ตามรอย “พระราชดำริ” ต่อยอด ......การใช ว...

6
ตามรอย “พระราชดำริ” ต่อยอดนวัตกรรม แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมภาคอุตสาหกรรม ตลอดรัชสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอย่างต่อเนื่องยาวนาน ด้วย พระวิริยอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหนึ่งเดียวคือ “ประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ทรงคิดค้น แนวคิด ทฤษฎี เพื่อเป็นแนวทางใน การดำเนินชีวิตให้กับพสกนิกรชาวไทย ทรงประดิษฐ์ คิดค้น พัฒนา ต่อยอดเทคโนโลยีราคาย่อมเยา แต่สร้างคุณประโยชน์กว้างขวาง ทรงเป็น แบบอย่างในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้วยการใช้เทคโนโลยีเอาชนะธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่อง ดินและน้ำ จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตานานา อารยประเทศ

Upload: others

Post on 24-Mar-2021

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ตามรอย “พระราชดำริ” ต่อยอด ......การใช ว สด ป นผสมประมาณ 1-4 ต นต อไร การใช

Technology Promotion Mag.. December 2009-January 2010, Vol.36 No.208 ● 05

ตามรอย “พระราชดำริ” ต่อยอดนวัตกรรม

แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมภาคอุตสาหกรรม

ตลอดรัชสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอย่างต่อเนื่องยาวนาน ด้วย

พระวิริยอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหนึ่งเดียวคือ “ประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ทรงคิดค้น แนวคิด ทฤษฎี เพื่อเป็นแนวทางใน

การดำเนินชีวิตให้กับพสกนิกรชาวไทย ทรงประดิษฐ์ คิดค้น พัฒนา ต่อยอดเทคโนโลยีราคาย่อมเยา แต่สร้างคุณประโยชน์กว้างขวาง ทรงเป็น

แบบอย่างในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้วยการใช้เทคโนโลยีเอาชนะธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่อง ดินและน้ำ จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตานานา

อารยประเทศ

Page 2: ตามรอย “พระราชดำริ” ต่อยอด ......การใช ว สด ป นผสมประมาณ 1-4 ต นต อไร การใช

06 ● December 2009-January 2010, Vol.36 No.208 Technology Promotion Mag..

>>>

Technology

2009

Specia

l Scoop

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เสด็จฯ ทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการศูนย์พิกุลทองฯ

ได้พระราชทานพระราชดำรัสกับ น.ต.กำธน สินธวานนท์

องคมนตรี นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นายสุเมธ ตันติ-

เวชกุล เลขาธิการ กปร. และเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ดังนี้

“โครงการแกล้งดินนี้ เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่พูดมา 3

ปีแล้ว หรือ 4 ปีกว่าแล้ว ต้องการน้ำสำหรับมาให้ดินทำงาน

ดินทำงานแล้วดินจะหายโกรธ อันนี้ไม่มีใครเชื่อ แล้วก็มาทำ

ที่นี่ แล้วมันได้ผล ดังนั้น ผลงานของเราที่ทำที่นี่เป็นงาน

สำคัญที่สุด เชื่อว่าชาวต่างประเทศเขามาดูเราทำอย่างนี้แล้ว

เขาก็จะพอใจ เขามีปัญหาแล้วเขาก็ไม่ได้แก้ หาตำรา ไม่ได้...”

