บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น...

53
1 2108207 การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ Collection Development บทท่ 1 ความรู้เบ้องต้นเก่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศ

Upload: others

Post on 15-Jan-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

1

2108207 การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ Collection Development

บทท่ี 1

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศ

Page 2: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

2

วัตถุประสงค ์

1. อ ธิบายความหมายและความส าคัญของทรัพยากรสารสนเทศได้

2. อธิบายวิธีการจ าแนกประเภทของทรัพยากรสารสนเทศได้

3. อธิบายลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ได้

4. อธิบายลักษณะของสื่อโสตทัศน์ประเภทต่างๆ ได้

5. อธิบายลักษณะของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ ได้

Page 3: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

3

ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ท่ีมีการบันทึก ประมวลหรือด าเนินการด้วยวิธีการต่างๆ ผลลัพธ์ท่ีได้จึงเป็นสารสนเทศท่ีมีคุณค่าและสามารถน าไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ทั้งในส่วนของบุคคลและสังคม

ทรัพยากร หมายถึง สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์

ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ท่ีได้ผ่านกระบวนการคัดสรร กลั่นกรอง วิเคราะห์และบันทึกไว้โดยใช้ ภาพ สัญลักษณ์ รหัส และอ่ืนๆ ลงบนวัสดุ และน าออกเผยแพร่

Page 4: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

4

ความส าคัญของทรัพยากรสารสนเทศ

1. ความส าคัญของทรัพยากรสารสนเทศต่อบุคคล

ให้ความรู้และสติปญัญา

เสริมสร้างประสบการณ์

เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

2. ความส าคัญของทรัพยากรสารสนเทศตอ่สังคม

เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้และสร้างความ เข้าใจ

สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

เสริมสร้างระบบการศึกษา

Page 5: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

5

การจ าแนกประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ

1. ทรัพยากรสารสนเทศจ าแนกตามสาขาวิชา 1.1 กลุ่มสาขาวิชาการศึกษา ครอบคลุมเน้ือหาทางด้านการฝึกหัดครู

1.2 กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และศิลปะ คลอบคลุมเนื้อหาทางด้านวจิิตรศิลป ์

1.3 กลุ่มสาขาวิชาสงัคมศาสตร์ บริหารธุรกิจและกฎหมาย ครอบคลุมเน้ือหาทางด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์

1.4 กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ครอบคลุมเน้ือหาวิชาทางด้านวทิยาศาสตร์ธรรมชาติ

Page 6: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

6

การจ าแนกประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ

1.5 กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมการผลติและการก่อสร้าง ครอบคลุมเนื้อหาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์

1.6 กลุ่มสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คลอบคลุมเน้ือหาทางด้านเกษตรศาสตร์ วนศาสตร์และการประมง

1.7 กลุ่มสาขาวิชาสขุภาพและสวสัดิการ ครอบคลุมเน้ือหาทางด้านสุขภาพ สวัสดิการสังคม

1.8 กลุ่มสาขาวิชาบริการ ครอบคลุมเนื้อหาวิชาทางด้านการบริการ

1.9 กลุ่มสาขาวิชาอ่ืนๆ

Page 7: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

7

การจ าแนกประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ

2. ทรัพยากรสารสนเทศจ าแนกตามรูปแบบ

2.1 ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

2.2 ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อโสตทัศน์

2.3 ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์

3. ทรัพยากรสารสนเทศจ าแนกตามการจัดการในองค์การสารสนเทศ

3.1 ทรัพยากรสารสนเทศจ าแนกตามการให้บริการ

3.2 ทรัพยากรสารสนเทศจ าแนกตามพันธกิจขององค์การ

สารสนเทศ

Page 8: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

8

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

1. หนังสือ (Book) เป็นสื่อบันทึกความรู้ ความคิด เหตุการณ์ ฯลฯ ของมนุษย์ท าให้การถ่ายทอดอารยธรรมเป็นไปอย่างต่อเ น่ือง หนังสือสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ได้แก่

1.1 หนังสืออ้างอิง (Reference Book) หมายถึง หนังสือที่จัดท าข้ึนโดยมีความมุ่งหมายให้ใช้ค้นเร่ืองราว ข้อมูลเร่ืองใดเร่ืองหน่ึงมากกว่าที่จะให้อ่านโดยละเอียด ปัจจุบันมิได้อยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์เพียงอย่างเดียว หากแต่อยู่ในรูปฐานข้อมูลส าเร็จรูปด้วย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น

Page 9: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

9

1.1.1 พจนานุกรม (Dictionary) คือ หนังสืออ้างอิงท่ีรวบรวมค าในภาษาหรือศัพท์ในสาขาวิชาต่างๆ ใช้ประโยชน์ในการค้นความหมายของค า โดยให้ค าอธิบาย ตัวสะกด วิธีออกเสียง ชนิดของค า ค าเหมือน ค าพ้อง ค าตรงข้าม แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 10: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

