สังคมศึกษา ศาสนา...

9
ชั้นประถมศึกษาปีท่ ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สงวนลิขสิทธิสำ�นักพิมพ์ บริษัทพัฒน�คุณภ�พวิช�ก�ร (พว.) จำ�กัด พ.ศ. ๒๕๕๕ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ๗๐๑ ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๓-๘๐๐๐ (อัตโนมัติ ๑๕ ส�ย), ๐-๒๒๔๓-๑๘๐๕ แฟกซ์ : ทุกหม�ยเลข, แฟกซ์อัตโนมัติ : ๐-๒๒๔๑-๔๑๓๑, ๐-๒๒๔๓-๗๖๖๖ website : www.iadth.com ผู้เรียบเรียง ผู้ช่วยศาสตราจารย์กวี วรกวิน รองศาสตราจารย์บุษบา คุณาศิรินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วรพิทย์ มีมาก ผู้ตรวจ ดร.กร่าง ไพรวรรณ อาจารย์สมพงษ์ พละสูรย์ อาจารย์สายัณห์ พละสูรย์ บรรณาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติมา สังข์เกษม

Upload: others

Post on 12-Jan-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม๓academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1002549...หน วยการเร ยนร ท

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน

สงวนลิขสิทธิ์

สำ�นักพิมพ์ บริษัทพัฒน�คุณภ�พวิช�ก�ร (พว.) จำ�กัด

พ.ศ. ๒๕๕๕

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

๗๐๑ ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐

โทร. ๐-๒๒๔๓-๘๐๐๐ (อัตโนมัติ ๑๕ ส�ย), ๐-๒๒๔๓-๑๘๐๕

แฟกซ์ : ทุกหม�ยเลข, แฟกซ์อัตโนมัติ : ๐-๒๒๔๑-๔๑๓๑, ๐-๒๒๔๓-๗๖๖๖

website : www.iadth.com

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ป.๓ผู้เรียบเรียง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์กวี วรกวิน

รองศาสตราจารย์บุษบา คุณาศิรินทร์

รองศาสตราจารย์ ดร.วรพิทย์ มีมาก

ผู้ตรวจ

ดร.กร่าง ไพรวรรณ

อาจารย์สมพงษ์ พละสูรย์

อาจารย์สายัณห์ พละสูรย์

บรรณาธิการ

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติมา สังข์เกษม

Page 2: สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม๓academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1002549...หน วยการเร ยนร ท

หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ

วัฒนธรรม ได้จัดทำาขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในระดับชั้นประถม-

ศึกษาปีที่ ๓ โดยคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในแต่ละสาระ

ซึ่งมีเนื้อหาครบถ้วนตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำาหนดใน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มีการ

นำาเสนอเนื้อหาที่เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน ข้อมูลที่ทันสมัยและ

ใช้ภาพประกอบที่สวยงาม เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิด

กระบวนการคิดและเกิดความสนใจศึกษาเพิ่มเติม

ในหนังสือเรียนจะมีองค์ประกอบดังนี้ ผังสาระการเรียนรู้ สาระ

สำาคัญ เนื้อหาและข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ข้อมูลด้านอาชีพที่น่ารู้ เว็บไซต์

แนะนำา ความรู้เพิ่มเติม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปลอดภัยไว้ก่อน

กิจกรรมการเรียนรู้ และคำาถามพัฒนากระบวนการคิด

คณาจารย์ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเรียนเล่มนี้จะเป็น

ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

คณะผู้จัดทำ�

สถ�บันพัฒน�คุณภ�พวิช�ก�ร(พว.)