“...โครงการปรับปรุงดินเปรี้ยวควรดำเนินการต่อไปใน

แง่ของการศึกษาทดลอง และการขยายผลการทดลองต้องดู

อย่างนี้ ทิ้งดินเอาไว้ปีหนึ่งแล้วจะกลับเปลี่ยนหรือเปล่า เพราะ

ว่าความเปรี้ยวมันเป็นชั้นดิน ดินที่เป็นซัลเฟอร์ (sulfer) แล้วก็

ถ้าเราเปิดให้มีน้ำ อากาศลงไป ให้เป็นซัลเฟอร์ออกไซด์ ซึ่ง

ซัลเฟอร์ออกไซต์เอาน้ำเข้าไปอีกที ไปละลายซัลเฟอร์ออกไซด์

รูปที่ 1 บ่อกุ้งที่เสื่อมสภาพ กำลังปรับปรุงดิน

รูปที่ 2 สภาพดินเปรี้ยว

รูปที่ 3 ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน

รูปที่ 4 แปลงปาล์มหลังปรับปรุงดินเปรี้ยว บนพื้นที่นากุ้งเดิม

รูปที่ 5 อดีตพื้นที่ดินเปรี้ยว หลักปรับปรุงสามารถยกร่องปลูกผักได้

ก็กลายเป็นใส่ออกไซด์ลงไป ก็เป็นกรดซัลฟูริก (sulfuric) แต่

ถ้าสมมติว่า เราใส่อยู่ตลอดเวลา ชั้นดินที่เป็นซัลเฟอร์นั้น ถูก

กักไว้ไม่ให้โดนออกซิเจนแล้ว ตอนนี้ไม่เพิ่ม...ไม่เพิ่ม acid โดย

หลักการเป็นอย่างนี้ แต่หากว่าต่อไปในแปลงต่าง ๆ เพื่อการ

ทดลองอีก เมื่อได้แล้วทิ้งไว้มันจะกลับไปสู่สภาพเดิมหรือไม่

แล้วเมื่อความเป็นกรดเพิ่มขึ้นใหม่ จะพัฒนาให้กลับคืนมาสู่

สภาพนี้ได้ ต้องใช้เวลา อาจจะใช้เวลาสักปี ดูสภาพว่าปีไหน

ไม่ได้ใช้ ดินมันจะเสื่อมลงไปเท่าไร แล้วจะกลับคืนมาเร็ว

เท่าไร....”

“...งานทดลองนี้เป็นเหมือนตำรา ควรทำเป็นตำราที่

จะนำไปใช้ในพื้นที่ดินเปรี้ยวอื่น ๆ ในพื้นที่ดินเปรี้ยวอื่น ๆ

ในพื้นที่อื่นอาจจะไม่ต้องแบ่งเป็นแปลงย่อยเช่นนี้ คันดินที่

สร้างเพื่อกั้นน้ำอาจจะใช้คลองชลประทาน สร้างถนน สะพาน

การศึกษาจึงต้องทำแบบนี้...”

จากพระราชดำรัสดังกล่าว ก่อเกิดเป็นโครงการ

“แกล้งดิน” ในพื้นที่ทางภาคใต้ ซึ่งมีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด

ทำการเพาะปลูกไม่ได้ เนื่องจากมีกรดกำมะถัน อันเป็น

สาเหตุของดินเปรี้ยว วิธีการแก้ไขตามแนวพระราชดำริ คือ

การใช้กรรมวิธี “แกล้งดิน” คือ การทำดินให้เปรี้ยว ด้วยการ

ทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกัน เพื่อเริ่มปฏิกิริยาทางเคมี

ของดินให้มีความเป็นกรดจัดมากขึ้นจนถึงที่สุด จากนั้นจึงมี

การทดลองปรังปรุงดินเปรี้ยวโดยวิธีการต่าง ๆ กัน เช่น การ

ควบคุมระบบน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน

การใช้วัสดุปูนผสมประมาณ 1-4 ตันต่อไร่ การใช้น้ำชะล้าง

จนถึงการเลือกใช้พืช ที่จะเพาะปลูกในบริเวณนั้น และทำการ

ศึกษาวิเคราะห์ เพื่อหาวิธีปรับปรุงดินเปรี้ยวให้สามารถกลับ

มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ โครงการแกล้งดิน จึงนับว่าเป็น

โครงการที่มีความเป็นนวัตกรรมสูง ดังเห็นได้จากการประ-

สมประสานนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีควบคู่กับนวัตกรรมด้าน

1 2

3

5

4

ทรงเป็นปราชญ์

เรื่อง

Page 3: ตามรอย “พระราชดำริ” ต่อยอด ......การใช ว สด ป นผสมประมาณ 1-4 ต นต อไร การใช

December 2009-January 2010, Vol.36 No.208 ● 07Technology Promotion Mag..

>>>

Technology

2009

Specia

l Scoop

การบริหารจัดการ จนได้วิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาดิน

ในประเทศเขตร้อน ทั้งยังไม่มีที่ใดในโลกที่ใช้วิธีการดำเนินงาน

ในลักษณะดังกล่าว และนำมาทำเป็นตำราเผยแพร่ แสดงให้

เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในการเป็น “นวัตกร” อย่างแท้จริง ทั้งนี้ สำนักงานนวัตกรรม

แห่งชาติ (สนช.) จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต

เทิดพระเกียรติพระองค์ท่านเป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”

และถือเอาวันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันนวัตกรรมแห่งชาติ

ขับเคลื่อนนวัตกรรมของชาติ

สืบสานแนวทางพระราชดำริ

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ในฐานะองค์กรหลักใน

การส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการสร้างธุรกิจใหม่ หรือ “ธุรกิจ

นวัตกรรม” มีบทบาทในการเชื่อมโยง ส่งเสริม และพัฒนา

โครงการนวัตกรรมร่วมกัน ระหว่างผู้จัดโครงการของ สนช.