10

1) พจนานุกรมภาษา (Language Dictionary) คือ พจนานุกรมท่ีรวมค าศัพท์ทั่วไป พร้อมให้ความหมายและรายละเอียดอ่ืนๆ แบ่งย่อยได้เป็น 3 ประเภท คือ

- พจนานุกรมภาษาเดียว คือ พจนานุกรมท่ีให้ความหมายในภาษาใดภาษาหน่ึง เช่น ภาษาไทย-ไทย ฯลฯ

- พจนานุกรมสองภาษา คือ พจนานุกรมท่ีให้ความหมายค าในภาษาหน่ึงไปเป็นอีกภาษาหน่ึง เช่น ภาษาไทย-อังกฤษ ฯลฯ

- พจนานุกรมหลายภาษา คือ พจนานุกรมท่ีให้ความหมายค าในภาษาหน่ึงไปเป็นอีกภาษาหน่ึงตั้งแต่สองภาษาขึ้นไป เช่น ภาษาไทย-จีน-อังกฤษ ฯลฯ

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 11: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

11

2) พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject Dictionary) คือ พจนานุกรมรวบรวมค าศัพท์เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหน่ึงเพื่อค้นคว้าหาค าในสาขาวิชานั้นๆ โดยเฉพาะ

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 12: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

12

1.1.2 สารานุกรม (Encyclopedia) คือ หนังสืออ้างอิงที่รวบรวมความรู้ข้อเท็จจริงอย่างกว้างขวางเก่ียวกับบุคคล เหตุการณ์ เร่ืองราว วัตถุ ฯลฯ ส่วนใหญ่มักให้ความรู้ที่เป็นพ้ืนฐานเพ่ือให้คนคว้าเพ่ิมเติมต่อไป การน าเสนอเน้ือหามักเขียนเป็นบทความและจัดเรียบเรียงเน้ือหาตามล าดับตัวอักษร แบ่งตามขอบเขตการน าเสนอเน้ือหาได้ 2 ประเภท

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 13: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

13

1) สารานุกรมทั่วไป (General Encyclopedia) ใ ห้ เ น้ื อหาความรู้ ไ ม่ จ า กั ดสาขาวิชา เป็นการรวบรวมความรู้อย่างกว้างๆ เช่น สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน Encyclopedia Americana เป็นต้น

2 ) ส า ร า นุ ก ร ม เ ฉพ า ะ วิ ช า (Subject Encyclopedia) รวบรวมความรู้เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหน่ึงเท่านั้น เช่น สารานุกรมปรัชญา Encyclopedia of Library and Information Science เป็นต้น

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 14: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

14

1.1.3 นานานุกรม (Directory) คือ หนังสืออ้างอิงที่รวบรวมช่ือ รายละเอียดของบุคคล หน่วยงาน สถาบันการศึกษา บริษัท ห้างร้าน สมาคม มูลนิธิ ฯลฯ โดยมีการจัดเรียงอย่างเป็นระบบ นามานุกรมให้ข้อมูลช่ือของรายการที่รวบรวม ที่อยู่ /ที่ตั้ง ซึ่งมีทั้งที่เป็นนามานุกรมทั่วไปและนามานุกรมเฉพาะกลุ่มหรืออาชีพ

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 15: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

15

1.1.4 หนังสือรายปี (Year Book) คือ หนังสืออ้างอิงที่พิมพ์เผยแพร่ทุกปี ให้ข้อเท็จจริง และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดข้ึนในรอบปี แบ่งตามประเภทและลักษณะการเสนอเน้ือหาได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) สมพัตรสร (Almanac) เน้ือหาของสมพัตรสรในปัจจุบันมักให้ความรู้เบ็ดเตล็ดและสถิติต่างๆ ในแต่ละปี หากแต่เดิมเนื้อหามักเป็นปฏิทินเหตุการณ์ส าคัญที่เกิดข้ึนในรอบปี

2) สารานุกรมรายปี (Encyclopedia Annual) เป็นเน้ือหาเ พ่ิมเติมของสารานุกรมให้มีความทันสมัย ท าให้ทราบความก้าวหน้าทางวิชาการที่เกิดข้ึนใหม่

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 16: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

16

1.1.5 อักขรานุกรมชีวประวัติ เป็นหนังสืออ้างอิงที่รวบรวมเรื่องราวของบุคคลส าคัญ โดยให้ข้อมูลประวัติส่วนตัวเก่ียวกับวันเกิด วันตาย วุฒิการศึกษา ที่อยู่ และรายละเอียดอื่นๆ ตามวัตถุประสงค์ในการจัดท า มักจัดเรียงประวัติตามล าดับอักษรช่ือเจ้าของประวัติ แบ่งตามลักษณะเจ้าของประวัติได้ 2 ประเภท

