al: Suspected leaking abdominal aortic aneurysm: use of sonography in the emergency room. Radiology 168:117–119, 1988. 9. Knaut AL, et al: Ultrasonographic measurement of aortic diameter by emergency physicians approximates results obtained by computed tomography. J Emerg Med 28:119– 126, 2005. 9. Dent B, et al: Emergency ultrasound of the abdominal aorta by UK emergency physicians: a prospective cohort study. Emerg Med J 24:547– 549, 2007.10. Weinbaum FI, et al: The accuracy of computed tomography in the diagnosis of retroperitoneal blood in the presence of abdominal aortic aneurysm. J Vasc Surg 6:11–16, 1987. 11. Vu K-N, Kaitoukov Y, Morin-Roy F, et al. Rupture signs on computed tomography, treatment, and outcome of abdominal aortic aneurysms. Insights into Imaging. 2014;5(3): 281-293. doi: 10.1007/s13244-014-0327-3.12. Crawford ES: Ruptured abdominal aortic aneurysm. J Vasc Surg 13:348–350, 1991. 13. Roberts K, et al: Hypotensive resuscitation in patients with ruptured abdominal aortic aneurysm. Eur J Vasc Endovasc Surg 31:339–344, 2006. 14. Martini WZ: Coagulopathy by hypothermia and acidosis: mechanisms of thrombin generation and fibrinogen availability. J Trauma 67:202– 208, discussion 208–209, 2009.

�10

Page 12: Collective review rAAAmedinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2558... · AAA!repair!4ใŽ„นอ£ใน}จ~ น?อการn!aneurysmorrhaphy!KŠนแบบมาจากเทค§คของ!Javid!and!

Ruptured abdominal aortic aneurysm; OSR VS EVAR?

15. Johansson PI, et al: Proactive administration of platelets and plasma for patients with a ruptured abdominal aortic aneurysm: evaluating a change in transfusion practice. Transfusion 47:593–598, 2007. 16. Alric P, et al: Ruptured aneurysm of the infrarenal abdominal aorta: impact of age and postoperative complications on mortality. Ann Vasc Surg 17:277–283, 2003. 17. Dick F, et al: Delayed volume resuscitation during initial management of ruptured abdominal aortic aneurysm. J Vasc Surg 57:943–950, 2013. 18. Hertzer NR, et al. Open infrarenal abdominal aortic aneurysm repair: the Cleveland Clinic experience from 1989 to 1998. J Vasc Surg 2002;35:1145-54.19. Modular JG, et al. Defining the type of surgeon volume that influences the outcomes for open abdominal aortic aneurysm repair. J Vasc Surg 2011;54:1599-604 20. Extend HH, et al. The relationship between volume and outcome following elective open repair of abdominal aortic aneurysm in 131 German hospitals. Euro J Vasc Endovasc Surg 2007;34:260-621. Charles A. West Jr, et al. A contemporary experience of open aortic reconstruction in patients with chronic atherosclerotic occlusion of the abdominal aorta. J Vasc Surg 2010;52:1164-7222. Jon R. Cohen, et al. The ruptured abdominal aortic aneurysm of Albert Einstein. Surgery, Gynecology and Obstetrics 1990;170:455-458 23. Matas R: Ligation of the abdominal aorta. Ann Surg 81:857, 1925. 24. Cooley DA, et al: Ruptured aneurysms of the abdominal aorta: excision and homograft replacement. Postgrad Med 16:334–342, 1954. 25. Bahnson HT: Treatment of abdominal aortic aneurysm by excision and replacement by homograft. Circulation 9:494–503, 1954. 26. Cooley DA, et al: Ruptured aneurysms of the abdominal aorta: excision and homograft replacement. Postgrad Med 16:334–342, 1954. 27. Farrar T, et al: Surgical treatment of acute rupture of abdominal aortic aneurysms: report of two cases. Proc Staff Meet Mayo Clin 31:299–304,1956. 28. Yusuf SW, et al: Emergency endovascular repair of leaking aortic aneurysm. Lancet 344:1645, 1994. 29. Steven G. The 50th anniversary of abdominal aortic reconstruction. J Vasc Surg. 2011;33L895-9830. Nguyen AT, et al: Transperitoneal approach should be considered for suspected ruptured abdominal aortic aneurysms. Ann Vasc Surg 21:129– 132, 2007. 31. Lindsay TF, et al: Acute pulmonary injury in a model of ruptured abdominal aortic aneurysm. J Vasc Surg 22:1–8, 1995. 32. Bown MJ, et al: The systemic inflammatory response syndrome, organ failure, and mortality after abdominal aortic aneurysm repair. J Vasc Surg 37:600–606, 2003. 33. Darling C, 3rd, et al: Current status of the use of retroperitoneal approach for reconstructions of the aorta and its branches. Ann Surg 224:501–506, discussion 506–508, 1996. 34. Chang BB, et al: Selective use of retroperitoneal aortic exposure in the emergency treatment of ruptured and symptomatic abdominal aortic aneurysms. Am J Surg 156:108– 110, 1988. 35. Rasmussen TE, et al: Early abdominal closure with mesh reduces multiple organ failure after ruptured abdominal aortic aneurysm repair: guidelines from a 10-year case-control study. J Vasc Surg 35:246–253, 2002. 36. Akers DL, Jr, et al: Temporary closure of the abdominal wall by use of silicone rubber sheets after operative repair of ruptured abdominal aortic aneurysms. J Vasc Surg 14:48– 52, 1991.37. Foy HM, et al: Reinforced silicone elastomer sheeting, an improved method of temporary abdominal closure in damage control laparotomy. Am J Surg 185:498–501, 2003.