คำ�นำ� หน้า

หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำาเนินชีวิตในสังคม ๕

หน่วยก�รเรียนรู้ที่๑ ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ๖

หน่วยก�รเรียนรู้ที่๒ วันสำ�คัญของไทย ๑๘

หน่วยก�รเรียนรู้ที่๓ บุคคลสำ�คัญของท้องถิ่น ๒๘

หน่วยก�รเรียนรู้ที่๔ ประช�ธิปไตยในชั้นเรียนโรงเรียน

และชุมชน ๓๖

หน่วยก�รเรียนรู้ที่๕ ก�รเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียนโรงเรียน

และชุมชน ๔๔

หน่วยก�รเรียนรู้ที่๖ คว�มหล�กหล�ยท�งวัฒนธรรม ๔๙

Page 3: สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม๓academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1002549...หน วยการเร ยนร ท

ภูมิศาสตร์ ๘๐

หน่วยการเรียนรู้ที่๑ แผนผังแผนที่และภาพถ่ายในชุมชน ๘๑

หน่วยการเรียนรู้ที่๒ ภูมิประเทศและภูมิอากาศที่มีผลต่อ

สภาพสังคมในชุมชน ๙๖

หน่วยการเรียนรู้ที่๓ สภาพแวดล้อมในชุมชน ๑๐๙

หน่วยการเรียนรู้ที่๔ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร-

ธรรมชาติ ๑๒๑

หน่วยการเรียนรู้ที่๕ เมืองและชนบท ๑๓๖

บรรณานุกรม ๑๔๔

หน้า

เศรษฐศาสตร์ ๕๕

หน่วยการเรียนรู้ที่๑ สินค้าและบริการในชีวิตประจำาวัน ๕๖

หน่วยการเรียนรู้ที่๒ การวางแผนใช้จ่ายเงิน ๖๒

หน่วยการเรียนรู้ที่๓ การบริหารจัดการทรัพยากร ๖๘

หน่วยการเรียนรู้ที่๔ ภาษีและการแข่งขันทางการค้า ๗๔

ส ๒.๑

ตัวชี้วัดข้อ ๑สรุปประโยชน์และปฏิบัติตนตามประเพณี

และวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น

ตัวชี้วัดข้อ ๒บอกพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตนเอง

และผู้อื่นที่อยู่ในกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลาย

ตัวชี้วัดข้อ ๓อธิบายความสำคัญของวันหยุดราชการที ่

สำคัญ

ตัวชี้วัดข้อ ๔ ยกตัวอย่างบุคคลซึ่งมีผลงานที่เป็นประโยชน์

แก่ชุมชนและท้องถิ่นของตน

ส ๒.๒

ตัวชี้วัดข้อ ๑ระบุบทบาทหน้าที่ของสมาชิกของชุมชนใน

การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ตาม

กระบวนการประชาธิปไตย

ตัวชี้วัดข้อ ๒วิเคราะห์ความแตกต่างของกระบวนการ

การตัดสินใจในชั้นเรียน โรงเรียน และชุมชน

โดยวิธีการออกเสียงโดยตรงและการเลือก

ตัวแทนออกเสียง

ตัวชี้วัดข้อ ๓ยกตัวอย่างการเปลี ่ยนแปลงในชั ้นเร ียน

โรงเรียน และชุมชนที่เป็นผลจากการตัดสินใจ

ของบุคคลและกลุ่ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ประเพณีและวัฒนธรรมไทย

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ วันสำคัญของไทย

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ บุคคลสำคัญของท้องถิ่น

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ประชาธิปไตยในชั้นเรียน โรงเรียน และชุมชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ประชาธิปไตยในชั้นเรียน โรงเรียน และชุมชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ การเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียน โรงเรียน

และชุมชน

หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคมผังสาระการเรียนรู้

หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

Page 4: สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม๓academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1002549...หน วยการเร ยนร ท

� �

๑.ความหมายของประเพณีและวัฒนธรรม

ประเพณี หมายถึง สิ่งดีงามที่ชุมชนประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา

จนกลายเป็นแบบแผนของวิถีชีวิตของบุคคลในชุมชน

วัฒนธรรม หมายถึง สิ่ งที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม

ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา

มีการปรับปรุงและพัฒนาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุคสมัย ดังนี้

● ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม เช่น ความสะอาด

ของบ้านเรือนและสถานที่สาธารณะ ศิลปะของชาติ

● ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น การแต่งกาย

มารยาทในการเข้าสังคม

● ลักษณะที่แสดงถึงศีลธรรมอันดีของประชาชน เช ่น

ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที

๒.ความสำคัญของประเพณีและวัฒนธรรมไทย

ประเพณีและวัฒนธรรมไทยมีความสำคัญต่อสังคมไทย ดังนี้

ประเพณีและวัฒนธรรมไทย

การรดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ เป็นการสร้างความรักความผูกพันในครอบครัว

๒.๑ สร้างความรักความผูกพันในครอบครัว เช ่น

วันสงกรานต์ ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม ่

ของไทย ลูกหลานที่ทำงานอยู่

ต ่างถิ ่นจะกลับบ้านไปรดน้ำ

ดำห ัวขอพรจากพ่อแม ่และ

ญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ เพื่อ

ความเป็นสิริมงคล

ประเพณีและวัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา แสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงาม และเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยที่ทุกคนควรร่วมกันอนุรักษ์และสืบทอดให้คงอยู่ต่อไป

ผังสาระการเรียนรู้

สาระสำคัญ

ประเพณี และวัฒนธรรมไทย

ประโยชน์ของการปฏิบัติตน

ตามประเพณีและวัฒนธรรมไทย

ประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัว

ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

ความสำคัญของประเพณีและวัฒนธรรมไทย

ความหมายของประเพณีและวัฒนธรรม

การเข้าร่วมประเพณี ที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินชีวิต

ประเพณีทางศาสนา

ตัวชี้วัด สรุปประโยชน์และปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น(ส๒.๑ป.๓/๑)

Page 5: สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม๓academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1002549...หน วยการเร ยนร ท

� �

๒.๒สร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพ เช่น ชาวนา

มักทำประเพณีสู ่ขว ัญข้าว เพ่ือบูชาเทวีแห่งข้าวปลาอาหาร หรือ

พระแม่โพสพเพื่อให้มีผลผลิตดี ชาวนา ชาวไร่ ในภาคอีสานมักทำ

ประเพณีบุญบั ้งไฟ เพื ่อขอฝนให้ตกตามฤดูกาลและมีน้ำใช้ในการ

เพาะปลูก

๒.๓ สร้างความกตัญญู

ต่อผู้มีพระคุณ เช ่น ประเพณี

การทำบุญสารทเดือนสิบ ซึ ่งเป็น

ประเพณีที ่จัดขึ ้นเพื ่อทำบุญอุทิศ

ส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

การทำบุญสารทเดือนสิบ

๒.๔ ก่อให้เกิดความกลมเกลียวและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกในสังคม เช่น ประเพณีลงแขกเกี ่ยวข้าวเป็นประเพณี

อย่างหนึ่งของชาวนาไทย โดยเจ้าของนาจะบอกเพื่อนบ้านว่าจะเกี่ยวข้าว

เมื่อไร เมื่อถึงเวลาเจ้าของนาจะปักธงไว้ชาวบ้านจะมาช่วยกันเกี่ยวข้าว

ในแปลงนาของเพื่อนบ้าน เพื่อแสดงถึงความสามัคคีและความมีน้ำใจ

ต่อกัน

๒.๕ หล่อหลอมบุคลิกภาพให้กับสมาชิกในสังคม เช่น

มารยาทสังคม การรับประทานอาหาร การเข้าหาผู้ใหญ่ การแต่งกาย

๒.๖สร้างเอกลักษณ์ให้แก่สังคม เช่น ภาษา ธงชาติ เพลงชาติ

เป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดของสังคม โดยทำหน้าที่ให้ความรัก ความอบอุ่น อบรมเลี้ยงดู และถ่ายทอดประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีให้แก่สมาชิก ในครอบครัว เพื่อให้เป็นคนดีของสังคม ประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวที่สำคัญ มีดังนี้