1) ชีวประวัติจ าแนกตามอาชีพหรือเฉพาะกลุ่ม เช่น ประวัตินักวิทยาศาสตร์ ประวัติบุคคลส าคัญของประเทศ ฯลฯ

2) ชีวประวัติบุคคลส าคัญของโลก ซึ่งรวบรวมชีวประวัติบุคคลท่ีมีชื่อเสียงของโลกโดยไม่จ ากัดอาชีพ เชื้อชาติ

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 17: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

17

1 . 1 .6 อั กขรานุกรมภูมิศาสตร์และหนั งสือแผนที่ อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ คือ หนังสืออ้างอิงที่รวบรวมข้อมูลเก่ียวกับสถานท่ีทางภูมิศาสตร์ โดยให้ค าอธิบายโดยสังเขป ส าหรับหนั งสือแผนที่ คือ แผนที่ ซึ่ งแสดงอาณาเขต มหาสมุทร ที่ตั้งเมือง ฯลฯ ซึ่งเย็บเป็นรูปเล่ม และมีสารบัญอธิบายวิธีใช้และมีมาตราส่วนแจ้งไว้อย่างชัดเจน

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 18: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

18

1.2 หนังสือวิชาการและต ารา หนังสือวิชาการเป็นหนังสือท่ีมีเนื้อหาความรู้ตามหลักวิชา ส าหรับใช้ในการศึกษาค้นคว้า มุ่งเพ่ิมพูนความรู้เป็นหลัก ต าราเป็นหนังสือวิชาการประเภทห น่ึ งที่ เ ขี ยน ข้ึนตามหลักสู ตรวิ ชา ใดวิ ชาห น่ึ ง เ พ่ือ ใช้ประกอบการเรียนการสอนมักใช้ในระดับอุดมศึกษา

1 .3 หนังสือสารคดี หมายถึง หนังสือที่ ให้ข้อ เท็จจริง สาระประโยชน์เพ่ือความจรรโลงใจ ขอบเขตเน้ือหามีความหลากหลาย ตั้งแต่สารคดีเชิงวิชาการ ซึ่งเน้ือหาค่อนข้างหนักไปจนถึงสารคดีทั่วไป

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 19: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

19

1.4 หนังสือเด็กและเยาวชน เป็นหนังสือที่เขียนข้ึนเพ่ือเด็กในวัยต่างๆ เพ่ือปลูกฝังและเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กและเยาวชน

1.5 นวนิยายและเร่ืองสั้น คือ หนังสือท่ีผู้เขียนแต่งข้ึนโดยอาศัยจินตนาการ แต่อาจมีข้อมูลความจริงประกอบบ้าง มุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านเป็นหลัก

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 20: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

20

ส่ิงพิมพ์ต่อเน่ือง (Serials) คือ ทรัพยากรสารสนเทศท่ีมีการพิมพ์เผยแพร่ในชื่อเดียวกันโดยไม่เปล่ียนแปลง และเรียงล าดับกันมากกว่า 1 ฉบับ โดยไม่ก าหนดระยะเวลาส้ินสุด แบ่งออกเป็น

1. วารสาร (periodical) คือ ทรัพยากรสารสนเทศท่ีออกเผยแพร่เป็นประจ าอย่างต่อเน่ืองและมีวาระการออกสม่ าเสมอ ให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ รายงานความก้าวหน้าทางวิชาการ กิจกรรม หรือผลงานในแขนงวิชาใดวิชาหน่ึง โดยเขียนเป็นบทความโดยนักวิชาการหลายคน มีก าหนดออกวาระต่างๆ เช่น รายสัปดาห์ ก าหนดออกทุกสัปดาห์ รายปักษ์ก าหนดออกเดือนละ 2 ครั้ง รายสามเดือน ก าหนดออกทุก 3 เดือน เป็นต้น

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 21: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

21

วารสารจ าแนกได้ 2 แบบ ได้แก่ 1. การจ าแนกตามลักษณะเน้ือหา เป็น 3 ประเภท - วารสารวิชาการ (Journal) เป็นวารสารท่ีมีเน้ือหาเสนอความก้าวหน้าวิทยาการใหม่ๆ โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์ฯ - วารสารก่ึงวิชาการ เป็นวารสารท่ีให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ในขณะเดียวกันได้สอดแทรกเน้ือหาท่ีให้ความเพลิดเพลินลงไปด้วย และยังหมายรวมถึงสิ่งพิมพ์ประเภทวิเคราะห์ข่าว และสถานการณ์ เศรษฐกิจ การเมือง - วารสารปริทัศน์ (Review) คือ วารสารท่ีเผยแพร่บทความทางวิชาการท่ีประมวลความรู้จากแหล่งต่างๆ โดยมีการวิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานของผู้อ่ืน พร้อมทั้งสอดแทรกความคิดของตนเองลงไป เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในเรื่องราวเหล่านั้นดีย่ิงขึ้นและเป็นแนวทางการศึกษาค้นคว้าต่อไป