ผู้ประกอบการ และภาควิชาการ ทั้งนี้กระบวนการสร้างธุรกิจ

นวัตกรรมของ สนช.นั้น จะประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ 5

ประการ ได้แก่ การพัฒนา การสนับสนุน การติดตามผล

และประเมินผล การเผยแพร่ความสำเร็จ และการขยายผล

“ในความหมายของ คำว่า นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่

เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ที่มีประโยชน์

ต่อเศรษฐกิจและสังคม จากโครงการต่าง ๆ ของพระบาท-

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมุ่งแก้ไขปัญหาให้กับประเทศ ให้

กับประชาชน โดยเฉพาะด้านการเกษตร เช่น โครงการหลวง

พระองค์พยายามแก้ปัญหาการปลูกฝิ่น ด้วยการหาพืชเมือง

หนาวมาให้ประชาชนปลูกทดแทนเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว

กระทั่งวันนี้เกิดเกษตรกรรมยุคใหม่ ผลิตผักผลไม้เมืองหนาว

เป็นการสร้างเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งตรงกับการทำงานของ สนช.

คือ การส่งเสริมให้เกิดสิ่งใหม่ ที่มีระบบการบริหารจัดการ มี

การออกแบบเชิงสร้างสรรค์ เกิดเป็นผลงานที่เป็นประโยชน์

ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

หากพิจารณา และวิเคราะห์หลักการทรงงานของ

พระองค์ในฐานะองค์การที่ทำงานด้านนวัตกรรม จะพบว่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ

พสกนิกรชาวไทย ในเรื่องความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ ใฝ่รู้

อย่างต่อเนื่อง และลงมือทำจริง และทรงทำโครงการขนาด

เล็กก่อน หากเกิดผลดี ค่อยขยายผลต่อไปในวงกว้าง ทำให้

เกิดความยั่งยืน และต่อเนื่องยาวนาน” ดร.วันทนีย์ จองคำ

ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการนวัตกรรม กล่าว

ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมองโจทย์ของ

นวัตกรรม คือ การเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ

ประชาชน ส่วนสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จะมองนวัตกรรม

ในมุมบทบาทในเชิงเศรษฐกิจของประเทศ มุ่งส่งเสริมสนับ-

สนุน นวัตกรรมที่มีความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ การตลาด และ

ส่งต่อให้ภาคอุตสาหกรรมนำไปใช้

สิ่งที่ สนช. มองคือ รัฐได้ลงทุนสร้างองค์ความรู้ผ่าน

งานวิจัยและการพัฒนา ปีหนึ่ง ๆ หลายหมื่นล้านบาท ยังไม่

นับรวมภาคเอกชน แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการบริหารจัดการที่

จะทำให้เกิดการนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่หรือเกิด

ประโยชน์ในเชิงมหภาค เป็นหน้าที่ของ สนช. ที่จะส่งเสริม

สนับสนุน นำเทคโนโลยีฝีมือคนไทยที่เล็งเห็นว่ามีศักยภาพ

มาสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมได้นำไปใช้ ด้วยการสนับสนุน

ด้านเงินลงทุน และวิชาการ ในกลุ่มธุรกิจ 3 กลุ่มหลัก คือ

ธุรกิจชีวภาพ (bio-business) กลุ่มอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐ-

นิเวศ (eco-industry) และการออกแบบและแก้ปัญหา (design-

&solution)

สำหรับโครงการที่ สนช.ให้การสนับสนุนมูลนิธิ

โครงการหลวง มี 2 โครงการ คือ

1. ระบบการเพาะปลูกวานิลลา (vanilla production

system) เป็นนวัตกรรมระดับประเทศด้านผลิตภัณฑ์และ

กระบวนการผลิตฟักวานิลลาด้วยระบบโรงเรือน และการบ่ม-

ฟักให้เกิดกลิ่นวานิลลา โดยอาศัยเทคนิคการใช้ฮอร์โมนใน

ดร.วันทนีย์ จองคำ

Page 4: ตามรอย “พระราชดำริ” ต่อยอด ......การใช ว สด ป นผสมประมาณ 1-4 ต นต อไร การใช

08 ● December 2009-January 2010, Vol.36 No.208 Technology Promotion Mag..