�11

Page 13: Collective review rAAAmedinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective review/2558... · AAA!repair!4ใŽ„นอ£ใน}จ~ น?อการn!aneurysmorrhaphy!KŠนแบบมาจากเทค§คของ!Javid!and!

Ruptured abdominal aortic aneurysm; OSR VS EVAR?

38. Hoornweg LL, et al: Meta analysis on mortality of ruptured abdominal aortic aneurysms. Eur J Vasc Endovasc Surg 35:558–570, 2008. 39. Turk KA: The post-mortem incidence of abdominal aortic aneurysm. Proc R Soc Med 58(Part 1):869–870, 1965. 40. Armour RH: Survivors of ruptured abdominal aortic aneurysm: the iceberg’s tip. Br Med J 2:1055–1057, 1977. 41. Sarac TP, et al: Comparative predictors of mortality for endovascular and open repair of ruptured infrarenal abdominal aortic aneurysms. Ann Vasc Surg 25:461–468, 2011. 42. Ascher E, et al: Ruptured versus elective abdominal aortic aneurysm repair: outcome and cost. Ann Vasc Surg 13:613–617, 1999. 43. Visser P, et al: In-hospital operative mortality of ruptured abdominal aortic aneurysm: a population-based analysis of 5593 patients in The Netherlands over a 10-year period. Eur J Vasc Endovasc Surg 30:359– 364, 2005. 44. Bown MJ, et al: A meta-analysis of 50 years of ruptured abdominal aortic aneurysm repair. Br J Surg 89:714–730, 2002. 45. Mehta M, et al: Endovascular repair of ruptured infrarenal abdominal aortic aneurysm is associated with lower 30-day mortality and better 5-year survival rates than open surgical repair. J Vasc Surg 57:368–375, 2013. 46. Nedeau AE, et al: Endovascular vs. open repair for ruptured abdominal aortic aneurysm. J Vasc Surg 56:15–20, 2012. 47. Mehta M: Endovascular aneurysm repair for ruptured abdominal aortic aneurysm: the Albany Vascular Group approach. J Vasc Surg 52:1706– 1712, 2010. 48. Mastracci TM, et al: Endovascular repair of ruptured abdominal aortic aneurysms: a systematic review and meta-analysis. J Vasc Surg 47:214– 221, 2008. 49. Harkin DW, et al: Endovascular ruptured abdominal aortic aneurysm repair (EVRAR): a systematic review. Eur J Vasc Endovasc Surg 34:673– 681, 2007. 50. Hinchliffe RJ, et al: Comparison of morphologic features of intact and ruptured aneurysms of infrarenal abdominal aorta. J Vasc Surg 38:88– 92, 2003. 51. Badger SA, et al: Aortic necks of ruptured abdominal aneurysms dilate more than asymptomatic aneurysms after endovascular repair. J Vasc Surg 44:244–249, 2006. 52. Slater BJ, et al: Anatomic suitability of ruptured abdominal aortic aneurysms for endovascular repair. Ann Vasc Surg 22:716–722, 2008. 53. Richards T, et al: The importance of anatomical suitability and fitness for the outcome of endovascular repair of ruptured abdominal aortic aneurysms. Eur J Vasc Endovasc Surg 38:285–290, 2009. 54. Mehta M, et al: The impact of favorable and hostile aortic neck mor- phology on the outcomes of endovascular repair of ruptured abdominal aortic aneurysms. Presented at the annual meeting of the Society for Vascular Surgery; San Francisco, Calif, May 2013. 55. Schanzer A. et al. Predictors of abdominal aortic aneurysm sac enlargement after endovascular repair. Circulation 2011;123:2845-5556. Jorik J. Reimerink, et al. Endovascular Repair Versus Open Repair of Ruptured Abdominal Aortic Aneurysms. Annual of surgery august 2013;258: 248-56 57. IMPROVE trial investigators. Endovascular or open repair strategy for ruptured abdominal aortic aneurysm: 30 day outcomes. BMJ 2014;348:f7661 58. P. Desgranges, et al. ECAR (Endovasculaire ou Chirurgie dans les Anévrysmes aorto- iliaques Rompus): A French Randomized Controlled Trial of Endovascular Versus Open Surgical Repair of Ruptured Aorto-iliac Aneurysms. Eur J Vasc Endovasc Surg (2015)

�12