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 22: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

22

2. การจ าแนกตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานท่ีผลิต เป็น 3 ประเภท - วารสารขององค์กร หรือสมาคมวิชาการ วิชาชีพ เป็นวารสารท่ีเสนอเรื่องราวความรู้ท่ีเก่ียวกับองค์การหรือวิชาการ วิชาชีพ รวมทั้งอาจเผยแพร่กิจกรรมขององค์การได้ด้วย เช่น วารสารห้องสมุด ฯลฯ - วารสารเพื่อการค้า เป็นวารสารท่ีเผยแพร่โดยส านักพิมพ์เพ่ือวัตถุประสงค์ทางการค้า เป็นวารสารกลุ่มที่มีสัดส่วนมากท่ีสุดและมีเกือบทุกสาขาวิชา เช่น วารสารของส านักพิมพ์ Elesevier Science - วารสารประชาสัมพันธ์หน่ วยงาน เป็นวารสาร ท่ี มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหน่วยงานให้กับสังคมและลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ โดยจ าหน่ายในราคาย่อมเยา หรือแจกจ่ายโดยไม่คิดมูลค่าก็ได้

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 23: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

23

2. นิตยสาร (Magazine) หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเ น้ือหามุ่ ง เน้นเพื่ อความบันเ ทิง เป็นหลัก มักประกอบด้วย เกร็ดความรู้ ข่าวสาร เรื่องสั้น นวนิยายท่ีลงพิมพ์เป็นตอนๆ ภาพแฟชั่น และเรื่องเบ็ดเตล็ดอ่ืนๆ มักมีรูปเล่มและภาพประกอบสวยงาม ผู้จัดพิมพ์นิตยสารมักจัดพิมพ์เพื่อเจาะเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม เน้ือหาจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มเป้าหมาย

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 24: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

24

3 . หนั ง สื อ พิมพ์ (Newspaper) เ ป็ นทรั พยากรสารสนเทศท่ีให้ข่าวสาร เหตุการณ์ทั้งในและต่างประเทศ มีอิทธิพลต่อความคิดของประชาชน สังคมและวัฒนธรรมโดยรวม มีเน้ือหาหลากหลาย ซึ่งจ าแนกตามเน้ือหาได้ 3 ประเภท

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 25: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

25

3.1 หนังสือพิมพ์ข่าวทั่วไป มักประกอบด้วย ข่าวสาร การรายงานสถานการณ์ที่เกิดข้ึนประจ าวัน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง แบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท

หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณหรือประชานิยม

หนังสือพิมพ์เชิงวิเคราะห์

3.2 หนังสือพิมพ์ข่าวธุรกิจ เป็นหนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวสารเน้นหนักทางด้านธุรกิจการค้า การลงทุน

3.3 หนังสือพิมพ์ข่าวเฉพาะเร่ือง เป็นหนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวเน้นเฉพาะเร่ืองเพ่ือตอบสนองผู้อ่านที่สนใจเร่ืองใดเรื่องหน่ึงโดยเฉพาะ

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 26: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

26

รายงาน เป็นทรัพยากรสารสนเทศ ท่ีมี เ น้ือหาเฉพาะเจาะจงในเร่ืองใดเร่ืองหน่ึง ซึ่งให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อกลุ่มคนในสาขาวิชาต่างๆ แบ่งออกเป็น

1. รายงานการประชุมทางวิชาการ คือ เอกสารบันทึกความรู้ เ ร่ืองราว ข้อมูล ความคิดเห็น ข้อสรุป หรือข้อเสนอแนะของนักวิชาการที่เข้าร่วมประชุม อาจเป็นความรู้เฉพาะแขนง ความรู้ใหม่ แนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีคุณค่าทางวิชาการที่เป็นผลมาจากการศึกษา แสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมประชุม

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 27: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

27

2. รายงานการวิจัย คือ สิ่งพิมพ์ที่บันทึกกระบวนการศึกษาค้นคว้า ข้อเท็จจริงตามหลักวิชาการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ แบ่งตามประเภทผู้ด าเนินการได้ 2 ประเภท ได้แก่

- รายงานการวิจัยของสถาบัน องค์การ หมายถึง งานวิจัยที่จัดท าโดยหน่วยงาน หรือหน่วยงานมอบหมายให้คณะบุคคลหรือบุคคลท าวิจัยในนามของหน่วยงาน

- รายงานการวิจัยส่วนบุคคล หมายถึง งานวิจัยที่ด าเนินงานโดยบุคคล หรือกลุ่มบุคคล และยังหมายรวมถึงงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา มักมีชื่อเรยีกว่า วิทยานิพนธ์ ปรญิญานพินธ์ สารนิพนธ์ ภาคนิพนธ ์

3. รายงานทางวชิาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการศึกษา วเิคราะห์ หรือเป็นการวบรวมสารสนเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ ง มี เนื้อหาค่อนข้างเฉพาะเจาะจง สามารถใช้อ้างอิงทางวิชาการได้ เนื่องจากส่วนใหญ่มักออกโดยหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับรายงานทางวชิาการนั้นๆ

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 28: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

28

สิ่งพิมพ์อื่นๆ 1. จุลสาร (Pamphlet) หมายถึง สิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก เล่มบาง การพิมพ์และ

รูปแบบการเย็บเล่มไม่ยุ่งยาก เนื่องจากเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น ไม่มีวาระการพิมพ์เผยแพร่ที่แน่นอน

2. สิทธิบัตร (Patent) หรือเอกสารสิทธิบัตร คือ เอกสารจดทะเบียนสิ่งประดิษฐ์เพื่อแสดงกรรมสิทธิ์หรือหนังสือส าคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ สาระส าคัญของเอกสารสิทธิบัตรมี 3 ส่วน คือ 1) รายละเอียดทางบรรณานุกรมของเอกสารสิทธิบัตร 2) รายละเอียดของการประดิษฐ์เป็นส่วนค าอธิบายลักษณะ จุดมุ่งหมายของการประดิษฐ์ และ 3) ข้อถือสิทธิ์เป็นข้อความที่บอกลักษณะสิ่งประดิษฐ์ที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรต้องการขอความคุ้มครอง ปัจจุบันสิทธิบัตรมักท าในรูปแบบฐานข้อมูล เพื่อความสะดวกในการเข้าถึง

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 29: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

29

สิ่งพมิพ์อื่นๆ 3. มาตรฐาน (Standard) คือ เอกสารที่จัดท าขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักหรือเกณฑ์ก าหนดคุณภาพหรือปริมาณของผลิตภัณฑ์เพื่อจะท าให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ก าหนดหรือไม่ จัดท าขึ้นโดยขอความเห็นชอบขององค์กรที่ได้รับการรับรอง จึงสามารถน าไปใช้อ้างอิงทางการค้าและทางกฎหมายได้

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

Page 30: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

30

สื่อโสตทัศน์ หมายถึง วัสดุที่ไม่ตีพิมพ์ มีลักษณะเป็นภาพและเสียงที่ช่วยในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ให้เข้าใจได้อย่างรวดเร็วและจดจ าได้นาน แบ่งออกเป็น 1. สื่อโสตทัศน์ประเภทภาพ 1.1 ภาพยนตร์ คือ ภาพที่ถ่ายติดต่อกันลงบนแผ่นฟิล์มอย่างน้อย 16 ภาพต่อวินาที 1.2 วดีิทัศน์ คอื ภาพเคลื่อนไหวและเสียงที่บันทึกลงบนวีดิทัศน์ สามารถลบและบันทึกใหม่ได้

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อโสตทัศน ์

Page 31: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

31

1.3 สไลด์ คือ ภาพนิ่งที่บันทึกอยู่บนวัสดุโปร่งแสง ภาพแต่ละภาพแยกออกจากกัน

1.4 วัสดุย่อส่วน คือ ทรัพยากรสารสนเทศที่ได้จากการถ่ายส าเนาย่อส่วนหนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ลงบนฟิล์มและต้องใช้เครื่องอ่านวัสดุย่อส่วนนั้นๆ ในการอ่าน เช่น ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช ไมโครแจ็กเก็ต ฯลฯ

1.5 ซีดี เป็นสื่อที่จัดประเภทอยู่ในสื่อจานแสงหรือสื่อออปติก บันทึกและอ่านข้อมูลเป็นสัญญาณดิจิทัลด้วยแสงเลเซอร์ มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกกลมแบน ผลิตจากพลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนต เคลือบผิวด้วยอะลูมิเนียมและฉาบด้วยแล็กเกอร์ สามารถบันทึกและแสดงผลได้ทั้งอักขระ ภาพและเสียง

1.6 แผ่นดิจิทัลเอนกประสงค์ หรือดีวีดี มีขนาดและลักษณะทางกายภาพเหมือนกับซีดี แต่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อโสตทัศน ์

Page 32: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

32

2. สื่อโสตประเภทเสียง

2.1 แถบบันทึกเสียง มีลักษณะเป็นแถบบางยาว ท าด้วยอะซีเตทหรือ โพลีเอสเตอร์หรือพลาสติก

2.2 แผ่นเสียง ท าจากพลาสติกหรือไวนิล บันทึกสัญญาณเสียงได้หน้าเดียวหรือสองหน้าก็ได้ มักใช้เพื่อความบันเทิงเป็นส่วนใหญ่