>>>

Technology

2009

Specia

l Scoop

การกระตุ้นช่อดอกและเทคนิคการผสมเทียมเกสร ฝักที่ได้

รับการผสมจะใช้เวลา 9-12 เดือน จึงเก็บเกี่ยวได้ แล้วนำไป

ผ่านกระบวนการบ่มแบบเบอเบอร์นประยุกต์นานประมาณ

4-6 เดือน ทำให้ฝักวานิลามีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ

2. การผลิตเสาวรสในระบบฟาร์มโดยใช้พันธุ์สีม่วง

ปลอดโรคไวรัส (production of passion fruit (passiflora

edulis) from virus free stocks) เป็นนวัตกรรมกระบวนการ

ผลิตระดับโลก ด้านการใช้พันธุ์เสาวรสปลอดโรคไวรัส โดย

ใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากปลายยอดเจริญของแม่

พันธุ์ เสาวรสสีม่วงเบอร์ 2 แล้วนำไปเสียบยอดกับต้นตอที่

ได้จากการเพาะเมล็ดของเสาวรสพันธุ์สีเหลือง จะทำให้ต้นที่

ได้แข็งแรง และเจริญเติบโตได้เร็ว อัตราปลอดโรคสูง

เป็นที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไปว่า พระบาทสมเด็จ-

พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นปราชญ์ในเรื่องน้ำของแผ่นดินอย่าง

แท้จริง งานพัฒนาที่สำคัญยิ่งของพระองค์ คือ งานที่

เกี่ยวข้องกับน้ำ ศาสตร์ทั้งปวงที่เกี่ยวกับน้ำไม่ว่าจะเป็นการ

พัฒนาและจัดหาแหล่งน้ำ การเก็บกัก การระบาย การ

ควบคุม การทำน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ตลอดจนการแก้ไขปัญหา

น้ำท่วมนั้น ย่อมประจักษ์ชัดและได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า

พระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถของพระองค์นั้น

หาผู้เสมอเหมือนได้ยากยิ่ง

ทรงแนะนำให้ใช้หลักการแก้ไขด้วยวิธีง่าย ๆ คือ ใช้

ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ ยกตัวอย่าง “ไตธรรมชาติ” ของ

กรุงเทพมหานคร ที่บึงมักกะสัน ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ

แนวความคิดในเรื่องการบำบัดน้ำเสียของพระบาทสมเด็จ-

พระเจ้าอยู่หัว โดยได้ทรงวางแนวพระราชดำริพระราชทาน

ไว้ว่า เมืองใหญ่ทุกแห่งต้องมี ปอด คือ สวนสาธารณะไว้

หายใจ หรือฟอกอากาศ ในขณะเดียวกันก็ควรมีแหล่งน้ำไว้

สำหรับกลั่นกรองสิ่งโสโครกเน่าเสีย ทำหน้าที่เสมือนเป็น

ไตธรรมชาติ จึงได้ทรงใช้ บึงมักกะสัน เป็นแหล่งน้ำที่รองรับ

น้ำเสียจากชุมชนในเขตปริมณฑลและในกรุงเทพมหานคร

โดยทรงเปรียบเทียบว่า บึงมักกะสัน เป็นเสมือนดัง ไตธรรม-

ชาติ ของกรุงเทพมหานคร ที่เก็บกักและฟอกน้ำเสีย ตลอดจน

เป็นแหล่งเก็บกักและระบายน้ำในฤดูฝน และที่บึงแห่งนี้เอง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้มีการทดลองใช้

ผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชที่ต้องการกำจัดอยู่แล้วมาช่วยดูดซับ

ความสกปรก ปนเปื้อน รวมตลอดทั้งสารพิษต่าง ๆ จากน้ำ-

เน่าเสีย ประกอบเข้ากับเครื่องกลบำบัดน้ำเสียแบบต่าง ๆ ที่ ได้

ทรงคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นเอง โดยเน้นวิธีการที่เรียบง่ายประหยัด

และไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนในพื้นที่นั้น

มีพระราชกระแสในเรื่องนี้ว่า “...สวนสาธารณะ ถือว่าเป็น

ปอด แต่นี่ (บึงมักกะสัน) เป็นเสมือนไตฟอกเลือด ถ้าไต

ทำงานไม่มีเราก็ตาย อยากให้เข้าใจหลักการของความคิดนี้...”