ช่วยกันทำงานของครอบครัว ด้วยความขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ

ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ช่วยเหลือทำงานบ้าน และเคารพกฎระเบียบของครอบครัว ทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย

มีความกตัญญูกตเวที ตอบแทนบุญคุณ ผู้มีพระคุณ และไม่ทอดทิ้งพ่อแม่

มีมารยาท มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ และเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่

๓.ประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัว

ครอบครัวเป็นกลุ ่มบุคคลที ่ประกอบด้วย พ่อแม่ ลูก และ

อาจรวมไปถึงญาติผู้ใหญ่อื่น ๆ เช่น ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา ครอบครัว ปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

มีความเมตตากรุณา และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

Page 6: สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม๓academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1002549...หน วยการเร ยนร ท

10 11

ในท้องถิ่นของนักเรียนมีประเพณีและวัฒนธรรมใดบ้าง

๔.ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

๔.๑ประเพณีทางศาสนา ศาสนาเป็นรากฐานของประเพณีและวัฒนธรรม

สังคมไทยให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกนับถือศาสนา

ทำให้คนในท้องถิ่นที่นับถือศาสนาต่างกันมีประเพณีและวัฒนธรรมที่

แตกต่างกันออกไป ชุมชนที่นับถือพระพุทธศาสนา จะมีประเพณีและ

วัฒนธรรมที่สำคัญ ดังนี้

ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว

ก่อนออกพรรษา ๑ วัน ในอดีต

เร ียกประเพณ ีน ี ้ ว ่ า ประเพณ ี

รับบัว โดยชาวบ้านในชุมชนจะไป

เก็บดอกบัว เพื่อมอบให้แก่ชาวบ้าน

ในชุมชนอื่นที่ล่องเรือมารับบัวตาม

ลำคลอง เพื ่อร่วมทำบุญไหว้พระ

ด้วยกัน การให้และรับดอกบัวจะกระทำอย่างสุภาพ โดยการส่งและรับ

ด้วยมือ ในเวลาต่อมา ประเพณีได้เปลี ่ยนไป จากการรับบัวกลาย

เป็นการโยนดอกบัวให้กัน และจะมีการแห่ขบวนเรือที่มีการอัญเชิญ

หลวงพ่อโตประดิษฐานมาในเรือ ล่องมาตามคลองบางพลี เพื ่อให้

ประชาชนที่มาร่วมพิธีอยู่สองฝั่งคลองได้โยนดอกบัวลงในเรือขบวนแห่

✽ ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว เป็นงานประเพณีที ่

เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาของชาวบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่ง

จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง

พระพุทธรูปจำลองของหลวงพ่อโต และคนที ่อยู ่ในเรือก็จะรับเอา

ดอกบัวไปวางไว้หน้าตักหลวงพ่อโต เปรียบเสมือนกับการนำเอาดอกไม้

มากราบไหว้บูชาพระพุทธรูป นอกจากเรือที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตแล้ว

ยังมีเรือติดตามอีกจำนวนหนึ่ง ทำให้มีการจัดประกวดแข่งขันกัน เช่น

การประกวดเรือ การประกวดแจวเรือ การแข่งขันชักเย่อเรือ ประเพณี

รับบัวหรือโยนบัว นอกจากจะมีพิธีที ่เกี ่ยวกับความเชื ่อถือ ศรัทธา

ในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นประเพณีท่ีทำให้เกิดความสามัคคี

ความรักและความภาคภูมิใจในชุมชนอีกด้วย

✽ ประเพณีบวชลูกแก้ว เป็นประเพณีการบวชสามเณรของ

ชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะมีการจัดงาน ๒ วัน โดยวันแรกเป็น