2.3 ซีดีเสยีง นิยมใช้บันทึกเสียง สามารถบันทึกเสียงในระบบดิจิทัลที่ได้รับความนยิมอย่างแพร่หลาย

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อโสตทัศน ์

Page 33: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

33

3. สื่อโสตประเภทวัสดุกราฟิก หุ่นจ าลองและของจริง 3.1 วัสดุกราฟิก หมายถึง สื่อที่แสดงเนื้อหาความรู้ในลักษณะลายเส้น เช่น ภาพวาด สัญลักษณ์ แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังน้ี - แผนภูมิ เป็นวัสดุกราฟิกที่สามารถแสดงความสัมพันธ์ ความเกี่ยวโยงต่อเนื่องของสิ่งต่างๆได้ดี สามารถท าได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม - แผนสถติิ เป็นวัสดุกราฟิกที่แสดงการเปรียบเทียบข้อมูลตัวเลข ช่วยให้เกิดความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว - รูปภาพ มีหลายลักษณะ เช่น ภาพพิมพ์ ภาพเขียน - แผ่นโปร่งใส คอื ภาพที่เกิดจากการวาด การเขียน หรือการถ่ายภาพส าเนาลงบนแผ่น - วัสดุแผนที่ คือ วัสดุกราฟิกที่แสดงให้เห็นรูปร่างลักษณะภูมิประเทศของโลก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แผนที่ และลูกโลก

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อโสตทัศน ์

Page 34: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

34

3.2 หุ่นจ าลอง หมายถึง วัสดุที่ย่อหรือขยายขนาดจากของจริงเพื่อให้สามารถน ามาศกึษาได้สะดวกขึ้น ม ี3 ลักษณะ ดังนี ้ - หุ่นจ าลองภายนอก มักท าให้มีลักษณะเหมือนของจริงทั้งสีและลักษณะภายนอก มทีั้งแบบเท่าของจริง ขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น และย่อขนาดให้เล็กลง - หุ่นจ าลองแสดงลักษณะภายใน เป็นการจ าลองจากของจริงที่ไม่สามารถมองเห็นภาพภายในได้ มแีบบผ่าซีก แยกส่วน และแบบเคลื่อนไหว - หุ่นจ าลองเลียนแบบของจริง เป็นหุ่นจ าลองที่สามารถแสดงความจริงของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเลอืกเอกเฉพาะที่ส าคัญมาจ าลอง

3.3 ของจริง แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ - ของจริงที่ไม่แปรสภาพ หมายถึง ของจริงที่คงสภาพตามธรรมชาตเิอาไว้ไม่มกีารท าให้ลักษณะทางกายภาพเปลี่ยนแปลงไป - ของจริงที่แปรสภาพ หมายถึง ของจริงที่มีการเปลี่ยนแปลงจากลักษณะเดมิเพ่ือใช้ประโยชน์ในการศกึษาและการเก็บรักษา

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อโสตทัศน ์

Page 35: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

35

สารสนเทศที่บันทึกในอิ เล็กทรอนิกส์ เ รียก ว่า ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หรือทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล ใช้ค้นหาสารสนเทศท่ีต้องการได้อย่างสะดวก สามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีข้อจ ากัดเร่ือง ระยะทาง ค้นได้ตลอดเวลา และสามารถแสดงผลข้อมูลได้ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์แบ่งออกเป็น ทรั พยากรสารสน เทศ อ้ า ง อิ ง อิ เ ล็ กทรอนิ ก ส์ หนั ง สื ออิเล็กทรอนิกส์ วารสารและหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์อ่ืนๆ

ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส ์

Page 36: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

36

ทรัพยากรสารสนเทศอ้างอิงอิเล็กทรอนกิส์

ทรัพยากรสารสนเทศอ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์เป็นทรัพยากรสารสนเทศรูปแบบใหม่ของหนังสืออ้างอิง ซึ่งคงเนื้อหาสาระหลักของหนังสืออ้างอิงไว้อย่างครบถ้วน และมีการผสมผสานคุณลักษณะของส่ืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมด้วย ในส่วนขององค์กรสารสนเทศจ านวนมากได้เปล่ียนไปจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้บริการแทนหนังสืออ้างอิงฉบับพิมพ์ ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศอ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ท่ีเผยแพร่จ าแนกได้ ดังนี้