บึงมักกะสันในปัจจุบันได้ทำหน้าที่ ไตธรรมชาติ ของ

กรุงเทพมหานครอย่างมีประสิทธิภาพ ได้มีส่วนช่วยบรรเทา

มลพิษทางน้ำ และเป็นแหล่งศึกษาทดลองด้านการแก้ไข

ปัญหาสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมอาชีพ และการนำของเสีย

มาใช้ให้ก่อประโยชน์ได้อย่างยิ่ง

ทรงเป็นปราชญ์

เรื่อง

น้ำ

Page 5: ตามรอย “พระราชดำริ” ต่อยอด ......การใช ว สด ป นผสมประมาณ 1-4 ต นต อไร การใช

December 2009-January 2010, Vol.36 No.208 ● 09Technology Promotion Mag..

>>>

Technology

2009

Specia

l Scoop

นวัตกรรม “บึงประดิษฐ์” (wetland)

บำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ

บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) เป็น

บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้นำนวัตกรรมการบำบัด

น้ำเสียโดยใช้พืช มาใช้ในการบริหารจัดการน้ำเสียภายใน

นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดจากโครงการบึง

ประดิษฐ์ต้นแบบมีที่มาจากพระอัจฉริยภาพของพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

คุณวิวัฒน์ จิรัฐติกาลสกุล รองกรรมการผู้จัดการ

บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เหม-

ราชฯ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เริ่มศึกษา

และทดลองระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการ

วิจัยต่อยอดจากโครงการพระราชดำริมาตั้งแต่ พ.ศ.2544

ทั้งนี้ เหมราชฯ ถือเป็นผู้นำในการนำโครงการบำบัดน้ำเสีย

แบบ “บึงประดิษฐ์” มาประยุกต์ใช้กับระบบบำบัดน้ำเสีย

ขนาดใหญ่ ณ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)

โดยมีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง มีการศึกษา ค้นคว้า ถึง

ข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการนำระบบมาปรับใช้ให้เหมาะกับการ

ดำเนินงานในนิคมอุตสาหกรรม จากการทดลองทั้งในระดับ

ห้องปฏิบัติการ (laboratory–scale) และในระดับโครงการ

นำร่อง (pilotscale) พบว่า ประสิทธิภาพในการบำบัดค่อน-

ข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดแบบสารอินทรีย์ ไนโตรเจน

และของแข็งแขวนลอย ซึ่งสามารถบำบัดได้มากกว่า 80

เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ระบบบำบัดน้ำเสียจากบึงประดิษฐ์ เป็น

ระบบที่ไม่ยุ่งยากต่อการดูแล และบำรุงรักษา เนื่องจากเป็น

ระบบที่อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก มีประสิทธิภาพดี และ

ประหยัดพลังงาน ส่วนน้ำที่ผ่านการบำบัดสามารถนำกลับ

มาใช้รดต้นไม้ และกลับมาใช้ในโรงงานได้อีกครั้ง

ประโยชน์โดยตรงนอกจากการลดมลพิษทางน้ำแล้ว

ยังสามารถลดปริมาณสารอินทรีย์และของแข็งแขวนลอยได้

อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมช่วยลดภาวะเรือนกระจก สิ่ง

เหล่านี้ก่อให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ และสภาพ

แวดล้อม อีกทั้งสามารถใช้เป็นแหล่งศึกษาทางธรรมชาติ

และแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ

ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

นอกเหนือจากการพัฒนาที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม

และจัดหาระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก

รองรับความต้องการของผู้ประกอบการอย่างเพียงพอแล้ว

นิคมอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีระบบจัดการสิ่งแวดล้อมและ

ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งทางเหมราชฯ ได้ให้

ความสำคัญและมีนโยบายส่งเสริมมาโดยตลอด

การจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวด-

ล้อม เพื่อควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในนิคมอุตสาหกรรม

3 แห่ง ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซี-

บอร์ด นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรม

อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ซึ่งเป็นคลัสเตอร์รถยนต์ที่สำคัญ

ของประเทศ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการประสานความร่วมมือ

ระหว่างภาครัฐและเอกชนในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการ

กำกับการดูแลสิ่งแวดล้อมภายในเขตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ

การจัดการน้ำทิ้ง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และที่สำคัญ

ศูนย์ฯ แห่งนี้เปิดโอกาสให้ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้า

มามีส่วนร่วมตรวจสอบ และติดตามผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

ซึ่งเป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาความคาดเคลื่อน

ด้านข้อมูลระหว่างภาคอุตสาหกรรมและชุมชน ส่งผลให้ทั้ง

สองฝ่ายสามารถปรับตัวเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

Page 6: ตามรอย “พระราชดำริ” ต่อยอด ......การใช ว สด ป นผสมประมาณ 1-4 ต นต อไร การใช

010 ● December 2009-January 2010, Vol.36 No.208 Technology Promotion Mag..