“วันแต่งกาย” ซึ่งเป็นวันเตรียมงาน บิดามารดาจะนำบุตรชายที่จะบวช

ซึ่งเรียกว่า ลูกแก้ว ไปแต่งกายด้วยเสื้อผ้า และเครื่องประดับที่สวยงาม

แล้วนำขึ้นขี่ม้าหรือขี่คอผู้ใหญ่แห่ไปรอบหมู่บ้าน เพื่อเป็นการประกาศ

การบวชลูกแก้ว และถือโอกาสบอกบุญไปด้วย ส่วนในวันที่สองจะเป็น

“วันบวช” พิธีบวชลูกแก้วมีความสำคัญ เพราะเป็นพิธีที่ช่วยสืบทอด

พระพุทธศาสนาให้คงอยู่และมีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป

ประเพณีบวชลูกแก้ว

Page 7: สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม๓academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1002549...หน วยการเร ยนร ท

12 13

งานเมาลิด

ในประเทศไทยมีการจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑. เพื ่อเฉลิมฉลองวันประสูติของศาสดามุฮัมมัดของศาสนาอิสลาม ๒. เผยแพร่จริยวัตรและคำสอนของศาสดามุฮัมมัดของศาสนาอิสลาม ๓. ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างชาวมุสลิมและความสัมพันธ์อันดีกับผู้นับถือศาสนาอื่น ๔. ส่งเสริมกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ตามหลักการของศาสนาอิสลาม ๕. ส่งเสริมกิจกรรมทางด้านวิชาการและกิจกรรมอื่นที่ไม่ขัดกับหลักการของศาสนาอิสลาม

✽ การถือศีลอด (อ่านว่า สีน-อด) เป็นสิ่งที่ชาวมุสลิมทุกคน

ต้องปฏิบัติในเดือนรอมฎอน (อ่านว่า รอ-มะ-ดอน) หรือเดือนบวช

ของทุกปีเป็นเวลา ๑ เดือน โดยชาวมุสลิมจะงดเว้นการรับประทานอาหาร

และเครื่องดื่มตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตกดิน

ชุมชนที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีประเพณีและวัฒนธรรมที่สำคัญดังนี้

✽ งานเมาลิด เมาลิดเป็น

ภาษาอาหรับ หมายถึง ที่เกิดหรือ

วันเกิดของศาสดามุฮัมมัด ของ

ศาสนาอิสลาม งานเมาลิดจัดขึ ้น

เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณของศาสดา

มุฮัมมัด

๔.๒การเข้าร่วมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของ

คนไทยมีตั้งแต่การเกิด การอุปสมบท การแต่งงาน การตาย เช่น

✽ ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด เป็นประเพณีการทำขวัญ

ให้เด็กแรกเกิด เมื่อเด็กอายุได้ ๓ วัน พ่อและแม่ก็จะจัดทำขวัญให้เด็ก

โดยทำบายสีปากชาม ใช้ใบตอง

มาเย ็บจ ับจ ีบทำเป ็นกรวยใส ่

ข ้ าวตอกดอกไม ้ และอาหาร

คาวหวาน พร้อมดอกไม้ ธูป เทียน

เสร็จพิธีแล้วนำด้ายสายสิญจน์

มาผูกข้อมือเด็กทั้ง ๒ ข้าง เรียกว่า

ผูกขวัญ

เมื ่อเด็กอายุได้หนึ ่งเดือน ก็จะมีการโกนผมไฟ นำผม

ที ่โกนแล้วบรรจุลงในกระทงนำไปลอยน้ำพร้อมกับคำพูดว่า ขอให้

อยู่เย็นเป็นสุข

✽ ประเพณีการอุปสมบท เป ็นประเพณีการบวช

เป ็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา

ถือเป็นการตอบแทนพระคุณของ

บิดามารดา ทั ้งยังเป็นการสืบต่อ

พระพุทธศาสนาให้คงอยู่ ผู้ที่จะบวช

เป็นพระภิกษุต้องมีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไป

และมีคุณสมบัต ิพร ้อมบวชครบ

บริบูรณ์ โดยพ่อแม่หรือผู้ปกครอง

ประเพณีทำขวัญให้แก่เด็กแรกเกิด

ประเพณีการอุปสมบท เพื่อแสดงความ กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา

Page 8: สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม๓academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1002549...หน วยการเร ยนร ท

14 15

ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง จังหวัดตาก

เผาเทียน เล่นไฟ บริเวณอุทยานประว ัต ิศาสตร์สุโขทัย จ ังหว ัดสุโขทัย ประเพณีลอยกระทงยี่เป็ง บริเวณแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง บริเวณแม่น้ำปิง จังหวัดตาก

พาผู้ที่จะบวชไปหาเจ้าอาวาสหรือพระอุปัชฌาย์ (อ่านว่า อุ-ปัด-ชา) เพื่อกำหนดวันบวช และฝึกซ้อมการปฏิบัติตลอดจนท่องคำกล่าวขอบวช ให้ถูกต้องพร้อมจัดหาเครื่องบวชให้ครบถ้วน ก่อนบวช ๑ วัน เรียกว่า วันสุกดิบ ผู ้บวชต้องโกนผม โกนคิ ้ว โกนหนวดและสวมเสื ้อผ้า ชุดเตรียมบวชให้เรียบร้อย ตอนค่ำมีการทำขวัญนาค รุ่งเช้าจึงมีการ แห่นาคออกจากบ้านไปวัด โดยแห่เวียนขวารอบพระอุโบสถ ๓ รอบ จากนั้น นาคจะนำดอกไม้ ธูปเทียนบูชาพัทธสีมา (อ่านว่า พัด-ทะ-สี-มา) หน้าโบสถ์ แล้วจึงเข้าพระอุโบสถทำพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุต่อไป

✽ ประเพณีเกี่ยวกับงานศพ ชาวไทยม ีประเพณี เกี่ยวกับงานศพหลายขั้นตอน นับตั้งแต่วันตาย จะมีประเพณีการตั้งศพ วันเผาศพหรือวันฌาปนกิจ (อ่านว่า ชา-ปะ-นะ-กิด) ศพ และวันทำบุญหลังวันเผาศพ ทั ้งนี ้เพื ่อให้ญาติมิตรที ่สนิทสนมกับคนตายได้รับรู ้ ร่วมกันและมาร่วมในพิธีศพได้ บางคนนิยมทำบุญเกี ่ยวกับงานศพหลายวัน หรืออาจเก็บศพไว้ระยะเวลาหนึ่ง เช่น ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน ก่อนที่จะเผาหรือฝังตามความเชื่อทางศาสนา

นอกจากนี้ ยังมีประเพณีอื่น ๆ อีก เช่น

✽ ประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ในประเทศไทยได้จ ัดประเพณีลอยกระทงทัว่ประเทศ ประเพณีลอยกระทงที่เป็นที่รู ้จักกันทั่วไป เช่น ประเพณีลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทงจัดขึ้นเพื่อตระหนักถึงความสำคัญของน้ำที่

คนไทยได้นำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต และเป็นการขอขมาต่อ

แม่น้ำที่ได้ทิ้งสิ่งสกปรก (อ่านว่า สก-กะ-ปรก) ลงไป

การเข้าร่วมประเพณีลอยกระทงเป็นการสืบสานวัฒนธรรม

ประเพณีอันดีงามให้คงอยู่ตลอดไป และเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการ

ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติในท้องถิ่น

การลอยกระทงควรใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ที่ย่อยสลายได้ง่าย เพื่อไม่ให้แม่น้ำลำคลองเน่าเสีย

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

✽ ประเพณีแห่ผีตาโขน เป็นประเพณีของจังหวัดเลย

ที่จัดขึ้นในเดือน ๗ ของทุกปี ในวันนี้ถือเป็นวันทำบุญหลวง ซึ่งเป็นการ

รวมเอางานบุญพระเวส (งานบุญที่จัดขึ้นเพื่อฟังเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓

กัณฑ์) และงานบุญบั้งไฟ (งานบุญที่จัดขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมือง

และการขอให้ฝนตกตามฤดูกาล) มาทำพิธีเป็นงานบุญเดียวกัน

ประเพณีแห่ผีตาโขน

ผู้ เ ข้ า ร่ ว ม ในป ร ะ เพ ณี

แห่ผีตาโขนจะแต่งกายเป็นผี ซึ่ง

มีทั้งผีตาโขนใหญ่ และผีตาโขนเล็ก

แต่งกายด้วยเสื ้อผ้าสีสันสดใส

และใส่หน้ากาก หลังจากนั้นจะมี

การประกอบพิธีบายศรีสู ่ขวัญมี

การแห่ขบวนผีตาโขนรอบหมู่บ้าน

Page 9: สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม๓academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1002549...หน วยการเร ยนร ท

1� 1�

ในขณะที่แห่บรรดาผีตาโขนก็จะเล่นหยอกล้อผู้คนเพื่อความสนุกสนาน

ในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง (โดยสมมุติให้วัด

เป็นเมือง) ในพิธีนี้จะมีขบวนแห่พระพุทธรูป โดยบรรดาผีตาโขนก็จะ

เข้ามาร่วมในขบวนแห่ด้วย นอกจากนี้ ชาวบ้านจะนำบั้งไฟมาร่วมใน

ขบวนแห่เพื ่อทำพิธีขอฝน หลังจากนั้นจะเป็นการฟังเทศน์มหาชาติ

เพื่อกล่อมเกลาจิตใจผู้คนที่มาร่วมในงาน

๕. ประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมไทย

การที่คนไทยปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมไทย ก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ ดังนี้

สร้างความรัก ความผูกพัน ในครอบครัวและชุมชน

ทำให้ประเพณีในท้องถิ่นคงอยู่คู่สังคมไทยต่อไป

ก ่อให ้ เก ิดความสาม ัคค ี และความภาคภูมิใจในชาติ

ช่วยทำให้คนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

เป็นสิ่งขัดเกลา อุปนิสัยให้อ่อนโยน

แสดงถ ึงความเป ็นเอกลักษณ์ของชาติ ที่แตกต่างจากชาติอื่น

สร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม ของประชาชน ประโยชน์ของการปฏิบัติตน

ตามประเพณีและวัฒนธรรมไทย

ประเพณีและวัฒนธรรมไทยแสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงามของ

สังคมไทยที่สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน หล่อหลอมให้คนในสังคม

มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นหลักปฏิบัติสำหรับการดำเนินชีวิต

ส่งผลให้เกิดความสงบสุขในสังคม

สรุป

ประเพณีไทย www.prapayneethai.com/th/tradition

๑. ให้นักเรียนยกตัวอย่างประเพณีและวัฒนธรรมในชุมชนของตนเอง มาคนละ ๑ อย่าง พร้อมทั ้งบอกประโยชน์ของประเพณีและ วัฒนธรรมดังกล่าว ๒. ให้นักเรียนวาดภาพ ระบายสีประเพณีที่นักเรียนเคยเข้าไปมีส่วนร่วม พร้อมทั้งเสนอแนวทางการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมให้คงอยู่ สืบต่อไป ๓. ให้นักเรียนร่วมกันสรุปประโยชน์ของประเพณีและวัฒนธรรมใน ชุมชน เป็นแผนภาพความคิด

๑. ประเพณีและวัฒนธรรมไทยหล่อหลอมให้นักเรียนมีลักษณะนิสัย อย่างไร ๒. วัฒนธรรมในครอบครัวที่นักเรียนปฏิบัติมีอะไรบ้าง มีประโยชน์ อย่างไร ๓. ประเพณีทางด้านศาสนาในชุมชนของนักเรียนมีอะไรบ้าง และมี ความสำคัญอย่างไร ๔. นักเรียนคิดว่าประเพณีและวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นมีความ แตกต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใด ๕. นักเรียนจะมีวิธีการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมในชุมชนของ ตนเองได้อย่างไร