Page 37: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

37

พจนานุกรมอเิล็กทรอนิกส ์

พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นพจนานุกรมท่ีแต่เดิมเผยแพร่ ในรูปหนั ง สือ อ้าง อิง ต่อมาผู้ ผ ลิตไ ด้ผลิต เป็น ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้รับความนิยมมาก เนื่องจากสามารถค้นหาความหมายของค าท่ีต้องการได้อย่างรวดเร็ว มีทั้งท่ีคิดค่าใช้บริการและให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเช่น 1. Oxford English Dictionary ซึ่งเดิมผลิตพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ท่ีเป็นซีดี-รอม และเป็นฐานข้อมูลที่ค้นคืนโดยระบบออนไลน์ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทางเว็บไซต์ให้ผู้ใช้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม แต่ปัจจุบันผลิตเฉพาะท่ีเป็นฐานข้อมูลเท่านั้น (http://www.oed.com)

Page 38: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

38

พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส ์

2. Thai-English Electronic Dictionary LEXiTRON version 2009 ผลิตโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (http://lexitron.nectec.or.th/2009_1)

Page 39: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

39

สารานุกรมอิเล็กทรอนกิส์

สารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน

เพราะใช้ค้นหาสะดวก สามารถแสดงผลข้อมูลได้อย่างน่าสนใจโดยเฉพาะอย่ าง ย่ิ งสารานุกรมส าหรับ เด็กซึ่ ง มีทั้ งภาพ น่ิง ภาพเคล่ือนไหวและเสียงประกอบ ตัวอย่างเช่น 1. Wikipedia เป็นสารานุกรมออนไลน์ท่ีเกิดขึ้นในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เน้ือหาเกิดขึ้นจากากร่วมกันเขียนของอาสาสมัครผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก และเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขปรับปรุงเน้ือหาและควบคุมความถูกต้องของเน้ือหากันเอง วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ท่ีได้รับความนิยมและเป็นเว็บไซต์ท่ีมีผู้เข้าชมมากท่ีสุดเว็บหน่ึง

Page 40: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

40

สารานุกรมอิเล็กทรอนกิส์

1. Encyclopedia Britannica เป็นสารานุกรมท่ีเก่าแก่ท่ีสุด ปัจจุบันมีทั้งรูปแบบหนังสืออ้างอิง ดีวีดี และฐานข้อมูลท่ีค้นคืนโดยระบบออนไลน์ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทางเว็บไซต์ให้ผู้ใช้เลือกใช้โดยคิดค่าบริการ (http://www.britannica.com/)

Page 41: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

41

บรรณานุกรม ดรรชนีและสาระสังเขปอิเล็กทรอนิกส์

บรรณานุกรม ดรรชนีและสาระสังเขปอิเล็กทรอนิกส์ เนื้อหาของฐานข้อมูลมีทั้งที่ครอบคลุมเรื่องกว้างไปจนถึงเรื่องที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น 1. Education Resources Information Center-ERIC เป็นฐานข้อมูลครอบคลุมเน้ือหาทางด้านการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก 2. PubMed เป็นฐานข้อมูลครอบคลุมเน้ือหาทางด้านการแพทย์ รวมทั้งด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งบรรณานุกรมบางรายการสามารถเช่ือมโยงไปยังผู้ผลิตเพ่ือเรียกดูเน้ือหาฉบับสมบูรณ์ได้ด้วย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Page 42: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

42

บรรณานกุรม ดรรชนีและสาระสังเขปอเิล็กทรอนิกส์

3. บรรณานุกรมรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ เป็นฐานข้อมูลรวบรวมบรรณานุกรมรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ไทยจัดเรียงตามล าดับอักษรหัวเร่ืองและค าส าคัญ

Page 43: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

43

นามานุกรมอิเล็กทรอนกิส์ นามานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมชื่อ รายละเอียดของบุคคล หน่วยงาน สถาบันการศึกษา ห้างร้าน ฯลฯ ส าหรับใช้ประโยชน์ในการค้นหาเพื่อตดิต่อสื่อสารหรือเพื่อกจิกรรมอื่น ตัวอย่างเช่น 1. นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย ใช้ส าหรับค้นหาข้อมูลของส่วนราชการไทยรวมทั้งองค์กรอิสระ 2. Thailand yellow pages เป็นสมุดโทรศัพท์อิเล็กทรอนิกส์ส าหรับใช้ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ของสนิค้าและบรกิารต่างๆ ในประเทศ

Page 44: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

44

อักขรานุกรมชีวประวัติอิเล็กทรอนิกส์

อักขรานุกรมชีวประวัติอิเล็กทรอนิกส์ เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมเรื่องราวของบุคคลส าคัญโดยให้ข้อมูลประวัติส่วนตัวเกี่ยวกับ วันเกิด วันตาย วุฒิการศึกษา ที่อยู่ และรายละเอียดอื่นๆ ตัวอย่างเช่น 1. Marquis Who’s Who เป็นอักขรานุกรมชีวประวัติที่มีชื่อเสียง ซึ่งรวบรวมประวัติโดยย่อของบุคคลส าคัญในด้านต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา 2. Who’s Who in Thailand รวบรวมประวัติอย่างย่อของบุคคลที่มีชื่อเสยีงของไทยที่ยังมีชวีติอยู่