>>>

Technology

2009

Specia

l Scoop

ศูนย์ฯแห่งนี้มีหน้าที่หลัก4ด้าน คือ

1. ตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบเรียลไทม์ (WQMS) โดย

การวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าความสกปรก (BOD)

และค่าของสารละลายในน้ำ (TDS) ในบ่อบำบัดน้ำทิ้งภายใน

นิคมฯ ก่อนนำกลับไปใช้ซ้ำภายในนิคมฯ หรือปล่อยสู่แหล่ง

น้ำสาธารณะ หากพบว่ามีค่าใดที่ไม่ได้มาตรฐาน ระบบจะ

ส่ง SMS เตือนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทันที เพื่อการแก้ไขอย่าง

ทันท่วงที นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลเพื่อตรวจสอบ

ข้อมูลย้อนหลังได้อีกด้วย

2. แสดงค่าผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้าน

อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพอากาศ อาทิ ปริมาณสารซัล-

เฟอร์ไดออกไซด์ (SOx) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOx) ค่าฝุ่น

ละอองรวม (TSP) คุณภาพทางเสียง และคุณภาพของน้ำ

ผิวดินในบริเวณที่เชื่อมต่อกับจุดปล่อยน้ำของนิคม

3. แสดงรายชื่อโรงงานที่ต้องปฏิบัติและดำเนินการ

ตามหลักกฎหมายต่างๆ อาทิ คุณภาพอากาศจากปล่อง การ

จัดทำระบบบำบัดน้ำทิ้ง การปฏิบัติตามมาตรการ EIA การ

วิเคราะห์ความเสี่ยง การตรวจสอบหม้อไอน้ำและหม้อต้ม

เป็นต้น การแสดงชื่อดังกล่าวทำให้การนิคมอุตสาหกรรมรับรู้

และติดตามผลกับทางโรงงานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ

ยิ่งขึ้น

4. เปิดรับเรื่องร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้ที่

ต้องการร้องเรียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมสามารถโทรศัพท์แจ้ง

มาที่เบอร์ 0-3895-4543 หรือลงทะเบียนและแจ้งผ่านทาง

เว็บไซต์ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะแจ้งไปยังผู้รับผิดชอบและแสดงสถานะ

การดำเนินการให้รับรู้ด้วย เช่น อยู่ในระหว่างการดำเนินการ

หรือ ดำเนินการเสร็จแล้ว หากเรื่องที่ร้องเรียนเป็นเรื่องที่ไม่

เกี่ยวข้องกับทางเหมราชพัฒนาที่ดิน และการนิคมฯ เจ้าหน้าที่

ก็จะเป็นตัวกลางในการช่วยประสานงานไปยังผู้รับผิดชอบเพื่อ

ดำเนินการแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ศูนย์ฯ ดังกล่าวจะสื่อสารข้อมูล

ผ่านทางเว็บไซด์ www.hemaraj.com/envi อีกทางหนึ่งด้วย

ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่นิคมฯ

อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) นับเป็นศูนย์แห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นใน

นิคมอุตสาหกรรมภาคเอกชน ใช้งบประมาณในการจัดตั้ง

รวม 5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนนำเทคโนโลยีอัน

ทันสมัยมาใช้ในการบริหารข้อมูล และติดต่อสื่อสาร ระหว่าง

ภาครัฐ ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแล ผู้พัฒนานิคม โรงงานและผู้ประ-

กอบการในนิคม เพื่อการเฝ้าระวังเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างมี

ประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

1. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

2. บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน)

3. www.chaipat.or.th

โครงสร้างWebsite ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพ

สิ่งแวดล้อม

ฐานข้อมูล

การรับส่งรายงาน I-EA-T report

การประชา-สัมพันธ์

และเผยแพร่ข้อมูล

การรับเรื่อง

ร้องเรียน

หน่วยรับร้องเรียน (ทางโทรศัพท์)

ฐานข้อมูลโรงงานและ นิคมอุตสาหกรรม

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

WEBSITE อัตโนมัติ

ผู้ประกอบการ

รับเรื่องร้องเรียน I-EA-T report

ผลการตรวจวัดด้าน สิ่งแวดล้อมตาม EIA

pH TDS BOD

ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

(Environmental Monitoring & Control Center)