Page 45: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

45

หนังสอือิเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบันหนังสือมิได้จ ากัดอยู่ในรูปเล่มฉบับพิมพ์ที่เป็นกระดาษเท่านั้น หากแต่มีวิวัฒนาการเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-book ซึ่งบันทึกอยู่ในสื่อบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการอ่าน ปัจจุบันเนื้อหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชามากขึ้น

Page 46: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

46

วารสารอิเล็กทรอนิกส์

วารสารอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-journal เกิดจากแรงผลักดันของกลุ่มนักวิชาการที่ต้องการเผยแพร่ผลงานและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ในปัจจุบันวารสารอิเล็กทรอนิกส์มี 2 ประเภท คือ 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มี 2 รูปแบบควบคู่กันทั้งวารสารฉบับพิมพ์และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีฉบับพิมพ์ ส าหรับหนังสือพิมพ์ก็ เช่นกันผู้ผลิตได้จัดท าหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์เผยแพร่ทางเว็บไซต์อีกรูปแบบหน่ึง ส่วนใหญ่มักให้บริการฟรี

Page 47: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

47

ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์อ่ืนๆ

1. รายงานการวิจัย เป็นฐานข้อมูลท่ีมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยแก่นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไปและยังเป็นแหล่งรวมรายงานการวิจัยท าให้ผู้ใช้เข้าถึงงานวิจัยได้สะดวกข้ึน

2. สิทธิบัตร เอกสารสิทธิบัตรเป็นทรัพยากรสารสนเทศท่ีมีความส าคัญและจ านวนของเอกสารสิทธิบัตรทั่วโลกเพิ่มขึ้นตลอดเวลาตามจ านวนผู้ท่ีย่ืนขอจดสิทธิบัตร การเข้าถึงท าได้ยาก สิทธิบัตรอิเล็กทรอนิกส์จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาในการเข้าถึงได้

3. มาตรฐาน ปัจจุบันประชาชนทั่วโลกให้ความส าคัญกับมาตรฐาน เพราะเป็นหลักหรือเกณฑ์ก าหนดคุณภาพหรือปริมาณของผลิตภัณฑ์เพ่ือจะท าให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ท่ีก าหนดหรือไม่ นอกจากน้ียังสามารถน าไปใช้อ้างอิงทางการค้าและกฎหมายได้ด้วย

Page 48: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

48

ทรัพยากรสารสนเทศจ าแนกตามการใหบ้ริการ

1. ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการยืมคืน หนังสือทั่วไป หนังสือส ารอง สื่อโสตทัศน์

Page 49: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

49

ทรัพยากรสารสนเทศจ าแนกตามการใหบ้ริการ

2. ทรัพยากรสารสนเทศท่ีจ ากัดการใช้ภายในองค์การสารสนเทศ

หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ หนังสือหายาก วิทยานิพนธ ์หนังสือขนาดใหญ่

Page 50: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

50

ทรัพยากรสารสนเทศจ าแนกตามการใหบ้ริการ

3. ทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องใช้อุปกรณ์ สื่อโสตทัศน ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์

Page 51: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

51

ทรัพยากรสารสนเทศจ าแนกตามพันธกจิ

1. ทรัพยากรสารสนเทศที่เก่ียวกับหน่วยงานต้นสังกัด เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ มี เ น้ื อหา เ ก่ียวกับหน่วยงานต้นสังกัดโดยตรง เช่น

สารสนเทศจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย ของส านักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จดหมายเหตุธนาคารแห่งประเทศไทย ของหอสมุดและจดหมายเหตุ ธนาคารแห่งประเทศไทย ทรัพยากรสารสนเทศการศึกษาทางไกล ของส านักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Page 52: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

52

ทรัพยากรสารสนเทศจ าแนกตามพันธกจิ

2. ทรัพยากรสารสนเทศท่ีเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต้นสังกัด

เป็นทรัพยากรสารสนเทศท่ีแม้มิได้มีเน้ือหาเป็นเน้ือเรื่องของ

หน่วยงานต้นสังกัดขององค์การสารสนเทศโดยตรง แต่มีความเก่ียวข้อง มักสะท้อนพันธกิจของหน่วยงานต้นสังกัดท่ีมีความแตกต่างกันไป เช่น

ห้องสมุดโน้ตเพลงส าหรับวงดนตรี ของห้องสมุดดนตรี อีสานสารสนเทศ ของส านักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข ของห้องสมุดสตางค์ มงคงสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Page 53: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น ...human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP to PDF/57 PDF...เสร มสร างระบบการศ กษา

53

เอกสารอ้างอิง

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources Development) หน่วยท่ี 1-8. (พิมพ์ครั้งท่ี 3). นนทบุรี : สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.